translation
dict |
---|
{
"en": "This quasi-experimental research aimed to examine the effect of health literacy program on health literacy and sexual prevention behaviors among junior high school students. The sample group was randomized by multi-stage random sampling. The experimental group was forty students of Matthayom 3/2 at Tongkung School, whereas the control group was forty students of Matthayom 3/1 at Bansuan school. The research instruments were composed of the health literacy program for preventing sexual prevention behaviors, the questionnaire of health literacy on sexual prevention behaviors and the questionnaire of sexual prevention behaviors. The reliability of questionnaires were 0.86 and 0.89 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic, independent t-test and One-way Repeated measured ANOWA test. The results found that the mean scores of health literacy and sexual prevention behaviors of the experimental group before ,after the program and follow-up period had statistically significant differences at the level of .001, To compare the mean scores of health literacy and sexual prevention behaviors between the experimental group and the control group after the program and follow-up period, it was found that the experimental group had the scores of health literacy and sexual prevention behaviors significantly higher than the control group with statistical significance at level of .001",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อความรอบรู้ทางสุขภาพและ พฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่3/2 จำนวน 40 คน โรงเรียนวัดท้องคุ้งเป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/1 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ แบบสอบถามความรอบรู้ ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าความเชื่อมั่น .86 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ one-way repeated measured ANOVA ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของ กลุ่มทดลอง ก่อนทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วน คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการ ทดลองและระยะติดตามผล พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ของกลุ่มทดลองสูง กว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001"
} |
{
"en": "This descriptive study aimed to examine perceived competency in rational drug use of nursing graduates in bachelor of nursing science program after an implementation of integrating the rational drug use curriculum into the bachelor of nursing science program in academic year B.E. 2561. The population included 9,249 newly nurse graduates from 86 nursing education institutes in academic year B.E. 2561, and 4,269 graduates (46.15%) responded. The instrument used was a 46-item questionnaire regarding competency in rational drug use developed by the researchers based on the Prescribing Competency Framework, composed of 2 main competencies which were consultation and prescribing competencies. Data collecting was done online. Data were analyzed using descriptive statistics. The results revealed that nursing graduates perceived their overall competency in rational drug use was at a high level ( = 4.31, SD = 0.48). All categories of the competency were also rated at a high level. The highest score fell in the category of working with others as inter-professional team to promote rational drug use ( = 4.39, SD = 0.57). The lowest score was found in the category of considering the options ( = 4.22, SD = 0.53). Considering items in each category, the highest score was found in “assess the patient’s history” ( = 4.51, SD = 0.60). The study suggested that the Thailand Nursing and Midwifery Council should promote all nursing education institutes to integrate the rational drug use curriculum into their nursing curriculum in order to improve nursing competencies continuously.",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบัณฑิตพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามการรับรู้ของบัณฑิตพยาบาล ภายหลังจากที่สถาบันการศึกษาได้นำรูปแบบการบรรจุหลักสูตรการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ที่ทาง สภาการพยาบาลได้ทำขึ้น ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนปีการศึกษา 2561 โดยใช้การศึกษาแบบสำรวจ ประชากรเป็นบัณฑิต พยาบาลที่สำเร็จการศึกษา จากสถาบันการศึกษาพยาบาลจำนวน 86 แห่งในปีการศึกษา 2561 จำนวน 9,249 คน โดยมีผู้เต็มใจ ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4,269 คน (46.15%) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลของบัณฑิตพยาบาล ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบสมรรถนะของผู้สั่งใช้ยา ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 2 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะด้านการปรึกษา หารือก่อนใช้ยา และสมรรถนะด้านการดูแลให้เกิดการใช้ยาที่ดีอย่างสมเหตุผล มีข้อคำถามทั้งหมด 46 ข้อ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า บัณฑิตพยาบาลมีการรับรู้สมรรถนะการใช้ยาสม เหตุผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, SD = 0.48) เมื่อพิจารณาสมรรถนะย่อยการใช้ยาอย่างสมเหตุผลพบว่า มีการรับรู้ สมรรถนะย่อยในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือสมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลด้านทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบสห วิชาชีพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ( = 4.39, SD = 0.57) ส่วนด้านที่กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเองมีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุดคือด้านร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น ( = 4.22, SD = 0.53) เมื่อพิจารณาการรับรู้สมรรถนะ รายข้อในแต่ละด้านพบว่า ข้อที่มีคะแนนสูงสุดคือ “ประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้อาหาร” ( = 4.51, SD = 0.60) จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้สภาการพยาบาลส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาพยาบาลทุกแห่ง บูรณาการหลักสูตรการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิตพยาบาล อย่างต่อเนื่อง"
} |
{
"en": "This research was a one group pretest-posttest quasi-experimental design. The purposes of the study here to examine the effectiveness of the “Earthquake Preparation Program” for students, teacher and staff in elementary schools in high risk areas in Chiang Rai on knowledge about earthquakes and survival in earthquake situations, self-efficacy perception and behavior in coping with simulated earthquake situation. Randomly selected by 1 school consisting of 36 students, teacher and staff. The sample received the preparation program for the earthquake situation of 2 ½ days. Data more collected by using the earthquake knowledge and survival questionnaire, self-efficacy in perception for earthquake questionnaire and the behavior observation form to simulated earthquake simulations. Data was collected immediately after receiving the program and repeated measurements in the 3rd and 6th months after the program participation. Repeated measure ANOVA was used to analyze the data. The results showed that students, teachers and staff group; there were statistically significant higher mean scores of knowledge, self-efficacy perception, and behavior in coping earthquake simulated situation immediately right after receiving the program, while after 3 months and after 6 months than prior participating in the program at p value < .01. The results of the research can be used as a guideline for nurses in disaster management to prepare for the earthquake preparedness training for schools. In addition for the results of the research can improve nursing competency to have skills in school disaster management effectively.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดเชียงรายต่อความรู้เกี่ยวกับ แผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดในสถานการณ์แผ่นดินไหว การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แผ่น ดินไหว และพฤติกรรมการเผชิญสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลอง ทำการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 1 โรงเรียน ประกอบด้วยนักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนจำนวน 36 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์แผ่นดินไหว ใช้ระยะ เวลาดำเนินการ 2 ½ วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดในสถานการณ์ แผ่นดินไหว แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลอง และแบบสังเกต พฤติกรรมการเผชิญสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลอง และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทันทีหลังได้รับโปรแกรม และวัดซ้ำในเดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 หลังการเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์โดยการทดสอบ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มนักเรียน ครู และบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดในสถานการณ์แผ่นดินไหว การรับรู้ความสามารถของตนเองใน การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลอง และมีคะแนนพฤติกรรมการเผชิญสถานการณ์แผ่นดินไหวจำลองสูงขึ้น อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการจัดสาธารณภัยเพื่อเตรียมพร้อมรับแผ่นดินไหวให้กับโรงเรียน และสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการพยาบาลให้มีทักษะในการจัดการ สาธารณภัยโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป"
} |
{
"en": "The objective of this study was to examine the scenarios of nursing organization as a private international medical hubs during 2022–2026 through the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. The sample was composed of 18 experts. The research methodology was divided into the following three rounds. In Round 1, the researcher interviewed the experts for opinions concerning the scenarios of nursing organization as a private international medical hubs 2022–2026. In Round 2, the researcher used the data obtained from the interviews in content analysis and created a questionnaire for experts to estimate significant trends. And in Round 3, the researcher used the data obtained from Round 2 to calculate the median and interquartile range for preparation of the questionnaire for experts to confirm opinions and for the researcher to summarize the study. The summary of the results regarding the scenarios nursing organization as a private international medical hubs during 2022–2026 consisted of the following six items: 1) Nursing organizational structure; 2) Development and human resource management; 3) Innovation and technology; 4) Nursing service; 5) Strategic nursing management and 6) Excellent quality of service.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569 โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบอีดีเอฟอาร์ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบ ด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตภาพฝ่ายการพยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เอกชน พุทธศักราช 2565-2569 รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้ เชี่ยวชาญแสดงประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญในแต่ละข้อ รอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพฝ่ายการ พยาบาลของศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติเอกชน พุทธศักราช 2565-2569 ประกอบ ด้วย 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างการบริหาร ฝ่ายการพยาบาล 2) ด้านการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคล 3) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4) ด้านรูปแบบการบริการ 5) ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล และ 6) ด้านคุณภาพการบริการที่เป็นเลิศ"
} |
{
"en": "This descriptive correlational research used secondary data from the community survey project for establishment of the learning and development center for older people health and palliative care of end-stage patients of the Faculty ofMedicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University aimed to 1) describe the risk of dementia and 2) investigate the relationship of food consumption behaviors and nutritional status with risk of dementia in older people. The sample included 396 older people, residing in communities, Prachuap Khiri Khan province. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman rank correlation and Point biserial correlation. Results revealed that 8.8 % of the older people were at risk of dementia. Food consumption behaviors associated withrisk of dementia included adding chili powder in almost foods (rpb = -.172, p =.001) and avoiding foods containing high sugar, fat, and sodium (rpb = -.101,p = .044). Nutritional status associated with risk of dementia included mini nutritional assessment scores (rs = .153, p = .002), body mass index (rs = .112, p = .026) and handgrip strength (rs= .267, p <.001). Results suggest that should provide care for older people to reduce foods containing high sugar, fat, and sodium, control body weight, and enhance muscle strength in order to achieve appropriate nutrition status and decrease risks of dementia among them.",
"th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิโครงการสำรวจชุมชน ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม และ 2) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการกับความ เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 396 ราย วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิติสหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมี ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 8.8 พฤติกรรม การบริโภคอาหารที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ การเติมพริกป่นในอาหารเกือบทุกชนิดที่รับประทาน (rpb = -.172, p = .001) การหลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม (rpb = -.172, p = .001) และภาวะโภชนาการที่มีความสัมพันธ์กับ ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ คะแนนการคัดกรองโภชนาการ (rs = .153, p = .002) ดัชนีมวลกาย (rs = .112, p = .026) และแรงบีบมือ (rs= .267,p <.001)ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ในการดูแลผู้สูงอายุ โดยการให้คำแนะนำในการลดอาหารหวาน มัน เค็ม และการควบคุมน้ำหนักตัว รวมทั้งการสร้างเสริม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ"
} |
{
"en": "This study aimed to examine older adult patients’ convalescence and recovery within one week after abdominal surgery. The study participants were 60 older adult patients undergoing major gastrointestinal surgery. The tools used for screening the participants included: 1) the Short Portable Mental Status Questionnaire (SPMSQ), and 2) the Activities of Daily Living index (ADL). The instruments used for collecting the data included: 1) a demographic data form, and 2) the Convalescence and Recovery Evaluation (CARE) measure. Descriptive statistics were used to analyze the data. The results showed that the participants had convalescence and recovery within one week after abdominal surgery for each dimension as follows: 1) pain domain—the highest score for pain in the abdominal and belly area (M = 4.83, SD = .38); 2) the gastrointestinal domain—the highest score for bloating and gassiness (M = 3.36, SD = .55); 3) the cognitive domain—trouble concentrating (M = 3.00, SD = .55) and forgetful (M = 2.53, SD = .59); and 4) the activity domain—the participants could perform light activities during the second and fourth day after abdominal surgery (M = 2.40, SD = .69). The activity domain considered the recovery is slow. The participants with colorectal diseases had the highest scores for pain and gastrointestinal domains, whereas the participants with hepatobiliary diseases had the highest scores for cognitive and activity domains. The results of this study can be used for developing programs to enhance recovery after abdominal surgery for older adult patients.",
"th": "การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นสภาพของผู้สูงอายุในระยะ 1 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องระบบทางเดินอาหาร จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามการรู้คิดฉบับสั้น 2) แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินการฟื้นสภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีการฟื้นสภาพในระยะ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัดช่องท้อง ดังนี้ 1) ด้านความปวด ผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีอาการปวดบริเวณท้องและพุงในระดับมากที่สุด (M = 4.83, SD = .38) 2) ด้านกระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยส่วน ใหญ่มีอาการท้องอืดแน่นท้อง (M = 3.36, SD = .55) 3) ด้านการ รู้คิด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสมาธิ (M = 3.00, SD = .55) และอาการหลงลืม (M = 2.53, SD = .59) 4) ด้านการปฏิบัติกิจกรรม พบว่าผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจกรรมเบา ๆ ได้ ในวันที่ 2-4 หลังผ่าตัด (M = 2.40, SD = .69) ซึ่งถือว่าค่อนข้างช้า กลุ่มโรคลำไส้ใหญ่และทวารหนักพบปัญหาด้านความปวดและด้านลำไส้มาก ที่สุด กลุ่มโรคตับและทางเดินน้ำดีพบปัญหาด้านการรู้คิดและด้านการปฏิบัติกิจกรรมมากที่สุด ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทาง ส่งเสริมการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุ"
} |
{
"en": "This two-group pre-post/test experimental research aimed to compare levels of fasting plasma glucose between an experimental group and a control group before and after received the case management program for 8 weeks. Sample was 68 type 2 diabetes (DM) patients at an out-patient department of Phraputthabat hospital, Saraburi province. These patients were divided to an experimental group (n=34) and a controlled group (n=34) by using random procedure. An experimental group received the case management program individually that included diet control, medication adherence, alcohol and smoking cessation, exercise, and emotional management from the nurse case managers two hours a week for 8 weeks and monitoring every week by the nurse case manager. A control group received usual care. DM patients were measured for FPG levels at baseline and 8 weeks after experiment. Study data was analyzed using independent t-test procedure. Results showed that the majority of DM patients in a control group was female 67.65% (n= 23). Average age was 65.06 years (SD= 5.92). Average year of diabetes was 9.71 years (SD= 5.95). For an experimental group, the majority was female 67.65% (n= 23). Average age was 64.94 years (SD= 5.11). Average year of diabetes was 10.47 years (SD= 5.28). After DM patients receiving CM program for 8 weeks, levels of FPG in an experimental group was statistically significantly lower than those in a control group at .03",
"th": "งานวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการรายกรณีครบ 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย เบาหวานประเภทที่ 2 ที่รับยาต่อเนื่องที่งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 68 ราย จับฉลากแบ่ง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 คน โดยผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการรายกรณีประกอบด้วย การควบคุม อาหาร การรับประทานยา งดบุหรี่และสุรา ออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ จำนวน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณีติดตามผู้ป่วยทุกสัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการบริการตามปกติ ผู้ป่วยได้รับการตรวจน้ำตาล ในเลือดก่อนและหลังเข้าโปรแกรมครบ 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.65 (n = 23) อายุเฉลี่ย 65.06 ปี (SD = 5.92) ระยะเวลาการเป็นเบาหวานเฉลี่ย 9.71 ปี (SD = 5.95) สำหรับกลุ่มทดลองนั้นเป็นเพศหญิงร้อยละ 67.65 (n = 23) อายุเฉลี่ย 64.94 ปี (SD = 5.11) ระยะเวลาการเป็นเบาหวานเฉลี่ย 10.47 ปี (SD = 5.28) หลังทดลองครบ 8 สัปดาห์ระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มทดลองลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .03 (p≤ .05)"
} |
{
"en": "The purposes of this study were to study the effects of a developethe Inhibitory control based on Thai traditional game training program in elementary school students and to test the effectiveness.The sample was 60 students of Watnuenpra School, Rayong in the 2018 academic year. The sample was randomized by using sample random sampling into 2 groups. Experimental groups and control groups. Each group consisted of 30 students. The research instruments were 1) The Inhibitory control base on Thai traditional game training program in elementary school students and 2) Go/No Go Task. The experimental group received the program 2 times per week and the control group received the regular instruction from the school in the same period. The assessments were done in 3 phases: pretest, posttest and follow-up phase. The data were statistically analyzed by utilizing a repeated measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni method. The results revealed that the interaction between the experimental methodology and the duration of the experiment were found statistically significant at .05 level. Students in the experimental group had the mean score of inhibitory control higher thanthose in the control group in the posttest and follow-up with statistically significant at .05 level. Students in the experimental group had the mean score of inhibitory control in the posttest and follow-up higher than the pretest with statistically significant at .05 level. It was concluded that the inhibitory control based on Thai traditional game training program in elementary school students had the effectiveness on enhancing inhibitory control in elementary school students.",
"th": "การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในนักเรียนประถมศึกษา และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเนินพระ จังหวัดระยอง จำนวน 60 คน สุ่มอย่างง่ายและแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 2) แบบทดสอบ Go/No Go กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้ง จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติ จากทางโรงเรียน การประเมินการควบคุมยับยั้งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 3 สัปดาห์สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปร ระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ Bonferroni ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้ง มีการควบคุมยับยั้งสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งหลังทดลอง และเมื่อสิ้นสุดระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีการควบคุมยับยั้งหลังทดลองและระยะ ติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุม ยับยั้งมีประสิทธิภาพในการเพิ่มทักษะการควบคุมยับยั้งในนักเรียนประถมศึกษา"
} |
{
"en": "This descriptive research aimed to determine factors influencing stress levels of the new troops at 4 th Infantry Division, Fort Somdej Pra Naresuan Maharaj, Phitsanulok Province. The samples were 410 new troops calculated based on the estimating population proportion. Simple random sampling technique was used to recruit the samples. The research tool was a questionnaire created by the researcher and its quality was tested in terms of content validity and reliability which met the standard criteria. Data were analyzed using descriptive statistics and ordinal logistic regression, defining statistical significance at .05 as a criterion for accepting hypothesis. The results showed that the new troops had stress at mild stress level 66.8%, relationships with other people are at a good level, adaptation is at a moderate level, perception about military is at a high level, attitude towards military training is at a moderate level. Factors influencing the stress levels of the new troops are consisted of firstly, family responsibility, emotional quotient; decision and solving problems, emotional quotient; life satisfaction, relationship with the trainers, personal and emotional adaptation and lastly, military role recognition in the treatment of adults with statistical significance level of .05. These factors could predict the stress levels of new troops by 36%.",
"th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด สัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การปรับตัว การรับรู้เกี่ยวกับทหาร เจตคติต่อการฝึกทหาร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดของพลทหารกองประจำการใหม่ หน่วย ทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ พลทหารกองประจำการใหม่จำนวน 410 คน ซึ่งได้จากการกำหนด ขนาดตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าสัดส่วน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีทั้งหมด 8 ส่วน ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงและความเที่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงอันดับ ผลการวิจัย พบว่าพลทหารกองประจำการใหม่ มีความเครียดอยู่ในระดับเครียดน้อย ร้อยละ 66.8 สัมพันธภาพอยู่ใน ระดับดี การปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง เจตคติต่อการฝึกทหารอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้เกี่ยวกับทหารอยู่ในระดับสูง โดย ปัจจัยภาระความรับผิดชอบในครอบครัว ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่ง มิติการตัดสินใจและแก้ปัญหา ปัจจัยความฉลาดทาง อารมณ์ด้านสุข มิติความพอใจในชีวิต ปัจจัยสัมพันธภาพกับครูฝึก ปัจจัยการปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์ และปัจจัยการรับรู้ บทบาทการเป็นทหาร มิติการปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดของพลทหารกองประจำการใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความเครียดของพลทหารกองประจำการใหม่ได้ร้อยละ 36.0"
} |
{
"en": "This qualitative study aimed to describe experiences of being a nurse entrepreneur of nursing and midwifery clinic. Heidegger humanistic phenomenology was applied as research methodology. Purposive sampling was used to select 10 willing nurse entrepreneurs of nursing and midwifery clinic. Data were collected by using in-depth interview, voice record, observation and field note record. Contents were analyzed by van Manan content analysis method. The findings of this study are consisted of 4 majors themes: 1) Preparing for being nursing and midwifery clinic owner 2) Providing services based on nurse’s roles 3) Making a business survive and 4) Outcomes from running nursing and midwifery clinic. The results of this study can be guidelines for nurses who are interesting to open nursing and midwifery clinic beneficially.",
"th": "การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิก การพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวน 10 คน โดยการคัดเลือกผู้ให้ ข้อมูลแบบเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต นำมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถแบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2) ให้บริการตามขอบเขต 3) สิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่ รอด และ 4) สิ่งที่ได้รับจากการเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทาง การเปิดคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์สำหรับพยาบาลวิชาชีพที่สนใจเป็นพยาบาลผู้ประกอบการสถานพยาบาลแบบไม่พัก ค้างคืนรายใหม"
} |
{
"en": "This research aimed to develop clinical nursing practice guideline for pregnant women with risk of gestational diabetes mellitus (CNPG-RGDM) by evidence-based practice and also aimed to apply CNPG-RGDM for pregnant women with risk of gestational diabetes mellitus. The results could divide into 2 phases. First phase was the development of CNPG-RGDM, which one hundred and seven articles had been searched, and yet twenty articles had relevant to nursing care for pregnant women with risk of GDM and GDM, which articles were in between 2013 to 2018.This development of CNPG-RGDM was composed of two processes, which were screening process for risk of GDM group by using assessment form for screening risk, and the process of nursing care relevant to level of risk of GDM and continuing follow up. Second phase was to apply this CNPG-RGDM. The samples were twenty-eight pregnant women with risk of GDM, who came to receive service for the first time to twenty eight weeks of gestational age. The study found that most pregnant women were in the high risk of GDM with 96.43 percentage. The low risk was 3.57 percentage. These pregnant women with risk of GDM had received the consultation, adjusted life style behaviors, and received handbook in order to record food consumption per day and record calories and suitable exercise. Final results after 1 week of applying CNPG-RGDM and follow up found that they had body weight not over 0.5 gram per week with 89.29 percentage and not found sugar in the urine last ANC visit at all case.",
"th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (CNPG-RGDM) โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น การศึกษา มี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะ ตั้งครรภ์ โดยได้สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 107 เรื่อง ตั้งแต่พ.ศ. 2556 – 2561 นำมาวิเคราะห์ได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้ว พบว่า มีจำนวน 20 เรื่องที่สามารถนำมาพัฒนาเป็น แนวปฏิบัติการพยาบาลซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำแนก โดยใช้แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และขั้นตอนที่ 2 กำหนดการพยาบาลกำหนดตามระดับความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 2 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกมีอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จำนวน 28 ราย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 96.43 และมีความ เสี่ยงต่ำร้อยละ 3.57 โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจะได้รับการให้คำปรึกษาเพื่อปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต คู่มือการดูแลตนเอง เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ประกอบด้วย แบบบันทึกรายการอาหาร แคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน และบันทึกการ ออกกำลังกาย ภายหลังได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาลนาน 1 สัปดาห์ และติดตามผลเมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ตรวจไม่พบระดับน้ำตาลในปัสสาวะ คิดเป็นร้อยละ 100 และมีน้ำหนักหนักขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 89.29"
} |
{
"en": "This research is a quasi-experimental study, one group pre-test post-test design, with an aim to investigate the effects of the application of S SMILE Model based on contemplative education for enhancing nursing student’s 5 skills subject to Thai Qualifications Framework for Higher Education. The sample group included 80 first-year nursing students in the Faculty of Nursing Naresuan University who had enrolled the course “Humanized Nursing Care”. The research instruments consisted of 1) Experimental tool which was the instructional model “S SMILE Model” based on contemplative education comprising 6 components as follows: 1) Space 2) Self-reflection 3) Meditation 4) Integral Life Practice 5) Listen Actively and 6) Evaluation 2) Data collecting tools were questionnaire for evaluating 5 skills subject to Thai Qualifications Framework for Higher Education and questionnaire for assessing satisfaction toward given instructional model. Statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test. The research findings suggested that by applying the instructional model, post-test scores for nursing student’s 5 skills subject to Thai Qualifications Framework for Higher Education were significantly higher than that of pre-studying ones at statistical significance of 0.001 while satisfaction score was significantly above the required level with statistical significance of .001.",
"th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการ เรียนการสอน S SMILE Model ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ 5 ด้านของนิสิตพยาบาลตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา การ พยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการเรียน การสอน S SMILE Model ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่1) การสร้างความรู้สึกที่ปลอดภัย (Space) 2) กิจกรรมสะท้อนความคิดความรู้สึกตนเอง (Self reflection) 3) กิจกรรมที่ทำให้จิตสงบ (Meditation) 4) ฝึกปฏิบัติใน ชีวิตจริง (Integral Life Practice) 5) การฟังอย่างลึกซึ้ง (Listen Actively และ 6) การประเมินผล (Evaluation) 2) เครื่องมือเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินทักษะ 5 ด้าน ตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ แบบประเมิน ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบนิสิตมีคะแนนทักษะ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติทุกด้านสูงกว่า ก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีคะแนนความพึงพอใจสูงกว่าเกณฑ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001"
} |
{
"en": "This research was descriptive study. The objectives of this study were; to study severity and perception of disease’s severity to hospital arrival time and to study association amomg age, educatinal level, income, severity and perception of disease’s severity to hospital arrival time of acute stroke’s relatives and patient. The sample was 88 relatives of stroke patient admitted at Phrachomklao hospital Phetchaburi province since August 2017 to January 2018. The questionnaire consists of 3 parts were 1) demographic data record form, 2) hospital arrival record form, and 3) perception of stroke’s severity assessment. The data analysis was used descriptive statistics, chi-square test and Pearson’s product moment correlation. The result showed that the sample was male with 52.30 %, averaged age was 66.97±14.42. Stroke’s symptom making a decision to take a patient to a hospital was one side weakness immediately with 47.5%, the most type of stroke in this study was ischemic stroke with 90.91%. The severity of stroke from NIHSS mean score was 6.43 (S.D. = 6.88). Most of patient had minor severity stroke with 65.91%. Time from stroke scene to hospital was 28.90 minute (S.D. = 15.84). The relationship among age educational level, income, and stroke severity with hospital arrival after stroke onset showed no significant different. Only perception of disease’s severity was negative correlation with with hospital arrival time after stroke onset with significant different (β = -.325, p-value = .040) Therefore, to promote rapid stroke treatment and caring, giving knowledge to patients, relatives, and general population regarding symptoms, emergency management of stroke, and studying factors related rt-PA treatment are important to stroke care’s outcomes.",
"th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงและการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อระยะ เวลามาถึงโรงพยาบาลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ ความรุนแรงของโรคและระยะเวลาผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 88 คน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ถึงมกราคม 2561 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอนคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกข้อมูล การมาโรงพยาบาล และ 3) แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ ทดสอบไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 52.30 อายุเฉลี่ย 66.97±14.42 ปี อาการของโรคหลอด เลือดสมองที่ตัดสินใจนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลมากที่สุดคือ แขนขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายอ่อนแรงทันทีทันใดร้อยละ 47.50 ชนิด ของโรคหลอดเลือดสมองพบมากที่สุดคือ หลอดเลือดสมองชนิดตีบตันร้อยละ 90.91 ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองจาก คะแนน National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) พบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.47 (S.D. = 6.95) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมี ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองในระดับเล็กน้อยร้อยละ 65.91 ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางจากสถานที่ผู้ป่วยมีอาการโรค หลอดเลือดสมองถึงโรงพยาบาลเท่ากับ 28.90 นาที (S.D. = 15.84) อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือด สมองไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลามาถึงโรงพยาบาล แต่การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาผู้ป่วย มาถึงโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.325, p-value = .040) ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการรักษาและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็ว การให้ความรู้กับผู้ป่วย ญาติและประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับอาการ การจัดการในภาวะฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA จึงมีความสำคัญต่อผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง"
} |
{
"en": "The objective of this qualitative research was to describe lived experiences of managing Generation Z nurses in nursing team of head nurses in an university hospital. The informants were head nurses who experienced managing Generation Z nurses in nursing team more than 3 years and Generation Z nurses have worked in their unit at least 3 people. Collecting data by indepth interview in purposive samplings 12 head nurses at an autonomous university hospital. Analyzing data by van Manen’s analysis (1990). The results of this research can describe how to communicated in Generation Z nurses in nursing team 5 points as follow : 1) Various channels to access communication 2) Tell topics clearly and no complexity 3) Easy to access all the time 4) Set priority communicated topics 5) Warn when use unappropriate social online technology.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฎการณ์วิทยาตีการความ (Hermeneutic phenomenology) ตามแนวคิดของ Martin Heidegger มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการบริหาร พยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ที่เป็นหัวหน้า หอผู้ป่วยมีประสบการณ์การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในหอผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 3 ปี และมีพยาบาลรุ่นอายุแซด (Generation Z) ในทีมการพยาบาลของหอผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 3 คน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจำนวน 12 วิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการวิจัยพบว่า ในการสื่อสารกับพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล ประกอบไปด้วยประเด็นหลัก 5 ประเด็นดังนี้ 1) ใช้ช่อง ทางการสื่อสารที่หลากหลาย 2) สื่อสารให้กระชับ ชัดเจน มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม 3) เปิดโอกาสให้ติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 4) เรียงลำดับความสำคัญของประเด็นที่ต้องการสื่อสาร 5) ตักเตือนหากใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม"
} |
{
"en": "The purpose of this research and development were to develop a model for take care of patient with ventilator to prevent ventilator associated pneumonia in Ranong Hospital. The sample group were 88 nursing personnel and the 301 patients of age more than 15 year old and were not affected by pneumonia on admission. Data were analyzed using descriptive and pair-sample t-test statistics. The results of the study found that more than 90% of participants felt that development of patient with ventilator care model to prevent ventilator associated pneumonia among nursing personnel. The knowledge score of nurses increased from 18.8 to 25.62. Correct practice rates in post-intervention phase 93.14% compared with 71.79% in pre-intervention. The mortality rate was reduced significantly (p <0.05). But VAP incidence rate, length of stay and duration of mechanical ventilation were not significantly different (p > 0.05). It could be concluded that that concept of collaborative quality improvement could be applied to develop a model for take care of patient with ventilator to prevent ventilator associated pneumonia among nursing personal in Ranong Hospital.",
"th": "การวิจัยและพัฒนา (research and development)นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้ เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลระนอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 88 คน และผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และไม่มีการติดเชื้อปอดอักเสบตั้งแต่แรกรับ จำนวน 301 คน วิเคราะห์ ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบ ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรพยาบาลมากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับการนำรูปแบบการดูแล ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจไปใช้เพื่อป้องกันปอดอักเสบ คะแนนความรู้ของพยาบาลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 18.8 คะแนน เป็น 25.62 คะแนน การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.79 เป็น ร้อยละ 93.14 อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 7.14 เป็น ร้อยละ 3.32 (p0.05) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือสามารถนำมาประยุกต์ในการในการ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบในโรงพยาบาลระนองได้"
} |
{
"en": "The objective of this research was to describe the experiences in managing hospital accreditation in accordance with the international standard by nurse administrators. The Hermeneutic phenomenology of Heidegger was being applied as research methodology. Nine key informants of nurse administrators from those international standard accredited hospitals were being selected. Data collections were in-dept interviews by telephoning and tape recording. Verbatim transcription and analyzed with thematic extraction as proposed by Van Manen were performed. The study results had found nine themes as follows; 1) Policy on upgrading hospitals toward international standard. 2) Insure that the allotted budget is sufficient. 3) Sizable nursing team, all committee assigned. 4) Enhancing one’s knowledge, be closely with the experts. 5) All must be communicated, harmonized, united in action and spirit. 6) Be prepared, reviewed, rehearsed until the day of inspection. 7) Worthiness of outcomes leading to safety. 8). Continuous quality improvement emphasizing advancement and 9) Upgrade hospital but increasing burden on documents to nurses. Result of the research had revealed that experiences of nurse administrators in managing hospital accreditation in accordance with the international standard was as planned, the outcome was satisfied and must be proceeded on a continuing basis.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ บรรยายประสบการณ์การจัดการการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐานระดับ สากลของผู้บริหารทางการพยาบาล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความ ตามแนวคิดของ Heidegger คัดเลือก ผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกทางโทรศัพท์และบันทึกเทปเสียง นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการตีความของ van Manen ผลการศึกษาพบ 9 ประเด็น คือ 1) นโยบายยกระดับโรงพยาบาล สู่มาตรฐานระดับสากล 2) งบประมาณเตรียมจัดสรร มั่นใจให้มีพอ 3) พยาบาลเป็นทีมใหญ่ รับมอบหมายทุกกรรมการ 4) เพิ่มพูนความรู้ เคียงคู่ผู้เชี่ยวชาญ 5) หลายสื่อเสียงประสาน ทุกคนร่วมงานและร่วมใจ 6) เตรียมทุกอย่างด้วยความพร้อม ติวและซ้อมจนถึงวันตรวจจริง 7) ผลลัพธ์คุ้มค่า นำพาสู่ความปลอดภัย 8) พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เน้นเรื่องความก้าวไกล และ 9) ยกระดับโรงพยาบาลแต่เพิ่มภาระงานด้านเอกสาร ผลการวิจัยแสดงว่า ประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการจัดการการรับรองคุณภาพโรง พยาบาลตาม มาตรฐานระดับสากลเป็นไปตามแผน และมีผลลัพธ์ที่พึงพอใจ อันจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป"
} |
{
"en": "This study aimed to examine the effects of an end-of-life care program on the palliative care outcomes and perceived peaceful end of life among end-stage cancer patients. The participants were selected based on inclusion including 32 end-stage cancer patients and 32 family caregivers. The participants received the 1-week end-of-life care program that was developed by the researcher based on the theory of a peaceful end of life of Ruland and Moore. Data were analyzed using paired t–test. The results showed that, after the intervention completing, the mean score for the palliative care outcomes as perceived by the end-stage cancer patients and that as perceived by the family caregivers decreased with a statistically-significant difference when compared to those at baseline (t = -5.90, p < .001; t = -7.72, p < .001). The mean score for peaceful end of life as perceived by the end-stage cancer patients and that as perceived by the family caregivers increased with a statistically-significant difference when compared to those at baseline (t = 7.90, p < .001; t = 8.79, p < .001). The results of the study indicated that the 1-week end-of-life care program which was developed based on the theory of peaceful end of life by Ruland and Moore cooperating with family caregivers can enhance positive palliative care outcomes and promote the peaceful end of life of end-stage cancer patients. Healthcare providers can implement this program for end-stage cancer patients in other contexts.",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลระยะท้าย ต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและการ รับรู้ระยะท้ายของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย จำนวน 32 ราย และผู้ดูแล จำนวน 32 ราย คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการดูแลระยะท้ายที่สร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฏีระยะท้าย ของชีวิตที่สงบของรูแลนด์และมอร์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบทีคู่ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้ของผู้ป่วย และตามการรับรู้ของญาติผู้ดูแล ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.90, p < .001; t = -7.72, p < .001) คะแนนเฉลี่ยระยะท้ายของชีวิตที่สงบตามการรับรู้ของผู้ป่วย และตามการรับรู้ของญาติผู้ดูแลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (t = 7.90, p < .001; t = 8.79, p < .001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการดูแลระยะท้ายช่วยให้ผู้ป่วย มะเร็งระยะท้าย มีผลลัพธ์การดูแลที่ดีขึ้นและมีระยะท้ายของชีวิตที่สงบ บุคลากรทางสุขภาพอาจนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายในบริบทอื่น ๆ ต่อไป\n "
} |
{
"en": "The purpose of this research was to study the component of family adaptation and develop format of family adaptation. It was divided into 2 steps. The first step studied confirmed element of family adaptation and the second step was family counseling to enhance family adaptation. The samples were wife and son or daughter of prisoner who was imprisoned less than 1 year with the lowest family adaptation scores. Twenty families were performed simple random sampling into the experimental and control group. The instruments were family adaptation measurement and 10 sessions of assimilative integration family counseling based on structural family counseling theory which developed by the researcher. The confirmatory factor analyses, the multivariate analysis of variance with repeated measures were used for analyzing the data. The results revealed that 1) The component of family adaptation were family function, family relationship, social relationship, and readiness to solve problem. 2) The mean score of family of the experimental group after intervention and after 4 months was higher than those in the control group statistically significant different at .05 level.",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการปรับตัวของครอบครัว และศึกษาผลการปรึกษาครอบครัว แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันการปรับตัวของครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือภรรยาและบุตรอายุ 12 ปีขึ้นไปของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำไม่เกิน 1 ปี ขั้นตอนที่ 2 การเสริมสร้างการปรับตัวของครอบครัวด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิง บูรณาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภรรยาและบุตรอายุ 12 ปีขึ้นไปของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำไม่เกิน 1 ปี ที่มีคะแนนการปรับตัวน้อย ที่สุด จำนวน 20 ครอบครัว ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 10 และกลุ่มควบคุม 10 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดการ ปรับตัวของครอบครัว และรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบเชิงยืนยันการปรับตัวของครอบครัวผู้ต้องขัง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับสังคมและความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาของครอบครัว มี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวเมื่อสิ้นสุด การทดลอง และติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวมีค่าเฉลี่ย คะแนนการปรับตัวสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05"
} |
{
"en": "According to the course management in each general education subject, using a group process is one of the best methods for improving expected learning outcome. It is widely beneficial if cultural project will be embedded in daily life. Health promotion issues are the major key to develop learning outcome by using project-based activities. Whereas, there are some concerns about dividing students unequally per group and different backgrounds of students including instructors. As a result, students have many negative effects such as working hard, facing to problems in group work and not enough time to learn total processes. Instructors have work hard as well. The purpose of this research was to study the management course with integration learning concept in development systematic thinking subject, General Education for Human Development subject, and Arts and Sciences for Human Development subject by using Health Promotion project. This research was quasiexperimental Research. The sample comprised of first year nursing students who enrolled in academic year 2017. The results of the research revealed students’ competencies in content subject were in excellent level 43.27%. In leaning management, development systematic thinking, were in excellent level 67.01%. In desired nursing students’ qualifications, public consciousness, were in excellent level 22.68%. In Art and Culture Conservation and local wisdom were in excellent level 35.05%.In service minded identity were in excellent level 37.11%. From focus group revealed the integration learning concept made more time for doing project, developed public consciousness, decreased coincidence in grouping, and got more time for learning.",
"th": "การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปแต่ละรายวิชาสอนโดยกระบวนการกลุ่ม ซึ่งการแบ่งกลุ่มมีจำนวนกลุ่ม ไม่เท่ากัน แต่ละกลุ่มมีนักศึกษาไม่เท่ากัน อาจารย์ประจำกลุ่มต่างกัน ส่งผลให้นักศึกษาต้องทำงานหนัก มีการทำงานกลุ่มและเวลา ในการเรียนรู้น้อย อาจารย์มีการประเมินผลงานนักศึกษาที่ซ้ำซ้อน จึงได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการศึกษาทั่วไป วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท : โครงงานการส่งเสริมสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอน ด้วยการบูรณาการรายวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ และศิลปวิทยา การเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ โดยใช้โครงงานการส่งเสริมสุขภาพ เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง กับ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 ปี การศึกษา 2560 พบว่า การบูรณาการรายวิชาด้านเนื้อหารายวิชา นักศึกษามีคะแนน ระดับดีมาก ร้อยละ 43.27 ด้านกระบวนการ จัดการเรียนรู้ คะแนนระดับดีมาก ร้อยละ 67.01 และด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ได้แก่ จิตสาธารณะ ระดับดีมาก ร้อยละ 22.68 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับดีมาก ร้อยละ 35.05 และ อัตตลักษณ์การบริการด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ ระดับดีมาก ร้อยละ 37.11 ทำให้มีเวลาในการทำโครงงานมากขึ้น เกิดการพัฒนาคุณลักษณะจิตสาธารณะ ลดความซ้ำซ้อนการจัดกลุ่ม การประชุมกลุ่ม ทำให้มีเวลาเรียนรู้มากขึ้น"
} |
{
"en": "Rice paddy herb, a characteristic odor vegetable is commonly used in Thai dishes and Asian indigenous system of medicine. This study aimed to evaluate the effects of rice paddy herb aerial part essential oil inhalation on autonomic nervous system and reaction time tasks among healthy volunteers using a randomized crossover design. Twenty-four healthy participants aged between 18 and 25 years were received sweet almond oil and rice paddy herb oil (8% v/v in sweet almond oil) by inhalation. ANS activities were recorded using BIOM7000 Patient Monitor. The simple and choice reaction tasks were performed on computer screen by the Deary-Liewald reaction time program. Data were analyzed using paired t-test with a significance level of .05. Simple reaction times to responses as well as choice reaction correct items and times were recorded. The results showed that the rice paddy herb oil statistically significantly decreased the systolic blood pressure, diastolic blood pressure and heart rate. For reaction time tasks, the rice paddy herb oil statistically significantly decreased the responded times in simple reaction time test. In summary, the rice paddy herb oil affected systolic and diastolic blood pressure as well as heart rate and it showed potential on the reaction response improvement among healthy participants.",
"th": "ผักแขยงเป็นผักที่มีกลิ่นที่ใช้ในอาหารไทยและระบบการแพทย์พื้นบ้านในแถบเอเชีย ศึกษาผลของการดมน้ำมันระเหย จากส่วนเหนือดินของผักแขยงที่มีต่อระบบประสาทอัตโนมัติและเวลาปฏิกิริยาในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 24 คน อายุ 18 ถึง 25 ปี โดยการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มไขว้กลุ่ม ให้อาสาสมัครดมน้ำมันอัลมอนด์และน้ำมันผักแขยง (ความเข้มข้นร้อยละ 8 โดยปริมาตร ในน้ำมันอัลมอนด์) บันทึกระบบประสาทอัตโนมัติด้วยเครื่องวัดสัญญาณชีพรุ่น BIOM7000 ศึกษาเวลาปฏิกิริยาด้วย โปรแกรม Deary-Liewald บนจอคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 วิเคราะห์ เวลาปฏิกิริยาแบบง่ายด้วยค่าเฉลี่ยเวลาการตอบ และแบบตัวเลือกด้วยจำนวนข้อถูกและค่าเฉลี่ยเวลาการตอบข้อถูก ผลการศึกษา พบว่า น้ำมันผักแขยงสามารถลดความดันโลหิตช่วงบน ความดันโลหิตช่วงล่าง และอัตราการเต้นของหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาเวลาปฏิกิริยาพบว่าการดมน้ำมันผักแขยงสามารถลดเวลาปฏิกิริยาแบบง่ายได้อย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปน้ำมันผักแขยงมีผลต่อความดันโลหิตช่วงบนและช่วงล่าง และอัตราการเต้นหัวใจ และมีศักยภาพในการเพิ่มความสามารถ ในการตอบสนองต่อเวลาปฏิกิริยาในอาสาสมัครสุขภาพดี"
} |
{
"en": "This study is a mixed method. The objective is to study the attitude towards nursing profession of nursing students at Ramathibodi School of Nursing. The sample consisted of 350 from 1st - 4th year nursing students. The tools used for quantitative data were Attitude test towards nursing profession. The tool reliability was checked by using Cronbach’s alpha coefficient of 0.812 and tools used to collect qualitative data are nursing professional attitudes. Analyze the data by calculating the average value. Standard deviation, F-test and comparison of the mean scores by Scheffé’s method. The results of the research showed that Nursing student perspectives at Ramathibodi School of Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi School of Nursing towards the attitude towards professional nurses in the 21st century is at a good level ( = 3.95, SD = .30). The 3rd year nursing students had the highest mean score of attitude towards nursing profession ( = 4.05, SD = .32). Analysis for comparing the average score of the attitude towards the nursing profession between the 1st - 4th year nursing students found that nursing students had different attitudes towards the nursing profession. Statistical significance at the level of .05 and found that the first year nursing students had different attitudes towards the nursing profession and the second and third year nursing students with statistical significance at the .05 level.",
"th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค เท่ากับ 0.812 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์เจตคติวิชาชีพพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าเอฟ (F-test) และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยราย คู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method) ผลการวิจัยพบว่า มุมมองของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ที่มีต่อเจตคติวิชาชีพพยาบาลในยุคศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดี ( = 3.95, SD = .30) โดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มีคะแนน เฉลี่ยเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลมากที่สุด ( = 4.05, SD = .32) การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล ระหว่างนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 – 4 พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และพบว่ามีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลที่แตกต่างกับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05"
} |
{
"en": "This study aims at formatively assessing students’ achievement of the Program Learning Outcomes (PLOs) which was developed using the Asian University Network-Quality Assurance (AUN-QA) Criteria. Although the PLOs were developed for students to achieve before completing the program, the expected learning outcomes for the completed second year students as the half-way of the program length were assessed. Ten expected learning outcomes which were developed based on the levels of learning from Bloom’s taxonomy were directly used as a tool comprising 5 levels of achievement ranging scales from “not achieve at all, “least achieve”, “less achieve”, “achieve”, and “most achieve”. The students were also advised to address factors for successful and unsuccessful achievement. Two hundred and twenty-three nursing students of Ramathibodi School of Nursing were recruited. It was found that 195 students (87.44%) responded to the assessment. The students identified various levels of achievement from “not achieve at all” to “most achieve” in each item. Factors as barriers and facilitators of achievement were identified. The findings can be used as inputs to develop cognitive, skills, and affective domains for students to be ready for further study and be able to achieve the program learning outcomes. The identified factors can also be brought into considerations for program revision and design.",
"th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการพัฒนาตาม เกณฑ์เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการติดตามและพัฒนาช่วยเหลือนักศึกษาให้สามารถเรียนรู้ ในปีการศึกษาต่อไปให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรฯ ก่อนสำเร็จการศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรฯ ทั้ง 10 ข้อ ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินโดยปรับตามระดับการเรียนรู้ของ Bloom’s taxonomy ว่านักศึกษาบรรลุผลลัพธ์ การเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดสำหรับการเรียนในรายชั้นปีที่ศึกษา หรือไม่ คำตอบประกอบด้วยระดับการบรรลุ 5 ระดับ คือ “ไม่บรรลุเลย” “บรรลุน้อยที่สุด” “บรรลุน้อย” “บรรลุ” และ “บรรลุมากที่สุด” พร้อมกับให้ระบุปัจจัยที่ส่งผลให้การบรรลุหรือไม่ บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 223 คน ผลการสำรวจพบว่านักศึกษาตอบแบบประเมินจำนวน 195 คน (87.44%) มีการระบุระดับการบรรลุผลลัพธ์ที่ หลากหลายจาก “ไม่บรรลุเลย” ถึง “บรรลุมากที่สุด” และระบุปัจจัยที่สนับสนุนและอุปสรรคต่อการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาด หวัง ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ช่วยเหลือและพัฒนานักศึกษาด้านความรู้ ทักษะเชิงวิชาชีพ และทักษะทั่วไป เพื่อให้บรรลุผลการ เรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการบรรลุผลลัพธ์ จะถูกนำมาใช้ในการ พัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนการสอน และหลักสูตรฯ ต่อไป"
} |
{
"en": "This descriptive research aimed to study 1) Knowledge about postoperative delirium, attitude towards postoperative delirium and behavior of nurses to caring for the elderly with postoperative delirium after cardiac surgery 2) The relationship between the knowledge and attitude on the behavior of nurses to caring for the elderly with delirium after cardiac surgery. The sample is 61 registered nurses in the cardiac and thoracic surgery ward. The research instrument consisted of a personal data record form, the Knowledge questionnaire about postoperative delirium, the Attitude questionnaire towards postoperative delirium, and the Behavior questionnaire of nurses to caring for the elderly with delirium after cardiac surgery. The reliability of the instruments was .80, .87, and .94 respectively. The results showed that the mean score of knowledge about postoperative delirium was 16.37 from 20 points (S.D. = 2.77). The mean score of attitude towards postoperative delirium was 3.62 from 5 points (S.D. = 0.49). The mean score of the behavior of nurses to caring for the elderly with delirium after cardiac surgery 3.99 from 5 points (S.D. = 0.57). The knowledge and attitude did not correlate with the behavior of nurses to caring for the elderly with postoperative delirium after cardiac surgery (p> .05).",
"th": "การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการ ผ่าตัด ทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด และพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลัง การผ่าตัดหัวใจ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ และทัศนคติ ต่อพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ สับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกจำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลัง การผ่าตัด แบบสอบถามทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด และแบบสอบถามพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .80 .87 และ .94 ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด เฉลี่ยเท่ากับ 16.37 จาก 20 คะแนน (S.D. = 2.77) ค่าคะแนนทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด เฉลี่ยเท่ากับ 3.62 จาก 5 คะแนน (S.D. = 0.49) ค่าคะแนน พฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด เฉลี่ยเท่ากับ 3.99 จาก 5 คะแนน (S.D. = 0.57) ปัจจัยด้าน ความรู้ และทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด (p >.05)"
} |
{
"en": "The purposes of this research were (1) to study learning motivation of nursing students before and after being provided the gamification learning activities (2) to compare the learning motivation of nursing students before and after being provided the gamification learning activities (3) to study the nursing students’ satisfaction of the gamification learning activities in mental health and psychiatric nursing practicum. The one group pretest-posttest design was employed in this research. The sample consisted of 97 of 3rd year nursing students who enrolled in mental health and psychiatric nursing practicum of the Royal Thai Army Nursing College of 2017 academic year, obtained by purposive sampling. The results of this research were found that 1) the nursing students who studied in mental health and psychiatric nursing practicum based on gamification learning activities had higher learning motivation than before 2) there were statistically significant differences at .05 level on learning between pre-test scores and post-test scores of learning motivation among the nursing students who studied in mental health and psychiatric nursing practicum based on gamification learning activities. (3) the study satisfaction of the nursing students towards mental health and psychiatric nursing practicum with gamification learning activities was at a medium level ( = 3.80, SD = 0.83).",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนพยาบาลก่อนและหลังได้รับจัดกิจกรรมการเรียน รู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนพยาบาลก่อนและหลังได้รับจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนพยาบาลหลังได้รับจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน ใน วิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนพยาบาลกองทัพบก ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ปีการศึกษา 2562 ที่ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 97 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนพยาบาลมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังได้รับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช สูงกว่ากว่าก่อนได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนพยาบาลมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึง พอใจของนักเรียนพยาบาลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.80, SD = 0.83)"
} |
{
"en": "This study aimed to develop participatory fall preventive model for community-dwelling elderly people in Ratchaburi province. The integration of community empowerment and health risk communication was applied as a study framework. The mixed-method design was applied by using among 150 participants of key persons during May-December 2019. The data were collected through quality approved instruments; including a set of open-ended questions, balancing screening test, environment risk assessment, and fall preventive behavior questionnaire. A paired t-test was used to examine the difference mean scores of quantitative data, while content analysis technique was used for qualitative data. The findings revealed that the effectiveness of collaborative fall preventive model. The key success factors were the significant communication channel through public forum and health volunteers, towards friendly climate and active working team. This model consisted of 1) situational analysis and vision 2) multi-factorial intervention campaign 3) process evaluation and monitoring and 4) Summarization. Moreover, after joining the intervention program, the samples’ fall preventive behavior improved, as did their physical balance significantly. Thus, the suggestion is to be reinforce the community continuingly for growing up their strength of those related to fall prevention strategies development.",
"th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดราชบุรี ด้วยการบูรณาการแนวคิดเสริมพลังชุมชนและแนวคิดการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพเป็นกรอบการวิจัย เก็บข้อมูลแบบผสมผสาน จากผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย จำนวน 150 คน ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2562 โดยใช้ชุดคำถามปลายเปิดสำหรับการทำประชาคม แบบประเมินการทรงตัว แบบประเมินความเสี่ยงของสภาพแวดล้อม และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มที่ได้รับการ ตรวจสอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ ที ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการป้องกันการหกล้มแบบร่วมมือกันที่มีประสิทธิผล เกิดจากช่องทางการสื่อสารที่สำคัญ ผ่านเวทีประชาคมและการถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร และการทำงานเป็นทีมที่กระตือรือร้น ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์และการสร้างวิสัยทัศน์ 2) การจัดการความเสี่ยง แบบพหุปัจจัย 3) การประเมินกระบวนการและรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และ 4) การสรุปผล ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการป้องกันฯ กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการทรงตัวและพฤติกรรมการป้องกันฯ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ชุมชนควรได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการเป็น “หมู่บ้านเข้มแข็ง” ในการพัฒนามาตรการการป้องกัน การหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนของตน"
} |
{
"en": "This research was an integrated research which aimed to study the clinical integrating of nursing supervision process according to the perceived by professional nurses in private hospitals. Data collecting was done by using the questionnaires to inquire the opinion of the private professional nurses and in-depth interview. The purpose of this paper was to study the behavioral in clinical integrating of nursing supervision process according to the perception of the professional nurses and the nurse population those who work among the private hospitals around Bangkok and Metropolitan area. Primarily, the focus was on the supervision of nursing quality assurance. The Secondary focus was on the process of contribution and learning respectively. In accordance with the quality research, it found that learning on the supervision had many related factors either the preparation of supervisors, supervision issues or the supervision technique which needed to be developed. Such a personal factor as work experiences had a negative correlation with the clinical integrating of nursing supervision process according to the perception of the professional nurses amongst the private hospitals. The integrated nursing supervision significance was on the nurses who had much work experience, and vice versa.",
"th": "การวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการนิเทศการพยาบาลแบบบูรณาการในคลินิกตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ภาคเอกชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้สอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพภาคเอกชนและสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกระบวนการนิเทศการพยาบาลในคลินิกตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับด้านการดำเนินการนิเทศตาม หลักการประกันคุณภาพการพยาบาลมากที่สุด รองลงมาเป็นกระบวนการสนับสนุนและกระบวนการเรียนรู้ตามลำดับสอดคล้องกับ การวิจัยเชิงคุณภาพที่พบว่า การเรียนรู้ในการนิเทศมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากทั้งการเตรียมผู้นิเทศประเด็นการนิเทศ เทคนิคการนิเทศ ที่ต้องพัฒนาอีกมากปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับกระบวนการนิเทศแบบบูรณาการ ในคลินิกตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลภาคเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการ ทำงานมาก จะมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการนิเทศในกระบวนการนิเทศแบบบูรณาการในระดับต่ำกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มี ประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า"
} |
{
"en": "The purpose of this qualitative research was to explore the experience of perception of caring among patients with end-stage renal failure disease undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis. Data were collected through in-depth interviews with 30 selected participants by the semi-structured interview guide. Data were collected and analyzed up to a certain time that researchers had sufficient information and saturation. The results of the study showed that 4 issues: (1) The meaning of caring (consisted of caring in period of treatment decision and help care/treatment following) (2) Nursing intervention which shown caring (consisted of having knowledge and be expertise, showing understand and compassionate, always have time) (3) Factors affected to caring (consisted of personal character of nurse and behavior of patients and family) (4) The expectation of being caring (consisted of providing knowledge/advise without asking and comfortable getting/continuous following). The result of the study can be used as the guidelines for caring to the needs of patients.",
"th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการรับรู้การได้รับการดูแลอย่างเอื้ออาทรของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย ที่ได้รับล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจนได้ข้อมูลอิ่มตัว ผลการวิจัยพบการรับรู้การได้ รับการดูแลอย่างเอื้ออาทรของผู้ป่วยประกอบด้วย 4 ประเด็นคือ (1) ความหมายของการดูแลอย่างเอื้ออาทร ได้แก่ 1) ดูแลในระยะ ที่ต้องตัดสินใจทำการรักษา และ2) ดูแลช่วยเหลือ/ติดตามการรักษา) (2) การปฏิบัติของพยาบาลที่แสดงถึงการดูแลอย่างเอื้ออาทร ได้แก่ 1) มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 2) แสดงออกถึงความเข้าใจและมีจิตใจที่เมตตา และ3) มีเวลาให้ผู้ป่วยเสมอ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการดูแลอย่างเอื้ออาทร ได้แก่ 1) ลักษณะส่วนบุคคลของพยาบาล และ2) การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและ ครอบครัว และ (4) ความคาดหวังการได้รับการดูแลอย่างเอื้ออาทร ได้แก่ 1) ให้ความรู้ คำแนะนำ โดยไม่ต้องถาม และ2) ได้รับ ความสะดวกสบาย/ติดตามอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาที่ได้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลอย่างเอื้ออาทรได้ตรงตามการ ความต้องการของผู้ป่วย"
} |
{
"en": "This research and development study aimed to 1) to study the situation on falling, 2) to develop the personalized care model to prevent falling for patients with impaired mobility and 3) to evaluate the effectiveness of the developed model to prevent falling. The sample was 80 patients receiving rehabilitation in Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute and 19 nurses. The instruments consisted of 1) the guideline of personalized care model, including the guideline of personalized care to prevent falling for taking care of nurses, the guideline of preventing falls in the hospital and moving patients and the set of VDOs on falling prevention in the hospital, 2) the patient record form 3) the evaluating form the knowledge of nurse, and 4) the evaluating form on the satisfaction of nurse, the reliability of these instruments at .91, .86, .80, and .98, respectively. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Chi-square, and content analysis. The finding showed that patients had had falls 17 times when received the previous fall prevention care model. Patients who received the personalized care model to prevent falling had not had falls in 4 months. Nurses had increased knowledge, 100%, and were satisfied in this model at 4.25. Using this model should evaluate factors inappropriate each patient and the context of the organizations.",
"th": "การศึกษานี้เป็นวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การพลัดตกหกล้ม 2) พัฒนารูปแบบการดูแล ผู้ป่วยเฉพาะรายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยบกพร่องทางการเคลื่อนไหว และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยบกพร่องทางการเคลื่อนไหวที่เข้ารับการฟื้นฟูสภาพที่สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางการแพทย์แห่งชาติ จำนวน 80 คน และพยาบาล จำนวน 19 คน เครื่องมือมีดังนี้ 1) คู่มือการดูแลผู้ป่วยได้แก่ คู่มือการดูแล ผู้ป่วยเฉพาะรายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับพยาบาล คู่มือการป้องกันพลัดตกหกล้มและชุดวีดีทัศน์สำหรับผู้ป่วยและญาติ 2) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย 3) แบบประเมินความรู้ของพยาบาลและ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลความเที่ยงเท่ากับ .91, .86, .80 และ .98 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าเกิดอุบัติการณ์ 17 ครั้งกับผู้ป่วยในช่วงที่ใช้รูปแบบการพลัดตกหกล้มแบบเดิม เมื่อใช้รูปแบบการดูแล ผู้ป่วยเฉพาะรายที่พัฒนาขึ้น ไม่พบอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มใน 4 เดือน พยาบาลมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 และมีความพึงพอใจ ในการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเท่ากับ 4.25 การนำรูปแบบไปใช้ควรมีการปรับแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงให้เหมาะสม กับผู้ป่วยและบริบทหน่วยงาน"
} |
{
"en": "This quasi-experimental study was aimed to examine the effect of a health promotion program for teenage pregnant women on total gestational weight gain and infant birthweight using the concept of Pender’s Health Promotion Model. Teenage pregnant women were purposively selected and randomly assigned into the control and experimental groups (n = 26 for each group). The control group received standard nursing care, and the experimental group received the health promotion intervention program. The program comprised group and individual education using multimedia and discussion, 24-hr diet diary, and a questionnaire asking for an individual’s eating problems and barriers. Total gestational weight gain and infant birth weight were collected. Data were analyzed using Fisher’s exact test and independent t-test. The results show that the proportion of total gestation weight gain based on body mass index in the experimental group was significantly higher than the control group (p <.05), and the mean birthweight in the experimental group was also significantly higher than the control group (p <.05). The results of this research suggest that teenage pregnant women with low body mass index, nurses should provide health promotion programs for pregnant women with standard nursing care.",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ตลอดการตั้งครรภ์และน้ำหนักทารกแรกเกิด โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ วัยรุ่น คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 26 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตาม ปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ประกอบด้วย การให้ความรู้ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล โดยใช้ สื่อประสม ที่จัดทำขึ้นสำหรับวัยรุ่น การส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยการอภิปรายร่วมกัน การบันทึกการรับประทานอาหาร 24 ชั่วโมง การสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการรับประทานอาหารเป็นรายบุคคล เก็บข้อมูล น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และน้ำหนักทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติ Fisher’s exact test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ตรงตามเกณฑ์ดัชนีมวลกายของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในกลุ่ม ทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p < .05) และค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกแรกเกิดในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p < .05) ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำพยาบาล ควรให้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นควบคู่กับการดูแลปกต"
} |
{
"en": "Nursing Students need to cope with several aspects affecting their mental health issues, especially depressive symptoms. Therefore, providing them the adaptation enhancing program could reduce depressive symptoms among nursing students. The purpose of this quasi-experimental study was to examine effects of using the adaptation enhancing program on depressive symptoms among nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Phra-phutthabat (BCNPB). Samples were 36 first year nursing students. Eighteen nursing students were randomly selected in the experimental group participating in the adaptation enhancing program. There were 6 weeks of 60-90 minutes session per week. Whereas, other 18 nursing students in the control group participating in the standard-college program. The CES-D inventory was used to collect data at pre-post test and one month follow-up. Reliability was 0.82. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measures ANOVA, and multiple comparisons by bonferroni were employed to analyze the data. The results of this study were as follows:\n\nAfter completion of the adaptation enhancing program, participants in the experimental group had significantly lower mean scores of depressive symptoms than the control group at the post-test (p < .01) and 1 month follow-up period (p < .001).\nIn the experimental group, mean scores of depressive symptoms at pre-test, post-test and 1 month follow-up were significantly different (p < .001).\n\nFrom the study results, it showed that this adaptation enhancing program could decrease depression among first year students. Therefore, nursing instructors could apply this program in order to reduce depressive symptoms among nursing students in other institutes.",
"th": "นักศึกษาพยาบาลต้องมีการปรับตัวหลายด้านซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า การจัด โปรแกรมเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวจึงเป็นประโยชน์ในการลดภาวะซึมเศร้าให้กับนักศึกษาพยาบาล การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการปรับตัวต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 36 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมกลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างการปรับตัวทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของวิทยาลัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และติดตามผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่าง รายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตาม ผล 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01, p"
} |
{
"en": "The purposes of this research study were to analyze the theories of leadership and work engagement of nursing personnel, and to synthesize empirical evidence about leadership and work engagement. The samples were 24 research reports, which were selected according to the specified criteria. The Research instruments was the Quality Assessment Criteria for Research Papers. The instrument quality was evaluated by using Kappa statistics to test the consistency between assessors in the research team. The findings of the research study showed that the transformational leadership theory is the most using leadership theory in research studies (n = 12), which is an independent variable (n = 24). For work engagement of registered nurse used three dimension measurement was primarily used (n = 23), namely vigor, dedication, and absorption. The greatest number of reports in correspondence to the leadership theories were found from 2015 to 2019 (n = 17), The data were collected by using a questionnaire (n = 24). The quality value of the research instrument was more a reliable than 0.80 (n = 21).The main parts of the research study involved in the relation between leadership and work engagement (n = 20).The secondary parts was followed by a prediction of leadership with work engagement (n = 8). Therefore, it is implied that the number of research type about leadership of Thai nurses and work engagement is minimal.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ทฤษฎีภาวะผู้นำกับความยึดมั่นผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ และ เพื่อ สังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำและความยึดมั่นผูกพันในงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวนรายงานวิจัย 24 เรื่อง โดยคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือคือแบบประเมินคุณภาพมาตรฐานงานวิจัย ใช้สถิติแคปปาเพื่อประเมินคุณภาพเครื่องมือ โดยการทดสอบความสอดคล้องกันระหว่างผู้ประเมินของทีมงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดภาวะผู้นำที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ใช้ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด (n = 12) โดยเป็นตัวแปรอิสระ (n = 24) ส่วนทฤษฏีความยึดมั่นผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพใช้การวัด 3 มิติมากที่สุด (n = 23) คือความกระตือรือร้น (Vigor) การอุทิศตนให้กับงาน (Dedication) และความรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต (Absorption) จำนวนการวิจัยพบว่าปี ค.ศ. 2015-2019 มีรายงานมากที่สุด (n = 17 ) โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามทั้งหมด (n = 24) คุณภาพของเครื่องมือมีค่าความเที่ยงมากกว่า 0.80 (n = 21) งานวิจัยส่วนใหญ่ เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ ผู้นำกับความยึดมั่นผูกพันในงาน (n = 20) รองลงมาเป็นการทำนายภาวะผู้นำกับความยึดมั่นผูกพันในงาน (n = 8) ดังนั้นจึงมีนัยว่า จำนวนวิจัยด้านนี้มีน้อย"
} |
{
"en": "At present, the trend of syphilis infection in pregnancy is increasing. Syphilis infection has impact on pregnant women fetus and newborns, husband and nation such as abortion, preterm labor, dead fetus in utero, congenital syphilis, transmission of the infection to husband and lost the budget for treatment etc. Therefore, midwives should give importance and have knowledge and understanding about the role of midwives in taking care of syphilis in pregnancy throughout the childbirth cycle including pregnancy, delivery and postpartum. To guide nursing care syphilis in pregnancy and screening for newborns with congenital syphilis. For reducing the impact and severity of syphilis on pregnancy fetuses and newborns, husbands and the nation.",
"th": "ปัจจุบันแนวโน้มการติดเชื้อซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดเชื้อซิฟิลิสส่งผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด สามี รวมถึงประเทศชาติ เช่น การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือตาย คลอด ทารกพิการจากโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด การแพร่กระจายเชื้อสู่สามี สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา เป็นต้น ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ ควรให้ความสำคัญและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิส ตลอดระยะวงจร การมีบุตร ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เพื่อเป็นแนวทางในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ ที่ติดเชื้อซิฟิลิส และการตรวจคัดกรองทารกที่เป็นโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด เพื่อลดผลกระทบและความรุนแรงของโรคซิฟิลิสต่อสตรี ตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด สามี และประเทศชาติ"
} |
{
"en": "Acute leukemia is a disease caused by abnormalities of blood stem cells in the bone marrow. The chemotherapy is important drug which was used to destroy leukemic cells in acute leukemia patients. Febrile neutropenia is a serious complication of chemotherapy that is a major cause of death. S-SHIP-BE technique was used to prevention infection from febrile neutropenia. It comprised of screening, staff educating, hand hygiene washing, zoning, personal protective equipment wearing, bathing, and environment managing. These are important roles of nurse to promote the quality of life and they were effective techniques to reduce death rate in acute leukemia patients.",
"th": "มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เป็นโรคที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ยาเคมีบำบัดเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะเฉียบพลัน ภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาว ต่ำเป็นอาการแทรกซ้อนรุนแรงจากการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิต การใช้หลัก S-SHIP-BE เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งประกอบด้วยการคัดกรองความเสี่ยงภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาวต่ำ การให้ความรู้แก่ทีมพยาบาล การล้างมือ การจัดพื้นที่ให้กับผู้ป่วย การสวมใส่อุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ กระจายเชื้อ การอาบน้ำให้ผู้ป่วย และการจัดสภาพแวดล้อม เป็นบทบาทการพยาบาลที่สำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะเฉียบพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
} |
{
"en": "Transformative Learning is learning through the reflection process that the goal of learning management towards a change in the nursing education perspective are to encourage nursing graduates after graduation, achieving change agent, professional nurses solving current and serious health problems, including effect to higher client expectation of nurses’ caring as well. In this new paradigm of learning management towards change, the author applied a new conceptualization process to design learning activities in Nursing Administration and Management Subject for achieving change agent and taking a role of nursing change leader in the future.",
"th": "การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสะท้อนคิด โดยเป้าหมายการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในมุมมองด้านการศึกษาพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตพยาบาลเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถนำการเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติการ พยาบาลได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพปัจจุบันที่มีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลต่อความคาดหวัง ของผู้รับบริการจากการดูแลของพยาบาลวิชาชีพสูงมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนได้ประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างกรอบความคิดใหม่ นำมาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาการบริหารและการจัดการ พยาบาล เพื่อให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง สามารถปฏิบัติบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการพยาบาล ต่อไปได้ในอนาคต"
} |
{
"en": "Stroke is a major cause of mortality and lifelong disability. The important risk factors for the disease are inappropriate health behaviors such as lack of exercise, unhealthy diet, smoking and drinking, etc. These factors such as hypertension, diabetes mellitus, heart disease, and high cholesterol can lead to stroke. Stroke affects the quality of life of the patients including physical, mental, social, family and economic loss. Therefore, prevention of stroke is an important role of community health nurses. Self-management concepts can be applied to help the patients to change their behaviors. The process consists of 1. Setting goals 2. Data collection 3. Data processing and evaluation 4. Decision Making 5. Implementation and 6. Self-reflection. Community health nurses can apply these concepts to prevent the occurrence of stroke and to promote the quality of life of the patients and their families. These steps can also help develop their self-efficacy to manage the disease by adjusting their behaviors to be in accordance with their conditions of disease and satisfaction in daily life.",
"th": "โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการตลอดชีวิต ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคเกิด จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เหมาะสม ภาวะโภชนาการเกิน การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวก่อให้เกิดกลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะโรคหัวใจ ไขมันในเลือด สูง ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ สังคม ครอบครัวรวมถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจ การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นบทบาทที่สำคัญ ของพยาบาลอนามัยชุมชน โดยการให้บริการการป้องกันเบื้องต้นแก่ชุมชน การนำแนวคิดการจัดการตนเองซึ่งเป็นกระบวนการที่ ช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนมุมมองพฤติกรรมของตนเอง ประกอบด้วย 1. การตั้งเป้าหมาย 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล 3. การประมวลผล และการประเมินข้อมูล 4. การตัดสินใจ 5. การดำเนินการ และ 6. การสะท้อนตนเอง มาใช้ในการปฏิบัติงานของพยาบาลอนามัย ชุมชนในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองนั้น จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการพัฒนาความ เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการจัดการกับโรคเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับภาวะของโรคที่เป็นอยู่ และพึงพอใจในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข"
} |
{
"en": "Gastroschisis is an abnormal condition of neonate with a hole in the congenital abdominal wall. It results from an abnormality in the umbilical vein or a ruptured umbilical hernia sac. It defects the anterior abdominal wall in every layer. Therefore, the intestine protrudes from the abdominal wall and is swollen, inflamed, or infected. The doctor can detect this condition in the antenatal period and after delivery. After birth, preventing hypothermia, infection, and lack of water and nutrients is very important. After the abdominal wall closed surgery, nursing care focuses on preventing hypoxia due to decreased breathing efficiency. It can occur because of re-entering the intestine into the abdomen cavity. That can make the chance of increased intra-abdominal pressure. The register nurses have to monitor the abdominal compartment syndrome, wound infection, and lack of water and nutrition due to the dysfunction of the intestine. Before discharging the neonate, nurses should assess the parents’ knowledge, anxiety, and readiness to care for their newborn at home and encourage them to care for the newborn’s safety.",
"th": "ภาวะผนังหน้าท้องพิการแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติของทารกแรกเกิดที่มีช่องโหว่ที่ผนังหน้าท้อง ซึ่งเป็นผลมาจากความ ผิดปกติของหลอดเลือดดำบริเวณสะดือหรือเกิดจากถุงไส้เลื่อนของสายสะดือแตก จนทำให้เกิดช่องโหว่บริเวณผนังหน้าท้อง ในทุก ๆ ชั้น และลำไส้ยื่นออกมาจากผนังหน้าท้อง จนลำไส้บวม อักเสบ หรือติดเชื้อ แพทย์สามารถตรวจพบภาวะนี้ได้ตั้งแต่ ระยะตั้งครรภ์ และภายหลังการคลอด ซึ่งหลังคลอดควรป้องกันการเกิดอุณหภูมิกายต่ำ การติดเชื้อ และการขาดสารน้ำและ สารอาหารเป็นสำคัญ เพราะมีการนำลำไส้กลับเข้าสู่ช่องท้อง การพยาบาลจึงเน้นเรื่องการป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนจากประสิทธิภาพการหายใจลดลง ซึ่งเกิดขึ้นได้เนื่องจาก การปิดผนังหน้าท้องแล้วมีโอกาสทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้องติดตามการเกิดภาวะความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น การติดเชื้อจากแผลผ่าตัด และการขาดสารน้ำและอาหาร เนื่องจากลำไส้ยังไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน พยาบาลควรประเมินความรู้ ความวิตกกังวล และความพร้อมของผู้ปกครองในการดูแลทารกต่อที่บ้าน และสนับสนุนให้ผู้ปกครอง ดูแลทารกให้ปลอดภัย"
} |
{
"en": "The purposes of this research and development were: (1) to develop an enhancing competency program through Electronic Media for perioperative nurses to care patients with brain tumor surgery at Sunpasitthiprasong Hospital, and (2) to examine the results of program implementation for caring patients with brain tumor surgery at Sunpasitthiprasong Hospital.\nThe sample comprised 36 perioperative nurses at the 1st - 4th levels in the operating room at Sunpasitthiprasong Hospital, and they were selected by purposive sampling. The research tools composed of (1) a program to enhance competency through electronic media, named “Line Application on Brain Tumor Surgery” for perioperative nurses and a surgeon to care patients with brain tumor surgery, and (2) evaluation form to evaluate perioperative nurses’ competencies. These tools were developed by the researcher and integrated 3 concepts relating to brain tumor surgery, and were verified by 5 experts. Content validity index and the Cronbach’s alpha reliability coefficients of the questionnaires were 0.944 and 0.982 respectively. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pair t-test.\nResearch findings were as follows. 1) The developed program included 5 activities (1) program introduction, (2) giving knowledge, (3) simulation, (4) assignment, and (5) knowledge sharing. 2) After program implementation, the mean score of perioperative nurses’ competencies in 5 domains was at the highest level (M = 4.394, SD = .447), and were statistically significantly higher than before (p < .01).",
"th": "การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับพยาบาล ปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และ 2) ศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้าง สมรรถนะไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง\nกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นพยาบาลปริศัลยกรรมระดับ 1- 4 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 36 คน กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ชื่อ “กลุ่มไลน์ก้อนเนื้อ งอกสมอง” สำหรับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมองของกลุ่มตัวอย่างและแพทย์ผู้ผ่าตัด และ (2) แบบประเมินสมรรถนะ พยาบาลปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการบูรณาการ 3 แนวคิดที่เกี่ยวกับการผ่าตัด สมอง และผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาและค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.944 และ 0.982 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบที\nผลการศึกษาพบว่า 1) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นมีกิจกรรม 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) การปฐมนิเทศ (2) การให้ความรู้ (3) สถานการณ์จำลอง (4) การมอบหมายงานปฏิบัติการพยาบาล และ (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 2) ผลการนำโปรแกรมไปใช้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะพยาบาลปริศัลยกรรมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดก้อนเนื้องอกสมอง ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.394, SD = .447) และค่าเฉลี่ยของสมรรถนะพยาบาลปริศัลยกรรมหลังเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01"
} |
{
"en": "The purposes of this research were to develop a health promotion program to reduce the use of pesticides in order to prevent non-communicable diseases in farmers and to study the effectiveness of the program. The sample comprised of 40 registered farmers from Mae -Chan, Chiang-Rai. The research methodology was divided into 2 phases. Phase1: Develop health promotion program to reduce the use of pesticides for the prevention of non-communicable diseases in farmers. Phase 2: Pre and Post evaluation of participation in health promotion program to reduce the use of pesticides for the prevention of noncommunicable diseases in farmers. The instrument used in the research was the questionnaire to assess ฅfarmers’ knowledge on pesticide use to prevent non-communicable diseases. The data were analyzed by descriptive statistics, and Paired t-test. The results showed that the behavioral scores for pesticide use before and after receiving the health promotion program was significantly different. (t = 14.866, p <.05).",
"th": "การวิจัยเพื่อพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเกษตรกรและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และอาศัยอยู่ในชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนาโปรแกรม การส่งเสริมสุขภาพลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังของเกษตรกร ระยะที่ 2 การประเมินผลก่อน-หลังการเข้า โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังของเกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความรู้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ โดยการทดสอบค่าที (Paired t-test) ผลการศึกษา พบว่า คะแนนพฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัด ศัตรูพืชก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 14.866, p < .05)."
} |
{
"en": "This research is a descriptive research to determine the outcome indicators for acute stroke patients in community hospitals. And how to define the indicators is the researcher will review the related literature and use theoretical method as a preliminary indicator of the conceptual framework and the opinions of experts who have knowledge, ability and experience. The expert group consists have 21 persons, divided into 5 Nursing instructor and academic group, 7 nursing administrators, 6 Advance practice nurse and 3 Stroke specialist doctor. The data collection tool is the questionnaire about the indicators of nurses in acute stroke patients in community hospitals, 3 rounds include opened end questionnaires and rating scale questionnaires and showing the quartile range questionnaires and median for the expert to confirm the answer or change the answer Data analysis by using statistics to measure central tendency and interquartile range. The study found that the results of indicators for acute stroke patients in community hospitals include 7 domains, 41 indicators: 1) The safety of the nervous system and brain. 2) The access and efficiency of the period of receiving thrombolytic drugs. 3) The coordinating care and transfer to another hospital. 4) The satisfaction of patients and family in receiving services. 5) The psychological response of patients and family. 6) Discharge planning. 7) Continuing of care.",
"th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบ Delphi technique มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน โดยผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบจำนวน 21 ท่าน ได้แก่ กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการ จำนวน 5 ท่าน กลุ่มผู้บริหาร ทางการพยาบาล จำนวน 7 ท่าน กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 6 ท่าน และกลุ่มแพทย์ 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความ คิดเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบ ด้วย 7 รายด้านหลัก 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านความปลอดภัยของระบบประสาทและสมอง 6 ตัวชี้วัด ด้านการเข้าถึงและประสิทธิภาพ ของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 5 ตัวชี้วัดด้านการประสานงานดูแลส่งต่อ 7 ตัวชี้วัดด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการ เข้ารับบริการ 6 ตัวชี้วัดด้านการตอบสนองด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติ 3 ตัวชี้วัด ด้านการวางแผนจำหน่าย 8 ตัวชี้วัด และด้าน การดูแลต่อเนื่อง 6 ตัวชี้วัด โดยมีค่า มัธยฐานอยู่ในช่วง 4.18 – 4.93 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์อยู่ในช่วง 0.59 - 1.29 ผลการวิจัยจะได้ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์การพยาบาล ที่สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน ปรับปรุงกระบวนการ พยาบาลการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน"
} |
{
"en": "This research is a descriptive cross-sectional study design. The objective is to follow up on the competencies of nurse practitioners attended the 4-month primary medical care nurse practitioner program at Boromarajonani College of Nursing Bangkok. The sample was a total of 66 which comprised 43 graduated nurse practitioners and 23 supervisors of them. The research instruments included 1) the nurse practitioner competency evaluation scale on primary medical care and 2) the satisfaction questionnaire of supervisor towards nurse practitioner competency on primary medical care.\nResults at 1-year post training showed that self-perception of nurse practitioners on the overall competency regarding primary care practice was at good level (Mean = 3.93, S.D. = 0.68). 1) Perceptions of supervisors towards the overall competency of nurse practitioners on primary medical care was at good level (Mean = 4.16, S.D. = 0.56). The comparison of mean scores between self-perceived competency of nurse practitioners and competency perceived by supervisors was not significantly different (t = 1.48, p = .72). 2) The satisfaction of supervisors towards nurse practitioner competency on primary medical care was at very high level (Mean = 4.36, S.D. = 0.50).\nIn conclusion, these satisfactory findings support the effectiveness of the primary medical care nurse practitioner training program hosted by Boromarajonani College of Nursing Bangkok In managing the curriculum, research results should be used as the basis for planning for future curriculum development.",
"th": "การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะของพยาบาล เวชปฏิบัติที่สำเร็จการอบรมระยะสั้น 4 เดือน หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปด้านการรักษาโรค เบื้องต้น จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 คน ประกอบด้วยพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สำเร็จการ อบรม จำนวน 43 คนและผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของ พยาบาลเวชปฏิบัติด้านการรักษาโรคเบื้องต้น 2) แบบประเมินความพึงพอใจของหน่วยงานต้นสังกัด สำหรับผู้บังคับบัญชาที่มีต่อ การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติด้านการรักษาโรคเบื้องต้น\nผลการศึกษา หลังการฝึกอบรมในระยะ 1 ปี พบว่า 1) การรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลเวชปฏิบัติต่อการปฏิบัติการ รักษาโรคเบื้องต้นโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.93, S.D. = 0.68) การรับรู้ของผู้บังคับบัญชาต่อสมรรถนะโดยรวมของพยาบาล เวชปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาโรคโรคเบื้องต้นจัดอยู่ในระดับดี (Mean = 4.16, S.D. = 0.56) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะ ของพยาบาลเวชปฏิบัติ ตามการรับรู้ของตนเอง และตามการรับรู้ของผู้บังคับบัญชา พบว่าไม่แตกต่างกัน (t = 1.48, p = .72) 2) ความพึงพอใจโดยรวมของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติจัดอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.36, S.D. = 0.50) ข้อค้นพบนี้แสดงถึงประสิทธิภาพการจัดอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป การรักษาโรคเบื้องต้น) ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในการบริหารหลักสูตรควรนำผลการวิจัยไปเป็นฐานในการ วางแผนพัฒนาหลักสูตรในรุ่นถัดไป"
} |
{
"en": "This qualitative study aimed to describe the life scenes of patients with cholangiocarcinoma living in a province in the Northeast of Thailand. The informants were 38 patients with cholangiocarcinoma and their family members selected by a purposive sampling method. Data were collected by in-depth interviews, and analyzed by content analysis based on Giorgi’s guidelines. The results showed that the life scenes of patients with cholangiocarcinoma consisted of 2 main issues: (1) 3 characteristics of patients with cholangiocarcinoma, namely 1) those who have not yet had symptoms but the disease has accidentally detected, 2) those with mild symptoms similar to gastric disease, and 3) those with severe symptoms; and (2) 4 types of lifestyle of patients with cholangiocarcinoma: 1) living alone, 2) staying with family, 3) having self-care for not suffering and 4) trying to stay alive for as long as possible. The results of the study can be used as the guidelines for caring for patients with cholangiocarcinoma and can be the proposal for the integration of knowledge in caring for patients with cholangiocarcinoma between the professional sector and the public sector.",
"th": "การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายฉากชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อนน้ำดี ซึ่งอยู่ในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและสมาชิกครอบครัวที่คัดลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 38 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวทางของ Giorgi ผลการวิจัยพบว่า ฉากชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี 2 ประเด็นหลัก คือ (1) ลักษณะของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี ประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ที่ยังไม่มีอาการ ตรวจพบโรคโดยบังเอิญ 2) กลุ่มผู้ที่เป็นน้อย อาการคล้าย ๆ โรคกระเพาะอาหาร และ 3) กลุ่มผู้ที่เป็นมาก โรคลุกลาม และ (2) วิถีความเป็นอยู่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ 1) อยู่คนเดียว ลำพัง 2) อยู่กับครอบครัว 3) อยู่ดูแลตนเองไม่ให้ทุกข์ทรมาน และ 4) อยู่มีชีวิตให้นาน ๆ เท่าที่ทำได้ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็น แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี และเป็นข้อเสนอในการบูรณาการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระหว่างภาค วิชาชีพและภาคประชาชน"
} |
{
"en": "The purpose of this research was to study the relationship of empowerment and postpartum self-care behavior of teenage mother. Samples were 100 in postpartum teenage mother by purposive sampling. Research instruments were a demographic questionnaire, the opinion of empowerment in teenage mother, and postpartum self-care behavior of teenage mother which was tested for content validity and reliability. The Cronbach’s Alpha Coefficient of questionnaire was .95. Data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation.\nFindings revealed that the empowerment correlated the postpartum self-care behavior of teenage mother at the most was the nurse ( = 4.22, SD = .75) and the least was the client ( = 3.72, SD = .81). The postpartum self-care behavior of teenage mother was a high level ( = 3.90, SD = .22) at the most was the therapeutic self-care demand ( = 4.25, SD = .74) and the least was the theory of self-care ( = 3.02, SD = .91). The empowerment was positively correlated with the postpartum self-care behavior of teenage mother at statistically significant level of .01. (r = .56).",
"th": "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเสริมสร้างพลังกับพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดของ มารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดปกติ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จำนวน 100 คน จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังของมารดาวัยรุ่น และแบบสอบถามพฤติกรรม การดูแลตนเองหลังคลอดของมารดาวัยรุ่น ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\nผลการวิจัย พบว่า การเสริมสร้างพลังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดของมารดาวัยรุ่น ด้านที่มี ความสัมพันธ์มากที่สุด คือ ผู้ให้การพยาบาล ( = 4.22, SD = .75) ด้านที่ส่งผลต่ำสุด คือ ผู้รับบริการ ( = 3.72, SD = .81) ส่วนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดของมารดาวัยรุ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.90, SD = .22) ด้านที่มีค่าสูงสุด คือ การดูแลตนเองที่จำเป็นเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ ( = 4.25, SD = .74) ด้านที่มีค่าต่ำสุด คือ การดูแลตนเองที่จำเป็น โดยทั่วไป ( = 3.02, SD = .91) และการเสริมสร้างพลังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดของ มารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .56)"
} |
{
"en": "The purpose of this research was to study the correlation among factors such as income, perceived health status, caregiver, social support, access to care, the 3E 2S policy and health literacy among a high-risk diabetes mellitus population in Bangkok. The sample was 230 high-risk diabetes mellitus, people aged 18 - 59 years, both male and female in Bangkok community. The samples were obtained by simple random sampling by using questionnaires, consisting of a demographic questionnaire, perceived health status questionnaire, social support questionnaire and health literacy questionnaire according to ‘3E 2S’ policy in population at high-risk diabetes mellitus. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson product - moment correlation coefficient and point-biserial correlation coefficients.\nThe results show that the high risk diabetes mellitus population had moderate overall health literacy (56.1%) and the factors related to health literacy among the high risk diabetes mellitus with statistical significance include income, perceived health status, social support, access to care and the 3E 2S policy. It was found that the factor that was not related to health literacy among the high-risk diabetes mellitus population was care giver From the study, proactive service system model should be developed to enhance health literacy by considering income, perceived health status Social support Providing services that are easily accessible And support awareness and access to 3E 2S policy",
"th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยได้แก่ รายได้ การรับรู้ภาวะสุขภาพ ผู้ดูแล การสนับสนุน ทางสังคม การเข้าถึงบริการ และนโยบาย 3อ.2ส. กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร อายุ 18-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศ หญิง จำนวน 230 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการ รับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบ ซีเรียล\nผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความ รอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ การรับรู้ ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึงบริการ และนโยบาย 3อ.2ส. พบว่าปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้าน สุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร คือ การมีผู้ดูแล จากผลการศึกษาควรพัฒนารูปแบบระบบบริการเชิงรุกที่สร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยคำนึงถึง รายได้ การรับ รู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การจัดบริการที่เข้าถึงง่าย และการสนับสนุนการรับรู้และเข้าถึงนโยบาย 3 อ 2ส"
} |
{
"en": "The purpose of this pretest-posttest quasi-experimental research design was to examine the level of knowledge for hypertension prevention, attitude to hypertension disease and hypertension prevention behavior in the pre-hypertension Akha population. The samples were 30 pre-hypertension Akha population that were selected by targeted sampling method. The samples received 12 weeks of Akha guide program based on health promotion theory. The instruments for data collection were general questionnaires, hypertension knowledge questionnaires, attitude to hypertension disease questionnaires and hypertension prevention behaviors questionnaires. The data analysis used descriptive statistic and t-test.\nThe results indicated that samples had better posttest score of hypertension knowledge, attitude to hypertension disease and hypertension prevention behavior more than pretest. (p < 0.05)",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เจตคติต่อ โรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรอาข่ากลุ่มเสี่ยงก่อนและหลังเข้าร่วมการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรชาติพันธุ์อาข่าทั้งเพศหญิงและเพศชายที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน โดย โปรแกรมไกด์อาข่าสร้างจากแนวคิดทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูล ส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้โรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินเจตคติต่อโรคความดันโลหิตสูง และแบบประเมินพฤติกรรมการ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที\nผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมอาข่าไกด์ ประชากรอาข่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีระดับคะแนน ความรู้ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง คะแนนเจตคติต่อโรคและพฤติกรรมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนเข้า โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)"
} |
{
"en": "The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of a program for parents responding to children with difficult temperament. Parents meet the inclusion criteria were randomly assigned to the experimental and control groups with 40 participants in each group. The data were collected using the assessment for temperament form for Parents. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.\nThe results indicated that the mean posttest score for the assessment for temperament in the experimental group after participating in the program was statistically significantly lower than the mean pretest score, and the mean posttest score in the experimental group after participating in the program was statistically significantly lower than the mean control group score (p <.001). The program for parents responding to children with difficult temperament helped parents in improving their self-regulation skill and enhancing ability to respond to their children with difficult temperament properly.",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ วัดผลก่อนและหลังทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการตอบสนองพื้นฐานทางอารมณ์เด็กเลี้ยง ยากสำหรับผู้ปกครอง โดยคัดเลือกผู้ปกครองแบ่งเป็นกลุ่มรับโปรแกรมและกลุ่มรับการดูแลปกติ กลุ่มละ 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินพื้นฐานทางอารมณ์เด็กเลี้ยงยากวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที\nการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพื้นฐานทางอารมณ์เด็กเลี้ยงยากหลังรับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนรับโปรแกรม และต่ำกว่า กลุ่มรับการดูแลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p"
} |
{
"en": "The purpose of this study was to study the relationships between ecological factors and the health literacy of a high-risk hypertension population in a Bangkok community. The sample group was 282 subjects at high risk for hypertension who were aged 18-59 years. Data was obtained by using a demographic questionnaire, a health status awareness questionnaire, a questionnaire on social support from families, a questionnaire on 3A 2S. policy and a health literacy questionnaire for high blood pressure risk groups. The data analysis used descriptive statistics, Pearson’s correlation and point bi-serial correlation statistics.\nAccording to the findings, health status awareness, social support from families, proactive service systems for high blood pressure risk groups and 3A 2S policy were all correlated with the health literacy of high blood pressure risk groups in the community with statistical significance (r = .128, p < .05, r = .439, p < .001, r = .152, p < .05, r = .482, p < .001. respectively) Concerning the age and provision of services from public health volunteers, there was no correlation with the health literacy of the high blood pressure risk group in the community studied in Bangkok (r = .020, p >.05, r = .081, p >.05. respectively)\nThe findings suggested that In planning the development of a care model for high blood pressure risk groups that are suitable for the context of Bangkok, Should encourage family members to take a role in taking care for risk groups and Increase the way to educate the 3A 2S, policy",
"th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงนิเวศน์วิทยากับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากร กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อายุ 18-59 ปี จำนวน 282 คน ด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมจาก ครอบครัว แบบสอบถามนโยบาย 3อ 2ส และแบบสอบถามระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Pearson correlation และสถิติ Point Biserial Correlation\nผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ระบบบริการเชิงรุกสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง และนโยบาย 3อ.2ส. มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงใน ชุมชน กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .128, p < .05, r = .439, p < .001, r = .152, p < .05, r = .482, p < .001 ตามลำดับ) ส่วนอายุ และการได้รับบริการจากอาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน กรุงเทพมหานคร (r = .020, p >.05, r = .081, p >.05 ตามลำดับ)\nจากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ในการวางแผนการพัฒนารูปแบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงให้เหมาะสมกับ บริบทของกรุงเทพมหานคร ควรสนับสนุนให้บุคคลในครอบครัวเข้ามามีบทบาทในการดูแลกลุ่มเสี่ยง เพิ่มช่องทางในการให้ความรู้ เรื่องนโยบาย3อ2ส"
} |
{
"en": "The purpose of this research is to study the elements of parents’ responsibility and to enhancement the responsibility of parents with integrated family counseling. Which is an experimental research divided into 2 steps. Step 1 is the study of the factors of responsibility. The sample group is parents who have children offending and entering the process of the Juvenile and Family Court for 400 person. Step 2 is to enhancement of responsibility of parents with integrative family counseling. The sample group is parents who have children offending and entering the process of the Central Juvenile and Family Court with 20 parents’ moderate responsibility levels. With simple random sampling into the experimental group and the control group for 10 families each group. The tools used were the parents’ responsibility measure of 37 items with the value of .91 and family counseling programs developed by the researcher. Statistics for analysis is confirm factor analysis and repeated variance analysis.\nThe results of this research revealed that The parents’ responsibility component has 6 factors : solving problems of family members, communication of family members, roles of family members, emotional responses of family members, controlling the behavior of family members and expectations. And the enhancing the responsibility of parents found that parents who receive counseling have an average difference in parents’ responsibility scores with parents who are not consulted during the post-trial period with statistical significance at .05 level and parents who received integrative family counseling has mean scores of parents’ responsibility in the post-test period were different from the pre-trial period with statistical significance at .05 level.",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันความรับผิดชอบของพ่อแม่และเสริมสร้างความรับผิดชอบของ พ่อแม่ด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันความรับผิดชอบของ พ่อแม่ กลุ่มตัวอย่างคือพ่อแม่ที่มีบุตรกระทำผิดและเข้าสู่กระบวนการของศาลเยาวชนและครอบครัว ขั้นตอนที่ 2 เสริมสร้างความ รับผิดชอบของพ่อแม่ด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างคือพ่อแม่ที่มีบุตรกระทำผิด และเข้าสู่กระบวนการของ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ที่มีระดับคะแนนความรับผิดชอบระดับปานกลาง จำนวน 20 ครอบครัว ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความรับผิดชอบของพ่อแม่จำนวน 37 ข้อ ที่มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ\nผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันความรับผิดชอบของพ่อแม่ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การแก้ปัญหา ของสมาชิกในครอบครัว การสื่อสารของสมาชิกในครอบครัว บทบาทของสมาชิกในครอบครัว การตอบสนองทางอารมณ์ของ สมาชิกในครอบครัว การควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว และความคาดหวัง โดยกลุ่มพ่อแม่ที่ได้รับการปรึกษามีค่าเฉลี่ย คะแนนความรับผิดชอบแตกต่างกับพ่อแม่ที่ไม่ได้รับการปรึกษาในระยะหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ พ่อแม่ที่ได้รับการปรึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรับผิดชอบในระยะหลังทดลองแตกต่างจากระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05"
} |
{
"en": "This study was aimed to evaluate a caring curriculum for patients with stroke in Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi using the CIPP framework. The sample was 25 nurses who were trained in the caring curriculum, 25 commanders of nurses who were trained and 25 colleagues of nurses who were trained. Quantitative data was collected including, 1) The CIPP model questionnaire consisting of context, input, process, and the product collected from nurses who were trained in the caring curriculum, and 2) nursing competencies after training questionnaire collected from commanders and colleagues of trained nurses. Qualitative data was collected using a focus group interview with 8 nurses who were trained in a caring curriculum for patients with stroke. Quantitative data were analyzed by percentage, mean and standard deviation, and qualitative data was used by content analysis.\nThe results showed that the quantitative and qualitative findings were consistent. Overall, the results of evaluating a caring curriculum for patients with stroke in Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi was at a high level ( = 4.17 SD = 0.66). The evaluation of this program in each aspect found that: 1) this program had responded to the policy of health region, 2) the experts have been specialists and the instructional media were ready to use, 3) the process of this training program could guide nurses who were trained to solve of problems in real situations, and 4) nurses who were trained had increased the competencies in caring the patients with stroke and the competencies in searching data.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ตามแนวทางการประเมินรูปแบบของซิป กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร จำนวน 25 คน ผู้บังคับบัญชาของพยาบาลผู้ผ่านการอบรม จำนวน 25 คนและเพื่อนร่วมงานของพยาบาลผู้ผ่านการอบรม จำนวน 25 คน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตจากการอบรม จากพยาบาลผู้ผ่านการอบรม และ 2) แบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลภายหลังการอบรม จากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มย่อยกับพยาบาลผู้ผ่านการอบรม จำนวน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา\nผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกัน ผลการประเมินการจัดอบรมหลักสูตร การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17 SD = 0.66) การประเมินรายด้าน พบว่า 1) หลักสูตรมีการ ตอบสนองนโยบายของเขตสุขภาพ 2) วิทยากรมีความเชี่ยวชาญ และสื่อที่ใช้มีความพร้อมในการอบรม 3) กระบวนการในการจัด อบรมสามารถฝึกการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง และ 4) พยาบาลผู้ผ่านการอบรมมีสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และสมรรถนะในการสืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น"
} |
{
"en": "The purpose of this study were to examine effects of an integrating academic service project in health promotion for preschool age on learning outcomes of nursing students. The sample consisted of 64 nursing students in faculty of nursing who registered in child and adolescent nursing I subject in academic 2015, Ubonratchathani University, selected by a purposive sampling. Data were collected by developed questionnaire which consisted of 3 components; 1) Personal data questionnaire 2) Learning outcomes of nursing students questionnaire; Ethics and moral, Cognitive skills, Interpersonal skills and responsibility, Numerical analysis, communication and information technology skills 3) Learning outcomes in knowledge of health promotion for preschool age questionnaire. Data were analyzed by descriptive and paired t-test.\nThe results found that students perceived that their learning outcomes were as follow: The mean score of learning outcomes in numerical analysis, communication and information technology skills at a very good level (Mean = 4.43, SD = 0.48), ethics and moral at a very good level (Mean = 4.31, SD = 0.42), interpersonal skills and responsibility at a very good level (Mean = 4.27, SD = 0.46), and cognitive skills at a good level (Mean = 4.16, SD = 0.47). The mean score of knowledge in learning outcomes of health promotion in preschool age after intervention was significantly higher than before intervention (p < .001).\nThe result from this study recommended that nursing curriculum should develop an integrating service project in learning in order to promote learning outcomes of nursing students.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการกับโครงการบริการวิชาการในการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา การพยาบาลเด็กและวัย รุ่น 1 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา ประกอบด้วยผลลัพธ์ การเรียนรู้ 4 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แบบสอบถามผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาด้าน ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และและวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านความรู้ ก่อนและหลังการทดลองด้วย paired t-test\nผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลภายหลังการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับโครงการ บริการวิชาการในการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.43, SD = 0.48) รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรมอยู่ใน ระดับมากที่สุด (Mean = 4.31, SD = 0.42) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.27, SD = 0.46) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.16, SD = 0.47) และผลลัพธ์ การเรียนรู้ของนักศึกษาด้านความรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001\nข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ หลักสูตรการเรียนการสอนทางการพยาบาล ควรนำรูปแบบการสอนโดยการบูรณาการ กับโครงการบริการวิชาการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ครอบคลุมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติต่อไป"
} |
{
"en": "The objective of this research was to check the concordance confirmatory of emotional intelligence, individual characteristics, servant leadership, and team effectiveness for nursing instructors under the Ministry of Public Health. A sample of 325 was randomly selected by multi stage sampling from nursing instructors under the Ministry of Public Health. The research instrument was a questionnaire which used to collect data were an opinion of emotional intelligence, individual characteristics, servant leadership, and team effectiveness. The data were collected using confirmatory factor Analysis (CFA). When analyzing the confirmatory factors found that the weight values of the factors were positive value between 0.31-0.53 with statistically significant level = 0.01\nThe results of the concordance test were found that the chi-squared score = 139.87 at the degree of freedom (df) = 109, the goodness-of-fit index (GFI) = 0.96, the adjusted goodness-of-fit index (AGFI) = 0.93, confirmatory fit index (CFI) = 1.00, the Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.03, and the root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.03 which shows that the model of emotional intelligence, individual characteristics, servant leadership, and team effectiveness for nursing instructors under the Ministry of Public Health comply with the empirical data in good condition.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงยืนยันประสิทธิผลทีมของอาจารย์พยาบาล สังกัดกระทรวง สาธารณสุข ตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 325 ราย โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความฉลาดทาง อารมณ์ คุณลักษณะของบุคคล ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ และประสิทธิผลทีม การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตัวอย่างตอบแบบสอบถาม ด้วยตนเองโดยความสมัครใจ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบมีค่าเป็นบวก โดยอยู่ ระหว่าง 0.31-0.53 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01\nผลการตรวจสอบความสอดคล้องเชิงยืนยันประสิทธิผลทีมของอาจารย์พยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ค่า ไค-สแควร์ () = 139.87 ที่องศาอิสระ (df) = 109 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 0.96 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับ แก้แล้ว (AGFI) = 0.93 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) = 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูป คะแนนมาตรฐาน (SRMR) = 0.03 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของค่าความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) = 0.03 แสดง ว่าโมเดลองค์ประกอบประสิทธิผลทีมของอาจารย์พยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ในเกณฑ์ที่ด"
} |
{
"en": "The purpose of this quasi-experimental design was to examine the effects of a behavioral modification program on the mental health self-care of persons with alcohol dependence, and was divided into two pre-posttest groups. A research sample of 62 alcohol-dependent patients in the out-patient unit at four District Health Promotion Hospitals of Srisaket province in Thailand were randomly assigned to experimental and control groups, with 31 subjects in each group. The experimental group participated in the behavioral modification program for eight sessions weekly, 2 hours per each session, and the control group received regular caring activities. The research instruments were the following: 1) A personal data questionnaire; 2) a behavioral modification program; and 3) a mental health self-care scale. The behavioral modification program was validated for content validity by 3 professional experts and the mental health self-care scale had a Cronbach’s alpha coefficient reliability of .97. The demographics were analyzed using descriptive statistics. A comparison of the mean score for the mental health self-care between the pretest and posttest for the experimental and control group was analyzed using dependent t-test. Further, an independent t-test was used to examine the mean difference between the pretest and posttest mean score for the experimental group and control group. The research findings were as follows: 1) The mean score for mental health self-care on the posttest (M = 199.64, SD = 17.60) for the experimental group after participating in the program was significantly greater than their mean score on the pretest (M = 173.39, SD = 21.40) before participating in the program (t = 7.30, p<.001). 2) The mean difference in the mental health self-care mean score between the pretest and posttest of the experimental group ( = 26.55, SD = 20.25) was significantly greater than that of the control group that received regular caring activities ( = .29, SD = 4.53) (t = 7.05, p<.001).\nAs a result of this study, it can be concluded that this behavioral modification program can enhance the mental health self-care of alcohol-dependent persons. The findings suggest that future study should continue investigating this program with groups experiencing hazardous or harmful alcohol consumption and amphetamine addiction and should be assessed for its continuous effectiveness and sustainability.",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของ ผู้ติดสุรา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดสุราที่รับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ในอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 62 คน โดยสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ตามแนวคิดการปรับพฤติกรรมด้วยทฤษฎีการ เรียนรู้ด้วยตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพจิต ประกอบด้วยกิจกรรม 8 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้ รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมการดื่มสุรา 2) โปรแกรม การปรับพฤติกรรม และ 3) แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบ เทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ติดสุราระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทีชนิดที่ไม่เป็น อิสระต่อกัน (Dependent t-test) และเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ติด สุรา ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test)\nผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดสุรากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตหลังการทดลอง (M = 199.64, SD = 17.60) มากกว่าก่อนทดลอง (M = 173.39, SD = 21.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.30, p<.05) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ระหว่างก่อนและหลังทดลองของผู้ติดสุรากลุ่มทดลอง ( = 26.55, SD = 20.25) มากกว่ากลุ่มควบคุม ( = .29, SD = 4.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.05, p<.001) สามารถ สรุปได้ว่าโปรแกรมการปรับพฤติกรรมช่วยปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ติดสุราได้ ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาในผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงหรือดื่มแบบอันตราย ผู้เสพสารแอมเฟตามีน และควรมีการติดตาม ผลของโปรแกรมในระยะยาวต่อไป"
} |
{
"en": "The purposes of this research were 1) to develop model of a Family Capacity building for Adolescent pregnancy prevention in Nakhon Phanom province 2) to evaluate model of a Family Capacity building for Adolescent pregnancy prevention in Nakhon Phanom province. The research procedure consisted of four phases including : context analysis, developing the model testing and evaluating of the model. The results were as follows:\n1. The model development of a Family Capacity building for Adolescent pregnancy prevention in Nakhon Phanom province called APPLE Model consisted of 5 factors: Assessment, Problem Lists, Purpose, Level of activities and Effective Evaluation.\n2. The result of model development of a Family Capacity building for Adolescent pregnancy prevention in Nakhon Phanom province showed that the overall was at a high level satisfaction ( = 4.72, S.D. = .57). When classifying into the Ease of use, Suitability, The completeness of the information, Performance / speed.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัด นครพนม และประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองของวัยรุ่น ดำเนินการเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการ ระยะพัฒนารูปแบบ ระยะทดลองใช้รูปแบบ และการประเมินผลการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า\n1. รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดนครพนม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงร่วมกัน การระบุปัญหาและความเสี่ยง การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนตรงประเด็น การกำหนดระดับกิจกรรมการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการประเมินผล\n2. การประเมินรูปแบบการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดนครพนม พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แบบประเมินด้านความสะดวกในการใช้ ด้านความเหมาะสม ด้านความครบถ้วนของข้อมูล ด้านประสิทธิภาพ/ความรวดเร็ว ความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.72, S.D. =.57)"
} |
{
"en": "This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of discharge planning’s clinical nursing practice guideline on activity daily livings, hospital readmission and quality of life in ischemic stroke patients. The samples were divided into two groups: including 30 patients received usual care, and 30 patients received discharge planning’s clinical nursing practice guideline. Data analyzed using frequency, percentage, average score, standard deviation, and t-test statistics. The results found that the average age of ischemic stroke patients in the intervention group was 59 years old, most of participants were male with 56.7 percent, and married status was 80 percent. The participants in the intervention group showed activity daily livings and quality of life average scores after implementing the discharge planning intervention higher than the control group with significant difference (t40 = -2.629, p = .012 and t58 = -2.481, p = .016, respectively). However, hospital readmission of ischemic stroke patients found 2 cases while no hospital readmission was found in the intervention group after a 1-month follow-up but no significant difference (p = .150). Therefore, to develop the outcomes in taking care of ischemic stroke patients, nurses must have the appropriate and effective discharge planning’s clinical nursing practice guideline.",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายต่อความ สามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับการวางแผนการจำหน่ายตามปกติ จำนวน 30 คนและกลุ่มที่ได้รับการใช้แนว ปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน กลุ่มทดลองอายุเฉลี่ย 59 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.7 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 80 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t40 = -2.629, p = .012 และ t58 = -2.481, p = .016 ตามลำดับ) ส่วนการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิด ตีบอุดตันของกลุ่มควบคุมพบจำนวน 2 ราย และกลุ่มทดลองไม่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตันกลับเข้ารักษาซ้ำในโรง พยาบาลภายใน 1 เดือน แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .150) ดังนั้นเพื่อพัฒนาผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน พยาบาลควรมีปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการจำหน่ายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ"
} |
{
"en": "Non-adherence to standard of care may lead to adverse outcomes of care especially among patients who need critical care such as stroke. This action research aimed to apply Lewin’s theory of change to promote nurses’ adherence to standard guideline for acute ischemic stroke patients. Study participants were 10 registered nurses who were currently working at the stroke unit. In conclusion, application of change theory effectively promoted nurse’s adherence to guideline.",
"th": "การขาดความยึดมั่นในการปฏิบัติตามมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลใกล้ชิดเช่นโรคหลอดเลือดสมอง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของเลวิน ในการปรับปรุงพฤติกรรมการให้การพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในระยะเฉียบพลันของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง สามารถส่งเสริมการยึดมั่นตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นในทุกกิจกรรมการพยาบาล"
} |
{
"en": "The purpose of this two-group pretest-posttest quasi-experimental study was to examine the effectiveness of an emotional intelligence development program on the impulsive behavior of junior high school students in extended opportunity education schools in Bangkok. One hundred and sixty-eight participants were randomized equally into the experimental and control groups (84 in each group). The experimental group received the emotional intelligence development program that was developed based on the Bar-On model of the emotional intelligence factors of impulse control, along with the Kolb model of experiential learning, for a period of 4 weeks, while the control group was treated normally. The research instruments were: 1) the emotional intelligence development program; 2) a general information questionnaire; and 3) the Barratt Impulsiveness Scale (BIS11) translated into Thai. The Cronbach’s alpha coefficient for the BIS-11 was .75. General data were analyzed using descriptive statistics, comparing the average impulsive behavior scores in the experimental group before and after the program using dependent t-test, and comparing the average impulsive behavior scores after the program between the experimental group and the control group with independent t-test.\nAfter the experiment the average impulsive behavior score for the experimental group (M = 59.05, SD = 9.87) was lower than before the program (M = 68.18, SD = 6.08) and the control group (M = 69.57, SD = 5.365) at a statistical significance (p<.05).",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลองเพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะเรื่องต่อพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง 168 คน มาจากการสุ่ม กลุ่มทดลอง 84 คน และกลุ่มควบคุม 84 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะเรื่อง ที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีความฉลาดทางอารมณ์ของบาร์ออน (Bar-On) ในองค์ประกอบเรื่องการควบคุมความหุนหันพลันแล่น จัดกิจกรรมแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตามแนวคิดของ โกล (Kolb) ระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ 1) โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เฉพาะเรื่อง 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของบาเรทท์ แปลเป็นภาษาไทย ทดสอบ ความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบค่าทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test) และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย สถิติทดสอบค่าทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t test)\nภายหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของกลุ่มทดลอง (M = 59.05, SD = 9.87) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (M = 68.18, SD = 6.08) และต่่ำกว่ากลุ่มควบคุม (M = 69.57, SD = 5.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)"
} |
{
"en": "This survey research was aimed at study the relationships between gender, age, self- dependent, and body mass index with dementia of the elderly, who had dementia at Pang Hin Phon Subdistrict, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. There were 109 purposive sampling. The measurement was consisting of personal data relating to participated in the study for assessing the biodata that related to dementia and were screening with the Thai Mental State Examination (TMSE). The screening test covering six dimensions; orientation, registration, attention, calculation, language and recall. The results of data analysis had revealed that: 1) Twenty-one male (19.27%) and forty-one female (37.61%) had dementia. 2) The mean and standard deviation of the sample, as a whole, and classified by the 6 aspects of dementia were not statistical difference significantly at 0.05 level. 3) Age had relationship with dementia was statistical difference significantly at 0.05 level, but gender, self-dependent, and the body mass index had no relationship with dementia statistical difference significantly at 0.05 level.",
"th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ การพึ่งพาตนเอง ดัชนีมวล กาย กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 109 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม และแบบทดสอบสภาพสมองของไทย (Thai Mental State Examination: TMSE) เป็นเครื่องมือที่ใช้คัดกรองภาวะสมองเสื่อม โดยวัดเชาว์ปัญญาทั้ง 6 ด้าน คือ ด้าน การรับรู้ (Orientation) ด้านการจดจำ (Registration) ด้านความใส่ใจ (Attention) ด้านการคำนวณ (Calculation) ด้านภาษา (Language) และ ด้านการระลึกได้ (Recall) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) เพศชายมีภาวะสมองเสื่อม 21 ราย (ร้อยละ 19.27) เพศหญิง 41 ราย (ร้อยละ 37.61) 2) ค่าเฉลี่ยและเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม และจำแนกรายด้านของภาวะ สมองเสื่อม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) อายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ เพศ การพึ่งพาตนเอง และดัชนีมวลกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05"
} |
{
"en": "Aggression among delinquent adolescents in an observation and protection center may be caused by negative automatic thoughts, irrational thoughts, and the lack of important social skills. Helping these youths to reduce their aggression is important. This quasi-experimental research used a pretest-posttest control group design. The purpose of this study was to examine the effect of a cognitive-behavioral therapy program on the aggressive behaviors of delinquent adolescents in an observation and protection center. The samples were male adolescents in an observation and protection center, department of juvenile observation and protection in Bangkok and perimeter, aged 15-18 years. The 66 adolescents were divided into experimental and control groups, 33 adolescent in each group. The experimental group participated in the cognitive-behavioral therapy program for 6 weeks, 120 minutes on the 1st and the 6th week, and 60 minutes from the 2nd to the 5th week. The control group received the routine program of the observation and protection center. The research instruments consisted of the following: 1) personal information; 2) the cognitive-behavioral therapy program; and 3) an aggressive behavior scale. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.\nThe result found that: 1) after participating in the cognitive-behavioral therapy program, there was a significant decrease in the mean of the participants’ aggressive behavior scores (M = 32.81, SD=5.61) than before (M = 41.61, SD = 8.47) (t = 10.46, p<.001); and 2) there was a significant difference in the mean differences in the aggressive behavior scores between pretest and posttest intervention of the experimental group ( = 8.81, SD = 4.69) and control group ( = 2.27, SD = 1.07) (t = 7.80, p<.05).\nThe findings suggest that such a cognitive-behavioral program could be effective decreased and beneficial program for control aggressive behavior among adolescents in observation and protection centers, in the department of juvenile observation and protection.",
"th": "พฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เกิดจากความคิดอัตโนมัติทาง ด้านลบที่บิดเบือนไปจากความจริง หรือความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล การช่วยเหลือ เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นกลุ่มนี้เป็นสิ่ง ที่สำคัญ การวิจัยแบบสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ของวัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพศชาย อายุ 15-18 ปี จำนวน 66 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามแบบแผนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ส่วนกลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรม 8 กิจกรรม ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 6 ครั้งละ 2 กิจกรรม ๆ ละ 120 นาที ครั้งที่ 2-5 ครั้งละ 1 กิจกรรม ๆ ละ 90 นาที ร่วมกับการดูแลตามแบบแผนของสถานพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมการบำบัดความคิดและ พฤติกรรม และ3) แบบสอบถามพฤติกรรมก้าวร้าว โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลองสิ้นสุดทันที วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นที่กระทำความผิด ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน และเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน\nผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมก้าวร้าวหลังการทดลอง (M = 32.81, SD = 5.61) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (M = 41.61, SD = 8.47) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t = 10.46, p<.001) และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นที่กระทำความผิดในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ( = 8.81, SD = 4.69) มากกว่ากลุ่มควบคุม ( = 2.27, SD = 1.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.80, p<.05) สรุปได้ว่า โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมสามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่นที่กระทำความผิด ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนลงได้ ควรขยายผลเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในวัยรุ่นกลุ่มอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ กลุ่มตัวอย่างต่อไป"
} |
{
"en": "This study was to test the effect of computer assisted instruction on pediatric nurses’ knowledge about chest physiotherapy in children. The samples consisted of 32 registered nurses who had working at pediatric unit in a university hospital, Bangkok. The data were collected by using the general information questionnaire, and the knowledge of physiotherapy in children test. The data were analyzed using Wilcoxon signed ranks test\nThe findings revealed total score of the knowledge of physiotherapy in children test was 20 points, the median score before using computer assisted instruction of physiotherapy in children was 15 (min = 11, max = 17) and after using this CAI was 17.5 (min = 14, max = 20), the median knowledge score of the effect of computer assisted instruction on pediatric nurses’ knowledge of chest physiotherapy in children was higher than before with statistical significance (p<.01)\nThe results of the study can be used to review the knowledge of physiotherapy in children for pediatric nurses and can be applied with the right technique of physiotherapy in pediatric patients.",
"th": "การศึกษาผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการทำกายภาพบำบัดทรวงอกในเด็กสำหรับพยาบาลต่อ ความรู้ในการทำกายภาพบำบัดทรวงอก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่มีหน้าที่ดูแลเด็ก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจำนวน 32 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดทรวงอก วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ Wilcoxon signed ranks test\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐานของคะแนนของความรู้ก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ 15 คะแนน (min = 11, max = 17) และหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ 17.5 (min = 14, max = 20) และมีคะแนนความรู้แตกต่างจากคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01)\nผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้สามารถนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการทบทวนความรู้เกี่ยวกับการ ทำกายภาพบำบัดทรวงอกสำหรับพยาบาลที่มีหน้าที่ในการดูแลเด็ก เพื่อให้พยาบาลสามารถทำกายภาพบัดทรวงอกได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยเด็กได้รับการระบายเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
} |
{
"en": "The study of the effect of the resuscitation training program on knowledge and skills And perceived self-efficacy in resuscitation of Village health volunteers in Khlong Chik Subdistrict, Bang Pa-in District Phra Nakhon Si Ayutthaya The purpose is to compare knowledge. Skills and perceptions of self-efficacy in resuscitation of Village health volunteers before-after receiving resuscitation training programs Materials and methods This research is conducted by conducting experiments on existing samples. There was no random sampling and measurement before - after the experiment. The sample consisted of village health volunteers in Khlong Chik Subdistrict Municipality. Bang Pa-in Phra Nakhon Si Ayutthaya Who had never been trained in resuscitation The sample number is 50 people, which is obtained by selecting a specific sample group. The tools used in this research were Test of knowledge about resuscitation With a reliability of 0.82 and the assessment of resuscitation skills With a reliability of 0.86. The self-efficacy assessment form for resuscitation With confidence value 0.78. The statistics used in Data analysis is frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. And comparing with the two types of T values is not independent from one another The results showed that after receiving the resuscitation training program The knowledge and skills of Village health volunteers regarding resuscitation had a higher average score than before receiving the program with statistical significance at the level of .05 and the perceived self-efficacy of basic resuscitation of Village health volunteers. It was found that after receiving the resuscitation training program, the mean score was higher than before receiving the program at the statistical significance level of .05. Conclusion The resuscitation training program is necessary and important in helping develop potential, increasing confidence in the performance of duties. Able to help people with cardiac arrest in emergency situations before being hospitalized",
"th": "การศึกษาเรื่องผลของโปรแกรมการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพต่อความรู้ ทักษะและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความ รู้ ทักษะ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการช่วยฟื้นคืนชีพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม การอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 50 คน ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยว กับการช่วยฟื้นคืนชีพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 และแบบประเมินการ รับรู้สมรรถนะแห่งตนในการช่วยฟื้นคืนชีพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบด้วยค่าที ชนิด 2 กลุ่ม ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า หลังได้รับ โปรแกรมการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทักษะ และการรับรู้สมรรถนะ แห่งตน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปโปรแกรมการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพมีความจำเป็น และความสำคัญในการช่วยพัฒนาศักยภาพเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถช่วยเหลือประชาชนที่หัวใจหยุดเต้นใน สถานการณ์ฉุกเฉินก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้"
} |
{
"en": "This research article aims to disclose the process of knowledge construction from the experiences of people with epilepsy through self-observation and reflection, leading to the redefinition of the identities of the participants in this research. The emphasis on self-reflection is a core interest of autoethnography. The researcher shared her view critically with other participants in this sub-culture to create a better understanding among the public of their lives and how they negotiate local health culture. Another objective is to present an example of how critical autoethnography as a social research methodology can be applicable for research in the field of nursing. To elaborate, part of a doctoral dissertation entitled ‘Aesthetic Knowledge Construction by People with Epilepsy’, was selected to demonstrate this application in order to offer new ideas and to indicate the potential of autoethnography in nursing research, and to provide other ways to genuinely understand patients and the experiences of family members. The results revealed that the desires of people with epilepsy, and their various pathways through dialectical self-reflection on self-reliance in the health culture context and the Thai social context. Their desires were as follows: (1) to control their seizures; (2) to perform the independent activities of daily living; (3) to earn income for themselves and their families; (4) to be able to take care of their family members; and (5) to live happily and with dignity with epilepsy in the eyes of the public. Therefore, the meaning of the aesthetics in caring for themselves differed depending upon their own conditions, self-reflection, and the context of their desires and their livelihood.",
"th": "บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยให้เห็นกระบวนการสร้างความรู้จากประสบการณ์ของบุคคลโรคลมชักที่ผ่านการ สังเกตและการสะท้อนย้อนคิดกับตัวตนของพวกเขา อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งการสะท้อนย้อนคิดกับ ตนเองถือว่าเป็นหัวใจของงานแนวอัตชาติพันธุ์วรรณา โดยมีผู้วิจัยในฐานะเป็นคนในกลุ่มวัฒนธรรมย่อยนั้น ร่วมสร้างความรู้และต่อ รองกับบริบทวัฒนธรรมสุขภาพ เพื่อให้คนในสังคมรับรู้และเข้าใจบุคคลโรคลมชักมากขึ้น และนำเสนอตัวอย่างในการประยุกต์ใช้วิธี วิทยาการวิจัยแนวอัตชาติพันธุ์วรรณา เชิงวิพากษ์ ในงานวิจัยทางการพยาบาล จากปริญญานิพนธ์ เรื่องการสร้างความรู้ด้วยสุนทรียะ ของบุคคลเป็นโรคลมชัก โดยเน้นกระบวนการวิจัย รวมทั้งเสนอให้เห็นถึงความเหมาะสมของการใช้วิธีวิทยาการวิจัยนี้กับการนำ มาประยุกต์ใช้ เพื่อเปิดพื้นที่การศึกษาวิจัยทางการพยาบาล และการเข้าถึงประสบการณ์ของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างลึกซึ้ง ผลการวิจัย เผยให้เห็นถึงปรารถนาแห่งตนและเส้นทางเดินหลากหลายผ่านการวิภาษสะท้อนย้อนคิดกับตนเองในชีวิตของบุคคล โรคลมชักเพื่อนำสู่การพึ่งพาตนเองให้ได้ ภายใต้บริบทวัฒนธรรมสุขภาพและบริบทสังคมไทย โดยบุคคลโรคลมชักต้องการที่จะ 1) ควบคุมอาการชักได้ 2) ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง 3) ประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเอง สร้างฐานะให้ครอบครัว และได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองรัก 4) ดูแลครอบครัว ภรรยา บุตร และบิดามารดา และ 5) ดำรงอยู่กับโรคลมชักอย่างมีความสุข และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในมุมมองของสังคม ซึ่งการให้ความหมายของสุนทรียะในการดูแลตนเองในชีวิตบุคคลโรคลมชัก จึงไม่เหมือนกันขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละบุคคลที่สะท้อนย้อนคิดกับตัวตน ความปรารถนาและบริบทชีวิต"
} |
{
"en": "This quasi-experimental study, two group pretest-posttest design, aimed at study the effects of self-regulation program on sugar consumption behavior and glycemic control level among gestational diabetes mellitus women. The samples were purposive sampling and divided into experimental group (n = 33) and comparison group (n = 32). The experimental group received 8-weeks self-regulation intervention program those consisted 3 stages: 1) self-monitoring 2) self-evaluation and 3) self-reaction. The research instrument composed of 3 set of questionnaires; data based, attitude of sugar- beverage consumption, and food-beverage sugar consumption behaviors. Those were analyzed using descriptive statistics and t-test for mean score comparison.\nThe results of study revealed that after joining the program, experimental group had higher mean score of sugar consumption attitude and behaviors, and lower mean score of blood sugar level statistically significant (p-value<.05). While posttest comparison between group, the experimental group showed lower mean score of blood sugar level than the comparison group statistically significant (p-value<.05). The researcher recommends that this intervention program should be utilized for self-regulation skill enhancement related to sugar consumption behaviors, in order to reducing harmfulness in both mothers and their child.",
"th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม เปรียบเทียบวัดผล ก่อน-หลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน 1) การติดตามประเมินตนเอง 2) การประเมินผลด้วยตนเอง และ 3) การ สร้างแรงจูงใจและเสริมแรงตนเอง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ทัศนคติต่อการดื่ม เครื่องดื่มผสมน้ำตาล และ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มผสมน้ำตาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ ที\nผลการวิจัยพบว่า การกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการบริโภคน้ำตาลและพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลดีกว่าก่อนการทดลองและมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ p"
} |
{
"en": "This research aimed to; 1) examine knowledge of chronic non-communicable diseases, factors of protective motivation, social support factors and preventive behaviors of chronic non-communicable diseases among workers in sola-cell workplace, and, 2) study factors influencing preventive behaviors of chronic non-communicable diseases at the factory in Chachongsao Province. The sample consisted of 210 workers at the sola-cell workplace, Chachongsao province. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with reliability of 0.87. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean and standard deviation, and stepwise multiple regression analyses. Statistical significance was set at the level of .05\nAmong workers in the study, knowledge of chronic non-communicable diseases was at the high level with 71.90 percent. Protective Motivation factor showed the high level of 83.80 percent. Social Support was at the high level of 85.70 percent and preventive behaviors of chronic non-communicable diseases showed the moderate level of 52.90 percent. Age, income and preventive motivation (perceived susceptibility and self-efficacy in chronic non-communicable diseases) could predict preventive behaviors of chronic non-communicable diseases at 35.40 percent at the statistically significant level of .05",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัจจัยแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ปัจจัยแรง สนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพนักงาน (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานในโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน จังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน210 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกัน โรคโดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\nผลวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอยู่ในระดับมากร้อยละ 71.90 มีปัจจัยแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากร้อยละ 83.80ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากร้อยละ 85.70 และพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 52.90 และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ รายได้) และปัจจัยแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปัจจัยการรับรู้ความ สามารถตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ พนักงานในโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทราได้ร้อยละ 35.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.05"
} |
{
"en": "The purpose of the research was to study about nursing outcome indicators of female infertility Assisted Reproductive Technology (ART) by using Delphi research technique of 23 professionals who are experienced and knowledgeable about In Vitro Fertilization indicators. The research methodology consists of three steps: First, collection of data from the sample group with the use of the questionnaire. Second, analysis of raw data which lead to the creation of a second questionnaire based on the prioritized indicators. Third, calculate data for the median and interquartile range and then send the result to all professionals for discussion and confirmation. Once confirmed, final calculation of the median and interquartile will be done to summarize the results.\nThe research of indicators for Nursing Outcome showed a total of four parts as 1) Five indicators for Caring and providing clinical services.2) Seven indicators for Providing knowledge and information to patients. 3) Six indicators for being a consultant. 4) Seven indicators for coordination in the treatment process.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้รับบริการหญิงที่มารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ จำนวน 23 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยว กับการดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหานำมาสร้างแบบสอบถาม ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่า มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำถาม หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย\nผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้รับบริการหญิงที่รับการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการ เจริญพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน 4 ด้าน ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ผลลัพธ์การพยาบาลด้านหน้าที่ในการดูแลและ ให้การบริการทางคลินิก 2) ผลลัพธ์การพยาบาลด้านให้ความรู้และให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย 3) ผลลัพธ์การพยาบาลด้านหน้าที่ให้คำปรึกษา แก่ผู้ป่วย 4) ผลลัพธ์การพยาบาลด้านหน้าที่ประสานงานในกระบวนการรักษา"
} |
{
"en": "The objectives of this research were to study 1) the mental health problem of nursing students. 2) the relationships among emotional quotient, relationship with friends, family relationship, social support, and mental health problem of nursing students 3) the factors of emotional quotient, relationship with friends, family relationshipr social support affection to the mental health problem of nursing students. The Sample was 278 participant. into the study. Research instruments were scales for emotional quotient, relationship with friends, family relationship, social support and mental health problems. Statistical methods used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation and multiple regression analysis.\nThe results of study were as follows: 1. The level of the mental health problem of nursing students in Police Nursing College was rare. 2. There were significantly correlation between emotional quotient, relationship with friends, family relationship, social support and mental health problem of nursing students at .05 level 3.It were found that the predictive factors affecting mental health problem of nursing students were emotional quotient, family relationship, relationship with friends and social support at .05 level empowerment at the percentage of 59.1. Suggestion : Educational institutions should promote a learning style which focus on activities that improve emotional quotient, relationship between friends, family and social support to prevent the mental health problems in nursing students.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล 2) ปัจจัยด้านความฉลาดทาง อารมณ์ สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคม ที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของ นักศึกษาพยาบาล และ3) ความสัมพันธ์ ของความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับครอบครัวและการ สนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ชั้นปี 1-4 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้รับวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และปัญหาสุขภาพจิต วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย พหุคูณ\nผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล อยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย = 0.70, SD=0.64) 2) ปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพกับครอบครัวและสัมพันธภาพกับเพื่อนมีความสัมพันธ์ ทางลบกับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.684, r = -.592, r = -.435 และ r = -.229 ตามลำดับ ที่ระดับ .05) และ 3) ปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และการสนับสนุน ทางสังคมส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = .603, Beta = .243, Beta = .224 และ Beta = .156 ตามลำดับที่ระดับ .05) สามารถร่วมกันทำนายพยากรณ์ได้ร้อยละ 59.1 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมและพัฒนารูปแบบจัดการเรียนการสอนโดยเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ครอบครัว และให้การสนับสนุนทางสังคม เพื่อช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในนักศึกษา พยาบาลได"
} |
{
"en": "This research aimed to develop of registered nurses’ core competencies in neurology nursing care, Prasat neurological institute. This competency develops by 17 experts’ registered nurses. Purposive sampling was used for 104 registered nurses who worked in related neurological wards with at least one-year experiences. The research instrument consisted of 1) Semi-open-ended questionnaire for experts; 2) personal data and 3) registered nurses’ core competencies assessment in neurology nursing care. They were tested for content validity by 5 experts. The content validity index was 0.99 and the reliability coefficients was 0.979. Data analyzed by using frequency, percentage, average score, standard deviation, and factor analysis with correlation matrix, factor extraction with principal component analysis, and factor rotation by orthogonal rotation and varimax.\nThe results of this research showed the nurses’ core competencies in neurology nursing care of Prasat neurological institute has a total of 10 components and 77 variables were 1) nursing care for ischemic stroke patient; 2) nursing care to prevent neurological complications; 3) Knowledge and ability of nursing process utilization; 4) nursing care for neuroimmunology patient; 5) nursing care for epilepsy patient; 6) discharge planning for rehabilitation and continuum care; 7) cardiopulmonary resuscitation nursing implementation; 8) educating, advising, and mentoring for novice personnel; 9) nursing care for heart and circulatory systems; and 10) basic swallowing assessment. Nursing administrators can use the research results as a guideline for selecting registered nurses who have knowledge, specific expertise for working in neurological nursing care to make patients receive appropriate care, safety, and achieve good nursing outcomes.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยระบบ ประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา สมรรถนะนี้พัฒนาโดยพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยระบบประสาทวิทยาและมีประสบการณ์ใน การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เป็นแนวคำถามปลายเปิด 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) แบบประเมินสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาล ผู้ป่วยระบบประสาทวิทยา ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.985 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้ค่าเมตริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การสกัดปัจจัยโดยใช้หลักความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปร และการหมุนแกนปัจจัยหลักโดยใช้วิธีการหมุนแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ\nผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยระบบประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา มีทั้งหมด 10 ตัวประกอบ และ 77 ตัวแปร ได้แก่ 1) ด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตัน 2) ด้านการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติทางระบบประสาทวิทยา 3) ด้านความรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 4) ด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติทางระบบประสาท 5) ด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชัก 6) ด้านการวางแผนจำหน่าย เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลต่อเนื่อง 7) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลช่วยฟื้นคืนชีพ 8) ด้านการสอน การให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยง บุคลากรใหม่ 9) ด้านการพยาบาลระบบหัวใจและการไหลเวียน และ 10) ด้านการประเมินการกลืนเบื้องต้น ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางคัดสรรพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้ามาปฏิบัติงานให้การพยาบาล ผู้ป่วยระบบประสาทวิทยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม ปลอดภัยและเกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี"
} |
{
"en": "This quasi-experimental research aimed to determine the effects of blended learning and childbirth delivery simulation-based learning on academic achievement, satisfaction, and the students’ perspective on these teaching methods by reflective thinking of Nursing Students. The sample was 180 nursing students in year 3. The research instruments were the academic achievement tests, satisfaction questionnaires, and the forms of reflective thinking to collect the students’ perspectives on both teaching methods. The data analysis applied parametric statistics including mean, standard deviation, and t-test independent.\nThe results of the research found that was taught by the blended learning, was at a good level ( = 16.25, S.D. = 3.6). It was higher than the mean score in the control group ( = 14.51, S.D. = 2.9) with a statistically significant difference at .05. After two groups were taught by the childbirth delivery simulationbased learning, the mean score of the academic achievement in both groups were higher than their previous with a statistically significant difference at .05. The students’ academic achievement much more increased when using childbirth delivery simulation-based learning. The mean score of satisfaction in groups were also a good level even though there was no statistically significant difference at .05. However, the students’ opinions towards teaching by reflective thinking of nursing student results showed the effectiveness of blended learning that helped promote students to practice many learning skills including self-controlling, problem-solving, team working, communication, and responsibility. These skills supported students’ self-confidence before confronting the real situation.",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงการ ทำคลอดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการสอนโดยการสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียน แบบสอบถาม ความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นโดยใช้การสะท้อนคิด และการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)\nผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบผสมผสานมีค่าเฉลี่ย ( = 16.25, S.D. = 3.6) สูงกว่าค่าเฉลี่ยการเรียน แบบบรรยาย ( = 14.51, S.D. = 2.9) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจัดการเรียนโดยใช้สถานการณ์ จำลองเสมือนจริงการทำคลอด ทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเพิ่มการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงยิ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ความคิดเห็นของผู้เรียนโดยการสะท้อนคิด เห็นว่าการเรียนแบบผสมผสานทำให้เกิดทักษะ ความรับผิดชอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร ทำให้มั่นใจก่อนที่จะปฏิบัติกับผู้คลอดจริง"
} |
{
"en": "This mixed method research aims to conduct 1) the situation analysis of Routine to Research (R2R) research among the 11th and the 12th regional health level 2) the process of transformative learning among R2R researchers, and 3) the implementing of R2R research into practice for clients, organizations, and social. Data collection process was undertaken between December 2559 BE to November 2560 BE with analyzing R2R research conducting among the 11th and the 12th regional health level between 2551-2559 BE and the focus group discussion with 88 R2R researchers and their stakeholders. Quantitative data was analyzed by using frequency and percentage. Qualitative data was analyzed by using content analysis. Results revealed that:\n1) There were 415 R2R research conducting among the 11th and the 12th regional health level between 2552-2559 BE. The number of the 12th regional health level R2R research was 3 times more than the number of the 11th regional health level R2R research. However, most of R2R research still lacked of research utilization.\n2) R2R researchers leaned and transformed themselves by system thinking, mental model, personal mastery, shared vision and team learning.\n3) R2R research was utilized the most in health system services by improving health service system",
"th": "งานวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ 1) สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขต สุขภาพที่ 11 และ 12 2) การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ทำวิจัยจากงานประจำ และ 3) เพื่อประเมินการนำผลงาน วิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 ไปใช้ประโยชน์แก่ผู้รับบริการ องค์กรและสังคม เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 – 30 พฤศจิกายน 2560 โดยการวิเคราะห์งานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 ประจำปี 2551 - 2559 และการสนทนากลุ่มร่วมกับนักวิจัย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 88 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและการสังเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัย ดังนี้\n1. ในปี พ.ศ. 2551-2559 มีงานวิจัยจากงานประจำ จำนวน 415 ชื่อเรื่อง ในเขตสุขภาพที่ 12 มีจำนวนผลงานวิจัย จากงานประจำมากกว่าเขตสุขภาพที่ 11 ถึงสามเท่า อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่เกิดขึ้นดังกล่าวยังขาดการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ อย่างชัดเจน\n2. งานวิจัยจากงานประจำส่งผลให้ผู้ทำวิจัยเกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง 5 ด้าน คือ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการตระหนักรู้เท่าทันความคิดตนเอง ด้านการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการเรียนรู้เป็นทีม\n3. การนำงานวิจัยจากงานประจำไปใช้ประโยชน์เมื่อทำการวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ พบว่า มีการใช้ประโยชน์ในด้านการให้บริการในระบบสุขภาพมากที่สุด"
} |
{
"en": "The purpose of this descriptive study was to study the perception of palliative care competency among professional nurses who started working in a University Hospital in less than 2 years after completing a bachelor’s degree. One hundred forty-five nurses met the criteria as they had the experiences of caring at least one terminally ill patient. Data collection was conducted from August to November 2018 using the questionnaire consisting of; 1) Personal data, and 2) The palliative care nursing self-competence scale. The Content Validity Index (CVI) was 0.95; Cronbach’s alpha value was 0.987. The data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. The results of this study indicated that professional nurses starting to work in less than 2 years after completing the bachelor’s degree had fewer experiences in palliative care. Most of them had not been trained or prepared on this topic. As a result, they had fear and stress when taking care of terminally ill patients. Therefore, we should encourage the preparation of newly graduated nurses by providing knowledge or training in palliative care to reduce fear and stress when caring for terminally ill patients. Besides, palliative care training can help improve their self-confidence to take care of palliative patients.",
"th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของ พยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาปริญญาตรีไม่เกิน 2 ปี จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 145 รายที่มีคุณสมบัติตาม เกณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยการตอบแบบสอบถาม 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบ ประเมินการรับรู้สมรรถนะในการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาล (PCNSC) โดยมีการปรับเพิ่มข้อคำถามให้เข้ากับ 9 สมรรถนะ ของสภาการพยาบาลปี 2558 เป็น 65 ข้อ มีค่าความตรงตามเนื้อหา (Content Validity index [CVI]) เท่ากับ .95 มีค่าความเที่ยง ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .987 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย และสถิติ Independent t-test ผลการศึกษาครั้ง นี้ทำให้ทราบว่าพยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาปริญญาตรีไม่เกิน 2 ปี มีประสบการณ์ค่อนข้างน้อยในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับ ประคอง ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการอบรมเรื่องนี้ ทำให้เกิดความกลัวและความเครียดเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต ดังนั้นควรส่งเสริม ให้มีการเตรียมความพร้อมในพยาบาลวิชาชีพที่จบใหม่ โดยการเน้นการให้ความรู้หรือการจัดอบรมในเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบ ประคับประคอง เพื่อเกิดลดความกลัวและความเครียดเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต และช่วยสร้างความมั่นใจในสมรรถนะ ของตนเองในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง"
} |
{
"en": "The purpose of this descriptive exploratory research were to study a level of health literacy in older person in Bangkok metropolis and to study the relationships between health literacy and gender, age, income, education level, social participation and social support of older persons in Bangkok Metropolis. Four hundred and twenty older persons of Ratchathewi, Bang Phlat and Taling Chan District of Bangkok with 60 years old and above.These instruments were tested for their content validity by a panel of experts. The reliabilities of these questionaires were .870 (Health literacy questionnaire), .874 (Modified Social Participation Questionnaire) and .894 (social support questionnaire). Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’ s product moment correlation, and Chi-square test The result revealed The health literacy of older persons in Bangkok Metropolis was in basic functional level.Gender, age, income, social participation and social support were found to be correlated with health literacy with statistical significance at .05. (r = .004, -.223, .215, .480, .432 respectively). Older persons with difference education levels had no differences in terms of health literacy with statistical significance at .05.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางสุขภาพและเพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา การสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในสังคม กับระดับความฉลาดทาง สุขภาพของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบการสุ่มอย่างง่ายคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สัญชาติ ไทย ทั้งเพศชายและเพศหญิงอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่อาศัยอยู่ในเขตราชเทวี เขตบางพลัด และเขตตลิ่งชัน จำนวน 420 คน โดยซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และหาค่าความ หาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .874, .870 และ .894 ตามลำดับ (แบบสอบถามการมีส่วนร่วมทางสังคม แบบวัด ระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติไคน์แสคว์นัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุใน เขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีระดับความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับพื้นฐาน เพศ อายุ รายได้ การสนับสนุนทางสังคม การมีส่วนร่วมทางสังคมมีความสัมพันธ์กับระดับของความฉลาดทางสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มีค่า r = .004, -.223, .215, .480, .432ตามลำดับและระดับการศึกษา ไม่มี ความสัมพันธ์กับระดับความฉลาดทางสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05"
} |
{
"en": "The objectives of this study were 1) to explore the antecedents concerning nursing instructors’ attitude and behavior in strengthening zero tolerance practices in nursing students, 2) to analyze the paths of hypothetical and empirical model of the antecedents concerning nursing instructors’ attitude and behavior in strengthening zero tolerance practices in nursing students, and 3) to examine the canonical correlation between the behaviors in strengthening zero tolerance practices in nursing students and the nursing students’ attitude and behavior of zero tolerance practices. The samples were 104 nursing instructors and 104 nursing students. The instruments consisted of 7 scales for nursing instructors adapted from Keskomon et al.1 and 2 scales for nursing students written by the researchers following Fishbein and Ajzen2. Data were analyzed using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s product moment and canonical correlation coefficients, and path analysis.\nThe results were as follows: 1) the mean scores of all variables were quite high, 2) the hypothetical model of the antecedents concerning nursing instructors’ attitude and behavior in strengthening zero tolerance practices in nursing students was fitted with the empirical data ( (df = 10, n = 104) = 12.79, p = .24, NFI = .98, GFI = .97, AGFI = .90, CFI = 1.00, SRMR = .05, RMSEA = .053). 3) There was no statistically significant relationship between the behaviors in strengthening zero tolerance practices in nursing students and the nursing students’ attitude and behavior of zero tolerance practices at the level of .05 (r = .11; R2 = .01)",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษปัจจัยที่เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของอาจารย์ในการปลูก ผังอบรมนักศึกษาพยาบาลให้ไม่ทนต่อการทุจริต 2) เพื่อวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของโมเดลตามสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ของปัจจัยที่เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของอาจารย์ในการปลูกผังอบรมนักศึกษาพยาบาลให้ไม่ทนต่อการทุจริต และ 3) เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุดพฤติกรรมของอาจารย์ในการปลูกผังอบรมนักศึกษาพยาบาลให้ไม่ทนต่อการทุจริตและชุดทัศนคติ และพฤติกรรมปฏิบัติตนไม่ทนต่อการทุจริตของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์พยาบาล และนักศึกษาพยาบาล กลุ่มละ 104 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบวัดสำหรับอาจารย์พยาบาล 7 แบบวัด ที่ปรับจากงานวิจัยของ ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล และคณะ1 (α = .70-.79) และแบบวัดสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2 แบบวัด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของ Fishbein and Ajzen2(α = .72 และ .79) การวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบคาโนนิคอล และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล\nผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนของทุกตัวแปรอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) การทดสอบความสอดคล้องกลมกลืน ระหว่างโมเดลตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของปัจจัยที่เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของอาจารย์ในการปลูกฝังอบรม นักศึกษาพยาบาลให้ไม่ทนต่อการทุจริต พบว่าสอดคล้องกลมกลืนกัน ((df = 10, n = 104) = 12.79, p = .24, NFI = .98, GFI = .97, AGFI = .90, CFI = 1.00, SRMR = .05, RMSEA = .053) และ 3) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างชุดพฤติกรรมของ อาจารย์ในการปลูกผังอบรมนักศึกษาพยาบาลให้ไม่ทนต่อการทุจริตและชุดทัศนคติและพฤติกรรมปฏิบัติตนไม่ทนต่อการทุจริตของ นักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .11;* R2 = .01)"
} |
{
"en": "The project-based learning is one of the most effective learning methods in the twentieth century. Teachers are considered the sustainability of learning through projects and the development of reflective skills. Students should be collective learners through projects because they are working on real-time problems. Lesson-learnt from sufficient economy projects provide especially reflective skills. This quasi-experimental research aimed to compare scores of learning topics in sufficient economy of nursing students before and after using the project-based learning technique. Another objective was to observe reflective skills of nursing students during oral presentation. Samples were 106 nursing students in the first year, academic year 2018 of Boromarajonani College of Nursing Phra-putthabat. The tools used in the study were the project-based learning guideline based on King Rama IV sufficient economy aspects and an observation guideline for reflective skills. Students were divided into 11 groups and worked collaboratively to create projects reflecting their knowledge. During project presentation, teachers used reflective questions to develop reflective skills. Students could ask questions and share their ideas. Finally, self-evaluation was carried out by individual writing on their clear perception. The benefits from students’ report showed how to improve reflective skills. Based on project findings, this learning method fully addresses for a college context. Reflective skills of students are developed through the project-based learning. The article focuses on students’ perception of its advantages and disadvantage in relation to the Project-Based Learning professional development.",
"th": "การเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงในทศวรรษที่ 21 ผู้สอนให้ความ สำคัญกับการเรียนรู้อย่างยั่งยืน โดยมอบหมายให้นักศึกษาจัดทำโครงงาน ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ทักษะการสะท้อนคิดระหว่างการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียนกับอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน จนสามารถเรียนรู้ทักษะการสะท้อนคิด และแก้ไขปัญหาผ่าน กระบวนการทำโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงในครั้งนี้ได้ วัตถุประสงค์ 1.เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการเรียนเศรษฐกิจพอเพียง 2.ศึกษาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาตอนอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอโครงงาน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบกึ่ง ทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ 1 กลุ่ม วัดคะแนนความรู้ก่อนและหลังการเรียนการสอนในหัวข้อเศรษฐกิจ พอเพียงแบ่งนักศึกษาพยาบาล ชั้นปี 1 106 คน เป็น 11 กลุ่ม เครื่องมือการวิจัย คือ คู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงาน ให้ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ในชีวิตประจำวัน และแบบสังเกตการสะท้อนคิด ผลการวิจัย นักศึกษามีคะแนนสอบหลัง จากเรียนหัวข้อเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น สามารถตั้งคำถาม และตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสะท้อนคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกันกับอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน จากข้อความสะท้อนว่าสามารถนำความรู้หลังจากทำโครงงานไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ ข้อเสนอแนะ สามารถพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนักศึกษาได้มอง เห็นพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง"
} |
{
"en": "This quasi-experimental and time series research aimed to study the effects of a family management enhancing program on the caregivers’ skills of an early mobility among stroke patients. Purposive selection and thirty-six caregivers were separated in an intervention and control group. The research instruments comprised of the early mobility family management Program, the Booklet and symbolic modeling VDO. Data collection used the Caregiver Characteristics Data, Early Mobility Caring Skill of ADL and RMI. The contents validity of the instruments were tested by five experts = 0.90-0.93 and Cronbach’s alpha reliability test revealed 0.88 to 0.93. Data were analyzed using descriptive statistics, the chi-squares test, the Friedman test, repeated measures ANOVA, and Bonferroni test\nThe results revealed: 1) The mean score for the early mobility caring skills of ADL and RMI in both groups during the 1, 4, and the 8 week were increase significantly (p<.001) 2) Compared between the intervention and control group, the results revealed that the mean score for the early mobility caring skill of ADL and RMI at the 1 week was not differently, but between the 4 and the 8 week were different significantly (p<.001). The family management model and indicate that it can be used to develop the mobility skills of caregiver and help with the early mobility",
"th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองวัดแบบอนุกรมเวลา เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการของครอบครัวต่อ ทักษะการดูแลด้านการเคลื่อนไหวร่างกายระยะแรกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลอายุ 18 ปีขึ้นไป คัดเลือก แบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 36 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการจัดการของครอบครัว วีดีทัศน์ตัวแบบการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายระยะแรก และคู่มือความรู้สำหรับผู้ดูแลดำเนินการตามโปรแกรมเป็น 3 ระยะ รวบรวมข้อมูลโดย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ดูแล 2) แบบประเมินทักษะการดูแลด้านการทำกิจวัตรประจำวัน 3) แบบ ประเมินทักษะการดูแลด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้แบบคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ากลุ่มโดยใช้แบบประเมิน กลาสโกว์และแบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ตรวจสอบค่าความตรงกับผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านได้ 0.90-0.93 ค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.88-0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-squares test, Friedman test, Repeated measures ANOVA, และ Bonferroni test\nผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลของผู้ดูแลภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้านทักษะการดูแลกิจวัตร ประจำวันสัปดาห์ที่ 1, 4 และ 8 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลการเคลื่อนไหวร่างกาย พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ p"
} |
{
"en": "This quasi-experimental research aimed at determining effect of text messaging on food consumption behaviour and change of hemoglobin level in pregnant women with iron deficiency anemia visiting the antenatal care unit at Vajira Hospital, Bangkok. Sample was comprised of 40 pregnant women with iron deficiency anemia. Divided into experimental group and control group, 20 persons per group. They were match-paired by age and parity. The control group received routine care, while the experimental group received routine care and the text messages. Hemoglobin was measured 2 weeks after the intervention. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-Square test, and t-test.\nThe findings reveal that the experimental group had significantly higher mean difference scores of food consumption behaviour than the control group (t = 6.96, p < .05).Mean hemoglobin in the experimental group was statistically and significantly higher than the control group (t = 2.54, p < .05).The change of hemoglobin level in the experimental group was statistically higher than the control group (t = 3.35, p < .05). The results suggest that the text messaging is effective in reducing the iron deficiency anemia in pregnant women.",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของการส่งข้อความสั้นต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการเปลี่ยนแปลงของระ ดับฮีโมโกลบินในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและได้รับข้อความสั้นเกี่ยวกับอาหาร และยาเสริมธาตุเหล็ก ตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน หลังจากเริ่มได้รับข้อความสั้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และการทดสอบที\nผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็กมากกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.96, p < .05) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.54, p < .05) และการเปลี่ยนแปลงของระดับฮีโมโกลบินในกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.35, p < .05)"
} |
{
"en": "The purpose of this quasi-experimental research was to determine the effects of a self-management program on the functioning of patients with bipolar disorder during the recovery stage. The sample consisted of 72 patients with bipolar disorder aged between 20 and 59 years, recruited using inclusion criteria, and paired based on age. Then each pair was assigned to the control or the experimental group, with 36 patients in each group. The experimental group participated in the self-management program. Their activities comprised 6 sessions, each session lasting 100 minutes, once a week for 6 weeks. The control group received normal nursing care. The research instruments were the following: 1) the self-management program, which passed an examination for content validity by 3 professional experts; 2) the functioning assessment short test (FAST); and 3) the Young mania rating scale: Thai version. The reliability of these questionnaires were determined with a Cronbach’s alpha coefficient of .93 and .82 respectively. The data were analyzed using descriptive statistics and t-test.\nThe results found as follow: (1) The experimental group, participants had mean functional scores post test participating in the self - management program higher score than pre test (pre-test; M = 52.72, SD = 6.76 and post test; M = 64.31, SD = 6.09) the functional higher scores was significantly (t=16.83, p < .001). (2) The mean difference of the patients’ functioning between the pretest and posttest in the experimental group that participated in the self-management program (E = 11.58, SD = 4.13) was higher scores than the control group that received normal nursing care (C = 6.08, SD = 4.99) significantly (t = 16.37, p <.001).",
"th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์ สองขั้วในระยะฟื้นฟูสภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วที่อยู่ในระยะฟื้นฟูสภาพ มีอายุระหว่าง 20 - 59 ปี คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 72 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างในด้านอายุ แล้วสุ่มอย่างง่ายแต่ละคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการการจัดการตนเอง ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ครั้งๆ ละ 100 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการจัดการตนเองที่ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน 2) แบบสอบถามการทำหน้าที่ (FAST) และ 3) แบบวัด อาการแมเนีย ซึ่งตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งสองนี้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .93 และ 82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและสถิติทดสอบค่าที (t - test)\nผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่หลังการทดลอง (M = 64.31, SD = 6.09) สูงกว่าก่อนการ ทดลอง (M = 52.72, SD = 6.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 16.83, p < .001) และ (2) ผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนการทำหน้าที่ ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ของผู้ป่วยกลุ่มทดลอง (E = 11.58, SD = 4.13) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (C = 6.08, SD = 4.99) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 16.37, p < .001)"
} |
{
"en": "The purpose of this research and development study was 1) to study the daily living abilities of the elderly by using Barthel ADL index and 2) to the development of exercise innovation for enhancing the quality of life elderly with knee osteoarthritis Kumuang Sub-district Warinchamrab District Ubon Rathcathani Province. The sampling groups 40 elderly people. The tools consist of questionnaires of general, information, Barthel ADL index, Osteoarthritis of the knee, WHOQOL_BREF_THAI and satisfaction questionnaire from using innovation. Chronbach’s alpha coefficient = 0.91, 0.86, 0.87 and 0.89 Analyze results and calculate the relationship between quality of life and personal factors. Pearson ’s Product Moment Correlation Coefficient. Pearson ’s Product Moment Correlation Coefficient. The relationship between quality of life and personal factors. Paired – Samples T – Test. The research found that The experimental group had the quality of life of the elderly, knee, and physical, psychological, and environmental aspects after the experiment was higher than before the experiment (p <.05) And social relationship (p <.01)",
"th": "การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูง อายุข้อเข่าเสื่อม และ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ตำบล คูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม 40 คน ได้รับการพัฒนานวัตกรรมการออก กำลังกายโดยการสร้างนวัตกรรมร่วมกับชุมชน แนวคิดการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม คุณภาพชีวิตและความสามารถ ในการดูแลการเอาใจใส่ในกิจวัตรขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ เครื่องมือรวบรวมข้อมูลจำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล แบบทดสอบความสามารถในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานผู้สูงอายุ (Barthel ADL index) 2) แบบคัดกรองข้อเข่าเสื่อม แบบประเมินอาการข้อเข่าเสื่อม 3) แบบวัดคุณภาพชีวิต(WHOQOL_BREF_THAI) และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้ นวัตกรรม ทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Chronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91 0.86 0.87 และ0.89 วิเคราะห์ผลคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับปัจจัยส่วนบุคคลด้วย Pearson ’s Product Moment Correlation Coefficient)วิเคราะห์การทดลองใช้นวัตกรรมออกกำลังกายด้วยสถิติ Paired – Samples T – Test ผลการวิจัยพบ ว่า กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อมหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง (p<.05) แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ด้านสัมพันธภาพสภาพสังคม (p<.01) แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01"
} |
{
"en": "This research aimed to investigate the situation and needs of health tourism integrated with cultural tourism and Thai wisdom in Ayutthaya province. Using semi structured focus group discussions among three group of stakeholders. The instruments were examined content validity by experts. Data were analyzed by using the content analysis and, triangular methods.\nThe result revealed that at the present, there are no real substantial model of health tourism Integrated with cultural tourism and Thai wisdom. Additionally, they needed to see a good model of tourism that was cooperating from all relevant sectors, integrating with existing tourism, consistency with the context of lifestyle, preserving local wisdoms, promoting self-care knowledge, and generating income for the people in the community. Moreover, stakeholders needed to enhance to develop the model of health promotion tourism both by land and by water. Moreover, they suggested to divide the characteristics of health promotion tourism into 2 types which were (1) one day trip according to the topography of the area and, (2) home-stay trip so that clients had the option to use services. The Nurses and Multidisciplinary health care team should be play important roles in health promotion and transferring knowledge to the people who use the health tour.",
"th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ความต้องการรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่ม เครื่องมือดำเนินการวิจัยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจ สอบข้อมูลแบบสามเส้า\nผลการวิจัย: พบว่าปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ส่วนรูปแบบการท่องเที่ยวที่ต้องการคือรูปแบบที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการบูรณาการกับการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในปัจจุบัน สอดคล้องกับบริบทของวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมความรู้ในเรื่องการดูแลตนเอง และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน นอกจากนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอแนะ ให้พัฒนารูปการท่องเที่ยวเชิงการส่งเสริมสุขภาพ โดยแบ่งลักษณะของรูปแบบทัวร์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะท่องเที่ยววัน เดียว และการท่องเที่ยวค้างคืน ทั้งทางบกและทางเรือเพื่อให้ผู้รับบริการทัวร์มีทางเลือกในการใช้บริการ โดยพยาบาลชุมชน และสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน ผู้ใช้บริการทัวร์"
} |
{
"en": "The objective of this research is to study the model of ethical and risks decision-making dilemma development of nursing practical among RTA nurses. Proceeding development research by 3 steps e.g. Step 1: The study of basic data to verify the defining, elements, indicating behavior of each element and the guideline to develop ethical decision - making in which the risk dilemma of nursing practical and created the model of development and the collateral tools for ethical decision making in which the risk of nursing practical by using the focus group process which verified the appropriated of content by the expertizes. Step 2: Verified the reasonableness and the possibility of the model to develop by studied the quality developing as of PDCA process. The last step 3: Evaluating the effectiveness of development, the proceeding which consists of Planning, operating, observing and reflection of though. The research participants are 83 of professional nurses, the experiment pattern was One Group Pretest and Posttest design. Analyzed compare the data by using basic statistic compared t – test. Result showed that currently condition of the professional nurses in decision – making of risks ethical and dilemma, they are lack of knowledge and expertized, there is no guidelines to be practice. The model of ethical and risks decision-making dilemma development of nursing practical among RTA nurses consist of external factors, individual factors, and facilitating strategies management, the nursing ability is improving in every activity.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ที่มีความเสี่ยงทางการพยาบาลแบ่ง เป็น 3 ระยะ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อตรวจสอบยืนยันนิยาม องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบและหารูปแบบใน การพัฒนาการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่มีความเสี่ยงทางการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล สร้างรูปแบบการพัฒนาและเครื่อง มือของพยาบาลโดยใช้กระบวนการกลุ่มสนทนา 2 ทดลองใช้ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ นำแนวทางการพัฒนา คุณภาพตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์และการสะท้อนคิดและการปฏิบัติจริง 3 ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยแบบวัดการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล โดยประเมิน การตัดสินใจและความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 83 คน การทดลอง 17 เดือน ใช้แบบแผน ศึกษากลุ่มเดียวกันและวัดก่อน-หลังการทดลอง เปรียบเทียบวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างเดียวกันก่อน- หลังการทดสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่มีความเสี่ยงพยาบาลวิชาชีพมีปัญหาด้านขาดความรู้ความ เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ ไม่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน ส่วนรูปแบบการพัฒนาการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่มีความเสี่ยงประกอบ ด้วย ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในบุคคลและกลยุทธการสนับสนุนการจัดการ ผลการทดลองหลังใช้รูปแบบพยาบาลมีการตัดสินใจดี ขึ้นมากกว่าก่อนการใช้รูปแบบทุกด้าน"
} |
{
"en": "This qualitative research aims to develop a guideline for promoting active ageing to be a health tourism guide. The participants in a focus group were comprised of 13 ageing living in Phra Nakhon Si Ayutthaya. A personnel data questionnaire and semi-structured interview named “guideline for promoting active ageing to be a health tourism guide interview” with content validity index 1 were used for collecting data. Analyze personal data using statistics, percentage, mean, standard deviation while content analysis was used for the qualitative data. The result revealed that HAS model consisting of promoting health, application (technology, communication skill), social participation (social network and security).\nThis study supports that HAS model should be applied to promote active ageing become a health tourism guide.",
"th": "การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมพฤฒพลังในการเป็นมัคคุเทศก์การท่องเที่ยว เชิงสุขภาพของผู้สูงอายุจากมุมมองของผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา จำนวน 13 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างชื่อแนวทางการสร้างเสริมพฤฒพลังในการเป็นมัคคุเทศก์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทาง การสร้างเสริมพฤฒพลังในการเป็นมัคคุเทศก์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากมุมมองของผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ HAS model ได้แก่ การเสริมสร้างสุขภาพกาย-ใจให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ การเสริมสร้างอาวุธในการสืบค้นข้อมูล การเสริมสร้างความ รู้และทักษะการเป็นมัคคุเทศก์ การเสริมสร้างความสามารถในการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมของชุมชน และ การเสริมสร้างความ มั่นใจเรื่องรายได้ และความมั่นใจด้านความปลอดภัย\nจากผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรนำ HAS model ไปพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเป็นมัคคุเทศก์การท่องเที่ยว เชิงสุขภาพของผู้สูงอายุ"
} |
{
"en": "This survey research aims to study the Resilience Quotient of the 200 elderly people who came to receive services at the Healthy Aging Clinic, Chulalongkorn Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society from January to August 2020.These volunteers replied 2 sets of questionnaires with 24 issues comprised of the general information and the elderly’s resilience then analyzed by descriptive statistics.\nThe results of the study were mainly female (85%), the early elderly of 60 – 69 year old (62%) marital status (49.0%), Buddhism (95.5%), mostly graduated Bachelor’s degree (52%). Most of the elderly perceived themselves healthy (53.0%). Most of them had underlying diseases (70.5%) and all had sufficient income to carry on their lives. Most of them experienced adversity (63.0%) which mainly due to the loss of their beloved ones (20%). Their total resilience is at the high level (57.5 %) followed by at the highest level (42.5 %). Their mental strength found at the highest score (51.0 %).\nRecommendations reflect from the research results found that the early elderly perceive themselves healthy and have a high level of resilience, despite of having some of the underlying diseases as well as experienced life’s adversity. These findings could be used as an integrated approach to promote all well-being of the Thai elderly for their adjustment in any kind of changes: physically, mentally, socially, and economically.",
"th": "การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาพลังสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 200 คน ที่มารับบริการ ณ คลินิกผู้สูงอายุสุขภาพดี ตึก สธ. 4 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่มกราคม ถึง สิงหาคม 2563 อาสาสมัครตอบแบบสอบถาม 2 ชุด เป็นข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพลังสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย จำนวน 24 ข้อ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย\nผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.0) ผู้สูงอายุตอนต้น 60 - 69ปี (ร้อยละ 62.0) สถานภาพ สมรสคู่ (ร้อยละ 49.0) นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 95.5) ส่วนใหญ่การศึกษาระดับ ปริญญาตรี (ร้อยละ 52) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับ รู้ว่ามีภาวะสุขภาพแข็งแรงดี (ร้อยละ 53.0) ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 70.5) ทุกคน มีรายได้เพียงพอในการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ความทุกข์ยาก (ร้อยละ 63.0) มีสาเหตุหลักจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (ร้อยละ 20.0) กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนพลังสุขภาพจิตรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ57.5) และระดับมากที่สุด (ร้อยละ 42.5) พบว่าด้านความเข้มแข็งของจิตใจ มีคะแนนระดับมากที่สุด (ร้อยละ 51.0)\nข้อเสนอแนะ ผลวิจัยสะท้อนว่าผู้สูงอายุตอนต้นรับรู้ว่าตนมีสุขภาพดีและมีพลังสุขภาพจิตระดับสูงแม้จะมีโรคประจำตัว และผ่านประสบการณ์ความทุกข์ยากในชีวิต ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางบูรณาการเสริมสร้างสุขภาวะในผู้สูงอายุไทย เพื่อช่วยปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน กาย จิต สังคม เศรษฐกิจได้ต่อไป"
} |
{
"en": "The purposes of this qualitative research was to explain the self-care experience of bed bound elderly. Purposive sampling was applied to recruit 8 bed-bound elderly who have been riding on the bed more than one year, could understand in Thai communication. The data were collected by in-depth interview with a semi-structured interview questionnaire which was constructed by researcher base on Orem’s self-care theory. and recorded the interview. Content analysis were conducted on Giorgi’s method.\nThe results showed that 1) the meaning of bed-bound elderly self-care was The activity to maintain performance, without increasing health problems, Included creating and developing their tacit and explicit knowledge for promotion self-care to decrease burden on caregiver’s and family. 2) The self-care of bed-bound elderly consists of taking care for providing sufficient food, water, and air at the caregivers’ convenience, normal digestive and Urinary system, clean body and environment, normal movement and good sleeping.",
"th": "การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสบการณ์การดูแล การริเริ่ม พัฒนา และรับผิดชอบการพัฒนา ความสามารถในการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง เป็นผู้สูงอายุติดเตียงที่สามารถ สื่อสารภาษาไทยได้เข้าใจ และเป็นผู้สูงอายุติดเตียง 1 ปีขึ้นไป จำนวน 8 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึกกึ่งโครงสร้าง ซึ่งคณะผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม รวบรวบข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นรายบุคคล วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามแบบของจีออจี ผลการวิจัยพบว่า 1) การดูแลตนเองของผู้สูงอายุติดเตียง หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อ ให้ตนเองมีความคงสภาพความสามารถร่างกาย ให้คงอยู่ ไม่เกิดปัญหาทางสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการหาองค์ความรู้เพื่อนำมา ส่งเสริม พัฒนาการปฏิบัติ ที่ทำให้ตนเองสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ หรือ/และได้เพิ่มขึ้น และเป็นการกระทำ ที่เป็นภาระกับผู้ดูแล ญาติน้อยที่สุด 2) การดูแลตนเอง ประกอบด้วย การดูแลให้ตนเองได้รับอาหาร น้ำ อากาศ อย่างเพียงพอ และเป็นไปตามความสะดวกของผู้ดูแล ได้มีการขับถ่ายเป็นไปตามปกติ มีร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ได้เคลื่อนไหว พักผ่อน ตามเหมาะสม ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกิดขึ้น และหากมีภาวการณ์เบี่ยงเบนทางสุขภาพ ได้หาความรู้ ขอความช่วยเหลือ จากผู้อื่น ปฏิบัติตามแผนการรักษา และปรับตัวให้อยู่กับสภาพที่เป็นอยู่"
} |
{
"en": "Moo Pa (Wild Boar) Academy Mae Sai is the name of the soccer team in Mae Sai district of Chiang Rai. After 12 members of the team and their coach went into Tham Luang-Khun Nam Nang Non cave and were trapped in the flooded cave for 17 days, they were at risk of having post-traumatic stress disorder (PTSD), a mental disorder that often surges after a person experiences or witnesses a terrifying event. Symptoms may include flashbacks, nightmares and severe anxiety, as well as uncontrollable thoughts about the event. When thinking about that event, there will be fear. Persons will try to avoid facing any event-related emotion, their mind being affected in a negative way, and they will have lower efficiency in performing routine tasks. If confronted with the triggering event, they might even show violent retaliatory behavior. In all cases, first phase of treatment will focus on physical assistance, in order for the persons to survive and avoid physical harm. Surviving or being safe will bring psychological support. From there, effective care treatment is required to reach a holistic restoration of persons including physical, mental, social and spiritual. Psychotherapy or counseling will help victims to realize and understand themselves. It is to say, to understand the negative effects that arise from their own thoughts, emotions and feelings towards the event. Patients will then have to change their perspective and link to their life energy, and develop spiritual health, which will result in inner peace and happiness. If the victims get proper care, they will be able to rehabilitate themselves, getting back to the normal balance in life. All lesson learned from the operation to rescue of Moo Pa Academy Mae Sai Soccer Team at Tham Luang cave in Chiang Rai is a good experience and learning model for society.",
"th": "ทีมนักฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้าหลวง-ขุนน้านางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงรายเป็นเวลา 17 วัน มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง ( POST-TRAUMATIC STRESS DISORDER : PTSD ) ซึ่งผู้ประสบภัย จะมีความฝังใจต่อเหตุการณ์นั้นเมื่อหวนนึกถึงก็จะมีความรู้สึกกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญจนส่งผลต่อพฤติกรรมทาให้มี อารมณ์และความคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางลบแสดงพฤติกรรมตอบโต้ที่รุนแรง รวมถึงมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติกิจวัตรประจา ลดลงกว่าเดิมในระยะแรกของการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือเพื่อให้พ้นจากภาวะอันตรายและรอดชีวิต หลังจากนั้นจะให้การ ประคับประคองทางด้านจิตใจไปพร้อมกับการช่วยเหลือด้านอื่นๆ การรักษาที่ได้ผลดีคือการดูแลและฟื้นฟูแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ การทาจิตบาบัดและการให้คาปรึกษาจะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้ตระหนักรู้และเข้าใจถึงปัญหาของตนเองในลักษณะที่เชื่อมโยงกันแบบองค์รวม ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อชีวิตทางลบไปสู่ทางบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คาปรึกษาจะช่วยพัฒนาสุขภาวะด้านจิตวิญญาณซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สาคัญมากที่สุดในการขับเคลื่อน ชีวิตของมนุษย์ จะช่วยทาให้ผู้ประสบภัยได้สัมผัสถึงพลังชีวิตของตนเอง มีความสุข สงบจากภายใน สามารถเข้าใจและยอมรับปัญหา ชีวิตได้ตามความจริงและกลับสู่ภาวะสมดุลปกติของชีวิตได้เร็วขึ้น ซึ่งการถอดบทเรียนจากทีมหมูป่าอะคาเดมี่และการปฏิบัติการ ช่วยเหลือพวกเขาจะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีและเป็นโมเดลการเรียนรู้ให้แก่สังคมต่อไป"
} |
{
"en": "The purpose of this article is to present the concept of nursing education in 21 st century skills of nursing students, competencies and roles of Nursing Instructors. The changing in the 21 st century, health care service system and implementing of transformative learning in education require the change in nursing education of the 21 st century. Nursing instructors are individuals who have a role in promoting instructional reform to keep up with the changes and having a crucial role in develop the competencies of nursing students Corresponding Author: *E-mail : [email protected] วันที่รับ (received) 29 พ.ย. 62 วันที่แก้ไขเสร็จ (revised) 7 ก.พ. 62 วันที่ตอบรับ (accepted) 9 ก.พ. 62 13 Nursing Education in the 21 st Century: Competencies and Roles of Nursing Instructors",
"th": "บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาลในศตวรรษที่ 21 จากการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสุขภาพและการนารูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการจัดการศึกษา พยาบาลสาหรับศตวรรษที่ 21 ทาให้การจัดการศึกษาต้อง มีการเปลี่ยนแปลง อาจารย์พยาบาลเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนการสอนให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและมีบทบาทสาคัญในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่สภาการพยาบาลได้กาหนดไว้ มีทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นในการจัดการศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21ให้มีประสิทธิภาพนั้น อาจารย์พยาบาลผู้สอนจาเป็นต้องมีสมรรถนะและบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการนาไปใช้ ด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านการสื่อสาร ความร่วมมือและการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ด้านกฎหมาย/จริยธรรมและความเป็นมืออาชีพ ด้านการติดตามและประเมินผล รวมถึงด้านการจัดการ ภาวะผู้นาและการเป็นผู้สนับสนุน"
} |
{
"en": "This article analyses characteristics and outcomes of teaching to critical thinking for generation Z Index Centre, ScienceDirect, PubMed, and Google Scholar,the researcher obtained seven experimental studies that met the criteria.\nAn analysis of these studies led to the following findings; 1) Critical teaching methods have 6 methods include explanation of the course clearly, self-learning, group discussion, presentation of class work with reflection techniques, cresting mild mapping for lesion, and teaching with case studies. 1.1) Time spent in the program of teaching, thinking to have effective judgment starting from 135 minutes or more depending on the lesson content. 1.2) Activities for teaching students to have critical thinking such as VARK Learning Styles, assigned to plan the concept of nursing mapping as a group, discussions and summary issues, learn teaching materials through e- learning etc., all learning activities must focus on the students to take action themselves, and t practice analyzing the simulation. 1.3) t he role of the instructor that gives the learner a critical thinking such as being a controller for the puppet to show signs according to the scenario, is the urge to thinking connection find a reason, is a reflection, and summarizing issues and guiding students to make critical decisions. and 1.4) the role of the learner must participate in the learning activities planned by the instructor and must have continuous thinking according to the program. 2) The results of the program of teaching to think critically based on empirical evidence finding; The critical thinking of students evaluated about critical thinking ability, critical thinking features, critical thinking skills, and critical problem solving ability. 2.1) the results of the thinking teaching program are critical most students after entering the program have a more critical thinking than before entering the program and in the experimental group, the critical thinking was higher than the control group. and 2.2) All program measurements are measured after the end of the trial program. There is no follow-up evaluation.",
"th": "บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะและผลลัพธ์ของโปรแกรมการสอนการคิดให้มีวิจารณญาณในนักศึกษา scholarได้งานวิจัยเชิงทดลองผ่านเกณฑ์ที่กาหนดทั้งหมด 7เรื่อง วิเคราะห์พบว่า 1) วิธีการสอนให้มีวิจารณญาณมี 6 วิธีได้แก่. การอธิบายรายวิชาให้ชัดเจน การเรียนรู้ด้วยตนเอง อภิปรายกลุ่ม การนาเสนองานหน้าชั้นเรียนร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิด การสร้างผังความคิดประกอบบทเรียนและ การสอนด้วยกรณีศึกษา 1.1)เวลาที่ใช้ในโปรแกรมการสอนการคิดให้มีวิจารณญาณที่ มีประสิทธิภาพเริ่มตั้งแต่ 135 นาทีขึ้นไปขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทเรียน 1.2) กิจกรรมการสอนให้นักศึกษาเกิดการคิดที่มีวิจารณญาณมี หลากหลายเช่น VARK Learning Styles มอบหมายให้ทาผังความคิดทางการพยาบาลเป็นรายกลุ่ม อภิปรายร่วมกันสรุปรายประเด็นเรียนรู้สื่อการสอนผ่าน e- learningเป็นต้น ทุกกิจกรรมการเรียนต้องเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเองให้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ จาลองเอง 1.3) บทบาทของผู้สอนที่ก่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่ที่มีวิจารณญาณเช่น การเป็นผู้ควบคุมให้หุ่นแสดงอาการตาม scenarioเป็นผู้กระตุ้นให้คิดเชื่อมโยงหาเหตุผลเป็นผู้สะท้อนคิด สรุปประเด็นและชี้แนะการเรียนรู้ให้เกิดวิจารณญาณแก่นักศึกษา 1.4) บทบาทของผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนที่ผู้สอนวางแผนไว้และต้องมีการคิดอย่างต่อเนื่องตามโปรแกรม 2) ด้านผลลัพธ์ ของโปรแกรมการสอนการคิดให้มีวิจารณญาณตามหลักฐานเชิงประจักษ์ พบว่า การประเมินความมีวิจารณญาณในการคิดของ นักศึกษาประเมินเกี่ยวกับ ความสามารถในการคิดวิจารณญาณ คุณลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 2.1) หลังการเข้าโปรแกรมนักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดอย่าง มีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมและในกลุ่มทดลองจะมีความคิดที่มิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุม 2.2) การวัดผลของโปรแกรมทั้งหมดวัดผลหลังสิ้นสุดโปรแกรมการทดลองไม่มีการติดตามประเมินผล"
} |
{
"en": "Thailand is entering the ageing society perfectly in 2018. It is imperative that the government and all relevant agencies prepare for the aging society. Because, the older adults are considered to be at high risk for various diseases, especially chronic diseases. Older people with chronic diseases have the highest proportion use medicine when compared to other age groups. The purpose of the drug is to prevent or treat the disease, but at the same time the medication may be effective. Including inappropriate medication use in the older adults. These problems are common because of the use of various medication and age-related physiologic changes. Inappropriate use of antipsychotics in older adults has a greater prevalence of problems. Nurse is one of the health team members who play an important role in preventing problems related to the use of illicit drugs in the older adults. Also, care should be taken if there are any problems that make older people at risk or dangerous. Nurses need to have relevant knowledge to help them effectively prevent and deal with the problem. This article aims to present knowledge consist of appropriate use of drugs in the older adults, the older adults with drugs use, Age-related change of the older adults affects the drug use, problems related to drug use in the older adults, drug use behavior for the older adults, and Nursing role in preventing and dealing with inappropriate drug use in the older adults.",
"th": "ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2561 จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุเพราะผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่าง ๆโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง การที่มีโรคประจาตัวโดยเฉพาะโรคเรื้อรังทาให้ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีการใช้ยาปริมาณมากที่สุดเมื่อเทียบกับวัย อื่น จุดประสงค์ของการใช้ยาก็เพื่อการป้องกันหรือรักษาโรคแต่ขณะเดียวกันการใช้ยาอาจส่งผลเสียได้ รวมทั้งการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ ปัญหาเหล่านี้พบบ่อยเนื่องจากมีการใช้ยาหลายชนิดและร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามวัย พบการใช้ยา อย่างไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุมีความชุกของปัญหาเพิ่มมากขึ้น พยาบาลเป็นหนึ่งในบุคลากรทีมสุขภาพที่มีบทบาทสาคัญในการป้องกัน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาที่ไม่เหมะสมในผู้สูงอายุ ตลอดจนการดูแลจัดการหากมีปัญหาใด ๆ ที่ทาให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยง หรืออันตรายจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม พยาบาลจึงจาเป็นต้องมีความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้สามารถป้องกันและจัดการกับปัญหา ต่าง ๆ ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุกับการใช้ยา ความเสื่อมตามวัยของผู้สูงอายุที่มีผลต่อการใช้ยา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ พฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุและบทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการกับการยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ"
} |
{
"en": "Caring for the elderly people with dementia at home is a burden for family caregivers. The family caregivers have to face the progression of disease that become deteriorated in every day. When the elderly people with dementia are unable to perform daily activities and become more dependent, This situation causes difficulty in taking care of, especially family caregivers who do not have enough knowledge and have never been trained in caring. Moreover, family caregivers may have a physical illness that affects mental health. Therefore, the preparation for the family caregivers to take care of the elderly people with dementia and the caring for the family caregivers need to be provided based on holistic and individual care. When family caregivers are in good health. It will improve the quality of care for the elderly with dementia. This is an essential for the family caregivers who need to provide the best care to the elderly people with dementia in order to maintain good health and quality of life for both.",
"th": "การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่บ้านถือเป็นภาระที่หนักสาหรับญาติผู้ดูแลเนื่องจากต้องเผชิญกับความก้าวหน้า ของโรคที่ทรุดลงทุกวัน จนกระทั่งผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันเกิดภาวะพึ่งพิง ทาให้เกิดความยากลาบากในการดูแลโดยเฉพาะญาติผู้ดูแลที่ไม่มีความรู้และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมมาก่อน รวมทั้งญาติผู้ดูแลอาจเกิด การเจ็บป่วยทางกายซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ ทางจิตด้วย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมญาติผู้ดูแลสาหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะสมองเสื่อมและการดูแลญาติผู้ดูแลจึงจาเป็นต้องได้รับการดูแลโดยองค์รวมและครอบคลุมทุกมิติเมื่อญาติผู้ดูแลมีภาวะสุขภาพ ที่ดี จะทาให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสาคัญของญาติผู้ดูแลที่จะต้องให้การ ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมอย่างดีที่สุดเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและญาติ ผู้ดูแล"
} |
{
"en": "Treatment of patients with ischemic stroke through thrombectomy is another option beyond intravenous thrombolysis with recombinant tissue plasminogen activator (IV-rtPA) ipatients with large blood vessels occlusion or there are some contraindications to receiving IV-rtPA. However, such treatment methods have the potential to cause significant complications in patients such as neurological changes, intracerebral hemorrahge, or reocclusion after thrombectomy treatment including contrast-induced nephropathy etc. Nurses are important in the healthcare for taking care ischemic stroke after treating with thrombectomy. So, understanding of nursing care among pre-operative, intraoperative, and post-operative after thrombectomy treatment to prevent complications that may occur at various stages of treatment including when the patient returns to home.",
"th": "การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันผ่านสายสวนหลอดเลือดเป็นทางเลือกหนึ่งที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการ รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดาในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่หรือมีข้อห้ามบางประการใน การได้รับยาละลายลิ่มเลือด อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาดังกล่าวมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สาคัญในผู้ป่วยได้เช่น การเปลี่ยนแปลง อาการทางระบบประสาท การเกิดเลือดออกในสมองหรือมีก้อนเลือดอุดตันซ้าหลังการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือด รวมทั้งการเกิดภาวะสารทึบรังสีชักนาให้เกิดโรคไตวายเฉียบพลันเป็นต้น พยาบาลเป็นบุคลากรสาคัญของทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดจึงจาเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการพยาบาลตั้งแต่ระยะ ก่อน ขณะและหลังการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือด ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะต่างๆ ของการรักษา รวมทั้งเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน"
} |
{
"en": "Balloon atrial septostomy (BAS) is an important therapeutic cardiac catheterization and a life-saving interventional procedure for congenital heart disease in newborn or small infant with the purpose of widening a restrictive interatrial communication. It is an emergency intervention in nature, an effective palliativetreatment, and allowing the planning for surgery. However, there may have complications during andpost intervention phase in the cardiac catheterization laboratory. BAS is going to get better, if there is amultidisciplinary team by co planning. Consequently, nurses have to improve their nursing competency by integrating knowledge related to congenital heart diseases, balloon atrial septostomy, and the complic that may arise in order to monitor patients in reducing the adverse effects of therapeutic cardiac. This would provide nursing care better and holistic care to their families effectively. To provide holistic patient care, nurse must use their experiences and skills by applying the theoretical based during and post intervention phase in practical way.",
"th": "การขยายผนังกั้นหัวใจห้องบนด้วยบอลลูน (Balloon atrial septostomy; BAS) ถือเป็นการสวนหัวใจที่มีความสาคัญเพื่อช่วยชีวิตเร่งด่วนในทารกแรกเกิดโรคหัวใจพิการแต่กาเนิดที่จาเป็นต้องมีทางไหลเวียนของเลือดผ่านระดับ Atrium (Interatrial communication)เป็นการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative)เพื่อรอเวลาการทาผ่าตัดแก้ไข อย่างไรก็ตามในการขยายผนัง กั้นหัวใจห้องบนด้วยบอลลูนในห้องสวนหัวใจอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งขณะทาหัตถการและหลังการทาหัตถการ ผู้ป่วยจะได้รับ การทาหัตถการจากสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเฉพาะของห้องสวนหัวใจ พยาบาลเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพที่จาเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลโดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจแต่กาเนิด การขยายผนังกั้นหัวใจห้องบนด้วย บอลลูนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นเพื่อที่จะได้เฝ้าระวังผู้ป่วยในการลดผลไม่พึงประสงค์จากการสวนหัวใจเพื่อการรักษา ดังนั้นพยาบาลห้องสวนหัวใจจึงต้องตระหนักถึงบทบาทของตนและพัฒนาศักยภาพในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้งระยะทาหัตถการและหลังการทาหัตถการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวม"
} |
{
"en": "Society has seen rapid changes in the last decade. The consequences of these changes have made acclimating to a different culture more complicated for people with diverse values, beliefs, and religious orientations. It is necessary that nursing professionals adjust health care delivery in ways that recognize accommodate the basic needs of a wide variety of patients. Cultural diversity, especially with cross cultural language, cannot be avoided. Nurses are critical health care team members who would often be the first group who make contact with patients. If these nurses lack the knowledge and skills to communicate with patients with differing cultural orientation perspectives, the end result may bring harm or life-threatening consequences entrusted to their care. Thus, the nurses must have good cultural competency in order to deliver high quality in all aspects of care.",
"th": "ปัจจุบันสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น วิชาชีพ พยาบาลจึงมีความจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยตามสภาพสังคม วัฒนธรรมที่หลากหลาย การสื่อสารต่างวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งที่จาเป็นอย่างยิ่งในยุคศตวรรษที่ 21 ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พยาบาลเป็น หนึ่งในบุคลากรทีมสุขภาพที่ต้องมีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการเป็นด่านแรก หากพยาบาลหรือบุคลากรในทีมสุขภาพ ขาดความรู้และทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วยที่มีความแตกต่างด้านความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมและภาษา อาจทาให้เกิดอันตราย ต่อชีวิตหรือส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลยุกต์ใหม่จึงจาเป็นต้องมีสมรรถนะการดูแลข้ามวัฒนธรรมให้ ครอบคลุมทุกด้าน"
} |
{
"en": "This study was a research and development aiming to study and develop a nursing standard for drug emergency patients. The research was divided into three phase; (1) surveying and investigating the background of the problem, (2) developing the nursing standard for drug emergency patients (3) assessing the result of the guideline. The research sample comprised of three groups. The first sample group was 20 people of medical and nurse administrators, registered nurses and patient’s relatives. The second group of the sample was 20 specialists, and the third group consisted of 75 patients, 32 relatives and 38 registered nurses. The research instruments comprised of a semi - structured interview question, a feedback questionnaire for the nursing standard, a patient’s severity classification form, a satisfied questionnaire for the relative, a knowledge measurement form, a performance assessing form and a satisfied questionnaire for the qualified nurse. The analysis methods were a content analysis, a descriptive statistic and a paired sample t-test. The result indicated that; (1) the classification and referral systems, the standard guideline and knowledge enhancement for the related staffs should be developed, (2) five nursing standard for drug emergency patients has been launched, and (3) most of the patient was the critical condition and urgent patients, and the nurses can follow well the guideline. The score of the post-test was significantly higher than pretest at 0.05. The satisfaction of the relatives and nurses on the guideline was very good level.",
"th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนามาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทาง ยาเสพติดแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ 1) สารวจ สังเคราะห์สภาพปัญหา 2) พัฒนามาตรฐานการพยาบาลฯ 3) ศึกษาผลการใช้ มาตรฐานการพยาบาลฯ กลุ่มตัวออย่าง 1) ผู้บริหารทางการแพทย์และการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพและญาติผู้ป่วย รวม 20 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 20 คนและ 3) ผู้ป่วย ญาติและพยาบาลวิชาชีพ จานวน 75, 32และ 38 คนเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบ สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นต่อมาตรฐานฯแบบเก็บข้อมูลเพื่อคัดแยกระดับความรุนแรงผู้ป่วยฯแบบสอบถาม ความพึงพอใจของญาติฯแบบวัดความรู้ฯแบบประเมินการปฏิบัติฯและแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล ที่ผ่านการตรวจ สอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t- test ผลการศึกษา พบว่า 1) ควรพัฒนา ระบบการคัดกรอง การส่งต่อแนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและเสริมความรู้ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2)ได้มาตรฐาน การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทาง ยาเสพติรวม 5 มาตรฐาน 3) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเสพติดฉุกเฉินเร่งด่วน พยาบาล มีการปฏิบัติตามมาตรฐานฯในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ พยาบาลและญาติมีความพึงพอใจต่อมาตรฐานฯ อยู่ในระดับดีมาก"
} |
{
"en": "This quasi-experimental research aimed to compare quality of nursing note before and after using nursing process conference model in adult patients developed by researchers based on the classifications of nursing diagnosis, outcomes and interventions which supported by concepts of critical and rational thinking within nursing profession for implementing nursing process evidenced by nursing note for individual patient written by 47 professional nurses. The sample was 500 nursing notes before and after experimentation which 250 notes of each were reviewed using reviewing form for nurse’s note quality developed by researchers based on concepts of the classification of nursing diagnosis, outcome and intervention which Alpha Cronbach was .75 and t-test indicated that means of total score and in each step of nursing process after experimentation on nursing note’s quality was significantly higher than before at .05. In addition, mean scores of nursing note quality after the experimentation in nursing assessment step was at high level, in nursing outcome and evaluation steps were at the lowest level. These results revealed that nursing note should be improved to indicate the use of completed nursing process along with the implementation of professional nursing languages that being internationally accepted. Then nursing notes in all health care service institutions should be systemically reviewed.",
"th": "วิจัยกึ่งทดลองนี้มุ่งเปรียบเทียบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการประชุมปรึกษา กระบวนการพยาบาลที่ยึดระบบการจาแนกข้อวินิจฉัย ผลลัพธ์และการปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยผู้ใหญ่โดยใช้แนวคิดวิจารณญาณ ด้วยเหตุผลในขอบเขตวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการปฏิบัติกระบวนการพยาบาลแสดงหลักฐานที่บันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วย รายบุคคล ซึ่งเขียนโดยพยาบาลวิชาชีพ 47 คน กลุ่มตัวอย่างคือ บันทึกทางการพยาบาล 500แฟ้ม ก่อนและหลังการทดลองอย่าง ละ 250แฟ้ม ตรวจสอบโดยแบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจาแนกข้อวินิจฉัย ผลลัพธ์และการ ปฏิบัติการพยาบาลตามระบบสากล มีค่าสัมประสิทธิ์เอลฟา .75 ค่าทีแสดงว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง ทั้งโดยรวมและทุกขั้นของกระบวนการพยาบาลอย่างมีนัยสาคัญที่ 0.5และ คะแนนเฉลี่ยหลังทดลองในขั้นรวบรวมข้อมูลอยู่ในระดับ สูงขึ้นและขั้นประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามระบบสากลพบว่าอยู่ในระดับต่าสุด ผลการวิจัยนี้บ่งชี้ถึงความต้องการการ พัฒนาการเขียนบันทึกทางการพยาบาลที่แสดงการใช้กระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์และใช้ภาษาวิชาชีพการพยาบาลด้วยระบบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทุกสถานบริการสุขภาพควรได้ตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ"
} |
{
"en": "The descriptive correlational research examined the supportive care needs and the relationship between selected factors related to supportive care needs in family caregivers of patients with advanced cancer. One hundred and eighty four participants was family caregivers of patients with advanced cancer were recruited by purposive sampling. Participants were family caregivers of the patients followed up at out-patient department of cancer clinics form 3 tertiary hospitals in Bangkok. The research instruments included the demographic data form and The State Anxiety Inventory form Y, The Social support assessment form, The Fatigue scale, The Edmonton Symptom Assessment Scale, The supportive care needs survey for partners and caregivers, The Knowledge assessment form and The Karnofsky Performance Status. Data were analyzed using mean, standard deviations and Pearson’s product moment Correlation. The research results were as follow: 1) The supportive care needs in family caregivers of cancer patients was at moderate level (mean = 3.09, SD = 0.74). 2) Social support and physical performance of patients were negatively and significantly related to supportive care needs in family caregivers of cancer patients (r = -.21 and -.22, p < .05 respectively) 3) Knowledge, anxiety, fatigue and symptoms severity were positively and significantly related to supportive care needs in family caregivers of cancer patients (r = .17, .20, .29 and .37, p .05)",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลใน ครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวมและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่มาติดตามการ รักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก ณโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร จานวน 184 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะแบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคมแบบประเมินความเหนื่อยล้าแบบประเมินความรุนแรงของอาการแบบสอบถามความ ต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวแบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและแบบประเมินการทาหน้าที่ด้าน ร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอยู่ในระดับ ปานกลาง (mean = 3.09, SD = 0.74) 2)แรงสนับสนุนทางสังคมและความสามารถในการทาหน้าที่ด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ ทางลบกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (r = -.21และ -.22, p < .05 ตามลาดับ) 3) ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าและความรุนแรงของอาการมีความ สัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (r = .17, .20, .29,และ .37, p < .05 ตามลาดับ) สาหรับอายุไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (r = .06, p > .05)"
} |
{
"en": "The purpose of this research is to study the factors that predict the antibiotic use behavior of healthcare volunteers. The research applied the 3 rd step, PRECEDE- PROCEED model. The population was healthcare volunteers in Pathumthani province, Thailand. The cluster and simple random sampling were used to recruit 205 people. The data were collected using interviews from January, 2018 to March, 2018. The research instrument was an interview questionnaire, consisting of the predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and antibiotic use behaviors. Those were Cronbach’s Alpha coefficients in healthcare volunteer’s antibiotic use behavior data questionnaires at 0.86, in attitude of antibiotic use data questionnaire at 0.78, *Corresponding Author: [email protected] วันที่รับ (received) 5 ก.ค. 61 วันที่แก้ไขเสร็จ (revised) 30 ก.ค. 61 วันที่ตอบรับ (accepted) 3 ส.ค. 61 102 ปัจจัยทำานายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้าน ในจังหวัดปทุมธานี antibiotic use knowledge data questionnaire were KR21 coefficients at 0.86. The data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis method. The results revealed that antibiotic use behavior of volunteer was at a high range (M = 29.20, SD. = 2.38). The factors of attitude (ß = -0.264), with monthly income higher than 30,000 THB per month (ß = 0.163), being female (ß = -0.165), having antibiotic use knowledge and medicinal properties (ß = -0.134) in combination with significantly predicted the antibiotic use behavior of the healthcare volunteers in Pathumtani Province, Thailand at a significant level of .05, explaining 18 percent of the variance (F = 4.109, p< 0.044) According to the above mentioned findings, the public health organizations should provide activities to promote the right understanding, knowledge of proper antibiotic use for healthcare volunteers that should build higher awareness and rationales for using antibiotics. In addition, they could be able to convey this knowledge to their community afterward.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทานายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานีโดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด PRECEDE- PROCEED Model จากกลุ่มตัวอย่าง 205 คนเก็บรวบรวมข้อมูลเอื้อและปัจจัยเสริมที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบวัดระดับความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86แบบประเมินทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและแบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะมีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาคอัลฟาเท่ากับ 0.862และ 0.782 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องและเหมาะสมในระดับดี (M = 29.20, SD. = 2.38) ปัจจัยที่สามารถร่วมทานายได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (฿ =-0.264) รายได้สูงกว่าเดือนละ 30,000 บาท (฿= 0.163)เพศหญิง (฿ = 0.165) ความรู้เรื่องการใช้ยาและสรรพคุณของยาปฏิชีวนะ (฿ = 0.134)โดยสามารถร่วมทานายพฤติกรรมการใช้ ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานีได้ร้อยละ 18 (F = 4.109, p< 0.044) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมที่สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ยาปฏิชีวนะเพื่อให้เกิดความตระหนักและนาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องไปสู่ชุมชนได้และควรจัดกิจกรรมรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างสมเหตุผลให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง"
} |
{
"en": "The research was to examine the sleep duration of preterm infants after discharge and the relationship between the intrinsic factors (sex, gestational age and type of milk) and the extrinsic factors (maternal stress, mother-neonate relationship, family income and mothers’ education level). Subjects consisted of 130 pairs of mothers and their preterm infants with gestational ages of 28 to 35 weeks and first * Corresponding Author : ศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย E-mail : [email protected] งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่รับ (received) 31 ต.ค. 61 วันที่แก้ไขเสร็จ (revised) 8 ธ.ค. 61 วันที่ตอบรับ (accepted) 15 ธ.ค. 61 111 Selected Factors Related to Sleep Duration in Preterm Infant after Discharge from Hospital time admitted to the hospital. They were selected by using multistage random sampling. Research instruments included questionnaires of mothers’ and preterm neonates’ personal factors, sleep log form, maternal stress questionnaire, mother-neonate relationship questionnaire. Data ware analyzed by Pearson’s product moment correlation coefficient and Chi-square test. Research findings were as follows: The sleep duration of preterm infant was inadequate f significantly correlation with the sleep duration of preterm infant (χ 2 = 15.405, 12.438 and 15.123, p < .01, respectively), gestational age and mother-neonate relationship were significantly positive correlation with the sleep duration of preterm infant (r = .491 and .265 , p< .01 respectively) and maternal stress was significantly negative with the sleep duration of preterm infants (r = -.364, p<.01) Research results suggest knowledge for nursing practice in premature infant discharge preparation for the mother. Nurses can promote preterm infants adequate sleep duration after discharge home by promoting mother-neonate relationship and preparing mother for managing stress especially for lactation performance.",
"th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกาหนดหลังจาหน่ายจากโรงพยาบาลและ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน คือเพศ อายุครรภ์ ประเภทของนมและปัจจัยภายนอก คือ ความเครียดของมารดา สัมพันธภาพระหว่างมารดา-ทารก รายได้ของครอบครัวและระดับการศึกษาของมารดา กับระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิด ก่อนกาหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาและทารกอายุครรภ์ 28 ถึง 36 สัปดาห์ที่รับไว้ในโรงพยาบาลครั้งแรกจานวน 130 คู่ คัดเลือก จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก ตารางบันทึก ระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกาหนดแบบสอบถามความเครียดของมารดาและแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่าง มารดา-ทารก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า ทารกเกิดก่อนกาหนดโดยเฉลี่ยมีระยะเวลาการนอนหลับอยู่ในระดับไม่เหมาะสมกับวัย ( = 880.51 นาที/วัน, SD = 123.59)โดยเพศ ประเภทของนมและระดับการศึกษาของมารดา มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการนอนหลับของ ทารกเกิดก่อนกาหนด (χ 2 = 15.405, 12.438และ 15.123, p < .01 ตามลาดับ) อายุครรภ์และสัมพันธภาพระหว่างมารดา-ทารก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกาหนด (r = .491และ .265, p < .01)และความเครียดของ มารดา มีความสัมพันธ์ทางลบกับระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกาหนด (r = -.364, p < .01) ข้อความรู้จากการวิจัยให้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติการพยาบาล นาไปวางแผนการเตรียมมารดาก่อนการจาหน่ายทารกเกิด ก่อนกาหนดเพื่อส่งเสริมระยะเวลาการนอนหลับที่เพียงพอของทารกเกิดก่อนกาหนดที่บ้าน ด้วยการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่าง มารดา-ทารกให้มารดาเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดของตนเองที่บ้านและส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงทารกเกิดก่อนกาหนดด้วยนมแม่ คาสาคัญ : ทารกเกิดก่อนกาหนด, ระยะเวลาการนอนหลับ, ปัจจัยสัมพันธ์"
} |
{
"en": "This research aimed to study the quality of life and to examine the relationships between symptom experiences, social support, severity of skin tissue damage and quality of life in patients with obstructive uropathy receiving percutaneous nephrostomy. Ninety-five participants using simple random sampling technique from those who had been diagnosed with obstructive uropathy due to pelvic malignancies receiving percutaneous nephrostomy more 3 months when who came to tertiary hospitals in Bangkok for their follow-up care and change percutaneous nephrostomy. Data were collected by using 5 parts of questionnaires: (1) Patient’s demographic data and treatment record forms, (2) The quality of life index, (3) The symptom experience assessment scale, (4) Social support questionnaire and (5) The skin assessment tool. Content validity was examined by five experts. Internal consistency reliability for the second, the third and the fourth parts of the questionnaires tested by Cronbach’s alpha coefficient were 91, .91 and .93, respectively. The skin assessment tool tested by inter-rater reliability was .90. Descriptive statistics, Pearson’s correlation and Spearman rank correlation coefficient were used in data analysis. The finding showed that the quality of life in the participants were at a moderate level (Mean = 66.34, SD = 14.55). Symptom experiences and severity of skin tissue damage were negatively related to the quality of life with statistical significance (r = -.54, r = -.35, respectively; p< .05). Social support was positively related to the quality of life with statistical significance (r = .27, p<.05).",
"th": "การวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการแรงสนับสนุนทางสังคมและระดับความรุนแรงของ ผิวหนังถูกทาลายรอบสายระบาย กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง กลุ่มตัวอย่าง จานวน 95 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากการลุกลามของมะเร็งในอุ้งเชิงกรานและได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง ตั้งแต่ 3เดือนขึ้นไปโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานครโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ส่วนได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) คุณภาพชีวิต 3) ประสบการณ์การมี อาการ 4)แรงสนับสนุนทางสังคมและ 5)แบบสังเกตระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทาลายเครื่องมือส่วนที่ 2-4 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .91และ .93 ตามลาดับและส่วนที่ 5 ค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 66.34, SD = 14.55) ประสบการณ์การมีอาการและระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทาลายมีความสัมพันธ์ทางลบ (r = -.54, r = -.35 ตามลาดับ; p< .05)และแรงสนับสนุนทาง สังคมมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .27, p<.05) กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบาย ปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง"
} |
{
"en": "This Retrospective cohort study aimed to study 1) impacts of maternal and problems of maternal role attainment in adolescent mothers 2) factors affecting maternal role attainment achievement in adolescent mothers and 3) develop direction of promoting maternal role attainment achievement in adolescent mothers. The samples consisted of 507 adolescent mothers who aged 15-19 years and labored at Nakhon Phanom hospital in 2016. Data collected by using personal data form and Maternal and Child health data record that researcher developed from literature review. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standardized deviation, independent t-test and multivariable risk regression.\nThe results of this study demonstrated that the impact of adolescent mothers comprised of severe preeclampsia, hematocrit level was less than 33 percent, Postpartum Hemorrhage, premature labor, and low birth weight newborn that weight less than 2,500 grams. The highest factors affecting maternal role attainment achievement was family support (p = .002), newborn’s birth weight were normal (p = .001), and newborn who have non-complication (p = .027), respectively. In addition, the result of this study showed that directions of promoting maternal role attainment achievement comprised of 1) finding out/seeking key person in their fam- ily who influenced adolescent mothers when the first time of adolescent mothers’ Antenatal Care (ANC), 2) preparing of adolescent mothers when they were during the antenatal period and health care providers provide home visit during the postpartum period, 3) preparing of family members’ adjustment on changes in their fam- ily, 4) continuously follow up and provided mental health care by mental health care providers, and 5) con- tinuously giving health care informations that focused on child rearing skills and evaluated adolescent mothers’ maternal role attainment by health care providers.\nConclusion and recommendations based on the findings of this study, It is recommended that health care providers and related personnel should utilize these findings for enhancing effectiveness and efficiency of planning, adjustment strategies, and developing model or guideline or promoting program/activities that appropriate for context clue in each area.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบ Retrospective cohort Study มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาผลกระทบ ของการเป็นมารดาและปัญหาในการดารงบทบาทการเป็นมารดาวัยรุ่น 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการดารงบทบาทการเป็นมารดาวัยรุ่นและ 3)เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมความสาเร็จในการดารงบทบาทการเป็นมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็น มารดาวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-19 ปี ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลนครพนมในปีพ.ศ.2559 จานวนทั้งหมด 507 รายเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกข้อมูลแม่และเด็กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-testและ Multivariable risk regression\nผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์จากการเป็นมารดาในวัยรุ่น ประกอบด้วย ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ระดับความเข้มข้น ของเลือดต่ากว่า 33% ภาวะตกเลือดหลังคลอด การคลอดก่อนกาหนดและทารกแรกเกิดมีน้าหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ปัจจัยที่มี ผลต่อความสาเร็จในการดารงบทบาทการเป็นมารดาของวัยรุ่นมากที่สุดคือ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (p = .002) รอง ลงมาได้แก่ น้าหนักทารกแรกเกิดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (p = .001)และทารกแรกเกิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน (p = .027) ตามลาดับและแนวทางในการส่งเสริมความสาเร็จในการดารงบทบาทการเป็นมารดาของวัยรุ่นได้แก่ 1) การค้นหาบุคคลในครอบครัวที่มีความ สาคัญต่อมารดาของวัยรุ่นตั้งแต่ครั้งแรกที่มารดาวัยรุ่นมาฝากครรภ์ 2) การเตรียมความพร้อมของมารดาวัยรุ่นในการเป็นมารดา ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์และมีการติดตามเยี่ยมในระยะหลังคลอด 3) การเตรียมความพร้อมของบุคคลในครอบครัวต่อการปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงในครอบครัว 4) การติดตามและให้การดูแลด้านจิตใจจากเจ้าหน้าที่ด้านจิตเวชอย่างต่อเนื่องและ 5) การติดตาม สอนโดยเน้นทักษะการดูแลบุตรและติดตามประเมินผลการดารงบทบาทการเป็นมารดาของวัยรุ่นจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่าง ต่อเนื่อง\nจากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาข้อมูลไปใช้ในการวางแผน ปรับกลยุทธ์และและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการดาเนินงานเชิงรุกให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"
} |
{
"en": "This qualitative study was to describe the phenomena of difficulty of family caregivers in caring for infants with chronic lung disease (CLD). Informants were 14 family caregivers who were taking care of infants with CLD no more than two years after hospital discharge. Data were collected by in-depth interviews and audio recording. Colaizzi approach analysis was used to analyze data in this study.\nFindings revealed experience the difficulty of caregivers in caring for infant with CLD at home in order to comply with the infant’s treatment plan, prevention of complications and health recovering could be categorized into 7 major themes: 1) punctual administration of multiple medications 2) close monitoringof respiratory signs and symptom, 3) seeking ways to help infants with constipation, 4) finding a way to feed the infants and to alleviate vomiting, 5) searching all possible ways for the child/grandchild to gain weight,6) feeling helplessness when the child became tired and cyanotic and 7) experiencing high costs of care\nThis study generated insights into the complex tasks, emotions, and coping of caregivers caring for infants with CLD. The nurses can take information used in developing the discharge planning can preparation for caregivers’ ability to handle the infants’ health problems at home and decrease rate readmission in hospi-tal.",
"th": "การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อบรรยายปรากฏการณ์ความยากลาบากของผู้ดูแลที่เกิดขึ้นในการดูแลทารกแรกเกิดโรคปอดเรื้อรัง (CLD) ที่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ดูแลในครอบครัว 14 ราย ซึ่งทาหน้าที่หลักในการดูแลทารก CLD หลังจาหน่ายจากโรงพยาบาลไม่เกิน 2 ปีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการบันทึกเทป นาข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคาต่อคา วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธี ของ Colaizzi\nผลการวิจัยพบว่า ความยากลาบากที่ผู้ดูแลต้องประสบและหาหนทางในการก้าวผ่านความยากลาบากในการดูแลทารก CLD ที่บ้านให้ได้ตามแผนการรักษาไม่มีภาวะแทรกซ้อนและเพื่อการฟื้นหายได้ ประกอบด้วย 7 ประเด็น คือ 1) ยาหลายตัวต้องให้ตรงเวลา 2) สังเกตการหายใจอย่างใกล้ชิด 3) หาทางช่วยเหลือเมื่อท้องผูก 4) คิดหาวิธีป้อนนม ลดการแหวะและอาเจียน 5) พยายามทุกทางให้ลูก/หลาน น้าหนักขึ้น 6) ทาอะไรไม่ถูกเมื่อเหนื่อยและตัวเขียวและ 7) มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแล\nการวิจัยให้ข้อมูลเชิงลึกถึงการดูแลทารกแรกเกิด CLD ที่บ้าน ซึ่งมีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่ออารมณ์และการเผชิญ ความเครียดของผู้ดูแล สามารถนาข้อมูลมาใช้วางแผนจาหน่ายจะช่วยเตรียมความพร้อมในการทาหน้าที่ของผู้ดูแลให้สามารถรับมือ กับปัญหาสุขภาพของทารกที่บ้านและลดการกลับเข้าโรงพยาบาลซ้า"
} |
{
"en": "This quasi-experimental study aimed to examine effects of a new drinker prevention program for primary school students, Surin province, Thailand. Samples were grade 5 -6 students from two primary schools in Sangkha district, divided into the experimental group (14 students) and the comparison group (15 students). Theory of planned behavior was derived into the a 3-week new drinker prevention program to enhanceperceived attitude toward alcohol drinking behavior, perceived subjective norm to not alcohol drinkingbehavior, perceived behavioral control for not drinking alcohol beverage, and intention to not drink alcohol. Data collection was done at pre-test and at the 4th week after completion of the program. Descriptive statistics,independent t-test and paired t-test were performed for data analysis. Results reveal that, at post-test, only perceived behavioral control for not drinking alcohol beverage and intention to not drink alcohol in the experimental group show a greater mean score than the pre-test mean score (p-value = .009 and 0.028 ). At post-test, only the attitude toward alcohol drinking behavior mean score in the experimental group was found greater than the comparison group (p-value = .017).",
"th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ในเด็กชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 - 6 ปีการศึกษา 2561 จาก 2โรงเรียนใน อาเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์แบ่งเป็นก ลุ่มทดลอง 14 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ 15 ราย ระยะเวลาในการทากิจกรรมทั้งหมด 3 สัปดาห์โดยประยุกต์แนวคิดของทฤษฎี พฤติกรรมตามแผนมาใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทัศนคติต่อการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงใน การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้การควบคุมตนเองในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความตั้งใจที่จะไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามก่อนเริ่มโปรแกรมและสัปดาห์ที่ 4 หลังสิ้นสุดโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test, Independent t-testผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่ม ทดลอง มีเพียงคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การควบคุมตนเองต่อการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (p-value =.009)และความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (p-value = .028) ที่สูงกว่าก่อนการทดลอง การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง พบว่า มีเพียง คะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองที่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสาคัญ (p-value = .017)"
} |
{
"en": "This quasi-experimental research two groups pretest-posttest design aimed to develop HealthPromotion Behaviors Program of the primary hypertensive patients. The samples consisted of 60 femalehypertensive patients attended at Health Promoting Hospital,Tum-bon Dong la-kon, Muang District, NakhonNayok. The samples were divided into two groups, 30 patients each. One group was experimental group and the other one was control group. The instrument used in this study was the Health Promotion behavior Program. Data were collection by using questionnaires of disease knowledge, self-efficacy, health believe model, social support and health behavior which verified for content validity by a panel of five experts. The reliability was presented at .93, .88, .93,.92and.94 respectively.Blood pressure was monitoring before and after implementing the program. Data were analyzed by Descriptive statistics,t-test and independent t-test.\nThe results showed that after implementing the program, the experimental group had better average score than pre-test and control group and had lower blood pressure-level than pre-test and control group at statistically significant level of .05.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรม ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล ตาบลดงละคร อาเภอเมือง จังหวัดนครนายก ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจานวน 60 คนจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบวัดความรู้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองแบบสอบถามการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพแบบสอบถามการได้รับแรงสนับสนุน ทางสังคมและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพและติดตามระดับความดันโลหิต ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านโดยมีค่าความเชื่อมั่เท่ากับ .93, .88, .93, .92และ.94 ตามลาดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบค่าdependent t-test, Independent t-test\nผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติและระดับความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .05"
} |
{
"en": "The study was descriptive research. The purpose of research were to study level of well being, and to study the relationships between family support and well being of breast cancer patients who derived chemotherapy. The samples were breast cancer patients and mastectomy and treated with chemotherapy.A total of 71 samples were used in this study. The research instruments were the questionnaires about family support and well being. These questionnaires were created and adopted from chotika Pokhom, Chadapa Praserttong and et al. The data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency percentage mean standard deviation and Pearson’s product moment of correlation coefficient.\nThe research found that the side effects of chemotherapy were moderate level ( = 2.83, S.D. = 0.48). According to classified of the side effects, it was found that hair loss, anxiety and muscle pain were all symptoms at high level ( = 4.58, S.D. = 0.84, = 4.39, S.D. = 0.90, = 4.10, S.D. = 1.12 respectively).The sample have well being at high level ( = 3.82, S.D. = 0.39). There was significantly statistical correlation between the family support and well being of breast cancer patients who derived chemotherapy at .01 lavel (p<.01). The recommendations of this study should to develop family supportive program for breast cancer patients who derived chemotherapy.",
"th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาระดับความผาสุกและความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางครอบครัว กับความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบาบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเพศหญิง ที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมข้าง ที่เป็นออกทั้งเต้าและได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบาบัดอย่างน้อย 1 ครั้งจานวน 71 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการสนับสนุน ทางครอบครัวและแบบสอบถามความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้วิจัยได้สร้างและดัดแปลงแบบสอบถามจากโชติกาโพธิ์ขอมและชฎาภา ประเสริฐทรงและคณะ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\nผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการข้างเคียงจากยาเคมีบาบัดมีระดับความรุนแรงปานกลาง ( = 2.83, S.D. = 0.48) ข้อที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผมร่วง ( = 4.58, S.D. = 0.84) รองลงมาคือ ความวิตกกังวล ( = 4.39, S.D. = 0.90)และ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ( = 4.10, S.D. = 1.12) การสนับสนุนทางครอบครัวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.62) กลุ่มตัวอย่างมีความผาสุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.82, S.D. = 0.39) พบความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางครอบครัว ด้านทรัพยากร ด้านอารมณ์ ด้านสารสนเทศและด้านกิจกรรมคลายเครียดกับความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบาบัด อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะของการวิจัย ควรนาข้อมูลความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางครอบครัวไปใช้ใน การสร้างโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็ง"
} |
{
"en": "The purpose of this descriptive research was A study of leadership of head nurse in management for generation Y nurses, The Delphi Technique was used in this study. Participant were nineteen experts,including three nursing administrators, five head nurses, one human resources planning administrator,four academic institutions and instructor who teaching in nursing administration, and six generation Y nurses. The Delphi technique consisted of 3 steps. Step 1, all experts were described about the leadership of heanurse in management for generation Y nurses. Step 2, used data from step 1 to be analyzed by using content analysis for developing the rating scales questionnaire. All items in the questionnaire were ranked the level of the leadership of head nurses by a prior panel of experts. Step 3, data were analyzed by using median and interquartile range which was developed a new version of the questionnaire. The new questionnaire was sent to previous experts to confirm the previous ranked items. Data were analyzed again by median andinterquartile range to summarize the study.The results of the study were presented that the leadership of head nurse in management for generation Y nurses, consisted of 8 components resulting in 78 items. They were: 1) Attributes 21 items, 2) Vision 8 items, 3) Inspiration 12 items, 4) Service 6 items, 5) Development 11 items, 6) Conflict Management 4 items,7)Supervision 7 items, and 8)Information technology and communications 9 items.",
"th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นาของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวายโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จานวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล จานวน 3 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จานวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จานวน 1 คน นักวิชาการ/อาจารย์สอนการบริหารพยาบาล จานวน 4 คนและพยาบาลเจนวาย จานวน 6 คน วิธีดาเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนโดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะผู้นาของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ขั้นตอนที่ 2 นาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มา วิเคราะห์สาระสาคัญแล้วนามาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสาคัญของรายด้านย่อยของ ภาวะผู้นาของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวายและนามาคานวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จัดทาเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคาตอบและนาข้อมูลที่ได้มาคานวณหาค่า มัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นาของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาล กลุ่มเจนวาย ประกอบด้วย 8 ด้านและมีข้อรายการย่อย จานวน 78 ข้อได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะของผู้นา จานวน 21 ข้อ 2) ด้าน วิสัยทัศน์ จานวน 8 ข้อ 3) ด้านการเสริมแรงบันดาลใจ จานวน 12 ข้อ 4) ด้านการบริการ จานวน 6 ข้อ 5) ด้านการพัฒนา จานวน 11 ข้อ 6) ด้านการบริหารความขัดแย้ง จานวน 4 ข้อ 7) ด้านการนิเทศ จานวน 7 ข้อและ 8) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จานวน 9 ข้อ"
} |