sysid
int64
-1
877k
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
12
279k
857,785
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับ Update ณ วันที่ 15/04/2563)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๒  ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยผู้กำกับการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว และให้ปฏิบัติภารกิจตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๓  (๑) ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๓) ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมสินค้า (๔) ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศ (๕) ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ (๕/๑)[๒] ให้ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร (๕/๒)[๓] ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา (๖) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง (๗) ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานทั่วไป ข้อ ๔  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามข้อ ๓ มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในส่วนที่รับผิดชอบ และให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด - 19 ในส่วนที่รับผิดชอบ (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีมีปัญหาคาบเกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละส่วนหรือปัญหาในการปฏิบัติ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ประสานงานทั่วไปหารือกันเองหรือรายงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ข้อ ๕  ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตลอดจนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะสั่งเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๖  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรีขึ้นไป หรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม[๔] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)[๕] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ พนิดา/เพิ่มเติม ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๔/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ [๒] ข้อ ๓ (๕/๑) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม [๓] ข้อ ๓ (๕/๒) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๗/๘ เมษายน ๒๕๖๓ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๓/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓
857,651
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 17/2563 เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถยุติลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับข้อ ๔ (๓) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๖/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑.  ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (๑๓) ของข้อ ๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๑๓) ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา มีผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นหัวหน้าศูนย์” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๓๔/๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
857,649
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 16/2563 เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๖/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถยุติลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสามและวรรคสี่ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑.  ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (๖/๑) ของข้อ ๓ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๖/๑) ให้ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๓๓/๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
857,275
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2563 เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถยุติลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถาการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่องแต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑. ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (๑๒) ในข้อ ๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่องการจัดโครงสร้างศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ “(๑๒) ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าศูนย์” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ นุสรา/ตรวจ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๔/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓
857,273
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 14/2563 เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถยุติลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสามและวรรคสี่และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑. ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (๕/๒) ในข้อ ๓ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติมลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๕/๒) ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ นุสรา/ตรวจ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๓/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓
857,271
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 13/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๓/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้มีหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 รวมทั้งเพื่อเป็นการเยียวยา ฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสามและวรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒/๑) ของข้อ ๔ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๒/๑) แก้ไขเยียวยาความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 และให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ชดเชย หรือเยียวยาประชาชนจำแนกมาตรการตามกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินตามความเหมาะสม” ข้อ ๒  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ ข้อ ๔ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ “ในการดำเนินการตาม (๒/๑) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 อาจมอบหมายส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ข้าราชการหรือพนักงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ นุสรา/ตรวจ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๒/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓
856,238
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2563 เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อเป็นการจัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่และเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับข้อ ๔ (๓) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศบค.) มีการจัดโครงสร้างภายใน ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานเลขาธิการ มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นหัวหน้าสำนักงาน (๒) สำนักงานประสานงานกลาง มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหัวหน้าสำนักงาน (๓) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าศูนย์ (๔) ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ (๕) ศูนย์ปฏิบัติการกระจายหน้ากากและเวชภัณฑ์สำหรับประชาชน มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ (๖) ศูนย์ปฏิบัติการด้านการควบคุมสินค้า มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าศูนย์ (๗) ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าศูนย์ (๘) ศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ มีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าศูนย์ (๙) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าศูนย์ (๑๐) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อโควิด 19 มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าศูนย์ ข้อ ๒  ให้หัวหน้าสำนักงานและหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการตามข้อ ๑ มีอำนาจกำหนดองค์ประกอบของสำนักงานและศูนย์ปฏิบัติการได้ตามความเหมาะสม และเมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เพื่อทราบด้วย ในกรณีที่เห็นสมควรผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จะปรับปรุงองค์ประกอบของสำนักงานหรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้ ข้อ ๓  ให้ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 แต่งตั้งบุคคลเป็นคณะที่ปรึกษาด้านการแพทย์ ด้านกฎหมาย ด้านธุรกิจ และด้านอื่นได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 วิวรรธน์/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๒๖/๒๗ มีนาคม ๒๕๖๓
855,753
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสามและวรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และโดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ กำหนดให้มีหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรียกโดยย่อว่า “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19” ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๗๖/๒๕๖๓ เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นหน่วยงานพิเศษ ตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ (๑) นายกรัฐมนตรี                                                ผู้อำนวยการศูนย์ (๒) รองนายกรัฐมนตรี                                                  กรรมการ (๓) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                               กรรมการ (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                                  กรรมการ (๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง                                  กรรมการ (๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ                          กรรมการ (๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                   กรรมการ (๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม                          กรรมการ และความมั่นคงของมนุษย์ (๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์            กรรมการ วิจัยและนวัตกรรม (๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                     กรรมการ (๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม                                กรรมการ (๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม         กรรมการ (๑๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กรรมการ (๑๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน                                กรรมการ (๑๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์                                 กรรมการ (๑๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                              กรรมการ (๑๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                                กรรมการ (๑๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน                                 กรรมการ (๑๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม                              กรรมการ (๒๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                             กรรมการ (๒๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข                             กรรมการ (๒๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม                           กรรมการ (๒๓) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี                                          กรรมการ (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค) (๒๔) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                               กรรมการ (๒๕) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                                           กรรมการ (๒๖) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                      กรรมการ (๒๗) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี                                         กรรมการและ                                                                           ผู้ประสานงานทั่วไป (๒๘) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                         กรรมการและ                                                                           ผู้ประสานงานทั่วไป (๒๙) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี                                          กรรมการและ                                                                           ผู้ประสานงานทั่วไป (๓๐) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                              กรรมการและ                                                                           ผู้ประสานงานทั่วไป (๓๑) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง                       กรรมการและ (นายประทีป  กีรติเรขา)                                         เลขานุการ (๓๒) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร                        กรรมการและ (นางนิชา  หิรัญบูรณะ ธุวกรรม)                                ผู้ช่วยเลขานุการ (๓๓) อธิบดีกรมการค้าภายใน                                          กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ (๓๔) อธิบดีกรมควบคุมโรค                                             กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ (๓๕) ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือน  เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ข้อ ๒  ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วและจะเรียกประชุมคณะกรรมการให้ทันท่วงทีมิได้ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจใช้อำนาจคณะกรรมการไปพลางก่อนได้หรือจะประชุมร่วมกับกรรมการเฉพาะบางคนในเรื่องที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของกรรมการผู้นั้น โดยอาจเชิญบุคคลอื่นมาร่วมหารือด้วยก็ได้ มติของที่ประชุมถือเป็นมติคณะกรรมการ นายกรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในการแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด 19 เพื่อกลั่นกรอง เสนอแนะทางวิชาการ ป้องกัน แก้ไขปัญหา หรือดำเนินการเฉพาะเรื่องอันมีความจำเป็นเร่งด่วนก็ได้ การประชุมคณะกรรมการตามข้อ ๑ และข้อ ๒ อาจใช้วิธีการประชุมทางไกลหรือสื่อสารด้วยระบบอื่นแทนการเชิญมาประชุมร่วมกันก็ได้ ข้อ ๓  ให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔  ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง (๒) จัดหาและบริหารจัดการหน้ากากอนามัย เจลล้างมือเพื่อกระจายให้ถึงประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์โดยวิธีแจกหรือจำหน่าย (๓) จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดตั้งหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการตามที่เห็นสมควร (๔) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชน รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง (๕) จัดให้มีกำลังข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน เพื่อดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก (๖) จัดให้มีชุดปฏิบัติการจากข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนเพื่อเข้าระงับเหตุในกรณีการก่อความไม่สงบหรือช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (๗) มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเกี่ยวกับกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (๘) เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร (๙) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
855,751
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๒  ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยผู้กำกับการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว และให้ปฏิบัติภารกิจตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๓  (๑) ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๓) ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมสินค้า (๔) ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศ (๕) ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ (๖) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง (๗) ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานทั่วไป ข้อ ๔  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามข้อ ๓ มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในส่วนที่รับผิดชอบ และให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด - 19 ในส่วนที่รับผิดชอบ (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีมีปัญหาคาบเกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละส่วนหรือปัญหาในการปฏิบัติ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ประสานงานทั่วไปหารือกันเองหรือรายงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ข้อ ๕  ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตลอดจนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะสั่งเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๖  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรีขึ้นไป หรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๔/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
702,259
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 7/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๗/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น เพื่อประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติงานด้านกฎหมายในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์และความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่ยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  องค์ประกอบ (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                                ประธานกรรมการ (๒) อัยการสูงสุด                                                      กรรมการ (๓) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                               กรรมการ (๔) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการ (๕) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้แทน                      กรรมการ (๖) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ                                      กรรมการ และเลขานุการ ข้อ ๒  ให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) สนับสนุนและให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานด้านกฎหมายของศูนย์รักษาความสงบ (๒) ปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบและหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม  อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ อังศุมาลี/ผู้ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
701,349
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 2/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  ให้ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๓  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย ข้อ ๔  ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๕  ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๘/๒๑ มกราคม ๒๕๕๗
701,347
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 1/2557 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้จัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้ ข้อ ๑  ให้ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ๑.๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน                 ผู้อำนวยการ ๑.๒ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                       รองผู้อำนวยการ ๑.๓ ปลัดกระทรวงกลาโหม                            รองผู้อำนวยการ ๑.๔ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด                    กรรมการ ๑.๕ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก                       กรรมการ ๑.๖ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ                      กรรมการ ๑.๗ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ                   กรรมการ ๑.๘ ปลัดกระทรวงยุติธรรม                            กรรมการ ๑.๙ ปลัดกระทรวงมหาดไทย                          กรรมการ ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                  กรรมการ ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข                       กรรมการ ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงคมนาคม                          กรรมการ ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ            กรรมการ และการสื่อสาร ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงพลังงาน                          กรรมการ ๑.๑๕ อัยการสูงสุด                                     กรรมการ ๑.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา              กรรมการ ๑.๑๗ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน                กรรมการ และปราบปรามการฟอกเงิน ๑.๑๘ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ             กรรมการ ๑.๑๙ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์                          กรรมการ ๑.๒๐ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                    กรรมการ ๑.๒๑ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย        กรรมการ ๑.๒๒ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ                       กรรมการ ๑.๒๓ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ      กรรมการ ๑.๒๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                      กรรมการ ๑.๒๕ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี                        กรรมการ ๑.๒๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี                      กรรมการ ๑.๒๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ                 กรรมการ ๑.๒๘ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                กรรมการและเลขานุการ ๑.๒๙ ผู้แทนเลขาธิการกองอำนวยการรักษา            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๑.๓๐ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  ให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓  ให้ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๓.๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีรักษาการและประกาศของนายกรัฐมนตรี  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ๓.๒ จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีหน่วยงาน หรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ๓.๓ ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๓.๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ๓.๕ จัดกำลังตำรวจ ทหาร และพลเรือนดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก ๓.๖ จัดชุดปฏิบัติการจากตำรวจ ทหาร และฝ่ายพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๗ มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๘ เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร ๓.๙ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น ๓.๑๐ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๔  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๕/๒๑ มกราคม ๒๕๕๗
640,294
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 2/2553 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (ฉบับ Update ณ วันที่ 20/04/2553)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒[๒]  ให้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และรับผิดชอบในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงด้วย ข้อ ๓[๓]  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้มีอำนาจในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการ ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย ข้อ ๔  ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าวและเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๕  ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม)[๔] กวินทราดา/จัดทำ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๗/๗ เมษายน ๒๕๕๓ [๒] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) [๓] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๘/๒๐ เมษายน ๒๕๕๓
637,481
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และได้มีการเพิ่มเติมเขตท้องที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่ และนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๔/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคห้า วรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงออกคำสั่งดังนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๒  ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ๒.๑ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                     ผู้อำนวยการ ๒.๒ ปลัดกระทรวงกลาโหม                                 รองผู้อำนวยการ คนที่ ๑ ๒.๓ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                                รองผู้อำนวยการ คนที่ ๒ ๒.๔ ผู้บัญชาการทหารบก                                  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ คนที่ ๑ ๒.๕ ผู้บัญชาการทหารเรือ                                  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ คนที่ ๒ ๒.๖ ผู้บัญชาการทหารอากาศ                              ผู้ช่วยผู้อำนวยการ คนที่ ๓ ๒.๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                            ผู้ช่วยผู้อำนวยการ คนที่ ๔ ๒.๘ ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                 กรรมการ ๒.๙ ปลัดกระทรวงมหาดไทย                               กรรมการ ๒.๑๐ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                      กรรมการ ๒.๑๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข                           กรรมการ ๒.๑๒ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร                                      กรรมการ ๒.๑๓ ปลัดกระทรวงพลังงาน                               กรรมการ ๒.๑๔ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                            กรรมการ ๒.๑๕ อัยการสูงสุด                                          กรรมการ ๒.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                   กรรมการ ๒.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ                กรรมการ ๒.๑๘ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์                            กรรมการ ๒.๑๙ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                      กรรมการ ๒.๒๐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย          กรรมการ ๒.๒๑ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ                         กรรมการ ๒.๒๒ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ        กรรมการ ๒.๒๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                        กรรมการ ๒.๒๔ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์                กรรมการ ๒.๒๕ ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร                               กรรมการ ๒.๒๖ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (๑)                      กรรมการ ๒.๒๗ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (๒)                      กรรมการ ๒.๒๘ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                  กรรมการและเลขานุการ ๒.๒๙ เลขาธิการกองอำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร                   กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๒.๓๐ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๓  ให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๔  ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๔.๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีรักษาการและประกาศของนายกรัฐมนตรี  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ๔.๒ จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ๔.๓ ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๔.๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ๔.๕ จัดกำลังตำรวจ ทหาร และพลเรือนดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก ๔.๖ จัดชุดปฏิบัติการตำรวจ ทหาร และฝ่ายพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ๔.๗ มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ๔.๘ เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร ๔.๙ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าเพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น ๔.๑๐ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๕  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ หรือระดับปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ข้อ ๖  ให้บรรดา ประกาศ คำสั่ง ข้อกำหนด ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ หรืออื่นใดที่ได้กำหนดเพื่อรองรับการดำเนินการตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุเทพ  เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๒๖/๕ ตุลาคม ๒๕๕๓
637,218
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 124/2553 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติมครั้งที่สอง)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๔/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติมครั้งที่สอง)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และได้มีการเพิ่มเติมเขตท้องที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในบางเขตท้องที่ และนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้ว นั้น โดยที่ปรากฏว่า มีการก่อเหตุรุนแรงเพื่อสร้างความปั่นป่วนและกดดันการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของฝ่ายรัฐหรือเจ้าหน้าที่ รวมทั้งยังมีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือมีการวางแผนเตรียมการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง ๆ มุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒  ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และรับผิดชอบในความป้องกัน แก้ไขปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง” ข้อ ๒  ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้มีอำนาจในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง รวมทั้งให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการ ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๒๘/๔ ตุลาคม ๒๕๕๓
633,501
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 100/2553 เรื่อง ให้บุคคลทำธุรกรรมทางการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินได้ตามปกติ และให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลแจ้งหรือส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีความผิดปกติหรือมีเหตุอันควรสงสัย
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๑๐๐/๒๕๕๓ เรื่อง ให้บุคคลทำธุรกรรมทางการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินได้ตามปกติ และให้สถาบัน การเงินหรือนิติบุคคลแจ้งหรือส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่มีความผิดปกติหรือมีเหตุอันควรสงสัย[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๘/๒๕๕๓ เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพื่อให้ถ้อยคำเกี่ยวกับธุรกรรมที่ต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลกระทำการหรือมิให้กระทำการเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น บัดนี้ ปรากฏว่าสถานการณ์และความจำเป็นในการห้ามทำธุรกรรมการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อใช้ในการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับบุคคลตามบัญชีท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๘/๒๕๕๓ ได้มารายงานตัวเพื่อให้ถ้อยคำหรือชี้แจงแสดงหลักฐานเกี่ยวกับธุรกรรมที่ต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ฉะนั้น เพื่อมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเกินสมควร อาศัยอำนาจตามข้อ ๒ และข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๕๘/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๖๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๒/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทำธุรกรรมทางการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลตามบัญชีรายชื่อท้ายคำสั่งทั้ง ๔ ฉบับดังกล่าวและผู้ได้รับผลประโยชน์จนถึงทอดสุดท้ายได้ตามปกติ ข้อ ๒  หากพบว่าการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลตามบัญชีท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๕๘/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๖๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๒/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ตลอดจนผู้ได้รับผลประโยชน์จนถึงทอดสุดท้ายหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว เป็นการทำธุรกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ขาดความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ มีขนาดใหญ่ผิดปกติ มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ทราบวัตถุประสงค์การทำธุรกรรมที่แน่ชัด ให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ยังคงมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีลักษณะดังกล่าวมายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่ขณะที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ข้อ ๓  ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๓๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
631,028
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 78/2553 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพื่อให้ถ้อยคำเกี่ยวกับธุรกรรมที่ต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคล กระทำการหรือมิให้กระทำการเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๘/๒๕๕๓ เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพื่อให้ถ้อยคำเกี่ยวกับธุรกรรมที่ต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคล กระทำการหรือมิให้กระทำการเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่าง ๆ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน โดยกำหนดห้ามมิให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารตามที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ บริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทำนิติกรรมสัญญาหรือดำเนินการใด ๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งดังกล่าว และให้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลมายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวพบว่า มีธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน  ดังนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งฉบับนี้ได้มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานพิสูจน์ข้อสงสัย และเพื่อให้การดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวของสถาบันการเงินและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความรอบคอบ เรียบร้อย เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน อาศัยอำนาจตามข้อ ๒ และข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้บุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ มารายงานตัวต่อคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้ถ้อยคำและส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมอันต้องสงสัยของตนภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓  ทั้งนี้ ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะแจ้งให้ทราบต่อไป ข้อ ๒  ให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชนดำเนินการ ดังนี้ (๑) ทำธุรกรรมกับบุคคลหรือนิติบุคคลและผู้ได้รับผลประโยชน์จนถึงทอดสุดท้ายตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่าง ๆ ได้ตามปกติ เว้นแต่บุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ (๒) จัดเตรียมและนำส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ เมื่อได้รับการแจ้งจากคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (๓) หากพบว่าการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลและผู้ได้รับผลประโยชน์จนถึงทอดสุดท้ายหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชนนั้นเป็นการทำธุรกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ขาดความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ มีขนาดใหญ่ผิดปกติมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ทราบวัตถุประสงค์ในการทำธุรกรรมที่แน่ชัด ให้ระงับการทำธุรกรรมนั้นทันทีแล้วแจ้งส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมดังกล่าวมายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่มีการทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว (๔) นำส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของผู้ได้รับประโยชน์จนถึงทอดสุดท้ายของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓  ทั้งนี้ หากข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมดังกล่าวสามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ให้ส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ Excel File โดยบันทึกลงในสื่อบรรจุข้อมูลแล้วนำส่งมายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ข้อ ๓  ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [เอกสารแนบท้าย] ๑.  บัญชีรายชื่อบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๘/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๑๐๕/๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
630,119
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 94/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (เพิ่มเติม)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๔/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (เพิ่มเติม)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑.๒๒/๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ดังนี้ “๑.๒๒/๑ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์          กรรมการ” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๔๐/๒๐ เมษายน ๒๕๕๓
630,116
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 93/2553 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุมในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ว่า ได้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใดก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกายหรือเสรีภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่และบุคคลใด ๆ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลให้กระทำหรือไม่กระทำการอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วน โดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน อันเป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้การป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓  เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒  ให้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และรับผิดชอบในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงด้วย” ข้อ ๒  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้มีอำนาจในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการ ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๘/๒๐ เมษายน ๒๕๕๓
629,626
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 72/2553 เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ 4)
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๒/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษา ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ ๔)[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นั้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๒  ให้นำความในข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาใช้บังคับกับบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๓  ให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ แจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ซึ่งได้กระทำขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [เอกสารแนบท้าย] ๑.  บัญชีรายชื่อบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๒/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๘/๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
629,624
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 71/2553 เรื่อง ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๑/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และใช้อำนาจตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น เนื่องจากปรากฏว่า ได้มีหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ บางฉบับ มีข้อความและเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร โดยมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรและบั่นทอนความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของคนในชาติ อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามข้อ ๒ แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงออกคำสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑  ห้ามมิให้หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้เสนอข่าวสารหรือทำให้ปรากฏแพร่หลายซึ่งข่าวสารที่มีข้อความและเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร อันทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนและบั่นทอนความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของคนในชาติ ข้อ ๒  ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายด้วยประการใด ๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ดังกล่าวในข้อ ๑ ข้อ ๓  ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [เอกสารแนบท้าย] ๑.  บัญชีรายชื่อหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ แนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๗๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๖/๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
629,529
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 61/2553 เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ 3)
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๖๑/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษา ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ ๓)[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นั้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๒  ให้นำความในข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาใช้บังคับกับบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๓  ให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ แจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ซึ่งได้กระทำขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [เอกสารแนบท้าย] ๑.  บัญชีรายชื่อบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๖๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๕๕/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629,076
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 58/2553 เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ 2)
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๕๘/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษา ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ห้ามมิให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารตามที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะบริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำนิติกรรมสัญญาหรือการดำเนินการใด ๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินกับบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งดังกล่าว พร้อมทั้งให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจข้างต้นแจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งดังกล่าว ซึ่งได้กระทำขึ้น ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น อาศัยอำนาจตามข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๒  ให้นำความในข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาใช้บังคับกับบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๓  ให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ ของคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ แจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ซึ่งได้กระทำขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [เอกสารแนบท้าย] ๑.  บัญชีรายชื่อบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๕๘/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๖๒/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629,074
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 49/2553 เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน
คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษา ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น เนื่องจากปรากฏว่า ในเขตท้องที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าวมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกาย หรือทรัพย์สิน และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล ประกอบกับการสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพบว่า มีผู้นำเงินหรือทรัพย์สินมาใช้ในการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นจำนวนมาก กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงออกคำสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑  ห้ามมิให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารตามที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ บริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำนิติกรรมสัญญา หรือการดำเนินการใด ๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินกับบุคคลหรือนิติบุคคลตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งนี้ ข้อ ๒  บุคคล หรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ ให้หมายความรวมถึงผู้ได้รับผลประโยชน์ในทอดสุดท้าย ได้แก่ บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง หรือผู้ใช้อำนาจควบคุมการทำธุรกรรมของบุคคล หรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ หรือบุคคลอื่นที่ทำธุรกรรมแทนบุคคล หรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ รวมถึงบุคคลผู้ใช้อำนาจควบคุมนิติบุคคลตามข้อ ๑ หรือบุคคล หรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ ที่มีการตกลงกันทางกฎหมายด้วย ข้อ ๓  ให้สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ แจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคล หรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ ที่ได้กระทำขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มายังหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินภายในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔  การขอเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใด ๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินกับบุคคลหรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ เฉพาะรายครั้ง แล้วแต่กรณี ให้บุคคลหรือนิติบุคคลตามข้อ ๑ พร้อมด้วยสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ ๑ ยื่นคำขอ และแสดงตนต่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมด้วยหลักฐานที่แสดงว่าการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใด ๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามข้อ ๑ ไม่ได้เป็นการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำเพื่อให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๕  ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พลเอก อนุพงษ์  เผ่าจินดา หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [เอกสารแนบท้าย] ๑.  บัญชีรายชื่อบุคคลแนบท้ายคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๖๐/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
627,104
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 2/2553 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  ให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๓  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย ข้อ ๔  ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าวและเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๕  ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/พิมพ์ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๗/๗ เมษายน ๒๕๕๓
627,102
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 1/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้ ข้อ ๑  ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ๑.๑ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี          ผู้อำนวยการ ๑.๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                      รองผู้อำนวยการ ๑.๓ ปลัดกระทรวงกลาโหม                                  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๑) ๑.๔ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                                 ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๒) ๑.๕ ผู้บัญชาการทหารบก                                    ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๓) ๑.๖ ผู้บัญชาการทหารเรือ                                    ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๔) ๑.๗ ผู้บัญชาการทหารอากาศ                               ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๕) ๑.๘ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                             ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๖) ๑.๙ ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                  กรรมการ ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย                              กรรมการ ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                       กรรมการ ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข                             กรรมการ ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ                 กรรมการ และการสื่อสาร ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงพลังงาน                                กรรมการ ๑.๑๕ อัยการสูงสุด                                           กรรมการ ๑.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                   กรรมการ ๑.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ                กรรมการ ๑.๑๘ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์                             กรรมการ ๑.๑๙ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                        กรรมการ ๑.๒๐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย           กรรมการ ๑.๒๑ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ                         กรรมการ ๑.๒๒ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ        กรรมการ ๑.๒๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร                         กรรมการ ๑.๒๔ ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง                  กรรมการ ภายในราชอาณาจักร ๑.๒๕ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (๑)                      กรรมการ ๑.๒๖ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (๒)                      กรรมการ ๑.๒๗ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                  กรรมการและ                                                                  เลขานุการ ๑.๒๘ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคง         กรรมการและ ภายในราชอาณาจักร                                                        ผู้ช่วยเลขานุการ ๑.๒๙ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  ให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓  ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๓.๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ และประกาศของนายกรัฐมนตรี  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ๓.๒ จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ๓.๓ ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๓.๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ๓.๕ จัดกำลังตำรวจ ทหาร และพลเรือนดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก ๓.๖ จัดชุดปฏิบัติการจากตำรวจ ทหาร และฝ่ายพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๗ มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๘ เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร ๓.๙ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น ๓.๑๐ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๔  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓/๗ เมษายน ๒๕๕๓
603,186
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 98/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๙๘/๒๕๕๒ เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางประอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคห้า วรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้ ข้อ ๑  ให้กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ๑.๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                          เป็นที่ปรึกษา ๑.๒ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                                     เป็นผู้อำนวยการ ๑.๓ ผู้บัญชาการทหารบก ๑.๔ ผู้บัญชาการทหารเรือ ๑.๕ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ๑.๖ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๑.๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๑.๘ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑.๙ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ๑.๑๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๑.๑๒ เสนาธิการทหาร ๑.๑๓ เสนาธิการทหารบก ๑.๑๔ เสนาธิการทหารเรือ ๑.๑๕ เสนาธิการทหารอากาศ ๑.๑๖ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่ได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการให้ปฏิบัติหน้าที่ใน กอฉ. ข้อ ๒  ให้ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๓  ให้กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๓.๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ และประกาศของนายกรัฐมนตรี  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ๓.๒ จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ๓.๓ ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์ การก่อความไม่สงบและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๓.๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ๓.๕ จัดกำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร ดำเนินการตามแผนรักษา ความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก ๓.๖ จัดชุดปฏิบัติการจากตำรวจ ทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๗ มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๘ เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร ๓.๙ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น ๓.๑๐ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๔  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๔/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
603,174
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบ คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๒ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงมอบหมายให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สุเทพ  เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๑๐/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
603,170
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 2/2552 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๒ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  ให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และให้ข้าราชการตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๓  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย ข้อ ๔  ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ให้ข้าราชการทหารช่วยเหลือการปฏิบัติงานเมื่อได้รับการร้องขอจากหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ ในการนี้ ให้ข้าราชการทหารตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ข้อ ๕  ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๘/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
593,136
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 301/2551 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๑/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการแล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบพนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  บริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองและพื้นที่ต่อเนื่องในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และให้ข้าราชการตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารของกองทัพอากาศ และข้าราชการพลเรือน ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๓  บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและพื้นที่ต่อเนื่องในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และให้ข้าราชการตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการทหารของกองทัพเรือ และข้าราชการพลเรือน ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔  ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ และข้อ ๓ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย ข้อ ๕  ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ให้ข้าราชการทหารของกองทัพบกช่วยเหลือการปฏิบัติงาน เมื่อได้รับการร้องขอจากหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ในการนี้ ให้ข้าราชการทหารของกองทัพบกตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ข้อ ๖  ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย  วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๑ ง/หน้า ๒/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
592,814
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ 3/2551 เรื่อง กำหนดสถานที่ควบคุมบุคคลตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ ๓/๒๕๕๑ เรื่อง กำหนดสถานที่ควบคุมบุคคลตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๑/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ และมีประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ให้การควบคุมตัวบุคคล จะต้องควบคุมตัวไว้ ณ สถานที่ที่มิใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ แต่ให้ควบคุมตัวไว้ในสถานที่ที่ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ในฐานะเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงได้กำหนด ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปตามประกาศดังกล่าว จึงกำหนดให้กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ควบคุมตัวบุคคลตามประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พลตำรวจโท ฉลอง  สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง วัชศักดิ์/จัดทำ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๖๓/๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
592,812
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ 2/2551 เรื่อง การปฏิบัติตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ ๒/๒๕๕๑ เรื่อง การปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมือง และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ และมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๑/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบยุติลงได้ และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน  ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการ หรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยให้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอขอรับความเห็นชอบต่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงก่อนที่จะยื่นคำร้องขอจับกุมผู้ใด ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบ เมื่อได้ดำเนินการไปอย่างไรให้บันทึกการดำเนินการที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานให้ชัดเจน ๓.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใดในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อกระทำการ หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ ๓.๑ กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจยึดสิ่งใดที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ให้ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีไปตามกฎหมาย ๓.๒ กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจยึดสิ่งใดที่ไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ให้ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๒๗ โดยอนุโลม ๔.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ๕.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อ หรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม ๖.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร กรณีเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรของผู้นั้นจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พลตำรวจโท ฉลอง  สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง วัชศักดิ์/จัดทำ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๖๑/๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
586,580
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 195/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙๕/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑.  ให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงาน เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดดังกล่าว และกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ  ทั้งนี้ เท่าที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๓/๒ กันยายน ๒๕๕๑
586,578
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 194/2551 เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙๔/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสอง และวรรคสี่ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ให้ ผู้บัญชาการทหารบก/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ๑.  บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ๒.  ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนดหรือมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๒/๒ กันยายน ๒๕๕๑
526,174
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2550 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี  ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคสี่ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ๑.  ให้ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดดังกล่าว กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ  ทั้งนี้ เท่าที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ กำหนด มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ๒.  ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓.  พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. ผู้ใดจะใช้อำนาจหน้าที่ในเรื่องใดได้เพียงใด การแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. กับหน่วยงานเดิมตามกฎหมายที่โอนมาเป็นของนายกรัฐมนตรีหรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด  ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้อำนาจตามที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนดด้วย ในการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. ใช้อำนาจใดตามกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบและแจ้งให้หน่วยงานเดิมตามกฎหมายนั้นทราบด้วย ๔.  ในการใช้อำนาจปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ และพนักงานเจ้าหน้าที่ถือหลักปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) การใช้อำนาจกำหนดการห้ามหรือการให้กระทำตามข้อกำหนดนี้จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้น้อยที่สุด และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทุกศาสนา (ข) ในกรณีที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้กำหนดนโยบายหรือมีคำสั่งในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องใดไว้ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายหรือคำสั่งของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในโดยเคร่งครัด (ค) ในกรณีที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน สั่งการแตกต่างไปจากที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้สั่งการไว้ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ และพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามการสั่งการนั้นของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในโดยพลัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑๗/๑๙ มกราคม ๒๕๕๐
696,863
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๗/๒๕๔๙ เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีระบบ มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์ การบังคับบัญชา และการปฏิบัติ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาบรรลุผลตามเป้าหมายในอันที่จะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสงบสุขร่มเย็น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกอบกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๕ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกประกาศ และคำสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังต่อไปนี้ ๑. ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ๒. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง นโยบายและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๔. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา ๕. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๖. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เรื่อง การแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๗. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๘. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ ๑๙/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อง แก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒  ในคำสั่งนี้ “กอ.รมน.” หมายความว่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน “ผอ.รมน.” หมายความว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน “ศอ.บต.” หมายความว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ “ผอ.ศอ.บต.” หมายความว่า ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ “พตท.” หมายความว่า กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร “ผอ.พตท.” หมายความว่า ผู้บัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร “จังหวัดชายแดนภาคใต้” หมายความว่า จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา เฉพาะพื้นที่ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ ข้อ ๓  ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เรียกโดยย่อว่า “ศอ.บต.” เป็นหน่วยงานภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้การกำกับ ดูแล ของ กอ.รมน. และให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็น ผอ.ศอ.บต. รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการและการดำเนินงานของ ศอ.บต. การจัดโครงสร้าง และอัตรากำลังภายใน ศอ.บต. ให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด ข้อ ๔  ให้ ศอ.บต. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ ๑) กำกับ เร่งรัด การปฏิบัติของฝ่ายพลเรือนตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษา การสร้างความเป็นธรรม การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และการสร้างความเข้าใจในพื้นที่ โดยประสานการปฏิบัติกับ พตท. ในการป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๒) รวบรวม กลั่นกรอง บูรณาการ และเสนอแนะการจัดทำแผนงานโครงการ และการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ และจัดทำเป็นแผนการดำเนินงาน เสนอต่อ กอ.รมน. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามขั้นตอน ตลอดจนการประสานงาน ติดตามและประเมินผล ให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๓) อำนวยการ และประสานการปฏิบัติในการบริหารงานยุติธรรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การอำนวยความเป็นธรรมโดยการรับเรื่องราวร้องทุกข์ การเยียวยาและการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เพื่อขจัดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรม รวมทั้งการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐ ๔) พัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสภาพทางสังคม เศรษฐกิจวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ๕) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ๖) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ ผอ.รมน. ภาค ๔ มอบหมาย ข้อ ๕  ให้ กอ.รมน. จัดตั้งกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร เรียกโดยย่อว่า “พตท.” เป็นหน่วยงานภายใต้ กอ.รมน. ภาค ๔ โดยมี ผอ.บตท. ซึ่งแต่งตั้งโดย ผอ.รมน. รับผิดชอบการบังคับบัญชาข้าราชการและการดำเนินงานของ พตท. การจัดโครงสร้าง และอัตรากำลังภายใน พตท. ให้เป็นไปตามที่ กอ.รมน. กำหนด ข้อ ๖  ให้ พตท. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ ๑) กำกับและเร่งรัดการปฏิบัติงานตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของส่วนราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ และพลเรือน และประสานการปฏิบัติงานกับ ศอ.บต. ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๒) สั่งการ อำนวยการ บูรณาการ ประสานงาน ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติการระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่และส่งเสริมความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ๓) จัดทำแผนงาน โครงการ และการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำเป็นแผนการดำเนินงาน เสนอต่อ กอ.รมน. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามขั้นตอน ตลอดจนการประสานงาน ติดตามและประเมินผล ให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๔) พัฒนางานด้านการข่าวให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการสนับสนุนการปฏิบัติของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร พัฒนากำลังประชาชน และกำลังประจำถิ่น ให้มีขีดความสามารถในการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชนตนเองได้ ๕) แต่งตั้งชุดทำงานหรือชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจช่วยเหลือการดำเนินการได้ตามความจำเป็น ๖) ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่ ผอ.รมน. ภาค ๔ มอบหมาย ข้อ ๗  ให้ ผอ.ศอ.บต. แต่งตั้งสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยสมาชิกจากทุกภาคส่วน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและรับผิดชอบ ดังนี้ ๑) เสนอแนะการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ๒) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม และความเสมอภาค ๓) รับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ การแต่งตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างน้อยประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน นักวิชาการท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ สื่อมวลชน และอื่น ๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม สภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานช่วยปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม ให้ ศอ.บต. สนับสนุนสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ บุคลากร และงบประมาณ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อ ๘  ให้ ผอ.ศอ.บต. ร่วมกับ ผอ.พตท. เสนอแนะ ผอ.รมน. โดยผ่าน ผอ.รมน. ภาค ๔ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังต่อไปนี้ ๑) การสรรหาข้าราชการที่ดี มีความสามารถไปปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการขอยืมตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐช่วยปฏิบัติงานของ ศอ.บต. หรือ พตท. ได้ตามความจำเป็น ๒) การโยกย้ายข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่เหมาะสมออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓) การให้บำเหน็จประจำปีเป็นกรณีพิเศษ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สำหรับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ข้อ ๙  ให้ ผอ.รมน. มีอำนาจในการอนุมัติหรือเปลี่ยนแปลงแผนงาน โครงการ และงบประมาณภายในกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี งบกลาง ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ข้อ ๑๐  ให้ ผอ.รมน. ภาค ๔ มีอำนาจดังนี้ ๑) บังคับบัญชา ควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินงานของ ศอ.บต. และ พตท. ๒) สั่งการการใช้กำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร ได้ตามความเหมาะสมในการรักษาความสงบและความมั่นคง และป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๓) การย้ายข้าราชการซึ่งต้นสังกัดโยกย้ายออกนอกพื้นที่เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังกล่าวกลับเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่อีกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผอ.รมน. ภาค ๔ ก่อน ข้อ ๑๑  ให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กองทัพบก และ กอ.รมน. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งคืน ส่งมอบ ถ่ายโอนภารกิจและพันธะผูกพันทั้งปวงของหน่วยงานที่ถูกยกเลิกตามคำสั่งนี้ เป็นไปตามระเบียบของทางราชการและให้แล้วเสร็จภายในสองเดือน โดยแนวทางให้ภารกิจของคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) และคณะกรรมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กบชต.) ไปเป็นของ กอ.รมน. และภารกิจของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ไปเป็นของ กอ.รมน.ภาค ๔ ข้อ ๑๒  ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ สภาที่ปรึกษาที่จัดตั้งขึ้นภายใต้คำสั่งนี้ ให้ได้รับค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องได้ตามระเบียบของทางราชการ ข้อ ๑๓  ให้ส่วนราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนการปฏิบัติการทั้งปวงตามคำสั่งนี้ ข้อ ๑๔  การยกเลิกประกาศ หรือคำสั่ง ตามข้อ ๑ ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุกัญญา/จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๓ นฤดล/ตรวจ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
502,052
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2549 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๙ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และต่อมาได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๙๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อ ๒  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” (กบชต.) โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ ๒.๑ คณะที่ปรึกษา ๒.๑.๑ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                               ประธานที่ปรึกษา ๒.๑.๒ อัยการสูงสุด                                     ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ๒.๑.๓ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ          ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง ๒.๒ คณะกรรมการ ๒.๒.๑ ผู้บัญชาการทหารบก                                 ประธานกรรมการ ๒.๒.๒ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ                        กรรมการ ๒.๒.๓ ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                     กรรมการ ๒.๒.๔ ผู้บัญชาการทหารเรือ                                         กรรมการ ๒.๒.๕ ผู้บัญชาการทหารอากาศ                                     กรรมการ ๒.๒.๖ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                  กรรมการ ๒.๒.๗ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ                                กรรมการ ๒.๒.๘ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ                             กรรมการ ๒.๒.๙ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ                                  กรรมการ ๒.๒.๑๐ ผู้แทนสำนักงบประมาณ                                    กรรมการ ๒.๒.๑๑ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการ                            กรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๒.๒.๑๒ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง                                       กรรมการ ๒.๒.๑๓ ผู้แทนศูนย์อำนวยการต่อสู้                                 กรรมการ เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ ๒.๒.๑๔ เสนาธิการทหารบก                        กรรมการและเลขานุการร่วม ๒.๒.๑๕ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ           กรรมการและเลขานุการร่วม ฝ่ายกิจการพิเศษ ๒.๒.๑๖ อธิบดีกรมการปกครอง                    กรรมการและเลขานุการร่วม ๒.๒.๑๗ รองเสนาธิการทหาร (ฝ่ายทหารบก)            กรรมการและเลขานุการร่วม ๒.๒.๑๘ ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ       กรรมการและเลขานุการร่วม ข้อ ๓  อำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดนี้ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๓.๑ บูรณาการ วางแผน สั่งการ อำนวยการ ประสานงาน เร่งรัด กำกับ ดูแลและตรวจสอบ ติดตามการบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน ของหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และแนวทางเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ๓.๒ ศึกษา วิเคราะห์ และแปลงแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) ไปสู่การปฏิบัติในระดับยุทธการและยุทธวิธีอย่างมีเอกภาพ รวมทั้ง กำหนดแนวทางการดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้บังเกิดประสิทธิผลต่อการยุติสถานการณ์ความรุนแรงโดยเร็ว และเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ๓.๓ รวบรวม กลั่นกรอง เสนอแนะ การจัดทำแผนงาน/โครงการ และการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการและองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการบูรณาการในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ ๓.๔ ให้คำแนะนำ เสนอแนะ และร่วมแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคติดตามสถานการณ์ เพื่อพิจารณาปรับแผนงานให้เป็นไปตามนโยบายในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและใกล้ชิด สามารถดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ ๓.๕ ให้หน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง มาชี้แจง จัดส่งข้อมูล และให้การสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้ ๓.๖ เสนอแนะ และขอความเห็นชอบจากประธานกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) ในการพิจารณาให้ความดีความชอบ ให้คุณให้โทษและแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ พนักงานองค์กรของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน กำหนดมาตรฐานการจูงใจ และปกป้องคุ้มครองข้าราชการ และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๓.๗ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน ช่วยเหลือการดำเนินการได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๑๘/๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
502,050
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2549 เรื่อง การแต่งตั้งที่ปรึกษา เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๙ เรื่อง การแต่งตั้งที่ปรึกษา เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และต่อมาได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม มาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้บัญชาการทหารบก เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้มีอำนาจ ดังนี้ ๑.  สั่งการ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน เร่งรัด กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่รองนายกรัฐมนตรีผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) กำหนด ๒.  พิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เกิดการบูรณาการในงานด้านความมั่นคงและงานด้านการพัฒนา และสอดคล้องกับแนวทางที่รองนายกรัฐมนตรี ผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) กำหนด ๓.  กลั่นกรอง และเสนอแนะแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการและงบประมาณของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ส่วนราชการ และองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) พิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๑๖/๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
466,118
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2548 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๘/๒๕๔๘ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และต่อมาได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งให้ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๖ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๔/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
461,354
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2548 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๘ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคสี่ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ๑.  ให้ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดดังกล่าว กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ  ทั้งนี้ เท่าที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนดมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ๒.  ให้แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓.  พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. ผู้ใดจะใช้อำนาจหน้าที่ในเรื่องใดได้เพียงใด การแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. กับหน่วยงานเดิมตามกฎหมายที่โอนมาเป็นของนายกรัฐมนตรีหรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้อำนาจหน้าที่ตามที่รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดด้วย ในการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. ใช้อำนาจใดตามกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบและแจ้งให้หน่วยงานเดิมตามกฎหมายนั้นทราบด้วย ๔.  ในการใช้อำนาจปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และพนักงานเจ้าหน้าที่ถือหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ก) การใช้อำนาจกำหนดการห้ามหรือการให้กระทำตามข้อกำหนดนี้จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้น้อยที่สุด และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทุกศาสนา (ข) ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งการแตกต่างไปจากที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สั่งการไว้ ให้ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามการสั่งการนั้นของรองนายกรัฐมนตรีโดยพลัน ๕.  ให้มีคณะที่ปรึกษาคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” (กสชต.) โดยมีองค์ประกอบดังนี้ (๑) รองนายกรัฐมนตรี                                 ประธานกรรมการ (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) (๒) รองนายกรัฐมนตรี                                 รองประธานกรรมการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) (๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                 รองประธานกรรมการ (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                รองประธานกรรมการ (๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                 รองประธานกรรมการ (๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม               รองประธานกรรมการ (๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ              รองประธานกรรมการ (๘) ปลัดกระทรวงกลาโหม                             กรรมการ (๙) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                    กรรมการ (๑๐) ปลัดกระทรวงมหาดไทย                         กรรมการ (๑๑) ปลัดกระทรวงยุติธรรม                           กรรมการ (๑๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                        กรรมการ (๑๓) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ และสังคมแห่งชาติ (๑๔) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ            กรรมการ (๑๕) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด                           กรรมการ (๑๖) ผู้บัญชาการทหารบก                             กรรมการ (๑๗) ผู้บัญชาการทหารเรือ                            กรรมการ (๑๘) ผู้บัญชาการทหารอากาศ                         กรรมการ (๑๙) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                      กรรมการ (๒๐) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ                    กรรมการ (๒๑) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง                  กรรมการ ตามที่ประธานเห็นสมควร (๒๒) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ              กรรมการและเลขานุการร่วม (๒๓) รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด                      กรรมการและเลขานุการร่วม (พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ) (๒๔) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ         กรรมการและเลขานุการร่วม ที่ได้รับมอบหมาย (๒๕) อธิบดีกรมการปกครอง                          กรรมการและเลขานุการร่วม (๒๖) รองเสนาธิการทหารบก ที่ได้รับมอบหมาย     กรรมการและเลขานุการร่วม ให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดนี้และปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๓/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
461,352
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2548 เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๔๘ เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้ ๑.  พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีหน้าที่กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยให้ใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรีได้ในกรณีดังต่อไปนี้ ๑.๑ การใช้อำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสามและมาตรา ๘ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑.๒ การใช้อำนาจตามประกาศเรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑.๓ การใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชาหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่และข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย ๒.  นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการดำเนินการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกโครงการ การปรับปรุงระบบการศึกษาในพื้นที่ การสร้างความสมานฉันท์และความร่วมมือในพื้นที่โดยใช้สันติวิธี การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ ตลอดจนเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกฝ่าย โดยให้ใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรีได้ในกรณีดังต่อไปนี้ ๒.๑ การใช้อำนาจตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามอำนาจหน้าที่ในข้อนี้ ๒.๒ การใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชาหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่และข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ในข้อนี้ ๓.  นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
460,260
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2548 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้มีการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่และวรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๔๘ เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒ โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมตำแหน่งของนายจาตุรนต์ ฉายแสง จากรองนายกรัฐมนตรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและให้คงข้อความอื่นไว้ทั้งหมด ข้อ ๒  ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ (๒) และ (๗) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๘ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ” (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒๔/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
863,230
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) (ฉบับ Update ล่าสุด)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง  ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด 19 ตามที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ประกาศหรือสั่งตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับและที่ทางราชการจะประกาศ ให้ทราบต่อไป ในกรณีที่ได้รับการผ่อนผัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามวรรคหนึ่ง เป็นคำสั่งตามข้อกำหนดนี้ ข้อ ๒  การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค  ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พิจารณาสั่งปิดสถานที่ซึ่งมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคโควิด 19 เป็นการชั่วคราว แต่อย่างน้อยให้สั่งปิดสถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น (๒) ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย (ฟิตเนส) สถานบันเทิง ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น (๓) สถานที่อื่นนอกจากนี้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุดสาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วนหรือทั้งหมดและอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาตามความจำเป็นและเหมาะสมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี  ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงโอกาสเสี่ยงต่อการติดต่อโรค ความจำเป็นของประชาชนในการจัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคและการเดินทาง โดยเฉพาะในระยะแรกซึ่งต้องมีการเตรียมตัวหรือปรับตัว ในกรณียังไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดสถานที่ใด ให้เจ้าของหรือผู้ดูแลสถานที่นั้นจัดให้มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ หรือจัดระบบให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้อ ๓[๒]  การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร  การเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นการใช้เส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ หรือโดยการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะอื่นใดเพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมกระทำได้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกำหนด เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคและจัดระเบียบจำนวนบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองและการจัดสถานที่ไว้แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต สำหรับผู้โดยสารหรือผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีสัญชาติไทย (๒) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามความจำเป็น โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้ (๓) บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว (๔) ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว (๕) ผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกราชอาณาจักรชัดเจน (๖) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้มีสัญชาติไทย (๗) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (๘) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ตลอดจนคู่สมรสหรือบุตรของบุคคลดังกล่าว (๙) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยที่ทางการไทยรับรองตลอดจนบิดามารดาหรือผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว ยกเว้นนักเรียนหรือนักศึกษาของโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือของสถานศึกษาอื่นของเอกชนที่มีลักษณะคล้ายกัน (๑๐) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทยและผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด - 19 (๑๑) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (special arrangement) กับต่างประเทศ ข้อ ๔  การห้ามกักตุนสินค้า  ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ก็ตาม สำหรับกรณีที่เป็นสินค้าควบคุม การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ปริมาณการผลิต การควบคุมราคาจำหน่ายและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและไม่เกิดภาวะขาดแคลนหรือเดือดร้อนเกินสมควร โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องตรวจและควบคุมดูแลผู้ประกอบการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๕  การห้ามชุมนุม  ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย  ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนด ข้อ ๖  การเสนอข่าว  ห้ามการเสนอข่าวหรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งมีข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด 19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าหน้าที่เตือนให้ระงับหรือสั่งให้แก้ไขข่าว หรือหากเป็นกรณีที่มีผลกระทบรุนแรง ให้ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นศูนย์กลางจัดให้มีการแถลงหรือชี้แจงข่าว ณ ทำเนียบรัฐบาลเพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเป็นประจำและต่อเนื่อง ในกรณีจำเป็นจะขอความร่วมมือจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจด้วยก็ได้ ข้อ ๗  มาตรการเตรียมรับสถานการณ์ (๑) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ หากมีปัญหาให้รายงานกระทรวงมหาดไทย (๒) ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดและประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่และอำนาจ โดยพิจารณาใช้งบประมาณของตนเองเป็นอันดับแรก ในกรณีไม่อาจดำเนินการได้ให้เสนอหรือขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล (๓) ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยในการหายใจและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือแนะนำ  ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์จากแหล่งต่าง ๆ และการเตรียมสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้สังเกตหรือเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นโดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอประชุม สถานที่ปฏิบัติธรรม ศาลาวัด อาคารของเอกชนที่ยังไม่ได้ใช้งานหรือสถานที่ราชการ สถานที่เอกชนอื่น ๆ เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว (๔) ในการกักกันตัวเองไว้สังเกตอาการตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้เดินทางข้ามเขตมาจากพื้นที่จังหวัดอื่น ให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งขึ้น หรืออาสาสมัครที่ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการสามารถเข้าตรวจสอบการเฝ้าระวังหรือความเข้มงวดจริงจังในการกักกันตนเองและให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ในกรณีนี้ อาจขอความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นให้ช่วยตรวจสอบด้วยก็ได้ ในกรณีตาม (๓) ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบทางราชการ โดยให้กระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันตามอำนาจที่มีอยู่ ข้อ ๘  มาตรการพึงปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท  ให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ได้ง่าย ดังต่อไปนี้ อยู่ในเคหสถานหรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก (๑) ผู้สูงอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป (๒) กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำตามธรรมชาติของโรคและด้วยยาที่ใช้รักษา (๓) กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่าห้าปีลงมา ทั้งนี้ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อการพบแพทย์ การรักษาพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่แพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ การปฏิบัติงานหรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงิน ตู้เอทีเอ็ม การสื่อสารมวลชน โทรคมนาคมและไปรษณีย์ การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าเพื่อการบริโภค อุปโภค การจัดหาและซื้อขายอาหาร การติดต่อด้านคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการหรือศาลตามความจำเป็นหรือการเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมาย เว้นแต่จะมีประกาศผ่อนผันหรือกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาเป็นประการอื่น  ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ข้อ ๙  มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร  ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้มงวดในการตรวจลงตราหรือออกวีซ่าหรืออนุญาตให้ชาวต่างประเทศซึ่งมิได้มีกิจการงานปกติหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรยังคงอยู่ในราชอาณาจักร บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจะได้รับการอำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ โดยอนุโลม ข้อ ๑๐  มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย  ในกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเวรยามหรือตั้งจุดตรวจตามถนน เส้นทางคมนาคม สถานีขนส่งหรือโดยสาร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม และการรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค และหากพบเห็นการกระทำดังกล่าวให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที ในจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานคร ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยให้มีมาตรการตั้งด่านตรวจหรือจุดสกัดดูแลการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดเพื่อจัดระเบียบการเดินทาง การจราจร การเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการผู้เดินทาง และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามข้อนี้ ผู้รับผิดชอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง อาจขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. หรืออาสาสมัครเพื่อปฏิบัติการร่วมกันก็ได้ และหากพบเห็นการกระทำดังกล่าวให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที ข้อ ๑๑  มาตรการป้องกันโรค  ให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อใช้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป หรือใช้ในกรณีผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ ดังนี้ (๑) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า (๓) ให้บุคคลตาม (๒) ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้บุคคลตาม (๒) เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรเพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ำลาย (๕) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน เจ้าหน้าที่อาจเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนำมาตรการคุมไว้สังเกตหรือมาตรการกักกันตัวอย่างน้อย ๑๔ วัน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อมาใช้แก่บุคคลบางประเภทหรือบางคนได้ตามความจำเป็น ข้อ ๑๒  นโยบายการยังคงให้เปิดสถานที่ทำการ  รัฐบาลมีนโยบายให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารในส่วนซึ่งมิใช่สถานบันเทิงหรือสถานบริการและแผงจำหน่ายอาหารซึ่งผู้บริโภคซื้อไปบริโภคนอกสถานที่ โรงแรมในส่วนซึ่งเป็นที่พักอาศัยและร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้าในส่วนซึ่งเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดและตลาดนัดในส่วนซึ่งจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงประกอบกิจการต่อไปได้ตามปกติเพื่อความสะดวกและความเป็นอยู่ตามปกติของประชาชน มิให้ขาดแคลนหรือเดือดร้อนยากลำบากเกินควร โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ยังคงเปิดดำเนินการในวันและเวลาราชการตามปกติ เว้นแต่ที่มีประกาศให้ปิดหรืองดดำเนินการไปก่อนแล้ว เช่น สถาบันการศึกษา  ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและมิให้ประชาชนต้องเสียประโยชน์หรือละเมิดกฎหมายที่มีกำหนดเวลาให้ปฏิบัติ แต่ควรอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การจัดเหลื่อมเวลาทำงานและพักเที่ยง การทำงานนอกสถานที่ปกติ และให้เพิ่มบริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น การจัดประชุมสื่อสารทางไกล การให้บริการด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล การงดเว้นการกำหนดให้ประชาชนต้องมาแสดงตน หรือยกเว้น ขยายเวลา งดหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมภายใต้กรอบของกฎหมาย ให้ภาคธุรกิจ ร้านค้าที่เปิดบริการและสถานที่ราชการที่เปิดทำการ วางมาตรการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อหรือใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓  คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด  ในช่วงเวลานี้ประชาชนพึงงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในระยะนี้โดยไม่จำเป็นและควรพักหรือทำงานอยู่ ณ ที่พำนักของตน กรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด  ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามตัวมารับการตรวจอาการหรือกักกันตัว ข้อ ๑๔  คำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ  การจัดกิจกรรมหรือพิธีการทางสังคมตามประเพณีนิยม เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีศพ พิธีสงกรานต์ หรือกิจกรรมภายในครอบครัว ตลอดจนกิจกรรมหรืองานพิธีที่ทางราชการจัดขึ้นหรือเป็นไปตามหมายกำหนดการของทางราชการ ยังคงจัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕  โทษ  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ แห่งข้อกำหนดนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และอาจมีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้วแต่กรณี ด้วย ข้อ ๑๖  การใช้บังคับ  ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรรวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น ในกรณีมีความจำเป็น นายกรัฐมนตรีอาจออกข้อกำหนดเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดมาตรการหรือเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๒)[๓] ข้อ ๒  มาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อควบคุมดูแลให้ผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้โดยเคร่งครัด และให้ผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสั่งหรือกำหนดเป็นเงื่อนไขในการเดินทางหรือการเข้ามาในราชอาณาจักรรับการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่และตามระยะเวลาซึ่งทางราชการกำหนดหรือปฏิบัติตามระบบการตรวจสอบการเดินทางในราชอาณาจักรหรือการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวเพื่อให้มารับการตรวจหาเชื้อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ พิไลภรณ์/เพิ่มเติม ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๑๐/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ [๒] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๒) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๕/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
875,740
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 18)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๘)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๙ จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น โดยที่ได้มีการบังคับใช้บรรดามาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าระงับยับยั้งและป้องกันการระบาดแบบกลุ่มก้อนของโรคโควิด - ๑๙ ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นและได้ยกระดับเป็นมาตรการที่เข้มงวดอย่างยิ่งในบางพื้นที่ ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานผลการปฏิบัติงานและประเมินสถานการณ์ปัจจุบันว่าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวสามารถจำกัดและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้อยู่ในขอบเขตได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง  ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน อาสาสมัคร ตลอดจนความร่วมมือร่วมใจของประชาชนทุกภาคส่วนตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา  ดังนั้น เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขโดยมุ่งถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ จึงสมควรผ่อนคลายการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์และการบังคับใช้บางมาตรการตามลำดับขั้นตอนและตามสภาพของพื้นที่สถานการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ เพื่อให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและความพร้อมสามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ โดยกำหนดเป็นระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ดังนี้ (๑) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ที่จำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ของข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๗) ลงวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้การสกัดและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเป็นไปโดยรวดเร็วและเด็ดขาด (๒) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ที่ต้องบังคับใช้มาตรการที่กำหนดไว้สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๖) ลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้เฉพาะตามข้อกำหนดนี้ (๓) พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ กระทรวงมหาดไทย พิจารณาประเมินสถานการณ์และจัดกลุ่มจังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ โดยจำแนกออกเป็นระดับตามแนวทางและเงื่อนไขการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ที่ ศบค. กำหนด และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อประกาศต่อไป ข้อ ๒  การใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท ยกเว้นที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อม โดยรูปแบบของการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ คำแนะนำของทางราชการ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ข้อ ๓  มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (๑) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานที่ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดไว้เป็นการชั่วคราว หรือสั่งห้ามการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ อย่างน้อยได้แก่สถานที่ดังต่อไปนี้ สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานประกอบการนวดแผนไทย ตู้เกม ร้านเกมและร้านอินเตอร์เน็ต สนามมวย สถานที่ออกกำลังกายในร่ม ยิม ฟิตเนส สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นเด็ก สวนสนุก สถานีขนส่งสาธารณะ (๒) ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะตามข้อยกเว้นตามที่กำหนดในข้อ ๒ ของข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๖) ลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ (๓) ให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ดังต่อไปนี้สามารถเปิดดำเนินการได้ ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา และการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการและสามารถบริโภคในร้านได้ตามปกติ โดยจัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน และการจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด และให้เปิดดำเนินการไม่เกิน ๒๑.๐๐ นาฬิกา โดยห้ามการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน ข. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดดำเนินการได้ตามปกติแต่ไม่เกิน ๒๑.๐๐ นาฬิกา สำหรับร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งชุมชน หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันสามารถเปิดดำเนินการตามกำหนดเวลาทำการปกติของสถานที่นั้น ๆ ค. ตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดค้าส่ง ให้เปิดดำเนินการได้ โดยจำกัดจำนวนบุคคลที่อยู่ในพื้นที่และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ง. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน สถานที่พักผู้สูงวัยเฉพาะการเข้าพักอาศัยเป็นประจำ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถเปิดดำเนินการเพื่อการให้ความช่วยเหลือตามภารกิจได้ จ. โรงงาน สถานประกอบการ ให้เปิดดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งเจ้าของ ผู้จัดการ หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในสถานที่นั้น ๆ ต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด ข้อ ๔  มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด (๑) ให้ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๖) ลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในกรณีการห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด และการขอความร่วมมือผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาปรับรูปแบบการปฏิบัติงาน (๒) ให้เงื่อนไขการเปิดดำเนินการที่กำหนดไว้สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อ ๔ ของข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๖) ลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่กรณีของการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้เปิดดำเนินการได้และสามารถบริโภคในร้านได้ตามปกติ โดยดำเนินมาตรการจัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน และการจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด แต่ภายหลังเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ต้องเป็นลักษณะของการให้บริการโดยนำกลับไปบริโภคที่อื่น (๓) ให้สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การฝึกซ้อม การแข่งขัน หรือเพื่อการเรียนการสอนในทุกประเภทกีฬา สามารถเปิดดำเนินการได้ตามปกติ โดยการจัดการแข่งขันกีฬาให้เป็นลักษณะของการถ่ายทอดการแข่งขันโดยไม่มีผู้ชมอยู่ในสนามแข่งขัน ซึ่งผู้จัดการแข่งขันต้องดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่ทางราชการกำหนดด้วย ข้อ ๕  มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ควบคุม ให้การเปิดดำเนินการของสถานที่ กิจการ และกิจกรรมในเขตพื้นที่ควบคุม ดังต่อไปนี้ ต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ และตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด (๑) สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สามารถเปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกิน ๒๓.๐๐ นาฬิกา (๒) การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ไม่เกิน ๒๓.๐๐ นาฬิกา (๓) การจำหน่ายสุรา สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่ซึ่งจำหน่ายสุรา สามารถเปิดบริการโดยให้มีการบริโภคในร้านได้ไม่เกิน ๒๓.๐๐ นาฬิกา ข้อ ๖  มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เฝ้าระวังสูง ให้การเปิดดำเนินการของสถานที่ กิจการ และกิจกรรมในเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูง ดังต่อไปนี้ ต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ และตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด (๑) สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สามารถเปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกิน ๒๔.๐๐ นาฬิกา (๒) การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ไม่เกิน ๒๔.๐๐ นาฬิกา (๓) การจำหน่ายสุรา สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่ซึ่งจำหน่ายสุรา สามารถเปิดบริการโดยให้มีการบริโภคในร้านได้ไม่เกิน ๒๔.๐๐ นาฬิกา ข้อ ๗  มาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เฝ้าระวัง ให้การเปิดดำเนินการของสถานที่ กิจการ และกิจกรรมในเขตพื้นที่เฝ้าระวัง สามารถเปิดดำเนินการและให้บริการได้เมื่อมีความพร้อมโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เงื่อนไขการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ คำแนะนำของทางราชการ รวมทั้งกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๘  การเข้มงวดกับสถานที่หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคแบบกลุ่มก้อน เพื่อให้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสามารถยับยั้งการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้มงวดในการเข้าตรวจสอบ สนามชนโค สนามชนไก่ สนามกัดปลา สนามฝึกซ้อมหรือแข่งขัน หรือการจัดกิจกรรมอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งทางราชการยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการในช่วงเวลานี้ ข้อ ๙  มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดของจังหวัดต้นทางและจังหวัดปลายทาง แล้วแต่กรณี สามารถพิจารณาอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเพื่อการทำงานข้ามจังหวัดได้โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเพื่อการทำงานข้ามเขตจังหวัดในแต่ละเขตพื้นที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ข้อ ๑๐  มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการและการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในแต่ละเขตพื้นที่จังหวัดเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่อาจมีความแตกต่างกันในเขตพื้นที่จังหวัด ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี สามารถเสนอต่อ ศปก. ศบค. ตรวจสอบ กลั่นกรอง และเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในระดับเขตอำเภอที่อยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของตนได้  ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - ๑๙ ในห้วงเวลาต่าง ๆ ข้อ ๑๑  การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ และการดำเนินการของเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ให้เป็นไปตามแนวทางมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ มาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนด หากพบการกระทำที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดช่วงระยะเวลา เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ มีคำสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด มีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ มาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งให้สถานที่ดังกล่าวเปิดดำเนินการได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/จัดทำ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๓/๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
873,846
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๖)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๘ จนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น โดยที่การระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ และการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับมีการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏอาการของโรคเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อน  นอกจากนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานเพื่อควบคุมโรคพบว่า มีผู้ติดเชื้อโรคบางส่วนปกปิดข้อมูลการเดินทางทำให้ขั้นตอนการสอบสวนโรคเกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องจนส่งผลให้เกิดเป็นการระบาดระลอกใหม่ขึ้นเป็นวงกว้าง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดและบังคับใช้บรรดามาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด และข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (๒) เป็นการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรือให้การอุปการะแก่บุคคล (๓) เป็นการจัดกิจกรรมของทางราชการหรือกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (๔) เป็นโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบคน หรือเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ข้อ ๒  การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยมีมาตรการทางสาธารณสุขรองรับ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ความรับผิดชอบ ข้อ ๓  การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ข้อ ๔  เงื่อนไขการเปิดดำเนินการ ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้สถานที่ กิจการ หรือการทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้เปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา และการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนด (๑) การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน การจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด โดยอาจให้เป็นลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่น โดยให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ กระทรวงมหาดไทยและศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมกันพิจารณาประเมินกำหนดรูปแบบและกำกับการดำเนินการตามข้อปฏิบัติและมาตรการดังกล่าวของแต่ละพื้นที่จังหวัดให้มีความเหมาะสม (๒) การจำหน่ายสุรา สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่ซึ่งจำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน (๓) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดทำการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ ภายใต้การดำเนินการมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อ ๕  มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ เพื่อการป้องกันระงับยับยั้งการแพร่โรคที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของแต่ละเขตพื้นที่สถานการณ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะหรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมอื่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการตามมาตรการหรือแนวปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๕) ข้อ ๖  การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจและคัดกรองการเดินทางโดยใช้เส้นทางคมนาคมข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยเฉพาะการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด  ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามมาตรการที่ ศปก.ศบค. กำหนด โดยให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดเว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็น ซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด อันอาจทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและทำให้ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางมากกว่าปกติ ข้อ ๗  ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลานี้ ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือการสลับวันหรือการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติงานเพื่อลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานและปริมาณการเดินทางซึ่งเป็นมาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ข้อ ๘  ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ตรวจสอบกลั่นกรอง และเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผ่อนคลายหรือกระชับมาตรการที่ใช้บังคับกับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมเพิ่มเติมได้เพื่อความเหมาะสมต่อสถานการณ์ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ ภาณุรุจ/ตรวจ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑/๓ มกราคม ๒๕๖๔
865,706
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 14)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๔)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๕ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่รัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 เพื่อให้บรรดาสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรคโควิด - 19 สามารถเปิดดำเนินการได้ และได้ดำเนินการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมบางประเภทให้สามารถทดลองเปิดดำเนินการได้ภายใต้มาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งจากการประเมินผลพบว่า สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมนั้นมีความเหมาะสมที่สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การเปิดดำเนินการสถานที่ กิจการ และกิจกรรมต่าง ๆ ให้สถานที่ กิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยผ่อนคลายหรืออนุญาตให้เปิดดำเนินการไว้แล้วคงดำเนินการได้ต่อไปภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา รวมทั้งมาตรการป้องกันโรค การจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ตามที่ทางราชการกำหนดไว้เดิม และให้สถานที่ กิจการ และกิจกรรมที่นายกรัฐมนตรีได้เคยอนุญาตให้เปิดดำเนินการในขั้นทดลองดังต่อไปนี้ สามารถเปิดดำเนินการได้ต่อเนื่องตามความสมัครใจและความพร้อม (๑) การเปิดโรงเรียน สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย โรงเรียนหรือสถาบันกวดวิชาและการจัดให้มีการเรียนการสอนแบบครบจำนวน ครบห้องเรียน ครบชั้นเรียน (๒) สนามกีฬาหรือสถานที่ที่เคยผ่อนคลายให้สามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้ ให้มีผู้ชมการแข่งขันอยู่ในสนามแข่งขันได้ โดยผู้จัดการแข่งขันต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด (๓) พาหนะเพื่อการขนส่งสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เต็มตามความจุมาตรฐานของพาหนะนั้น ๆ  ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจสอบและกำกับดูแลของหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเคร่งครัด ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการ กิจกรรมและสถานที่ดังกล่าวต้องจัดให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เงื่อนไขการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ คำแนะนำของทางราชการ รวมทั้งกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบการดำเนินการและหากพบการกระทำที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำ ตักเตือนห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดช่วงระยะเวลาเพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวและดำเนินคดีต่อผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ ข้อ ๒  การบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค ให้เจ้าของ ผู้ประกอบการ หรือผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่ กิจกรรมและกิจการต่าง ๆ จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดและให้ผู้ใช้บริการหรือเข้าไปยังสถานที่หรือร่วมทำกิจกรรมเช่นว่านั้นสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากทางเลือก รักษาระยะห่าง และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดตลอดจนเข้าระบบแอปพลิเคชันที่กำหนด และต้องยอมรับการกักกันตามระยะเวลาและในสถานที่ที่รัฐกำหนดหากอยู่ในข่ายที่ต้องรับการกักกัน ข้อ ๓  การประสานงาน ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทั้งในส่วนของประชาชนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนดนี้ ให้หารือหรือประสานงานกับคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะหัวหน้าสำนักงานประสานงาน กลางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เป็นประธาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิวรรธน์/จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๙๙ ง/หน้า ๒๗/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
861,976
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 12)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๓ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 ยังคงมีความรุนแรงในต่างประเทศ ประกอบกับจะมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการจัดการคัดกรองของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรการป้องกันโรค และเพื่อการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ กรณีการปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นการใช้เส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ หรือโดยการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะอื่นใดเพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมกระทำได้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกำหนด เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคและจัดระเบียบจำนวนบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองและการจัดสถานที่ไว้แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต สำหรับผู้โดยสารหรือผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีสัญชาติไทย (๒) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามความจำเป็น โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้ (๓) บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว (๔) ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว (๕) ผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกราชอาณาจักรชัดเจน (๖) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้มีสัญชาติไทย (๗) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (๘) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ตลอดจนคู่สมรสหรือบุตรของบุคคลดังกล่าว (๙) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยที่ทางการไทยรับรองตลอดจนบิดามารดาหรือผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว ยกเว้นนักเรียนหรือนักศึกษาของโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือของสถานศึกษาอื่นของเอกชนที่มีลักษณะคล้ายกัน (๑๐) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทยและผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด - 19 (๑๑) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (special arrangement) กับต่างประเทศ” ข้อ ๒  มาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อควบคุมดูแลให้ผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้โดยเคร่งครัด และให้ผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสั่งหรือกำหนดเป็นเงื่อนไขในการเดินทางหรือการเข้ามาในราชอาณาจักรรับการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่และตามระยะเวลาซึ่งทางราชการกำหนดหรือปฏิบัติตามระบบการตรวจสอบการเดินทางในราชอาณาจักรหรือการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวเพื่อให้มารับการตรวจหาเชื้อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๕/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
861,970
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 11)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๑)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๓ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่รัฐบาลเห็นว่า การยังคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในคราวนี้แตกต่างจากคราวที่ผ่านมา คือ มิได้มุ่งที่จะห้ามการเปิดใช้สถานที่หรือการจำกัดกิจกรรมใด ๆ อันอาจกระทบต่อวิถีชีวิตปกติในส่วนของประชาชนเพราะการควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยได้ผลดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากแต่เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจำเป็นต้องสนธิกำลังทุกฝ่ายนอกเหนือจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้สามารถบูรณาการความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคต่อไปได้อีกระยะหนึ่งในช่วงเวลาซึ่งสถานการณ์การระบาดของโรคในต่างประเทศยังไม่เป็นที่น่าวางใจ ประกอบกับในเดือนกรกฎาคมนี้จะมีการเปิดสถานศึกษา การเปิดใช้ท่าอากาศยาน การเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การเปิดสถานบริการ สถานบันเทิง สถานที่แข่งกีฬา แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่อื่น ๆ หลายแห่งที่มีความเสี่ยงสูงและยังเหลืออยู่ ทั้งยังมีวันหยุดราชการต่อเนื่องกันหลายวันอันอาจมีการเดินทางและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการรวมกลุ่มกันหนาแน่นมากกว่าปกติจนเกิดความประมาทไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคจนเป็นเหตุให้เกิดการระบาดรอบใหม่ได้ดังที่ปรากฏในบางประเทศ  ดังนั้น ในขณะที่ผ่อนคลายมาตรการตามข้อกำหนดต่าง ๆ เป็นระยะที่ ๕ เพื่อให้ประชาชนสามารถทำกิจกรรมได้ตามแนวชีวิตวิถีใหม่ โดยนำพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มาบังคับใช้แต่ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องคงอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในช่วงเวลาเช่นนี้อีกระยะหนึ่งเพื่อให้การใช้เสรีภาพและการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นไปด้วยความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่สามารถสั่งการและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การเปิดเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเพื่อจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมให้ดำเนินการได้ โดยการเปิดเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีกำหนด โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องจัดให้มีความพร้อมและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการติดโรค การแพร่กระจายเชื้อ และความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อ ๒  การเปิดดำเนินการสถานที่และกิจกรรมต่าง ๆ ให้สถานที่ กิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยผ่อนคลายหรืออนุญาตให้เปิดดำเนินการได้แล้วตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑๐) ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ คงดำเนินการได้ต่อไปภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคและการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้เดิม เช่น การแข่งขันกีฬาและถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาที่ไม่มีผู้ชมอยู่ในสนามแข่งขัน การจำกัดจำนวนบุคคลในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดีทัศน์ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลในโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ หรือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับสถานที่ กิจการและกิจกรรมอื่นที่มีความเสี่ยงนอกเหนือจากที่ได้ผ่อนคลายหรือได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว จะสามารถเปิดดำเนินการและให้บริการได้เมื่อมีความพร้อมโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เงื่อนไขการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ คำแนะนำของทางราชการ รวมทั้งกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ (๑) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือ สถานที่จัดนิทรรศการ สามารถเปิดดำเนินการตามกำหนดเวลาทำการปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกินเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ส่วนร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันสามารถเปิดดำเนินการตามกำหนดเวลาทำการปกติของสถานที่นั้น ๆ (๒) สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ผ่อนผันให้เปิดดำเนินการได้ โดยเปิดทำการตามเวลาปกติที่กฎหมายกำหนดจนถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกาของวันเดียวกันและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ในส่วนของการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไปสามารถเปิดให้บริการหลังเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกาได้ แต่งดการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในสถานที่ที่ให้บริการหลังเวลาดังกล่าว (๓) ร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ต ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดช่วงเวลาการให้บริการ (๔) สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด โรงน้ำชา ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาเปิดทำการปกติที่กฎหมายกำหนด สำหรับสนามชนโค สนามชนไก่ สนามกัดปลา หรือสนามการแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ ข้อ ๓  การปฏิบัติศาสนกิจหรือศาสนพิธีของทุกศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจหรือศาสนพิธีในวันสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ณ ศาสนสถานใด ให้ผู้ปกครองที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในศาสนสถานนั้นพิจารณาให้สอดคล้องกับมาตรการ แนวปฏิบัติ หรือคำแนะนำขององค์กรปกครองทางศาสนานั้น ๆ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๔  การขนส่งสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและรองรับการเดินทางที่อาจหนาแน่นขึ้นภายหลังที่ได้มีการเปิดเรียนและการเปิดทำการของสถานที่ต่าง ๆ แล้ว ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเตรียมความพร้อม กำกับดูแลและตรวจสอบการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท โดยต้องมีการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๕  การผ่อนผันการใช้ช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักรเฉพาะเพื่อการขนส่งสินค้าเพื่อบรรเทาผลกระทบและขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าชายแดน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาเปิดช่องทางเข้าออก ด่านจุดผ่านแดน หรือจุดผ่อนปรนในพื้นที่รับผิดชอบ เฉพาะเพื่อการนำเข้าส่งออกสินค้าและสินค้าผ่านแดนได้ตามความจำเป็น โดยต้องมีมาตรการป้องกันโรคและกำกับการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อ ๖  มาตรการป้องกันโรค ให้เจ้าของ ผู้จัดการสถานที่หรือผู้จัดให้มีกิจกรรมใด ๆ ทางธุรกิจการคมนาคม มหรสพ สนามกีฬา สถานบันเทิง สถานบริการ ที่สาธารณะ หรือแหล่งอื่น ๆ ซึ่งมีการรวมกลุ่มหรือร่วมกิจกรรมลักษณะที่เสี่ยงต่อการใกล้ชิด สัมผัสและแพร่เชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคแก่ผู้ร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) บริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ (๒) ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า (๓) อำนวยความสะดวกในการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อยหนึ่งเมตรและจำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด (๔) จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (๕) จัดให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทำกิจกรรม รวมทั้งระหว่างและภายหลังการทำกิจกรรมด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่ออาจจัดหรือกำหนดให้มีการติดตั้งระบบแอปพลิเคชันติดตามตัวเพื่อให้มารับการตรวจหาเชื้อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการสัมผัสผู้ติดเชื้อก็ได้ ข้อ ๗  การรักษาความเรียบร้อยตามมาตรการป้องกันโรค ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ กิจการหรือกิจกรรมที่ได้ผ่อนคลายหรืออนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว จัดให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ทางราชการกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่และการดำเนินการของเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่หรือผู้จัดให้มีกิจกรรมตามวรรคหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด หากพบการกระทำที่อาจมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดช่วงระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามวรรคหนึ่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ของโรค รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคำสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้เป็นการชั่วคราวและอาจดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายต่อผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนดและจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งให้เปิดดำเนินการในสถานที่ดังกล่าวได้ ข้อ ๘  การประสานงาน ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทั้งในส่วนของประชาชนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนดนี้ ให้หารือหรือประสานงานกับคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เป็นประธาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๑/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
860,783
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 10)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๐)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่สมควรผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เป็นช่วงที่ ๔ ต่อเนื่องจากการผ่อนคลายที่ดำเนินมาก่อนแล้วเป็นลำดับ  ทั้งนี้ ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม และการยอมรับระบบติดตามตัวผ่านแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน เพื่อเป็นมาตรการผ่อนคลายและบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน จึงให้ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักรเฉพาะเหตุอันเนื่องจากสถานการณ์โควิด - 19 ตั้งแต่เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๒  การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา ๒๕๖๓ จึงผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรมของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยให้โรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติ สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ โรงเรียนนอกระบบประเภทกวดวิชาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบคน สามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมได้ โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต้องดำเนินการจัดรูปแบบการเรียนการสอน สถานที่ รวมทั้งบุคลากรและเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมสอดคล้องกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการติดโรค การแพร่กระจายเชื้อ และความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนการเปิดเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีกำหนด โดยปฏิบัติตามความในวรรคก่อนด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๓  การผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อกำหนด (ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำของทางราชการ ให้สถานที่หรือการดำเนินกิจกรรมที่เคยมีข้อกำหนดหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดให้ปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมได้ทั่วราชอาณาจักร ตามความสมัครใจและความพร้อม ดังต่อไปนี้ (๑) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ก. การจัดการประชุม การอบรม การสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงสินค้า การจัดเลี้ยง งานพิธี การแสดง นาฏศิลป์ ดนตรี คอนเสิร์ต หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงแรม โรงมหรสพ ห้องประชุม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงภาพยนตร์ หรือในสถานที่อื่น ๆ ให้สามารถดำเนินการได้ ข. การบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไป หรือในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและได้ผ่อนคลายให้เปิดดำเนินการอยู่ก่อนแล้วให้สามารถทำได้ภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ในส่วนของสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ ค. สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานที่บริการดูแล สถานที่พำนักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์อื่นที่จัดสวัสดิการให้แก่เด็กหรือผู้สูงอายุ สามารถเปิดดำเนินการให้บริการแบบรายวันได้  ทั้งนี้ การเดินทางไปกลับสถานที่ดังกล่าวถือเป็นเหตุยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรการอันพึงปฏิบัติของกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค ง. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม จ. การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ให้ดำเนินการได้โดยมีจำนวนผู้แสดง ผู้ร่วมรายการและคณะทำงานถ่ายทำรวมกันไม่เกินคราวละหนึ่งร้อยห้าสิบคนและมีผู้ชมไม่เกินห้าสิบคน (๒) กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ ก. การอบตัว อบสมุนไพร การอบไอน้ำแบบรวมหรือการนวดบริเวณใบหน้าในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย ให้ดำเนินการได้ ยกเว้นในส่วนของสถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด ยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ ข. การออกกำลังกายแบบกลุ่มในสวนสาธารณะ ลานกิจกรรม พื้นที่กิจกรรมสาธารณะหรือลานกีฬากลางแจ้ง ให้ดำเนินการได้ ค. สวนน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสนุก ยกเว้นการใช้เครื่องเล่นในลักษณะที่เป็นการติดตั้งชั่วคราว หรือเครื่องเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสมากซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคในเด็ก เช่น บ้านบอล บ้านลม ง. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือเพื่อการเรียนการสอนในทุกประเภทกีฬา ให้เปิดดำเนินการได้ ยกเว้นสนามชนโค สนามชนไก่ สนามกัดปลา หรือสนามการแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ สถานที่ที่ได้รับการผ่อนคลายสามารถจัดให้มีการแข่งขันและถ่ายทอดโทรทัศน์การแข่งขันกีฬาหรือการถ่ายทอดผ่านสื่ออื่น ๆ ได้ แต่ต้องไม่มีผู้ชมอยู่ในสนามแข่งขันและผู้จัดการแข่งขันต้องดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่ทางราชการกำหนดด้วย จ. ตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้ ข้อ ๔  การขนส่งสาธารณะข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวก และรองรับการเดินทางของประชาชนภายหลังมาตรการผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแลการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท (รถโดยสารประจำทาง รถปรับอากาศ รถตู้ รถไฟ เรือ เครื่องบิน) โดยผู้ประกอบการต้องจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งให้มีการจอดพักรถ การเว้นที่นั่ง และการจำกัดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๕  การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ในข้อ ๒ หรือข้อ ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ทางราชการกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ตามข้อ ๒ และการดำเนินการของเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ ๓ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนด หากพบการกระทำที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดช่วงระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ของโรค รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคำสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนดและจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งให้เปิดดำเนินการในสถานที่ดังกล่าวได้ ข้อ ๖  ในกรณีมีปัญหาว่าสถานที่หรือกิจกรรมใดเข้าข่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดนี้หรือไม่ ให้หารือคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เป็นประธาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๕๐/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๓
860,137
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 9)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๙)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่ยังปรากฏการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ในต่างประเทศและมีโอกาสจะแพร่เข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากมีผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องและพบว่ายังมีผู้ติดเชื้อดังกล่าว ประกอบกับองค์การอนามัยโลกได้เตือนว่าการผ่อนคลายความเข้มงวดหลายมาตรการและพร้อม ๆ กันในหลายประเทศอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ซึ่งเมื่อคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยเสี่ยงจากบุคคล สถานที่ และประเภทของกิจกรรมบางอย่างแล้ว แม้ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและประชาชนทุกฝ่าย สถานการณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงเห็นว่า ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อซึ่งกำลังจะผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในช่วงที่ ๓ นับจากนี้ไปให้มากขึ้นกว่าเดิมจนใกล้เคียงกับการดำเนินวิถีชีวิตตามปกติ ยังจำเป็นต้องติดตามดูแลสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ต่อไปให้สงบนิ่งอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่วางใจได้อีกระยะหนึ่ง เพื่อว่าหากจำนวนผู้ติดเชื้อกลับเพิ่มหรือโอกาสเสี่ยงมีมากขึ้น จะได้ระงับหรือเปลี่ยนแปลงการผ่อนคลายบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๓.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น และให้ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ยังคงใช้บังคับต่อไป ให้ยานพาหนะ ผู้โดยสารตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะที่เป็นการขนส่งคนหรือสินค้าระหว่างจังหวัดที่เริ่มออกเดินทางจากจังหวัดต้นทางก่อนเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา และถึงจังหวัดปลายทางหลังเวลา ๐๓.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น สามารถเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานได้ ข้อ ๒  การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ในระยะแรกนี้ให้ทยอยผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อจัดการศึกษา การอบรม การประชุมหรือเพื่อประโยชน์ในการสอบหรือการคัดเลือกบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) การใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมของโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะประเภทวิชาชีพ และประเภทศิลปะและกีฬา (เฉพาะประเภทกีฬาที่ผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมได้) โดยพิจารณาถึงจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน ความพร้อมและความสามารถในการจัดรูปแบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การจัดสถานที่และระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคเป็นสำคัญ (๒) การใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อการประชุม การจัดการสอบการสอบคัดเลือก การฝึกอบรมระยะสั้นไม่เกินสิบห้าวัน หรือดำเนินการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตาม (๑) หรือ (๒) ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด การจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ รวมทั้งคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด ข้อ ๓  การผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๖ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อกำหนด (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆให้สถานที่หรือการดำเนินกิจกรรมที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดเคยมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมได้ทั่วราชอาณาจักร ตามความสมัครใจและความพร้อม ดังต่อไปนี้ (๑) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ก. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ข. ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดดำเนินการจัดประชุมการแสดงสินค้า หรือการจัดนิทรรศการได้ โดยเป็นกิจกรรมซึ่งจำกัดพื้นที่รวมในการจัดงานขนาดไม่เกินสองหมื่นตารางเมตร และเปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ทั้งนี้ ให้งดเว้นการจัดการแข่งขัน กิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดำเนินการอื่นใดที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่นและอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้ ค. สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง ให้เปิดดำเนินการได้โดยงดเว้นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่นและอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้ ง. ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดดำเนินการโดยจำกัดเวลาการให้บริการในร้านไม่เกินรายละสองชั่วโมงและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน จ. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ให้เปิดได้เฉพาะการปฏิบัติงานที่จำเป็นของเจ้าหน้าที่เพื่อการนัดหมาย จัดสรรและแจกจ่ายเครื่องดื่มและอาหารกลางวัน และการจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด (๒) กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ ก. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ข. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย (งดเว้นการอบตัว อบสมุนไพรหรืออบไอน้ำแบบรวมและการนวดบริเวณใบหน้า) นวดฝ่าเท้า ยกเว้นสถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด ค. สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นในการเล่นแบบรวมกลุ่มและงดเว้นการอบตัวหรืออบไอน้ำแบบรวม ง. สถานที่ฝึกซ้อมมวย โรงยิมหรือค่ายมวย ให้เปิดได้เฉพาะเพื่อการฝึกซ้อมการชกลมโดยไม่มีคู่ชก การชกมวยแบบล่อเป้า โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและไม่มีผู้ชม จ. สนามกีฬา ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมในประเภทกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล และวอลเลย์บอล โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและมีจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมที่อยู่ในบริเวณสนามกีฬา (ไม่นับรวมผู้เล่น) อีกไม่เกินสิบคน ฉ. สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ตหรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะเพื่อการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อม ช. สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ ซ. สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง เช่น เจ็ตสกี ไคท์เซิร์ฟ เครื่องเล่นประเภทบานาน่าโบ๊ท ให้เปิดดำเนินการได้โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันและจำกัดจำนวนผู้เล่นตามจำนวนเครื่องเล่นและขนาดพื้นที่ ฌ. โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกินสองร้อยคน สำหรับโรงมหรสพในระยะแรกนี้ให้เปิดเฉพาะการจัดแสดงลิเก ลำตัดหรือการแสดงพื้นบ้านอื่น ๆ ก่อน โดยงดเว้นการจัดแสดงดนตรีหรือคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมอื่นที่อาจมีความเสี่ยงต่อการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลและการแพร่กระจายเชื้อ ญ. สวนสัตว์หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์ ให้เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมในพื้นที่จัดการแสดงที่เป็นการรวมกลุ่ม ข้อ ๔  การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ในข้อ ๒ หรือข้อ ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ทางราชการกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่ตามข้อ ๒ และการดำเนินการของเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ ๓ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนด หากพบการกระทำที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดช่วงระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ของโรค รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคำสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนดและจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณีมีอำนาจสั่งให้เปิดดำเนินการในสถานที่ดังกล่าวได้ ข้อ ๕  การผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ตามที่รัฐบาลมีคำแนะนำให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจากการประเมินของฝ่ายที่เกี่ยวข้องพบว่ามาตรการดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่งส่งผลให้สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนกลับมีสภาพใกล้เคียงกับวิถีชีวิตตามปกติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงเห็นสมควรผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยประชาชนผู้เดินทางซึ่งรวมถึงผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค การจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนดด้วยซึ่งอาจไม่สะดวกและจำเป็นต้องก่อภาระแก่ผู้เดินทางได้โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การจราจรคับคั่งหรือมีเหตุพิเศษ  ทั้งนี้ หากพบว่าผู้เดินทางมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคหรือเป็นพาหะนำโรค พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการสั่งแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ ข้อ ๖  ในกรณีมีปัญหาว่าสถานที่หรือกิจกรรมใดเข้าข่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดนี้หรือไม่ ให้หารือคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เป็นประธาน ข้อ ๗  การแสดงตนโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ หรือแอบอ้างว่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการเรียก รับ ยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ หรือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากการใช้สถานที่ของเอกชนเพื่อการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต หรือเจตนาแกล้งให้ผู้อื่นมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือข้อกำหนดซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการเรียกเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนจากการไม่ดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้ประสบเหตุดังกล่าวให้แจ้งต่อศูนย์ดำรงธรรมได้ทั่วราชอาณาจักร หรือแจ้งต่อศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๔๔/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
860,135
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 8)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๘)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป (คราวที่ ๑) จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (คราวที่ ๒) จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางเขตเลือกตั้งที่ ๔ แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้มีประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง กำหนดวันเลือกตั้งและวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ ๔ แทนตำแหน่งที่ว่าง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันเสาร์ที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ กรณีจึงจำเป็นต้องยกเว้นหรือผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 บางมาตรการในเขตพื้นที่ที่มีการจัดการเลือกตั้งในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม และเรียบร้อยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อาคารสถานที่ในจังหวัดลำปางซึ่งมีข้อกำหนดห้ามการใช้อาคารสถานที่ เช่น โรงเรียนและสถาบันการศึกษา ศูนย์ประชุม เพื่อการรับสมัครเลือกตั้ง การอบรมเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง การจัดตั้งหน่วยเลือกตั้งและสถานที่นับคะแนน หรือเพื่อการดำเนินกิจกรรมอื่นใดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งได้ จนเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง ข้อ ๒  ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งควบคุมดูแลการหาเสียงเลือกตั้ง การจัดอบรมเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง การจัดให้มีการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนน ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งโดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการห้ามการมั่วสุมประชุมกัน แต่ต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดและตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อยหนึ่งเมตร การกวดขันให้ผู้ร่วมกิจกรรมใช้หน้ากากอนามัย การทำความสะอาดสถานที่และล้างมือด้วย สบู่ แอลกอฮอล์ เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ข้อ ๓  บุคคลผู้ต้องเดินทางข้ามเขตจังหวัดเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนประกอบกับเอกสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิเลือกตั้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเดินทางข้ามเขตจังหวัด และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายที่จะต้องออกเอกสารหรือหลักฐานตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๔  เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นไปโดยเรียบร้อย ให้บุคคลดังต่อไปนี้เดินทางไปกลับในระหว่างเวลาที่ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานได้ (๑) เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง (๒) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง (๓) ผู้แทนพรรคการเมืองซึ่งทำหน้าที่สังเกตการณ์การออกเสียงลงคะแนนและการนับคะแนนที่พรรคการเมืองได้ยื่นหนังสือแต่งตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแล้ว ข้อ ๕  ในกรณีจำเป็นต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งดังกล่าว ให้นำความในข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๖  เพื่อให้มาตรการป้องกันโรคเป็นไปในแนวทางเดียวกันและเพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปโดยเรียบร้อย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและอาจมีคำสั่งภายในหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๔๒/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
859,100
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๗)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น ด้วยเป็นการสมควรผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เพิ่มเติมจากที่เคยผ่อนคลายไว้แล้วเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ได้รายงานผลการประเมินสถานการณ์ และการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายผู้ประกอบการ และฝ่ายผู้บริโภค ประกอบกับฝ่ายสาธารณสุขได้เสนอว่า จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันและสถิติผู้เสียชีวิตในประเทศนับแต่ต้นเดือนพฤษภาคมอันเป็นระยะเวลาที่ประกาศใช้ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔) (ฉบับที่ ๕) และ (ฉบับที่ ๖) เป็นต้นมาลดลงหรืออยู่ในระดับที่ควบคุมได้อย่างต่อเนื่อง แต่เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศ จำนวนของผู้เดินทางข้ามจังหวัดและผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ตลอดจนประชาชนบางกลุ่มที่ยังประมาทและละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ในขณะที่การแพร่ระบาดก็ยังปรากฏอยู่มากในต่างประเทศ จึงควรผ่อนคลายตามโอกาสเสี่ยงของบุคคล สถานที่ และประเภทของกิจกรรม ภายใต้เงื่อนไขว่ายังคงให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการต่อไปโดยเคร่งครัดและหากปรากฏว่าจำนวนผู้ติดเชื้อกลับเพิ่มหรือโอกาสเสี่ยงมีมากขึ้น ก็อาจระงับหรือเปลี่ยนแปลงการผ่อนคลายบางส่วนหรือทั้งหมดได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น และให้ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ยังคงใช้บังคับต่อไป ข้อ ๒  การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจพิจารณาผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเฉพาะที่ดำเนินการในลักษณะของการให้ความช่วยเหลือ การสงเคราะห์ อุปถัมภ์หรืออุปการะเด็กกำพร้าที่ประสบปัญหาครอบครัว เด็กยากไร้ หรือเด็กด้อยโอกาส และอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงได้หากปล่อยให้เด็กอาศัยอยู่ในสถานที่พักอาศัยของตนหรือที่อื่น หรือเป็นการใช้อาคารสถานที่ดังกล่าวเพื่อการทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์สาธารณะตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาต แต่ยังคงงดเว้นการใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ หรือการฝึกอบรม ข้อ ๓  การผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกของประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่าง ภายใต้การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดรวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ให้สถานที่หรือการดำเนินกิจกรรมที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดเคยมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อม ดังต่อไปนี้ (๑) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไป ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ให้เปิดดำเนินการได้ แต่ยังคงห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ดังกล่าวนี้ ข. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการเพิ่มเติมได้ในส่วนที่เป็นการจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคและการให้บริการ รวมทั้งร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม (ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน) ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผมหรือทำเล็บ ยกเว้นส่วนที่เป็นโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง ตู้เกมส์ เครื่องเล่นหยอดเหรียญ สถานที่เล่นสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรดหรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน คาราโอเกะ สวนสนุก สวนน้ำ สวนสัตว์ สนุกเกอร์ บิลเลียด ร้านเกมส์ สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สถาบันกวดวิชา สนามพระเครื่อง ศูนย์ประชุม ทั้งนี้ พื้นที่และกิจกรรมที่เปิดดำเนินการได้ให้งดเว้นการจัดการแข่งขัน กิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดำเนินการอื่นใดที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา ค. ร้านค้าปลีก/ค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ ง. สถานที่บริการดูแล สถานที่พำนักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์อื่นที่จัดสวัสดิการให้แก่เด็กหรือผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาระพึ่งพิงให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ จ. การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ซึ่งเมื่อรวมคณะทำงานหน้าฉากและทุกแผนกแล้วต้องมีจำนวนไม่เกินห้าสิบคน และต้องไม่มีผู้ชมเข้าร่วมรายการ ฉ. ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะกรณีจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม และเป็นการประชุมคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น หรือการประชุม การอบรม การสัมมนาซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมาจากหน่วยงานเดียวกันเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบทราบแหล่งที่มา (๒) กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ ก. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม และร้านทำเล็บ ทั้งที่อยู่ในและนอกห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะการเสริมความงามเรือนร่างและผิวพรรณ ไม่รวมถึงการเสริมความงามบริเวณใบหน้า ข. สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนสที่มิได้ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าหรือคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะส่วนที่เป็นการเล่นโยคะหรือฟรีเวท โดยงดเว้นการใช้เครื่องเล่น เครื่องลู่วิ่ง จักรยานปั่น หรือการเล่นแบบรวมกลุ่ม ค. สถานที่หรือสนามออกกำลังกายในร่ม เฉพาะกีฬาประเภทที่ตามกติกาสากลที่มิได้มีการปะทะกันระหว่างผู้เล่นและต้องไม่มีผู้ชมการแข่งขัน หากเล่นเป็นทีม ให้มีผู้เล่นได้ฝั่งละไม่เกินสามคน ได้แก่ แบดมินตัน ตะกร้อ เทเบิลเทนนิส สควอช ยิมนาสติก ฟันดาบ และปีนผา ง. สระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม จ. สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์ ข้อ ๔  การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ ๓ (๑) และ (๒) มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตามที่ทางราชการกำหนด ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ แนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ สั่งปิดสถานที่นั้นเป็นการชั่วคราวเฉพาะราย ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนดและจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งให้เปิดดำเนินการในสถานที่ดังกล่าวได้ ข้อ ๕  เพื่อให้มาตรการป้องกันโรคเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคำสั่งปิดสนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามการแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันเพิ่มเติมเนื่องจากพบว่าเป็นสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมทั้งดำเนินการอื่นใดให้สอดคล้องกับข้อกำหนดนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พรวิภา/จัดทำ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง/หน้า ๓๙/๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858,195
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ยังคงดำรงอยู่ต่อไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ไปสู่พื้นที่อื่นและป้องกันมิให้โรคกลับมาแพร่ระบาดใหม่ในพื้นที่ซึ่งเคยควบคุมได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การห้ามออกนอกเคหสถาน ให้การห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ยังคงใช้บังคับต่อไป ผู้ฝ่าฝืนย่อมมีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดด้วย เช่น ออกนอกเคหสถานในเวลาดังกล่าวและไม่ยอมรับการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต หรือมั่วสุมชุมนุมกันทำกิจกรรมอันเสี่ยงต่อการแพร่โรคในเวลาดังกล่าว อาจมีความผิดอีกสถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือหากอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวไปกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการพนัน หรือกระทำการฝ่าฝืนข้อกำหนดในเรื่องอื่น ๆ นอกจากเรื่องการห้ามออกนอกเคหสถาน และขณะเดียวกันก็เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น เสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาอันไม่เป็นความจริงซึ่งเป็นความผิดตามข้อ ๖ แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายเหล่านั้นทุกฐานความผิด  ทั้งนี้ ทางราชการอาจพิจารณาขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้กระทำความผิดดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาในการขอรับความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐในโอกาสต่อไปด้วยก็ได้ ข้อ ๒  การห้ามหรือข้อจำกัดการดำเนินการหรือการทำกิจกรรมบางอย่างตามพระราชกำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๑) ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่เป็นการดำเนินการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (๒) ห้ามผู้ใดจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง เว้นแต่เป็นการจัดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องเว้นระยะห่างทางสังคมระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยหนึ่งเมตร สถานที่ทำกิจกรรมต้องโล่งแจ้งหรือไม่แออัด ใช้ระยะเวลาทำกิจกรรมไม่นาน และมีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ในกรณีเป็นการประชุม การสัมมนา ควรจัดประชุมด้วยวิธีการตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ (๓) ห้ามผู้ใดใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยานเว้นแต่เป็นไปตามประกาศ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศกำหนด (๔) ให้ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ ปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรี ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกำหนดซึ่งแบ่งออกเป็นมาตรการสำหรับชาวต่างประเทศ และมาตรการสำหรับผู้มีสัญชาติไทย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และควบคุมจำนวนคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองและการจัดที่เอกเทศไว้แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต (๕) ให้ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ สั่งหรือกำหนดเป็นเงื่อนไขในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ ที่เอกเทศ หรือสถานที่ซึ่งทางราชการกำหนด ต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขดังกล่าวตามระยะเวลาที่กำหนด (๖) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคำสั่งปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่โรคดังนี้ โรงมหรสพ สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง สวนน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสนุก สวนสัตว์ สถานที่เล่นสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรดหรือการละเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน สนุกเกอร์ บิลเลียด สถานที่เล่นโบว์ลิ่งหรือตู้เกม ร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ต สระว่ายน้ำสาธารณะ สนามชนไก่ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดสาธารณะ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ สนามมวย โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม) สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ สนามม้า สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้าและสถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด ในพื้นที่รับผิดชอบเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้ประเมินสถานการณ์และมีข้อกำหนดให้ผ่อนคลายต่อไป (๗) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดอาจพิจารณาปิด จำกัดหรือห้ามการดำเนินการสถานที่หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมอื่นที่มีความเสี่ยงนอกเหนือจากที่ระบุไว้ตาม (๖) เพิ่มเติมภายในพื้นที่รับผิดชอบได้ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ แต่การสั่งให้เปิดดำเนินการสถานที่หรือกิจกรรมใด ๆ ที่มีคำสั่งปิดหรือมีข้อจำกัดการใช้สถานที่ตาม (๑) ถึง (๕) หรือตามที่มีคำสั่งปิดตาม (๖) และ (๗) จะกระทำมิได้จนกว่าจะได้ประเมินสถานการณ์และมีข้อกำหนดให้ผ่อนคลายต่อไป ข้อ ๓  คำสั่งหรือการกำหนดตามข้อ ๒ (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ถือว่าเป็นคำสั่งตามข้อกำหนดที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ด้วย ข้อ ๔  การปฏิบัติศาสนกิจหรือศาสนพิธีในวันสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ณ ศาสนสถานใดให้เป็นไปตามดุลยพินิจและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ปกครองดูแลศาสนสถานนั้น ในกรณีมีมาตรการหรือคำแนะนำขององค์กรปกครองทางศาสนานั้นหรือของทางราชการเกี่ยวกับการป้องกันโรค ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการหรือคำแนะนำดังกล่าว ข้อ ๕  ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เว้นแต่มีความจำเป็นซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งต้องรับการตรวจคัดกรอง และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดอันอาจทำให้การเดินทางต้องใช้เวลามากกว่าปกติและไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858,059
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 4)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น โดยที่รัฐบาลได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงร่วมกันประเมินสถานการณ์เพื่อพิจารณาผ่อนคลาย หรือเพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้บางมาตรการ โดยมุ่งจะให้การควบคุมและการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถยุติลงได้โดยเร็วและไม่ย้อนกลับมาอีก ขณะเดียวกัน ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการ โดยจะพิจารณาผ่อนคลายเป็นลำดับขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดและคำนึงถึงประเภทของกิจการหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงน้อย สถานที่ซึ่งสามารถจัดระบบควบคุมดูแลได้ และผู้เกี่ยวข้องซึ่งสามารถนำมาตรการป้องกันโรคมาบังคับใช้ได้เป็นลำดับแรก โดยใช้ช่วงเวลาระยะแรกนี้เตรียมการเพื่อรองรับการจัดระบบตามมาตรการและคำแนะนำของทางราชการไปพลางก่อน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายดังนี้ ให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ได้ประกาศหรือสั่งไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับ ไม่ว่าจะเป็นการห้าม การให้กระทำการ หรือการผ่อนคลายใด ๆ ซึ่งถือว่าเป็นประกาศหรือสั่งตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิม จนกว่าจะได้มีข้อกำหนด ประกาศ หรือ คำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๗๗/๒๙ เมษายน ๒๕๖๓
856,455
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.. 2548
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถาณการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถาณการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรและได้ออกข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้มีมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถาณการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถาณการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกาถึง ๐๔.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืนตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๑) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถาณการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒  ในกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือนหรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ ๑ วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย ข้อ ๓  ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใดซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครจัดที่เอกเทศเพื่อควบคุมหรือกักกันบุคคลดังกล่าวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พรวิภา/จัดทำ ๓ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๑/๒ เมษายน ๒๕๖๓
855,755
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1)
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและเงื่อนเวลา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง  ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด 19 ตามที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ประกาศหรือสั่งตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับและที่ทางราชการจะประกาศ ให้ทราบต่อไป ในกรณีที่ได้รับการผ่อนผัน ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามวรรคหนึ่ง เป็นคำสั่งตามข้อกำหนดนี้ ข้อ ๒  การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค  ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พิจารณาสั่งปิดสถานที่ซึ่งมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคโควิด 19 เป็นการชั่วคราว แต่อย่างน้อยให้สั่งปิดสถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น (๒) ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย (ฟิตเนส) สถานบันเทิง ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น (๓) สถานที่อื่นนอกจากนี้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุดสาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วนหรือทั้งหมดและอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาตามความจำเป็นและเหมาะสมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี  ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงโอกาสเสี่ยงต่อการติดต่อโรค ความจำเป็นของประชาชนในการจัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคและการเดินทาง โดยเฉพาะในระยะแรกซึ่งต้องมีการเตรียมตัวหรือปรับตัว ในกรณียังไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดสถานที่ใด ให้เจ้าของหรือผู้ดูแลสถานที่นั้นจัดให้มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ หรือจัดระบบให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้อ ๓  การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร  ในการใช้ยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นอากาศยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด หรือในการใช้เส้นทางคมนาคมไม่ว่าทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางบก เพื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปิดช่องทางเข้าออก ด่าน จุดผ่านแดน หรือจุดผ่อนปรนตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง สำหรับผู้โดยสารหรือผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่ (๑) เป็นกรณีหรือผู้มีเหตุยกเว้นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด หรืออนุญาตตามความจำเป็นโดยอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้ (๒) เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว (๓) เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ ซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกราชอาณาจักรชัดเจน (๔) เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือเป็นบุคคลหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนบุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวโดยติดต่อกระทรวงการต่างประเทศเพื่อออกหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้โดยแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามวรรคสอง (๕) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ทำงานในราชอาณาจักร และปฏิบัติตามวรรคสอง (๖) เป็นผู้มีสัญชาติไทย ในกรณีเช่นนี้ ให้ติดต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักเพื่อออกหนังสือรับรอง หรือมีใบรับรองแพทย์ และปฏิบัติตามวรรคสอง โดยให้สถานทูตไทยและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสัญชาติไทยในการเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร บุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันตาม (๔) (๕) หรือ (๖) ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly Health Certificate) ซึ่งได้รับการตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมงก่อนการเดินทาง และเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ โดยอนุโลม เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจปฏิเสธไม่ให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ตรวจพบหรือต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด 19 หรือไม่ยินยอมให้ตรวจ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้ ข้อ ๔  การห้ามกักตุนสินค้า  ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ก็ตาม สำหรับกรณีที่เป็นสินค้าควบคุม การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ปริมาณการผลิต การควบคุมราคาจำหน่ายและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงและไม่เกิดภาวะขาดแคลนหรือเดือดร้อนเกินสมควร โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องตรวจและควบคุมดูแลผู้ประกอบการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๕  การห้ามชุมนุม  ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย  ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนด ข้อ ๖  การเสนอข่าว  ห้ามการเสนอข่าวหรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งมีข้อความหรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด 19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าหน้าที่เตือนให้ระงับหรือสั่งให้แก้ไขข่าว หรือหากเป็นกรณีที่มีผลกระทบรุนแรง ให้ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นศูนย์กลางจัดให้มีการแถลงหรือชี้แจงข่าว ณ ทำเนียบรัฐบาลเพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเป็นประจำและต่อเนื่อง ในกรณีจำเป็นจะขอความร่วมมือจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจด้วยก็ได้ ข้อ ๗  มาตรการเตรียมรับสถานการณ์ (๑) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ หากมีปัญหาให้รายงานกระทรวงมหาดไทย (๒) ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดและประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่และอำนาจ โดยพิจารณาใช้งบประมาณของตนเองเป็นอันดับแรก ในกรณีไม่อาจดำเนินการได้ให้เสนอหรือขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล (๓) ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยในการหายใจและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือแนะนำ  ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์จากแหล่งต่าง ๆ และการเตรียมสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้สังเกตหรือเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นโดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอประชุม สถานที่ปฏิบัติธรรม ศาลาวัด อาคารของเอกชนที่ยังไม่ได้ใช้งานหรือสถานที่ราชการ สถานที่เอกชนอื่น ๆ เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว (๔) ในการกักกันตัวเองไว้สังเกตอาการตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้เดินทางข้ามเขตมาจากพื้นที่จังหวัดอื่น ให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งขึ้น หรืออาสาสมัครที่ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการสามารถเข้าตรวจสอบการเฝ้าระวังหรือความเข้มงวดจริงจังในการกักกันตนเองและให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ในกรณีนี้ อาจขอความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นให้ช่วยตรวจสอบด้วยก็ได้ ในกรณีตาม (๓) ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบทางราชการ โดยให้กระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันตามอำนาจที่มีอยู่ ข้อ ๘  มาตรการพึงปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท  ให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ได้ง่าย ดังต่อไปนี้ อยู่ในเคหสถานหรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก (๑) ผู้สูงอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป (๒) กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำตามธรรมชาติของโรคและด้วยยาที่ใช้รักษา (๓) กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่าห้าปีลงมา ทั้งนี้ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อการพบแพทย์ การรักษาพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่แพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ การปฏิบัติงานหรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงิน ตู้เอทีเอ็ม การสื่อสารมวลชน โทรคมนาคมและไปรษณีย์ การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าเพื่อการบริโภค อุปโภค การจัดหาและซื้อขายอาหาร การติดต่อด้านคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการหรือศาลตามความจำเป็นหรือการเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมาย เว้นแต่จะมีประกาศผ่อนผันหรือกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาเป็นประการอื่น  ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ข้อ ๙  มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร  ให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้มงวดในการตรวจลงตราหรือออกวีซ่าหรืออนุญาตให้ชาวต่างประเทศซึ่งมิได้มีกิจการงานปกติหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรยังคงอยู่ในราชอาณาจักร บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจะได้รับการอำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ โดยอนุโลม ข้อ ๑๐  มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย  ในกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเวรยามหรือตั้งจุดตรวจตามถนน เส้นทางคมนาคม สถานีขนส่งหรือโดยสาร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม และการรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่เชื้อโรค และหากพบเห็นการกระทำดังกล่าวให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที ในจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานคร ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยให้มีมาตรการตั้งด่านตรวจหรือจุดสกัดดูแลการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดเพื่อจัดระเบียบการเดินทาง การจราจร การเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการผู้เดินทาง และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามข้อนี้ ผู้รับผิดชอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง อาจขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. หรืออาสาสมัครเพื่อปฏิบัติการร่วมกันก็ได้ และหากพบเห็นการกระทำดังกล่าวให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที ข้อ ๑๑  มาตรการป้องกันโรค  ให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อใช้ปฏิบัติเป็นการทั่วไป หรือใช้ในกรณีผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ ดังนี้ (๑) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน (๒) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า (๓) ให้บุคคลตาม (๒) ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (๔) ให้บุคคลตาม (๒) เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรเพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ำลาย (๕) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน เจ้าหน้าที่อาจเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนำมาตรการคุมไว้สังเกตหรือมาตรการกักกันตัวอย่างน้อย ๑๔ วัน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อมาใช้แก่บุคคลบางประเภทหรือบางคนได้ตามความจำเป็น ข้อ ๑๒  นโยบายการยังคงให้เปิดสถานที่ทำการ  รัฐบาลมีนโยบายให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารในส่วนซึ่งมิใช่สถานบันเทิงหรือสถานบริการและแผงจำหน่ายอาหารซึ่งผู้บริโภคซื้อไปบริโภคนอกสถานที่ โรงแรมในส่วนซึ่งเป็นที่พักอาศัยและร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้าในส่วนซึ่งเป็นแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดและตลาดนัดในส่วนซึ่งจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงประกอบกิจการต่อไปได้ตามปกติเพื่อความสะดวกและความเป็นอยู่ตามปกติของประชาชน มิให้ขาดแคลนหรือเดือดร้อนยากลำบากเกินควร โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ยังคงเปิดดำเนินการในวันและเวลาราชการตามปกติ เว้นแต่ที่มีประกาศให้ปิดหรืองดดำเนินการไปก่อนแล้ว เช่น สถาบันการศึกษา  ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและมิให้ประชาชนต้องเสียประโยชน์หรือละเมิดกฎหมายที่มีกำหนดเวลาให้ปฏิบัติ แต่ควรอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การจัดเหลื่อมเวลาทำงานและพักเที่ยง การทำงานนอกสถานที่ปกติ และให้เพิ่มบริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น การจัดประชุมสื่อสารทางไกล การให้บริการด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล การงดเว้นการกำหนดให้ประชาชนต้องมาแสดงตน หรือยกเว้น ขยายเวลา งดหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมภายใต้กรอบของกฎหมาย ให้ภาคธุรกิจ ร้านค้าที่เปิดบริการและสถานที่ราชการที่เปิดทำการ วางมาตรการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อหรือใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓  คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด  ในช่วงเวลานี้ประชาชนพึงงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในระยะนี้โดยไม่จำเป็นและควรพักหรือทำงานอยู่ ณ ที่พำนักของตน กรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด  ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามตัวมารับการตรวจอาการหรือกักกันตัว ข้อ ๑๔  คำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ  การจัดกิจกรรมหรือพิธีการทางสังคมตามประเพณีนิยม เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีศพ พิธีสงกรานต์ หรือกิจกรรมภายในครอบครัว ตลอดจนกิจกรรมหรืองานพิธีที่ทางราชการจัดขึ้นหรือเป็นไปตามหมายกำหนดการของทางราชการ ยังคงจัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ ๑๑ ข้อ ๑๕  โทษ  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ แห่งข้อกำหนดนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และอาจมีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้วแต่กรณี ด้วย ข้อ ๑๖  การใช้บังคับ  ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรรวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น ในกรณีมีความจำเป็น นายกรัฐมนตรีอาจออกข้อกำหนดเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดมาตรการหรือเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๑๐/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
701,299
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย  ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนดเว้นแต่เป็นการชุมนุมตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ข้อ ๒  ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร ข้อ ๓  ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ข้อ ๔  ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ข้อ ๕  ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ข้อ ๖  ในการดำเนินการตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรเพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๓/๒๓ มกราคม ๒๕๕๗
629,525
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 (1) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548๒๕๔๘ ฉบับที่ 3
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๓[๑] ตามที่ได้มีข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๑ และฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในเวลาตั้งแต่ ๒๐.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น เนื่องจากในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ยังคงมีความไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องดำรงมาตรการเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดต่อไปนี้ ๑.  ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหารออกนอกเคหสถานภายในวันและเวลา ดังนี้ ๑.๑ ตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๒ ตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๓ ตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ๓.  ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดกลับเข้าสู่เคหสถานและมิให้ออกมายังพื้นที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๔.  ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อกำหนดนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการนี้มอบหมายให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน/ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถกำหนดพื้นที่และรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๕๒/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628,977
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 (1) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 6
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๖[๑] ตามที่ได้มีข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในวันและเวลาที่กำหนดไปแล้วนั้น เพื่อให้การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดต่อไปนี้ ๑.  ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี ยกเว้นเมืองพัทยา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร ออกนอกเคหสถานภายในวันและเวลาดังนี้ ๑.๑ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๒ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๓ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๔ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ๓.  ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดกลับเข้าสู่เคหสถานและมิให้ออกมายังพื้นที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๔.  ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อห้ามตามข้อกำหนดนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการนี้มอบหมายให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน/ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถกำหนดพื้นที่และรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๓๕/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628,975
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 (1) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 5
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๕[๑] ตามที่ได้มีข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในวันและเวลาที่กำหนดไปแล้วนั้น เพื่อให้การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดต่อไปนี้ ๑.  ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี ยกเว้นเมืองพัทยา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร ออกนอกเคหสถานภายในวันและเวลาดังนี้ ๑.๑ ตั้งแต่เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๒ ตั้งแต่เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ๓.  ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดกลับเข้าสู่เคหสถานและมิให้ออกมายังพื้นที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๔.  ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อห้ามตามข้อกำหนดนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการนี้มอบหมายให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน/ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถกำหนดพื้นที่และรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๓๓/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628,973
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 (1) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 4
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๔[๑] ตามที่ได้มีข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ เมืองพัทยานั้น เมืองพัทยาได้จัดเตรียมแผนการรักษาความปลอดภัยและการรักษาความสงบเรียบร้อยไว้พร้อมแล้วในทุก ๆ ด้านและคาดว่าจะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใด ๆ เกิดขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีจึงได้ออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในท้องที่ เมืองพัทยา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๓๒/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓
628,945
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 (1) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 2
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๒[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถกระทำได้โดยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันท่วงที และเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดต่อไปนี้ ๑.  ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร ออกนอกเคหสถานภายในเวลาตั้งแต่ ๒๐.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ๓.  ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดกลับเข้าสู่เคหสถานและมิให้ออกมายังพื้นที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๔.  ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อกำหนดนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการนี้มอบหมายให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน/ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถกำหนดพื้นที่และรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๓/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
629,072
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 (1) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วนั้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถกระทำได้โดยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันท่วงที และเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดต่อไปนี้ ๑.  ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ออกนอกเคหสถานภายในเวลาตั้งแต่ ๒๐.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒.  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ๓.  ให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดกลับเข้าสู่เคหสถานและมิให้ออกมายังพื้นที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการนี้มอบหมายให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน/ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถกำหนดพื้นที่และรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๕๘/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
627,108
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑.  ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย  ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ๒.  ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร ๓.  ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ๔.  ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ๕.  ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด ในการนี้ หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/พิมพ์ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๑๑/๗ เมษายน ๒๕๕๓
603,164
ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑. ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ๒. ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร ๓. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด ๔. ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด ๕. ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด ในการนี้ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๖/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
592,810
ข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (ฉบับที่ 2)
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในเขตพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมือง และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ และมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๑/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบยุติลงได้ และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑.  ห้ามผู้ใดชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ท้องที่อำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ๒.  ห้ามผู้ใดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติหน้าที่ในท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เส้นทางคมนาคม และหรือใช้ยานพาหนะในบริเวณท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิในถนนกิ่งแก้ว และในทางเข้าออกท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ จากถนนบางนา - ตราด จากถนนอ่อนนุช - ลาดกระบัง จากทางหลวงกรุงเทพ - ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) ทุกเส้นทาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๓.  ห้ามผู้ใดใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ หรือพื้นที่ใด ๆ ในบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๔.  ให้อพยพประชาชนที่ร่วมชุมนุมออกจากพื้นที่อาคารผู้โดยสารและพื้นที่รอบบริเวณในท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ และเมื่อได้อพยพออกไปแล้วห้ามมิให้กลับเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวอีก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จนถึงวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พลตำรวจโท ฉลอง  สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๕๙/๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
592,808
ข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในเขตพื้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมือง และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ และมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๑/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบยุติลงได้ และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑.  ห้ามผู้ใดชุมนุมหรือมั่วสุมกัน หรือกระทำการใดเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ท้องที่อำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ๒.  ห้ามผู้ใดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติหน้าที่ในท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เส้นทางคมนาคม และใช้ยานพาหนะในบริเวณท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิในถนนกิ่งแก้ว และในทางเข้าออกท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ จากถนนบางนา - ตราด จากถนนอ่อนนุช - ลาดกระบัง จากทางหลวงกรุงเทพ - ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) ทุกเส้นทาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ๓.  ห้ามผู้ใดใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ หรือพื้นที่ใด ๆ ในบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พลตำรวจโท ฉลอง  สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง วัชศักดิ์/จัดทำ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๕๗/๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
586,582
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ข้อกำหนด ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร แล้ว นั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ๑. ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ๒. ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร ๓. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด ๔. ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด ๕. ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่  ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด ในการนี้ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๔/๒ กันยายน ๒๕๕๑
736,183
พระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑  พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑]  พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓  ในพระราชกำหนดนี้ “คณะกรรมการการบินพลเรือน” หมายความว่า คณะกรรมการการบินพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “มาตรฐานสากล” หมายความว่า มาตรฐานที่กำหนดตามอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศซึ่งทำขึ้นที่เมืองชิคาโกเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมวด ๑ องค์กรด้านการบินพลเรือน ส่วนที่ ๑ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มาตรา ๕  ให้จัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยขึ้น เรียกโดยย่อว่า “กพท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “The Civil Aviation Authority of Thailand” เรียกโดยย่อว่า “CAAT” เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มาตรา ๖  กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๗  สำนักงานมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) กำกับ ดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนา กิจการการบินพลเรือน ทั้งในด้านนิรภัย การรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจ การขนส่งทางอากาศ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการการบินพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล (๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (๓) ส่งเสริม และพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางอากาศ อุตสาหกรรมการบินและกิจการการบินพลเรือนให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล (๔) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจการการบินพลเรือนให้สามารถดำเนินการและแข่งขันได้ในระดับสากล มาตรา ๘  นอกจากอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนา กิจการการบินพลเรือน ทั้งในด้านนิรภัย การรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ ตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานการบินพลเรือนของประเทศ (๒) เสนอแนะนโยบายต่อคณะกรรมการการบินพลเรือนเกี่ยวกับกิจการการบินพลเรือนและการขนส่งทางอากาศ (๓) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (๔) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการให้กับคณะกรรมการการบินพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการบินพลเรือนมอบหมาย (๕) ดำเนินการจัดทำแผนอำนวยความสะดวก แผนรักษาความปลอดภัย และแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ รวมทั้งแผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการการบินพลเรือนพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว (๖) ดำเนินการจัดระเบียบการบินพลเรือน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้น่านฟ้าให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด (๗) ตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินและกิจการการบินพลเรือนปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรฐานสากล (๘) กำกับดูแลกิจการสนามบินและสนามบินอนุญาตที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศหรือตามกฎหมายอื่นให้เกิดความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล (๙) ให้ความร่วมมือและสนับสนุนคณะกรรมการการบินพลเรือนและส่วนราชการในการประสานงานหรือเจรจากับองค์การระหว่างประเทศหรือต่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิในการบิน หรือการทำความตกลงใด ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น (๑๐) ร่วมมือและประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในด้านการบินพลเรือนตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ตามอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนากิจการการบินพลเรือน (๑๒) ให้การรับรองหลักสูตรและสถาบันฝึกอบรมผู้ประจำหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกำหนดคุณสมบัติและความรู้ของบุคลากรด้านการบินอื่นที่พึงต้องมี (๑๓) กำหนดมาตรฐานการทำงานของผู้ประจำหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (๑๔) จัดทำทะเบียนอากาศยาน รวมทั้งทะเบียนผู้ประจำหน้าที่และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน (๑๕) จัดทำและเผยแพร่ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับการบินพลเรือน (๑๖) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน หรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๙  ในการดำเนินกิจการของสำนักงาน ให้สำนักงานกระทำการดังต่อไปนี้ได้ (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน (๓) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงาน มาตรา ๑๐  สำนักงานอาจมีรายได้และทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม (๒) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๓) ค่าธรรมเนียมที่สำนักงานเรียกเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ (๔) ค่าธรรมเนียมกำกับการบินพลเรือนตามมาตรา ๓๙ (๕) เงินเพิ่มตามมาตรา ๔๑ (๖) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการหรือรายได้หรือผลประโยชน์อันได้มาจากการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน (๗) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินทางปัญญา (๘) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้สำนักงาน (๙) ดอกผลหรือประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากทุน รายได้ หรือทรัพย์สินของสำนักงาน มาตรา ๑๑  รายได้ตามมาตรา ๑๐ ให้ตกเป็นของสำนักงานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานและค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในกรณีที่มีเงินเหลือจ่ายเกินความจำเป็น ให้สำนักงานนำส่งเงินเหลือจ่ายนั้นให้กระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่รายได้ของสำนักงานมีจำนวนไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของสำนักงานและค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม และสำนักงานไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้ รัฐพึงจัดสรรเงินอุดหนุนให้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๒  ทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานในเรื่องทรัพย์สินของสำนักงานมิได้ มาตรา ๑๓  รายได้ทั้งปวงของสำนักงาน ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้กระทรวงการคลังดำเนินการเพื่อให้สำนักงานได้รับการยกเว้นภาษีและอากรนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรสำหรับสิ่งของที่นำเข้าเพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงาน มาตรา ๑๔  รายได้และทรัพย์สินของสำนักงานให้ใช้เพื่อกิจการของสำนักงานโดยเฉพาะ ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มาตรา ๑๕  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินห้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนกองทัพอากาศคนหนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารกิจการการบินพาณิชย์ ด้านกฎหมาย ด้านการเงินหรือการคลัง ด้านบริหารจัดการ หรือด้านอื่นใดซึ่งจะยังประโยชน์ต่อกิจการของสำนักงาน ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น มาตรา ๑๖  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีแต่ไม่เกินหกสิบห้าปี (๓) เป็นผู้มีผลงานหรือเคยปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง มาตรา ๑๗  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๔) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการบริหารหรือจัดการของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนทุกด้าน (๕) เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของราชการส่วนท้องถิ่น (๖) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี (๗) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี (๘) เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๙) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๑๐) เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงานหรือที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีสัญญาจ้างกับสำนักงาน (๑๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับสำนักงานหรือในกิจการซึ่งมีสภาพเป็นการแข่งขันกับกิจการของสำนักงาน  ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาตรา ๑๘  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ ในกรณีที่ครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๙  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐  คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกำหนด (๒) ให้ความเห็นชอบเป้าหมาย แผนงาน และโครงการที่ผู้อำนวยการเสนอ (๓) กำกับดูแลการบริหารงานและการดำเนินการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งของสำนักงาน และให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (๔) ออกข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งส่วนงาน การบริหารจัดการองค์กร การบริหารงานทั่วไป การเงิน การคลัง การใช้จ่ายเงินงบประมาณ การพัสดุ การบริหารงานบุคคล ค่าจ้าง ค่าตอบแทน การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่น และการอื่นที่จำเป็นในการบริหารกิจการของสำนักงาน (๕) ให้ความเห็นชอบในการกำหนดค่าธรรมเนียม ค่าตรวจสอบ ค่าบำรุง ค่าตอบแทนและค่าบริการใด ๆ ในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน (๖) อนุมัติการบรรจุแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ปฏิบัติงานระดับรองผู้อำนวยการขึ้นไปของสำนักงาน (๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา หรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๘) ดำเนินการอื่นใดตามที่กำหนดในพระราชกำหนดนี้หรือตามกฎหมายอื่น มาตรา ๒๑  การประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๒  ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ส่วนที่ ๓ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย มาตรา ๒๓  ให้สำนักงานมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบินและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านกิจการการบินพลเรือนหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสำนักงาน การสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔  นอกจากคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓ แล้ว ผู้อำนวยการต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีแต่ไม่เกินหกสิบห้าปี (๓) สามารถปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานได้เต็มเวลา มาตรา ๒๕  ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อำนวยการ (๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๔) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการบริหารหรือจัดการของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนทุกด้าน (๕) เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของราชการส่วนท้องถิ่น (๖) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี (๗) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี (๘) เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๙) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๒๖  ผู้อำนวยการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ มาตรา ๒๗  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ผู้อำนวยการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกับผู้อำนวยการ (๔) คณะกรรมการให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๕) คณะกรรมการให้ออก เพราะไม่สามารถผลักดันให้มีการกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข มาตรฐานและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลตามมาตรา ๓๗ (๑) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลได้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมการบิน (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๘  ผู้อำนวยการมีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตามพระราชกำหนดนี้และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อกำหนด นโยบายและมติของคณะกรรมการ รวมทั้งมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอเป้าหมาย แผนงาน และโครงการต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย แผนงาน และโครงการนั้น (๒) ระมัดระวังและแก้ไขปัญหาทั้งปวงมิให้กิจการการบินพลเรือนของประเทศตกอยู่ในภาวะต่ำกว่ามาตรฐานสากล (๓) ดำเนินการและควบคุมดูแลให้มีการดำเนินการตามมาตรา ๓๗ ให้เกิดความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ (๔) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนเสนอต่อรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่มีกฎหมายกำหนด (๕) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสำนักงาน รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนการเงินและงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา (๖) เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดำเนินงานของสำนักงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อคณะกรรมการ (๗) เป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน (๘) ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงานและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือระเบียบของคณะกรรมการ (๙) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๒๙  ในการบริหารกิจการของสำนักงาน ผู้อำนวยการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานทุกตำแหน่ง และรับผิดชอบในการดำเนินกิจการทั้งปวงของสำนักงาน ในการกำกับดูแลด้านนิรภัยการบินและการรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือน ให้ผู้อำนวยการดำเนินการตามกฎหมายและเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล มาตรา ๓๐  ในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการอาจมอบอำนาจให้ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานกระทำการใดแทนก็ได้  ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑  ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้แทนของสำนักงาน เพื่อการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การจำกัดอำนาจของผู้อำนวยการให้เป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการซึ่งต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา นิติกรรมใดที่ผู้อำนวยการกระทำโดยไม่เป็นไปตามข้อบังคับตามวรรคสอง ย่อมไม่ผูกพันสำนักงาน เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน มาตรา ๓๒  ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองผู้อำนวยการที่มีอาวุโสสูงสุดตามลำดับเป็นผู้รักษาการแทน แต่ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการที่จะแต่งตั้งรองผู้อำนวยการคนอื่นเป็นผู้รักษาการแทน ในกรณีที่ไม่มีรองผู้อำนวยการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ คนหนึ่งเป็นผู้รักษาการ ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ มาตรา ๓๓  ผู้อำนวยการต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับสำนักงานหรือในกิจการที่กระทำให้แก่สำนักงาน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในกรณีที่บุพการี คู่สมรส ผู้สืบสันดาน หรือบุพการีของคู่สมรสของผู้อำนวยการกระทำการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้อำนวยการมีส่วนได้เสียในกิจการของสำนักงาน นิติกรรมใดที่ทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง ไม่มีผลผูกพันสำนักงาน มาตรา ๓๔  อัตราเงินเดือนและประโยชน์อย่างอื่นของผู้อำนวยการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๕  ในกรณีจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานจะจ้างชาวต่างประเทศที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานก็ได้ มาตรา ๓๖  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงาน ผู้อำนวยการอาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ มาปฏิบัติงานในสำนักงานเป็นการชั่วคราวได้  ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้น ให้ถือว่าข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น ที่ได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานตามวรรคหนึ่ง เป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ และให้นับระยะเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในสำนักงานสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่มาปฏิบัติงานในสำนักงาน ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในสังกัดเดิมในระดับตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งเดิม หมวด ๒ การควบคุมและกำกับดูแลเกี่ยวกับการบินพลเรือน มาตรา ๓๗  ในการกำกับดูแลการบินพลเรือนและควบคุมกิจการการบินพลเรือน ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ออกข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ ระเบียบและคำสั่ง เพื่อกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข มาตรฐานและแนวปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นปัจจุบันและทันต่อเหตุการณ์ (ก) ผู้ประจำหน้าที่ (ข) กฎจราจรทางอากาศ (ค) กฎการปฏิบัติการบิน (ง) การใช้น่านฟ้า (จ) อุตุนิยมวิทยาการบิน (ฉ) แผนภูมิการบิน (ช) หน่วยมิติในการสื่อสารระหว่างอากาศกับพื้นดิน (ซ) การดำเนินบริการเดินอากาศ (ฌ) เครื่องหมายสัญชาติและเครื่องหมายการจดทะเบียนของอากาศยาน (ญ) ความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน (ฎ) การอำนวยความสะดวกของการขนส่งทางอากาศ (ฏ) การสื่อสารทางไกลสำหรับการเดินอากาศ (ฐ) บริการจราจรทางอากาศ (ฑ) การจัดตั้งและการดำเนินงานสนามบิน (ฒ) การบริการข่าวสารการบิน (ณ) การรักษาสิ่งแวดล้อม (ด) การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน (ต) การขนส่งสินค้าอันตรายทางอากาศ (ถ) การบริหารจัดการความปลอดภัย (ท) ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน (๒) กำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล การปฏิบัติในเรื่องทั้งปวงที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนเพื่อให้มั่นใจว่าอากาศยานและผู้ที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับตาม (๑) ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ตาม (๑) (๓) เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม (๒) นอกจากอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศให้ผู้อำนวยการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมายมีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานมาประกอบการพิจารณา และมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบได้ แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในสถานที่ใด ๆ นอกเวลาทำการ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองก่อนหรือได้แจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกชั่วโมงแล้ว รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปในหรือขึ้นไปกับอากาศยานในระหว่างเวลาใด ๆ ที่อากาศยานนั้นจอดอยู่หรือทำการบิน มาตรา ๓๘  ในการกำกับดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนา กิจการการบินพลเรือนในด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ อย่างน้อยสำนักงานต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กำกับดูแลและตรวจสอบการกำหนดราคาและการจัดเก็บค่าโดยสารและค่าระวางสำหรับอากาศยานขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการการเดินอากาศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกำหนด (๒) กำกับดูแลและตรวจสอบการเรียกเก็บค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นใดของผู้ดำเนินการสนามบินสาธารณะให้เป็นไปตามอัตราและเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติ (๓) กำกับดูแลและตรวจสอบการเรียกเก็บค่าบริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้เป็นไปตามอัตราและเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติ (๔) กำกับดูแล ตรวจสอบ และติดตาม การประกอบกิจการของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการการเดินอากาศให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง (๕) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดสรรสิทธิการบินและการอนุญาตการบินแก่อากาศยานและสายการบินของไทยและต่างประเทศ หมวด ๓ ค่าธรรมเนียมกำกับการบินพลเรือน มาตรา ๓๙  นอกจากค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศแล้วให้สำนักงานมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกำกับการบินพลเรือน ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าธรรมเนียมการทำการบินที่เรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศที่ทำการบินขึ้นลง ณ สนามบินสาธารณะใด ๆ ในประเทศ ตามอัตราที่สำนักงานกำหนด (๒) ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่เรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศโดยคำนวณจากผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศ ตามอัตราที่สำนักงานประกาศกำหนด (๓) ค่าธรรมเนียมการขนส่งสินค้าทางอากาศที่เรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศที่รับขนสินค้าทางอากาศจากสนามบินสาธารณะใด ๆ ในประเทศ โดยคำนวณจากราคาค่าส่งที่ระบุในใบตราส่งสินค้าทางอากาศตามอัตราที่สำนักงานประกาศกำหนด (๔) ค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่เรียกเก็บจากผู้ให้บริการหรือผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ณ จุดให้บริการใด ๆ ในประเทศ ตามอัตราร้อยละต่อลิตรที่สำนักงานประกาศกำหนด อัตราที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการบินพลเรือนแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๔๐  ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศและผู้ให้บริการหรือผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมที่กำหนดตามมาตรา ๓๙ และนำส่งเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายในระยะเวลาและตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม มาตรา ๔๑  ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๔๐ ไม่นำส่งค่าธรรมเนียมให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา ๓๙ ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของค่าธรรมเนียมกำกับการบินพลเรือนที่ตนไม่ได้นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน หมวด ๔ ความสัมพันธ์กับรัฐบาล มาตรา ๔๒  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลให้สำนักงานดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายและแผนที่คณะกรรมการการบินพลเรือนกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ เพื่อการนี้ รัฐมนตรีมีอำนาจเรียกประธานกรรมการ กรรมการ และผู้อำนวยการ มาชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานเสนอ และมีอำนาจสั่งยับยั้งการกระทำของสำนักงานหรือผู้อำนวยการที่เห็นว่าขัดต่อนโยบายหรือแผนดังกล่าว ให้คณะกรรมการการบินพลเรือนมีอำนาจกำกับการดำเนินงานของสำนักงานและผู้อำนวยการให้ดำเนินงานให้ทันต่อเหตุการณ์และถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามอนุสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ จะสั่งให้ผู้อำนวยการชี้แจงข้อเท็จจริง หรือปรับปรุง แก้ไข หรือระงับการกระทำใด ที่เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือกฎข้อบังคับหรืออนุสัญญาได้ มาตรา ๔๓  ในกรณีที่สำนักงานจะต้องเสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดนี้ ให้คณะกรรมการนำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี หมวด ๕ การตรวจสอบและการบัญชี มาตรา ๔๔  ให้สำนักงานวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการและเป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับระบบการบัญชีที่กระทรวงการคลังได้วางไว้ มาตรา ๔๕  ให้สำนักงานจัดให้มีการตรวจสอบภายในโดยผู้ตรวจสอบภายในเป็นประจำและรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับผลการตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการ การพิจารณาความดีความชอบประจำปีของผู้ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการตรวจสอบเสนอแนะ มาตรา ๔๖  ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการ ของสำนักงานส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี มาตรา ๔๗  ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบ เป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงานทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เพื่อคณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการสอบบัญชี มาตรา ๔๘  ให้สำนักงานจัดทำรายงานการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และเผยแพร่รายงานนี้ต่อสาธารณชน รายงานการดำเนินงานประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงรายละเอียดของงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีให้ความเห็นแล้ว พร้อมทั้งผลการดำเนินงาน และอุปสรรคการดำเนินงานของสำนักงานในปีที่ล่วงมา รวมทั้งแนวทางการแก้ไข และแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไป บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๙  ในวาระเริ่มแรกที่ยังไม่มีผู้อำนวยการ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการจนกว่าจะมีผู้อำนวยการ มาตรา ๕๐  ในวาระเริ่มแรก ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการของกรมการบินพลเรือน ดังต่อไปนี้ มาปฏิบัติงานของสำนักงานเป็นการชั่วคราว (๑) กองมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน (๒) กองมาตรฐานสนามบิน (๓) สำนักกำกับกิจการขนส่งทางอากาศ (๔) สำนักมาตรฐานการบิน ยกเว้นที่เกี่ยวกับงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและงานนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ (๕) สำนักส่งเสริมและพัฒนากิจการขนส่งทางอากาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะสั่งให้ข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการอื่นที่สังกัดกรมการบินพลเรือน นอกเหนือจากที่กำหนดตามวรรคหนึ่งมาปฏิบัติงานของสำนักงานเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ให้ผู้ที่มาปฏิบัติงานของสำนักงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่เคยได้รับอยู่ และให้นับเวลาที่มาปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นเวลาราชการเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ มาตรา ๕๑  ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการสังกัดกรมการบินพลเรือนผู้ใดประสงค์จะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน ให้แสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ผ่านการคัดเลือกหรือประเมินจากผู้อำนวยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานแล้ว ให้เป็นอันออกจากราชการ ผู้ที่ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือในกรณีเป็นลูกจ้างให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง ข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการที่ดำรงตำแหน่งในสังกัดหน่วยงานตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง ผู้ใดไม่ประสงค์จะไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน หรือไม่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ผ่านการประเมินตามวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมท่าอากาศยานหรือหน่วยงานอื่นในกระทรวงคมนาคม ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการดังกล่าวพ้นจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่ง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือผู้ที่มีข้อผูกพันต้องปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด ในกรณีเช่นนั้น ให้ข้าราชการหรือผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐตามที่ปลัดกระทรวงคมนาคมกำหนด โดยคำนึงถึงวิชาความรู้ที่ผู้นั้นมีอยู่ และในกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ อันเป็นเหตุให้ต้องออกจากราชการ ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวโดยอนุโลม การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามมาตรานี้ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ การบรรจุและแต่งตั้งลูกจ้างตามมาตรานี้ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง มาตรา ๕๒  ให้โอนงบประมาณของกรมการบินพลเรือนในส่วนที่เป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานตามมาตรา ๕๐ มาเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนประเดิมของสำนักงานตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นของพนักงานหรือลูกจ้างดังกล่าว ให้โอนเงินงบประมาณและทรัพย์สินอื่นของกรมการบินพลเรือนนอกจากที่กำหนดในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจที่โอนมาเป็นของสำนักงานตามพระราชกำหนดนี้ ไปเป็นของสำนักงาน  ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ จากการที่ประเทศไทยได้รับการตรวจสอบติดตามการดำเนินการภายใต้โครงการตรวจสอบการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Program ; USOAP) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้เปลี่ยนวิธีการตรวจสอบจากเดิมในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ใช้วิธีการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติระหว่างประเทศ (SARPs) เฉพาะในภาคผนวกที่ ๑ ภาคผนวกที่ ๖ และภาคผนวกที่ ๘ แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ใช้วิธีการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติระหว่างประเทศในทุกภาคผนวกที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (All Safety-related annex) มาเป็นวิธีการตรวจสอบแบบเฝ้าตรวจตราอย่างต่อเนื่อง (Continuous Monitoring Approach ; CMA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นมา ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวปรากฏผลของการขาดประสิทธิผลในการดำเนินการ (Lack of Effective Implementation ; LEI) ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลความปลอดภัยการบินพลเรือนที่สำคัญรวม ๘ ด้าน ซึ่งมีผลทำให้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้ประกาศการพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ของประเทศไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้ประกาศในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ ไม่เห็นชอบกับแผนแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวที่ประเทศไทยได้จัดทำเสนอด้วยเหตุนี้ จึงเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อมิให้ผลของการประกาศพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยข้างต้นส่งผลต่อการถูกปรับลดระดับมาตรฐานการบินพลเรือนของประเทศไทยจากองค์การบริหารการบินอื่น รวมถึงการพิจารณาสิทธิการบินและการทำการบินของไทย อันจะส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการบิน ผลกระทบต่อประโยชน์และความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศและต้องปรับปรุงรูปแบบ โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานด้านการบินพลเรือนของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้เป็นไปตามข้อกำหนดและข้อเสนอแนะขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์ - วิชพงษ์/ผู้ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑ ตุลาคม ๒๕๕๘
768,660
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] ด้วยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กำกับดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนากิจการการบินพลเรือนทั้งในด้านนิรภัย การรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ และด้านอื่น ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยสามารถกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยในการบินพลเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๙ (๒) แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ ประกอบกับคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีมติในคราวประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศโดยคำนวณจากผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และคณะกรรมการการบินพลเรือนได้มีมติในคราวประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ความเห็นชอบอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศแล้วตามมาตรา ๑๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศอัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓  ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๔  ในประกาศนี้ “ผู้ดำเนินการเดินอากาศ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจในการเดินอากาศ “ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศ” หมายความว่า ผู้โดยสารที่เดินทางโดยอากาศยานของผู้ดำเนินการเดินอากาศที่เข้ามาหรือออกไปจากประเทศ และให้หมายความรวมถึงผู้โดยสารผ่าน (transit passenger) และผู้โดยสารเปลี่ยนลำ (transfer passenger) “บริการแบบประจำมีกำหนด” หมายความว่า การให้บริการขนส่งทางอากาศซึ่งผู้โดยสารเพื่อบำเหน็จทางค้าเป็นปกติ โดยเปิดให้บริการแก่สาธารณชนเป็นการทั่วไปตามตารางการบินที่ประกาศกำหนดไว้แน่นอนหรือทำการบินสม่ำเสมอจนเป็นที่จดจำได้ “บริการแบบไม่ประจำ” หมายความว่า การให้บริการขนส่งทางอากาศซึ่งผู้โดยสารเพื่อบำเหน็จทางค้าเป็นปกติ ที่ไม่ใช่บริการแบบประจำมีกำหนด ได้แก่ เที่ยวบินแบบไม่ประจำเป็นครั้งคราว (Ad Hoc Charter) เที่ยวบินรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance/Medevac) เที่ยวบินรับส่งบุคคล (Own Use Charter) เที่ยวบินรับส่งผู้บริหารหรือพนักงานของหน่วยงาน (Corporate Charter) ที่มีระยะเวลาการให้บริการตามสัญญาหรือความตกลง และเที่ยวบินแบบไม่ประจำที่มีกำหนดการเดินทาง (Program Charter) “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ข้อ ๕  ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่เรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศ โดยคำนวณจากผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศจะเรียกเก็บในอัตราสิบห้าบาทต่อผู้โดยสารต่อคนต่อเที่ยว การคำนวณผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงผู้โดยสาร ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้โดยสารผ่านที่พักอยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ (transit area) ไม่เกินสิบสองชั่วโมง (๒) ผู้โดยสารผ่านที่พักอยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้เกินสิบสองชั่วโมง ในเที่ยวบินขาออกนอกประเทศ (๓) ผู้โดยสารเปลี่ยนลำ ในเที่ยวบินขาออกนอกประเทศ[๒] ข้อ ๖  สำนักงานจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ ๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ข้อ ๗  ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๕ ได้แก่ (๑) ผู้ได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศของไทยที่ให้บริการแบบประจำมีกำหนดหรือบริการแบบไม่ประจำ ในเส้นทางระหว่างประเทศ (๒) ผู้ดำเนินการเดินอากาศของต่างประเทศที่ให้บริการแบบประจำมีกำหนดหรือบริการแบบไม่ประจำ ในเส้นทางระหว่างประเทศ ข้อ ๘  ผู้ดำเนินการเดินอากาศของต่างประเทศตามข้อ ๗ (๒) ต้องมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในราชอาณาจักร ในกรณีที่ไม่มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในราชอาณาจักร จะต้องจัดให้มีตัวแทนรับผิดชอบเกี่ยวกับการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศอยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๙[๓]  ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศตามข้อ ๗ นำเข้าข้อมูลเกี่ยวกับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินที่ตนให้บริการในแต่ละวันให้แก่สำนักงานผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานกำหนด เพื่อให้สำนักงานนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่ผู้ดำเนินการเดินอากาศจะต้องนำส่งและออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ดำเนินการเดินอากาศต่อไป โดยให้นำเข้าข้อมูลภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) ข้อมูลเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๕ ของเดือน ต้องนำส่งอย่างช้าที่สุดภายในเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ ๑๗ ของเดือนนั้น (๒) ข้อมูลเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินในระหว่างวันที่ ๑๖ ถึงวันสุดท้ายของเดือน ต้องนำส่งอย่างช้าที่สุดภายในเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ ๒ ของเดือนถัดไป เมื่อได้รับข้อมูลตามวรรคหนึ่งแล้ว สำนักงานจะออกใบแจ้งหนี้ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศให้แก่ผู้ดำเนินการเดินอากาศตามกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) ข้อมูลเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารที่ได้รับจากผู้ดำเนินการเดินอากาศภายในวันที่ ๑๗ ของเดือนตามวรรคหนึ่ง (๑) สำนักงานจะออกใบแจ้งหนี้ไม่เกินวันที่ ๒๒ ของเดือน (๒) ข้อมูลเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารที่ได้รับจากผู้ดำเนินการเดินอากาศภายในวันที่ ๒ ของเดือนตามวรรคหนึ่ง (๒) สำนักงานจะออกใบแจ้งหนี้ไม่เกินวันที่ ๗ ของเดือน ข้อ ๑๐[๔]  ผู้ดำเนินการเดินอากาศตามข้อ ๗ ต้องนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศให้แก่สำนักงานภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) เงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๕ ของเดือนต้องนำส่งภายในวันที่ ๑ ของเดือนถัดไป (๒) เงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศในระหว่างวันที่ ๑๖ ถึงวันสุดท้ายของเดือนต้องนำส่งภายในวันที่ ๑๖ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๑  สำนักงานจะทำการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์และการออกใบแจ้งหนี้ตามข้อ ๙ ตลอดจนการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมและรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคารตามข้อ ๑๐ ให้แก่ผู้ดำเนินการเดินอากาศทราบโดยจะแจ้งกำหนดการซักซ้อมความเข้าใจให้แก่ผู้ดำเนินการเดินอากาศทราบต่อไป ข้อ ๑๒  ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ ผู้ใดไม่นำส่งเงินค่าธรรมเนียมให้ครบถ้วนถูกต้อง ภายในระยะเวลาตามข้อ ๑๐ ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสอง (๒) ต่อเดือนของค่าธรรมเนียมที่ตนไม่ได้นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ โดยเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน  ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จุฬา  สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕] ข้อ ๒  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ชนิกา/จัดทำ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๑๘/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๕ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๒๑/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
778,781
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๗ (๑) (ด) แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อ ๕.๒.๑๑ ของแผนรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติซึ่งออกตามความในมาตรา ๑๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมีมติคณะกรรมการการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งได้อนุมัติแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเสนอจึงออกประกาศ เรื่อง แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำ นักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒  การฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนให้เป็นไปตามแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติท้ายประกาศนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ข้อ ๓  ให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ติดตาม กำกับและควบคุมการดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ข้อ ๔  การรับรองครูผู้สอนด้านการรักษาความปลอดภัยและการรับรองหลักสูตรด้านการรักษาความปลอดภัยที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการไปแล้วก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าได้ดำเนินการโดยสมบูรณ์แล้วตามแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ โดยให้ผู้ได้รับการรับรองข้างต้นดำเนินการให้ครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติท้ายประกาศนี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับถัดจากวันประกาศ ข้อ ๕  ประกาศนี้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จุฬา  สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง/หน้า ๒/๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
756,884
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. 2559
ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] ด้วยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กำกับดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนากิจการการบินพลเรือนทั้งในด้านนิรภัย การรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ และด้านอื่น ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล  ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยสามารถกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยในการบินพลเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล คณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงมีมติในคราวประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศโดยคำนวณจากผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศ ตามมาตรา ๓๙ (๒) แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และคณะกรรมการการบินพลเรือน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้มีมติในคราวประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ความเห็นชอบอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศอัตรา ระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราระยะเวลา และวิธีการนำส่งค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓  ในประกาศนี้ “ผู้ดำเนินการเดินอากาศ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจในการเดินอากาศ “ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศ” หมายความว่า ผู้โดยสารที่เดินทางโดยอากาศยานของผู้ดำเนินการเดินอากาศที่เข้ามาหรือออกไปจากประเทศ และให้หมายความรวมถึงผู้โดยสารผ่าน (transit passenger) และผู้โดยสารเปลี่ยนลำ (transfer passenger) “บริการแบบประจำมีกำหนด” หมายความว่า การให้บริการขนส่งทางอากาศซึ่งผู้โดยสารเพื่อบำเหน็จทางค้าเป็นปกติ โดยเปิดให้บริการแก่สาธารณะชนเป็นการทั่วไปตามตารางการบินที่ประกาศกำหนดไว้แน่นอนหรือทำการบินสม่ำเสมอจนเป็นที่จดจำได้ “บริการแบบไม่ประจำ” หมายความว่า การให้บริการขนส่งทางอากาศซึ่งผู้โดยสารเพื่อบำเหน็จทางค้าเป็นปกติ ที่ไม่ใช่บริการแบบประจำมีกำหนด ได้แก่ เที่ยวบินแบบไม่ประจำเป็นครั้งคราว (Ad Hoc Charter) เที่ยวบินรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance/Medevac) เที่ยวบินรับส่งบุคคล (Own Use Charter) เที่ยวบินรับส่งผู้บริหารหรือพนักงานของหน่วยงาน (Corporate Charter) ที่มีระยะเวลาการให้บริการตามสัญญาหรือความตกลง และเที่ยวบินแบบไม่ประจำที่มีกำหนดการเดินทาง (Program Charter) “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ข้อ ๔  ค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่เรียกเก็บจากผู้ดำเนินการเดินอากาศโดยคำนวณจากผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามายังหรือออกไปจากประเทศ จะเรียกเก็บในอัตราสิบห้าบาทต่อผู้โดยสารต่อคนต่อเที่ยว ข้อ ๕  สำนักงานจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ ๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ข้อ ๖  ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ ๔ ได้แก่ (๑) ผู้ได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศของไทยที่ให้บริการแบบประจำมีกำหนดหรือบริการแบบไม่ประจำ ในเส้นทางระหว่างประเทศ (๒) ผู้ดำเนินการเดินอากาศของต่างประเทศที่ให้บริการแบบประจำมีกำหนดหรือบริการแบบไม่ประจำ ในเส้นทางระหว่างประเทศ ข้อ ๗  ผู้ดำเนินการเดินอากาศของต่างประเทศตามข้อ ๖ (๒) ต้องมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในราชอาณาจักร ในกรณีที่ไม่มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ในราชอาณาจักร จะต้องจัดให้มีตัวแทนรับผิดชอบเกี่ยวกับการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศอยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๘  ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศตามข้อ ๖ นำเข้าข้อมูลเกี่ยวกับเที่ยวบินระหว่างประเทศและจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินที่ตนให้บริการในแต่ละวัน ให้แก่สำนักงานผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานกำหนด เพื่อให้สำนักงานนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศที่ผู้ดำเนินการเดินอากาศจะต้องนำส่งและออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ดำเนินการเดินอากาศต่อไป โดยให้นำเข้าข้อมูลภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) ข้อมูลเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๕ ของเดือนต้องนำส่งอย่างช้าที่สุดภายในเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ ๑๕ ของเดือนนั้น (๒) ข้อมูลเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบินในระหว่างวันที่ ๑๖ ถึงวันสุดท้ายของเดือนต้องนำส่งอย่างช้าที่สุดภายในเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันสุดท้ายของเดือนนั้น ข้อ ๙  ผู้ดำเนินการเดินอากาศตามข้อ ๖ ต้องนำส่งเงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศเป็นจำนวนที่ระบุไว้ตามใบแจ้งหนี้ที่ได้รับตามข้อ ๘ ให้แก่สำนักงานภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) เงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๕ ของเดือนต้องนำส่งภายในวันสุดท้ายของเดือนนั้น (๒) เงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศในระหว่างวันที่ ๑๖ ถึงวันสุดท้ายของเดือนต้องนำส่งภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๐  ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศนำส่งเงินค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศตามข้อ ๙ โดยวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค สั่งจ่ายในนาม “สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย” โดยชำระ ณ สำนักงาน (๒) โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของสำนักงาน ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศ” เลขที่บัญชี ๑๘๒ – ๐๑๓ - ๙๐๗๗ ประเภทออมทรัพย์ และส่งหลักฐานการโอนเงินดังกล่าวให้แก่ฝ่ายบริหารกลางของสำนักงาน ทางโทรสาร ๐ – ๒๒๘๗ - ๔๙๑๒ ทันทีภายหลังการโอนเงิน ข้อ ๑๑  ผู้ดำเนินการเดินอากาศที่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศผู้ใดไม่นำส่งเงินค่าธรรมเนียมให้ครบถ้วนถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสอง (๒) ต่อเดือนของค่าธรรมเนียมที่ตนไม่ได้นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ โดยเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน  ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔๑ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อลงกต  พูลสุข ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย วริญา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๕/๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
744,784
ประกาศคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือน แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] เพื่อให้การสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เปิดเผย โปร่งใส ได้บุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบินและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านกิจการการบินพลเรือนหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยตามวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการการบินพลเรือน และส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ ไว้ดังนี้ ข้อ ๑  ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓  ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ข้อ ๔  ผู้อำนวยการจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามความในมาตรา ๒๔ และ ๒๕ แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีแต่ไม่เกินหกสิบห้าปี (๓) สามารถปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานได้เต็มเวลา (๔) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๔.๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๔.๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔.๓) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๔.๔) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการบริหารหรือจัดการของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือนทุกด้าน (๔.๕) เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น (๔.๖) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี (๔.๗) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี (๔.๘) เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๔.๙) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบินและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านกิจการการบินพลเรือนหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ข้อ ๕  นอกจากคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ ผู้อำนวยการจะต้องมีคุณสมบัติอื่น ดังต่อไปนี้ (๑) มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง (๒) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานของภาคเอกชนที่มีรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่าจำนวนที่คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด (๓) มีภาวะความเป็นผู้นำสูง (๔) มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ และมีแนวคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนากิจการของสำนักงาน ให้เจริญก้าวหน้าและทันสมัย (๕) มีความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสามารถติดต่อประสานงานติดต่อกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (๖) มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อประสานงานในด้านต่างประเทศ (๗) มีความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรมและจริยธรรม ไหวพริบและปฏิภาณ รวมถึงมีความสามารถสูงในการตัดสินใจและสั่งการ (๘) มีความสามารถในการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตามพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อกำหนด นโยบายและมติของคณะกรรมการ ข้อ ๖  การสรรหาและคัดเลือกให้ได้มาซึ่งผู้อำนวยการ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน ๓ คน และแต่งตั้งพนักงานของสำ นักงาน ๑ คน เป็นเลขานุการ และ ๑ คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก รวมถึงการเจรจาต่อรองอัตราเงินเดือนและประโยชน์อื่นของผู้อำนวยการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ  ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกด้วยวิธีการประกาศรับสมัครทั่วไป โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือกเพิ่มเติมได้ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗  การประกาศรับสมัครจะต้องแจ้งถึงสาระสำคัญโดยสังเขปเกี่ยวกับคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ กรอบภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และหลักเกณฑ์การคัดเลือก พร้อมทั้งจัดแสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวในเว็บไซต์ และติดประกาศที่สำนักงาน ข้อ ๘  เมื่อคณะอนุกรรมการได้รับใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครแล้ว คณะอนุกรรมการจะพิจารณาใบสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ตลอดจนคุณสมบัติอื่นที่จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ซึ่งในการดำเนินการตรวจสอบและพิจารณา คณะอนุกรรมการอาจสอบถามไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยถือว่าผู้สมัครยินยอมให้คณะอนุกรรมการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ข้อ ๙  เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าได้ข้อมูลเพียงพอที่จะพิจารณา คณะอนุกรรมการจะเชิญผู้ผ่านการพิจารณาเอกสารการสมัคร มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตลอดจนคุณสมบัติอื่นที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เพื่อดำเนินการพิจารณาประเมินความเหมาะสมตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด โดยการสัมภาษณ์ และแสดงวิสัยทัศน์เป็นภาษาอังกฤษในหัวข้อที่คณะอนุกรรมการกำหนด รวมถึงดำเนินการอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๐  ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่ผ่านการพิจารณาตามข้อ ๘ และข้อ ๙ ซึ่งมีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสม ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ รวมถึงดำเนินการเจรจาต่อรองอัตราเงินเดือนและประโยชน์อย่างอื่นของผู้อำนวยการ และให้เสนอชื่อพร้อมอัตราเงินเดือนและประโยชน์อย่างอื่นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ในการพิจารณาแต่งตั้ง ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรอาจเชิญผู้ถูกเสนอชื่อมาสัมภาษณ์ แสดงวิสัยทัศน์และเสนอแผนการบริหารงานต่อคณะกรรมการอีกครั้งก็ได้ ข้อ ๑๑  คณะกรรมการจะจ้างผู้อำนวยการภายใต้เงื่อนไขการจ้าง ดังนี้ (๑) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ (๒) การจ้างตามสัญญาจ้างไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้อำนวยการจะได้รับประโยชน์อย่างอื่นไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน (๓) ระหว่างการดำรงตำแหน่งจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทุก ๖ เดือน (๔) เงื่อนไขอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ข้อ ๑๒  ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ชาติชาย  ทิพย์สุนาวี ประธานกรรมการกำกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๑๐/๒๘ มกราคม ๒๕๕๙
810,477
ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนอากาศยาน
ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนอากาศยาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่บัญญัติให้การขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนอากาศยานให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อกำหนด ประกอบมาตรา ๓๗ (๑) (ฌ) แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ให้อำนาจสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดเพื่อกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข มาตรฐาน และแนวปฏิบัติในเรื่องเครื่องหมายสัญชาติและเครื่องหมายการจดทะเบียนอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นปัจจุบันและทันต่อเหตุการณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนอากาศยาน” ข้อ ๒[๑]  ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓  ให้ยกเลิกข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๔  ในข้อกำหนดนี้ “คำขอ” หมายความว่า คำขอจดทะเบียนอากาศยาน “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ข้อ ๕  ผู้ประสงค์จะขอจดทะเบียนอากาศยานต้องเป็นเจ้าของหรือถ้ามิได้เป็นเจ้าของต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองอากาศยานที่ขอจดทะเบียน และมีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการตามแบบที่ผู้อำนวยการกำหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอากาศยานที่ขอจดทะเบียน เช่น สัญญาซื้อขายอากาศยาน (Aircraft Bill of Sale) หรือสัญญาเช่าอากาศยาน (Aircraft Lease Agreement) เป็นต้น (๒) เอกสารหลักฐานการถอนทะเบียนอากาศยานจากรัฐเจ้าของทะเบียนเดิม (Confirmation of Cancellation from the Foreign Registry) หรือเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าอากาศยานไม่เคยได้รับการจดทะเบียนจากรัฐผู้ผลิต (๓) เอกสารหลักฐานการประกันภัย (๔) เอกสารหลักฐานการชำระภาษี กรณีนำอากาศยานเข้ามาจากต่างประเทศ (๕) หนังสือแจ้งผลการจองทะเบียนอากาศยาน (ถ้ามี) (๖) เอกสารหลักฐานพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเพิ่มเติมดังนี้ (ก) บุคคลธรรมดา ๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญ ๑) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ๒) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๑) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำพวกไม่จำกัดความรับผิด กับจำนวนทุนเข้าหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ๒) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (ง) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ๑) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และรายชื่อกรรมการของบริษัท ๒) สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นายทะเบียนรับรอง ซึ่งแสดงสัญชาติ และจำนวนหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นมีอยู่ในวันยื่นคำขอ ๓) หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ ๔) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการบริษัท (จ) สมาคม ๑) หนังสือรับรองของนายทะเบียนสมาคม แสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ๒) สำเนาข้อบังคับสมาคมที่ได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการแล้ว ๓) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของคณะกรรมการสมาคม (ฉ) หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ๑) เอกสารที่แสดงการจัดตั้งนิติบุคคล ๒) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ ๖  ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำขอตามข้อ ๔ อาจยื่นคำขอจองทะเบียนอากาศยานสำหรับอากาศยานที่จะขอจดทะเบียนก่อนได้  ทั้งนี้ การขอจองทะเบียนอากาศยานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ผู้อำนวยการกำหนด ผู้ยื่นคำขอที่ไม่ได้ยื่นคำขอจองทะเบียนอากาศยาน ผู้อำนวยการจะกำหนดทะเบียนอากาศยานให้ตามลำดับทะเบียนอากาศยานที่ว่างอยู่ ข้อ ๗  เมื่อผู้อำนวยการได้รับคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๕ แล้ว ผู้อำนวยการจะจดทะเบียนอากาศยานและออกใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานให้แก่ผู้ยื่นคำขอ เมื่อปรากฏว่า (๑) ผู้ยื่นคำขอเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองอากาศยานที่ขอจดทะเบียน (๒) ผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (๓) ผู้ยื่นคำขอได้ชำระค่าธรรมเนียมใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานแล้ว ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายข้อกำหนดนี้ ให้ผู้ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานตามวรรคหนึ่งจัดทำเครื่องหมายสัญชาติและเครื่องหมายการจดทะเบียนอากาศยานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยว่าด้วยเครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนและแผ่นแสดงเครื่องหมายอากาศยาน ข้อ ๘  ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานหรือข้อมูลของอากาศยานไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน ให้ผู้ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงรายการในใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานต่อผู้อำนวยการตามแบบที่ผู้อำนวยการกำหนด ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือข้อมูลของอากาศยานดังกล่าว พร้อมด้วยสำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานที่จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข และเอกสารหรือหลักฐานประกอบเหตุผลในการขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานที่ออกให้ตามวรรคหนึ่ง ให้ประทับคำว่า “RE-ISSUED” ด้วยหมึกสีแดง และระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานนั้นไว้ด้านหน้า ให้ผู้ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานส่งคืนใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานฉบับเดิมภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๙  ในกรณีที่ผู้ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานประสงค์จะขอให้ออกใบแทนใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน เนื่องจากสูญหาย ถูกทำลายหรือเสียหายในสาระสำคัญ ให้ยื่นคำขอออกใบแทนใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานต่อผู้อำนวยการตามแบบที่ผู้อำนวยการกำหนด และเอกสารหรือหลักฐานประกอบเหตุผลในการขอออกใบแทน ใบแทนใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานที่ออกให้ตามวรรคหนึ่ง ให้ประทับคำว่า “REPLACEMENT” ด้วยหมึกสีแดง และระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานนั้นไว้ด้านหน้า ข้อ ๑๐  ผู้จดทะเบียนอากาศยานที่ประสงค์จะขอถอนทะเบียนอากาศยาน ให้ยื่นคำขอถอนทะเบียนอากาศยานเป็นหนังสือต่อผู้อำนวยการ พร้อมด้วยใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานและหลักฐานที่แสดงเหตุผลในการขอถอนทะเบียนอากาศยาน เมื่อผู้อำนวยการเห็นว่ามีข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ถอนทะเบียนอากาศยานได้ ให้ผู้อำนวยการถอนทะเบียนอากาศยาน และแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนอากาศยานแก่ผู้ยื่นคำขอถอนทะเบียน และให้ผู้ยื่นคำขอถอนทะเบียนอากาศยานดำเนินการลบเครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนดังกล่าวออกจากลำตัวอากาศยานนั้น ข้อ ๑๑  ผู้อำนวยการมีอำนาจพิจารณาเพิกถอนทะเบียนอากาศยาน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า (๑) ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานเป็นอันใช้ไม่ได้ตามมาตรา ๓๒ (๒) สิทธิครอบครองอากาศยานตามสัญญาเช่าอากาศยานสิ้นสุดลง ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองเป็นผู้จดทะเบียนอากาศยาน เนื่องจาก (ก) สิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาเช่าอากาศยาน (ข) ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าอากาศยานตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา (ค) ผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกลงเลิกสัญญาเช่าอากาศยาน (ง) ผู้ให้เช่าแจ้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอากาศยานและยื่นแสดงหนังสือมอบอำนาจให้ถอนทะเบียนแบบเพิกถอนไม่ได้ พร้อมด้วยคำร้องขอส่งออกอากาศยาน (๓) ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ถอนหรือเพิกถอนทะเบียนอากาศยาน (๔) อากาศยานถูกบังคับหลักประกันตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ข้อ ๑๒  คำขอจดทะเบียนอากาศยาน คำขอเปลี่ยนแปลงรายการในใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน คำขอออกใบแทนใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน คำขอถอนทะเบียนอากาศยาน รวมถึงเอกสารและหลักฐานที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้มีผลใช้บังคับและอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ถือว่าเป็นคำขอตามข้อกำหนดนี้ และให้ดำเนินการกับคำขอดังกล่าวตามข้อกำหนดนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ จุฬา  สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบใบสำคัญการจดทะเบียนแนบท้ายข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑๑ ว่าด้วยการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนอากาศยาน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๗ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๕๙/๖ สิงหาคม ๒๕๖๑
302,220
พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑  พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐” มาตรา ๒[๑]  พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๒ ทวิ[๒]  พระราชกำหนดนี้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓  ในพระราชกำหนดนี้ “องค์การ” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (๒) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย “บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ” หมายความว่า บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “ผู้ฝากเงิน” หมายความว่า ผู้ฝากเงินทุกประเภทของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ และหมายความรวมถึง ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน “เจ้าหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้อื่นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่มิใช่ผู้ฝากเงินสำหรับหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจเงินทุนของบริษัทนั้น “คณะกรรมการองค์การ” หมายความว่า คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมวด ๑ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งและเงินทุน มาตรา ๕  ให้จัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเรียกว่า “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” เรียกโดยย่อว่า “ปรส.” และให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๖  ให้องค์การตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มาตรา ๗  ให้องค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังต่อไปนี้ (๑) แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๒) ช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๓) ชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ มาตรา ๘  ให้องค์การมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ขององค์การตามมาตรา ๗ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ (๒) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่าจำเป็นและสมควร (๓) ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้อง (๔) กู้หรือยืมเงิน ออกตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้ (๕) ออกพันธบัตร (๖) ให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ (๗) ทำกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ มาตรา ๙  ทุนขององค์การประกอบด้วย (๑) ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุน (๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ (๓) เงินและทรัพย์สินที่ตกเป็นขององค์การ (๔) ดอกผลของทรัพย์สินขององค์การ มาตรา ๑๐  ให้กำหนดทุนประเดิมขององค์การเป็นจำนวนห้าร้อยล้านบาท และองค์การจะได้รับเงินจำนวนนี้เป็นการอุดหนุนจากรัฐบาล ในแต่ละงวดการบัญชีหากปรากฏว่าองค์การมีผลขาดทุน ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์การตามควรแก่กรณี ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการองค์การและการดำเนินงาน มาตรา ๑๑  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน เป็นกรรมการ และเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน มิให้นำมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๑๒  ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๒) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน (๕) เป็นหรือเคยเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ มาตรา ๑๓  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๑๔  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๑๕  การประชุมคณะกรรมการองค์การต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาและออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น มาตรา ๑๖  คณะกรรมการองค์การมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอและการพิจารณาแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๓) กำหนดวิธีการชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ (๔) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทน และค่าใช้จ่าย (๕) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้งการตรวจสอบและสอบบัญชีภายใน (๖) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินกิจการ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดนี้ ให้คณะกรรมการองค์การประกาศหลักเกณฑ์ตาม (๑) และ (๒) โดยเปิดเผย มาตรา ๑๗  ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เลขาธิการต้องสามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่องค์การ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ มิให้นำมาตรา ๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ มาตรา ๑๘  เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการขององค์การให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ขององค์การ และตามนโยบายหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การกำหนด ในกิจการขององค์การที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนขององค์การ และเพื่อการนี้เลขาธิการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การกำหนด มาตรา ๑๙  ให้กรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๐  เงินขององค์การให้นำมาใช้จ่ายได้เฉพาะเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์การตามที่คณะกรรมการองค์การกำหนด รวมทั้งค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามหมวดนี้ หมวด ๒ การแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ มาตรา ๒๑  ให้องค์การมีหน้าที่ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ มาตรา ๒๒  ให้บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการเสนอแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อขอความเห็นชอบ มาตรา ๒๓  เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ การอนุญาต หรือการผ่อนผัน ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในเรื่องดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การ (๑) การถือหุ้นสถาบันการเงินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (๒) จำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงิน และจำนวนกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด (๓) การซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (๔) การซื้อหรือมีหุ้นในสถาบันการเงินอื่น (๕) การแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงาน หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงานของสถาบันการเงิน มาตรา ๒๔  ให้คณะกรรมการองค์การพิจารณาแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ และให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยไม่ชักช้า ในการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ให้คณะกรรมการองค์การพิจารณาด้วยว่าบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจะดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันเพียงพอที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการองค์การประกาศกำหนด และได้แสดงว่ามีความสามารถและความผูกพันที่จะดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนดังกล่าวภายในช่วงเวลาสามปี ในการให้ความเห็นชอบแผนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการองค์การจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทนั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ มาตรา ๒๕  เพื่อประโยชน์แก่การแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ คณะกรรมการองค์การมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นลดทุน เพิ่มทุน จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน ปรับปรุงแก้ไขการบริหารงาน ถอดถอนและตั้งกรรมการผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัท หรือสั่งให้ดำเนินการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนกับสถาบันการเงินอื่น หรือสั่งให้โอนสิทธิตามสัญญาและหลักประกัน หรือโอนทรัพย์สิน หรือสั่งการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขฟื้นฟูฐานะ โดยจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและกำหนดเงื่อนไขใดด้วยก็ได้  ทั้งนี้ ให้ถือว่าคำสั่งของคณะกรรมการองค์การดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการต้องดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทนั้นและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้รับยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ในระหว่างเวลาตั้งแต่คณะกรรมการองค์การให้ความเห็นชอบแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทจนถึงวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีองค์การตามมาตรา ๔๓ (๑) บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เกี่ยวกับการบังคับให้สถาบันการเงินเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว แล้วแต่กรณี (๒) มาตรา ๒๓๗ มาตรา ๑๑๑๗ มาตรา ๑๒๒๐ มาตรา ๑๒๒๒ มาตรา ๑๒๒๔ มาตรา ๑๒๒๕ มาตรา ๑๒๒๖ และมาตรา ๑๒๔๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๓) มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๒ มาตรา ๑๐๒ ประกอบกับมาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๑๓๗ มาตรา ๑๓๙ มาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๗ และมาตรา ๑๔๘ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕  ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และการระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท (๕) มาตรา ๙๔ (๒) มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓  ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สิน หรือการกระทำใดเกี่ยวกับทรัพย์สิน เนื่องในการควบกิจการหรือการโอนกิจการ ในกรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลต่อบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการหรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องตามวรรคสอง ไม่ให้นับระยะเวลาที่บริษัทหรือสถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายตามวรรคสองเข้าในอายุความใช้สิทธิเรียกร้อง มาตรา ๒๖  ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การ มาตรา ๒๗  การโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการไปยังสถาบันการเงินอื่น ให้กระทำได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา ๓๐๘ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๘  ให้คณะกรรมการองค์การมีอำนาจสั่งให้กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ผู้สอบบัญชีของบริษัทและผู้รวบรวมหรือประมวลผลของบริษัทดังกล่าวด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใด มาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือหลักฐานอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทนั้น มาตรา ๒๙  ในกรณีที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่า บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งองค์การเข้าแก้ไขฟื้นฟูฐานะ ได้ดำเนินการตามแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะจนสามารถจะดำเนินกิจการของตนเองต่อไปได้ หรือควบกิจการ หรือโอนกิจการกับสถาบันการเงินอื่นตามแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะให้คณะกรรมการองค์การรายงานรัฐมนตรีทราบ ในกรณีที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่า บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการสามารถจะดำเนินกิจการของตนต่อไปได้ ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวดำเนินกิจการต่อไปได้ ให้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทนั้นดำเนินกิจการได้ เมื่อบริษัทตามวรรคหนึ่งเปิดดำเนินกิจการตามปกติแล้ว หรือควบกิจการ หรือโอนกิจการกับสถาบันการเงินอื่นแล้ว อำนาจหน้าที่ขององค์การเป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๓๐  ในกรณีที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่า บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการใดไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ ให้รายงานรัฐมนตรีทราบ และให้คณะกรรมการองค์การมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคนมีอำนาจเข้าดำเนินการแทนบริษัทนั้นได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีบริษัท กับให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของบริษัทนั้นโดยให้ถือว่าเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทนั้นทราบและให้กรรมการของบริษัทนั้นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยให้ถือว่าเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และให้ปิดประกาศการแต่งตั้งคณะกรรมการไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทนั้น กับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ประธานกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนบริษัทนั้นหรือคณะกรรมการได้ ในการดำเนินงานของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง การใดที่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบริษัทจำกัด หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กำหนดอำนาจและหน้าที่ให้เป็นของที่ประชุมใหญ่ ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี การขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทนั้นให้เปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคาตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และให้องค์การได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ การชำระบัญชีของบริษัท ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี และการใดที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี มาตรา ๓๐ ทวิ[๓]  ในการขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา ๓๐ ให้องค์การดำเนินการประกาศรายการพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควรของทรัพย์สินที่จะขาย วัน เวลา และสถานที่ที่จะขายทรัพย์สินนั้นล่วงหน้าก่อนกำหนดวันขายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยปิดประกาศรายการและรายละเอียดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานขององค์การ โฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ บุคคลภายนอกที่ได้ให้ประกันหนี้เดิม และบุคคลซึ่งมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขาย ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีข้อต่อสู้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขายนั้น ให้ยื่นคำคัดค้านโดยชี้แจงเหตุผลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนกำหนดวันขายทรัพย์สินไม่น้อยกว่าสามวันทำการ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว มิได้ยื่นคำคัดค้านการขายทรัพย์สินนั้น ให้ถือว่าลูกหนี้บุคคลภายนอกที่ได้ให้ประกันหนี้เดิมและบุคคลซึ่งมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขายได้ให้ความยินยอมกับการโอนทรัพย์สินที่จะขายนั้นแล้ว เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ได้รับคำคัดค้านตามวรรคสองแล้ว ให้จัดทำความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลเสนอให้คณะกรรมการองค์การพิจารณาวินิจฉัย ถ้าคณะกรรมการองค์การเห็นว่า คำคัดค้านมีเหตุอันสมควรก็ให้ยุติการขายทรัพย์สินนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะมีการพิสูจน์สิทธิในทรัพย์สินนั้นเสร็จสิ้น ถ้าเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรก็ให้ยกคำคัดค้านพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบและดำเนินการขายทรัพย์สินนั้นต่อไป  แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายเพราะการนั้นที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๓๐ จัตวา มาตรา ๓๐ ตรี[๔]  ในกรณีที่มีการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐ ทวิ แล้ว (๑) สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตไม่เสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา ๓๐ (๒) ห้ามมิให้ลูกหนี้หรือบุคคลใดขอหักกลบลบหนี้ที่มีอยู่กับบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการกับทรัพย์สินที่ขายนั้น (๓) ผู้ซื้อทรัพย์สินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามวิธีการและตามอัตราในสัญญาเดิม มาตรา ๓๐ จัตวา[๕]  การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐ ทวิ จะกระทำมิได้ ผู้เสียหายจากการขายทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการองค์การได้ยกคำคัดค้านตามมาตรา ๓๐ ทวิ วรรคสาม มีสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายจากรายได้ทั้งปวงที่ได้จากการขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการนั้นได้ การเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายตามวรรคสอง ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อองค์การภายในกำหนดระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ได้มีการขายทรัพย์สินนั้น หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วมิได้ยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอและการพิจารณาคำขอตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการองค์การกำหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาคำขอ ให้มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา มาตรา ๓๑  เมื่อองค์การประสงค์จะขอทราบกิจการของสถาบันการเงิน เพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยกิจการของสถาบันการเงินดังกล่าวให้แก่องค์การได้ และมิให้นำมาตรา ๔๖ สัตต แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ มาตรา ๓๒  ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการใด องค์การจะขอให้กองทุนเข้าถือหุ้นของบริษัทนั้นได้เฉพาะเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน และบริษัทนั้นได้ตัดส่วนสูญเสียของกิจการออกจากบัญชีโดยการลดทุนแล้ว และไม่สามารถจำหน่ายหุ้นได้ภายในเวลาอันควร เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูฐานะ องค์การจะขอให้กองทุนเข้าถือหุ้นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้เฉพาะในกรณีต่อไปนี้ (๑) บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้รับรู้ผลขาดทุนและได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการกันสำรองตามที่องค์การกำหนด (๒) ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ณ วันที่องค์การเข้าดำเนินการเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะได้ลดลงจนถึงจุดต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ตามกฎหมาย (๓) กรณีที่ผู้ถือหุ้นเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการผู้ถือหุ้นไม่ว่าลำพังหรือร่วมกันจะถือหุ้นเกินกว่าจำนวนที่องค์การกำหนดว่าสามารถครอบงำการจัดการบริษัทไม่ได้ (๔) กองทุนจะเข้าถือหุ้นได้เพียงไม่เกินกว่าการเข้าถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายอื่น มาตรา ๓๓  ในกรณีที่กองทุนจะต้องเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินในบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามที่คณะกรรมการองค์การร้องขอและได้รับความเสียหาย ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนตามควรแก่กรณี หมวด ๓ การสอบและตรวจบัญชี มาตรา ๓๔  ให้องค์การวางและรักษาไว้ซึ่งระบบบัญชีอันถูกต้องและจัดให้มีระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน มาตรา ๓๕  ให้องค์การจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนทุกงวดหกเดือน มาตรา ๓๖  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลอื่น ตามแต่จะเห็นสมควรเป็นผู้สอบบัญชีขององค์การ ทำการตรวจสอบบัญชี รวมทั้งการเงินทุกประเภททุกหกเดือน มาตรา ๓๗  ให้องค์การรายงานกิจการ งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชีตามมาตรา ๓๖ ได้รับรองแล้วต่อรัฐมนตรีภายในสามเดือน นับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีเพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ และให้รัฐมนตรีประกาศรายงานงบดุลและบัญชีดังกล่าวโดยเปิดเผย มาตรา ๓๘  ในกรณีที่องค์การขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ที่องค์การกู้ยืมเงินจากแหล่งให้กู้ยืมในหรือนอกราชอาณาจักร ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันเงินกู้นั้นได้ แต่จำนวนเงินกู้ที่จะค้ำประกันเมื่อรวมกับต้นเงินกู้ที่การค้ำประกันของกระทรวงการคลังยังค้างอยู่ต้องไม่เกินสิบสองเท่าของเงินกองทุนขององค์การเมื่อคำนวณเป็นเงินตราไทย  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันตามอำนาจที่มีอยู่ในกฎหมายใด การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อทราบยอดรวมของเงินกู้ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ในวันทำสัญญา หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๙  ผู้ใดล่วงรู้กิจการของสถาบันการเงินใดเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดในพระราชกำหนดนี้อันเป็นกิจการที่ตามปกติพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย แล้วนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความในวรรคหนึ่ง มิให้นำมาใช้บังคับแก่การเปิดเผยในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การเปิดเผยตามหน้าที่ (๒) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาคดี (๓) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๔) การเปิดเผยเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสถาบันการเงินนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรา ๔๐  บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง หมวด ๕ การยุบเลิกองค์การ มาตรา ๔๑  เมื่อองค์การได้ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการองค์การรายงานรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติยุบเลิกองค์การต่อไป มาตรา ๔๒  เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบเลิกองค์การแล้ว ให้ดำเนินการชำระบัญชีโดยให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีขององค์การ การชำระบัญชีองค์การให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓  เมื่อคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีได้ดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้วให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีรายงานการชำระบัญชีต่อรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป และให้ถือวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีและวันยุบเลิกองค์การ บรรดาทรัพย์สินขององค์การที่ยังคงเหลืออยู่ให้จัดโอนให้แก่กระทรวงการคลังภายหลังวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีมอบสมุด บัญชี และเอกสารทั้งหมดขององค์การให้แก่กระทรวงการคลังภายในสิบสี่วันนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี และให้กระทรวงการคลังรักษาไว้สิบปีนับแต่วันดังกล่าว สมุด บัญชี และเอกสารตามวรรคสามให้เปิดเผยแก่ผู้มีส่วนได้เสียตรวจดูได้โดยไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๔  บรรดาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับการควบหรือโอนกิจการของสถาบันการเงินซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งของกระทรวงการคลังกำหนดไว้สำหรับบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง บรรดาแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการยื่นต่อคณะกรรมการกำกับการควบหรือโอนกิจการของสถาบันการเงิน ให้ถือเป็นแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะตามมาตรา ๒๒ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินและฟื้นฟูสถานะการดำเนินการของสถาบันการเงินบางแห่งที่ประสบปัญหา ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้ตามปกติ และคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินเพื่อเรียกความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินกลับคืนมา สมควรกำหนดมาตรการในลักษณะของการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินอย่างเป็นระบบตามแนวทางสากล และจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินมาตรการดังกล่าว เพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงิน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของสถาบันการเงิน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐[๖] พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑[๗] มาตรา ๒  พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕  นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา ๓๐ ได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ มาตรา ๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ขณะนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องเร่งรัดให้มีการระดมเงินทุนเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงินขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ โดยให้สถาบันการเงินเหล่านั้นจัดทำแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะในการดำเนินการให้มั่นคงต่อไป และสำหรับสถาบันการเงินที่ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ให้องค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมเพื่อชำระบัญชีต่อไป ซึ่งในการชำระบัญชีจำเป็นต้องขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น  ฉะนั้น เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการจำเป็นต้องมีมาตรการเป็นพิเศษผ่อนคลายจากกรณีปกติทั่วไปเพื่อให้องค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงินสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อทรัพย์สินอันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวไม่อาจกระทำได้โดยเร็วจะส่งผลกระทบต่อแผนการระดมเงินทุนเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในการที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑[๘] อังศุมาลี/ผู้จัดทำ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ อุดมลักษณ์/ผู้ตรวจ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๑/๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๐ [๒] มาตรา ๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๓] มาตรา ๓๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๔] มาตรา ๓๐ ตรี เพิ่มโดยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๕] มาตรา ๓๐ จัตวา เพิ่มโดยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๓๑/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๒๙ ก/หน้า ๑/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๑ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๘/๔ มิถุนายน ๒๕๔๑
302,219
พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑  พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑]  พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒ ทวิ แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “มาตรา ๒ ทวิ  พระราชกำหนดนี้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” มาตรา ๔  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๐ ทวิ มาตรา ๓๐ ตรี และมาตรา ๓๐ จัตวา แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “มาตรา ๓๐ ทวิ  ในการขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา ๓๐ ให้องค์การดำเนินการประกาศรายการพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควรของทรัพย์สินที่จะขาย วัน เวลา และสถานที่ที่จะขายทรัพย์สินนั้นล่วงหน้าก่อนกำหนดวันขายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยปิดประกาศรายการและรายละเอียดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานขององค์การ โฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ บุคคลภายนอกที่ได้ให้ประกันหนี้เดิม และบุคคลซึ่งมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขาย ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีข้อต่อสู้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขายนั้น ให้ยื่นคำคัดค้านโดยชี้แจงเหตุผลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนกำหนดวันขายทรัพย์สินไม่น้อยกว่าสามวันทำการ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว มิได้ยื่นคำคัดค้านการขายทรัพย์สินนั้น ให้ถือว่าลูกหนี้บุคคลภายนอกที่ได้ให้ประกันหนี้เดิมและบุคคลซึ่งมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขายได้ให้ความยินยอมกับการโอนทรัพย์สินที่จะขายนั้นแล้ว เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ได้รับคำคัดค้านตามวรรคสองแล้ว ให้จัดทำความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลเสนอให้คณะกรรมการองค์การพิจารณาวินิจฉัย ถ้าคณะกรรมการองค์การเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุอันสมควรก็ให้ยุติการขายทรัพย์สินนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะมีการพิสูจน์สิทธิในทรัพย์สินนั้นเสร็จสิ้น ถ้าเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรก็ให้ยกคำคัดค้านพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบและดำเนินการขายทรัพย์สินนั้นต่อไป แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายเพราะการนั้นที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๓๐ จัตวา มาตรา ๓๐ ตรี  ในกรณีที่มีการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐ ทวิ แล้ว (๑) สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตไม่เสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา ๓๐ (๒) ห้ามมิให้ลูกหนี้หรือบุคคลใดขอหักกลบลบหนี้ที่มีอยู่กับบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการกับทรัพย์สินที่ขายนั้น (๓) ผู้ซื้อทรัพย์สินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามวิธีการและตามอัตราในสัญญาเดิม มาตรา ๓๐ จัตวา  การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐ ทวิ จะกระทำมิได้ ผู้เสียหายจากการขายทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการองค์การได้ยกคำคัดค้านตามมาตรา ๓๐ ทวิ วรรคสาม มีสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายจากรายได้ทั้งปวงที่ได้จากการขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการนั้นได้ การเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายตามวรรคสอง ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อองค์การภายในกำหนดระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ได้มีการขายทรัพย์สินนั้น หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วมิได้ยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอและการพิจารณาคำขอตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการองค์การกำหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาคำขอ ให้มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา” มาตรา ๕  นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา ๓๐ ได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ มาตรา ๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน  หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ขณะนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องเร่งรัดให้มีการระดมเงินทุนเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงินขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ โดยให้สถาบันการเงินเหล่านั้นจัดทำแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะในการดำเนินการให้มั่นคงต่อไป และสำหรับสถาบันการเงินที่ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ให้องค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมเพื่อชำระบัญชีต่อไป ซึ่งในการชำระบัญชีจำเป็นต้องขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น  ฉะนั้น เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการจำเป็นต้องมีมาตรการเป็นพิเศษผ่อนคลายจากกรณีปกติทั่วไปเพื่อให้องค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงินสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อทรัพย์สินอันเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวไม่อาจกระทำได้โดยเร็วจะส่งผลกระทบต่อแผนการระดมเงินทุนเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในการที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ วศิน/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๒๙ ก/หน้า ๑/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๑
302,218
พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นปีที่ ๕๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑  พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐” มาตรา ๒[๑]  พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓  ในพระราชกำหนดนี้ “องค์การ” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (๒) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย “บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ” หมายความว่า บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “ผู้ฝากเงิน” หมายความว่า ผู้ฝากเงินทุกประเภทของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ และหมายความรวมถึง ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน “เจ้าหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้อื่นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่มิใช่ผู้ฝากเงินสำหรับหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจเงินทุนของบริษัทนั้น “คณะกรรมการองค์การ” หมายความว่า คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ หมวด ๑ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งและเงินทุน มาตรา ๕  ให้จัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเรียกว่า “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” เรียกโดยย่อว่า “ปรส.” และให้เป็นนิติบุคคล มาตรา ๖  ให้องค์การตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มาตรา ๗  ให้องค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังต่อไปนี้ (๑) แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๒) ช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๓) ชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ มาตรา ๘  ให้องค์การมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ขององค์การตามมาตรา ๗ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ (๒) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่าจำเป็นและสมควร (๓) ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้อง (๔) กู้หรือยืมเงิน ออกตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้ (๕) ออกพันธบัตร (๖) ให้กู้ยืมเงินหรือลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาลหรือองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ (๗) ทำกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ มาตรา ๙  ทุนขององค์การประกอบด้วย (๑) ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุน (๒) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้ (๓) เงินและทรัพย์สินที่ตกเป็นขององค์การ (๔) ดอกผลของทรัพย์สินขององค์การ มาตรา ๑๐ ให้กำหนดทุนประเดิมขององค์การเป็นจำนวนห้าร้อยล้านบาท และองค์การจะได้รับเงินจำนวนนี้เป็นการอุดหนุนจากรัฐบาล ในแต่ละงวดการบัญชีหากปรากฏว่าองค์การมีผลขาดทุน ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์การตามควรแก่กรณี ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการองค์การและการดำเนินงาน มาตรา ๑๑  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน เป็นกรรมการ และเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน มิให้นำมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๑๒  ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๑) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๒) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน (๕) เป็นหรือเคยเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ มาตรา ๑๓  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน มาตรา ๑๔  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๑๕  การประชุมคณะกรรมการองค์การต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาและออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น มาตรา ๑๖  คณะกรรมการองค์การมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอและการพิจารณาแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๓) กำหนดวิธีการชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ (๔) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทน และค่าใช้จ่าย (๕) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้งการตรวจสอบและสอบบัญชีภายใน (๖) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินกิจการ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดนี้ ให้คณะกรรมการองค์การประกาศหลักเกณฑ์ตาม (๑) และ (๒) โดยเปิดเผย มาตรา ๑๗  ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เลขาธิการต้องสามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่องค์การ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ มิให้นำมาตรา ๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ มาตรา ๑๘  เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการขององค์การให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ขององค์การ และตามนโยบายหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การกำหนด ในกิจการขององค์การที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนขององค์การ และเพื่อการนี้เลขาธิการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การกำหนด มาตรา ๑๙  ให้กรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๐  เงินขององค์การให้นำมาใช้จ่ายได้เฉพาะเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์การตามที่คณะกรรมการองค์การกำหนด รวมทั้งค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามหมวดนี้ หมวด ๒ การแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ มาตรา ๒๑  ให้องค์การมีหน้าที่ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ มาตรา ๒๒  ให้บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการเสนอแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อขอความเห็นชอบ มาตรา ๒๓  เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ การอนุญาต หรือการผ่อนผัน ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในเรื่องดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การ (๑) การถือหุ้นสถาบันการเงินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (๒) จำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงิน และจำนวนกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด (๓) การซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (๔) การซื้อหรือมีหุ้นในสถาบันการเงินอื่น (๕) การแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงาน หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารงานของสถาบันการเงิน มาตรา ๒๔  ให้คณะกรรมการองค์การพิจารณาแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ และให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยไม่ชักช้า ในการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ให้คณะกรรมการองค์การพิจารณาด้วยว่าบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจะดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันเพียงพอที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการองค์การประกาศกำหนด และได้แสดงว่ามีความสามารถและความผูกพันที่จะดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนดังกล่าวภายในช่วงเวลาสามปี ในการให้ความเห็นชอบแผนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการองค์การจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทนั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ มาตรา ๒๕  เพื่อประโยชน์แก่การแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ คณะกรรมการองค์การมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นลดทุน เพิ่มทุน จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน ปรับปรุงแก้ไขการบริหารงาน ถอดถอนและตั้งกรรมการผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัท หรือสั่งให้ดำเนินการควบกิจการหรือโอนหรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนกับสถาบันการเงินอื่น หรือสั่งให้โอนสิทธิตามสัญญาและหลักประกัน หรือโอนทรัพย์สิน หรือสั่งการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขฟื้นฟูฐานะ โดยจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและกำหนดเงื่อนไขใดด้วยก็ได้  ทั้งนี้ ให้ถือว่าคำสั่งของคณะกรรมการองค์การดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการต้องดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทนั้นและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้รับยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ในระหว่างเวลาตั้งแต่คณะกรรมการองค์การให้ความเห็นชอบแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทจนถึงวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีองค์การตามมาตรา ๔๓ (๑) บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ เกี่ยวกับการบังคับให้สถาบันการเงินเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และการกำหนดจำนวนขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้ว แล้วแต่กรณี (๒) มาตรา ๒๓๗ มาตรา ๑๑๑๗ มาตรา ๑๒๒๐ มาตรา ๑๒๒๒ มาตรา ๑๒๒๔ มาตรา ๑๒๒๕ มาตรา ๑๒๒๖ และมาตรา ๑๒๔๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๓) มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๒ มาตรา ๑๐๒ ประกอบกับมาตรา ๓๓ วรรคสอง มาตรา ๑๓๗ มาตรา ๑๓๙ มาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๗ และมาตรา ๑๔๘ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕  ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และการระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท (๕) มาตรา ๙๔ (๒) มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓  ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สิน หรือการกระทำใดเกี่ยวกับทรัพย์สิน เนื่องในการควบกิจการหรือการโอนกิจการ ในกรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลต่อบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการหรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องตามวรรคสอง ไม่ให้นับระยะเวลาที่บริษัทหรือสถาบันการเงินดังกล่าวได้รับยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายตามวรรคสองเข้าในอายุความใช้สิทธิเรียกร้อง มาตรา ๒๖  ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การ มาตรา ๒๗  การโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการไปยังสถาบันการเงินอื่น ให้กระทำได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา ๓๐๘ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๘  ให้คณะกรรมการองค์การมีอำนาจสั่งให้กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ผู้สอบบัญชีของบริษัทและผู้รวบรวมหรือประมวลผลของบริษัทดังกล่าวด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือด้วยเครื่องมืออื่นใด มาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือหลักฐานอันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทนั้น มาตรา ๒๙  ในกรณีที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่า บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งองค์การเข้าแก้ไขฟื้นฟูฐานะ ได้ดำเนินการตามแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะจนสามารถจะดำเนินกิจการของตนเองต่อไปได้ หรือควบกิจการ หรือโอนกิจการกับสถาบันการเงินอื่นตามแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะให้คณะกรรมการองค์การรายงานรัฐมนตรีทราบ ในกรณีที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่า บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการสามารถจะดำเนินกิจการของตนต่อไปได้ ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวดำเนินกิจการต่อไปได้ ให้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทนั้นดำเนินกิจการได้ เมื่อบริษัทตามวรรคหนึ่งเปิดดำเนินกิจการตามปกติแล้ว หรือควบกิจการ หรือโอนกิจการกับสถาบันการเงินอื่นแล้ว อำนาจหน้าที่ขององค์การเป็นอันสิ้นสุดลง มาตรา ๓๐  ในกรณีที่คณะกรรมการองค์การเห็นว่า บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการใดไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ ให้รายงานรัฐมนตรีทราบ และให้คณะกรรมการองค์การมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสองคน มีอำนาจเข้าดำเนินการแทนบริษัทนั้นได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีบริษัท กับให้ประธานกรรมการเป็นผู้แทนของบริษัทนั้นโดยให้ถือว่าเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทนั้นทราบและให้กรรมการของบริษัทนั้นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยให้ถือว่าเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และให้ปิดประกาศการแต่งตั้งคณะกรรมการไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของบริษัทนั้น กับทั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ประธานกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนบริษัทนั้นหรือคณะกรรมการได้ ในการดำเนินงานของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง การใดที่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบริษัทจำกัด หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กำหนดอำนาจและหน้าที่ให้เป็นของที่ประชุมใหญ่ ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี การขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทนั้นให้เปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคาตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และให้องค์การได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ การชำระบัญชีของบริษัท ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี และการใดที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐมนตรี มาตรา ๓๑  เมื่อองค์การประสงค์จะขอทราบกิจการของสถาบันการเงิน เพื่อปฏิบัติตามพระราชกำหนดนี้ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยกิจการของสถาบันการเงินดังกล่าวให้แก่องค์การได้ และมิให้นำมาตรา ๔๖ สัตต แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ มาตรา ๓๒  ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการใด องค์การจะขอให้กองทุนเข้าถือหุ้นของบริษัทนั้นได้เฉพาะเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน และบริษัทนั้นได้ตัดส่วนสูญเสียของกิจการออกจากบัญชีโดยการลดทุนแล้ว และไม่สามารถจำหน่ายหุ้นได้ภายในเวลาอันควร เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูฐานะ องค์การจะขอให้กองทุนเข้าถือหุ้นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้เฉพาะในกรณีต่อไปนี้ (๑) บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้รับรู้ผลขาดทุนและได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการกันสำรองตามที่องค์การกำหนด (๒) ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ณ วันที่องค์การเข้าดำเนินการเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะได้ลดลงจนถึงจุดต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ตามกฎหมาย (๓) กรณีที่ผู้ถือหุ้นเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการผู้ถือหุ้นไม่ว่าลำพังหรือร่วมกันจะถือหุ้นเกินกว่าจำนวนที่องค์การกำหนดว่าสามารถครอบงำการจัดการบริษัทไม่ได้ (๔) กองทุนจะเข้าถือหุ้นได้เพียงไม่เกินกว่าการเข้าถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายอื่น มาตรา ๓๓ ในกรณีที่กองทุนจะต้องเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินในบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามที่คณะกรรมการองค์การร้องขอและได้รับความเสียหาย ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนตามควรแก่กรณี หมวด ๓ การสอบและตรวจบัญชี มาตรา ๓๔  ให้องค์การวางและรักษาไว้ซึ่งระบบบัญชีอันถูกต้องและจัดให้มีระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน มาตรา ๓๕  ให้องค์การจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนทุกงวดหกเดือน มาตรา ๓๖  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลอื่น ตามแต่จะเห็นสมควรเป็นผู้สอบบัญชีขององค์การ ทำการตรวจสอบบัญชี รวมทั้งการเงินทุกประเภททุกหกเดือน มาตรา ๓๗  ให้องค์การรายงานกิจการ งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชีตามมาตรา ๓๖ ได้รับรองแล้วต่อรัฐมนตรีภายในสามเดือน นับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีเพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ และให้รัฐมนตรีประกาศรายงานงบดุลและบัญชีดังกล่าวโดยเปิดเผย มาตรา ๓๘  ในกรณีที่องค์การขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ที่องค์การกู้ยืมเงินจากแหล่งให้กู้ยืมในหรือนอกราชอาณาจักร ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันเงินกู้นั้นได้ แต่จำนวนเงินกู้ที่จะค้ำประกันเมื่อรวมกับต้นเงินกู้ที่การค้ำประกันของกระทรวงการคลังยังค้างอยู่ต้องไม่เกินสิบสองเท่าของเงินกองทุนขององค์การเมื่อคำนวณเป็นเงินตราไทย  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันตามอำนาจที่มีอยู่ในกฎหมายใด การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อทราบยอดรวมของเงินกู้ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ในวันทำสัญญา หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๙  ผู้ใดล่วงรู้กิจการของสถาบันการเงินใดเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดในพระราชกำหนดนี้อันเป็นกิจการที่ตามปกติพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย แล้วนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความในวรรคหนึ่ง มิให้นำมาใช้บังคับแก่การเปิดเผยในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) การเปิดเผยตามหน้าที่ (๒) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาคดี (๓) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ (๔) การเปิดเผยเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสถาบันการเงินนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรา ๔๐  บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการองค์การตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง หมวด ๕ การยุบเลิกองค์การ มาตรา ๔๑  เมื่อองค์การได้ดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการองค์การรายงานรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติยุบเลิกองค์การต่อไป มาตรา ๔๒  เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบเลิกองค์การแล้ว ให้ดำเนินการชำระบัญชีโดยให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีขององค์การ การชำระบัญชีองค์การให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีบริษัทจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓  เมื่อคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีได้ดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีรายงานการชำระบัญชีต่อรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป และให้ถือวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีและวันยุบเลิกองค์การ บรรดาทรัพย์สินขององค์การที่ยังคงเหลืออยู่ให้จัดโอนให้แก่กระทรวงการคลังภายหลังวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีมอบสมุด บัญชี และเอกสารทั้งหมดขององค์การให้แก่กระทรวงการคลังภายในสิบสี่วันนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี และให้กระทรวงการคลังรักษาไว้สิบปีนับแต่วันดังกล่าว สมุด บัญชี และเอกสารตามวรรคสามให้เปิดเผยแก่ผู้มีส่วนได้เสียตรวจดูได้โดยไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียม บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๔  บรรดาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับการควบหรือโอนกิจการของสถาบันการเงินซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งของกระทรวงการคลัง กำหนดไว้สำหรับบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง บรรดาแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการยื่นต่อคณะกรรมการกำกับการควบหรือโอนกิจการของสถาบันการเงิน ให้ถือเป็นแผนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะตามมาตรา ๒๒ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินและฟื้นฟูสถานะการดำเนินการของสถาบันการเงินบางแห่งที่ประสบปัญหา ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้ตามปกติ และคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินเพื่อเรียกความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินกลับคืนมา สมควรกำหนดมาตรการในลักษณะของการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินอย่างเป็นระบบตามแนวทางสากล และจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินมาตรการดังกล่าว เพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะของสถาบันการเงิน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของสถาบันการเงิน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ วศิน/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๑/๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๐
508,985
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท ศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท ศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท ศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินการได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการจำหน่ายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย ปรส. “ศิลปวัตถุ” หมายความว่า วัตถุที่มีคุณค่าทางศิลปะ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ ภาพจำลอง รูปปั้น รูปแกะสลัก รูปหล่อ รูปจำลอง เป็นต้น และให้รวมถึงอุปกรณ์และสิ่งประกอบของวัตถุดังกล่าวด้วย “วัตถุมงคล” หมายความว่า วัตถุที่เป็นสิ่งเคารพและสักการะของบุคคล “เหรียญ” หมายความว่า เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึกซึ่งผลิตในวโรกาสหรือโอกาสพิเศษ เหรียญกษาปณ์เก่าที่เลิกใช้หรือหยุดผลิตแล้ว หรือเหรียญที่มีลักษณะพิเศษอันเป็นที่นิยมของนักสะสม “ธนบัตร” หมายความว่า ธนบัตรที่ระลึกซึ่งผลิตในวโรกาสหรือโอกาสพิเศษ ธนบัตรเก่าที่เลิกใช้หรือหยุดผลิตแล้ว หรือธนบัตรที่มีลักษณะพิเศษอันเป็นที่นิยมของนักสะสม เช่น ฉบับที่มีเลขเดียวกันหรือเรียงกัน เป็นต้น “วัตถุมีค่า” หมายความว่า ของเก่าหรือของอันเป็นที่นิยมของนักสะสม หรือทรัพย์สินที่มีคุณค่าหรือราคาซึ่งมิได้รวมอยู่ในความหมายของศิลปวัตถุ วัตถุมลคล เหรียญ ธนบัตร เช่น อัญมณี เครื่องเงิน เครื่องทอง เขาสัตว์ กระจกประดับ เครื่องแก้วเจียระไน นาฬิกาเก่า เป็นต้น “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาดหรือแข่งขันราคา “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลหรือผู้ที่จัดให้มีการแข่งขันราคาตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูลหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคา “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดโดยผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ โดยคำนึงถึงราคาตามบัญชี ราคาทุน ราคาตลาด คุณค่าทางศิลปะ และคุณค่าอันควรตามประเพณีนิยมของทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ประกอบ ราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนทำการประมูล หรือเป็นราคาที่กำหนดขึ้นตามข้อ ๔.๑.๔ หรือ ๔.๒.๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ การขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่าของสถาบันการเงินจะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคา และให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายทรัพย์สิน ต้องประกาศลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย ๑ ฉบับ เพื่อแจ้งวัน เวลา สถานที่และวิธีประมูลก่อนวันประมูลภายในระยะเวลาตามสมควร ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการทรัพย์สินและราคากลางของทรัพย์สินที่จะทำการประมูลหรือแข่งขันราคาก่อนทำการประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไข ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า และ/หรือ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ไม่ได้ห้ามทำการค้าตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และ/หรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด (๒) สถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ อาจมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ๓.๑.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนจากการทำการประมูลทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงิน ตามที่ระบุในประกาศนี้เท่านั้น ๓.๑.๓ ผู้ทำการต้องจัดระบบรักษาความปลอดภัยและประกันภัยตามสภาพแห่งทรัพย์สิน โดยผู้ทำการเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายระบบรักษาความปลอดภัย ค่าประกันภัย รวมทั้งค่าขนส่งด้วย ๓.๑.๔ ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง หรือเป็นผู้มอบหมายผู้ทำการแทน ๓.๑.๕ ผู้ทำการต้องพิจารณาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของทางราชการเข้าตรวจทรัพย์สินก่อนการประมูลว่าทรัพย์สินดังกล่าวสามารถนำออกประมูลได้หรือไม่ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่จะประมูล แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๒) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๓) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการ ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบสภาพทรัพย์สินได้ตามประเพณีปฏิบัติของการประมูล หรือตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร แต่ต้องไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเสียหายหรือเสื่อมค่าลง ๓.๒.๓ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินจากผู้ทำการก่อนการประมูล การประมูลเป็นไปตามสภาพของทรัพย์สินไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อการรอนสิทธิ สภาพของทรัพย์สิน และข้อมูลที่ผู้ทำการได้แสดงไว้ ๓.๒.๔ ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมภาษี ค่าขนส่ง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบและการรับมอบ รวมทั้งการโอนและการรับโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน ๓.๒.๕ ผู้ซื้อต้องรับมอบทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นภายในเวลา ๔ วันทำการ นับจากวันที่สถาบันการเงินนั้นได้รับชำระราคาขายครบถ้วนแล้ว หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๑๐ ของราคาขาย แต่ไม่เกิน ๕๐๐ บาท ต่อรายการต่อวัน โดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่อง การสูญหาย และ/หรือ ความเสียหายใด ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากผู้ซื้อไม่มารับมอบทรัพย์สิน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัยภายในกำหนด ๓๐ วัน นับจากวันที่ชำระราคาขายครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้น และไม่ติดใจเรียกร้องเอาคืนเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด รวมทั้งยินยอมให้สถาบันการเงินมีสิทธินำทรัพย์สินนั้นออกประมูลใหม่ ๓.๒.๖ ผู้ประมูลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เข้าประมูล เช่น กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นต้น ๓.๓[๑] ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๔ ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทน ๓.๔.๑ ปรส. มีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียม โดยสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาที่ขายได้เข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินจากผู้ซื้อครบถ้วน ๓.๔.๒[๒] สถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินต้องชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนการดำเนินการให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ทั้งนี้ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ อาจกำหนดให้ผู้ทำการได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนโดยวิธีการอื่น โดยจะประกาศวิธีการดังกล่าวก่อนวันประมูล ข้อ ๔ วิธีการ ๔.๑ วิธีประมูล ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ และ/หรือ ตามวันและเวลาประมูลที่ ปรส. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประมูลทรัพย์สินของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ ให้เริ่มการประมูลจากราคากลาง ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นครั้งละไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของราคากลาง หรือตามอัตราที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้ซื้อ ๔.๑.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา หรือไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาในการขายทรัพย์สินซ้ำตามข้อ ๔.๒.๕ เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณ หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาราคากลางอีกครั้ง โดยราคากลางใหม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นออกประมูลใหม่ ๔.๒[๓] วิธีการชำระราคา เว้นแต่ ปรส. โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๒.๑ กรณีที่ทรัพย์สินราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อรายการ ผู้ซื้อต้องชำระราคาเป็นเงินสด หรือบัตรเครดิตโดยผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการใช้บัตร หรือเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) หรือวิธีการอื่นที่ ปรส. อนุญาตเป็นรายกรณี ทั้งจำนวนในวันที่ประมูลได้ ๔.๒.๒ กรณีที่ทรัพย์สินราคาสูงกว่า ๑๐,๐๐๐ บาทต่อรายการ ให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายและวางมัดจำเป็นเงินสด หรือบัตรเครดิตโดยผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการใช้บัตร หรือเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) หรือวิธีการอื่นที่ ปรส. อนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของราคาขาย แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ บาท และผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะต้องนำเงินดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในวันทำการแรกของธนาคารนับจากวันที่ประมูลได้ พร้อมทั้งนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า ๔.๒.๓ ภายใน ๗ วันทำการของธนาคารนับจากวันที่ประมูลได้ ผู้ซื้อต้องชำระราคาส่วนที่เหลือทั้งหมดของราคาขาย โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้พร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ซื้อยินยอมให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกเก็บค่าเสียหายจาการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๑.๕ ของราคาขายต่อทรัพย์สินหนึ่งรายการต่อวัน หรือตามอัตราที่จะได้กำหนดขึ้นโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม หากผู้ซื้อไม่ชำระเงินตามวรรคก่อนไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัยภายใน ๓๐ วันนับจากวันที่ประมูลได้ ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้น และไม่ติดใจเรียกร้องเอาคืนเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด ๔.๒.๔ กรณีที่ผู้ซื้อมิได้ชำระราคาส่วนที่เหลือและมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่ผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๒.๓ วรรคแรก ให้สถาบันการเงินมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ ๔.๒.๕ ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๒.๒ หรือ ๔.๒.๓ และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องตามข้อ ๔.๒.๔ ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้น และยินยอมให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้ง โดยให้ใช้ราคากลางใหม่ที่ผ่านการพิจารณาได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖[๔]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมลคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๕] พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๓.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมลคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๒] ข้อ ๓.๔.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมลคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๓] ข้อ ๔.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมลคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๑/๑๘ มีนาคม ๒๕๔๑ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓๗/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑
508,994
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ และเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ และเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้และได้ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมาการจำหน่ายหลักทรัพย์และเงินลงทุนซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ปรส. “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย “หลักทรัพย์ไม่จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์อื่นนอกเหนือจากหลักทรัพย์จดทะเบียน หลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหลักทรัพย์รัฐบาล “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ออกภายใต้กฎหมายต่างประเทศหรือจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ “หลักทรัพย์รัฐบาล” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเฉพาะ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเฉพาะ “เงินลงทุน” หมายความว่า ส่วนที่ลงทุนในห้างหุ้นส่วน รวมถึงการลงทุนหรือร่วมทุนแบบอื่นที่ไม่อยู่ในลักษณะของการลงทุนในหลักทรัพย์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพฯ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ “ประมูล” หมายความว่า การประมูลโดยวิธีการยื่นซองประกวดราคาและ/หรือการแข่งขันราคาตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ระบุไว้ในประกาศนี้ หรือตามที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะประกาศเป็นครั้งคราว “ผู้จัดการขาย” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ให้เป็นผู้ขายหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนตามประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูลหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคา “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้ หรือผู้ที่แข่งขันราคาได้ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาหรือช่วงของราคาของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ และได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ โดยวิธีการประเมินราคากลางให้คำนึงถึงราคาตลาดในปัจจุบัน และ/หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน และ/หรือ มูลค่าและผลตอบแทนในอนาคต และ/หรือ ความเสี่ยงในการถือครองหลักทรัพย์หรือเงินลงทุน และ/หรือ ปัจจัยอื่น ๆ ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควรเป็นเกณฑ์ประกอบการประเมิน “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “สถาบันการเงินกลุ่ม ๑๖” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ “สถาบันการเงินกลุ่ม ๔๐” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ยกเว้นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ ๒.๑ กรณีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เสนอขายโดยวิธีการประมูลหรือขายผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง หรือวิธีการอื่นตามที่กำหนดโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ซึ่งผ่านการพิจารณาเสนอของคณะอนุกรรมการ ๒.๒ กรณีหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือเงินลงทุนในต่างประเทศ ให้เสนอขายผ่านทางศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องหรือขายโดยวิธีการที่กำหนดโดยกฎหมายของประเทศที่ออกหลักทรัพย์ หรือเงินลงทุนนั้นตั้งอยู่ หรือวิธีการอื่นที่กำหนดโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ซึ่งผ่านการพิจารณาเสนอของคณะอนุกรรมการ ๒.๓ กรณีหลักทรัพย์ไม่จดทะเบียนหรือเงินลงทุน ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัด ข้อห้าม หรือเงื่อนไขในการโอน ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมทุนรายอื่น หรือข้อบังคับของผู้ออกหลักทรัพย์ ให้เสนอขายโดยวิธีการประมูลหรือวิธีการอื่น ตามที่กำหนดโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ซึ่งผ่านการพิจารณาเสนอของคณะอนุกรรมการ ๒.๔ ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ต้องเห็นชอบรายการหลักทรัพย์และเงินลงทุน รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลก่อนวันประมูล ข้อ ๓  การกำหนดราคา ให้ผู้จัดการขายเสนอราคากลางของหลักทรัพย์และเงินลงทุนที่จะประมูลหรือขายให้กับคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอให้ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ให้ความเห็นชอบโดยการพิจารณาและให้ความเห็นชอบดังกล่าวนั้นให้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่สถาบันการเงินจะได้รับเป็นสำคัญ ข้อ ๔  ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๔.๑ ภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในข้อ ๔.๒ ผู้ประมูลอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (ข) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (ค) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (ง) เป็นผู้จัดการขาย หรือ (จ) บุคคลอื่นที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ กำหนด ๔.๒ ผู้ประมูลหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนต้องเป็น (ก) ผู้ที่สามารถรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูลได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูล และ (ข) หากการรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนดังกล่าว จะทำให้ผู้ประมูลเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต้องมีคุณสมบัติหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ผู้ประมูลต้องมีคุณสมบัติหรือได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่นที่กฎหมายกำหนด ตามแต่กรณี ๔.๓ ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ อาจกำหนดคุณสมบัติของผู้ประมูลเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ๔.๔ ผู้ประมูลมีหน้าที่จะต้องตรวจสอบก่อนเข้าประมูลว่าตนเป็นผู้ที่สามารถรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูลได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทั้งปวงของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูล ในกรณีที่ผู้ซื้อรายใดไม่สามารถรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่ประมูลได้มาไม่ว่าในกรณีใด ๆ ภายในเวลาที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ กำหนด ผู้จัดการขายมีสิทธินำหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนดังกล่าวออกประมูลอีกครั้ง  ทั้งนี้ (ก) หากผู้ซื้อได้ชำระเงินให้แก่สถาบันการเงินแล้ว สถาบันการเงินจะคืนเงินค่าซื้อหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนให้กับผู้ซื้อเมื่อได้รับชำระราคาจากผู้ซื้อรายใหม่ครบถ้วน (ข) ในกรณีที่การประมูลครั้งใหม่ได้ราคาสูงสุดน้อยกว่าการประมูลครั้งก่อน ผู้ซื้อรายก่อนต้องรับผิดชอบในส่วนต่างในทุกกรณีไม่ว่าผู้ซื้อจะได้ชำระเงินให้แก่สถาบันการเงินแล้วหรือไม่ (ค) ผู้ซื้อรายก่อนจะต้องชำระเบี้ยปรับให้กับผู้จัดการขายในอัตราร้อยละสองของราคาขายในครั้งก่อน โดยอาจหักจากเงินค่าซื้อหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่จะคืนให้ตามข้อ (ก) ข้อ ๕  วิธีการ ๕.๑ วิธีการประมูล ๕.๑.๑ ให้ผู้ประมูลยื่นเอกสารการประมูลตาม รูปแบบ วัน และเวลาที่ผู้จัดการขายกำหนด ๕.๑.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลและเงื่อนไขเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนนั้นเท่าที่ผู้จัดการขายหรือสถาบันการเงินจะจัดหาให้ได้ก่อนการประมูล ๕.๒ วิธีการชำระราคา ๕.๒.๑ กรณีจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหลักทรัพย์ การชำระราคาให้เป็นไปตามวิธีการและระเบียบของการจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้น ๕.๒.๒ กรณีจำหน่ายหลักทรัพย์โดยวิธีการประมูลหรือวิธีอื่น ผู้ซื้อต้องชำระราคาทั้งจำนวนรวมถึงค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในวันโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์นั้น แต่ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดโดยผู้จัดการขาย ๕.๒.๓ ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ภาษี อากรแสตมป์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการโอนและการรับโอนหลักทรัพย์และเงินลงทุน ๕.๒.๔ ในการชำระราคา ให้ใช้เงินสดและ/หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออก (แคชเชียร์เช็ค หรือดร๊าฟท์) สั่งจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินนั้น โดยผู้ซื้อต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์และเงินลงทุนให้แก่ผู้ซื้อเมื่อสถาบันการเงินได้รับชำระเงินโดยครบถ้วน ๕.๒.๕[๑] ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป ๕.๓ ผู้ประมูลจะต้องจัดให้มีหลักประกันการประมูลตามที่จะกำหนดในการประมูลแต่ละครั้ง ๕.๔ ให้สถาบันการเงินเจ้าของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาขายเข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๕ วันทำการ นับแต่วันที่สถาบันการเงินนั้นได้รับการชำระราคาขาย ข้อ ๖  ให้ผู้จัดการขายจัดทำรายงานสรุปผลเกี่ยวกับหลักทรัพย์และเงินลงทุนที่ได้จำหน่ายให้กับคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ทุกวันที่ ๑ และ ๑๖ ของทุกเดือน ข้อ ๗  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๘[๒]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ  ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสภาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๓] พัสสน/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๕.๒.๕ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสภาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๖/๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๗๐/๒๑ เมษายน ๒๕๔๒
509,480
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแต่งตั้งโดย ปรส. “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ที่ดิน ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ในที่ดิน ทรัพย์และสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว และให้หมายความรวมถึงอาคารชุดและสิทธิต่าง ๆ ในอาคารชุดด้วย “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาดหรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคา “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ผู้จะซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ราคาจะขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้จะซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดโดย ปรส. ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่แต่งตั้งโดย ปรส. โดยคำนึงถึงราคาตามบัญชี ราคาทุน ราคาตลาด ราคาประเมินของทางราชการ ราคาประเมินของผู้ประเมินอิสระ และมูลค่าในเชิงธุรกิจของทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณา และราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนทำการประมูล หรือเป็นราคาที่กำหนดขึ้นตามข้อ ๔.๑.๔, ๔.๒.๔ หรือ ๔.๓.๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์การขาย การขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินจะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคาและให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายทรัพย์สิน ต้องประกาศเกี่ยวกับการขายเพื่อแจ้ง วัน เวลา สถานที่ วิธีประมูล และรายละเอียดตามสมควรก่อนวันประมูลภายในระยะเวลาตามที่ พรก. กำหนด ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการทรัพย์สินและราคากลางของทรัพย์สินที่จะทำการประมูลหรือแข้งขันราคาก่อนทำการประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไขการขาย เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าและได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด (๒) เป็นสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ๓.๑.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนจากการทำการประมูลทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงินตามที่ระบุในประกาศนี้ หรือตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะได้กำหนดโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ๓.๑.๓ การขายทรัพย์สินตามประกาศนี้ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างหรือเป็นผู้มอบหมายผู้ทำการแทน ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้จะซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๒) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๓) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการในการขายทรัพย์สินนั้น ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เห็นสมควร และการตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่ทำให้อสังหาริมทรัพย์นั้นเสียหายหรือเสื่อมค่าลง ๓.๒.๓ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ก่อนการประมูล การประมูลจะเป็นไปตามสภาพของทรัพย์สินไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อการรอนสิทธิ สภาพของอสังหาริมทรัพย์ และข้อมูลที่ได้แสดงไว้ ๓.๒.๔ ผู้ประมูลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ วิธีการ ข้อจำกัด และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ทำการประมูล และผู้ประมูลจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบว่าในกรณีประมูลได้ซึ่งจะต้องมีการรับโอนอสังหาริมทรัพย์แล้ว ผู้ประมูลมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในฐานะผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ/ผู้ทรงสิทธิหรือไม่ ๓.๒.๕ ผู้จะซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมอากร และค่าใช้จ่ายอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการโอนและการรับโอน  ทั้งนี้ รวมถึงภาษีใด ๆ ซึ่งผู้จะซื้อมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย ๓.๒.๖[๒] ผู้จะซื้อต้องดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์และชำระราคาส่วนที่เหลือให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่ ปรส. หรือ คณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี กำหนดไว้สำหรับแต่ละรายการ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวยกเว้นกรณีตาม ข้อ ๓.๒.๗ ให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัด ในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาส่วนที่เหลือ ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการต่อปีนับจากวันครบกำหนดดังกล่าว จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นโดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ความบกพร่อง หรือการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หากผู้จะซื้อไม่มาดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัย โดยไม่ได้รับการผ่อนผันจากคณะอนุกรรมการ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคแรก ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิการซื้อในอสังหาริมทรัพย์นั้น และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธินำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ๓.๒.๗ กรณีที่อสังหาริมทรัพย์ใด ได้รับการปฏิเสธการรับโอนโดยหน่วยงานของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมิใช่ความผิดของผู้จะซื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้จะซื้อมีหน้าที่จะต้องแจ้งการปฏิเสธการรับโอนเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งหลักฐานการปฏิเสธแก่สถาบันการเงินผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับจากวันที่ปฏิเสธการรับโอนนั้น เมื่อสถาบันการเงินผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้พิจารณาหลักฐานการปฏิเสธแล้ว และเห็นสมควรให้คืนเงินที่ได้รับชำระแก่ผู้จะซื้อ ผู้จะซื้อจะได้รับคืนเงินที่ชำระยกเว้นค่าซองประกวดราคาตามข้อ ๔.๒.๑ และภาษีที่ชำระให้แก่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากผู้ทำการ หรือ สถาบันการเงินนั้น หรือ ปรส. และผู้จะซื้อมีหน้าที่ส่งคืนเอกสารทุกอย่างที่ได้รับจากผู้ทำการหรือสถาบันการเงินภายในระยะเวลาที่สถาบันการเงินนั้นจะกำหนด ๓.๒.๘ กรณีมีเหตุอันควรที่ผู้จะซื้อไม่สามารถดำเนินการตามข้อ ๓.๒.๖ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ผู้จะซื้อทำหนังสือขอผ่อนผันต่อคณะอนุกรรมการ  ทั้งนี้ สถาบันการเงินคงไว้ซึ่งสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดตามข้อ ๓.๒.๖ แม้ว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้ผ่อนผันก็ตาม ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๔ ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทน ๓.๔.๑ ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ปรส. มีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมจากการขาย โดยสถาบันการเงินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ (หนึ่ง) ของราคาที่ขายได้เข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินจากผู้จะซื้อครบถ้วน ๓.๔.๒ สถาบันการเงินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายจ้าง หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ทั้งนี้ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะกำหนดให้ผู้ทำการได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนโดยวิธีการอื่น ซึ่งประกาศวิธีการดังกล่าวก่อนวันประมูล ข้อ ๔  วิธีการขาย เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๑ วิธีการขายโดยขายทอดตลาด ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ และ/หรือ ตามวันและเวลาประมูลที่ ปรส. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ การประมูลจะเริ่มจากราคากลาง โดยที่คณะอนุกรรมการมีสิทธิจะกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลวางหลักประกันการประมูลได้ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นในอัตราครั้งละไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕ (ห้า) ของราคากลางหรือตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐/คณะอนุกรรมการ/ปรส. จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูลให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้จะซื้อ ๔.๑.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา หรือไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาในการขายอสังหาริมทรัพย์ซ้ำตามข้อ ๔.๓.๔ เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นเสนอ ต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในประกาศนี้ ๔.๒ วิธีการขายโดยยื่นซองประกวดราคา ๔.๒.๑ ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลสามารถรับซองประมูลและรับทราบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลได้ตาม วัน เวลา และสถานที่ที่สถาบันการเงิน/ปรส. จะประกาศให้ทราบตาม พรก.  ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดให้มีราคาซองและ/หรือหลักประกันการประมูลสำหรับซองประมูลตามที่เห็นสมควร ๔.๒.๒ คณะอนุกรรมการ หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายหรือผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) จะเป็นผู้เปิดซองประมูลและเปรียบเทียบราคาที่ผู้ประมูลเสนอมาทั้งหมด ผู้ประมูลที่ได้เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ที่ประมูลได้  ทั้งนี้ ราคาที่เสนอต้องไม่ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้ ๔.๒.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลมากกว่าหนึ่งรายเสนอราคาสูงสุดเท่ากัน ให้ผู้ทำการเรียกให้ผู้ประมูลรายดังกล่าวมาเสนอราคาใหม่ โดยราคาที่เสนอใหม่นี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่เสนอในครั้งก่อน ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดในครั้งใหม่นี้จะเป็นผู้ที่ประมูลได้ ๔.๒.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคากลางให้ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) นำอสังหาริมทรัพย์นั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่ โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข  และวิธีการในประกาศนี้ ๔.๓ วิธีการชำระราคา ๔.๓.๑ ผู้จะซื้อจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายในวันประมูลและวางเงินมัดจำโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส./คณะอนุกรรมการจะอนุญาตเป็นรายกรณีไป ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของราคาจะขายภายใน ๕ วันทำการ นับจากวันที่ประมูลได้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการโดยไม่ชักช้า ในกรณีนี้ ให้ถือว่าหลักประกันการประมูลที่ได้วางไว้ (หากมี) เป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำนี้ ๔.๓.๒ ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วัน  นับจากวันที่ประมูลได้ ผู้จะซื้อต้องชำระเงินมัดจำอีกส่วนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับเงินมัดจำงวดแรกตามข้อ ๔.๓.๑ ที่ได้ชำระแล้ว เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาจะขาย โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ทำการได้แจ้งให้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการพร้อมทั้งนัดหมายวันและเวลากับผู้ทำการเพื่อดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมโอนสิทธิและชำระราคาส่วนที่เหลือ ๔.๓.๓ กรณีที่ผู้จะซื้อมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ มิได้ชำระเงินมัดจำตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๓.๒ ให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกค่าปรับจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ต่อปีของเงินที่ต้องชำระตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการ นับจากวันครบกำหนดตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น หากผู้จะซื้อมิได้ชำระเงินมัดจำตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องพร้อมเหตุผลอันสมควรเป็นหนังสือแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาดังกล่าว สถาบันการเงินมีสิทธิริบเงินมัดจำได้โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนในการประมูล ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอผ่อนผันดังกล่าว คำตัดสินของคณะอนุกรรมการถือเป็นที่สุด ๔.๓.๔ ในกรณีที่ผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิในการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นและตกลงให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกขายซ้ำอีก รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธิริบหลักประกันการประมูลด้วย (หากมี) ๔.๓.๕[๓] ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. พิจารณาเป็นรายกรณีไป ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๔] พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑๔๓/๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ [๒] ข้อ ๓.๒.๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๓] ข้อ ๔.๓.๕ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๖๘/๒๗ มกราคม ๒๕๔๒
624,917
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ตามที่คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้ดำเนินการขายทรัพย์สินและชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจำนวน ๕๖ แห่งตามอำนาจ ตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ ตามรายชื่อบริษัทในบทนิยามคำว่าสถาบันการเงินในประกาศนี้ ข้อ ๑ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามและความหมายในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงไว้เป็นอย่างอื่น “พ.ร.ก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และ/หรือ พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้วแต่กรณี “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “คณะกรรมการ ปรส.” หมายความว่า คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการ ปรส. เพื่อการชำระบัญชี “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินจำนวน ๕๖ แห่ง ที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินดังกล่าวตามมาตรา ๓๐ วรรคแรก แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ ตามรายชื่อบริษัทดังต่อไปนี้ ๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การทุนไทย จำกัด (มหาชน) ๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ คันทรี่ จำกัด ๔. บริษัทเงินทุน คาเธ่ย์ทรัสต์ จำกัด ๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ คาเธ่ย์ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน) ๖  บริษัทเงินทุน จี ซี เอ็น จำกัด (มหาชน) ๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จี เอฟ จำกัด (มหาชน) ๘. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เจ้าพระยา จำกัด ๙. บริษัทเงินทุน ชาติไพบูลย์ จำกัด ๑๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซิทก้า จำกัด (มหาชน) ๑๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซี แอล สหวิริยา จำกัด ๑๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตะวันออกฟายแน้นซ์ (๑๙๙๑) จำกัด (มหาชน) ๑๓. บริษัทเงินทุน ทรัพย์ธำรง จำกัด ๑๔. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ จำกัด ๑๕. บริษัทเงินทุน ไทยธนากร จำกัด (มหาชน) ๑๖. บริษัทเงินทุน ไทยธำรง จำกัด ๑๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยเม็กซ์ จำกัด (มหาชน) ๑๘. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ จำกัด ๑๙. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทย - โอเวอร์ซีทรัสต์ จำกัด ๒๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนทรัพย์ จำกัด (มหาชน) ๒๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนไทย จำกัด (มหาชน) ๒๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนนคร จำกัด (มหาชน) ๒๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนพล จำกัด (มหาชน) ๒๔. บริษัทเงินทุน ธนมาศ จำกัด ๒๕. บริษัทเงินทุน ธนสินธุ์ จำกัด ๒๖. บริษัทเงินทุน ธีรชัยทรัสต์ จำกัด ๒๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นครหลวงเครดิต จำกัด (มหาชน) ๒๘. บริษัทเงินทุน นิธิภัทร จำกัด (มหาชน) ๒๙. บริษัทเงินทุน บางกอกเงินทุน จำกัด ๓๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ แปซิฟิคไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) ๓๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พารา จำกัด (มหาชน) ๓๒. บริษัทเงินทุน พรีเมียร์ จำกัด ๓๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พูลพิพัฒน์ จำกัด (มหาชน) ๓๔. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหาธนกิจ จำกัด (มหาชน) ๓๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหานครทรัสต์ จำกัด (มหาชน) ๓๖. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เมืองทองทรัสต์ จำกัด ๓๗. บริษัทเงินทุน ยูเนี่ยนไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) ๓๘. บริษัทเงินทุน ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) ๓๙. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนลไฟแนนซ์ จำกัด ๔๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ลีลาธนกิจ จำกัด ๔๑. บริษัทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ วอลล์สตรีท จำกัด (มหาชน) ๔๒. บริษัทเงินทุน ศรีธนา จำกัด (มหาชน) ๔๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศรีนคร จำกัด ๔๔.บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศรีมิตร จำกัด (มหาชน) ๔๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามซิตี้ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ๔๖. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามพาณิชย์ทรัสต์ จำกัด ๔๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สหธนกิจไทย จำกัด (มหาชน) ๔๘. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อินเตอร์เครดิตแอนด์ทรัสต์ จำกัด ๔๙. บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) ๕๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนา จำกัด (มหาชน) ๕๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกพัฒน์ จำกัด (มหาชน) ๕๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกสิน จำกัด (มหาชน) ๕๓. บริษัทเงินทุน เอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน) ๕๔. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน) ๕๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม ซี ซี จำกัด (มหาชน) ๕๖. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด (มหาชน) “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของสถาบันการเงินในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ “เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายหรือข้อตกลงในมูลหนี้กำหนดสิทธิในการรับชำระหนี้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้อื่น “เจ้าหนี้สามัญ” หมายความว่า เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันและไม่ใช่เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ และให้รวมถึงเจ้าหนี้มีประกันที่ยอมสละหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้เต็มจำนวน หรือที่บังคับหลักประกันแล้ว และขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ หรือได้ขายทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามวิธีการที่ ปรส. กำหนดแล้วขอรับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ ยกเว้นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งตามกฎหมายแล้วสถาบันการเงินลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ข้อ ๒  วันที่และเวลาที่อ้างถึงในประกาศฉบับนี้ หมายถึงวันที่และเวลาตามมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับประเทศไทย ข้อ ๓  การยื่นคำขอรับชำระหนี้ ๓.๑ เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ต้องยื่นความประสงค์เป็นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินที่ตนเป็นเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลา ๓ (สาม) เดือน นับแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๒ ตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์และแบบที่คณะกรรมการ ปรส. กำหนด ๓.๒ เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้จะต้องตกลงให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่คณะกรรมการ ปรส. กำหนด มิฉะนั้นคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิที่จะไม่พิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้นั้น  ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการ ปรส. จะได้ดำเนินการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก. และตามประกาศฉบับนี้ได้ โดยความยินยอมดังกล่าวจะมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ๓.๒.๑ การยินยอมที่จะไม่ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลยในคดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย หรือคดีแรงงาน หรือคดีภาษีอากร หรือบังคับคดีแก่สถาบันการเงิน รวมทั้งจะไม่เสนอข้อพิพาทที่สถาบันการเงินนั้น ๆ จะต้องรับผิด หรือชดใช้ค่าเสียหาย ต่ออนุญาโตตุลาการในระหว่างเวลาตั้งแต่ยื่นขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ จนถึงเมื่อผลการจัดสรรเงินครั้งแรกเป็นที่สุดเพื่อที่ ปรส. จะได้ดำเนินการจัดสรรเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินชำระคืนแก่เจ้าหนี้และหากได้ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลยอยู่แล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี หรือได้มีการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้วจะดำเนินการถอนฟ้อง หรือถอนการบังคับคดี หรือถอนการดำเนินการในชั้นอนุญาโตตุลาการ แล้วแต่กรณี โดยทันที มิฉะนั้น ให้ถือว่าเจ้าหนี้นั้นตกลงยินยอมสละสิทธิการขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ ๓.๒.๒ การยินยอมรับหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินคืนแก่บรรดาเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน รวมทั้งยินยอมรับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดลำดับชั้นของเจ้าหนี้ตามประกาศนี้ รวมทั้งการกันเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินไว้บางส่วนเพื่อนำมาจัดสรรให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินในภายหลัง ตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่ปรากฏในประกาศนี้ทุกประการ ๓.๒.๓ การยินยอมให้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ ของสถาบันการเงินที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้สามารถตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้และเอกสารประกอบหนี้ได้ ๓.๒.๔ หลังจากที่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ จนถึงเมื่อผลการจัดสรรเงินครั้งแรกเป็นที่สุด เจ้าหนี้จะไม่ถอนคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ  ทั้งนี้ เพื่อที่ ปรส. จะได้สามารถดำเนินการเพื่อการคำนวณยอดหนี้ของเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินได้โดยไม่ติดขัด ๓.๒.๕ การยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. และ/หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เปิดเผยจำนวนหนี้ที่คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ วินิจฉัยให้เป็นจำนวนหนี้ที่พึงขอรับชำระได้ และสัดส่วนที่จะได้รับชำระหนี้จากการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ ๓.๓ สถาบันการเงินต้องแจ้งกำหนดการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามข้อ ๓.๑ พร้อมแจกจ่ายแบบคำขอรับชำระหนี้และเอกสารที่จำเป็นอื่น ๆ ให้แก่เจ้าหนี้ที่ปรากฏรายชื่อตามทะเบียนของสถาบันการเงินนั้น ๆ และประกาศโฆษณากำหนดดังกล่าวในหนังสือพิมพ์รายวันทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษอย่างน้อยอย่างละ ๑ (หนึ่ง) ฉบับ รวมทั้งติดประกาศดังกล่าว ณ สถานที่ทำการของสถาบันการเงินและผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อนวันที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามข้อ ๓.๑ ๓.๔ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่มีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักร ๓.๔.๑ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่เป็นนิติบุคคลต้องได้รับการรับรองฐานะนิติบุคคลและผู้ลงลายมือชื่อซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ในกรณีที่ไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ให้โนตารีพับลิค หรือแมจิสเตรท หรือบุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นให้อำนาจไว้ เป็นผู้รับรองโดยแนบเอกสารจากทางราชการของประเทศนั้นรับรองว่าโนตารีพับลิคหรือแมจิสเตรทหรือบุคคลอื่นดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจในการรับรองฐานะนิติบุคคลประกอบ ๓.๔.๒ เจ้าหนี้ต่างประเทศต้องแถลงว่า ตนได้รับหรือมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่เป็นลูกหนี้รายเดียวกันนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามีตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของสถาบันการเงินดังกล่าวนั้นแล้วนำมารวมในกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้นในราชอาณาจักร ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๒ (สอง) เดือนนับจากวันที่รับทราบผลการวินิจฉัยคำขอรับชำระหนี้ หากไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าเจ้าหนี้ผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ ๓.๕ นอกเหนือจากที่เจ้าหนี้มีประกันสามารถรับชำระหนี้ได้ตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด เจ้าหนี้มีประกันอาจเลือกขอรับชำระหนี้ได้โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามวิธีการที่ระบุไว้ในประกาศนี้พร้อมกับแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน รวมทั้งตกลงยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. ตรวจและขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ตามที่คณะกรรมการ ปรส. กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก. โดยปลอดภาระผูกพัน และนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันดังกล่าวหลังจากหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการขายและค่าธรรมเนียมของ ปรส. ตาม พ.ร.ก. แล้ว ชำระให้แก่เจ้าหนี้ผู้นั้น หากมีเงินเหลือหลังจากชำระหนี้ ให้นำเงินส่วนที่เหลือรวมเข้ากับกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่เป็นลูกหนี้ หากเงินที่ได้จากการขายไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้รับชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ตามส่วนแบ่งจากการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินลูกหนี้ต่อไปได้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญ ยกเว้นกรณีที่ตามกฎหมายแล้ว สถาบันการเงินลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ๓.๖ ลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน หรือผู้ค้ำประกันร่วม อาจขอรับชำระหนี้ได้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระไว้เต็มจำนวนแล้ว ๓.๗ หนี้ที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ย ๗ (เจ็ด) วันทำการก่อน ๓ (สาม) วันทำการก่อนวันแจ้งผลการจัดสรรเงิน ๓.๘ เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้อาจมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการตามกระบวนการตามประกาศนี้แทนตนเองได้จนเสร็จการ การใดที่ผู้รับมอบหมายหรือผู้รับมอบอำนาจได้กระทำให้ถือว่าเจ้าหนี้ผู้นั้นได้กระทำด้วยตนเอง อนึ่ง ปรส. และสถาบันการเงินตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้รับมอบหมายหรือผู้รับมอบอำนาจดังกล่าว ข้อ ๔  หนี้ที่สามารถขอรับชำระได้ มีดังนี้ ๔.๑ หนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ ๔.๒ หนี้ที่เกิดขึ้นโดยได้รับความยินยอม หรือให้สัตยาบันโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือผู้รับมอบอำนาจของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงหนี้ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนบัตรเงินฝากของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และกองทุนเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๔.๓ เจ้าหนี้ค้ำประกัน เจ้าหนี้อาวัล หรือเจ้าหนี้ในลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ ก็อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ หรือหนี้ที่มูลหนี้ประธานเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยได้รับความยินยอมหรือให้สัตยาบันโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือผู้รับมอบอำนาจของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น และเป็นมูลหนี้ที่ไม่ต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ๔.๔ ต้องไม่ใช่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ เว้นแต่กรณีหนี้ที่เกิดขึ้นโดยสุจริตซึ่งขาดอายุความในวันที่หรือหลังจากระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ และเจ้าหนี้ได้ดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาสิทธิของตนแล้วและคณะกรรมการ ปรส. เห็นสมควรให้มีสิทธิรับชำระหนี้ ๔.๕ ต้องไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้สถาบันการเงินก่อให้เกิดขึ้นโดยต้องห้ามตามคำสั่งกระทรวงการคลัง เรื่อง การสั่งระงับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ และ ๕ สิงหาคม ๒๔๔๐ ๔.๖ หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระภายในกำหนดเวลาที่ขอรับชำระหนี้ได้ตามประกาศฉบับนี้ ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้  ทั้งนี้ ให้ถือเสมือนว่าหนี้ดังกล่าวครบกำหนดชำระในวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ปรส. จะกำหนด ๔.๗ บรรดาค่าใช้จ่ายต่างในการติดตาม ทวงถาม หรือดำเนินการใด ๆ ให้สถาบันการเงินชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ ข้อ ๕  การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ ๕.๑ คณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ ปรส. ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจในการตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ การตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง คณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการอาจเรียกให้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ และ/หรือส่งมอบพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ เจ้าหนี้ที่ฝ่าฝืนไม่ให้ถ้อยคำ และ/หรือ ไม่นำส่งพยานหลักฐานตามที่คณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการเรียกไปนั้นถือว่าไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากถ้อยคำ และ/หรือพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้และได้แจ้งเหตุนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี ล่วงหน้าก่อนเวลานัด อย่างไรก็ดีการเลื่อนเช่นว่านี้กระทำได้ไม่เกิน ๒ (สอง) ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า ๕ (ห้า) วันทำการ  ทั้งนี้ การเลื่อนระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน ๑ (หนึ่ง) เดือนนับจากวันนัดให้ถ้อยคำ/ส่งมอบพยานหลักฐานครั้งแรก ๕.๒[๑] คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างไรหรือไม่ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยนี้ได้ ตามความในข้อ ๖.๑ ๕.๓ เจ้าหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้แล้ว มีสิทธิขอตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ปรส. หรือ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการกำหนด โดยทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินที่ตนเป็นเจ้าหนี้ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วันนับแต่วันครบกำหนดการยื่นคำขอรับชำระหนี้ โดยจะได้รับอนุญาตให้มีเวลาในการตรวจสอบดังกล่าวไม่เกิน ๑๐ (สิบ) วัน ๕.๔ เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นต้องทำคำคัดค้านเป็นลายลักษณ์อักษร ชี้แจ้งสภาพและเหตุผลแห่งคำคัดค้านเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินภายใน ๑๐ (สิบ) วันนับจากวันสุดท้ายที่ตนได้รับอนุญาตให้ตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นได้ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินทำการตรวจสอบคำคัดค้านและทำความเห็นเพื่อเสนอให้คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาคำคัดค้านดังกล่าว  ทั้งนี้ คณะกรรมการ ปรส. มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านโดยให้ยกคำคัดค้านและอนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ได้เต็มตามสัดส่วนแห่งหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระ หรืออนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ได้บางส่วนหรือไม่อนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ โดยวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปรส. นี้ให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๖  การประชุมเจ้าหนี้ ๖.๑[๒] คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือ ปรส. จะแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และจะเรียกเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และได้รับการวินิจฉัยให้ได้รับชำระหนี้ ให้มาประชุมเพื่อรับทราบผลการจัดสรรเงินเพื่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ตามประกาศนี้  ทั้งนี้ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือ ปรส. จะส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้พร้อมกับสรุปวิธีการและผลการจัดสรรเงิน รวมทั้งแจ้งวันเวลาและสถานที่ประชุมให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒๕ (ยี่สิบห้า) วัน ก่อนวันประชุม ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและ/หรือบริการส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อื่น อนึ่ง เจ้าหนี้ที่ไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ให้ถือว่าทราบผลการจัดสรรเงินเพื่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ตามประกาศนี้แล้ว การอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือการโต้แย้งผลการจัดสรรเงินที่ได้แจ้งให้ทราบตามหนังสือแจ้งประชุมตามวรรคแรก ให้กระทำได้ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยทำเป็นหนังสือเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปรส. ให้ถือเป็นที่สุด หากเจ้าหนี้ใดไม่อุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือโต้แย้งผลการจัดสรรเงินภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเจ้าหนี้นั้นไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ และยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. หรือ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ชำระหนี้ตามผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และผลการจัดสรรเงินนั้นได้ ถ้าไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือโต้แย้งผลการจัดสรรเงินของสถาบันการเงินภายในกำหนดเวลาตามวรรคก่อน ให้ถือว่าผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือผลการจัดสรรเงินของสถาบันการเงินนั้นถูกต้องและเป็นที่สุด ๖.๒ ให้ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นประธานในที่ประชุม ๖.๓[๓] ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาการอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้ และ/หรือ การโต้แย้งผลการจัดสรรเงินคืน ตามข้อ ๖.๑ แล้ว ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง หรือผลการพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้งนั้นไม่มีผลกระทบต่อยอดหนี้ของเจ้าหนี้ หรือ คำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้งนั้นไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินนั้นโดยรวม ปรส. สามารถเปลี่ยนแปลงวัน เวลา สถานที่ประชุมตามที่ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบตามที่กำหนดในข้อ ๖.๑ ได้  ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าว ปรส. จะแจ้งวัน เวลา และสถานที่ประชุมที่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ (สิบห้า) วันก่อนวันประชุม ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และ/หรือ บริการส่งเอกสาร และพัสดุภัณฑ์อื่น ข้อ ๗  การจัดสรรเงินตามข้อ ๘ ที่ได้จากการขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้เป็นไปตามลำดับชั้นการชำระหนี้ดังนี้ ๗.๑ เจ้าหนี้ในหนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าหนี้เนื่องจากการดำเนินการตามปกติเพื่อการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ได้อนุมัติแล้ว เช่น ค่าธรรมเนียมศาล ค่าดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ผู้จัดการเฉพาะกิจและที่ปรึกษาเฉพาะกิจ ค่าตอบแทนค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้คำปรึกษาของที่ปรึกษา รวมทั้งค่าวิชาชีพทนายความและผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ปรส. หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นต้น ๗.๒ เจ้าหนี้ในหนี้ค่าภาษีอากรและค่าจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงานที่สถาบันการเงินค้างชำระ ๗.๓ เจ้าหนี้สามัญ ๗.๔ เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ หากมีเงินเหลือจากการชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ตามวรรคก่อน เงินส่วนที่เหลือดังกล่าวจะจัดสรรคืนแก่ผู้ถือหุ้นต่อไป นอกจากนี้ เจ้าหนี้มีประกันสามารถได้รับชำระหนี้ตามข้อ ๓.๕ ข้อ ๘  การจัดสรรเงิน ๘.๑ การจัดสรรเงินชำระคืนแก่เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศฉบับนี้จะชำระคืนในสกุลเงินบาท ๘.๒ คณะกรรมการ ปรส. หรือ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะพิจารณาจัดสรรเงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ตามประกาศนี้ อนึ่ง การชำระหนี้คืนแก่เจ้าหนี้ตามผลการจัดสรรเงินจะดำเนินการภายหลังจากวันที่ประชุมเจ้าหนี้ตามข้อ ๖ โดยไม่ชักช้า วรรคสอง[๔]  (ยกเลิก) ๘.๓ กรณีเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศฉบับนี้หรือเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่ไม่ประสงค์จะรับชำระหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ที่คณะกรรมการ ปรส. หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ พิจารณาจัดสรรให้ตามประกาศฉบับนี้ คณะกรรมการ ปรส. จะกันเงินตามสัดส่วนแห่งหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เหล่านี้ เพื่อที่จะได้ไปขอรับชำระหนี้ในภายหลังตามขั้นตอนที่คณะกรรมการ ปรส.จะกำหนดต่อไป หรือทำการจัดสรรใช้เงินอีกครั้งตามที่คณะกรรมการ ปรส. เห็นสมควร ข้อ ๙  ความในประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามปกติของสถาบันการเงิน เช่น ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่าภาษี ค่าจ้างแรงงาน ค่าตอบแทน และค่าธรรมเนียมในการประมูลขายทรัพย์สินเพื่อการชำระบัญชี เป็นต้น ซึ่งสถาบันการเงินต้องชำระตามปกติอยู่แล้ว ข้อ ๑๐  กรณีใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้หรือการใดที่ไม่อาจดำเนินการตามประกาศนี้ได้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป ข้อ ๑๑[๕]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)[๖] ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๒)[๗] พัสสน/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๕.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) [๒] ข้อ ๖.๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) [๓] ข้อ ๖.๓ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๒) [๔] ข้อ ๘.๒ วรรคสอง ยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๑๗/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๓๘/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๘/๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
624,919
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน 56 ราย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ในประกาศนี้ “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาด “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลหรือผู้ที่จัดให้มีการแข่งขันราคาตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่สถาบันการเงินมีกรรมสิทธิ์  ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงรถที่ผู้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วน “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูล หรือผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคา “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้ “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “ราคากลาง”[๑] หมายความว่าราคาที่กำหนดจากราคาตลาดในปัจจุบัน และ/หรือราคาตามบัญชีเป็นเกณฑ์ประกอบ โดยคำนึงถึงอายุการใช้งานและสภาพของรถ  ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือราคาที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔.๑.๕ หรือ ๔.๒.๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ การขายรถของสถาบันการเงิน จะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผยหรือแข่งขันราคาเท่านั้น และให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายรถ ต้องประกาศลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย ๑ ฉบับ เพื่อแจ้งวัน เวลา สถานที่ทำการประมูล ก่อนวันที่ทำการประมูลไม่น้อยกว่า ๗ วัน ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการรถและราคากลางของรถที่จะทำการประมูลก่อนวันประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไข ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า และต้องเป็นผู้ที่ได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด ๓.๑.๒ ผู้ทำการมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมและ/หรือค่านายหน้าและ/หรือค่าตอบแทนจากสถาบันการเงินในการประมูลรถตามที่ระบุในประกาศนี้ ๓.๑.๓ ผู้ทำการต้องจัดให้มีสถานที่จอดรถพร้อมระบบการรักษาความปลอดภัยและประกันอัคคีภัยสำหรับรถโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากที่ระบุตามข้อ ๓.๑.๒ แต่ประการใด ๓.๑.๔ ให้ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการ ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถคันที่ประมูล (๒) กรรมการ พนักงาน ของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๓) กรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๕) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการ ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบสภาพรถและข้อมูลที่ผู้ทำการได้แสดงไว้ที่ตัวรถก่อนทำการประมูล การประมูลเป็นไปตามสภาพรถไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อสภาพของรถและข้อมูลที่ผู้ทำการได้แสดงไว้ ๓.๒.๓ ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมภาษี ค่าปรับรวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนโอนและการรับโอนกรรมสิทธิ์รถ ๓.๒.๔[๒] ผู้ซื้อสามารถรับมอบรถได้เมื่อสถาบันการเงินนั้นได้รับชำระราคาขายครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อต้องนำรถออกไปจากสถานที่รับมอบรถภายใน ๗ วัน นับจากวันที่ชำระราคาครบถ้วน หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ทำการมีสิทธิเรียกค่าจอดรถ ๒๐๐ บาทต่อคัน ต่อวัน โดยสถาบันการเงินนั้นและผู้ทำการจะไม่รับรองและรับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่อง การรอนสิทธิ และ/หรือต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกี่ยวกับรถดังกล่าว ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายและการชำระราคา ๓.๓.๑ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๓.๒[๓] ในการชำระราคาให้ใช้เงินสด และ/หรือบัตรเครดิต (ผ่านบัญชีผู้ทำการโดยผู้ซื้อต้องรับภาระค่าธรรมเนียมการใช้บัตรดังกล่าว) และ/หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออก (แคชเชียร์เช็ค) สั่งจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือคำสั่งจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์สั่งจ่ายบัญชีของสถาบันการเงินนั้น (ดราฟท์) โดยผู้ซื้อต้องแสดงหลักฐานการโอนเงิน และ/หรือการนำเงิน และ/หรือเช็ค และ/หรือคำสั่งจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์ (ดราฟท์) เข้าบัญชีของสถาบันการเงินแก่ผู้ทำการและสถาบันการเงินนั้น แล้วแต่กรณี ๓.๓.๓[๔] ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป ๓.๔[๕] ค่าธรรมเนียมและ/หรือค่านายหน้าและ/หรือค่าตอบแทน ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระราคารถครบถ้วนจากผู้ซื้อ สถาบันการเงินเจ้าของรถต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาขายเข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. และชำระค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลรถในอัตราร้อยละ ๑ ของราคารถคันที่ขายได้ แต่ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาท และไม่เกินกว่า ๕,๐๐๐ บาทต่อรถหนึ่งคันให้แก่ผู้ทำการ ในกรณีที่เป็นการประมูลรถที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้หรือมีสภาพเป็นซากรถหลายคันในครั้งเดียว (ประมูลเป็นกอง) ให้ผู้ทำการได้รับค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลรถในอัตราร้อยละ ๓ ของราคารถกองที่ขายได้ในครั้งนั้น ข้อ ๔  วิธีการ ๔.๑ วิธีการประมูล ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประมูลรถของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ ให้เริ่มการประมูลจากราคากลาง ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้ซื้อ ๔.๑.๔[๖] สถาบันการเงินจะส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารประกอบการจดทะเบียนและลงลายมือชื่อในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์รถแก่ผู้ซื้อภายใน ๑๐ วันทำการ นับแต่ได้รับชำระราคาขายครบถ้วน ๔.๑.๕[๗] กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการเสนอต่อประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อพิจารณากำหนดราคากลางใหม่ และให้ผู้ทำการนำรถนั้นออกประมูลใหม่ ๔.๒ วิธีการชำระราคา ๔.๒.๑ ในวันที่ประมูลได้ ผู้ซื้อต้องทำสัญญาซื้อขายรถและวางเงินมัดจำเป็นเงินสด และ/หรือ บัตรเครดิตซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของราคาที่ประมูลได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท และผู้ทำการจะต้องนำเงินมัดจำทั้งจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของรถภายในวันทำการที่สองของธนาคารนับจากวันที่ขายรถพร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า ๔.๒.๒ ภายใน ๔ วันทำการนับจากวันที่ประมูลได้ ผู้ซื้อต้องชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ ๙๐ ของราคาที่ประมูลซื้อ โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของรถที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้ เมื่อชำระราคาส่วนที่เหลือครบถ้วน ให้ถือว่าเงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคา ๔.๒.๓ กรณีที่ผู้ซื้อมิได้ชำระราคาขายส่วนที่เหลือและมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๒.๒ ให้สถาบันการเงินริบเงินมัดจำได้ โดยชำระค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนในการประมูลตามข้อ ๓.๔ แก่ ปรส. และผู้ทำการ ๔.๒.๔[๘] ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๒.๑ หรือ ๔.๒.๒ และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นเหตุสุดวิสัยตามข้อ ๔.๒.๓ ให้ผู้ทำการเสนอต่อประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อพิจารณากำหนดราคากลางใหม่ และให้ผู้ทำการนำรถนั้นออกประมูลใหม่ ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖[๙]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๑๐] ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒[๑๑] พัสสน/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๑ นิยามคำว่า “ราคากลาง” แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๒] ข้อ ๓.๒.๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๓] ข้อ ๓.๓.๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๔] ข้อ ๓.๓.๓ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒ [๕] ข้อ ๓.๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๖] ข้อ ๔.๑.๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๗] ข้อ ๔.๑.๕ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๘] ข้อ ๔.๒.๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๘/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๓๕/๒๐ เมษายน ๒๕๔๑ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๗๒/๒๑ เมษายน ๒๕๔๒
624,933
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแต่งตั้งโดย ปรส. “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ที่ดิน ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ในที่ดิน ทรัพย์และสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว และให้หมายความรวมถึงอาคารชุดและสิทธิต่าง ๆ ในอาคารชุดด้วย “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาดหรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคา “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ผู้จะซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ราคาจะขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้จะซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดโดย ปรส.  ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่แต่งตั้งโดย ปรส. โดยคำนึงถึงราคาตามบัญชี ราคาทุน ราคาตลาด ราคาประเมินของทางราชการ ราคาประเมินของผู้ประเมินอิสระ และมูลค่าในเชิงธุรกิจของทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณา และราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนทำการประมูล หรือเป็นราคาที่กำหนดขึ้นตามข้อ ๔.๑.๔, ๔.๒.๔ หรือ ๔.๓.๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์การขาย การขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินจะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคาและให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายทรัพย์สิน ต้องประกาศเกี่ยวกับการขายเพื่อแจ้ง วัน เวลา สถานที่ วิธีประมูล และรายละเอียดตามสมควรก่อนวันประมูลภายในระยะเวลาตามที่ พรก. กำหนด ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการทรัพย์สินและราคากลางของทรัพย์สินที่จะทำการประมูลหรือแข้งขันราคาก่อนทำการประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไขการขาย เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๓.๑ ผู้ทำการ  ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าและได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด (๒) เป็นสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย  ๓.๑.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนจากการทำการประมูลทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงินตามที่ระบุในประกาศนี้ หรือตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะได้กำหนดโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น  ๓.๑.๓ การขายทรัพย์สินตามประกาศนี้ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างหรือเป็นผู้มอบหมายผู้ทำการแทน ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้จะซื้อ  ๓.๒.๑ ผู้ประมูลจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๒) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๓) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการในการขายทรัพย์สินนั้น  ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เห็นสมควร และการตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่ทำให้อสังหาริมทรัพย์นั้นเสียหายหรือเสื่อมค่าลง  ๓.๒.๓ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ก่อนการประมูล การประมูลจะเป็นไปตามสภาพของทรัพย์สินไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อการรอนสิทธิ สภาพของอสังหาริมทรัพย์ และข้อมูลที่ได้แสดงไว้  ๓.๒.๔ ผู้ประมูลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ วิธีการ ข้อจำกัด และเงื่อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ทำการประมูล และผู้ประมูลจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบว่าในกรณีประมูลได้ซึ่งจะต้องมีการรับโอนอสังหาริมทรัพย์แล้ว ผู้ประมูลมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในฐานะผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ/ผู้ทรงสิทธิหรือไม่  ๓.๒.๕ ผู้จะซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมอากร และค่าใช้จ่ายอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการโอนและการรับโอน  ทั้งนี้ รวมถึงภาษีใด ๆ ซึ่งผู้จะซื้อมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย  ๓.๒.๖[๒] ผู้จะซื้อต้องดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์และชำระราคาส่วนที่เหลือให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่ ปรส. หรือ คณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณีกำหนดไว้สำหรับแต่ละรายการ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวยกเว้นกรณีตาม ข้อ ๓.๒.๗ ให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงินแล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัด ในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาส่วนที่เหลือ ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการต่อปีนับจากวันครบกำหนดดังกล่าว จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นโดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ความบกพร่อง หรือการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว  หากผู้จะซื้อไม่มาดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัย โดยไม่ได้รับการผ่อนผันจากคณะอนุกรรมการ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคแรก ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิการซื้อในอสังหาริมทรัพย์นั้น และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งเงินที่ชำระแล้วทั้งหมดรวมทั้งตกลงในสถาบันการเงินมีสิทธินำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่  ๓.๒.๗ กรณีที่อสังหาริมทรัพย์ใด ได้รับการปฏิเสธการรับโอนโดยหน่วยงานของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมิใช่ความผิดของผู้จะซื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้จะซื้อมีหน้าที่จะต้องแจ้งการปฏิเสธการรับโอนเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งหลักฐานการปฏิเสธแก่สถาบันการเงินผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับจากวันที่ปฏิเสธการรับโอนนั้น  เมื่อสถาบันการเงินผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้พิจารณาหลักฐานการปฏิเสธแล้ว และเห็นสมควรให้คืนเงินที่ได้รับชำระแก่ผู้จะซื้อ ผู้จะซื้อจะได้รับคืนเงินที่ชำระยกเว้นค่าซองประกวดราคาตามข้อ ๔.๒.๑ และภาษีที่ชำระให้แก่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากผู้ทำการ หรือ สถาบันการเงินนั้น หรือ ปรส. และผู้จะซื้อมีหน้าที่ส่งคืนเอกสารทุกอย่างที่ได้รับจากผู้ทำการหรือสถาบันการเงินภายในระยะเวลาที่สถาบันการเงินนั้นจะกำหนด  ๓.๒.๘ กรณีมีเหตุอันควรที่ผู้จะซื้อไม่สามารถดำเนินการตามข้อ ๓.๒.๖ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ผู้จะซื้อทำหนังสือขอผ่อนผันต่อคณะอนุกรรมการ  ทั้งนี้ สถาบันการเงินคงไว้ซึ่งสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดตามข้อ ๓.๒.๖ แม้ว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้ผ่อนผันก็ตาม ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๔ ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทน  ๓.๔.๑ ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ปรส. มีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมจากการขาย โดยสถาบันการเงินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ (หนึ่ง) ของราคาที่ขายได้เข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินจากผู้จะซื้อครบถ้วน  ๓.๔.๒ สถาบันการเงินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องชำระค่าจ้างค่าธรรมเนียม ค่านายจ้าง หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของ ปรส./ประธานกรรมการตามตามมาตรา ๓๐ ทั้งนี้  ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะกำหนดให้ผู้ทำการได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทน โดยวิธีการอื่น ซึ่งประกาศวิธีการดังกล่าวก่อนวันประมูล ข้อ ๔  วิธีการขาย เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๑ วิธีการขายโดยขายทอดตลาด  ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ และ/หรือ ตามวันและเวลาประมูลที่ ปรส. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ  ๔.๑.๒ การประมูลจะเริ่มจากราคากลาง โดยที่คณะอนุกรรมการมีสิทธิจะกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลวางหลักประกันการประมูลได้ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร  ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นในอัตราครั้งละไม่ต่ำกว่า ๕ (ห้า) ของราคากลางหรือตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐/คณะอนุกรรมการ/ปรส. จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูลให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้จะซื้อ  ๔.๑.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา หรือไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาในการขายอสังหาริมทรัพย์ซ้ำตามข้อ ๔.๓.๔ เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยวิธีกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในประกาศนี้ ๔.๒ วิธีการขายโดยยื่นซองประกวดราคา  ๔.๒.๑ ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลสามารถรับซองประมูลและรับทราบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลได้ตาม วัน เวลา และสถานที่ที่สถาบันการเงิน/ปรส. จะประกาศให้ทราบตาม พรก. ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดให้มีราคาซองและ/หรือหลักประกันการประมูลสำหรับซองประมูลตามที่เห็นสมควร  ๔.๒.๒ คณะอนุกรรมการ หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายหรือผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) จะเป็นผู้เปิดซองประมูลและเปรียบเทียบราคาที่ผู้ประมูลเสนอมาทั้งหมด ผู้ประมูลที่ได้เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ที่ประมูลได้  ทั้งนี้ ราคาที่เสนอต้องไม่ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้  ๔.๒.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลมากกว่าหนึ่งรายเสนอราคาสูงสุดเท่ากัน ให้ผู้ทำการเรียกให้ผู้ประมูลรายดังกล่าวมาเสนอราคาใหม่ โดยราคาที่เสนอใหม่นี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่เสนอในครั้งก่อน ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดในครั้งใหม่นี้จะเป็นผู้ที่ประมูลได้  ๔.๒.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคากลางให้ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) นำอสังหาริมทรัพย์นั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่ โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข  และวิธีการในประกาศนี้ ๔.๓ วิธีการชำระราคา  ๔.๓.๑ ผู้จะซื้อจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายในวันประมูลและวางเงินมัดจำโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการการเงินที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส./คณะอนุกรรมการจะอนุญาตเป็นรายกรณีไป ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของราคาจะขายภายใน ๕ วันทำการ นับจากวันที่ประมูลได้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการโดยไม่ชักช้า ในกรณีนี้ ให้ถือว่าหลักประกันการประมูลที่ได้วางไว้ (หากมี) เป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำนี้  ๔.๓.๒ ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วัน  นับจากวันที่ประมูลได้ ผู้จะซื้อต้องชำระเงินมัดจำอีกส่วนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับเงินมัดจำงวดแรกตามข้อ ๔.๓.๑ ที่ได้ชำระแล้ว เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาจะขาย โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ทำการได้แจ้งให้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการพร้อมทั้งนัดหมายวันและเวลากับผู้ทำการเพื่อดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมโอนสิทธิและชำระราคาส่วนที่เหลือ  ๔.๓.๓ กรณีที่ผู้จะซื้อมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ มิได้ชำระเงินมัดจำตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๓.๒ ให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกค่าปรับจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ต่อปีของเงินที่ต้องชำระตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการ นับจากวันครบกำหนดตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น  หากผู้จะซื้อมิได้ชำระเงินมัดจำตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องพร้อมเหตุผลอันสมควรเป็นหนังสือแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาดังกล่าว สถาบันการเงินมีสิทธิรับเงินมัดจำได้โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนในการประมูล ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ  คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอผ่อนผันดังกล่าว คำตัดสินของคณะอนุกรรมการถือเป็นที่สุด  ๔.๓.๔ ในกรณีที่ผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิในการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นและตกลงให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกขายซ้ำอีก รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธิริบหลักประกันการประมูลด้วย (หากมี)  ๔.๓.๕[๓] ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. พิจารณาเป็นรายกรณีไป ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๔] พัสสน/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑๔๓/๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ [๒] ข้อ ๓.๒.๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๓] ข้อ ๔.๓.๕ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๖๘/๒๗ มกราคม ๒๕๔๒
816,505
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการชาระบัญชีที่เสร็จสิ้นขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการชำระบัญชีที่เสร็จสิ้นขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน[๑] เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ รับทราบรายงานการชำระบัญชีที่เสร็จสิ้นขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้ว ดังมีรายละเอียดปรากฏตามท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์  ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานการชำระบัญชีขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/จัดทำ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๑๔/๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
624,927
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๒) โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อให้กระบวนการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไข หรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมการขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖.๓ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ “ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาการอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้ และ/หรือ การโต้แย้งผลการจัดสรรเงินคืน ตามข้อ ๖.๑ แล้ว ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง หรือผลการพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้งนั้นไม่มีผลกระทบต่อยอดหนี้ของเจ้าหนี้ หรือ คำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้งนั้นไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินนั้นโดยรวม ปรส. สามารถเปลี่ยนแปลงวัน เวลา สถานที่ประชุมตามที่ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบตามที่กำหนดในข้อ ๖.๑ ได้  ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าว ปรส. จะแจ้งวัน เวลา และสถานที่ประชุมที่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ (สิบห้า) วันก่อนวันประชุม ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และ/หรือ บริการส่งเอกสาร และพัสดุภัณฑ์อื่น” ข้อ ๒[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ กมล  จันทิมา ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน สุกัญญา/พิมพ์ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ พัสสน/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๘/๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
624,925
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เพื่อให้กระบวนการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมการขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๕.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๕.๒ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างไรหรือไม่ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยนี้ได้ ตามความในข้อ ๖.๑” ข้อ ๒  ให้ยกเลิกความในข้อ ๖.๑ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๖.๑ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือ ปรส. จะแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และจะเรียกเจ้าหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และได้รับการวินิจฉัยให้ได้รับชำระหนี้ ให้มาประชุมเพื่อรับทราบผลการจัดสรรเงินเพื่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแหงหนี้ตามประกาศนี้  ทั้งนี้ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือ ปรส. จะส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้พร้อมกับสรุปวิธีการและผลการจัดสรรเงิน รวมทั้งแจ้งวันเวลาและสถานที่ประชุมให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๒๕ (ยี่สิบห้า) วัน ก่อนวันประชุม ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและ/หรือบริการส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อื่น อนึ่ง เจ้าหนี้ที่ไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ให้ถือว่าทราบผลการจัดสรรเงินเพื่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ตามประกาศนี้แล้ว การอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือการโต้แย้งผลการจัดสรรเงินที่ได้แจ้งให้ทราบตามหนังสือแจ้งประชุมตามวรรคแรก ให้กระทำได้ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยทำเป็นหนังสือเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปรส. ให้ถือเป็นที่สุด หากเจ้าหนี้ใดไม่อุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือโต้แย้งผลการจัดสรรเงินภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าเจ้าหนี้นั้นไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ และยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. หรือ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ชำระหนี้ตามผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และผลการจัดสรรเงินนั้นได้ ถ้าไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือโต้แย้งผลการจัดสรรเงินของสถาบันการเงินภายในกำหนดเวลาตามวรรคก่อน ให้ถือว่าผลการพิจารณาวินิจฉัยหนี้และ/หรือผลการจัดสรรเงินของสถาบันการเงินนั้นถูกต้องและเป็นที่สุด” ข้อ ๓  ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ ๘.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ฉบับลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ข้อ ๔[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ กมล  จันทิมา ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน สุกัญญา/พิมพ์ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ พัสสน/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๓๘/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓
624,923
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงาน จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓.๓.๓ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถยนต์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ “๓.๓.๓ ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป” ๒. ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน สุกัญญา/พิมพ์ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ พัสสน/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๗๒/๒๑ เมษายน ๒๕๔๒
308,583
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท หลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังต่อไปนี้ ๑.  ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นข้อ ๕.๒.๕ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุน ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ “๕.๒.๕ ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป” ๒.  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๗๐/๒๑ เมษายน ๒๕๔๒
307,163
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้ และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ตามที่คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้ดำเนินการขายทรัพย์สินและชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการจำนวน ๕๖ แห่งตามอำนาจ ตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ ตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ ตามรายชื่อบริษัทในบทนิยามคำว่าสถาบันการเงินในประกาศนี้ ข้อ ๑ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามและความหมายในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงไว้เป็นอย่างอื่น “พ.ร.ก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และ/หรือ พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ แล้วแต่กรณี “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “คณะกรรมการ ปรส.” หมายความว่า คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการ ปรส. เพื่อการชำระบัญชี “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินจำนวน ๕๖ แห่ง ที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินดังกล่าวตามมาตรา ๓๐ วรรคแรก แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ ตามรายชื่อบริษัทดังต่อไปนี้ ๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การทุนไทย จำกัด (มหาชน) ๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ คันทรี่ จำกัด ๔. บริษัทเงินทุน คาเธ่ย์ทรัสต์ จำกัด ๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ คาเธ่ย์ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน) ๖  บริษัทเงินทุน จี ซี เอ็น จำกัด (มหาชน) ๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จี เอฟ จำกัด (มหาชน) ๘. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เจ้าพระยา จำกัด ๙. บริษัทเงินทุน ชาติไพบูลย์ จำกัด ๑๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซิทก้า จำกัด (มหาชน) ๑๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซี แอล สหวิริยา จำกัด ๑๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตะวันออกฟายแน้นซ์ (๑๙๙๑) จำกัด (มหาชน) ๑๓. บริษัทเงินทุน ทรัพย์ธำรง จำกัด ๑๔. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ จำกัด ๑๕. บริษัทเงินทุน ไทยธนากร จำกัด (มหาชน) ๑๖. บริษัทเงินทุน ไทยธำรง จำกัด ๑๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยเม็กซ์ จำกัด (มหาชน) ๑๘. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ จำกัด ๑๙. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทย - โอเวอร์ซีทรัสต์ จำกัด ๒๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนทรัพย์ จำกัด (มหาชน) ๒๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนไทย จำกัด (มหาชน) ๒๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนนคร จำกัด (มหาชน) ๒๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนพล จำกัด (มหาชน) ๒๔. บริษัทเงินทุน ธนมาศ จำกัด ๒๕. บริษัทเงินทุน ธนสินธุ์ จำกัด ๒๖. บริษัทเงินทุน ธีรชัยทรัสต์ จำกัด ๒๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นครหลวงเครดิต จำกัด (มหาชน) ๒๘. บริษัทเงินทุน นิธิภัทร จำกัด (มหาชน) ๒๙. บริษัทเงินทุน บางกอกเงินทุน จำกัด ๓๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ แปซิฟิคไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) ๓๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พารา จำกัด (มหาชน) ๓๒. บริษัทเงินทุน พรีเมียร์ จำกัด ๓๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พูลพิพัฒน์ จำกัด (มหาชน) ๓๔. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหาธนกิจ จำกัด (มหาชน) ๓๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหานครทรัสต์ จำกัด (มหาชน) ๓๖. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เมืองทองทรัสต์ จำกัด ๓๗. บริษัทเงินทุน ยูเนี่ยนไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) ๓๘. บริษัทเงินทุน ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) ๓๙. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนลไฟแนนซ์ จำกัด ๔๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ลีลาธนกิจ จำกัด ๔๑. บริษัทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ วอลล์สตรีท จำกัด (มหาชน) ๔๒. บริษัทเงินทุน ศรีธนา จำกัด (มหาชน) ๔๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศรีนคร จำกัด ๔๔.บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศรีมิตร จำกัด (มหาชน) ๔๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามซิตี้ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ๔๖. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามพาณิชย์ทรัสต์ จำกัด ๔๗. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สหธนกิจไทย จำกัด (มหาชน) ๔๘. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อินเตอร์เครดิตแอนด์ทรัสต์ จำกัด ๔๙. บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) ๕๐. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนา จำกัด (มหาชน) ๕๑. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกพัฒน์ จำกัด (มหาชน) ๕๒. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกสิน จำกัด (มหาชน) ๕๓. บริษัทเงินทุน เอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน) ๕๔. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน) ๕๕. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม ซี ซี จำกัด (มหาชน) ๕๖. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด (มหาชน) “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของสถาบันการเงินในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ “เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่มีกฎหมายหรือข้อตกลงในมูลหนี้กำหนดสิทธิในการรับชำระหนี้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้อื่น “เจ้าหนี้สามัญ” หมายความว่า เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันและไม่ใช่เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ และให้รวมถึงเจ้าหนี้มีประกันที่ยอมสละหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้เต็มจำนวน หรือที่บังคับหลักประกันแล้ว และขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ หรือได้ขายทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามวิธีการที่ ปรส. กำหนดแล้วขอรับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ ยกเว้นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งตามกฎหมายแล้วสถาบันการเงินลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ข้อ ๒  วันที่และเวลาที่อ้างถึงในประกาศฉบับนี้ หมายถึงวันที่และเวลาตามมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับประเทศไทย ข้อ ๓  การยื่นคำขอรับชำระหนี้ ๓.๑ เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ต้องยื่นความประสงค์เป็นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินที่ตนเป็นเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลา ๓ (สาม) เดือน นับแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๒ ตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์และแบบที่คณะกรรมการ ปรส. กำหนด ๓.๒ เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้จะต้องตกลงให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่คณะกรรมการ ปรส. กำหนด มิฉะนั้นคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิที่จะไม่พิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้นั้น  ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการ ปรส. จะได้ดำเนินการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก. และตามประกาศฉบับนี้ได้ โดยความยินยอมดังกล่าวจะมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ๓.๒.๑ การยินยอมที่จะไม่ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลยในคดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย หรือคดีแรงงาน หรือคดีภาษีอากร หรือบังคับคดีแก่สถาบันการเงิน รวมทั้งจะไม่เสนอข้อพิพาทที่สถาบันการเงินนั้น ๆ จะต้องรับผิด หรือชดใช้ค่าเสียหาย ต่ออนุญาโตตุลาการในระหว่างเวลาตั้งแต่ยื่นขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ จนถึงเมื่อผลการจัดสรรเงินครั้งแรกเป็นที่สุดเพื่อที่ ปรส. จะได้ดำเนินการจัดสรรเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินชำระคืนแก่เจ้าหนี้และหากได้ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลยอยู่แล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี หรือได้มีการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้วจะดำเนินการถอนฟ้อง หรือถอนการบังคับคดี หรือถอนการดำเนินการในชั้นอนุญาโตตุลาการ แล้วแต่กรณี โดยทันที มิฉะนั้น ให้ถือว่าเจ้าหนี้นั้นตกลงยินยอมสละสิทธิการขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ ๓.๒.๒ การยินยอมรับหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินคืนแก่บรรดาเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน รวมทั้งยินยอมรับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการจัดลำดับชั้นของเจ้าหนี้ตามประกาศนี้ รวมทั้งการกันเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินไว้บางส่วนเพื่อนำมาจัดสรรให้แก่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินในภายหลัง ตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่ปรากฏในประกาศนี้ทุกประการ ๓.๒.๓ การยินยอมให้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ ของสถาบันการเงินที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้สามารถตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้และเอกสารประกอบหนี้ได้ ๓.๒.๔ หลังจากที่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ จนถึงเมื่อผลการจัดสรรเงินครั้งแรกเป็นที่สุด เจ้าหนี้จะไม่ถอนคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ  ทั้งนี้ เพื่อที่ ปรส. จะได้สามารถดำเนินการเพื่อการคำนวณยอดหนี้ของเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินได้โดยไม่ติดขัด ๓.๒.๕ การยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. และ/หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เปิดเผยจำนวนหนี้ที่คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ วินิจฉัยให้เป็นจำนวนหนี้ที่พึงขอรับชำระได้ และสัดส่วนที่จะได้รับชำระหนี้จากการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ ๓.๓ สถาบันการเงินต้องแจ้งกำหนดการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามข้อ ๓.๑ พร้อมแจกจ่ายแบบคำขอรับชำระหนี้และเอกสารที่จำเป็นอื่น ๆ ให้แก่เจ้าหนี้ที่ปรากฏรายชื่อตามทะเบียนของสถาบันการเงินนั้น ๆ และประกาศโฆษณากำหนดดังกล่าวในหนังสือพิมพ์รายวันทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษอย่างน้อยอย่างละ ๑ (หนึ่ง) ฉบับ รวมทั้งติดประกาศดังกล่าว ณ สถานที่ทำการของสถาบันการเงินและผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อนวันที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามข้อ ๓.๑ ๓.๔ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่มีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักร ๓.๔.๑ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่เป็นนิติบุคคลต้องได้รับการรับรองฐานะนิติบุคคลและผู้ลงลายมือชื่อซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ในกรณีที่ไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ให้โนตารีพับลิค หรือแมจิสเตรท หรือบุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นให้อำนาจไว้ เป็นผู้รับรองโดยแนบเอกสารจากทางราชการของประเทศนั้นรับรองว่าโนตารีพับลิคหรือแมจิสเตรทหรือบุคคลอื่นดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจในการรับรองฐานะนิติบุคคลประกอบ ๓.๔.๒ เจ้าหนี้ต่างประเทศต้องแถลงว่า ตนได้รับหรือมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่เป็นลูกหนี้รายเดียวกันนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามีตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของสถาบันการเงินดังกล่าวนั้นแล้วนำมารวมในกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้นในราชอาณาจักร ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๒ (สอง) เดือนนับจากวันที่รับทราบผลการวินิจฉัยคำขอรับชำระหนี้ หากไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าเจ้าหนี้ผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้ ๓.๕ นอกเหนือจากที่เจ้าหนี้มีประกันสามารถรับชำระหนี้ได้ตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด เจ้าหนี้มีประกันอาจเลือกขอรับชำระหนี้ได้โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามวิธีการที่ระบุไว้ในประกาศนี้พร้อมกับแสดงรายละเอียดของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน รวมทั้งตกลงยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. ตรวจและขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ตามที่คณะกรรมการ ปรส. กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก. โดยปลอดภาระผูกพัน และนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันดังกล่าวหลังจากหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการขายและค่าธรรมเนียมของ ปรส. ตาม พ.ร.ก. แล้ว ชำระให้แก่เจ้าหนี้ผู้นั้น หากมีเงินเหลือหลังจากชำระหนี้ ให้นำเงินส่วนที่เหลือรวมเข้ากับกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่เป็นลูกหนี้ หากเงินที่ได้จากการขายไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้รับชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ตามส่วนแบ่งจากการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินลูกหนี้ต่อไปได้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญ ยกเว้นกรณีที่ตามกฎหมายแล้ว สถาบันการเงินลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ๓.๖ ลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน หรือผู้ค้ำประกันร่วม อาจขอรับชำระหนี้ได้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระไว้เต็มจำนวนแล้ว ๓.๗ หนี้ที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ย ๗ (เจ็ด) วันทำการก่อน ๓ (สาม) วันทำการก่อนวันแจ้งผลการจัดสรรเงิน ๓.๘ เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้อาจมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการตามกระบวนการตามประกาศนี้แทนตนเองได้จนเสร็จการ การใดที่ผู้รับมอบหมายหรือผู้รับมอบอำนาจได้กระทำให้ถือว่าเจ้าหนี้ผู้นั้นได้กระทำด้วยตนเอง อนึ่ง ปรส. และสถาบันการเงินตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้รับมอบหมายหรือผู้รับมอบอำนาจดังกล่าว ข้อ ๔  หนี้ที่สามารถขอรับชำระได้ มีดังนี้ ๔.๑ หนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ ๔.๒ หนี้ที่เกิดขึ้นโดยได้รับความยินยอม หรือให้สัตยาบันโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือผู้รับมอบอำนาจของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงหนี้ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนบัตรเงินฝากของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และกองทุนเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ๔.๓ เจ้าหนี้ค้ำประกัน เจ้าหนี้อาวัล หรือเจ้าหนี้ในลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ ก็อาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลหนี้ประธานเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ หรือหนี้ที่มูลหนี้ประธานเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยได้รับความยินยอมหรือให้สัตยาบันโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือผู้รับมอบอำนาจของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น และเป็นมูลหนี้ที่ไม่ต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ๔.๔ ต้องไม่ใช่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ เว้นแต่กรณีหนี้ที่เกิดขึ้นโดยสุจริตซึ่งขาดอายุความในวันที่หรือหลังจากระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ และเจ้าหนี้ได้ดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาสิทธิของตนแล้วและคณะกรรมการ ปรส. เห็นสมควรให้มีสิทธิรับชำระหนี้ ๔.๕ ต้องไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้สถาบันการเงินก่อให้เกิดขึ้นโดยต้องห้ามตามคำสั่งกระทรวงการคลัง เรื่อง การสั่งระงับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ และ ๕ สิงหาคม ๒๔๔๐ ๔.๖ หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระภายในกำหนดเวลาที่ขอรับชำระหนี้ได้ตามประกาศฉบับนี้ ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้  ทั้งนี้ ให้ถือเสมือนว่าหนี้ดังกล่าวครบกำหนดชำระในวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ปรส. จะกำหนด ๔.๗ บรรดาค่าใช้จ่ายต่างในการติดตาม ทวงถาม หรือดำเนินการใด ๆ ให้สถาบันการเงินชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาตามข้อ ๔.๑ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ ข้อ ๕  การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ ๕.๑ คณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ ปรส. ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจในการตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ การตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง คณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการอาจเรียกให้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ และ/หรือส่งมอบพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ เจ้าหนี้ที่ฝ่าฝืนไม่ให้ถ้อยคำ และ/หรือ ไม่นำส่งพยานหลักฐานตามที่คณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการเรียกไปนั้นถือว่าไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากถ้อยคำ และ/หรือพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้และได้แจ้งเหตุนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ ปรส. คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี ล่วงหน้าก่อนเวลานัด อย่างไรก็ดีการเลื่อนเช่นว่านี้กระทำได้ไม่เกิน ๒ (สอง) ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า ๕ (ห้า) วันทำการ  ทั้งนี้ การเลื่อนระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน ๑ (หนึ่ง) เดือนนับจากวันนัดให้ถ้อยคำ/ส่งมอบพยานหลักฐานครั้งแรก ๕.๒ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างไรหรือไม่ เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะกรรมการ ปรส. ได้ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลคำวินิจฉัยที่สถาบันการเงินได้ส่งไปยังเจ้าหนี้นั้น  ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปรส. ให้ถือเป็นที่สุด ๕.๓ เจ้าหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้แล้ว มีสิทธิขอตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ปรส. หรือ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือคณะอนุกรรมการกำหนด โดยทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินที่ตนเป็นเจ้าหนี้ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วันนับแต่วันครบกำหนดการยื่นคำขอรับชำระหนี้ โดยจะได้รับอนุญาตให้มีเวลาในการตรวจสอบดังกล่าวไม่เกิน ๑๐ (สิบ) วัน ๕.๔ เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นต้องทำคำคัดค้านเป็นลายลักษณ์อักษร ชี้แจ้งสภาพและเหตุผลแห่งคำคัดค้านเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินภายใน ๑๐ (สิบ) วันนับจากวันสุดท้ายที่ตนได้รับอนุญาตให้ตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นได้ ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินทำการตรวจสอบคำคัดค้านและทำความเห็นเพื่อเสนอให้คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาคำคัดค้านดังกล่าว  ทั้งนี้ คณะกรรมการ ปรส. มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านโดยให้ยกคำคัดค้านและอนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ได้เต็มตามสัดส่วนแห่งหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระ หรืออนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ได้บางส่วนหรือไม่อนุญาตให้ขอรับชำระหนี้ โดยวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปรส. นี้ให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๖  การประชุมเจ้าหนี้ ๖.๑ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะประกาศเรียกเจ้าหนี้ที่ได้รับการวินิจฉัยให้ได้รับชำระหนี้มาประชุมเพื่อตรวจรับรองผลการจัดสรรเงินตามข้อ ๘ เพื่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ตามประกาศนี้  ทั้งนี้ โดยคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะส่งหนังสือแจ้งวัน เวลา และสถานที่ประชุมให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ (เจ็ด) วัน อนึ่ง เจ้าหนี้ที่ไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวให้ถือว่าทราบผลการประชุมแล้ว การโต้แย้งผลการจัดสรรเงินที่ได้แจ้งให้ทราบในที่ประชุมตามวรรคแรกให้กระทำได้ภายใน ๗ (เจ็ด) วันนับจากวันที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อทำความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปรส. ให้ถือเป็นที่สุด หากเจ้าหนี้ใดไม่ทำการโต้แย้งภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าเจ้าหนี้นั้นไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ และยินยอมให้คณะกรรมการ ปรส. หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ชำระหนี้ตามผลการจัดสรรเงินนั้นได้ ถ้าไม่มีผู้ใดทำการโต้แย้งผลการจัดสรรเงินภายในกำหนดเวลาตามวรรคก่อน ให้ถือว่าผลการจัดสรรเงินนั้นถูกต้องและเป็นที่สุด ๖.๒ ให้ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นประธานในที่ประชุม ข้อ ๗  การจัดสรรเงินตามข้อ ๘ ที่ได้จากการขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้เป็นไปตามลำดับชั้นการชำระหนี้ดังนี้ ๗.๑ เจ้าหนี้ในหนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าหนี้เนื่องจากการดำเนินการตามปกติเพื่อการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ได้อนุมัติแล้ว เช่น ค่าธรรมเนียมศาล ค่าดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ผู้จัดการเฉพาะกิจและที่ปรึกษาเฉพาะกิจ ค่าตอบแทนค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้คำปรึกษาของที่ปรึกษา รวมทั้งค่าวิชาชีพทนายความและผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ปรส. หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นต้น ๗.๒ เจ้าหนี้ในหนี้ค่าภาษีอากรและค่าจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงานที่สถาบันการเงินค้างชำระ ๗.๓ เจ้าหนี้สามัญ ๗.๔ เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ หากมีเงินเหลือจากการชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ตามวรรคก่อน เงินส่วนที่เหลือดังกล่าวจะจัดสรรคืนแก่ผู้ถือหุ้นต่อไป นอกจากนี้ เจ้าหนี้มีประกันสามารถได้รับชำระหนี้ตามข้อ ๓.๕ ข้อ ๘  การจัดสรรเงิน ๘.๑ การจัดสรรเงินชำระคืนแก่เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศฉบับนี้จะชำระคืนในสกุลเงินบาท ๘.๒ คณะกรรมการ ปรส. หรือ คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะพิจารณาจัดสรรเงินเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ตามประกาศนี้ อนึ่ง การชำระหนี้คืนแก่เจ้าหนี้ตามผลการจัดสรรเงินจะดำเนินการภายหลังจากวันที่ประชุมเจ้าหนี้ตามข้อ ๖ โดยไม่ชักช้า สำหรับจำนวนหนี้ใดที่มีการโต้แย้งตามข้อ ๖.๑ วรรคสาม การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินจะกระทำภายหลังจากที่คำโต้แย้งนั้นมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุด ๘.๓ กรณีเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศฉบับนี้หรือเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่ไม่ประสงค์จะรับชำระหนี้ตามลำดับและสัดส่วนแห่งหนี้ที่คณะกรรมการ ปรส. หรือคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ พิจารณาจัดสรรให้ตามประกาศฉบับนี้ คณะกรรมการ ปรส. จะกันเงินตามสัดส่วนแห่งหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เหล่านี้ เพื่อที่จะได้ไปขอรับชำระหนี้ในภายหลังตามขั้นตอนที่คณะกรรมการ ปรส.จะกำหนดต่อไป หรือทำการจัดสรรใช้เงินอีกครั้งตามที่คณะกรรมการ ปรส. เห็นสมควร ข้อ ๙  ความในประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามปกติของสถาบันการเงิน เช่น ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่าภาษี ค่าจ้างแรงงาน ค่าตอบแทน และค่าธรรมเนียมในการประมูลขายทรัพย์สินเพื่อการชำระบัญชี เป็นต้น ซึ่งสถาบันการเงินต้องชำระตามปกติอยู่แล้ว ข้อ ๑๐  กรณีใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้หรือการใดที่ไม่อาจดำเนินการตามประกาศนี้ได้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีไป ข้อ ๑๑[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๑๗/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
320,744
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๒.๖ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๓.๒.๖ ผู้จะซื้อต้องดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์และชำระราคาส่วนที่เหลือให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่ ปรส. หรือ คณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี กำหนดไว้สำหรับแต่ละรายการ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวยกเว้นกรณีตาม ข้อ ๓.๒.๗ ให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัด ในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาส่วนที่เหลือ ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการต่อปีนับจากวันครบกำหนดดังกล่าว จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นโดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ความบกพร่อง หรือการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หากผู้จะซื้อไม่มาดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัย โดยไม่ได้รับการผ่อนผันจากคณะอนุกรรมการ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคแรก ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิการซื้อในอสังหาริมทรัพย์นั้น และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธินำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่” ข้อ ๒  ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔.๓.๕ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย “๔.๓.๕ ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประมูลประสงค์จะชำระราคาด้วยวิธีการอื่น ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. พิจารณาเป็นรายกรณีไป” ข้อ ๓  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๖๘/๒๗ มกราคม ๒๕๔๒
624,921
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน 56 ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สิน ประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงาน จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ วรรคท้าย แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงาน จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน ““ราคากลาง” หมายความว่าราคาที่กำหนดจากราคาตลาดในปัจจุบัน และ/หรือราคาตามบัญชีเป็นเกณฑ์ประกอบ โดยคำนึงถึงอายุการใช้งานและสภาพของรถ  ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือราคาที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔.๑.๕ หรือ ๔.๒.๔ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๒  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๒.๔ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๓.๒.๔ ผู้ซื้อสามารถรับมอบรถได้เมื่อสถาบันการเงินนั้นได้รับชำระราคาขายครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อต้องนำรถออกไปจากสถานที่รับมอบรถภายใน ๗ วัน นับจากวันที่ชำระราคาครบถ้วน หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ทำการมีสิทธิเรียกค่าจอดรถ ๒๐๐ บาทต่อคัน ต่อวัน โดยสถาบันการเงินนั้นและผู้ทำการจะไม่รับรองและรับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่อง การรอนสิทธิ และ/หรือต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกี่ยวกับรถดังกล่าว” ข้อ ๓  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๓.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๓.๓.๒ ในการชำระราคาให้ใช้เงินสด และ/หรือบัตรเครดิต (ผ่านบัญชีผู้ทำการโดยผู้ซื้อต้องรับภาระค่าธรรมเนียมการใช้บัตรดังกล่าว) และ/หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออก (แคชเชียร์เช็ค) สั่งจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือคำสั่งจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์สั่งจ่ายบัญชีของสถาบันการเงินนั้น (ดราฟท์) โดยผู้ซื้อต้องแสดงหลักฐานการโอนเงิน และ/หรือการนำเงิน และ/หรือเช็ค และ/หรือคำสั่งจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์ (ดราฟท์) เข้าบัญชีของสถาบันการเงินแก่ผู้ทำการและสถาบันการเงินนั้น แล้วแต่กรณี” ข้อ ๔  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๔ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงาน จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๓.๔ ค่าธรรมเนียมและ/หรือค่านายหน้าและ/หรือค่าตอบแทน ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระราคารถครบถ้วนจากผู้ซื้อ สถาบันการเงินเจ้าของรถต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาขายเข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. และชำระค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลรถในอัตราร้อยละ ๑ ของราคารถคันที่ขายได้ แต่ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาท และไม่เกินกว่า ๕,๐๐๐ บาทต่อรถหนึ่งคันให้แก่ผู้ทำการ ในกรณีที่เป็นการประมูลรถที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้หรือมีสภาพเป็นซากรถหลายคันในครั้งเดียว (ประมูลเป็นกอง) ให้ผู้ทำการได้รับค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลรถในอัตราร้อยละ ๓ ของราคารถกองที่ขายได้ในครั้งนั้น” ข้อ ๕  ให้ยกเลิกความในข้อ ๔.๑.๔ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงาน จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๔.๑.๔ สถาบันการเงินจะส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารประกอบการจดทะเบียนและลงลายมือชื่อในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์รถแก่ผู้ซื้อภายใน ๑๐ วันทำการ นับแต่ได้รับชำระราคาขายครบถ้วน” ข้อ ๖  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔.๑.๕ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ “๔.๑.๕ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการเสนอต่อประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อพิจารณากำหนดราคากลางใหม่ และให้ผู้ทำการนำรถนั้นออกประมูลใหม่” ข้อ ๗  ให้ยกเลิกความในข้อ ๔.๒.๔ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๔.๒.๔ ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๒.๑ หรือ ๔.๒.๒ และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นเหตุสุดวิสัยตามข้อ ๔.๒.๓ ให้ผู้ทำการเสนอต่อประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อพิจารณากำหนดราคากลางใหม่ และให้ผู้ทำการนำรถนั้นออกประมูลใหม่” ข้อ ๘  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน สุกัญญา/พิมพ์ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ พัสสน/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๓๕/๒๐ เมษายน ๒๕๔๑
325,319
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ และเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์และเงินลงทุนของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้และได้ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ เพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมาการจำหน่ายหลักทรัพย์และเงินลงทุนซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ปรส. “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย “หลักทรัพย์ไม่จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์อื่นนอกเหนือจากหลักทรัพย์จดทะเบียน หลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหลักทรัพย์รัฐบาล “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ออกภายใต้กฎหมายต่างประเทศหรือจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ “หลักทรัพย์รัฐบาล” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเฉพาะ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเฉพาะ “เงินลงทุน” หมายความว่า ส่วนที่ลงทุนในห้างหุ้นส่วน รวมถึงการลงทุนหรือร่วมทุนแบบอื่นที่ไม่อยู่ในลักษณะของการลงทุนในหลักทรัพย์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพฯ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ “ประมูล” หมายความว่า การประมูลโดยวิธีการยื่นซองประกวดราคาและ/หรือการแข่งขันราคาตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ระบุไว้ในประกาศนี้ หรือตามที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะประกาศเป็นครั้งคราว “ผู้จัดการขาย” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ให้เป็นผู้ขายหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนตามประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูลหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคา “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้ หรือผู้ที่แข่งขันราคาได้ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาหรือช่วงของราคาของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ และได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ โดยวิธีการประเมินราคากลางให้คำนึงถึงราคาตลาดในปัจจุบัน และ/หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน และ/หรือ มูลค่าและผลตอบแทนในอนาคต และ/หรือ ความเสี่ยงในการถือครองหลักทรัพย์หรือเงินลงทุน และ/หรือ ปัจจัยอื่น ๆ ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควรเป็นเกณฑ์ประกอบการประเมิน “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “สถาบันการเงินกลุ่ม ๑๖” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ “สถาบันการเงินกลุ่ม ๔๐” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ยกเว้นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ ๒.๑ กรณีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เสนอขายโดยวิธีการประมูลหรือขายผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง หรือวิธีการอื่นตามที่กำหนดโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ซึ่งผ่านการพิจารณาเสนอของคณะอนุกรรมการ ๒.๒ กรณีหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือเงินลงทุนในต่างประเทศ ให้เสนอขายผ่านทางศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องหรือขายโดยวิธีการที่กำหนดโดยกฎหมายของประเทศที่ออกหลักทรัพย์ หรือเงินลงทุนนั้นตั้งอยู่ หรือวิธีการอื่นที่กำหนดโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ซึ่งผ่านการพิจารณาเสนอของคณะอนุกรรมการ ๒.๓ กรณีหลักทรัพย์ไม่จดทะเบียนหรือเงินลงทุน ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัด ข้อห้าม หรือเงื่อนไขในการโอน ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมทุนรายอื่น หรือข้อบังคับของผู้ออกหลักทรัพย์ ให้เสนอขายโดยวิธีการประมูลหรือวิธีการอื่น ตามที่กำหนดโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ซึ่งผ่านการพิจารณาเสนอของคณะอนุกรรมการ ๒.๔ ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ต้องเห็นชอบรายการหลักทรัพย์และเงินลงทุน รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลก่อนวันประมูล ข้อ ๓  การกำหนดราคา ให้ผู้จัดการขายเสนอราคากลางของหลักทรัพย์และเงินลงทุนที่จะประมูลหรือขายให้กับคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอให้ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ให้ความเห็นชอบโดยการพิจารณาและให้ความเห็นชอบดังกล่าวนั้นให้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่สถาบันการเงินจะได้รับเป็นสำคัญ ข้อ ๔  ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๔.๑ ภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในข้อ ๔.๒ ผู้ประมูลอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (ข) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (ค) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (ง) เป็นผู้จัดการขาย หรือ (จ) บุคคลอื่นที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ กำหนด ๔.๒ ผู้ประมูลหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนต้องเป็น (ก) ผู้ที่สามารถรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูลได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูล และ (ข) หากการรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนดังกล่าว จะทำให้ผู้ประมูลเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต้องมีคุณสมบัติหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ผู้ประมูลต้องมีคุณสมบัติหรือได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่นที่กฎหมายกำหนด ตามแต่กรณี ๔.๓ ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ อาจกำหนดคุณสมบัติของผู้ประมูลเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ๔.๔ ผู้ประมูลมีหน้าที่จะต้องตรวจสอบก่อนเข้าประมูลว่าตนเป็นผู้ที่สามารถรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูลได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทั้งปวงของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่เสนอประมูล ในกรณีที่ผู้ซื้อรายใดไม่สามารถรับโอนหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่ประมูลได้มาไม่ว่าในกรณีใด ๆ ภายในเวลาที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ กำหนด ผู้จัดการขายมีสิทธินำหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนดังกล่าวออกประมูลอีกครั้ง  ทั้งนี้ (ก) หากผู้ซื้อได้ชำระเงินให้แก่สถาบันการเงินแล้ว สถาบันการเงินจะคืนเงินค่าซื้อหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนให้กับผู้ซื้อเมื่อได้รับชำระราคาจากผู้ซื้อรายใหม่ครบถ้วน (ข) ในกรณีที่การประมูลครั้งใหม่ได้ราคาสูงสุดน้อยกว่าการประมูลครั้งก่อน ผู้ซื้อรายก่อนต้องรับผิดชอบในส่วนต่างในทุกกรณีไม่ว่าผู้ซื้อจะได้ชำระเงินให้แก่สถาบันการเงินแล้วหรือไม่ (ค) ผู้ซื้อรายก่อนจะต้องชำระเบี้ยปรับให้กับผู้จัดการขายในอัตราร้อยละสองของราคาขายในครั้งก่อน โดยอาจหักจากเงินค่าซื้อหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนที่จะคืนให้ตามข้อ (ก) ข้อ ๕  วิธีการ ๕.๑ วิธีการประมูล ๕.๑.๑ ให้ผู้ประมูลยื่นเอกสารการประมูลตาม รูปแบบ วัน และเวลาที่ผู้จัดการขายกำหนด ๕.๑.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลและเงื่อนไขเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนนั้นเท่าที่ผู้จัดการขายหรือสถาบันการเงินจะจัดหาให้ได้ก่อนการประมูล ๕.๒ วิธีการชำระราคา ๕.๒.๑ กรณีจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหลักทรัพย์ การชำระราคาให้เป็นไปตามวิธีการและระเบียบของการจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้น ๕.๒.๒ กรณีจำหน่ายหลักทรัพย์โดยวิธีการประมูลหรือวิธีอื่น ผู้ซื้อต้องชำระราคาทั้งจำนวนรวมถึงค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในวันโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์นั้น แต่ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดโดยผู้จัดการขาย ๕.๒.๓ ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ภาษี อากรแสตมป์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการโอนและการรับโอนหลักทรัพย์และเงินลงทุน ๕.๒.๔ ในการชำระราคา ให้ใช้เงินสดและ/หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออก (แคชเชียร์เช็ค หรือดร๊าฟท์) สั่งจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินนั้น โดยผู้ซื้อต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์และเงินลงทุนให้แก่ผู้ซื้อเมื่อสถาบันการเงินได้รับชำระเงินโดยครบถ้วน ๕.๓ ผู้ประมูลจะต้องจัดให้มีหลักประกันการประมูลตามที่จะกำหนดในการประมูลแต่ละครั้ง ๕.๔ ให้สถาบันการเงินเจ้าของหลักทรัพย์หรือเงินลงทุนโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาขายเข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๕ วันทำการ นับแต่วันที่สถาบันการเงินนั้นได้รับการชำระราคาขาย ข้อ ๖  ให้ผู้จัดการขายจัดทำรายงานสรุปผลเกี่ยวกับหลักทรัพย์และเงินลงทุนที่ได้จำหน่ายให้กับคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ ทุกวันที่ ๑ และ ๑๖ ของทุกเดือน ข้อ ๗  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๘[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ  ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๖/๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑
311,647
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งแต่งตั้งโดย ปรส. “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ที่ดิน ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ในที่ดิน ทรัพย์และสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว และให้หมายความรวมถึงอาคารชุดและสิทธิต่าง ๆ ในอาคารชุดด้วย “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาดหรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคา “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูล “ผู้จะซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ราคาจะขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้จะซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดโดย ปรส. ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่แต่งตั้งโดย ปรส. โดยคำนึงถึงราคาตามบัญชี ราคาทุน ราคาตลาด ราคาประเมินของทางราชการ ราคาประเมินของผู้ประเมินอิสระ และมูลค่าในเชิงธุรกิจของทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณา และราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนทำการประมูล หรือเป็นราคาที่กำหนดขึ้นตามข้อ ๔.๑.๔, ๔.๒.๔ หรือ ๔.๓.๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์การขาย การขายทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ของสถาบันการเงินจะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคาและให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายทรัพย์สิน ต้องประกาศเกี่ยวกับการขายเพื่อแจ้ง วัน เวลา สถานที่ วิธีประมูล และรายละเอียดตามสมควรก่อนวันประมูลภายในระยะเวลาตามที่ พรก. กำหนด ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการทรัพย์สินและราคากลางของทรัพย์สินที่จะทำการประมูลหรือแข้งขันราคาก่อนทำการประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไขการขาย เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าและได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด (๒) เป็นสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ๓.๑.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนจากการทำการประมูลทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงินตามที่ระบุในประกาศนี้ หรือตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะได้กำหนดโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ๓.๑.๓ การขายทรัพย์สินตามประกาศนี้ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างหรือเป็นผู้มอบหมายผู้ทำการแทน ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้จะซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๒) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๓) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการในการขายทรัพย์สินนั้น ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์ได้ตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เห็นสมควร และการตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่ทำให้อสังหาริมทรัพย์นั้นเสียหายหรือเสื่อมค่าลง ๓.๒.๓ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ก่อนการประมูล การประมูลจะเป็นไปตามสภาพของทรัพย์สินไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อการรอนสิทธิ สภาพของอสังหาริมทรัพย์ และข้อมูลที่ได้แสดงไว้ ๓.๒.๔ ผู้ประมูลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ วิธีการ ข้อจำกัด และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ทำการประมูล และผู้ประมูลจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบว่าในกรณีประมูลได้ซึ่งจะต้องมีการรับโอนอสังหาริมทรัพย์แล้ว ผู้ประมูลมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในฐานะผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ/ผู้ทรงสิทธิหรือไม่ ๓.๒.๕ ผู้จะซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมอากร และค่าใช้จ่ายอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการโอนและการรับโอน  ทั้งนี้ รวมถึงภาษีใด ๆ ซึ่งผู้จะซื้อมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย ๓.๒.๖ ผู้จะซื้อต้องดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์และชำระราคาส่วนที่เหลือให้เสร็จสิ้นภายในเวลา ๖๐ (หกสิบ) วัน นับจากวันที่ประมูลได้ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัด ในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาส่วนที่เหลือ ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการต่อปีนับจากวันครบกำหนด ๖๐ (หกสิบ) วัน นับจากวันที่ประมูลได้ จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นโดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ความบกพร่องหรือการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หากผู้จะซื้อไม่มาดำเนินการรับโอนอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัย โดยไม่ได้รับการผ่อนผันจากคณะอนุกรรมการภายในกำหนด ๖๐ (หกสิบ) วัน นับจากวันที่ประมูลได้ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิการซื้อในอสังหาริมทรัพย์นั้น และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธินำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ๓.๒.๗ กรณีที่อสังหาริมทรัพย์ใด ได้รับการปฏิเสธการรับโอนโดยหน่วยงานของทางราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมิใช่ความผิดของผู้จะซื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้จะซื้อมีหน้าที่จะต้องแจ้งการปฏิเสธการรับโอนเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งหลักฐานการปฏิเสธแก่สถาบันการเงินผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับจากวันที่ปฏิเสธการรับโอนนั้น เมื่อสถาบันการเงินผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้พิจารณาหลักฐานการปฏิเสธแล้ว และเห็นสมควรให้คืนเงินที่ได้รับชำระแก่ผู้จะซื้อ ผู้จะซื้อจะได้รับคืนเงินที่ชำระยกเว้นค่าซองประกวดราคาตามข้อ ๔.๒.๑ และภาษีที่ชำระให้แก่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากผู้ทำการ หรือ สถาบันการเงินนั้น หรือ ปรส. และผู้จะซื้อมีหน้าที่ส่งคืนเอกสารทุกอย่างที่ได้รับจากผู้ทำการหรือสถาบันการเงินภายในระยะเวลาที่สถาบันการเงินนั้นจะกำหนด ๓.๒.๘ กรณีมีเหตุอันควรที่ผู้จะซื้อไม่สามารถดำเนินการตามข้อ ๓.๒.๖ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ผู้จะซื้อทำหนังสือขอผ่อนผันต่อคณะอนุกรรมการ  ทั้งนี้ สถาบันการเงินคงไว้ซึ่งสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดตามข้อ ๓.๒.๖ แม้ว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้ผ่อนผันก็ตาม ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๔ ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทน ๓.๔.๑ ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓.๒.๗ ปรส. มีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมจากการขาย โดยสถาบันการเงินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ (หนึ่ง) ของราคาที่ขายได้เข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินจากผู้จะซื้อครบถ้วน ๓.๔.๒ สถาบันการเงินเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายจ้าง หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ทั้งนี้ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะกำหนดให้ผู้ทำการได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนโดยวิธีการอื่น ซึ่งประกาศวิธีการดังกล่าวก่อนวันประมูล ข้อ ๔  วิธีการขาย เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๑ วิธีการขายโดยขายทอดตลาด ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ และ/หรือ ตามวันและเวลาประมูลที่ ปรส. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ การประมูลจะเริ่มจากราคากลาง โดยที่คณะอนุกรรมการมีสิทธิจะกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลวางหลักประกันการประมูลได้ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นในอัตราครั้งละไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕ (ห้า) ของราคากลางหรือตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐/คณะอนุกรรมการ/ปรส. จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูลให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้จะซื้อ ๔.๑.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา หรือไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาในการขายอสังหาริมทรัพย์ซ้ำตามข้อ ๔.๓.๔ เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในประกาศนี้ ๔.๒ วิธีการขายโดยยื่นซองประกวดราคา ๔.๒.๑ ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลสามารถรับซองประมูลและรับทราบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลได้ตาม วัน เวลา และสถานที่ที่สถาบันการเงิน/ปรส. จะประกาศให้ทราบตาม พรก.  ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการอาจกำหนดให้มีราคาซองและ/หรือหลักประกันการประมูลสำหรับซองประมูลตามที่เห็นสมควร ๔.๒.๒ คณะอนุกรรมการ หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายหรือผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) จะเป็นผู้เปิดซองประมูลและเปรียบเทียบราคาที่ผู้ประมูลเสนอมาทั้งหมด ผู้ประมูลที่ได้เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ที่ประมูลได้  ทั้งนี้ ราคาที่เสนอต้องไม่ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้ ๔.๒.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลมากกว่าหนึ่งรายเสนอราคาสูงสุดเท่ากัน ให้ผู้ทำการเรียกให้ผู้ประมูลรายดังกล่าวมาเสนอราคาใหม่ โดยราคาที่เสนอใหม่นี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่เสนอในครั้งก่อน ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดในครั้งใหม่นี้จะเป็นผู้ที่ประมูลได้ ๔.๒.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคากลางให้ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) นำอสังหาริมทรัพย์นั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่ โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ ๔.๓ วิธีการชำระราคา ๔.๓.๑ ผู้จะซื้อจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายในวันประมูลและวางเงินมัดจำโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส./คณะอนุกรรมการจะอนุญาตเป็นรายกรณีไป ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของราคาจะขายภายใน ๕ วันทำการ นับจากวันที่ประมูลได้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการโดยไม่ชักช้า ในกรณีนี้ ให้ถือว่าหลักประกันการประมูลที่ได้วางไว้ (หากมี) เป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำนี้ ๔.๓.๒ ภายใน ๑๕ (สิบห้า) วัน นับจากวันที่ประมูลได้ ผู้จะซื้อต้องชำระเงินมัดจำอีกส่วนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับเงินมัดจำงวดแรกตามข้อ ๔.๓.๑ ที่ได้ชำระแล้ว เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ของราคาจะขาย โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ทำการได้แจ้งให้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการพร้อมทั้งนัดหมายวันและเวลากับผู้ทำการเพื่อดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมโอนสิทธิและชำระราคาส่วนที่เหลือ ๔.๓.๓ กรณีที่ผู้จะซื้อมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ มิได้ชำระเงินมัดจำตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๓.๒ ให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกค่าปรับจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ต่อปีของเงินที่ต้องชำระตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี ต่ออสังหาริมทรัพย์หนึ่งรายการ นับจากวันครบกำหนดตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น หากผู้จะซื้อมิได้ชำระเงินมัดจำตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องพร้อมเหตุผลอันสมควรเป็นหนังสือแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาดังกล่าว สถาบันการเงินมีสิทธิริบเงินมัดจำได้โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนในการประมูล ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอผ่อนผันดังกล่าว คำตัดสินของคณะอนุกรรมการถือเป็นที่สุด ๔.๓.๔ ในกรณีที่ผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ ให้ถือว่าผู้จะซื้อได้สละสิทธิในการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นและตกลงให้ผู้ทำการนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกขายซ้ำอีก รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธิริบหลักประกันการประมูลด้วย (หากมี) ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑๔๓/๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
307,177
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 บริษัท
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงิน ที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ บริษัท[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ บริษัท ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ในประกาศนี้ “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้และได้ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม “สินทรัพย์หลัก” หมายความว่า สินเชื่อที่เกิดจากการให้สินเชื่อตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ “การประมูล” หมายความว่า การประมูลโดยวิธีการยื่นซองประกวดราคาและ หรือการแข่งขันราคาตามกฎเกณฑ์วิธีการที่ระบุไว้ในประกาศนี้ หรือตามที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ จะประกาศเป็นครั้งคราว “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูล ผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคาหรือผู้เสนอราคา “ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์” หมายความว่า หนังสือแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการจำหน่ายสินทรัพย์แต่ละกลุ่มซึ่งออกโดย ปรส. เป็นคราว ๆ ไป “กลุ่ม” หมายถึง กลุ่มสินทรัพย์ที่นำออกจำหน่ายแต่ละครั้ง ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ ๒.๑ การจำหน่ายสินทรัพย์หลัก ให้กระทำโดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส. กำหนด ๒.๒ หลักเกณฑ์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแบบคำขอรับแฟ้มข้อมูลการจำหน่ายสินทรัพย์ แบบคำขอเข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูล แบบฟอร์มข้อเสนอราคาซื้อและสัญญาขายมาตรฐาน ข้อ ๓  ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๓.๑ ผู้ประมูลและผู้ซื้ออาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. หมายถึง บุคคล หรือองค์กรดังต่อไปนี้ (๑) กรรมการในคณะกรรมการ ปรส. ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ ปรส. คณะอนุกรรมการของ ปรส. และพนักงานของ ปรส. (๒) คณะกรรมการของสถาบันการเงิน ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๓๐ ของ พรก. (๓) ผู้จัดการเฉพาะกิจและที่ปรึกษาเฉพาะกิจ ของสถาบันการเงิน ซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม พรก. (ข) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้กับบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. (๑) (๑.๑) บิดามารดา (๑.๒) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (๑.๓) สามีหรือภรรยา (๑.๔) บุตรหรือบุตรบุญธรรม (๑.๕) สามีหรือภรรยาของบุตรหรือบุตรบุญธรรม (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. หรือบุคคลตาม (๑) ข้างต้น เป็นหุ้นส่วน (๓) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. หรือบุคคลตาม (๑) ข้างต้น เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละ ๓๐ ของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด (๔) บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. หรือบุคคลหรือองค์กรตาม (๑) ถึง (๓) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ ๓๐ ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (๕) บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. หรือบุคคลหรือองค์กรตาม (๑) ถึง (๔) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ ๓๐ ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (๖) นิติบุคคล ซึ่งบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. มีอำนาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทน เว้นแต่องค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. ดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือในการจัดการองค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว (๗) บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่ถือหุ้นในบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปรส. หรือองค์กรใดตามข้อ (๒) ถึง (๖) เป็นจำนวนตั้งแต่ร้อยละ ๑๐ ขึ้นไปไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม (ค) ผู้ประมูลและผู้ซื้อสินทรัพย์ต้องไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับเงินกู้หรือสินเชื่ออื่นจากสถาบันการเงินซึ่งนำสินทรัพย์เข้าประมูล มากกว่าร้อยละ ๑๐ ของราคาตามบัญชี โดยคำนวณจากราคาตามบัญชีทั้งหมดของสินทรัพย์กลุ่มนั้น ๆ ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้ซื้อสินทรัพย์หลักต้องมีฐานะและสิทธิตามกฎหมายและมีศักยภาพทางการเงินเหมาะสมเพียงพอแก่การเข้าร่วมกระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์ โดยที่ ปรส. มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลและผู้ซื้อ ๓.๓ ปรส. อาจกำหนดคุณสมบัติของผู้ประมูลและผู้ซื้อเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๔  วิธีการ ๔.๑ วิธีการประมูล วิธีการประมูลมีขั้นตอนในการดำเนินการตามลำดับ ซึ่งได้ระบุไว้ในข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์แต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ ๔.๑.๑ ขั้นตอนการยื่นแบบคำขอรับแฟ้มข้อมูลการจำหน่ายสินทรัพย์ (๑) ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจะต้องยื่นแบบคำขอรับแฟ้มข้อมูลการจำหน่ายสินทรัพย์ตามแบบที่ ปรส. กำหนด ซึ่งได้กรอกข้อมูลครบถ้วนและลงนามแล้วพร้อมหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมที่ไม่สามารถเรียกคืนได้สำหรับแฟ้มข้อมูลเพื่อการจำหน่ายสินทรัพย์ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ ปรส. กำหนด (๒) ปรส. จะจัดแฟ้มข้อมูลซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ให้แก่ผู้ยื่นแบบคำขอรับแฟ้มข้อมูลภายในระยะเวลาที่ ปรส. กำหนด ๔.๑.๒ ขั้นตอนการยื่นแบบคำขอเข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูล (๑) ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลจะต้องยื่นแบบคำขอเข้าศึกษาข้อมูลตามแบบที่ ปรส. กำหนด ซึ่งได้กรอกข้อมูลครบถ้วนและลงนามแล้ว พร้อมเอกสารที่ระบุไว้ในแบบคำขอเข้าศึกษาข้อมูลภายในระยะเวลาที่ ปรส. กำหนดเพื่อเข้ารับการพิจารณาให้เป็นผู้เสนอราคา (๒) ปรส. จะแจ้งให้ผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลทราบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าศึกษาข้อมูลและมีสิทธิเป็นผู้เสนอราคาหรือไม่ภายในระยะเวลาที่ ปรส. กำหนดหลังจากได้รับแบบคำขอเข้าศึกษาข้อมูล (๓) ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าศึกษาข้อมูลจะต้องชำระค่าธรรมเนียมที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ และวางเงินประกันตามจำนวนที่ ปรส. กำหนดเพื่อการเข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูล ๔.๑.๓ ขั้นตอนการเข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูล (๑) ผู้เข้าศึกษาสามารถเข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูลได้หลังจากที่ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมการเข้าศึกษาข้อมูลและเงินประกันการเข้าศึกษาข้อมูลแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ ปรส. กำหนด (๒) ผู้ที่จะเข้าใช้ห้องข้อมูลจะต้องเป็นผู้สนใจเข้าร่วมประมูลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ห้องเก็บข้อมูลแล้วเท่านั้น โดยจะต้องทำการนัดหมายเวลาการเข้าใช้ห้องเก็บข้อมูลกับแผนกศูนย์ข้อมูล เป็นเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ ปรส. กำหนด ก่อนวันที่ต้องการเข้าใช้ห้องเก็บข้อมูล ๔.๑.๔ ขั้นตอนการเสนอราคา (๑) ผู้เสนอราคาจะต้องกรอกแบบฟอร์มข้อเสนอราคาซื้อตามแบบที่ ปรส. กำหนดและยื่นต่อ ปรส. ภายในวันที่ ปรส. กำหนด (๒) เมื่อยื่นแบบฟอร์มข้อเสนอราคาซื้อ ผู้เสนอราคาจะต้องแนบเงินประกันการประมูลกับแบบฟอร์มข้อเสนอราคาซื้อด้วย ผู้เสนอราคาที่ไม่ชนะการประมูลจะได้รับชำระคืนเงินประกันการประมูลภายในระยะเวลาที่ ปรส. กำหนด (๓) การชำระราคางวดแรกในวันทำสัญญาและการชำระราคาส่วนที่เหลือในวันปิดการจำหน่าย อาจกระทำได้โดยใช้เงินสด หรือตราสารทางการเงินตามที่ ปรส. กำหนด (๔) ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดสำหรับกลุ่มสินทรัพย์จะเป็นผู้ชนะการประมูลเว้นแต่บางกรณีที่ ปรส. จะกำหนดต่อไป ผู้ประมูลสามารถเสนอซื้อเพียงหนึ่งกลุ่มหรือมากกว่าก็ได้ (๕) หาก ปรส. พิจารณาแล้วพบว่ามีการเสนอราคาที่มีมูลค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก ตั้งแต่ ๒ ข้อเสนอขึ้นไป ปรส. สงวนสิทธิที่จะติดต่อผู้ประมูลที่ได้ยื่นแบบฟอร์มข้อเสนอราคาซื้อมา และให้ผู้เสนอราคาเหล่านั้นได้เสนอราคาใหม่หรือยืนยันการเสนอราคาเดิม  ทั้งนี้ ปรส.จะระบุกำหนดเวลาของการยื่นเสนอราคาครั้งใหม่ หลังจากการเสนอราคาใหม่ ปรส. จะประเมินผลการเสนอราคาดังกล่าว และประกาศผลการประมูลต่อไป (๖) เมื่อสามารถระบุตัวผู้ชนะการประมูลได้แล้ว ปรส. จะแจ้งผลให้ผู้ชนะการประมูลทราบโดยเร็วที่สุด ๔.๑.๕ ขั้นตอนการปิดการจำหน่าย (๑) ผู้เสนอราคาที่ทาง ปรส. แจ้งให้ทราบว่าเป็นผู้ชนะการประมูลสำหรับกลุ่มสินทรัพย์หลักหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกลุ่มขึ้นไป และสามารถจะเข้าทำสัญญาขายมาตรฐานตามแบบที่ ปรส. กำหนด (๒) หากผู้ชนะการประมูลต้องการโอนสิทธิที่จะทำสัญญาขายมาตรฐานให้ผู้อื่น ผู้ชนะการประมูลจะต้องให้การค้ำประกันที่ไม่อาจเพิกถอนได้ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญาขายมาตรฐาน (๓) ผู้ชนะการประมูลจะต้องเข้าครอบครองเอกสารเกี่ยวกับสินทรัพย์หลักภายในระยะเวลาที่ ปรส. กำหนดหลังวันปิดการจำหน่าย ๔.๒ วิธีการชำระราคา ๔.๒.๑ ในวันทำสัญญา ปรส. จะถือเอาเงินประกันที่สามารถเรียกคืนได้ทั้งจำนวนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อ ๔.๒.๒ การชำระเงินสามารถชำระผ่านทางธนาคาร โดยชำระผ่านบัญชีธนาคารที่ ปรส. กำหนด หรือชำระโดยเช็คธนาคาร ๔.๒.๓ ผู้ชนะการประมูลสามารถใช้ตราสารทางการเงินที่ ปรส. กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคา ในวันทำสัญญาซื้อขาย และในวันปิดการจำหน่ายสำหรับกรณีตราสารทางการเงินที่เป็นพันธบัตรรัฐบาลไทยต้องเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่จดทะเบียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่ ปรส. กำหนด ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา อย่างไรก็ดี ปรส. สงวนสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการจำหน่ายตามข้อ ๔  ทั้งนี้ จะได้มีการแจ้งให้ผู้ประมูลทราบในข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ข้อ ๖  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๔/๕ มิถุนายน ๒๕๔๑
328,513
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท เรือของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท เรือ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทเรือของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “เรือ” หมายถึง ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ซึ่งสถาบันการเงินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์และมีสิทธิในการขาย “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาดหรือแข่งขันราคา “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูล “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดโดย ปรส. โดยคำนึงถึงราคาตามบัญชี ราคาทุน ราคาตลาด ราคาประเมินของทางราชการ ราคาประเมินของผู้ประเมินอิสระ และมูลค่าในเชิงธุรกิจของทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณา และราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนทำการประมูล หรือเป็นราคาที่กำหนดขึ้นตามข้อ ๔.๑.๔, ๔.๒.๔ หรือ ๔.๓.๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์การขาย การขายทรัพย์สินประเภทเรือ ของสถาบันการเงินจะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคาแบบยื่นซองประกวดราคา และให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายทรัพย์สิน ต้องประกาศเกี่ยวกับการขาย เพื่อแจ้งวัน เวลา สถานที่ วิธีประมูล และรายละเอียดตามสมควรก่อนวันประมูลภายในระยะเวลาตามที่ พรก. กำหนด ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการทรัพย์สินและราคากลางของทรัพย์สินที่จะทำการประมูลหรือแข่งขันราคาก่อนทำการประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไขการขาย เว้นแต่ ปรส./สถาบันการเงิน จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า และได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด (๒) เป็นสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ๓.๑.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนจากการทำการประมูลเรือให้กับสถาบันการเงินตามที่ระบุในประกาศนี้ หรือตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะได้กำหนดโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเท่านั้น ๓.๑.๓ การขายทรัพย์สินตามประกาศนี้ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างหรือเป็นผู้มอบหมายผู้ทำการแทน ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๒) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๓) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการในการขายทรัพย์สินนั้น (๕) บุคคลอื่นตามที่ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะกำหนด ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบเรือได้ตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เห็นสมควร และการตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่ทำให้เรือนั้นเสียหายหรือเสื่อมค่าลง ๓.๒.๓ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเรือก่อนการประมูล การประมูลจะเป็นไปตามสภาพของเรือไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อการรอนสิทธิ สภาพของเรือ และข้อมูลที่ได้แสดงไว้ ๓.๒.๔ ผู้ประมูลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ วิธีการ ข้อจำกัด และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรือที่ทำการประมูล และผู้ประมูลจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบว่าในกรณีประมูลได้ซึ่งจะต้องมีการรับโอนเรือแล้ว ผู้ประมูลมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในฐานะผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ ๓.๒.๕ ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม อากร และค่าใช้จ่ายอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการโอนและการรับโอนกรรมสิทธิ์เรือ ๓.๒.๖ ผู้ซื้อต้องชำระราคาส่วนที่เหลือให้เสร็จสิ้นภายในเวลา ๕ (ห้า) วันนับจากวันที่ประมูลได้ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัด ในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ต่อปี ในราคาส่วนที่เหลือ นับจากวันครบกำหนด ๕ (ห้า) วันนับจากวันที่ประมูลได้ จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ผู้ซื้อต้องดำเนินการทำนิติกรรมรับโอนเรือและนำเรือออกจากสถานที่จอดเรือภายในเวลา ๑๕ (สิบห้า) วันนับจากวันที่ประมูล โดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ความบกพร่อง หรือการรอนสิทธิใด ๆ ที่เกี่ยวกับเรือดังกล่าว ๓.๒.๗ กรณีมีเหตุอันควรที่ผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการตามข้อ ๓.๒.๖ ได้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด ให้ผู้ซื้อทำหนังสือขอผ่อนผันต่อ ปรส.  ทั้งนี้ สถาบันการเงินคงไว้ซึ่งสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดและค่าจอดเรือตามข้อ ๓.๒.๖ แม้ว่า ปรส. พิจารณาเห็นสมควรให้ผ่อนผันก็ตาม ๓.๒.๘ ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในการชำระค่าจอดเรือ (หากมี) ให้แก่เจ้าของสถานที่จอดเรือในช่วงระยะเวลาที่ผิดนัดนับจากวันที่ประมูลได้ ในกรณีที่สถาบันการเงินต้องชำระค่าจอดเรือไปก่อน ผู้ซื้อต้องชดใช้เงินค่าจอดเรือดังกล่าวให้แก่สถาบันการเงินรวมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ต่อปี ในจำนวนเงินที่สถาบันการเงินได้ชำระไป โดยไม่ชักช้า หากผู้ซื้อไม่ดำเนินการรับโอนเรือ ไม่ว่าเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัย โดยไม่ได้รับการผ่อนผันจาก ปรส. ภายในกำหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน นับจากวันที่ประมูลได้ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิการซื้อในเรือนั้น และไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธินำเรือนั้นออกประมูลใหม่ ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๔ ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทน ๓.๔.๑ ปรส. มีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมจากการขาย โดยสถาบันการเงินเจ้าของเรือจะต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ (หนึ่ง) ของราคาที่ขายได้เข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินจากผู้ซื้อครบถ้วน ๓.๔.๒ สถาบันการเงินเจ้าของเรือต้องชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลเรือ ให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐  ทั้งนี้ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ มีสิทธิจะกำหนดให้ผู้ทำการได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทนโดยวิธีการอื่นซึ่งจะประกาศวิธีการดังกล่าวก่อนวันประมูล ข้อ ๔  วิธีการขาย เว้นแต่ ปรส./สถาบันการเงิน จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๑ วิธีการขายโดยขายทอดตลาด ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ และ/หรือ ตามวันและเวลาประมูลที่ ปรส. กำหนด แล้วแต่กรณี โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประมูลเรือของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ การประมูลจะเริ่มจากราคากลาง โดยที่ ปรส. มีสิทธิจะกำหนดให้ผู้เข้าร่วมการประมูลวางหลักประกันการประมูลได้ตามที่เห็นสมควร ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นในอัตราครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) หรือตามอัตราที่ได้รับความเห็นชอบของ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูลให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้ซื้อ ๔.๑.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา หรือไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาในการขายเรือซ้ำตามข้อ ๔.๓.๔ เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะ ขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการนำเรือนั้นเสนอต่อ ปรส. เพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำเรือนั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ ๔.๒ วิธีการขายโดยยื่นซองประกวดราคา ๔.๒.๑ ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลสามารถรับซองประมูลและรับทราบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลได้ตาม วัน เวลา และสถานที่ที่สถาบันการเงิน/ปรส จะประกาศให้ทราบตาม พรก.  ทั้งนี้ ปรส. สถาบันการเงินอาจกำหนดให้มีราคาซองและ/หรือหลักประกันการประมูลสำหรับซองประมูลตามที่เห็นสมควร ๔.๒.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) จะเป็นผู้เปิดซองประมูล และเปรียบเทียบราคาที่ผู้ประมูลเสนอมาทั้งหมด ผู้ประมูลที่ได้เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ที่ประมูลได้  ทั้งนี้ ราคาที่เสนอต้องไม่ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้ ๔.๒.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลมากกว่าหนึ่งรายเสนอราคาสูงสุดเท่ากัน ให้ผู้ทำการเรียกให้ผู้ประมูลรายดังกล่าวมาเสนอราคาใหม่ โดยราคาที่เสนอใหม่นี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่เสนอในครั้งก่อน ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดในครั้งใหม่นี้จะเป็นผู้ที่ประมูลได้ ๔.๒.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคากลาง ให้ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๒) นำเรือนั้นเสนอต่อ ปรส. เพื่อพิจารณากำหนดราคากลางขึ้นใหม่โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำเรือนั้นออกประมูลใหม่ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกาศนี้ ๔.๓ วิธีการชำระราคา เว้นแต่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๓.๑ ผู้ซื้อจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายในวันประมูลและวางเงินมัดจำเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คหรือคำสั่งจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์ (ดราฟท์) หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะอนุญาตเป็นรายกรณีไป ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ (สิบห้า) ของราคากลาง แต่ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท) ภายในวันที่ประมูลได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าหลักประกันการประมูลที่ได้วางไว้ (หากมี) เป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำนี้ และผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะต้องนำเงินดังกล่าวทั้งจำนวนเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินพร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินโดยไม่ชักช้า ๔.๓.๒ ภายใน ๕ (ห้า) วันนับจากวันที่ประมูลได้ผู้ซื้อต้องชำระเงินส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยชำระเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คหรือคำสั่งจ่ายเงินของธนาคารพาณิยช์ ณ สถานที่ที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของเรือที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้พร้อมนำส่งต้นฉบับหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินโดยไม่ชักช้า ๔.๓.๓ กรณีที่ผู้ซื้อมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๓.๒ ให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกค่าปรับจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๒๕ (ยี่สิบห้า) ต่อปี ในเงินที่ต้องชำระ นับจากวันครบกำหนดตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น หากผู้ซื้อมิได้ชำระเงินตามข้อ ๔.๓.๒ และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องพร้อมเหตุผลอันสมควรเป็นหนังสือแก่สถาบันการเงินและผู้ทำการภายในระยะเวลาดังกล่าว สถาบันการเงินมีสิทธิริบเงินมัดจำได้โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนในการประมูล ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ ๔.๓.๔ ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๓.๑ หรือ ๔.๓.๒ ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในการซื้อเรือนั้นและตกลงให้ผู้ทำการนำเรือนั้นออกขายซ้ำอีก รวมทั้งตกลงให้สถาบันการเงินมีสิทธิริบหลักประกันการประมูลด้วย (หากมี) ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินเสนอต่อ คณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑]  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๖/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
318,861
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่าของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท ศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ออกข้อกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๓ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๓.๓ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง” ข้อ ๒  ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๔.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๓.๔.๒ สถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินต้องชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนการดำเนินการให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ทั้งนี้ ปรส./ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ อาจกำหนดให้ผู้ทำการได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนโดยวิธีการอื่น โดยจะประกาศวิธีการดังกล่าวก่อนวันประมูล” ข้อ ๓  ให้ยกเลิกความในข้อ ๔.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน “๔.๒ วิธีการชำระราคา เว้นแต่ ปรส. โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๒.๑ กรณีที่ทรัพย์สินราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อรายการผู้ซื้อต้องชำระราคาเป็นเงินสด หรือบัตรเครดิตโดยผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการใช้บัตร หรือเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) หรือวิธีการอื่นที่ ปรส. อนุญาตเป็นรายกรณี ทั้งจำนวนในวันที่ประมูลได้ ๔.๒.๒ กรณีที่ทรัพย์สินราคาสูงกว่า ๑๐,๐๐๐ บาทต่อรายการให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายและวางมัดจำเป็นเงินสด หรือบัตรเครดิตโดยผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการใช้บัตร หรือเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) หรือวิธีการอื่นที่ ปรส. อนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของราคาขายแต่ต้องไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ บาท และผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะต้องนำเงินดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในวันทำการแรกของธนาคารนับจากวันที่ประมูลได้ พร้อมทั้งนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า ๔.๒.๓ ภายใน ๗ วันทำการของธนาคารนับจากวันที่ประมูลได้ผู้ซื้อต้องชำระราคาส่วนที่เหลือทั้งหมดของราคาขาย โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้พร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ซื้อยินยอมให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกเก็บค่าเสียหายจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๑.๕ ของราคาขายต่อทรัพย์สินหนึ่งรายการต่อวัน หรือตามอัตราที่จะได้กำหนดขึ้นโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม หากผู้ซื้อไม่ชำระเงินตามวรรคก่อนไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัยภายใน ๓๐ วันนับจากวันที่ประมูลได้ ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้น และไม่ติดใจเรียกร้องเอาคืนเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด ๔.๒.๔ กรณีที่ผู้ซื้อมิได้ชำระราคาส่วนที่เหลือและมิได้แจ้งเหตุข้ดข้องอันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่ผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๒.๓ วรรคแรก ให้สถาบันการเงินมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ ๔.๒.๕ ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๒.๒ หรือ ๔.๒.๓ และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องตามข้อ ๔.๒.๔ ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้น และยินยอมให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้ง โดยให้ใช้ราคากลางใหม่ที่ผ่านการพิจารณาได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” ข้อ ๔  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓๗/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑
302,225
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่าของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ราย
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท ศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะ หรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภท ศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  คำนิยามในประกาศนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงเป็นอย่างอื่น “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินการได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าว “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการจำหน่ายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่า ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย ปรส. “ศิลปวัตถุ” หมายความว่า วัตถุที่มีคุณค่าทางศิลปะ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ ภาพจำลอง รูปปั้น รูปแกะสลัก รูปหล่อ รูปจำลอง เป็นต้น และให้รวมถึงอุปกรณ์และสิ่งประกอบของวัตถุดังกล่าวด้วย “วัตถุมงคล” หมายความว่า วัตถุที่เป็นสิ่งเคารพและสักการะของบุคคล “เหรียญ” หมายความว่า เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึกซึ่งผลิตในวโรกาสหรือโอกาสพิเศษ เหรียญกษาปณ์เก่าที่เลิกใช้หรือหยุดผลิตแล้ว หรือเหรียญที่มีลักษณะพิเศษอันเป็นที่นิยมของนักสะสม “ธนบัตร” หมายความว่า ธนบัตรที่ระลึกซึ่งผลิตในวโรกาสหรือโอกาสพิเศษ ธนบัตรเก่าที่เลิกใช้หรือหยุดผลิตแล้ว หรือธนบัตรที่มีลักษณะพิเศษอันเป็นที่นิยมของนักสะสม เช่น ฉบับที่มีเลขเดียวกันหรือเรียงกัน เป็นต้น “วัตถุมีค่า” หมายความว่า ของเก่าหรือของอันเป็นที่นิยมของนักสะสม หรือทรัพย์สินที่มีคุณค่าหรือราคาซึ่งมิได้รวมอยู่ในความหมายของศิลปวัตถุ วัตถุมลคล เหรียญ ธนบัตร เช่น อัญมณี เครื่องเงิน เครื่องทอง เขาสัตว์ กระจกประดับ เครื่องแก้วเจียระไน นาฬิกาเก่า เป็นต้น “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาดหรือแข่งขันราคา “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลหรือผู้ที่จัดให้มีการแข่งขันราคาตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูลหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคา “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้หรือแข่งขันราคาได้ “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดโดยผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ โดยคำนึงถึงราคาตามบัญชี ราคาทุน ราคาตลาด คุณค่าทางศิลปะ และคุณค่าอันควรตามประเพณีนิยมของทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ประกอบ ราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ก่อนทำการประมูล หรือเป็นราคาที่กำหนดขึ้นตามข้อ ๔.๑.๔ หรือ ๔.๒.๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ การขายทรัพย์สินประเภทศิลปวัตถุ วัตถุมงคล เหรียญ ธนบัตร และวัตถุมีค่าของสถาบันการเงินจะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผย หรือแข่งขันราคา และให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายทรัพย์สิน ต้องประกาศลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย ๑ ฉบับ เพื่อแจ้งวัน เวลา สถานที่และวิธีประมูลก่อนวันประมูลภายในระยะเวลาตามสมควร ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการทรัพย์สินและราคากลางของทรัพย์สินที่จะทำการประมูลหรือแข่งขันราคาก่อนทำการประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไข ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า และ/หรือ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ไม่ได้ห้ามทำการค้าตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และ/หรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด (๒) สถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ อาจมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนสถาบันการเงินนั้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ๓.๑.๒ ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนจากการทำการประมูลทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงิน ตามที่ระบุในประกาศนี้เท่านั้น ๓.๑.๓ ผู้ทำการต้องจัดระบบรักษาความปลอดภัยและประกันภัยตามสภาพแห่งทรัพย์สิน โดยผู้ทำการเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายระบบรักษาความปลอดภัย ค่าประกันภัย รวมทั้งค่าขนส่งด้วย ๓.๑.๔ ให้สถาบันการเงินเป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการโดยประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง หรือเป็นผู้มอบหมายผู้ทำการแทน ๓.๑.๕ ผู้ทำการต้องพิจารณาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของทางราชการเข้าตรวจทรัพย์สินก่อนการประมูลว่าทรัพย์สินดังกล่าวสามารถนำออกประมูลได้หรือไม่ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่จะประมูล แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) เป็นกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงานของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๒) เป็นกรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๓) เป็นผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการ ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบสภาพทรัพย์สินได้ตามประเพณีปฏิบัติของการประมูล หรือตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร แต่ต้องไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเสียหายหรือเสื่อมค่าลง ๓.๒.๓ ผู้ประมูลมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินจากผู้ทำการก่อนการประมูล การประมูลเป็นไปตามสภาพของทรัพย์สินไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อการรอนสิทธิ สภาพของทรัพย์สิน และข้อมูลที่ผู้ทำการได้แสดงไว้ ๓.๒.๔ ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมภาษี ค่าขนส่ง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบและการรับมอบ รวมทั้งการโอนและการรับโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน ๓.๒.๕ ผู้ซื้อต้องรับมอบทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นภายในเวลา ๔ วันทำการ นับจากวันที่สถาบันการเงินนั้นได้รับชำระราคาขายครบถ้วนแล้ว หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวให้ผู้ทำการหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดในอัตราร้อยละ ๑๐ ของราคาขาย แต่ไม่เกิน ๕๐๐ บาท ต่อรายการต่อวัน โดยผู้ทำการหรือสถาบันการเงินนั้นจะไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่อง การสูญหาย และ/หรือ ความเสียหายใด ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากผู้ซื้อไม่มารับมอบทรัพย์สิน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รวมทั้งเหตุสุดวิสัยภายในกำหนด ๓๐ วัน นับจากวันที่ชำระราคาขายครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้น และไม่ติดใจเรียกร้องเอาคืนเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด รวมทั้งยินยอมให้สถาบันการเงินมีสิทธินำทรัพย์สินนั้นออกประมูลใหม่ ๓.๒.๖ ผู้ประมูลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เข้าประมูล เช่น กฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นต้น ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายและการชำระราคา ๓.๓.๑ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๓.๒ ในการชำระราคาให้ใช้เงินสด และ/หรือ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินนั้น โดยผู้ซื้อต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้น แล้วแต่กรณี ๓.๔ ค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือ ค่าตอบแทน ๓.๔.๑ ปรส. มีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียม โดยสถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาที่ขายได้เข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินจากผู้ซื้อครบถ้วน ๓.๔.๒ สถาบันการเงินเจ้าของทรัพย์สินต้องชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลทรัพย์สินให้แก่ผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) ตามอัตราที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ข้อ ๔  วิธีการ ๔.๑ วิธีประมูล ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ และ/หรือ ตามวันและเวลาประมูลที่ ปรส. กำหนด แล้วแต่กรณี ผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประมูลทรัพย์สินของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประมูลที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ ให้เริ่มการประมูลจากราคากลาง ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นครั้งละไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของราคากลาง หรือตามอัตราที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้ซื้อ ๔.๑.๔ กรณีที่ไม่มีผู้ประมูลเสนอราคา หรือไม่มีผู้ประมูลเสนอราคาในการขายทรัพย์สินซ้ำตามข้อ ๔.๒.๕ เป็นเหตุให้ผู้ทำการไม่สามารถแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณ หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาราคากลางอีกครั้ง โดยราคากลางใหม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ และให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นออกประมูลใหม่ ๔.๒ วิธีการชำระราคา เว้นแต่คณะอนุกรรมการโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น ๔.๒.๑ กรณีที่ทรัพย์สินราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อรายการ ผู้ซื้อต้องชำระราคาทั้งจำนวนเป็นเงินสดในวันที่ประมูลได้ ๔.๒.๒ กรณีที่ทรัพย์สินราคาสูงกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อรายการ ให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำเป็นเงินสดซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของราคาขาย แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ บาท และผู้ทำการตามข้อ ๓.๑.๑ (๑) จะต้องนำเงินดังกล่าวทั้งจำนวนเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในวันทำการแรกของธนาคารนับจากวันที่ประมูลได้ พร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า ๔.๒.๓ ภายใน ๔ วันทำการของธนาคาร นับจากวันที่ประมูลได้ ผู้ซื้อต้องชำระราคาส่วนที่เหลือทั้งหมดของราคาขาย โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้พร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า ๔.๒.๔ กรณีที่ผู้ซื้อมิได้ชำระราคาส่วนที่เหลือและมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง อันเป็นกรณีสุดวิสัยแก่ผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๒.๓ ให้สถาบันการเงินริบเงินมัดจำได้โดยชำระค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนในการประมูลตามที่ระบุไว้ในข้อ ๓.๔.๒ แก่ผู้ทำการ ๔.๒.๕ ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๒.๒ หรือ ๔.๒.๓ และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องตามข้อ ๔.๒.๔ ให้ถือว่าผู้ซื้อได้สละสิทธิในทรัพย์สินนั้นและยินยอมให้ผู้ทำการนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้ง โดยให้ถือว่าราคากลางคือราคาขายที่ขายแก่ผู้ซื้อในครั้งก่อน ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินเสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๑/๑๘ มีนาคม ๒๕๔๑
302,224
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๕ (สมัยวิสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวและในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยวิสามัญ) วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ชวน  หลีกภัย นายกรัฐมนตรี พัสสน/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๘/๔ มิถุนายน ๒๕๔๑
302,223
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน 56 ราย
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขายทรัพย์สินประเภทรถ ของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ จำนวน ๕๖ ราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายทรัพย์สินประเภทรถของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานจำนวน ๕๖ ราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ในประกาศนี้ “ปรส.” หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่คณะกรรมการ ปรส. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแทนสถาบันดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ “พรก.” หมายความว่า พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ “คณะกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า คณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา ๓๐ แห่ง พรก. เพื่อดำเนินการแทนสถาบันการเงินได้ทุกประการและทำการชำระบัญชีสถาบันการเงิน “ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๐ “ขาย” หมายความว่า การขายตามวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ประมูล” หมายความว่า จัดให้มีการประมูลโดยวิธีขายทอดตลาด “ผู้ทำการ” หมายความว่า ผู้ดำเนินการจัดประมูลหรือผู้ที่จัดให้มีการแข่งขันราคาตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในประกาศนี้ “รถ” หมายความว่า รถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่สถาบันการเงินมีกรรมสิทธิ์  ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงรถที่ผู้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วน “ผู้ประมูล” หมายความว่า ผู้เข้าร่วมการประมูล หรือผู้เข้าร่วมการแข่งขันราคา “ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้ที่ประมูลได้ “ราคาขาย” หมายความว่า ราคาที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาที่กำหนดจากราคาตลาดในปัจจุบัน และ/หรือราคาตามบัญชีเป็นเกณฑ์ประกอบ โดยคำนึงถึงอายุการใช้งานและสภาพของรถ  ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ หรือราคาที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔.๒.๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒  หลักเกณฑ์ การขายรถของสถาบันการเงิน จะกระทำได้โดยวิธีเปิดประมูลโดยเปิดเผยหรือแข่งขันราคาเท่านั้น และให้ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละหนึ่งของราคาที่ขายได้ สถาบันการเงินที่จะขายรถ ต้องประกาศลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย ๑ ฉบับ เพื่อแจ้งวัน เวลา สถานที่ทำการประมูล ก่อนวันที่ทำการประมูลไม่น้อยกว่า ๗ วัน ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบรายการรถและราคากลางของรถที่จะทำการประมูลก่อนวันประมูล ข้อ ๓  เงื่อนไข ๓.๑ ผู้ทำการ ๓.๑.๑ ผู้ทำการจะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพการขายทอดตลาดและค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า และต้องเป็นผู้ที่ได้วางหลักประกันการประมูลตามเกณฑ์ที่ ปรส. กำหนด ๓.๑.๒ ผู้ทำการมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมและ/หรือค่านายหน้าและ/หรือค่าตอบแทนจากสถาบันการเงินในการประมูลรถตามที่ระบุในประกาศนี้ ๓.๑.๓ ผู้ทำการต้องจัดให้มีสถานที่จอดรถพร้อมระบบการรักษาความปลอดภัยและประกันอัคคีภัยสำหรับรถโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากที่ระบุตามข้อ ๓.๑.๒ แต่ประการใด ๓.๑.๔ ให้ประธานกรรมการตามมาตรา ๓๐ เป็นผู้ว่าจ้างผู้ทำการ ๓.๒ ผู้ประมูลและผู้ซื้อ ๓.๒.๑ ผู้ประมูลอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมิใช่บุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถคันที่ประมูล (๒) กรรมการ พนักงาน ของ ปรส. รวมถึงผู้ปฏิบัติงานให้แก่ ปรส. (๓) กรรมการตามมาตรา ๓๐ ของสถาบันการเงินนั้น (๔) ผู้จัดการเฉพาะกิจหรือที่ปรึกษาเฉพาะกิจของสถาบันการเงินนั้น (๕) ผู้ทำการหรือตัวแทนของผู้ทำการ ๓.๒.๒ ผู้ประมูลมีสิทธิตรวจสอบสภาพรถและข้อมูลที่ผู้ทำการได้แสดงไว้ที่ตัวรถก่อนทำการประมูล การประมูลเป็นไปตามสภาพรถไม่ว่าจะเห็นประจักษ์หรือไม่ โดยสถาบันการเงินและผู้ทำการไม่รับรองและไม่รับผิดชอบต่อสภาพของรถและข้อมูลที่ผู้ทำการได้แสดงไว้ ๓.๒.๓ ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวซึ่งค่าธรรมเนียมภาษี ค่าปรับรวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนโอนและการรับโอนกรรมสิทธิ์รถ ๓.๒.๔ ผู้ซื้อสามารถรับมอบรถได้เมื่อสถาบันการเงินนั้นได้รับชำระราคาขายครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อต้องนำรถออกไปจากสถานที่รับมอบรถภายใน ๔ วันนับจากวันที่ประมูลได้ หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ทำการมีสิทธิเรียกค่าจอดรถ ๒๐๐ บาท ต่อคัน ต่อวัน โดยสถาบันการเงินนั้นและผู้ทำการจะไม่รับรองและรับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่อง การรอนสิทธิ และ/หรือต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกี่ยวกับรถดังกล่าว ๓.๓ ราคาที่ประมูลขายและการชำระราคา ๓.๓.๑ ราคาที่ประมูลขายจะต้องไม่ต่ำกว่าราคากลาง ๓.๓.๒ ในการชำระราคาให้ใช้เงินสด และ/หรือบัตรเครดิต (ผ่านบัญชีผู้ทำการโดยผู้ซื้อต้องรับภาระค่าธรรมเนียมการใช้บัตรดังกล่าว) และ/หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้ออก (แคชเชียร์เช็ค) สั่งจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการเงินนั้น และ/หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินนั้นโดยผู้ซื้อต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินแก่ผู้ทำการและสถาบันการเงินนั้น แล้วแต่กรณี ๓.๔ ค่าธรรมเนียมและ/หรือค่านายหน้าและ/หรือค่าตอบแทน ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระราคารถครบถ้วนจากผู้ซื้อ สถาบันการเงินเจ้าของรถต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาขายเข้าบัญชีธนาคารของ ปรส. และชำระค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนการดำเนินการประมูลรถในอัตราร้อยละ ๑ ของราคารถคันที่ขายได้ แต่ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาท และไม่เกินกว่า ๕,๐๐๐ บาทต่อรถหนึ่งคัน ให้แก่ผู้ทำการ ข้อ ๔  วิธีการ ๔.๑ วิธีการประมูล ๔.๑.๑ ผู้ทำการจะเปิดทำการประมูลตามวันและเวลาประมูลของผู้ทำการ โดยผู้ทำการจะประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประมูลรถของสถาบันการเงินในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการประมูลให้ผู้ประมูลทุกรายทราบก่อนเริ่มการประมูลและให้ถือว่าผู้ประมูลทุกรายรับทราบและตกลงยินยอมกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้ทุกประการ ๔.๑.๒ ให้เริ่มการประมูลจากราคากลาง ๔.๑.๓ กรณีที่มีผู้ประมูลเสนอราคามากกว่า ๑ ราย ผู้ทำการจะปรับราคาขึ้นครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท จนกว่าจะมีผู้ประมูลเสนอราคาสูงสุดรายสุดท้าย และเมื่อผู้ทำการแสดงความตกลงด้วยการเคาะขายหรือให้สัญญาณหรือด้วยกิริยาอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ตามจารีตประเพณีในการประมูล ให้ถือว่าผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดรายสุดท้ายเป็นผู้ซื้อ ๔.๑.๔ สถาบันการเงินจะส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารประกอบการจดทะเบียนและลงลายมือชื่อในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์รถแก่ผู้ซื้อภายใน ๓ วันทำการ นับแต่ได้รับชำระราคาขายครบถ้วน ๔.๒ วิธีการชำระราคา ๔.๒.๑ ในวันที่ประมูลได้ ผู้ซื้อต้องทำสัญญาซื้อขายรถและวางเงินมัดจำเป็นเงินสด และ/หรือ บัตรเครดิตซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของราคาที่ประมูลได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท และผู้ทำการจะต้องนำเงินมัดจำทั้งจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของรถภายในวันทำการที่สองของธนาคารนับจากวันที่ขายรถพร้อมนำส่งหลักฐานการโอนเงินแก่สถาบันการเงินนั้นโดยไม่ชักช้า ๔.๒.๒ ภายใน ๔ วันทำการนับจากวันที่ประมูลได้ ผู้ซื้อต้องชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ ๙๐ ของราคาที่ประมูลซื้อ โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของรถที่ผู้ทำการได้แจ้งไว้ เมื่อชำระราคาส่วนที่เหลือครบถ้วน ให้ถือว่าเงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคา ๔.๒.๓ กรณีที่ผู้ซื้อมิได้ชำระราคาขายส่วนที่เหลือและมิได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ทำการภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๔.๒.๒ ให้สถาบันการเงินริบเงินมัดจำได้ โดยชำระค่าธรรมเนียม และ/หรือ ค่านายหน้า และ/หรือค่าตอบแทนในการประมูลตามข้อ ๓.๔ แก่ ปรส. และผู้ทำการ ๔.๒.๔ ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อ ๔.๒.๑ หรือ ๔.๒.๒ และไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องอันเป็นเหตุสุดวิสัยตามข้อ ๔.๒.๓ ให้ผู้ทำการเอารถนั้นออกขายซ้ำอีกครั้ง โดยให้ถือว่าราคากลางคือราคาขายที่ขายแก่ผู้ซื้อในครั้งก่อน ข้อ ๕  การอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการ ปรส. เพื่อพิจารณา ข้อ ๖[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ อมเรศ  ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/ผู้จัดทำ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๘/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑
302,222
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริต ของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๒) แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ และ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๐ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลังลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ ทางการได้จัดให้มีการดำเนินการไปแล้ว จึงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และ/หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ/หรือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และ/หรือ กระทรวงการคลัง กำหนด ข้อ ๒  การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งกระทรวงการคลังลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๐ ทางการได้จัดให้มีการดำเนินการไปแล้ว จึงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ/หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ/หรือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และ/หรือ กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๓[๑]  ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ธวัชชัย  ยงกิตติกุล ประธานกรรมการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พัสสน/จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๖๙/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๐