translation
dict
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research were to construct and evaluate effectiveness of The computer-assisted instruction (CAI) on gerontological nursing lesson of Depression, Dementia, Parkinson, Geriatric assessment. The 30 nurse students of faculty of nursing at Chaiyaphum Rajabhat University in third year and studying gerontological nursing course were purposive sample to one group. The instrument consisted of 1) the CAI on gerontological nursing of Depression, Dementia, Parkinson and Geriatric assessment by Tutorial Instruction Pattern and 2) Satisfaction Questionnaire, Questionnaire about the CAI on gerontological nursing of Depression, Dementia, Parkinson and Geriatric assessment by Tutorial Instruction Pattern and 3) Test of gerontological nursing. The Efficiency of CAI by E1/E2, E.I. and mean, standard deviation, compare mean score of learning achievement in gerontological nursing were used to analyze data. The results revealed that the constructed CAI efficiency was 87/84 with E.I. value as 0.7 , higher than the expected criteria. The mean score of students’ knowledge at post-test (x = 9.00) were higher than those at pre-test (x = 6.00), with a significant level of p < 0.001. Moreover, The score of satisfaction toward the CAI were high on every item. It is suggested that students were able to acquire knowledge in nursing care of gerontological nursing by the computer assisted instruction.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการพยาบาล ผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม พาร์กินสัน การประเมินภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการพยาบาลผู้สูงอายุ แบบสอบถาม ความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและแบบทดสอบความรู้การพยาบาลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยทดสอบประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล (E.I.) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้ทางการพยาบาลผู้สูงอายุโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ผลการศึกษา พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87/84 ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้าน ความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นนี้สามารถ ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลใช้พัฒนาหรือทบทวนความรู้เกี่ยวกับการผู้สูงอายุเพื่อนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป" }
{ "en": "The qualitative research was to explore the care service model for dependent older persons in long-term care institution in Thailand. Forty-eight participants who experienced managing care for dependent older persons were involved in the northern, the northeastern, the southern, the central and Bangkok Metropolitan region. Data collection included focused-group discussion with observation on providing service in government and private settings and secondary data such annual report, the activities and the documents which permitted. Those were hospitals, nursing homes, welfare homes, and the foundation homes. Content analysis was used to analyze data.\nFindings included: 1) Three formal long-term care service model of institution were the welfare homes for older adults/ the private foundation homes, the private nursing home, and the government and private hospital. The characteristics of care services were health care issues. The care service model of welfare homes for older adults/ the private foundation homes focused on social care. The initiative objective was to assist older adults who were homeless and lacked of caregivers. Later, when the health care needs of older adults had been increased, providers improved care services along with changed care needs. For the private nursing home, the beginning phase was to manage care for older adults who took less self-care; and then an increase of care management with care needs was granted. In contrast, the long-term care service model of the hospitals emphasized health care management of older adults with dependent care. 2) Care service management in long-term care institutions were the assessment for classification of older adults, physical health management, and social care and social welfare. All the services were organized by using experiences and learning from the examples of the institution in Thailand or abroad. The care standard deepened on their perceptions and their institutions, not specify for long term care institution. Suggestions included the long-term care system should be improved to meet care standard, dependent older adults’ needs, and Thai socio-culture surrounding", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบบริการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาวใน ประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา จำนวน 48 คน ในภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) การสังเกตการจัดบริการในสถานบริการภาครัฐและเอกชนที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ โรงพยาบาล สถานบริบาล สถานสงเคราะห์ และบ้านพักมูลนิธิ ร่วมกับสังเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิได้แก่ รายงานประจำปี ผลประกอบการ แผนการจัดกิจกรรมและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)\nผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบการจัดบริการระยะยาวในสถานดูแลระยะยาว (Long term care institution) ในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) สถานสงเคราะห์คนชรา/บ้านพักของมูลนิธิเอกชน 2) สถานบริบาลผู้สูงอายุภาคเอกชน และ 3) โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน รูปแบบบริการทั้ง 3 มีลักษณะแตกต่างกันในประเด็นการดูแลด้านสุขภาพ กล่าวคือ ในสถาน สงเคราะห์คนชราหรือบ้านพักของมูลนิธิเอกชน เน้นการดูแลเชิงสังคมเป็นส่วนใหญ่ เริ่มต้นด้วยการสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่ไม่มีที่อยู่ อาศัยและไม่มีผู้ดูแล ต่อมาปรับเป็นการดูแลสุขภาพตามความต้องการ ในสถานบริบาลผู้สูงอายุภาคเอกชน เริ่มต้นด้วยการดูแลผู้ สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อยป่วยเรื้อรัง มีข้อจำกัดในการดูแลและครอบครัวไม่สามารถให้การดูแลได้ ส่วนในโรงพยาบาลเน้น การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีที่มีภาวะพึ่งพาโดยเฉพาะ 2. ลักษณะการจัดบริการดูแลระยะยาว ประกอบด้วย โครงสร้าง กายภาพและสิ่งแวดล้อม การประเมินจัดประเภทผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพร่างกาย การดูแลด้านสังคมและสังคมสงเคราะห์ ซึ่งแต่ละรูปแบบได้ดำเนินการตามความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในระยะแรกและจากการศึกษาดูงานในบริบท อื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อมาภายหลังได้ปรับปรุงตามมาตรฐานที่หน่วยงานกำหนดขึ้น ได้แก่ รูปแบบการดูแลใน สถานสงเคราะห์คนชรา/บ้านพักของมูลนิธิเอกชนและโรงพยาบาล ส่วนในสถานบริบาลเองไม่มีกฎหมายข้อกำหนดด้านมาตรฐาน การดูแลระยะยาวจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ละแห่งจึงกำหนดขึ้นมาเองโดยเทียบเคียงกับข้อกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลเนื่องจากยังมิได้มีการจัดทำมาตรฐานกลางหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการดูแลระยะยาว ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาปรับปรุง ระบบการดูแลระยะยาวและกำหนดกลไกการกำกับมาตรฐานให้เหมาะสมตามมาตรฐานการดูแลระยะยาวทั้งด้านมาตรฐานเชิง โครงสร้าง มาตรฐานการดูแล และมาตรฐานผลลัพท์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในบริบท สังคมไทย" }
{ "en": " Congenital Heart Disease is a disease of the infant developmental abnormalities in the fetus and death or disability. This type of congenital heart disease can be treated with surgery to correct the defect, reduce child mortality. The treatment needs to be treated by specialist surgeon (Cardiovascular Thoracic surgeon) is to consider whether or not to have surgery. Choose when and how the individual child so that the effect of the surgery is safe and complications minimal under the collaboration of multidisciplinary. The operative nurses are responsible for not only preparing equipment for surgery, but also providing care during preoperative, intraoperative and postoperative care to promote safety and comfort of children. Surgical correction of congenital heart that causes the heart to stop beating requires materials in which the heart stops was “Cardioplegia Needle’s guard” will be applied for surgical technique", "th": " โรคหัวใจพิ การแต่กำเนิดเป็นโรคจากการพัฒนาการที่ผิดปกติ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ และยังเป็นสาเหตุของการตายหรือพิการได้ ซึ่งโรคบางชนิดจากหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแก้ไขความบกพร่อง แต่การรักษาจำเป็นต้องรักษา โดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (ศัลยแพทย์ระบบหัวใจและทรวงอกเด็ก) จะเป็นผู้พิจารณาว่าต้องผ่าตัดหรือไม่เมื่อใด และเลือกวิธีเหมาะสมกับเด็กแต่ละรายเพื่อให้ผลของการผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุดภายใต้การทำงาน ร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพ พยาบาลห้องผ่าตัดนอกจากมีหน้าที่เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ของการผ่าตัดให้พร้อมตลอดเวลาในการ ผ่าตัด ยังมีบทบาทสำคัญในการพยาบาลตลอดเวลาทั้งก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่น สุขสบาย ปลอดภัยไม่เกิด อันตรายใดๆ การผ่าตัดแก้ไขหัวใจพิการแต่กำเนิด ชนิดที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นนั้นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมในการทำให้หัวใจหยุดเต้น คือ Cardioplegia Needle’s guard ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นใช้ในหน่วยงาน" }
{ "en": "The Preceptors have essential role for nursing students or novice nurses, they teach practical activities and real experiences to them. However preceptors are still working in the role as professional nurses aswell, so the competencies of professional nurse and competencies of preceptor are requirements for their working. To achieve their goals in 2 aspect duties, preceptors must have self-efficacy and integrated them with those competencies. The balancing of competencies is challenging for preceptor. The main issues in balancing of competencies consisted of 1) personal development 2) interaction between person3) teaching process and 4) management. These issues related to the competencies which preceptors must use in their daily duties. According to these, the working of preceptors is challenging of self-efficacy that must be aware and try to practice.", "th": "พยาบาลพี่เลี้ยง มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพให้กับนักศึกษาพยาบาลหรือพยาบาลจบใหม่ โดยเป็นการให้ความ รู้ในภาคปฏิบัติ และถ่ายทอดประสบการณ์จริง แต่ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพยาบาลวิชาชีพในสถานพยาบาลควบคู่กันไปด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลพี่เลี้ยงจึงอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ และสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยง ไปพร้อม ๆ กัน แต่การปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น พยาบาลพี่เลี้ยงต้องมีสมรรถนะส่วนบุคคล เป็นส่วนประกอบในการบูรณาการทั้งสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ และสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยง การให้น้ำหนักในการสร้าง ความสมดุลของสมรรถนะ นับเป็นความท้าทายของพยาบาลพี่เลี้ยงในฐานะผู้ปฏิบัติ ซึ่งประเด็นในการสร้างความสมดุลของสมรรถนะ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาตนเอง 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) กระบวนการสอน และ 4) การจัดการ ประเด็นเหล่านี้มี ความสอดคล้องกับสมรรถนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพยาบาลพี่เลี้ยง ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลพี่เลี้ยง จึงเป็นความท้าทาย ต่อสมรรถนะส่วนบุคคลที่พยาบาลพี่เลี้ยงจะต้องตระหนักและปฏิบัติให้ได้" }
{ "en": "Health literacy which plays important role on health status through life span both normal and abnormal states also affects on health behavior and health outcomes. The more health literacy clients get, the better self-care behavior they gain. Therefore, they are healthier and pay less health care cost. Consequently, nurse must pay attention on client’s health literacy enhancement by assessing clients’ health literacy, developing clients’ communicative skill, creating supportive environment to develop health literacy, activating health team to be aware of health literacy importance and being active researcher on health literacy issues.", "th": "ความรอบรู้ทางสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญของประชาชนทุกช่วงวัยทั้งในภาวะสุขภาพปกติและผิดปกติซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ และผลลัพธ์ทางสุขภาพ หากประชาชนได้รับการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ก็จะมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้นส่งผลให้เจ็บป่วยและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง การพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่พยาบาลต้องให้ความสนใจ โดยการประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ใช้บริการ พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพอีกทั้งกระตุ้นให้ทีมสุขภาพตระหนักถึงความสำคัญของความรอบรู้ทางสุขภาพ ตลอดจนสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านความรอบรู้ทางสุขภาพ" }
{ "en": "Development of the concept of alcohol craving lead to the development of measurement to assess alcohol craving. Craving is the main cause of dependence and alcohol relapse. The most effective way of assessing craving for alcohol is not only increase knowledge but also benefits for clinical treatment. With a variety of measurement is being developed, choosing appropriate measurement requires deep understanding of the measure, know the purpose of measurement, the right audience for using those measurement and the conditions of each measure must be related to the basic concepts of researcher and the purpose of that measurement.", "th": "การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความอยากดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง นำมาสู่การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมิน ความอยากดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการติดและการดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำของบุคคล ประโยชน์สูงสุดของการประเมินความ อยากดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่เป็นการขยายองค์ความรู้ แต่ประโยชน์สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือการนำไปใช้ในคลินิกเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้วยความหลากหลายของเครื่องมือที่ถูก พัฒนาขึ้น การเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจเครื่องมืออย่างลึกซึ้ง ต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ของการวัด กลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมของการใช้เครื่องมือเหล่านั้น อีกทั้งเงื่อนไขในการวัดแต่ละครั้งต้องสอดคล้องกับพื้นฐานแนวคิดของนัก วิชาการและวิจัยรวมถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำเครื่องมือนั้นๆ ไปใช้" }
{ "en": "Colostomy is a surgical procedure that brings one part of the end of the large intestine out through an opening (stoma) of the abdominal wall. Stool was moving through the intestine drainage through the stoma and dropped into a bag attached to the abdomen wall. This surgical procedure is for the patient with bowel problems, especially patients with colorectal cancer. However, this surgery may affect to the physical and psychological health of patient, his/her appearance, daily life, and quality of life. Therefore, the patients required to perform proper self-care. The purpose of this article was to propose nursing innovations in promoting self-care for colostomy patients based on Orem’s self-care theory and empirical evidence applying from Flemming & Fenton’s concept, consisting of five-step practices namely 1) questioning from problem situations, 2) searching for empirical evidence, 3) evaluating the quality of empirical evidence, 4) deciding and implementing, and 5) continuous monitoring the performance. The developed nursing innovations consisted of 1) Colostomy Patient Care Plan, 2) Self-care Files, 3) Self-care Manuals for the Patients, 4) Instructional Models invention, and 5) Colostomy Bag Invention. When the innovative nursing model had been implemented, it was found that the patients and caregivers had a high level of knowledge, skills, and satisfaction with the developed innovative nursing model.", "th": "การผ่าตัดทำทวารเทียม เป็นการผ่าตัดนำส่วนของลำไส้มาเปิดทางหน้าท้องเพื่อเป็นทางระบายอุจจาระแทนการขับถ่าย ทางทวารหนักในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการขับถ่ายโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามการมีทวารเทียมอาจส่งผล กระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ภาพลักษณ์ การใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมีการดูแลตนเอง อย่างเหมาะสม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการพยาบาลในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองสำหรับ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดทำทวารเทียม โดยใช้แนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของโอเร็ม และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์โดยประยุกต์แนวคิดของเฟรมมิ่ งและเฟนตอน แล้ วนำสู่การปฏิบัติ 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) การตั้งคำถาม จากสถานการณ์ปัญหา 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การประเมินคุณภาพหลักฐานเชิงประจักษ์ 4) การตัดสินใจและนำไป ปฏิบัติ และ 5) การตรวจสอบผลการปฏิบัติที่เป็นวงจรต่อเนื่อง โดยนวัตกรรมการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) แผนการ ดูแลผู้ป่วยที่มีทวารเทียม 2) แฟ้มการให้ข้อมูลการดูแลตนเอง 3) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย 4) สิ่งประดิษฐ์หุ่นโมเดลประกอบ การสอน และ 5) สิ่งประดิษฐ์กระเป๋าสำหรับเก็บถุงโคลอสโตมี ผลการนำนวัตกรรมการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติการพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจในนวัตกรรมการพยาบาลนี้ในระดับมาก" }
{ "en": "Smoking has become a major health problem in Thailand. Nurses have a key role to play in smoking cessation counseling. The purpose of this descriptive study was to psychometric testing of the smoking cessation counseling scale (SCCS) among Thai professional nurses. The study enrolled 120 Thai registered nurses from 34 provinces of Thailand. The SCCS was developed from The Smoking Cessation Counseling Scale. The content validity was validated by a panel of 3 experts. The Cronbach’s Alpha Coefficient of overall scale was 0.95. The components of the instrument were analyzed by using principal components extraction with an orthogonal rotation and varimax method. The findings revealed that the SCCS was performed resulting in 3 components: 1) advanced counseling 2) basic counseling and 3) standard nursing care. The Cronbach’s alpha value, whereas the subscales ranged between 0.73 and 0.93, which explains 55.08 % of the total variance. The SCCS can be used for evaluation smoking cessation counseling of Thai registered nurses. It has psychometric reliability and validity. ", "th": "การสูบบุหรี่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย พยาบาลวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการให้ คำปรึกษาเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการวัด เชิงจิตวิทยาของแบบวัดการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพไทย จำนวน 120 คน จาก 34 จังหวัด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ จำนวน 24 ข้อ ผู้วิจัยดัดแปลงข้อคำถาม จาก The Smoking Cessation Counseling Scale ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หาค่าความ เที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้เทคนิคการสกัดตัวประกอบหลัก และหมุนแกนตัวประกอบ หลักแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ 1) การให้คำปรึกษา ขั้นสูง 2) การให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) มาตรฐานการพยาบาลทั่วไป ได้ค่าความสอดคล้องภายในแต่ละองค์ประกอบระหว่าง 0.74 ถึง 0.93 สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 55.08 แบบวัดการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่นี้ สามารถนำ ไปใช้ในการประเมินการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งมีคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาทั้งในด้านความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยง" }
{ "en": "This research examined the effect of parents’ perceptions of a child’s physical suffering, parents’ beliefs about illness, social support and spirituality on parents’ own suffering. The sample was selected by a cluster random sampling technique. Participants included 231 parents of children with cancer from six regional hospitals in Thailand. Data were collected by using a demographic data record form and self-report questionnaires about the perceptions of a child’s physical suffering scale, Family Illness Beliefs Inventory, Social Support Questionnaire, Spiritual Well-Being Scale and Suffering Scale. Data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression. Results showed that the parents’ beliefs about illness and parents’ perceptions of their child’s physical suffering were significantly influence on the parents’ suffering (β = .38, p", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความทุกข์ทรมานของบิดามารดาที่ มีบุตรเป็นโรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างคือบิดามารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคมะเร็งและได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 231 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล แบบวัดความทุกข์ทรมานของบิดามารดา แบบสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของครอบครัว แบบวัดการรับรู้ความ ทุกข์ทรมานทางกายของบุตร แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ความทุกข์ทรมานทางกายของบุตรและความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยมีอิทธิพลต่อความทุกข์ ทรมานของบิดามารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .38 และ β = .20, p <.001) และสามารถร่วมกันทำนายความทุกข์ทรมาณ ของบิดามารดาได้ร้อยละ 23 (R2 = .23, p < .001). ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการการรับรู้ความทุกข์ทรมานทางกายของบุตร และความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจะทำให้บิดามารดาเกิดความทุกข์ทรมานได้ ดังนั้นพยาบาลควรตระหนักและทำความเข้าใจเกี่ยว กับการรับรู้ความทุกข์ทรมานทางกายของบุตรและความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยโปรแกรมการ ลดความทุกข์ทรมานของบิดามารดาได้อย่างเหมาะสม" }
{ "en": "This research study is a qualitative study with the objective for phenomenological study of the safety management of nursing organization at advanced-level hospitals under the Ministry of Public Health. The collected data were analyzed through the review of the literature, and were subsequently used to synthesize the framework and to further develop measuring tools for safety management according to the conceptual framework of International Civil Aviation Organization (ICAO) and the research study of Sammer E. Christine. Data were collected from nine nursing managers from nursing departments at advanced-level hospitals with experience in hospital safety’s quality assurance or management. The research tool was a set of semi-structured, in-depth interview with three open-ended questionnaires. The recorded conversations during the interviews were then analyzed word-by-word and the significant statement were categorized according to the relationship of extracted words. The content validity index (IOC) was 0.83 and the Content Validity Index (CVI) was 0.91. The study found that there were six factors that should be incorporated into the safety management model of nursing organization at advanced-level hospitals under the Ministry of Public Health. Which are listed as follow: 1) Safety policy and objectives 2) Safety risk management 3) Safety assurance 4) Safety promotion 5) Teamwork and 6) Leadership. The findings of this study should be guide Such elements will help the nursing executives used to manage safety more effectively. Findings from this research were used as a guideline for developing the safety management system of the nursing organization. This is also the basic information for the policy formulation in the safety management of all nursing departments under the nursing organization at advanced-level hospitals under the Ministry of Public Health.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การบริหารความ ปลอดภัยขององค์การพยาบาล ในโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการ ทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนาองค์ประกอบการบริหารความปลอดภัยขององค์การพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ ตามแนวคิดการบริหาร ความปลอดภัยของ International Civil Aviation Organization (ICAO) และงานวิจัยของ Sammer E. Christine แล้วนำข้อมูล ที่ได้มาสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อเป็นกรอบแนวคิดองค์ประกอบการบริหารความปลอดภัยขององค์การพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ ที่มีประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพ งานด้านความปลอดภัยของโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เคยศึกษาหรืออบรมเรื่องการประกันคุณภาพ งานด้านความปลอดภัย มี ประสบการณ์ร่วมในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพหรือการบริหารความปลอดภัยของกลุ่มการพยาบาลหรือโรงพยาบาล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นคำถามปลายเปิด 3 ข้อ หาข้อความสำคัญ จากบทสัมภาษณ์ที่ผ่านการถอดเทปคำต่อคำ จากนั้นจัดแยกข้อความสำคัญที่ได้ตามกลุ่มคำและหาความสัมพันธ์ของกลุ่มคำที่ เกี่ยวข้องกับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถาม โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องของ เนื้อหา 0.83 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) เท่ากับ 0.91 ผลการวิจัย พบว่าองค์ประกอบการ บริหารความปลอดภัยขององค์การพยาบาล ในโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย และวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย 2) ด้านการ บริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัย 3) ด้านการประกันความปลอดภัย 4) ด้าน การส่งเสริมความปลอดภัย 5) ด้านการทำงานเป็นทีม 6) ด้านภาวะผู้นำ ข้อค้นพบจากงานวิจัยใช้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ การบริหารความปลอดภัยขององค์การพยาบาล และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายการบริหารงานด้านความปลอดภัย ของกลุ่มงานการพยาบาลทุกระดับขององค์การพยาบาล ในโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข" }
{ "en": "The objective of this secondary data analysis was to examine predictors of health-related quality of life (HRQOL) among 281 Buddhist monks in Phayao province. Three research instruments were used, including demographic questionnaire, the health behaviors questionnaire, and the SF-36 Thai version. These instruments provided Cronbach’s alpha coefficiency of .76 and .91, respectively. Data were anaylazed by using descriptive statistics and multiple logistic regression. Results showed that 76.16% of monks had good HRQOL. When controlling for age, only health behaviors statistically significantly predicted 11.75% of variances in good HRQOL among monks. For one additional score of health behaviors provided monks 0.93 time of having poor HRQOL (OR 0.93, 95% CI 0.89 – 0.98, p = .0056).", "th": "การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดพะเยา จำนวน 281 รูป เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือ 3 ชุด ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถาม คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ได้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .76 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 76.16 ของพระสงฆ์มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพดี เมื่อควบคุมอายุ พฤติกรรมสุขภาพสามารถ ทำนายร้อยละ 11.54 ของความแปรปรวนในคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในพระสงฆ์ โดย 1 คะแนนของพฤติกรรมสุขภาพที่เพิ่มขึ้น จะลดโอกาสของการมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในระดับที่ไม่ดีในพระสงฆ์ลง 0.93 เท่า (OR 0.93, 95%CI = 0.89 – 0.98, p = .0056)" }
{ "en": "This quasi – experimental research three group pretest - posttest design was aimed to compare results of symptom management program through walking exercise and pray therapy on quality of life of breast cancer patients after post chemotherapy treatment. The program was developed based on the Symptom Management Model. The 31 subjects were the patients utilized service at a private hospital in Samut Sakhon Province. They were divided into three groups by simple random and were invited to either programs: walking exercise, pray therapy and walking exercise with pray therapy for eight weeks. The data were collected from July to August 2016. The data collecting instruments were consisted of demographic questionnaire, cancer – related fatigue and quality of life perception. Their reliability were presented at .96 and .87 respectively. These data were analyzed by using descriptive statistics, Wilcoxon Signed Rank test and the Kruskal-Wallis test. The results revealed that after the sample joined the program, all groups had significantly decreased cancer – related fatigue score and increased quality of life perception score than before joining the program (p < .05). However, when compared among those 3 groups, there was no significant of cancer – related fatigue score and quality of life perception score after joining the program. The research suggested that professional nurses and healthcare team should concern the benefits of cancer – related fatigue relief through walking exercise and pray therapy according to holistic approach services, and lastly quality of life improvement.", "th": " การศึกษากึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบสามกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการ อาการเหนื่อยล้าจากโรคมะเร็งด้วยการเดินออกกำลังกายและการสวดมนต์บำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับเคมีบำบัด โดย ประยุกต์แบบจำลองการจัดการอาการเป็นกรอบแนวคิดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่ง หนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 31 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยด้วยการสุ่มอย่างง่ายและได้รับการเชิญชวนเข้าร่วมโปรแกรมการ บำบัด ได้แก่ การเดินออกกำลังกาย การสวดมนต์บำบัด และการเดินออกกำลังกายร่วมกับการสวดมนต์บำบัด ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วน บุคคล แบบประเมินระดับอาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งและแบบทดสอบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.96 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิลคอกซันและครัสกัล - วอลลีส ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มมีค่าคะแนนการรับรู้อาการเหนื่อยล้าลดลง และค่าคะแนนการ รับรู้คุณภาพชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลองพบว่า ค่า คะแนนการรับรู้อาการเหนื่อยล้าและการรับรู้คุณภาพชีวิตของทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลวิชาชีพและ บุคคลากรทางสุขภาพควรตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการบำบัดอาการเหนื่อยล้าจากโรคมะเร็งด้วยการเดินออกกำลังกายและการ สวดมนต์บำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับบริการสุขภาพแบบองค์รวมและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี" }
{ "en": "This research aims to study the correlation between gender, education, income, physical activity, nutrition and self-esteem, and healthy aging in the target area of Bangkok. The participants were 282 older persons live in the area of the Crown Property Bureau in Huai Khwang and Wang Thonglang Districts. The quality of life community model development was implemented.The instrumentation in the present study can be divided into the following 5 components:(1) Questionnaires on personal factors; (2) Barthel ADL index; (3) Mini Nutrition Assessment [MNA]; (4) Rosenberg self-esteem scale and (5) Healthy Aging Instrument [HAI]. The instruments were tested for content validity by a panel of qualified experts. The Rosenberg self-esteem scale and Healthy Aging Instrument were tested for content validity and reliability by calculating for Cronbach’s Alpha Coefficient, at .85 and .80, respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Eta coefficient, Pearson’s product moment correlation and One-way ANOVA. The statistical significance level was set at .05. The finding can be summarized as follows: (1) The older persons in the communities were found to have high scores for healthy aging. ( = 4.25, SD = 0.72) (2) Gender was found to be positively correlated with healthy aging the statistical at .05 (Eta = .484) (3) Income, physical function nutrition and self-esteem were found to be positively correlated with healthy aging with statistical significance at .05 (r = .199, .197, .265, .499, respectively) (4) Older persons with difference education levels had no difference in terms of healthy aging with statistical significance at .05", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ระดับการศึกษา รายได้ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย ภาวะโภชนาการ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุใน เขตกรุงเทพมหานคร ในชุมชนบนพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เขตห้วยขวางและเขตวังทองหลาง ซึ่งเป็นชุมชน ต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ (1) แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (3) แบบประเมินภาวะโภชนาการ (4) แบบสอบถาม การเห็นคุณค่าในตนเอง และ(5) แบบสอบถามการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และคำนวณหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองและแบบสอบถามการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ จากสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อีตา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุมีระดับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะอยู่ในระดับสูง ( = 4.25, SD = 0.72) (2) ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ (Eta = .484) รายได้ (r = .199) ความสามารถในการทำงานของร่างกาย (r = .197) ภาวะโภชนาการ (r = .265) และการเห็นคุณค่าในตนเอง (r = .499) (3) ระดับ การศึกษาที่แตกต่างกันมีระดับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะไม่แตกต่างกัน" }
{ "en": "Effects of a Case Management Program on Self-Care Behaviors and Diabetic Retinopathy Clinical Signs among Elderly with Diabetic Retinopathy in Quality Elderly Clinic ABSTRACT : Diabetic retinopathy is a common complication of Diabetes Mellitus (DM), leading to blindness and impacts on quality of life of patients and families. This one-group, quasi-experimental study was conducted to examine the effects of a case management program applying Orem’s nursing system theory and social support for older people with diabetic retinopathy. Thirty subjects were participated in a 12-week case management program, which applied Orem’s nursing system theory. The program consisted of health education, health assessment, a clinical pathway, individual counseling, a home visit, telephone follow up, with assessment of self-care behavior. Hemoglobin A1C (HbA1C) levels, fasting plasma glucose (FPG) and blood pressure were assessed before and after the program. Each subject was interviewed by the researcher about general characteristics, self-care behaviors. Data were analyzed using paired t-test. After the intervention, the mean scores of self-care behaviors of the older people with diabetic retinopathy were significantly higher than those before the experiment at a p-value of< 0.001. FPG, Hemoglobin A1C (HbA1C) and systolic blood pressure were significantly lower than before the intervention at a p-value of < 0.001. Moreover, diabetic retinopathy was not worse 96.6%. The results support a case management program applying Orem’s nursing system theory and social support that improved self-care behaviors and those clinical signs. This intervention should be applied in Quality Elderly care clinic to promote health outcomes among elderly with other chronic diseases.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังนี้ มุ่งศึกษาผลการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่มีภาวะเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตาโดยประยุกต์ทฤษฏีระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เป็นกลุ่ม ที่ได้รับโปรแกรมการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ และ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เท่ากับ 0.90 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .87 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผลน้ำตาลในเลือด (FBS และHbA1C) และค่าความดันโลหิตซิส โตลิกโดยใช้สถิติ paired t-test และการตรวจภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาด้วยการส่องกล้อง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมฯสูงกว่าก่อนทดลอง ผลน้ำตาลในเลือด (FBS และ HbA1C) และ ค่าความดันโลหิตซิสโตลิกต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่าภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาไม่ เปลี่ยนแปลง จำนวนร้อยละ 96.6 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการจัดการรายกรณีนี้มาใช้ในการป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาท ตาในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ" }
{ "en": "Individuals with risky drinking behaviors whose their motivation are enhanced would have higher intention to change their behavior of reducing drinking alcoholic beverage, and may finally be able to stop drinking. The purposes of this quasi-experimental study were to test the effects of motivational enhancement program on intention to stop drinking and drinking behavior among males with risky drinking. Participants consisted of 29 males with risky drinking residing in Bor sub-district, Khlung District of Chanthaburi Province. Random assignment was employed to select 14 participants to the experimental group and 15 males to the control group. Participants in the experimental group received the motivational enhancement program for 8 sessions, 2 sessions per week for 4-week period. Each session took about 60-90 minutes. For the control group, participants received usual care from the health promotion hospital. Research instruments included a demographic questionnaire, the intention to stop drinking questionnaire, and the drinking behavior questionnaire. Their reliability were .91 and .81 , respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test, and two-way repeated measure ANOVA. The results revealed that after completion of the motivational enhancement program, participants in the experimental group had higher intention to stop drinking and less drinking behavior than those in the control group (p<.001). Moreover, within the experimental group at 1 month follow-up, the participants had higher intention to stop drinking and less drinking behavior than at immediately finished the intervention (p<.05). These findings indicate that the motivational enhancement program is effective. Nurses and relevant health care personnel could obtain this program to apply with risky drinking males to increase intention to stop drinking and decrease drinking behavior. Consequently, they could stop drinking.", "th": "บุคคลที่มีพฤติกรรมการดื่มสุราแบบเสี่ยงหากได้รับการเสริมสร้างแรงจูงใจจะช่วยเพิ่มความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ทำให้ลดการดื่มสุราและอาจเลิกดื่มได้ในที่สุด การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริม สร้างแรงจูงใจต่อความตั้งใจในการหยุดดื่มและพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มชายแบบเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดื่มชายแบบเสี่ยง อาศัยอยู่ในตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 29 คน สุ่มอย่างง่ายเพื่อคัดเข้ากลุ่มทดลอง 14 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละเวลา 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความตั้งใจในการหยุดดื่มสุรา และแบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์การแปรปรวนแบบวัดซ้ำ  ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีความตั้งใจในการหยุด ดื่มสุราสูงกว่า และมีพฤติกรรมการดื่มสุราน้อยกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และในกลุ่มทดลองระยะ 1 เดือนที่ติดตามผลพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความตั้งใจในการหยุดดื่มสุราสูงกว่า และมีพฤติกรรมการดื่มสุราน้อยกว่าในระยะทันทีที่ สิ้นสุดการให้โปรแกรม (p<.05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแล สุขภาพบุคคลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ดื่มชายแบบเสี่ยงเพื่อส่งผลต่อการเพิ่มความตั้งใจในการหยุดดื่มสุรา ลดพฤติกรรมการ ดื่มสุรา และนำไปสู่การเลิกดื่มสุราได้ในที่สุด" }
{ "en": "This quasi-experimental research using a two-group pretest-posttest design aimed to examine the effects of a social relationship program on the loneliness of the elderly. The subjects of this research were 62 elderly persons aged 60 and over, who met the inclusion criteria. The subjects were randomly assigned to an experimental group (n = 31) and control group (n = 31). The experimental group participated in an eight - week social relationship program that was developed based on the concepts of social support and social networks, while the control group received regular care activities. The research instruments were the social group program and the loneliness scale. The content validity of the social relationship program was examined by three experts. The Cronbach’s alpha coefficient for the loneliness scale was .70. The data were analyzed using descriptive statistics, dependent t-test, and independent t-test. The results of the study were as follows = .1) After participating in the social relationship program the mean score for the loneliness of the experimental group (M = 28.13, SD = 5.96) was lower than the pretest score (M = 34.23, SD = 7.19) at a statistical significance (t = 16.39, p<.001). 2) The mean difference scores for the loneliness of the experimental group between before and after participating in the social relationship program ( = 6.10, SD = 2.07) was higher than that of the control group receiving normal regular care ( = .16, SD = 1.04) at a statistical significance (t = 15.045, p<.001).", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมกลุ่มสังคมสัมพันธ์ต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีคุณสมบัติตาม เกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 62 คน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมกลุ่มสังคมสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายทางสังคม ระยะเวลาการ ทดลอง 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมกลุ่มสังคมสัมพันธ์ ที่ผ่านการตรวจ สอบความตรงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และแบบวัดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุหาความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ.70 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนาและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของผู้สูงอายุใน กลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทดสอบค่าทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และเปรียบเทียบผลต่าง ของค่าเฉลี่ยคะแนนความว้าเหว่ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบค่าทีชนิดที่เป็นอิสระ ต่อกัน (independent t-test) ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความว้าเหว่ของผู้สูงอายุของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรม กลุ่มสังคมสัมพันธ์ ภายหลังการทดลอง (X = 28.13, SD = 5.96) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (X = 34.23, SD = 7.19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 16.39, p<.001) 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความว้าเหว่ของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังได้รับ โปรแกรมกลุ่มสังคมสัมพันธ์ของกลุ่มทดลอง ( = 6.10, SD = 2.07) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติ ( = .16, SD = 1.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 15.045, p<.001)" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research was to compare the distraction by animation and by digital games on children’s fear of children receiving aerosol therapy in an emergency room. Sixty preschool children with acute respiratory infection or asthma treated by aerosol therapy in the emergency room of the Queen Sirikit National Institute of Child Health were randomly assigned to the control group, the distraction by animation group, and the distraction by digital games group. Children’s fear was collected by the Aerosol Therapy Fear Behavior Scale of Chirawachr Kasemsook and Waraporn Chaiyawat (2555). Its Content Validity Index was .95 and its interrater reliability coefficient was .95. Data were analyzed by ANOVA. Findings were as follows. (1) Preschool children receiving distraction by animation had significant less fear of aerosol therapy than those receiving routine nursing care, at the statistical level of .05. (2) Preschool children receiving distraction by digital games had significant less fear of aerosol therapy than those receiving routine nursing care, at the statistical level of .05. (3) Fear of aerosol therapy of preschool children receiving distraction by animation and by digital games were not different.", "th": "การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้การ์ตูนเคลื่อนไหว และการเบี่ยงเบน ความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอลความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาฝอยละอองในห้องฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วย เด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-5 ปี โรคติดเชื้อทางเดินหายใจหรือโรคหืด ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี และได้รับการพ่นยาฝอยละอองผ่านทางหน้ากากโดยใช้เครื่องกำเนิดฝอยละอองแบบ Small Volume Nebulizer จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มที่ได้รับเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้การ์ตูนเคลื่อนไหว และกลุ่มที่ ได้รับเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอล ความกลัวของเด็กวัดด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวต่อการได้รับยาพ่นแบบฝอยละอองของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนของ จิรวัชร เกษมสุขและวราภรณ์ ชัยวัฒน์ ซึ่งมีดัชนีความตรงตามเนื้อหา.96 ความเที่ยง .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) เด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้การ์ตูนเคลื่อนไหวมีความกลัวน้อยกว่าผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) เด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอลมีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดั บ.05 (3) เด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้การ์ตูนเคลือนไหว มีความกลัวไม่แตกต่างกับผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้เกมดิจิตอล" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research were to compare the negative symptoms of schizophrenic patients before and after receiving the symptom-management self-efficacy program, and to compare the negative symptoms of schizophrenic patients who received the symptom-management self-efficacy program with those who received regular nursing care. Research samples were 40 schizophrenic patients who met the inclusion criteria from outpatient department, Nakhon Sawan Ratchanakharin Psychiatric Hospital. They were matched by gender and negative symptoms and randomly assigned to experimental and control groups, 20 subjects each. The experimental instrument was the symptom-management self-efficacy program consisted of 4 steps: 1) Emotion arousal 2) Modeling 3) Mastery experience 4) Verbal persuasion. Data were collected using the personal patients’ record form and the positive and negative syndrome scale. All instruments were tested for content validity by 5 professional experts. The content validity index of the positive and negative syndrome scale was .84. Its inter-rater reliability was .72. Data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. Major findings were as follow: 1. The mean score of negative symptoms of schizophrenic patients after receiving in the symptommanagement self-efficacy program was significantly lower than that before receiving the program, at the .05 level. 2. The mean score of negative symptoms of schizophrenic patients who received the symptom-management self-efficacy program was significantly lower than those who received regular nursing care, at the .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบอาการทางลบของ ผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ และเพื่อเปรียบเทียบอาการทางลบ ของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวช นครสวรรค์ราชนครินทร์ โดยจับคู่ให้ทั้ง 2 กลุ่มมีความใกล้เคียงกันด้านเพศและอาการทางลบ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ ที่ประกอบ ด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การกระตุ้นทางอารมณ์ 2) การใช้ตัวแบบ 3) ประสบการณ์ความสำเร็จ 4) การใช้คำพูดชักจูง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจิตเภทและแบบประเมินอาการทางลบ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจ สอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน โดยแบบประเมินอาการทางลบมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .84 มีค่า ความเที่ยงจากการสังเกต เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการ กับอาการ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการจัดการกับอาการ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This qualitative research study used Heidegger phenomenological interpretation approach. The purpose was to describe the meaning and experiences of breastfeeding mothers with breast-refusal infants. The informants were mothers 6 to 12 months postpartum who had experiences of breastfeeding and breast-refusal infants since the infants were born to 6 months of age. Data were collected by using the in-depth interview with tape-record and found saturated after 13 informants. Data were analyzed by using van Manen method. This study was supported by Graduate School and Faculty of Nursing, Chulalongkorn University The findings revealed the meaning of maternal experiences with breast-refusal infants as an imperfect mother who could not breastfeed her baby and yet had to fight against her own baby will. The experiences of mothers in breastfeeding for infants with breast-refusal could be categorized into 4 major themes as follows: 1) difficulties in and suffering from breastfeeding due to confusion and inability to find the cause, the fear of baby not getting enough milk, feeling guilty and self-blaming, being disappointed and sad and tired with discourage 2) finding the way to get over the problems by looking it like a small problem and trying to have positive thinking, trying everything to get the baby breastfeed, searching knowledge from social network, consulting friend who had experience, building goals for herself 3) being patient and trying to get the best things for the baby, and 4) important surrounding supports from husband, family and relative, and the baby as the inspiration.", "th": "การวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Heidegger มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความหมาย และประสบการณ์ชีวิตของมารดาที่ให้นมแม่ในทารกที่ปฏิเสธการดูดเต้า ผู้ให้ข้อมูลเป็นมารดาหลังคลอดไม่น้อยกว่า 6 เดือน และไม่เกิน 12 เดือน ที่มีประสบการณ์ในการให้นมแม่ในทารกที่ปฏิเสธการดูดเต้า ในช่วงที่ทารกมีอายุระหว่างแรกเกิด ถึง 6 เดือน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 13 ราย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ของ van Manen ผลการวิจัยพบว่า มารดาให้ความหมายจากประสบการณ์ชีวิตของการให้นมแม่ในทารกที่ปฏิเสธการดูดเต้าว่าหมายถึง ความเป็นแม่ที่ต้องต่อสู้กับลูกของตนเองและไม่สามารถให้นมแม่จากเต้าแก่ลูกได้เหมือนเป็นแม่ที่ไม่สมบูรณ์แบบ ส่วนประสบการณ์ ชีวิตของมารดาที่ให้นมแม่ในทารกที่ปฏิเสธการดูดเต้า สรุปได้เป็น 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ยากลำบากและทุกข์ใจในการให้นมแม่ รู้สึกสับสน หาสาเหตุไม่ได้ กลัวลูกอดได้นมไม่พอ รู้สึกผิดติดอยู่ในใจเฝ้าแต่โทษตัวเอง ผิดหวังและเสียใจ เหนื่อยและท้อ 2) คิดค้น หาหนทางก้าวข้ามปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมองปัญหาให้เล็ก พยายามคิดบวก ลองทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกยอมเข้าเต้า พยายามค้นคว้า หาความรู้จากสื่อออนไลน์ ปรึกษาเพื่อนที่เคยผ่านประสบการณ์มาก่อน สร้างเป้าหมายให้ตนเอง 3) อดทนและพยายามเพื่อให้ลูก ได้ในสิ่งที่ดีที่สุด และ 4) กำลังใจที่สำคัญจากรอบด้าน ประกอบด้วย กำลังใจจากสามี กำลังใจจากคนในครอบครัว และลูกเป็นแรง บันดาลใจที่สำคัญ" }
{ "en": "This quasi-experimental research investigated the effect of disease prevention motivation program on family caregivers’ behavior in oral health care among preschoolers with congenital heart disease. The protective motivation theory by Rogers [1983] was applied for the program development. Subjects consisted of 44 family caregivers of the preschoolers with congenital heart disease, aged between 3-6 years admitted at an inpatient unit of two tertiary level hospitals. They were equally assigned into either the control group or the experimental group, 22 in each group. The experimental group received the motivation enhancing program for 4 weeks while the control received the conventional nursing care. Research instruments included the motivation enhancing program, the experimental monitoring questionnaire (EMS) and the family caregivers’ behavior in oral health care among preschoolers with congenital heart disease questionnaire (FCB-OHCPCHDS). Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The major results are as follows: 1. The mean score of family caregivers’ behavior in oral health care among preschoolers with congenital heart disease after receiving the motivation enhancing program was higher than that before receiving the program at significant level .05. 2. The mean score of family caregivers’ behavior in oral health care among preschoolers with congenital heart disease in the group receiving the motivation enhancing program was higher than that in the group receiving routine nursing care at a significant level of .05.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ เพื่อป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ ต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนโรค หัวใจพิการแต่กำเนิด โดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของ Rogers กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเด็กวัยก่อน เรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอายุ 3-6 ปี และเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค แบบสอบถามในการกำกับการทดลอง และแบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่ กำเนิด วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับนัย สำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนโรคหัวใจพิการแต่ กำเนิด กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of discharge planning based on theory of goal attainment on caring behavior at home. Forty mothers of preterm infants hospitalized at Thammasat University Hospital were assigned to the experimental and control group based on the sequence of hospitalization. The first 20 mothers were assigned to the control group. Another 20 mothers paired by their education level with those in the control group were assigned to the experimental group. The control group received routine nursing care, while the experimental group received discharge planning based on theory of goal attainment. The intervention consisted of 6 steps: 1) interaction 2) assessment to identify problems and disturbance 3) mutual goals setting 4) explore the means to achieve goal 5) Agree to means to implement the goal and 6) transaction. Mothers’ caring behavior for preterm infants at home was measured by preterm infants caring behavior of mother questionnaire. This instrument demonstrated acceptable content validity index (.94) and Cronbach’s alpha coefficient (.89). Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. Mothers receiving discharge planning program based on theory of goal attainment were found to perform better caring behavior for preterm infants at home than mothers receiving the routine nursing care, at the statistical significance level of .05.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ทฤษฎีความสำเร็จ ตามเป้าหมายต่อพฤติกรรมการดูแลทารกของมารดาที่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มารดา 20 คนแรกจัดเป็นกลุ่ม ควบคุม ส่วนมารดา 20 คนหลัง ถูกจัดให้เข้ากลุ่มทดลอง ด้วยการจับคู่ให้มีระดับการศึกษาเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการเตรียมจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายของ King ซึ่งประกอบ ด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างปฏิสัมพันธ์ 2) การประเมินข้อมูลเพื่อกำหนดปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา 3) การ กำหนดเป้าหมายร่วมกัน 4) การกำหนดกิจกรรมร่วมกัน 5) การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน และ 6) การประเมินผลร่วมกัน เครื่องมือที่ ใช้ประเมินพฤติกรรมการดูแลทารก คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาที่บ้าน มีค่าความตรง ตามเนื้อหาเท่ากับ .94 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า มารดากลุ่มที่ได้รับการเตรียมจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมาย มีพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่บ้านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purpose of this experimental research repeated measures design was to compare acute graft-versus-host disease (aGVHD) preventive behaviors in mothers of children underwent stem cell transplantation at one, two, and three weeks after discharge. Thirty-one mothers of children in Bone Marrow Transplant Unit, Ramathibodi hospital were randomly assigned to the experimental and control groups. Sixteen mothers in the control group received the usual nursing care, while 15 mothers in the experimental group received the nursing intervention based on health promotion model. This intervention promoted the mothers’ perceived benefits of aGVHD preventive behaviors and their self-efficacy, as well as reduced their perceivedbarriers. The aGVHD preventive behaviors in mothers of children underwent stem cell transplantation was measured by the questionnaire developed by the researcher. Its content validity index was .82 and its KR-20 was .83. Data were analyzed by descriptive statistics and repeated measures ANOVA. It was founded that mothers receiving the nursing intervention based on health promotion model performed better aGVHD preventive behaviors than mothers receiving the usual nursing care at one, two, and three weeks after discharge, at the statistical significance level of .05.", "th": "การวิจัยเชิงทดลองแบบวัดซ้ำนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันภาวะเซลล์ของผู้บริจาคทำปฏิกิริยาต่อ เซลล์ของผู้ป่วยแบบเฉียบพลัน (aGVHD) ในมารดาของผู้ป่วยเด็กหลังได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในสัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3 หลังจำหน่ายกลับบ้าน มารดาของผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยแผนกปลูกถ่ายไขกระดูก โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 31 คน ได้ รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มารดาในกลุ่มควบคุม 16 คน ได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลอง 15 คน ได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ ที่ส่งเสริมให้มารดารับรู้ประโยชน์และความสามารถของตนเองในการ ปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะ aGVHD และลดการรับรู้อุปสรรค พฤติกรรมป้องกันภาวะเซลล์ของผู้บริจาคทำปฏิกิริยาต่อเซลล์ของ ผู้ป่วยแบบเฉียบพลันในมารดาของผู้ป่วยเด็กหลังได้รับปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ประเมินโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนา ขึ้น มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .82 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพมีพฤติกรรมป้องกันภาวะเซลล์ ของผู้บริจาคทำปฏิกิริยาต่อเซลล์ของผู้ป่วยแบบเฉียบพลันดีกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติ ในสัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3 หลังจำหน่ายกลับบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The descriptive research design aimed at studying the work engagement of generation y professional nurses. The study was employed the Delphi technique. The subjects were composed of 21 experts divided into the following four groups: 1) four nursing administrators; 2) ten generation y professional nurses; 3) three human resource instructors and 4) four nursing instructors or nursing academics. The methodologies can be divided into three steps. Step 1 involved interviews with the experts about the characteristics of work engagement in generation y professional nurses. In Step 2, data were analyzed by using content analysis for developing the rating scale questionnaire. All of the items in the questionnaire were ranked for level of work engagement. In Step 3, data were analyzed by using median and quartile range for the development of a new version of the questionnaire. According to the research findings, the experts’ opinion had a consensus on work engagement in generation y professional nurses composed of 4 components and 33 items as follows 1) intention (11 items) 2) dedication (6 items) 3) pride (7 items) 4) creativity (9 items). All of the items are important (Med = 4.50 -4.85, IR = 0.37 -0.98).", "th": "การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y ใช้เทคนิค การวิจัยแบบ Delphi Technique โดยการหาฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารทางการพยาบาล พยาบาล วิชาชีพระดับผู้ปฏิบัติงาน Generation Y ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และนักวิชาการ / อาจารย์พยาบาล สาขา การบริหารการพยาบาล รวมทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ความ คิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ สร้าง เป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถาม ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณ ทางสถิติโดยการหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า ความ ผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y ควรมี จำนวน 4 ด้าน 33 ข้อย่อย ประกอบด้วย 1) ด้านความมุ่งมั่นในงาน 11 ข้อย่อย 2) ด้านความเสียสละในงาน 6 ข้อย่อย 3) ด้านความภาคภูมิใจในงาน 7 ข้อย่อย 4) ด้านการสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมใน งาน 9 ข้อย่อย ทุกข้อมีระดับความสำคัญมากที่สุด (Med = 4.50 -4.85, IR = 0.37 -0.98) ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางใน การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เสริมสร้างให้พยาบาลวิชาชีพ Generation Y มีความผูกพันในงาน และพัฒนาบุคลากรทางการ พยาบาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป" }
{ "en": "The research objectives are 1) Assessing the morale enhancement and encouragement at work for the personnel of The Royal Thai Army Hospital in Ratchburi Province 2) Developing strategies on morale enhancement and encouragement at work for the personnel of The Royal Thai Army Hospital in Ratchburi Province. The finding showed that overalls morale and encouragement at work for the personnel of The Royal Thai Army Hospital in Ratchburi Province were at the medium level. For each aspect, the lowest level of the moraleenhancement was on revenue and welfare; the next were career security, working environment, the status, likewise, and acceptance from the colleagues. The strategies on the morale enhancement and encouragement at work for the personnel of The Royal Thai Army Hospital in Ratchburi Province were as follows: 1. To support revenue and welfare, strategies was conducted by two methods. First method: supporting extra income, channel of distribution the products of the organization brand such as online marketing, cooperative shop. Second method: raise wages for the extra tasks, establish emergency fund. 2. On the career security, use criteria for performance review in clear, transparent, and verifiable. 3. For working environment, apply strategic planning to work in a more appropriate proportion with higher flexibility. Planning for the supply of materials is sufficient and conducive to work, etc.4. On the status and acceptance amongst the colleagues, strategies for creating morale by developing plans to create practical solutions as executive agenda shall be implemented and shared, etc.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพขวัญและกำลังใจของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก จังหวัดราชบุรี 2) กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างขวัญและกำลังใจของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก จังหวัดราชบุรี ผลการวิจัยพบว่า ขวัญและ กำลังใจของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกจังหวัดราชบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผล ตอบแทน อยู่ในระดับต่ำสุด รองลงมาได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสถานภาพและการยอมรับ สำหรับกลยุทธ์การสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก จังหวัดราชบุรี มีดังนี้คือ\n\nด้านผลตอบแทน แบ่งได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่ การหารายได้เสริม เช่น สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรประกอบ อาชีพเสริม จัดหาช่องทางการจัดจำหน่าย และการเพิ่มค่าตอบแทนหรือทุนสนับสนุน \nด้านความมั่นคง มีการทบทวนเกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน การประเมินที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้\nด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น มีการจัดพื้นที่ในการปฏิบัติงานให้เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมมากขึ้น การจัดทำแผนในการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ให้เพียงพอและเอื้อต่อการทำงาน เป็นต้น\nด้านสถานภาพและการยอมรับ เช่น มีการกำหนดแผนงานและแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน มีนำวาระการประชุม ในระดับผู้บริหารไปถ่ายทอดให้ทุกคนได้รับรู้ร่วมกัน เป็นต้น\n" }
{ "en": "The purpose of this quasi experimental research, which was divided two pre-posttest groups,was to examine the effects of a peer support group program on psychosocial rehabilitation abilities in caregivers of schizophrenic patients.A research sample of 60 primary caregivers of schizophrenic patients live in Bangkurad district at Nonthaburi that met the inclusion criteria and these were randomly assigned to the experimental and control group, with 30 subjects in each group. The experimental group participated in the peer support group program while the control group received routine caring activities. The research instruments were the following: 1) a personal data questionnaire; 2) the peer support group program; and 3) an ability psychosocial rehabilitation skills scale. The peer support group program was validated for content validity by 3 professional experts and the mental health self-care scale, with a Cronbach alpha coefficient reliability of .92. Data were analyzed by descriptive statistics, dependent t-test, and independent t-test. The findings were as follows:1) the mean score of psychosocial rehabilitation abilities of the schizophrenic patients caregivers after participating in the peer support group program (M = 84.47, SD = 11.01) was statistically significant higher than before participating in the program (M = 35.13, SD = 10.275) (p<.001). 2) The mean difference between pre-post psychosocial rehabilitation abilities scores for the schizophrenic patients’ primary caregivers that participated in the peer support group program ( = 49.34, SD = 11.013) was significantly greater than that for the primary caregivers that received regular caring activities( = 7.1, SD = 7.352) (p<.001).", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลที่อาศัยอยู่ใน ตำบลบางคูรัด ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คนโดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์ กลุ่ม ควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) โปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 3) แบบวัดความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล ซึ่งโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนได้ผ่านการตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3ท่าน และแบบวัดความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลมีค่า ความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทดสอบที ชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t–test) และชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t–test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (M = 84.47, SD = 11.01) สูงกว่าก่อนทดลอง (M = 35.13, SD = 10.275) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มเพื่อน ช่วยเพื่อน ( = 49.34, SD = 11.97) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ( = 7.1, SD = 5.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.534, p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนสามารถเพิ่มความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคม ผู้ป่วยจิตเภทได้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมในผู้ป่วย จิตเวชกลุ่มอื่น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีคามรู้ความสามารถ และเกิดเครือข่ายระหว่างผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และควรมีการติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวต่อไป" }
{ "en": "Drug preventive behavior is claimed as significant factor to protect people from involving drugs. The purpose of this study was to determine factors influencing drug preventive behavior among high school students. There were 108 high school students in Tha Mai area, Chantaburi province to join this study. Data were obtained from May to July 2017. Eight research instruments used for data collection including Personal information record, Attitude toward drug abuse preventive questionnaire, Peer group influencing questionnaire, Family engagement questionnaire, media exposure behavior with critical thinking questionnaire, Revise Life Orientation Scale, Resilience questionnaire, and Drug preventive behavior questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistic, Peason’s product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression. Result revealed that drug preventive behavior was in high level (X = 3.90, SD = 8.5). The most significant predicting factor were resilience, media exposure behavior with critical thinking, and attitude toward drugabuse preventive (ß = .81, p < .001; ß = .23, p < .05; ß = -.29, p < .05 respectively). The percentage of total variance explained by these factors among students was 61.5 (R2 = .615, Adjust R2 = .604, F = 4.840, p < .001)", "th": "พฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติด มีความสำคัญเพราะช่วยปกป้องบุคคลไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขต อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี จำนวน 108 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 8 ชุด คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความผูกพันในครอบครัว พฤติกรรมการเปิดรับสื่อด้วยปัญญา การมองโลกในแง่ดี ความแข็งแกร่งในชีวิต และพฤติกรรมการป้องกัน การใช้ยาเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์แบบสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 (SD = 8.5) ซึ่งตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติด ได้แก่ ความแข็งแกร่งในชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับ สื่อด้วยปัญญา และ ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด (ß = .81, p < .001; ß = .23, p < .05; ß = -.29, p < .05 ตามลำดับ) ซึ่งตัวแปร ทั้งสาม สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติด ได้ร้อยละ 61.5 (R2 = .615, Adjust R2 = .604, F = 4.840, p < .001)" }
{ "en": "The purpose of this qualitative study was to describe experiences of professional nurses caring for an elderly family member with dementia. Heidegger’s hermeneutic phenomenology was applied as a research methodology. Purposive sampling was used to select 14 professional nurses as a principle caregiver of an elderly family member with Alzheimer at least 1 year and working as a full-time nurse. Data were ethically collected by using in-depth interview, observation and artifacts. Contents were analyzed by using content analysis of van Manen’s method. The result regarding to this study were consisted of 6 major themes as follow; 1) Paying attention of daily activities, 2) Preventing some risks may happen, and 3) Maintaining the ability to help themselves, 4) Taking an elderly for a physician’s appointment, 5) Finding a free time to travel and 6) Taking an elderly to make merit and pray. These findings were clear understanding of caring for an elderly family member with dementia at home by a Professional nurse as a principle caregiver. In addition, Gerontological nurses can use these findingsas a guideline to suggest appropriate and quality care for elderly with dementia.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในครอบครัวโดยพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในสถานบริการสุขภาพ และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมซึ่งพักอาศัยอยู่ในครอบครัว เดียวกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีจนถึงปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องในฐานะบุตรหรือเป็นญาติสายตรงกับผู้สูงอายุจำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการบันทึกเทป การสังเกตและการจดบันทึกภาคสนาม ถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อในครอบครัวโดยพยาบาลวิชาชีพ มี 6 ประเด็นคือ 1) ใส่ใจกิจวัตรประจำวัน 2) จัดการและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ 3) ดูแลเพื่อคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ 4) พาไปตรวจตามแพทย์นัด 5) จัดสรรเวลาพาเที่ยวนอกบ้าน 6) ชวนท่านทำบุญทำทานไหว้พระสวดมนต์ จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เข้าใจพยาบาลที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในครอบครัวมากขึ้น พยาบาลผู้สูงอายุ สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของพยาบาลวิชาชีพให้มีความเข้าใจอาการของ โรคตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to describe knowledge, attitude, and self efficacy in end-of-life care of senior military student nurses, and to examine the relationships among those three variables. The 153 student nurses were recruited. All sample student nurses completed four questionnaires: one demographic experience care training program ethical questionnaire and three separated questionnaires of knowledge, attitude, and self efficacy in end-of-life care. Statistical analyses used were descriptive statistics and Pearson product-moment correlation coefficient. The results revealed that the average score of student nurses’ knowledge and self efficacy related to end of life care was at a moderate, while attitude score was quite high. There was a significant relationship between attitude and knowledge, attitude and self efficacy. However, there was no significant relationship between knowledge and self efficacy. The results provide the latest information for appropriate planning and educational guideline to enhance military student nurses competencies to provide quality of end of life care.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูล และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ของนักเรียนพยาบาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม ชั้นปีที่ 4 จำนวน 153 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประสบการณ์การดูแล ความต้องการศึกษาอบรม ประเด็นจริยธรรม แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับความตายและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายอยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติ ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายอยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ผลการศึกษา ครั้งนี้สามารถนำไปวางแผนเพื่อเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนพยาบาลทหารสังกัด กระทรวงกลาโหม สามารถให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายได้อย่างมีคุณภาพ" }
{ "en": "This research was a quasi-experimental research, two group pretest - posttest design aimed to study the effects of multidisciplinary collaborative care program on depressive prevention amongst Diabetic Mellitus (DM) type 2 patients who had risk of depression.The total 36 subjects divided into 2 groups; 17 subjects for experimental group and 19 subjects for comparison group.The experimental group was invited to join in a 10-week multidisciplinary collaborative care program. This program consisted of participatory group learning, relaxation skill training, group counseling, and telephone visit monitoring. Data were collected using psychological self – care behavior and diabetes- related stress. The reliability were presented at 0.86 and 0.85 respectively.The Mann-Whitney U test and Wilcoxon Signed Rank test were used for data analysis. The research results revealed that after the intervention, the experimental group had significantly better psychological self – care behavior score than those before the experiment and than the comparison group. (p value < .05) while they had significantly lower the diabetes- related stress score than before experiment and in the comparison group. (p value < .05) The researcher suggested that the multidisciplinary collaborative care program was effectively improved psychological self – care behavior and decreased stress among the diabetic patients. This program should be used in integrating healthcare services for depressiveprevention in diabetic patients and other chronic diseases in other community hospitals.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการดูแลแบบร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า จำนวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 19 คน กลุ่มทดลอง เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ 10 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นรายกลุ่ม 2) การฝึกทักษะการผ่อนคลาย 3) การให้คำปรึกษารายกลุ่ม และ 4) การกำกับติดตามทางโทรศัพท์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และแบบประเมินภาวะเครียดจากโรคเบาหวาน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ แมนวิทนีย์ ยู เทส และสถิติวิลค๊อกสัน ซายด์ แรงค์ เทส ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตดีขึ้น กว่าก่อนทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียดจากโรคเบาหวานลดลง กว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า โปรแกรมการดูแลแบบร่วมกันของทีมสห สาขาวิชาชีพมีประสิทธิผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตดีขึ้นและความเครียดลดลง ดังนั้นควรนำโปรแกรม นี้ไปใช้ในการจัดบริการสุขภาพเชิงบูรณาการเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ในโรงพยาบาล ชุมชนต่อไป" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to determine the nursing workload in each classification, and to determine the appropriate staffing in medical-surgical unit based on nursing workload. The research samples consisted of 12 registered nurses, 7 practical nurses and 608 patients admitted in unit during data collection. Three sets of research tools were used: 1) the patient classification form and the accompanying manual; 2) the nursing activity dictionary; 3) the record sheet indicating the time when a nursing activity was performed which was tested for content validity with CVI score at 1 and the score of the interrater reliability of the record sheet between the researcher and the first research assistant was at 0.80 and that between the researcher and the second research assistant was at 0.78. The major findings were as follows:1. The mean scores of nursing workload time per patient in 24 hours for the medical-surgical 2, 3 and 4 level were 3 hours, 4.24 hours and 6.27 hours respectively.2. The number of nursing personnel needed in medical-surgical unit based on nursing workload were 29 nursing staff members, composed of 18 registered nurses and 11 practical nurses.3. The ratio of registered nurses: practical nurse in day shift, evening shift and night shift were 5: 3, 4: 3 and 4: 2 respectively.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาระงานของพยาบาลจำแนกตามประเภทผู้ป่วย อายุรกรรม-ศัลยกรรม และ ศึกษาอัตราก ำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะเป็นตามภาระงานของหอผู้ป่ วยอายุรกรรม-ศัลยกรรมอัตรากำลังบุคลากรทางการ พยาบาลที่ควรจะเป็นตามภาระงานของหอผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 12 คน พนักงานผู้ช่วย การพยาบาล 7 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรมระหว่างการเก็บข้อมูลจำนวน 608 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 เกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วยและแบบจำแนกประเภทผู้ป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรม กิจกรรมการพยาบาล ชุดที่ 3 แบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และหาค่าความเที่ยงของการสังเกตของเครื่องมือชุดที่ 3 ระหว่างผู้วิจัยและผู้ ช่วยวิจัยคนที่ 1 ได้เท่ากับ 0.80 และผู้วิจัยกับผู้ช่วยวิจัยคนที่ 2 ได้เท่ากับ 0.78\nผลการวิจัยพบว่า \n\nจำนวนภาระงานของบุคลากรทางการพยาบาลจำแนกตามผู้ป่วยประเภทที่ 2, 3 และ 4 ใน 24 ชั่วโมง เท่ากับ 3 ชั่วโมง, 4.24 ชั่วโมง และ 6.27 ชั่วโมง ตามลำดับ\nจำนวนอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ต้องการคือ พยาบาล 18 คน พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล 11 คน\nอัตราส่วนของพยาบาล: พนักงานผู้ช่วยการพยาบาลในช่วงเวรเช้าเท่ากับ 5: 3 คน เวรบ่ายเท่ากับ 4: 3 คน และเวร ดึกเท่ากับ 4: 2 คน\n" }
{ "en": "This quasi experimental research aimed to examine the effects of a mindfulness based practice on stress among inmates. The study sample consisted of 60 males and females who aged between 18-59 years and remand prison in Eastern prisons. They were randomly assigned to either experimental or control group (n = 30 in each group).The experimental group received mindfulness based practice for 8 weeks period. Participants in the control group received only routine care the prison center. The research instruments were the following: 1) a personal data questionnaire;. 2) The Mindfulness program; 3) The participant’s stress scores were measured using the self-analysis stress test. The peer support group program was validated for content validity by 3 professional experts and the mental health self-care scale, with a Cronbach alpha coefficient reliability of .81 Data were analyzed by descriptive statistics, dependent t-test, and independent t-test. Results showed that after receiving the mindfulness based practice; 1) The inmates in the experimental group had decrease in the mean of the stress score (M = 14.86, S.D = 1.942) than the pre-test mean scores (M = 26.63, SD = 2.44) (t = 25.36, p<.001). Furthermore, 2) The mean difference between pre-test and post-test stress score of the inmates in the experimental group ( 1 = -11.766, SD = 2.54) was higher than the mean difference of the control group receiving routine care ( 2 = 1.90, SD = 3.30) (t = 12.96, p<.001). Thus, the result of this study could be used as an alternative for designing and intervention program aiming on stress for the inmates.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความเครียดในผู้ต้องขัง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดี ทั้งชายและหญิง มีอายุระหว่าง 18-59 ปีจากเรือนจำในเขตภาคตะวันออก โดยการสุ่มอย่าง ง่ายจำนวน 2 เรือนจำ เป็นกลุ่มทดลอง 1 เรือนจำและกลุ่มควบคุม 1 เรือนจำ หลังจากนั้นสุ่มผู้ต้องขังที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ กำหนด กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกสติ สัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ติดต่อกัน กลุ่มควบคุมได้ รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมการฝึกสติ 3) แบบประเมินและ วิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ซึ่งโปรแกรมการฝึกสติได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของผู้ต้องขังหลังเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกสติ (M=14.86, S.D = 1.942) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (M = 26.63, SD = 2.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 25.36, p<.001) 2) ผลต่างค่าเฉลี่ย คะแนนความเครียดของผู้ต้องขังหลังเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกสติ ( 1 = -11.766, SD = 2.54) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแล ตามปกติ ( 2 = 1.90, SD = 3.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 12.96, p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นทางเลือก หนึ่งในการออกแบบกิจกรรมหรือโปรแกรมเพื่อการดูแลความเครียดสำหรับผู้ต้องขัง มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการศึกษาผล ของโปรแกรมการฝึกสติในผู้ต้องขังกลุ่มอื่นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีสุขภาพจิตที่ดีลดความเครียดขณะอยู่ในเรือนจำและควรมีการ ติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาวต่อไป" }
{ "en": "This pilot study examined the feasibility of implementing the Enhancing Happiness and Resilience Family-Based program. Purposive sampling was used to recruit 10 high-school adolescents with mild to moderate depressive symptoms in Kalasin Province, Northeastern, Thailand. Four measures were used to collect data including a demographic data record form, a Thai version of the Center for Epidemiologic Studies Depression Scale, The enhancing happiness and resilience family-based program, and a program evaluation questionnaire. The participants and family members participated in a weekly program for four weeks, 45-60 minutes per week. Descriptive statistics and a nonparametric test were used to analyze the data. Initial results of the pilot study showed that after completing the Enhancing Happiness and Resilience Family-Based program, participants had significantly decreased depressive symptoms. The participants and family members were satisfied with the program’s content and activities. The feasibility of implementing this program to reduce depressive symptoms among adolescents has been supported. Research beyond the pilot study is needed to examine the program under more controlled conditions. It is anticipated that psychiatric-mental health nurses will be able to implement the program for high-school students after further testing.", "th": "การศึกษานำร่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งทางใจ โดยใช้ครอบครัวเป็นฐานต่ออาการซึมเศร้าในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนวัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้าเล็กน้อย ถึงปานกลางที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 4-6 ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดอาการซึมเศร้า โปรแกรมเสริมสร้างความสุขฯ และแบบประเมินผลการเข้า ร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างและสมาชิกครอบครัวเข้าร่วมโปรแกรม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 45-60 นาที วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิตินอนพาราเมตริก ผลการศึกษาพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนน อาการซึมเศร้าลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 กลุ่มตัวอย่างและสมาชิกครอบครัวส่วนใหญ่มีความ พึงพอใจในเนื้อหาและกิจกรรมของโปรแกรม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งทางใจโดย ใช้ครอบครัวเป็นฐานมีความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดอาการซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ ดังนั้นควรส่งเสริมให้พยาบาลจิตเวช นำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการลดอาการซึมเศร้าในนักเรียนวัยรุ่น และควรมีการศึกษาวิจัยโดยใช้รูปแบบการทดลองที่มีการสุ่มและ การควบคุมอย่างเคร่งครัดต่อไป" }
{ "en": "This research was a quasi-experimental study two group pretest-posttest design. The purpose was to examine the effects of Buddhist meditation therapy program on life happiness of the elderly with hypertension.The subjects were 52 older persons with hypertension. They had been sampling by multi – stage, random sampling technique and divided into an experimented and a comparison group on 26 cases each. The experimental group received the 8-week Buddhist meditation therapy program which applied Watson’s Caring Theory and chronic care model with Buddhist integration. This program consisted of 1) trust establishment 2) interpersonal relationship promotion 3) home-based environment support and 4)  knowledge sharing. Data collection used demographic data, self-care behavior, and life happiness scores. The reliability was at 0.75 and 0.84 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and t - test. The results revealed that after the intervention, the experimental group had significantly higher mean scores of self-care behavior and life happiness than before the intervention, and than those in the comparison group, while the experimental group had significantly lower mean scores of blood pressure than before the intervention and than the comparison group. The researcher recomment that the Buddhist meditation therapy program is effectively enhance happiness for the elderly with hypertension. Therefore, nurse practitioners and healthcare providers should contribute this program in primary care service for caring the elderly with hypertension to promote life happiness and well-being.", "th": "การศึกษากึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสมาธิบำบัดตามวิถีพุทธต่อความสุขในชีวิตผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 52 คน ได้รับการสุ่มหลายขั้น โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสมาธิบำบัดตามวิถีพุทธ 8 สัปดาห์ ที่ประยุกต์แนวคิดการดูแลมนุษย์ ของวัตสัน และการดูแลโรคเรื้อรัง “เชิงพุทธบูรณาการ” ประกอบด้วย 1) การช่วยเหลืออย่างไว้วางใจ 2) การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 3) การสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่บ้าน และ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองและแบบสอบถามการรับรู้ความสุขในชีวิต โดยมี ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ ที ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการรับรู้ความสุข ในชีวิต สูงกว่าก่อนการ ทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนการ ทดลองและต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า โปรแกรมสมาธิบำบัดตามวิถีพุทธมีประสิทธิผล ทำให้ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดัน โลหิตสูง มีความสุขในชีวิตมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรทางสุขภาพ ควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปใช้ในการจัดบริการปฐมภูมิให้กับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อส่งเสริมความสุขในชีวิตและ ภาวะสุขภาพที่ดี" }
{ "en": "Premenstrual syndrome (PMS) is a common health problem among reproductive women. The purpose of this correlational descriptive research was to investigate PMS and factors related to PMS among female nursing students. The sample comprised 186 female nursing students selected by stratified random sampling. The data collection instruments were: Demographic Data Recording Form; Dysmenorrhea Scale; Suanprung Stress Test – 20; and Premenstrual Syndrome Scale. Data were analyzed by using descriptive statistic, Spearman rank correlation coefficient, and Chi-square test. The results showed that all sample had at least one premenstrual symptom. The dysmenorrhea level had a statistically significant positive correlation withPMS at the low level (rs = .148, p < .05). Stress had a statistically significant positive correlation with PMS at the moderate level (rs = .520, p < .01). There was no correlation between consumption of caffeine and PMS. Results from this study could be used to develop guidelines for prevention and relief of PMS among nursing students.", "th": "กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในนักศึกษา พยาบาลสตรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 คนโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวดประจำเดือน แบบประเมินความเครียดของสวนปรุง และแบบประเมินกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติทดสอบไคร์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ทุกรายมีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 อาการ ระดับปวดประจำเดือนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับกลุ่มอาการก่อน มีประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .148, p < .05) ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับกลุ่มอาการ ก่อนมีประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .520, p < .01) การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการก่อน มีประจำเดือน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการป้องกันและบรรเทากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในนักศึกษาพยาบาล" }
{ "en": "The present study was aimed at analyzing professional image components and variables describing the key professional image components of nurses in university hospitals. The sample group for the present study was composed of 331 professional nurses who had worked at university hospitals for at least five years experience and were selected by multi-step random sampling. The Professional Image Components Questionnaire was used for data collection. The instrument was tested for content validity by qualified experts, and the instrument’s reliability was tested by using Cronbach’s Alpha Coefficient to obtain a reliability score of .99. Data analysis was conducted by using factor analysis by professional image component extraction using orthogonal rotation with varimax method. The research findings are as follows: The following six professional image components emerged in university hospitals and can be described by 49 variables with variance at 79.38 percent:1. Moral, Ethics and Law described by 10 items accounted for 50.421%2. Professional Self-improvement described by 11 items accounted for 7.800%3. Unique Professional Characteristics described by 9 items accounted for 3.839%4. Adherence to Professional Standards described by 11 items accounted for 3.398%5. Communication and Health Knowledge Provision described by 8 items accounted for 2.774%6. Professional Interactions described by 3 items accounted for 2.152%", "th": "การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพและตัวแปรที่อธิบายลักษณะ สำคัญของตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 4 แห่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน มีพยาบาลวิชาชีพ เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมบูรณาการร่วมกับผลการสัมภาษณ์ผู้ เชี่ยวชาญด้านภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ .94 และความเที่ยงได้ค่า .99 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่าตัวประกอบภาพลักษณ์เชิงวิชาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ มีทั้งหมด 6 ตัวประกอบ บรรยายด้วย 49 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 70.38ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและกฎหมาย สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 50.42 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 10 ตัวแปร 2) ด้านการพัฒนาตนเอง เชิงวิชาชีพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 7.800 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 11 ตัวแปร 3) ด้านคุณลักษณะ เฉพาะทางวิชาชีพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 3.839 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 9 ตัวแปร 4)ด้านการปฏิบัติ ตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 3.398 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 8 ตัวแปร 5)ด้านการ ติดต่อสื่อสารและให้ความรู้ทางสุขภาพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 2.774 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 8 ตัวแปรและ 6) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงวิชาชีพสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ คือ ร้อยละ 2.152 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 3 ตัวแปร" }
{ "en": "The purposes of this analytic cross-sectional research were to study the level and the selected factors related with the Health Literacy of Village Health Volunteer in Mueang District Nakornpathom Province. The samples were 342 Village Health Volunteers (VHS.) selected by using Stratified random sampling. The research tool was ABCDE-Health Literacy questionnaire of Health Education Division, Ministry of Public Health, consisted of 2 parts 1) The selected factors composed of: gender, age, educational level, occupation and marital status 2) The questionnaire of health knowledge and understanding in health. The reliability was KR 20 at 0.64. and the questionnaire of health information and services, health communication, self-management, media literacy and the decision to right practice was yielded of Cronbach’s alpha coefficient at 0.78. Data was analyzed by descriptive statistics and chi-square.The study revealed that VHS’s ABCDE-Health literacy and 5 skills of Health Literacy level were fair excluding the decision to right practice that was very good. Gender, age, education, occupation and marital status factors had no relationship with ABCDE-Health Literacy. For each dimension analysis, gender related with health knowledge and understanding in health including education related with media literacy was shown significantly .Occupation was significantly related with self-management as well. The suggestion was to provide budget supported by Provincial Health Office to develop the program enhancing the level of Health Literacy on 6 skills especially skill 1-5.", "th": "การวิจัยแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาด ทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 342 คน เลือกแบบมีชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบประเมินความฉลาดทางสุขภาพตามหลัก “3อ.2ส.” ของกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส 2) แบบประเมินความฉลาดทางสุขภาพ ประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพมีค่า KR 20 เท่ากับ 0.64 และแบบสอบถามการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารทางสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความฉลาดทางสุขภาพโดยรวม และรายด้าน 5 ด้าน อยู่ในระดับพอใช้ ยกเว้น การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่ในระดับดีมาก ปัจจัยเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์ กับความฉลาดทางสุขภาพโดยรวม เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า ปัจจัยเพศมีความสัมพันธ์กับความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และอาชีพมีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ข้อเสนอแนะคือสาธารณสุขจังหวัด ควรจัดงบประมาณพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพทั้ง 6 ทักษะโดย เฉพาะทักษะที่ 1-5 แก่อสม." }
{ "en": "The purposes of this research were to examine level of anhedonia of persons with major depressive disorder and to study the relationship between gender, age, obsessive-compulsive symptoms, depression, social functioning, anxiety, stressfull life event and anhedonia among persons with major depressive disorder. The samples were 144 MDD patients, randomly selected by purposive sampling technique. The research instruments were: 1) personal factor 2) obsessive- compulsive symptoms 3) depression 4) anxiety 5) life event stress6) social functioning and 7) Temporal experience of pleasure scale (TEPS). All instruments were verified for Content Validity Index by five experts and reliability >.80 (0.98, 0.94, 0.85, 0.95, 0.83,0.92). Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square and Point Biserial Correlation.1. Participants had the anhedonia about 62.5% (x = 3.52, S.D. = 1.03)2. Age was significant correlation with anhedonia (rpb =.163)3. Obsessive-compulsive symptom, depression, anxiety and life event stress were positively significantcorrelation with anhedonia (rpb = .382, rpb = .444, rpb = .294, rpb = .294 respectively)4. social functioning was negatively significant correlation with anhedonia (rpb = -.470)5. gender was not related to anhedonia among persons with Major Depressive disorder.", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยอายุ 20 -59 ปี ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรคซึมเศร้า สามารถฟัง พูดภาษาไทยได้ ร่วมมือและยินยอมให้ข้อมูล และไม่มีอาการทางจิต รักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรง พยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต เขตภาคใต้ จำนวน 144 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัด อาการย้ำคิดย้ำทำ 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินการทำหน้าที่ทางสังคม 5) แบบวัดความวิตกกังวล 6) แบบวัดเหตุการณ์ เครียดในชีวิต และ 7) แบบวัด Temporal experience of pleasure scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์และสถิติสห สัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีภาวะสิ้นยินดี คิดเป็นร้อยละ 62.5 จากการหาความสัมพันธ์ พบว่า อายุ มีความสัมพันธ์ กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความรุนแรงของอาการย้ำคิดย้ำทำ ภาวะซึมเศร้า ความ วิตกกังวล และเหตุการณ์เครียดในชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 การทำหน้าที่ทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่ว" }
{ "en": "Fostering hope in attempted suicide patients. is to promote positive power and resilience in order to establish hope for conduct of life in the future. This quasi-experimental study is to examine the effect of fostering hope by drawing therapy on hope in attempted suicide patients. Twenty participants from Wichainburi hospital, were recruited by inclusion criteria and were randomly into experimental group and control group equally. This drawing therapy developed Human Care Theory, Herth hope concept art model. The experimental group received 90-120 minutes in 5 session, while those in the control group received routine nursing care. The hope scale was employed to evaluate pre-posttest and one month follow-up. Descriptive statistics, independent t-test, two way repeated measure ANOVA and multiple comparison test by Bonferroni method were employed to analyze the data. The results demonstrated that the mean scores of hope between experimental group and control group at post-test and 1 month follow-up were significantly different at .05 In experimental group, mean score of hope at pre-test, post-test and one-month follow-up were significantly different at .05 From post-hoc comparison, there were significantly different at .05 between mean scores at post-test and one-month follow-up period. The results suggest that nurses and health care providers could apply this drawing therapy for increasing hope in attempted suicide patients.", "th": "การเสริมสร้างความหวังในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย เป็นการเสริมสร้างพลังด้านบวก ให้เกิดความเข้มแข็งในจิตใจ ทำให้ ผู้ป่วยมีความหวังต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการเสริมสร้างความหวัง ด้วยการวาดภาพบำบัดต่อความหวังในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18-59 ปี เป็นผู้ป่วยที่พยายามฆ่า ตัวตาย ที่มารับบริการในโรงพยาบาลวิเชียรบุรี โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 20 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการวาดภาพบำบัดที่สร้างขึ้นโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลการดูแล มนุษย์ แนวคิดความหวัง และขั้นตอนการทำศิลปะบำบัด กลุ่มทดลองเข้าร่วมการเสริมสร้างความหวังด้วยการวาดภาพบำบัด โดย มีกิจกรรมจำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 90-120 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้วัดผลลัพธ์ของการเข้าร่วม การวาดภาพ คือ แบบประเมินความหวัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน สองทางแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยความ หวังแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการทดสอบเป็น รายคู่พบว่า ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที กับระยะติดตามผล 1 เดือน คะแนนเฉลี่ยความหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรนำกิจกรรมการวาดภาพบำบัดไปใช้เป็นแนวทางเพื่อเสริม สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย" }
{ "en": "The quasi-experimental research aimed to study The effectiveness of innovation that promoted fall prevention behavior among elderly. It was used the one group pre-test and post-test Design among 400 elderly in Bangkok Province using simple random sampling. PRECEDE Frame work was used as a conceptual framework in this study. The experimental group was received 4-week of innovation that promoted fall prevention behavior developed by the researcher. Innovation used information technology augmented reality (AR) through wall-mounted media using via smartphones to promote awareness, physical exercise skills and reinforcement from closed person and public health person. Data were collected before and after the experiment by using the Questionnaires which were developed by researcher. There were consisting of 3 parts: (1) biosocial data, (2) predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and (3) a fall prevention behaviors. Content validity of the questionnaires was verified by the 3 experts. The reliability of the second part and 3rd parts were 0.790, 0.732, 0.802, and 0.712 respectively. The Data were analyzed by using the percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test The results of the study showed that after participating in the Promoting Fall Prevention Behavior Innovation, the experimental group had higher mean scores on a fall prevention behavior than the baseline at a .05 statistical significance level.", "th": "การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของนวัตกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ ที่อาศัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คนโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework กลุ่มทดลองได้รับนวัตกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ นวัตกรรมเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ Augmented reality (AR) ผ่านสื่อติดผนังโดยใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อส่งเสริม การ รับรู้ การฝึกทักษะการกายบริหาร และการเสริมแรงสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด และบุคลากรสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน และหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปทางชีวสังคม ส่วนที่ 2 แบบสอบถาม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ตรวจสอบ ความตรงและความเที่ยงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 เท่ากับ 0.790, 0.732, 0.802, และ 0.712 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Depend­ent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับนวัตกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุมีพฤติกรรม การป้องกันการหกล้มดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This aims were to study correlation and to predict about social support and quality of Life in Schizophrenia Patients .This samples were 400 patients using questionnaires by Muti-stage random Sampling. They were tested for content validity by 3 experts. The data were analyzed using the percentage, means, standard deviations, ,Pearson’s product moment correlation and Stepwise Multiple Regression. Result revealed that : social support at a moderate level ( = 81.87, S.D = 8.03) The social support was positively related to the quality of life schizophrenic patients. (r = .579) Factors significantly predicted quality of life schizophrenic patients were emotional, social support, information, participation at the .01 Predicted quality of life schizophrenia patients (raw scores) were Y⁄ = 52.565+.920x1+ 1.213x5 + .683x3 Results indicate that healthcare team should develop program or activities to provide social supportfor schizophrenic patients to increase quality of life.", "th": "การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต และเพื่อทำนายปัจจัยที่มี ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข จำนวน 400 คน เครื่องมือในการศึกษาคือ แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต ตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา มากกว่า 0.85 การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทอยู่ในระดับปานกลาง ( = 81.87, S.D = 8.03) แรงสนับสนุนทาง สังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (r = .579) ส่วนปัจจัยทำนายที่ดีในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท (Y) ได้แก่ การตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ (x1) ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร (x5) การมีส่วนร่วม และยอมรับในฐานะส่วน หนึ่งของสังคม (x3) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ร้อยละ 43.3 มีค่าความคลาด เคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 8.67 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยใช้คะแนนดิบ คือ Y⁄ = 52.565+.920x1+ 1.213x5 + .683x3 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ทีมสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมให้กับ ผู้ป่วยโรคจิตเภทเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น" }
{ "en": "The purpose of this discriptive research was to study the relationships between self- directed learning, leadership of head nurse and performance of nurse anesthetists, General hospitals, Ministry of Public Health. The sample were 278 nurse anesthetists in the General hospitals, Ministry of Public Health, selected by simple random sampling technique. The research instruments were personalfactors, self directed learning, leadership of head nurse and performance of nurse anesthetists questionnaires. All questionnaires were tested for content validity and reliability with Cronbach's alpha coefficients of .83, .96 and .91 respectively. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The major findings were as follows:1. Mean score of performance of nurse anesthetists was at the high level. ( = 4.43,SD = .43)2. Mean score of self directed learning was at the high level. ( = 3.77, SD = .48), leadership of headnurse was at the high level. ( = 3.68, SD = .54)3. There was positively significant relationship between self directed learning, leadership of headnurse, and performance of nurse anesthetists at the .05 level. (r= .32 and .44 respectively)", "th": "การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภาวะ ผู้นำของหัวหน้ากลุ่มงานกับการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็น วิสัญญีพยาบาลจำนวน 278 คน โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบสอบถามภาวะผู้นำของ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี และแบบสอบถามการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยการนำไปทดลองใช้และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83, .96 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สห สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้\n\nการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ( =4.43, SD = .43)\nการเรียนรู้ด้วยตนเองของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ( = 3.77, SD = .48) ภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มงานอยู่ในระดับสูง ( =3.68, SD = .54)\n\n      3. การเรียนรู้ด้วยตนเอง และภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .32 และ .44 ตามลำดับ)" }
{ "en": "The purpose of this research was to examine how well the empirical data fit the nursing students’ caring characteristic model. Data were collected from 411 third year and fourth- year nursing students during the academic year 2018 at threes government nursing educational institutes by using a 67 item self-report questionnaire Measuring caring characteristics with 1-5 rating scale. The questionnaire was tested for content validity by five experts and revealed the item objective congruence (IOC) between .60 and 1.00, item discrimination (r.) between .208 and .565 and the reliability (α) of .941. The data were analyzed with confirmatory factor analysis. The results revealed that the caring characteristics among nursing students consisted of seven main factors: 1. Understanding of human value and kindness 2. Instillation of faith-hope 3. Cultivation of sensitivity to one’s self feeling and to others 4. Establishing a helping relationship 5. Learning promotion 6. Provision for a supportive, protective, and or corrective mental, physical, societal, and spiritual environment 7. Assistance with gratification of human needs. Each of these indicators was consistent with the empirical data: χ2 = 15.99; p-value = .067; GFI = .989; AGFI = .967; NFI = .994; RMSEA = .049; RMR = .002; SRMR = .01; P-Value for Test of Close Fit = 1.00; CFI = .997. The standard weight of each main factor was between .78 and .95", "th": null }
{ "en": "This study aimed to study the self-directed learning for clinical reasoning development: a case study of primary health care practicum course to primary health care practice competency in nursing students. Purposive sampling was used to recruit the sample. The were 154 of 4nd year nursing students who participated in primary health care practicum course. The instruments included primary health care practice competency in nursing students of study questionnaire with Cronbach’s alpha coefficient .87 Descriptive statistic (percentage, mean, and standard deviation) was used to analyze the data. The finding revealed that average scores of primary health care practice competency were high in nursing students. The results revealed that primary health care practice competency before and after participated in teaching-learning arrangement in primary health care practicum course was significantly different at .05 level. The self-directed learning for clinical reasoning development: a case study of primary health care practicum course to primary health care practice competency in nursing students should be applied for using in further teaching and learning courses. Keywords: Self-Directing Learning, Clinical Reasoning Development", "th": "การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาล เบื้องต้นต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 154 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbachalpha coefficient) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบ ที (t-test) ทดสอบความแตกต่างของสมรรถนะการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการ เรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการ จัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทางคลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาล เบื้องต้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\nผลจากการประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างศักยภาพการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทาง คลินิก: กรณีศึกษารายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้นต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง การเรียนรู้ที่ควรนำไปประยุกต์ ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป" }
{ "en": "This study was a quasi-experimental pretest-posttest control group design. The objectives were: 1) to compare the functioning of schizophrenic patient with negative symptoms before and after received the negative symptoms self-management program and 2) to compare the functioning of schizophrenic patient with negative symptoms who received negative symptoms self-management program and those who received regular nursing care activities. Forty of schizophrenic patient received services in in-patient department, Srithanya Hospital, who met the inclusion criteria, were matched pairs and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the negative symptoms self-management program composed of 7 group activities to improve knowledge and relevant skills including self-management, negative symptom, use of cognitive negative symptom management techniques, self- care on daily life, medication management, emotional management, communication, and utilization of community resourses. The control group received regular nursing care activities. Research instruments were: 1) The negative symptoms self-management program, 2) The Life Skill Profile, and 3) The negative symptoms subscale of Positive and Negative Syndrome Scale. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The Chronbach’ s Alpha coefficient reliability of the Life Skill Profile and the negative symptoms subscale of Positive and Negative Syndrome Scale was 0.94 and 0.90, respectively. Major findings were as follows:1. The functioning of schizophrenic patients with negative symptoms who received the negative symptoms self-management program was significantly higher than that before, at p .05 level; \n2. The functioning of schizophrenic patients with negative symptoms who received the negative symptoms self-management program was significantly higher than those who received regular nursing care activity, at p .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเอง และ 2) การทำหน้าที่ของ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตาม ปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน และได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรม การจัดการอาการทางลบด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนิน 7 กิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะ และการให้ความรู้ใน เรื่อง การจัดการตนเอง อาการทางลบ การดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน การจัดการอาการทางลบโดยการจัดการทางความคิด การ ใช้ยา การจัดการกับอารมณ์ การติดต่อสื่อสาร และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรในชุมชน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเอง 2) แบบวัดทักษะชีวิต และ 3) แบบประเมินอาการ ทางจิตโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย เฉพาะอาการทางลบ ซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยแบบวัดทักษะชีวิตและแบบประเมินอาการทางจิตเภทฉบับภาษาไทย เฉพาะอาการทางลบ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาคเท่ากับ 0.94 และ 0.90 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบ หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองสูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่ม ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The objectives of this quasi-experimental pretest-posttest control group research design. were to compare 1) alcohol consumption behavior among patients with alcohol dependence before and after receiving a brief couple relationship therapy program, and 2) alcohol consumption behavior among patients with alcohol dependence who received brief couple relationship therapy program and those who received regular care. The sample were 40 family of patients with alcohol dependence and his spouse who had been following up after treatment at the Psychiatry and Neurology outpatient department of Phramongkutklao ( PMK ) Hospital. The patients were recruited from those who completed the PMK rehabilitation model within a year. The samples were matched-pair to have similar characteristics by patient’ alcohol consumption score and age, and then randomly assigned to either experimental or control group, 20 families in each group. The experimental group received the brief couple relationship therapy program developed from Fals-Stewart et al.(2005), whereas the control group received regular care. The research instruments are: 1) the brief couple relationship therapy program, 2) the demographic questionnaire, 3) the AUDIT scale ,4) the AlcoholTimeline Follow back, and 5) the Dyadic Adjustment Scale. All instruments were verified for content validity. The reliability of the 4th instrument is reported with Pearson product moment correlation as of .97. Descriptive statistics and t-test were used in Data analysis. The conclusions of this research are as follows: 1) after the experiment, the alcohol consumption behavior of patients with alcohol dependence who received brief couple relationship therapy program was significantly different than that before at p.05, by which the total number of drinks and the percentage of heavy drinking days were lower whereas the percentages of days abstinent were higher than that before; 2) after the experiment, the alcohol consumption behavior of patients with alcohol dependence who received brief couple relationship therapy program was significantly different from those who received regular care at p.05, by which the total number of drinks and the percentage of heavy drinking days among the experimental group were lower whereas the percentages of days abstinent were higher than those in thecontrol group.", "th": "งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราก่อน และหลังได้รับโปรแกรมบำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้น 2) พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราระหว่างกลุ่มที่ได้ รับโปรแกรมบำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้นกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดสุราและ คู่สมรส จำนวน 40 ครอบครัว ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรารูปแบบโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า (PMK model) ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และอยู่ระหว่างติดตามหลังการรักษาแบบผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวชและ ประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้รับการจับคู่ให้ผู้ป่วยโรคติดสุรามีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราและอายุที่ใกล้เคียงกัน และถูกสุ่มเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมบำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส แบบสั้นที่พัฒนามาจาก Fals-Stewart et al.(2005) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือในงานวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรม บำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สรสแบบสั้น 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา 4) แบบบันทึก พฤติกรรมการดื่มสุรา และ 5) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา เครื่องมือชุดที่ 4 มีความเที่ยงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยวิธีทดสอบซ้ำเท่ากับ .97 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรมบำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีปริมาณการดื่มสุราและร้อยละของจำนวนวันที่ดื่มหนักลดลง และมีร้อยละ ของจำนวนวันที่หยุดดื่มเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมบำบัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้น 2. พฤติ กรรมการดื่ มสุ ราของผู้ป่วยโรคติ ดสุ ราที่ ได้รั บโปรแกรมบ ำบั ดสั มพั นธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้นและผู้ป่วยโรค ติดสุราที่ได้รับการดูแลตามปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ป่วยโรคติดสุราที่ได้รับโปรแกรมบำบัด สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสแบบสั้นมีปริมาณการดื่มสุราและร้อยละของจำนวนวันที่ดื่มหนักลดลง และมีร้อยละของจำนวนวันที่ หยุดดื่มเพิ่มขึ้นกว่าผู้ป่วยโรคติดสุราที่ได้รับการดูแลตามปกติ" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to determine the nursing workload in each classification, and to determine the appropriate nurse staffing in surgical intensive care unit .The research samples consisted of 22 registered nurses, 3 nurses’ aides and 280 patients admitted in unit during data collection. Four sets of research tools were used: 1) questionnaire of the patient classification form and the accompanying manual; 2) the nursing activities dictionary ; 3) questionnaire of the record sheet indicating the time when a nursing activity; 4) questionnaire of the possibility of the appropriate nurse staffing, which was tested for content. All instruments were tested for content validity by group of experts. The item criteria considered by the experts admitted 80 percent, and the inter-observe reliability score was 0.91. The period of collection data was 1-30 September 2017. Data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. Nurse staffing was calculated by Nursing Division Ministry of Public Health formula The major findings were as follows:1. The average nursing time required by critical patients in Moderate ill, Semi Critical ill and Criticalill in 24 hour were 20.08, 32.76, 36.64 hours, respectively. During the time of data recording, the author didnot found the patient’s data in category 1.2. The number of nursing personnel needed in surgical intensive care unit based on nursing workloadwere 28 nursing staff members, composed of 8 nurse aide3. The nurse administrations in this study agreed at the high level in feasibility concerning the researchapplicability", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ตามมาตรฐาน กิจกรรมการพยาบาล และเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 22 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 3 คน และผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรงพยาบาลเลิด สินในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล จ ำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วย แบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล คู่มือพจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาล และแบบสอบถามความเป็นไปได้ต่อการจัดอัตรากำลัง ซึ่ง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยถือเกณฑ์ที่ผู้ทรงคุณวุฒิยอมรับ ร้อยละ 80 และตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกตเท่ากับ 0.91 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1- 30 กันยายน 2560 สถิติที่ใช้ในการ วิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตรการคำนวณอัตรากำลังของสำนักพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข (2551) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้\n\nความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยเฉลี่ยต่อรายที่มีสภาวะความเจ็บป่วยในระดับความรุนแรงที่หนักปานกลาง, หนัก และหนักมาก ใน 24 ชั่วโมง เท่ากับ 20.08 ชั่วโมง 32.76 ชั่วโมง และ 36.64 ชั่วโมง ตามลำดับ และไม่พบผู้ป่วยประเภทที่ 1 ในระหว่างที่เก็บข้อมูล (ผู้ป่วยระยะพักฟื้น)\nจำนวนอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ต้องการในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 28 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 8 คน\nผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดอัตรากำลังของหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความเป็นไปได้ต่อการจัดอัตรากำลังอยู่ในระดับที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในระดับมาก\n" }
{ "en": "Qualitative research method was used in this study. The objective of this study was to develop a questionnaire for Strategic Leadership of Prosthetic and Orthotic Practitioners in Thailand. The methods of study were to synthesize concepts, theories, related research, focus group discussion and in-depth interview. Informants were administrators as well as prosthetic and orthotic practitioners who have been working in medical institutes, secondary-level and tertiary-level hospital. Twenty informants were purposely selected for focus group discussion and 8 informants were selected for in-depth interview. Content validity was measured by using Index of Item-Objective Congruence (IOC) and Content Validity Index (CVI). Reliability was measured by using Cronbach alpha coefficient The synthesis of research results revealed that there were 7 components of strategic leadership of prosthetic and orthotic practitioners in Thailand including; (1) Strategic thinking and planning; 14 items, (2) Developing today’s and tomorrow’s leader; 10 items (3) Relating the part to the whole; 15 items, (4) Making it happen; 7 items, (5) Releasing corporate spirit; 6 items, (6) Giving direction; 7 items, and (7) Building partnership; 6 items. Totally, there were 65 items. As a questionnaire was developed based on those components, it was brought to test content validity. The results showed that the value of IOC for each item was .96 as well as the value of CVI = 0.81. Reliability of the questionnaire was tested by using Cronbach alpha coefficient and it was found that α = 0.98. From the research findings, it be suggested that the questionnaire should be taken further to confirm with the empirical data.", "th": "การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสอบถามองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้ ปฏิบัติวิชาชีพกายอุปกรณ์ในประเทศไทย ศึกษาโดยการสังเคราะห์จากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติวิชาชีพกายอุปกรณ์ ในสถาบันทางการแพทย์ โรงพยาบาลระดับตติย ภูมิ ทุติยภูมิของรัฐทั่วประเทศ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อสนทนากลุ่มย่อย 20 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ด้วยวิธีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) และดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) ตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยโดยการ ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach alpha coefficient ) ผลการสังเคราะห์ พบว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้ปฏิบัติวิชาชีพกายอุปกรณ์ในประเทศไทย มี 7 องค์ ประกอบ ได้แก่ (1) การคิดและการวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 14 ตัวแปรองค์ประกอบ (2) การพัฒนาผู้นำในปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย 10 ตัวแปรองค์ประกอบ (3) ความสัมพันธ์ทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 15 ตัวแปรองค์ประกอบ (4) การดำเนินงานให้ สำเร็จ ประกอบด้วย 7 ตัวแปรองค์ประกอบ (5) การสร้างจิตวิญญาณการเป็นองค์กร ประกอบด้วย 6 ตัวแปรองค์ประกอบ (6) การ กำหนดทิศทาง ประกอบด้วย 7 ตัวแปรองค์ประกอบ และ (7) การสร้างพันธมิตร ประกอบด้วย 6 ตัวแปรองค์ประกอบ รวมทั้งสิ้น 65 ตัวแปร เมื่อนำองค์ประกอบที่ได้ไปพัฒนาเป็นแบบสอบถาม ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Item-Objective Congruence Index : IOC) = 0.96 และมีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหา (Content Validity Index: CVI) = 0.81 ส่วนการตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (Chronbach alpha coefficient ) เท่ากับ 0.98 จากข้อค้นพบในการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่าควรนำแบบสอบถามที่ พั ฒนาแล้ วไปรวบรวมข้ อมู ลจากผู้ ประกอบวิ ชาชีพกาย อุปกรณ์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันว่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่ต่อไป" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effects of the Motivation Enhancement Therapy Program with family involvement (METF) on the medication adherence of inpatients with co-occurring schizophrenia and alcohol use disorder. The sample included fifty-six inpatients with co-occurring schizophrenia and alcohol use disorder, aged between 20 and 59 years, and assigned to the experimental and control group, with 26 subjects in each group. The experimental group received six sessions of the Motivation Enhancement Therapy Program with family involvement, 45-60 minutes each session for four weeks. The research instruments consisted of the following: 1) the Motivation Enhancement Therapy Program with family involvement; 2) stage of change assessments; 3) a medication compliance questionnaire; and 4) a motivation questionnaire. All of the instruments were validated for content validity by professionals. The reliability of the instruments with Chronbach’s alpha coefficients was .81, .81, and .84. The data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The findings were as follows: 1) The medication adherence of co-occurring schizophrenia and alcohol use disorder patients after receiving the group METF was significantly higher than before receiving the group METF at the .001 level. 2) The medication adherence of the co-occurring schizophrenia and alcohol use disorder patients that received the group METF was significantly higher than that of the individuals that received routine care at the .001 level.", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัว มีส่วนร่วม ต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยในโรคร่วมจิตเภทและสุรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคร่วม จิตเภทและสุราที่เข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาล มีอายุตั้งแต่ 20-59 ปี จำนวน 52 ราย ได้จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย โดยกลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวมีส่วนร่วม จำนวน 6 ครั้งๆละ 45-60 นาที รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยครอบครัว มีส่วนร่วม 2) แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินแรงจูงใจขั้นบันได 3) แบบประเมินความร่วมมือในการรักษาด้วยยา 4) แบบสอบถาม เพื่อวัดแรงจูงใจในการรักษาด้วยยา ซึ่งเครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81, .81 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและสถิติทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคร่วมจิตเภทและสุรา หลังได้รับการบำบัดเพื่อ เสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวมีส่วนร่วม สูงกว่าก่อนได้รับการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบคัวมีส่วนร่วม อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคร่วมจิตเภทและสุรา หลังได้รับการบำบัดเพื่อเสริม สร้างแรงจูงใจโดยครอบครัวมีส่วนร่วม สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed to compare 1) The self-stigma of the drug users before and after completed the Self-stigma Reduction Program (SRP) and one month after completed the program 2) the self-stigma of the drug users who received the SRP and who received the usual care at one month after completed the program. The study was conducted in 46 injection drug users at the Drop in Center in Bangkok Metropolis. Randomly assigned 25 subjects into the SRP. The control group was 25 subjects. Research Instruments included the SRP, Self-Stigma Scale, and Self-Esteem Scale. The data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The results were as follows: 1) the self-stigma of the drug users after and one month after completed the SRP were lower than before with the statistically significant .05 level 2) the self-stigma of the drug users who received the SRP were lower than who received the usual care at one month after completed the program with the statistically significant .05 level. The next research recommendation should be to study the effectiveness of the program in the population with other mental health problems. The program is constantly monitored and evaluated in order to guide the development of the program more effectively.", "th": " การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การตีตราตนเองของผู้เสพสารเสพติดก่อนและหลังจบโปรแกรม ลดการตีตราตนเองทันที และ 1 เดือนหลังจบโปรแกรม 2) การตีตราตนเองของผู้เสพสารเสพติดระหว่างกลุ่มที่ได้โปรแกรมลดการ ตีตราตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติก่อน และ 1 เดือนหลังจบโปรแกรม โดยศึกษาในผู้เสพสารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่รับบริการ ณ ศูนย์ลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (Drop in center) เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 46 คน สุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ 21 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมลดการตีตราตนเอง แบบวัดความรู้สึกตีตราตนเอง และ แบบประเมินคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การตีตราตนเองของผู้เสพสารเสพติดที่ได้รับโปรแกรมลดการตีตราตนเองหลังจบโปรแกรม ทันทีและหลังจบโปรแกรม 1 เดือนต่ำกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การตีตราตนเองของผู้เสพ สารเสพติดที่ได้รับโปรแกรมลดการตีตราตนเองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติหลังจบโปรแกรม 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะการทำวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาประสิทธิผลการนำโปรแกรมไปใช้ในกลุ่มประชากรที่มีปัญหา สุขภาพจิตอื่นๆ และมีติดตามประเมินผลของโปรแกรมอย่างต่อเนื่องและระยะยาวเพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาโปรแกรมให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น" }
{ "en": "Psychological well-being is an important factor to promote quality of life in older adults. The purpose of this study was to determine factors influencing psychological well-being among older adults. Multi-stage random sampling was used to recruit the samples. There included 108 older adults in Bang Pakong District, Chachoengsao Province. Research instruments consisted of a Personal information record, Instrumental activities of daily living questionnaire, Adherence and religious practices questionnaire, Optimism questionnaire,Resilience questionnaire and Psychological well-being questionnaire Cronbach’s alpha reliabilities: .911, .989, .900, .982 and .946 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients and Stepwise multiple regression analysis. The study findings showed that the sample’s mean score of psychological well-being was in high level (M = 56.94, SD = 6.40). The predictable variables included optimism and resilience (β = .630, .334, p < .001 respectively). These two significant factors accounted for 71.6% (R2 = .716, Adjusted R2 = .711, F = 132.410, p < .05) of the variance in explanation of psychological well-being. These finding clearly indicated that optimism and resilience have influenced on psychological well-being. Therefore nurse should concern about promoting these factors in order to promote psychological well-being in older adults.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยปกป้องที่มีผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูง อายุในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 108 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นสูง แบบสอบถามความยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักศาสนา แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี แบบสอบถามพลังสุขภาพจิต และ แบบสอบถามความผาสุกทางใจซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .911, .989, .900, .982 และ .946 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนของความผาสุกทางใจอยู่ในระดับสูง (M = 56.94, SD = 6.40) ตัวแปร ที่สามารถทำนายความผาสุกทางใจ ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี และพลังสุขภาพจิต (β = .630, .334, p < .001 ตามลำดับ) ตัวแปร ทำนายทั้งสองสามารถร่วมทำนายความผาสุกทางใจได้ร้อยละ 71.6 (R2 = .716, Adjusted R2 = .711, F = 132.410, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การมองโลกในแง่ดี และพลังสุขภาพจิตมีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ดังนั้นพยาบาลควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมปัจจัยดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างความผาสุกทางใจในผู้สูงอายุต่อไป" }
{ "en": "The purpose of this research study was to develop a instrument for the strategic management practices of nursing organizations at tertiary level hospitals under the Ministry of Public Health, based on the Strategy-focused Organizations framework in the part of strategic implementation of Kaplan & Norton. There are steps to create instrument using the framework of Burns & Grove bring to the 30 items of the strategic management practices instrument. The examination of the content validity by 5 experts have Content Validity Index (CVI) = 0.96 and Index of Item-Objective Congruence (IOC) ranged from 0.60 to 1.00. The reliability of the instrument in the form of Cronbach’s alpha coefficient was 0.94, Data were corrected form 252 nursing administrators of 20 tertiary level hospitals under the Ministry of Public Health. Data analysis was used Confirmatory Factor Analysis (CFA). The result of this study found that the strategic management practices instrument of nursing organizations at tertiary level hospitals under the Ministry of Public Health has acceptable level of the content validity and the reliability. Confirm structural validity by CFA found that every items in 4 components have factor loading more than 0.50 (0.51-0.93). The four components of the instrument were as follows: 1) Investment in personnel and skills, 14 items 2) Reaction to competitor action, 5 items 3) Ensuring customer loyalty, 4 items and 4) Nursing service differentiation, 7 items. Therefore, it can be confirmed using the strategic management practices instrument in nursing organizations at tertiary level hospitals under the Ministry of Public Health.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือวัดการดำเนินการบริหารกลยุทธ์ขององค์การพยาบาล ในโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามกรอบแนวคิดองค์การที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ ในด้านการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategic implementation) ของ Kaplan & Norton มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดโดยใช้กรอบการสร้างเครื่องมือวัดของ Burns & Grove นำมาสร้างข้อคำถามของการดำเนินการบริหารกลยุทธ์จำนวน 30 ข้อ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรง คุณวุฒิ 5 คนได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 หาค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.94 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 252 คน ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัด กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 20 แห่ง ทำการวิเคราะห์หาความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยเครื่องมือวัดการดำเนินการบริหารกลยุทธ์ขององค์การพยาบาล ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวง สาธารณสุข มีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความเที่ยงในระดับที่ยอมรับได้ และความตรงเชิงโครงสร้างได้รับการยืนยันด้วยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า ทุกข้อคำถาม 30 ข้อในทั้ง 4 องค์ประกอบของเครื่องมือวัดมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) มากกว่า 0.50 อยู่ระหว่าง 0.51-0.93 ทั้ง 4 องค์ประกอบเป็นดังนี้ 1) การลงทุนด้านบุคลากรทางการพยาบาลและทักษะ จำนวน 14 ข้อ 2) ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อคู่แข่ง จำนวน 5 ข้อ 3) การประกันความจงรักภักดีของผู้รับบริการ จำนวน 4 ข้อ และ4) การสร้างความแตกต่างในการบริการพยาบาล จำนวน 7 ข้อ ดังนั้นจึงสามารถยืนยันการนำเครื่องมือวัดการดำเนินการบริหารกลยุทธ์ ขององค์การพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไปใช้ได้" }
{ "en": "The purposes of this research and development were: 1) to analyze situations and needs of a preceptor model for new graduate generation Y nurses at Vajira Hospital, 2) to create a preceptor model for new graduate generation Y nurses, and 3) to evaluate an appropriateness of the developed preceptor model. The key informants who worked at four different sectors namely obstetric, medical, surgical, and pediatric sectors including four head nurses and four preceptors; and group 2 comprising eight new graduate generation Y nurses. Research tools consisted of a focus group discussion guideline, and an appraisal form for evaluating the appropriateness of the new preceptor model for new graduate generation Y nurses. Its validities were ranged between 0.5-1.0. The data analysis was done by typological analysis and calculated the suitability score. The results of this study were as follows. 1) Situations and needs of using the preceptor model for new graduate generation Y nurses comprised three major dimensions including clear and practical structure, process, and outcome. 2) The new preceptor model consisted of structure, process, and outcome dimensions. It was developed based on situations and needs of the preceptor model. It was also integrated with 4 concepts/theories including preceptor model, trait of generation Y Thai nurses, the management of generation Y nurses, and theory of organization empowerment. Finally, 3) the developed preceptor model was appropriate for adoption with 81.73%.", "th": "การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับ พยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่ จบใหม่ และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลหลักปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสาขาการพยาบาลสูตินรีเวช กรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม และกุมารเวชกรรม เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย 4 คน พยาบาลพี่เลี้ยง 4 คน และพยาบาลเจนเนอเรชั่นวาย ที่จบใหม่ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่ พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.5-1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและคำนวณค่าความเหมาะสมของ รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์และความต้องการรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้าน กระบวนการ และด้านผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน 2) รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าว ที่สร้างบนพื้นฐานของสภาพการณ์และความต้องการรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง และบูรณาการกับแนวคิดและทฤษฎี ดังนี้ รูปแบบ พยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลจบใหม่ คุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพไทยรุ่นอายุวาย การบริหารพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่ นวาย และการเสริมสร้างพลังอำนาจในองค์กร และ 3) รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ร้อยละ 81.73" }
{ "en": "The research aimed to investigate the effectiveness of pain education program on nurses’knowledge and pain management in surgical critical patients based on learning theory by Bloom. The participants were 25 Surgical Intensive Care Unit (SICU) nurses who had worked at Somdejprapinklao Hospital. Data were collected from June 2017 to July 2017. The instruments included a questionnaire of nurses’ knowledge about pain assessment and pain management in postoperative surgical critical patients. Nurses’ knowledge was measured before and after the educational program of pain assessment and management. Moreover, the observational checklist was used to evaluate nursing pain management in the medical records. Data were analyzed using descriptive statistics of frequency, percentage, mean, and standard deviation, as well as inferential statistics one-way repeated measure. The findings of the study showed that the 25 SICU nurses had significantly increased knowledge after attending an educational program. After 4 weeks of educational program, the nurses recorded level of pain, sedation score, pharmacology and non pharmacology used. In addition, the nurses used the appropriate instrument to evaluate level of pain. In conclusion, the educational program could be used to promote nurses’ knowledge of pain management to improve the quality of care in postoperative surgical critical patients.", "th": "การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมให้ความรู้ต่อความรู้และการจัดการความปวดของพยาบาล ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โดยใช้แนวคิดพฤติกรรมการเรียนรู้ของบลูมเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิกฤต ศัลยกรรมที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 25 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2560 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 โดยใช้แบบวัดความรู้ของพยาบาลวิกฤตศัลยกรรมในการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม หลังผ่าตัด วัดความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังให้โปรแกรมความรู้ในการประเมินและการจัดการความปวด ประเมินการจัดการ ความปวดของพยาบาลในเวชระเบียนผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินตาม checklist นำเสนอข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ANOVA ชนิด one-way repeated measure ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิกฤตศัลยกรรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในระยะหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันทีและหลังสิ้นสุด โปรแกรม 4 สัปดาห์สูงกว่าระยะก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากให้โปรแกรมความรู้ 4 สัปดาห์ พยาบาลมีการ บันทึกระดับความปวด sedation score การจัดการความปวดโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา และมีการใช้เครื่องมือประเมินความปวดอย่าง เหมาะสม สรุปว่าโปรแกรมให้ความรู้และการจัดการความปวดของพยาบาลในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมช่วยพัฒนาความรู้และส่งเสริม การปฏิบัติของพยาบาลวิกฤตศัลยกรรมในการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหลังผ่าตัดได้ จึงควรนำโปรแกรมดังกล่าว ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหลังผ่าตัดต่อไป" }
{ "en": "The purpose of this cross-sectional survey research was to explore the palliative and end-of-life care competencies among registered nurses in Regional Health 11. The sample consisted of 349 registered nurses, who work in the hospital under Regional Health 11. The proportional stratified random sampling was used to select the sample. The questionnaires were mailed and a total of 331 were returned. The response rate was 94.84. The research instruments composed of 1) demographic data questionnaire and 2) palliative and end-oflife care among registered nurse questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistic and Pearson’s correlation. The results revealed that: 1) Most of the sample has knowledge on palliative and end-of-life care in moderate level (54.10 percent), attitude on death and end-of-life care in high level (82.50 percent), and practice on end-of-life care in moderate level (63.70 percent). 2) Knowledge of palliative and end-of-life care has a significant positive correlation with attitude in palliative and end-of-life care (r = .216, p <.001) and attitude in palliative and end-of-life care has a significant positive correlation with practice in palliative and end-of-life care (r = .272, p <0.001). The results from this suggested that the knowledge and practice skills in palliative and end-of-life care among registered nurses are limited. However, they have the good attitude in caring patients. Training for palliative and end-of-life care competencies development is required for nurses in order to provide quality of care to patients.", "th": "การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคองของพยาบาลวิชาชีพในเขตสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 349 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและคำนวณตามสัดส่วน ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และได้รับคืน จำนวน 331 คน (ร้อยละ 94.84) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ2) แบบประเมินสมรรถนะในการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในระดับปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 54.10 ส่วนใหญ่มีทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในระดับสูง ร้อยละ 82.50 ส่วนการ ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคะบประคองอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 63.70 2) ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (r =.216, p <.001) และทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (r = .272, p <.001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลวิชาชีพยังขาดความรู้ และทักษะในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคอง แต่มีทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นการจัดการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคองจึงมีความจำเป็น เพื่อให้พยาบาลจะสามารถให้ความช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพต่อไป" }
{ "en": "Teenage pregnancy is a major public health problem in the country. The likely increase in teenage pregnancy. Factors affecting that resulted in teenage pregnancy, such as the age when teens enter puberty, family environment, sexual attitude, knowledge about contraception, society and culture, drinking alcohol and substance abuse. When a pregnancy occurs, there will be changes both physical and mental. Teenage pregnancy also affects maternal and infant. May cause malnutrition, pregnancy induced hypertension, abortion, fetal death in utero, premature labor, low birth weight, intra uterine growth retard and perinatal mortality. The role of nurses to direct care for teenage pregnancy, teaching and coaching, consultant and collaboration. Role’ nurse are important in helping young women take care of themselves properly, have good health throughout the pregnancy, birth and after birth can reduce the effects or complications that may occur from pregnancy in teenagers.", "th": "การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนับเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ ปัจจุบันแนวโน้มการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่ง มีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น อายุเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วขึ้น สภาพครอบครัว ทัศนคติการมีเพศสัมพันธ์ ความรู้ เกี่ยวกับการคุมกำเนิด สังคมและวัฒนธรรม การดื่มสุราหรือสารเสพติด การถูกข่มขืนหรือการทารุณกรรม เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังส่งผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและทารก อาจก่อให้ เกิดภาวะทุพโภชนาการ ความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ ภาวะแท้งบุตร ทารกตายในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อย การเจริญเติบโตช้า และการตายปริกำเนิดสูง สำหรับพยาบาลมีบทบาทในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นด้านการปฏิบัติ การทางคลินิก การสอนและชี้แนะ การให้คำปรึกษา และบทบาทการประสานความร่วมมือ ซึ่งบทบาทเหล่านี้มีความสำคัญในการ ช่วยให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม มีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดระยะการตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด สามารถ ลดผลกระทบหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้" }
{ "en": "Pectus Excavatum is the most common of the congenital deformities of the sternum. It also affect children when they are adolescent which is affecting the image and mental when to do some activities at school, such as swimming or some sports. In case of severe pectus excavatum, press the heart and lungs affect the circulatory system and respiratory system can be tired and breathlessness due to cardiac pumping has been reduced, the heart valve is not closed and the lungs are not fully expanded. Therefore, it must be improves by operative correction. At present, the treatment is performed by Minimally Invasive Pectus Excavatum Repair (MIPER) or Nuss Procedure. Advantages include shorter operative and less disfiguring scar. The operative nurses are responsible for not only preparing equipment for surgery, but also providing care during preoperative, intraoperative and postoperative care to promote safety and comfort of children. And children live happily.", "th": "โรคอกบุ๋ม (Pectus Excavatum) เป็นความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดที่พบบ่อยที่สุดในความผิดปกติของกระดูกหน้าอกและ ส่งผลกระทบต่อเด็กเมื่อโตขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลต่อภาพลักษณ์และด้านจิตใจเมื่อต้องทำกิจกรรมบางอย่างที่โรงเรียน เช่น ว่ายน้ำ หรือการเล่นกีฬาบางอย่าง เป็นต้น ในกรณีที่มีภาวะอกบุ๋มมากๆ กดหัวใจและปอด อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียน และ ระบบหายใจได้ ทำให้เหนื่อยง่ายและหายใจหอบเหนื่อย การผ่าตัดแก้ไขภาวะอกบุ๋ม ซึ่งในปัจจุบันการรักษาโรคอกบุ๋มนั้นทำได้โดย ใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กโดยใช้การส่องกล้องช่วยในการผ่าตัด ข้อดี คือ ระยะเวลาในการผ่าตัดน้อยลง และแผลมีขนาด เล็ก พยาบาลห้องผ่าตัดนอกจากมีหน้าที่เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ของการผ่าตัดให้พร้อมตลอดเวลาในการผ่าตัด ยังมีบทบาทสำคัญ ในการพยาบาลตลอดเวลาทั้งก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด เพื่อให้เด็กปลอดภัยไม่เกิดอันตรายใดๆ รู้สึกสุขสบาย และสามารถดำรง ชีวิตได้อย่างปกติสุข" }
{ "en": "Compartment syndrome is one of major emergencies in orthopedic patients that is required to be immediately treated. Increased intramuscular pressure impedes local muscle blood flow and capillary flow thereby impairing neuromuscular function of tissues, causing tissue death, organ loss, nerve function impairment, disability, and even death in severe cases. Compartment syndrome directly and indirectly affects both patients and their family members. Nurse is part of a multidisciplinary team requiring knowledge and skills to assess the function of the nerves and blood vessels, conduct continuous monitoring and surveillance, prepare effective plan to management and prevent Compartment syndrome in order to reduce potential complications and losses.", "th": "ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงเป็นภาวะฉุกเฉินที่สำคัญในผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกและกล้ามเนื้อจำเป็นต้องได้รับการ รักษาอย่างทันท่วงที ผลจากการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องกล้ามเนื้อจะกดการไหลเวียนหลอดเลือดฝอยและการทำงานของเส้น ประสาท ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดมาเลี้ยงและเน่าตายได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียอวัยวะ เส้นประสาทสูญเสียหน้าที่ เกิดความพิการ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งทางตรงและทางอ้อม พยาบาลเป็น ส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพ จึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินการทำหน้าที่ของเส้นประสาทและหลอดเลือด การ ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และวางแผนการดูแลป้องกันภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาวะ แทรกซ้อนและการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น" }
{ "en": "Communication is essential in nursing practice. This article submits the concept of communication in brief. It also tries to focus on the nurses’ role in striking up therapeutic relationship with their clients, and the concept of “Therapeutic communication” as well as highlight its importance in clinical practice for nurses, that can encourage clients to express feelings and ideas about their health status and problems, which could consciously influence individual contemplation of behavioral changes. The context in each part of this article illustrates various communication techniques that are not only stimulate expression of individual’s thoughts and feelings, but also enhancing awareness. Moreover, nurses can practice therapeutic communication skills from the case studies presented in this article as well.", "th": "การสื่อสาร เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้รับบริการ บทความนี้กล่าวถึงหลักการ สื่อสารทั่วไป พร้อมทั้งได้เน้นบทบาทของพยาบาลในการใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ สำหรับพยาบาลวิชาชีพในการกระตุ้น โน้มน้าวผู้รับบริการให้กล้าแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นจริงออกมา พยาบาลก็ได้ข้อมูล พื้นฐานที่เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนปรับปรุงและแก้ไขปัญหาสุขภาพรายบุคคล เนื้อหาแต่ละตอนในบทความได้ยกตัวอย่าง การสื่อสารด้วยเทคนิคการสื่อสารที่หลากหลายเชิงกระตุ้น สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและความเข้าใจในปัญหาสาเหตุที่ตรงกันระหว่าง ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการเกิดความตระหนักรู้ในตนเองและยอมรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อสร้าง เสริมและดำรงสุขภาวะที่ดี" }
{ "en": "The limited number of nurse instructor as well as the need of advanced nursing skills nurse for clinical teaching/training are professional problems. The nurse administrator should create nurse preceptor by Relationship-based care (RBC) plus accepted preceptor characteristics. Alternatively essential preceptor’s role is enculturation and compassion the learner being professional nurse. Buddhist principles for a qualities of a good teacher in the 7 characters : 1) lovable 2) respectable 3) adorable 4) being a counsellor 5) being a patient listener 6) able to deliver deep discourses or to treat profound subjects 7) not leading or spurring on to a useless end. These characters are appreciating for RBC in order to sharing between preceptor-learner continuing a good model of professional compassion and personal well-being.", "th": "ปัญหาขาดแคลนอาจารย์ในสถาบันการศึกษา และความต้องการพยาบาลวิชาชีพที่มีความชำนาญสูง เพื่อสอนนักศึกษา หรือฝึกอบรมพยาบาล ผู้บริหารการพยาบาลควรพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง โดยมีความสัมพันธ์ของครูฝึกและศิษย์จากฐานของ ความสัมพันธ์ และได้รับการพัฒนาคุณลักษณะตามหลักการที่ได้รับการยอมรับ แต่บทบาทสำคัญของพยาบาลพี่เลี้ยงคือการสืบทอด วัฒนธรรมในวิชาชีพและแรงดลใจในวิชาชีพการพยาบาลแก่ผู้เรียน หลักธรรมพุทธศาสนา กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ ได้แก่ 1)น่ารัก 2) น่าเคารพ 3) น่าเจริญใจ 4) ให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี 5. อดทนต่อถ้อยคำ 6) แถลงเรื่องล้ำลึกได้ อธิบายให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 7) ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหลหรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย สามารถนำมาใช้เพื่อ สร้างสัมพันธภาพระหว่างครูฝึกและศิษย์ ให้ทั้งสองฝ่ายร่วมเรียนรู้ความเป็นคนดี มีคุณภาพ เป็นต้นแบบของพยาบาลที่รักวิชาชีพ มีความสุขและมั่นคงต่อไป" }
{ "en": "The study’s aimed to determine the effects of an integrated home-based (IHB) program on blood pressure, body fat and eating behavior among patients with uncontrolled hypertension. The IHB was based on evidence-based practices and self-regulation concept. Program strategies included nurse counseling, goal setting, health education, home blood pressure monitoring, self-appraisal in making progress by an action plan, revision of goals and action plans, and telephone support within six weeks. Eighty patients with uncontrolled hypertension who met the inclusion criteria were recruited to participate in the study. A quasi-experimental design was used by assigning 40 participants to the IHB group and other 40 to the control group. Participants in the experimental group received IHB program as an intervention and usual care, while the control group received usual care. Blood pressure, body fat and the three-factors eating questionnaire (TFEQ) were measured at baseline, week 7 and week 11. Descriptive statistics, chi-square, paired t-tests, and Repeated Measures ANOVA were used to analyze the data. The results found that majority was female. Mean age was 60.9 years, and average duration of hypertension was 4.4 years. The IHB group had significantly lower systolic and diastolic blood pressures, lower percentages of body fat, and improved eating behavior compared to the baseline and the control group. The results suggested that The IHB program was benefits for uncontrolled HT and could be used in community setting.", "th": "การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตที่บ้านแบบบูรณาการ (IHB) ต่อ ค่าความดันโลหิต เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และพฤติกรรมการบริโภคในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ โปรแกรม สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ บูรณาการ การกำหนดเป้าหมาย เทคนิคการให้คำปรึกษา การติดตามการเปลี่ยนแปลงของความดัน โลหิต ใช้เวลา 6 สัปดาห์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ จำนวน 80 คน แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยโปรแกรม IHB ควบคู่กับการดูแลรักษาปกติ กลุ่ม ควบคุมจะได้รับการดูแลรักษาแบบปกติ เครื่องมือในการวิจัยคือ เครื่องวัดความดันโลหิต เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และแบบ ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร (TFEQ) ใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square, Paired t-tests และ Repeated Measures ANOVA วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นผู้หญิง และมีสถานภาพสมรส อายุเฉลี่ย 60.9 ปี ระยะเวลา เฉลี่ยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงคือ 4.4 ปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ที่ได้รับโปรแกรม IHB มีค่าเฉลี่ยของ ค่า ความดันโลหิต เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และพฤติกรรมการบริโภค ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าโปรแกรมและกลุ่มควบคุม โปรแกรมสามารถใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้และสามารถนำไปกับชุมชนได้ดี" }
{ "en": "This study was the quasi-experimental research consisted of one group as a pre and post-test group. The purpose of this research was to investigate the effects of the contemplative education on the empathy score, in course of teaching and health counseling in Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi. The participants were the 131 second-year nursing students. The 30 hours of contemplative activities were incorporated in the experimental part of this course. The experimental part consisted of 30 hours of the contemplative activities. The empathy measurement tool and the interview were used in this study. The quantitative data was analyzed by using Mann-Whitney U test, whereas the content analysis was used for analyzing the qualitative data. In this study, the empathy scores of the participants were statistically significant increasing after using the contemplative activities (P<.001) From the interview, the data showed that all contemplative activities can enhance the empathy in the participants. The inner side of themselves was transformed. Moreover, their selfawareness, consciousness, emotional Intelligence, self-control and the interpersonal relationship were increased. The interpersonal conflict was declined, resulting in the improvement of the deep listening skill and the higher empathy.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นของ นักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการเรียนการสอน ด้วยกิจกรรมตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ทุกคนที่ ลงทะเบียนเรียนวิชาวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการใช้กิจกรรมตามแนวคิด จิตตปัญญา ในชั่วโมงภาคทดลองจำนวน 30 ชั่วโมง แบ่งเป็น 8 กิจกรรม เครื่องที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดความสามารถในการเข้าใจ ความรู้สึกผู้อื่น (Empathy) ของนักศึกษาพยาบาล และผลการสัมภาษณ์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาในการใช้กระบวนการ จิตตปัญญาศึกษา ในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ Mann-Whitney U Test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้กิจกรรมการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา นักศึกษามีความสามารถในการเข้าใจความ รู้สึกผู้อื่นสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมตามกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และจากผลการสัมภาษณ์ นักศึกษาเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาพบว่าทุกกิจกรรมในกระบวนจิตตปัญญาศึกษาช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจความ รู้สึกผู้อื่น โดยตัวกิจกรรมตามกระบวนการจิตตปัญญาส่งผลให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเอง สามารถบอกสิ่งที่ได้เรียน รู้และแนวทางการการพั ฒนาตนเองออกมาโดยการสนทนาและการบั นทึกสะท้ อนคิดดั งนี้ เกิ ดการตระหนักรู้ในตนเองมากขึ้น มี สติ และรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง ควบคุมตนเองได้ สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ดีขึ้น ลดความขัดแย้งกับบุคคลอื่น มีทักษะการฟังอย่าง ลึกซึ้งมากขึ้นและทำให้เกิดความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นมากขึ้น" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of group supportive psychotherapy on the hope of patients with advanced breast cancer receiving radiation. The sample consisted of 64 female outpatients diagnosed with advanced breast cancer receiving radiation therapy in 2 specialized cancer hospitals in the health service network 4. They were aged between 30 and 60 years. The 2 hospitals were randomly assigned to either the experimental or control group, and then 32 participants were randomly selected from the experimental hospital and 32 participants from the control hospital. The experimental group received the group supportive psychotherapy for 4 weeks, 60-90 minutes per session, twice a week continuously while the participants in the control group received routine nursing care. The research instruments consisted of the following: 1) Herth Hope Index 2) personal information about the participants 3) group supportive psychotherapy. All of the instruments were validated for content validity by professionals. The reliability of the instruments with Chronbach’s alpha coefficients was .81. The data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The findings were as follows: 1) there was a significant increase in the mean of the hope scores after participating in the group supportive psychotherapy (p<.05) and 2) there was a significant difference in the mean difference in the hope scores between the pre-post interventions for both group (p<.05).", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองต่อความหวังของ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเพศหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ที่อยู่ในระหว่างได้รับรังสีรักษาแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งในเขตบริการสุขภาพที่ 4 มีอายุระหว่าง 30-60 ปี ในโรงพยาบาล 2 แห่ง จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วม กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง ซึ่งประกอบด้วย 8 กิจกรรม ใช้เวลากิจกรรมละประมาณ 60-90 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความ หวัง 3) กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง ซึ่งเครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความหวังในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง สูงกว่าก่อน การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p" }
{ "en": "This quasi-experimental research using a two-group pretest-posttest design aimed to examine the effects of a life-skills training program on the depression symptoms of senior high school students. The sample was 74 students had mild to moderate depression symptoms. The individuals were randomly assigned to experimental and control groups with 37 subjects in each group. The experimental group received the life-skills training program in an eight-week, once a week continually, and the control group received only the routine care. The research instruments consisted of the following: 1) a life-skills training program; 2) the Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D Thai version); and 3) a life-skills assessment form, which were used to control the experiment. All of the instruments were validated for content validity by professionals. The reliability of the instruments according to Cronbach’s alpha coefficients was 0.81 and 0.85 respectively. The evaluation was conducted 2 times, before the program began and immediately after the program completion. The effect of the program was analyzed using a t-test. The results of the study were as follows. 1) The mean score for the symptoms of depression of the senior high school students after participating in the life-skills training program ( = 9.16, SD = 3.71) was statistically significantly lower than before participating in the life-skills training program ( = 22.46, SD = 1.88) (t = 19.65, p<.001). 2) The mean difference of depression symptoms scores of the experimental group between pre-test and post-test participating in the life-skills training program ( = 13.30) were higher than those of the control group received only the routine care. ( = .03) as statistically significantly (t = 19.50, p<.001).", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มี ภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 74 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 37 ราย กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต ระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้งติดต่อกัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย (CES-D, Thai Version) และ 3) แบบประเมินทักษะชีวิตเป็นเครื่องมือควบคุมการทดลอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81, 0.85 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวัดก่อนและหลังการทดลองสิ้นสุดทันที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกลุ่มทดลอง ( = 9.16, SD = 3.71) มากกว่าก่อนการทดลอง ( = 22.46, SD = 1.88) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 19.65, p<.001) 2) ผลต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับ โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต ( = 13.30) มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติ ( = .03) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 19.50, p<.001)" }
{ "en": "Abdominal pain is a common symptom in outpatients that involve in many organs and is caused by several factors. The most inaccuracy in abdominal pain triage were reported in the Thammasat University Hospital database. This preliminary study was a quasi-experimental research which had the purpose to examine the effects of a clinical practice guideline on abdominal pain triage in outpatients. The purposive samples were 6 triage nurses. The research instruments used in this study consisted of the clinical practice guideline and an instruction manual for abdominal pain triage in outpatients, which were developed by using the IOWA model and examined by 3 experts and a satisfaction questionnaire. The reliability of the guideline was confirmed with an inter-rater reliability coefficient of 1. The preliminary data were analyzed using descriptive statistics, chi-squared, and Fisher’s exact test. The result revealed that triage nurses had high satisfaction in overall of using such guideline. The guideline consist of clear steps of triage is helpful, convenience and improve the nurse confidence in triage accuracy. Anyway, this study show no significant difference in statistic (X2 = .608, p = .944). comparing before and after using the guideline. Recommendation; Triage nurse may use clinical guideline in abdominal pain triage for outpatient as result of this evidence base to improve their nursing care provision. The use of this guideline shall be continued further study and development.", "th": "อาการปวดท้องเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยที่ทำให้ผู้ป่วยมาตรวจรักษา ซึ่งอาการปวดท้องนี้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ และ มีการคัดกรองผิดแผนกมากที่สุดของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการคัดกรองกลุ่มอาการ ปวดท้องในผู้ป่วยนอกในระยะเบื้องต้น สำหรับพยาบาลแผนกงานการพยาบาลคัดกรองและรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลแผนกงานการพยาบาลคัดกรองและรับผู้ป่วยใน 6 ราย ที่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบ ด้วยแนวปฏิบัติทางคลินิกในการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้องในผู้ป่วยนอกที่พัฒนาตาม แนวการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของไอโอวา 7 ขั้นตอน แบบฟอร์มการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้อง และคู่มือประกอบการคัด กรองกลุ่มอาการปวดท้องในผู้ป่วยนอก โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ สัมประสิทธิ์อินเตอร์เรตเตอร์ ได้เท่ากับ 1 ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นในการประเมินผลของการใช้แนวปฏิบัติทาง คลินิกในการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้องในผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการใช้แนว ปฏิบัติโดยใช้สถิติไคล์สแควร์ และสถิติ Fisher’s exact test ในการศึกษาเบื้องต้นนี้พบว่า ภายหลังที่พยาบาลคัดกรองใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้อง พยาบาล มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก และเห็นว่าแนวปฏิบัติมีประโยชน์ต่อคุณภาพพยาบาลและความชัดเจนของแนวทางปฏิบัติ ในระดับมากที่สุด และมีความสะดวกในการใช้ระดับมาก แนวปฏิบัติการคัดกรองฯนี้มีแนวทางชัดเจนทำให้พยาบาลมั่นใจ และคัดกรองถูกต้องสูงกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติ และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความถูกต้องในการคัดกรอง ไม่พบว่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = .608, p = .944) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย พยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัติการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้องซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ นี้ไปใช้ในการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้องในผู้ป่วยนอก และควรทำการการศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัตินี้ต่อไป" }
{ "en": "The quasi experimental research with two group pretest – posttest design aimed to study the effect of self-efficacy promoting program on fear of fall in postoperative total hip replacement older persons. The participants consisted of both male and female older persons admitted in orthopedic ward, Rajavithi hospital. The purpusesive sampling consisted of 44 older persons and random assignment in to control and experiment groups with similar characteristics in terms of age, gender and level of fear of fall. The experimental group underwent a self-efficacy promoting program and control group received conventional care. The self-efficacy promoting program was performed once a week for 4 weeks. The instruments were Self-efficacy promoting program, demographic questionnaire, Mini-Mental State Examination-Thai version 2002, and Fear of fall scale. The reliability of Fall Efficacy Scale, Thai Fall Efficacy Scale-international and Self-efficacy questionnaire were .81, .84 and .87 respectively. The data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and t-test. The significant difference was set at the .05 level. The research results were summarized as follows participants in experiment group after participating in self-efficacy promoting program had statistically significant lower fear of fall than before participating the program. And participants in experiment groups who participated in self-efficacy promoting program had statistically significant lower fear of fall than those who received conventional care.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นกระดูกหักจากการพลัดตกหกล้มที่เข้ารับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลราชวิถี ที่มีความกลัวการหกล้มเล็กน้อยถึงมากหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อ สะโพกเทียม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 44 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้าน เพศ อายุ ระดับความกลัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบทดสอบสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษา ไทย แบบสอบถามความกลัวการหกล้ม (FES) แบบประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย (Thai FES - I) และแบบสอบถามการ รับรู้สมรรถนะแห่งตน ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สถิติ Cronbach’s Alpha โดยใช้วิธี Test-retest แบบสอบถามความกลัวการ หกล้ม (FES) แบบประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย (Thai FES - I) และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีค่าความ เที่ยงเท่ากับ .81 , .84 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าทีโดย กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความกลัวการหกล้ม หลังผ่าตัดน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและผู้สูงอายุที่ได้รับการพยาบาลตามโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนมีความกลัวการหกล้มหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of an empowerment program on amphetamine use disorder patients. The sample consisted of 60 males aged between 20-59 years in the Princess Mother National Institute for Drug Abuse Treatment (PMNIDAT) in Thailand. They were randomly assigned to either the experimental or control group (n = 30 in each group). The experimental group received the empowerment program for 5 weeks, 90-120 minutes per session, twice a week consecutively. The participants in the control group received routine care from the ward. Personal information forms were used to collect the data. The participants’ self-control scores were measured using a self-control schedule developed from Rosenbaum’s self-control schedule before and after the empowerment program. Descriptive statistics were used to represent the personal information about the participants; a dependent t-test was used to compare the mean of the self-control scores before and after the intervention in with each group; and an independent t-test was used to examine the mean differences in the self-control scores between the experimental and control groups. The study found that 1) after receiving the empowerment program, there was a significant increase in the mean of the self-control scores (M = 169.40, SD = 18.16) (t = 8.18, p<.001) and 2) there was a significant difference in the mean differences in the self-control scores in the experimental group ( = 10.33, SD = 6.92) and control group ( = 1.83, SD = 7.43) between the pretest and posttest interventions for both groups (t = 4.58, p<.001). The findings suggest the beneficial effects of such an empowerment program in increasing the self-control of amphetamine use disorder patients in terms of rehabilitation.", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการควบคุมตนเองของผู้เสพติดแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยในขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพเพศชาย ที่ มี อายุ ตั้งแต่ 20-59 ปี ในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้เสพติด แอมเฟตามีน จาก 2 หอผู้ป่วย จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การเสริมสร้างพลังอำนาจ ซึ่งประกอบด้วย 10 กิจกรรม ใช้เวลากิจกรรมละ 90-120 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามการควบคุมตนเองของโรเซนบัม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติพรรณนาแจกแจงความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการควบคุม ตนเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยสถิติที ชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent-test) และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยคะแนนการควบคุมตนเองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติที ชนิดเป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการศึกษาที่พบว่า 1) ภายหลังการให้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้เสพติดแอมเฟตามีนมีค่าเฉลี่ยคะแนนการ ควบคุมตนเอง (M = 169.40, SD = 18.16) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ (M = 159.07, SD = 21.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.18, p<.001) และ 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนการควบคุมตนเองระหว่างก่อนและหลังได้รับ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มทดลอง ( = 10.33, SD = 6.92) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ( = 1.83, SD = 7.43) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.58, p<.001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีประสิทธิผลในการช่วยเพิ่ม การควบคุมตนเองในผู้เสพแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดในขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพได" }
{ "en": "This research was a quasi-experiment. The purpose of this research was to compare knowledge and skill in breastfeeding, self- efficacy, and self-esteem in breastfeeding in the First-time teenage postpartum mothers between experimental group and control group. The samples were selected by purposive sampling composed of the 60 First-time teenage postpartum mothers at postpartum ward in the Ledsin Hospital, that separated into two groups (experimental group and control group). The research tool was a test of knowledge in breastfeeding, performance form during breastfeeding, and questionnaire including personal data, selfefficacy, and self-esteem in breastfeeding. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. The results indicated that after experiment the First-time teenage postpartum mothers who used the nursing model integrated with family support and empowerment on breastfeeding have knowledge, skill and self- efficacy in breastfeeding which were statistically higher than the control group at p", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ การรับรู้สมรรถนะของตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก ที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเลิดสิน จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบประเมินทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูล ส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะของตนเอง และความรู้สึกมีคุณค่าในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกที่ใช้รูปแบบการพยาบาลที่บูรณาการสนับสนุน ของครอบครัวกับการเสริมพลังอำนาจต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความรู้ ทักษะ และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความรู้สึกมีคุณค่าในการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าผลการใช้รูปแบบการพยาบาลที่บูรณาการสนับสนุนของครอบครัวกับการเสริมพลัง อำนาจต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีความรู้ ความเข้าใจ และเชื่อมั่นในความสามารถในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่" }
{ "en": "This descriptive correlation research aimed to examine the relationships between knowledge, attitude, perceived self-efficacy, and capabilities for basic life support among cardiovascular disease caregivers. A total of 110 cardiovascular disease caregiversat out-patient cardiovascular department were selected using stratified sampling. Data were collected using a questionnaire including the basic life supportknowledge, the attitude towards basic life support, the perceived self-efficacy, and the capabilities to basic life support among cardiovascular disease caregivers. Spearman correlation coefficient was used to analyze the data. The results showed thatthe basic life support knowledge was significantly positively correlated with the attitude towards basic life support, the perceived self-efficacy, and the capabilities to basic life support. In addition, the attitude towards basic life support and the perceived self-efficacy were significantly positively associated with the capabilities to basic life support among cardiovascular disease caregivers. The findings indicated that nurses should provide information and promote positive attitude and self-efficacy towards basic life support among cardiovascular disease caregivers in order to be able to save the life of patients with cardiac arrest in time.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความสามารถในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วยแบบวัดความรู้ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน แบบวัดทัศนคติในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และแบบวัดความสามารถในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยโรค หัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติในการ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และความสามารถในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ในขณะที่ ทัศนคติในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถ ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน รวมทั้งส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกและ สมรรถนะในตนเองของญาติผู้ดูแลเพื่อที่จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดขณะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างทัน ท่วงที" }
{ "en": "The purposes of this research were to explore the intention to stay and to examine the relationships between personal factors, work-life balance, organizational support, and intention to stay of experienced nurses, private hospitals accredited by joint commission international standard, Bangkok metropolis. The sample were 230 experienced nurses over 40 years of age and over 10 years of work experience in private hospitals accredited by joint commission international standard, Bangkok metropolis, selected by simple random sampling technique. Research instruments were personal factors, work-life balance, organizational support, and intention to stay of experienced nurse questionnaires which were confirmed content validity by experts. Cronbach’s alpha coefficient was .90 of work-life balance and .93 of organizational support questionnaires. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Eta Coefficient and Chi-square. The major findings were as follows: 1. Intention to stay of experienced nurses in private hospitals accredited by joint commission international standard, Bangkok metropolis; most of them intend to stay without turnover intention or early retirement within 1-3 years was 75.65 percent and turnover intention 24.35 percent. 2. There were significant relationships between salary level, work-life balance, organizational support and intention to stay of experienced nurses at the moderate level (Eta =.350,.681 , and .624respectively)There were significant relationships between duration of work, hometown and intention to stay of experienced nurses at the low level (Eta =.208and r = .089 respectively)", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจคงอยู่ในงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สมดุลชีวิตกับ การทำงาน การสนับสนุนจากองค์การ กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรอง โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์ ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากลกรุงเทพมหานคร จำนวน 230 คน โดยใช้สูตรYamane (1973) และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วน บุคคล แบบสอบถามสมดุลชีวิตกับการทำงาน แบบสอบถามการสนับสนุนจากองค์การ และแบบสอบถามความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ความเที่ยงโดยสูตร สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามสมดุลชีวิตกับการทำงานกับการสนับสนุนจากองค์การเท่ากับ .90 และ .93 ตาม ลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติสัมประสิทธิ์อีต้า (Eta Co¬efficient) และสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับ สากลกรุงเทพมหานครมีความตั้งใจที่จะทำงานในองค์การนี้โดยไม่คิดที่จะลาออกหรือเกษียณอายุก่อนก ำหนด ภายในระยะ 1–3 ปี ร้อยละ75.65 และมีความตั้งใจลาออกจากองค์การร้อยละ 24.35 2. 2. ระดับเงินเดือน (Eta = .350) สมดุลชีวิตกับการทำงาน (Eta = .681) และการสนับสนุนจากองค์การ (Eta = .624) มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน (Eta = .208) และภูมิลำเนา (r = .089) มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในระดับระดับต่ำ กับความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาล ผู้มีประสบการณ์" }
{ "en": "The purpose of this descriptive research was to study the unit costs and activity-based costing of nursing care for palliative care in cancer patients Nang Rong Hospital, Buriram Province. Nursing activities were categorized based on palliative care standards. The study was conducted by collecting retrospective data for the 2017 fiscal year examine activity-based costing cancer patients in palliative care. Data on nursing activity-based cost analysis prospective study monitored the analysis of nursing activities; data were collected from 15 March 2018 to 2 June 2018.The sample was selected purposive sampling composed of 10 staff nurses. The following instrumentations were used in this study: 1) Record form on analysis of unit costs 2) Record form on analysis of activity-based costing. For content validity, the CVI was 0.99 and reliability was 0.9. Descriptive statistics were used for data analysis. Nursing activities were categorized based on the research findings can be summarized as follows:1. The palliative care unit, Nang Rong Hospital, Buriram Province was 2,037,037.02 baht. The total direct cost was based on the number of patients admitted to palliative care unit 124 patients. The total cost was 16,427.77 baht per case, including labor costs as the highest at 13,163.73 baht, followed by material costs at 2,206.21 baht and capital costs at 1,057.79 baht. 2. In terms of activity-based costs, the palliative care nursing cost was 14,623.92 baht. The highest direct nursing activity cost was 9,285.20 baht, while the indirect nursing activity-based cost was 2,491.50 baht, the record of nursing activity-based cost was 1,409.88 baht and the lowest activity-based cost was activities related to the unit cost of labor at 1,077.34 baht.", "th": "การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ต้นทุนต่อหน่วย 2) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง ระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยเป็นการเก็บข้อมูลย้อน หลังปีงบประมาณ 2560 และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลโดยจำแนกตามกิจกรรมพยาบาลตามมาตรฐานการดูแลแบบประคับ ประคอง เป็นการศึกษาไปข้างหน้า ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2561 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 7 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 3 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือมี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วย ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการ พยาบาล โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงของเนื้อหาได้ค่า CVI 0.99 ค่าความเที่ยง 0.9และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย สรุปผลการศึกษาคือ 1. ต้นทุนต่อหน่วย หอผู้ป่วยดูแลประคับประคอง โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์พบว่าในปีงบประมาณ 2560 ต้นทุนรวมทั้งสิ้น 2,037,037.02 บาท คิดเป็นต้นทุนต่อหน่วย 16,427.73 บาท โดยมีต้นทุนค่าแรงมากที่สุด 13,163.73 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 2,206.21 บาทและต้นทุนค่าลงทุน 1,057.79 บาท 2. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง จำแนก ตามประเภทกิจกรรมการพยาบาล พบว่า มีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมด เท่ากับ 16,486.77 บาทต่อราย โดยต้นทุนกิจกรรม การพยาบาลทางตรงมากที่สุด 9,285.20 บาท ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม 2,491.50 บาท ต้นทุนกิจกรรมการเขียนบันทึก ต่างๆ 1,409.88 บาท ส่วนต้นทุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานน้อยที่สุด 1,077.34 บาท" }
{ "en": "This predictive correlation research aimed to study (1) antibiotic use behavior (2) factors predicting to predisposing, enabling, and reinforcing factors towards antibiotic use behaviors among village health volunteer (VHV) in Phompiram district, Phitsanulok province. The samples were 125 of VHVs. The samples were selected by proportional stratified random sampling. The questionnaire was used for data collection including 6 parts as follows: demographic data, knowledge about antibiotic, attitude towards antibiotic, enabling factors, reinforcing factors, and antibiotic use behavior. The reliability was acceptable with the range of .70 to .88. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression with the significance level of p-value < .05. The results revealed that (1) the mean score for antibiotic use behavior was categorized as moderate level ( = 22.27; SD. = 5.25) and (2) the predicting factors were reinforcing factors, age, and attitude regarding antibiotic use which accounted for 45.6% of predicting antibiotic use behavior among VHVs. The recommendations were to inform public health personnel in facilitating the reinforcing factors regarding antibiotic use behavior by providing information, improving attitude towards antibiotic smart use, and emphasis on knowledge regarding antibiotic use on each age group to achieve the proper use of antibiotic in VHVs.", "th": "การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ (2) ทำนายของปัจจัยนำปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอพรหมพิราม จังหวัด พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 125 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและคำนวณตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ทัศนคติในการใช้ยา ปฏิชีวนะ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และ พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่มีค่าความเที่ยง อยู่ระหว่าง .70 ถึง .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงบรรยายและการถดถอยเชิงพหุคูณแบบหลายขั้นตอน กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 22.27; SD. = 5.25) และ (2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ปัจจัยเสริมในการใช้ยาปฏิชีวนะ อายุ และ ทัศนคติในการใช้ยาปฏิชีวนะ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการพฤติกรรมการ ใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ร้อยละ 45.6 ผลการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะให้บุคลาการสาธารณสุข ส่งเสริมปัจจัย เสริมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลด้วยการให้ข้อมูล สร้างทัศนคติที่ถูกต้อง และควรมีการเน้นย้ำความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ปฏิชีวนะให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในแต่ละกลุ่มอายุ อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ถูกต้องในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข" }
{ "en": "This study was a quasi-experimental study. The objectives of the study were to compare depression in patient with major depressive disorder before and after family based interpersonal psychotherapy and between group of patient who receive family base interpersonal psychotherapy and normal therapy. Sample a total of 40 Participants age 20-59 years old are patient who were diagnosed with major depressive disorder and receive treatment as Out Patient at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Instruments used were 1) Personal Information Inquiries 2) Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD-17) 3) Thai interpersonal Questionnaire Result 1. The statification on depression scores of depressed patients after family-based interpersonal psychotherapy were significantly lower than before the program at .05 level 2. The statification on depression scores of depressed patients after family-based interpersonal psychotherapy and normal treatment were significant difference at the .05 level", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและ หลังการทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบครอบครัวเป็นฐานและเพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มที่ได้รับการทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบครอบครัวเป็นฐานกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยอายุ 20 -59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า รักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD-17) 3) เครื่องมือกำกับการทดลองคือ แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Thai interpersonal Questionnaire) ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังการทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบครอบครัวเป็นฐาน ลดลงจากก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ .05 2. คะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับการทำจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบครอบครัว เป็นฐานแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการรักษายาบาลปกติอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ .05" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of sleep behavioral modification program on insomnia in heart failure patients. Subjects were 40 heart failure patients at the cardiology unit and medical unit of Phramongkutklao Hospital. They were selected by a convenience sampling. The subjects were equally divided into a control group and an experimental group. They were matched in terms of NYHA functional classification and insomnia level. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the sleep behavioral modification program comprised of sleep hygiene education, rule of behavioral treatment (sleep restriction and stimulus control) and patients followed sleep schedule. Data collection instruments were the Insomnia Severity Index. The instruments were tested for reliability yielding Cronbach’s alpha coefficients 0.87. The statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, and t-test. The research findings were as follows: Post-test score mean of insomnia in an experimental group was significantly lower than those of pre-test score at the .05 level. Post-test score mean of insomnia in the experimental group was significantly lower than those of the control group at the .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่มารับการรักษา ณ ห้องตรวจโรคหัวใจ และห้องตรวจ โรคอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนที่ ประกอบด้วยการให้ความรู้ด้านสุขวิทยาการนอนหลับ หลักการปรับพฤติกรรมการนอนหลับ (การจำกัดการนอนและการควบคุมสิ่ง เร้า) และให้ผู้ป่วยนำตารางการนอนหลับไปปฏิบัติที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับ มีค่า สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยหัวใจ ล้มเหลวในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอาการนอนไม่หลับภายหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ คะแนนเฉลี่ยอาการนอนไม่หลับภายหลังการทดลองของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "The purpose of this descriptive research was to study of professional nurse’s roles in sub-district health promotion hospital by using Delphi technique. Participants were 18 experts. The Delphi technique consisted of 3 steps. Step 1, all experts were asked to described about the professional nurse’s roles in sub-district health promotion hospital. Step 2, the data were analyzed by using content analysis to develop a rating scale questionnaire. All items in the questionnaire were ranked the level of professional nurse’s roles by a prior panel of experts. In step 3, the items were analyzed by using median and interquartile range to develop a new version of questionnaire. The new questionnaire was sent to previous experts for confirming. Ranking items were analyzed by using median and interquartile again to summarize the study. The results of the study were presented that the professional nurse’s roles in sub-district health promotionhospital consisted of 4 components as follow 1) The role of professional practice 15 items 2) The role of health promotion 7 items 3) The role of community health manager and coordinator 9 items, and 4) The role of primary nursing quality improvement 8 items. The primary care system and the recently national healthcare policy in Thailand were changed. The registered nurse roles in will be important roles to improved health population and support with the policy changed.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์ เกี่ยวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูล ที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัยผลการวิจัยพบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วยบทบาท 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 15 บทบาทย่อย 2) บทบาท ผู้สร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 บทบาทย่อย 3) บทบาทด้านผู้จัดการ และประสานงานสุขภาพชุมชน จำนวน 9 บทบาทย่อย และ 4) บทบาทด้านผู้พัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับปฐมภูมิ จำนวน 8 บทบาทย่อย จากการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในปัจจุบัน บทบาทเหล่านี้ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ให้การดูแลประชาชนได้อย่างครอบคลุมทั้งพื้นที่ และครบถ้วนตามมาตรฐาน ในการจัดหน่วยบริการของนโยบายทางด้านสาธารณสุข" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental research were to compare quality of life in persons with schizophrenia’s caregivers before and after received the group social support program, and to compare quality of life in persons with schizophrenia’s caregivers who received the group social support program and those who received regular nursing care. Research sample were 39 caregivers of persons with schizophrenia who met the inclusion criteria from outpatient department, Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital. They were matched-pairs by family income and health status and then randomly assigned into experimental group with 19 subjects and control group with 20 subjects. Research instruments were the group social support program, schizophrenia caregiver quality of life questionnaire, and social support scale. All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of the two latter instruments were reported by using Cronbach’s Alpha coefficient as of 0.79 and 0.80 respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. Major findings were as follows: the mean score of quality of life in persons with schizophrenia’s caregivers after received the group social support program was significantly higher than that before, at the .05 level; the mean score of quality of life in persons with schizophrenia’s caregivers who received the group social support program were significantly higher than those who received regular nursing care, at the .05 level. Therefore, the program developed by this research can improve the quality of life in caregivers of persons with schizophrenia. It can be used as a guideline for the development of nursing service models, focusing on helping caregivers of persons with schizophrenia in the family to improve the quality of life of caregivers. It will help to care for persons with schizophrenia effectively.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 39 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่พาผู้ป่วยจิตเภทมารับบริการหรือมารับยาแทนผู้ป่วย ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะใกล้เคียงกันด้วยรายได้ของครอบครัวและภาวะสุขภาพ ใช้การสุ่มอย่างง่าย แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 19 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการ สนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วย จิตเภท เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือสองชุดหลังมีค่าความ เที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.79 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบ กลุ่มสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยนี้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ และสามารถ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลโดยเน้นการช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตของผู้ดูแล อันจะช่วยให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ" }
{ "en": "The purpose of this pretest-posttest with a comparison group research design were to compare: 1) mean scores on alcohol consumption of schizophrenic patients with alcohol drinking problem before and after received The family motivational interviewing program (FMI), and 2) mean scores on alcohol consumption of schizophrenic patients with alcohol drinking problem who received the FMI and those who received regular nursing care. The sample consisted of 40 schizophrenic patients with alcohol drinking problem who met the inclusion criteria and received services at the inpatient department. They were matched-pairs with scores on alcohol drinking problem and then randomly assigned to either experimental or control group, 20 subject in each group. The experimental group received the FMI and the control groups received regular nursing care. Research instruments comprised of: 1) FMI 2) demographic questionnaire, 3) the alcohol consumption assessment 4) the stage of change readiness and treatment eagerness scale 5) Alcohol use disorders identification test and 6) Brief Psychiatric Rating Scale. The 1st and 4th instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 3rd instrument was reported by Cronbach’s Alpha coeeficient as of .86. Data were analyzed using descriptive statistics, dependent and independent t-tests.", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) คะแนน เฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุราที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัว (Family Motivation Interviewing; FMI)ในระยะก่อนและหลังการทดลอง และ 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ มีปัญหาการดื่มสุราที่ได้รับ FMI กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในระยะก่อน และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิต เภทที่มีปัญหาการดื่มสุราจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กำหนด จับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วยระดับปัญหาการดื่มสุรา แล้ว สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับ FMI ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจโดยครอบครัว (FMI) 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบ ประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา 4) แบบวัดขั้นตอนความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในการรักษา 5) แบบประเมิน ปัญหาการดื่มสุรา 6) แบบประเมินอาการทางจิต เครื่องมือชุดที่ 1 และ 3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ ทดสอบที (t-test)" }
{ "en": "The study design is quasi-experimental with a pre-posttest control group examining the effect of using the humanitude concept by family caregivers care on depression in older persons with strokes. The humanitude concept 21 was applied to the development of the intervention. The participants were 44 family caregivers of older persons and older persons with post stroke depression who met the inclusion criteria. They were randomly assigned into one experimental group with 22 subjects and a control group with 22 subjects, matched by sex, age, Barthel ADL Index, depression level and relationship of the family caregiver to the older person. The control group received routine nursing care. The experimental group receiving the humanitude concept by family caregiver care was tested for content validity by the experts. The data collecting instrument was the Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) with the reliability of 0.93 and the data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test. The results showed depression among older persons with strokes after participating using the humanitude concept by family caregiver care were significantly lower than before using the humanitude concept by family caregiver care and lower than the control group, at p .05 level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังได้รับการดูแล ตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว และเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เป็นการวิจัยกึ่ง ทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ดูแลในครอบครัวที่เป็น ผู้ดูแลหลัก โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 44 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คู่ กลุ่มควบคุม 22 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ การดู แลตามแนวคิดฮิวแมนนิจู ดโดยผู้ดูแลในครอบครั วที่ผู้วิ จัยสร้างขึ้ นตาม แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2) เครื่องมือเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภาย หลังได้รับการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดฯ ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดฯ และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการฝึกทักษะการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลผู้สูง อายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะซึมเศร้า" }
{ "en": "This research aimed to investigate the predictive factors on the caregiver’s readiness of dependent older persons. Meleis’s Transitional Theory was guided as the conceptual framework of this descriptive research. The purposive sample composed of 117 caregivers of dependent older persons who were family members and took the main responsibility of continually taking care of the patients. The instruments were the demographic questionnaire, the attitude of caregivers toward older persons caregiving, the knowledge of care, the social support, the role strain, and the caregiver’s readiness. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation, and stepwise multiple regression. The findings revealed that caregivers of dependent older persons had a moderate level of readiness. The analysis of relationships between the attitude of caregivers toward older persons and the knowledge of care of caregivers were significantly positive correlated with caregiver’s readiness for dependent older persons at the level of 0.05 (r = .256, r= .348 respectively). The role strain as caregivers was significantly negative correlated with caregiver’s readiness for dependent older persons at the level of 0.05 (r = -.447). However, caregivers’ socioeconomic and the social support were not correlated with the readiness of caregivers of dependent older persons. Furthermore, the caregiver’s role strain and the attitude of caregivers toward older persons were significantly predictive factors for caregiver’s readiness of dependent older persons at the level of 0.05 (β = -.429, β = .220 respectively). These three variables could predict 24.8% of the variance of caregiver’s readiness. The findings suggest that the multidisciplinary team should provide support for the caregivers of dependent older persons for releasing their tensions as being a caregiver and other family members’ participation in taking care of dependent older persons should be encouraged, in order to the primary caregivers could have time to take care of themselves.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะ เปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน โดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านของ Meleis เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ เป็นสมาชิกภายในครอบครัวของผู้สูงอายุจำนวน 117 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติของผู้ดูแลต่อผู้สูงอายุ แบบสอบถามความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้ ดูแล แบบสอบถามความเครียดในบทบาทผู้ดูแลและแบบสอบถามความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลมีความพร้อมในระดับปานกลาง ปัจจัยทัศนคติของผู้ดูแลและความรู้ในการดูแลมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .256, r = .348 ตามลำดับ) ความเครียดในบทบาทมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.447) ส่วนสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมและการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแล ผู้สูงอายุ สำหรับความเครียดในบทบาทผู้ดูแลและทัศนคติของผู้ดูแลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูง อายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (β = -.429, β = .220 ตามลำดับ) และสามารถร่วมทำนายความพร้อมของผู้ดูแลในการ ดูแลผู้สูงอายุได้ร้อยละ 24.8 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ทีมสหสาขาวิชาชีพควรให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อช่วยลดความเครียด ในบทบาทผู้ดูแล ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลมากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลหลักได้มีเวลาส่วน ตัวในการดูแลตนเอง" }
{ "en": "This quasi-experimental research used the One-Group Time Series Design. The objective to compare the agitation behaviors of older people with dementia before and after being provided humanitude care by the caregiver. The study on older people with dementia and primary caregivers totaled 16 pairs selected by purposive sampling.The method involved the provision of knowledge and practice about humamitude care (Yves Gineste & Rosettte Marescotti) to primary caregivers. The Humanitude care involves eye contact, speech, touch and verticality. The research instruments comprised: 1) data collection instruments covering personal information, mini-Mental State Examination (MMSE Thai-2002) and Cohen-Mansfield Agitation inventory (CMAI) 2) experimental instruments: Program of Humanitude Care Activities by Primary Caregivers, Humanitude Knowledge Test, Humanitude Care Assessment and a telephone follow-up form. Analysis was conducted using one-way repeated measure ANOVA and pairwise comparison method were used to assess this experiment. The result shows that the mean or average of agitative behavior after providing humanitude care knowledge and procedure decreased significantly from the first time measured at the level of p < 0.1. and it also continuously decreased significantly during 1, 2, 3, 4 and 5 weeks at the level of p < 0.1.", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ เพื่อศึกษาผลของการดูแลแบบฮิวแมนนิ จูดโดยผู้ดูแลต่อพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม ก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลัก และผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อมที่มีพฤติกรรมกระวนกระวายจำนวน 16 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยผู้วิจัยให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดของ Yves Gineste & Rosettte Marescotti แก่ผู้ดูแลหลัก ได้แก่ การสบตา การพูด การสัมผัส และการจัดท่าในแนวตั้งตรง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเป็นผู้ประเมิน ได้แก่ แบบบันทึก ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินพฤติกรรมกระวนกระวาย 2) เครื่องมือการทดลอง ได้แก่ โปรแกรม การดูแลแบบฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแล แบบวัดความรู้การดูแลแบบฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแล แบบประเมินการดูแลตามแบบฮิวแมนนิจูด โดยผู้ดูแล และแบบติดตามทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณา สถิติการหาค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และ เปรี ยบเที ยบเป็ นรายคู่ผลการวิ จัย พบว่าค่าเฉลี่ ยคะแนนพฤติ กรรมกระวนกระวายภายหลังเสร็จสิ้ นกิจกรรมลดลงกว่าก่ อนเข้าร่ วม กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมกระวนกระวายลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังเข้าร่วมกิจกรรม สัปดาห์ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01" }
{ "en": "The purposes of quasi-experimental research were: 1) to compare depressive symptoms in firstepisode schizophrenic patients before and after received family support program, and 2) to compare depressive symptoms in first - episode schizophrenic patients who received family support program and those who received regular nursing care. The sample consisted of 40 first - episode schizophrenic patients, receiving services in out-patient department, Galya Rajanagarindra Institute. They were matched-pair by patients’ sex and family income, and, then equally randomly assigned into an experimental group and a control groups. The experimental group received the family support program, whereas the control group received regular nursing care. Research instruments included 1) a nurses’ of the family support program, depression assessment in schizophrenic patients, social support scale, test of caregivers’ knowledge about schizophrenic care. All instruments were content validated by a panel of 5 professional experts. The Cronbach’s alpha coefficient reliability of the depression assessment was .93 Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The research conclusion were:1) Depressive symptoms in first- episode schizophrenic patients after receiving family support program was significantly lower than that before the experiment, at the .05 level. 2) Depressive symptoms in first- episode schizophrenic patients after receiving family support program was significantly lower than those who received regular nursing care, at the .05 level.", "th": "การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่ อเปรียบเที ยบ 1) อาการ ซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรก ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว 2) อาการซึมเศร้าใน ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรกระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาล ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรก ที่เข้ารับบริการแผนกหอผู้ป่วยนอกสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 40 คู่ ได้รับการจับคู่ผู้ป่วยจิตเภทด้วยเพศ และจับคู่ครอบครัวผู้ป่วยด้วยระยะเวลา การดูแลผู้ป่วย และจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว แบบประเมิน เกี่ยวกับแหล่งสนับสนุนทางสังคม แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติ และแบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วย จิตเภท เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค ของแบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ ทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรกหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจาก ครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิต ครั้งแรกที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิ ติที่ระดับ .05" }
{ "en": "This Descriptive research was to analyze unit cost and nursing activity base costing of care manager for dependent elderly based on long term care system, Dankhuntod hospital. The research population comprised of 2 groups; 1) 14 Healthcare staff, and 2) 35 in dependence elderly Data were collected from February 1, 2018 to March 31, 2018. Two instruments were the Instrument of unit cost analysis and Instrument of Activity Based Costing analysis. All instruments were tested for CVI was 0.92-1.00 and reliability was 0.83. Data collection from observing nursing activities of nurses care manager. Data were analyzed by frequency, percentage and mean. Results: 1) The average unit cost of dependent elderly was 4,903.69 baht., 2) The unit cost of dependent elderly were classified into 4 group; 1) bed ridden group 4 (ADL was 0-4 and/or in the end of life) was 7,758.06 baht, 2) bed ridden group 3 (ADL was 0-4 and severe illness)was 6,147.52 baht, 3) partially dependence group 2 (ADL was 5-11 and Dementia) was 3,289.61 baht and 4) partially dependence group 1 (ADL was 5-11) was 2,792.00 baht., 3) The average nursing activity base costing of care manager for dependent elderly in long term care system was 700.81 baht. and 4) The average nursing activity base costing of care manager for dependent elderly were classified base on depending into 4 group; 1) bed ridden group 4 was 845.57 baht, 2) bed ridden group 3 was 800.53 baht, 3) partially dependence group 2 was 618.43 baht and4) partially dependence group 1 was 538.27 baht.", "th": "การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยใช้ระบบต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost) และระบบต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing System: ABC) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางสุขภาพ 14 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล เครื่องมือทั้ง 2 ส่วน ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาและความเที่ยง ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 - 1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา ศึกษาตั้งแต่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ตามแนวทางปฏิบัติของพยาบาลผู้จัดการการดูแล 8 กิจกรรม จนผู้ดูแลสามารถดูแลหรือผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ 1) ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 4,903.69 บาท 2) ต้นทุนต่อหน่วยจำแนกตามกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มติดเตียงกลุ่มที่ 4 มีค่าต้นทุน 7,758.06 บาท, กลุ่มติดเตียงที่ 3 มีค่าต้นทุน 6,147.52 บาท, กลุ่มติดบ้านที่ 2 มีค่าต้นทุน 3,289.61 บาท และกลุ่มติด บ้านที่ 1 มีค่าต้นทุน 2,792.00 บาท 3) ค่าเฉลี่ยต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการการดูแล เท่ากับ 700.81 บาท และ 4) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลจำแนกตามกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มติดเตียงที่ 4 มีค่าต้นทุนกิจกรรม 845.57 บาท, กลุ่มติด เตียงที่ 3 มีค่าต้นทุนกิจกรรม 800.53 บาท, กลุ่มติดบ้านที่ 2 มีค่าต้นทุนกิจกรรม 618.43 บาท และกลุ่มติดบ้านที่ 1 มีค่าต้นทุน กิจกรรม 538.27 บาท" }
{ "en": "The purpose of this study was to study the influence of the frequency of visits by relatives, social Interaction, and self-esteem on depression in elderly people in six homes for the elderly in Nakhon Pathom Province. Subjects included of 45 elderly simple randomized from the population. The study tools were: 1) the information record form for the elderly on frequencies of visits by relatives and participation in the activities provided by the home for the elderly. 2) Social interaction scale, 3) the Rosenberg self-esteem scale, 4) Thai Geriatric Depression Scale, and 5) guideline for conversation and interview with the elderly. According to the multiple regression analysis, it was found that only the self-esteem scale had the influence on the elderly’s depression significantly while the beta was -0.34 which can predict the elderly’s depression by 20%. The frequencies of visits by relatives and social interaction did not have the influence on the prediction for depression.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความถี่ในการมาเยี่ยมของญาติ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการ เห็นคุณค่าในตนเองที่มีต่อความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมจำนวน 6 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน ได้โดยการสุ่มอย่างง่ายจากประชากร เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุซึ่งระบุข้อมูลความถี่ การมาเยี่ยมของญาติในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และการเข้าร่วมกิจกรรมที่บ้านพักผู้สูงอายุจัดขึ้น 2) แบบสอบถามการมีปฏิสัมพันธ์ทาง สังคม มีค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซ็นเบิร์ก มีค่าความ เชื่อถือได้ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และ 4) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย มีค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม ทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และ 5) แนวทางในการสนทนาและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่ามีเพียงตัวแปรการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่มีผลต่อความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ อยู่ในบ้านพักผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ค่า b มีค่าเท่ากับ -0.34 ซึ่งสามารถใช้ทำนายความซึมเศร้าของผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 20 ส่วนตัวแปรความถี่ในการมาเยี่ ยมของญาติ และการมี ปฏิสัมพันธ์ทางสั งคม นั้นไม่ พบอิทธิพลในการทำนายตัวแปรความ ซึมเศร้า" }
{ "en": "The purposes of this descriptive predictive study were to examine self-regulation and selected factors predictive from achievement motives, learning Styles and preference – based teaching among nursing students at Eastern Asia University. Simple random sampling was used to recruit 353 nursing students during 2017. Questionnaires were used to collect personal data, learning Styles, achievement motives in learning and self-regulation in learning. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. Their Cronbach’ s alpha coefficients were .83, .80 and .92 respectively. Data were analyzed using descriptive statistic and enter multiple regression. The result was found (1) Self-regulation among nursing students at Eastern Asia University was at appropriate level ( = 4.07, S.D. = 0.38) In addition, achievement motives can explain the variation in self-regulation among nursing students at Eastern Asia University of 52% (R2 = .520, p = .05) The results can be used as a guideline for teaching and learning. The activity is appropriate with learning styles and preference – based teaching for nursing student have achievement motives and selfregulation involves relevant theory, laboratory, and practice was a high level.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณาเชิงทำนาย (Descriptive predictive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การกำกับตนเองในการเรียน และ (2) ปัจจัยคัดสรรในการทำนายการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัย อีสเทริ์นเอเชีย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทริ์นเอเชีย ระดับชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป รูปแบบการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน และการกำกับตนเองในการเรียน มีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคจากแบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ในการเรียน และแบบสอบถามการกำกับตนเองในการเรียนเท่ากับ .83, .80 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบ Enter กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีการกำกับตนเองในการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, SD. = 0.38) และ (2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน สามารถทำนายการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทริ์น เอเชีย ได้ร้อยละ 52 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R2 = .520, p = .05) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักศึกษาทั้งรูป แบบการเรียนรู้ ความชอบต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการกำกับตนเองในการเรียนทั้ง ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยู่ในระดับมาก" }
{ "en": "This study was a quasi-experimental research. Its objectives were 1) to study nursing diagnosis capabilities of professional nurses of a governmental hospital before and after using a program for developing their nursing diagnosis capabilities, and 2) to compare their nursing diagnosis capabilities before and after using the program. The sample comprised 15 nurses who worked for three medical wards of the hospital. They were selected by purposive sampling. There were 2 research tools: 1) the program for developing nursing diagnosis capabilities of professional nurses, and 2) a modified essay question for assessing their nursing diagnosis capabilities. The second tool was done for validity and reliability. It reliability was 0.94. Data were analyzed by mean, standard deviation and Wilcoxon signed ranks test. 14 The research findings were as followed. 1) The overall mean score and the itemized scores which were classified by nursing diagnosis steps, scenario, their age group, and their medical work experiences before using the program were totally at the low level; whereas after applying the program, they were entirely at the high level. 2) Their nursing diagnosis capabilities regarding the overall and the itemized scores with divided by nursing diagnosis steps and scenario after using the program were all significantly higher than before using the program at the level 0.05", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการวินิจฉัย การพยาบาลของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการวินิจฉัยการพยาบาล และ 2) เปรียบ เทียบความสามารถในการวินิจฉัยการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 15 คน ได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด ได้แก่ 1) โปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการวินิจฉัยการพยาบาล และ2) แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์เพื่อประเมินความสามารถใน การวินิจฉัยการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือชุดที่ 2 ผ่านการหาความตรงตามเนื้อหาและหาความเที่ยงของแบบทดสอบ ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ วิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการวินิจฉัยการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพก่อนการใช้โปรแกรมฯโดย รวม และจำแนกตามขั้นตอนของการวินิจฉัยการพยาบาล สถานการณ์ผู้ป่วย กลุ่มอายุ ของพยาบาลวิชาชีพ และประสบการณ์การ พยาบาลด้านอายุรกรรมอยู่ในระดับต่ำทั้งหมด แต่หลังการใช้โปรแกรมฯ อยู่ในระดับดีทั้งหมด 2) ความสามารถในการวินิจฉัยการ พยาบาลของพยาบาลวิชาชีพทั้งโดยรวมและจำแนกตามขั้นตอนของการวินิจฉัยการพยาบาลและสถานการณ์ผู้ป่วย หลังการใช้โปร แกรมฯสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05" }
{ "en": "The purpose of this descriptive study was to examine relationship between factors and result of the nursing license examination, Faculty of Nursing, Eastern Asia University. The sample consisted of 94 nursing students. Data were collected by four self-administered questionnaires including Demographic data form, Behavioral Preparation for exam registration Questionnaire, Learning and Teaching Management Questionnaire, and Knowledge Reviewing Process Questionnaire. Pearson’s product moment correlation was used to explore the relationship between each factors and result of the nursing license examination. Findings revealed that grade point average and behavioral preparation were positive significant relationship with the result of the nursing license examination (r= .58, p<.001, r= .42, p<.005). Knowledge reviewing process, post-test, and learning and teaching management were not relationship with the result of the nursing license examination.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ ของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียประชากรที่ใชในการศึกษาเปนนักศึกษาพยาบาลที่สอบขึ้นทะเบียนฯประจำปี พศ. 2561 จํานวน 94 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนสอบขึ้นทะเบียนฯ แบบสอบถามการจัดการเรียนการสอน และแบบสอบถาม กระบวนการทบทวนความรู้ก่อนสอบ เมื่อตอบแบบสอบถามเสร็จแล้ว ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลก่อนนำไปวิเคราะห์ ทางสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรและพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนสอบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผล การสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลฯ (r= .58, p<.01, r= .42, p<.05) กระบวน การทบทวนความรู้ ผลการสอบ ประมวลความรู้และการจัดการเรียนการสอน ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลฯ" }
{ "en": "The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of individual Supportive psychotherapy on stress in family members of surgical intensive care unit patients. The sample included twenty family members of crisis patients from surgical intensive care unit patients in Ramathibodi hospital who met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned into the experimental and control group, 10 for each group. The experimental group received individual supportive psychotherapy for 5 sessions within 5 days and each session took about 60 to 90 minutes. Whereas those in the control group received only routine nursing care. The stress in family members of crisis patients questionnaire was used to collect data at pretest and posttest. Descriptive statistics, independent t-test and pair t-test were employed for data analysis. Study results revealed that experimental group had significantly lower mean scores of stress at posttest than that of control group (p < .001). In experimental group, there was significantly lower mean score of stress at posttest than pretest (p < .001). From the results, it showed that the individual supportive psychotherapy could reduce stress among family members of surgical intensive care unit patients. Therefore, nurses and related health personnel could apply this individual supportive psychotherapy in order to reduce stress among family members of crisis patients in other intensive care unit patients.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลต่อ ความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกครอบครัว ผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คน สุ่มกลุ่ม ตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับจิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคล จำนวน 5 ครั้ง ใน 5 วัน ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เสร็จสิ้นทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดในระยะหลังการทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ < .001 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีลดลงกว่าในระยะก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า จิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลสามารถลดความเครียดให้กับสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย วิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมได้ พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรประยุกต์รูปแบบของ จิตบำบัดแบบประคับประคองรายบุคคลนี้ไปใช้เพื่อลดความเครียดให้กับสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วยวิกฤตอื่น ๆ ต่อไป" }
{ "en": "The present study aimed to identify the situations of the modified electroconvulsive therapy in psychiatric patients, investigating the relationship and predictive power of the factors predicting adverse effect and complications of the modified electroconvulsive therapy in psychiatric patients. The study sample consisted of 175 psychiatric patients received modified electroconvulsive therapy. Data were collected by using demographic data, history illness, information relating to electrical therapy, adverse effect and complications data of Modified Electroconvulsive Therapy in psychiatric patients. Data were analyzed using descriptive analysis, chi-square test and logistic regression. The study found that most of the patients were 62.3 % male, 29.2 % had body mass index ≥ 25 (overweight or obese). 72 % of psychiatric patients were diagnosed in schizophrenia. 42.3 % had comorbidity. Body Mass Index (BMI) and Clozapine treatment were positively significant correlated with the adverse effects and complications of the modified electroconvulsive therapy at the .05 level. Non-responding to medical treatment was significant correlated with the adverse effects and complications of the modified electroconvulsive therapy at the .01 level. Result found that the BMI level more than 30 can predict the adverse effects and complications of the modified electroconvulsive therapy at the .01 level. The variance expand of this predictive factor was 18.9 Findings from this study could be used as a foundation for nursing planning in reducing the adverse effects and complications from the Modified Electroconvulsive Therapy in psychiatric patients, especially overweight or obese patients receiving clozapine and patients not responding to therapy. Therefore, nurses should develop the nursing practice guidelines for overweight or obese patients treated with modified electroconvulsive therapy to reduce the adverse effects or complications of the modified electroconvulsive therapy.", "th": "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถาณการณ์การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยจิตเวช และ ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายต่ออาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึก ในผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาด้วยไฟฟ้า จำนวน 175 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลของ ผู้ป่วย ด้วยแบบบันทึกข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยไฟฟ้า ข้อมูล อาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา chi-square และวิเคราะห์อำนาจการทำนายด้วยสมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 62.3 เป็นเพศชาย ร้อยละ 29.2 มีดัชนีมวลกาย ≥25 ร้อยละ 72 ได้รับการ วินิจฉัยโรคจิตเภท และร้อยละ 42.3 มีการวินิจฉัยโรคร่วม จากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ดัชนีมวลกาย (BMI) การได้รับยา Clozapine มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน จากการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการศึกษาปัจจัยทำนายพบว่า ดัชนีมวล กายมากกว่า 30 สามารถทำนายเกิดอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความ รู้สึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 18.9 ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพยาบาลเพื่อการลดอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยจิ ตเวชที่ได้รั บการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีดั ชนีมวลกายมากกว่าปกติ ผู้ ป่วย ที่ได้รับยา Clozapine และผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองด้วยการรักษาด้วยยา รวมทั้งนำไปพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มี น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงและภาวะ แทรกซ้อนต่อไป" }
{ "en": "This quasi-experimental research aimed to study the effects of a self-efficacy promotion program and husband participation on the repeated pregnancy prevention behaviors of adolescent mothers. Fifty-two adolescent mothers aged between 15 and 19 years and their husbands participated in the study. Twenty-six couples were assigned to the experimental group and the rest were assigned to the control group. The experimental group participated in the self-efficacy promotion program with their husbands’ participation, receiving routine postpartum health education, while the participants in the control group received routine postpartum health education. The results showed that the participants in the experimental group had a statistically-higher mean score in preventing repeated pregnancy than the participants in the control group (t = -15.07, p < .05).", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของสามี ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่น อายุ 15-19 ปีเป็นคู่มารดาวัยรุ่นและสามี จำนวนทั้งหมด 52 คู่ โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 26 คู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่ง ตนและการมีส่วนร่วมของสามีร่วมกับการการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติการประเมินผลโดย ใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นในระยะ 12 สัปดาห์หลังคลอด ของกลุ่มทดลอง = 32.85 (SD = 1.56) สูงกว่ากลุ่มควบคุม = 25.77 (SD = 1.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -15.07, p<.05)" }
{ "en": "This descriptive research aimed to study self-care behaviors in patients with post kidney transplantation at northeast region. The sample consisted of 120 participants were recruited by using Simple random sampling, aged between 18 to 59 year olds, received treatment at the tertiary care setting, Ministry of Public Health in northeast region, Thailand. The Research instrument included of 2 parts: 1) a demographic information sheet 2) a Self-care behaviors in post kidney transplantation questionnaire was based on Nursing theory of self-care (Orem,2001). Internal consistency, reliability determined by Cronbach’s alpha coefficients was 0.85. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation. The major findings were presented as follows: the mean of Developmental self-care requisites in patients with post kidney transplantation were highest level (Mean = 4.71, SD = 0.53).", "th": "การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังได้รับการปลูกถ่าย ไต อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกปลูกถ่าย ไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บ รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของ โอเรม (2001) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของเครื่องมือ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านพัฒนาการ ในระดับดีมากที่สุด (Mean = 4.71, SD = 0.53)" }
{ "en": "This study aimed to investigate the relationship between engine exhaust exposure and risk of cardiovascular disease among workers in Expressway Authority of Thailand. This research is a cross-sectional survey. Subjects were 177 expressway authority employees. Data were collected by questionnaire, an assessment of risk of cardiovascular disease was conducted by means of using the second derivative finger photo-plethysmogram (SDPTG). Relationships were analyzed using Pearson’s correlation coefficient and Multiple Regression Analysis The findings in this study indicated that SDPTG-AI was -0.51 ± 0.32, and exposure to car exhaust was found to be correlated with the risk of cardiovascular disease among workers in Expressway Authority of Thailand, which was statistically significant (r = 0.132 p-value = 0.035) after control of personal factors and health behaviors. Based on the results of this study, were the suggestions for the agencies to promote healthy behaviors such as weight control, sodium-controlled diet and Working behavior such as the use of personal protective equipment to reduce the risk of cardiovascular disease.", "th": "การศึกษานี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับสัมผัสสารเคมีไอเสียรถยนต์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางกลุ่มตัวอย่างจำนวน 177 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและตรวจประเมินปริมาณการไหลเวียนของหลอดเลือดส่วนปลาย โดยเครื่อง The second derivative finger photo-plethysmogram (SDPTG) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีการไหลเวียนหลอดเลือดส่วนปลาย (SDPTG-AI) เท่ากับ -0.51 0.32 และพบ ว่าการสัมผัสสารเคมีไอเสียรถยนต์มีความสัมพันธ์กับค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานการทางพิเศษแห่ง ประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญ (r=0.132 p-value=0.035) ภายหลังจากควบคุมปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานควรส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การควบคุมน้ำหนัก และการรับประทาน อาหารเค็ม และพฤติกรรมการทำงาน เช่นการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด" }
{ "en": "The present study was based on a quasi-experimental research design aimed at studying the effects of an empowerment program on the psychosocial rehabilitation abilities of caregivers of schizophrenic patients. The sample included 60primary caregivers of schizophrenic patients living in Huai Thap Than District, Sisaket Province,Thailand that met the inclusion criteria and that were randomized into experimentaland control groups, with 30 persons per group. The control group received routine caring activities. The research instruments were the following: 1) personal data; 2) an empowerment program; and 3) a psychosocial rehabilitation ability scale. The empowerment program was validated for content validity by 3 experts and the reliability of the psychosocial scalehad a Cronbach’s alpha coefficient of .98. Personal data were analyzed using descriptive statistics and hypothesis tested using dependent and independent t-test. The findings were as follows: 1) The psychosocial rehabilitation ability mean score of the caregivers after participating in the empowerment program (M = 102.50, SD = 6.06) was higher than before joining the program (M = 53.60, SD = 11.60), with a significant difference (t = 20.68, p< .001). 2) The mean difference between the pre-post psychosocial rehabilitation ability mean scores of the schizophrenic patients’ primary caregivers in the experimental group ( = 48.9, SD = 12.95) was significantly greater than that for the primary caregivers of the individuals that received regular caring activities ( = 0.64, SD = 3.05) (t = 19.87, p< .001). This study shows that an empowerment program of this type can enhance the psychosocial rehabilitation abilities of caregivers of schizophrenic patients and can be an alternative design for activities or programs to empower the caregivers of schizophrenic patient in terms of their psychosocial rehabilitation abilities.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองวัตถุประสงค ์ เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการสร้างเสริมพลังต่อความสามารถในการฟื้นฟู สังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่อาศัย อยู่ในพื้นที่อำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 60 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วสุ่มเข้า กลุ่ม ทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการดำเนิน กลุ่มการสร้างเสริมพลัง ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมการสร้างเสริมพลัง 3) แบบวัด ความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล โปรแกรมการสร้างเสริมพลังได้ผ่านการตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และแบบวัดความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วย จิตเภทของผู้ดูแล มีค่าความเที่ยงสัมประ สิทธ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูล ส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบทีที่ไม่ เป็นอิสระต่อกัน และชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลหลังได้รับโปรแกรมการ สร้างเสริมพลัง (M = 102.50, SD = 6.06) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมพลัง (M = 53.60, SD = 11.60) อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (t = 20.68, p< .001) 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมพลังในกลุ่มทดลอง ( = 48.9, SD = 12.95) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการ ดูแลตามปกติ ( = 0.64, SD = 3.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 19.87, p< .001) จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสร้างเสริมพลังเพิ่มความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของ ผู้ดูแล จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการออกแบบกิจกรรมหรือโปรแกรมเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภท ของผู้ดูแล" }
{ "en": "The implement of modern human resource management in institute of nursing education. The objective of this article is that, presenting the main issues in changing to implementation of modern human resource management. Which is management with human resource by using strategy planning participation and select the related strategy to set human resource management strategy plan. This strategy has achieved to the goal. The implement of modern human resource management is used measuring human resource performance system, modern technology and innovation for operational effciency increasing. This implement takes affect to stakeholders in human resource management and they need to change their management approach and essential performance. However, institute of nursing education management must depends on higher education standards and quality by Offce of the Higher Education Commission and institute of nursing and midwifery certifcation standards by Thailand Nursing and Midwifery Council, causing of these standards, the transition for implement of modern human resource management in institute of nursing education must be considered with those standards as well and there are 2 parts for changing such as: 1) human resource management procedure, consists of management changing with strategy planning, participation in strategy plan setting, measuring and evaluation, potential development, researching, innovation using and employee engagement increasing 2) performance of stakeholders in human resource management, consists of skill, knowledge and technology development, leadership development, skill and knowledge for human resource management with young generation.", "th": "การนำใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ในการบริหารสถาบันการศึกษาพยาบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอประเด็น หลักในการปรับเปลี่ยนสู่การนำการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ที่จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ โดยเข้าไปมีส่วนร่วมกับการกำหนดกลยุทธ์ และนำกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากร มนุษย์ และนำมาปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ มีการใช้ระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการ บริหารและสมรรถนะที่จำเป็น ประกอบกับการบริหารสถาบันการศึกษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานและเกณฑ์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาและสภาการพยาบาล เป็นกรอบในการบริหารงานอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับเปลี่ยนที่ควรดำเนินการตาม มาตรฐานและเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารด้วยแผนกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนกลยุทธ์ การวัดและประเมินผล การพัฒนาศักยภาพ การวิจัย การใช้นวัตกรรม และการเพิ่มความผูกพันให้กับบุคลากร 2) ด้านสมรรถนะของผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ และทักษะการใช้งานเทคโนโลยี การพัฒนาและส่งเสริมภาวะผู้นำ และการพัฒนาความรู้ และ ทักษะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นบุคลากรรุ่นใหม" }
{ "en": "The purpose of this article is to present instruction techniques based on concept that related among curriculum, methods of instruction and evaluation because instruction for effective application to the ability of learners should be associated with the brain function that collect all information in strong long term memory by data consolidation in the form of concept. Therefore, the instructors should emphasize the concept-based instruction that concentrates on the preparation of conceptual framework from all related contents, then incorporate the action learning to enable students to simulate the practicing of conceptual formation by themselves. Meanwhile, the evaluation should encompass the formative evaluation that reflects the development of conceptual cognition by students and the summative evaluation that reflects the result of conceptual cognition created by students themselves. The instruction that assimilates the concept-based learning by students would provide the foundation for the effective cognitive domain required for the 21st Century skills.", "th": "บทความนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความคิดรวบยอดเป็นฐาน ที่เน้นความ เชื่อมโยงระหว่างการวางแผนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตร วิธีการสอน และการประเมินผล ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ช่วยในการเสริมสร้างความคิดรวบยอดให้กับผู้เรียนได้ต่อไป เพราะสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้เรียนจะสามารถ ต่อยอดความรู้ นำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การจัดการเรียนรู้ควรมีความสอดคล้องกับการทำงานของสมอง ที่มี กระบวนการสร้างความจำระยะยาวได้ดี ถ้ามีรับรู้ในรูปแบบของความคิดรวบยอด ดังนั้นผู้สอนจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการ เรียนรู้โดยใช้ความคิดรวบยอดเป็นฐาน (concept based instruction) ที่เน้นถึงการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ที่มีการนำข้อมูล ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการจัดการเรียนรู้นั้น มาสร้างความคิดรวบยอด ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ภายใต้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติ (action learning) ให้ผู้เรียนได้ฝึกสร้างความคิดรวบยอดในเนื้อหานั้น ๆ ด้วยตนเอง และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ทั้งระหว่างการจัดการเรียนรู้ (formative evaluation) ที่สะท้อนถึงการพัฒนาการ สร้างความคิดรวบยอดของผู้เรียน และภายหลังการจัดการเรียนรู้ (summative evaluation) ที่ให้น้ำหนักคะแนนที่ผลของความคิด รวบยอดของผู้เรียน ซึ่งการฝึกให้ผู้เรียนได้สร้างความคิดรวบยอดด้วยตนเอง จะเป็นพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียน มีคุณลักษณะทางด้านพุทธิพิสัย ที่สอดคล้องกับทักษะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป" }
{ "en": "This systematic review sets out to investigate and critically appraise and rate the evidence on different nursing care preventative agents used to prevent oral mucositis in children. Systematic literature searches were made in electronic and manual searches, assessed based on the inclusion and exclusion criteria. A total of 5 articles published were included in this study. The results found that the different preventative regimens/ agents were: one articles on oral self-care protocols intervention, four articles focus on oral care protocol by using different mouth-wash rinsing. All articles involved children ranging in age from 1 to 17 years and reported statistically significant reduction in the rates of occurrence of oral mucositis. Moreover, a standard first step to preventing mucosal injury is the implementation of good oral hygiene and the use of a standardized oral care protocol for all children undergoing chemotherapy. This systematic review suggests that: Oral care protocols should be considered as efficacious, feasible and affordable mean to prevent oral mucositis in children.The evidence on the use of mouthwash to prevent oral mucositis needs further investigation and should not be considered in the prevention of oral mucositis in children.", "th": "การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการให้การดูแลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเยื่อ บุช่องปากอักเสบในเด็ก การศึกษานี้สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลเผยแพร่ในสื่ออิเล็คโทรนิคส์และสื่อสิ่งพิมพ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ได้ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 เรื่อง ผลการทบทวนอย่างเป็นระบบพบว่า มีแนวทางการป้องกัน การเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบจากงานวิจัยโดยการใช้ข้อก ำหนดการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง จำนวน 1 เรื่อง และการดูแล สุขภาพช่องปากโดยการใช้นำยาป้วนปากชนิดแตกต่างกัน จำนวน 4 เรื่อง ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 1 ถึง 17 ปี และผลการ วิจัยทั้ง 5 เรื่องรายงานว่าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมาตรฐานในการ ป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในเด็กที่ได้รับเคมีบำบัดทุกคน สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ การดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ สะอาด จากผลการศึกษาเสนอแนะว่า แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบควรพิจารณาแนวทางที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นไปได้ สามารถซื้อ/จัดหาได้ง่าย การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการใช้น้ำยาป้วนปากเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุ ช่องปากอักเสบควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม และไม่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในเด็ก" }
{ "en": "Now a day, the society is both information society and aging society. The Development of information technology and the population structure change. This is relevant to the elderly. This article presents the concepts about information technology society, the elderly society and information technology that relevant to elderly care. The objective of this article is to show how to integrate the new technology and the aging and to understand the technology that enables the elderly to live happily within the technological change", "th": "สังคมโลกปัจจุบันนั้นเป็นทั้งสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งการเปลี่ ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากร ส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องและจำเป็นกับผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงจะเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่กับการดูแลผู้สูงอายุ บทความนี้เป็น การนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสังคม สารสนเทศและสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้บุคคลากรด้านการแพทย์ตลอด จนผู้ที่สนใจสามารถเข้าใจถึงการบูรณาการร่วมกันของเทคโนโลยีและผู้สูงอายุ อีกทั้งเพื่อให้เข้าใจถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตภายในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้อย่างมีความสุข" }
{ "en": "Ethical behavior that should be practiced by professional nurses occurred from the integration of science and liberal arts knowledge. Nursing practice on the ethical behavior basis is valuable service profession. Therefore, 4 ethical concepts and 6 ethical principles are similar to moral principle adherence of professional nurses that everyone must aware of and apply continuously with service duties to clients. If any nursing profession causes ethical risk, clients may be affected with both body and mind, economy, social or sometimes severely causes to death. Thus, professional nurse may be punished by professional ethics, such as, professional license suspension or revoke. However, the happening results disgrace dignity of profession in overall. This article is determined to restore practical knowledge of ethical behavior for professional nurses so that nurses can bring to apply in taking care of clients in accordance with context and with appropriate capacity continually.", "th": "พฤติกรรมจริยศาสตร์ที่พึงปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล เกิดจากการผสมผสานของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ การปฏิบัติการพยาบาลบนพื้นฐานจริยศาสตร์จึงเป็นการให้บริการที่ทรงคุณค่าของวิชาชีพ ดังนั้นแนวคิดทาง จริยศาสตร์ 4 ประการและหลักจริยศาสตร์ 6 ประการจึงเป็นเสมือนดั่งทางธรรมประจำใจของพยาบาลวิชาชีพ ที่ทุกคนต้องตระหนัก รู้และประยุกต์ใช้กับการทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง หากการปฏิบัติการพยาบาลใดก่อเกิดความเสี่ยงทาง จริยศาสตร์ขึ้น ผู้รับบริการอาจได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ สังคมหรือบางครั้งรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ ประกอบวิชาชีพ อาจได้รับโทษทางจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น พักใช้ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามมาได้ ผลที่เกิดขึ้นยัง เสื่อมเสียแห่งเกียรติของวิชาชีพในภาพรวม บทความนี้จึงมุ่งฟื้นฟูความรู้พฤติกรรมจริยศาสตร์ที่พึ่งปฏิบัติสำหรับพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้พยาบาลได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้รับบริการตามบริบทด้วยสมรรถนะที่เหมาะสมต่อไป" }
{ "en": "Nurse mentors are important in practical section of nursing students courses that help nursing student to gain knowledge, practice nursing skill and have a good attitude. Thus, the nurse mentor have to be intellectual and have potentiality in nursing skills, nursing instruction, good role model, adequate counseling skills, supportive-promotive skills and nursing practical evaluation. This article is indicated about emphasis of mentorship potential promoting for nurse mentors and perform roles of nurse mentors, in order to guide for improving mentorship potentiality that lead to the efficient nurse mentors.", "th": "พยาบาลพี่เลี้ยงมีความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาพยาบาล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ นักศึกษาพยาบาลเกิดความรู้ ทักษะการปฏิบัติทางคลินิก และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล ดังนั้นพยาบาลพี่เลี้ยงจึงต้องเป็นผู้ที่มี ความรู้ และศักยภาพในการปฏิบัติบทบาททั้งทางด้านการปฏิบัติทางคลินิก ด้านการสอน ด้านการเป็นแบบอย่าง ด้านการให้ คำปรึกษา ด้านสนับสนุนและส่งเสริม และด้านการประเมินผล บทความนี้จึงขอนำเสนอในประเด็นสำคัญของการพัฒนาศักยภาพ การสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง และการปฏิบัติบทบาทต่าง ๆ ของพยาบาลพี่เลี้ยง เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาศักยภาพ การสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง ให้สามารถปฏิบัติบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป" }
{ "en": "Intercostal drainage (ICD) is an important life-saving procedure in managing pneumothorax and hemothorax. However, ICD carries the risk of serious complications, making nursing competence in utilizing ICDs essential in delivering care. Essential skills such as nursing care in cases of emergency incidents: chest tube displacement or broken drainage bottle cannot be trained with real patients. Unfortunately, current manikins do not present realistic models for effective training, necessitating the development of manikin model. The final model was evaluated on students’ knowledge and perceived skills related to ICD care and users’ satisfaction by the third year undergraduate nursing students of the Royal Thai Army Nursing College (n = 83) and the nursing instructors (n = 5). The results showed that ICD-care related knowledge and skills of nursing students were significantly improved after the use of the teaching innovation, compared to the baseline data (p< 0.05). The average satisfaction of the nursing students and nursing instructors were at a very high level ( X = 4.63 and 4.88 out of 5 respectively).", "th": "การใส่สายระบายทรวงอกเป็นหัตถการช่วยชีวิตที่มีความสำคัญในการจัดการภาวะลมหรือเลือดคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ใส่สายระบายทรวงอกก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้หากได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ความรู้และทักษะการพยาบาลสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายระบายทรวงอกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ทักษะการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องบางประการ เช่น การพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน เมื่อสายระบายทรวงอกเลื่อนหลุดหรือขวดรองรับแตก ไม่สามารถทำการ ฝึกกับผู้ป่วยจริงได้ และการขาดแคลนหุ่นฝึกที่มีความจำเพราะต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ทำให้คณะผู้พัฒนานวัตกรรมมีความจำเป็น ต้องพัฒนาชุดจำลองดังกล่าวขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่ออุปกรณ์ในการสอนและฝึกทักษะการพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงบนคลี นิก โดยได้นำชุดจำลองที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้และประเมินผลโดยนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 52 จำนวน 83 นาย และอาจารย์ พยาบาลจำนวน 5 นาย ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ความรู้และทักษะการพยาบาลทั้งตามการรับรู้โดยผู้เรียนและการประเมิน โดยใช้แบบทดสอบเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการใช้นวัตกรรมสื่อการสอนดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับความพึงพอใจของ ผู้ใช้ทั้งโดยผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.63 และ 4.88 ตามลำดับ)" }