translation
dict
{ "en": "This research study aimed to develop a clinical nursing practice guideline for patients with surgery from traumatic brain and also to evaluate the guideline effectiveness regarding how it can be applied to patients. The Nursing process was used as a framework for this study. The development of the guideline consisted of four phases: 1) Planning 2) Acting 3) Observing and 4) Reflecting. The participants of the present study included 46 nurses and 15 head injury patients. The study was conducted between December 2016 and September 2017.The instruments were constructed guideline based on nursing process and constructed questionnaire. Three experts had verified research instruments. The validity and reliability were 0.80, 0.82, 0.82, 0.84 and 0.82 respectively. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics and the qualitative data were analyzed using content analysis. The study revealed that the development of clinical nursing practice guideline for patients with surgery from traumatic brain based on nursing process was ordered ; 1) assessing patient problems 2) emergency and continuity nursing care, 3) pre and post operative nursing care, 4) nursing care for complication prevention and 5) discharge planning that make patients receiving the quality of nursing care. The effects of using guideline showed that the knowledge and ability of nurses were significantly increased (p < 0.001), high level of nurses satisfaction and highest level of relatives/ caregivers. Recommendation: the caring for patient with surgery from traumatic brain should be done with systematic ally encourage the community to participate in patient care in order to the sustainable community health.", "th": "การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ทางคลินิกและศึกษาผลของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมองไปใช้ โดยประยุกต์ ใช้กรอบแนวคิดกระบวนการพยาบาล ด้วยการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 2) การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 3) การสังเกตผลการ ปฏิบัติ และ 4) การสะท้อนผลลัพธ์การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาล วิชาชีพ จำนวน 46 คน และญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับ การผ่าตัดสมอง จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 - กันยายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 1) เครื่องมอื ที่ใช้ในการดำ เนินการวจิ ยั คือ แนวปฏิบตั ิการพยาบาลทาง คลินิกสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมองซึ่งพัฒนา ขึ้นตามกรอบแนวคิดกระบวนการพยาบาล และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรู้ ความสามารถของพยาบาล วิชาชีพ แบบบันทึกภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจ ของพยาบาลวิชาชีพ และญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งแบบประเมินดังกล่าว ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.80, 0.82, 0.82, 0.84 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมองตามกรอบแนวคิด กระบวนการพยาบาล ดังนี้ 1) ประเมินปัญหาผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง 2)การให้การพยาบาลภาวะฉุกเฉินและต่อเนื่อง 3) การพยาบาลก่อนและ หลังผ่าตัดสมอง 4) การดูแลต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และ 5) การวางแผนจำหน่าย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง การพยาบาลมีคุณภาพ ดีขึ้น ด้านผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย บาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมอง พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีค่า คะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม ค่าคะแนน เฉลี่ยความสามารถหลังการฝึกทักษะมากกว่าก่อนการฝึกทักษะอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีระดับความพึงพอใจในแนวปฏิบัติ การพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัด สมอง ที่ระดับมาก และกลุ่มตัวอย่าง ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย มีระดับความ พึงพอใจต่อการให้การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย บาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมอง ที่ระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะ การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมอง ควรมีการพัฒนา ระบบการดูแลต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ ดูแลผู้ป่วย อันจะนำไปสู่การดูแลสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน__" }
{ "en": "The purpose of this qualitative research was to study the situations and problems on public health administration of directors of tambon health promoting hospitals. The samples were 20 tambon health promoting hospital directors. Data were collected using an in-depth interview during 12th – 31st May 2017. The data were then analyzed using content analysis method. The results showed that the directors of tambon health promoting hospitals were responsible for the administration, and had the main responsibilities including planning, organizing, commanding, coordinating, controlling, and monitoring. Besides this, the directors had the main responsible jobs and they also had a working integration with the network to make all the work to be more effective and beneficial to the people. The problems on public health administration consisted of insufficient funds, personnel, and materials. Regarding the solutions of the problems, there should be budget allocation, adequate personnel, and proper supporting materials. According to the administration recommendations, working with the community requires community participation including co-thinking, implementation, problem-solving, benefit sharing, and available a sources of funding from the community. In addition, the chief executive administrators should support the workers some knowledge and better understanding in working, and should create morale for the workers. This research suggests that the relevant agencies should support adequate budget allocation, personnel, and materials for the operation.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสถานการณ์ และปัญหาการบริหารงานด้านสาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างวันที่ 12-31 พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลพบว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลทำหน้าที่บริหารงาน หน้าที่หลักคือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม กำกับและมีงานดูแลหมู่บ้านที่รับผิดชอบมีการทำงานที่บูรณาการกัน กับเครือข่าย เพื่อให้งานทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผล ดีแก่ประชาชน ปัญหาอุปสรรคการบริหารงานคือ เงินบำรุง บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ แนวทางการแก้ไขปัญหา ควรมีการจัดสรร งบประมาณ จัดอัตรากำลังอย่างเพียงพอและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้ เหมาะสม ข้อเสนอแนะการบริหารงานคือ การทำงานกับชุมชนต้องให้ ชุมชนมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผลประโยชน์ หาแหล่งเงินทุนจากชุมชนในระดับบริหารที่สูงกว่าควรสนับสนุนทางด้าน ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน สร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการจัดสรร งบประมาณ บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน" }
{ "en": "The purpose of the efficiency study using the self-controlled intervention was to compare the differences between the average pressure ulcer healing, the risk of pressure ulcer incidence, the number and the level of pressure ulcer, capacity for performing activities of daily living in bedridden patients before and after being treated with physical therapy program applying mattresses produced from continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) fluid bags. The satisfaction of bedridden patients and caregivers with the physical therapy program applying mattresses produced from CAPD fluid bags was also observed. The samples included 30 patients and caregivers in Sisaket Province diagnosed as having chances of getting pressure ulcers, and were counseled to request for mattresses produced from CAPD fluid bags from the Department of Rehabilitation Medicine, Sisaket Hospital during February to June 2017. The research instruments consisted of 1) personal information form, 2) the braden scale for predicting pressure ulcer, 3) an assessment of activities of daily living (ADL), 4) the pressure ulcer scale for healing tool (PUSH tool), 5) physical therapy program applying mattresses produced from continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) fluid bags. Data analysis: Descriptive statistics were used to explain the characteristics of volunteers and satisfactory results. Dependent samples t-test was used to compare the differences between the average risk of pressure ulcer incidence. Signed Rank test was applied to compare the differences of the number and the level of pressure ulcer, pressure ulcer healing and ADL score before and after participating in the program using CAPD fluid bags. Significance level was p-value less than 0.05. Result: The study found that three months after attending the program, there was the decrease of the score of pressure ulcer healing, the risk of pressure ulcer incidence, the number and the level of pressure ulcer in bedridden patients. Also, there was statistically significant difference between before and after attending the program (p <0.001). While there was no difference in capacity for performing activities of daily living (ADL) before and after attending the program (p=0.052). The satisfaction of bedridden patients and caregivers with the physical therapy program applying mattresses produced from CAPD fluid bags was at the most and more satisfying level (96.7%). The more and most satisfying detail was saving electricity (100%). Conclusion: Physical therapy program applying mattresses produced from CAPD fluid bags was efficient and satisfying for applying to reduce the incidence and the risk of pressure ulcer. It was also useful to determine the guidance of physical therapy program development and facilitated the supply of mattresses from CAPD fluid bags for preventing pressure ulcer in bedridden patients in response to the policy of long term care.", "th": "การศึกษาเชิงประสิทธิภาพ แบบ self–controlled intervention มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการหายของแผลกดทับ ความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน จำนวนและระดับของแผลกดทับ ของผู้ป่วยติดเตียงที่มีผู้ดูแล ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต 2. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแลต่อโปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดเตียงที่มีผู้ดูแลในจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้รับการส่งปรึกษาขอรับที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต จากกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ 3) แบบประเมินความสามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) 4) แบบประเมินการหายของแผลกดทับ (PUSH tool) 5) โปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะของอาสาสมัครและผลการศึกษาความพึงพอใจ สถิติ dependent samples t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ สถิติ Signed Rank test เปรียบเทียบความแตกต่าง จำนวนและระดับแผลกดทับ คะแนนการหายของแผลกดทับ คะแนน ADL ระหว่างก่อนและหลังจากที่ได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดและที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา พบว่าภายหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือน คะแนนการหายของแผลกดทับ ความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ จำนวนและระดับของแผลกดทับลดลง มีความแตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ในขณะที่ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกัน (p = 0.063) ความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อการได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 96.7 โดยความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดเป็นเรื่องการประหยัดค่าไฟฟ้าถึงร้อยละ 100 สรุป โปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต มีประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการนำมาใช้ในการลดการเกิดแผลกดทับ ลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ มีประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางพัฒนาโปรแกรมกายภาพบำบัดและการจัดหาที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต เบิกจ่ายให้ผู้ป่วยติดเตียงได้ตามสิทธิ นำกลับไปใช้ที่บ้านเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ ตอบสนองต่อนโยบาย Long term care" }
{ "en": "This survey study aimed to examine health status and requirements health care of the elderly in Tron District, Uttardit Province. The sample consisted of 400 elderly people. Data were collected using a questionnaire consisting of physical, mental health issues and the need of care for the elderly. The reliability of the questionnaire was 0.85. Data were analysed using percentage and content analysis. The study found that most seniors are women, 64.80 percent. Their health status can be classified into three groups according to their ability to support themselves: 1) the elderly who can help themselves (62.0 percent) 2) the elderly help themselves something and want to rely on others (35.75 percent) and 3) seniors who cannot help themselves (2.25 percent). Most elderly had hypertension (53.20 percent) and diabetes (22.0 percent). These elderly also had problematic side difficulty for moving the knee (37.5 percent) and sleep problem (87.50 percent). It can be concluded that the needs for elderly were healthcare, health check-up, increased subsistence allowance, care from their offsprings, and facilities in the community and family acceptance. The research findings can be used to health promotion of older adults.", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและความ ต้องการในการดูแลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอตรอน จังหวัด อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ เครื่องมือประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และสถานะสุขภาพ ทางด้านร่างกาย 2. แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการ ฆ่าตัวตาย 3. แบบสอบถามความต้องการการดูแลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 และ 2 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามจาก สูตรสัมประสิทธิแอลฟา เท่ากับ 0.85 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 259 คน คิดเป็นร้อยละ 64.8 สถานะสุขภาพ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถช่วย เหลือตัวเองได้จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 62.0 2) กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ช่วยเหลือตัวเองได้บางเรื่องและต้องการพึ่งพาผู้อื่นบางเรื่องจำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 35.7 3) กลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.2 ผู้สูงอายุส่วนมากเจ็บป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูง จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 53.2 โรคเบาหวาน จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2 มีปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหว ลำบากจากข้อเข่าเสื่อม จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 และปัญหา ด้านจิตใจพบว่า ปัญหาการนอนหลับไม่สนิท จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 87.5 ด้านความต้องการในการดูแลด้านสุขภาพของสูงอายุมีความ ต้องการ การตรวจสุขภาพ การเพิ่มเบี้ยยังชีพ การดูแลจากลูกหลาน สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน และการได้รับการยอมรับจากครอบครัว สังคม ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการ ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่เหมาะสมต่อไป" }
{ "en": "The identification of the bacteria in the clinical diagnostic laboratory is important for patient management and antimicrobial therapy. Currently, conventional methods of bacterial identification rely on culture and biochemical methods. Although, this method is quite sensitive and inexpensive, there are some limitation including many steps of workflow and time-consuming process. Moreover, the conventional method requires skill and experience, as the accuracy depends on the specialty of staffs. Therefore, the development of rapid and reliable bacteria identification method is crucial to saving the lives of patients. Matrix-Assisted Laser Desorption Ionization Time-Of-Flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) device has revolutionized the routine identification of microorganisms in clinical microbiology laboratories by introducing an easy, rapid, high-throughput, low-cost, and efficient identification technique. The aim of this study prospectively analyzes MALDI-TOF MS technique compared with conventional method. Two hundred and twenty isolates of Gram-positive cocci bacteria colonies were isolated from clinical specimens and further analyzed. In this study, accuracy, time consuming and cost of identification were recorded and found that 90-100% correctly identification at the species level of Gram-positive cocci bacteria strain by MALDI-TOF MS technique which used only 2-3 minutes per sample. The results reveal that mass spectrometry technique is the accurate identification of clinical gram-positive cocci bacteria. Moreover, other advantages are reduced cost about 16 times, waste, and labor consuming. MALDI-TOF MS technique has the potential to be optimized and to replace conventional method with routine bacterial analysis.", "th": "การจำ แนกชนดิ แบคทีเรยี มคี วามสำคญั ชว่ ยใหแ้ พทยท์ ราบชนดิ ของเชื้อก่อโรค สามารถใช้ยาได้ตรงกับชนิดเชื้อ ทำให้การรักษามี ประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและลดอัตราการตาย ปัจจุบัน วิธีการจำแนกชนิดแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาใช้การเพาะเลี้ยง เชื้อบนอาหารแข็งและทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมี ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน แต่มีข้อจำกัดคือต้องปฏิบัติงานหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน ความ น่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของผู้ทดสอบ การจำแนกชนิด เชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS) เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ ใช้เวลาในการทดสอบน้อย จึงสามารถทราบชนิด ของเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เหมาะที่จะนำมาใช้ทดแทนวิธีการแบบเดิม แต่มีข้อจำกัดคือเครื่องมือราคาสูง งานศึกษานี้ต้องการหาประสิทธิผล ของการจำแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี MALDI-TOF MS ในกลุ่ม แบคทีเรียที่ติดสี แกรมบวกรูปร่างกลม จำนวนเชื้อ 220 รายควบคู่ไปกับ การทดสอบด้วยวิธีเดิม พบว่าเครื่อง MALDI-TOF MS มีความถูกต้อง ในการรายงานผลการวิเคราะห์จำแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลมร้อยละ 90-100 และมีประสิทธิภาพดีกว่าการทดสอบปฏิกิริยา ชีวเคมี ใช้เวลาน้อยเพียง 2 - 3 นาทีต่อตัวอย่าง ลดภาระงานและลดค่า ใช้จ่ายน้ำยาและสารเคมีลงถึง 16 เท่า จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะจะนำ มาใช้วินิจฉัยชนิดเชื้อแบคทีเรียในงานประจำวันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของการตรวจวิเคราะห์ให้ถูกต้อง แม่นยำและลดระยะเวลาการรอคอยผล" }
{ "en": "Preschool children in the area of Regional Health Center 4 Saraburi have been suffering with malnutrition both under nutrition and over nutrition. The objectives of this survey research were to study the frequency of main food consumption and to analyze the nutritive value of food intake during 1 day of observation of preschool children. There were a total of three hundred seventeen preschool children subjects’ ages 1-5 years old who were in the area of the Regional Health Center 4 Saraburi. Data were collected by using a questionnaire for obtaining general information and a food frequency questionnaire, and a 24-hour recall method for collecting food consumption data from the guardians of the children. Food consumption data were analyzed by the Nutrisurvey program. Descriptive statistics included percentage, median, mean and standard deviation were applied. The results revealed that most of the children were taken care by their grandparents (47.0%) and their mothers (42.0%). The majority of children ate cereal group ? 3 times per day, meat group at least 2 times per day, eggs at least 1 time per day, milk at least 2 times per day and vegetables at least 1 time per day, and children ate fruits some days with the highest percentage of (39.7%). However, it was found that there were some children who never drink milk, ate vegetables or fruits (16.1%, 14.8% and 11.4% respectively). The energy and nutritional values of food intake during 1 day showed that children ages 1-3 years old, received zinc, vitamin A and vitamin C less than the dietary reference intake (DRI). For children ages 4-5 years old they received calcium, zinc, iron, vitamin A and vitamin C less than DRI. Both groups received protein intake at very high levels. Results of this study suggested that these subjects still had inappropriate food consumption behavior. Therefore, an education program to promote the knowledge about the appropriate food selection and food preparation for preschool children for guardians was recommended.", "th": "เด็กวัยก่อนเรียนในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ยังคงมีภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน การศึกษาเชิงสำรวจนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลักและวิเคราะห์ คุณค่าสารอาหารที่ได้รับใน 1 วันของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยก่อนเรียนอายุ 1-5 ปีจำนวน 317 คน ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ อนามัยที่ 4 สระบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความถี่ในการบริโภคกลุ่มอาหารหลัก และการสัมภาษณ์ อาหารบริโภค ทบทวนความจำย้อนหลัง 24 ชั่วโมง จากพ่อ แม่ หรือ ผู้เลี้ยงดูเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในระหว่าง เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลอาหารบริโภคด้วยโปรแกรม Nutrisurvey สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้เลี้ยงดูเด็กคือ ปู่ ย่า ตา ยาย มากที่สุด (ร้อยละ 47.0) รองลงมา คือ แม่ (ร้อยละ 42.0) เด็กส่วนใหญ่กินอาหารกลุ่มข้าวแป้ง ?3 ครั้งต่อวัน กลุ่มเนื้อสัตว์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ไข่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน นมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และผักอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน และเด็กกินผลไม้เป็นบางวัน มากที่สุด (ร้อยละ 42.0) อย่างไรก็ตาม ยังพบเด็กที่ไม่ดื่มนม ไม่กินผัก และผลไม้ร้อยละ 16.1, 14.8 และ 11.4 ตามลำดับ สำหรับสารอาหารที่เด็ก ได้รับ พบว่า กลุ่มอายุ 1-3 ปี ได้รับสังกะสี วิตามินเอ และวิตามินซีน้อยกว่า ปริมาณที่ควรได้รับ ส่วนกลุ่มอายุ 4-5 ปี ได้รับพลังงาน แคลเซียม สังกะสี ธาตุเหล็ก และวิตามีนซีน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับ เด็กทั้ง 2 กลุ่มอายุ ได้รับโปรตีนในปริมาณค่อนข้างสูง ผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่าเด็กที่เป็น กลุ่มตัวอย่างยังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ดังนั้นควรมี โครงการเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการเลือกอาหาร และการจัดอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนแก่ผู้เลี้ยงดูเด็ก" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Objective : To compare the results of treatment of stroke patients before and after the establishment of the Stroke Unit. Materials and methods: The author retrospectively collected data of complications, mortality, length of hospital stay and costs of treatment of stroke patient who were admitted in the stroke unit between June 2014 and May 2015 compared with the same collected data of patients who were admitted in general medical ward betweenJune 2013 and May 2014underwent treatment according tothe stroke care map.Results:Atotalof351stroke patients wereincluded inthestudy.Thestudy population was divided into two groups. Group 1 consisted of 160 patients who received treatment according tothestrokecare map between June2013and May2014at thegeneral medical ward. Group 2 consisted of 191 patients who also received the same treatment between June2014and May2015at thestrokeunit.This study found that lengthofhospital stay and costsof treatment were significantly lower ingroup 2 (9.89 vs 6.12 days, p<0.001 ; 20,891.68 vs10,400 baht, p= 0.032 respectively). Prevalence of overall complications and specific complications such as recurrent stroke, urinary tract infection, pneumonia, cellulitis, acute coronary syndrome, and mortality were also lower in group 2 (15.6 vs 11, 4.4 vs 2.1, 3.8 vs 1.6,4.4 vs2.1,0.6 vs0,1.3 vs1.0,3.1vs2.1% respectively). Conclusion: Theestablishment of the Stroke Unit can significantly reduce the lengthof hospital stay, costsof hospital care, andreduce the rate of overall complications, recurrent stroke, urinary tract infection, pneumonia, cellulitis, acute coronary syndrome, and mortality", "th": "วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลังการมีหอผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง (stroke unit)โดยการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2557ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 จากเวชระเบียน ซึ่งได้ รับอนุญาตจากผู้อำนวยการฯ และข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบหรือเชื่อมโยงไปถึงผู้ป่วยได้แล้วนำมา วิเคราะห์เทียบกับข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมอง (stroke care map) ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไปในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2557 โดยตัวชี้วัดที่ใช้ในการศึกษานี้ได้แก่ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน อัตราการตาย ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายระหว่างนอนโรงพยาบาลผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองทั้งหมด 351 ราย ซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไปด้วย แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke care map) ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2557จำนวน 160รายและผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาภายในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2557 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 จำนวน 191 ราย ผู้ป่วยที่ได้ รับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (strokeunit)มีวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษา น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (9.89 เทียบกับ 6.12 วัน, p<0.001 และ 20,891.68 เทียบกับ 10,400 บาท, p= 0.032) รวมทั้งมีความชุกของภาวะแทรกซ้อนรวมหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อที่ ปอด เนื้อเยื่อเซลล์อักเสบ หลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน และอัตราการตายที่น้อยกว่า (ร้อยละ 11,2.1, 1.6, 2.1, 0, 1.0, 2.1) การศึกษานี้สรุปได้ว่าการดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(stroke unit) สามารถลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อย่างมีนัยสำคัญและยังสามารถลดความ ชุกในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และอัตราการตายได้" }
{ "en": "The objectives of this project were to screen congenital heart disease in children in terms of case finding rate, accessibility to health services and accessibility to education of children with the disease in Sisaket. The project included training of health personnel of district hospitals and sub-district promoting hospitals on screening the disease by using 13 items screening tool. The diagnosis of cases was confirmed by physicians. Targeted samples were47,783childrenaged 7–12yearsold. Data werecollected between October2011and February 2012. Descriptive stastistics such as number, percentage and rate were reported. The results showed that 77 new cases of congenital heart disease were found in children aged group 7 – 12 year-old (1.02 per thousand age group 7 – 12 year – old). Only 36.4% of the new cases could access to health care services and education service. While the rest (63.6%) did not access to health service. The findings from this study indicated that some children with congenital heart disease were not identified by the current screening system. In addition, some children with the disease could not access to health and education services.Therefore,congenitalheart diseasescreeningactivities should beadded tothecurrent screening system in order to increase new case findings rate and accessibility to access to health services and education.", "th": "วัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กอายุ 7-12 ปีในจังหวัด ศรีสะเกษ เกี่ยวกับอัตราการพบผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็กการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการเข้าถึงระบบ การศึกษาของเด็กที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาประเมินผลโครงการหลัง การดำเนินโครงการโดยการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการคัดกรองโรคของบุคลากรในโรงพยาบาลและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้สามารถคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเบื้องต้นโดยใช้แบบ คัดกรองจำนวน 13ข้อและส่งกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจสอบวินิจฉัยยืนยันภาวะเป็นโรคโดยกุมารแพทย์และ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจในเด็กกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กอายุ7-12 ปีในจังหวัดศรีสะเกษจำนวน 47,783คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2554-กุมภาพันธ์2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละอัตราผลการศึกษาพบว่ามีเด็กอายุ7-12 ปี ในจังหวัดศรีสะเกษ ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่ กำเนิดจำนวน 77ราย(1.02ต่อพันประชากร7-12 ปี) ทั้งนี้เด็กที่ป่วยสามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข ได้เพียงร้อยละ 36.4 และสามารถเข้าถึงระบบบริการการศึกษาได้เพียงร้อยละ 36.4 และพบว่าผู้ป่วยโรค หัวใจพิการแต่กำเนิดไม่เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข จำนวน 49 ราย ร้อยละ 63.6 จากการศึกษานี้พบว่า โครงการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กอายุ 7-12 ปีจังหวัดศรีสะเกษ สามารถค้นพบผู้ป่วยโรค หัวใจพิการแต่กำเนิดรายใหม่และยังพบว่ายังมีเด็กที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงบริการทั้ง ในระบบการศึกษา และในระบบสาธารณสุข ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดนโยบายให้มีการดำเนินงานคัดกรอง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเบื้องต้นเพิ่มเติมจากระบบปกติที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มอัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่และ ช่วยให้เด็กที่ป่วยเข้าถึงการบริการสุขภาพและการศึกษาให้มากขึ้น" }
{ "en": "This study aimed to compare effectiveness of two gait training methods; conventional training and rhythmic auditory stimulation in chronic hemiparetic stroke patients. Patients who had been diagnosed with stroke for more than 6 months, able to ambulate with Functional Ambulatory Category at least grade 2, and able to walk for at least 15 minutes were recruited.Participants werethenstratified into2groups according to durationof diseaseand age by block of two randomization. All subjects received physical therapy program 1 hour/ day, 3 days/week, totally 30 sessions. Each session contained passive range of motion exercise, strengthening exercise, balance training for 45 minutes and 15-minute gait training program. Experimental group received gait training via Rhythmic Auditory Stimulation using metronome. Results were measured by Zebris FDM – System Gait Analysis, recording 4 gait parameters; velocity, stridelength, cadence, and gait symmetry.After30sessionsof training, there was no statistically significant difference in all 4 gait parameters between two groups.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝึกเดินในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจาก โรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังโดยทำการทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบระหว่างการฝึกเดิน แบบดั้งเดิมและการฝึกเดินโดยใช้จังหวะควบคุมด้วยเครื่องกำหนดจังหวะ ผู้เข้าร่วมศึกษาต้องเป็นผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองนานกว่า 6 เดือนและสามารถเดินได้ด้วยตนเองโดยอาจอาศัยผู้ช่วยเหลือในการเดินเพียงเล็กน้อย และเดินได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาทีผู้ป่วยที่เข้าร่วมจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม จากระยะโรคและอายุแต่ละกลุ่มได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดวันละ 1 ชั่วโมง 3 วันต่อสัปดาห์รวมทั้งสิ้น 30 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งของการฝึกเป็นการฝึกขยับข้อเพื่อป้องกันข้อยึดติด ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และฝึกการทรงตัวนาน 45 นาทีและฝึกเดินนาน 15 นาทีโดยในกลุ่มทดลองจะเป็นการฝึกเดินโดยใช้จังหวะ ควบคุมด้วยเครื่องกำหนดจังหวะ และวัดผลจากพารามิเตอร์การเดิน 4 ชนิด คือ ความเร็วในการเดิน ระยะ ก้าว จำนวนก้าวต่อนาทีและสมมาตรในการเดิน ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างของพารามิเตอร์ระหว่าง 2 กลุ่มภายหลังการฝึก" }
{ "en": "The purposes of this study were 1) to study the incidence of cough in diabetic patients and hypertensive patients treated withenarapril and 2) to determinefactors associated with cough from enarapril in diabetic patients and hypertensive patients. The results were used to develop surveillancesystems.This wasacross-sectional study.The populations were230 diabetes and hypertensive patients whohad beentreated inThamiram Community Medical Center, Phatthalung Hospital. Data were collected using medical records reviews inorder to identify the incidence of cough and factors associated with cough in patients who take the drugs.The results were 1) the incidenceof coughinthose patients was 21.3% and 2) factors associated withcoughfrom enarapril werehistoryof allergic reactions (PR 2.32, 95% CI 1.22, 4.44) and gender; male has the less chance than female (PR 0.47, 95% CI 0.25, 0.88). The developmentof thesurveillancesystem in patients with diabetes and hypertensiontoidentify the side effects from enarapril would be the benefit to keep patients compliance and leads to the goal of standard patients health care.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดอาการไอจากการรับประทานยา enarapril และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไอ ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ความรู้ที่ได้นำไปสู่ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้ป่วย ที่อาจเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา enarapril การศึกษานี้ใช้รูปแบบ cross sectional prevalence survey ประชากรที่ใช้คือ ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่รับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ จำนวน 230 ราย ทำการทบทวนเวชระเบียนและเก็บรวบรวม ข้อมูล เพื่อหาอุบัติการณ์การเกิดอาการไอ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไอ ในผู้ป่วยที่รับประทานยา enarapril ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดอาการไอจากการรับประทานยา enarapril เท่ากับร้อยละ 21.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไอจากการรับประทานยา enarapril ได้แก่ การมี ประวัติแพ้ยา(PR2.32,95% CI1.22,4.44)และเพศโดยเพศชายมีโอกาสเกิดอาการไอได้น้อยกว่าเพศหญิง (PR 0.47, 95% CI 0.25, 0.88) ดังนั้นการตั้งระบบเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา enarapril จึงมีประโยชน์ ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อเพิ่มความร่วมมือผู้ป่วยในการรับประทานยา และนำไปสู่การ ดูแลผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานต่อไป" }
{ "en": "This quasi - experimental study aimed at analyzing the effects of pharmaceutical care inEpileptic patients at Prasat Neurological Institute towards drug-related problems, medication adherence, patient knowledge about Epileptic ‘s disease and treatment. Eighty nine patients withepilepsy, whovisited outpatient service between November2012and September 2013, were randomly recruited intothe study. Data were collected by self-administered forms and interview before and after pharmaceutical care. The subjects were monitored by pharmacist twice visits. After pharmaceutical care it was found that the number of drug related problems were significantly decreased at second visits (p<0.05). Meanscoresof medication adherence were significantly higher than first visits (p < 0.05). The subjects had significantly higher mean scores of knowledge about epilepsy disease and treatment than first visits (p<0.05). Pharmaceutical care can significantly improve patients with epilepsy by decreasing drug related problems and increasing medication adherence and patient knowledge.", "th": "การศึกษาผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยลมชักที่สถาบันประสาทวิทยา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคลมชักที่สถาบันประสาทวิทยา ในด้านปัญหาจากการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา ความรู้เรื่องโรคลมชักและการรักษา โดยเก็บข้อมูลจาก ผู้ป่วยโรคลมชัก ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ถึง 30 กันยายน 2556รวมทั้งสิ้น 89รายเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามก่อนและหลังการให้บริบาล เภสัชกรรม ซึ่งติดตามผู้ป่วยจำนวน 2 ครั้ง ผลการศึกษา พบว่า หลังให้บริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยพบจำนวน ผู้ป่วย ที่มีปัญหาจากการใช้ยา (ไม่รวมอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสถิติ(p < 0.05) ค่าเฉลี่ย ของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา และการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมเกี่ยวกับโรคลมชัก หลังจากได้ บริบาลเภสัชกรรม มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05) การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคลมชัก สามารถลดปัญหาจากการใช้ยา เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา เพิ่มความรู้เรื่องโรค การรักษาและการปฏิบัติ ตัวของผู้ป่วยโรคลมชักได้" }
{ "en": "The purposes of this research were to study definitions of laryngeal cancer and their good practice in self-care of the laryngeal - cancer priest ills after implantation with voice prosthesis.This wasa qualitativeresearchand thegrounded theory wasused.Thecollection of data was via in-depth interview, unassociated observation and studying related documents and research. Data were collected from 5 priest ills with laryngeal cancer after implantation with voice prosthesis. The results indicated that 1) the definition of laryngeal cancer by priest ill was ulcer of larynx, tumor of larynx being biopsied to confirm laryngeal cancer and treated with radiotherapyor chemotherapy, and neoplasm of larynx that needs biopsy for cancer investigation. 2) guidelines for good practice in self-care of the laryngeal-cancer priest ills after implantation with voice prosthesis has self-care requisites, body preparation and mind for operation, following doctor and nurse advisor and learning by doing himself such as cleaning hole of voice prosthesis, swallowing and pray via voice prosthesis, 3) Theoretical conclusions were; (1) whenever priests had realized that they were ill with laryngeal cancer, they should have decided for treatment immediately.; (2) the doctor planed totreat laryngeal-cancer priest ills and told them about disease, sign and symptom, treatment by state of diseases and self-care treatment.; (3) whenever priest ills with laryngeal cancer decided for treatment atonce, they received proper treatment according tothe state of disease.; (4) once laryngeal-cancer priest ills decided for treatment, doctors and nurses advised them clearly enough about staying with voice prosthesis with qualityof life.; and (5) after implantation with voice prosthesis, the good practice in self-care of the laryngeal-cancer priest ills after implantation with voice prosthesis was found and no complication was observed. This study can be used as a role model for laryngeal-cancer priest ills.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาการให้ความหมายของมะเร็งกล่อง เสียงตามทัศนะของพระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียม และ 2) เพื่อศึกษา แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการดูแลตนเองของพระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียม การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานราก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ พระสงฆ์โรคมะเร็ง กล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียม โรงพยาบาลสงฆ์จำนวน 5 รูป ผลการศึกษาพบความหมาย ของมะเร็งกล่องเสียงตามทัศนะของพระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียม คือ 1. การเป็นแผลที่เนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียง หากปล่อยทิ้งไว้แผลจะลุกลามในคอ 2. การเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้น ในคอบริเวณส่วนที่ส่งเสียง เป็นน้อยจะฉายแสงหรือให้เคมีเพื่อรักษา ถ้าเป็นมากต้องผ่าตัด และ 3. การเป็น แผลลุกลามบริเวณคอตรงกล่องเสียง ต้องผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจถึงจะรู้ว่าเป็นมะเร็ง แนวทางการปฏิบัติ ที่ดีในการดูแลตนเองของพระสงฆ์อาพาธโรคมะเร็งกล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียม คือ 1. การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง 2. การเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับการ ผ่าตัด และ 3. การปฏิบัติตามคำแนะนำและเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ การทำความสะอาดกล่องเสียงเทียม การฝึกการกลืน และการฝึกสวดมนต์ข้อสรุปเชิงทฤษฎีคือ(1) เมื่อใดก็ตามที่พระสงฆ์ทราบว่าเป็นโรคมะเร็ง กล่องเสียงเมื่อนั้นพระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงควรตัดสินใจเข้ารับการรักษาทันที(2) แผนการรักษาของ แพทย์ในผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียงเริ่มจากการอธิบายถึงลักษณะโรคมะเร็งกล่องเสียง อาการและอาการ แสดงการรักษาในระยะต่างๆของโรคและการดูแลตนเอง (3) เมื่อใดก็ตามที่พระสงฆ์ทราบว่าเป็นโรคมะเร็ง กล่องเสียง และไม่ลังเลที่จะเข้ารับการรักษา เมื่อนั้นพระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงจะได้รับการรักษาที่ เหมาะสมกับระยะของโรคที่เป็น (4) เมื่อใดก็ตามที่พระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงเข้าสู่กระบวนการรักษา เมื่อนั้นแพทย์จะให้ข้อมูลด้านการรักษาแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และพยาบาลให้ข้อมูลด้านการรักษา พยาบาล และการดูแลตนเองเมื่ออยู่กับกล่องเสียงเทียมที่มีคุณภาพชีวิต และ (5) เมื่อใดก็ตามที่พระสงฆ์ โรคมะเร็งกล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียมปฏิบัติตามแผนการรักษาพยาบาลดีเมื่อนั้นพระสงฆ์ โรคมะเร็งกล่องเสียงภายหลังผ่าตัดใส่กล่องเสียงเทียมสามารถดูแลตนเองได้ดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพ ชีวิตดีและสามารถเป็นตัวแบบให้กับพระสงฆ์โรคมะเร็งกล่องเสียงได้" }
{ "en": "Objective: To compare the efficacy between 400 microgram repeated doses of sublingual versus vaginal misoprostol in the medical management of early pregnancy failure. Material and Method: Seventy two women with a period of gestation less than 12 weeks were sequentially allocated into two groups to receive either 400 microgram of sublingual misoprostol or vaginal misoprostol every 4 hours until the termination of pregnancy was completed or the maximum of 6 doses. Results: Thirty - six patients were randomized to receive 400 microgram sublingual misoprostol and 36 patients received 400 microgram vaginal misoprostol. Completeabortion, total abortion, medical failureand the meaninduction to abortion interval were not significantly different between the 2 groups. The incomplete abortionrateinsublingual group washigher thanthoseinvaginal group (P = 0.018). Diarrhea and fever were most found in sublingual group. Conclusion: Sublingual misoprostol is as effectiveas vaginal misoprostol. Diarrhea and fever were morecommoninsublingual group.", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยา misoprostol ขนาด 400 ไมโครกรัมโดยวิธีอมใต้ลิ้น เปรียบเทียบกับวิธีเหน็บทางช่องคลอดในการยุติการตั้งครรภ์ซึ่งมีอายุครรภ์น้อย วัตถุและวิธีการ : คัดเลือก หญิงตั้งครรภ์จำนวน 72 ราย ที่มีข้อบ่งชี้ในการยุติการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์โดยแบ่ง เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับยา misoprostol 400 ไมโครกรัมโดยวิธีอมใต้ลิ้น และกลุ่มที่ได้รับยา misoprostol400ไมโครกรัมโดยวิธีเหน็บทางช่องคลอดซึ่งทั้ง2กลุ่มจะได้รับยาทุก4ชั่วโมงจนกว่าจะแท้ง หรือสูงสุดไม่เกินจำนวน 6 ครั้ง ผลการศึกษา : แบ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์กลุ่มละ 36 ราย พบว่าอัตราการแท้ง ครบ อัตราการแท้งทั้งหมด อัตราการรักษาล้มเหลวและระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้ยาจนแท้งทั้ง 2 กลุ่มไม่ แตกต่างกัน แต่อัตราการแท้งไม่ครบพบในกลุ่มที่ได้รับยาวิธีอมใต้ลิ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเหน็บทาง ช่องคลอด (P =0.018) เมื่อศึกษาถึงผลข้างเคียงของยาพบว่า อาการท้องเสียและมีไข้กลุ่มที่อมใต้ลิ้น พบมากกว่ากลุ่มเหน็บทางช่องคลอด สรุป : ประสิทธิภาพของการให้ยา misoprostol โดยการอมใต้ลิ้นและ การเหน็บยาทางช่องคลอดไม่แตกต่างกัน แต่ผลข้างเคียงของยาคืออาการท้องเสียและมีไข้พบในกลุ่มอมใต้ ลิ้นมากกว่ากลุ่มเหน็บทางช่องคลอด" }
{ "en": "The purpose of this study was to develop the family meeting guideline of end stage cancer patientsat Ubonratchathani Cancer Hospital.Thetarget groupsconsisted of5families of 18 members inall.Ahealthteam was comprised of doctors, familynurses, palliativecare and continuing carenurses, diet therapynurses, and enterostomal therapynurses.Based on the conceptsof family meetings, the guideline was created during a meeting by the families of the patients and they aimed to determine and evaluate the following areas : 1) the family’s knowledge and understanding of the disease, symptoms of cancer, and the operations and medications that may be involved among cancer patients at their end stage, the problems and concernsencountered whena patiententers theend stage, thecarerequirements in the family, and the guideline for taking care when the family members chose to provide care for patients. Thehealthteam provides informationtothe patients and families according to their professional duties and functions; 2) the family decided together to choose the treatment guidelines;and 3)evaluating thesatisfactionof thefamilies,and nurses.Thestudy found that all families did not ask thehealthteam toget the patient intubation.All families (100%) satisfied with receiving information about the illness prior the treatment. They satisfied about expressing their suspicion toward medical care for patients at the maximum level (80%). Seventy percent of nurses satisfied with the guidelines at the maximum level.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการประชุมครอบครัว ณ หอผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 5 ครอบครัว มีสมาชิกครอบครัวทั้งหมด 18 คน และทีมสุขภาพจำนวน 5 คนประกอบด้วย แพทย์พยาบาล ครอบครัว พยาบาลงานประคับประคองและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน พยาบาลโภชนบำบัด พยาบาลดูแลบาดแผล การพัฒนาแนวทางประชุมครอบครัวโดยใช้แนวคิดการประชุมครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเป็นกรอบ แนวคิดในการดูแลซึ่งมีกระบวนการดังนี้คือ1) ประเมินปัญหาของครอบครัวด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรค ระยะอาการ การดำเนินโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้าย ความ ต้องการการดูแล การจัดการในครอบครัวแนวทางการดูแลรักษาที่สมาชิกในครอบครัวเลือกเพื่อให้การดูแล ผู้ป่วย ทีมสุขภาพให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาตามบทบาทหน้าที่ 2) ครอบครัวตัดสินใจร่วมกันในการเลือก แนวทางการรักษาและ 3) ประเมินความพึงพอใจของครอบครัวและพยาบาล จากผลการศึกษาพบว่า ทุกครอบครัวไม่ร้องขอให้ทีมสุขภาพรักษาใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วย ร้อยละ 100 ครอบครัวมีความพึงพอใจ ในการได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และความพึงพอใจในการได้ซักถาม พูดคุย และระบายความสงสัย ที่มีต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมากสุดร้อยละ 80.0 พยาบาลมีความพึงพอใจในแนวทางการประชุม ครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายทุกคนที่ระดับมากที่สุดร้อยละ 70.0" }
{ "en": "Free flap reconstructioninhead and neck cancer patients causes the large wounds and severe pain during first 48 hours after surgery. This research used continuous morphine infusion pump instead of Patient-controlled analgesia pump (PCA) and periodic six hours injection method.This study aimed toevaluatethe meanof painscores and thesatisfaction levels betweencontinuous morphineinfusion pump and periodic sixhours injectionfor pain control medications among 50 patients. This retrospective study was conducted in Rajavithi Hospital. The free flap reconstruction in head and neck cancer patients who were treated by continuous morphine infusion pump method and periodic six hours injection method were recruited into this research. During first 24 hours after surgery, the mean pain score of using continuous morphine infusion pump was 3.86?1.09 which was lower than periodic six hours injection method of 4.94?1.22 implying that the pain scores of both methods had statistically significant differences at p-value <0.001. The results during 48 hours after surgery was similar. The mean pain score of continuous morphine infusion pump was significantly lower than those in periodic sixhours injection (1.88+0.85 vs 3.64+1.01, p-value (0.001). Ninety-six percent and fifty-eight percent at the highest levels of satisfaction were found in patients who received continuous morphine infusion pump and periodic six hours injection, respectively. To conclude, the efficacy and patient’s satisfaction levels of continuous morphineinfusion pump aresignificantly greater thanthoseof periodic sixhours injection.", "th": "ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจะมีบาดแผลขนาดใหญ่ สร้างความเจ็บ ปวดให้ผู้ป่วยเป็นอย่างมากใน 48ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดผู้ศึกษาได้ปรับเปลี่ยนการให้ยาระงับปวด Morphine ด้วยการใช้Infusion pump แทนการใช้เครื่องPCAและการให้ยา Morphineเป็นขนาดตามเวลาการศึกษา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ยคะแนนความปวด และระดับความพึงพอใจ ภายหลังการได้รับยาระงับปวด ด้วย Continuous morphine infusion กับวิธีให้ยาระงับปวดด้วย Morphine เป็นขนาดตามเวลา จำนวน ประชากรกลุ่มละ 50 ราย โดยการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่เคยได้รับยาระงับปวดด้วย Continuous morphine infusion กับวิธีการให้ยาระงับปวดด้วย Morphine เป็นขนาดตามเวลา ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และลำคอที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อในโรงพยาบาลราชวิถีผลการศึกษาพบว่าใน 24 ชั่วโมงแรกหลัง ผ่าตัด การให้ยาระงับปวดด้วย Continuous morphine infusion คะแนนเฉลี่ย Pain score 3.86?1.09 ต่ำกว่าการให้ยาระงับปวดด้วย Morphine เป็นขนาดตามเวลาซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย pain score 4.94?1.22 ค่า Pain score ของทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติp-value" }
{ "en": "The quasi-experimental study (two groups posttest design) aimed to develop the clinical practice guideline for ventilator weaning in patients after cardiovascular surgery in Rajavithi hospital. Main clinical outcomes including the length of ventilator weaning, length of hospital stay and nurse’s satisfaction for this guideline were compared between groups. Purposivesampling wasused torecruit subjects intothestudy:40subjects inthestudygroup and 40 subjects in a control group. All 18 ICU nurses in the wards were also asked about their satisfaction after using the new guideline. Study instruments composed of a weaning protocol implementation and a case record form for mechanical ventilation. The ethics committee of Rajavithi Hospital reviewed and approved this study. Baseline characteristics of the subjects were similar. The lengths of ventilator weaning in a study group was significantly lower thanthoseina control group (11.24?4.53hoursVS 14.92?6.42hours, p=0.003). Lengths of hospital stay and lengths in the ICU were not statistically significant difference between two groups. However, the length of hospital stay in the study group shortened. After using the new guideline, the scores of nurse’s satisfaction for every issue were higher than those in the previous one. The overall mean scores of nurse’s satisfaction for the new guideline were significantly higher than prior development the guideline. The new guideline should be applied to be used in practice for ventilator weaning. Continuous improvement for the same standard nursing quality should provide to other wards throughout the hospital.", "th": "การศึกษากึ่งทดลองแบบวัดผลหลังทดลอง 2 กลุ่ม (two groups posttest design) เพื่อศึกษาผลของ การใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาล ราชวิถีโดยเปรียบเทียบระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ระหว่าง ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดใส่เครื่องช่วยหายใจที่ได้ใช้แนวปฏิบัติเดิมและกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติใหม่ โดยแบ่งกลุ่มศึกษาที่ใช้แนวปฏิบัติหย่าเครื่องช่วยหายใจจากแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 40 ราย และกลุ่ม ควบคุมใช้แนวปฏิบัติแบบเดิม จำนวน 40 ราย และวัดความพึงพอใจผู้ใช้แนวปฏิบัติคือพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้ แนวปฏิบัติในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจทุกคน จำนวน 18คน การศึกษานี้ผ่านการพิจารณาด้านจริยธรรม การวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย โรงพยาบาลราชวิถีผลการศึกษาคุณลักษณะเบื้องต้น ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า อายุเฉลี่ย สัดส่วนของเพศชายและหญิงระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมไม่แตก ต่างกันทางสถิติผลของการใช้แนวปฏิบัติได้แก่ ระยะเวลาเฉลี่ยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาการ นอนในหอผู้ป่วยหนัก และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยในการหย่าเครื่องช่วย หายใจ ในกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(11.24?4.53 ชั่วโมง vs 14.92?6.42 ชั่วโมง, p=0.003)แต่ไม่พบความแตกต่างของระยะเวลานอนในหอผู้ป่วยหนักเช่นเดียวกันกับระยะเวลาการ นอนในโรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลในกลุ่มศึกษามีแนวโน้มน้อยกว่ากลุ่ม ควบคุม และการศึกษานี้ทั้งกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมไม่พบกลุ่มตัวอย่างที่ต้องใส่ท่อกลับซ้ำเลย ความคิด เห็นของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติในประเด็นด้าน 1) แนวปฏิบัตินี้ช่วยในการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย 2) แนว ปฏิบัติช่วยเพิ่มความมั่นใจในการหย่าเครื่องช่วยหายใจแก่ผู้ป่วย 3) แนวปฏิบัติช่วยลดความเสี่ยงต่อการใส่ ท่อกลับซ้ำของผู้ป่วย และ 4) แนวปฏิบัติมีความสะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติกลุ่มพยาบาลเห็นด้วยกับ ประเด็นดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 88.9, 100.0, 72.3 และ 83.3ตามลำดับ และภาพรวมแนวปฏิบัตินี้ดีกว่าวิธี การหย่าเครื่องช่วยหายใจแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยร้อยละ 77.8 จะเห็นได้ว่าแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นช่วย เพิ่มความมั่นใจในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ลดระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจและผู้ใช้งาน พึงพอใจต่อแนวปฏิบัติจึงควรส่งเสริมนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงและขยายสู่งานอื่นๆ ต่อไป" }
{ "en": "The present study aimed to evaluate the core components of foot care service for diabetes patients in the regional hospitals across Thailand. A survey study was conducted betweenApril and September2013, and theself-administered questionnaires wereused for data collection.All 33 regionalhospitals within12 service plannetworks were included into the study. The results showed that all service plan networks have provided diabetic foot screening and risk assessment for patients with diabetes. However, less than half of all hospitals was able to provide footwear and foot orthoses for patients with moderate risks. Regarding the treatment aspects, there were limited numbers of health specialists in the multidiscipline team, particularly vascular surgeons and endocrinologists. In addition, most hospitals had limited capacity to provide corrective foot and vascular surgical services. Almost 50 percent of hospitals still lacked of some medical supplies and equipment needed for diabetic foot services, such as angiographic equipment, angioplasty supplies, plantar pressureevaluationtools,and shoegrinding machines. Inconclusion, theinformation from this study can be used in the comprehensive diabetic foot center development plan for regional hospitals. It benefits managing referral systems for patients with diabetic foot complications.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินองค์ประกอบที่สำคัญของการบริการด้านภาวะแทรกซ้อนที่เท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศไทย ทำการศึกษาเชิงสำรวจระหว่างเดือนเมษายนถึง เดือนกันยายน พ.ศ.2556 โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเองโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่งจำนวน 33 แห่ง ในเครือ ข่ายบริการ 12 เครือข่ายเข้าร่วมการศึกษาผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายบริการทั้งหมด มีการตรวจคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้า อย่างไรก็ตาม น้อยกว่าร้อยละ 50.0ของโรงพยาบาลทั้งหมดสามารถจัดหาหรือตัดรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง สำหรับด้านการรักษา ผู้เชี่ยวชาญในทีมสหสาขาวิชาชีพยังมีจำนวนน้อย โดยเฉพาะศัลยแพทย์หลอดเลือด และอายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ นอกจากนี้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังมีศักยภาพจำกัดในการให้บริการผ่าตัดรักษา รูปเท้าและการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบได้สำหรับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือประมาณ ร้อยละ 50.0 ของโรงพยาบาลยังขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอด เลือดตีบ การประเมินแรงกดของฝ่าเท้า และเครื่องเจียรองเท้าให้เรียบ โดยสรุป ข้อมูลจากการศึกษานี้ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาศูนย์ดูแลแผลเบาหวานเท้าครบวงจรสำหรับโรงพยาบาลศูนย์และยังมี ประโยชน์ในการจัดระบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า" }
{ "en": "Preventable death is still a major public health problem in most countries around the world from past to present. But in Thailand the data of preventable death to be used in improving the quality of patient care are still lacking. The objectives of this study were to determine the preventable death rate and to study the erroneous causes of preventable death of the patients who died in the emergency room of Maharat Nakhon Ratchasima Hospital, the North-Eastern of Thailand. The data on patients who died in the emergency room between 1stMay 2012 and 30th April 2013 were retrospectively collected from patient record forms and discussed in mortality conference. There were 109 deaths inthe emergency room, 68 cases (62.4%) were preventable deaths.The most commoncausesof preventable deaths were inadequate resuscitation, 51 cases (75.0%); misdiagnosis, 25 cases (36.8%); delayed diagnosis, 5 cases (7.4%); and poor clinical monitoring, 5 cases (7.4%). The preventable death rate was most frequently found (68.4%) during the night shift (24.00 to 8.00 hrs.). The causes of preventable deaths were sepsis (37.0%), multiple injuries (33.3%), ST-elevation myocardial infarction (STEMI) (15.0 %) and gastrointestinal bleeding (9.6%). We concluded that rateof the preventable deaths was 62.4%. Inadequateresuscitation was the most important problem that caused preventable deaths in emergency room of Maharat Nakhon Ratchasima Hospital which mostly occurred in 24.00-08.00 hr. during the night shift.", "th": "การเสียชีวิตแบบป้องกันได้ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของเกือบทุกประเทศทั่วโลกตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน แต่ในประเทศไทยยังขาดข้อมูลทางสถิติของการเสียชีวิตแบบป้องกันได้เพื่อนำไปประกอบ การปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษานี้ได้ศึกษาอัตราการเสียชีวิต แบบป้องกันได้และสาเหตุข้อผิดพลาดของการเสียชีวิตแบบป้องกันได้ของผู้ป่วยเสียชีวิตในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยทบทวนข้อมูล เวชระเบียนผู้ป่วยเสียชีวิตในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555ถึง30เมษายน พ.ศ.2556และนำข้อมูลมาอภิปรายใน mortalityconference ประจำเดือน จากการ ศึกษามีผู้ป่วยเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินทั้งหมด 109 ราย พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตแบบป้องกันได้จำนวน 68 ราย (ร้อยละ 62.4) โดยสาเหตุข้อผิดพลาดของการเสียชีวิตแบบป้องกันได้ที่พบมากที่สุดคือ inadequate resuscitation จำนวน 51 ราย (ร้อยละ 75.0) รองลงมาคือ misdiagnosis จำนวน 25 ราย (ร้อยละ 36.8) delayed diagnosis จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 7.4) และ poor clinical monitoring จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 7.4) ซึ่งพบผู้ป่วยเสียชีวิตแบบป้องกันได้มากในช่วงเวรดึก (24.00-08.00 น.) ร้อยละ 68.4 และสาเหตุการ เสียชีวิตแบบป้องกันได้ที่พบคือ sepsis ร้อยละ 37.0 multiple injuries ร้อยละ 33.3 ST-elevation myocardial infarction ร้อยละ 15.0 Gastrointestinal bleeding ร้อยละ 9.6 ดังนั้นการศึกษานี้สรุปว่า อัตราการเสียชีวิตแบบป้องกันได้พบมากถึงร้อยละ 62.4 โดยสาเหตุหลักคือภาวะ inadequate resuscitation ซึ่งพบมากในช่วงเวรดึก" }
{ "en": "Severe traumatic braininjury is a conditionthathasuncertain prognosis which depends on various factors, especially time to operation. From the previous articles, there is no standard criterion for the time to operation. This study was retrospective review of 40 pure severe traumatic brain injuries (TBI) whoadmitted to Mahasarakham hospital during January 2012to May2013.The patient’schartsand standard recordings werereviewed and classified into two groups. Group 1 was operated within 4 hours and group 2 was operated after 4 hours. Data were analyzed by SPSS program. The results show no different of Gasglow outcome score (GOS) on discharge between two groups (p=0.772), while the GOS on three months after-operation of group 1 was significantly higher than those in group 2 (p<0.001). Moreover, length of study (LOS) of group 1 was significantly lower than those in group 2 (p=0.020). Inconclusion, decompressivecraniectomy within4hours provides positiveresults on GOS and LOS in pure severe traumatic brain injury.", "th": "อุบัติเหตุต่อสมองระดับรุนแรง เป็นภาวะที่มีการพยากรณ์ของโรคไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ หลายอย่างโดยเฉพาะระยะเวลาที่เสียไปในการรอผ่าตัด มีผู้ทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของเวลาใน การรอผ่าตัดกับการพยากรณ์โรคและมีรายงานผลการศึกษาที่แตกต่างกันออกไปซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยอุบัติเหตุต่อสมองอย่างเดียวระดับ รุนแรงจำนวน 40 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลการรักษาจากแฟ้มประวัติและแบบบันทึกข้อมูลที่กำหนดขึ้น ตามมาตรฐานการรักษากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดโดยจำแนกออกเป็นกลุ่มที่ได้รับ การผ่าตัดเปิดกะโหลกเพื่อลดความดันในสมองภายใน 4 ชั่วโมง และกลุ่มผ่าตัดภายหลัง 4 ชั่วโมงวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยระดับการฟื้นตัวขณะจำหน่าย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.077) แต่กลุ่มผ่าตัดภายใน 4 ชั่วโมงมีค่าเฉลี่ยระดับการฟื้นตัว หลังผ่าตัด 3 เดือนสูงกว่ากลุ่มผ่าตัดภายหลัง 4 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) และกลุ่มผ่าตัด ภายใน 4 ชั่วโมงมีค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มผ่าตัดภายหลัง 4 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ(p=0.020) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลกภายใน 4 ชั่วโมงส่งผลดีต่อระดับการ ฟื้นตัวและจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยอุบัติเหตุต่อสมองอย่างเดียวระดับรุนแรง" }
{ "en": "The cross-sectional study was carried out between September 2012 and September 2015 to determine prevalenceofneuropathic painand associated factors in117 spinal cord injured (SCI) patients at Rehabilitationoutpatient clinic and spinal unit ward, Sunpasitthiprasong hospital.Theyhad historyofSCI morethan6 months.Thestudy included demographic data, data about lesion, severity, treatments of neuropathic pain and collected by interviewing patients and reviewing medical records. During the study, 51.3% of the patients suffered from neuropathic pain. Cervical lesion was the most recorded (41.9%). The majority of patients were male (79.5%), mean age was 42.8 years old (range 15-82, median = 43, mode = 28). Mean pain VAS score was 66.4 (median = 70, mode = 80). Medication and massage was the most popular pain managements followed by acupuncture. Demographic factors were not significantly related to pain. Most of the patients rated mobility problem as the most disturbing condition followed by voiding and spasticity problems. It was concluded that the prevalenceof neuropathic pain in spinal cord injured patients was high and physicians should realize in multidisciplinary management.", "th": "การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในเดือนกันยายน พ.ศ.2555 ถึงกันยายน พ.ศ.2558 มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการปวดจากระบบประสาทในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บ ไขสันหลังจำนวน 117 ราย ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก แผนกเวชกรรมฟื้นฟูและหอผู้ป่วย spinal unit โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานีการศึกษาเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการ สัมภาษณ์ผู้ป่วย ได้แก่ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับรอยโรค ข้อมูลคัดกรองอาการปวด (neuropathic pain diagnosis questionnaire, DN4) ลักษณะอาการปวด ความรุนแรง การรักษา รวมถึงผลการรักษา โดยผล การศึกษาพบว่าความชุกของการเกิดอาการปวดจากระบบประสาทมีร้อยละ 51.3 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย (ร้อยละ 79.5)อายุเฉลี่ย 42.8 ปี(พิสัย =15-82 ปี,มัธยฐาน = 43 ปี, ฐานนิยม = 28 ปี) และได้รับบาด เจ็บระดับคอ(ร้อยละ 41.9) และมีระดับความปวด(visual analog scale,VAS) เฉลี่ย 66.4 (มัธยฐาน = 70, ฐานนิยม = 80) วิธีการรักษาที่ได้รับเป็นยาแผนปัจจุบัน วิธีการนวด และการฝังเข็มตามลำดับ ปัจจัยทาง กายภาพหรือข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาที่ผู้ป่วยรู้สึกว่ารบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุดคือ ปัญหาการเคลื่อนไหว รองลงมาคือการควบคุมการ ปัสสาวะและปัญหาอาการเกร็ง สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบความชุกของการเกิดอาการปวดจากระบบ ประสาทในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไขสันหลังค่อนข้างสูง การรักษาภาวะดังกล่าวควรใช้วิธีที่หลากหลายทั้งการใช้ยา และวิธีอื่นๆ" }
{ "en": "Background : Oxymetholone, an anabolic hormone, is accepted to be used for the treatmentofaplasticanemiaand sicklecellanemia. Its treatment for transfusion-dependent thalassemia has rarely been reported. Materials and Methods : To evaluate the efficacy of oxymetholone in the treatment for the transfusion-dependent thalassemia patients. The transfusion-dependent thalassemia patients, hemoglobin (Hb) level <7 g%, are treated with oxymetholone 100-150 mg a day for 3 months. The hematologic parameters before and after 3 months of treatment were compared and analyzed using paired student-T test and p-value < 0.05 was considered statistically significant. Results : Thirty consecutive transfusion-dependent thalassemia patients consisted of 14 males and 16 females. Mean age was 39.5?14.9 years old. Their Hb level increased 5.86?0.86 to 7.01?1.36 g% (p = 0.0004) after 3 monthsoxymetholonetreatment. Nosignificant changeinnucleated RBC, corrected WBC, platelets, rate of transaminitis and body weight were found. Of the 30 patients, nineteen patients (63.3%) had Hb level of 7 g% or more. Conclusion : Oxymetholone 100-150 mg daily increased Hb level of transfusion-dependent thalassemia patients from 5.86?0.86 to 7.01?1.36 g% (p = 0.0004) within 3 months, and no serious side effects were observed. And 63.3% have Hb level > 7 g% and do not need transfusion any more. However its long term effect should be followed.", "th": "ภูมิหลัง : อ็อกซีเมโธโลน เป็นฮอร์โมนที่เสริมการเจริญเติบโต ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาในโรคไขกระดูก ฝ่อ และภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว แต่บทบาทในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียรุนแรง ที่ต้องรับ เลือดเป็นประจำยังมีการศึกษาน้อย วัตถุและวิธีการ : เพื่อประเมินผลของอ็อกซีเมโธโลนในการรักษา ผู้ป่วยธาลัสซีเมียรุนแรงที่ต้องรับเลือดเป็นประจำ ที่มีค่า hemoglobin (Hb) level <7 g% ให้รับยา อ็อกซีเมโธโลน 100-150 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน เปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลเลือด ก่อน และ หลังการรักษา 3 เดือน โดยใช้paired student-t test และถ้าค่า p-value >< 0.05 จะถือว่ามีนัยสำคัญทาง สถิติผลการศึกษา :ผู้ป่วยธาลัสซีเมียรุนแรงที่ต้องรับเลือดเป็นประจำ 30รายเป็นเพศชาย14รายและเพศ หญิง 16 ราย อายุเฉลี่ย 39.5?14.9 ปีมีค่า Hb level เฉลี่ย เพิ่มจาก 5.86?0.86 เป็น 7.01?1.36 g% (p = 0.0004) หลังจาก 3 เดือนที่ได้รับอ็อกซีเมโธโลน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ nucleated RBC, corrected WBC, เกล็ดเลือด, ค่าอักเสบของตับ และน้ำหนักตัว อย่างชัดเจน ผู้ป่วย 19 จาก 30 ราย (63.3%)มีค่า Hb levelตั้งแต่ 7g% ขึ้นไป สรุป :อ็อกซีเมโธโลน 100-150มิลลิกรัมต่อวันสามารถเพิ่มระดับ Hb ของผู้ป ่วยธาลัสซีเมียรุนแรงที่ต้องรับเลือดเป็นประจำ จาก 5.86?0.86 เป็น 7.01?1.36 g% (p = 0.0004) ได้ภายใน 3 เดือนโดยไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ และผู้ป่วยร้อยละ 63.3 สามารถอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้เลือดอีก เพราะมีค่า Hb > 7g% อย่างไรก็ตามจะได้ติดตามผลของยาในระยะยาวต่อไป" }
{ "en": "“Image Gently” was the campaign to reduce the radiation dose to the patients in Diagnostic Radiology. This was also introduced to Nuclear Medicine. The reduction of the administered activity of Tc-99m radiopharmaceuticals in pediatric imaging should be done to meet this campaign. The objective is to optimize the administered activity of Tc-99m radiopharmaceuticals in pediatric nuclear medicine imaging at Rajavithi hospital. This retrospective study was done by using the tables of the administered activity of Tc-99m radiopharmaceuticals currentlyused at Rajavithihospital. Those tables were compared with the new EANM dosage card (version 1.2.2014) and the new North American recommendations using the same patient weight in kilogram. The paired t-test was used to test the statistically difference betweenRajavithihospitaland theother tworecommendations.The difference of the administered activity of Tc-99m radiopharmaceuticals used at Rajavithi hospital were statistically significant (p<0.01) from the other two recommendations. Therefore, the new tables of the administered activity were created and those numbers should be in between the two recommendations. The new tables of the administered activity of Tc-99m radiopharmaceuticals will beused for thePediatric Nuclear MedicineImagingatRajavithihospital.", "th": "“Image Gently” คือ นโยบายเพื่อลดปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วยในงานรังสีวินิจฉัยและได้นำมาใช้ในงาน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ด้วย เพื่อดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว จึงมีความต้องการที่จะลดความแรงรังสีของ สารเภสัชรังสีเทคนีเชียม-99 เอ็ม ที่ใช้ฉีดในผู้ป่วยเด็กที่มาถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์โดยทำการศึกษา เพื่อหาค่าความแรงรังสีที่เหมาะสม ของสารเภสัชรังสีเทคนีเชียม-99 เอ็ม ในการถ่ายภาพทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ในผู้ป่วยเด็ก ที่มารับการบริการที่โรงพยาบาลราชวิถีซึ่งเป็นการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ตารางความ แรงรังสีของสารเภสัชรังสีเทคนีเชียม-99 เอ็ม ที่ใช้ในโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน นำตารางดังกล่าวมา เปรียบเทียบกับมาตรฐานใหม่ของทวีปยุโรป (รุ่น 1.2.2014) และทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้ตัวเลขน้ำหนักตัว ของผู้ป่วยค่าเดียวกัน (กิโลกรัม) ใช้สถิติpaired t-test เพื่อทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่าง ระหว่างค่าความแรงรังสีของโรงพยาบาลราชวิถีกับค่ามาตรฐานที่แนะนำโดยทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<01) ดังนั้นจึงได้ปรับ ตารางความแรงรังสีใหม่โดยค่า ความแรงรังสีค่าใหม่นี้จะต้องมีค่าอยู่ระหว่างค่าของทั้ง 2 มาตรฐาน โดยจะนำตารางใหม่นี้มาใช้กับการตรวจ ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในผู้ป่วยเด็ก ในโรงพยาบาลราชวิถีต่อไป" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Asthma is a commonchronic diseaseand acuteasthmatic attack isoneof leading causesofemergency visitand hospitalization.Recognizing suchimpact, we provided the patients with easy asthma clinic at Lomsak Hospital. The objective of the study was to evaluate effectiveness of pediatric easy asthma clinic at Lomsak hospital. This was a retrospective descriptive study. Seventy-one patients aged less than15 yearsold whoattended the asthma clinic for at least 24 months were enrolled into this study. Study tool included asthma clinic medical records from 1 July 2010-30 June 2014 which was used to evaluate the patients after management at 0, 12 and 24 months. Descriptive statistics were described as percent, meanand standard deviation.Analytical statistics were also performed using Friedman Test, Wilcoxon Signed Ranks Test, McNemar-Bowker and General Linear Model (GEE). Clinical outcome measured before and after management at 0, 12 and 24 months. The emergency admission rate was significantly reduced from 1.86 visit/person/year to 1.00 and 0.35 visit/person/year (p < 0.001). In addition, the hospitalization rate was decreased from1.87visit/person/year to0.46and 0.17visit/person/year (p < 0.001).ThePredicted Peak Expiratory Flow Ratehad improvement from 75.9% to84.1 and 85.7(p < 0.001). The proportion of patients who had achieved total control asthma stage increase from 7.0% to 67.6% and 88.7 %.( p < 0.001). This study revealed the favorable outcomes of Pediatric Easy Asthma Clinic at Lomsak Hospital, which could improve the asthma treatment outcome.", "th": "โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็กและเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินและ ในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลหล่มสักได้เห็นความสำคัญและได้จัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในเด็กขึ้น การ ศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดูแลรักษาของคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในเด็กโรงพยาบาล หล่มสักโดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ประชากรคือผู้ป่วยโรคหืดที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีที่เข้ารับการรักษา โรคหืดติดต่อกันอย่างน้อย24 เดือน จำนวน 71 รายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยและ แบบบันทึกการรักษาของคลินิกโรคหืดอย่างง่าย โดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2553 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.2557 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา อธิบายตัวแปรด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ คำนวณหาความแตกต่างก่อนและหลังรักษาใน Easy Asthma Clinic ใช้สถิติFriedman Test, Wilcoxon Signed Ranks Test, McNemar-Bowker และ General Linear Model (GEE) ผลการศึกษาเมื่อเปรียบ เทียบก่อนรักษาและหลังการรักษาเดือนที่ 12 และ 24 พบว่าอัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินลด ลงจาก 1.86 ครั้ง/ราย/ปีเป็น 1.00 และ 0.35 ครั้ง/ราย/ปี (p < 0.001) อัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลลดลงจาก1.87ครั้ง/ราย/ปีเป็น 0.46และ0.17ครั้ง/ราย/ปี(p < 0.001)ค่าทดสอบสมรรถภาพ ปอด % predicted PEFR เพิ่มขึ้นจากร้อยละ75.9เป็น ร้อยละ84.1และร้อยละ85.7(p < 0.001) และ มีระดับการควบคุมโรคได้ดีเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 7.0 เป็น ร้อยละ 67.6 และ ร้อยละ 88.7 (p < 0.001) ผล การศึกษาพบว่าประสิทธิผลของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในเด็กโรงพยาบาลหล่มสักช่วยให้การรักษา โรคหืดได้ผลดีขึ้นและสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น" }
{ "en": "This study and development study aimed toimprove nursing quality in continuing care and discharge planning for stroke patients. The improvement focuses on developing the knowledge and capabilities of nurses with the learning by doing program based on John Deweytheory.Theresearch wasconducted intwo phases.Thefirst phase wasasurveystudy by multidisciplinary team, to observe and evaluate the patients’ condition and problems when they returned home, by home visits or phone call follow ups The second phase was a development stage to improve nursing quality with learning by doing program. The data was collected from two groups of participants, 32 nurses (practitioner and professional level), and 64 stroke patients during the survey study, and 26 stroke patients during the nursing quality development stage. Data werecollected using1)BathelADLIndex :BI record form 2) Home visit case records 3) Nurses’ knowledge and competencies in continuing care test records4) Discharge planningevaluationrecord form and 5)Patients’ satisfactionsurvey record. Two tools used in the development stage were 1) Self evaluation and evaluation records on the quality of discharge planning from nurses participated in the program and their mentors and 2) Nursing quality development program based on learning by doing theory which comprises 4 steps, 1) Students’ preparation 2) Practice by simulating the situations 3) Practice at work 4) Program Evaluation. During the survey study, data were analysed from medical records of 64 stroke patients. While the later phase, the data were collected from observation and evaluation, interviews and questionnaires. Descriptive statistics of percentage, mean, standard deviation and t-test were employed The results show that the learning by doing program developed and used in this research enhances nursing quality in discharge planning and continuing care. The knowledge scores of the nurses increased significantly (p<0.05) from pretest (29.13) to post test (38.69).The satisfaction score for nurse was high (4.04). The re-admission rate of the patient (with BI<20) within28 daysafter discharged from thehospital, isobviously reduced from 9.36% to3.84%. Theresults suggest that learning by doing program developed for this research, isoneof the effective methods in learning process. In the situation where the workforce is limited, it can be applied in other learning programs to improve both nursing quality and quality of life of patients and caregivers.", "th": "การศึกษานี้เป็นการศึกษาและพัฒนา เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วยใน โรคหลอดเลือดสมองที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดย การกระทำของจอห์น ดิวอี้มาจัดโปรแกรมพัฒนาความรู้ความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ ให้สามารถ วางแผนจำหน่ายและปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่อง ได้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยเมื่อ กลับไปอยู่ที่บ้าน ประชากรกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2กลุ่มได้แก่ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการและชำนาญ การ จำนวน 32 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะการวิจัยเชิงสำรวจ จำนวน 64 ราย และในระยะ พัฒนาจำนวน 26รายการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2ระยะ1) ระยะการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาสถานการณ์ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องด้วยการเยี่ยมบ้านและการติดตามทางโทรศัพท์ 2) ระยะพัฒนาความรู้ความสามารถของพยาบาลด้วยการเรียนรู้โดยการทำ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบ่ง เป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ชุด 1) แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (Bathel ADL Index : BI) 2) แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน 3) แบบประเมินความรู้ความสามารถของการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่อง 4) แบบบันทึกผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในการวางแผนจำหน่าย 5) แบบประเมินความพึง พอใจของผู้ป่วยและเครื่องมือในการดำเนินการศึกษาได้แก่ 1) แบบประเมินการพัฒนาคุณภาพการวางแผน จำหน่ายของตนเองและครูพี่เลี้ยง 2) โปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ 4 ขั้นตอน 1) การเตรียม ความพร้อมของผู้เรียน 2) ทดลองฝึกปฏิบัติด้วยสถานการณ์จำลอง 3) ฝึกปฏิบัติจริงขณะปฏิบัติงาน 4) ประเมินผลลัพธ์ของการเรียนรู้โดยการกระทำ การเก็บรวบรวมข้อมูลระยะวิจัยเชิงสำรวจด้วยการทบทวน เวชระเบียนของผู้ป่วย ระยะพัฒนาด้วยการประมวลผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากการสังเกต สัมภาษณ์และการ ตอบแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการศึกษา พบว่าผลลัพธ์ของการเรียนรู้โดยการกระทำสามารถเพิ่มพูนคุณภาพการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองได้อย่างต่อเนื่องเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลด้วยการวางแผนจำหน่ายที่มีคุณภาพ และ พยาบาลกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ความสามารถในการดูแลต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากก่อนการเรียนรู้29.13 เป็น 38.69 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีความพึงพอใจมากต่อการเรียนรู้โดยการกระ ทำระดับคะแนน 4.04 ส่งผลในอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มี BI < 20ลดลงร้อยละ 9.36 เป็น 3.84ดังนั้นการเรียนรู้โดยการกระทำจึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้บริหารทางการ พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลขณะปฏิบัติงานใน ภาวะที่มีอัตรากำลังจำกัดและพยาบาลผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนผู้ป่วยได้" }
{ "en": "The purposesof this study and development study were to develop anempowerment program of stroke patients with urinary incontinence and to evaluate the effectiveness of empowerment program of stroke patients with urinary incontinence. This study applied empowerment concept of Gibson (1993) in the research framework. Four research processes were as follows: 1) assessed the problem and planned for program development, 2) developed the program, 3) applied the empowerment program in stroke patients with urinary incontinence, and 4) evaluated the effectiveness of the program. Using proposive sampling, 10 nurses and 40 stroke patients were recruited intothe study. The patients were equally assigned toeither experiment (n=20)or control group. (n=20) The instruments were 1) theempowerment program of stroke patients withurinary incontinence2) theknowledge and skill of nursing care form 3) the satisfaction of nurses towards the use of this program form 4) the urinary incontinence record form and 5) the empowerment of stroke patients assessment form. Comparison between groups was analyzed using, paired T-test, Wilcoxon Matched-Pairs Signed Ranks Test, and Mann Whitney U Test. The results of the study were as follows: 1) the empowerment program of stroke patients with urinary incontinence was determined by experts. The IOC (Item Objective Congruence) was 0.8. The content of program included 4 steps; step 1 Actual problem identification, step 2 critically reflection, step 3 Decisionand implementation, and step 4 Continuing valuable activities. The program consisted of 4 activities, dividing into 4 sessions of individual training in 1 hour 30 minutes at a time within 1 week. 2) The effectiveness of empowerment program of stroke patients with urinary incontinence was found in nursing care. There were significantly higher scores of knowledge and skill of nurses in each domain and overall than prior scores (p<.05). Nurses’satisfaction scores in each domain and overall were at the high level. The severity of urinary incontinence in the experimental group after participating the program was significantly less (p<.05) than that of the control group. The empowerment score in the experimental group after participating the program was significantly higher (p<.05) than that of the control group.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาเพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และเพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้าง พลังอำนาจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเสริมสร้าง พลังอำนาจของ Gibson(1993)มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย4ขั้นตอนได้แก่1)วิเคราะห์ ปัญหาและวางแผนพัฒนาโปรแกรม 2) พัฒนาโปรแกรม 3) นำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ไปใช้และ 4) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10คน และผู้ป่วยจำนวน 40รายแบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม 20 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (2) แบบ ประเมินความรู้และทักษะการพยาบาล (3) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อการใช้ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ(4)แบบบันทึกการปัสสาวะและ(5)แบบประเมินพลังอำนาจของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการเปรียบเทียบ Paired T-testสถิติWilcoxon MatchedPairs Signed Ranks Test และสถิติMann Whitney U Test ผลการศึกษาพบว่า 1) โปรแกรมการเสริม สร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของ เนื้อหาและวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.8 เนื้อหาโปรแกรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การค้นพบ สถานการณ์จริง ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขั้นตอนที่ 3 การตัดสินใจและลงมือปฏิบัติ และขั้นตอนที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรมทั้งหมดมีจำนวน 4 กิจกรรม ดำเนิน กิจกรรมเป็นรายบุคคล คนละ 4 ครั้ง กำหนดครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาทีเป็นเวลา 1 สัปดาห์ 2) การประเมิน ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ พบว่าคะแนนความรู้และทักษะการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ของพยาบาลวิชาชีพ ทั้งรายด้านและโดยรวมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นทั้งรายด้านและโดยรวมอยู่ ในระดับมาก ระดับความรุนแรงของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในกลุ่มทดลองหลังการได้รับโปรแกรมลดลง กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับพลังอำนาจในกลุ่มทดลองหลังการได้รับ โปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05" }
{ "en": "Background: Asthma is a common chronic disease in children, affecting 20.0% of children. Uncontrolled asthma places a significant impact to qualityof life.According tothe Global Initiative for Asthma (GINA) guidelines, the goal of asthma management is to achieve clinical control. Objective: Theresearchaimed to determinetherisk factorsassociated with partly or uncontrolled asthma in children. Methods: Asthma children aged 2-15 years old from pediatricsasthma clinic atThabo CrownPrince Hospital during1April2014to31 March 2015, who had severity at least in the mild persistent level, were recruited. The asthma control levels wereclassified as controlled, partly controlled and uncontrolled according to GINA guidelines. Logistic regression analysis was used to analyze the risk factors associated with partly or uncontrolled asthma in children. Results: 107 children were included. There were 78 patients (72.9%) in controlled, 19 patients (17.8%) in partly controlled and 10 patients (9.3%) in uncontrolled asthma group. The risk factor for partly or uncontrolled asthmacompared tocontrolled asthma were moderate persistentasthma whenasthma was first diagnosed (Adjust OR 9.15;95% CI 2.33-35.87).The proportion of patients who used medium and high dose inhaled corticosteroid (ICS) plus long-acting inhaled ?2-agonist (LABA) were significantly higher in partly and uncontrolled asthma than those in controlled asthma group ( p = 0.001, p = 0.007) Conclusions: Risk factor associated with partly or uncontrolled asthma were moderate persistent asthma. The use of medium and high dose inhaled corticosteroid (ICS) plus long-acting inhaled ?2-agonist (LABA) were significantly higher in partly or uncontrolled asthma than control group.", "th": "ภูมิหลัง : โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยพบในเด็ก ร้อยละ 20.0 ทั่วโลก เป้าหมายในการดูแลเด็กที่เป็น โรคหอบหืด คือสามารถควบคุมอาการของโรคและสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อระดับการควบคุมโรคหืดไม่ได้หรือควบคุมได้บางส่วน ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ ยาควบคุมอาการกับระดับการควบคุมโรคหืด วิธีการ : เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557-31 มีนาคม 2558 โดยประชากรที่ทำการศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดเด็ก อายุตั้งแต่ 2 ปี- 15 ปีที่ได้ รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในคลินิกโรคหืดเด็กอย่างน้อย 1 ปีและมีระดับความรุนแรงเมื่อเริ่มรักษาอย่างน้อย ระดับรุนแรงน้อยขึ้นไป วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมโรคหืดไม่ได้โดยใช้สถิติlogistic regression ผล:มีผู้ป่วยเด็กโรคหืดจำนวน 107 รายแบ่งระดับควบคุมโรคหืดได้ดังนี้ควบคุมได้ร้อยละ 72.9ควบคุมได้ บางส่วน ร้อยละ 17.8 ควบคุมไม่ได้ร้อยละ 9.3 พบว่าระดับของโรคหืดเมื่อเริ่มรักษาที่มีความรุนแรง ปานกลาง เป็นปัจจัยเสี่ยงเพียงปัจจัยเดียวที่มีต ่อระดับการควบคุมโรคหืดไม่ได้ หรือควบคุมโรคหืดได้ บางส่วน (Adjust OR 9.15;95% CI 2.33-35.87) มีการใช้ยาพ่นควบคุมอาการชนิด long acting ?2-agonist ร่วมกับสเตียรอยด์ชนิดสูดขนาดปานกลางและขนาดสูงในกลุ่มควบคุมโรคหืดไม่ได้หรือควบคุมได้บางส่วน มากกว่ากลุ่มควบคุมโรคหืดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p =0.001, p =0.007 ตามลำดับ) สรุป : ระดับ ความรุนแรงของโรคหืดก่อนรักษาระดับปานกลาง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระดับการควบคุมโรคหืดไม่ได้หรือ ควบคุมได้บางส่วน" }
{ "en": "This studyaimed toinvestigatetheepidemiologyof facial infections in pediatric patients at Queen Sirikit National Institute of Child Health (henceforth, QSNICH) during September 2010 toAugust 2015 inorder to determine the characteristicsof facial infections and factors related to such infections in children. The methodology of this study is to review the medical recordsof patients admitted to QSNICH; record thevariables inspecially developed forms; employ descriptive statistics to analyze the data; and utilize the t-test, chi-square, and logistic regressionto workout the predictor variables that canexplainthe resultsof the treatments. A total of 163 patients met the inclusion criteria and were included into the study. 98 patients (60.1%) of the patients are male, 65 (39.9%) are female. The average age is 4 years. (Max=15, Min<1 yrs.) Of all the patients studied, 68 have upper-facial infections, and 95 have lower-facial ones. Most of the infections sources are skin, fascial spaces and sinuses. 25.2% of the infections are tooth-related. Upper-facial infections are more related toteeth.Antibiotics areused in most treatments ;37 patients required incision-and-drainage surgeries. When classifying the results of the treatments according to the length of hospital stay (>4 days) and/or requirement for surgery, it is found that the unfavorable outcome in 86 is associated with the duration of facial swelling and fever before admission; the outcomes of the upper-facial infection cases are more favorable. Logistic regression shows that the predictor variables of 2 groups were patients with less and more than 4 days of hospitalization, sex, age, the duration of facial swelling, toothache and tooth relatedness. These variables were 67.3% accurate in predicting the treatment outcomes (p=0.001).", "th": "การศึกษานี้เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของการบวมบริเวณใบหน้าและขากรรไกรของผู้ป่วยที่เข้ารับการ รักษา ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ.2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 เพื่ออธิบายลักษณะการบวมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบวมของเด็ก เป็นการทบทวนเวชระเบียน ผู้ป่วยในของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและทำการบันทึกตัวแปรลงในแบบฟอร์มที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติt-test chi-square และ การถดถอย โลจิสติกเพื่อหาตัวแปรทำนายที่สามารถอธิบายผลลัพธ์การรักษา ผลการศึกษาจำนวนผู้ป่วยที่ เป็นไปตามเกณฑ์การศึกษา 163 ราย เป็นเพศชาย 98 ราย (ร้อยละ 60.1) เพศหญิง 65 ราย (ร้อยละ 39.9) อายุเฉลี่ย 4 ปี(อายุสูงสุด 15 ปีต่ำสุด น้อยสุดน้อยกว่า 1 ปี) เป็นการบวมใบหน้าส่วนบน 68 ราย ใบหน้า ส่วนล่าง 95 ราย พบว่า การบวมส่วนใหญ่เป็นการบวมที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อของผิวหนัง ช่องว่างบน ใบหน้า และการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง พบสาเหตุการบวมที่เกี่ยวข้องกับฟันร้อยละ 25.2 การบวมของ ใบหน้าส่วนบนเกี่ยวข้องกับฟันมากกว่าการบวมของใบหน้าส่วนล่าง การรักษาจะให้ยาปฏิชีวนะเป็นส่วน ใหญ่มีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด 37 ราย เมื่อจำแนกผลลัพธ์การรักษาโดยใช้จำนวนวันนอนตั้งแต่4 ขึ้นไปและ/หรือมีการผ่าตัดร่วมด้วย พบว่า ร้อยละ 52.8 คือ 86 รายมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาบวมและมี ไข้ก่อนมารับการรักษา อาการบวมของใบหน้าส่วนบนให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีกว่า การวิเคราะห์สถิติถดถอย โลจิสติก พบว่า ชุดตัวแปรที่สามารถอธิบายผลลัพธ์การรักษาซึ่งกำหนดเป็น 2 กลุ่ม คือ วันนอนน้อยกว่า 4วันและวันนอนตั้งแต่4วันขึ้นและ/หรือมีการผ่าตัดร่วมด้วย ประกอบด้วยเพศอายุจำนวนวันบวมอาการ ปวดฟัน ความเกี่ยวข้องกับฟันบริเวณที่บวม ซึ่งตัวแปรชุดนี้สามารถทำนายผลลัพธ์ของการรักษาร้อยละ 67.3 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติp=0.001" }
{ "en": "Objective: This research aimed to evaluate the effect of self-measured blood pressure monitoring in hypertensive patients, through the village health volunteers. Method: The quasi-experimental study was conducted in hypertensive patients who sought their treatment at Nakhon Nayokhospital and lived inthat municipal area during June2011- June 2013. Participants in the intervention group were those who measured their own blood pressure2 times inthe morning and 2times intheevening, 4consecutive dayseach month, 12-month period. Those in the control group received a standard treatment. Results: The results revealed that patients in the intervention group had lower blood pressure than the control group at months 4-6. Between two groups, blood pressure was not significant different at the end of study. Conclusion: Future research should evaluate factors associated withsustainabilityof the model.Thenew modelofapplying self-measured blood pressure monitoring inhypertensive patients facilitated by thevillagehealthvolunteers was effective in lowering blood pressure and controlling hypertension when compared with the standard care.", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการติดตามความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่บ้าน วิธีการ : การศึกษาเชิงทดลองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลนครนายก ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 อาสาสมัครกลุ่มทดลอง นอกจากได้รับการ รักษาตามมาตรฐานต้องดำเนินการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง ช่วงเช้าสองครั้ง ช่วงเย็นสองครั้ง ติดต่อกัน 4 วันในแต่ละเดือนจนครบ 12 เดือน อาสาสมัครกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามมาตรฐานเท่านั้น ผล : อาสาสมัครในกลุ่มทดลองมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่าอาสาสมัครในกลุ่มควบคุมในเดือนที่ 4-6 แต่ไม่พบ ความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มหลังสิ้นสุดการทดลอง สรุป : ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยในการควบคุม ความดันโลหิตด้วยตนเองในอนาคต โดยพัฒนารูปแบบให้มีความเหมาะสมและบูรณการการทำงานของ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง" }
{ "en": "The objective of this cross-sectional study were to examine the effect of pelvic organ prolapse on body image, and to study the associated factors that decreased body image score among women with pelvic floor disorders. Two hundred and twenty-five women attending the urogynecology clinic were recruited into the study. Demographic and clinical data at baseline were collected. The Thai version of Body Image Scale (BIS) questionnaire was administered to all subjects. The stage of pelvic organ prolapse was evaluated by gynecologists, using the Pelvic Organ Prolapse Quantification system (POP-Q). Statistical analyses were performed using descriptive statistics, t-test, chi-square and non-parametric tests. Logistic regressionanalysis was doneto predict thefactors affecting body imageof the subjects. The mean age of 225 women was 61.1 ? 11.5 years (range 21 – 86). Most (81.3%) were postmenopausal and 65.3% were married. Among 225 women, 136 (60.4%) reported feeling of a bulge in a vagina while pelvic organ prolapse was demonstrated in 190 (84.4%) women. Sixty-one percentof women with pelvicorgan prolapseand 48.6% of women without pelvicorgan prolapse were worried about their body image. Women withnon-advanced (POP-Q stage I and II) and advanced (POP-Q stage III and IV) pelvic organ prolapse reported the same proportions of decreased body image (59.5% and 58.2%, respectively). Younger age, marital status and premenopausal status were associated with decreased body image score. In conclusion, this study confirmed the effect of physical changes associated with pelvic organ prolapse on body image. Younger age had considerable effect on body image.", "th": "วัตถุประสงค์ของการศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนต่อภาพ ลักษณ์ รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีผลทำให้คะแนนภาพ ลักษณ์ลดลง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีปัญหา อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนจำนวน 225 รายที่ได้ รับการตรวจในคลินิกนรีเวชทางเดินปัสสาวะและ อวัยวะสืบพันธุ์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเก็บข้อมูล ปัจจัยส่วนบุคคล และอาการจากกลุ่มตัวอย่าง ทุกราย จากนั้นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม ความรู้สึกต่อลักษณะและอาการของภาวะอวัยวะใน อุ้งเชิงกรานหย่อน โดยใช้แบบสอบถามการวัดภาพ ลักษณ์ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการ ประเมินระดับการหย่อนของอุ้งเชิงกรานจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ระบบ POP-Q ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 61.1 ? 11.5 ปี ซึ่งส่วนใหญ่หมดประจำเดือนแล้ว (ร้อยละ 81.3) และร้อยละ 65.3 มีสถานภาพสมรสคู่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 ราย (ร้อยละ 60.4) ตอบแบบสอบถาม ว่ามีความรู้สึกตุงในช่องคลอด ขณะที่ 190 ราย (ร้อยละ84.4) บอกมีก้อนตุงกลุ่มตัวอย่างร้อยละ61.0 ที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน และร้อยละ 48.6 ที่ไม่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนมีความกังวล เกี่ยวกับภาพลักษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีการหย่อนของ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานไม่มาก (ระดับ 1-2) และหย่อน มาก(ระดับ 3-4)มีสัดส่วนการลดลงของคะแนนภาพ ลักษณ์ในระดับเดียวกัน (ร้อยละ 59.5 และ 58.2 ตามลำดับ) อายุน้อย สถานภาพสมรสคู่ และวัยก่อน หมดประจำเดือน มีความสัมพันธ์กับการลดลง ของคะแนนภาพลักษณ์ โดยสรุปแล้ว การศึกษาครั้ง นี้ยืนยันได้ว่าภาวะอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย ่อนมี ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสตรีโดยเฉพาะในราย ที่มีอายุน้อย" }
{ "en": "Over a period of twelve years (2000-2012), thirty-two patients with fractures of acetabulum weretreated inour institute.Acetabular fracturesarehigh degreeofvariability interms of patient, fracture characteristic and duration treatment. The aim of this study was to find the outcome of treatment and prognostic factors on the outcome. Patients who sustained acetabular fractures. Between January 2000 and January 2012, we had 32 consecutive acetabular fractures were recruited. Twenty patients met criteria for operative treatments and twelve patients by non-operative treatments. The surgical procedure consisted of open reduction and internal fixation by anterior (Ilioinguinal) posterior (Kocher-Langenbeck) or combined approaches. The non-operative treatment is composed of traction; balanced traction and side-thread pin traction in some cases for 4-6 weeks. Patients were then start onrangeof motionexerciseand ambulation without weight bearing for12 weeks.Theresults of twenty patients were treated with operative treatment; average age was 32.8 years (18- 53), male: female = 16:4, duration beforesurgery12.8 days (5-32).Theaveragefollow-up time was 15 months (7-36). Radiological results were good reduction 15 cases (75.0%), poor reduction5 cases (25.0%). Clinical results were excellent togood 13 cases (65.0%) while fair to poor 7 cases (35.0%). Twelve patients who treated with non-operative treatment, the average age was 35.2 years (15-70), male: female = 7:5, duration before treatment 5.2 days (2-10), average follow-up time 12 months (5-24). Radiological results were good reduction 9 cases (75%), poor reduction 3 cases (25.0%). Clinical results were excellent to good 10 cases (83.3%) while fair to poor 2 cases (16.7%). The prognostic factors on the outcome for acetabular fracture even treated by operation or non-operation are; an anatomical reduction,  a congruent hip joint is achieved, a preservation of weight bearing surface both acetabular and femoral side, no significant complication, and no longer time to surgery (< 3 week). We have concluded that acetabular fractures are challenging and difficult injury to manage. Choosing an optimal method of treatment and time result in good outcomes.", "th": "กระดูกหักบริเวณเบ้าของข้อสะโพก เป็นภาวะที่มีความแตกต่างมากทั้งในแง่ผู้ป่วย ลักษณะของการหัก ตลอดจนระยะเวลาก่อนทำการรักษา ดังนั้นผู้ศึกษาจึงต้องการค้นหาผลของการรักษา และปัจจัยที่มีผลต่อ ผลการรักษา โดยรวบรวมผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2543 ถึงมกราคม พ.ศ.2555 ได้ผู้ป่วยทั้งหมด 32 ราย ชาย : หญิง = 23 : 9 ผู้ป่วยได้รับการ รักษาโดยการผ่าตัด 20 ราย ไม่ผ่าตัด 12 ราย โดยการผ่าตัดจะเข้าสู่บริเวณกระดูกหักทางด้านหน้า (Ilioinguinal)ด้านหลัง (Kocher-Langenbeck) หรือเข้าร่วมกันทั้งทางด้านหน้าและหลังส่วนการรักษาโดยการไม่ ผ่าตัดโดยการดึง (traction) การดึงแบบสมดุล (balance traction) และบางรายเสริมด้วยการดึงด้านข้าง (side thread pin) ระยะเวลา 4-6 สัปดาห์แล้วให้ผู้ป่วยเคลื่อนที่ข้อสะโพกได้โดยไม่ลงน้ำหนักจนครบ 12 สัปดาห์ผลการรักษากลุ่มผู้ป่วยผ่าตัด 20 ราย อายุเฉลี่ย 32.8 ปี(18-35) ชาย : หญิง = 16 : 4 ระยะเวลา ก่อนการผ่าตัดเฉลี่ย 12.8 วัน (5-32) การติดตามหลังการผ่าตัดเฉลี่ย 15 เดือน (7-36) ผลทาง X-ray กระดูก เข้าที่ดี15ราย(ร้อยละ75.0) ไม่ดี5ราย(ร้อยละ25.0)ผลทางด้านคลินิกดีมากถึงดี13ราย(ร้อยละ65.0) พอใช้และไม่ดี(ร้อยละ 35.0) กลุ่มไม่ผ่าตัด12 ราย อายุเฉลี่ย 35.2 ปี(15-70) ชาย:หญิง = 7 : 5 ระยะเวลา ก่อนการรักษาเฉลี่ย 5.2 วัน (2-10) การติดตามหลังการรักษาเฉลี่ย 12 เดือน (5-24) ผลทาง x-ray ดี9 ราย (ร้อยละ 75.0) ไม่ดี3 ราย (ร้อยละ 25.0) ผลทางด้านคลินิกดีมากถึงดี10 ราย (ร้อยละ 83.3) พอใช้ถึงไม่ดี 2 ราย (ร้อยละ 16.7) ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา การจัดเรียงกระดูกเข้าที่ได้ดีมีการเข้ากันได้ดีระหว่างผิวข้อ ของหัวกระดูกต้นขาและเบ้าของข้อสะโพก สามารถเก็บรักษาผิวข้อบริเวณที่รับน้ำหนักได้ไม่มีภาวะ แทรกซ้อนที่สำคัญ ได้รับการผ่าตัดไม่เกิน 3 สัปดาห์หลังอุบัติเหตุ ผู้ศึกษามีบทสรุปว่า กระดูกหักบริเวณ เบ้าของข้อสะโพกเป็นสิ่งที่ท้าทายและมีความซับซ้อนในการรักษา การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม และเวลาที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีได้" }
{ "en": "Objective: To study the accuracy of blood loss estimation following vaginal birth conducted by physicians and nurses using visual method comparing to gravimetric method at Krabi Hospital. Methods: The study was conducted in 100 patients who gave vaginal birth at Krabi Hospital during December 1st , 2015 – January 31st , 2016. The accuracy of the blood loss estimation using visual estimation method and gravimetric method were compared. Result: The blood loss estimation using visual method is significantly different from the estimation using gravimetric method. Under visual estimation, physicians and nurses produced 26.7% and 40.6% less accurateestimationaccordingly.Among the participants,14 patients with over 500 milliliter bleeding were found under-estimated by 50.2% from physicians and 59.9% from nursesusing visual method. Conclusion: The blood loss estimation of vaginal birth using visual method by physicians and nurses is not accurate especially in the patients with massive hemorrhage.", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแม่นยำของการคาดคะเนการเสียเลือดหลังคลอดด้วยตาเปล่าของ แพทย์และพยาบาล เปรียบเทียบกับการคาดคะเนด้วยวิธีการใช้ถุงตวงเลือดชนิดมีเส้นขีดบอกปริมาณใน โรงพยาบาลกระบี่ วิธีการ : เป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่มาคลอดทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลกระบี่ 100 ราย ระหว่างวันที่1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2559 โดยเปรียบเทียบการคาดคะเนการเสียเลือด ด้วยตาเปล่าและวิธีการใช้ถุงตวงเลือดชนิดมีเส้นขีดบอกปริมาณ ผล : การคาดคะเนการเสียเลือดด้วยตาเปล่ามีความแตกต่างจากการคาดคะเนด้วยการใช้ถุงตวงเลือดอย่างมีนัยสำคัญ โดยแพทย์และพยาบาลมี การคาดคะเนต่ำกว่าวิธีการใช้ถุงตวงเลือด ร้อยละ 26.7 และร้อยละ 40.6 ตามลำดับ พบว่ามีผู้ป่วย 14 ราย ที่มีการคาดคะเนการเสียเลือดด้วยวิธีใช้ถุงตวงเลือดได้มากกว่า 500 มิลลิลิตร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้การคาดคะเน การเสียเลือดด้วยตาเปล่าคาดคะเนได้ต่ำกว่าการใช้ถุงตวงเลือด ร้อยละ 50.2 โดยแพทย์และร้อยละ 59.9 โดยพยาบาล สรุป : การคาดคะเนปริมาณการเสียเลือดหลังคลอดด้วยตาเปล่าโดยแพทย์และพยาบาลไม่มี ความแม่นยำโดยเฉพาะในรายที่มีการเสียเลือดปริมาณมาก" }
{ "en": "Background: The incidence of hypersensitivity reactions (HSRs) is still increased in paclitaxel chemotherapy drug which wildly used to treat many cancer types and composed of Cremophor EL that most related HSRs. Other factors may associated with HSRs included sex, age, underlying disease, stage, drug and nutrient allergy history, method of drug administration,nutritionstatus and blood concentration. Objectives: This study aimed tofind the factors related of hypersensitivity reactions with lung cancer patients receiving chemotherapy in Paclitaxel. Materials and Methods: A retrospective case control study of non-small cell lung cancer patients HSRs used paclitaxel during 2009-2015 total 80 persons, whereas control group was no HSRs and the number of quadruple by 320 persons, sample size included 400 persons from a total of 1,072 patients with lung cancer who were randomly selected from a simple table of random numbers. The difference in categorical data betweentwogroups wasanalyzed using Chi-squaretest.Student t-test wasused tocompare continuous variables between two groups. Binary Logistic regression was performed to find risk factors of hypersensitivity. A p-value less than 0.05 was considered significant. Results: Meanageof80cases withhypersensitivity was60.79 ? 10.60yearsand male was most found 53 cases (62.2%). While mean age in 320 control group was 55.82 ? 11.36 years and the majority was also male 213 cases (66.6%). In Univariated analysis, risk factors of HSRs were age,underlying diseases, method of drug administration,nutritionstatus, and blood concentration. The mean(?SD) duration of infusions reactions (HSRs) after into the body was 12.77 ? 11.36 minutes, fastest 2 minutes, 33.40 minutes a slowest, and severity in the 2nd level (63.8%). Multivariate analysis of risk factors for HSRs: Age (OR (95% CI): 0.96 (0.94-0.99) and increasing age deceased the risk of HSRs (p=0.006), moderate to high malnutrition had risk HSRs 3.60 (1.66-7.79) and 23.23 (5.66-95.39) respectively (p<0.001) as compared toanormal weight, and methods of intravenous (non-titrated) was risk severe 3.7 (2.06-6.94) (p<0.001) as compared withthenew administration(titrated). Conclusion:Paclitaxel drug demonstrated high HSRs related to patients with younger age, moderate to high malnutrition, and non-titrated intravenous administration. Oncology nurses should assess the risk factors before drug administration and monitor to reduce severe reactions and complications.", "th": "ภูมิหลัง : อุบัติการณ์ของการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิน/แพ้ยา (Hypersensitivity reactions : HSRs) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดPaclitaxelซึ่งมีสาร CremophorEL เป็นส่วนประกอบในตัวทำ ละลายยาที่ก่อให้เกิดการแพ้ยา การแพ้ยาเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านร่างกาย โรค และการบริหารยา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยได้แก่ เพศอายุโรคประจำตัว ระยะของโรค ประวัติการแพ้ยา/สารอาหาร วิธี การบริหารยา ภาวะขาดสารอาหาร และความเข้มข้นของเลือด ที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะภูมิไวเกิน ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel วัตถุและวิธีการ : การศึกษาย้อนหลัง แบบ Case control study โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชวิถีที่เป็น Case แพ้ยา Paclitaxel ในช่วง พ.ศ. 2552–2558 จำนวน 80 ราย และกลุ่ม Control คือ ผู้ป่วยที่ไม่เกิดอาการแพ้ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 4 เท่าของ Caseคือ320รายรวมกลุ่มตัวอย่าง400รายจากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้งสิ้น 1,072ราย ทำการ สุ่มอย่างง่ายจากตารางเลขสุ่ม สถิติ Chi-square/Student t-test ใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะ 2 กลุ่ม และสถิติBinaryLogisticsRegression ใช้วิเคราะห์หลายตัวแปรในการหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะภูมิไว เกิน ผล:กลุ่ม Caseส่วนใหญ่เป็นชาย53ราย (ร้อยละ62.2) อายุเฉลี่ย60.79?10.60 ปีและกลุ่ม Control เป็นชาย 213 ราย (ร้อยละ 66.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด HSRs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ โรคประจำตัว ระดับความเข้มข้นของ Hemoglobin, Hematocrit, ภาวะขาดสาร อาหารและวิธีการบริหารยา ระยะเวลาเฉลี่ยที่ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วเกิดอาการแพ้ยา 12.77 ? 11.36 นาทีเร็ว สุดคือ 2 นาทีช้าสุด 33.40 นาทีมีความรุนแรงอยู่ในระดับที่2 มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 63.8 การวิเคราะห์ หลายตัวแปรในการหาปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยา พบว่ามีตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้แก่ อายุ (OR (95%CI):0.96 (0.94-0.99) โดยอายุเพิ่มขึ้นความเสี่ยงต่อการแพ้ลดลง การขาดสารอาหารระดับปานกลาง ถึงระดับมาก จะพบความเสี่ยงต่อการแพ้3.60 (1.66-7.79) และ 23.23 (5.66-95.39) เท่า ตามลำดับเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ มีภาวะโภชนาการปกติและกลุ่มที่ได้แนวทางการบริหารยาแบบเดิม (Non-titrated) พบว่ามีความเสี่ยงที่จะ แพ้ยาคิดเป็น  3.78 (2.06-6.94) เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่บริหารยาแบบใหม่ที่ค่อยๆ ปรับระดับอัตราการไหล เพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพให้ทนต่อยา สรุป : ยาเคมีบำบัด Paclitaxel ทำให้เกิดภาวะ ภูมิไวเกินในปริมาณค่อนข้างสูงในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และขาดสารอาหาร รวมทั้งวิธีการบริหารยาแบบไม่ได้ ปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นทีละน้อยทางหลอดเลือดดำ พยาบาลที่ดูแลควรประเมินปัจจัยเสี่ยงก่อนการบริหารยา และควรเฝ้าติดตามอาการหลังให้ยาเพื่อลดอาการแพ้อย่างรุนแรงที่อาจช่วยชีวิตผู้ป่วยไม่ทันเวลา" }
{ "en": "Coronary artery disease is leading cause of death. Although the percutaneous coronary interventionis guided for treatment,however, thesymptom recurrenceremains.Risk factors such as dietary habits, exercise, medication, and stress management are most found. This study aimed to compare self-care behavior of the Ischemic heart patients after undergoing percutaneous coronary intervention between control-and experimental group. The selfcare program based ontheself-caretheory by Orem.Forty-four patients withIschemicheart patients after undergoing percutaneouse coronary intervention at Rajavithi Hospital were recruited by the purposive sampling technique. Of these, 22 were assigned equally into control and experimental group. The control group received routine nursing care. The experimental group received education program based onknowledge and self-care behavior aboutnutrition,exercise, medicationand stress management. Data werecollected between April and June 2016. Research instruments included a questionnaire concerning about selfcare behaviornutrition,exercise, medicationand stress management.Theresults found that the average age between two group were not significant difference (59.50 ? 9.77 VS 65.82 ? 8.67 years, p = 0.280). Most of the subjects between 2 groups were male, and no significant difference was found (control 81.8% VS experiment 72.7%). Education, income, smoking, occupation, underlying disease and BMI were not statistically different between 2 groups. The self-care behaviors scores in part of dietary and medication in experimental group was significantly higher than those in control group (73.73 ? 6.03 VS 64.27 ? 10.37 score: p = 0.001,39.00 ? 1.38VS36.91 ? 2.94score: p = 0.005). However, theself-care behaviors scores of exercise and stress management did not differ. The experimental group obtained higher scoreson dietary and medicationthanthoseof control group.Theself-care program should be applied to be used in practice for patients with percutaneous coronary intervention.", "th": "โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญมากของประเทศ การขยายบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ เป็นแนวทางหนึ่งในการรักษา แต่ภายหลังจากผู้ป่วยได้รับการทำหัตถกรรมดังกล่าว พบว่าผู้ป่วยยังมีหลอด เลือดหัวใจตีบซ้ำได้ปัจจัยเสี่ยงต่อการตีบซ้ำนั้นมักพบในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น พฤติกรรม การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา และการจัดการความเครียด ดังนั้นผู้ศึกษาจึงคิด โปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบ เทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นแนวทางในการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 22 รายและกลุ่มควบคุม22 รายโดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองเกี่ยวการรับประทานอาหารเฉพาะโรค การออกกำลังกาย การรับ ประทานยาการจัดการความเครียดและคู่มือการดูและตนเองหลังทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจโดยเก็บ ข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2559 ถึงมิถุนายน 2559ผลการศึกษา พบว่าอายุเฉลี่ยระหว่างกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ(59.50?9.77 VS 65.82?8.67 ปี, p=0.280) สำหรับเพศ กลุ่มควบคุม เป็นเพศชายร้อยละ 81.8 ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มทดลองซึ่งพบร้อยละ 72.7 อัตราส่วนเพศในทั้งสองกลุ่มไม่ แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.472) เช่นเดียวกันกับประเด็นด้านสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้อาชีพ โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ การวินิจฉัย และดัชนีมวลกาย (กิโลกรัม/ตารางเมตร) ซึ่งพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มี ความแตกต่างกันทางสถิติผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติ กรมการบริโภคอาหารสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (73.73?6.03 VS 64.27?10.37 คะแนน : p=0.001) เช่นเดียวกับคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการรับประทานยาที่พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (39.00?1.38 VS 36.91?2.94 คะแนน : p=0.005) ส่วน พฤติกรรมการออกกำลังกายและการจัดการความเครียด รวมถึงความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการ พยาบาล พบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกันทางสถิติสรุป โปรแกรมส่งเสริม การดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้ผู้ป่วยที่ ได้รับโปรแกรมมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุม และที่เห็นได้ชัดคือคะแนน พฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค และคะแนนพฤติกรรมการรับประทานยาที่กลุ ่มทดลองมี คะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ" }
{ "en": "The number of asthma patients increased in Lerdsin Hospital. Some asthma patients had poor controlled symptoms. This study aimed to find factors related to poor controlled asthma which comprised partly controlled and uncontrolled asthma patients. Patient aged above 14 years with confirmed asthma diagnosis were recruited and were classified according to the Global Initiative for Asthma (GINA) guideline. The data of 128 asthma subjects were collected in a cross-sectional study between October 2014 and June 2015. The average age was 50.86?13.62 and asthma subjects were frequently found in female. There were 44 patients (34.3%) in the controlled, 56 patients (43.8%) in the partly controlled and 28 patients (21.9%) in the uncontrolled asthma groups. Factors for partly controlled and uncontrolled asthma were increased Body mass index(BMI)(adjusted OR 1.14 ; 95% CI 1.01-1.29, p=0.03), irregular follow up (adjusted OR 14.89 ; 95% CI 1.29-170.99, p=0.03 ) and incorrect use of inhaler device (adjusted OR 0.13 ; 95% CI 0.03-0.55, p=0.01). The proportion of patients who used inhaled corticosteroids + long–acting ?2-agonist, leukotriene modifier and oral xanthine were significantly higher in partly controlled and uncontrolled asthma than controlled asthma. Factors associated with partly controlled and uncontrolled asthma were increased BMI, irregular follow up and incorrect use of inhaler device.", "th": "โรงพยาบาลเลิดสินมีผู้ป่วยโรคหอบหืดจำนวนมากขึ้น ซึ่งพบว่ายังมีผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคหอบหืดได้ ดังนั้น การศึกษานี้เพื่อทราบถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ของการควบคุมโรคหอบหืดไม่ได้ ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคหอบหืด ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึ้นไป ระดับการควบคุมโรคหอบหืดแบ่งโดยใช้เกณฑ์ของ Global Initiative for Asthma (GINA) เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ.2557 ถึง มิถุนายน พ.ศ.2558 จำนวน 128 ราย อายุเฉลี่ย 50.86?13.62 ปี เพศหญิงเป็นส่วนใหญ่ พบผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มควบคุมได้ (controlled) 44 ราย (ร้อยละ 34.3), กลุ่มควบคุมได้บางส่วน (partly controlled) 56 ราย (ร้อยละ 43.8) และกลุ่มควบคุมไม่ได้ (uncontrolled) 28 ราย (ร้อยละ 21.9) ปัจจัยสำหรับการควบคุมโรคหอบหืดไม่ได้ (กลุ่ม partly controlled และ uncontrolled) ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกายมาก 1.14 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ 1.01-1.29), มาตามนัดไม่สม่ำเสมอ 14.89 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ 1.29-170.99) และเทคนิคการ สูดยาไม่ถูกต้อง 0.13 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ 0.03-0.55) การได้รับยาควบคุมอาการได้แก่ inhaled corticosteroids (ICS) + long–acting ?2-agonist (LABA), leukotriene modifier (LTRA) และ oral xanthine ในกลุ่ม partly controlled และ uncontrolled มากกว่ากลุ่ม controlled อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบปัจจัยสัมพันธ์ของการ ควบคุมโรคหอบหืดไม่ได้ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกายมาก มาตามนัดไม่สม่ำเสมอ และเทคนิคการใช้ยาสูดไม่ถูกต้อง" }
{ "en": "This study was a quasi-experimental (one group design). The objective aimed to evaluate the health promotion program including exercise and diet control in order to control fasting plasma glucose (FPG), low density lipoprotein (LDL), systolic blood pressure (SBP) and diastolic blood pressure (DBP). Subjects were 60 patients with metabolic syndrome and had risks of diabetes and hypertension. They were refered to Banglamung Hospital. The intervention program is comprised of four activities as follows; 1) Assessed health program and individual counseling. 2) Adviced diet control and exercise by multidisciplinary care team. 3) Let patients’ family and friends participated in these activities. 4) Followed up health status and behavior at 3rd, 6th week. We used a questionnaire to measure outcomes after intervention. Data were analyzed using descriptive statistics and repeated measure ANOVA. The results revealed that the mean levels of FPG, LDL, SBP, DBP before program implementation, 3rd week and 6thweek were significantly different (p< 0.001). We concluded that health promotion program decreased FPG, LDL, SBP and DBP without drug use. Physicians could combine this program with early treatment for the patients with metabolic syndrome.", "th": "เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดซ้ำ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้านการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายต่อระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และระดับความดันโลหิต ของกลุ่มผู้ป่วยอ้วนลงพุง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยอ้วนลงพุงที่คัดกรองสุขภาพในอำเภอบางละมุง ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ส่งเข้ารับการรักษาต่อ ในโรงพยาบาลบางละมุง จำนวน 60 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพที่สร้างขึ้นโดยผู้ศึกษาตาม แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ประกอบด้วย 1) ตรวจวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพพร้อมให้ข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง โดยแพทย์ เป็นรายบุคคล 2) ส่งเสริมสมรรถนะด้านการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) เปิดโอกาสให้ครอบครัวหรือเพื่อนผู้ป่วยร่วมรับฟังปัญหาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) ติดตามประเมินสุขภาพ และพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 3 และ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล แบบบันทึกข้อมูล ทั่วไป ผลตรวจสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ในกลุ่มอาการอ้วนลงพุงที่ผ่านความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวน แบบวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA) ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่าง ในระยะก่อนการทดลอง หลังทดลองสัปดาห์ที่ 3 และ 6 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าเฉลี่ยระดับไขมันในเลือด (LDL) ของกลุ่มตัวอย่างในระยะก่อนทดลอง หลังทดลองสัปดาห์ที่ 3 และ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p><0.001) โดยมีระดับไขมันในเลือดลดลง และค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตช่วงบน/ช่วงล่าง ของกลุ่มตัวอย่างในระยะก่อนทดลอง ><0.001) โดยมีค่าลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ สรุป กลุ่ม ผู้ป่วยอ้วนลงพุงหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติได้ สามารถประยุกต์ใช้ส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการรักษาในระบบปกติได" }
{ "en": "The unit cost analysis of residency training in the Institute of Dermatology, Department of Medical Services was conducted in 2013. The activities base costing (ABC) was applied in this study. The ABC was determined including wage costs, material and utility cost, equipment and building costs. The results showed that the total cost was 28,301,862.12 baht. An average cost per one resident was 1,572,325.67 baht. Regarding the cost types, labour cost was the highest proportion of 26,784,197.92 baht (94.6 percent), followed by the capital cost of 800,974.80 baht (2.8 percent) and material cost of 716,689.43 baht (2.5 percent). With regard to core activities, it was found that the service and academic activities were the highest in the total of 21,136,671.23 baht (74.7 percent) followed by the teaching activities of 4,199,417.76 baht (14.8 percent), research activities of 1,844,474.61 baht (6.52 percent), and management activities of 603,863.50 baht (2.13 percent). The cultural activity was the lowest cost of 517,435.02 baht (1.8 percent). According to the unit cost of administration, labor costs were most found up to 90.0 percent in all core activities. While the material cost did not exceed 3.0 percent, mainly these costs were used for utilities. The building and equipment costs were also less than 3.0 percent, and were only used for depreciation of equipment. The building where carried out activities was constructed more than 25 years, the depreciation of this building and sites were then not included. The service activities accounted for 74.7 percent of the cost, while the cultural activities was the lowest total cost (1.8 percent).", "th": "การศึกษาการบริหารต้นทุนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา กรมการแพทย์ ดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลต้นทุนรายกิจกรรมของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน กรมการแพทย์ ปีการศึกษา 2556 ประกอบด้วยต้นทุนด้าน ค่าแรง ค่าวัสดุใช้สอยและสาธารณูปโภค และต้นทุนค่าครุภัณฑ์และค่าอาคาร ผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมการ ฝึกอบรมหลักสูตรอบรมแพทย์ประจำบ้าน ในสาขาตจวิทยา พบว่ามีต้นทุนรวม 28,301,862.12 บาท โดยมีต้นทุนเฉลี่ย ต่อการอบรมแพทย์ประจำบ้าน 1 คน เท่ากับ 1,572,325.67 บาท เมื่อพิจารณาประเภทของต้นทุนพบว่า ต้นทุนค่าแรง มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 94.6 จำนวน 26,784,197.92 บาท รองลงมาคือต้นทุนอาคาร สถานที่และครุภัณฑ์ ร้อยละ 2.8 จำนวน 800,974.80 บาท และต้นทุนค่าวัสดุใช้สอย ร้อยละ 2.5 จำนวน 716,689.43 บาท เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม พบว่ากิจกรรมการบริการและวิชาการมีต้นทุนรวมสูงที่สุด เท่ากับ 21,136,671.23 บาท คิดเป็นร้อยละ 74.7 รองลงมาคือ กิจกรรมการเรียนการสอนเท่ากับ 4,199,417.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.8 กิจกรรมศึกษาวิจัยเท่ากับ 1,844,474.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.5 และกิจกรรมบริหารจัดการเท่ากับ 603,863.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.1 ส่วน กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมกลุ่ม มีต้นทุนรวมน้อยที่สุด เท่ากับ 517,435.02 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.8 การประเมินการบริหารต้นทุน พบว่ามีสัดส่วนของต้นทุนค่าแรงมากกว่าร้อยละ 90.0 ในทุกประเภทกิจกรรมหลัก ในขณะที่ มีสัดส่วนต้นทุนด้านค่าวัสดุไม่เกินร้อยละ 3.0 โดยส่วนใหญ่เป็นต้นทุนค่าสาธารณูปโภค เช่นเดียวกับต้นทุนอาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์ที่มีสัดส่วนต้นทุนไม่เกินร้อยละ 3.0 และมีเพียงต้นทุนค่าเสื่อมราคาของครุภัณฑ์เท่านั้น เนื่องจากอาคารที่ใช้ ดำเนินกิจกรรมมีอายุการใช้งานมานานมากกว่า 30 ปี จึงไม่มีค่าเสื่อมราคาของอาคารและสถานที่ โดยกิจกรรมการบริการ มีสัดส่วนต้นทุนสูงสุดร้อยละ 74.7 ส่วนกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีสัดส่วนต้นทุนรวมต่ำสุดร้อยละ 1.8" }
{ "en": "Background : Tenofovir (TDF) is an effective nucleotide reverse transcriptase inhibitor (NtRTIs) for the treatment of HIV disease.TDF is generally considered safe; however, renal toxicity has been reported with its use. Objectives : To compare renal toxicity between HIV patients treated TDF with non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) and TDF with Protease inhibitors (PIs) at Rajavithi Hospital. Methods : A retrospective cohort study was conducted among HIV infected patients at Rajavithi Hospital. All patients who used TDF in a first time with NNRTIs-based (Nevirapine, Efavirenz) and used TDF in a first time with PIs-based (Ritonavir, Lopinavir, Atazanavir, Indinavir) from January 2013 to December 2014 were recruited. The eGFR were evaluated at baseline and the third visit. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square test. Results : Eight hundred and eleven patients were included into this study, 733 and 78 were on NNRTI-based and PIs-based regimens respectively. The baseline characteristics of patients were no statistical significant different between groups at p>0.05 (mean age, sex, CD4 count and eGFR). The number of patients who had the eGFR less than 60 mL/min/1.73 m2 at the 3rd visit was significantly different between groups (10 patients (1.8%) in NNRTIs group vs 4 patients (6.3%) in PIs group; p=0.001). There was no significant difference for decreasing in eGFR from baseline more than 25.0 percent between groups (236 patients (32.2%) in NNRTIs group vs 27 patients (34.6%) in PIs group). Relative risk of decrease eGFR from baseline more than 25% in PIs-based is 1.037 time higher than that of NNRTI-based. Conclusions : Patients receiving TDF with PIs-based are higher risk of renal toxicity than that of NNRTI-based in this study, but this difference was not significant. Clinicians should be advised to have intensive renal function monitoring by calculating eGFR levels at baseline and during follow up with TDF use", "th": "ภูมิหลัง : ยา Tenofovir เป็นยาในกลุ่ม nucleotide analogue reverse transcriptase inhibitors (NtRTIs) ที่นำ มาใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความปลอดภัยในการใช้ยา แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานการเกิดพิษต่อไต จากการใช้ยา Tenofovir วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเกิดพิษต่อไตระหว่างการใช้ยา Tenofovir ร่วมกับยากลุ่ม Non-nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) กับการใช้ยา Tenofovir ร่วมกับ ยากลุ่ม Protease Inhibitors (PIs) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ของโรงพยาบาลราชวิถี วิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยดำเนินการศึกษา แบบย้อนหลังในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลราชวิถีที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีที่มียา Tenofovir ร่วมกับยากลุ่ม NNRTIs (Nevirapine, Efavirenz) และยา Tenofovir ร่วมกับยากลุ่ม PIs (Ritonavir, Lopinavir, Atazanavir, Indinavir) โดย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา Tenofovir ครั้งแรก ทำการรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2556 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2557 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยจากค่าเริ่มต้นและครั้งที่ 3 ของการติดตามระดับค่า Estimated glomerular filtration rate (eGFR) และค่า Serum creatinine (Scr) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้ ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p-value > 0.05) ผล : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้รับยา Tenofovir เป็นครั้งแรก มีจำนวน 811 ราย โดยจำแนกผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ NNRTIs ร่วมกัน มีจำนวน 733 ราย และกลุ่มที่ได้รับ PIs ร่วมกัน มีจำนวน 78 ราย เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่ม (ค่าเฉลี่ยอายุ เพศ ค่า CD4 และ eGFR) พบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) การติดตามค่า eGFR ครั้งที่ 3 ซึ่งห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6-7 เดือนที่ผู้ป่วยมารับยา พบว่าผู้ป่วยที่มีค่า eGFR ลดลงต่ำกว่า 60 mL/min/1.73 m2 ในกลุ่มที่ได้รับ Tenofovir ร่วมกับ NNRTIs มีจำนวน 10 รายคิดเป็นร้อยละ 1.8 ส่วนกลุ่มที่ได้รับ Tenofovir ร่วมกับ PIs มีจำนวน 4 รายคิดเป็นร้อยละ 6.3 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0001) และพบว่าผู้ป่วยที่มีค่า eGFR ลดลง ร้อยละ 25.0 เมื่อได้รับ Tenofovir ร่วมกับ NNRTIs มีจำนวน 236 รายคิดเป็นร้อยละ 32.2 ส่วนกลุ่ม Tenofovir ร่วมกับ PIs มีจำนวน 27 รายคิดเป็นร้อยละ 34.6 ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.66) อย่างไรก็ตาม พบว่าความสัมพันธ์ของค่า eGFR ที่ลดลงร้อยละ 25.0 ในผู้ป่วยที่ได้รับ Tenofovir ร่วมกับ PIs ลดลงมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับ Tenofovir ร่วมกับ NNRTIs 1.037 เท่า สรุป : ผู้ป่วยที่ได้รับ Tenofovir ร่วมกับ PIs มีความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อไต มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับ Tenofovir ร่วมกับ NNRTIs แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามแพทย์ ผู้ตรวจควรมีการติดตามเฝ้าระวังการใช้ยาสองกลุ่มโดยดูระดับค่า eGFR ตั้งแต่เริ่มต้นใช้ยาและตลอดระยะเวลาการรักษา" }
{ "en": "Thalassemia is an inherited hemoglobin disorders because of the abnormality of globin gene. This disease is an important healthcare problem in Thailand and also many countries in Southeast Asia (SEA) region. At present, many migrant workers from Myanmar, Lao People’s Democratic Republic (LPDR) and Cambodia are working in Thailand. Thus, globin gene mutation may be occurred and causes thalassemia disease. Moreover, some types of gene mutation have never been found or hardly presented in Thailand which affected the management for thalassemia patients. The objective of this study was to analyze the prevalence and globin gene mutation types in both thalassemia carriers and diseases in 1,062 migrant workers (376 Myanmar, 319 LPDR and 367 Cambodia) Those registered for physical health examination at Nopparat Rajathanee Hospital in 2014. The results showed that the total thalassemia carriers and diseases were found 43.1%. The abnormalities found in LPDR, Cambodia and Myanmar migrant workers were 58.0% (95% CI 52.6, 63.4), 44.1% (95% CI 41.5, 46.7) and 29.5% (95% CI 24.9, 34.1) respectively. Hence, hemoglobin E (Hb E) was most found in 3 races (35.4% LPDR, 28.6% Cambodia and 11.2% Myanmar). Myanmar migrant workers were the highest thalssemia carriers which were a-thalassemia 1 (0.8%), a-thalassemia 2 (7.7%) and b-thalassemia (3.2%). Homozygous Hb E was most found in LPER (12.2%). We conclude that globin genes mutation from this research is useful for policy making to plan, control, and prevent the thalassemia diseases including genetic counseling for high risk migrant workers. Interaction of thalssemia gene between migrant workers and Thai population may cause several forms of diseases.", "th": "โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยเกิดความผิดปกติในการสร้างสายโกลบิน ที่เป็นปัญหา ทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายของ แรงงานข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย อาจก่อให้เกิดความหลากหลายของชนิดการกลายพันธุ์ของยีนโกลบินที่ทำให้เกิดโรค โลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งการกลายพันธุ์บางชนิดยังไม่พบ หรือพบได้ไม่บ่อยในประเทศไทย ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขที่ต้องใช้เพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละราย การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาความชุก และชนิด ของการกลายพันธุ์ของยีนโกลบินทั้งที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย และโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียน การตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีในปี พ.ศ.2557 จำนวน 1,062 ราย ได้แก่ เมียนมาร์ 376 ราย ลาว 319 ราย และกัมพูชา 367 ราย ผลการศึกษาพบธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นพาหะ หรือโรคธาลัสซีเมียทั้งสิ้นร้อยละ 43.1 หากแยกตาม แรงงานข้ามชาติพบความผิดปกติสูงสุดในแรงงานลาว (ร้อยละ 58.0, 95% CI 52.6, 63.4) รองลงมาเป็นแรงงานกัมพูชา (ร้อยละ 44.1, 95% CI 41.5, 46.7) และแรงงานเมียนมาร์พบร้อยละ 29.5 (95% CI 24.9, 34.1) ชนิดของธาลัสซีเมียที่พบ ได้สูงสุดของทั้ง 3 ชาติ คือ พาหะฮีโมโกลบิน อี โดยพบในคนลาวสูงที่สุดร้อยละ 35.4 กัมพูชาร้อยละ 28.6 และเมียนมาร์ พบร้อยละ 11.2 หากแยกตามชนิดของพาหะธาลัสซีเมีย แรงงานข้ามชาติเมียนมาร์พบได้สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงาน ข้ามชาติลาวและกัมพูชา คือ พาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 ร้อยละ 0.8 พาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย 2 ร้อยละ 7.7 และพาหะบีตา ธาลัสซีเมียร้อยละ 3.2 ส่วนโฮโมซัยกัสฮีโมโกลบิน อี พบในแรงงานข้ามชาติลาวมากที่สุด (ร้อยละ 12.2) ข้อมูลจาก การศึกษานี้จึงเป็นประโยชน์เชิงนโยบาย เพื่อวางแผนควบคุมและป้องกัน รวมถึงการให้คำแนะนำทางพันธุศาสตร์กับ คู่เสี่ยง เพราะปฏิสัมพันธ์ของยีนธาลัสซีเมีย ระหว่างแรงงานข้ามชาติด้วยกันและหรือแรงงานข้ามชาติกับประชาชนไทย ยังผลให้สามารถก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงได้หลากหลายลักษณะ" }
{ "en": "Objective : To compare the results and the complications of the patients with and without obstetric perineal laceration in mothers and vaginal birth newborns within 48 hours. Methods : This was a randomized controlled trial by simple random method for separation the pregnancy cases of inpatient department at labour room of Krabi Hospital between 1st August 2015 and 31st January 2016 into 2 groups ; 460 parturients were delivered with episiotomy and 460 parturients were delivered without episiotomy that both were vaginal delivery. The data were collected in front of the mothers and newborns. Results : The patients were all primigravida or secundigravida with gestational age at least 37 weeks. There were 262 (57.0%) and 287 (62.4%) primigravida patients with and without episiotomy respectively. There were significantly more third degree tears in the group of patients with episiotomy (10.4%:2.3% p<0.001), but similar rates of forth degree tear and infection within 48 hour were found. There were significantly higher rate of lateral and anterior wall of vagina (43.7%:7.6% p<0.001) or clitoris (4.5%:1.1% p 0.001) or labia (31.1%:3.47% p< 0.001) tears in the group of patients without episiotomy. Conclusion : The trend of having the third degree tear is higher in group of patients with episiotomy compared to those without it.", "th": "การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลและภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกจากการคลอดทางช่องคลอดภายใน 48 ชั่วโมง ระหว่างผู้คลอดที่ได้รับการตัดฝีเย็บ และไม่ได้รับการตัดฝีเย็บ เป็นการศึกษาแบบ randomize controlled trial ทำการสุ่มแบบ simple random เพื่อแบ่งหญิงตั้งครรภ์ที่รับเข้ามาเป็นผู้ป่วยใน ณ ห้องคลอดโรงพยาบาลกระบี่ระหว่างวัน ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2558 ถึง วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2559 ออกเป็นสองกลุ่มโดย 460 ราย เป็นผู้คลอดที่ได้รับการตัดฝีเย็บ และอีก 460 ราย ไม่ได้รับการตัดฝีเย็บ ผู้คลอดทั้งหมดเป็นหญิงตั้งครรภ์ท้องแรกหรือท้องที่สองที่มีอายุครรภ์อย่างน้อย 37 สัปดาห์ ผู้คลอดที่ได้รับการตัดฝีเย็บ และไม่ได้รับการตัดฝีเย็บเป็นหญิงตั้งครรภ์ท้องแรกจำนวน 262 (57.0%) และ 287 (62.4%) คนตามลำดับ การฉีกขาดแผลฝีเย็บระดับที่ 3 ในกลุ่มตัดฝีเย็บเกิดมากกว่ากลุ่มที่ไม่ตัดฝีเย็บ (10.4%:2.3% p< 0.001) แต่การฉีกขาดแผลฝีเย็บระดับที่ 4 และการติดเชื้อของแผลฝีเย็บภายใน 48 ชั่วโมงใกล้เคียงกัน ส่วนการเกิดการ ฉีกขาดบริเวณผนังช่องคลอดด้านหน้าหรือด้านข้าง (43.7%:7.6%, p<0.001) หรือ clitoris (3.7%:0.4%, p><0.001) หรือ แคม (31.1%:3.47%, p>< 0.001) เกิดในผู้คลอดที่ไม่ได้รับการตัดฝีเย็บมากกว่า สรุปได้ว่าการเกิดแผลฉีกขาดระดับที่ 3 มีอัตราการเกิดสูงกว่าในกลุ่มที่ได้รับการตัดฝีเย็บ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการตัดฝีเย็บ" }
{ "en": "A comparative study on the pregnancy outcomes and complications between normal and low body mass index pregnant women was performed at Krabi Hospital. This was a historical cohort study that included 668 pregnant women who attened antenatal at Krabi Hospital from October 1, 2013 to September 30, 2014, and their medical records were also reviewed. The study compared pregnancy outcomes and complications between 266 underweight pregnant women (BMI < 18.5 kg/M2 ) and 402 normal weight pregnant women (BMI 18.5 – 24.9 kg/M2 ) respectively. The data analysis was conducted using descriptive statistics such as percentage, mean and standard deviation. Multiple logistic regressions were done. The significant risk factors were considered at a p - value of 0.05. The study revealed that the low body mass index pregnant women have 1.64 – fold increase risk of anemia (RR 1.64, 95% CI 1.23 – 2.18, p<0.001) and 2.39 – fold increase risk of giving low birthweight infants (RR 2.39, 95% CI 1.69 – 3.39, p<0.001) when compared to normal weight pregnant women. Therefore, the results of this study indicated that surveillance and prevention of anemia and low birthweight infants among the low body mass index pregnant women should be concerned.", "th": "การศึกษาเปรียบเทียบผลของการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกติและสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายปกติที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลกระบี่ เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูล จากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลกระบี่ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557 เปรียบเทียบผลของการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกติจำนวน 266 ราย กับสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายปกติจำนวน 402 ราย พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกติมีภาวะโลหิตจางในมารดาสูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายปกติ 1.64 เท่า (RR 1.64, 95% CI 1.23 – 2.18, p<0.001) ทารกที่คลอดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ดัชนีมวลกายปกติ 2.39 เท่า (RR 2.39, 95% CI 1.69 – 3.89 p><0.001) จากการศึกษานี้ จึงควรเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจางในมารดาและทารกที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกต><0.001) ทารกที่คลอดมีน้ำ หนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ดัชนีมวลกายปกติ" }
{ "en": "The objective of this experimental study was to evaluate the physical fitness and clinical outcome of exercise prescription in diabetes and/or hypertensive patients compare with routine exercise education/instruction. Exercise prescription with a pedometer to step count, walking diary and follow up (month 1, 2, 4 and 6) were prescribed to experimental group. Attitude to exercise, body weight, blood pressure, fasting blood sugar, HbA1c and six-minute walk test were evaluated as main measurement outcomes. Patients with diabetes mellitus and/or hypertension (n = 34) were randomized to an experimental group (n = 21) and control group (n = 13). Mean age 61.05 years old. No significant difference in demographic data and physical activity level between two groups except in height (experimental group = 162.52 cm, control group = 154.85 cm) and female/male ratio (experimental group = 10/11, control group = 11/2). In the experimental group, statistically significant differences in attitude to exercise were found (month 0 = 41.9 points, month 6 = 42.38 points, p = 0.028), fasting blood sugar (month 0 = 217.55 mg / dl, month 6 = 170.09 mg / dl, p = 0.025), HbA1c (month 0 = 9.46%, month 6 = 7.67%, p = 0.006) and six-minute walk test (month 0 = 469.7 m, month 6= 504.8 m, p = 0.001), but body weight and blood pressure did not change significantly. Exercise prescription with a pedometer to step count, walking diary and follow up have better outcome in term of 6 minute walk test, fasting blood sugar and HbA1c compared to routine exercise education/instruction.", "th": "เป็นการศึกษาเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการให้ใบสั่งการออกกำลังกายด้วยการเดินโดยมีเครื่องนับก้าว สมุดบันทึกการออกกำลังกาย และการนัดติดตามอาการ เปรียบเทียบกับการได้รับคำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายตาม ปกติของโรงพยาบาล ต่อสมรรถภาพทางกาย และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้เป็นเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูง อาสา สมัครกลุ่มทดลองได้รับใบสั่งการออกกำลังกาย อาสาสมัครกลุ่มทดลอง 21 คน กลุ่มควบคุม 13 คน อายุเฉลี่ย 61.05 ปี ข้อมูลพื้นฐาน และกิจกรรมทางกาย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นส่วนสูงเฉลี่ย (กลุ่มทดลอง 162.52 เซนติเมตร, กลุ่มควบคุม 154.85 เซนติเมตร) และสัดส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย (กลุ่มทดลอง 10/11, กลุ่มควบคุม 11/2) ในกลุ่มทดลองพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของในด้านทัศนคติในการออกกำลังกายดีขึ้น (เดือนที่ 0 = 41.9 คะแนน, เดือนที่ 6 = 42.38 คะแนน, p = 0.028) ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง (เดือนที่ 0 = 217.55 mg/dl, เดือนที่ 6 = 170.09 mg/dl, p = 0.025) ระดับน้ำตาลสะสมลดลง (เดือนที่ 0 = 9.46 %, เดือนที่ 6 = 7.67 %, p = 0.006) และระยะการเดินทดสอบ 6 นาทีเพิ่มขึ้น (เดือนที่ 0 = 469.7 เมตร, เดือนที่ 6 = 504.8 เมตร, p = 0.001) แต่ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านน้ำหนักตัว และระดับความดันโลหิต รูปแบบการให้ใบสั่งการออก กำลังกายด้วยการนับก้าวโดยมีเครื่องนับก้าว สมุดบันทึกการออกกำลังกาย และการนัดติดตามอาการได้ผลดีกว่าการให้คำ แนะนำการออกกำลังกายตามปกติที่ปฏิบัติกันอยู่ ในแง่ของสมรรถภาพร่างกายการทดสอบเดิน 6 นาที ระดับน้ำตาลใน เลือดขณะอดอาหาร และระดับน้ำตาลสะสม" }
{ "en": "Late preterm newborns (GA 34 wks to 36 wks 6 days) are at higher risk of short and long term complications, and may lead to an increased risk of morbidity and mortality. The reasons may be from immaturity in physiology and metabolism in newborn periods. Therefore the prevalence and complications in late preterm newborns at Lahansai hospital were assessed to identify the problems in the community. We followed the newborns for 2 periods; at birth to 28 days of age and 29 days to 6 months of age. A prospective cohort study was carried out to determine at prevalence of late preterm newborn and compare the complication between late preterm and term newborns. Newborns with gestation age at 34-38 weeks born at Lahansai hospital from September 1, 2014 to October 30, 2015 were recruited. History (from mothers and newborns), physical examination, laboratory data, treatment, complication and followedup at 1, 2, 4 and 6 months were collected. There were 66 newborns enrolled into the study. Prevalence of late preterm newborn was 3.97% (33/831). At 6 month follow-up, no mortality was found. Complications including readmission rate, jaundice, hypoglycemia, respiratory problem, intravenous infusion, sepsis like symptoms and hospitalization in late preterm group were statistically higher than those in term group. Growth rate and mortality rate were not different between two groups. Late preterm newborns could have more complications such hyperbilirubinemia, respiratory problems, sepsis, readmission, hospitalization than term newborns. Therefore postnatal care in late preterm newborns should emphasize and monitor for these complications.", "th": "ทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย (อายุครรภ์ ระหว่าง 34 สัปดาห์ (239 วัน) ถึง 36 สัปดาห์ 6 วัน (259 วัน)) เป็นกลุ่มของทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะ แทรกซ้อนทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งอาจส่งผลต่ออัตรา การรอดชีวิตและนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพของทารกได้ เนื่องจากการพัฒนาทางสรีรวิทยาและทางเมตาบอลิซึม ของทารกในกลุ่มดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ ภาวะอาการ ทางคลินิกของทารกในกลุ่มดังกล่าวจึงมีความแตกต่าง จากทารกคลอดครบกำหนด เพื่อหาความชุกและศึกษา เปรียบเทียบผลการศึกษาทางคลินิกระหว่างทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย และทารกคลอดครบกำหนด ในช่วงอายุ 28 วันแรกหลังคลอด และ 29 วัน ถึง 6 เดือน เป็นการศึกษาแบบ Prospective cohort ในทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ จนถึง ก่อน 37 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับทารกที่คลอดตั้งแต่ อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์ ที่เกิดในโรงพยาบาลละหานทราย ตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 ถึง 30 ตุลาคม 2558 นำมาทบทวนประวัติมารดาและ ทารก ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ การ ข้อมูลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และการติดตาม ต่อเนื่องที่อายุ 1, 2, 4 และ 6 เดือน ผลการศึกษา ความชุกของทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายใน โรงพยาบาลละหานทราย เท่ากับ ร้อยละ 3.97 (33/831) มีทารกกลุ่มนี้เข้าร่วมการศึกษา 66 ราย (ทารกคลอด ก่อนกำหนดระยะท้าย 33 ราย และทารกคลอดครบ กำหนด 33 ราย) ไม่มีทารกรายใดเสียชีวิตขณะติดตาม จนถึงอายุ 6 เดือน มีอัตราการกลับเข้ามารักษาตัว ในโรงพยาบาล อัตราการเกิดภาวะตัวเหลือง น้ำตาล ในเลือดต่ำ ปัญหาการหายใจ การได้รับสารน้ำทาง หลอดเลือดดำ การสงสัยมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต การนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงกว่าทารกที่คลอด ครบกำหนดอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีความแตกต่าง ในการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตราการเจ็บป่วย และอัตราการเสียชีวิตในทารกทั้งสองกลุ่ม" }
{ "en": "Objective : To compare treatment outcomes in patients with midshaft tibial fracture treated by medial or lateral 4.5 mm. AO narrow DCP. The operative treatments were medial plating group used and anterior approach and lateral plating group used an anterolateral approach. Methods : A retrospective study was carried out in patients treated by medial or lateral 4.5 mm. AO narrow DCP. First group used operative treatment with medial plating and anterior approach, and second group used lateral plating and anterolateral approach, at Mueang Suang Hospital from 2011-2014. The samples consisted of two groups in a similar state of the sample and determine the appropriate treatment by surgeon. The data were analyzed using the Z-test, Fisher’s exact test and ?2 test. Results one hundred and seventy-six patients were included and divided into two groups. First group had 98 patients and second group had 78 patients. The effective treatment for both groups remained good and the bones misfire to remain low. However, patients in the first group had felt for symptomatic Narrow DCP problem and they would like to remove bone plate more than those in the second group. The patients in the first group returned to take over the bone plate more than later group. The complications as a whole in the second group were significantly lower than those in first group (p<0.05). Conclusions : Two groups were similar mechanism of injury union rates, malunion rates, operating times, functional scores, and ranges of ankle motion. Both of them showed good functional outcomes with a low malunion rate, but the lateral plating group had fewer hardware problems and lower complication rate. Finally, it seems to be an alternative treatment.", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรักษา ผู้ป่วยกระดูกแข้งส่วนกลางหักเคลื่อนด้วยวิธีการผ่าตัด แบบใส่แผ่นโลหะดามกระดูกชนิดแคบทางด้านในและ ด้านข้าง วิธีการ : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วย กระดูกแข้งส่วนกลางหักเคลื่อนที่ได้รับการรักษาโดย การผ่าตัดแบบใส่แผ่นโลหะดามกระดูกชนิดแคบ ทางด้านใน (Medial plating) โดยผ่าตัดเข้าทางด้านหน้า (กลุ่มที่ 1) และรักษาโดยการผ่าตัดแบบใส่แผ่นโลหะ ดามกระดูกชนิดแคบทางด้านข้าง (Lateral plating) โดยผ่าตัดเข้าทางด้านข้าง (Anterolateral approach) (กลุ่มที่ 2) ที่โรงพยาบาลเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ดในระหว่างปี พ.ศ. 2554-2557 จำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ให้มีสภาวะที่ใกล้เคียงกันจากการสุ่มและ การพิจารณาความเหมาะสมกับการรักษาของแพทย์ แล้วนำข้อมูลผลการรักษาที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ กัน โดยใช้สถิติคือ Z-test, Fisher’s exact test และ ?2 test ผล : มีผู้ป่วย จำนวน 176 ราย ในกลุ่มที่ 1 มี จำนวน 98 ราย และกลุ่มที่ 2 มีจำนวน 78 ราย ผลการ รักษาทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับดี พบอัตราการติดผิดรูป ในระดับต่ำ แต่กลุ่มที่ 1 มีปัญหาการคลำพบรอยนูน แผ่นดามกระดูกและต้องการเอาออก (Symptomatic narrow DCP) มากกว่า การกลับมาผ่าตัดเอาแผ่นโลหะ ดามกระดูกออกมากกว่า และกลุ่มที่ 2 เกิดภาวะ แทรกซ้อนในภาพรวมน้อยกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p-value<0.05) สรุป : ทั้งสองกลุ่มให้ผลในการรักษาในระดับดี ไม่มี ความแตกต่างกันในเรื่องการติดของกระดูก ระยะเวลา ในการผ่าตัดและการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่ รักษาด้วยการผ่าตัดเข้าทางด้านหน้านั้น ผู้ป่วยคลำพบ รอยนูนแผ่นโลหะดามกระดูกต้องการเอาแผ่นโลหะดาม ออกมากกว่า และกลับมาผ่าตัดเอาแผ่นโลหะดาม กระดูกออกมากกว่า ส่วนกลุ่มที่ผ่าตัดเข้าทางด้านข้าง เกิดภาวะแทรกซ้อนภาพรวมน้อยกว่า จึงน่าจะเป็น อีกหนึ่งทางเลือกที่จะใช้ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยกระดูกแข้ง ส่วนกลางหักเคลื่อน><0.05) สรุป : ทั้งสองกลุ่มให้ผลในการรักษาในระดับดี ไม่มี ความแตกต่างกันในเรื่องการติดของกระดูก ระยะเวลา ในการผ่าตัดและการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่ รักษาด้วยการผ่าตัดเข้าทางด้านหน้านั้น ผู้ป่วยคลำพบ รอยนูนแผ่นโลหะดามกระดูกต้องการเอาแผ่นโลหะดาม ออกมากกว่า และกลับมาผ่าตัดเอาแผ่นโลหะดาม กระดูกออกมากกว่า ส่วนกลุ่มที่ผ่าตัดเข้าทางด้านข้าง เกิดภาวะแทรกซ้อนภาพรวมน้อยกว่า จึงน่าจะเป็น อีกหนึ่งทางเลือกที่จะใช้ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยกระดูกแข้ง ส่วนกลางหักเคลื่อน" }
{ "en": "Objective : We sought to compare the Cobb angle measurement in idiopathic spinal scoliosis using plain radiography and three-dimensional volumerendered images of multidetector computed tomography. Methods : Cobb angle measurement using plain radiography and three-dimensional volume-rendered images from multidetector computed tomography (3D VR CT) from thirty patients were examined by three observers. The Cobb angle, upper end vertebra, and lower end vertebra of the scoliotic curve were measured by each observer, and the inter-observer reliability was also analyzed. Results : The mean difference between inter-observer measured angles was 2 to 4 degrees. No statistically significant difference of mean’Cobb angle between 3 observers in each measurement was found. The 95% confidence intervals for inter-observer variability in Cobb angle measurement using plain radiography and 3D VR CT in idiopathic scoliosis were 4.04 (3.22-4.85) and 3.08 (2.41-3.74) degrees, respectively. Inter-observer reliability shown as Pearson’s correlation coefficient (r), in plain radiography r between observer 1 versus 2, observer 1 versus 3 and observer 2 versus 3 were 0.964, 0.949, and 0.900, in 3D VR CT were 0.958, 0.970, and 0.956, respectively. The reliability of Cobb angle measurement between plain radiography and 3D VRCT were 0.936, 0.913 and 0.907 for the observer 1, 2 and 3 respectively. Conclusion : The mean’s Cobb angles from plain radiography is higher than the Cobb angle from 3D VR CT due to scoliosis curve geometry between supine and standing positions and variability in the selection of the end vertebrae. The inter-observer reliability and reliability of measurement are high. 3D VR CT images could be used for digital measurement of coronal Cobb angles in idiopathic scoliosis with similar variability to the digital measurement of plain radiographs.", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการ วัดมุมกระดูกสันหลังคดซึ่งวัดโดยวิธี Cobb ระหว่าง เอกซเรย์ธรรมดา กับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดซึ่งไม่ทราบสาเหตุใน โรงพยาบาลราชวีถี วิธีการ : รวบรวมผู้ป่วยที่มารักษา ที่โรงพยาบาลราชวิถีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ กระดูกสันหลังคดระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทุกคนได้รับการส่งตรวจเอกซเรย์ ธรรมดากับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเพื่อ ประเมินภาวะกระดูกสันหลังคดตำแหน่งที่เกิดกระดูก สันหลังคด และวัดมุมแบบวิธี Cobb โดยผู้สังเกตการณ์ 3 คน ผล : ผู้ป่วยภาวะกระดูกสันหลังคดซึ่งไม่ทราบสาเหตุ 30 ราย โดย 20 รายมีกระดูกสันหลังคดโค้ง เดียว (single curve) คิดเป็นร้อยละ 66.7 และ 10 ราย กระดูกสันหลังคดโค้งคู่ (double curves) คิดเป็นร้อยละ 33.3 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ามุมกระดูกสันหลังคด ซึ่งวัดโดยวิธี Cobb ระหว่างเอกซเรย์ธรรมดา ให้มุมที่ สูงกว่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยของมุมระหว่างผู้สังเกต- การณ์ที่ทำการวัดทั้งด้วยวิธีเอกซเรย์ธรรมดา และ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ค่าความแปรปรวน (95% CI) ของการวัดโดยผู้สังเกตการณ์ ทั้ง 3 ราย ในวิธีเอกซเรย์ธรรมดาเท่ากับ 4.04 (3.22- 4.85) องศาและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเท่ากับ 3.08 (2.41-3.74) องศา ค่าความสอดคล้อง ระหว่างผู้วัดแสดงด้วยค่า Pearson’s correlation coefficient ในการวัดด้วยวิธีเอกซเรย์ธรรมดา ระหว่าง ผู้สังเกตการณ์ คนที่ 1 กับ 2, 1 กับ 3 และ 2 กับ 3 เท่ากับ 0.964, 0.949 และ 0.900 ในส่วนของการวัดด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เท่ากับ 0.958, 0.970 และ 0.956 ค่าความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือ เอกซเรย์ธรรมดา และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็ว สูง ในผู้สังเกตการณ์ คนที่ 1, 2 และ 3 เท่ากับ 0.936, 0.913 และ 0.907 ตามลำดับ สรุป : ไม่มีความแตกต่าง ทางสถิติของค่าเฉลี่ยมุมกระดูกสันหลังคดซึ่งวัดโดยวิธี Cobb ระหว่างผู้สังเกตการณ์ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการวัดมุมกระดูกสันหลังคด ซึ่งวัดโดยวิธี Cobb ระหว่างเอกซเรย์ธรรมดากับเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงโดยมุมกระดูกสันหลังคดของ การถ่ายภาพรังสีธรรมดาสูงกว่ามุมกระดูกสันหลังคด ของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเนื่องจากความ แตกต่างการทรงตัวและความแปรปรวนในการเลือก ของกระดูกสันหลัง ค่าความสอดคล้องระหว่างผู้สังเกต- การณ์ (inter-observer reliability) และค่าความสอดคล้อง ระหว่างเครื่องมือวัด 2 เครื่องมือดังกล่าว (reliability of measurement) มีค่าความสอดคล้องสูง ดังนั้น การ เอกซเรย์ธรรมดา และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็ว สูงสามารถใช้ทดแทนกันได้" }
{ "en": "Streptococcus suis (S. suis) infection in humans causes severe disease, the infection rate at 11% was reported in Thailand. In 2005, we enhanced microbiological capacity in Nakhon Phanom, Thailand, and all hospitalized patients with laboratory-confirmed S. suis between 2006 and 2012 were investigated. We identified 55 patients with S. suis (all serotype 2); 35 (63.6%) patients were diagnosed with meningitis at admission, 15 (27.3%) sepsis and 5 (9.1%) arthritis. There were 20 patients (36.4%) of permanent deafness and all survived after discharged in 30 days. All patients (100%) reported pig or pork exposure in the 7 days before illness onset, and 20 (36.4%) had a history of heavy alcohol use. All patients reported having no knowledge of S. suis infection or risk factors. The average annual crude incidence was 2.2/100,000 persons. Clinicians should consider S. suis among hospitalized patients in areas where pig exposure is common. Increasing awareness of S. suis may improve adherence to national recommendations to avoid consumption of uncooked pork products.", "th": "การติดเชื้อสเตร็พโตค็อคคัสซูอิสในคน มีความรุนแรง ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิตและโรคเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ รายงานการติดเชื้อทั่วโลก พบว่าเกิด ในประเทศไทยถึงร้อยละ 11.0 ในปี พ.ศ. 2548 มี การพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่`อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียใน จังหวัดนครพนม ทำให้มีการรายงานพบการติดเชื้อ สเตร็พโตค็อคคัสซูอิสในคนเป็นครั้งแรก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2558 สามารถตรวจพบเชื้อจากผู้ป่วยได้ 55 ราย จากผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยที่สงสัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 35 ราย (ร้อยละ 63.6) ติดเชื้อในกระแสโลหิต 15 ราย (ร้อยละ 27.3) และข้ออักเสบ 5 ราย (ร้อยละ 9.1) ผู้ป่วยทั้งหมด ให้ประวัติว่าสัมผัสสุกรภายใน 7 วัน ก่อนมีอาการป่วย ผู้ป่วย 20 ราย (ร้อยละ 36.4) มี ประวัติดื่มสุราจัด ในรายงานนี้ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต หลังจากออกโรงพยาบาลได้ 30 วัน แต่พบว่ามีอาการแทรกซ้อนหูหนวกถาวรทั้งข้างเดียวและสองข้าง 20 ราย (ร้อยละ 36.4) ผู้ป่วยทุกคนไม่รู้จักโรคนี้มาก่อน ไม่รู้ว่า การติดเชื้อเกิดขึ้นได้อย่างไร อุบัติการณ์การเกิดโรค เฉลี่ยต่อปี ในประชากรอายุ 20 ปี ขึ้นไป คือ 2.2 ต่อแสนประชากร เมื่อมีผู้ป่วยมารับการรักษาที่ โรงพยาบาลด้วยอาการการติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วม กับอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์ผู้ทำการรักษาควร ซักประวัติการสัมผัสกับสุกรและการรับประทานเนื้อ สุกรสุกๆ ดิบๆ เพื่อสืบค้นการติดเชื้อ  S.suis ควรเพิ่ม ความตระหนักแก่ประชาชนในการไม่รับประทานเลือด และเนื้อสุกรดิบๆ สุกๆ เพื่อเป็นมาตรการในการควบคุม และป้องกันโรค" }
{ "en": "The purpose of this study was to compare the shaping ability of K3 and Easy RaCe rotary Ni-Ti instruments in curved canals with the crown down technique. The cross-sectional shapes of each canal at three different levels were evaluated before and after instrumentation. At each level, three parameters were evaluated : the centering abiltity of instruments, the roundness of canals and the direction of transportation. In addition, the time required to prepare the canals was also evaluated. Fourty mesiobuccal and mesiolingual root canals of extracted mandibular f irst molar were used in experiment. Twenty root canals were instrumented using the K3 rotary Ni-Ti instruments and the others were instrumented using the Easy RaCe rotary Ni-Ti instruments. The results showed that there was no signif icant difference between the mean centering ratio of K3 and Easy RaCe groups at p>0.05. There were no signif icant differences in the roundness in the coronal and middle sections, but the canals instrumented with the Easy RaCe were signif icantly rounder than the K3 in the apical sections (p<0.05). In comparison with the K3 and the Easy RaCe, found that the Easy RaCe was signif icantly faster than the K3 (p<0.05).", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพการเตรียมรูปร่างคลองรากฟันด้วยเครื่องมือ นิกเกิลไทเทเนียมโรตารีไฟล์ 2 ชนิด คือ เค ทรี (K3) และ อีซี่ เรซ (Easy RaCe) ด้วยวิธีคราวน์ดาวน์ (Crown down) โดยศึกษารูปร่างหน้าตัดตามขวางของคลอง รากฟันใน 3 ระดับ ได้แก่ ส่วนต้น ส่วนกลางและส่วน ปลายทั้งก่อนและหลังการเตรียมคลองรากฟัน โดยการ ประเมินการเบี่ยงเบนออกจากแนวศูนย์กลางคลอง รากฟัน ทิศทางในการเบี่ยงเบน ความกลมของคลอง รากฟันภายหลังจากการขยายคลองรากฟันและระยะ เวลาที่ใช้ในการขยายคลองรากฟัน โดยเลือกคลอง รากฟันใกล้แก้มใกล้กลางและคลองรากฟันใกล้ลิ้นใกล้ กลางของฟันกรามล่างซี่ที่หนึ่งจำนวน 40 คลอง รากฟัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ เค ทรี และกลุ่มที่ใช้ อีซี่ เรซ กลุ่มละ 20 คลองรากฟัน ผลการทดลองพบว่า คลองรากฟันส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนปลายภายหลังจากการเตรียมคลองรากฟัน ด้วย เค ทรี และ อีซี่ เรซ มีการคงไว้ซึ่งศูนย์กลางของ เครื่องมือไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยในคลองรากฟันส่วนปลายส่วนใหญ่มี แนวโน้มที่จะเบี่ยงเบนไปทางโค้งด้านนอกของคลอง รากฟัน ส่วนความกลมของคลองรากฟันภายหลังจาก การขยายด้วยเครื่องมือทั้งสองชนิดพบว่ามีรูปร่าง ค่อนข้างกลมใกล้เคียงกัน ยกเว้นในส่วนของคลอง รากฟันส่วนปลายซึ่งการใช้ อีซี่ เรซ จะทำให้คลอง รากฟันมีรูปร่างกลมมากกว่าการใช้ เค ทรี อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้ อีซี่ เรซ ในการเตรียมคลองรากฟันจะใช้เวลาน้อยกว่า การใช้ เค ทรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p><0.05) ><0.05)" }
{ "en": "To evaluate the extension required to reach the reported force and to measure morphologies of orthodontic elastics, either latex or non-latex, subjected under dry conditions. To evaluate the force degradation characteristics of orthodontic elastics subjected to different diameters, extensions and time intervals of latex and non-latex elastics in simulated oral conditions. By using sample sizes of 15 orthodontic elastics, either latex or non-latex, with equivalent force (4.5 oz) products were tested with 3/16, 1/4, and 5/16-inch lumen size, making a total of 360 specimens. The morphologies of orthodontic elastic and the standard force-extension index were tested. For the simulated oral test samples were stretched at fixed distances apart (20, 26, 32 and 40 mm) in water bath within distilled water at 37??C. Forces were recorded after 0, 1, 3, 6, 12, and 24 hour periods. In dry tests, there were statistically significant differences in force extension from the extension required to reach the reported force. Non-latex elastics show more average cross-sectional area and initial force when compared to latex elastics (p<0.001). In wet tests, there were statistically significant differences between materials, sizes, extensions and time intervals. Force degradation characteristics consist of an initial high slope component within the first hour and a latent part of degradation for latex but there still had a moderate relaxation after 12 hours for non-latex samples. On average, grouped percentages of initial force after 24 hours for latex and non-latex samples were approximately 72.61% and 54.15%, respectively. The extension required to reach the reported force shows remarkable variation, ranging from 2.96 to 4.36. Non-latex elastics show more average cross-sectional area and initial force. At the end of the study, non-latex elastics show more force degradation when compared to latex elastics.", "th": "เพื่อประเมินการยืดออกของวงยางเพื่อให้ได้แรงดึง ที่กำหนดและวัดลักษณะทางกายภาพของวงยางทั้ง ชนิดที่ผลิตจากยางธรรมชาติและชนิดที่ไม่ใช่ยาง ธรรมชาติที่ใช้ในงานทันตกรรมจัดฟันในสภาพแห้ง ศึกษาถึงผลของขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางวงยาง ระยะการยืดออกและช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน ในสภาวะ จำลองสภาพช่องปาก วงยางที่ใช้ในงานทันตกรรม จัดฟันทั้งชนิดที่ผลิตจากยางธรรมชาติและชนิดที่ไม่ใช่ ยางธรรมชาติถูกทดสอบโดยมีจำนวนตัวอย่างชนิดละ 15 วง เป็นยางที่มีขนาดของแรงดึงเท่ากันทั้งหมด (4.5 ออนซ์) มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางระยะ 3/16, 1/4 และ 5/16 นิ้ว จำนวนทั้งสิ้น 360 วง มีการคำนวณหา พื้นที่หน้าตัดโดยเฉลี่ยของวงยางที่ใช้ในงานทันตกรรม จัดฟันและค่าดัชนีมาตรฐานของการยืดออก สำหรับ สภาวะจำลองสภาพช่องปากวงยางตัวอย่างแต่ละวง ถูกดึงยืดออกที่ระยะคงที่ที่ 20, 26, 32 และ 40 มิลลิเมตร ตัวอย่างทั้งหมดถูกแช่ในน้ำกลั่นที่บรรจุ อยู่ในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิคงที่ที่อุณหภูมิ 37 องศา เซลเซียส แรงดึงของยางได้ถูกบันทึกด้วยเครื่องทดสอบ สมบัติเชิงกลที่ระยะเวลาที่ 0, 1, 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง ในสภาพแห้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติของแรงดึงของยางที่ถูกยืดออกกับค่าดัชนีมาตรฐานการยืดออกที่ถูกกำหนดในเกือบทุก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงยาง พบว่าพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ย และแรงที่แสดง ณ จุดเริ่มต้นของวงยางชนิดที่ไม่ใช่ ยางธรรมชาติมีค่าสูงกว่าวงยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในสภาวะ จำลองสภาพช่องปากพบความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติระหว่างชนิดของวัสดุ ขนาดของวงยาง ระยะการยืดออกและช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน แรงดึง ที่ลดลงมีลักษณะลดลงอย่างเฉียบพลันภายในระยะ เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงแรกหลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดลง อย่างต่อเนื่องในอัตราที่เล็กน้อยในวงยางชนิดที่ผลิต จากยางธรรมชาติ แต่ยังคงมีแรงดึงที่ลดลงต่อเนื่องใน ระดับปานกลางของวงยางชนิดที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติ ภายหลังจาก 12 ชั่วโมง โดยภาพรวมพบร้อยละของแรงดึง เริ่มต้นที่ลดลงภายหลัง 24 ชั่วโมง ในกลุ่มยางธรรมชาติ และชนิดที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติประมาณร้อยละ 72.61 และ 54.15 ตามลำดับ การยืดออกเพื่อให้ได้แรงดึง ที่กำหนดมีค่าแปรผันตั้งแต่ 2.96 ถึง 4.36 วงยางชนิด ที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติมีพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ยและแรงเริ่มต้น เฉลี่ยที่มากกว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษาวงยางชนิดที่ไม่ใช่ ยางธรรมชาติมีร้อยละของแรงดึงเฉลี่ยที่ลดลงเหลือ น้อยกว่าวงยางชนิดที่ผลิตจากยางธรรมชาติ><0.001) ในสภาวะ จำลองสภาพช่องปากพบความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติระหว่างชนิดของวัสดุ ขนาดของวงยาง ระยะการยืดออกและช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน แรงดึง ที่ลดลงมีลักษณะลดลงอย่างเฉียบพลันภายในระยะ เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงแรกหลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดลง อย่างต่อเนื่องในอัตราที่เล็กน้อยในวงยางชนิดที่ผลิต จากยางธรรมชาติ แต่ยังคงมีแรงดึงที่ลดลงต่อเนื่องใน ระดับปานกลางของวงยางชนิดที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติ ภายหลังจาก 12 ชั่วโมง โดยภาพรวมพบร้อยละของแรงดึง เริ่มต้นที่ลดลงภายหลัง 24 ชั่วโมง ในกลุ่มยางธรรมชาติ และชนิดที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติประมาณร้อยละ 72.61 และ 54.15 ตามลำดับ การยืดออกเพื่อให้ได้แรงดึง ที่กำหนดมีค่าแปรผันตั้งแต่ 2.96 ถึง 4.36 วงยางชนิด ที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติมีพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ยและแรงเริ่มต้น เฉลี่ยที่มากกว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษาวงยางชนิดที่ไม่ใช่ ยางธรรมชาติมีร้อยละของแรงดึงเฉลี่ยที่ลดลงเหลือ น้อยกว่าวงยางชนิดที่ผลิตจากยางธรรมชาติ" }
{ "en": "Traffic accidents are major public health concern in Thailand, and specifically in Khon Kaen province. This study aimed to examine the concentration of traffic accidents sorted by various causes in Khon Kaen province, in relation to economic status in each district through an application of concentration index (CI). In this regard, cross-sectional study was performed. The dataset consisted of information from two sources: (1) Injury Surveillance (IS) data from the Provincial Public Health Office in 2015 and (2) district economy data from 21 districts in Khon Kaen province during 2006-2007 from the Provincial Statistical Office. Key variables of interest were composed of (1) incidence of traffic accidents per 100,000 population, which was divided into (1.1) motorcycle accidents and (1.2) car accidents, and was sorted according to risk factors, namely, an absence of helmet while riding motorcycle, a failure to wear seatbelt, and a history of alcoholic drinking before and/or during a journey, and (2) ratio of registered enterprises to 100,000 population. The calculation of CI was performed by Stata XI. The findings revealed that traffic accidence incidence in Khon Kaen province was mainly concentrated amongst the better-off districts (CI with positive values), particularly for no-helmet and noseatbelt risk factors, which yielded statistical significance. Policy implication for this study is the application of CI as tool to assess the intensity and urgency of traffic accident prevention measures, which might be varied according to the economic status in each district. This study still experienced some limitations, such as limited data size, a lack of cases who did not show up at health facilities, and a lack of information that accurately reflected the economic status at the district level. Future research that includes data at the household level, and takes into account the spatial data analysis concept is recommended.", "th": "ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาทาง สาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและในจังหวัด ขอนแก่น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ กระจุกตัวของอุบัติเหตุทางถนนแยกตามสาเหตุต่างๆ อันสัมพัทธ์กับสถานะทางเศรษฐกิจของอำเภอใน จังหวัดขอนแก่นโดยใช้ดัชนีการกระจุกตัว (Concentration index : CI) การศึกษานี้เป็นงานวิจัยภาคตัดขวาง ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่เก็บที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นใน ปี พ.ศ. 2558 และข้อมูลเศรษฐานะของแต่ละอำเภอซึ่งได้จากการ สำรวจของสำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่นใน ปี พ.ศ. 2549-2550 จำนวน 21 อำเภอ ตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์ ค่า CI ประกอบด้วย (1) อุบัติการณ์อุบัติเหตุทางถนน ต่อแสนประชากร โดยแบ่งเป็น (1.1) อุบัติเหตุรถ จักรยานยนต์ และ (1.2) อุบัติเหตุรถยนต์ ซึ่งแยกตาม ความเสี่ยง ได้แก่ การไม่สวมหมวกนิรภัย การไม่คาด เข็มขัดนิรภัย และการมีประวัติดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ (2) จำนวนสถานประกอบการต่อแสนประชากร ในแต่ละอำเภอ การคำนวณ CI ใช้โปรแกรม Stata XI? ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์อุบัติเหตุทางถนนใน จังหวัดขอนแก่นมีการกระจุกตัวมากในเขตอำเภอที่มี เศรษฐานะดี (ค่า CI เป็นบวกในทุกตัวแปร) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอุบัติเหตุทางถนนที่มีความเสี่ยงจากการไม่สวม หมวกนิรภัยและการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยซึ่งค่า CI มีนัย สำคัญทางสถิติ ประโยชน์ของการศึกษานี้ในเชิง นโยบาย คือ การใช้ CI เป็นเครื่องมือในการพิจารณา ให้ความสำคัญถึงความเข้มข้นและความเร่งด่วนของ การดำเนินมาตรการอุบัติเหตุที่ต่างกันตามบริบทด้าน เศรษฐานะของแต่ละอำเภอ การศึกษานี้มีข้อจำกัด บางประการ อาทิ การมีปริมาณข้อมูลที่จำกัด การขาด ข้อมูลของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุแต่ไม่ได้มารับการรักษา ที่สถานพยาบาล และการขาดข้อมูลเศรษฐานะใน ระดับอำเภอที่แท้จริง ดังนั้นในอนาคตพึงมีการสำรวจ ให้ลึกถึงระดับครัวเรือน และพึงมีการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ร่วมด้วย" }
{ "en": "An interventional radiology-computed tomography machine (IVR-CT) is the new technology that was developed for transarterial chemoembolization (TACE) hepatocellular carcinoma treatment. IVR-CT can help radiologist to access very small and complicated hepatic artery for hepatocellular carcinoma treatment better than flfifiuoroscopy. However, IVR-CT are higher cost and unsupported by government health insurance system. Therefore, the cost consideration for transarterial chemoembolization hepatocellular carcinoma treatment with IVR-CT is the database for higher effificiency of technology in hepatocellular carcinoma treatment but the cost of transarterial chemoembolization hepatocellular carcinoma treatment with IVR-CT in Thailand should be clarifified. The purpose of this study is the cost analysis of TACE via IVR-CT for hepatocellular carcinoma treatment from the healthcare provider perspective. This retrospective study was in Lopburi cancer hospital with 256 patients that were hepatocellular carcinoma treated by TACE via IVR-CT in fiscal year of 2013 C.E. The cost of TACE via IVR-CT for hepatocellular carcinoma treatment was 27,875.03 baht/case. The fixed cost was 9,415.69 baht/case and the variable cost was 18,459.34 baht/case. The payers paid for TACE hepatocellular carcinoma treatment 24,221.88 baht/case. Break event point is 419 cases/ year. This study concluded that TACE via IVR-CT is unworthy investment to treatment hepatocellular carcinoma. The limitation is the lacks of radiologist specialized in TACE via IVR-CT for hepatocellular carcinoma treatment. The health care manager should support budget and personnel for TACE via IVR-CT for hepatocellular carcinoma treatment. The government health insurance system should support budget for higher efficiency of technology in hepatocellular carcinoma treatment, which affect to the eternity health care.", "th": "เครื่องตรวจและรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการสวน ทางหลอดเลือดแดงพร้อมเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Interventional radiology-Computed tomography : IVR-CT) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการรักษา โรคมะเร็งตับด้วยวิธี Transarterial chemoembolization (TACE) ซึ่งสามารถหา Hepatic artery ที่มีขนาดเล็กมากๆ หรือกายวิภาคของ Hepatic artery ผิดปกติได้ดีกว่า การเอกซเรย์พิเศษ (Fluoroscopy) อย่างไรก็ตาม เครื่อง IVR-CT มีราคาแพง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงและ ไม่ได้รับการสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายจากระบบประกัน สุขภาพของรัฐ ดังนั้นการพิจารณาความเหมาะสม ด้านต้นทุนในการนำเครื่อง IVR-CT มาใช้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งตับด้วยวิธี TACE จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ซึ่งการนำเครื่อง IVR-CT มาใช้ ยังไม่มีการศึกษาค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการรักษาผู้ป่วย โรคมะเร็งตับที่รักษาด้วยวิธี TACE โดยใช้เครื่อง IVR-CT ในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยเป็นการศึกษาแบบ ย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการรักษาผู้ป่วยโรค มะเร็งตับด้วยวิธี TACE โดยใช้เครื่อง IVR-CT ใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี จำนวน 256 ราย ที่มารักษาใน ปีงบประมาณ 2556 ในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ตับที่รักษาด้วยวิธี TACE โดยใช้เครื่อง IVR-CT ใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีเฉลี่ย 27,875.03 บาทต่อราย แบ่งเป็นต้นทุนคงที่เฉลี่ย 9,415.69 บาทต่อราย และ ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 18,459.34 บาทต่อราย สามารถ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เฉลี่ย 24,221.88 บาทต่อราย จุดคุ้มทุน 419 รายต่อปี การศึกษานี้สรุปได้ว่าการใช้เครื่องตรวจและรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการสวนทาง หลอดเลือดแดงพร้อมเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการ รักษาโรคมะเร็งตับด้วยวิธี TACE เป็นเทคโนโลยีที่ มีประโยชน์แต่ไม่มีความคุ้มค่าในการให้บริการ ซึ่งมี ข้อจำกัดโดยเฉพาะจำนวนแพทย์เฉพาะทางผู้ให้บริการ ผู้บริหารสถานสุขภาพควรให้การสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากรในการนำเครื่อง IVR-CT มาใช้ในสถาน บริการสุขภาพ และระบบประกันสุขภาพของรัฐควรมี การสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายในการนำเทคโนโลยีที่ มีประโยชน์มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ เพื่อ การให้บริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่ยั่งยืนต่อไป" }
{ "en": "The objectives was to study quality of life among caregivers of cancer patients, Udon Thani Cancer Hospital. The sample were 120 caregivers. The instrument was short form questionnaire for quality of Life (WHOQOL-THAI). The data were analyzed using descriptive statistics. The finding revealed that majority of caregivers was female (62.5%), education at the primary level (50.0%), farmers (49.2%), in the age average 46 years old, and married (73.3%). Most of caregivers had average income 8,249 baht per month. Most of them (50.8%) found three of health problems 1) headache, 2) back pain and 3) stomachache. Satisfied with their health at moderated level. Quality of life at moderated level in 4 areas : 1) health at moderated level, 2) mind at moderated level, 3) social relationships at high level, and 4) environment at moderated level. Patient care for a long time, May be cause of health problems in caregivers.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาตัว ในโรงพยาบาลมะเร็ง อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง 120 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การ อนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งส่วนมาก เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.5) อายุเฉลี่ย 46 ปี ประกอบ อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 49.2) การศึกษาระดับประถม ศึกษา (ร้อยละ 50.0) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 73.3) รายได้เฉลี่ย 8,249 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง มีปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 50.8) พบมากคือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และโรคกระเพาะอาหาร ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง พึงพอใจต่อสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง มีคุณภาพ ชีวิตในระดับปานกลาง ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพกายในระดับปานกลาง 2) ด้านจิตใจ ในระดับปานกลาง 3) ด้านสัมพันธภาพทางสังคมใน ระดับมาก และ 4) ด้านสภาพแวดล้อมในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่าผู้ดูแลผู้ป่วยเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เป็นเวลานานอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้" }
{ "en": "Herniorrhaphy is one of the most frequently performed operations. Inguinal hernia can be repaired in several ways and also the anesthesia is always required for this surgery. The three main methods of anesthetic administration are general anesthesia, spinal anesthesia and local anesthesia. There are numerous inguinal hernia patients in Nakhon Ratchasima and the majority of these patients are old mean age >55 years. This leads to the increment of the risk of diabetes and hypertension. The herniorrhaphy by local anesthesia is more inexpensive and safer than that of general anesthesia. During the last 10 years, the author has been introducing a simple seven-step infiltration technique for herniorrhaphy by using local anesthesia with satisfactory results. The local anesthesia that prolonged postoperative analgesia requires a maximum of 30 to 40 mL of the local anesthetic solution. A retrospective study of inguinal herniorrhaphy at Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital and Pakthongchai Hospital between July 2007 and December 2015 were performed. Two hundred and forty-two patients with inguinal hernia from the age ranging from 9 to 85 years were included in to this study. The preoperative assessments of all patients were determined by a surgeon. The informed consent forms were obtained. The heart rate; blood pressure and pulse oximetry of the patients were intraoperatively monitored. The local anesthesia was the desirable option for all adults with reducible inguinal hernia repair as a result of safety, simple, effectiveness and economical cost. In addition, this method was deprived of post anesthetic side effect and could reduce hospital stay. The inguinal hernia repair under the local anesthesia is does not need the anesthesiologist. It can be offered as an ambulatory or day care surgery. Therefore, the use of local anesthesia is another alternative, and one prominent advantage over other methods.", "th": "การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบเป็นการผ่าตัดที่ทำบ่อย ที่สุดอย่างหนึ่งของงานศัลยกรรมทั่วไป การให้ยาระงับ ความรู้สึกในการผ่าตัดซ่อมไส้เลื่อนขาหนีบนั้นสามารถ ทำได้หลายวิธี โดยทั่วๆ ไปวิธีระงับความรู้สึกที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่มี 3 วิธีด้วยกันคือ การวางยาสลบทั่วไป การ ฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลัง และการฉีดยาชาเฉพาะที่ เนื่องจากในจำนวนผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบที่มารับ การรักษาในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาและ โรงพยาบาลปักธงชัย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้สูงอายุ โดยเฉลี่ยอายุมากกว่า 55 ปี มีโรคประจำตัวหลาย อย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งการ ผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่พบว่ามีความปลอดภัย มากกว่าและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการผ่าตัดโดยการดม ยาสลบ ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ศัลยแพทย์เลือก ใช้วิธีระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ในการ ผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ซึ่งมีข้อดีในแง่ที่มีความปลอดภัย สูง และขั้นตอนของการฉีดยาชาเฉพาะที่มี 7 ขั้นตอน ปริมาณของยาชาเฉพาะที่ที่ใช้ในการผ่าตัดเพื่อให้ออกฤทธิ์ ในการระงับปวดสามารถใช้ได้ในปริมาณมากสุดที่ 30-40 มิลลิลิตร จากการศึกษาการกระทำนี้ภายในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาและโรงพยาบาล ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งทำการผ่าตัด โดยศัลยแพทย์ทั่วไป ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อน ขาหนีบมีทั้งหมด 242 ราย เป็นเพศชายทั้งหมด อายุ ตั้งแต่ 9-85 ปี และผู้ป่วยได้รับการติดตามการผ่าตัด โดยประเมินค่า อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าความดัน โลหิต และระดับค่าออกซิเจนในร่างกาย เพื่อทำการ ศึกษาผลลัพธ์ของการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ซึ่งผลการ ศึกษาพบว่าการผ่าตัดมีความปลอดภัยสูง มีวิธีการ ผ่าตัดที่ไม่ยุ่งยาก มีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายใน การผ่าตัด สามารถลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลลง การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ เหมาะสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีวิสัญญีแพทย์ ไม่เพียงพอ สามารถนำไปใช้สำหรับการให้บริการแบบ ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลได้ ดังนั้นการใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและ มีข้อได้เปรียบกว่าวิธีอื่น" }
{ "en": "Calcium hydroxide apexif ication has been used as a traditional treatment of necrotic permanent tooth with open apex, resulting in various types of apical barriers during a long period of time. However, such treatment normally renders a thin root canal wall which is prone to fracture. Regenerative endodontic procedures regain interest and become an alternative treatment to promote an increase in root thickness, continued root development, and revitalization. This case report describes a successful treatment of bilateral mandibular premolars with necrotic and open apices in a 12-year-old girl. First, regenerative endodontic treatment was used in treating both teeth but the left mandibular premolar failed to response bleeding induction after canal disinfection and instead received calcium hydroxide apexif ication. A long-term follow-up, the patient was asymptomatic. The regenerative endodontic procedure was advantageous over the treatment in contralateral tooth for the increased root wall thickness and root development including positive responses to vitality test. This report offers clinicians a great potential to achieve regenerative endodontic treatment under this condition.", "th": "วิธีการกระตุ้นให้ปลายรากปิดด้วยแคลเซียม ไฮดรอกไซด์เป็นการรักษาแบบดั้งเดิมในฟันแท้ตายปลาย รากเปิด โดยทำให้เกิดเนื้อเยื่อแข็งปิดปลายรากในรูปแบบ ต่างๆ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการรักษานานแต่ยังคงมีผนัง คลองรากฟันที่บางและอาจแตกได้ รีเจเนอเรทีฟ เอ็น โดดอนติกส์หรือวิธีการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อในได้ รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบันแต่ยังไม่มีข้อกำหนด เป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลการรักษาที่ดีโดยทำให้ผนังคลองรากฟันหนาขึ้น มีการพัฒนาของรากฟันและฟัน กลับมามีชีวิต รายงานนี้เป็นการนำเสนอความสำเร็จ ของการรักษาฟันกรามน้อยตายปลายรากเปิด 2 ซี่ ในผู้ป่วยเด็กอายุ 12 ปี โดยเริ่มแรกให้การรักษาฟัน กรามน้อยล่างทั้งซ้ายและขวาด้วยวิธีการเจริญทดแทน ของเนื้อเยื่อในเช่นกัน แต่ฟันกรามน้อยล่างซ้ายไม่ สามารถกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดได้ จึงให้การรักษาโดย การกระตุ้นให้ปลายรากปิดด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ แทน จากการติดตามผลระยะยาว พบว่าฟันทั้ง 2 ซี่ ไม่มีอาการใดๆ โดยพบว่าการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อ ในให้ผลการรักษาที่ดีกว่าในเรื่องความหนาของผนัง คลองรากฟันที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การพัฒนาต่อของ รากฟันจนปิดสมบูรณ์และการตอบสนองต่อการทดสอบ ความมีชีวิตของประสาทฟัน ดังนั้นวิธีการรักษาโดย การเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อในควรเป็นทางเลือกแรก ในการรักษาฟันแท้ตายปลายรากเปิด" }
{ "en": "Background : Laparoscopic surgery is the procedure of choice for cholecystectomy. Cholecystitis is one of indications for cholecystectomy. However, timing for surgery in patients of acute cholecystitis is still a matter of discussion because inflammation of gall bladder. Therefore,the anatomy of gallbladder is changed as well asthe adhesion, gangrenous and friable of gallbladder is occurred. These alterations might effect to laparoscopic procedure and causea serious complication especially injury tocommon bile duct.Toavoid this complication, conservativetreatment together withantibiotic areapplied for reduced infectionand inflammationthenlaparoscopic cholecystectomyhas to delay for thenext 6 weeks. Recently, many studies reported those early laparoscopic cholecystectomy are safe for patients with acute cholecystitis. Objective: To compare the outcomeofearly laparoscopic cholecystectomy and delayedlaparoscopic cholecystectomy in acute cholecystitis patients at Nopparat Rajathanee Hospital. Research design and Method :Retrospective Cohort study was conducted. Medical recordsof acutecholecystitis patientsor those whohad cholecystectomy at NopparatRajathanee Hospital during January 1, 2009 to December 31, 2013 were reviewed. Results: There were 689 cholecystectomy in total : opened cholecystectomy 196 cases and laparoscopic cholecystectomy 493 cases. For laparoscopic cholecystectomy, 100 cases were diagnosed as acute cholecystitis, 40 cases were received early surgery while 47cases were delayed and 13 cases were excluded from the study. There were no statistically significant different between early surgery and delayed surgery in the aspects of bleeding (255.30 ± 272.01ml vs. 144.10 ± 318.81 ml, p = 0.087), conversion rate (10.0% vs.10.6%, p =0.423), operative complication(15.0% vs.10.6%, p =0.382)and postoperative hospital stay (6.20 ± 3.69days vs.4.90 ± 4.14days, p = 0.178). Interestingly, total hospital stay and operative time in early surgery were shorter than those in delayed surgery (8.70 ± 4.29 days vs. 13.90 ± 7.38days, p =0.038 and 83.60 ± 30.21min vs.102.80 ± 45.42min, p = 0.021). Conclusions: Early laparoscopic cholecystectomy is safe, decrease total hospital stay, decrease operative time and not increase risk of operative complication.Therefore, it should beconsidered as aneffectivesurgical treatment for acute cholecystitis patients.", "th": "บทนำ : การผ่าตัดแบบส่องกล้องถือเป็นมาตรฐานหนึ่งของการผ่าตัดถุงน้ำดีอย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มี ภาวะถุงน้ำดีอักเสบชนิดเฉียบพลัน การอักเสบของถุงน้ำดีทำให้กายวิภาคของถุงน้ำดีเปลี่ยนไป รวมทั้งมี พังผืดยึดติดเนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยฉีกขาดง่ายเลือดออกง่าย ถ้าพิจารณาผ่าตัดในช่วงนี้อาจส่งผลให้มีโอกาสเกิด ภาวะแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบาดเจ็บต่อท่อทางเดินน้ำดีเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงได้รับการรักษาแบบประคับประคองและให้ยาปฏิชีวนะก่อนเพื่อรอให้การติดเชื้อและการ อักเสบลดลง หลังจากนั้นจึงนัดผ่าตัดถุงน้ำดีในอีกประมาณ 6สัปดาห์ต่อมา ปัจจุบันมีหลายการศึกษาให้การ ยอมรับถึงความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบส่องกล้องช่วงที่มีการอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำดีอักเสบ เฉียบพลัน วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการผ่าตัดแบบส่องกล้องช่วงที่มีการอักเสบในผู้ป่วย ภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเปรียบเทียบกับรักษาแบบประคับประคองก ่อนผ ่าตัดแบบส ่องกล้องที่ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังจากเหตุไปหาผล เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ของผู้ป่วยภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันหรือได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีย้อนหลัง 5 ปีตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2556 ผลการศึกษา : ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการผ่าตัดถุงน้ำดี ทั้งสิ้น 689 ราย เป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง 196 ราย ผ่าตัดแบบส่องกล้อง 493 ราย พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้ รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน 100 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่ได้ รับการรักษาโดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องช่วงที่มีการอักเสบ 40 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับ ประคองก่อนผ่าตัดแบบส่องกล้อง47รายและมีผู้ป่วย13รายถูกคัดออกจากการวิจัยเนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ ที่กำหนดผลการศึกษาพบว ่าผู้ป ่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ ่าตัดแบบส ่องกล้องช ่วงที่มีการอักเสบและ ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองก่อนผ่าตัดแบบส่องกล้องให้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติใน ด้านการเสียเลือด (255.30 ± 272.01ซีซี/144.10 ± 318.81ซีซี, p = 0.087) การเปลี่ยนจากการผ่าตัด ส่องกล้องเป็นแบบเปิดหน้าท้อง (ร้อยละ 10.0/ร้อยละ 10.6,p = 0.423) ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด (ร้อยละ 15.0/ร้อยละ 10.6,p = 0.382) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด (6.20 ± 3.69 วัน/4.90 ± 4.14วัน, p = 0.178) พบผลที่น่าสนใจคือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องช่วงที่มีการ อักเสบมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยรวมน้อยกว่า (8.70 ± 4.29 วัน/13.90 ± 7.38 วัน, p =0.038) และ ใช้ระยะเวลาการผ่าตัดน้อยกว่า (83.60 ± 30.21 นาที/102.80 ± 45.42 นาที, p = 0.021) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติสรุปผลการวิจัย : ผู้ป ่วยภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาโดยการผ ่าตัดแบบ ส่องกล้องช่วงที่มีการอักเสบมีความปลอดภัย ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลโดยรวม ลดระยะเวลา การผ่าตัด และไม่เพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ดังนั้นการผ่าตัดแบบส่องกล้องช่วงที่มีการอักเสบ จึงเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน" }
{ "en": "The objective of the study was to analyze the CT imaging of bronchogenic carcinoma based on each cell type. Two hundred eighty six new cases of bronchogenic carcinoma in Lampang Hospital during 2011-2013 were retrospectively reviewed and analyzed of their CT findings. Cell types and tumor imaging were analyzed and reported as frequency and percentage.The most commoncell type wasadenocarcinoma(50.0%) whichalso was the most common cell type of all CT interested features, particularly the pleural tag sign and mass with ground glass opacity. Squamous cell was the second most common (23.4%) that showed central necrosis or cavity as dominant features. The other CT features were not helpful tocharacterize the cell type. Mostof the patients were instage IV by CT staging and were poor prognosis.", "th": "วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของมะเร็งปอดในแต่ละชนิดเซลล์ ของผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ในโรงพยาบาลลำปาง ที่วินิจฉัยในระหว่างปีพ.ศ.2554-2556 จำนวน 286 ราย รวมถึงหาระยะของโรคจากการประเมินด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์การศึกษาเป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบ ย้อนหลัง วิเคราะห์ชนิดเซลล์และลักษณะต่างๆ ทางรังสีของก้อนมะเร็ง ในรูปแบบแจกแจงความถี่และ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า เซลล์ชนิด adenocarcinoma พบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.0 และเป็นเซลล์ ชนิดที่พบมากที่สุดในแต่ละลักษณะทางรังสีต่างๆโดยเฉพาะpleural tag signและฝ้าขาวร่วมกับก้อน เซลล์ ชนิด squamous cell carcinoma พบเป็นลำดับที่ 2 (ร้อยละ 23.4) โดยมีลักษณะเด่นคือการเกิดเนื้อตาย หรือโพรงในก้อน ลักษณะทางรังสีอื่นๆ ที่พบไม่ช่วยในการแยกชนิดของเซลล์การประเมินระยะโรคจาก เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ 4 ซึ่งมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี" }
{ "en": "This participatory action research aimed to develop the rehabilitation service for the people with disability in 17 districts of Sisaket. This study was employed with 2,311 participants, including mobility people and care givers, multisdisciplinary team, and volunteers. Thestudy was conducted betweenJuly and December2014. Developmentof process were used toservice mobility disabled people and care givers. The service system was evaluated by using the problem assessment, satisfaction, cost and time to enter mobile service team compare toenter service in Sisaket hospital. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics including frequency and percentage while qualitative data were analyzed using content analysis. The results demonstrate the success of the development of mobile rehab medical unit service which reduces time to 2 hours 45 minutes/times and cost 300 baths/times to enter the medical service. The problems of disabled people are Physical therapy (23.8%), Issue of medical disable certification(21.6%) and Occupational therapy(14.8%). The Satisfaction level of disabled person is found to be high, at 100 %. This service system by multisdisciplinary teams can do as one stop services, reduces time and cost to enter the medical rehabilitation service. Therefore management should implement this service modelasa policyand strengthencorporationofall provinces inService planning for Health service provider board office 10", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวของหน่วยบริการทั้ง17อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ โดยการจัดหน่วย แพทย์เคลื่อนที่โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ อันประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ช่างกายอุปกรณ์สังคมสงเคราะห์และจิตอาสา ออกให้บริการในโรง พยาบาลชุมชน โดยมีแผนการกำหนดกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงบริการได้ครอบคลุม สะดวก และรวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 ให้บริการผู้ป่วย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,311 คน โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป, ปัญหาที่ต้องมา รับบริการจากหน่วยเคลื่อนที่, กิจกรรมบริการที่ได้รับ ความพึงพอใจ ระยะเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการมา พบแพทย์ที่หน่วยเคลื่อนที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา พบว่ามีคนพิการทางการเคลื่อนไหว ที่มารับบริการจาก การออกหน ่วยเวชกรรมฟื้นฟูเคลื่อนที่ กิจกรรมบริการที่มีการให้บริการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กายภาพบำบัด ตรวจประเมินความพิการ กิจกรรมบำบัด โดยคิดเป็นร้อยละ 23.8, 21.6 และ 14.8 ตาม ลำดับ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการมารอรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพจากการออกหน่วยเหลือเพียงเฉลี่ย 50 บาท/ครั้ง และใช้เวลาในการมาบริการเหลือเพียงเฉลี่ย 45 นาที/ครั้ง ความพึงพอใจต่อระบบการให้บริการ ออกหน ่วยเชิงรุกเวชกรรมฟื้นฟูเคลื่อนที่ ร้อยละ 100 สรุปและข้อเสนอแนะ ระบบบริการงานฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยการออกหน่วยเชิงรุก ทำให้คนพิการได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์อย่างเหมาะสมและครบถ้วน ลดระยะเวลาการรอ คอย ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์และรับบริการ ลดความแออัดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ อันเป็น ผลให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุด เพื่อการพัฒนาระบบงานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทั้ง เขต 10 ในปีงบประมาณถัดไป" }
{ "en": "This action research was to develop clinical nursing practice guideline for low birth weight in preterm infants and study knowledge, ability of nurses to know about assessing patient problems, emergency and continuity nursing care, treatment with Total parenteral nutrition : TPN, discharge planning, duration of TPN, complications and satisfaction of nurses and parentsontheclinicalnursing practiceguideline.Thestudy was conducted between October 2014 and August 2015. The samples were selected by purposive sampling with 34 nurses and 15 parents low birth weight in preterm infants with TPN. The research tool consists of record form patient and nursing practice, programs to develop knowledge ability for nurses, clinical nursing practice guideline for low birth weight in preterm infants. Data were collected by nursing knowledge questionnaires, nursing skill observation questionnaires, record form duration of TPN and complication, the satisfaction of nurses and parents questionnaires.Therearefivesteps for implementation: planning develop clinicalnursing practice guideline for low birth weight in preterm infants, action, observation, reflection and revising clinical nursing practice guideline model. The data were analyzed using frequency, percentage, mean standard deviation, mode, maximum, minimum and paired sample t-test. The results showed that the developing clinicalnursing practice guideline for low birth weight in preterm infants includes,assessing patient problems,emergencyand continuitynursingcare, treatment withTPN, discharge planning, durationofTPN, complications.Afterusing thenew guideline, the knowledgeofnurses and ability significantly increased (p < 0.001). Inaddition, nurse satisfaction after using the guideline was found at the highest level. Low birth weight in preterm infants received TPN within 48 hours of 73.3%, no complications of TPN (93.3%), and high level of parents satisfaction. Research results demonstrate the success of the developing clinical nursing practice guideline for low birth weight in preterm infants that improved the quality of nursing care.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับทารก คลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยและศึกษาความรู้ความสามารถของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมิน ปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย การให้การพยาบาลภาวะฉุกเฉินและต่อเนื่อง การได้รับสาร อาหารทางเส้นเลือด (Total parenteral nutrition : TPN) การวางแผนจำหน่าย ระยะเวลาการได้รับสาร อาหารทางเส้นเลือด ภาวะแทรกซ้อน และศึกษาผลความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพและบิดาหรือมารดา ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยที่ได้รับสารอาหารทางเส้นเลือด (Total parenteral nutrition : TPN) ต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยที่รับไว้ รักษาในโรงพยาบาลพิจิตร ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2557-สิงหาคม พ.ศ.2558กลุ่ม ตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 34 คน และบิดาหรือมารดาทารกคลอดก่อน กำหนดที่มีน้ำหนักน้อยและได้รับสารอาหารทางเส้นเลือด (Total parenteral nutrition : TPN) จำนวน 15 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยและการ ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โปรแกรมการพัฒนาความรู้ความสามารถสำหรับพยาบาล วิชาชีพ แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย เครื่องมือรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความสามารถ ของพยาบาลวิชาชีพ แบบบันทึกระยะเวลาและภาวะ แทรกซ้อนการได้รับสารอาหารทางเส้นเลือด (Total parenteral nutrition : TPN) แบบประเมินความพึง พอใจของพยาบาลวิชาชีพและของบิดาหรือมารดาทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย วิธีดำเนินการ วิจัยมี5ขั้นตอน ได้แก่การวางแผนพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการนำแนวปฏิบัติการพยาบาล ทางคลินิกสู่การปฏิบัติการสังเกตผลการปฏิบัติการสะท้อนผลลัพธ์การปฏิบัติและการปรับปรุงแนวปฏิบัติ การพยาบาลทางคลินิกสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจง ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าฐานนิยม ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด เปรียบเทียบค่าความ แตกต่าง โดยใช้สถิติPaired Sample t-test ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทาง คลินิกสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ประกอบด้วย การประเมินปัญหาทารกคลอดก่อน กำหนดที่มีน้ำหนักน้อย การให้การพยาบาลภาวะฉุกเฉินและต่อเนื่องการให้สารอาหารทางเส้นเลือด(Total parenteral nutrition : TPN) และการวางแผนจำหน่าย ทำให้กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพมีค่าคะแนน เฉลี่ยความรู้หลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีค่าคะแนนเฉลี่ย ความสามารถหลังการฝึกทักษะและเทคนิคการปฏิบัติงาน มากกว่าก่อนการฝึกทักษะและเทคนิคการปฏิบัติ งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.001) และมีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการ พยาบาลทางคลินิกสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ที่ระดับมากที่สุดในส่วนของกลุ่มตัวอย่าง ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยได้รับสารอาหารทางเส้นเลือด(Total parenteralnutrition:TPN) ในเวลา 48 ชั่วโมง ร้อยละ 73.3 ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับสารอาหารทางเส้นเลือด (Total parenteral nutrition : TPN) ร้อยละ 93.3 และบิดาหรือมารดาทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมี ระดับความพึงพอใจต่อการให้การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่ระดับความพึงพอใจ ระดับมาก ผลการึกษาแสดงให้เห็นผลสำเร็จของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับทารกคลอดก ่อน ก�ำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ส่งผลคุณภาพการพยาบาลดีขึ้น" }
{ "en": "The research and development study aimed to develop and trial perioperative nursing system for emergency save life patients cause by mass casualty inoperating theatre department, Rajavithi hospital. Fourteen subjects who were interviewed consisted of surgeons, operating room nurses, anesthesiologists,nurse anesthetists, deputy directorofnursing, and nursing staffs. Seventy-five participants attended the rehearsal of disaster situation. The instrumentsused for data collectionarechecklists and 9 questionnaires foreach professional. Four steps of data collection 1) study the need and guide for perioperative nursing system foremergencysavelife patientscause by masscasualty2) the developmentof perioperative nursing system for emergency save life patients cause by mass casualty 3) the rehearsal of disaster situation and 4) the evaluation of results after the rehearsal. Mean, standard deviation, content analysis, frequency and percentage were performed. The results of the first rehearsal found that thecommanders still lackof knowledgeinorder tosolvethe problems for the whole system and communication, which is the main component of leadership. To resolvethis problem, theteam hasorganized a multidisciplinary meeting and brainstorming. Finally, therehas beenanobvious protocol to determinetherolesofappropriatecommanders and followers. As a result, all staffs can operate each step effectively 100 percent after the second rehearsal. Overall satisfaction is at the highest level. Considering each component, the location, coordination, area preparation and quality management are at the highest levels. Success factors were: 1) inputs with the development plan of nursing care, clear duty of incidence commander, guideline to prepare equipment for each type of surgery, human resource development, and clear scheduling the operation 2) the process of meetings were held to plan the development, system operation, training plan and evaluation of theoperationand 3) after the second rehearsal, the professionalnurses performance inthe operating room were well-developed perioperative nursing system, all staffs had clearly higher performance.", "th": "การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และทดลองใช้ระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินช่วย ชีวิตจากอุบัติภัยหมู่งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สัมภาษณ์คือ ศัลยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด วิสัญญีแพทย์วิสัญญีพยาบาล รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านการ พยาบาล และนักวิชาการพยาบาล จำนวน 14 คน และ บุคลากรที่เข้าร่วมการซ้อมแผนการเกิดสถานการณ์ อุบัติภัยหมู่จำลอง จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบตรวจสอบรายการและ แบบสอบถาม จำนวน 9 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูลมี4 ขั้นตอน 1) ศึกษาความจำเป็นและแนวทางในการ พัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินช่วยชีวิตจากอุบัติภัยหมู่ฯ 2) การพัฒนาระบบการพยาบาล ผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินช่วยชีวิตจากอุบัติภัยหมู่ฯ 3) การทดลองซ้อมแผนการใช้ระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ฉุกเฉินช่วยชีวิตจากอุบัติภัยหมู่ และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้ซ้อมแผนการใช้ระบบการพยาบาลผู้ป่วย ผ่าตัดฉุกเฉินช ่วยชีวิตจากอุบัติภัยหมู่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ และค่าร้อยละ ผลการทดลองซ้อมแผนในระยะที่ 1 พบว่า พยาบาลระดับ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ขาดความพร้อมในองค์ความรู้ด้านการแก้ปัญหาทั้งระบบ และการสื่อสาร ซึ่งองค์ ประกอบนี้เป็นภารกิจหลักของภาวะผู้นำ ซึ่งทีมได้มีการจัดประชุมรวมสหวิชาชีพ เพื่อระดมสมองและหารือ จนในที่สุดได้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติ/ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานที่ชัดเจน จนผู้ปฏิบัติตามสามารถปฏิบัติ งานตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การซ้อมแผนครั้งที่2ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับปฏิบัติงานได้ร้อยละ100 ทุกรายการ ส่วนบุคลากรที่เข้าร่วมทีมรับการซ้อมแผนฯ มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านความสะดวกของสถานที่ การประสานงาน การจัดเตรียมความพร้อมและ คุณภาพการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยสำเร็จในการศึกษานี้ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า มีการพัฒนา แผนการปฏิบัติการพยาบาล แนวทางการจัดการ คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้อย่าง ชัดเจน มีคู่มือการจัดเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ประจำห้องผ่าตัดแต่ละประเภท การพัฒนาและเตรียมความ พร้อมของบุคลากร และการจัดตารางการปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยกระบวนการ เป็นการดำเนินการจัดประชุม ชี้แจงแผนรองรับอุบัติภัย กระบวนการพัฒนาการจัดระบบการทำงานและจัดโครงการซ้อมแผนฯ ตลอดจน ประเมินผลการดำเนินการ และ 3) ผลลัพธ์คือ สมรรถนะการดำเนินงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดระดับ ต่างๆ ตามการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินชีวิตจากอุบัติเหตุหมู่ หลังการซ้อมแผนสมรรถนะ สูงกว่าก่อนซ้อมแผนอย่างชัดเจน" }
{ "en": "A retrospective study to evaluate common symptoms in patients with advanced cancer referred to palliative care department at Ubonratchathani Cancer Hospital during January 2011 to December 2012. The potential list of symptoms was evaluated and was calculated in 60 patients with advanced cancer referred to palliative care unit. Patients were classified into two groups: group A: outpatients, group B: inpatients. The most common symptoms and their prevalence varied between the groups. Patients in group B had the higher symptoms burden than group A (average 5.86 symptoms per patient). The five most prevalence overall were pain (95.0%), anorexia (50.0%), dyspnea (46.7%), dyspepsia (46.7%) and insomnia (28.3%). This study suggests that different patient groups may have different need in terms of symptoms, which will be relevant for effective palliative care treatment planning.", "th": "การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อประเมินอาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่รับมารักษาที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ประคับประคอง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2554-ธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยรวบรวมอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วย 60 ราย จำแนกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้ป่วยนอก 30 ราย และกลุ่มผู้ป่วยใน 30 ราย อาการที่พบบ่อยมีลำดับแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม กลุ่มผู้ป่วยในมีอาการมากกว่าโดยพบเฉลี่ย 5.86 อาการ อาการที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกในผู้ป่วยโดยรวมคือ ปวดร้อยละ 95.0 เบื่ออาหารร้อยละ 50.0 อาการเหนื่อยและจุกแน่นท้องพบเท่ากัน คือ ร้อยละ 46.7 และอาการนอนไม่หลับร้อยละ 28.3 การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันด้านอาการซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนรูปแบบการรักษาแบบประคับประคองที่เหมาะสม" }
{ "en": "This descriptive research was studied to monitor number of research papers as the consequence of encouragement from participation of work shop program meeting which was held to support research doing during January - August 2013. 64 participants attended, 82.8% (53) of which completed the questionnaires. 92.5% were female. Mean age was 44.13 ± 9.60 yrs. Majority were nurses and doctors (60.4%, 20.8% respectively). The average number of papers before attending the aforementioned work shop program was 0.74 ± 1.02 paper/ person/ 5 years. 51.0% of the participants felt that it was very difficult to create new researches and 46.9% were afraid of failure to complete their studies. 65.4% showed intention to do their own researches. The problem of time availability to create research papers was considered the most (28.0%). As a consequence of the program, the problems concerning literature review, writing proposal, lack of coresearchers, data collection and analysis, writing full paper for publication ameliorated. More consultants and statisticians will be provided. In expectation, about 26 academic researches will be created as an encouragement from this program.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูจำนวนผลงานทางวิชาการของบุคลากรในโรงพยาบาลสระบุรี หลังจากเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำผลงานทางิชาการ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ผู้เข้าอบรมทั้งหมด 64 คน มีการตอบสอบถามร้อยละ 82.8 (53 คน) เพศหญิงร้อยละ 92.5 อายุเฉลี่ย 44.13 ± 9.60 ปี เป็นพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 60.4 แพทย์ร้อยละ 20.8 จำนวนผลงานทางวิชาการในอดีตเฉลี่ย 0.74 ± 1.02 ฉบับ/คน/5 ปี ก่อนอบรมร้อยละ 51.0 มีความเห็นว่า การทำิจัยเป็นสิ่งที่ยากและร้อยละ 46.9 กลัวจะทำผลงานไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ต้องการมีผลงานวิชาการของตนเอง ร้อยละ 65.4 การไม่มีเวลาทำผลงานเป็นอุปสรรคในการทำผลงานมากที่สุด ร้อยละ 28.0 หลังจากการอบรม พบว่าอุปสรรคในการทำผลงานลดลงในด้านการค้นหาวรรณกรรม การเขียนโครงร่างการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การขาดทีมงาน การเก็บข้อมูล เวลาสำหรับการทำผลงาน การเขียนผลงานและวารสารที่ตีพิมพ์ แต่มีความต้องการให้มีที่ปรึกษาและความช่วยเหลือในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้นหลังการอบรม บุคลากรของโรงพยาบาลสระบุรีที่เข้าร่วมอบรม มีการสร้างผลงานทางวิชาการจำนวน 26 ฉบับ" }
{ "en": "Endoscopic sinus surgery (ESS) is performed worldwide nowadays. Lerdsin General Hospital plans to have this operation performed in the near future. However there are risks associated with this surgery, particularly injury to optic nerve of Delano classification types 2 and 3. Complete preoperative evaluation of optic nerve and its proximity relationship to posterior ethmoid and sphenoid sinus is crucial for successful outcome. The objectives of this study were to delineate optic nerve as per its proximity relationship with the ethmoid and sphenoid sinuses according to Delano classification using CT scan and to determine the relative frequency of bony variations. Retrospective analysis of 150 optic nerves from 75 CT scans of paranasal sinuses or facial bones taken during June 2013 - March 2014 was conducted. Images were reviewed in both coronal and axial planes. The results showed that the most frequent position of optic nerve (ON) according to Delano classification was type 1, i.e. a location close to posterior ethmoid sinus (PES) and sphenoid sinus (SS) without indentation of the wall, accounted for 114 nerves (76%). 41 nerves (9.3%) were found to indent the SS without contacting PES (type 2). The course of ON running through SS and close to both SS and PES (type 3 and 4) were observed in 8 (5.4%) and 14 nerves (9.3%) respectively. Optic nerve types which are prone to injury (type 2 and 3) were detected in 14.6% of patients. Other potential risk condition including protrusion of optic nerve, bony dehiscence and pneumatized anterior clinoid process (ACP) were detected in 3 (4.0%), 8 (10.7%) and 9 (12.0%) patients respectively. The concomitance of dehiscence and ACP pneumatization was seen in 3 patients (4%); the first case with optic nerve type 2 on the right side, the second case with optic nerve type 1 on the right side and the third one with optic nerves type 3 on both sides. As Lerdsin general hospitals plans to initiate endoscopic sinus surgery (ESS) in the future, evaluation of individual variations to configure the position of optic nerve and bony variation in the surgical area is essential for preoperative planning to prevent serious complication. Computed tomography of paranasal sinuses must be done not only to look for the pathology but also for the evaluation of bony variation in this complex anatomical region.", "th": "ในปัจจุบันการผ่าตัด paranasal sinus โดยใช้กล้อง (endoscopic sinus surgery ) ได้ใช้อย่างแพร่หลาย และจะเริ่มทำที่โรงพยาบาลเลิดสินในอนาคตแต่เนื่องจากการผ่าตัดชนิดนี้มีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทตา โดยเฉพาะชนิดของเส้นประสาทตาชนิดที่ 2 และ 3 ดังนั้นความสัมพันธ์ของเส้นประสาทตา กับ posterior ethmoid และ sphenoid sinus จึงมีความสำคัญอย่างมาก ผู้รายงานจึงได้ทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเส้นประสาทตา กับ posterior ethmoid และ sphenoid sinus โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตามการแบ่งของ Delano และหาความถี่ของรูปแบบกระดูก (bony variation) ที่เป็นปัจจัยร่วมที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทตาที่อาจพบได้ โดยได้ทำการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วย 75 รายที่มาทำ CT scan ของ paranasal sinus หรือ facial bone (150 ข้าง) ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556-เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 โดยดูทั้ง axial และ coronal plane และแบ่งชนิดของเส้นประสาทตา ตามการแบ่งของ Delano เป็น 4 กลุ่ม ซึ่งพบว่าชนิดของเส้นประสาทตาที่พบมากที่สุด คือ ชนิดที่ 1 ร้อยละ 76.0 (114 เส้น) ชนิดที่ 2-4 พบร้อยละ 9.3 (14 เส้น) ร้อยละ 5.4 (8 เส้น) และร้อยละ 9.3 (18 เส้น) ตามลำดับ โดยชนิดของเส้นประสาทตาที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมาก คือ ชนิดที่ 2 และ 3 ซึ่งการศึกษานี้พบร้อยละ 14.6 ส่วนปัจจัยเสี่ยงร่วมอย่างอื่น เช่น protrusion of optic nerve, bony dehiscence of optic canal และ pneumatization of anterior clinoid process (ACP) พบร้อยละ 4.0 ร้อยละ 10.7 และ ร้อยละ 12.0 (3 ราย 8 ราย และ 9 ราย ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบทั้ง dehiscence of optic nerve ร่วมกับ pneumatized ACP ในผู้ป่วย 3 ราย (ร้อยละ 4.0) โดย 1 รายเป็นเส้นประสาทตาชนิดที่ 2 ข้างขวา อีก 1 รายเป็นชนิดที่ 1 ข้างขวา และอีก 1 รายเป็นชนิดที่ 3 และเป็นทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากจะมีการริเริ่มการผ่าตัด paranasal sinus โดยใช้กล้องในอนาคตที่โรงพยาบาลเลิดสิน การศึกษาผู้ป่วยแต่ละรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินชนิดของเส้นประสาทตาและปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นก่อนผ่าตัดนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทตา ดังนั้นการทำ CT scan ในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนการผ่าตัด จีงไม่เพียงแต่เพื่อมองหาพยาธิสภาพ แต่เพื่อการประเมินและวางแผนการผ่าตัดด้วย" }
{ "en": "This research aims to study of medical service and treatment outcomes, self - management and satisfactory of patients with type 2 diabetes mellitus after getting medical services from Public Health Center no. 19 Wongsawang (PHC. 19)because diabetes mellitus is important problem of PHC.19 which patients didn?t diagnosis, cant?t continuing taking medical core and lack knowledge about diabetes mellitus that can their health care. This research use the retrospective descriptive study from all secondary data medical record of patient type 2 who continuing taking medical core from Public Health Center no.19 Wongsawang (PHC.19) in the number of 346 cases between January - December 2010 and Results of the research reveals as following; Medical care of patients in overall picture are not cover every item of the necessary medical check - up according to the standards of medical care for evaluation of risk factors and diagnosis circumstance of complications under çDiabetes Management Guideline 2008 by Diabetes Association Of Thailandé and it was not complete all the number of patients that came to take services.(51.9%). The Result of medical care of patients with type 2 diabetes of Public Health Center no.19 comparing with the goal of Diabetes Management Guideline, it was found that patients with type 2 diabetes partial of them were able control blood sugar, the level of HbA1c and Cholesterol and blood pressure (19.1%, 33.2% and 22.5% respectively) the amount was under half of the cases. Cross - sectional study by exploring patient,s knowledge and understanding of diabetes mellitus, life style modification to prevent complications and Satisfactory of patients with type 2 diabetes that taken medical service from February - March 2011 in the number of 188 cases by using Questionnaire, Standard Deviation. Services have been educated and understand of diabetes, were in adequate level, the life style modification medical treatment and continue to follow up were in good level, nutrition and general hygiene and exercise were in moderate level. The satisfactions of patients were in good level both service procedure, character of service staffs. Most of patients with type 2 diabetes of Public Health Center no. 19 still unable to reach the goal of blood sugar level HbA1c, cholesterol, and blood pressure according to the criteria of treatment.", "th": "การศึกษาผลการให้บริการดูแลรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พฤติกรรมการปฏบัติตัวในการดูแลสุขภาพตัวเองของผู้ป่วยและความพึงพอใจในการมารับบริการตรวจรักษาจากศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง(ศบส.19) เนื่องมาจากสถานการณ์โรคเบาหวานเป็นปัญหาระดับต้นๆของศบส.19 วงศ์สว่าง ซึ่งพบว่าประชาชนในพื้นที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน หรือผู้วินิจฉัยแล้วไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพของตนเอง จึงทำการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องจาก ศบส.19 วงศ์สว่าง ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 346 ราย พบว่า ในภาพรวมยังทำได้ไม่ครอบคลุมการตรวจสุขภาพตามมาตรฐานการดูแลรักษาเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงและตรวจหาภาวะหรือโรคแทรกซ้อนตาม \"แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2551 ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย\" รวมทั้งยังทำได้ไม่ครบถ้วนตามจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการตรวจรักษาทั้งหมด (ร้อยละ 51.9) ผลการดูแลรักษาผู้ป่วยเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายการดูแลรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ พบว่า อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ HbA1c ระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์เป้าหมายยังทำได้ไม่ดี (ร้อยละ 19.1, 33.2 และ 22.5 ตามลำดับ) การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยการสำรวจความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเบาหวาน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และความพึงพอใจในการมารับบริการตรวจรักษาโรคจากกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 188 ราย ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลสุขภาพตนเองด้านการใช้ยาและการติดตามการรักษาต่อเนื่องได้ในระดับดีและมีความพึงพอใจในการมารับบริการ อยู่ในระดับดี ทั้งด้านกระบวนการให้บริการ คุณลักษณะของผู้ให้บริการ ความสะดวกและความพร้อมในการให้บริการ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนา ปรับปรุงระบบงานบริการตรวจรักษาโรคเบาหวานให้มีคุณภาพครบวงจรมากยิ่งขึ้น ควรมีการวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างครอบคลุม รวมทั้งพัฒนาระบบเฝ้าระวังและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย" }
{ "en": "Meta-analysis or quantitative systematic reviews of flare-ups after single versus multiple visit endodontic treatment of permanent teeth might be used for proper clinical decision making. PubMed database was systematically searched on clinical trials together with searching in Biomed Central, Open Access, Google scholar and manual search at the Institute?s library. They were all filtered for articles in English from 1980 until 2012. Six randomized controlled trial articles were accepted and extracted for metaanalysis using Stata 11.2. Assessment of homogeneity among articles stated that they were similar. (chi-square = 1.85; d.f.=5; p = 0.870). Meta-analysis showed that there was no statistically significant difference between two types of treatment. [relative risk = 0.748; p = 0.263 (95 % CI = 0.450 - 1.244)]", "th": "การวิเคราะห์อภิมานเปรียบเทียบในเชิงปริมาณของการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังการรักษาคลองรากฟันแท้ด้วยวิธีการรักษานัดครั้งเดียวกับการนัดหลายครั้ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยดำเนินการสำรวจอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูล PubMed ฐานข้อมูล Biomed Central ฐานข้อมูล Open Access การสืบค้นจาก Google Scholar ร่วมกับการค้นหาด้วยมือจากห้องสมุด นำมาเฉพาะบทความภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 จนถึงปี ค.ศ. 2012 คัดบมความวิจัยทางคลินิกที่เป็นการทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม มาสกัดและวิเคราะห์อภิมานโดยซอฟต์แวร์สถิติ Stata 11.2 บทความที่ได้รับการยอมรับมี 6 บทความ การประเมินความคล้ายคลึงระหว่างบทความวิจัยพบว่า บทความทั้ง 6 มีความคล้ายคลึงกัน (chi-square = 1.85; d.f.=5; p = 0.870) การวิเคราะห์อภิมานพบว่า การเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังการรักษาคลองรากฟันแท้วิธีการรักษานัดครั้งเดียวเปรียบเทียบกับวิธีการรักษานัดหลายครั้ง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [relative risk = 0.748; p = 0.263 (95 % CI = 0.450 - 1.244)]" }
{ "en": "A retrospective study was conducted by reviewed patient?s charts in Bamrasnaradura infectious diseases institute. The enrollment period was from 1 January 2013 - 31 December 2013. There were 241 patients, who were diagnosed as sinusitis in this study. The incidence of sinusitis in HIV/AIDS patients was 19% comparing to general patients. HIV/AIDS patients were younger than non-HIV patients. HIV/AIDS patients had more incidences of runny nose than non-HIV patients. However, we found that treatment results in HIV/AIDS patients are no different from general patients.", "th": "การศึกษาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไซนัสอักเสบเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกโสต ศอ นาสิก สถาบันบำราศนราดูร โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลนำข้อมูลต่างๆที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อทราบปัจจัยที่มีผลต่อโรคและผลการรักษาโรคไซนัสอักเสบในสถาบันบำราศนราดูร โดยทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 พบว่าจากผู้ป่วยทั้งสิ้น 241 ราย พบอุบัติการณ์ของไซนัสอักเสบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์เทียบกับผู้ป่วยทั่วไปร้อยละ 19.0 ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มีแนวโน้มที่จะเป็นไซนัสอักเสบในอายุที่น้อยกว่าผู้ป่วยทั่วไปและมีอาการแสดงไม่มาก ส่วนใหญ่จะมาด้วยเรื่องมีน้ำมูกหรือคัดจมูกเท่านั้นและไม่มีประวัติของโรคประจำตัวที่จะทำให้นึกถึงไซนัสอักเสบ เช่น ภูมิแพ้ ดังนั้นแพทย์ผู้ดูแลควรตระหนักถึงอาการดังกล่าวว่าอาจเกิดจากสภาวะไซนัสอักเสบมิใช่ไขหวัดธรรมดา อย่างไรก็ตามพบว่าผลการรักษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป" }
{ "en": "Ovarian cancer is one of the most important cancer of the female reproductive system in Thailand with high mortality rate. Currently, CA125 is the most commonly used tumor marker to discriminate ovarian cancer in patient who have ovarian mass and it is used in treatment monitoring the recurrence of ovarian cancer. However, it is neither sensitive nor specific enough for early diagnosis in ovarian cancer. Recently, HE4 has been investigated as a new tumor marker in diagnosis and monitoring of ovarian cancer. The objective of this study is to evaluate the sensitivity and specificity of CA125 and HE4 in 85 patients with epithelial ovarian cancer compared to 34 patients with benign gynecological conditions who received treatment in National Cancer Institute. The laboratory data from computerized record of the laboratory information system (LIS) were collected. In this study, HE4 level in patients with epithelial ovarian cancer was significantly higher than in patients with benign gynecological conditions (p=0.0308) while CA125 level was not different (p=0.2931). Of the 119 women enrolled, the sensitivity and specificity of serum CA125 at the cutoff level of 35 U/mL for prediction of epithelial ovarian cancer were 50.6% and 67.6 %. HE4, at the cutoff level of 121 pmol/L, the sensitivity and specificity were 32.9% and 97.1%, respectively. The combination of CA125 plus HE4 achieved a little improved sensitivity of 56.5% and 67.6 % specificity. We also found that HE4 was more specific than CA125 as diagnostic marker of epithelial ovarian cancer (95% CI, p=0.00148). Moreover, age was one of a high-risk personal factors of ovarian cancer (p=0.00006). However, this study is only a preliminary report of which the number of cases is small. Further study of larger population is required for high statistical power.", "th": "มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งของระบบสืบพันธุ์สตรีที่เป็นปัญหาสำคัญและมีอัตราการตายค่อนข้างสูง การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่นิยมใช้ในการติดตามการรักษาและดูภาวะกลับเป็นซ้ำของมะเร็งรังไข่ คือ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ cancer antigen 125 (CA125) ซึ่ง CA125 ยังมีข้อจำกัดเรื่องความไวและความจำเพาะ ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ตรวจวินิจฉัยโรคในระยะต้นๆได้ ปัจจุบันได้มีการนำ human epididymis protein 4 (HE4) ซึ่งเป็นสารบ่งชี้มะเร็งที่ค่อนข้างใหม่มาใช้ช่วยในการวินิจฉัยและติดตามผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความไวและความจำเพาะของ CA125 และ HE4 ในผู้ป่วยโรคนรีเวชที่ไม่ใช่เนื้อร้ายและผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวคณะผู้ศึกษาได้รวบรวมผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้มารับบริการตรวจที่คลินิกนรีเวช สถาบันมะเร็งแห่งชาติรวม 119 ราย โดยแบ่งข้อมูลผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวจำนวน 85 ราย และกลุ่มผู้ป่วยนรีเวชที่ไม่ใช่เนื้อร้ายจำนวน 34 ราย ผลการศึกษาพบว่าระดับ CA125 ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกัน (p=0.2931) ในขณะที่ระดับ HE4 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่เนื้อร้าย (p=0.0308) และพบว่า HE4 มีความจำเพาะมากกว่า CA125 ในการใช้แยกผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม (95% CI 23.4-44.1, p=0.00148) เมื่อใช้ค่าตัดสินของ CA125 ที่ 35 U/mL พบว่ามีความไวและความจำเพาะในการแยกผู้ป่วยโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่เนื้อร้ายออกจากผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวร้อยละ 50.6 และ 67.6 ส่วน HE4 ที่ค่าตัดสิน 121 pmol/L มีความไวและความจำเพาะร้อยละ 32.9 และ 97.1 ตามลำดับ และเมื่อใช้ HE4 ร่วมกับ CA125 จะมีความไวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 56.5 และความจำเพาะร้อยละ 67.6 นอกจากนี้ยังพบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็งรังไข่ คือ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าผู้ป่วยโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่เนื้อร้าย (p=0.00006) การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงรายงานเบื้องต้นซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนไม่มาก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อเนื่องโดยเพิ่มจำนวนผู้ป่วยให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังในการวิเคราะห์ทางสถิติ" }
{ "en": "Public health center 41 Khlong Toey, Department of health,Bangkok metropolitan administration This present study aimed to evaluate the accuracy, sensitivity and specificity of single -field nonmydriatic fundus camera interpreted by ophthalmologist for diagnosis diabetic retinopathy of 377 diabetic patients in Khlong Toey District during March 2011 - and June 2012. Single field nonmydriatic digital retinal images of 377 patients were obtained with a nonmydriatic digital fundus camera. The images were diagnosed and graded by a general ophthalmologist. After digital retinal images capture, patients were examined for screening diabetic retinopathy by ophthalmologist as a gold standard by using indirect ophthalmoscope with plus lens. All data were recorded for statistical analysis. Presence of diabetic retinopathy was detected in 91 patients, 7.5% of diabetic patient were not obtained with nonmydriatic digital fundus camera because of cataract and small pupil. The Kappa value of gold standard and nonmydriatic digital fundus camera was 0.89. The prevalence of diabetic retinopathy was 24.1%. The accuracy for screening diabetic retinopathy was 95.2%. The sensitivity and the specificity for screening diabetic retinopathy were 96.7% and 94.7% Positive predictive value and negative predictive value were 85.4% and 98.9%. Single field nonmydriatic digital fundus camera is a convenient screening tool for a diagnosis of diabetic retinopathy because of accuracy,sensitivity, specificity from the present study was relatively high. Single field nonmydriatic digital fundus camera can increased the access of diabetic patients for screening diabetic retinopathy but cannot replace standard eye examination.", "th": "การศึกษานี้เพื่อประเมินความแม่นยำ ความไว ความจำเพาะ ของกล้องถ่ายภาพจอประสาทตาโดยไม่ขยายม่านตาเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน คือทำการขยายม่านตาและตรวจจอประสาทตาโดยใช้ indirect ophthalmoscope ร่วมกับ 90-diopter lens โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนคลองเตยระหว่างเดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมิถุยายน พ.ศ. 2555 จำนวน 377 ราย ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทุกรายจะถูกถ่ายภาพจอประสาทตาโดยไม่ขยายม่านตาและบันทึกภาพไว้เพื่อให้จักษุแพทย์แปลผลและส่งต่อผู้ป่วยไปตรวจภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาตามมาตรฐาน เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษา พบผู้ที่เริ่มมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จำนวน 82 ราย (ร้อยละ 21.7) และพบผู้ป่วยที่ต้องทำการส่งต่อเพื่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล จำนวน 9 ราย (ร้อยละ 2.4) พบความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 24.1 ค่าความแม่นยำในการคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 95.2 ค่าความสอดคล้อง Kappa statistic เท่ากับ 0.89 ค่าความไวในการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 96.7 ค่าความจำเพาะในการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 94.7 ค่าการทำนายผลบวกเป็นร้อยละ 85.4 เป็นค่าทำนายผลลบเป็นร้อยละ 98.9 การใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาโดยไม่ขยายม่านตาในการคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคและมีความจำเพาะ ความไวค่อนข้างสูงเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาแต่อย่างไรก็ดียังพบว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 7.5 ไม่สามารถใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาโดยไม่ขยายม่านตาเนื่องจากมี ต้อกระจก รูม่านตามีขนาดเล็ก จึงควรมีการตรวจตาตามมาตรฐานโดยจักษุแพทย์ในกรณีที่ไม่สามารถอ่านภาพได้อย่างชัดเจน" }
{ "en": "The purpose of this study was to benchmark quality care of ischemic stroke in the network groups of Prasat Neurological Institute. The data were collected from stroke database management system during May 2011 to September 2012. The 23 network groups had been classified into 3 groups: (1) highly specialized group (4 units), (2) tertiary hospital group (15 units), (3) private hospital group (4 units). Which will gave the average score of each group. The study found that quality care of most of network groups was at well and achieved the target. Benchmarking for ranking quality care, only 21 network groups were qualified. The average quality care score of network groups was 3.78. There were 17 units (80.9% of the network groups) had average score equal/ more than the overall average score. The unit with the highest average score had the average score equal to 4.51. In percentile, 11 units had their quality care score around 50th percentile. By which this tool will inform the network groups their quality score, the average indicator quality score of their groups, and the overall average indicator quality score of network groups. The administrator can use these results as in order to further develop their quality care.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเทียบเคียงคุณภาพการให้บริการโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในกลุ่มเครือข่ายสถาบันประสาทวิทยา รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 โดยแบ่งหน่วยงานเครือข่ายจำนวน 23 หน่วยงานเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง (4 หน่วย) กลุ่มโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (15 หน่วย) และกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน (4 หน่วย) ซึ่งจะทำให้ได้คะแนนมาตรฐานของแต่ละกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าหน่วยงานเครือข่ายส่วนใหญ่มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับดีและได้ตามเป้าหมายโดยในการเทียบเคียงเพื่อจัดลำดับคุณภาพการให้บริการ มีเพียง 21 หน่วยงาน ที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาครั้งนี้ พบว่าค่าเฉลี่ยคุณภาพการให้บริการในภาพรวมของกลุ่มเครือข่ายเท่ากับ 3.78 โดยมีหน่วยงานที่ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ/มากกว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมจำนวน 17 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 80.9 ของกลุ่มเครือข่าย และกลุ่มหน่วยงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับที่ 1 ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 เมื่อพิจารณาเป็นเปอร์เซ็นไทล์ พบว่ามี 11 หน่วยงานที่มีคะแนนคุณภาพอยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 โดยเครื่องมือนี้จะทำให้หน่วยงานเครือข่ายทราบคะแนนตัวชี้วัดคุณภาพของตนเอง คะแนนเฉลี่ยตัวชี้วัดคุณภาพของหน่วยงานกลุ่มเดียวกัน และคะแนนเฉลี่ยตัวชี้วัดคุณภาพของหน่วยงานเครือข่ายทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถนำผลดังกล่าวมาพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานต่อไป" }
{ "en": "This retrospective study was conducted to determine the effect of frenulotomy and factors related to exclusive breastfeeding for 6 months in the patients who had breast feeding difficulty due to tongue tie at Health Promotion Hospital Region I Bangkok. The study was performed in 255 patients with breastfeeding problems who were sent to lactation clinic at H.P.H Region I for frenulotomy in the period of August 2010 - September 2013.Preoperative and postoperative latch were assessed by using the LATCH score. Preoperative and postoperative maternal nipple pain were assessed by visual analogue pain Scale (0 - 10 points). The patients were follow up 6 months to access exclusive breastfeeding.The subjects comprised 155 boys and 105 girls, mean age was 7.3 days, mean body weight on operative day was 3157.8 gm.,mean Siriraj Tongue Tie Score (STT score) was 6.3,mean LATCH score and nipple pain level (using a standard visual analogue pain scale) were 6.4 and 4.1. There was significant increase in mean LATCH score to 8.3 and 9.4 post operative day 1 and 7. There was also significant decrease in nipple pain level to 2.4 and 1.4 postopeative day 1 and 7. Their mean increase in body weight postoperative day 7 was 268.6 gm. Rate of exclusive breastfeeding for 6 months was 35.9% (74/206). Factors related to exclusive breastfeeding for 6 months in post frenulotomy patients were maternal occupation, preoperative and postoperative day 1 nipple wound, maternal nipple function, preoperative nipple pain level, postoperative nipple pain level day 1 and day 7. Frenulotomy is effective for improving latch and maternal nipple pain. Factors related to exclusive breastfeeding for 6 months in post frenulotomy patients were maternal occupation, preoperative and postoperative day 1 nipple wound, maternal nipple function, preoperative nipple pain level, postoperative nipple pain level day 1and day 7.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการแก้ไขปัญหาการดูดนมแม่ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดโดยติดตามผลการรักษา 6 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เพื่อดูแล ระยะแรก (ภายใน 1 สัปดาห์) และระยะยาว (ภายใน 6 เดือน) เก็บข้อมูลย้อนหลังจากใบประเมินผลปัญหาด้านต่างๆ ของมารดาและทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังการรักษา เพื่อแก้ปัญหาการดูดนมมารดาที่คลินิกนมแม่ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553 - กันยายน พ.ศ. 2556 รวมถึงแฟ้บประวัติผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยประเมินการให้นมมารดาด้วย LATCH score ระดับความเจ็บของหัวนมใช้แบบวัดระดับความเจ็บปวด (visual analogue pain scale) จากระดับ 0-10 เปรียบเทียบก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดวันแรก และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ ประชากรศึกษามีทั้งสิ้น 255 ราย เป็นทารกเพศชาย 150 ราย หญิง 105 ราย อายุเฉลี่ย 7.3 วัน น้ำหนักวันผ่าตัดเฉลี่ย 3,157.8 กรัม Siriraj Tongue Tie Score เฉลี่ย 6.3 LATCH score เฉลี่ยก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดวันแรก และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ คือ 6.4, 8.3, 9.4 ระดับความเจ็บของหัวนมเฉลี่ย ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดวันแรก และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ คือ 4.1, 2.4, 1.4 น้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์เฉลี่ย 268.6 กรัม ผลการติดตามการดูดนมแม่ 6 เดือน พบอัตราการดูดนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 35.9 (74/206) ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนได้แก่ อาชีพมารดา บาดแผลที่หัดนมก่อนผ่าตัด และหลังผ่าตัด 1 วัน ลักษณะของหัวนมมารดา ระดับความเจ็บของหัวนมก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดวันแรก และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ การรักษาทารกลิ้นติดที่มีปัญหาในการดูดนมแม่ของคลินิกนมแม่ศูนย์อนามัยที่ 1 ด้วยการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้น การให้คำแนะนำในการจัดท่าการดูดนมมารดาอย่างถูกต้องและการรักษาแผลที่หัวนมมารดา สามารถช่วยให้ทารกดูดนมมารดาได้ดีขึ้น" }
{ "en": "The 140 older patients (aged 60-99 years old) had hip fractures who admitted at Samutsakhon Hospital since January 2008 to December 2012, 29 male and 111 female patients, were followed up for 1 year and more. They had 69 Femoral neck fractures and 71 Intertrochanteric fractures. 70 patients were operated with instrumentation and 70 pateints were treated by conservative management (non-operation). These two groups had 2 different dermographic datas as age of patients and hospital duration. Postoperative disability, decreased disability and one year mortality rate of the operated group and non-operated group were significantly different.", "th": "ผู้ป่วยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีกระดูกสะโพกหักที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาครตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2551- ธันวาคม พ.ศ.2555 จำนวน 140 ราย อายุตั้งแต่ 60 - 99 แบ่งเป็นเพศชาย 29 ราย เพศหญิง 111 ราย รายได้รับการรักษาดูแลต่อเนื่องนานกว่า 1 ปีขึ้นไป มีกระดูกต้นขาส่วนคอหัก (Femoral Neck Fracture) 69 ราย และกระดูกต้นขาส่วนอินเตอร์โทรแคนเตอร์หัก (Intertrochanteric Fracture) จำนวน 71 ราย ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดจำนวน 70 ราย และได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัดจำนวน 70 ราย พบว่า อายุ จำนวนวันเฉลี่ยที่นอนโรงพยาบาล ความสามารถในการเดินหลังผ่าตัด การลดลงของความสามารถในการเดินหลังผ่าตัดและอัตราตายในระยะเวลาหนึ่งปีหลังการเกิดกระดูกสะโพกหักมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด" }
{ "en": "A prospective study was conducted at General Practitioner Out Patient Department of Samutsakhon Hospital from 1 July - 31 August 2013 to study the factors associated with primary hypertension. I collected information from 156 primary hypertensive patients attending the hypertension clinic and 144 nonhypertensive patients from other patients. Data were collected by medical history interview and direct blood pressure, weight and height measurement. The association between hypertension and suspected factors was analysed by chi- square test or chi-square with Yates?correction, Odds Ratio ( OR. ) and 95% Confidence Interval of Relative risk ( 95%CI. ). In hypertensive group, mean age was 58.7±10.23 years (minimum = 35 years, maximum). The sex ratio was 2.9:1(116 females:40 males). In non-hypertensive group, mean age was 53.05±11.8 years (minimum = 35 years, maximum = 87 years). The sex ratio was 1.67:1 (90 females : 54 males). The factors statistical significant associated with primary hypertensive patients were age intervals, sex, DM., Dyslipidemia, Gout, Body mass index and exercise. Eating behavior and types of food factors were salty foods, oily foods, fried foods, coconut milk prepared foods, Instant foods, prepared foods by salt or fish sauce or monosodium glutamate and lard prepared foods ( p < 0.05 ). This study indicated that some factors could be changed for prevention primary hypertension by diet, exercise, avoiding salty foods, oily food, fried foods, coconut milk prepared foods, instant foods, preparing foods by salt or fish oil or monosodium glutamate and using vegetable oil not using lard.", "th": "ได้ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยคลินิกความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยทั่วไปที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเวชปฏิบัติทั่วไป โรงพยาบาลสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ 156 ราย และผู้ป่วยที่ไม่มีความดันโลหิตสูง 144 ราย รวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน และสัมภาษณ์ประวัติความเจ็บป่วย ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ และข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคและชนิดอาหารที่ผู้ป่วยบริโภค วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ มีอายุเฉลี่ย 58.74 ± 10.23 ปี (อายุต่ำสุด 35 ปี อายุสูงสุด 86 ปี) และสัดส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 2.9:1 (หญิง 116 ราย และชาย 40 ราย) กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีความดันโลหิตสูง มีอายุเฉลี่ย 53.05 ± 11.8 ปี (อายุต่ำสุด 35 ปี อายุสูงสุด 87 ปี) และสัดส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย 1.67:1 (หญิง 90 ราย และเพศชาย 54 ราย) พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ เพศ การป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคเกาต์ และดัชนีมวลกาย) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (การออกกำลังกาย) และปัจจัยพฤติกรรมและชนิดอาหารที่ผู้ป่วยบริโภค (อาหารรสเค็ม อาหารมัน ของทอด อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ อาหารกึ่งสำเร็จรูป การปรุงรสอหารด้วยเครื่องปรุง และการใช้น้ำมันหมูประกอบอาหาร) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งหากปัจจัยปรับเปลี่ยน เช่น การลดดัชนีมวลกาย การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม อาหารมัน ของทอด อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ อาหารกึ่งสำเร็จรูป การปรุงรสอหารด้วยเกลือ น้ำปลา ผงชูรส และการใช้น้ำมันพืชแทนการใช้น้ำมันหมู จะช่วยลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง" }
{ "en": "The author retrospectively reviewed the multidetector computed tomography (MDCT) data of two hundred and eighty-two patients who underwent contrast-enhanced MDCT scan of the abdomen for noncardiovascular reasons in Krabi General Hospital during June 2013 to May 2014. The mean internal diameters of the suprarenal and infrarenal abdominal aortas were measured at the T12 and L3 vertebral levels. Aortic sizes were analyzed and correlated by age, gender and vertebral body width. The mean diameters of the suprarenal and infrarenal abdominal aortas measured at T12 and L3 vertebral levels were 19.91±2.87 mm. and 14.97±2.14 mm. in men and 17.94±2.41 mm. and 13.34±2.08 mm. in women, respectively. The ratio of the infrarenal to the suprarenal abdominal aortic diameters was 0.78±0.09 in men and was 0.77±0.09 in women. The abdominal aortic diameter progressively increased in caliber with the increasing age of the patients and was larger in men than women. Significant positive correlation was found between the abdominal aortic diameter and the vertebral body width in both men and women. In conclusion, among the Southern Thai people, the mean diameters of the abdominal aortas were determined at each level. The abdominal aortic diameters correlated with age, gender and vertebral body width, as same as previously published literatures. However, the abdominal aortic diameters of the Southern Thai population were less than that of the Western population.", "th": "การศึกษาขนาดปกติของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาบริเวณช่องท้องในคนไทยโดยการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมัลติสไลด์ในโรงพยาบาลกระบี่ ผู้ศึกษาได้ทำการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาบริเวณช่องท้องในคนไทย จำนวน 282 ราย เป็นผู้ป่วยชาย 160 ราย และหญิง 122 ราย จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดมัลติสไลด์ส่วนช่องท้อง ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงกับอายุ เพศ และความกว้างของกระดูกสันหลัง พบว่าผู้ป่วยทุกรายมีลักษณะของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาซึ่งค่อยๆลดขยาดลงจาก ส่วน suprarenal จนถึงส่วน infrarenal ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วน suprarenal วัดที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนทรวงอกชิ้นที่ 12 ในเพศชาย คือ 19.91±2.87 มิลลิเมตร และในเพศหญิง คือ 17.94±2.41 มิลลิเมตร ในขณะที่เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหลอดเลือดแดงเอออร์ตา ส่วน infrarenal วัดที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นที่ 3 ในเพศชาย คือ 14.97±2.14 มิลลิเมตร และในเพศหญิง คือ 13.34±2.08 มิลลิเมตร อัตราส่วนของขนาดหลอดเลือดเมื่อเปรียบเทียบระหว่างหลอดเลือดส่วน infrarenal กับหลอดเลือดส่วน suprarenal ในเพศชาย คือ 0.78±0.09 และในเพศหญิง คือ 0.77±0.09 หลอดเลือดจะโตตามอายุพบว่าขนาดของหลอดเลือดของผู้ชายจะโตกว่าของผู้หญิงในทั้งสองระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 โดยที่ขนาดของหลอดเลือดกับความกว้างของกระดูกสันหลังก็มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 ด้วยเช่นกัน โดยสรุปการศึกษานี้ทำให้ทราบขนาดปกติของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาบริเวณช่องท้อง ส่วน suprarenal และส่วน infrarenal ในคนไทยภาคใต้ ซึ่งพบว่าขนาดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับอายุ เพศ และขนาดของกระดูกสันหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามขนาดเฉลี่ยของหลอดเลือดเอออร์ตาในคนไทยมีขนาดเล็กกว่าขนาดของหลอดเลือดเอออร์ตาที่รายงานในบทความทางวิชาการของชาวตะวันตก" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "The purpose of this study was to compare sealant retention and development of caries between phosphoric acid etching and self etching adhesive. Fifty children aged 7 - 8 years old have the first permanent molar in the upper and the lower teeth. The sealant was placed by a dentist and randomly allocated to one of the teeth within each pair. On one side, control group phosphoric acid gel was applied before light cure sealant placement (Clinpro Sealant 3M ESPE). On the other side experimental group, self - etching adhesive (Scothbond Universal adhesive 3M ESPE) was applied before sealant placement and polymerization. The sealed teeth were checked for retention after six months. The sealant retention rate by teeth in experimental group was statistically significant lower than in control group. (p =.000) It was concluded that Clinpro Sealant retention on the first permanent molars after six months period in self - etching group was less than in phosphoric acid etching group.", "th": "การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการยึดติดแน่นของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุระหว่างการใช้กรดฟอสฟอริกกัดผิวฟันกับการใช้สารยึดติดเซลฟ์เอตซ์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็ก 50 คน อายุ 7 - 8 ลักษณะของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง จำนวน 4 ซี่ ทั้งฟันบนและฟันล่าง ฟันทุกซี่ในกลุ่มตัวอย่างจะถูกเคลือบหลุมร่องฟันโดยทันตแพทย์ และทำการสุ่มตัวอย่างโดยใน 1 คู่ของฟันบนหรือฟันล่าง จะทำให้ข้างหนึ่งเป้นกลุ่มควบคุมที่ใช้กรดฟอสฟอริกกัดผิวฟันก่อนฉีดสารเคลือบหลุมร่องฟัน (Clinpro Sealant 3M ESPE) และอีกข้างเป็นกลุ่มศึกษาโดยใช้วารยึดติดเซลฟ์เอตซ์ (Scothbond Universal adhesive 3M ESPE) ทาบนตัวฟันก่อนฉีดสารเคลือบหลุมร่องฟัน (Clinpro Sealant 3M ESPE) แล้วฉายแสงพร้อมกัน ติดตามผลในเวลา 6 เดือน พบว่า อัตราการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในกลุ่มศึกษามีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pvalue = 0.000) สรุปผลการศึกษาได้ว่า สารเคลือบหลุมร่องฟัน (Clinpro Sealant 3M ESPE) ที่ใช้สารยึดติดเซลฟ์เอตซ์กัดผิว มีอัตราการยึดติดในหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ระยะเวลา 6 เดือน ต่ำกว่าการใช้กรดฟอสฟอริกกัดผิวฟัน" }
{ "en": "There are several techniques in hand rehabilitation for children with cerebral palsy; nevertheless only constraint induced movement therapy (CIMT) has been proved in effectiveness. The CIMT required a well cooperation from children and has limitation on very young children as well as intellectual impairment population. Mirror therapy technique, which is widely accepted in effectiveness in people with cerebrovascular disease, was redesigned to fit with children. The technique was then studied in eight children aged between 3- 8 years diagnosed as spastic cerebral palsy. Outcome measurements were the ability to perform Modified Jebsen-Taylor test of hand function (MJTHT) and the ability of hand and arm control, which assessed at day 1, 1month and 3months after day 1. The results demonstrated that seven cases had improvement in performing MJTHT with lesser time than the baseline. But only three still had improvement after three months later. The ability of hand and arm control tends to improve at post training and still unchanged after three months after three months. It was concluded that appropriate mirror therapy program which started from basic motor function of hand and arm, component of hand function and a variety of hand manipulations respectively, probably improves hand function in spastic cerebral palsy.", "th": "การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการใช้มือในเด็กสมองพิการมีหลายวิธี แต่มีเพียงเทคนิค constraint induced movement therapy (CIMT) ที่มีรายงานการรองรับประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม CIMT ยังมีข้อจำกัดในการใช้ในเด็กเล็กหรือเด็กสติปัญญหาต่ำกว่าปกติกระจกบำบัดเป็นเทคนิคการฟื้นฟูหนึ่งที่ได้รับการยอมรับถึงประสิทธิผลในการใช้ในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองผู้รายงานจึงนำเทคนิคนี้มาปรับโปรแกรมการฝึกให้เหมาะสมและทำการศึกษาในเด็กสมองพิการชนิดเกร็งอายุระหว่าง 3-8 ปี จำนวน 8 ราย และวัดลใน 2 ประเด็น คือ ความสามารถในการทำกิจกรรม Modified Jebsen-Taylor test of hand function (MJTHT)และความสามารถในการควบคุมแขนและมือ โดยทำการประเมิน 3 ครั้งคือการประเมินครั้งที่ 1 หลังสิ้นสุดการฝึกวันแรก ครั้งที่ 2 หลังสิ้นสุดการฝึกวันสุดท้าย (1 เดือนหลังการฝึกวันแรก) และครั้งที่ 3 เมื่อครบ 3 เดือนหลังการฝึกวันแรก พบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษา 7 ใน 8 ราย มีความสามารถในการทำกิจกรรม MJTHT ดีขึ้น และมีเพียง 3 ราย ที่ความสามารถยังเพิ่มขึ้นแม้จะหยุดฝึกไป 2 เดือน ด้านความสามารถในการควบคุมแขนและมือมีแนวโน้มดีขึ้นในการประเมินครั้งที่ 2 และคงที่ในการประเมินครั้งที่ 3 จึงอาจสรุปได้ว่ารูปแบบการฝึกที่เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานของแขนและมือ ตามด้วยการฝึกองค์ประกอบของการใช้แขนและมือ และจบด้วยการฝึกใช้มือทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ด้วยความถี่และระยะเวลาที่เหมาะสม มีแนวโน้มที่ช่วยพัฒนาความสามารถของการใช้มือในเด็กสมองพิการชนิดเกร็งได้" }
{ "en": "Solitary fibrous tumor of thyroid gland (T-SFT) was a rare soft tissue tumor. The author would like to present a case of 61-year-old Thai woman with diagnosis of T-SFT. Microscopically, the patternless proliferation of bland spindle cells alternating in hyper and hypocellular areas separating by keloidal type collagen were noted with the occurrence of hemangiopericytoma like vessels. On immunohistochemistry, the neoplastic spindle cells showed positive staining to CD34, CD99, BCL-2 and vimentin but negative staining to AE1/AE3, epithelial membrane antigen (EMA), desmin, smooth muscle actin (SMA), S100, CD31, CD5, CD68, CD117, HBME-1, thyroglobulin, thyroid transcriptional factor-1 (TTF-1), calcitonin and chromogranin A. Nevertheless, histological and immunological appearances of T-SFT were quite characteristic. Many spindle cell lesions of thyroid gland should be in differential diagnosis for preventing mistaken diagnosis which effected therapeutic planning.", "th": "เนื้องอกโซลิทารี ไฟบรัส ของต่อมไทรอยด์เป็นเนื้องอกที่พบน้อย บทความนี้ผู้เขียนต้องการรายงานผู้ป่วยหญิงอายุ 61 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกโซลิทารี ไฟบรัส ของต่อมไทรอยด์ ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาที่สำคัญของเนื้องอกชนิดนี้ คือ การเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากของเซลล์รูปกระสวยที่ไม่มีความผิดปกติของนิวเคลียส ตัวเนื้องอกมีการจัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ไม่มีลักษณะจำเพาะ มีบริเวณที่เซลล์หนาแน่นมากสลับกับบริเวณที่เซลล์หนาแน่นน้อย นอกจากนี้ยังตรวจพบเส้นใยคอลลาเจนที่ค่อนข้างหนาแทรกขึ้นระหว่างเซลล์เนื้องอกด้วย หลอดเลือดในเนื้องอกมีลักษณะเป็นหลอดเลือดที่แตกกิ่งก้านออกเหมือนเขากวาง ลักษณะหลอดเลือดดังกล่าวเหมือนกับหลอดเลือดที่พบในเนื้องอกฮีแมงจิโอเพอริไซโทมา ผลการย้อมอิมมุโนฮีสโตเคมี พบว่า เนื้องอกโซลิทารี ไฟบรัส ของต่อมไทรอยด์ย้อมติด CD34, CD99, BCL-2 และ vimentin. ส่วน AE1/AE3, EMA, desmin, SMA, S100, CD31, CD5, CD68, CD117, HBME-1, thyroglobulin, TTF-1, calcitonin และ chromogranin A ย้อมไม่ติดถึงแม้ว่าลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาและอิมมูโนฮีสโตเคมีของเนื้องอกโซลิทารีไฟบรัสของต่อมไทรอยด์จะมีลักษณะที่ค่อนข้างจำเพาะแต่มีความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยแยกโรคออกจากเนื้องอกชนิดอื่นของต่อมไทรอยด์ที่ประกอบด้วยเซลล์รูปกระสวยเหมือนกันทั้งนี้เพื่อป้องกันการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการวางแผนการรักษา" }
{ "en": "Corrections of skeletal Class III malocclusion in adult patients are usually done by orthognatic surgeries which depended on severity of malocclusion and skeletal dysplasia. But in some less severe cases, orthodontic camouflage is an alternative treatment. Two patients with Class III malocclusion treated by orthodontic camouflage with fixed orthodontic appliances cases were reported. The first patient with anterior crossbite was treated by non-extraction of teeth and dentoalveolar compensation of anterior teeth. The second patient, with overjet and overbite 0.5 millimeter and embedded maxillary left second premolar was treated by extraction of maxillary second premolars and mandibular first premolars. The results of treatment were normal tooth alignment, Class I canine and molar relationships, and the maxillary and mandibular tooth midline were coincided with the facial midline. The mandibular tooth midline of the second case was shift 0.5 millimeter to the right.", "th": "การแก้ไขการผิดปกติของการสบฟันในผู้ใหญ่ที่มีโครงสร้างประเภทที่สาม (skeletal Class III malocclusion) โดยปกติสามารถรักษาโดยทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดบริเวณขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของความผิดปกติของการสบฟันและโครงสร้าง แต่ในบางกรณีซึ่งความผิดปกติไม่รุนแรงอาจรักษาทางทันตกรรมจัดฟันแบบอำพรางความผิดปกติของโครงสร้าง รายงานผู้ป่วยสองรายมีการสบฟันผิดปกติของโครงสร้างประเภทที่สาม ได้รับการรักษาด้วยการจัดฟันแบบอำพรางความผิดปกติด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น ผู้ป่วยรายที่หนึ่งมีฟันหน้าสบไขว้ (anterior crossbite) ได้รับการรักษาโดยไม่ได้ถอนฟันและ ขยายส่วนฟันและกระดูกเบ้าฟันชดเชย (dentoalveolar compensation) ในส่วนฟันหน้าบน ผู้ป่วยรายที่สองมีฟันหน้าบนสบฟันหน้าล่าง 0.5 มิลลิเมตร และมีฟัน #25 คุดในขากรรไกรบน ได้รับการรักษาโดยถอนฟันกรามน้อยซี่ที่สองในขากรรไกรบน และฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งในขากรรไกรล่าง ผลการรักษาผู้ป่วยมีการเรียงตัวของฟันหน้าบนและฟันล่างปกติการสบฟันเขี้ยวและฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งมีความสัมพันธ์ประเภทที่หนึ่งทั้งด้านซ้ายและขวา แนวกึ่งกลางฟันบนและล่างตรงกัน และตรงกับแนวกึ่งกลางใบหน้า ในผู้ป่วยรายที่สองแนวกึ่งกลางฟันหน้าล่างเอียงไปทางขวา 0.5 มิลลิเมตร" }
{ "en": "This case report describes the of 4 - year - old girl with anterior dental crossbite using removable appliance with screw and paddle spring to correct the anterior dental crossbite and align the incisors. After 3 - month period, the anterior crossbite involving multiple incisors was corrected.", "th": "รายงานผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กหญิงไทยอายุ 4 ปี มีฟันหน้าน้ำนม 4 ซี่ด้านบนสบไขว้กับฟันหน้าล่างซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดจากตำแหน่งฟัน ได้รับการรักษาและแก้ไขด้วยเครื่องมือจัดฟันถอดได้ร่วมกับสกูรและสปริงใช้เวลารักษา 3 เดือน สามารถแก้ไขการสบฟันหน้าไขว้ได้เป็นผลสำเร็จ" }
{ "en": "Tenecteplase tissue type plasminogen activator (TNK-tPA) is a fibrinolytic agent which is used in treating ST-elevated myocardial infarction (STEMI) in many countries and recommended in practice guidelines. We determined the patency rate of coronary artery as the effectiveness of thrombolytic drugs which inversely related to mortality rate. Patency rate was considered from TIMI (Thrombolysis in Myocardial Infarction) score 2 or 3 at 90 min after injection. Tenecteplase?s patency rate was 85% and its major complication was intracranial hemorrhage (0.93%). Streptokinase (SK) has been used as a thrombolytic agent for STEMI in Thailand. The patency rate was 60-68% and intracranial hemorrhage was 0.5%. This study aimed to analyze cost-effectiveness of tenecteplase for STEMI treatment compared with streptokinase including the budget impact. We performed a decision-analytic model to predict the cost and effectiveness of these thrombolytic drugs. The results showed that the total expected cost in treating STEMI with tenecteplase and streptokinase included its complication (intracranial hemorrhage) in healthcare provider perspective were 115,500 Thai baht (THB) and 134,030 THB per person respectively. The total cost of STEMI treatment with TNK was lower than SK 18,530 THB a patient. We estimated that 3,500 STEMI (35%) a year received thrombolytic agents according to the criteria of drug use. If policy makers decide to use tenecteplase in treating STEMI, the annual budget would be estimated 404 x 106 THB which was lower than SK about 65 x 106 THB. Thus, tenecteplase dominated in STEMI treatment because the total cost was lower and the effectiveness was higher than streptokinase according to the available data at the present time.", "th": "ปัจจุบัน tenecteplase tissue type plasminogen activator (TNK-tPA) เป็นยาละลายลิ่มเลือดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจชนิด ST-elevated myocardial infarction (STEMI) อย่างแพร่หลายในต่างประเทศและเป็นยาที่แนะนำให้ใช้ในแนวทางเวชปฏิบัติการรักษา STEMI เนื่องจาก tenecteplase มีคุณสมบัติเป็นยาละลายลิ่มเลือดโดยออกฤทธิ์สลายไฟบริน (fibrinolysis agent) ประสิทธิผลของ tenecteplase ประเมินด้วยอัตราการเปิดของหลอดเลือดหัวใจ (patency rate) ซึ่งแปรผกผันกับอัตราการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากค่า TIMI (Thrombolysis in Myocardial Infarction) score 2 หรือ 3 ที่เวลา 90 นาที ภายหลังฉีด พบว่า tenecteplase มี patency rate ร้อยละ 85.0 มีอัตราการเกิดเลือดออกในกะโหลกศรีษะ (intracranial hemorrhage) ได้ร้อยละ 0.9 ประเทศไทยใช้ streptokinase เป็นยาละลายลิ่มเลือดในการรักษา STEMI ทั้งนี้ streptokinase มี patency rate ที่ 90 นาที เป็นร้อยละ 60.0-68.0 และเกิดเลือดออกในกะโหลกศรีษะได้ร้อยละ 0.5 แม้ว่า tenecteplase มีประสิทธิผลของการรักษาสูงกว่า streptokinase แต่ต้นทุนของยา tenecteplase ก็สูงกว่าด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการหาความคุ้มค่าของการใช้ยา tenecteplase มาใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจชนิด STEMI เปรีบเทียบกับยา streptokinase โดยใช้แบบจำลองการตัดสินใจในการทำนายความคุ้มค่าของการใช้ยาละลายลิ่มเลือดทั้ง 2 ชนิด รวมถึงผลกระทบด้านงบประมาณที่คาดว่าจะเกิดขึ้น พบว่าต้นทุนโดยรวมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของการรักษาผู้ป่วย STEMI ด้วยยา streptokinase รวมต้นทุนค่ารักษาเลือดออกในศรีษะที่อาจเกิดขึ้นจากยา ในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ (healthcare provider) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 134,030 บาทต่อการรักษา 1 ราย หากเปรียบเทียบกับต้นทุนรวมของการรักษาด้วยยา tenecteplase พบว่าเป็นเงินจำนวน 115,500 บาทต่อการรักษา 1 ราย ซึ่งต่ำกว่า streptokinase เป็นจำนวนเงิน 18,530 บาท ประมาณการว่าผู้ป่วยที่เ้ขาถึงและได้รับยาละลายลิ่มเลือดตามเกณฑ์การให้ยามีประมาณ 3,500 ราย (ร้อยละ 35.0) ต่อปี หากผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจใช้ tenecteplase รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจชนิด STEMI งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้ประมาณ 404 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถูกกว่าการใช้ยา streptokinase เป็นจำนวนเงินประมาณ 65 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจชนิด STEMI ด้วยยาละลายลิ่มเลือด tenecteplase มีต้นทุนโดยรวมต่ำกว่าแต่มีประสิทธิผลในการรักษาสูงกว่าการใช้ยา streptokinase ภายใต้เงื่อนไขการศึกษาและข้อมุลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน" }
{ "en": "In Prasat Neurological Institute, the X-ray machine is use more than 10 years and need to buy the new one.The current medical technology has advanced and a wide choice.To get the most benefit to patients and to make appropriate budget,the decision to purchase expensive medical machine need regard of technology assessment. The digital radiography system are divided to Digital Radiography (DR) and Computed Radiography (CR). The objective of this study was to compare the two technologies, in terms of the advantages and disadvantages and to increase knowledge about the machines with the most advanced technology in the present and the future. The searched information of digital X-ray CR and DR from journal articles published in the media, Pub med site and the digital CR and DR systems questionnaire answered by technologist in x-ray department at the Rajavithi hospital and two Private hospitals are using digital radiography system were study. Finding that the Digital Radiography system was better than Computed Radiography system in term of lower radiation dose, high image quality, patients convenient and fast workflow but the cost effective was higher than Computed Radiography system.", "th": "การตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาสูงจำเป็นต้องมีการประเมินเทคโนโลยี ถึงความเหมาะสมคุ้มค่าเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและเพื่อประหยัดงบประมาณ เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลแบ่งเป็น 2 ชนิดคือเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบ CR และเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบ DR การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย ของเครื่องแต่ละระบบ โดยใช้วิธีสืบค้นรวบรวมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต บทความวิชาการ และตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน คือรังสีแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และผู้เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาลภาครัฐ 1 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง ที่มีเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลทั้ง 2 ระบบ ผลการศึกษาพบว่าเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบ DR ดีกว่าระบบ CR โดยผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า คุณภาพของภาพเอกซเรย์ดีกว่า ผู้ป่วยได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็วกว่า แต่ข้อด้วยของเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบ DR คือมีราคาสูงกว่าเครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลระบบ CR" }
{ "en": "Moisturizers contain diversity of active ingredients on which their potential efficacy of preventing transepidermal water loss (TEWL) and increasing skin hydration depend. This study tested 12 moisturizers which were applied once daily for a week (day1-7, D1-D7) in 64 subjects. Subjects? skin was evaluated at baseline, at time point of 15, 60, 120, 360 minutes (D1) and once every day on D2-D7, as well as on D14, D21 when subjects? skin was not exposed to the test products any more. Classifying the test products accordingly to hydrating pattern of the skin, we could divide these moisturizers into three groups. The first group was able to increase skin hydration instantly after applying on the skin. The second group gradually increased skin hydration. However, their (1st and 2ndgroup) efficacy has lowered approximately close to baseline values within 6 hours while the third group obviously increased skin hydration right away after the first application of moisturizers and was able to significantly increase skin hydration even on D14, D21 (p < 0.05). This study showed a 21-day time frame of skin reaction to 12 moisturizers. The result provided a physician essential data to develop the clinical practice guideline of moisturizers for healthy individuals and skin patients.", "th": "ครีมบำรุงผิวแตละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวและเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังแตกต่างกัน การศึกษานี้ได้ทดสอบครีมบำรุงผิว 12 ชนิด โดยทาวันละครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในอาสาสมัคร 64 คน ทำการวัดสภาพผิวก่อนและหลังทาครีมบำรุงผิว ณ เวลา 15 นาที 60 นาที 120 นาที 360 นาที และวัดวันละครั้งใน วันที่ 2-7 และหลังหยุดทาครีมไปแล้ว คือ วันที่ 14 และ 21 ของการศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติผู้รายงานสามารถแบ่งครีมกลุ่มนี้ตามรูปแบบการเพิ่มขึ้นของความชุ่มชื้นที่ผิวหนัง ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้ให้กับผิวหนังทันทีหลังการทา กลุ่มที่เพิ่มความชุ่มชื้นขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ความชุ่มชื้นที่ผิวหนังบริเวณที่ทาครีมบำรุงผิวทั้ง 2 กลุ่มนี้จะลดลงมาใกล้เคียงกับก่อนทาภายใน 6 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มที่ 3 เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังทันทีหลังทาและยังให้ความชุ่มชื้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แม้หยุดทาครีมบำรุงผิวกลุ่มนี้ไปแล้ว คือ วันที่ 14 และวันที่ 21 ของการศึกษา การศึกษานี้แสดงให้เห็นรูปแบบการตอบสนองของผิวหนังภายในกรอบเวลา 21 วันต่อครีมบำรุงผิว 12 ชนิด ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแพทย์ที่จะนำไปพัฒนาแนวทางมาตรฐานในการสั่งจ่ายครีมบำรุผิวสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วยโรคผิวหนัง" }
{ "en": "The purpose of the study was to assess the situations of high technology radio diagnostic imaging utilization in government healthcare centers and factors associated with the allocation of medical imaging. A cross-sectional descriptive study was conducted on patients who underwent at least 16-slice computerized tomography (CT), 1.5-Tesla magnetic resonance imaging (MRI), or digital mammography (DM). The data was collected at 7 regional hospitals and 9 hospitals under the Department of Medical Services (DMS), between November 2011 and September 2012. In addition, the directors from 4 regional hospitals and 3 hospitals under the DMS were interviewed, regarding the factors associated with the allocation of medical imaging. The results have shown that of the 16 hospitals, there were 16-slice CT in 6 hospitals, 64-slice CT in 6 hospitals, and 128- slice CT in one hospital, digital mammography in 7 hospitals, and 1.5-Tesla MRI utilization in 3 hospitals. The data obtained from 7,589 patients who underwent the medical imaging showed that medical imaging was prescribed by the specialists approximately 90.9%. CT has been mostly used to diagnosis related to abdomen/ pelvis closed to brain 33.8% and 32.2% respectively. MRI has been mostly used to evaluate diseases related to spines 42.6%. In addition, the factors associated with the hospital directors? judgment in procurement of medical imaging were the patients? needs, and specialists? needs, respectively. In conclusion, high technology radiodiagnostic imaging was, in the majority prescribed by the medical specialists, to assist clinical diagnosis. The trend of medical imaging utilization is increasing each year.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์การใช้เครื่องตรวจวินิจฉัยทางรังสีการแพทย์อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในทางเวชปฏิบัติของสถานบริการสุขภาพภาครัฐและอธิบายถึงปัจจัยและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดบริการเครื่องตรวจวินิจฉัยฯ ดังกล่าว เป็นวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาในกลุ่มประชากรที่มารับบริการตรวจด้วยเครื่อง CT 16 slice ขึ้นไป MRI 1.5 Tesla ขึ้นไป และ digital mammography (DM) ในโรงพยาบาลศูนย์ 7 แห่ง และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 9 แห่ง รวม 16 แห่ง และศึกษาปัจจัยและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อการจัดบริการฯ โดยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการจากโรงพยาบาลศูนย์ภาคละ 1 แห่ง จำนวน 4 แห่ง และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 3 แห่ง รวม 7 แห่ง ผลการศึกษา โรงพยาบาลทั้ง 16 แห่ง มีให้บริการเครื่อง CT 64 slice 6 แห่ง 16 slice 6 แห่ง และ 128 slice 1 แห่ง รองลงมาได้แก่ DM และ MRI 1.5 Tesla จำนวน 7 แห่ง และ 5 แห่ง ตามลำดับ จากข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 - 2554 พบว่า ปริมาณการให้บริการด้วยเครื่อง CT, MRI และ DM มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 35.0 ต่อปีของเครื่องทั้ง 3 ประเภท จากการศึกษาการใช้เครื่องของผู้รับบริการจากสถานบริการสุขภาพ 17 แห่ง ในระยะเวลา 2 เดือน (มิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2555) จำนวน 7,589 ราย เป็นผู้ป่วยนอกร้อยละ 75.4 พบว่า แพทย์ที่ส่งตรวจส่วนใหญ่เป็นแพทย์เฉพาะทางร้อยละ 90.9 อวัยวะที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง CT มากใกล้เคียงกันคือ abdomen/pelvis และ brain ร้อยละ 33.8 และ 32.2 ตามลำดับ ส่วน MRI ใช้ตรวจ spines มากที่สุด ร้อยละ 42.6 เหตุผลในการส่งตรวจส่วนใหญ่เพื่อการวินิจฉัยทางคลินิก ร้อยละ 84.1 ผลการอ่านภาพตรวจของรังสีแพทย์พบว่า ร้อยละ 58.8 ที่ได้ผลผิดปกติซึ่งตรงและสอดคล้องกับเหตุผลในการส่งตรวจของแพทย์ รองลงมาคือ ผิดปกติ และผิดปกติที่ต่างจากการวินิจฉัยในเบื้องต้นแต่สอดคล้องกับเหตุผลในการส่งตรวจ ร้อยละ 23.1 และ 16.4 ตามลำดับ และพบว่าส่วนน้อยที่ได้ผลอ่านผิดปกติอื่นๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผลในการส่งตรวจ คือร้อยละ 1.8 ด้านปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการจัดหาเครื่องตรวจวินิจฉัยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงของผู้อำนวยการสถานบริการสุขภาพส่วนใหญ่พิจารณาจากความต้องการของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ความต้องการของแพทย์เฉพาะทาง สรุปผลการศึกษา แพทย์ที่ส่งตรวจส่วนใหญ่เป็นแพทย์เฉพาะทาง ปริมาณการใช้มีแนวโน้มเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่เหตุผลในการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยทางคลินิก และผลอ่านที่ได้ส่วนมากผิดปกติโดยเหมือนและสอดคล้องกับเหตุผลในการส่งตรวจ" }
{ "en": "By gathering the data of 480 monks aging from 49 to 92 years with priesthood period from 1 to 58 years at Priest hospital. The period of data gathering was from 1 February 2011 to 31 December 2012. Descriptive analysis was used to present the research result. The study consisted of 2 activities One activity was to find serum testosterone level and studied the relationship between patients? blood test along with their ages and their priesthood period. And the other activity was analyzed aging male symptoms from the patients by answering the questionnaire. No relationship between serum testosterone and the patients? age, but at priesthood period 1-10 years the serum testosterone tended to a little bit decrease (low level of relationship). By answering Aging male? symptoms Questionnaire the major problem was mental coursed. The patients worried about quality of life, family, depressed mood and insomnia. Most of the patients can decreased sexual desired. The relationship between serum testosterone and aging male symptoms was positive (low level of relationship) in question about to be anxious. of their family and quality of life.", "th": "การศึกษาปัญหาสุขภาพสูงวัยและความสัมพันธ์ระหว่างระดับฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งครอบคลุมในด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพด้านจิตใจและคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยพระภิกษุในโรงพยาบาลสงฆ์ โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยพระภิกษุ ที่มารับการตรวจที่โรงพยาบาลสงฆ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 480 รูป โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 49-92 ปี และมีจำนวนปีที่บวช ตั้งแต่ 1-58 ปี โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลแบบ descriptive analysis โดยทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ การให้ผู้ป่วยตอบคำถาม อาการชายสูงวัย (aging male symptoms questionnairre) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เกี่ยวกับอาการสูงวัยที่พบในผู้ป่วย การเก็บตัวอย่างเลือด ของผู้ป่วยเพื่อตรวจหาค่า serum testosterone จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์กับ อายุและจำนวนปีที่บวช การศึกษาโดยการให้ผู้ป่วยตอบคำถาม อาการชายสูงวัย พบว่า ปัญหาด้านร่างกายไม่แตกต่างจากผู้ป่วยสูงวัยทั่วไปที่เป็นฆราวาส ส่วนปัญหาด้านจิตใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่รู้สึกว่าสภาพความเป็นอยู่ที่ดีโดยทั่วไปลดลง มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุคคลในครอบครัว และเริ่มมีปัญหาด้านการนอนหลับ เริ่มมีอาการซึมเศร้า แต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง และยังไม่มีความเครียดชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถปล่อยความรู้สึกทางเพศได้ การศึกษาระดับฮอร์โมนเพศชาย ไม่พบความสัมพันธ์ ระหว่าง ค่า serum testosterone กับ ช่วงอายุของผู้ป่วยอย่างมีนับสำคัญแต่พบว่า ผู้ป่วยที่บวชช่วงระยะเวลา 1-10 ปี ค่า serum testosterone มีแนวโน้มลดลงเล็น้อย (มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า serum testosterone และอาการชายสูงวัยพบว่า ในคำถามเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกวิตกกังวลมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำแต่ไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่าง ค่า serum testosterone กับอาการชายสูงวัยในข้อคำถามอื่นๆ" }
{ "en": "The objective of this study was to assess the prevalence of women whose pre-pregnancy body mass index (BMI) were in overweight and obese categories including some of their adverse outcomes and to compare the risk of such adverse maternal and neonatal outcomes with normal BMI women. During January 1st, 2010 to June 30th, 2014 the prevalence of normal BMI, overweight and obese women were 63.2%, 15.3% and 4.8% respectively. Prevalence of Cesarean delivery, pregnancy induced hypertension, gestational diabetes (GDM), post-partum hemorrhage, preterm delivery, fetal macrosomia, induced labor, low Apgar score and prolonged pregnancy were 50.4%, 5.6%, 5.8%, 1.8%, 6.6%, 6.2%, 11.8%, 2.1% and 6.9% in overweight women and 58.5%, 10.8%, 10.3%, 2.1%, 7.7%, 5.1%, 11.3%, 1.5% and 6.7% in obese women respectively. Overweight and obese women also had increased risks for Cesarean delivery, GDM, macrosomia and induced labor when compared to normal BMI women.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของสตรีที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ในกลุ่มอ้วนและน้ำหนักเกินที่มาคลอดในโรงพยาบาลเลิดสินตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับมารดาและทารก พร้อมทั้งเปรียบเทียบความเสี่ยงของภาวะดังกล่าวกับสตรีที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ในกลุ่มน้ำหนักปกติ การศึกษาครั้งเป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียนของสตรีที่มาคลอดในโรงพยาบาลเลิดสินระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มน้ำหนักเกินร้อยละ 15.3 กลุ่มอ้วนร้อยละ 4.8 กลุ่มน้ำหนักปกติร้อยละ 63.2 พบความชุกของการผ่าท้องทำคลอด ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกอ้วน การชักนำการคลอด คะแนน Apgar ต่ำ และการตั้งครรภ์เกินกำหนดเป็นร้อยละ 50.4 ร้อยละ 5.6 ร้อยละ 5.8 ร้อยละ 1.8 ร้อยละ 6.6 ร้อยละ 6.2 ร้อยละ 11.8 ร้อยละ 2.1 ร้อยละ 6.9 ตามลำดับในกลุ่มสตรีน้ำหนักเกิน และร้อยละ 58.5 ร้อยละ 10.8 ร้อยละ 10.3 ร้อยละ 2.1 ร้อยละ 7.7 ร้อยละ 5.1 ร้อยละ 11.3 ร้อยละ 1.5 ร้อยละ 6.7 ในกลุ่มสตรีอ้วนตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับสตรีในกลุ่มน้ำหนักปกติ พบว่าสตรีอ้วนและน้ำหนักเกินมีความเสี่ยงต่อการผ่าท้องทำคลอด ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ทารกอ้วนและการชักนำการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to study the Job characteristics, the Work experience, the Organizational commitment, the influence of the Job characteristic to the Organizational commitment, the influence of the work experience to the Organizational commitment of register nurses in the Priest Hospital. A cross-sectional survey with 160 parameters of nurses working in the Priest Hospital. The questionnaires were performing as a research instruments. The 160 questionnaires were analyzed by using the statistical analysis program (SPSS). The statistic parameters which were used for this study were percentage, mean and standard deviation, Pearson?s product moment correlation coefficient, simple and multiple regression analysis with 95% significance. Overall results of the research findings were as follows. The Job characteristic, the Work experience and the Organizational commitment, as a whole has at high level. The Job characteristic and the Work experience has a significantly positive influence to Organizational commitment. Both ?the Job characteristic? and ?the Work experience? predicted the Organizational commitment for 30.70% with statistical significance (p < 0.05) These results will make director of nursing to guide the planning and to maintain or to increase the Organizational commitment", "th": "การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะงาน ประสบการณ์ในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของลักษณะงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กร และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ในการทงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การประชากรคือพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสงฆ์จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะงาน ประสบการณ์ในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และตรวจหาความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.887, 0.803 และ 0.887 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้นผลการศึกษาพบว่าลักษณะงานประสบการณ์ในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก ลักษณะงานและประสบการณ์ในการทำงานมีอิทธิพลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสงฆ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งลักษณะงานและประสบการณ์ในการทำงานเป็นตัวแปรร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสงฆ์ได้ร้อยละ 30.7 ซึ่งผลการศึกษานี้จะทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถกำหนดแนวทางในด้านการพัฒนาและวางแผนลักษณะงาน ประสบการณ์ในการทำงาน และกำหนดนโยบายเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การให้กับบุคลากรมากยิ่งขึ้นและคงอยู่ในองค์การได้ตลอดไป" }
{ "en": "This study aimed to determine the extent of and factors associated with delays in streptokinase (SK) administration for ST Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) patients at emergency department, Rajavithi hospital. Twenty STEMI patients received SK between 2009 and 2013 were recruited. A retrospective study was carried out and data were collected using a screening form. The ethics committee, Rajavithi hospital approved this study. The results revealed that 64.3% of STEMI patient who received late SK (over 30 minutes). Factors associated with delayed in SK administration were the periods since coming to the hospital to get EKG and screening of patients by severity. In the group with delayed in SK administration, it was found that an average amount of time patients came to the hospital to be treated by the EKG was significantly higher than those who were treated timely SK (16.8±30.9 VS 4.4±4.3 minutes: p-value=0.002). For those who were screened as emergency cases, a significantly lower rate of delays in SK administration was found compared to those who were assessed as urgent cases. Gender, age, time of service, characteristics of patients who received services, waiting time to see a doctor, and nurse?s experience to assess patients were not associated with delays in receiving SK. This study determined the reasons of delays in receiving SK in STEMI patients. Pre-hospital, appropriate screening and treatment should provide to STEMI patients as soon as possible early after entering emergency room.", "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }