content
stringlengths 2
11.3k
| url
stringlengths 26
27
| title
stringlengths 3
125
|
---|---|---|
ยังเป็นหนทางอีกยาวไกลของนาโนเทคโนโลยีที่จะสร้างสิ่งต่างๆให้มีประสิทธิภาพและขนาดกระทัดรัดเท่ากับระบบขับเคลื่อนในตัวของแบคทีเรีย แต่ก้าวเล็กๆก็ได้เพิ่มขึ้นอีกก้าว เมื่อ Roberto Di Leonardo และทีมแห่งสภาการวิจัยแห่งชาติในโรมได้ประสบผลสำเร็จในการใช้แบคทีเรีย Escherichia coli
ขับเคลื่อนมอเตอร์ขนาดเล็ก
พวกเขาได้สร้างเฟืองที่ผลิตมาจากแก้วแบบต่างๆทั้งที่เป็นแบบสมมาตรและอสมมาตรโดยมีความกว้างเท่ากับ 48 หรือ 80 ไมโครเมตร (ดูภาพประกอบ). รูปร่างของเฟืองชนิดอสมมาตรแบบต่างๆสร้างขึ้นมาเพื่อให้แบคทีเรียว่ายไปยังมัน ทั้งที่ปลายซี่หรือติดค้างอยู่ตรงมุมของเฟือง แรงพยายามของแบคทีเรียที่ติดค้างอยู่ตรงมุมของเฟืองจะไปหมุนเฟืองไปโดยรอบๆ จนกระทั่งตัวมันหลุดออกมาเป็นอิสระ
เมื่อทีมวิจัยได้ใส่เฟืองลงไปในของเหลวที่มีแบคทีเรียอยู่ พบว่าการที่เฟืองแบบอสมมาตรหมุนได้ 1 รอบนั้น จะใช้เวลาไปทั้งสิ้น 1 นาที
R. DI LEONARDO ET AL.
nanites ใกล้จะเป็นจริงแล้วสิ
ที่มา - Nature | https://jusci.net/node/1161 | พลังของแบคทีเรีย |
หลังจากเหตุการณ์ระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 สายพันธุ์ 2009 เงียบสงบลง วัคซีนที่ทุกคนต่างเคยต้องการเป็นอย่างมากนั้นก็จำเป็นต้องถูกทิ้งลงอย่างน่าเสียดายครับ
โดยมีการพบว่ากว่า 65 ล้านโดสของวัคซีนนั้นไม่ได้ถูกใช้และหมดอายุลงตามคลินิคต่างๆ และโกดังเก็บของในสหรัฐ โดยวัคซีนที่จะทิ้งนี้คิดเป็นกว่า 40% ของวัคซีนที่รัฐบาลสหรัฐสั่งผลิตเลยทีเดียว (วัคซีนทั้งหมดที่สั่งนั้นมีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์) และวัคซีนเหล่านี้จำเป็นต้องถูกทำลายอย่างน่าเสียดายครับ
อย่างไรก็ดี มีผู้สังเกตว่าถ้าเราไม่่ได้ผลิตออกมาเลยนั้นสถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่นั้นอาจเลวร้ายไปกว่านี้มาก จนไม่อาจควบคุมได้ครับ
ที่มา: The Boston Globe | https://jusci.net/node/1162 | วัคซีน H1N1 เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก |
โซลาร์เซลล์แบบพิมพ์นั้นค่อนข้างเป็นความหวังที่ใกล้เคียงความจริงในบรรดาโซลาร์เซลล์ทั้หมด เนื่องจากสามารถผลิตได้คราวละมากๆ อย่างไรก็ตามโซลาร์เซลล์แบบพิมพ์ที่มีในท้องตลาดทุกวันนี้ยังต้องการวัสถุดิบพิเศษอยู่มาก แต่ล่าสุดศูนย์วิจัย Eni-MIT ก็ประกาศความสำเร็จในการพิมพ์โซลาร์เซลล์ลงไปบนกระดาษธรรมดา
ทีมวิจัยระบุวว่าโซลาร์เซลล์ที่ได้นั้นยังได้ประสิทธิภาพไม่ดีนัก โดยประสิทธิภาพการแปลงพลังงานอยู่ที่ 1.5-2% เท่านั้น ขณะที่คู่แข่งอย่าง NanoSolar นั้นทำได้ที่ร้อยละ 16 ในห้องวิจัย ส่วนพี่ใหญ่อย่างไอบีเอ็มนั้นทำได้ที่ร้อยละ 9.6 แต่การที่โซลาร์เซลล์แบบใหม่สามารถพิมพ์บนวัสดุทั่วไปได้เราก็อาจจะหาพื้นที่ติดตั้งมันได้ง่ายยิ่งขึ้น และงานวิจัยนี้ยังอยู่ในชั้นเริ่มต้นเท่านั้น
บริษัท Eni นั้นเป็นบริษัทน้ำมันจากอิตาลี ลงทุนเป็นเงินในศูนย์ Eni-MIT เป็นเงิน 5 ล้านดอลลาร์ โดยศูนย์นี้ได้รับเงินสมทบจาก National Science Foundation อีก 2 ล้านดอลลาร์
ที่มา - Alternative Energy News | https://jusci.net/node/1163 | MIT ประสบความสำเร็จในการสร้างโซลาร์เซลล์บนกระดาษ |
ระบบทางชีวภาพนั้นได้พัฒนาขึ้นอย่างช้าๆเพื่อที่จะทำงานที่ซับซ้อนสูงๆได้ สิ่งมีชีวิตต่างๆจึงพึ่งพาเครื่องจักรโปรตีนในการที่จะทำงานต่างๆเช่น เก็บและส่งผ่านข้อมูล รับส่งไออนและโมเลกุลต่างๆเข้าออกจากเซลล์ และงานที่สำคัญอื่นๆ เพื่อให้ทำงานที่ซับซ้อนได้สำเร็จ ความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และความเที่ยงตรงที่สูงของโมเลกุลชีวภาพเหล่านี้ทำให้มันเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการที่จะใส่มันลงในแผงวงจรสังเคราะห์แบบไฮบริด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุปกรณ์ และให้ได้การทำงานแบบใหม่ๆ
Aleksandr Noy และทีม แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ ได้พัฒนาทรานซิสเตอร์จากท่อนาโนคาร์บอนได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้ท่อนาโนคาร์บอนเชื่อมต่อระหว่างสองขั้วอิเล็คโทรด (ดังภาพ) โดยท่อนาโนคาร์บอนจะถูกเคลือบด้วยชั้นไขมันคู่ (lipid bilayer) ในชั้นไขมันคู่นี้จะมีปั๊มที่ใช้พลังงาน ATP ซึ่งกระจายอยู่ไปทั่วเซลล์และช่วยในการเคลื่อนที่ของไอออนโซเดียมและโพแทสเซียมข้ามไปมาระหว่างเยื่อ (membrane) โดยจุดกึ่งกลางของท่อนาโนคาร์บอนจะสัมผัสกับสารละลาย ATP
เมื่อเปิดอุปกรณ์ ปั๊มจะทำหน้าที่โดยการผลักไอออนข้ามเยื่อไขมัน ทำให้ค่าการนำไฟฟ้าของท่อนาโนคาร์บอนเปลี่ยนแปลงและเพิ่มกำลังไฟฟ้าขาออกของทรานซิสเตอร์มากถึง 40% การค้นพบนี้ช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาวงจรและอุปกรณ์ bionanoelectronic แบบไฮบริดที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
AM. CHEM. SOC.
ที่มา - Nature
*เกร็ดความรู้
พื้นผิวของท่อนาโนคาร์บอนมีคุณสมบัติเกลียดน้ำ (hydrophobic) ทำให้ตัวมันไม่เหมาะสมในการที่จะใช้งานร่วมกับโมเลกุลทางชีวภาพต่างๆ | https://jusci.net/node/1164 | ทรานซิสเตอร์จากโปรตีน |
โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการสงสัยว่าเรามีการแพ้อาหารหรือไม่ วิธีการทดสอบในปัจจุบันคือการนำสารอาหารนั้นมาทาบนผิวแล้วดูอาการว่ามีปฎิกิริยาต่ออาหารนั้นหรือไม่ แต่งานวิจัใหม่ทำให้เราสามารถใช้ "ห้องแลปบนชิป" (Lab on a chip) เพื่อทดสอบความแพ้ต่ออาหารได้แล้ว
เทคนิคนี้อาศัยความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างการแพ้และปริมาณสาร cytokine ในกระแสเลือด ที่โดยปรกติแล้วจะเป็นการยากที่จะวัดประมาณ cytokine ให้แม่นยำ แต่ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Christopher Love จาก MIT ก็ได้อาศัยการแยกเม็ดเลือดขาวออกมาให้เจอกับสารที่สงสัยว่าจะแพ้ เช่น นม, ถั่ว, ฯลฯ หลังจากนั้นจึงนำเม็ดเลือดขาวเหล่านั้นไปวางในแผ่นแก้วที่มีหลุมจำนวนมาก และแต่ละหลุมจะใส่เซลล์ได้เพียงเซลล์เดียว หลังากนั้นจึงทิ้งไว้เพื่อวัดประเภทของ cytokine ที่ปล่อยออกมาว่ามีประเภทใดบ้าง และแต่ละประเภทมีปริมาณมากน้อยเพียงใด การจำแนกได้ว่าเซลล์ใดปล่อยสารประเภทใด และมีกี่เซลล์ที่ปล่อยสารแบบเดียวกันทำให้ความสามารถในการแจกแจงว่าเจ้าของเลือดมีอาการแพ้ต่ออาหารนั้นหรือไม่ทำได้แม่นยำขึ้น
กระบวนการ "ขุดหลุม" ขนาดเล็กๆ จำนวนมหาศาลเหล่านี้เรียกว่ากระบวนการ Microengraving และการนับจำนวนเพื่อการวิเคราะห์ผลเช่นนี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่เทคโนโลยีนี้อาจจะทำให้การแพทย์ในอนาคตก้าวหน้าขึ้นกว่าทุกวันนี้ได้อีกมาก
ที่มา - ArsTechnica, Lab on a chip (Abstract) | https://jusci.net/node/1165 | งานวิจัยใหม่แสดงความเป็นไปได้ที่จะทดสอบการแพ้อาหารโดยไม่ต้องสัมผัสอาหารจริงๆ |
ระบบพิกัด GPS (Global Positioning System) ที่เราๆ ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1973 โดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ในช่วงแรกมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการทหาร แต่ในภายหลังก็เปิดให้เอกชนได้ใช้งานด้วย
ดาวเทียมที่ใช้ในระบบ GPS เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (medium earth orbit) จำนวน 24-32 ดวง ซึ่งดาวเทียมส่วนมากถูกยิงขึ้นในวงโคจรตั้งแต่ยุค 80s
ล่าสุดทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐ กำลังเตรียมจะยกเครื่องระบบ GPS ใหม่ โดยมีเงินลงทุนสูงถึง 8 พันล้านดอลลาร์ ระบบ GPS ใหม่จะมีความแม่นยำสูงถึง 1 เมตร (เทียบกับปัจจุบันประมาณ 20 ฟุต หรือประมาณ 6-7 เมตร และมีเสถียรภาพสูงกว่าเดิมมาก
การอัพเกรดระบบจะค่อยๆ ทำ โดยเปลี่ยนดาวเทียมไปทีละดวง ดาวเทียมใหม่ดวงแรกจะถูกยิงขึ้นจากแหลมคานาเวอรัลในสัปดาห์นี้ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะใช้เวลาถึงสิบปี
ที่มา - LA Times | https://jusci.net/node/1166 | ระบบดาวเทียม GPS กำลังจะถูกอัพเกรดครั้งใหญ่ |
อ่านข่าวโซลาร์เซลล์ที่ผลิตด้วยพรินเตอร์มามากแล้ว วันนี้ก็ถึงตาของยาเม็ดที่จะถูกผลิตด้วยพรินเตอร์บ้างแล้ว เมื่อทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเมือง Leeds ได้แถลงว่าสำเร็จในการพิมพ์ตัวยาลงบนเม็ดยา
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Leeds และบริษัทยาที่ชื่อว่า GlaxoSmithKline (GSK) โดย GSK ได้พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ยาสำเร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยาที่จะใช้เทคนิคนี้ได้จะต้องมีขนาดหยดเล็กพอ ทำให้สามารถใช้งานกับยาได้เพียง 0.5% ของยาที่มีอยู่ตอนนี้เท่านั้น แต่ผลของความร่วมมือจะทำให้เราสามารถผลิตยาด้วยเทคนิคนี้ได้ถึง 40%
การพิมพ์ยาลงบนเม็ดยาแต่ละเม็ดทำให้เรามั่นใจได้ว่าเนื้อยาที่ลงไปนั้นแต่ละเม็ดมีความเท่ากันอย่างแน่นอน ทำให้เราสามารถลดขั้นตอนการตรวจสอบลงไปได้ แต่ความยากของเทคนิคนี้คือน้ำผสมตัวยานั้นมีหยดขนาดเป็น 20 เท่าของหมึกพรินเตอร์อิงค์เจ็ต ทำให้ต้องพัฒนาการพิมพ์ให้ทนทานต่อหยดขนาดใหญ่เช่นนี้โดยยังได้ความแม่นยำซึ่งเป็นหัวใจของการผลิตยาอยู่
อีกหน่อยจะมีใครผลิตอะไรด้วยพรินเตอร์กันอีกล่ะนี่?
ที่มา - Leeds | https://jusci.net/node/1167 | เทคโนโลยีการผลิตยาแบบใหม่ด้วยการพิมพ์ |
ในหนังอวกาศเรามักพบว่าการเดินทางที่ยาวนานมักมีปัญหาจนสร้างปมต่างๆ ขึ้นมา สร้างความเครียดแก่ตัวละครจนตัดสินใจหลายๆ อย่างผิดพลาด แต่ในโลกความเป็นจริงการเดินทางที่ยาวนานเช่นนั้นเป็นโครงการที่แพงมหาศาล หน่วยงานที่เตรียมการเดินทางสู่ดาวอังคารเช่นสหภาพยุโรปจึงเตรียมความพร้อมด้วยการส่งคนเข้าไปอยู่ในสถานีอวกาศจำลองเป็นเวลา 520 วันเต็ม
นักบินอวกาศที่ได้รับการคัดเลือกหกคนต้องอยู่ร่วมกันในศูนย์ฝึกของรัสเซียนาน 520 วันภายใต้พื้นที่จำกัด 550 ลูกบาศก์เมตรที่เป็นยาวอวกาศจำลอง และระยะเวลาที่กำหนดนั้นคือค่าประมาณการของการเดินทางไปกลับดาวอังคารจริงๆ
ทั้งหกคนจะสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ ด้วยการสื่อสารแบบหน่วง 40 นาทีต่อการส่งข้อความแต่ละข้อความ เช่นเดียวกับการสื่อสารกับยานอวกาศจริงๆ
นี่มันคุกชัดๆ?
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1168 | สหภาพยุโรปเริ่มโครงการ Mar500 เตรียมความพร้อมสู่การเดินทางไปยังดาวอังคาร |
ปัญหาของรถไฟฟ้าแบบเต็มระบบ (ไม่ใช่รถไฮบริดอย่างทุกวันนี้) คือมันต้องการเวลาชาร์จนานจนไม่สามารถใช้งานได้จริง แต่เทคโนโลยีรุ่นก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ เวลาชาร์จลดลง ปัญหาใหม่ในตอนนี้คือมีวิธีการชาร์จพลังงานอยู่ในตลาดหลากหลายรูปแบบมาก และทางสหภาพยุโรปกำลังเตรียมการตั้งมาตรฐานใหม่ เพื่อให้หัวชาร์จไฟฟ้าเป็นแบบเดียวกันทั่วภูมิภาค
เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Epyon นั้นสามารถชาร์จพลังงาน 50kWh ลงในแบตเตอรี่ได้ในเวลาเพียง 30 นาที พลังงานที่ได้พอที่จะขับเคลื่อนรถตู้ขนาด 9 ที่นั่งไปได้ 100 กิโลเมตร ส่วนเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ให้ระยะทางไกลกว่านี้ก็ต้องการระยะเวลาการชาร์จที่นานขึ้น ปัญหาเช่นนี้จะเป็นปัญหาไก่กับไข่ เพราะผู้คนจะไม่ยอมใช้รถพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากหาปั๊มเติมยากและเดินทางได้ไม่ไกล ขณะที่ผู้ให้บริการก็จะไม่กล้าลงทุนเพราะฐานลูกค้าไม่มากพอ การรวมมาตรฐานเป็นมาตรฐานเดียวจึงมีความสำคัญ และมาตรฐานนั้นต้องสามารถชาร์จได้เร็ว และให้ระยะทางการเดินทางที่ดีพอ
กลุ่มอุตสาหกรรม 27 บริษัทกำลังประชุมกันเพื่อสร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา และเชื่อว่าภายในกลางปี 2011 จะมีมาตรฐานกลางการชาร์จพลังงานได้กับรถที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทั่วสหภาพยุโรป
ที่มา - PhysOrg, Edmunds | https://jusci.net/node/1169 | สหภาพยุโรปเตรียมสร้างมาตรฐานการชาร์จรถไฟฟ้า |
หน่วยงานวิจัยแห่งกองทัพสหรัฐฯ โชว์ศักยภาพครั้งใหม่ด้วยการสาธิตปืนต้นแบบที่มีระยะหวังผล 1,100 เมตรขณะที่ลมแรง 18 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยมันเป็นต้นแบบแรกของโครงการ One Shot โครงการที่มีเป้าหมายจะสร้างปืนที่มีระยะหวังผลถึง 2 กิโลเมตรและมีลมแรงถึง 40 ไมล์ต่อชั่วโมง
สภาพอากาศเช่นนั้นไม่เคยเป็นไปได้ที่จะได้ระยะหวังผลไกลขนาดนี้ แต่โครงการ One Shot ได้พัฒนากล้องเล็งขึ้นใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูลทิศทางลมและความแรง เพื่อชดเชยศูนย์เป้าตามแรงลมอัตโนมัติ พร้อมกับแจ้งเตือนความไม่แน่นอนของภาพอากาศให้กับพลยิงได้รับรู้
โครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตัวต้นแบบเท่านั้น ต่อไปกองทัพสหรัฐฯ จะได้รับปืนรุ่นแรก 15 กระบอกเพื่อไปทดสอบในสนามต่อไป
โครงการนี้ล่าช้ากว่ากำหนดที่ต้องอยู่ในขั้นตอนพร้อมผลิตมาตั้งแต่ปี 2009 ในตอนนี้อย่างเร็วที่สุดที่กองทัพสหรัฐฯ จะมีปืนที่ฝันจริงๆ คงเป็นปี 2011 อย่างเร็ว
ที่มา - Wired | https://jusci.net/node/1170 | Darpa กำลังพัฒนาปืนสไนเปอร์ยิงไกล 2 กิโลเมตรขณะลมแรง |
ทีม Japan Electric Vehicle Club ได้ประกาศความสำเร็จในขับรถ Mira EV เป็นระยะทาง 1,000 กิโลเมตรภายในการชาร์จครั้งเดียวเป็นผลสำเร็จแล้ว
ตัวรถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียมของซันโยที่ออกแบบมาสำหรับโน้ตบุ๊กจำนวน 8,320 ก้อนต่อกัน จนมีน้ำหนักกว่า 360 กิโลกรัม
รถทดลองเช่นนี้คงไม่สามารถนำมาใช้งานจริงได้ หรือหากใช้ได้ก็จะไม่ได้ระยะทางเช่นนี้ แต่ระยะทางที่ดีขึ้นก็สะท้อนว่ารถที่จะใช้ในเชิงการค้าน่าจะดีขึ้นเหมือนกัน
ที่มา - Engadget | https://jusci.net/node/1171 | ทีมจากญี่ปุ่นใช้รถไฟฟ้าระยะวิ่ง 1,000 กิโลเมตรสำเร็จ |
โรคอีโบล่าเคยเป็นโรคที่เราต้องผวากันว่ามันจะระบาดไปทั่วโลก แม้ว่าด้วยความรุนแรงของตัวโรคเองทำให้การแพร่กระจายค่อนข้างจำกัด แต่จนทุกวันนี้เราก็ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนที่ให้ผลได้เกิน 50% ในการใช้งานจริง แต่ทีมของ Thomas W. Geisbert จากมหาวิทยาลัยบอสตันก็ได้แถลงความสำเร็จในวัคซีนตัวใหม่ที่ได้ผลถึง 100% ในลิง
การทดลองทำเป็นสองรอบ ในรอบแรกนั้นมีการแยกลิงที่เป็นตัวควบคุมและลิงที่ได้รับวัคซีนสามตัว ลิงทั้งหมดจะได้รับไวรัสในปริมาณที่สูงถึง 30,000 ของปริมาณที่ก่อโรคจนถึงความตาย หลังจากได้ไวรัส 30 นาทีจึงให้วัคซีนกับลิงสามตัว และให้อีกครั้งในวันที่สอง, วันที่สาม, และวันที่ 5 ผลที่ได้คือลิงสองตัวมีอาการเล็กน้อย ส่วนลิงตัวที่สามนั้นเสียชีวิต ขณะที่ลิงที่ไม่ได้รับวัคซีนเสียชีวิตทั้งหมด
รอบที่สองทีมวิจัยจึงเพิ่มปริมาณไวรัสเป็นการฉีดวันละครั้งต่อเนื่องเจ็ดวัน ผลที่ได้คือลิงชุดที่ได้รับวัคซีนไม่มีตัวใดเสียชีวิตเลย
ตัววัคซีนบรรจุ RNA ที่ดัดแปลงจากยีนของไวรัสจำนวน 3 ชุดจากทั้งหมด 7 ชุด การดัดแปลงนี้ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีน
ที่มา - npr.org | https://jusci.net/node/1172 | วัคซีนอีโบล่าตัวใหม่ให้ผลเต็ม 100% ในลิง |
28 พฤษภาคม 2553 มีผลงานวิจัยชิ้นใหม่ โดยศาสตราจารย์Richard Watt ที่แสดงให้เห็นว่าคนที่แปรงฟันน้อยกว่า 2 ครั้งต่อวัน มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากระบวนการอักเสบในร่างกาย รวมทั้งปากและฟันนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis) และผลงานวิจัยนี้เป็นผลงานวิจัยชิ้นแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับจำนวนครั้งของการแปรงฟันกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผลงานวิจัยชิ้นนี้นำข้อมูลจากคนจำนวน 11000 คน ซึ่งตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ เช่นการสูบบุหรี่, สุขภาพช่องปาก และคำถามเกี่ยวกับการไปพบทันตแพทย์ และแน่นอนจำนวนครั้งของการแปรงฟันใน 1 วัน นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการใช้ยา และประวัติการเป็นโรคหัวใจของคนในครอบครัว รวมทั้งความดันโลหิต จากนั้นตรวจเลือดเพื่อหาระดับ C-reactive protein (CRP) และ fibrinogen แล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมโยงกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการตาย
ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดีนั้น 62% ไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน และ 71% แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยสรุปแล้วจากผลงานวิจัยพบว่าคนที่แปรงฟันน้อยกว่าวันละ 2 ครั้ง มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดีมีระดับ C-reactive protein (CRP) และ fibrinogen เพิ่มขึ้น
มาแปรงฟันกันเถอะค่ะ !!!
ที่มา : Medscape | https://jusci.net/node/1173 | แปรงฟันน้อยกว่า 2 ครั้งต่อวันเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด |
ปรกติงานด้าน Image Recognition นั้นเรามักจะพูดถึงการจับวัตถุในภาพว่ามีกี่ชิ้นและอยู่ตำแหน่งใด แต่เทคโนโลยี Image to Text (I2T) จากทีมของ Song-Chun Zhu จาก UCLA ก็พัฒนาไปอีกขั้นด้วยการแปลงวีดีโอเป็นข้อความได้สำเร็จ
งานวิจัยนี้จะมีผลเป็นอย่างมากต่อการรักษาความปลอดภัย เพราะถ้าใครเคยประสบกับการต้องนั่งหาเหตุการณ์ในวีดีโอเช่น ไม่รู้ว่าของหายไปตอนไหน หรือของตกอยู่ตรงไหนก็จะพบว่ายิ่งกล้องวีดีโอมาก ยิ่งเวลายาวนาน ความลำบากก็จะเพิ่มมากขึ้นจนแทบไม่มีใครทนได้
แต่เมื่อเราสามารถแปลงเหตุการณ์ในวีดีโอให้เป็นข้อความได้ก็เป็นไปได้ที่เราจะค้นหาผ่านทางระบบค้นหาข้อความที่ก้าวหน้าไปไกลแล้ว
เกิดอีกหน่อยรัฐบาลมีบริการจับ "กิ๊ก" หลายคนคงจบเห่ ส่วนวีดีโอเดโมก็มีให้ตามไปดู
ที่มา - Technology Review | https://jusci.net/node/1174 | งานวิจัยจาก UCLA แปลงวีดีโอเป็นข้อความได้แล้ว |
Sony ได้นำเสนอต้นแบบหน้าจอสัมผัสที่สามารถรับรู้แรงกดได้ โดยจากต้นแบบอุปกรณ์ที่โชว์นั้น ความเร็วของการเปลี่ยนไอคอนบนหน้าจออุปกรณ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกดลงบนหน้าจอดังกล่าว หากมีแรงกดมากขึ้นก็จะเปลี่ยนไอคอนเร็วขึ้นตาม
ในการรับรู้แรงกดในทิศทางแกน z (สั่นตามแนวลึกของหน้าจอ) นั้น Sony ได้ใช้ force sensing resistor (FSR) ส่วนในการตอบสนองต่อแรงกดนั้น จะใช้เพียโซอิเล็กทริกแอคชูเอเตอร์ Piezoelectric actuator ในการสั่นหน้าจอในทิศทางแกน z
ในระหว่างการสัมภาษณ์โดย Tech-On นั้น Sony ได้กล่าวว่าต้องการที่จะนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนปัญหาในเรื่องต้นทุนนั้น Sony กล่าวว่าจะพยายามลดต้นทุน อาทิ โดยการตัดฟังก์ชั่นของ FSR ออก
ที่มา: Tech-On ผ่าน Engadget | https://jusci.net/node/1175 | Sony โชว์ต้นแบบหน้าจอสัมผัสที่รับรู้แรงกดได้ |
ลูกฟุตบอลอย่างเป็นทางการของฟุตบอลโลก 2010 หรือ Adidas Jabulani ขึ้นชื่อว่า "เบา" และ "ส่าย" สร้างความหวั่นวิตกให้ทั้งกองหน้าและผู้รักษาประตูเป็นอย่างมาก
ในทางเทคโนโลยี Adidas โฆษณาว่าเทคโนโลยีการผลิต Jabilani นั้นล้ำมาก ใช้แผ่นพลาสติกภายนอกเพียง 8 แผ่น (รุ่นเดิมใช้ 14) และ "กลม" ที่สุดเท่าที่เคยผลิตลูกบอลขึ้นมา วันนี้มีวิดีโอสาธิตกระบวนการผลิตให้ดูกันแล้ว
ขั้นตอนจะเริ่มจากทำไส้ในของลูกบอลสำหรับใส่ลมก่อน จากนั้นค่อยเอาแผ่นรองชั้นในประกบเข้าไปแล้วอัดเป็นลูก ส่วนแผ่นชั้นนอกเริ่มจากการพิมพ์ลายบนแต่ละชิ้น แล้วประกบเข้ารอบๆ ลูกบอล จากนั้นจึงค่อยอัดเป็นลูกกลมๆ อีกทีหนึ่ง
ที่มา - Gizmodo | https://jusci.net/node/1176 | เค้าผลิตลูกฟุตบอล Jabulani กันอย่างไร |
แม้ว่าเซลล์เชื้อเพลิงอาจจะเป็นความหวังที่ดีสำหรับรถยนต์พลังงานสะอาด แต่ในความเป็นจริงคือการใช้เซลล์เชื้อเพลิงสำหรับรถทั่วไปนั้นยังห่างไกลความเป็นจริงอีกมาก เนื่องจากถังเก็บก๊าซที่มวลโมเลกุลต่ำๆ เช่นก๊าซไฮโดรเจนนั้นอาจจะต้องการถึังแรงดันถึง 5,000psi ซึ่งไม่สามารถติดตั้งลงในรถยนต์ได้
แต่มหาวิทยาลัย Pardue โดยทีมของศาสตราจารย์ Arvind Varma ก็ได้เสนองานวิจัยใหม่ที่ทำให้การจัดเก็บก๊าซต้องการถึงแรงดันเพียง 200psi ซึ่งใช้งานในรถยนต์ได้
กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการ hydrothermolysis โดยอาศัยผงเคมี ammonia borane ซึ่งเป็นของแช็งที่มีสัดส่วนธาตุไฮโดรเจนสูงสุดมาช่วยจัดเก็บไฮโดรเจน แล้วจึงดึงออกมาภายหลังด้วยน้ำและความร้อน
ปัญหาของกระบวนการนี้คือมันต้องการความร้อน 170 องศาเซลเซียสเพื่อให้ ammonia borane ปลดปล่อยไฮโดรเจนออกมา ขณะที่กระบวนการของเซลล์เชื้อเพลิงมักอยู่ที่ 85 องศาเซลเซียสเท่านั้น
กระบวนการนี้ถูกจดสิทธิบัตรโดยทางมหาวิทยาลัยแล้ว และทีมงานเตรียมการพัฒนากระบวนการย้อนกลับเพื่อให้เปลี่ยนพลังงานกลับมาเป็น ammonia borane ได้อีกครั้ง
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1177 | กระบวนการเก็บไฮโดรเจนแบบใหม่อาจเป็นความหวังสำหรับรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง |
โครงการ Mar500 ก็เป็นเช่นเดียวกับโครงการอวกาศอื่นๆ ที่มักมีช่วงเวลาให้ลูกเรือได้ส่งข่าวสารมายังโลกภายนอกผ่านการบันทึกวีดีโอ และวีดีโอแรกจากองค์การอวกาศยานแห่งสหภาพยุโรป ก็ได้เผยแพร่ออกมาแล้ว
ภายในตัวยานสำหรับการเดินทางอันยาวนานก็มีภารกิจคล้ายการเดินทางจริง เช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การออกกำลังกายตามการควบคุมเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์ตลอดเวลา หรือกระทั่งการอาบน้ำทุกสิบวันเพื่อประหยัดน้ำ!
ข่าวดีคือมีเครื่องเล่นคอนโซลแทบทุกรูปแบบไว้ให้ผ่อนคลาย แต่ภารกิจนาน 17 เดือน ผมเล่น Wii สามเดือนก็เบื่อๆ แล้ว
วีดีโอท้ายข่าวครับ
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1178 | วีดีโอแรกจากโครงการ Mar500 มาแล้ว |
พลังงานที่ดูมีความหวังและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดในยุคนี้คงเป็นพลังงานนิวเคลียร์ที่ให้พลังงานต่อพื้นที่ได้สูงมาก และยังไม่ผลิตคาร์บอน แต่มีกากกัมมันตภาพรังสีที่น่ากลัวมาแทน แต่รายงานล่าสุดจาก International Energy Agency และ OECD Nuclear Energy Agency (NEA) ก็ได้แถลงการออกมาว่าพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นอาวุธที่ดีสำหรับการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
จุดแข็งหลักสองจุดของพลังงานนิวเคลียร์คือมันเป็นพลังงานที่นิ่งมานานแล้ว จากการใช้งานจริงมานับสิบๆ ปี โดยทุกวันนี้เองพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานถึงร้อยละ 14 ที่ทั้งโลกใช้งานอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามการใช้โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จำเป็นต้องมีนโยบายระดับชาติที่ชัดเจน และมีการระดมทุนขนานใหญ่ เพราะต้นทุนการก่อสร้างค่อนข้างสูงมาก
บ้านเราตกลงจะเอากับเขาไหม?
ที่มา - IEA | https://jusci.net/node/1179 | นิวเคลียร์คือหนทางสู่พลังงานไร้คาร์บอน? |
21 มิถุนายน 2553 - มีรายงานการววิจัยออนไลน์ใน Pediatrics ว่าทารกที่ดื่มนมแม่จนอายุครบ 4 เดือน มีอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารลดลง โดยการทดลองนี้ทำกับเด็กทารกในประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการเรียกร้องให้ทำการวิจัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน แทน 4 เดือน
สำหรับผลการวิจัยในเด็กทารกที่ดื่มนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือนนั้น มีอัตราการติดเชื้อลดลงเช่นกัน แต่ในทารกที่ดื่มนมแม่ร่วมกับทานอาหารอย่างอื่น มีอัตราการติดเชื้อลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ (หมายถึง ไม่มีผลลดอัตราการติดเชื้อนั่นเอง)
อย่างไรก็ตามผู้ทำการศึกษากล่าวว่า จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ลักษณะทางชีววิทยา, วัฒนธรรม และข้อจำกัดทางสังคม รวมทั้งผลของการดื่มนมแม่เป็นระยะเวลานาน ต่อการเป็นโรคติดเชื้อในวัยสูงอายุต่อไป
ที่มา : Medscape | https://jusci.net/node/1181 | ดื่มนมแม่จนอายุ 4 เดือน ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารของทารกได้ |
ผมเห็นหลายคนที่อยากให้เว็บวิทยาศาสตร์บ้านเราเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งกันเสียทีนะครับ ที่ผ่านมา Jusci เองก็คงยังไปไม่ถึงจุดนั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรเราก็อยากให้มีพื้นที่ๆ ที่ไว้คุยข่าววิทยาศาตร์ที่สนุกบ้าง และจริงจังบ้างโดยมีคนร่วมมากขึ้นในอนาคต
ในวันนี้คุณสามารถช่วยกันเผยแพร่ Jusci ให้ไปไกลกว่าเดิมได้ ด้วยการแปะลิงก์ไว้ในเว็บของคุณกันแล้วครับ หรือถ้าใครอยากช่วยออกแบบเพิ่มเติมก็ช่วยกันได้ครับ เดี๋ยวผมทำลิงก์เพิ่มให้
น้อง chobits_nizzy ทำมาให้เริ่มต้นสองแบบแล้วนะครับ
<a href="http://jusci.net" ><img src="http://lh4.ggpht.com/_1ytE1Adx1AY/TCOe3Z47YcI/AAAAAAAAQzY/HTW_LYIJq9c/s800/8815.png" width="80" height="15" alt="Jusci" title="Jusci"/></a>
<a href="http://jusci.net" ><img src="http://lh3.ggpht.com/_1ytE1Adx1AY/TCOe3RpW80I/AAAAAAAAQzc/ZmaV-HnXQOI/s800/8831.jpg" width="88" height="31" alt="Jusci" title="Jusci"/></a>
ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าครับ | https://jusci.net/node/1182 | มาช่วยกัน Spread Jusci ดีกว่า |
กลุ่มนักเรียนเกรด 7 (เทียบเท่า ม. 1) ของโรงเรียน Evergreen Middle School ในแคลิฟอร์เนีย มีโอกาสร่วมงานวิจัยกับมหาวิทยาลัย Arizona State University ในโครงการ Mars Space Flight Facility
งานที่นักเรียนได้รับมอบหมายคือให้ศึกษาตำแหน่งของทางลาวาบนดาวอังคาร ว่ามีลักษณะอย่างไร มักเกิดที่ไหนบ้าง โดยดูจากภาพถ่ายจากกล้อง Thermal Emission Imaging System (Themis) ของ NASA ซึ่งอยู่บนยานอวกาศ Mars Odyssey ที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารตั้งแต่ปี 2001
ปรากฎว่านักเรียนชั้นนี้ได้ค้นพบถ้ำแห่งหนึ่งอยู่บริเวณภูเขาไฟ Pavonis Mons ซึ่ง Glen Cushing นักวิทยาศาสตร์ที่เคยศึกษาภาพถ่ายบริเวณนี้ระบุว่า มันเป็นถ้ำแห่งใหม่ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน (ดูภาพถ้ำได้ตามลิงก์)
นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ crowdsourcing เด็กนักเรียนธรรมดาๆ ก็สามารถค้นพบเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ได้
ที่มา - CNET | https://jusci.net/node/1183 | เด็ก ม. 1 ค้นพบถ้ำบนดาวอังคาร |
จากลูกยิงเจ้าปัญหาของเกมอังกฤษ-เยอรมนี ในฟุตบอลโลก 2010 (รวมถึงนัดอื่นๆ เช่น อาร์เจนตินา-เม็กซิโก) ทาง FIFA นำโดยประธาน Sepp Blatter ได้ออกมาขอโทษอังกฤษและเม็กซิโกอย่างเป็นทางการ พร้อมบอกว่า FIFA จะนำประเด็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีมาช่วยตัดสินเกมฟุตบอล มาพิจารณาใหม่ (ใช้คำว่า reopen the file) อีกครั้งในการประชุมวันที่ 20-21 กรกฎาคม
FIFA ไม่ได้เจาะจงว่าจะพิจารณาเทคโนโลยีอะไรบ้าง แต่หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานว่า Blatter จะพิจารณาเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้ตัดสินว่าลูกเข้าประตูหรือไม่ (goal-line technology) ในกรณีของเกมอังกฤษ-เยอมรนี แต่จะไม่สนใจการใช้วิดีโอรีเพลย์ (กรณีของอาร์เจนตินา-เม็กซิโก)
ที่มา - FIFA, The New York Times | https://jusci.net/node/1184 | FIFA บอกจะพิจารณาเทคโนโลยีช่วยตัดสินใหม่อีกครั้ง |
ส่วนที่ยากที่สุดของการสร้างเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์คือการจัดเตรียมการจัดเก็บกากกัมมันตภาพรังสี โดยกากกัมมันตภาพรังสีแบบมีรังสีสูง (High Level Waste) นั้นมีค่ากัดเก็บถึงกว่า 3 ล้านบาทต่อลูกบาศก์เมตร การจัดการพื้นที่เพื่อให้การใช้ปริมาตรเหล่านี้จึงสำคัญมาก
ซอฟต์แวร์จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตัดแต่งก้อนกากเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น ลดความเสีี่ยงต่อสุขภาพ และลดค่าใช้จ่ายต่อการขนส่งและการจัดเก็บ
ทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งบริษัทเพื่อทำการค้ากับซอฟต์แวร์ตัวนี้ในชื่อบริษัทว่า Structure Vision และซอฟต์แวร์มีชื่อว่า NuPlant
ซอฟต์แวร์ตัวนี้จะถูกใช้เพื่อทำแผนการจัดการกากกัมมันตภาพรังสีกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะสร้างขึ้นใหม่ในอังกฤษ เนื่องจากกฏหมายบังคับให้มีการทำแผนการจัดการกากเหล่านี้ก่อนการสร้างโรงงานไฟฟ้าเสมอ
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1185 | มหาวิทยาลัย Leeds เสนอซอฟต์แวร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บกากกัมมันตภาพรังสี |
Grigori Yakovlevich Perelman นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียผู้ได้พิสูจน์ Poincaré conjecture หนึ่งในหกปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีรางวัล 1 ล้านดอลลาร์ให้กับผู้ที่แก้ปัญหาได้ ก็ได้ปฏิเสธที่จะออกมารับรางวัลนี้แล้ว
Perelman ตีพิมพ์บทพิสูจน์ Poincaré conjecture ออกมาเป็นชุดตั้งแต่ปี 2002 โดยบทพิสูจน์ของเขาได้รับการยืนยันอย่างน้อยสามครั้งตั้งแต่ปี 2006 ถึงปี 2008 แต่หลังจากปี 2006 เป็นต้นมาเขาก็เริ่มลดการทำงานคณิตศาสตร์และเก็บตัวเงียบในอพาร์ทเมนต์ของเขา
เขาพูดผ่านประตูห้องของออกมาสู่นักข่าวว่า "ผมมีทุกอย่างที่ต้องการแล้ว", "ผมไม่ต้องการเงินหรือชื่อเสียง", "ผมไม่ต้องการถูกมองเหมือนสัตว์ในสวนสัตว์ ผมไม่ใช่ฮีโร่"
มาจนทุกวันนี้ Poincaré conjecture เป็นเพียงปัญหาเดียวในหกปัญหาล้านดอลลาร์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
ที่มา - BBC | https://jusci.net/node/1186 | นักคณิตศาสตร์รัสเซียปฏิเสธรางวัลล้านดอลลาร์ |
ที่งาน PhotoVoltanic Japan 2010 มีการแสดงโซลาร์เซลล์แบบ CIGS (CuIn-GaSe) ที่ให้ประสิทธิภาพดีอย่างน่าทึ่งออกมาหลายรุ่น โดยประสิทธิภาพมีตั้งแต่ 12 ไปจนถึง 15%
บริษัท Q-Cell เป็นบริษัทเดียวที่มีสินค้าวางตลาดแล้วในที่ประสิทธิภาพ 12% และบริษัทระบุว่าได้พัฒนาโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ 14.2% สำเร็จแล้ว เช่นเดียวกับบริษัท MiaSole ที่ผลิตเซลล์ประสิทธิภาพ 10.5% ได้แล้วและกำลังพัมนาเป็นรุ่่น 13.8% ส่วนบริษัท Avancis GmbH & Co KG จากเยอรมันได้พัฒนาโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพถึง 15.1 ได้แล้ว และระบุว่ากำลังจะมีการผลิตในปี 2012
ปัญหาสามประการของพลังงานโซลาร์เซลล์ทุกวันนี้คือประสิทธิภาพการแปลงพลังงานที่มีผลต่อพื้นที่การผลิตไฟฟ้า, ค่าระยะการคืนพลังงานเนื่องจากการผลิตโซลาร์เซลล์สิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตสูงมาก, และราคาที่มักแพงเนื่องจากกระบวนการผลิตที่ยังซับซ้อน
ที่มา - Tech-On | https://jusci.net/node/1187 | ญี่ปุ่นโชว์ศักยภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบ CIGS ในงาน PhotoVoltanic Japan 2010 |
บริษัทผลิตชิปประมวลผลอย่างอินเทลนั้นมีภารกิจอย่างหนึ่งคือการสร้าง "ประเด็น" มาให้ชีวิตเราต้องการการประมวลผลมากขึ้นเรื่อยๆ และรถฉลาดก็เป็นหนึ่งในประเด็นล่าสุดนี้
รถ Intel Connected Car นี้จะเชื่อมต่อผ่านทางเครือข่าย WiMAX และติดตั้งกล้อง,เซ็นเซอร์การควบคุมต่างๆ ,บันทึงคันเร่งและพวงมาลัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ รถจะอัพโหลดข้อมูลไปแก่ตำรวจทันที เพื่อเป็นหลักฐานแก่คดี
ในขณะที่ระบบนี้ใช้ควบคุมผู้ขับขี่ ในอีกทางหนึ่งมันก็ช่วยให้ผู้ขับไม่หลงทาง มีระบบเตือนเมื่อขับย้อนศร และสามารถควบคุมรถจากระยะไกลได้
ข่าวต่อไป.. รถยนต์ยี่ห้อ xxx ถูกเรียกกลับโรงงานทั้งหมดเนื่องจากมีช่องโหว่ในซอฟต์แวร์
ที่มา - The Telegraph | https://jusci.net/node/1188 | อินเทลพัฒนารถยนต์ฉลาด, บันทึกข้อมูลประกอบคดีอุบัติเหตุ |
บริษัท IMEC แถลงความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตเซลล์ Thermophotovoltaic (TPV) ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากความร้อนส่วนเกินในระบบทำความร้อน ที่มีราคาถูกลงจนบริษัทอ้างว่าคุ้มค่ากว่าเซลล์แสงอาทิตย์
ความต้องการของเซลล์แบบ TPV นั้นคือความต่างของอุณภูมิ ยิ่งต่างกันมากๆ ยิ่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดี โดยมันต้องการความต่างอุณภูมิที่ระดับ 900-1300 องศา ซึ่งหาได้ตามโรงงานหล่อแก้วและโรงถลุงเหล็ก
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่มีการแถลงว่าสินค้ากำลังจะราคาถูกโดยไม่บอกราคา มักจะไม่เป็นจริง เช่นกรณี NanoSolar ที่ทุกวันนี้ก็ยังเป็นแหล่งพลังงานราคาแพง แถมต้องเข้าคิวซื้อกันเป็นที
ที่มา - Alternative Energy News | https://jusci.net/node/1189 | Thermophotovoltaic อาจเป็นความแหล่งพลังงานหมุนเวียนแหล่งใหม่ |
ฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศในวันอาทิตย์นี้อาจมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เพราะโลกของเราจะเกิดสุริยุปราคาในเวลาเดียวกับที่เกมฟุตบอลเริ่มแข่ง
แต่สุริยุปราคานี้จะไม่ได้เกิดที่แอฟริกาใต้นะครับ (ถ้าเกิดจริงคงเท่สุดๆ) โดยประเทศที่จะได้เห็นสุริยุปราคาคือหมู่เกาะ Cook ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ในช่วงเช้าที่พระอาทิตย์ขึ้น เป็นเวลา 5 นาที 20 วินาที
ประธานการท่องเที่ยวของหมู่เกาะ Cook บอกว่าผู้คนในหมู่เกาะแถวนั้นจะออกมารวมตัวกันดูสุริยุปราคาเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะกลับบ้านไปดูเกมฟุตบอลโลกกันต่อ
ใครแพ้นัดชิงอาจไม่ต้องโทษปลาหมึกอย่างเดียว แต่โทษสุริยุปราคาด้วยก็ได้
ที่มา - CNN | https://jusci.net/node/1190 | จะเกิดสุริยุปราคา ในเวลาเดียวกับฟุตบอลโลกนัดชิง |
ประเด็นความน่าเชื่อถือของบล็อกซึ่งกลายมาเป็นสื่อกระแสหลักในตอนนี้เริ่มกลายเป็นเรื่องอ่อนไหว เมื่อ ScienceBlogs.com ได้เปิดตัวบล็อก Food Frontiers โดยไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่ามันได้รับการสนับสนุนจากบริษัท PepsiCo
การกระทำเช่นนี้ทำให้นักเขียนและคนอ่านจำนวนมากเริ่มวิจารณ์ความน่าเชื่อถือของ ScienceBlogs.com นักเขียนส่วนหนึ่งประท้วงด้วยการหยุดเขียนบนเว็บ จนทาง ScienceBlogs.com ต้องประกาศเปลี่ยนข้อความในหน้า profile ของ Food Frontiers เพื่อประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าเป็นบล็อกที่ได้รับการสนับสนุนจาก PepsiCo และขึ้นหัวบล็อกว่าเป็นพื้นที่โฆษณา ตลอดจนสร้าง RSS feed ที่ตัดบทความโฆษณาเหล่านี้ออกไปทัั้งหมด
หลังจากแก้ไขแล้วทางทีมงานของ ScienceBlogs.com ก็ได้ออกจดหมายชี้แจงถึงการตัดสิน และความจำเป็นในการรับบล็อกที่มีการสนับสนุนจากบริษัท โดยตัวบริษัทเองก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับพื้นที่ในการอธิบายเรื่องราวของตนเองเท่ากับคนอื่นๆ และบริษัทเองก็ต้องรับคำวิจารณ์ในเรื่องราวที่เผยแพร่ออกไปเช่นกัน และประเด็นสุดท้ายคือเหตุผลในเชิงธุรกิจที่บล็อกโฆษณาเช่นนี้จะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับ ScienceBlogs.com ได้ดีกว่าการตามล่าหาโฆษณาและขายบทความโฆษณาเป็นครั้งๆ ไปมาก
ที่มา - Guardian | https://jusci.net/node/1191 | ScienceBlogs.com ยุติบล็อกจากบริษัท Pepsi หลังถูกวิจารณ์ |
นักวิทยาศาสตร์จาก National Center for Atmospheric Research (NCAR) ได้สร้างแบบจำลองของน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐ และพบว่ามันอาจถูกกระแสน้ำ Gulf Stream พัดออกจากอ่าวเม็กซิโก แล้วลอยออกมหาสมุทรแอตแลนติกไปถึงนิวยอร์ก
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐจะโดนผลกระทบจากน้ำมันรั่วคราวนี้กันถ้วนหน้า รวมถึงประเทศในทะเลแคริบเบียนบางส่วนด้วย
ที่มา - Intel | https://jusci.net/node/1192 | น้ำมันรั่วอ่าวเม็กซิโกอาจลอยออกมหาสมุทรแอตแลนติก |
NASA อาจตกม้าตายน้ำตื้น เพราะเชื้อเพลงที่ใช้สำหรับยานอวกาศระยะไกลเริ่มร่อยหรอ
สำหรับยานอวกาศที่ต้องสำรวจไกลเกินดาวอังคาร NASA ใช้พลูโตเนียม 238 เป็นเชื้อเพลิงให้ยานเหล่านี้สามารถเดินทางได้เองในระยะไกลๆ เพราะพลังงานแสงอาทิตย์จะอ่อนลงจนไม่พอต่อการขับเคลื่อน ตัวอย่างยานเหล่านี้ได้แก่ Voyager และ Pioneer
แต่ปัญหาคือพลูโตเนียมที่ NASA มีอยู่เริ่มหมด และการหามาเพิ่มไม่ใช่ง่ายเพราะเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด กระทรวงพลังงานของสหรัฐเองไม่ได้ผลิตพลูโตเนียม 238 มาเป็นเวลานาน และด้วยความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทำให้ NASA ไม่สามารถซื้อเชื้อเพลงนี้จากรัสเซียได้ ส่งผลให้ NASA มีเชื้อเพลงไม่พอสำหรับโครงการสำรวจอวกาศที่จะไปยังดวงจันทร์ Europa ของดาวพฤหัสบดี
ฝั่งรัสเซียเองก็ประสบปัญหาพลูโตเนียมร่อยหรอเช่นกัน และไม่ต้องการปันเชื้อเพลิงส่วนนี้ให้ NASA ทางออกที่เป็นไปได้คือต้องขอให้รัฐสภาสหรัฐอนุมัติการผลิตพลูโตเนียมขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่สำเร็จ ตัวเลือกสุดท้ายคือพึ่ง ESA องค์กรอวกาศยุโรป ซึ่งกำลังเร่งผลิตพลูโตเนียมให้ทันใช้ในปี 2020
ที่มา - Discovery | https://jusci.net/node/1193 | วิกฤตการณ์ NASA เมื่อเชื้อเพลงนิวเคลียร์สำหรับยานอวกาศเริ่มหมดลง |
กระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร โชว์เครื่องบินจู่โจมแบบไร้คนขับ (unmanned combat air vehicle หรือ UCAV) ชื่อ Taranis
Taranis เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งสายฟ้าตามตำนานของชนเผ่าเคลท์ (Celt) บนเกาะอังกฤษ เครื่อง Taranis จะผลิตโดยบริษัท BAE Systems ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ของอังกฤษ และจะเริ่มบินทดสอบในปีหน้า ถ้าสำเร็จด้วยดี BAE จะผลิตเครื่องรุ่นถัดไปเพื่อใช้ในกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร ส่วน Taranis จะถูกจำกัดเป็นแค่เครื่องทดสอบเท่านั้น
อากาศยานแบบไร้คนขับ เป็นทางออกของวงการการบินโดยเฉพาะการบินทหาร เพราะนักบินสามารถทนทานแรง G ได้มากที่สุดเพียง 8-9G เท่านั้น
ที่มา - BBC | https://jusci.net/node/1194 | อังกฤษโชว์ Taranis เครื่องบินไร้คนขับรุ่นใหม่ |
เคยนึกไหมว่า ไก่กับไขอะไรเกิดก่อนกัน พอคิดไปคิดมาก็ได้คำตอบวนๆ ถ้าไก่ไม่เกิดก่อนก็จะไม่มีไข่ แต่ถ้าไม่มีไข่ไก่ก็จะเกิดมาไม่ได้ แต่วันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้คำตอบนั้นแล้ว
Dr. Colin Freeman จาก Sheffield University ได้ทำการวิจัยอย่างหนักกับนักศึกษา Warwick University เพื่อหาคำตอบผลปรากฎว่า
"นานแล้วที่เราคาดว่าไข่น่าจะมาก่อนไก่แต่บัดนี้เราได้พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไก่นั้นมาก่อน" เขากล่าว
ข้อพิสูจน์นี้พิสูจน์ได้จากสารโปรตีนชนิดหนึ่งนั้นคือ Ovocledidin-17 (OC-17) ที่พบได้ในรังไขของไก่ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบการผลิตเปลือกของไข่นั้นเอง
OC-17 จะเปลี่ยนแคลเซียมคาร์บอนเน็ตให้เป็นแคลไซต์คริสตอล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นเปลือกไข่ในภายหลัง ซึ่งหากไม่มี OC-17 ก็จะไม่มีไข่ ซึ่ง OC-17 จะมาจากรังไข่ของไก่เท่านั้น แปลว่า ไก่ต้องเกิดก่อนไข่
เอิม...ส่วนตัวแล้วไม่ขอออกความคิดเห็น เพราะผมเชื่อว่าถ้าไม่มีไข่ก็ไม่มีไก่เหมือนกัน ;)
ที่มา Metro.co.uk ผ่าน Kotaku | https://jusci.net/node/1195 | นักวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาโลกแตกได้อีก 1 ข้อแล้ว ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน? |
บราเธอร์เจ้าเดียวกับที่ขายพรินเตอร์บ้านเราได้เปิดตัวแบตเตอรี่ที่สร้างพลังงานได้จากตัวเองด้วยการสั่น โดยออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานต่ำๆ อยู่แล้วเช่นรีโมท
ภายในตัวแบตเตอรี่นั้นจริงๆ แล้วใช้ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ 500mF เพื่อเก็บพลังงานวางคู่กับตัวผลิตกระแสไฟฟ้าพลังความสั่นไหว โดยตัวผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีความสามารถในการผลิตที่ 10 ถึง 180mW ขณะที่รีโมททั่วๆ ไปมักใช้พลังงานที่ 40 ถึง 100mW
ต่อไปต้องแปะป้าย "เขย่าก่อนใช้งาน"
ที่มา - Tech-On | https://jusci.net/node/1196 | บราเธอร์เปิดตัวแบตเตอรี่พลัง "สั่น" |
ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ของบริษัทไอทีอย่างกูเกิลนั้นไม่ใช่เพียงค่าคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรจำนวนมากเพียงเท่านั้น แต่ยังมีค่าพลังงานที่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลใช้พลังงานมหาศาลอยู่ทุกวันทำให้กูเกิลลงทุนเรื่องพลังงานค่อนข้างมาก และข้อตกลงล่าสุดก็มีการตกลงซื้อพลังงานลมไปอีกถึง 20 ข้างหน้าแล้ว
กูเกิลทำข้อตกลงซื้อพลังงาน 114 เมกกะวัตต์ไปอีก 20 จากบริษัท NextEra Energy Resource โดยบริษัทนี้มีกำลังผลิตถึง 7,600 เมกกะวัตต์ที่ผลิตด้วยลมอยู่ในตอนนี้
นี่เป็นผลจากการที่กูเกิลมีใบอนุญาตในการซื้อขายพลังงานแบบยกล็อต ด้วยใบอนุญาตนี้กูเกิลจะสามารถซื้อพลังงานล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานๆ แล้วบริหารการใช้งานของตัวเอง ตลอดจนขายส่วนเกินออกไปเมื่อพลังงานเหลือได้
ที่น่าสนใจคือกูเกิลเองก็มีหุ้นอยู่ในบริษัท NextEra นี้เองด้วย โดยกูเกิลลงทุนโดยตรงลงไป 38.8 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก็ไม่ได้มากอะไรกับบริษัทที่มีรายได้ 15 พันล้านดอลลาร์อยู่แล้ว
ที่มา - TechCrunch | https://jusci.net/node/1197 | กูเกิลเซ็นสัญญาซื้อพลังงานลม 20 ปี |
อินเทลก็เป็นอีกบริษัทที่หาความมั่นคงทางพลังงานอยู่เช่นกัน เมื่อต้นปีก็ได้มีการประกาศสร้างโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของตัวเองในศูนย์ของอินเทลจำนวน 8 แห่ง และวันนี้ศูนย์แรกที่มีกำลังผลิต 2.8 เมกกะวัตต์ก็เริ่มใช้งานแล้ว
ศูนย์นี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอินเทลที่แคลิฟอร์เนียร์ โดยอาศัยประโยชน์จากพื้นที่ส่วนปลายแหลมที่ใช้งานสร้างอาคารได้ลำบากขนาด 5.5 เอเคอร์ หรือกว่า 22,000 ตารางเมตรมาติดตั้งโซลาร์เซลล์
การติดตั้งทำโดยบริษัท SolarCity มีเว็บรายงานการผลิตกระแสไฟฟ้ารายวันเสร็จสรรพเปิดให้เราเข้าไปดูได้
ที่มา - Intel | https://jusci.net/node/1198 | อินเทลเริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในศูนย์ของตัวเองแล้ว |
http://farm5.static.flickr.com/4095/4815145782_bb4e0910a5.jpg
นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างแผนที่ชนิดใหม่ขึ้น คือ แผนที่แสดงความสูงของต้นไม้ของป่าไม้ทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจแบบ LIDAR โดยดาวเทียมของ NASA ซึ่งแผนที่นี้สามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้วัดปริมาณการเก็บก๊าซคาร์บอนที่ต้นไม้ได้กักเก็บไว้ทั้วโลก และ สามารถทำให้รู้ระยะเวลาของวัฐจักรคาร์บอนที่จะอยู่ในระบบสิ่งแว้ดล้อมจนลอยสู่ชั้นบรรยากาศ
จากแผนที่บริเวณที่มีต้นไม้ที่สูงที่สุด คือ บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ และ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา : http://www.nasa.gov/topics/earth/features/forest-height-map.html | https://jusci.net/node/1199 | มาแล้ว!! แผนที่แสดงความสูงของต้นไม้ทั่วโลก |
เครือโรงแรมรายใหญ่ Marriott ประกาศจะสร้าง "ต้นแบบ" (prototype) ของโรงแรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบสุดๆ ตามมาตรฐาน LEED
LEED ย่อมาจาก Leadership in Energy and Environmental Design (Wikipedia) เป็นมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ออกโดยกลุ่มสถาปัตยกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ โดยมาตรฐานนี้จะคำนึงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ, ปริมาณขยะที่เกิดจากสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
Marriott ใช้วิธีการพัฒนาดีไซน์ต้นแบบของโรงแรมสุดกรีนแห่งนี้ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการสร้างโรงแรมจริงๆ ลดลงไป 6 เดือน, ลดค่าใช้จ่ายลง 1 แสนดอลลาร์ต่อแห่ง, ลดการใช้น้ำไฟระหว่างก่อสร้างลง 25% โดยโรงแรม Courtyard Charleston/Summerville ในรัฐนอร์ธแคโลไรนา จะเป็นโรงแรมแห่งแรกที่ใช้กระบวนการสร้างตามต้นแบบนี้
ปัจจุบัน Marriott มีโรงแรม (ที่ไม่ได้ใช้การสร้างตามต้นแบบ) ที่ผ่านมาตรฐาน LEED อยู่ประมาณ 50 แห่ง ถ้านับทุกโรงแรมในสหรัฐมี 937 แห่งครับ
ที่มา - TechCrunch | https://jusci.net/node/1200 | เครือ Marriott จะสร้าง "ต้นแบบโรงแรมรักษาสิ่งแวดล้อม" |
นี่อาจเป็นก้าวสำคัญอีกขั้นของอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (อย่างน้อยก็ในสหรัฐ) โดยบริษัท The Car Charging Group, Inc. (CCGI) ซึ่งให้บริการชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ (คิดซะว่ามันคือปั๊มน้ำมัน) ได้จับมือกับ LAZ เจ้าของอาคารเช่าสำหรับจอดรถยนต์ในนิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ ให้บริการชาร์จไฟถึงที่จอดรถโดยตรง
CCGI นั้นให้บริการติดตั้งและดูแลระบบชาร์จไฟรถยนต์สำหรับหน่วยงานราชการอยู่แล้ว การขยายมายังที่จอดรถของเอกชน ย่อมเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้คนพิจารณาซื้อรถยนต์พลังไฟฟ้ามากขึ้น อย่างน้อยๆ ก็คนในนิวยอร์กที่ใช้บริการที่จอดรถของ LAZ
ที่มา - TechCrunch | https://jusci.net/node/1201 | อาคารจอดรถในนิวยอร์ก เพิ่มบริการชาร์จไฟสำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้า |
โซนี่และมหาวิทยาลัยโทโฮคุแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกันพัฒนาเลเซอร์สีน้ำเงินม่วง (blue-violet) ที่มีกำลังเอาท์พุท 100 วัตต์ ซึ่งสูงกว่าในบรรดาเซมิคอนดักเตอร์เลเซอร์สีน้ำเงินม่วงในปัจจุบันถึง 100 เท่า
ตาม press release ของโซนี่ กล่าวว่าบริษัทได้ทดสอบการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกับการบันทึกข้อมูลลงแผ่นออปติคอลที่มีความจุสูงรุ่นถัดไป ซึ่งตามที่เว็บไซต์ Examiner อ้างอิงจากแหล่งข่าวในญี่ปุ่นนั้น ความจุข้อมูลโดยใช้เลเซอร์ใหม่นี้อาจสูงกว่าความจุเดิมของแผ่นบลูเรย์ถึง 20 เท่า หรือความจุประมาณ 1TB นั่นเอง
ที่มา: มหาวิทยาลัยโทโฮคุ และ โซนี่ ผ่าน Examiner ผ่าน Engadget | https://jusci.net/node/1202 | โซนี่พัฒนาเลเซอร์สีน้ำเงินม่วง 100 วัตต์เอาท์พุท, แผ่นออปติคอล 1TB ในอนาคตกำลังจะเป็นจริง? |
เป็นแผนที่มีต้องยอมรับว่าเป็นความคิดที่สุดยอดมาก เมื่อบริษัท Shenzhen ประเทศจีน กำลังจะทำรถเมล์ขนาดยักษ์ชื่อ(ออกจะประหลาดนิดๆ)ว่า "3D Express Coach" ที่มีช่องว่างบริเวณด้านล่างให้รถและสะพานขนาดปกติลอดผ่านได้(จินตนาการคล้ายๆลอดอุโมงค์) ซึ่งจะทำให้บรรเทาปัญหาจราจรและประหยัดงบการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อรองรับด้วย
โดย Shenzhen จะเริ่มก่อสร้างเส้นทางสำหรับรถเมล์ยักษ์ปลายปีนี้ที่เขต Mentougou ทางตะวันตกของกรุงปักกิ่ง
ถ้าเป็นจริงได้นี่อาจจะนั่งสนุกกว่านั่งรถเมล์สองชั้นในกรุงลอนดอนก็เป็นได้!
คลิกเพื่อดูรูปประกอบ
วิดีโอการสาธิตสามารถดูได้จากลิงก์ข่าวด้านล่าง
ที่มา - Engadget | https://jusci.net/node/1203 | จีนมีแผนสร้างรถเมล์ขนาดมหึมาที่รถทั่วไปสามารถวิ่งลอดใต้ได้! |
ลูกค้าและว่าที่ลูกค้าของนิสสันเตรียมพบกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในรถยนต์ของนิสสันรุ่นถัดไป ดังนี้
เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ จะพ่นวิตามินซีออกมาด้วย เพื่อให้อากาศในรถมีความชุ่มชื้นขึ้น เป็นผลดีต่อผิวของผู้โดยสาร (ใช้เครื่องพ่นวิตามินของชาร์ป)
ระบบลดการชนท้าย โดยจะตรวจสอบระยะห่างจากรถคันหน้า แล้วเช็คกับความเร็วของรถในขณะนั้น ประมาณว่าถ้าขับเร็วขนาดนี้แล้วชนแน่ จะเตือนคนขับ ถ้ายังไม่ฟังมันจะลดความเร็วให้อัตโนมัติ อันนี้เป็นเทคโนโลยีเรดาห์แบบเดียวกับบนเครื่องบินและเรือโดยสาร
เก้าอี้โดยสารแบบใหม่ มีระบบทำความอุ่น ช่วยให้เลือดไหลเวียนคล่องตัว ลดการปวดหลังเมื่อต้องขับรถไกลๆ อันนี้เป็นเทคโนโลยีของ NASA
นอกจากนี้ยังมีเข็มวัดความเร็วแบบใหม่ ซึ่งจะช่วยเตือนไม่ให้เราขับรถเร็วเกินไป โดยแสดงวันสำคัญๆ ให้ผู้ขับรถยนต์เห็น เช่น วันเกิดของคนรัก วันครบรอบแต่งงาน
วิศวกรของนิสสันกล่าวว่า "เราต้องการให้ผู้ขับขี่รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออยู่ในรถยนต์ ควรจะรู้สึกปลอดภัยกว่าตอนอยู่นอกรถ"
ที่มา - AFP | https://jusci.net/node/1204 | นิสสันเตรียมเพิ่มวิตามินซีในแอร์รถยนต์ |
จากการระเบิดที่ชั้นบรรยากาศ (CME) ครั้งใหญ่บนดวงอาทิตย์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผลทำให้โลกของเรากำลังจะถูก “สึนามิอวกาศ” ลักษณะคล้ายกลุ่มเมฆมหึมาพัดถล่มอย่างรุนแรงภายในวันสองวันนี้
การระเบิดด้วยความรุนแรงระดับที่หาโอกาสเกิดได้ยากนี้ ครั้งแรกมีความรุนแรงมากช่วยส่งผลให้แรงระเบิดครั้งที่สองซึ่งเกือบจะพร้อมกัน หลุดออกมานอกชั้นบรรยากาศได้ง่ายขึ้น และมีทิศทางมุ่งตรงมายังโลกพอดีอย่างน่าใจหาย
มีการประกาศเตือนเมื่อไม่นานมานี้ว่าโลกบางส่วนอาจจะต้องตกอยู่ในสภาพถูกตัดขาดจากไฟฟ้าและระบบโทรคมนาคมเป็นช่วงระยะเวลานาน และคงไม่ต้องพูดถึงดาวเทียมกับสถานีอวกาศ ที่ไม่อาจทราบชะตากรรมเหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆบนพื้นโลก อย่างไรก็ตามระดับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นยังไม่มีใครสามารถให้ความมั่นใจได้ แต่ที่แน่ๆ จะเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ครั้งใหญ่เป็นของแถม ท่ามกลางความตื่นตระหนกของมนุษยชาติ
ที่มา telegraph.co.uk, newscientist.com
ชม ภาพ และ วิดีโอ เกี่ยวกับการระเบิดบนดวงอาทิตย์ | https://jusci.net/node/1205 | คลื่นสึนามิครั้งใหญ่จากดวงอาทิตย์จะมาถึงโลกภายในไม่กี่วันนี้ |
แม้กีฬายอดนิยมระดับโลกอย่างฟุตบอลจะไม่ยอมใช้เทคโนโลยีมาช่วยตัดสินจนเกิดลูกค้านสายตาอยู่เนืองๆ แต่สำหรับอเมริกันฟุตบอลแล้วตรงกันข้าม เพราะ NFL นั้นใช้เทคโนโลยีแทบทุกอย่างเท่าที่มี และการฝังชิปลงในลูกฟุตบอลก็เป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่ถูกพิจารณา
ปัญหาเรื่องลูกข้ามเส้นไปแล้วหรือไม่เป็นปัญหาแทบทุกประเภทกีฬา โดยเฉพาะอเมริกันฟุตบอลที่ผู้เล่น "อุ้ม" ลูกไปมานั้นเกมมักจะหยุดในสภาพที่ผู้เล่นนอนทับลูกฟุตบอลอยู่ทำให้ยากจะตัดสินว่าขณะที่ลูกสัมผัสพื้นนั้นได้ข้ามเส้นไปหรือไม่
บริษัทผู้ผลิตลูกบอลฝังชิปนี้คือ Cairos Technology AG ผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางกีฬาหลายตัว เช่น VIS.TRACK ที่วิเคราะห์ประสิทธิภาพของทีมในแง่มุมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการครองพื้นที่, ความเร็ว ฯลฯ
ที่มา - Reuters | https://jusci.net/node/1206 | NFL พิจารณาฝังชิปในลูกฟุตบอลช่วยตัดสินชี้ขาด |
เปลวสุริยะความแรงสูงที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมาจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแแปลงของสนามแม่เหล็กโลกในระยะเวลายาวนานเป็นพิเศษ โดยคาดว่าอาจจะนานถึง 12 ชั่วโมง ก่อให้เกิดแสงออโรร่าในบางพื้นที่ อย่างไรก็ตามนาซ่าออกมายืนยันว่ามันไม่มีผลต่อความปลอดภัยในการออกไปทำ spacewalk เพื่อซ่อมบำรุงสถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศนานาชาติเพิ่งจะประสบความเสียหายของปั๊มแอมโมเนียทำให้ระบบทำความเย็นหลักหยุดทำงาน นักบินต้องออกไปทำ spacewalk เพื่อซ่อมแซม
ที่มา - MSNBC | https://jusci.net/node/1207 | เปลวสุริยะจะไม่มีผลต่อการทำ spacewalk |
มีรายงานการสำรวจต้น Canola ที่ใช้ทำน้ำมันเพื่อปรุงอาหารในสหรัฐฯ พบผลที่น่าวิตกว่ายีนที่ผ่านการดัดแปลงเพื่อสร้างพันธุ์ทนทานต่อยาปราบศัตรูพืชนั้นได้แพร่ไปทั่วสหรัฐฯ จนตอนนี้ประมาณ 90% ของพืชชนิดนี้มียีนที่ได้รับการดัดแปลงนี้ไปแล้ว และกระจายไปทั่วสหรัฐฯ
การทดสอบนี้อาศัยการเดินทางกว่า 3,000 ไมล์ และเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 406 ตัวอย่าง มีตัวอย่างที่พบยืนที่ได้รับการดัดแปลงทั้งหมด 86% มียีนที่ได้รับการดัดแปลงนี้
อย่างไรก็ตามมีรายงานการศึกษาในแคนาดาพบผลที่ต่างออกไป โดยต้น Canola ที่ได้รับการดัดแปลงไม่สามารถแพร่พันธุ์ไปได้ไกลนัก
นักวิทยาศาสตร์พบว่าพืชที่ได้รับการดัดแปลงเหล่านี้อาจจะไม่ชนะพืชดั้งเดิมเสมอไป เช่นกรณี Canola นี้ การดัดแปลงออกแบบให้มันทนทานต่อยาฆ่าวัชพืชซึ่งในสภาพแวดล้อมนอกฟาร์มแล้วไม่มีการฉีดยานี้มากมายนัก ทำให้มันอาจจะไม่ได้เปรียบต่อพืชท้องถิ่นเสมอไป
ที่มา - NPR | https://jusci.net/node/1208 | พันธุ์ Canola แบบ GMO แพร่พันธุ์ไปทั่วสหรัฐฯ |
Vinay Deolalikar นักวิจัยจากห้องปฎิบัติการวิจัย HP อ้างว่าได้ใช้เวลาส่วนตัวเพื่อพิสูจน์ว่า P (ปัญหาที่แก้ได้ในเวลา polynomial) ไม่เท่ากับ NP (non-polynomial) เป็นผลสำเร็จหลังจากที่พยายามหลายครั้งในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมา
เอกสารความยาว 102 หน้ากระดาษ (Scribd) แสดงบทพิสูจน์ โดย Deolalikar ได้อีเมลรายงานนี้ออกไปให้นักวิจัยอื่นๆ ในวันที่ 6 ที่ผ่านมา และเขาอ้างในเว็บของเขาว่าเริ่มได้รับคำยืนยันบทพิสูจน์นี้ในวันที่ 8 ที่ผ่านมา
P != NP (หรือ P == NP) เป็นหนึ่งในเจ็ดปัญหาล้านดอลลาร์ของสถาบันคณิตศาสตร์ Clay ที่จนทุกวันนี้มีปัญหาเพียงข้อเดียวที่ถูกพิสูจน์ไปแต่นักวิจัยกลับปฏิเสธการรับรางวัล
ก่อนที่จะได้รับรางวัลนั้นปรกติจะต้องรอจนรายงานการยืนยันบทพิสูจน์ได้รับการตีพิมพ์ ในกรณี Poincaré conjecture นั้นได้รับการยืนยันเป็นทางการสามครั้งก่อนจะมีการติดต่อเพื่อมอบรางวัล
ที่มา - Greg and Kat's Blog | https://jusci.net/node/1209 | นักวิจัย HP กำลังจะตีพิมพ์บทพิสูจน์ P != NP |
การตรวจน้ำตาลแม้จะเป็นการตรวจง่ายๆ ที่ทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่จนทุกวันนี้เราก็ยังต้องอาศัยการเจาะเลือดเพื่อตรวจน้ำตาลกันอยู่ ทำให้เกิดคำถามมานานว่าจะมีวิธีใดบ้างที่สามารถตรวจน้ำตาลกันโดยไม่ต้องเจาะเลือด จนกระทั่งงานวิจัยล่าสุดจาก MIT ที่ใช้แสงแทนการเจาะก็มีความเป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้เครื่องตรวจความแม่นยำสูงพอในเวลาอันใกล้นี้
เทคนิคพื้นฐานของเครื่องที่ว่าอาศัยหลักการของ Raman spectroscopy ที่ยิงแสงใกล้อินฟราเรดผ่านผิวหนังคนไข้เพื่อตรวจสอบสารประกอบภายใต้ผิวหนัง อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีข้อจำกัดคือแสงนั้นไม่สามารถตรวจสารที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนังได้เพียงครึ่งมิลลิเมตร ทำให้การตรวจจะเป็นการตรวจน้ำตาลที่เซลล์ใต้ผิวหนังเท่านั้น
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสองคนคือ Ishan Barman และ Chae-Ryon Kong ร่วมกันพัฒนาเครื่อง Raman ขนาดเล็กและอัลกอริทึมเพื่อทำนายระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งได้ผลดีต่อเมื่อผู้ทดสอบไม่ได้เพิ่งกินอาหาร เพราะน้ำตาลในเลือดจะใช้เวลานับสิบนาทีกว่าจะซึมเข้าสู่เซลล์ชั้นนอก
แต่ในรายงานล่าสุดนักวิจัยทั้งสองได้พัฒนาอัลกอริทึมทำนายค่าแบบ Dynamic Concentration Correction (DCC) ที่ให้ผลแม่นยำขึ้น 15-30% โดยอาศัยความเร็วที่น้ำตาลซึมเข้าสู่เซลล์มาเป็นตัวแปรในการพิจารณา นับเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวก่อนจะพัฒนาในระดับที่ใช้งานได้จริงต่อไป
กลุ่มเป้าหมายสำคัญของงานวิจัยเช่นนี้คือผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ที่ต้องตรวจน้ำตาลเป็นประจำจนความเจ็บปวดจากการตรวจน้ำตาลต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ที่มา - MIT | https://jusci.net/node/1210 | งานวิจัยจาก MIT เปิดทางการตรวจน้ำตาลโดยไม่ต้องเจาะเลือด |
ปริศนา Rubik นอกจากจะมีไว้ให้เซียนทั้งหลายได้ประลองความเร็วกันก็ยังมีไว้ให้นักคณิตศาสตร์ช่วยกันหาว่าจะจำนวนครั้งที่จำเป็นสำหรับการแก้ Rubik ทุกรูปแบบนั้นต้องหมุนอย่างกี่ครั้ง โดยงานวิจัยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 1995 ได้ระบุว่าจำนวนครั้งที่น้อยที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาทุกรูปแบบของ Rubik นั้นจะไม่ต่ำไปกว่า 20 ครั้ง แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าจริงๆ แล้วมันสูงกว่านี้หรือไม่
เมื่อปี 1995 ตัวเลขขั้นสูงอยู่ที่ 29 ครั้ง และลดลงมาเรื่อยๆ เมื่อมีคนคิดเทคนิคใหม่ๆ ที่ลดจำนวนครั้งที่จำเป็นลงไปได้ แต่ทีม Morley Davidson, John Dethridge, Herbert Kociemba, และ Tomas Rokicki ก็ขอบริจาคเวลาทำงานของซีพียูจากกูเกิลเพื่อพิสูจน์ว่าจำนวนครั้งที่ต้องหมุนเพื่อแก้ปัญหา Rubik ทุกรูปแบบนั้นคือ 20 ครั้ง
Rubik นั้นมีความเป็นไปได้ของตำแหน่งต่างๆ อยู่ 43,252,003,274,489,856,000 ตำแหน่ง ทีมงานอาศัยการลดรูปแบบต่างๆ จนได้ปัญหาที่ต้องการแก้จริงๆ 55,882,296 กรณี แล้วคำนวณทีละกรณีจนกว่าจะเจอคำตอบที่ต้องหมุนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ครั้ง
กูเกิลบริจาคเวลาการทำงานของซีพียูเป็นเวลา 1 สัปดาห์ให้ทีมงานจนกระทั่งสามารถคำนวณทุกรูปแบบสำเร้จ กินเวลาซีพียูรวม 35 ปี โดยกูเกิลไม่เปิดเผยว่าเครื่องที่ให้รันนั้นจริงๆ แล้วมีกี่เครื่องกันแน่
น่าจะพิมพ์หนังสือขายได้ถ้ามันไม่หนาเกินไป
ที่มา - Cube20 | https://jusci.net/node/1211 | Rubik สามารถแก้ได้ภายในการหมุน 20 ครั้งเสมอ |
กว่า 4,500 ปีแห่งการยืนหยัดของมหาพีระมิดเมืองกิซ่า มนต์สเน่ห์ของมันได้สะกดทุกคนที่พยายามจะล่วงรู้ความลับอันยิ่งใหญ่ ทั้งยังสร้างความท้อแท้ได้ในเวลาเดียวกัน
ใจกลางของพีระมิดคูฟู ประกอบด้วยห้องราชาและราชินี มีความเชื่อว่าช่องแคบๆที่ทำมุม 45 องศามุ่งจากห้องราชาสู่ภายนอกพีระมิดเพื่อส่งดวงวิญญาณของพระองค์สู่สรวงสวรรค์ท่ามกลางหมู่ดาว ทว่าที่ห้องของราชินี ช่องเล็กๆได้ถูกค้นพบเช่นกันในปี 1872 เนื่องจากช่องเหล่านั้นไม่ได้ทะลุออกมาด้านนอกเหมือนห้องพระราชา จึงยิ่งกระตุ้นความอยากรู้ของคณะสำรวจมากขึ้นว่าสุดปลายของช่องนั้นคืออะไร
จนมาในปี 1992 มีการส่งกล้องขึ้นไปในช่องด้านหนึ่งได้ไกล 60 เมตรแต่กลับพบว่ามีประตูหินปูนพร้อมด้ามจับทองแดงกั้นอยู่ หลังจากนั้นอีกสิบปีต่อมา แม้จะมีการเจาะประตูนี้เข้าไป แต่หลังจากเจาะไปได้อีกเพียง 20 เซนติเมตรก็กลับพบประตูที่กั้นอยู่ด้านหลังอีกชั้น
หลังจากเตรียมการมากว่า 5 ปี ทีมโรโบติกส์ โดยการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ร่วมกับดอกเตอร์ซาฮี ฮาวาส แห่งสภาโบราณสถานอียิปต์ (SCA) กำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมส่งหุ่นยนต์จากโปรเจค Djedi ขึ้นไปสำรวจให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยหุ่นยนต์นี้มีคุณสมบัติทั่วไปคือสามารถวัดความหนาของหินที่จะเจาะด้วยคลื่นอัลตราโซนิค และมีกล้องขนาดเล็กที่สามารถสอดเข้าไปส่องด้านหลังของชั้นหินที่ถูกเจาะได้ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสำรวจคือต้องพยายามสร้างความเสียหายแก่โบราณสถานให้น้อยที่สุด
ที่มา: Independent (กรุณาตามไปอ่านคอมเมนต์ที่มีทั้งสาระและความฮา)
เพิ่มเติม:
ซาฮี ฮาวาส (Zahi Hawass)
สภาโบราณสถานอียิปต์ (Supreme Council of Antiquities หรือ SCA)
Djedi Project | https://jusci.net/node/1212 | เร่งสำรวจความลับที่หลงเหลือในพีระมิดคูฟูก่อนสิ้นปีนี้ |
ปมความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ นั้นมาแตกหักเอาเมื่ออิหร่านแข็งกร้าวที่จะพัฒนาแหล่งพลังงานด้วยพลังงานนิวเคลียร์ทำให้สหรัฐฯ ออกโรงต่อต้านอย่างเต็มตัว แต่ล่าสุดการขนส่งเชื้อเพลิงจากรัสเซียก็มีกำหนดจะเดินทางถึงโรงงานไฟฟ้า Bushehr ในวันที่ 21 นี้
รัสเซียลงนามในสัญญาพลังงานนิวเคลียร์กับอิหร่านมาตั้งแต่ปี 1995 แต่โครงการก็เลื่อนเรื่อยมาจนถึงวันนี้ที่ใกล้สำเร็จเต็มที โดยทางการรัสเซียอ้างว่าความล่าช้านี้เป็นเพราะเหตุผลทางเทคนิค แต่หลายๆ สำนักก็วิเคราะห์กันว่าเป็นเพราะการกดดันจากนานาชาติที่ไม่ต้องการให้อิหร่านมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์
ยูเรเนียมที่ส่งมอบให้อิหร่านเป็นเกรดที่ไม่สามารถทำหัวรบนิวเคลียร์ได้ โดยหัวรบนิวเคลียร์นั้นต้องการยูเรเนียมความบริสุทธิ์สูงกว่าร้อยละ 90 ขณะที่อิหร่านมีความสามารถในการผลิตยูเรเนียมความบริสุทธิ์ร้อยละ 3.5 และกำลังจะเปิดสายการผลิตยูเรเนียมที่ความบริสุทธิ์ร้อยละ 20 เพื่องานวิจัยทางการแพทย์
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1213 | โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิหร่านได้รับเชื้อเพลิงสัปดาห์หน้า |
มีรายงานอย่างเป็นทางการจากโรงพยาบาลในบรัสเซลถึงการเสียชีวิตของชายชาวเบลเยี่ยมผู้ได้รับเชื้อแบคทีเรีย NDM-1 (New Delhi metallo-beta-lactamase) ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในปากีสถาน ซึ่งนับเป็นผู้ติดเชื้อรายแรกที่เสียชีวิตจากยีนดื้อยา "superbug" ยีนกลายพันธุ์ที่ถูกพบครั้งแรกในอินเดียจากผู้ป่วยชาวสวีเดนและนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากำลังแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้ยังไม่มีทางรักษาใดๆ
ที่มา - AFP, RFI | https://jusci.net/node/1214 | Superbug NDM-1 คร่าชีวิตคนเป็นคนแรกแล้ว |
นอกจากขยะตามเมืองใหญ่ที่กองสุมกันจนเป็นปัญหาทุกวันนี้แล้ว ปัญหาขยะอวกาศกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่วงการสื่อสารต้องกุมขบับ เมื่อชิ้นส่วนเล็กๆ จากซากยานอวกาศตลอดเจนของเสียจากยานอวกาศจำนวนมากกำลังล่องลอยเบียดบังวงโคจรดาวเทียมไปเรื่อยๆ โครงการ Electrodynamic Debris Eliminator (EDDE) จากบริษัท Star Inc. ได้เสนอตัวเข้ามาเก็บกวาดขยะเหล่านี้ออกจากวงโคจร
โครงการนี้จะใช้ตาข่ายจำนวน 200 ชุดจากยาน EDDE 12 ลำ ชุดเก็บกวาดซากขยะอวกาศในชั้น LEO ที่มีขยะขนาดเกิน 2 กิโลกรัมลอยอยู่ถึง 2,465 ชิ้น โครงการกินระยะเวลารวมถึง 7 ปี
หลังจากเก็บซากเหล่านี้แล้ว เราอาจจะทำลายซากด้วยการปล่อยให้ยาน EDDE ตกลงสู่ทะเล หรือไม่หากมีใครต้องการวัสดุเหลือใช้ในอวกาศ ก็อาจจะให้ยาน EDDE ไปส่งได้ เพราะแต่ละลำจะมีโลหะที่ขนส่งขึ้นไปได้ยากอยู่นับร้อยกิโลกรัม
ที่มา - PC World | https://jusci.net/node/1215 | โครงการอวกาศล่าสุดของกลาโหมสหรัฐฯ : เก็บกวาดขยะออกจากวงโคจร |
รายงานหัวข้อ "Solar and Nuclear Costs — The Historic Crossover" โดย ศาสตราจารย์ John O. Blackburn จากมหาวิทยาลัย Duke และ Sam Cunningham นักศึกษาของเขาได้รายงานถึงต้นทุนที่สวนทางกันระหว่างพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนต่ำลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือ 16 เซนต์ต่อ kWh ขณะที่นิวเคลียร์นั้นเมื่อรวมต้นทุนด้านการควบคุมดูแลเข้าไปแล้ว ในตอนนี้มันมีค่าใช้จ่ายต่อเตาปฎิกรณ์สูงถึงหมื่นล้านดอลลาร์
รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาจากเขต North Carolina ซึ่งแสงอาทิตย์ไม่ได้เข้มข้นที่สุดในสหรัฐ (รัฐที่มีทะเลทรายเยอะๆ จะได้เปรียบกว่านี้) และยังคำนวณต้นทุนจากการผลิตไฟฟ้าแบบ PV หรือการใช้โซลาร์เซลล์เท่านั้น ไม่ได้รวมเอา concentrating solar power (CSP) ที่ใช้กระจกรวมแสงมาต้มน้ำซึ่งน่าจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า เพราะใช้เทคโนโลยีต่ำกว่า
อย่างไรก็ตามรายงานฉบับนี้คิดราคาหลังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว หากเป็นราคาต้นทุนที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุน กว่าต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์จะต่ำกว่านิวเคลียร์ได้ก็อีกประมาณ 9 ปีข้างหน้า
ที่มา - The Energy Collective | https://jusci.net/node/1216 | พลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ ถูกกว่าพลังงานนิวเคลียร์แล้ว |
หลังจากบิล เกตส์ เกษียณตัวเองจากไมโครซอฟท์ไปทำงานการกุศล ภาพที่ออกมา เรามักเห็นเขาไปทำเรื่องสุขภาพ วัคซีน และการศึกษาเสียมาก แต่เมื่อบิล เกตส์มาพูดเรื่องพลังงาน เขาก็ทำได้ดีเหมือนกัน
บิล เกตส์ ขึ้นพูดที่งาน TED 2010 โดยประเด็นของเขาคือการปล่อย CO2 ให้น้อยที่สุด เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากอุณหภูมิโลก แนวทางของเกตส์คือลดการปล่อย CO2 ต่อหน่วยพลังงานที่เราใช้ ซึ่งก็สะท้อนว่าต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด
เทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่เกตส์สนใจ และคาดว่ามันจะทำให้เป็นจริงได้คือ การกักเก็บคาร์บอน, พลังนิวเคลียร์, แสงอาทิตย์ และลม ซึ่งเขาพูดรายละเอียดของพลังงานชนิดต่างๆ ว่ามีปัญหาหรือจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
วิดีโอความยาวประมาณ 20 นาทีกว่าๆ เหมาะสำหรับดูเพื่อตามให้ทันว่าโลกพลังงานเดี๋ยวนี้เป็นยังไงบ้างแล้วครับ (มีซับอังกฤษด้วยนะ)
ที่มา - TED Talk | https://jusci.net/node/1217 | Bill Gates on Energy |
เวลาเราออกไปเที่ยวทะเลแต่ละครั้งหากเรากลัวผิวเสียแล้วสิ่งที่เราลืมไม่ได้คงเป็นครีมกันแดด SPF สูงๆ สักหลอด แต่งานวิจัยล่าสุดโดย ดร. Shapira และศาสตราจารย์ Bodo Kuklinski จากมหาวิทยาลัย Rostock ก็แสดงให้เห็นว่าการกินนั้นมีผลต่อการปกป้องร่างกายเราจากแสงแดดไม่ต่างกัน
ทีมวิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทานอาหารที่มีสาร antioxidant ในปริมาณสูง อีกกลุ่มหนึ่งทานน้ำอัดลมตามปรกติ ช่วงเวลาสองสัปดาห์ผ่านไปกลุ่มทดลองได้รับปริมาณแสงอาทิตย์วันละห้าถึงหกชั่วโมงเท่าๆ กัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสาร antioxidant สูงนั้น มีการสร้างชั้นป้องกันบนผิวหนังช่วยลดการเกิดผื่นแดง (skin erythema) ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ในเขตที่มีอากาศร้อนชื้นนั้นเป็นการยากที่ครีมกันแดดจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกินอาหารที่มี antioxidant โดยเฉพาะกลุ่ม carotenoid ได้แก่ผักผลไม้ที่มีสีแดงเช่นมะเชือเทศ, แตงโม, แครอท หรือส้ม ก็สามารถช่วยได้อีกทางอย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยไม่ระบุว่ากัน "ผิวคล้ำ" หรือไม่
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1218 | อยากอาบแดดแต่กลัวผิวเสีย? กินอาหารให้ถูกต้องสิ |
แม้หลายประเทศจะมีการแยกขยะเพื่อจะนำขยะที่รีไซเคิลได้กลับมาใช้ใหม่ แต่ทุกประเทศก็มีปัญหาเหมือนๆ กันคือคนทิ้งขยะนั้นไม่รักษาวินัยในการแยกขยะให้ถูกต้อง แต่เมือง Cleveland ก็ได้เลือกที่จะใช้ RFID เข้ามาตรวจสอบว่าถังขยะถังใดทิ้งอย่างไม่ถูกต้องเพื่อเปรียบเทียบปรับต่อไป
ถังขยะที่มีบ้านเป็นผู้รับผิดชอบจะถูกบันทึกข้อมูลการทิ้งขยะไว้ด้วยรถเก็บขยะอัตโนมัติ หากถังขยะถังใดมีขยะทีรีไซเคิลได้เกินร้อยละ 10 เจ้าของบ้านผู้รับผิดชอบจะถูกปรับ 100 ดอลลาร์
นอกจากการแยกขยะแล้วยังมีเรื่องของปริมาณขยะ ที่บ้านที่มีขยะมากเกินกำหนดจะถูกปรับเช่นกัน
ทางเมืองจะค่อยๆ ติดตั้ง RFID ในถังขยะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปีละ 25,000 หลังคาเรือนเพื่อให้ครอบคลุมบ้านทั้งหมด 150,00 หลัง พร้อมกับเพิ่มจำนวนรถขยะอัตโนมัติที่มีอยู่แล้ว 3 คัน
ที่มา - Cleveland.com | https://jusci.net/node/1219 | เมือง Cleveland เตรียมติด RFID ให้ถังขยะเพื่อตรวจสอบการทิ้งขยะผิดประเภท |
ศาสตราจารย์เฟอร์นันโด เกเลมเบ็ค และทีมนักวิจัยแห่ง University of Campinas ประเทศบราซิล ได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบต้นตอที่แท้จริงของกระบวนการเกิด “ฟ้าผ่า” ในชั้นบรรยากาศ หลังจากเป็นปัญหาคลุมเครือให้นักวิทยาศาสตร์ขบคิดมากว่า 200 ปี จากการทดลองพิสูจน์ได้ว่าน้ำในชั้นบรรยากาศนั่นเองที่สามารถสะสมพลังงานไฟฟ้าและส่งผ่านพลังงานไปยังวัตถุอื่นที่เข้ามาใกล้ โดยจะพบประจุลบสะสมในกลุ่มอนุภาคซิลิกา เมื่ออยู่ในสภาพอากาศจำลองที่มีความชื้นสูง ในขณะที่ได้ผลลัพท์เป็นประจุบวกเมื่อใช้อนุภาคของอลูมิเนียมฟอสเฟต
จากการศึกษากระบวนการของการเกิด “สายฟ้า” นี้เอง จึงเป็นที่มาของ “พลังงานไฟฟ้าความชื้น” (humidity electricity) โดยเฟอร์นันโดกับพวกได้บัญญัติชื่อพลังงานชนิดนี้ว่า hygroelectricity
ต่อไปในอนาคตนอกจากจะมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว เราอาจจะมี “แผงเซลล์ความชื้น” ไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ถ้าแผงเซลล์แสงอาทิตย์ใช้งานได้ดีในที่ที่มีแดดจ้า แผงเซลล์ความชื้นก็คงใช้งานได้ดีในภูมิภาคที่อากาศมีความชื้นสูงนั่นเอง นอกจากนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เฟอร์นันโดยังเสนอไอเดียเกี่ยวกับการใช้วิธีทำนองเดียวกันนี้ดูดพลังงานไฟฟ้าออกมาจากอากาศก่อนที่จะเกิดฟ้าผ่าอีกด้วย
ที่มา:
popsci
eurekalert | https://jusci.net/node/1220 | ความชื้น - ก้าวแรกสู่พลังงานไฟฟ้าชนิดใหม่ |
เพื่อสานต่อความฝันของไอน์สไตน์ เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ทฤษฎีสตริงทำท่าว่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทำหน้าที่อธิบายถึง "ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง" แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เหตุเพราะเป็นเรื่องยากเกินไปที่จะทำการทดสอบมิติทั้งหมด "11 มิติ" ให้เห็นได้จริงนั่นเอง
ด้วยความบังเอิญ, ขณะนั่งฟังเพื่อนร่วมงานบรรยายเรื่องสมการของความพัวพันเชิงควอนตัม ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งรู้สึกคุ้นเคยกับสมการที่ว่านี้เป็นอย่างยิ่ง และได้กลับไปค้นดูงานวิจัยของตัวเองที่บ้าน จนในที่สุดก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าสมการนั้นเหมือนกับที่ตัวเองเคยคิดไว้หลายปีก่อน แต่เป็นสมการที่ใช้ทฤษฎีสตริงมาอธิบายคุณลักษณะของ "หลุมดำ"
เมื่อเป็นเช่นนี้ หากสมการเหมือนกันจริง จะทำให้ทฤษฎีสตริงถูกนำมาใช้คาดคะเนผลลัพท์ของความพัวพันเชิงควอนตัมได้ และในเมื่อการคาดคะเนพฤติกรรมของอนุภาคพัวพันสามารถทดลองได้ในห้องแล็ป นั่นหมายถึงนี่จะเป็นครั้งแรกที่มนุษย์จะสามารถ "ทดสอบ" บางส่วนของทฤษฎีสตริงได้จากการทดลอง โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Physical Review Letters แล้ว
ที่มา:
universetoday
wiredscience
popsci
eurekalert
physorg | https://jusci.net/node/1221 | นักวิทยาศาสตร์อาจพิสูจน์ได้แล้วว่า String Theory มีจริง |
ผู้อ่าน Jusci น่าจะรู้จัก Stephen Hawking ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษชื่อดัง เจ้าของหนังสือ "ประวัติย่อของกาลเวลา" (A Brief History of Time) กันหมดนะครับ
Hawking นั้นเป็นเหมือนนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ คือไม่เชื่อในทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก (หรือจักรวาล) เขาเคยพูดไว้ว่า "พระเจ้าเข้ากันไม่ได้กับวิทยาศาสตร์" แต่ล่าสุด Hawking ออกหนังสือเล่มใหม่ชื่อ The Grand Design และในหนังสือเล่มนี้ เขาฟันธงตรงๆ ว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างจักรวาล การเกิดบิ๊กแบงนั้นเป็นผลมาจากกฎทางฟิสิกส์ล้วนๆ
Hawking ให้เหตุผลว่าการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอื่นๆ ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของโลกนั้นลดลงไป ซึ่งอาจมองได้ว่าโลกไม่ได้ "ถูกสร้าง" ขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์อาศัย ทุกอย่างเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจักรวาลเกิดขึ้นมาจากกฎทางฟิสิกส์ เช่น แรงโน้มถ่วง
หนังสือเล่มนี้จะวางขายวันที่ 9 กันยายน โดย Hawking เขียนร่วมกับนักฟิสิกส์อีกคนชื่อ Leonard Mlodinow อีกสักพักคงมีเวอร์ชันแปลไทยออกมาให้เราอ่านกัน
ที่มา - BBC | https://jusci.net/node/1222 | Stephen Hawking ฟันธง "พระเจ้าไม่ได้สร้างสรรพสิ่ง" |
นาซ่ามีปัญหาคิดไม่ออกว่าจะไปดาวดวงไหนอยู่พอสมควร ล่าสุดก็คิดออกแล้วว่าเราควรบุกดวงอาทิตย์ของเราเอง โดยจะส่งยานสำรวจเข้าไปยังชั้นใกล้ผิวดวงอาทิตย์เพื่อสำรวจชั้น Corona ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชั้นที่ให้กำเนิดลมสุริยะ (ที่ทำให้เราดูทีวีดาวเทียมไม่ได้เป็นบางช่วง)
ที่ชั้น Corona นั้นมีอุณภูมิประมาณ 1,400 องศาเซลเซียสดังนั้นยานสำรวจจึงต้องทนทานความร้อนได้เป็นอย่างดี และยังมีรังสีต่างๆ ที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์อีกมาก
ที่มา - Fox News | https://jusci.net/node/1223 | นาซ่าเตรียมบุกดวงอาทิตย์ปี 2018 |
ปี 1997 ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมชาติฝรั่งเศส และทีมชาติบราซิล โรเบอร์โต คาร์ลอสจากทีมชาติบราซิลได้ทำการเตะลูกฟรีคิกที่โค้งอ้อมกำแพงเข้าประตูไปได้อย่างสวยงามโดยที่นายทวารอย่างฟาเบียง บาร์กเตซทำได้เพียงยืนเฉยๆ หลายคนบอกว่าลูกนั้นมันฟลุก
บอลลูกนั้นเองที่อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งทำการศึกษาและวิจัยลูกเตะดังกล่าวจนในที่สุดก็พบว่า วิถีของลูกบอลที่หมุนอยู่ในจะขดเป็นรูปก้นหอย แต่ปกติแล้วลูกบอลมักจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้ตกลงพื้นก่อนบวกกับระยะทางที่ค่อนข้างสั้น ทำให้เราไม่สามารถเห็นการโค้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ดังเช่นที่โรเบอร์โต คาร์ลอสได้ทำไว้ ซึ่งถ้าใครก็ตามที่เตะลูกบอลด้วยความแรงที่เหมาะสมและระยะทางที่ไกลพอเหมาะก็สามารถเตะลูกฟุตบอลให้เป็นรูปดังกล่าวได้ ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่าประตูนั้นมันก็ไม่ใช่ฟลุกซักเท่าไหร่สินะ
ถึงนัดนั้นบราซิลจะเสมอกับฝรั่งเศส แต่ในปีถัดมาบราซิลก็ถูกฝรั่งเศสเอาชนะไปได้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 ในรอบชิงชนะเลิศ
ที่มา - Wired | https://jusci.net/node/1224 | เมื่อลูกเตะที่คนหาว่าฟลุกนำไปสู่สมการทางฟิสิกส์ |
นับว่าเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันในความสามารถในการผลิตอุปกรณ์ที่โค้งงอได้ซึ่งจะไม่ใช่เพียงความฝันอีกต่อไป เรื่องน่ายินดีเช่นนี้เกิดขึ้นในงานวิจัยที่ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ ซึ่งร่วมมือกันผลิตทรานซิสเตอร์ที่อยู่แผ่นกราฟรีน graphene บนแผ่นทองแดงแล้วเคลือบด้วยโพลิเมอร์ ด้วยความทนต่อการโค้งงอของแ่ผ่นกราฟรีนนี้เองจะทำให้ทราซิสเตอร์สามารถคงสภาพอยู่ได้ ความโปร่งใสนี่เองที่เป็นจุดเด่นของอปุกรณ์นี้ ซึ่งในอนาคตเราอาจเห็นหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถงอได้หรือแม้กระทั่งพับได้ก็ตาม
หวังว่าเทคโนโลยีนี้จะสำเร็จออกมาสู่ผู้บริโภคภายในอนาคตอันใกล้
ที่มา : Nature | https://jusci.net/node/1225 | เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โค้งงอได้ |
การเข้ารหัสแบบควอนตัม หรือ quantum cryptography เป็นการรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดในตอนนี้ หลักการก็คือเราไม่สามารถวัดระบบควอนตัมโดยไม่รบกวนระบบได้ พูดง่ายๆก็คือ ถ้ามีคนดักฟังเราจะสามารถรู้โดยทันทีเพราะระบบควอนตัมได้เปลี่ยนไป
เรื่องราวมีอยู่ว่า คุณ Vadim Makarov แห่ง the Norwegian University of Science and Technology ใน Trondheim พร้อมเพื่อนร่วมทีม อ้างว่าได้ทำการแฮ็กค์ระบบได้แบบสมบูรณ์โดยไม่ระบบกวนระบบเลย
สิ่งที่เขาได้ทำก็คือยิงเลเซอร์ 1 มิลลิวัตต์ต่อเนื่องเพื่อลวงผู้รับสาร จากนั้นก็ขโมยข้อมูลของผู้ส่งสาร
เป็นไปได้อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ว มันคือการลวงให้ผู้รับสารเข้าใจว่าสัญญาณที่ได้รับเป็นสัญญาณควอนตัม แต่จริงๆแล้วมันคือสัญญาณแบบคลาสิก ไม่ใช่ควอนตัม ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นจากควอนตัมสู่คลาสิกโดยไม่มีใครสังเกต
อย่างไรโดยคุณ Vadim Makarov บอกว่า "การเข้ารหัสแบบควอนตัมยังคงมีความปลอดภัยดี แต่สิ่งที่เค้าที่จะทำให้การเข้ารหัสปลอดภัยมากยิ่ง"
ที่มา : Nature | https://jusci.net/node/1226 | การลวงการเข้ารหัสแบบควอนตัม |
ปี 1997 ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมชาติฝรั่งเศส และทีมชาติบราซิล โรเบอร์โต คาร์ลอสจากทีมชาติบราซิลได้ทำการเตะลูกฟรีคิกที่โค้งอ้อมกำแพงเข้าประตูไปได้อย่างสวยงามโดยที่นายทวารอย่างฟาเบียง บาร์กเตซทำได้เพียงยืนเฉยๆ หลายคนบอกว่าลูกนั้นมันฟลุก
บอลลูกนั้นเองที่อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งทำการศึกษาและวิจัยลูกเตะดังกล่าวจนในที่สุดก็พบว่า วิถีของลูกบอลที่หมุนอยู่ในจะขดเป็นรูปก้นหอย แต่ปกติแล้วลูกบอลมักจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้ตกลงพื้นก่อนบวกกับระยะทางที่ค่อนข้างสั้น ทำให้เราไม่สามารถเห็นการโค้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ดังเช่นที่โรเบอร์โต คาร์ลอสได้ทำไว้ ซึ่งถ้าใครก็ตามที่เตะลูกบอลด้วยความแรงที่เหมาะสมและระยะทางที่ไกลพอเหมาะก็สามารถเตะลูกฟุตบอลให้เป็นรูปดังกล่าวได้ ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่าประตูนั้นมันก็ไม่ใช่ฟลุกซักเท่าไหร่สินะ
ถึงนัดนั้นบราซิลจะเสมอกับฝรั่งเศส แต่ในปีถัดมาบราซิลก็ถูกฝรั่งเศสเอาชนะไปได้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 ในรอบชิงชนะเลิศ
ที่มา - Wired | https://jusci.net/node/1227 | เมื่อลูกเตะที่คนหาว่าฟลุกนำไปสู่สมการทางฟิสิกส์ |
มีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในทะเลทรายทางใต้ของรัฐยูทาห์ และได้รายงานไปยัง PLoS ONE แล้ว โดยไดโนเสาร์ทั้งสองสายพันธุ์เป็นไดโนเสาร์กินพืช มีรูปร่างใกล้เคียงกับ ไตรเซราทอป (Triceratops) ทั้งสองสายพันธุ์มีชื่อ และรายละเอียดดังนี้
ยูทาห์เซราทอป (Utahceratops) มี 15 เขา โดยเขาขนาดใหญ่บนจมูก มีเขาสั้น ๆ ใกล้กับตาแต่ออกไปด้านข้างแบบเขาวัว กะโหลกยาว 7 ฟุต สูง 6 ฟุต ทั้งลำตัวยาว 18 - 22 ฟุต น้ำหนักน่าจะอยู่ที่ 3 - 4 ตัน
คอทโมเซราทอป (Kosmoceratops) มีลักษณะคล้ายกับ ยูท่าห์เซราทอป แต่มี 10 เขาอยู่ที่ขอบของกระดูกกะโหลกศีรษะ มีทั้งชี้ลงล่าง และชี้ออกข้าง น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.5 ตัน และสูง 15 ฟุต
เขาของทั้งคู่ยาวประมาณ 6 นิ้ว ถึง 1 ฟุต และนักบรรพชีวินวิทยาบอกว่าพวกมันน่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 76 ล้านปีที่แล้ว ทั้งคู่น่าจะอาศัยอยู่บนทวีปที่เรียกว่า ลารามิเดีย (Laramidia) หรือในปัจจุบันคือรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา
นักวิทยาศาสตร์ยังระบุอีกว่า เขาของพวกมันน่าจะใช้มันการเลือกคู่ และข่มขวัญคู่แข่งเช่นเดียวกับเขาของพวกกวาง
ที่มา: Yahoo! News
Utahceratops
Kosmoceratops
รูปภาพจาก Utah Museum of Natural History | https://jusci.net/node/1228 | ค้นพบไดโนเสาร์ 2 สายพันธ์ใหม่ในรัฐยูทาห์ |
NASA เปิดเผยแผนที่แสดงมลภาวะทางอากาศของโลก โดยคำนวณจากความหนาแน่นของอานุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งเป็นขนาดอานุภาคที่เล็กพอจะผ่านการป้องกันของร่างกายและเข้าไปสะสมในปอดจนเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ดาวเทียมนั้นสแกนสภาพอากาศโดยตรงไม่ได้ แผนที่นี้เป็นการประมวลผลข้อมูลอื่นๆ อีกต่อหนึ่งโดย Dalhousie University ในแคนาดา
จากภาพจะเห็นว่าบริเวณที่เป็นทะเลทราย จะมีอานุภาคฝุ่นหนาแน่นมากครับ
ที่มา - Wired | https://jusci.net/node/1229 | แผนที่มลพิษทางอากาศรอบโลกจาก NASA |
Mono Jojoy ผู้นำกลุ่มกองโจรยาเสพย์ติด FARC ในโคลอมเบีย ซึ่งมีคนในกองกำลังถึง 11,000 คน Jojoy เป็นอาชญากรที่ทางการต้องการตัวมากที่สุด มีฐานที่มั่นอยู่ในป่าลึกชนิดที่ภาพถ่ายดาวเทียมแยกแยะไม่ได้ แต่เขากลับสิ้นท่าเพราะเทคโนโลยีง่ายๆ อย่าง GPS
Jojoy ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผสมกับเขามีบาดแผลฉกรรจ์ที่เท้า เขาจึงให้ลูกน้องสั่งซื้อรองเท้าบูตชนิดพิเศษมาให้ ทางกองโจรส่งข้อความสั่งซื้อรองเท้าซึ่งหน่วยข่าวกรองของโคลอมเบียดักจับได้ จึงซ้อนแผนโดยส่งรองเท้าที่แอบติด GPS ไปให้กับ Jojoy
เมื่อทางการโคลอมเบียสามารถระบุพิกัดของ Jojoy ได้ ก็เริ่มปฏิบัติการทางการทหารโดยใช้เครื่องบิน 57 ลำทิ้งระเบิดทางอากาศ ผสมกับกองกำลังภาคพื้นดิน ผลสรุปคือกองกำลัง FARC โดนทำลายย่อยยับ Jojoy เสียชีวิต ส่วนฝ่ายรัฐบาลสูญเสียหมาดมวัตถุระเบิดหนึ่งตัว
ที่มา - Gizmodo | https://jusci.net/node/1230 | ผู้นำกลุ่มกองโจรในโคลอมเบีย โดนสังหารเพราะ GPS ที่รองเท้า |
ไอบีเอ็มกำลังตีพิมพ์รายงานแสดงความสำเร็จของเทคนิคการตรวจวัดพฤติกรรมอะตอมแบบใหม่ที่ชื่อว่า Pulsed STM (Pulsed Scanning Tunneling Microscopes) ที่ทำให้นักวิจัยสามารถวัดพฤติกรรมอะตอมแต่ละอะตอมได้ที่ความละเอียดระดับนาโนวินาที
ที่ความละเอียด (ในเชิงเวลา) ระดับนี้จะเป็นการเปิดโลกงานวิจัยใหม่ๆ ที่นักวิจัยสามารถตรวจสอบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลาอย่างที่ไม่เคยทำได้ เช่น DRAM ที่อะตอมมีการคายประจุจนต้องชาร์จเข้าไปใหม่ ด้วย Pulsed STM นี้นักวิจัยสามารถบอกได้ว่าที่พฤติกรรมระดับอะตอมแล้วตัวอะตอมจะคายประจุในเวลาเท่าใด ซึ่งจากการวัดก็ได้เวลาคายประจุที่ 250 นาโนวินาที หรือน้อยกว่า DRAM ที่ใช้เวลาคายประจุ 50 มิลลิวินาทีอยู่ 200,000 เท่า (เพราะ DRAM ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก)
กล้องจุลทรรศน์แบบ STM นั้นประดิษฐ์ขึ้นในห้องวิจัยของ IBM เช่นกันและทำให้ผู้พัฒนาคือ Gerd Binnig และ Heinrich Rohrer ได้รับรางวัลโนเบลมาแล้ว
ที่มา - ZDNet | https://jusci.net/node/1231 | IBM ตรวจวัดพฤติกรรมของอะตอมได้ระดับนาโนวินาทีแล้ว |
เรื่องน่าแปลกสำหรับโลกนี้คือโทรศัพท์มือถือนั้นเข้าถึงคนถึง 5 พันล้านคนทั่วโลก หลายพื้นที่เข้าถึงแม้จะเป็นพื้นที่ห่างไกลจากการแพทย์พื้นฐานก็ตามที งานนี้ทางห้องวิจัย Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) ของ MIT จึงได้สร้างโครงการที่ชื่อว่า Sana (แปลว่าสุขภาพดีในภาษาสเปนและอิตาลี) โดย Sana จะเป็นเครื่องมือสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพเพื่อเก็บข้อมูลไปยังแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาการรักษาระยะไกล
Sana สามารถรวบรวมข้อมูลภาพเอ็กเรย์, บันทึกสัญญาณ ECG, อัลตร้าซาวน์, และภาพถ่ายเพื่อส่งกลับไปยังโรงพยาบาลศูนย์ได้
ทีมงานจาก MIT จำนวน 20 คนกำลังบินไปอินเดียและฟิลิปปินส์ เพื่อสาธิตและจุดประกายให้กับนักพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้สามารถพัฒนา Sana ตามความต้องการได้ต่อไป โดยทีมงานระบุว่า โครงการนี้ไม่ใช่การหยิบยื่นเทคโนโลยีให้กับผู้ใช้ แต่เป็นฝึกผู้ใช้ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่พึ่งพาตัวเองได้ต่อไป
3G ไม่มีอาจจะไม่ตาย แต่ถ้ามีการใช้การแพทย์ระยะไกลอย่างกว้างขวางเช่นนี้จริง น่าจะช่วยลดคนตายได้ไม่น้อย
ที่มา - MIT | https://jusci.net/node/1232 | MIT เขียนซอฟต์แวร์บน Android เพื่อการรักษาโรคทางไกล |
แม้ว่าเสียงปืนนัดสุดท้ายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะสงบไปแล้วกว่า 92 ปี แต่แท้ที่จริงแล้วยังไม่นับว่าปิดฉากลงอย่างเป็นทางการ
ประเทศผู้แพ้สงครามอย่างเยอรมนีที่ถูกบังคับให้เซ็นรับว่าเป็นผู้ก่อสงครามครั้งนั้น ทำให้เยอรมนีต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม และฝ่ายพันธมิตร (ไม่มีต่อว่าประชาชนเพื่อ... นะครับ) ด้วยยอดที่ตกลงกันตอนแรก 226,000 ล้านไรซ์มาร์ก แต่มีการต่อรองจนเหลือ 132,000 ล้านไรซ์มาร์ก (22,000 ล้านปอนด์)
ที่จริงแล้วเงินปฏิกรรมสงครามนี้ เยอรมนีสามารถจ่ายครบปิดบัญชีได้เร็วกว่านี้อีกหลายปีหากแต่มีการหยุดชำระในสมัยของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ทำให้เรื่องยืดเยื้อมาจนถึงตอนนี้
โดยทางเยอรมนีจะทำการชำระค่าปฏิกรรมสงครามงวดสุดท้ายจำนวน 59.5 ล้านปอนด์ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553) ซึ่งจะนับเป็นการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการครับ
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ | https://jusci.net/node/1233 | เยอรมนีจะจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งงวดสุดท้ายสัปดาห์นี้ |
สตีเว่น วอกท์ (Steven Vogt) แห่งมหาวิทยาลัยเคลิฟอร์เนียในซานตาครูซ และ อาร์ พอล บัทเลอร์ (R. Paul Butler) แห่งสถาบันคาร์เนกีเพื่อวิทยาศาตร์แห่งวอชิงตันได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่สามารถมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ (ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป) อยู่ในจักรราศีตุล ห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง (1 ล้านล้านกิโลเมตร) ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า Gliese 581g อยู่ในระบบสุริยะ Gliese 581
ดาวเคราะห์ Gliese 581g โคจรใกล้กับดาว Gliese 581 มาก ประมาณ 22.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 0.15 เท่าของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ แต่เพราะดาว Gliese 581 เป็นดาวแคระแดง (Red Dwarf) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 3 เท่า และมีอุณหภูมิน้อยกว่าดวงอาทิตย์ถึง 50 เท่า จึงทำให้ Gliese 581g ยังคงสภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตอยู่ได้
บัทเลอร์กล่าวว่า "ถึงแม้เราจะต้องส่องดู Glese 581 ผ่านกล้องโทรทัศน์ แต่ถ้าเรายืนอยู่บน Gliese 581g เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ของเราได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า"
Gliese 581g มีขนาดใหญ่กว่าโลก 3 ถึง 4 เท่า คาดว่าพื้นผิวจะเป็นหิน และมีแรงดึงดูดมากพอที่จะดึงดูดบรรยากาศเอาไว้ได้ มันใช้เวลาโคจรรอบ Gliese 581 ใช้เวลาประมาณ 37 วัน ในขณะที่โคจรรอบตัวเองก็ใช้เวลาประมาณนี้เช่นกัน จึงทำให้มันมีลักษณะแบบเดียวกับดาวพุธ คือ ซีกหนึ่งเป็นกลางวันตลอดกาล อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 70 องศาเซสเซียส อีกด้านหนึ่งเป็นกลางคืนตลอดกาล และหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ -31 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณจะอยู่ที่ประมาณ -31 ถึง - 12 องศาเซลเซียส
ทั้งคู่มั่นใจ 100% ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ หากมีสิ่งมีชีวิตอยู่จริง ก็จะเป็นพวกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีวิวัฒนาการมากนัก ซึ่งน่าจะอาศัยอยู่ที่จุดรอยต่อบริเวณกลางวัน และกลางคืนบนดาว สิ่งมีชีวิตที่ชอบร้อนหน่อย ก็อยู่ซีกกลางวันมากหน่อย ส่วนที่ชอบหนาวก็อยู่ในซีกกลางคืน
Gliese 581g ถูกตั้งชื่อเล่นอย่างไม่เป็นทางการว่า โลกแห่งซาร์มินา (Zarmina's World) ตามชื่อภรรยาของวอร์ก
ที่มา: Yahoo! News (AP - Reuters - Space)
ภาพเปรียบเทียบขนาดระบบสุริยะ Gliese 581 กับระบบสุริยะของเรา (ภาพจาก Space.com) | https://jusci.net/node/1234 | ค้นพบดาวเคราะห์ที่คาดว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตชื่อ Gliese 581g ในจักราศีตุล |
สไปค์ ดับเบิลยู เอส ลี (Spike W.S. Lee) นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ร่วมทำการวิจัยกับนักจิตวิทยานอร์เบิร์ต ซวอร์ท (Norbert Schwarz) เพื่อพิสูจน์ว่า "คำว่า มือสกปรก หรือ ปากเสีย ที่เป็นคำอุปมาอุปมัยนั้น ทำให้เราคิดว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ "
การวิจัยทำโดยการให้นักศึกษา 87 คนสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ทางกฏหมาย ซึ่งทำงานแข่งกับ คริส เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่ง แล้วพวกเขาพบเอกสารสำคัญที่คริสได้ทำหาย การนำเอกสารชุดนี้ไปคืน จะเป็นการช่วยเหลือเรื่องงานของคริสได้อย่างมาก และสร้างผลเสียต่อการงานของพวกเขา โดยนักศึกษาจะต้องฝากข้อความให้แก่คริส ผ่านทางบริการฝากข้อความเสียง หรือผ่านทางอีเมล แล้วแต่จะสะดวก ซึ่งนักศึกษาจะพูดโกหกว่าไม่เจอเอกสาร หรือจะพูดความจริง อย่างไรก็ได้ แต่จะต้องระบุชื่อตัวเองลงไปด้วย
หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษากรอกผลสำรวจเกี่ยวกับการตลาด โดยให้ใส่จำนวนเงินที่เขายินดีจะจ่ายต่อผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ โดยในรายการนั้นมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำยาป้วนปาก และน้ำยาล้างมือรวมอยู่ด้วย
ผลการวิจัยออกมาว่า นักศึกษาที่พูดโกหก ยินดีที่จะจ่ายค่าน้ำยาป้วนปากมากกว่า และคนที่ส่งข้อความเท็จผ่านทางอีเมล ก็ยินดีที่จะจ่ายค่าน้ำยาล้างมือมากกว่านักศึกษาคนอื่น ๆ
การวิจัยแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างนามธรรม กับรูปธรรมได้เป็นอย่างดี เมื่อเรากระทำความผิดแล้ว นอกเหนือจากการล้างบาปแล้ว เรายังต้องการที่จะล้างอวัยวะที่ใช้ในการกระทำผิดนั้น เพราะให้เรากลับมาบริสุทธิ์ดังเดิม
ดังนั้น หากคุณพูดโกหกไปแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ก็ไปป้วนปากเสีย มันจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
ที่มา: PhysOrg | https://jusci.net/node/1235 | รู้สึกผิดที่พูดโกหกหรือ? ไปป้วนปากสิ |
Xianli Wu, ศูนย์บริการงานวิจัยทางการเกษตร กระทรวงเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา, ศูนย์โภชนาการเด็ก ประเทศอาร์คันซอ และมหาวิทยาลัยอาร์คันซอเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการตีพิมพ์ผลงานวิจัยชิ้นนี้ลงใน Journal of Nutrition
ก่อนอื่นขอกล่าวถึงการแข็งของหลอดเลือดแดงก่อนว่า สามารถเกิดขึ้นได้ในคนปกติตามอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack)
ผู้ทำการวิจัยทำการวัดขนาดหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) 2 ตำแหน่ง ในหนูทดลองที่ขาด apolipoprotein-E (ทำให้หนูทดลองพวกนี้มีโอกาสเกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ง่ายขึ้น)โดยหนูจำนวนครึ่งหนึ่งให้อาหารผสมผงบลูเบอร์รี่เป็นเวลา 20 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองที่ได้อาหารผสมผงบลูเบอร์รี่มีขนาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ต่ำกว่าหนูที่ได้รับอาหารธรรมดา 39 และ 58 %
ในเบื้องต้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการรับประทานบลูเบอร์รี่ช่วยต่อต้านโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยผงบลูเบอร์รี่สดที่ให้กับหนูทดลองนั้นมีปริมาณเทียบเท่าบลูเบอร์รี่สดครึ่งถ้วย
นอกจากนี้ ผู้ทำการวิจัยชุดนี้ยังวางแผนจะทำการศึกษาในเบื้องลึกต่อไปว่า บลูเบอร์รี่ช่วยต้านการแข็งของหลอดเลือดแดงได้อย่างไร
เอ้า ดื่มวีต้า แล้วนอน !!!
ที่มา : physorg | https://jusci.net/node/1236 | การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าบลูเบอร์รี่ช่วยต้านการแข็งของหลอดเลือดแดง |
เป็นที่รู้กันว่าเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แต่ปัญหาคือข้อถกเถียงที่ว่าอายุเท่าใหร่จึงควรเริ่มตรวจ mammography เพื่อลดความเสี่ยงนี้ โดยก่อนหน้านี้ USPSTF หรือคณะทำงานเพื่อการป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้ประกาศแนะนำให้ผู้หญิงตรวจ mammography ในอายุตั้งแต่ 50 ถึง 74 ปีเพื่อลดความเสี่ยง แต่รายงานวิจัยล่าสุดก็ระบุว่าตัวเลขที่เหมาะสมจริงๆ ควรเป็น 40 ปีมากกว่า
งานวิจัยนี้ทำขึ้นในประเทศสวีเดนด้วยการติดตามกลุ่มตัวอย่างถึง 600,000 คนเป็นเวลา 16 ปีพบว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับการตรวจ mammography เลยมีอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมถึงสองเท่าของกลุ่มที่ได้รับการตรวจ และการตรวจที่เริ่มจากอายุ 40 ปีสามารถลดความเสี่ยงได้มากกว่าการตรวจที่ 50 ปีถึงหนึ่งในสาม
การตรวจมะเร็งพบแต่เนิ่นๆ ที่ทางที่ดีที่สุดที่จะรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายงานล่าสุดนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Cancer ถ้ามหาวิทยาลัยไหนสมัครไว้ก็น่าจะโหลดกันมาอ่านได้
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1237 | รายงานสำรวจยืนยัน ผู้หญิงควรเริ่มตรวจ Mammography ทุกปีนับแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป |
จากการร่วมวิจัยของ เพทริค แฮกการ์ด (Patrick Haggard) และ มาร์โจลีน แคมเมอร์ (Marjolein Kammers) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ได้พบว่า การใช้มือของตัวเองสัมผัสบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
ทั้งสองได้ทำการทดลองโดยการใช้วิธี thermal grill illusion (TGI) ซึ่งเป็นการสร้างความเจ็บปวดโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการให้ผู้ถูกทดลองเอานิ้วนาง และนิ้วชี้จุ่มลงไปในน้ำอุ่น แล้วจุ่มนิ้วกลางลงไปในน้ำเย็น ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้นิ้วกลางรู้สึกถึงความร้อนอย่างรุนแรง โดยจะต้องทดลองทั้ง 2 ข้าง หลังจากได้รับความเจ็บปวดแล้ว ให้ผู้ถูกทดลองขยับนิ้วมือทั้งสาม มาสัมผัสกับนิ้วมือของอีกข้างหนึ่งในทันที
จากการทดลองจะพบว่า เมื่อได้รับสัมผัสจากนิ้วมือของมืออีกข้าง ความรู้สึกเจ็บปวดจะลดลงประมาณ 64% แต่ผลจะไม่เป็นเช่นนี้ หากทดลองด้วยมือเพียงข้างเดียว หรือ สัมผัสด้วยนิ้วมือเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว รวมทั้ง สัมผัสจากผู้ร่วมทดลองคนอื่นก็ไม่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า สมองได้รับรู้จากสัมผัสว่า ร่างกายที่ได้รับความเจ็บปวดนั้นยังมีอยู่ ยังมีความรู้สึกอยู่ ไม่ได้สูญเสียอวัยวะส่วนนั้นไป
จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า สมองมีการจดจำประสบการณ์ความรู้สึกเจ็บปวดของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ไว้ ซึ่งทำให้บางคนยังรับรู้ความรู้สึกว่ายังมีอวัยวะส่วนนั้นอยู่ แม้เขาจะไม่มีอวัยวะชิ้นนั้นอยู่จริงแล้วก็ตาม แฮกการ์ดเชื่อว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้ดีขึ้น
ถ้าคุณรู้สึกเจ็บปวดตรงไหน ลองเอามือลูบบริเวณนั้นดู มันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
ที่มา: PhysOrg | https://jusci.net/node/1238 | บรรเทาอาการเจ็บปวดฉับพลันด้วยการสัมผัส |
ทางหนึ่งที่ทำให้คนเราใช้พลังงานประหยัดลงได้คือการรายงานว่าการกระทำอะไรของเราที่เป็นต้นเหตุของการสิ้นเปลืองพลังงาน เมื่อเรารู้ตัวแล้วคนส่วนมากมักจะสามารถปรับตัวเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นได้ โดยไม่ลำบากเกินไปนัก ปัญหาคือการรายงานการใช้พลังงานของเรานั้นมักเป็นใบเสร็จค่าไฟฟ้าใบเดียวตอนสิ้นเดือนทำให้เราปรับแนวทางการใช้งานได้ลำบาก ล่าสุด Belkin ก็ออกเราท์เตอร์ Conserve Gateway ที่สามารถเก็บบันทึกการใช้ไฟฟ้าทั้งบ้านของเราได้อย่างละเอียดแล้ว
Conserve Gateway คือเราท์เตอร์ที่สามารถเก็บค่าและควบคุมอุปกรณ์ที่สื่อสารผ่านโปรโตคอล Zigbee แบบ Smart Energy Profile (SEP 1.0) ได้ทำให้มันต่อกับอุปกรณ์ตรวจวัดการใช้พลังงานในบ้าน และบันทึกการใช้พลังงานของอุปกรณ์ทุกตัวอย่างละเอียดเพื่อรายงานเราได้ว่าเราเสียพลังงานไปกับเรื่องใดบ้าง เช่นหลอดไฟที่อาจจะเก่าเกินไป อาจจะทำให้เราตัดสินใจซื้อหลอดไฟใหม่ได้ง่ายขึ้น
Belkin มีอุปกรณ์ในตระกูล Conserve อยู่หลายตัว น่าเสียดายที่ทั้งหมดยังไม่มี Zigbee ในตัวเลย
ไปทำปลั๊กรางแบบต่อกับเราท์เตอร์นี่ได้มาขายกันดีกว่าครับ
ที่มา - Belkin | https://jusci.net/node/1239 | Belkin ออกเราท์เตอร์สำหรับการตรวจวัดพลังงานในบ้าน |
โครงการกระสวยอวกาศหรือ Space Shuttle ของ NASA ใกล้จบสิ้นเต็มที หลังจากที่ต้องยืดอายุการใช้งานมาหลายรอบ ทาง NASA จึงปลดพนักงานในโครงการ Space Shuttle ออก 1,200 ตำแหน่ง มีผลวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา
CNN ได้สัมภาษณ์ John Bundy ผู้จัดการฝ่าย orbital processing facility ประจำศูนย์อวกาศเคเนดี้ เขาทำงานกับ NASA มา 31 ปี ซึ่งกลายเป็นคนตกงานทันที เขาบอกว่าภูมิใจในเกียรติประวัติตลอด 31 ปี แต่ตอนนี้ชีวิตต้องก้าวต่อไป โดย Bundy เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชุมชน Brevard Community College เพื่อเตรียมหางานใหม่ เหตุเพราะทักษะของเขาค่อนข้างเฉพาะ และหางานที่อื่นทำยากมาก
พนักงานบางส่วนอาจได้ย้ายไปทำงานกับโครงการ Constellation ซึ่งเป็นโครงการที่จะมาแทน Space Shuttle แต่ก็ล่าช้าไปมากเช่นกัน ปัจจัยชี้ขาดขึ้นกับว่าประธานาธิบดีโอบามาจะยอมอนุมัติงบประมาณ 19,000 ล้านดอลลาร์ให้กับ Constellation หรือไม่
นอกจากนี้บริษัท Lockheed Martin ยังปิดโรงงานที่คอยเติมเชื่อเพลิงให้กับถังเชื้อเพลิงภายนอกของกระสวยอวกาศจำนวน 136 ถัง ซึ่งทำงานมาตั้งแต่ปี 1973
ที่มา - Slashdot, CNN | https://jusci.net/node/1240 | NASA ปลดคน 1,200 ตำแหน่ง หลังโครงการ Space Shuttle หมดอายุขัย |
โรงพยาบาล Barnes-Jewish ประกาศความสำเร็จในการรักษามะเร็งในสมองด้วยเครื่องยิงเลเซอร์แบบนำร่องด้วย MRI สำเร็จเป็นคนแรกแล้วหลังจากเครื่องมือนี้ได้รับอนุมัติมาตั้งแต่ปีที่แล้วให้ใช้ในผู้ป่วยจริงได้
การทำงานของเครื่องมือนี้คือการเจาะกะโหลกผู้ป่วยเข้าไปขนาดดินสอ แล้วสแกนสมองด้วย MRI เพื่อตรวจจับเนื้องอก หลังจากนั้นก็จะยิงเลเซอร์ผ่านเนื้อสมองเข้าไปยังเนื้องอกนั้นเพื่อเผาให้เนื้องอกสุก ไม่สามารถเติบโตได้อีกต่อไป
ข้อดีคือเครื่องมือรุ่นใหม่นี้มีความแม่นยำสูงมาก จนสามารถรักษาผู้ป่วยที่เนื้องอกอยู่ในส่วนที่ก่อนหน้านี้ไม่มีความหวังอื่นใดในการรักษา ส่วนผลข้างเคียงในระยะยาวอาจจะต้องรอรายงานหลังจากมีการใช้งานไปแล้วระยะหนึ่ง
ตัวเครื่องผลิตโดยบริษัท Monteris AutoLITT และมีติดตั้งใช้งานแล้วสามเครื่องทั่วโลก
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1241 | การรักษาเนื้องอกในสมองด้วยเลเซอร์สำเร็จเป็นครั้งแรกแล้ว |
ข่าวนี้เก่าหน่อยนะคะเป็นของวันที่ 29 กันยายน 2553 ค่ะ แต่น่าสนใจทีเดียว เป็นข่าวเกี่ยวกับ งานวิจัยจาก Northwestern Medicine ที่ตีพิมพ์ลงใน New England Journal of Medicine ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม เกี่ยวกับยาตัวใหม่ที่มีชื่อว่า "Tanezumab" ซึ่งเป็นยาที่ช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อตัวใหม่
โดยจากผลการทดลองใช้ยา Tanezumab ในระดับคลินิก ช่วงที่ 2 (phase II clinical trial = การทดลองใช้ยาในกลุ่มคนจำนวน 100 - 300 คน เพื่อดูประสิทธิภาพของยาและความปลอดภัยจากการใช้ยาในอนาคต) พบว่าช่วยลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 440 คน พบว่ายาช่วยลดอาการปวดเข่าจากการเดินได้ 45 - 62% เปรียบเทียบกับอาการปวดเข่าที่ลดลงเพียง 22% ของผู้ที่ได้รับยาหลอก นอกจากนี้คะแนนความปวด (pain score) ในผู้ได้รับยาตัวใหม่ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนนความปวดเมื่อตอนที่ใช้ยาแก้ปวดตัวก่อน
อย่างไรก็ตาม การทดลองใช้ยา Tanezumab ในระดับคลินิก ช่วงที่ 3 (phase III clinical trial = การทดลองใช้ยาในกลุ่มคนจำนวน 1,000 - 3,000 คน เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของยา, ติดตามผลข้างเคียง, เปรียบเทียบกับการใช้ยาเดิม, และเก็บข้อมูลเพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย) ถูกระงับ เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวน 16 คน จากผู้ป่วยจำนวนหลายพันคนที่เข้าร่วมในการทดลองใช้ยานี้ มีอาการแย่ลงถึงขั้นที่ต้องการการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ
ประโยคเด็ดของผู้วิจัยที่ช่วยบรรยายสรรพคุณของยาตัวใหม่นี้คือ "ผลจากการใช้ยา Tanezumab นั้นโดดเด่น", "คนที่ใช้ยานี้จะเปลี่ยนจากมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมจำนวนมาก มาเป็นการอยู่บนฟลอร์เต้นรำ"
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังบอกอีกว่า การที่ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงนั้น อาจเกิดจากการที่ยาทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นเป็นผลให้เพิ่มแรงกดที่ข้อต่อของผู้ป่วย
สำหรับการทำงานของยานั้น ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้น Nerve Growth Factor (NGF) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการพัฒนาของระบบประสาท และหลั่งออกมาเมื่อมีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย โดยสารนี้จะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทและกระตุ้นการเกิดความเจ็บปวด
ผู้วิจัยบอกว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration; FDA) กำลังพิจารณาข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
ที่มา : physorg | https://jusci.net/node/1242 | ยาใหม่ ช่วยบรรเทาความปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างอยู่หมัด |
ขณะที่เรากำลังพัฒนาเทคโนโลยีและกฏหมายเพื่อควบคุมการใช้พลังงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่รูรั่วของพลังงานไม่ได้มาจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพเสมอไป แต่มาจากเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ที่เราใช้พลังงานผลิตขึ้นมา โดยงานวิจัยล่าสุดมีการระบุถึงอาหารว่าโดยรวมแล้วอาหารมีปริมาณการเหลือทิ้งถึงร้อยละ 27
การทิ้งอาหารร้อยละ 27 หมายถึงการทิ้งพลังงานที่ผลิตมันขึ้นมาไปโดยเปล่าประโยชน์ ในสหรัฐฯ พลังงานที่เสียไปกับอาหารเหล่านี้คิดเป็นพลังงานรวมร้อยละ 2 ของพลังงานทั้งหมด
ตัวรายงานเองยอมรับว่าข้อมูลที่ใช้นั้นยังเก่าเกินไป และไม่แม่นยำพอที่จะใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าน่าจะมีพลังงานหายไปกับอาหารจำนวนมาก หากมีการศึกษาเพิ่มเติม เราอาจจะช่วยประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรแปลกใหม่
ที่มา - Environmental Science and Technology, ArsTechnica | https://jusci.net/node/1243 | อาหารเหลือทิ้งอาจเป็นเป้าหมายต่อไปของการประหยัดพลังงาน |
งานวิจัยโดย University of Chicago's General Clinical Resource Center ที่ตีพิมพ์ลงใน Annals of Internal Medicine ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม 2553 กล่าวว่าการนอนน้อยลดประโยชน์ของการควบคุมอาหาร โดยลดการสูญเสียไขมันจากการควบคุมอาหารถึง 55% เลยทีเดียว
งานวิจัยนี้ทำการติดตามอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งมีดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) ตั้งแต่ 25 - 32 และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุตั้งแต่ 35 - 49 ปี จำนวน 10 คน โดยแต่ละคนจะได้รับอาหารที่มีแคลอรี่ 90% ของแคลอรี่ที่ต้องการทั้งหมด
การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 14 วัน ในห้องทดลอง ซึ่งจะได้นอน 8.5 ชั่วโมง และอีก 14 วัน ซึ่งจะได้นอนเพียง 5.5 ชั่วโมง
ตลอด 14 วันที่อาสาสมัครได้นอน 8.5 ชั่วโมง พบว่าเฉลี่ยแล้วอาสาสมัครได้นอนคืนละ 7 ชั่วโมง 25 นาที และในคืนที่ได้นอน 5.5 ชั่วโมง เฉลี่ยแล้วได้นอนคืนละ 5 ชั่วโมง 14 นาที โดยจำนวนแคลอรี่ที่บริโภคต่อวันอยู่ที่ 1,450 แคลอรี่ต่อวันเท่ากัน
ผลการวิจัยพบว่าในช่วงที่ได้นอน 8.5 ชั่วโมงนั้น อาสาสมัครสูญเสียมวลจากไขมันมากกว่ามวลที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ (เช่น กล้ามเนื้อลาย, กระดูก และน้ำ) เมื่อเทียบกับช่วงที่ได้นอน 5.5 ชั่วโมง
นอกจากนี้การนอนอย่างเพียงพอยังช่วยควบคุมความหิวจากการคุมอาหาร และควบคุมระดับของฮอร์โมน ghrelin (ฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกหิว) ให้อยู่ในระดับปกติด้วย
คุมอาหารเพื่อลดความอ้วนแล้ว ต้องนอนให้พอด้วยนะเทอว์ !!!
ที่มา : physorg | https://jusci.net/node/1244 | นอนน้อย จำกัดการสูญเสียไขมันนะเทอว์ |
ทุกวันนี้เรารู้จักลมสุริยะในฐานที่มันทำให้ทีวีดาวเทียมของเราดูไม่ได้เป็นช่วงๆ แต่เริ่มมีการศึกษาว่าเราอาจจะอาศัยลมสุริยะเป็นแหล่งพลังงานใหม่ให้กับโลกของเราให้อย่างเหลือเฟือ แต่ปัญหาสำคัญคือเราจะส่งพลังงานจากอวกาศลงมายังพื้นโลกอย่างไร
ลมสุริยะคืออิเล็กตรอนจำนวนมากที่พุ่งออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วสูง เราสามารถใช้ลวดทองแดงไปกั้นมันไว้เพื่อดึงพลังงานของมันออกมาออกมาได้ โดยทีมของ Dirk Schulze-Makuch ได้คำนวณพลังที่จะได้จากลมสุริยะแล้วตีพิมพ์ไว้ในวารสาร International Journal of Astrobiology
รายงานฉบับนี้ระบุว่าตระแกรงทองแดงขนาด ขนาด 10 เมตรที่ใช้ลวดยาว 300 เมตรจะให้พลังงานได้เท่ากับไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน 1,000 หลัง หากเพิ่มขนาดให้ใหญ่พอก็จะจ่ายพลังงานให้ทั้งโลกได้ทีเดียว
ปัญหาสำคัญของแนวทางนี้คือการส่งพลังงานกลับลงมายังพื้นโลก ที่อาจจะต้องส่งกลับในรูปแบบสนามแม่เหล็กแรงสูง หรือเลเซอร์เข้มข้น อีกปัญหาหนึ่งคือการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่เช่นนั้นในอวกาศที่ยังทำได้ยากด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน
อาจจะได้ในรุ่นลูกของเราๆ ท่านวันนี้อาจะต้องประหยัดและหาทางอื่นกันไปก่อน
ที่มา - MSNBC | https://jusci.net/node/1245 | ลมสุริยะกำลังจะเป็นแหล่งพลังงานใหม่ให้โลก? |
ภาพ Blue Marble ที่ถ่ายโดยยาน Apollo 17 ในปี 1972 อาจถือเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยของมนุษยชาติ เพราะเป็นครั้งแรกที่มนุษย์สามารถถ่ายภาพโลกทั้งใบได้แบบเต็มๆ
Blue Marble ภาพแรกเห็นเฉพาะทวีปแอฟริกา ในภายหลังปี 2001-2002 ทางองค์กร NASA ได้ถ่ายภาพอีก 2 ใบโดยเห็นทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย
ล่าสุด NASA ได้ปล่อยภาพที่สี่ ซึ่งเป็นภาพมหาสมุทรแปซิฟิกล้วนๆ แทบไม่มีแผ่นดินปรากฎให้เห็นครับ
ที่มา - Wired | https://jusci.net/node/1246 | Blue Marble ภาคมหาสมุทร |
ทุกคนคงเคยเห็นเครื่องวัดจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือไม่ก็ถูกวัดด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นการฟังด้วยเสียงหรือใช้เครืองวัดต่างๆ แต่ Ming-Zher Poh นักศึกษาระดับปริญญาเอกจาก MIT ก็ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่สามารถวัดการเต้นของหัวใจที่ความแม่นยำใกล้เคียงกับเครื่องวัดที่ใช้งานอยู่จริงได้ โดยใช้เพียงแค่เว็บแคมราคาถูก
ข้อดีของการวัดการเต้นของหัวใจโดยใช้กล้องแทนเครื่องวัดนั้นมีกรณีที่จำเป็นเช่นผู้ป่วยจากแผลไฟไหม้ที่ไม่สามารถติดเครื่องวัดเข้ากับผิวหนังได้ หรือการวัดเพื่อตรวจสุขภาพประจำวัน เช่นเมื่อเรานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ของเราอาจจะวัดค่าการเต้นของหัวใจไว้เพื่อวิเคราะห์สุขภาพของเราได้ในอนาคต
การวัดจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่งานของ Poh นั้นมีการปรับปรุงให้สามารถสร้างเครื่องวัดจากกล้องเว็บแคมราคาถูก และยังทำงานสภาพแวดล้อมจริงที่ไม่มีการควบคุมแสง หรือการขยับตัวของผู้ป่วยได้
Poh อาศัยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อตรวจจับตำแหน่งใบหน้าของผู้ป่วย แล้วแตกภาพออกเป็นสีเขียว เหลือง แดง เพื่อวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ และใช้เครื่องวัดที่ได้รับการรับรองมาเป็นตัวเทียบค่า พบว่าค่าที่ได้ต่างกันไม่มากนัก เพียงไม่เกิน 3 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น
น้องๆ ป.ตรีปีหน้าควรศึกษางานนี้ไว้ไปเสนออาจารย์ขอลองทำอย่างยิ่ง
ที่มา - MIT | https://jusci.net/node/1247 | MIT สร้างซอฟต์แวร์วัดการเต้นของหัวใจด้วยเว็บแคม |
เครื่อง spectroscopy เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดส่วนประกอบต่างๆ ในตัวอย่างที่เราเก็บมา เช่นปริมาณโปรตีนในเนื้อสัตว์ แต่ปัญหาคืิอเครื่องมือนี้ที่มีขายกันมักมีราคาแพง และทำงานในกล่องปิดทำให้ยากต่อการศึกษา
ศาสตราจารย์ Alexander Scheeline จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยล์จึงสร้างเครื่อง spectroscopy นี้ขึ้นมาใหม่จากอุปกรณ์ง่ายๆ และโทรศัพท์มือถือเป็นสำคัญ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้นั้นมีเพียงหลอดแก้วใส, แผ่น grating, หลอด LED ทั่วไป, และแบตเตอรี่อีกก้อน รวมราคาไม่นับโทรศัพท์มือถือแล้วก็ร้อยกว่าบาทเท่านั้น และสำคัญกว่าราคาคือนักเรียนจะสามารถเห็นกระบวนการทำงานด้วยตาได้ทุกกระบวนการ
กระบวนการทำงาน และไฟล์ซอฟต์แวร์ ตลอดจนขั้นตอนการประกอบทั้งหมดแจกจ่ายในรูปแบบครีเอทีฟส์ คอมมอนส์ (BY) ครูบ้านเราสามารถนำไปใช้กันได้ทันที
ที่มา - มหาวิทยาลัยอิลลินอยล์ | https://jusci.net/node/1248 | มหาวิทยาลัยอิลลินอยล์เปิดตัวเครื่อง spectroscopy จากโทรศัพท์มือถือ |
มาทำความรู้จักกราฟีนตัวนี้ดีกว่า กราฟีน (graphene) คือชั้นของคาร์บอนอะตอมชั้นเดียวที่จัดอยู่ในลักษณะแบบหกเหลี่ยมหรือรังผึ้ง โดยสองนักฟิสิกส์ที่ได้รางวัลนี้คือ เป็นผู้ริเริ่มศึกษากราฟีนตัวนี้ เขาค้นพบว่าคุณสมบัติที่โดดเด่นก็คือการที่มันมีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำ แข็งแรง ยืดหยุ่น โปร่งใส ฯลฯ
จากคุณสมบัติเหล่านี้ ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากกราฟีนสามารถทำงานได้เร็วกว่าซิลิกอน (เดิม) และทำงานได้ที่ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาสูงๆ ประมาณ 100 GHz เราอาจจะได้เห็นชิปซีพียูที่เร็วขึ้นอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากใช้แอมโมเนียหรือน้ำเป็นสารเจือซึ่งจากเดิมใช้โลหะที่เป็นพิษในกระบวนการผลิตซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่กล่าวมาเป็นแค่เพียงบางส่วน นอกจากนี้ การที่มันมีคุณสมบัิติยืดหยุ่นเราจะได้เห็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโค้งงอได้ด้วย (ข่าวเก่า)
ที่มา:Technology News
ความคิดเห็นเพิ่มเติม:สำหรับประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไปไกลด้านการนำมาประยุกต์ในอุตสหกรรมจริงๆ โดยเฉพาะเกาหลีใต้ที่มีบริษัทซัมซุงกับแอลจีในแวดอุตสาหกรรม เป็นตัวตั้งตัวตี ซึ่งยังไม่สายหากทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน อันที่จริงแล้วมันยังมีกลุ่มวิจัยในประเทศไทยบ้างที่ศึกษาเรื่องนี้ ดูข่าว นอกจากนั้นประโยชน์ด้านอื่นๆอีกด้วย ทั้งด้านโซลาร์เซลล์ (solar cell) และเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell)
นี่คือการมาของกราฟีนคือการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี อย่างน้อยๆ ไม่ช้าเราจะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่บนโลกแบนๆของกราฟีนบนโลกใบกลมๆ ที่เราอยู่นี้อย่างแน่นอน | https://jusci.net/node/1249 | รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2010 : กราฟีน ( graphene ) |
iPhone 4
Galaxy S
Nokia N8
BlackBerry Torch
3310 | https://jusci.net/node/1250 | มือถือสำหรับสมาชิก Jusci |
สิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติได้อย่างไม่น่าเชื่อคือรถเข็นธรรมดาที่เราเห็นอยู่ทุกวัน โดยมันอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยนับล้านให้สามารถเดินทางไปมาด้วยตัวเองได้โดยไม่ลำบากเกินไป อย่างไรก็ตามการต้องดันล้อรถเข็นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน กลับทำให้ผู้ป่วยต้องทนกันความเมื่อยล้า และการเสื่อมของไขข้อก่อนวัยอันควร บริษัท Rowheel จึงแก้ปัญหานี้ง่ายๆ ด้วยการใส่ชุดเฟืองเพื่อกลับข้างแรงหมุน ทำให้ผู้ใช้ต้องดึงล้อเพื่อไปข้างหน้าแทนที่จะดัน
แม้จะเป็นแนวคิดง่ายๆ แต่การเปลี่ยนจากดึงเป็นดันนั้นทำให้ร่างกายใช้ชุดของกล้ามเนื้อเปลี่ยนไปเป็นชุดที่มีกำลังมากกว่า (นึกภาพว่าเรามักมีแรงดึงด้วยแขนเปล่าๆ มากกว่าที่จะดัน)
ข้อดีของ Rowheel คือมันสามารถติดตั้งลงบนรถเข็นเดิมได้ ทำให้ประหยัดไปได้อีกทางหนึ่ง
ที่มา - Tech Brief | https://jusci.net/node/1251 | รถเข็นแบบใหม่ใช้การดึงล้อแทนการดัน |
ม๊อบนักวิจัยอังกฤษชุมนุมหน้ากระทรวงการคลังเพื่อประท้วงต่อแผนงบประมาณใหม่ที่กำลังจะเสนอเข้าสู่สภาในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า เพราะการตัดงบประมาณด้านการวิจัยลงอย่างมาก
โครงการประท้วงนี้มีชื่อโครงการว่า Science is Vital โดยเป็นการรวมตัวกันของนักวิทยาศาสตร์และประชาชนที่ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 24,000 คน เพื่อต่อต้านการตัดงบประมาณด้านการวิจัยของอังกฤษ
โครงการ Science is Vital ระบุว่าพวกเขาได้ข่าวว่าปีนี้งบประมาณด้านการวิจัยจะลดลง 20% หรือ 30% ซึ่งการลดลงในระดับนี้อาจจะทำให้ความก้าวหน้าของอังกฤษถึงคราวล่มสลายจากการยุบโครงการ และการไหลออกของนักวิจัยจำนวนมาก
ทางด้านโฆษกของฝ่ายธุรกิจจากกระทรวงก็ออกมาให้ความเห็นว่ากระบวนการจัดงบประมาณนี้ยังไม่เสร็จสิ้น และรัฐบาลทราบดีว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญ แต่ภายใต้เศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก การจำกัดงบประมาณในด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องถูกจำกัดเช่นเดียวกับกิจการอื่นๆ เหมือนกัน
ว่าแต่ของไทยปีนี้ท่าทางเศรษฐกิจจะดี มีแววว่างบวิจัยจะเยอะขึ้นรึยัง?
ที่มา - Google News | https://jusci.net/node/1252 | นักวิทยาศาสตร์อังกฤษประท้วงการตัดงบประมาณ |
ครึ่งหนึ่งของเด็กที่ได้รับยาสลบในระหว่างการผ่าตัด เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วจะมีอาการเพ้อคลั่ง (emergence delirium) - เริ่มต้นด้วยการร้องไห้, กลัว, สับสน และอาจเห็นภาพหลอนได้
โดยอาการเพ้อคลั่งนี้เกิดจากความผิดปกติของสมอง ทำให้เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก (fight-or-flight)
เด็กก่อนวัยเรียน, เด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และเด็กที่มีพัฒนาการช้า มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเพ้อคลั่งมากกว่าปกติ เพราะระบบประสาทซิมพาเทติกนั้นมักจะทำงานมากกว่าปกติอยู่แล้ว
จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าการดมยาแบบดั้งเดิมนั้นเป็นสาเหตุของอาการเพ้อคลั่งมากที่สุด
ยาชนิดใหม่ ที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับเซลล์ซึ่งหลั่งฮอร์โมนเอพิเนฟริน (epinephrine) สามารถช่วยลดอุบัติการณ์ (incidence) ของการเกิดอาการเพ้อคลั่งได้เมื่อให้ก่อนหรือระหว่างการดมยาสลบ
ความผิดปกติที่สามารถสร้างความท้าทายให้กับผู้ปกครอง และผู้ให้การดูแลหลังการดมยา คือการที่เด็กตื่นตระหนกมากจนดึงสายน้ำเกลือและสายระบายต่างๆ (IVs and surgical drains) ออก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ อย่างเช่น มีเลือดออกเพิ่มขึ้นในบริเวณที่ผ่าตัด
"การป้องกันสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือหนทางที่จะพัฒนาประสบการณ์ของเด็ก เกี่ยวกับห้องผ่าตัดและการดมยาให้ดีขึ้น" ฟลอเรนติโน (Florentino) กล่าว
ที่มา : physorg | https://jusci.net/node/1253 | เด็กกวนหลังผ่าตัด อาจจะป้องกันได้ |
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ทางศูนย์ NIF (National Ignition Facility) แห่งห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอเรนซ์ลิเวอร์มอร์ ได้ทำการทดลองยิงแคปซูลที่บรรจุเชื้อเพลิงฟิวชั่นด้วยลำแสงเลเซอร์เป็นครั้งแรก ในแคปซูลเท่าขนาดเม็ดพริกไทย ประกอบไปด้วยของผสมระหว่างสองไอโซโทปของธาตุไฮโดรเจน (ดิวทีเรียมและทริเทียม) ที่ทำให้เป็นของแข็งที่อุณหภูมิต่ำมาก โดยในการยิงครั้งแรกครั้งนี้ แคปซูลจะเจือปนธาตุไฮโดรเจนลงไป เพื่อให้นักวิจัยสามารถศึกษาฟิสิกส์เกี่ยวกับการบีบอัดในแคปซูลก่อนการยิงเต็มกำลังในครั้งต่อไป จำนวนลำแสงเลเซอร์ที่ใช้มีปริมาณถึง 192 ลำ ซึ่งโฟกัสไปยังที่แคปซูล ให้ความร้อนทั้งหมดถึง 192 ล้านจูล (ครึ่งหนึ่งของพลังงานสูงสุดของ NIF)
วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อแสดงการใช้เลเซอร์ในการบีบอัด และให้ความร้อนแก่เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในสภาวะที่รุนแรงกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์ เพื่อทำให้เกิดการรวมตัวกันและปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่นที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมกว่าและให้พลังงานมากกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิชชั่นในปัจจุบัน
ที่มา - Science | https://jusci.net/node/1254 | ฟิวชันโดยซูเปอร์เลเซอร์ |
ก่อนหน้านี้เราเชื่อกันมาตลอดว่าสมองของคนเรานั้นทำงานผ่าน 2 ทางหลักๆ นั่นคือการรับรู้ (cognition) และการแสดงอารมณ์(affect) ส่วนการพัฒนาที่น่าจับตามองของสมองที่เพิ่งค้นพบนี้ คือความต้องการ(conation)
Pierre Balthazard ผู้ทำงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า "เมื่อเราตัดสินใจ หรือเลือกอะไรโดยใช้สัญชาตญาณ นั่นแหละคือความต้องการ (conation)"
Balthazard ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา ในการวิเคราะห์สมองของผู้มีสุขภาพดีจำนวนมากกว่า 100 คน ด้วยเทคนิคพิเศษในการวิเคราะห์สัญญาณสมอง และพบหลักฐานว่ามีการทำงานของสมองในส่วนของความต้องการ (conation) การค้นพบนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเราสามารถฝึกความต้องการ (conation) ได้ ซึ่งจะทำให้สมองของเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในสถานการณ์ตึงเครียด
ในงานวิจัยชิ้นนี้ Balthazard ยังทำงานร่วมกับ Kathy Kolbe ซึ่งทำการศึกษาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ (conation) มานานกว่า 30 ปี โดยใช้ข้อมูลจากประชากรจำนวนครึ่งล้านที่ผ่านดัชนี Kolbe A (Kolbe A Index) เป็นพื้นฐานของงานวิจัยชิ้นใหม่นี้
Balthazard ทดสอบทฤษฎีของ Kolbe (Kolbe’s theory) โดยการตั้งวัตถุประสงค์อย่างง่ายให้ปฏิบัติตาม ตัวอย่างเช่น เอาของที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจมาวางไว้ด้วยกันจำนวนหนึ่ง แล้วเอาของธรรมดา อย่างเช่นดินสอและคลิปหนีบกระดาษ วางทับเอาไว้บนโต๊ะ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยเรียงลำดับสิ่งของตามความสำคัญใน 1 นาที คนที่มีการทำงานของสมองในส่วนของความต้องการ (conation) ไม่เท่ากัน จะเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งของได้ยาก-ง่ายแตกต่างกัน โดยที่ Balthazard สามารถบอกได้จากการทำแผนที่สมองไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ใครจะตอบสนองอย่างไร
ที่มา : physorg | https://jusci.net/node/1255 | การตัดสินใจเป็นวิธีที่ 3 ของการเรียนรู้ |
ทุกวันนี้เราอาจจะเริ่มได้ยินเสียงจากในสนามกีฬากันมากขึ้นเรื่อยๆ จากไมโครโฟนในสนาม แต่เสียงเหล่านี้มักจะจำกัดอยู่ในกีฬาที่เล่นในความเงียบเช่นเทนนิส แต่พอเป็นกีฬาที่เสียงดังมากๆ เช่นบาสเก็ตบอลหรือฟุตบอลแล้วก็จะไม่สามารถแยกเสียงในสนามออกจากเสียงรอบข้างได้ แต่เทคโนโลยี AudioScope ได้แสดงให้เห็นว่าการแยกเสียงไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
AudioScope สร้างขึ้นจากไมโครโฟน 300 ตัวเรียงกันในจานวงกลม ใช้ร่วมกับกล้องถ่ายภาพมุมกว้าง การใช้ภาพประกอบทำให้รู้ตำแหน่งที่แน่นอนของแหล่งกำเนิดเสียงที่เราต้องการ ขณะที่การแยกเสียงออกมานั้นอาศัยเทคโยโลยีเดียวกับ microphone-array ที่ใช้กันในโน้ตบุ๊กเพื่อตัดเสียงรอบข้างออกจากผู้ใช้
งานวิจัยนี้ถูกจดสิทธิบัตร และมีการตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อเตรียมพัฒนาออกมาเป็นสินค้าแล้ว อีกทั้งยังมีการติดต่อทีมฟุตบอลบางทีมไปบ้างแล้ว อนาคตเราอาจจะได้ยินเสียงกันว่านักฟุตบอลตะโกนอะไรกันในสนาม
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1256 | เทคโนโลยีใหม่แยกเสียงรายคนออกจากสนามกีฬาทั้งสนามได้สำเร็จ |
Berkley Bionics บริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาเปิดตัว eLEGS อุปกรณ์ที่ลักษณะโครงสร้างแบบสวมใส่ เพื่อช่วยรับน้ำหนักของร่างกายผู้ขาพิการและเดินได้ใหม่อีกครั้ง
eLEGS ประกอบไปด้วยส่วนที่ใส่แบตเตอรี่ โครงสร้างขา พร้อมด้วยเซ็นเซอร์อีกมากมายเพื่อสร้างการเคลื่อนไหวของโครงสร้างขาเทียมให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 2 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งเริ่มแรกเดิมทีอุปกรณ์นี้ถูกใช้ในการทหารคือเพื่อลดอาการบาดเจ็บของทหารที่ต้องแบกสัมภาระหนักๆ เมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล
นอกจากยังจะช่วยผู้ขาพิการเดินได้ใหม่อีกครั้ง eLEGS ยังช่วยฝึกเดินเพื่อให้ห้องกันกล้ามเนื้อลีบอันเนื่องมาจากการนั่งบนรถเข็นเป็นเวลานาน
ที่มา Time | https://jusci.net/node/1257 | eLEGs : การก้าวครั้งใหม่ของคนขาพิการ |
พื้นที่เก็บวัตถุนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ตั้งแต่กากกัมมันตภาพรังสีไปจนถึงอุปกรณ์ทดสอบรุ่นใหม่นั้นเก็บรวมอยู่ที่ Nevada National Security Site (NNSS) ทำให้ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญและค่าใช้จ่ายที่สูงมากของพื้นที่นี้ แต่ด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ Mobile Detection Assessment Response System (MDARS) ทางการก็หวังว่าจะทุ่นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มาก
พื้นที่รวมของ NNSS นั้นมีถึง 3,500 ตารางกิโลเมตร ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวังด้วยสถานีที่ติดตั้งอยู่กับที่ และการซ่อมบำรุงนั้นสูงถึงปีละหลายล้านดอลลาร์
MDARS เป็นหุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติโดยมันสามารถกำหนดเส้นทางแบบสุ่มได้ด้วยตัวเอง และสังเกตสิ่งผิดปรกติได้โดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์ อย่างไรก็ตามเมื่อมันพบความผิดปรกติมันจะแจ้งไปยังศูนย์ควบคุม และรอการควบคุมจากศูนย์เพื่อตอบสนองต่อความผิดปรกติต่อไป โดยการทำงานของมันจะสามารถลาดตระเวณได้ต่อเนื่อง 16 ชั่วโมงก่อนที่จะต้องเติมน้ำมัน
อย่างไรก็ดี MDARS ยังไม่ได้รับการติดตั้งอาวุธ ขณะที่ระบบตรวจการอัตโนมัติของเกาหลีใต้ที่เปิดตัวไปเมื่อกลางปีนั้นมีการติดอาวุธพร้อมยิงไปก่อนแล้ว
เริ่มใกล้หนังทุกทีแล้ว
ที่มา - Singularity Hub | https://jusci.net/node/1258 | สหรัฐฯ เริ่มใช้หุ่นยนต์ลาดตระเวณเพื่อป้องกันวัตถุนิวเคลียร์ |
คุณแมททิแอส เอกเกอร์ (Matthias Egger) แห่งมหาวิทยาลัยเบิร์น (University of Bern) ได้ทำการศึกษาพบว่า การอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ อย่างใกล้สนามบิน ใต้เส้นทางบิน จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack)
โดยเขารวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางราชการ สภาพแวดล้อม ระยะห่างระหว่างที่อยู่อาศัยกับสนามบิน และระดับความรุนแรงของเสียงที่มีต่อพื้นที่ดังกล่าว
จากการศึกษาพบว่า ถ้าหากได้ยินเสียงดังเฉลี่ยมากกว่า 60 dB จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ถึง 30% ซึ่งมากกว่าคนที่ได้รับเสียงดังน้อยกว่า 45 dB ส่วนคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังมากกว่า 15 ปีนั้นจะเพิ่มอัตราเสี่ยงถึง 50%
การอยู่ใกล้กับถนนที่มีการจราจรคับคั่ง 100 เมตรก็เพิ่มอัตราเสี่ยงเช่นกัน แต่ไม่ได้มาก และชัดเจนเท่ากับการอยู่ใกล้สนามบิน
ถ้ารู้ตัวว่ามีปัจจัยเสี่ยง ต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ก็อย่าอยู่ในที่เสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ นะครับ
ที่มา: PhysOrg | https://jusci.net/node/1259 | อยู่ที่เสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานานอาจตายได้ |
ในระยะหลังเด็กนักเรียนในสหรัฐมักจะอ้วน มีปัญหาทางด้านโภชนการสูง ทำให้โรงเรียนหลายแห่งหันมาจัดอาหารเพื่อสุขภาพ ให้แก่เด็กนักเรียนแทนอาหารฟาสต์ฟู้ด แต่ก็ยังประสบปัญหา เพราะเด็กไม่ชอบการบังคับ และปฏิเสธที่จะกินมัน สุดท้ายอาหารเพื่อสุขภาพเหล่านี้ก็ลงไปอยู่ในถังขยะ แทนที่จะเป็นกระเพาะ
ทางการสหรัฐเลยให้เงินสนับสนุนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหานี้ และได้ผลออกมาคือ การใช้จิตวิทยา จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพราะมีงานวิจัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เช่น ถ้าวางขวดลูกกวาดไว้หน้าภาพอาหาร เช่น ภาพอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) จะทำให้คนหยิบมันมาอมมากกว่าภาพประเภทอื่น ๆ หรืองานวิจัยทางด้านการตลาดต่าง ๆ
ในขณะนี้ในโรงเรียนในสหรัฐหลายแห่งเริ่มใช้หลักการเหล่านี้ เช่น
วางอาหารเพื่อสุขภาพให้เด่น จัดให้สวยงาม น่ากิน
ซ่อน หรือลดความน่าสนใจของอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดลง เช่น ทำตู้ไอศครีมเป็นตู้ทึบแทนที่จะเป็นตู้กระจก
ตั้งชื่ออาหารเหล่านั้นให้น่าสนใจ แปลก แตกต่างออกไป
จ่ายค่าขนมหวานเป็นเงินสด
ถามปัญหาแบบให้เลือก แต่ในตัวเลือกนั้นมีแต่อาหารเพื่อสุขภาพ (จะเอาถั่ว หรือแครอทจ๊ะ?) แทนที่จะรอให้เด็กร้องขอ
แนะนำอาหารเพื่อสุขภาพ ที่สามารถกินคู่กับอาหารฟาสต์ฟู้ดเหล่านั้นได้ให้แก่เด็ก เช่น สั่งพิซซ่าก็ถามว่าต้องการสลัดไปกินคู่กันไหม เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ให้เด็กเป็นผู้เลือกอาหารเหล่านั้นเอง แทนที่จะยัดเยียดให้แก่พวกเขา เพราะเขายินดีที่จะกินมันมากกว่าการถูกบังคับ
ถ้าคุณมีลูก ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ดูบ้าง ก็น่าจะได้ผลนะ
ที่มา: Yahoo! News | https://jusci.net/node/1260 | เริ่มมีการใช้จิตวิทยาในโรงอาหาร |
บริษัทไอทีอย่างกูเกิลที่มีเงินเหลือเฟือ มีหน่วยงานด้านการลงทุนในบริษัทใหม่ๆ อยู่ด้วย และกูเกิลกำลังจะเทเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ลงในธุรกิจพลังงานลม โดยจะเน้นที่พลังงานลมชายฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐ
Dan Reicher หัวหน้าโครงการพลังงานและสภาพอากาศของกูเกิล บอกว่ากูเกิลต้องการประสบความสำเร็จทั้งในแง่ตัวเงินจากการลงทุน และต้องการ "สร้างความเปลี่ยนแปลง" ให้กับโลก
การลงทุนของกูเกิลจะช่วยให้นักลงทุนรายอื่นๆ มั่นใจในพลังงานลมมากขึ้น และจะเทเงินลงทุนในพลังงานลงตามมา อย่างไรก็ตาม พลังงานลมชายฝั่งก็ได้รับคำวิจารณ์จากผู้อาศัยอยู่ใกล้ทะเลว่าบดบังทัศนียภาพ
ที่มา - Businessweek | https://jusci.net/node/1261 | กูเกิลจะลงทุนในพลังงานลม |