sysid
int64 -1
877k
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 12
279k
⌀ |
---|---|---|
724,867 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๘ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘
วันฑิตา/ผู้ตรวจ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๗/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ |
724,861 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๘ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘
วันฑิตา/ผู้ตรวจ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๖/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ |
724,859 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๗
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘
วันฑิตา/ผู้ตรวจ
๒๗ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๓๕/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ |
719,303 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๗ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มกราคม ๒๕๕๘
ภีราพร/ผู้ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๓/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ |
719,301 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๗ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มกราคม ๒๕๕๘
ภีราพร/ผู้ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๒/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ |
719,299 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๗
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มกราคม ๒๕๕๘
ภีราพร/ผู้ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ |
712,625 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กันยายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๓/๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ |
712,623 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กันยายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๒/๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ |
712,621 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๕๗
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กันยายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๑/๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ |
708,666 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ มิถุนายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ |
708,664 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจคณะรัฐมนตรีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช
๒๕๕๗ จึงให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ มิถุนายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ |
708,662 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๗
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ มิถุนายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ |
703,527 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการป้องกัน
ควบคุม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขปัญหาความวุ่นวาย
ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมีกำหนดระยะเวลาใช้บังคับระหว่างวันที่
๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ นั้น
โดยที่ปรากฏว่าสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือต่อความมั่นคงของรัฐอันเป็นเหตุให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฯ
ได้ลดระดับลง กรณีจึงหมดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยสามารถนำมาตรการตามกฎหมายอื่นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวมาใช้ในการป้องกัน
ควบคุม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่แทนได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๗ ง/หน้า ๗/๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ |
703,197 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ เมษายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๓/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
703,195 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ เมษายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๒/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
703,177 | ประกาศ เรื่อง ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๖
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ เมษายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ |
701,533 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 7/2557 เรื่อง แจ้งเตือนและขอความร่วมมือสื่อมวลชนทุกแขนงงดเว้นเสนอข่าวที่เป็นการยั่วยุและส่งเสริมให้มีการกระทำผิดตามการปลุกระดมหรือชี้นำของแกนนำ กปปส. | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๗/๒๕๕๗
เรื่อง
แจ้งเตือนและขอความร่วมมือสื่อมวลชนทุกแขนงงดเว้นเสนอข่าวที่เป็นการยั่วยุและส่งเสริม
ให้มีการกระทำผิดตามการปลุกระดมหรือชี้นำของแกนนำ
กปปส.[๑]
ตามที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ
สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ และข้อ ๖ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๗ เรื่อง
แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศแจ้งเตือนและขอความร่วมมือ ดังนี้
โดยที่ปรากฏว่า ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าว
การชุมนุมเรียกร้องของแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(กปปส.) ซึ่งมีการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อกฎหมายหลายเรื่องหลายกรณี
ยุยงให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายและก่อความไม่สงบในบ้านเมือง
มีการปิดการจราจรในถนนสำคัญ บุกรุกและยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ไล่ข้าราชการ
พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ
ขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า
ก่อให้เกิดความวุ่นวายและนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ
และการกระทำเหล่านี้ล้วนแล้วเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย
ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีสื่อมวลชนบางแห่งได้เสนอข่าวการชุมนุมที่มีลักษณะเป็นการยั่วยุและส่งเสริมให้มีการกระทำผิดตามการปลุกระดมหรือชี้นำของแกนนำ
กปปส. การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่อกฎหมาย
ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
มีอำนาจหน้าที่สั่งปิดหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ
และการเผยแพร่สื่อสารด้วยวิธีอื่น ๆ รวมทั้งการยึดอายัดทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้กระทำผิดด้วย อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ ศูนย์รักษาความสงบจึงขอแจ้งเตือนและขอความร่วมมือสื่อมวลชนทุกแขนงงดเว้นการเสนอข่าวสารหรือทำให้ปรากฏแพร่หลายซึ่งข่าวสารที่มีข้อความและเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร
เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ศูนย์รักษาความสงบหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือที่ดีจากสื่อมวลชนทุกแขนงและขอขอบคุณมา
ณ โอกาสนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ร้อยตำรวจเอก
เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๒๒/๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,531 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แจ้งเตือนภาคธุรกิจเอกชนให้งดเว้นการช่วยเหลือด้านเงินทุน การให้ที่พักพิงหลบซ่อนการให้ใช้ยานพาหนะและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการกระทำความผิดของแกนนำ กปปส. | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗
เรื่อง
แจ้งเตือนภาคธุรกิจเอกชนให้งดเว้นการช่วยเหลือด้านเงินทุน การให้ที่พักพิงหลบซ่อน
การให้ใช้ยานพาหนะและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง
ๆ เพื่อสนับสนุน
การกระทำความผิดของแกนนำ
กปปส.[๑]
ตามที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ
สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๗ เรื่อง
แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน
หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศแจ้งเตือน ดังนี้
โดยที่ปรากฏว่า ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าว
มีกลุ่มบุคคลภาคธุรกิจเอกชนให้ความช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องของแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(กปปส.) ซึ่งมีการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อกฎหมายหลายเรื่องหลายกรณี
ยุยงให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมายและก่อความไม่สงบในบ้านเมือง
มีการปิดการจราจรในถนนสำคัญ บุกรุก และยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ไล่ข้าราชการ
พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ
ขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวายและนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ
และการกระทำเหล่านี้ล้วนแล้วเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย
ศูนย์รักษาความสงบจึงขอแจ้งเตือนภาคธุรกิจเอกชนต่าง ๆ
ให้งดเว้นการช่วยเหลือด้านเงินทุน การให้ที่พักพิงหลบซ่อน
การให้ใช้ยานพาหนะและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
เพื่อสนับสนุนการกระทำความผิดของแกนนำ กปปส. ดังกล่าวในทันทีนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้
ศูนย์รักษาความสงบได้มอบหมายให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อดำเนินคดี
ซึ่งจะรวมถึงการยึด อายัดทรัพย์สินด้วย
ศูนย์รักษาความสงบหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือ
และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ร้อยตำรวจเอก
เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๒๐/๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,527 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 5/2557 เรื่อง ขอความร่วมมือภาคธุรกิจเอกชนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการชุมนุมปิดกรุงเทพมหานครของ กปปส. | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๕/๒๕๕๗
เรื่อง
ขอความร่วมมือภาคธุรกิจเอกชนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย
จากการชุมนุมปิดกรุงเทพมหานครของ
กปปส.[๑]
ตามที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
และได้มีการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เป็นผู้อำนวยการเพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพแล้ว
นั้น
สืบเนื่องจากการชุมนุมเรียกร้องของแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(กปปส.) ซึ่งได้ดำเนินการปิดกรุงเทพมหานคร (Shutdown Bangkok) อย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบันนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว
ยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้าขาย ด้านการเงิน ด้านการประกันภัย
ด้านการสัญจร และด้านอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายดังกล่าว
ศูนย์รักษาความสงบจึงขอความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนด้านต่าง ๆ เช่น ธนาคาร บริษัท
ห้างร้าน โรงแรม หรือกิจการค้าทุกประเภท เป็นต้น
ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีนิติสัมพันธ์กับธนาคาร บริษัท ห้างร้าน โรงแรม
หรือกิจการค้าทุกประเภท
ซึ่งได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการปิดกรุงเทพมหานครของ กปปส.
ในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
โดยการช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวอาจกระทำได้ในหลาย ๆ วิธี อาทิเช่น
การผ่อนผันหรือขยายเวลาการรับชำระหนี้ การผ่อนผันค่าปรับกรณีชำระหนี้ล่าช้า
หรือการลดหย่อนค่าเสียหาย หรือการดำเนินการใด ๆ
เพื่อเป็นการช่วยเหลือทุเลาความเสียหาย เป็นต้น ทั้งนี้
ภาคธุรกิจเอกชนที่ได้ให้ความร่วมมือดังกล่าว
ศูนย์รักษาความสงบจะดำเนินการเสนอรัฐบาลหลังจากการชุมนุมยุติเพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือด้านต่าง
ๆ ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่อไป
ศูนย์รักษาความสงบจึงประกาศมาเพื่อขอความร่วมมือ
และหากภาคธุรกิจเอกชนรายใดประสงค์ที่จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย
โปรดแจ้งให้ศูนย์รักษาความสงบทราบและประกาศให้คู่ค้าหรือผู้มีนิติสัมพันธ์
ตลอดจนประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งศูนย์รักษาความสงบจะได้ดำเนินการแจ้งให้ประชาชนทั่วไปทราบอีกทางหนึ่งด้วย
อนึ่ง
ศูนย์รักษาความสงบได้แจ้งให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการชุมนุมปิดกรุงเทพมหานครของ
กปปส. ไปดำเนินการแจ้งลงบันทึกประจำวันไว้กับสถานีตำรวจแล้วนำเอาบันทึกประจำวันดังกล่าวมาใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อภาคธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการช่วยเหลือด้วยแล้ว
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ร้อยตำรวจเอก
เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๑๘/๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,525 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 4/2557 เรื่อง การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการชุมนุมปิดกรุงเทพมหานครของ กปปส. | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๔/๒๕๕๗
เรื่อง
การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการชุมนุม
ปิดกรุงเทพมหานครของ
กปปส.[๑]
ตามที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
และได้มีการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้อำนวยการ
เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพแล้ว
นั้น
สืบเนื่องจากการชุมนุมเรียกร้องของแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(กปปส.) ซึ่งได้ดำเนินการปิดกรุงเทพมหานคร (Shutdown Bangkok) อย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบันนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว
ยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตประจำวันที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ
การติดต่อธุรกิจการค้าการขาย การทำธุรกรรมการเงิน
การเดินทางสัญจรไปมาและการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นต้น ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายดังกล่าว
ศูนย์รักษาความสงบจึงได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเยียวยา
รวมทั้งเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินคดีกับแกนนำ กปปส.
โดยจะทำการสำรวจความต้องการของประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการปิดกรุงเทพมหานครอันเนื่องมาจากการชุมนุมของ
กปปส.
ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อเสนอรัฐบาลภายหลังจากการชุมนุมยุติ
ดังนี้
๑. จัดให้มีการเปิดรับการแสดงความจำนงจากประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย
ตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ น. ของวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ (รวม
๗ วัน) โดยให้ยื่นแสดงความจำนงขอรับการช่วยเหลือได้ที่กองบังคับการปราบปราม
พหลโยธิน รวมถึงสถานีตำรวจทุกแห่ง
ซึ่งจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวกและรับการแสดงความจำนงตลอด ๒๔
ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
๒. ในการแสดงความจำนง
ให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐานว่าแต่ละท่านได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอย่างไร
เช่น ส่งกะรถไม่ทัน ชำระเงินกู้ดอกเบี้ย เบี้ยประกันภัย งวดรถ
หรือดำเนินการอื่นใดทางการเงิน หรือทางธนาคาร หรือทางการค้าไม่ทันตามกำหนด
ตลอดจนการดำเนินการต่าง ๆ ที่ขัดข้อง ล่าช้า ติดขัด
จนเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างพร้อมกัน
รวมทั้งการขัดขวางการเดินทางของผู้เจ็บป่วย การศึกษา โดยเฉพาะการใช้สิทธิเลือกตั้งที่ถูกขัดขวาง
เป็นต้น
ซึ่งเป็นความเดือดร้อนและเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปิดกรุงเทพมหานครเนื่องจากการชุมนุมของ
กปปส. ทั้งนี้
ขอให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายนำบัตรประจำตัวประชาชน
และแจ้งภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งโดยไม่จำเป็นต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร
หรือจังหวัดนนทบุรี หรือจังหวัดปทุมธานี หรือจังหวัดสมุทรปราการ โดยผู้แจ้งจะต้องมีอายุ
๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และหลังจากรับแจ้งแล้ว
เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ออกบันทึกประจำวัน หรือ ปจว. ให้ผู้แจ้งแต่ละคนเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อไปใช้ดำเนินการต่อไป
๓. หลังจากได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของประชาชนดังกล่าวแล้ว
ศูนย์รักษาความสงบจะดำเนินการขอความร่วมมือให้ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน โรงแรม
หรือกิจการค้าทุกประเภท ช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับความเดือดร้อนและเสียหายที่มีนิติสัมพันธ์กับธนาคาร
บริษัท ห้างร้าน โรงแรม หรือกิจการค้าต่าง ๆ เช่น
การผ่อนผันหรือขยายเวลาการรับชำระหนี้
การผ่อนผันค่าปรับกรณีชำระหนี้ล่าช้าหรือการลดหย่อนค่าเสียหาย หรือการดำเนินการใด
ๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือทุเลาความเสียหาย เป็นต้น ทั้งนี้ ภาคธุรกิจใดให้ความร่วมมือ
ศูนย์รักษาความสงบจะเสนอรัฐบาลภายหลังจากการชุมนุมยุติพิจารณาให้การช่วยเหลือด้านต่าง
ๆ ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่อไป
ศูนย์รักษาความสงบจึงประกาศมาให้ทราบทั่วกันเพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการชุมนุมปิดกรุงเทพมหานครของ
กปปส.
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ร้อยตำรวจเอก
เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,345 | ประกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 | ประกาศ
ประกาศ
ตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา
๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓
มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น
หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้
เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ
อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง
หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง และต้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๒
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ
สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น
รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง
ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย
หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด
ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใดเพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม
ข้อ ๖ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามมิให้กระทำการใด
ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร
ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้
ให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการ
ให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค
เคมีภัณฑ์
หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด
ข้อ ๑๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการ
ห้ามกระทำการอย่างใด ๆ
ที่เป็นการปิดการจราจรปิดเส้นทางคมนาคมหรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในทุกเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ ๑๑ ให้ข้าราชการทหาร
ตามที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๗ เรื่อง
แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้
ตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ข้อ ๑๒ ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้
ให้ใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๓/๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,343 | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ[๑]
โดยที่ปรากฏว่า
ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ
โดยมีการปลุกระดม เชิญชวน ทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา
และการสื่อสารด้วยวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่ทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในหลายพื้นที่
และเพื่อให้มีการกระทำที่ล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน คำสั่งและหมายของศาล
ด้วยการยุยงให้ประชาชนชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการปิดการจราจรในถนนสำคัญ
บุกรุกและยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ไล่ข้าราชการ พนักงาน
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ปิดระบบฐานข้อมูล
เอาโซ่คล้องประตูเพื่อไม่ให้ข้าราชการ พนักงาน
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทำงานได้ทำให้การบริการของรัฐให้แก่ประชาชน
ไม่ว่าการจดทะเบียนใบอนุญาต หรือการบริการขั้นพื้นฐาน ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ก่อให้เกิดความวุ่นวาย เกิดความล่าช้า และสูญเสียทางเศรษฐกิจ มีความพยายามจะเข้าควบคุมตัวผู้บริหารหรือบุคคลสำคัญที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน
ขัดขวางการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนทั่วไป ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อน
เสียหายและเกรงกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ตลอดจนมีการใช้กำลังขัดขืนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
มีการกระทำการในลักษณะอันเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำลังจะจัดให้มีขึ้นอันกระทบต่ออำนาจอธิปไตยและสิทธิของปวงชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย
ซึ่งมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คุ้มครองและผูกพันรัฐสภา ศาล
รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย
และการตีความกฎหมายทั้งปวง
รวมทั้งมีการใช้สถานที่เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีเจตนาบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิดเพื่อให้กระทำการให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่าง
ๆ นอกจากนี้
ยังมีบุคคลบางกลุ่มได้ก่อเหตุร้ายหลายครั้งโดยต่อเนื่องเพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและไม่ปลอดภัยต่อชีวิต
ร่างกาย และทรัพย์สิน
จากสถานการณ์ที่มีเหตุยืดเยื้อและมีการละเมิดต่อกฎหมายเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะได้มีการประกาศใช้มาตรการต่าง
ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อป้องกัน ควบคุม
และแก้ไข ระงับ ยับยั้ง การกระทำดังกล่าวแล้วก็ตาม
แต่ก็ยังมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะมีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและกระบวนการใช้กฎหมายยิ่งขึ้น
เพื่อนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศและเกิดความเสียหายหรือไม่ปลอดภัยต่อชีวิต
ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์
การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยไม่สงบและมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมาย
กรณีเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการการเลือกตั้งและกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ในการนี้
คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในการประชุมวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้เสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว
โดยให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑/๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,317 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 3/2557 เรื่อง ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๓/๒๕๕๗
เรื่อง
ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ ๒๒
มกราคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ และมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙
ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ นั้น
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ
สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว
และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๑ และข้อ ๖
ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ หัวหน้าผู้รับผิดชอบ จึงออกประกาศกำหนด ดังนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
อันมีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) กีดขวางการจราจรจนไม่อาจใช้สัญจรได้ตามปกติ
(๒) กีดขวางทางเข้าออกของอาคารหรือสถานที่
อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงาน การประกอบกิจการ การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าพนักงาน หรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป
(๓) มีการประทุษร้าย หรือใช้กำลังอันทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหาย
และเกรงกลัวต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน
(๔) ขัดขืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งการเกี่ยวกับการชุมนุม
เพื่อให้เป็นไปโดยสงบและไม่เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน
(๕) ใช้เครื่องขยายเสียง หรือใช้เวทีติดตั้งเครื่องขยายเสียง
หรือใช้ยานพาหนะติดตั้งเครื่องขยายเสียง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรหรือเทียบเท่า
เป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้
ข้อ ๓ ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลตำรวจเอก
อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๑/๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,305 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 2/2557 เรื่อง ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๒/๒๕๕๗
เรื่อง
ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ ๒๒
มกราคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ และมีประกาศตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม
๒๕๕๗ โดยในข้อ ๖ ของประกาศดังกล่าว กำหนดให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามกระทำการใด
ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ
หรือความปลอดภัยของประชาชน นั้น
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ
สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว
และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๖ และวรรคท้าย
ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ หัวหน้าผู้รับผิดชอบ จึงออกประกาศกำหนด ดังนี้
ข้อ ๑ ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถานภายในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ข้อ ๒ ห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนำอาวุธ
สิ่งเทียมอาวุธ เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด สิ่งใดที่อาจนำมาใช้ได้อย่างอาวุธ
เช่น หนังสติ๊ก ลูกเหล็ก ท่อนเหล็ก เครื่องช๊อตไฟฟ้า ดอกไม้เพลิง หรือสิ่งอื่นใดในทำนองเดียวกันที่สามารถดัดแปลงเป็นอาวุธอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ร่างกายของบุคคลใด รวมถึงเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือของทางราชการ
เข้าไปในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ข้อ ๓ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรหรือเทียบเท่า
เป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้
ข้อ ๔ ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลตำรวจเอก
อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๕/๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,301 | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ ฉบับที่ 1/2557 เรื่อง ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ และห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ | ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ประกาศศูนย์รักษาความสงบ
ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗
เรื่อง
ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ
และห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม
หรือการใช้ยานพาหนะ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ ๒๒
มกราคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ และมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙
ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ นั้น
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ
สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว
และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๖
ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
จึงออกประกาศกำหนด ดังนี้
ข้อ ๑ ห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้อาคาร
หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) ทำเนียบรัฐบาล
(๒) รัฐสภา
(๓) กระทรวงมหาดไทย
(๔) กระทรวงพลังงาน (ศูนย์เอนเนอยี่ คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต)
(๕) ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
(๖) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ (แจ้งวัฒนะ)
(๗) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (แจ้งวัฒนะ)
(๘) สถานีดาวเทียมไทยคม จังหวัดนนทบุรี
(๙) สถานีให้บริการภาคพื้นดินไทยคม ลาดหลุมแก้ว
(๑๐) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ส่วนบริการอินเทอร์เน็ต
ฝ่ายสื่อสารข้อมูล (บางรัก)
(๑๑) วิทยุการบินแห่งประเทศไทย
(๑๒) สโมสรตำรวจ
(๑๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหน่วยงานของรัฐอื่นรวมถึงศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๒ ห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่มีพฤติการณ์อันก่อให้เกิดความไม่สงบ
หรือกระทำการยั่วยุปั่นป่วนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
และความสงบสุขของประชาชนเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่
ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) ถนนราชสีมา ตั้งแต่แยกสวนรื่นฤดี ถึงแยกประชาเกษม
(๒) ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่แยกวังแดง ถึงแยกยมราช
(๓) ถนนอู่ทองใน ตั้งแต่แยกอู่ทองใน ถึงลานพระราชวังดุสิต
ด้านหลังพระบรมรูปทรงม้า
(๔) ถนนลิขิต
(๕) ถนนพระราม ๕ ตั้งแต่สะพานอรทัย ถึงแยกสุโขทัย
(๖) ถนนสุโขทัย ตั้งแต่แยกสวนรื่นฤดี ถึงแยกสุโขทัย
(๗) ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกการเรือน ถึงแยกราชวิถี
(๘) ถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่แยกคอกวัว ต่อเนื่อง ถนนราชดำเนินนอก
แยกพระรูป
(๙) ถนนลูกหลวง ตั้งแต่สะพานวิศุกรรมนฤมาณ (ถนนลูกหลวงตัดถนนราชสีมา)
ถึงสะพานเทวกรรม (ถนนลูกหลวงตัดถนนนครสวรรค์)
(๑๐) ถนนพิชัย ตั้งแต่แยกขัตติยานี ถึงถนนราชวิถี
(๑๑) ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่แยกพิษณุโลก ถึงสะพานเทวกรรม
(๑๒) ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกวัดเบญจมบพิตร ถึงแยกพล ๑
(๑๓) ถนนนครปฐม
(๑๔) ถนนกรุงเกษม ตั้งแต่แยกประชาเกษม ถึงแยกเทวกรรม
(๑๕) ถนนสีลม ตั้งแต่แยกศาลาแดง ถึงแยกสีลม นราธิวาส
(๑๖) ถนนพระราม ๔ ตั้งแต่แยกสามย่าน ถึงแยกวิทยุ
(๑๗) ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกศาลาแดง ถึงแยกประตูน้ำ
(๑๘) ถนนเพลินจิต ตั้งแต่แยกราชประสงค์ ถึงแยกชิดลม
(๑๙) ถนนพระราม ๑ ตั้งแต่แยกเจริญผล ถึงแยกราชประสงค์
(๒๐) ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกปทุมวัน ถึงแยกสามย่าน
(๒๑) ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกอโศก ถึงแยกอโศก เพชรบุรี
(๒๒) ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่แยกนานา ถึงปากซอยสุขุมวิท ๑๙
(๒๓) ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกตึกชัย ถึงแยกสามเหลี่ยมดินแดง
(๒๔) ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่แยกลาดพร้าว ถึงแยกกำแพงเพชร
(๒๕) ถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่แยกหลักสี่ ถึงปากซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔
(๒๖) สะพานพระราม ๘
ทั้งนี้ ให้รวมถึงพื้นที่บริเวณถนน ทางเท้า คูคลอง และพื้นที่สาธารณะ
ต่อเนื่องไปอีกในรัศมี ๕๐ เมตร
ข้อ ๓ ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม
หรือการใช้ยานพาหนะ ในเส้นทางตามข้อ ๒ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๔ ห้ามจอดยานพาหนะใด
ๆ กีดขวางการจราจรในเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๕ ห้ามยานพาหนะใด ๆ
ที่บรรทุกเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำมาใช้หรือสนับสนุนเพื่อขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย
เช่น ทราย ปูนซีเมนต์ กระสอบ ไม้ไผ่ ยางรถยนต์ หรือเครื่องขยายเสียงที่มีกำลังขยายตั้งแต่
๑ กิโลวัตต์ขึ้นไป เป็นต้น ใช้เส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๖ ห้ามยานพาหนะใด ๆ
ที่บรรทุกอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน สิ่งเทียมอาวุธปืน วัตถุระเบิด ชิ้นส่วนของอาวุธหรือวัตถุระเบิด
ดอกไม้เพลิง สารเคมีใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของประชาชน
หรือสิ่งปฏิกูล
ใช้เส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๗ ห้ามใช้ยานพาหนะใด
ๆ
กระทำการที่เป็นการรบกวนความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
หรือที่เป็นการยั่วยุหรือปั่นป่วนการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ข้อ ๘ ห้ามผู้ขับขี่และผู้โดยสารยานพาหนะใด ๆ
ในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พกพาอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน สิ่งเทียมอาวุธปืน วัตถุระเบิด ชิ้นส่วนของอาวุธหรือวัตถุระเบิด
ดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีใด ๆ
ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของประชาชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๙ ห้ามนำรถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส
สารเคมี หรือวัตถุอันตรายใด ๆ
ใช้เส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ควบคุมการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส
และรถบรรทุกสิ่งดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและปลอดภัย
ให้ผู้ประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบโดยพลันเมื่อพบว่ามีการกระทำอันเป็นการยักย้ายหรือถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สที่อยู่ในความครอบครองของตนในลักษณะที่ผิดไปจากการยักย้ายหรือถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สในทางการค้าปกติของผู้ประกอบกิจการนั้น
ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรหรือเทียบเท่า
เป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้
ข้อ ๑๒ ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลตำรวจเอก
อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๖ ง/หน้า ๑/๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ |
701,295 | ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง และวรรคหก
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา
หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู
หรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑
๒. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗
๓. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๔. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐
๕. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐
๖. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
๗. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๘. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
๑๑. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.
๒๕๕๐
๑๒. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๔. พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
๑๕. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖
๑๖. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
๑๗. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
๑๘.
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๙. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘
๒๐. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
๒๑. ประมวลกฎหมายอาญา
๒๒. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน
และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย
ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตามมาตรา
๗ วรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี และในการใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบนี้ผู้รับมอบต้องใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
และให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม
ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑/๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ |
699,883 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๖ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๖
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๓ ง/หน้า ๑๔/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ |
699,879 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๖ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๖
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๓ ง/หน้า ๑๓/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ |
699,873 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี
ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๖
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๓ ง/หน้า ๑๒/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ |
692,416 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ กันยายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๓/๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ |
692,414 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ กันยายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ |
692,412 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ กันยายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๑/๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ |
687,709 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มิถุนายน
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๓/๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
687,707 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศคณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มิถุนายน
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๒/๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
687,703 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๒ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มิถุนายน
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑/๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
683,231 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรี จึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๓/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ |
683,229 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๒/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ |
683,227 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๑/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ |
678,722 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรี จึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๔/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
678,720 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๓/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
678,718 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๕ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๒/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
673,522 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๓/๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ |
673,518 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๒/๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ |
673,512 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๕๕ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ กันยายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๕ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๑/๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ |
668,881 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๙ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๕/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
668,879 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๙ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๔/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
668,877 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๕ นั้น
เนื่องจากเหตุการณ์ในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๙ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๓/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
664,633 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๙/๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664,631 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664,629 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๔
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัว อันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
658,904 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑๘๖/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
658,902 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑๘๕/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
658,900 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๔
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑๘๔/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
655,323 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรี จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๓/๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ |
655,321 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๒/๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ |
655,319 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๔
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ |
651,507 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานกรณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๔/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651,505 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๓/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
651,502 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๔
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสองเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๒/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
647,995 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๖/๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ |
647,993 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๕/๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ |
647,991 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๘ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๔
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ
ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๔/๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ |
642,976 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๓/๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ |
642,974 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข
หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๒/๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ |
642,972 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๑/๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ |
642,391 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน
จังหวัดปัตตานี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้ประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่ดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและประชาชน ภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน
จังหวัดปัตตานี
อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ
เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน
จังหวัดปัตตานี
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๓ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๘/๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
641,873 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่
๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาความวุ่นวาย ซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่แล้ว
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการได้ยุติลงแล้ว
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ เข้าควบคุม
ระงับยับยั้งและแก้ไขปัญหาได้ตามปกติ ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง/หน้า ๘/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
640,284 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๕/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
638,247 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘
ตุลาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘
ตุลาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๔/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
638,245 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
637,461 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และได้มีการเพิ่มเติมเขตท้องที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่แล้ว
นั้น โดยที่ปรากฏว่า มีการก่อเหตุรุนแรง เพื่อสร้างความปั่นป่วนและกดดันการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของฝ่ายรัฐหรือเจ้าหน้าที่
รวมทั้งยังมีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือมีการวางแผนเตรียมการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง
ๆ เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยต่อชีวิต
ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน
รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
รักษาราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑/๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
637,214 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุดรธานี | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุดรธานี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่
๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๖
กรกฎาคม ๒๕๕๓ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาความวุ่นวาย
ซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง
ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุดรธานี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘
ตุลาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๘
ตุลาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๕/๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
633,731 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔
ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง
และแก้ไขปัญหาความวุ่นวายซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง
ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา
๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
633,729 | ประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่อง ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ | ประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เรื่อง ห้ามใช้อาคาร
หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงราย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี
และจังหวัดนครราชสีมา แล้วนั้น
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องกำหนดการห้ามใช้อาคาร
หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น
อาศัยอำนาจตามข้อ
๔ แห่งข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงออกประกาศกำหนดดังนี้
ข้อ
๑ ห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด
ที่มีพฤติการณ์ในการปลุกระดม ยุยง ปลุกปั่น สร้างสถานการณ์
เพื่อให้เกิดความรุนแรงหรือเป็นอันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ
หรือกระทำการอื่นใดอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือทำลาย
หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ
ใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
หรือห้ามเข้าไปในบริเวณพื้นที่โดยรอบและอาคาร ทำเนียบรัฐบาล
เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ
๒ ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อห้ามตามประกาศนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๓
ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ชั้นสัญญาบัตร
หรือเทียบเท่าเป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้
ข้อ
๔
ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖๕/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
633,727 | ประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ | ประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประกาศศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เรื่อง
ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมา แล้วนั้น
เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว
และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น
จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ
อาศัยอำนาจตามข้อ ๓ แห่งข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงออกประกาศกำหนดดังนี้
ข้อ
๑
ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะใด ๆ เข้าหรือออก
ในเส้นทางที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ในเส้นทางต่อไปนี้
ก.
ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่ สะพานชมัยมรุเชษฐ์ ถึงแยกสวนมิสกวัน
ข.
ถนนราชดำเนินนอก คู่ขนานด้านใน ตั้งแต่ แยกสวนมิสกวัน ถึงแยกสะพานมัฆวานรังสรรค์
ค.
ถนนลูกหลวง ตั้งแต่ แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถึง แยกเทวกรรมรังรักษ์
ง.
ถนนนครปฐม ตั้งแต่ แยกเทวกรรมรังรักษ์ ถึง สะพานชมัยมรุเชษฐ์
ข้อ
๒ ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อห้ามตามประกาศนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๓
ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ชั้นสัญญาบัตร
หรือเทียบเท่าเป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้
ข้อ
๔ ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖๔/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
633,287 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดหนองบัวลำภู | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดหนองบัวลำภู[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔
ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาความวุ่นวายซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง
ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมหาสารคาม
และจังหวัดหนองบัวลำภู
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
632,580 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดลำปาง และจังหวัดสกลนคร | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดลำปาง และจังหวัดสกลนคร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔
ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ
ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง
และแก้ไขปัญหาความวุ่นวายซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง
ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดลำปาง และจังหวัดสกลนคร
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
632,327 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๓/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
632,325 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
632,323 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๑/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
631,932 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดลำปาง จังหวัดสกลนคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดลำปาง
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดอุบลราชธานี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และได้มีการเพิ่มเติมเขตท้องที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๕๓
และต่อมาได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่แล้ว
นั้น โดยที่ปรากฏว่า
ยังมีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือมีการวางแผนเตรียมการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง
ๆ โดยมีการสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่จะดำเนินการใด ๆ
เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตร่างกาย
และทรัพย์สินของประชาชน
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน
รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดลำปาง จังหวัดสกลนคร จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๖/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
631,930 | ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน และจังหวัดศรีสะเกษ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน
และจังหวัดศรีสะเกษ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่
๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง
และแก้ไขปัญหาความวุ่นวายซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นั้น
โดยที่ปรากฏว่า
ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง
ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบกับมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน และจังหวัดศรีสะเกษ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๕/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ |
629,408 | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดศรีสะเกษ | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย
จังหวัดลำปาง
จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดศรีสะเกษ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี
อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๓ แล้วนั้น โดยที่ปรากฏว่า
ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือเตรียมการจะก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง
ๆ เพิ่มเติม จากพื้นที่ที่เคยมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐยิ่งขึ้น
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์
จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติมให้ยุติโดยเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ให้พื้นที่ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน
จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ในเขตประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒
ข้อ
๒ ให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ
และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
เพื่อดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี
อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำ ลูกกา และอำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๓ ประกาศและคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
ประกาศและคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศและคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผลบังคับใช้กับเขตพื้นที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ ด้วย
ข้อ
๓ ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน
หัวหน้าผู้รับผิดชอบ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ในเขตพื้นที่ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
มีอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ด้วย
ในกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
(ศอฉ.) มอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ให้บุคคลนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๗ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๒๙/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
628,943 | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 4 ในเขตท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๔
ในเขตท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์
และจังหวัดมุกดาหาร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่
๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น
โดยที่ปรากฏว่าได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือเตรียมการจะก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง
ๆ เพิ่มเติมจากพื้นที่ที่เคยมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐยิ่งขึ้น
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติมให้ยุติโดยเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๔ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
และจังหวัดมุกดาหาร เป็นพื้นที่ในเขตประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ เพิ่มเติม
ข้อ
๒ ให้นำความในข้อ ๒ และข้อ ๓
แห่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๑/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
629,066 | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 3 ในเขตท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๓
ในเขตท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดร้อยเอ็ด
และจังหวัดสกลนคร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒
ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น
โดยที่ปรากฏว่าได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือเตรียมการจะก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง
ๆ เพิ่มเติมจากพื้นที่ที่เคยมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐยิ่งขึ้น
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติมให้ยุติโดยเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๓ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้พื้นที่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ในเขตประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ฉบับที่ ๒ เพิ่มเติม
ข้อ
๒ ให้นำความในข้อ ๒ และข้อ ๓
แห่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๒๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
627,110 | ประกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 | ประกาศ
ประกาศ
ตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี
อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง
จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา
และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย
อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น
หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้
เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการ ใด ๆ
อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
และต้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
ข้อ
๒
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ
๓
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ
สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น
เพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ
๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น
รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง
ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
ข้อ
๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย
หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด
ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด
เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม
ข้อ
๖
ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามมิให้กระทำการใด ๆ
หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน
ข้อ
๗
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร
เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ
ข้อ
๘
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร
ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้
ให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการ ให้การซื้อ ขาย ใช้
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์
หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด
ข้อ
๑๐
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการ ห้ามกระทำการอย่างใด ๆ
ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคมหรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในทุกเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ
๑๑ ให้ข้าราชการทหาร
ตามที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง
แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ
และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้
ตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ข้อ
๑๒
ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้ใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/พิมพ์
๒๓ เมษายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๓ เมษายน ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๑๓/๗ เมษายน ๒๕๕๓ |
627,106 | ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ วรรคสอง และวรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา
หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม
ยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ดังต่อไปนี้
๑.
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.
พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗
๓.
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๔.
พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐
๕.
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐
๖.
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
๗.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๘.
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
๙.
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐.
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
๑๑.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
๑๒.
พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓.
พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๔.
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
๑๕.
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๔๕๖
๑๖.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
๑๗.
ประมวลกฎหมายอาญา
๑๘.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน
และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ทั้งนี้
ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย
ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตามมาตรา
๗ วรรคแรก ของพระราชกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี
และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม
ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/พิมพ์
๒๓ เมษายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๓ เมษายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๙/๗ เมษายน ๒๕๕๓ |
627,100 | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี
อำเภอพระประแดง
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง
จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา
และอำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[๑]
โดยที่ปรากฏว่า
ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและนำไปสู่ความไม่สงบ
เรียบร้อยภายในประเทศ โดยมีการปลุกระดม เชิญชวน ทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา
และการสื่อสารด้วยวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐ
ธรรมนูญและกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่ทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในหลายพื้นที่
และเพื่อให้มีการกระทำที่ล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน
ด้วยการยุยงให้ประชาชนชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ขัดขวางการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนอื่นทั่วไป
ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนเสียหายและเกรงกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต
ร่างกาย และทรัพย์สิน มีการใช้กำลังขัดขืนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
รวมทั้งมีการใช้สถานที่เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีเจตนาบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิดเพื่อให้กระทำการให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่าง
ๆ นอกจากนี้ ยังมีบุคคลบางกลุ่มได้ก่อเหตุร้ายหลายครั้งโดยต่อเนื่อง
เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
จากสถานการณ์ที่มีเหตุยืดเยื้อและมีการละเมิดต่อกฎหมายเพิ่มมากขึ้น
จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะมีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐยิ่งขึ้น
เพื่อนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ
และเกิดความเสียหายหรือไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย
และทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์
การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยไม่
สงบขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมาย
กรณีเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์
จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่
มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ
อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง
จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา
และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย
อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/พิมพ์
๒๓ เมษายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๓ เมษายน ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๑/๗ เมษายน ๒๕๕๓ |
627,080 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๓ |
627,078 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๐/๗ เมษายน ๒๕๕๓ |
627,076 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรง
เพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑
วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓
พฤษภาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓
พฤษภาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๙/๗ เมษายน ๒๕๕๓ |
622,791 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๒๑/๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ |
622,789 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๒๐/๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ |
622,787 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลาออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
วิภา/ปรับปรุง
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐ ง/หน้า ๑๙/๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ |
617,085 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
วิภา/ปรับปรุง
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๑๘/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
617,079 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คระรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ
เรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑
ตุลาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๑
ตุลาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๑๗/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
617,074 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑
ตุลาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๑
ตุลาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๑๖/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
610,157 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๑/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610,155 | ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ แล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน
แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง
การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๐/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610,151 | ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา | ประกาศ
ประกาศ
เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑]
ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ
และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง
ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล
ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑
มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๙/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |