translation
dict
{ "en": "Due to Dengue Diseases is a public health problem in Kamphaeng Phet Province for a long time. This descriptive study was conducted to describe the epidemiology of Dengue in Kamphaeng Phet Province during 2008-2017, and to investigate the correlation between number of serotype and climatic factors with dengue incidence rate. The secondary data were analyzed by descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient. The results showed that there were 7,506 dengue cases. The incidence rate was 24.93–158.03 per 100,000 populations per year. The mortality rate was 0-0.28 per 100,000 populations per year. The incidence rate found that changing trend in aged group from children to adult. The dengue incidence rate was positive linearly correlated with number of serotype, rainfall, number of rainy day, relative humidity (mean, mean maximum and mean minimum of month), mean of Dew Point temperature of month and temperature (mean and mean minimum of month) and negative linearly correlated with pressure (mean, mean maximum and mean minimum of month). But the dengue incidence rate was not correlated with mean maximum temperature of month. This study showed a dengue disease in Kamphaeng Phet Province changing trend in aged group, number of serotype and varies with changing climatic factors patterns. Local epidemiology of dengue diseases and changing of climatic data is recommended for surveillance and control of dengue disease in each area.", "th": "เนื่องด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดกําแพงเพชรมาอย่างยาวนาน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเพื่อที่จะศึกษาระบําดวิทยาของโรคไข้เลือดออก ความสัมพันธ์ของอัตราป่วยของไข้เลือดออกกับจํานวนชนิดของซีโรทัยป์ และสภาพภูมิอากาศของจังหวัดกําแพงเพชร ในระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 จากข้อมูลทุติยภูมิ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ของอัตราป่วยของไข้เลือดออกกับจํานวนชนิดของซีโรทัยป์ และสภาพภูมิอากาศด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน จากข้อมูล พบว่ามีการวินิจฉัยไข้เลือดออกในจังหวัดกําแพงเพชรจํานวน 7,506 ราย มีอัตราป่วยรายปี 24.93–158.03 ต่อแสนประชากร อัตราตายรายปี 0-0.28 ต่อแสนประชากร อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่มากขึ้น พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายเดือนของจังหวัดกําแพงเพชรมีควํามสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับ จํานวนชนิดของซีโรทัยป์ อุณหภูมิต่าสุดเฉลี่ยรายเดือน อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือน อุณหภูมิจุดน้ำค้างเฉลี่ยรายเดือน ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ยรายเดือน ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ยรํายเดือน ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายเดือน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน และจํานวนวันที่ฝนตกรายเดือน และมีความสัมพันธ์เชิงเส้นในทิศทางตรงข้ามกับความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยรายเดือน ความกดอากาศต่ำสุดเฉลี่ยรายเดือน ความกดอากาศเฉลี่ยรายเดือน แต่ไม่พบมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือนดังนั้นในแต่ละพื้นที่ควรมีการนําข้อมูลระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นมาใช้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก" }
{ "en": "The purpose of this study was to investigate the effect of physical therapy with cervical stabilization exercises compared with isometric exercises, and to assess cost-effectiveness in patients with chronic neck pain in societal aspect. This study conducted economic evaluation alongside a randomized controlled trial, using a decision tree to show an incremental cost and numbers of success patients between cervical stabilization exercises and isometric exercises for a period of 1 year. A total of 74 patients with chronic neck pain were randomized into 2 groups, controlled group received physical therapy with isometric exercises and experimental group received physical therapy with cervical stabilization exercises. The program of each exercise was 6 weeks.The results revealed the cervical stabilization group had statistically significant reduction in pain (VAS) and disability (NDI) better than isometric group (p < 0.05). The unit cost of cervical stabilization group was 10,605.18 THB, while isometric group’s was 10,764.95 THB. New intervention was dominant; cervical stabilization group was cheaper and better than isometric group. Sensitivity analysis was done by changing the aspect from societal aspect to health care provider aspect. From provider aspect, the incremental cost-effectiveness ratio (ICER) to numbers of success patients was 971.87 THB. Moreover, with the cost of Pressure Biofeedback Unit (PBU) varying from 10,000 to 24,000 THB, it was found that the ICER was between 938.80 to 1,170.29 THB. The appropriate allocation of resources must take into account factors such as budget, availability of personnel, number of patients with chronic neck pain, and the importance of other health problems. Policy makers should promote the prevention of neck pain becoming chronic stage, as chronic neck pain has high cost.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการออกกำลังกายที่เพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกคอ กับการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอในผู้ป่วยปวดคอเรื้อรัง ในมุมมองของสังคม โดยมีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ควบคู่กับการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วิธีการศึกษามี 2 ส่วน ในส่วนแรกเป็นการศึกษาผลทางคลินิกโดยการเก็บข้อมูลไปข้างหน้าของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ และกลุ่มทดลองคือกลุ่มการออกกำลังกายที่เพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกคอ ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรังที่มารับการรักษาที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเลิดสิน 74 ราย ทำการออกกำลังกาย 6 สัปดาห์ ส่วนที่ 2 เป็นการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลโดยใช้แผนภูมิการตัดสินใจ (Decision tree) เปรียบเทียบผลการรักษาและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการให้การรักษาทํางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มควํามมั่นคงต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ ในผู้ป่วยปวดคอเรื้อรังที่มีอํากํารดีขึ้น กับกลุ่มที่ให้กํารออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอในกรอบเวลา 1 ปี ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ให้การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกสันหลังส่วนคอสามารถลดระดับอาการปวด (VAS) และระดับความบกพร่องความสามารถของคอ (NDI) ได้มากกว่ากลุ่มที่ให้การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ต้นทุนต่อหน่วยของการรักษาผู้ป่วยปวดคอเรื้อรังในกลุ่มที่เพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเท่ากับ 10,605.18 บําท ส่วนกลุ่มที่เพิ่มควํามแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอเท่ากับ 10,764.95 บาท การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกสันหลังส่วนคอจึงมีความคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ (Isometric) การวิเคราะห์ความไวของตัวแปรโดยการเปลี่ยนมุมมองในการวิเคราะห์ จากมุมมองของสังคมเป็นมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ เมื่อคิดเฉพาะต้นทุนทํางการแพทย์อัตราส่วนของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการให้การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกสันหลังส่วนคอแล้วผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น 1 คน เป็นจำนวนเงิน 971.87 บาท และหากต้นทุนค่าเครื่อง PBU มีการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงราคาตั้งแต่ 10,000 - 24,000 บาท พบว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงต่อกระดูกสันหลังส่วนคออยู่ระหว่าง 938.80 – 1,170.29 บาท การจะจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร จำนวนผู้ป่วยปวดคอเรื้อรัง รวมถึงระดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพอื่นๆ และควรส่งเสริมการป้องกันการปวดคอไม่ให้เข้าสู่ระยะเรื้อรัง เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง" }
{ "en": "The intubation and the usage of mechanical ventilation are critical to life saving in trauma patients. Long-term use of mechanical ventilation has both physical and psychological effects on patients with high treatment costs. Multiple factors are involved in respiration recovery in trauma patients, but no studies have been conducted on the predictive factors of postoperative physical recovery in the trauma patient group. The purpose of this retrospective was to study the predictive power of Injury Severity Score, Body Mass Index, Surgical APGAR Score in respiration recovery among postoperative trauma patients. The patients who treated in trauma ICU, from 1 January 2013 – 31 December 2017 were reviewed. The result showed 177 trauma patients. Most of trauma patients were males (87%) with average age of 40.12 years, 80.8% of the sample had blunt injury, which usually caused by traffic accidents (67.8 %). The trauma patients had normal Body Mass Index (24.96 Kg/m2 ) mean and Injury Severity Score 18.59 and mean Surgical APGAR Score of 3.24. Most of the Surgical APGAR Score had scores of 0–4 points (74.0%). The findings revealed that Injury Severity Score was a significant factor that can predict respiration recovery among trauma patients in intensive care unit (OR = 1.062, 95% CI = 1.006- 1.120; p < 0.05). The percentage of variance of the CO predicted model including Injury Severity Score, Body Mass Index, and Surgical APGAR Score accounted for 16%Keywords: Body mass index, Injury severity score, Respiration recovery, Trauma patients, Surgical apgar score", "th": "การใส่ท่อช่วยหายใจและการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีภาวะวิกฤติมีความจำเป็นในการช่วยชีวิต แต่การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน ส่งผลต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ นอกจากนี้การใช้เครื่องช่วยหายใจยังทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงขึ้น ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวด้านการหายใจในผู้ป่วยอุบัติเหตุนั้นมีหลายปัจจัย แต่ยังไม่พบการศึกษาปัจจัยทำนายการฟื้นตัวทางด้านหายใจโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุหลังการผ่าตัด การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความรุนแรงของการบําดเจ็บ ดัชนีมวลกาย สภาพผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด กับการฟื้นตัวด้านการหายใจของผู้ป่วยอุบัติเหตุหลังการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ได้กํารรักษาโดยการผ่าตัด และรักษาอยู่ในหอผู้ป่วยไอซียูอุบัติเหตุตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยอุบัติเหตุจำนวน177 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 87 อายุเฉลี่ย 40.12 ปี กลไกการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากแรงกระแทกร้อยละ 80.8 สาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากการจราจรร้อยละ 67.8 มีดัชนีมวลกายเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปกติ 24.96 กิโลกรัม/ตารางเมตร ค่าคะแนนความรุนแรงของการบาดเจ็บมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.59 คะแนน ค่า Surgical Apgar Score มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 คะแนน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับรุนแรง (0–4 คะแนน) ร้อยละ 74.0 ความรุนแรงของการบาดเจ็บเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายการฟื้นตัวด้านการหายใจของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตได้ (OR = 1.062, 95% CI = 1.006- 1.120; p < 0.05) ) โดยโมเดลตัวแปรทั้งสามตัวได้แก่ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ดัชนีมวลกาย สภาพผู้ป่วยระหว่ํางผ่าตัด สามารถทำนายร่วมกันได้ ร้อยละ 16" }
{ "en": "The purpose of this descriptive study was to investigate the level of quality of life and its related factors as well as to conduct a comparison of quality of life among HIV infected and AIDS patients who were treated in 11 government hospitals in Thailand’s Chumphon Province. The result revealed that the samples’ quality of life in overall health domain was rated at moderate level, showing that the psychological quality of life was rated at good level, whereas the mean of quality of life in physical, social and environmental domains was also rated at moderate level. The factors which affected the HIV/AIDS patients’ quality of life, with statistical significance (p-value < 0.05), were differences in occupation, monthly income and supports provided by each Local Administrative Organization. The level of patients’ quality of life was also rated irrelatively high perhaps due to the facts that AIDS cannot be completely cured, patients are prone to opportunistic infections and need to conceal their treatment records, and such disease is not generally accepted in today’s society. In addition, the comparison of quality of life among HIV Infected and AIDS patients who were treated in Chumphon’s 11 government hospitals disclosed that the quality of life in social relationship and environmental health domains in large-sized hospitals has a greater mean than in the small-sized ones with statistical significance (p-value < 0.05). It was found that the quality of life of physical and psychological health domain in either size of the hospitals were significantly indifferent. Lastly, the result suggested that the provision of quality treatment to the HIV infected and AIDS patients together with the promotion on occupation or income will increase the quality of life of the patient.", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ คุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาใน โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชุมพร จำนวน 11 แห่ง ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งพบว่า คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีส่วนคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย สังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ≤ 0.05) คือ ความแตกต่างของอาชีพ รายได้ต่อเดือน และการได้รับการสนับสนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จากระดับคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก อาจจะเนื่องจากโรคเอดส์เป็นโรคที่ไม่หายขาด มีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาส ต้องปกปิดข้อมูลการรักษา และปัจจุบันยังไม่ได้รับการยอมรับในสังคมมากนักผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับกํารรักษาในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชุมพรจำนวน 11 แห่ง พบว่า คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ ในแต่ละขนาดโรงพยาบาลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การให้การดูแลรักษากลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีคุณภาพ การส่งเสริมการมีอาชีพหรือการเพิ่มรายได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น" }
{ "en": "A Retrospective study comparison of predictive death in cirrhotic patients by MELD score who admitted in Nopparat-Rachathani hospital between 6 months period in 2007-2008 A.D. and then 10 years after in the national health program effectively imply in 6 months period of 2017-2018 A.D. was that could reduced the amount of severely illed patients or not. The result shown the same characteristic of patients, but in male the degree of MELD score were reduced to less severity, thus may resembling the effectiveness outcome of public health policy.Keyword: MELD Score, Cirrhotic, Public health policy", "th": "การใช้ MELD Score ทำนายโอกาสเสียชีวิต ใน 90 วัน เป็นที่ยอมรับและใช้ได้อย่างกว้างขวางในตับแข็งจากทุกสาเหตุ ทำให้การพยากรณ์โรค และการจัดสรรทรัพยากรแพทย์เป็นไปอย่างคุ้มค่า ดังเช่นในผู้ป่วยโรคตับแข็งเข้ารักษาในแผนกอํายุรกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีในช่วง 6 เดือน ของปี 2550-51 มีความรุนแรงของตับแข็งและอาการแทรกซ้อนการทำนายการเสียชีวิตตาม MELD Score จึงเป็นที่มาของการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ 10 ปีต่อมํา คือ 6 เดือน ของปี 2560-2561 ซึ่งผ่านการให้บริการระบบสาธารณสุขพื้นฐานมาแล้วถึงกว่า 10 ปี โดยมีทั้งการป้องกันและการเข้าถึงได้ง่าย จะทำให้ผู้เข้ารับบริการได้เร็วขึ้นและลดความรุนแรงของโรคลงได้หรือไม่ โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากกระบบ PMKของโรงพยาบาลตาม ICD 10 พบว่าในเพศชายมีความรุนแรงของโรคลดลง มาอยู่ในช่วงต้นๆ ของ Score คือ 49 ราย จาก 64 ราย หรือ 76%ของปี 2560-61 (เมื่อเทียบกับ 60% ของปี 2550-51) มีความรุนแรงอยู่ในช่วง score <10,10-19 อาจหมายความถึงความสำเร็จของบางส่วนของการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคตับแข็ง จากการให้บริการระบบสาธารณสุขพื้นฐาน" }
{ "en": "Background: The retrospective study was aims to determine the relationship of personal domain, health condition and illness with acute respiratory failure undergone intubation among chronic obstructive pulmonary disease patients with acute severe exacerbation. Methods: The unpleasant symptom theory was used for conceptualized this study. A hundred and twelve severe exacerbation of Inpatient Department records recruited from a tertiary hospital, Southern Region of Thailand in the past year. A primary investigator and a trained register nurse reviewed all record together at least 50 records. The interater reliability of record form for data collection was 1.00. Chi-square test, Fisher exact test were used for univariate analysis and Logistic regression with odd ratio and 95% confidence interval was used for multivariate analysis at .05 significant level. Results: Univariate analysis findings revealed respiratory infection (p = .003) sepsis (p = .001) and had ever acute respiratory failure with intubation the last year (p = .008) related to current acute respiratory failure with intubation. None of the personal factors had significantly predicted acute respiratory failure undergone intubation. For multivariate analysis revealed the patient with respiratory infection (OR 4.51 95% CI 1.76-11.56, p = .002), had ever acute respiratory failure with intubation (OR 3.70 95% CI 1.41-9.72, p = .008), and had ever admitted the last year with severe exacerbation (OR 3.00 95% CI 1.17-7.66, p = .022). All three factors were predictably risk for acute respiratory failure with intubation 27.8%. Conclusions: The monitoring and prevention protocol should be conducted from this existing evidence to lower unplanned hospitalization and acute respiratory failure event.Keyword: COPD, Exacerbation, Respiratory infection, Respiratory failure", "th": "วัตถุประสงค์ การวิจัยแบบติดตามย้อนหลัง 1 ปี เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ และความเจ็บป่วยต่อภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรง จำนวน 112 รําย ที่เข้ํารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง วิธีการ: ตามกรอบแนวคิดอาการไม่พึงประสงค์สามารถจำแนกกลุ่มปัจจัย ดังนี้ลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย โดยประเมินผลลัพธ์กํารเกิดภาวะหายใจล้มเหลวที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จากแฟ้มเวชระเบียนการเข้ํารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยเดี่ยวด้วยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และฟิชเชอร์ odd ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), และวิเคราะห์พหุปัจจัยใช้สถิติถดถอย โลจิสติกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผล: พบว่าโมเดลเชิงเดี่ยว ตัวแปรลักษณะภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินหายใจ (p = 0.003) ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (p= 0.001) และประวัติการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อช่วยหายใจในระยะ 1 ปี (p = 0.008) และโมเดลพหุปัจจัย มี 3 ตัวแปร คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจ (OR 4.51 95% CI 1.76-11.56, p = 0.002) ประวัติการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อช่วยหายใจในระยะ 1 ปี (OR 3.70 95% CI 1.41-9.72, p = 0.008) และกํารเข้ํารับการรักษาในโรงพยาบาลในระยะ 1 ปี (OR 3.00 95% CI 1.17-7.56, p = 0.022) โดยทั้งสํามปัจจัยร่วมกันทำนายอัตราเสี่ยงต่อภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้ร้อยละ 27.8 สรุป: การศึกษานี้แสดงข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงต่อภาวะหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจและมีประวัติเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยครั้งด้วยอาการกำเริบรุนแรงเฉียบพลัน" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Background: Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) affects 5-10 percent of school-age children. Previous studies have reported that parents of children with ADHD had higher risk of developing depression due to psychosocial stressors associated with parental demands. Mindfulness-Based Cognitive Therapy (MBCT) is an effective way of reducing depressive symptoms through the process of building greater awareness of one’s emotional state and reaction as well as understanding stress associated with parenting children with ADHD. Objective: To study the effectiveness of one-session MBCT program for reducing depressive symptoms in primary caregivers of ADHD children. Method: Main caretakers of children diagnosed with ADHD at psychiatric outpatient department, Queen Sirikit National Institute of Child Health were enrolled if their Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD) scores were lower than the cut-off point of indicating severe depression (HRSD≤17). A group based, 3-hour session of MBCT was provided to all consented participants. The Caregivers’ HRSD and their child’s Swanson, Nolan and Pelham Questionnaire (SNAP-IV) measuring ADHD were completed immediately before and at one month after the group session. Result: The mean score of HRSD scores were decreased from 9.34±4.09 to 4.71±3.82 at 1 month after the group intervention (P < 0.001). In the subgroup analysis, HRSD scores declined significantly in all subsyndromal, mild, and moderate subgroup. However, there was no change in the mean scores of the SNAP-IV score. Conclusion: One session of 3-hour Mindfulness-Based Cognitive Therapy is a simple, time- efficient and effective way to reduce depressive symptoms in caretakers of children with ADHD.", "th": "ภูมิหลัง: โรคสมาธิสั้นพบได้ร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียน ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสมีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากแรงกดดันทางจิตสังคมซึ่งสัมพันธ์กับความต้องการของบิดามารดา การบําบัดความคิดบนพื้นฐานของการฝึกสติรู้ตัว (Mindfulness-Based Cognitive Therapy คําย่อ MBCT) เป็นวิธีการหนึ่งในการช่วยลดภาวะซึมเศร้าที่ได้ผลดีผ่านกระบวนการฝึกสติให้รู้ทันอารมณ์ การตอบสนองทางอารมณ์ของตนเองและให้เข้าใจความเครียดที่เกิดจากการดูแลบุตรที่เป็นโรคสมาธิสั้น วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทําบําบัดความคิดบนพื้นฐานการฝึกสติ 1 คาบ ในการลดอาการซึมเศร้าในผู้ดูแลหลักของเด็กสมาธิสั้น วิธีการ : ผู้ดูแลหลักของเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและผู้ปกครองมีคะแนน The Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD) ที่แสดงว่ามีระดับอาการต่ำกว่าจุดตัดซึ่งเข้าเกณฑ์ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงทุกคน (HRSD≤17) จะได้รับการทํากลุ่มบําบัดความคิดด้วยการฝึกสติรู้ตัว 1 คาบ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนของภาวะซึมเศร้า โดยการใช้แบบประเมิน HRSD และคะแนนภาวะสมาธิสั้นในบุตรโดยการใช้แบบประเมิน Swanson, Nolan and Pelham Questionnaire (SNAP-IV) ก่อนทํากลุ่มบําบัดทันทีและหลังทํากลุ่มบําบัดไปแล้ว 1 เดือน ผล: หลังการเข้าร่วมกลุ่มบําบัด คะแนนเฉลี่ย HRSD ในผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้นลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจาก 9.34±4.09 ก่อนหน้าทํากลุ่มบาบัดเป็น 4.71±3.82 ที่ 1 เดือน หลังทํากลุ่มบําบัด (P < 0.001) เมื่อจําแนกตามความรุนแรงของอาการซึมเศร้าเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมีอํากําร subsyndromal มีอาการเล็กน้อยและปานกลางพบว่าในทุกกลุ่ม HRSD มีคะแนนลดลงอย่างมีนัยสําคัญแต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของอาการสมาธิสั้นในเด็ก สรุป: การทํากลุ่มบําบัดความคิดด้วยการฝึกสติรู้ตัวเป็นพื้นฐาน 1 คาบ นาน 3 ชั่วโมง เป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพในการลดอาการซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น" }
{ "en": "Background: Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) was found in5-10% of school-age children and related to behavioral problems that could affect caregiver’s mental health. Previous studies found that parents of children with ADHD were at higher risk of developing depression when compared with parents of children with typical development. Cognitive theory explains that depression is a consequence of negative automatic thought emerging during various events and leads to behaviors that maintaining the depressive symptoms in individuals. Therefore, discovering negative automatic thoughts associated with depression in caregivers of children with ADHD is a crucial step towards developing a targeted intervention for parental depression that could further affect parenting practices in this at- risk group. Objective: To study negative automatic thoughts associated with depressive symptoms in caregivers of children with ADHD. Methods: Data were collected from caregivers of children with ADHD who visited Child and Adolescent Psychiatric Outpatient Department, Queen Sirikit National Institute of Child Health from February 1 and October 5th, 2018. The measures include Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9), Automatic Thoughts Questionnaire-Revised (ATQ-RP) and Swanson, Nolan and Pelham Questionnaire (SNAP-IV). Descriptive and analytical statistics were used for data analysis. Result: From 145 participants enrolled in this study, 74.5 percent were female, and depressive symptoms above the cut-off threshold of the PHQ-9 was found in 29 percent of participants. Factors associated with depressive symptoms in caregivers of children with ADHD include having a history of psychiatric illnesses in their family (OR =5.588), having hyperactivity/impulsivity symptoms in children (OR =3.183) and having negative automatic thoughts in the caregivers (OR =1.068). Negative automatic thought related to significant depressive symptoms in parents of children with ADHD was “Why can’t I ever succeed ?” (OR =6.789). Conclusion: Depressive symptoms above the cut-off threshold on PHQ-9 screening tool were found in almost 30 percent of caregivers of children with ADHD. Associated factors found from this current study include family history of psychiatric illnesses, hyperactivity/impulsivity symptoms in the child and negative automatic thoughts about themselves, particularly the thought about unable to success in anything in the caregivers. Depression should be routinely screened in caregivers of children with ADHD in order to provide a prompt targeted intervention.", "th": "ภูมิหลัง : โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่พบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียนและมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ดูแล โดยมีการศึกษาพบว่าผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ทฤษฎีความสัมพันธ์ของความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม (cognitive theory) เชื่อว่าภาวะซึมเศร้าเป็นผลมาจากการเกิดความคิดด้านลบต่อเหตุการณ์ต่างๆ และนําไปสู่พฤติกรรมที่ทําให้ภาวะเศร้ายังคงอยู่ การทําความเข้าใจความคิดอัตโนมัติด้านลบที่สัมพันธ์กับการดูแลเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นเพื่อนํามาใช้ในการออกแบบและวางแผนช่วยเหลือผู้ดูแลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อการดูแลเด็กต่อไปจึงเป็นสิ่งสําคัญ วัตถุประสงค์: ศึกษาความคิดอัตโนมัติด้ํานลบที่สัมพันธ์กับกํารเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้น วิธีการ: เก็บข้อมูลในผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ-มหาราชินี ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้แบบประเมินภําวะซึมเศร้า 9 คําถามฉบับภาษาไทย Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9) แบบสอบถามความคิดอัตโนมัติด้านลบ (ATQ-R) และแบบประเมินพฤติกรรม Swanson Nolan and Pelham-IV Questionnaire (SNAP-IV) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผล: กลุ่มตัวอย่างจํานวน 145 รายเป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.5 พบความชุกของภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 29 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้น ได้แก่ การมีประวัติโรคจิตเวชในครอบครัวผู้ดูแล (OR =5.588) การมีลักษณะพฤติกรรมอาการเด่น คือ ซุกซน/หุนหันในเด็ก (OR =3.183) และการมีความคิดอัตโนมัติด้านลบ (OR =1.068) โดยความคิดอัตโนมัติด้านลบที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้น คือ “ทําไมฉันไม่เคยประสบความสําเร็จเลย” (OR =6.789) สรุป: ภาวะซึมเศร้าพบในผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้นเกือบ ร้อยละ 30 ปัจจัยที่มีผล คือ โรคจิตเวชในครอบครัวผู้ดูแล การมีลักษณะพฤติกรรมอาการเด่น คือ ซุกซน/หุนหันในเด็ก และความคิดอัตโนมัติด้านลบของผู้ดูแล โดยเฉพาะความเชื่อว่าตนเองไม่สามารถทําอะไรได้สําเร็จ จึงควรมีการคัดกรองและให้การดูแลบําบัดรักษาเบื้องต้นเพื่อป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าในระดับที่รุนแรงขึ้น" }
{ "en": "Background: Breast cancer is the most common female cancer among Thais and the incidence has been continuously increasing during past 2 decades. Approximate 70% of breast cancer has estrogen receptor (ER) positive and recent randomized controlled studies demonstrated the benefits of 10-years over 5-years adjuvant tamoxifen therapy in term of overall survival and disease-free survival with slightly increase of treatment associated complications. There was no study about the cost-effectiveness comparison for 2 regimens in Thailand. Methods: This descriptive study aimed to compare the cost and effectiveness with societal viewpoint by using decision tree and Markov model to simulate the life-time natural history of early stage breast cancer patients including survival probability, recurrence patterns, complication outcomes and quality of life for 10-years versus 5-years adjuvant tamoxifen therapy. Transition probabilities in the models used data from literature reviews. Primary data of all possible cost and quality of life in different stage ER positive breast cancer patients were gathered at National Cancer Institute, Thailand between 2014 and 2015. We simulated 1,000 cohort of early stage breast cancer patients in our models with 3% discount rate. Results: The incremental cost of 10-years tamoxifen was 51,220,443.61 THB (233,016,541.00 vs. 181,796,097.39) with 3,742.70 life-year gained (16,698.50 vs 12,955.80) and 3,019.20 quality adjusted life year gained (QALY gained) (9,915.57 to 6,896.37). The incremental cost-effectiveness ratio (ICER) per QALY gained was 16,964.92 THB. Sensitivity analysis, we found that direct non-medical cost was the highest variable that affected the ICER in our models. Conclusion: 10-years of adjuvant tamoxifen therapy for early stage ER-positive breast cancer is very cost-effective compared to 5-year regimen as the ICER is significant less than Gross Domestic Product (GDP) per capita under the study condition and current available data.", "th": "บทนำ: มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทยและมีอัตรําเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 70 จะมี estrogen receptor (ER) เป็นบวก รายงานการศึกษาในปัจจุบัน พบว่า การให้ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) เสริมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรก (ระยะ I-III) เป็นเวลา 10 ปี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นซ้ำและอัตราการเสียชีวิตลงได้มากกว่าการให้ Tamoxifen เป็นระยะเวลา 5 ปี หากแต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้การรักษามะเร็งเต้านมด้วยยา Tamoxifen 5 ปีเท่านั้น ที่ได้รับการบรรจุภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิธีการ:การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการประเมินต้นทุนและประสิทธิผลของระยะเวลาการให้ยา Tamoxifen 10 ปี เปรียบเทียบกับ 5 ปี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในลักษณะการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการให้ยาTamoxifen 10 ปี ในการรักษามะเร็งเต้านมระยะแรกที่มี ER เป็นบวกเปรียบเทียบกับการรักษา 5 ปี ในมุมมองทางสังคม โดยใช้แบบจําลองการตัดสินใจ (decision tree) และแบบจําลอง Markov จําลองธรรมชาติการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่ สถานะมะเร็งเต้านมระยะแรก สถานะมะเร็งเต้านมที่กลับเป็นซ้ำและสถานะเสียชีวิต ตัวแปรต้นทุนและคุณภาพชีวิตได้จากการเก็บข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 ความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะโรคทุกปีพิจารณาจากการทบทวนวรรณกรรมและสถิติสาธารณสุข โดยจําลองผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรก อายุ 55 ปี จํานวน 1,000 ราย ใช้อัตราลดร้อยละ 3 ต่อปี ผล: การให้ยา Tamoxifen เป็นเวลา 10 ปี มีต้นทุนตลอดชีพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยา Tamoxifen 5 ปี เป็นจํานวนเงิน 51,220,443.61 บาท (233,016,541.00 บาท ต่อ 181,796,097.39 บาท) แต่มีอายุยืนยาวมากกว่า 3,742.70 ปี (16,698.50 ปีต่อ 12,955.80 ปี) และมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 3,019.20 ปีสุขภาวะ (9,915.57 ปีสุขภาวะ ต่อ 6,896.37 ปีสุขภาวะ) ดังนั้น ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากการใช้ยาTamoxifen 10 ปี ต่อ 1 ปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น (ICER per QALY gained) เป็นจํานวนเงินประมาณ 16,964.92 บาท การวิเครําะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรพบว่าต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ด้านการแพทย์ส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวแปรอื่นๆ สรุป: การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกที่มีผล ER เป็นบวกด้วยยา Tamoxifen เป็นระยะเวลา 10 ปี มีความคุ้มค่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยา Tamoxifen เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1 เท่า ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product, GDP) ต่อประชากร ภายใต้เงื่อนไขของการศึกษาและข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Background: Thailand is rapidly becoming an ageing society and the incidence of cancer in older adults has increased accordingly. Chemotherapy in older adults leads to more side effects than in other age groups due to reduced organ function, increased frailty, decreased immune function, malnutrition and comorbidity. These factors lead to greater intolerance to chemotherapy, which causes increased toxicity. The researchers intend to develop an advisory, educational, case-specific system of care delivered by a multidisciplinary team, in collaboration with the case manager. Care would take place while patients await their physician or blood test results. Objectives: This study aims to compare patients’self-perceived mean scores for fatigue, nutritional status, physical fitness, depression and quality of life (QoL) using concepts from Orem’s Self Care Deficit Theory, in collaboration with the case manager. Methods: A quasi-experimental study was conducted on a sample of 180 cancer patients aged over 60 and receiving outpatient care at Rajavithi Hospital. Both control and experimental groups had 90 patients each, comprising 30 breast, 30 lung and 30 colorectal cancer patients. Chemotherapy was undertaken in both groups over a 9-week period. The control group received conventional care, while the experimental group received case-specific education and advice from a multidisciplinary team in collaboration with the case manager, with 3 post-chemotherapy follow-ups over a 3-week period. Along with patient demographic background, data was collected via questionnaires on patient self-perception of fatigue, physical fitness, nutritional status, depression and also QoL self-assessment. Control group data was collected between May 2017 and February 2018, while experimental group data was collected between February 2018 and February 2019. Both datasets were analyzed and compared using independent t-test, Fisher’s exact test and chi-square test. Results: The patients’ ages ranged between 60 and 81 (mean = 67.07). There were no differences in background characteristics in terms of age, sex, referral system, comorbidity, medication and stage of disease. There were reductions in patient scores for fatigue and severity of malnutrition and increases in scores for physical fitness and physical and psychological wellbeing QoL aspects. All changes proved statistically significant (p<0.05). There was no change in perceived nutritional status and depression. Conclusion: A system of care providing case-specific advice and education via a multidisciplinary team, in collaboration with the case manager, was developed. Care was given over 1-2 hour periods when patients were waiting on hospital visits. The result was a reduction in fatigue and severity of malnutrition, leading to improved physical fitness in daily activities and better physical and psychological wellbeing QoL aspects.", "th": "ภูมิหลัง: ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว จึงพบอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดวัยสูงอายุ จะส่งผลกระทบมากกว่าวัยอื่น จากประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะหลายอย่างทำหน้าที่ลดลง และยังมีความทับซ้อนกันระหว่างอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด กับกระบวนการสูงอายุ ได้แก่ ภูมิคุ้มกันต่ำขาดสารอาหาร อ่อนเพลียเหนื่อยล้า ซึมเศร้า และการมีโรคประจำตัวต่างๆ จึงทำให้มีความทนต่อยาเคมีบำบัดลดลง นำไปสู่การเกิดเป็นพิษของยาเคมีบำบัดมากขึ้น ผู้ศึกษาต้องการพัฒนาระบบการดูแลโดยให้ความรู้คำปรึกษาที่มีความเฉพาะรายกับผู้สูงอายุจากทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับผู้จัดการรายกรณี ในช่วงเวลาที่รอพบแพทย์หรือรอผลชันสูตรเลือดจากห้องปฏิบัติการ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้า ภาวะโภชนาการ ความสามารถทางกาย ความซึมเศร้า และคุณภาพชีวิต โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem ร่วมกับการจัดการรายกรณีเป็นแนวทางในการศึกษา วิธีการ: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุมะเร็งที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 180 ราย มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 90 ราย และในแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็นมะเร็งเต้านม 30 ราย มะเร็งปอด 30 ราย และลำไส้ใหญ่ทวารหนัก 30 ราย กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองจะได้รับความรู้คำปรึกษาที่มีความเฉพาะรายจากทีมสหสาขาร่วมกับผู้จัดการรายกรณี โดยติดตามทุก 3 สัปดาห์ จำนวน 3 รอบ หลังจากให้ยาเคมีบำบัดนาน 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเหนื่อยล้า แบบสอบถามความสามารถทางกาย แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบสอบถามความซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพชีวิต เก็บข้อมูลกลุ่มควบคุมระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560-กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มทดลองเดือนกุมภาพันธ์ 2561-กุมภาพันธ์ 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test, fisher’s exact, chi-square เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผล: พบว่าผู้สูงอายุมีอายุเฉลี่ย 67.07 ปีต่ำสุด 60 ปี สูงสุด 81 ปี เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในด้าน อายุ เพศ ระบบส่งต่อ โรคประจำตัว ยาประจำตัว และระยะของโรค ภายหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้า และระดับความรุนแรงของการขาดสารอาหารลดลง รวมทั้งมีความสามารถทางกาย และคุณภาพชีวิตด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติที่ p < 0.05 ขณะที่ภาวะโภชนาการ และความซึมเศร้าไม่มีความแตกต่างกัน สรุป: การพัฒนาระบบการดูแลที่ให้ความรู้คำปรึกษาเฉพาะรายจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ร่วมกับผู้จัดการรายกรณี โดยใช้ประโยชน์จากเวลาที่สูญเปล่าเฉลี่ย1-2 ชั่วโมง ผลที่ได้คือ สามารถลดอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้า ความรุนแรงของการขาดสารอาหาร ทำให้มีพละกำลังในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในด้านร่างกายและจิตใจ" }
{ "en": "At present, there are many stroke patients in Thailand and the number has been increasing every year. The disease is frequently found and becomes a major public health issue of Thailand. The stroke patients with a severe symptom often die at the early stage. However, there are many patients who survive but may also remain disability causing suffering and becoming problem and a burden on the patients themselves, their families and society as a whole. The stroke patients will experience symptoms of hemiplegia, lessening the ability to walk. There are many methods for movement and walking rehabilitations. Currently, response-displayed computer technology and equipment (Biofeedback) has been applied to help the rehabilitation trainings of arms, legs, rising, standing up and walking. However, previous studies have never been reported on the cost per unit and the breakeven point of visual biofeedback in the treatment of stroke patients. Therefore, this study aims to determine and analyze the cost per unit and break-even point of visual biofeedback in the treatment of stroke patients in the Supreme Patriarch Nyanasanwara geriatric medicine hospital, Chonburi Province, between October 1, 2014 and September 30, 2015. In this study, general data of patients, cost data, investment data, cost of tools, costs of building and electricity and employee labor cost were collected, compiled and analyzed for unit costs and a breakeven point of the equipment. From the study, it was found that there were totally 163 patients with stroke who were treated with visual biofeedback at the Supreme Patriarch Nyanasanwara geriatric medicine hospital for the elderly, representing a number of services of 527 times. The depreciation cost of visual biofeedback was 73,125 baht per month. The depreciation cost of gymnasium building was at 734.13 baht per month. The cost of employee labors was 20,953.82 baht per month and the electricity cost of 20.77 baht per month. The total cost was 94,833.72 baht per month. When classifying the total costs in percentage, it was found that most of the cost of 77.11 percent was the cost of tools. The number of services for the patients was at 44 times per month. The cost per unit was equal to 1,481.22 baht per one time of the service. Therefore, the use of visual biofeedback required the number of services of 3,253 times in order to reach the breakeven point of 6.17 years.", "th": "ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการรุนแรงมักเสียชีวิตตั้งแต่ในระยะแรก แต่ก็ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รอดชีวิตแต่ยังอาจมีความพิการหลงเหลืออยู่ ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นปัญหาและภาระต่อผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งสังคมในส่วนรวม โดยอาการของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จะพบอาการอัมพาตครึ่งซีก ทำให้ความสามารถในการเดินลดลง การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการเคลื่อนไหว และการเดินมีหลายวิธี ในปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบแสดงผลตอบกลับ (biofeedback) เข้ามาช่วยในการฝึก เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของแขน-ขา การลุก การยืน และการเดิน แต่จากการศึกษาที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาถึงต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุน ของเครื่อง visual biofeedback ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยประโยชน์ของการวิเคราะห์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) และจุดคุ้มทุน (break-even point) ของเครื่อง visual biofeedback ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช-ญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 การศึกษาจะทำการเก็บและรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลต้นทุน ข้อมูลค่าลงทุน ค่าเครื่องมือ ค่าอาคารสถานที่ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงของเจ้าหน้าที่ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลของต้นทุนต่อหน่วย และหาจุดคุ้มทุนของเครื่องมือ จากการศึกษา พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ามารับการรักษาด้วยเครื่อง visual biofeedback ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 163 คน คิดเป็นจำนวนครั้งที่มารับบริการทั้งหมด 527 ครั้ง ต้นทุนค่าเสื่อมราคาของเครื่อง Visual biofeedback เท่ากับ 73,125 บาทต่อเดือน ต้นทุนค่าเสื่อมราคาของอาคารยิมเนเซี่ยม เท่ากับ 734.13 บาทต่อเดือน ต้นทุนค่าแรงเจ้าหน้าที่ เท่ากับ 20,953.82 บาทต่อเดือน ต้นทุนค่าไฟฟ้า เท่ากับ 20.77 บาทต่อเดือน รวมต้นทุนทั้งหมด เท่ากับ 94,833.72 บาทต่อเดือน เมื่อแยกเป็นสัดส่วนร้อยละพบว่าต้นทุนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.11 เป็นส่วนของต้นทุนค่าเครื่องมือ ในส่วนจำนวนครั้งของผู้รับบริการ อยู่ที่ 44 ครั้งต่อเดือน เมื่อคิดค่าต้นทุนต่อหน่วยออกมาเท่ากับ 1,481.22 บาทต่อ 1 ครั้งของการรับบริการ ฉะนั้นในการใช้เครื่อง visual biofeedback ต้องใช้ทั้งหมด 3,253 ครั้งหรือคิดเป็นระยะเวลา 6.17 ปี ถึงจะถึงจุดคุ้มทุน" }
{ "en": "Background: Children have unique characteristics of anatomy, physiology, pharmacology, therefore they require different care than adults. Queen Sirikit National Institute of Child Health is a tertiary-care center dedicated for pediatric patients. The critical incidents related to pediatric anesthesia have never been reported. The objective is to study the critical incidents and determine risk factors associated with pediatric anesthesia at Queen Sirikit National Institute of Child Health. Methods: Retrospective descriptive study was done by analyzing the database of anesthesiology department from October 1, 2009 to September 30, 2015. Data pertaining to patient demographics, practices and incidents were collected during anesthesia, post-anesthetic care and 24 hours postoperatively. Results: A total of 1,105 incidents out of 44,263 anesthetics performed were reported over the 6-year period. The rate of incidents reporting was 2.5%. The majority of incidents reported were airway and respiratory related (n = 558, 50.5%), followed by cardiovascular (n = 228, 20.6%). Laryngospasm was the most common incident. Risk factor for critical incidents was age less than one year. Conclusion: This study confirms previous reports which indicates that there is still a relative higher rate of incidents in infants compared with older children. The overall rate of anesthesia related incidents is 2.5%, Preventive and corrective strategies would include quality assurance activities that involve personnel development and the provision of sufficient equipment.", "th": "ภูมิหลัง: ผู้ป่วยเด็กมีความจำเพาะทางด้านกายวิภาค สรีรวิทยา ตลอดจนเภสัชวิทยาที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ทำให้การระงับความรู้สึกในเด็กมีความจำเพาะ ภาวะแทรกซ้อนจากการระงับความรู้สึกในเด็กจึงมีความแตกต่างจากผู้ป่วยผู้ใหญ่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นสถานพยาบาลระดับตติยภูมิซึ่งให้บริการเฉพาะผู้ป่วยเด็กและยังไม่เคยมีการรายงานภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยาในผู้ป่วยเด็ก การศึกษานี้ต้องการศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนและหาปัจจัยเสี่ยงของเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกเด็กของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วิธีการ: ศึกษาฐานข้อมูลภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มงานวิสัญญี ย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2558 นำเสนอข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย วิธีการระงับความรู้สึก การผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนซึ่งเกิดระหว่างให้การระงับความรู้สึก ในห้องพักฟื้น จนถึง 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ผล: ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น 1,105 ครั้ง(ผู้ป่วย 1,070 ราย) จากที่ให้การระงับความรู้สึก 44,263 ราย ตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา 6 ปี อัตราการเกิดอุบัติการณ์ทั้งหมด ร้อยละ 2.5 ภาวะแทรกซ้อนแบ่งตามระบบ คือ ทางเดินหายใจและระบบทางเดินหายใจพบมากที่สุด (n = 558, ร้อยละ 50.5) รองลงมาคือระบบหัวใจและหลอดเลือด (n = 228, ร้อยละ 20.6) กล่องเสียงหดเกร็งพบมากที่สุดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อน คือ ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่าหนึ่งปี สรุป: อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยาโดยรวมในผู้ป่วยเด็กเท่ากับ ร้อยละ 2.5 โดยทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.6 ภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจพบมากที่สุด โดยภาวะกล่องเสียงหดเกร็งเป็นสาเหตุหลัก" }
{ "en": "This research and development aimed to develop the tank toy innovation and to determine its efficiency and effectiveness to stimulate gross motor skills in children ages 3-5 years with suspected developmental delays. The sample consisted of1) 28 children ages 3-5 years with suspected developmental delays 2) 28 their parents 3) 10 teachers of Sanpatong Child Development Center in Nachuak District, Mahasarakham Province. Those were selected by purposive sampling. Data collection instruments included an evaluation form for innovation efficiency, an assessment form for gross motor skills, and questionnaire on satisfaction. Data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. Results revealed that the tank toy innovation was durable material, easy and convenient to use, and easily cleaned. The innovation made children safely and would help saving the cost of using equipment for developmental stimulation in children. The parents and teachers had satisfaction on using the tank toy at the highest levels. After using the tank toy innovation a 1-month period, gross motor skills of children were improved and 100% of children met the standard of developmental stimulation. The results indicate that the tank toy innovation could stimulate gross motor skills in children ages 3-5 years with suspected developmental delays efficiently and effectively.", "th": "การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมของเล่นรถถังและทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวในเด็กอายุ 3-5 ปี มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) เด็กอายุ 3-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าด้านการเคลื่อนไหว จำนวน 28 คน 2) ผู้ปกครอง จำนวน 28 คน และ 3) ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลสันป่าตอง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านการเคลื่อนไหว และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมของเล่นรถถังมีความแข็งแรง ใช้งานง่าย สะดวกใช้ ทำความสะอาดง่าย มีความปลอดภัยกับเด็ก สามารถลดต้นทุนในการใช้อุปกรณ์การกระตุ้นพัฒนาเด็ก ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็กมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเด็กใช้นวัตกรรมรถถังไปแล้ว1 เดือน เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวดีขึ้นและผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 100 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมของเล่นรถถังสามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวในเด็กอายุ 3-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล" }
{ "en": "Patient engagement for their own safety is increasingly recognized as one important part of healthcare systems worldwide. However, few studies have been conducted to explore patient engagement in medication safety. Therefore, the purpose of this study was to investigate factors associated with patient engagement in medication safety. The study was a descriptive correlational research and the sample consisted of 98 patients with one or more chronic diseases visiting the outpatient departments of three community hospitals in Nakhon Nayok between April 1, 2017 and July 31, 2017. The subjects who met the inclusion criteria were recruited by purposive sampling. Questionnaires were used to collect data concerning demographic characteristics, health literacy, patient-provider relationships, and patient engagement behavior in medication safety. Data were analyzed using descriptive statistics and bivariate correlation such as Point- Biserial Correlation coefficient for dichotomous data and Spearman’s Rank Correlation coefficient as appropriate. The results of this study revealed that the majority of patients (70.4%) were female, with an average age of 47.6 years, and the highest level of education for more than half (51%) was primary school. The overall score of patient engagement behavior in medication safety was at a high level (= 3.84, SD = 0.05). The patient-provider relationship was the only factor found significantly associated with patient engagement in medication safety (ρ = 0.374, p < 0.01). Age, gender, education level and health literacy were not significantly associated with patient engagement in medication safety. The findings of this study emphasize the importance of promoting patient-provider relationships through developing communication and interpersonal skills. This will lead to increased quality of care, better satisfaction, and patient engagement in medication safety.", "th": "ความผูกพันของผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในระบบบริการสุขภาพทั่วโลก การศึกษาความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยายังมีน้อย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยา เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง 1 โรค ขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 3 แห่งในจังหวัดนครนายก ในช่วงวันที่ 1 เมษายน 2560 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 จำนวน 98 ราย ผ่านเกณฑ์คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความแตกฉานด้านสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ และพฤติกรรมความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ในการหาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร ด้วยสถิติเสปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ ไบซีเรียล (Point-Biserial Correlationcoefficient) สำหรับข้อมูลที่เป็น Dichotomous กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ (70.4%) เป็นเพศหญิง ที่มีอายุเฉลี่ย 47.6 ปีและมากกว่าครึ่ง (51%) มีระดับการศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษาโดยรวมระดับพฤติกรรมความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยาอยู่ในระดับมาก ( = 3.84, SD = 0.05) และจากตัวแปรที่ศึกษามีเพียงปัจจัยเดียว คือสัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยา(ρ = 0.374, p < 0.01) อายุ เพศ ระดับการศึกษาและความแตกฉานด้านสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยา อธิบายได้ว่าการส่งเสริมพฤติกรรมความผูกพันของผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยทางยา และการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ เช่นการพัฒนาทักษะการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพในการดูแลสุขภาพ เกิดความพึงพอใจที่ดี และมีความผูกพันของผู้ป่วยด้านความปลอดภัยทางยาและในทุกระบบบริการที่ดีขึ้น" }
{ "en": "This study was a quasi-experimental research. The objective was to examine the effect of Brief Cognitive Behavior Therapy on depression and drinking behavior among alcohol dependents receiving services in Thanyarak Chiangmai Hospital. The sampling method was purposive sampling. The samples were divided into experimental group (n = 25) and control group (n = 25). The instruments used for this study included: 1) Demographic data 2) The Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) 3) Patient Health Questionnaire (PHQ-9) and 4) brief Cognitive Behavior Therapy for Depression and Drinking Behavior. The data were analyzed by descriptive statistic, Chi-square tests and McNemar Test. The results of the study revealed that: 1) proportion of normal mood vs. depression subjects within experimental group, at immediately post-test, 1 month, and 3 month follow-up, when compared with pre-test were found statistically significant difference (p<0.05). 2) proportion of depression subjects when compared immediately at post-test, and 1 month follow-up between experimental group and control group were found statistically significant difference (p< 0.05). No significant difference was found when compared at 3 month follow-up. 3) proportion of drinking behavior patterns within experimental group at immediately post-test, 1 month, and 3 month follow-up, when compared with pre-test were found statistically significant difference (p<0.05). 4) proportion of stop drinking subjects when compared at immediately post-test, and 1 month follow-up between experimental group and control group were found statistically significant difference (p<0.05). No significant difference was found when compared at 3 month follow-up.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดแบบย่อโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมต่อการลดภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคติดสุรากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าที่มาเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามจุดมุ่งหมายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลประชากรศาสตร์ 2) แบบประเมินปัญหาดื่มสุรา 3) แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย และ 4) โปรแกรมการให้การบำบัดแบบย่อโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคติดสุราเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดื่มสุราวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเปรียบเทียบไคสแควร์ และสถิติแมกนีมา ผลการศึกษา พบว่า 1) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าในกลุ่มทดลอง พบว่าสัดส่วนของผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมฯทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 2) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าสัดส่วนของผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมฯทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 แต่ไม่พบความแตกต่างในระยะติดตามผล 3 เดือน 3) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของแบบแผนของพฤติกรรมการดื่มของกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองพบว่าสัดส่วนของพฤติกรรมการหยุดดื่ม ในระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 4) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้ที่มีแบบอย่างของพฤติกรรมการดื่มระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่หยุดดื่มในระยะติดตามผล 1 เดือน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 แต่ไม่พบความแตกต่างในระยะติดตามผล 3 เดือน" }
{ "en": "Background: Having a patient in the family affects both physical and mental health of caregivers, especially to care the pediatric palliative patient. Impact on caregivers was even greater than other pediatric patients from the disease itself, treatment and emotion reaction in a family. Family preparedness was important for good quality of life of pediatric palliative care patients. So we interested in studying family preparedness and associated factors with their preparedness of caring for pediatric palliative patients. The results of the study have been used to provide services to this target group appropriately. Method: This was a cross-sectional analytic study. A total of 97 family caregivers of patients in consultation with the pediatric patient care team at the Queen Sirikit National Institute of Child Health between July 1, 2015 and October 30, 2016, participated. Using the Caregiver preparedness assessment, Family relationship assessment and general records of the patient and caregivers interviewed the primary caregiver of pediatric palliative patients. Analyzed information by using descriptive statistic and Chi-square test, t-test, Pearson correlation were used to determine the association between the variables. Result: The level of family preparedness was moderate, with the caregiver’s preparedness for the child’s physical needs at a high level, and the preparedness to handle emergencies with children at lower levels. Factors related to the preparedness of caring pediatric palliative patients in all aspects including participation in primary caregivers’ religious activities, caregiver stress management, perceived support agencies, agency assistance, good relationships between caregivers and patients, family members and outsiders. Conclusion: Factors associated with family preparedness in each aspect of this research are consistent with the holistic care approach for pediatric palliative care; physical, psychological, social, and spiritual care. The availability of emergency preparedness information for children was low. Therefore, physicians and nurses should provide emergency care information to the primary caregiver to ensure that patients could be properly managed at home.", "th": "ภูมิหลัง: การที่มีเด็กเจ็บป่วยในครอบครัว ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจของผู้ดูแล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในครอบครัว โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย ผลกระทบต่อผู้ดูแลยิ่งมากขึ้น ทั้งจากตัวโรค ความไม่แน่นอนของการดำเนินโรค การรักษาและผลการรักษา ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาความพร้อมของครอบครัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมของครอบครัวในการดูแลเด็กป่วยประคับประคอง เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการจัดบริการให้กลุ่มเป้าหมายนี้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้เด็กป่วยได้รับการดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะเวลาที่เหลืออยู่ต่อไป วิธีการ: ใช้แบบประเมินความพร้อมในการดูแล แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเด็กและผู้ดูแล สัมภาษณ์ผู้ดูแลหลักของเด็กป่วยประคับประคองประเภทผู้ป่วยในที่ส่งปรึกษาทีมดูแลเด็กป่วยประคับประคอง ที่เข้ารับบริการ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีในระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 2558 – 30 ต.ค. 2559 จำนวน 97 คน วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยผู้ดูแลหลัก ข้อมูลสัมพันธภาพในครอบครัว และการประเมินความพร้อมในการดูแล ใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ สถิติ T-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผล: ระดับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโดยรวมปานกลาง (1.90±0.88) โดยผู้ดูแลมีความพร้อมด้านการดูแลความต้องการด้านร่างกายของเด็กในระดับมาก(2.44±0.87) ความพร้อมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับเด็กในระดับน้อย (1.54±1.09) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในทุกด้าน ได้แก่ การได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาของผู้ดูแลหลัก ความเครียดของผู้ดูแล การรับรู้ว่ามีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ การได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย, สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ดูแลกับบุคคลในครอบครัว สัมพันธภาพที่ดีของผู้ดูแลกับคนนอกบ้าน สรุป: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยแต่ละด้านของผลการวิจัยนี้ สอดคล้องกับการประเมินและดูแลผู้ป่วยเด็กแบบประคับประคอง แบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ และจากข้อมูลความพร้อมในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดกับเด็กในระดับน้อย ดังนั้นแพทย์และพยาบาลจึงควรมีการให้ข้อมูลด้านการดูแลจัดการภาวะฉุกเฉินแก่ผู้ดูแลหลักให้เกิดความมั่นใจเพื่อที่สามารถดูแลจัดการผู้ป่วยที่บ้านได้ดี" }
{ "en": "This study aims to determine the effectiveness of therapeutic techniques for management of knee osteoarthritis in elderly on pain modulation and various outcomes related to knee functions. Participants in this study were 80 elderly volunteers with knee osteoarthritis (mean age 69.86 +/- 6.91 years old, weight 62.02 +/- 9.97 kg, height 154.71 +/- 7.49 cm). There were 4 studied groups (i.e., hot pack innovation, acupuncture, acupuncture plus hot pack innovation, and hot pack innovation plus exercise). The results showed that the hot pack innovation group demonstrated a significant reduction in pain immediately after application and also after completion of 6-week treatment duration (P < 0.002). In addition, the knee joint related functions also improved significantly at 6-week treatment duration (P < 0.03). The acupuncture group demonstrated a significant reduction in pain (P < 0.0001) and improvement in knee joint related functions at 6-week treatment duration (P < 0.007). For the acupuncture plus hot pack innovation group, it demonstrated a significant reduction in pain immediately after application and also after completion of 6-week treatment duration (P < 0.01). In addition, the knee joint related functions also improved significantly at 6-week treatment duration (P < 0.01). The hot pack innovation plus exercise group demonstrated a significant improvement in knee joint related functions immediately after application and also at 6-week treatment duration (P < 0.02). In addition, pain was also decreased significantly at 6-week treatment duration (P < 0.0001). In comparisons among treatment groups, there were no significant differences in improvement of pain (VAS), knee scores (WOMAC) and knee joint range of motion (ROM). However, pressure pain threshold (PPT) at 6-week treatment duration was superior under the hot pack innovation plus exercise group when compared to the acupuncture group (P < 0.02). The hot pack innovation group and also the acupuncture plus hot pack innovation group improved quadriceps muscle strength better than the acupuncture group (P < 0.02). Interestingly, the hot pack innovation plus exercise group was able to improve time-up and go test for agility (TUG) better than the acupuncture plus hot pack innovation (P < 0.004). This study suggests that all therapeutic techniques could improve the knee osteoarthritis condition on different clinical outcomes. The clinical improvements are noticeable if the therapeutic techniques are administered for some period of time. A combination of therapeutic techniques including heat and exercise may be one of potential therapeutic techniques for sustainable management of knee osteoarthritis.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของเทคนิควิธีการบำบัดรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ต่อการเปลี่ยนแปลงอาการปวดและประสิทธิภาพการทำงานของข้อเข่า โดยทำการศึกษาในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจำนวน 80 คน (อายุเฉลี่ย 69.86 +/- 6.91 ปี, น้ำหนัก 62.02 +/- 9.97 กิโลกรัม, ส่วนสูง 154.71 +/- 7.49 เซนติเมตร) แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 4 กลุ่มเทคนิคการรักษา (กลุ่มแผ่นประคบร้อน, กลุ่มฝังเข็ม, กลุ่มฝังเข็มร่วมกับการประคบร้อน, กลุ่มประคบร้อนร่วมกับการออกกำลังกาย) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มแผ่นประคบร้อนช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภายหลังการวางประคบเสร็จสิ้นทันทีและภายหลังโปรแกรมการรักษานาน 6 สัปดาห์ (P < 0.002) นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของข้อเข่าดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 6 ของโปรแกรมการบำบัดรักษา (P < 0.03) สำหรับกลุ่มฝังเข็มนั้นพบว่าอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 6 ของการบำบัดรักษา (P < 0.0001) และการทำงานของข้อเข่ามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (P < 0.007) สำหรับกลุ่มฝังเข็มร่วมกับการประคบร้อนนั้นพบว่าช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภายหลังการวางประคบเสร็จสิ้นทันทีและภายหลังโปรแกรมการรักษานาน 6 สัปดาห์ (P < 0.01) และพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของข้อเข่าทำได้ดีขึ้นในสัปดาห์ที่ 6 (P < 0.01) สำหรับกลุ่มประคบร้อนร่วมกับการออกกำลังกายนั้นพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของข้อเข่าทำได้ดีขึ้นทั้งภายหลังการวางประคบเสร็จสิ้นทันที (P < 0.02) และภายหลังโปรแกรมการรักษานาน 6 สัปดาห์ นอกจากนี้พบว่าอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 6 ของการบำบัดรักษา (P < 0.0001) ในการเปรียบเทียบผลระหว่างเทคนิคของการบำบัดรักษา พบว่าอาการปวด (VAS), แบบประเมินข้อเข่า (WOMAC) และมุมข้อเข่า (ROM) ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนระดับขีดกั้นความรู้สึกเจ็บปวดด้วยแรงกด (PPT) พบว่าในสัปดาห์ที่ 6 ของโปรแกรมการบำบัดรักษากลุ่มประคบร้อนร่วมกับการออกกำลังกายให้ผลดีกว่าการฝังเข็มเพียงอย่างเดียว (P < 0.02) และยังพบว่ากลุ่มการวางประคบร้อน และกลุ่มฝังเข็มร่วมกับการวางประคบร้อน ช่วยให้ฟื้นกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มอย่างเดียว (P < 0.02) และพบว่ากลุ่มที่ได้รับการประคบร้อนร่วมกับการออกกำลังกายช่วยส่งเสริมความแคล่วคล่องในการลุกเดิน (TUG) ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มร่วมกับการประคบร้อน (P < 0.004) การศึกษาในครั้งนี้สนับสนุนว่าทุกวิธีการบำบัดรักษาล้วนช่วยให้ภาวะข้อเข่าเสื่อมดีขึ้นในตัวแปรที่แตกต่างกันไปซึ่งจะได้ผลที่ชัดเจนเมื่อทำการบำบัดรักษาตามโปรแกรมอย่างต่อเนื่องมาสักระยะหนึ่ง อนึ่งการบำบัดรักษาร่วมกันโดยการใช้ความร้อนและการออกกำลังกายเข้ามาประกอบในโปรแกรมการบำบัดรักษาน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลการตอบสนองที่ดีในระยะยาวต่อการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อม" }
{ "en": "Background: Umbilical cord blood gas analysis is useful for determining perinatal insults especially in high risk infants. Cord pH less than 7.0 is usually associated with abnormal neurological outcome. Fetal acidemia with abnormal neurological assessment is also an indication for therapeutic hypothermia. However, neurological outcome in high risk infants with pH < 7.20 has not been well elucidated. Objectives: This study aimed to compare neurological assessments and short-term outcomes between infants with abnormal and those with normal umbilical arterial blood gas. Methods: We conducted a prospective cohort study in newborn infants with gestational age at least 35 weeks who had risk factors of perinatal asphyxia. Umbilical arterial cord gas was analyzed within 30 minutes after birth. Cord gas with pH 7.20 or above was clarified as normal blood gas whereas pH below 7.20 was abnormal. Neurological assessments were performed by using Thompson encephalopathy score and modified Sarnat staging at 12-24 hours and 24-48 hours after birth. Short-term outcomes during hospitalization were recorded. Results:There were 35 infants enrolled into the study. Nineteen (54.3%) infants were male. Median gestational age and birth weight were 37 (35, 41) weeks and 2,690 (1528, 4265) grams, respectively. Umbilical arterial cord gas was collected in all infants. There were 25 and 10 infants with cord pH ≥ 7.20 and < 7.20, respectively. One infant had cord pH less than 7.0. Thompson encephalopathy score at 24-48 hours of life in infants with cord pH < 7.20 were higher than those with cord pH ≥ 7.20. With Sarnat staging, infants with cord pH < 7.20 had more mild or moderate encephalopathy than those with cord pH ≥ 7.20 Conclusion: High risk infants with cord pH < 7.20 had more incidence of mild or moderate hypoxic ischemic encephalopathy compare to those with cord pH ≥ 7.20. Long-term neurodevelopmental monitoring is essential in high risk infants with cord pH < 7.20.", "th": "ภูมิหลัง: การตรวจวิเคราะห์แก๊สจากหลอดเลือดแดงสายสะดือ เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะหรือปัญหาของทารกกลุ่มเสี่ยงในระหว่างการคลอด และสามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดได้ ภาวะเลือดเป็นกรด pH น้อยกว่า 7.0มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง และเป็นหนึ่งข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยวิธีทำให้ตัวเย็น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อระบบประสาทในทารกกลุ่มเสี่ยงที่มีผลแก๊สในเลือดจากสายสะดือ pH < 7.20 วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินทางระบบประสาทในทารกกลุ่มเสี่ยง ระหว่างกลุ่มที่มีผลแก๊สในหลอดเลือดแดงสายสะดือผิดปกติ และกลุ่มที่มีผลแก๊สปกติ วิธีการ: ทำการศึกษาติดตามไปข้างหน้าในทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด อายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์ ขึ้นไป โดยนำเลือดที่ดูดจากหลอดเลือดแดงสายสะดือมาตรวจวิเคราะห์แก๊สภายใน 30 นาที หลังจากตัดสายสะดือ ค่าแก๊สในเลือดปกติ คือ pH ≥ 7.20 และผิดปกติ คือ pH < 7.20 ทารกจะได้รับการตรวจประเมินทางระบบประสาท 2 วิธี คือ Thompson encephalopathy score และ modified Sarnat staging ในช่วง 12 - 24 ชั่วโมง และ 24 - 48 ชั่วโมงหลังเกิดผล: มีทารกในการศึกษา 35 ราย เป็นเพศชาย 19 ราย (ร้อยละ 54.3) มัธยฐานของอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิด 37 (35, 41) สัปดาห์ และ 2690(1528, 4265) กรัม ตามลำดับ ทารก 25 ราย และ 10 ราย มีผลแก๊สจากเลือดแดงสายสะดือ ≥ 7.20 และ < 7.20 ตามลำดับ ทารก 1 ราย มี pH < 7.0 ทารกที่มีผลแก๊ส pH < 7.20 มีคะแนนการประเมิน Thompson encephalopathy score ที่ 24-48 ชั่วโมง สูงกว่า ทารกที่ผลแก๊ส pH ≥ 7.20 เมื่อประเมินด้วย modified Sarnat ทารกที่มีผลแก๊ส pH < 7.20 มีอัตราการเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนเล็กน้อยหรือปานกลางสูงกว่าทารกที่มี pH ≥7.20 สรุป: ทารกกลุ่มเสี่ยงที่มีผลแก๊สในหลอดเลือดแดงสายสะดือ < 7.20 มีอัตราการเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนเล็กน้อยหรือปานกลางจากการตรวจทางระบบประสาท สูงกว่าทารกที่มี pH ≥7.20 ดังนั้นทารกกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจประเมินทางระบบประสาทและติดตามพัฒนาการในระยะยาว" }
{ "en": "The physical and mobility impaired patients, who regularly use wheelchairs, have some levels of difficulties accessing dental care service when needed. In particular, the wheelchair patients usually have to transfer from their wheelchairs to regular dental unit, risking them to falls and injuries. The objective of research project is to design and develop a dental platform, which is equipment for reclining patients with wheelchairs without having to transfer the patients to regular dental unit. The project started from reviewing existing technologies for assisting patients with wheelchair for dental service. Then the research team derived the set of crucial specifications most suitable for the applications of dental service scenarios in Thailand. Risk assessments were taken before designing and developing the dental platform prototype. Finally, safety standard test and functional tests were conducted including: (1) functional performances, (2) Standard Test on Electromagnetic Compatibility (CISPR 11) and on Safety of Electrical Appliances (IEC 60335), and (3) clinical trials of regular patients with no disability for pre-evaluation. The prototype dental platform passed the requirements of its objective functions and the relating standard tests. The trial on the patients gave useful inputs for redesigning the consequent prototype development in consideration of more functional convenience for the wheelchair patient and the dentist.", "th": "การให้บริการทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่นั่งเก้าอี้ล้อเลื่อนมีความยากลำบาก และมีความเสี่ยงจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังเก้าอี้ทำฟันปกติอาจทำให้พลัดตกและเกิดการบาดเจ็บ งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาเด็นทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเอียงเก้าอี้ล้อเลื่อนเพื่อให้บริการทางทันตกรรมโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังเก้าอี้ทำฟันปกติ งานวิจัยเริ่มจากการพิจารณาเทคโนโลยีที่ช่วยผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนในการทำฟันการพัฒนาคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย โดยมีขั้นตอนตามลำดับคือ การประเมินความเสี่ยงในการใช้งาน การออกแบบและการพัฒนาต้นแบบ การทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย และทดสอบการใช้งานเบื้องต้นในส่วนการทดสอบประกอบด้วย (1) การทดสอบคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการ, (2) การทดสอบมาตรฐานความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (CISPR 11) และมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า (IEC 60335) และ (3) การทดสอบการใช้งานจริงกับผู้ป่วยปกติเพื่อประเมินการใช้เบื้องต้น ผลการทดสอบพบว่าเด็นทัลแพลตฟอร์มต้นแบบผ่านมาตรฐานข้างต้น และผลจากการใช้งานจริงในผู้ป่วยที่ไม่พิการแต่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน ยังมีส่วนของงานออกแบบที่ยังต้องปรับปรุงเพื่อพัฒนาเด็นทัลแพลตฟอร์มตัวต่อไปให้มีความสะดวกสบายต่อผู้ป่วยและทันตแพทย์ในการใช้งานมากขึ้น" }
{ "en": "Dental platform, which is equipment, is able to recline patients while sitting on their own wheelchairs unnecessarily transferring the patients to regular dental units. The interface pressure between the wheelchair patient and the dental platform prototype at various angles reclining was possible to lower the blood circulation of the patient surface against the dental platform in relation to time duration. This article aimed to study the interface pressure between the wheelchair patient and the dental platform prototype. The samples of 22 wheelchair patients were recruited for dental care with the use of the dental platform. The interface pressure mapping was performed by the pressure sensor. The measurement was done at the interacting surface of head, shoulder, back and bottom at the angle of 0 and 45 degree against vertical axis. Full mouth scaling was given and then the measurement was done again at 45 degree. Repositiong to 0 degree angle (sitting position) was done in every 15 minutes during treatment. The maximum pressure at the interface was 232 mmHg found at lumbar and sacral spines when the dental platform was angled at 45 degree until the dental care completion. The average highest pressure was 222 mmHg found at occipital protuberance at 45 degree until the end of care. Risk of having pressure sore is in fact related with the pressure level and time duration. From this study, if the higest pressure, 232 mmHg was considered with time relation, time duration of risking pressure sore would take longer than 1 hour and 30 minutes. In conclusion, the use of the dental platform had low risk of pressure sore unless care given longer than 1 hour and 30 minutes. To use it safer, adjusting the patient to the sitting position or 0 degree of angle in every 15 minutes while giving dental care could be indicated.", "th": "เด็นทัลแพลตฟอร์มเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเอียงเก้าอี้ล้อเลื่อนเพื่อให้บริการทางทันตกรรมโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังเก้าอี้ทำฟัน ความดันพื้นผิวสัมผัสระหว่างผู้ป่วยที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนและเด็นทัลแพลตฟอร์มที่ตำแหน่งเอนต่างๆ มีความเสี่ยงต่อการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนังของผู้ป่วยกับเด็นทัลแพลตฟอร์มและมีความสัมพันธ์กับเวลาที่สามารถก่อให้เกิดแผลกดทับ บทความนี้ต้องการศึกษาความดันระหว่างพื้นผิวสัมผัสผู้ป่วยที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนและเด็นทัลแพลตฟอร์มต้นแบบ โดยให้ผู้ป่วยที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน 22 คน รับการรักษาทางทันตกรรมโดยใช้เด็นทัลแพลตฟอร์ม ด้วยการใช้แผ่นวัดความดันระหว่างพื้นผิวสัมผัส (sensor mapping) วางใต้พื้นผิวสัมผัสผู้ป่วยและเด็นทัลแพลตฟอร์มในตำแหน่งศีรษะ หัวไหล่ หลังและก้น โดยให้ผู้ป่วยนั่งและพิงพนักพิงหลังและพนักพิงศีรษะของเด็นทัลแพลตฟอร์ม วัดความดันระหว่างพื้นผิวสัมผัสเมื่อเอียงทำมุมน้อยสุดคือ 0 องศา (ท่านั่ง) และ เอียงทำมุมมากที่สุดคือ 45 องศาก่อนการรักษาและเมื่อขูดหินปูนทั้งปากเสร็จ วัดความดันระหว่างพื้นผิวสัมผัสอีกครั้งที่มุมเอียง 45 องศา มีการพักการรักษาทุกๆ 15 นาที เพื่อปรับเอนผู้ป่วยขึ้นในท่านั่ง (0 องศา) จากการศึกษาพบว่า ค่าความดันพื้นผิวสัมผัส มีค่าความดันสูงสุดไม่เกิน 232 มิลลิเมตรปรอท พบที่บริเวณ Lumbar และ sacral spines เมื่อเอียงเด็นทัลแพลตฟอร์มที่มุม 45 องศาเมื่อสิ้นสุดการรักษาและขณะที่ความดันเฉลี่ยสูงสุดคือ 222 มิลลิเมตรปรอทพบบริเวณ Occipital protuberance ที่มุมเอียง 45 องศาเมื่อสิ้นสุดการรักษา ซึ่งความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับจะมีความสัมพันธ์กันระหว่างค่าความดันกับระยะเวลา การวิจัยนี้ ได้พิจารณาค่าความดันสูงสุดคือ 232 มิลลิเมตรปรอท นำมาหาความสัมพันธ์กับเวลาที่ทำให้เกิดแผลกดทับ พบว่าความดันนี้มีความเสี่ยงก่อให้เกิดแผลกดทับเมื่อมีความดันกดทับนานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที ดังนั้นการใช้เด็นทัลแพลตฟอร์มในการให้บริการทางทันตกรรมมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดแผลกดทับและมีความปลอดภัย ถ้าการรักษาทางทันตกรรม ไม่ได้ทำต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมง 30 นาที และมีการปรับความดันพื้นผิวสัมผัสเป็นระยะโดยปรับเด็นทัลแพลตฟอร์มสู่ท่านั่ง หรือเอียง 0 องศา เพื่อลดความดันและโอกาสเสี่ยงเกิดแผลกดทับ ซึ่งแนะนำให้ทำทุกๆ 15 นาที" }
{ "en": "The purpose of the study was to evaluate the sampled patients’ and dentists’ opinions and their satisfaction level toward the use of the dental platform prototype. The two questionnaires were developed, one for the wheelchair patients the other for the dentists. The twenty two wheelchair patients were purposively sampled and voluntary to be given the full mouth scaling with the use of the dental platform. The three dentists of the research team provided the full mouth scaling followed by the questionnaire completion. The other samples, the ten dentists selected from both public and private settings provided the full mouth scaling to the ten dummy patients, the staff of the Institute of Dentistry each of which sat on the wheelchair and received care on the dental platform prototype. The completion of the questionnaire and focus group discussion with the ten dentists were taken subsequently. The sampled wheelchair patients were satisfied with avoidance of the transferral to the regular dental unit with the average satisfaction score of 4.36 from 5 (max score). The least score (3.77) given was the platform headrest. Their confidence level while being moved in and out of the platform was 3.86 whereas the satisfaction level of the dentists was 3.5 for its ease of use. The adjustment of back rest was rated lowest at 3.2. In conclusion, the patients were satisfied with the dental platform especially for not being transferred to the dental unit. The satisfaction level of the dentists was comparatively lower than the patients’ and some recommendations of the platform improvement were also given.", "th": "จุดประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย และทันตแพทย์ที่ใช้เด็นทัลแพลตฟอร์มต้นแบบเพื่อการรักษาทางทันตกรรม โดยทำแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ป่วยพิการที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน 22 คน เข้ารับบริการทันตกรรมด้วยการขูดหินปูนทั้งปาก โดยใช้เด็นทัลแพลตฟอร์มเอียงเก้าอี้ล้อเลื่อน เมื่อการรักษาเสร็จจึงสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย 2) กลุ่มทันตแพทย์ 10 คนที่ให้บริการทันตกรรมโดยวิธีขูดหินปูนทั้งปากโดยให้ผู้ป่วยปกติและไม่พิการนั่งบนเก้าอี้ล้อเลื่อนและเอนทำฟันโดยใช้เด็นทัลแพลตฟอร์ม หลังการรักษาเสร็จ ให้ทันตแพทย์ทำแบบสอบถาม และอภิปรายกลุ่ม ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ป่วยพบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มผู้ป่วยต่อการที่ไม่ต้องถูกเคลื่อนย้ายมาที่เก้าอี้ทำฟัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด คือ 4.36 จากคะแนนเต็ม 5 ความพึงพอใจต่อพนักพิงศีรษะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 3.77 ขณะที่ความรู้สึกปลอดภัยหรือมั่นใจขณะเข้าและออกจากเด็นทัลแพลตฟอร์ม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.86 ในส่วนความคิดเห็นของทันตแพทย์ ให้คะแนนเฉลี่ยความสะดวกสบายทั่วไป หรือความง่ายต่อการใช้งานอยู่ที่ระดับ 3.5 คะแนนเฉลี่ยในหัวข้อความง่ายต่อการปรับพนักพิงหลังได้น้อยที่สุดคือ 3.2 คะแนน โดยสรุปผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากต่อการใช้เด็นทัลแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะเหตุผล การที่ไม่ต้องถูกเคลื่อนย้ายมาที่เก้าอี้ทำฟัน ส่วนความพึงพอใจของทันตแพทย์เมื่อใช้เด็นทัลแพลตฟอร์มให้การรักษาทันตกรรม ต่ำกว่าความพึงพอใจของผู้ป่วยและมีข้อแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาเด็นทัลแพลตฟอร์มเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้น" }
{ "en": "Fluoride and catechin are essential compounds for dental caries prevention which commonly found in green tea (Camellia sinensis). However, their quantitative levels depend on geographical locations. This research aimed to determine the content of fluoride and epigallocatechin gallate (EGCG) as a type of catechin, and also identify the suitable method for green tea extraction. The green tea products were collected from each province in Thailand. After dissolution 1 g of the dried green tea in 100 mL of boiled water, the fluoride ion concentrations were measured by ion selective electrode (ISE). In addition, the active component EGCG was observed by high-performance liquid chromatography (HPLC) after 70% methanol extraction. The results showed that fluoride content in the green tea from each province in Thailand was significantly different (p=0.01) with the concentrations from 0.14-0.99 ppm. EGCG content was also statistically different (p=0.00). The highest and lowest amount of EGCG were 99.99 mg/g and 33.25 mg/g, respectively. EGCG concentration extracted with 70% methanol was obtained the highest extract yield. In conclusion, fluoride and EGCG levels in each area of Thailand were different. According to the previous studies, the amount of fluoride in Thai green tea was possibly enough for remineralization on the teeth. Moreover, EGCG concentration in 30 minutes of brewing groups in the present study may represent the anti-cariogenic properties.", "th": "ฟลูออไรด์และสารกลุ่มคาเทชินเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยในการป้องกันฟันผุและส่งเสริมสุขภาพช่องปากซึ่งพบได้มากในชาเขียว (Camellia sinensis) อย่างไรก็ตามปริมาณของฟลูออไรด์และสารกลุ่มคาเทชินที่พบนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ งานวิจัยนี้จัดทำเพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์และอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (Epigallocatechin gallate, EGCG) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสารกลุ่มคาเทชินตามแต่ละพื้นที่ รวมถึงหาวิธีการสกัดสารสำคัญจากชาเขียวที่เหมาะสม โดยทำการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชาเขียวเพื่อเป็นตัวแทนแต่ละจังหวัดในประเทศไทย นำมาวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ด้วยวิธีฟลูออไรด์ซีเลคทีฟอิเล็กโทรด (fluoride ion selective electrode, F-ISE) วัดสารละลายชาเขียวที่ปริมาณ 1 g ละลายในน้ำ 100 mL ในรูปแบบการต้มเพื่อจำลองลักษณะการดื่มชาเขียวปกติ สำหรับการหาปริมาณสารออกฤทธิ์สำคัญ EGCG นั้น ใช้เทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (high-performance liquid chromatography, HPLC) หลังจากที่ทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย 70% เมทานอล และสกัดด้วยน้ำร้อนเพื่อดูปริมาณจากการดื่มปกติ ผลที่พบคือปริมาณฟลูออไรด์ในชาเขียวจากแต่ละแหล่งปลูกในประเทศไทยมีระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) โดยมีความเข้มข้นตั้งแต่ 0.14-0.99 ppm ทั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งปลูกกับปริมาณฟลูออไรด์ที่กระจายในน้ำบาดาล รวมถึงพันธุ์ที่ใช้ในการปลูก นอกจากนี้ปริมาณ EGCG ในแต่ละแหล่งปลูกนั้นมีความแตกต่างกันไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.00) ปริมาณสูงสุดอยู่ที่ 99.99 mg/g และต่ำสุดอยู่ที่ 33.25 mg/g พบสภาวะการสกัดด้วยตัวทำละลาย 70% เมทานอลให้ค่าการสกัดสูงสุด ทั้งนี้ปริมาณฟลูออไรด์และ EGCG ในแต่ละแหล่งปลูกมีระดับที่แตกต่างกันออกไป โดยปริมาณฟลูออไรด์ในรูปแบบการดื่มปกติแนวโน้มมีปริมาณมากเพียงพอที่จะช่วยทำให้เกิดการคืนกลับแร่ธาตุบนผิวฟันได้ ส่วนปริมาณ EGCG นั้นพบว่าหากต้มที่ระยะเวลา 30 นาที ปริมาณ EGCG มีเพียงพอให้ฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดฟันผุได้เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นในการทดลองทางห้องปฏิบัติการจากการศึกษาก่อนหน้า" }
{ "en": "Failures of dental implants do occur after the treatment and one of the reasons is peri-implant diseases. Non-surgical treatment such as a closed debridement is limited in the case with deep defect while air abrasive polishing causes surface roughness of titanium implants, which allows microorganisms to attach to a tooth surface and increase their number. Furthermore, treating patients with antibiotic could cause a drug resistance. Therefore, laser therapy in combination with the treatment of peri-implant diseases has applying increasingly to supporting a non-surgical treatment. However, the researches which has been done so far has inconclusive evidence to support applications of laser therapy in peri-implant diseases management. This systematic review aimed to answer the question: “Is a laser therapy in the treatment of peri-implant diseases effective than a non-surgical therapy?” Electronic searching and the hand-searching in both English and Thai literature conducted between January 2001 and October 31, 2017. The electronic searching database includes PubMed/MEDLINE, Cochrane, CENTRAL, DARE, ScienceDirect and ThaiLiS while the hand-searching was through Periodontics/implantology-related journals. A systematic review of randomized controlled trials (RCTs) was performed to evaluate the comparison of laser treatment and non-surgical therapy of peri-implant diseases in human. The initial search of the titles and abstracts yielded 140 studies; 11 studies met inclusion criteria for the review. The treatment effect evaluation was based on changes in the clinical parameter. The result showed that the outcomes of laser treatment of peri-implant diseases are comparable with that of the non-surgical therapy. Pocket depth, clinical attachment level, and plaque index showed no significant differences; however, laser therapy tends to decrease bleeding on probing. In the long-term outcomes are comparable as evidence level 1, grade B according to Strength of Recommendation Taxonomy (SORT). Thus, laser therapy can be an option to treat a patient with peri-implantitis. Nevertheless, RCTs of the long-term effects of peri-implantitis treatment using a laser are still needed to confirm the clinical outcome.", "th": "ลักษณะของโรครอบรากฟันเทียม แบ่งเป็น 2 ระดับ คือเยื่อเมือกอักเสบรอบรากฟันเทียมและการอักเสบรอบรากฟันเทียม การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น การทำความสะอาดเชิงกลแบบไม่เปิดแผ่นเนื้อเยื่อ มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถลงไปทำความสะอาดในตำแหน่งที่ลึกได้ การใช้การขัดแบบพ่นยิงทำให้เกิดความขรุขระมากบนพื้นผิวของรากฟันเทียมไททาเนียม ส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์ยึดติดกับพื้นผิวได้ง่ายและมีจำนวนมากขึ้น การใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะร่วมในการรักษาอาจทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อขึ้นได้ ปัจจุบันจึงได้มีการนำเลเซอร์เพื่อการรักษาเข้ามาร่วมในการรักษารอยโรครอบรากฟันเทียม เพื่อเสริมหรือทดแทนการรักษาแบบไม่ผ่าตัด อย่างไรก็ตามการนำเลเซอร์มาใช้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่สรุปชัดเจนว่าการใช้เลเซอร์ให้ผลดีกว่าการรักษาแบบไม่ผ่าตัด วัตถุประสงค์การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้เพื่อสรุปหลักฐานทางวิชาการให้ชัดเจนในเรื่องประสิทธิผลของเลเซอร์ในการรักษารอยโรครอบรากฟันเทียมเปรียบเทียบกับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตีพิมพ์เผยแพร่ซึ่งทำสำเร็จ พศ. 2544 จนถึง31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จากฐานข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ Pubmed/MEDLINE, Cochrane, CENTRAL, DARE, ScienceDirect และคลังข้อมูลงานวิจัยไทย ผลการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวกับผลของการใช้เลเซอร์ในการรักษารอยโรครอบรากฟันเทียมเปรียบเทียบกับวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 140 รายงานการศึกษา เป็นไปตามเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมดจำนวน 11 รายงาน เป็นการศึกษาชนิดทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่ศึกษาในมนุษย์ พบว่าประสิทธิผลในการรักษาโรครอบรากฟันเทียมโดยใช้เลเซอร์เปรียบเทียบกับการรักษาแบบไม่ผ่าตัดค่าพารามิเตอร์ทางคลินิกพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นค่าการมีเลือดออกหลังการหยั่งร่องเหงือกที่มีรายงานว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรวบรวมหลักฐานทางวิชาการครั้งนี้สรุปว่าการใช้เลเซอร์ในการรักษารอยโรครอบรากฟันเทียมนั้นให้ผลในการรักษาที่ดี แต่พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการรักษาแบบไม่ผ่าตัดวิธีอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การทำความสะอาดเชิงกลและ/หรือการใช้สารเคมีรวมทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะ ด้วยคุณภาพหลักฐานระดับ1คำแนะนำระดับ B ตามการประเมินของ Strength of Recommendation Taxonomy (SORT) แต่อย่างไรก็ตามการติดตามการรักษาที่ต่อเนื่องและการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี แนวโน้มน่าจะทำให้รากฟันเทียมสามารถคงสภาพที่ไม่ก่อโรคได้" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Tuberculosis is an infectious disease that continues to be a public health problem in many countries around the world. In 2015, it is the second leading cause of death in the world. 1.8 million people died from the disease and 10.4 million have been infected. The improvement in patient monitoring and patient screening, as well as patients with smear-negative tuberculosis is important. By 2014, the World Health Organization reports that only 63 per cent (6 million) of the 9.6 million people were detected. It means that 37 per cent of all tuberculosis patients are unlikely to be detectable. The aim of this study was to identify smear-negative tuberculosis patients with using TB Fast Amp. 385 patients were reported from Public Health Laboratory of Medical Science Center 10 Ubon Ratchathani during 2013 to 2017. The positive results were 59 cases, 15.32%. Negative results were 326 cases, 84.68% 5-years old minimum, 91-years old maximum, 204 males, 52.99%, 181 females, 47.01%. There were 25 home-related patients, 17.24% and 120 no home-sickness, 82.76%. 35.8 cases had previous tuberculosis treatment, 24.82%. 106 cases had no previous tuberculosis treatment, 75.18%. The results from the TB FastAmp study could help to find out negative-smear tuberculosis patients 15.32%. Then this molecular technique should be used for the detection of tuberculosis in clinical trials, especially in countries with limited resources.Keyword: Tuberculosis, Negative acid fast stain, TB FastAmp", "th": "วัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดเชื้อที่ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของหลายประเทศทั่วโลก เป็นสาเหตุการตายอันดับสองของโลก ในปี พ.ศ. 2558 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.8 ล้านคน และมีผู้ป่วยจำนวน 10.4 ล้านคน ดังนั้นในการดูแลและควบคุมวัณโรค รวมถึงการปรับปรุงการตรวจสอบผู้ป่วยและการตรวจหาผู้ป่วยรวมทั้งผู้ป่วยที่มีเชื้อวัณโรคแต่ให้ผล smear-negative จึงมีความสำคัญ ในปี พ.ศ. 2557 องค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีเพียง ร้อยละ 63 (6 ล้านคน) จาก 9.6 ล้านคน ซึ่งหมายความว่าทั่วโลก ร้อยละ 37 ของจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่คาดว่าจะไม่สามารถตรวจพบได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มสเมียร์ลบโดยใช้เทคนิคระดับโมเลกุล TB Fast Amp รายงานจากห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2560 จำนวน 385 ราย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่าให้ผลบวก จำนวน 59 ราย ร้อยละ 15.32 อายุต่ำสุด 5 ปี สูงสุด 91 ปี เป็นชาย จำนวน 204 ราย ร้อยละ 52.99 เป็นหญิง จำนวน 181 ราย ร้อยละ 47.01 มีผู้ป่วยร่วมบ้าน จำนวน 25 ราย ร้อยละ 17.24 ไม่มีผู้ป่วยร่วมบ้าน จำนวน 120 ราย ร้อยละ 82.76 เคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน จำนวน 35 ราย ร้อยละ 24.82 ไม่เคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน จำนวน 106 ราย ร้อยละ 75.18 สรุปผลจากการศึกษา เทคนิค TB FastAmp สามารถช่วยค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มสเมียร์ลบได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.32 ดังนั้นน่าจะเป็นวิธีการทางอณูชีววิทยาที่จะเข้ามามีบทบาทและใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับการตรวจสอบเชื้อวัณโรคในตัวอย่างทางคลินิก แบบรู้ผลเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด" }
{ "en": "Muscle spasticity condition is a chronic disease caused by abnormalities of neurological problem. It is frequently found in Neurological rehabilitation causing disability of extremity, ambulation problem, pains during daily-living activities and disturbed sleep. It is commonly found in patients with neurological conditions such as stroke, traumatic brain injury, cerebral palsy, spinal cord injury and spinal degenerative diseases such as multiple sclerosis and familial spastic paraparesis. There are several ways to treat muscle spasticity. For massaging, it is believed that it can help to reduce muscle spasms from the use of external force to stretch the muscles. In addition, force created from a skin massage can reduce pains according to the Gate control theory. This work studies the effectiveness of massaging compared to the different ways of spasticity treatment in patients with neurological disorders. By searching the database MEDLINE via PubMed, 90 studies out of the relevance of 93 studies were excluded because the treatments were not a massage, not a treatment for neurological patients, or not measurable neurological symptoms of spasticity. The study reports and evaluates total 3 studies that met selection criteria. The results showed that massage therapy in various forms to relieve spasticity and pain had statistical 95% CI equal to -0.45-0.34 and -2.44 - 4.44, respectively, when compared with other methods of treatment. Therefore, patients with neurological diseases such as stroke and multiple sclerosis with symptoms of muscle spasticity and had massage therapy in various forms showed effective results in reducing spasticity and pain compared to other treatments, such as physical therapy, exercise and a sham massage. But the results were significant difference. However, measures to reduce pain are still controversial in the selected study.Keywords: Massage, Massage therapy, Neurological, Neurological patient, Spastic", "th": "ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้บ่อยในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา เกิดปัญหาในการเดิน และการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้เกิดอาการปวด และรบกวนการนอน พบได้บ่อยในผู้ป่วยระบบประสาท เช่น ภาวะหลอดเลือดสมอง (stroke) บาดเจ็บทางสมอง (traumatic brain injury) สมองพิการ (cerebral palsy) บาดเจ็บไขสันหลัง (spinal cord injury) และภาวะเสื่อมของไขสันหลัง (spinal degenerative disease) เช่น multiple sclerosis และ familial spastic paraparesis การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีหลายวิธี ได้แก่ การทำกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การใช้ยารับประทาน การฉีดยาลดเกร็งเฉพาะที่ Intrathecal baclofen และการผ่าตัด สำหรับการนวดนั้น เป็นศาสตร์ที่มีมาช้านาน เป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกที่ใช้ในทางคลินิกอย่างแพร่หลาย โดยมีข้อมูลทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง และลดอาการปวดได้ จากการใช้แรงจากภายนอกไปยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อีกทั้งแรงสัมผัสจากการนวดบริเวณผิวหนังยังช่วยลดความเจ็บปวดตามทฤษฎี Gate control theory แต่หลักฐานทางงานวิจัยที่เกี่ยวกับผลของการนวดในภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีน้อยมาก และยังไม่พบว่ามีการทำการศึกษาประเภทการทบทวนอย่างเป็นระบบ (systematic review) จึงทำให้คณะผู้วิจัยต้องการศึกษาผลของการนวดต่อภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง และอาการปวดในผู้ป่วยระบบประสาท เปรียบเทียบกับวิธีต่างๆ โดยการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed ได้ 93 การศึกษา และถูกคัดออกจำนวน 90 การศึกษา เนื่องจากกระบวนการรักษาไม่ใช่การนวด ไม่ได้ทำการรักษาในผู้ป่วยระบบประสาท และไม่ได้วัดผลเรื่องอาการเกร็ง เอกสารรายงานการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินคุณภาพ มีจำนวนทั้งสิ้น 3 การศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยวิธีการนวดในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดอาการเกร็งและอาการปวด เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆได้ผลทางสถิติ 95% CI เท่ากับ -0.45-0.34 และ -2.44 - 4.44 ตามลำดับ ดังนั้นผู้ป่วยระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และ multiple sclerosis ที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ที่ทำการรักษาด้วยการนวดในรูปแบบต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาอื่นๆ เช่น การทำกายภาพบบำบัด การออกกำลังกาย และการนวดหลอก (sham-controlled) ให้ผลในการลดเกร็งและผลในการลดอาการปวด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การวัดผลเรื่องการลดปวดยังมีข้อขัดแย้งในการศึกษาที่คัดเลือกมา" }
{ "en": "Sarcopenia is one of geriatric syndromes with a continuous decrease in muscle mass and muscle strength, results in physical limitations leading to frailty, decreased activities of daily living, increased risk of falls and cardiovascular disease, diminished quality of life and increased mortality rate. Resistance exercise increases muscle mass and strength, allowing elderly with sarcopenia to stabilize, prevent falls and increase ability to perform daily activities. This systematic review aimed to study the effectiveness of resistance exercise in elderly with sarcopenia compared with non resistance exercise or others. We searched in MEDLINE database via PubMed and CENTRAL database via Cochrane. A systematic literature review was conducted in articles published between 2006 and 2016. There were 2 randomized controlled trials and 1 quasi randomized controlled trials. The results of this review showed that muscle strength and muscle mass of resistance exercise in elderly with sarcopenia were not different, when compared with non resistance exercise or others.", "th": "ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการสูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดทางกายภาพนำไปสู่ภาวะเปราะบาง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหกล้มและการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คุณภาพชีวิตลดลงและเพิ่มอัตราการเสียชีวิต การออกกำลังกายแบบแรงต้านจะทำให้มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงเพิ่มขึ้นช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมีการทรงตัวที่ดีขึ้น ป้องกันภาวะหกล้มได้และเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การศึกษานี้เป็นการทบทวนอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบแรงต้านในผู้สูงอายุภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายแบบแรงต้าน หรือวิธีอื่นๆ โดยการสืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed และฐานข้อมูล CENTRAL ผ่าน Cochane กำหนดปีที่ใช้ในการสืบค้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2559 ผลการสืบค้นได้การศึกษาที่ตรงตามเกณฑ์กำหนดซึ่งจำแนกตามประเภทการศึกษาได้เป็น randomized controlled trials 2 การศึกษาและ quasi randomized controlled trials 1 การศึกษาผลการทบทวนอย่างเป็นระบบพบว่าการออกกำลังกายแบบแรงต้านของผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมีค่ามวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่แตกต่างจากการไม่ออกกำลังกายแบบแรงต้าน หรือวิธีอื่นๆ" }
{ "en": "Pressure ulcer causes several complications in limited mobility patients. The development of innovative bed reduce or treat pressure ulcer is essential for the development of nursing quality. The purpose of this case report was to study the satisfaction with the use of innovation bed reduce or treat pressure ulcers and effectiveness of innovative bed reduce or treat pressure ulcers, in pathologic of spinal cord and pressure ulcers. He had low personal hygiene, limited of care and lack of knowledge of caregivers. The Bathel ADL Index score was 2 who did not admited in the hospital between November 2015 - January 2017. Data were collected by asking for satisfaction with the use of innovation and The Ulcer Scale for Healing (PUSH Tool Version 3.0) was used to study the effectiveness of the innovative bed reduce or treat pressure ulcers. Data were analyzed using for satisfaction with the use of innovation score and The Ulcer Scale for Healing score. The results revealed that at the end of this case report, The use of innovative bed reduce or treat pressure ulcers is effective healing of pressure ulcers. After rest on innovative bed reduce or treat pressure ulcers. Total score PUSH Tool reduced from 17 points to 0 points. Case report and relative are satisfied with the use of innovative bed reduce or treat pressure ulcers at the highest score. The reason that innovative bed reduce or treat pressure ulcer is softness, not hot, humid. The findings indicated that the innovative bed reduce or treat pressure ulcers is effective to heal pressure ulcers. Patients and relative are satisfaction. The effectiveness of this innovation with a larger sample size should be recommended for the further study.", "th": "แผลกดทับเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการในผู้ป่วยที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การพัฒนานวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมและประสิทธิผลของนวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีพยาธิสภาพที่ไขสันหลังและมีแผลกดทับ มีภาวะพร่องสุขวิทยาส่วนบุคคล มีข้อจำกัดในการดูแลและผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วย คะแนน Bathel ADL Index เท่ากับ 2 ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และนอนบนที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 ถึง มกราคม 2560 โดยสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมของผู้ป่วยและญาติ และศึกษาประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับ โดยใช้แบบประเมินการหายของแผล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนการหายของแผลกดทับ และคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม ผลการศึกษา พบว่า 1. การใช้นวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับมีประสิทธิผลต่อการหายของแผลกดทับ คะแนนประเมินการหายของแผลลดจาก 17 คะแนนจนถึง 0 คะแนน แผลหายเป็นปกติ 2. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับในระดับมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า นวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับมีความอ่อนตัว นิ่ม ไม่ร้อน ไม่อับชื้น ดูแลง่าย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้นวัตกรรมที่นอนลดหรือรักษาแผลกดทับมีประสิทธิผลต่อการหายของแผลกดทับ ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม โดยมีข้อเสนอแนะว่า ควรศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น" }
{ "en": "Background: Walking disability is a main problem of stroke patients. Regaining one’s ability to walk is important for stroke survivors, and is a major goal of all rehabilitation programs. The advance technologies for gait training were developed and studies. There are Body Weight Support Treadmill Training; BWSTT, Gait Trainer and Robotic assisted gait training; RAGT were developed to improve walking ability in patient after stroke. However, the effects of the training were found variations among the trials regarding onset of stroke, duration and frequency of treatment as well as differences in the ambulatory status of the patients and outcome measurements. Purpose: This study was a systematic review to assess the effectiveness of robotic assisted gait training (Exoskeleton devices: Lokomat) in stroke patients. Methods: We searched MEDLINE via PubMed with randomized controlled trials (RCTs) and found 150 records. 145 records were excluded because of no study about Lokomat and no walking ability outcome measurements. We assessed the quality of 5 studies. Results: The results showed that the subjects were included an different onset, duration and frequency of treatment. Different outcome measurements had effects on training performance which cannot be performed meta - analysis. Conclusion: From the systematic review, it is concluded that insufficient data were variable to make meta-analysis. For more clinical benefits, it should be carried out randomized controlled trials (RCTs) to investigate the effectiveness of robotic assisted gait training (Exoskeleton devices: Lokomat) and the long term effect of the training in stroke patients.", "th": "ภูมิหลัง: การสูญเสียความสามารถในการเดินเป็นปัญหาหลักที่รบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการฝึกเดินของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทั้งการฝึกเดินบนสายพานแบบมีเครื่องพยุงน้ำหนักตัว, โครงพยุงที่มีการควบคุมที่ปลายเท้า และหุ่นยนต์ฝึกเดินที่มีโครงพยุงควบคุมขา แต่อย่างไรก็ตามผลของการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งระยะเวลาดำเนินการของโรค ความสามารถในการเดิน ระยะเวลาการฝึก ความหลากหลายของการวัดผลลัพธ์วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการทบทวนอย่างเป็นระบบ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน (ชนิดมีโครงพยุงขา: โลโคแมต) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิธีการ: โดยสืบค้นจากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed และเลือกรูปแบบการศึกษาที่เป็นรูปแบบ randomized controlled trials ได้เอกสารรายงานการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 150 การศึกษา ถูกคัดออก 145 การศึกษา เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับโลโคแมตและการวัดผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเดิน เหลือผลลัพธ์ทั้งหมดจำนวน 5 การศึกษา ผล: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในระยะที่ต่างกัน ได้รับการฝึกด้วยความถี่และระยะเวลาการฝึกที่แตกต่างกัน รวมทั้งการวัดผลลัพธ์รายงานผลที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อประสิทธิภาพของการฝึก ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาสังเคราะห์ด้วยวิธี meta-analysis ได้ สรุป: การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้พบการศึกษาที่นำมาวิเคราะห์จำนวนน้อย โดยแต่ละการศึกษามีระยะการฝึกและการวัดผลลัพธ์แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สามารถเป็นประโยชน์ทางคลินิกมากกว่านี้ ควรทำการศึกษาวิจัยทดลองเชิงเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในระยะต่างๆ และได้รับการฝึกด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินด้วยความถี่ ระยะเวลาที่น้อยที่สุดที่มีประสิทธิผลว่าหุ่นยนต์ฝึกเดินมีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยในระยะเวลาฝึกแบบรูปแบบใด รวมถึงผลการฝึกที่มีผลต่อความสามารถของผู้ป่วยต่อเนื่องในระยะยาวหรือไม่ และควรใช้โปรแกรมการฝึกแบบใดจึงได้ประสิทธิผลและคุ้มค่ามากที่สุด" }
{ "en": "Background: Nasal endoscopy is a common and valuable procedure in rhinologic examination. Preparation for nasal endoscopy is usually applied decongestant and/or local anesthetic agents into nostrils to relieve pain and enhance visualization during endoscopy. This study aimed to conduct a comparative study between efficacy of 0.025% oxymetazoline with 1% lidocaine and 1% ephedrine with 2% lidocaine in nasal preparation before nasal endoscopy. Methods: A prospective double-blinded randomized controlled trial was conducted in 60 patients aged between 18-70 years undergoing rigid nasal endoscopy at Bangpli Hospital. Nasal cavities of each patient were randomized to apply the cottonoid soaked with the mixture of 0.025% oxymetazoline with 1% lidocaine or 1% ephedrine with 2% lidocaine before nasal endoscopic procedure. Outcomes were assessed for nasal congestion level, pain during packing, pain during endoscopy, clarity of endoscopic view and visualization of nasal anatomical structures. Results: Both 0.025% oxymetazoline with 1% lidocaine and 1% ephedrine with 2% lidocaine were able to reduce the nasal congestion (3.57±2.91 VS 1.52±2.14, p-value = 0.000) and (3.48±2.46 VS 1.34±1.81, p-value = 0.000) respectively. There was no statistically significant difference between two groups in all outcomes. Difference of pre- and post-packing nasal congestion level (2.05±2.47 VS 2.14±2.19, p-value = 0.890), pain during packing (1.96±2.30 VS 1.77±2.37, p-value = 0.060), pain during endoscopy (4.19±3.36 VS 4.05±3.35, p-value = 0.359), clarity of endoscopic view (6.71±2.24 VS 6.98±2.39, p-value = 0.204) and visualization of nasal anatomical structures (3.78±0.74 VS 3.90±0.78, p-value = 0.106). Conclusion: The efficacy of 0.025% oxymetazoline with 1% lidocaine was not different from 1% ephedrine with 2% lidocaine. Both mixtures can be used in nasal preparation before nasal endoscopy.", "th": "ภูมิหลัง : การส่องกล้องตรวจโพรงจมูกเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายและมีประโยชน์อย่างมากในการตรวจรักษาโรคทางจมูก การเตรียมผู้ป่วยก่อนการส่องกล้องโดยใช้สารบีบหลอดเลือดและ/หรือยาชาจะช่วยลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยและช่วยให้สามารถตรวจเห็นได้ชัดขึ้น การศึกษานี้เปรียบเทียบประสิทธิผลของสารผสม 0.025% oxymetazoline กับ 1% lidocaine และสารผสม 1% ephedrine กับ 2% lidocaine ในการเตรียมผู้ป่วยก่อนการส่องกล้องโพรงจมูก วิธีกําร : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ไปข้างหน้าแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมและปกปิดสองทาง ในผู้ป่วยอายุ 18-70 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องโพรงจมูก ที่มาตรวจ ณ แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลบางพลี ทำการสุ่มว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะใช้สำลีชุบสารผสม 0.025% oxymetazoline กับ 1% lidocaine หรือสารผสม 1% ephedrine กับ 2% lidocaine ใส่ในรูจมูกข้างใดก่อนการส่องกล้องโพรงจมูก ประเมินด้านต่างๆ ดังนี้ ระดับความคัดจมูก ความเจ็บปวดขณะใส่สำลีชุบสารผสม ความเจ็บปวดระหว่างการส่องกล้อง ความชัดเจนของการส่องกล้อง และตำแหน่งกายวิภาคของจมูกที่สามารถตรวจได้ในการส่องกล้อง ผล : สารผสม 0.025% oxymetazoline กับ 1% lidocaine และสารผสม 1% ephedrine กับ 2% lidocaine มีประสิทธิผลในการลดความคัดจมูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.57±2.91 VS 1.52±2.14, p-value = 0.000) และ (3.48±2.46 VS 1.34±1.81, p-value = 0.000) ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม ทั้งในเรื่องความแตกต่างของระดับความคัดจมูกก่อนและหลังใส่สำลีชุบสารผสม (2.05±2.47 VS 2.14±2.19, p-value = 0.890) ความเจ็บปวดขณะใส่สำลีชุบสารผสม (1.96±2.30 VS 1.77±2.37, p-value = 0.060) ความเจ็บปวดระหว่างการส่องกล้อง (4.19±3.36 VS 4.05±3.35, p-value = 0.359) ความชัดเจนของการส่องกล้อง (6.71±2.24 VS 6.98±2.39, p-value = 0.204) และตำแหน่งกายวิภาคของจมูกที่สามารถตรวจได้ในการส่องกล้อง (3.78±0.74 VS 3.90±0.78, p-value = 0.106) สรุป: ประสิทธิผลของสารผสม 0.025% oxymetazoline กับ 1% lidocaine และสารผสม 1% ephedrine กับ 2% lidocaine นั้นไม่แตกต่างกัน และสามารถใช้สารผสมทั้งสองชนิดในการเตรียมผู้ป่วยก่อนการส่องกล้องโพรงจมูก" }
{ "en": "The purposes of this research were to study the outcomes of hemodialysis (HD) services and patients’ outcomes of a 5 year in hospital-based service. The data were retrospectively collected for a descriptive study. The reviewed data and outcomes of the patient documents between January 2012 and December 2016 which have been recorded in the computer program were included. These were called Universal Data Characterization and Hierarchical Analytics (UCHA). These data were presented as frequency, percentages and mean with standard deviation or median with inter-quartile range. From the study, a number of all patients (1,553) can be classified as the patients with acute HD (98.8%) and chronic HD (1.2%). The number of male patients were equal to the female patients with mean age of 62.3±15.0 years. The increasing number of patients who need acute HD were shown by years as follows: 59.7%, 58.7%, 63.5%, 60.0% and 65.7%, respectively. The infection was the highest cause of the hospitalization (34.4%). The most clinical outcome of acute HD patients who were complicated chronic HD patients had improved (79.7%). The most deaths occurred in acute kidney injury (AKI) patients (60.3%). The outcome of chronic HD patients were achieved the key performance indicator (KPI) target of The Nephrology Society of Thailand criteria. Meanwhile, comparing work productivity as a ratio of workloads and staff availability had higher than the standard criteria of Bureau of nursing. In conclusion, HD patients frequently require acute HD in hospital-based services because of their trendiness to a variety of acute problems. Although almost of them had been recovered, the mortality rate remains high in AKI. Early detection of acute renal problems and available support staff’s workload will improve patient outcomes. Therefore, hemodialysis in hospital-based service should be availability of acute and chronic HD facilities", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลในระยะเวลา 5 ปี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง ข้อมูลการบริการและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ชื่อ Universal Data Characterization and Hierarchical Analytics (UCHA) ระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อมูลดังกล่าว นำเสนอด้วย ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) หรือ ค่ามัธยฐาน (ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์) จากการศึกษาพบว่าในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด (1,553 ราย) เป็นผู้ป่วยที่ต้องการฟอกเลือดฉุกเฉิน (ร้อยละ 98.8) และฟอกเลือดเรื้อรัง (ร้อยละ 1.2 ) เพศชายต่อเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ยประมาณ 62.3±15.0 ปี อัตราการเพิ่มจำนวนการฟอกเลือดฉุกเฉินมากขึ้นในระยะเวลา 5 ปี คือร้อยละ 59.7, 58.7, 63.5, 60.0 และ 65.7 ตามลำดับ การติดเชื้อเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล (ร้อยละ 34.4) ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยฟอกเลือดฉุกเฉินที่เป็นผู้ป่วยฟอกเลือดเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่มีอาการทุเลา (ร้อยละ 79.7) ผู้ป่วยไตบาดเจ็บเฉียบพลันส่วนใหญ่เสียชีวิต (ร้อยละ 60.3) สำหรับผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดเรื้อรังเป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของข้อแนะนำที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยกำหนด ขณะที่ปริมาณภาระงานต่อบุคลากรที่ให้บริการยังมีผลิตภาพของงานพยาบาลสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่สำนักการพยาบาลกำหนด สรุปผู้ป่วยฟอกเลือดมักต้องการการฟอกเลือดฉุกเฉินในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาที่มาโรงพยาบาลมีหลากหลาย ถึงแม้ส่วนใหญ่มีอาการทุเลา แต่ในกลุ่มไตบาดเจ็บเฉียบพลันมีอัตราตายที่ยังสูงอยู่ การประเมินและเฝ้าระวังปัญหาทางไตแต่เนิ่นๆ และอัตรากำลังที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ดังนั้นบริการการฟอกเลือดในโรงพยาบาลจึงต้องเตรียมรองรับทั้งบริการฟอกเลือดฉุกเฉินและเรื้อรัง" }
{ "en": "Background: Using music as a healing influence to affect health and behavior dates back to ancient times. It was formalized as a therapy in the early 1800’s. Today Music Therapy is a recognized discipline taught in universities throughout the world. Music Therapy is used in both physical and psychosocial practice. Recent studies have shown the added value of using Music Therapy in conjunction with other therapies to enhance the results of patient progress. Furthermore, music therapy is a safe and low-cost intervention that could potentially be offered by trained professional working in many settings. The use of Music Therapy in children with Cerebral Palsy is rare and has never been reported systematically before. To understand what has been accomplished it is necessary to study a variety of cases where professionals used Music Therapy in the treatment of children with Cerebral Palsy and attempt to develop a presentation of the methods and results. It is anticipated that this may evoke a new study or collection of available data used in another group of patients in the future. Objectives: To study the effects of Music Therapy on the treatment of children with Cerebral Palsy. Methods: The MEDLINE electronic databases from PubMed were used as sources for the research. All Randomized Controlled Trials (RCTs) were selected. Only in English were considered. Results: Music Therapy helped to increase the results in all five studies. Conclusions: Even though all participants in the five included studies are children with cerebral palsy, the results of these studies cannot specifically compared due to the different types of interventions and outcomes measured. More primary research is needed to attain the high quality of evidence based practice which can be used for reference in the future.", "th": "ภูมิหลัง: การใช้ดนตรีบำบัดเพื่อให้ผลในทางสุขภาพและพฤติกรรมนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล แต่เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในช่วงศตวรรษที่ 18 ดนตรีบำบัดในปัจจุบันเป็นที่รู้จักและมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็นมาตรฐานในระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก มีการนำมาใช้เพื่อผลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม จากหลักฐานทางงานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการให้การรักษาทางคลินิกอื่นๆ จะส่งผลให้การรักษานั้นๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การฝึกกำลังกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายตามจังหวะดนตรี การลดความวิตกกังวลจากการผ่าตัดด้วยการฟังดนตรี เป็นต้น นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังจัดว่าเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูงและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งนักวิชาชีพที่ผ่านการอบรมและฝึกฝนสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการได้ ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดในกลุ่มเด็กสมองพิการมากขึ้น แต่พบว่ายังไม่เคยมีการทบทวนอย่างเป็นระบบ การรวบรวมความรู้และแนวทางการนำมาใช้ที่เป็นปัจจุบันจึงมีความจำเป็นและสามารถเพิ่มความหลากหลายในการนำไปใช้ให้กับนักวิชาชีพผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาวิจัยหรือรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในผู้รับบริการกลุ่มอื่นๆ ด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อเด็กสมองพิการ วิธีการ : สืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed โดยเลือกเฉพาะการศึกษาที่เป็น Randomized controlled trials (RCTs) และมีการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ผล: การให้ดนตรีบำบัดช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางการรักษาในทั้ง 5 การศึกษา สรุป: การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อกลุ่มเด็กสมองพิการยังมีจำนวนน้อย และยังไม่เคยมีการนำมาทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic reviews) การศึกษาที่รวบรวมได้ในครั้งนี้จำนวนทั้งหมด 5 การศึกษา ถึงแม้จะเป็นการทำการทดลองในกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน แต่ไม่สามารถนำมาจัดแบ่งกลุ่มเพื่อสรุปข้อมูลได้ เนื่องจากทุกการศึกษามีความแตกต่างกันทั้งชนิดของ การรักษา และผลลัพธ์ของการศึกษา ดังนั้นจึงควรมี วารสารกรมการแพทย์74การทำการศึกษาผลของดนตรีบำบัดในเด็กสมองพิการในรูปแบบงานวิจัยที่เป็นปฐมภูมิ (Primary research) มากขึ้น เพื่อให้มีจำนวนการศึกษาที่เพียงพอสำหรับนำมาใช้วิเคราะห์ผลในรูปแบบการศึกษาชนิด RCTs ได้ รวมทั้งสามารถกำหนดชนิดการรักษาที่ต้องการทบทวน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น" }
{ "en": "Objective:To study the survival rate of the five most common cancers in 2010 at Udonthani Cancer Hospital, Thailand.Methods:The study design of this study was a retrospective cohort study. Survey the records all new cancer cases were diagnosedand treated at Udonthani cancer Hospital by the year 2010. All of cases were followed up the vital status until death or the end of study (December 31, 2016). The statistical analyzed included descriptive statistics, Kaplan-Meier survival Results. There were 1979 cases who were found 597 cases (30.1%) were still alive and 1,382 cases (69.8%) had died. The overall survival rates for 5 year was 32.3%. Analysis of five most common cancers as below. Result: Liver cancer most of them were male 69.8%, mean age 59.7 years (SD=10.8).The overall survival rate for 5 years was 3.9%. The 5-year stage-specific survivals had 100% for stage I, II, 5.6% for stage III and 3.4% for stage IV, respectively. Breast cancer most of them were female 99.4%, mean age 51.3 years (SD=10.5). The overall survival rate for 5 years was 66.3%. The 5-year stage-specific survivals had 90.70% for stage I, 75.44% for stage II, 61.7% for stage III and 26.0% for stage IV, respectively. Lung cancer most of them were male 67.4%, mean age 59.8 years (SD=10.7). The overall survival rate for 5 years was 8.2%. The 5-year stage-specific survivals had 15.3% for stage I, 100% for stage II, 14.8% for stage III and 5.8% for stage IV, respectively. Cervical Cancer all of them were female 100%, mean age 52.3 years (SD=11.8). The overall survival rate at 5 years was 50.9%. The 5-year stage-specific survivals had 67.5% for stage I, 72.6% for stage II, 27.7% for stage III and 20% for stage IV, respectively. Colorectal cancer most of them were male 52.6%, mean age 57.7 years (SD=12.8). The overall survival rate at 5 years was 32.3%. The 5-year stage-specific survivals had 80% for stage I, 63.6% for stage II, 39.6% for stage III and 10.1% for stage IV, respectively. Conclusions: The results indicated that the five most common cancers with stages of diagnosis had a lower survival rate. Additionally, the most prognosis factor was cellular/nuclear grading outcome were poor.", "th": "วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีพ 5 ปีของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี วิธีการ: เป็นการศึกษา Retrospective Cohort study โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ติดตามการมีชีวิตและสิ้นสุดการศึกษา ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คำนวณหาอัตราการรอดชีพโดยใช้วิธี Kaplan – Meier method ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดจำนวน 1,979 คน ยังมีชีวิตอยู่ 597 คน เท่ากับร้อยละ 30.1เสียชีวิต 1,382 คน เท่ากับร้อยละ 69.8 อัตราการรอดชีพ 5 ปี ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 32.3 เมื่อวิเคราะห์แยกตามโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก ผล: ผู้ป่วยมะเร็งตับ พบว่าส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 69.8 อายุเฉลี่ย 59.7 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.8) มีอัตราการรอดชีพ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 3.9 และวิเคราะห์แยกตามระยะโรคพบว่าอัตรารอดชีพ 5 ปี ระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 เท่ากับร้อยละ 100, 100, 5.6 และ 3.4 ตามลำดับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พบว่าส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 99.4 อายุเฉลี่ย 51.3 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.5) มีอัตราการรอดชีพ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 66.3 และวิเคราะห์แยกตามระยะโรคพบว่าอัตรารอดชีพ 5 ปี ระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 เท่ากับร้อยละ 90.7, 75.4, 61.7 และ 26.0 ตามลำดับ ผู้ป่วยมะเร็งปอด พบว่าส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 67.4 อายุเฉลี่ย 59.8 ปี(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.7) มีอัตราการรอดชีพ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 8.2 และวิเคราะห์แยกตามระยะโรคพบว่าอัตรารอดชีพ 5 ปี ระยะที่ 1, 2, 3 และ 4เท่ากับร้อยละ 15.3, 100, 14.8 และ 5.8 ตามลำดับ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก พบว่าส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100 อายุเฉลี่ย 52.3 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.8) มีอัตราการรอดชีพ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 50.9 และวิเคราะห์แยกตามระยะโรคพบว่าอัตรารอดชีพ 5 ปี ระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 เท่ากับร้อยละ 67.5, 72.6, 27.7 และ 20.0 ตามลำดับ และผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ตรง พบว่าส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 52.6 อายุเฉลี่ย 57.7 ปี(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12.8) มีอัตราการรอดชีพ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 32.54 และวิเคราะห์แยกตามระยะโรคพบว่าอัตรารอดชีพ 5 ปี ระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 เท่ากับร้อยละ 80.0, 63.6, 39.6 และ 10.1 ตามลำดับ สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกแยกตามระยะโรคมีอัตราการรอดชีพต่ำ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพยาธิสภาพความรุนแรงทางเนื้อเยื่อวิทยาไม่ดี" }
{ "en": "The aim of this study was to compare susceptibility artifact and effect of long echo time (TE) between single-shot echo-planar imaging (SS-EPI) and readout-segmented echo- planar imaging (RS-EPI) diffusion weighted imaging (DWI) in 3 Tesla MRI machine at Prasat Neurological Institute. This was a retrospective study of 38 patients who underwent SS-EPI and RS-EPI DWI in each group. All scans were performed on a 3T MR scanner using 32 channel head coil. Susceptibility artifacts (geometric distortion, hyper-intensity signal and signal loss) and effect of long TE (will result in signal to noise ratio; SNR) were evaluated on diffusion trace images. The anatomic information of T2- weighted images was used to compare distortion with EPI DWI images. The study was done in five topics: number of slices that contain hyper-intensity signal, the severity of susceptibility artifacts (evaluated in image quality scale), geometric distortion (quantitative evaluation), comparing the effect of metal-induced artifacts between SS-EPI and RS-EPI DWI and comparing SNR between SS-EPI and RS-EPI DWI. The results showed that mean (SD) of slices containing hyper-intensity signal in SS-EPI is 5.92 (1.09) and in RS-EPI DWI is 2.73 (1.13) (P < 0.001). The susceptibility artifacts in SS-EPI image was prominent compared with RS-EPI DWI (different in 3 levels of image quality scales). The different distance between SS-EPI วารสารกรมการแพทย์88and RS-EPI DWI at the level of cerebellar hemispheres, the level of lateral ventricles in phase direction and the level of lateral ventricles in frequency direction with its own T2-weighted images at the same position were 2.49 mm/1.00 mm, 6.03 mm/ 2.13 mm, and 1.27 mm/0.89 mm, respectively (P<0.001). The effect of metal-induced artifacts is quite severe (level 3-4) to 87.5% in SS-EPI DWI, while only 30% found in the RS-EPI DWI (P=0.031). Mean (SD) of SNR at the cerebellum in SS-EPI and RS-EPI were 161.14 (29.29) and 150.85 (51.21), respectively (P=0.287). Mean (SD) of SNR at the level of lateral ventricles in SS-EPI and RS-EPI were 141.63 (27.07) and 123.04 (42.46), respectively (P= 0.026). The ratios of SNR between RS-EPI and SS-EPI DWI were 0.94 for the cerebellum and 0.87 for the level of lateral ventricles. This study shows that RS-EPI has less susceptibility artifacts (geometric distortion, hyper-intensity signal and signal loss) than SS-EPI in diffusion trace image, especially at the regions which have different magnetic susceptibilities that are juxtaposed or with patient who have metallic implants and devices. Patients who have pathology in these areas or have metallic implants or devices, should select RS-EPI sequence to perform DWI.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของรอยรบกวน (artifact) ชนิด susceptibility และผลของ echo time (TE) ที่ยาวในการตรวจ diffusion weighted imaging (DWI) ระหว่างเทคนิค single-shot echo-planar imaging (SS-EPI) และเทคนิค readout-segmented echo-planar imaging (RS-EPI) ในเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ขนาด 3 เทสลาของสถาบันประสาทวิทยา โดยศึกษาย้อนหลัง (retrospective) ในผู้ป่วยที่มาตรวจ MRI ด้วยเทคนิค SS-EPI DWI และ RS-EPI DWI กลุ่มละ 38 คน ใช้ head coil ชนิด 32 ช่องสัญญาณ โดยใช้ diffusion trace image ในการประเมินรอยรบกวนชนิด susceptibility และผลของ TE ยาว และใช้ภาพ T2-weighted ซึ่งแสดงกายวิภาคได้ใกล้เคียงของจริงในการเปรียบเทียบความผิดเพี้ยนกับภาพ EPI-DWI การศึกษานี้ได้ทำการเปรียบเทียบทั้งสองเทคนิคในห้าหัวข้อคือ จำนวนภาพที่มีสัญญาณเพิ่มขึ้น การประเมินคุณภาพจากความรุนแรงของการเกิดรอยรบกวนชนิด susceptibility (quality evaluation) การประเมินความผิดเพี้ยนด้านระยะทาง (quantitative evaluation) การเปรียบเทียบผลของรอยรบกวนที่เกิดจากโลหะ และผลต่อ SNR (เกิดจาก TE ยาว) ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนภาพที่มีสัญญาณเพิ่มขึ้นในเทคนิค SS-EPI เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค RS-EPI เท่ากับ 5.92 (S.D.=1.09) และ 2.73 (S.D.= 1.13) ตามลำดับ (P < 0.001) ผลด้านคุณภาพพบว่าเทคนิค SS-EPI ผิดเพี้ยนมากกว่าเทคนิค RS-EPI 3 ระดับคุณภาพสเกล (image quality scale) P < 0.001 ความผิดเพี้ยนด้านระยะทางเปรียบเทียบระหว่างเทคนิค SS-EPI และ RS-EPI โดยวัดระยะบริเวณ cerebellum 1 ตำแหน่ง และที่ระดับ lateral ventricles ทั้งในแนว phase encoding และ frequency encoding โดยเปรียบเทียบกับภาพ T2-weighted ของแต่ละเทคนิคในระดับเดียวกันมีค่าเท่ากับ 2.49 มิลลิเมตร/1.00 มิลลิเมตร, 6.03 มิลลิเมตร/2.13 มิลลิเมตร และ 1.27 มิลลิเมตร/0.89 มิลลิเมตร ตามลำดับ (P < 0.001) ผลของรอยรบกวนที่เกิดจากสาเหตุผู้ป่วยมีโลหะในเทคนิค SS-EPI พบว่าร้อยละ 87.5 อยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ระดับสเกลที่ 3-4) ขณะที่พบเพียงร้อยละ 30 ในเทคนิค RS-EPI (P=0.031) และผลต่อ SNR พบว่าค่าเฉลี่ยของ SNR บริเวณ cerebellum ของเทคนิค SS-EPI และ RS-EPI มีค่าเท่ากับ 161.14 (S.D.=29.29) และ 150.85 (S.D.=51.21) ตามลำดับ (P= 0.287) ค่าเฉลี่ยของ SNR ที่ระดับ lateral ventricles ของเทคนิค SS-EPI และ RS-EPI มีค่าเท่ากับ 141.63 (S.D.=27.07) และ 123.04 (S.D.=42.46) ตามลำดับ (P= 0.026) และอัตราส่วนของ SNR ระหว่างเทคนิค RS-EPI และ SS-EPI บริเวณ cerebellum และที่ระดับ lateral ventricles มีค่าเท่ากับ 0.94 และ 0.87 ตามลำดับ (P < 0.05) จากผลการศึกษานี้พบว่าการตรวจ DWI ในเทคนิค RS-EPI มีรอยรบกวนชนิด susceptibility น้อยกว่าเทคนิค SS-EPI โดยเฉพาะในบริเวณรอยต่อของเนื้อเยื่อที่มีค่า magnetic susceptibility แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีวัตถุประเภทโลหะที่เกิดจากการผ่าตัดควรได้รับการตรวจ DWI โดยเทคนิค RS-EPI เพื่อลดรอยรบกวนประเภท susceptibility ที่ไม่พึงประสงค์ และเพิ่มความถูกต้องในการวินิจฉัย" }
{ "en": "Picture Archiving and Communication System (PACS) is widely used in hospitals of Thailand. This descriptive study aimed to study the problems and problem management of PACS system in government and private hospitals, and to assess satisfaction of problem management. Questionnaire was approved by the PACS system experts. 162 questionnaires were sent by mail and phone in the period between April and May 2018. There were 51 responding to the questionnaires (31.5%) which were 39 government hospitals (76.5%) and 12 private hospitals (23.5%). Most of problems were the signal loss due to the problem of connector which were 96.07 %. The management of the problems occurring from the system are mostly handled by the computer officers (31.96%), those from the users are handled by the radiological technologists (56.96%) where as those from the procedure are handled by the radiological technologists (72.89%). The satisfaction of problem management from the government hospitals are ranked as “high level” by mean of 3.97±0.71, and from the private hospitals are ranked as “high level” by mean of 3.75± 0.62. This study shows the similar problems of PACS system, and the radiological technologist plays the role in problem management. In addition, this study should be used as a guideline to plan and evaluate for PACS system installed in other hospitals.", "th": "ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางรังสีมีใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลทั่วประเทศ การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและการจัดการปัญหาการใช้ระบบนี้ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน และประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการปัญหา โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญระบบ PACS แบบสอบถามจำนวน 162 ฉบับ ได้รับการจัดส่งทางไปรษณีย์ และติดตามทางโทรศัพท์ ระหว่างเดือนเมษายน 2561 ถึงเดือนพฤษภาคม 2561 ได้รับตอบกลับเป็นจำนวน 51 ฉบับ (ร้อยละ 31.5) เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล 39 แห่ง (ร้อยละ 76.5) และโรงพยาบาลเอกชน 12 แห่ง (ร้อยละ 23.5) ปัญหาที่พบมากที่สุดคือสัญญาณหายเนื่องจากอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ หลุดหรือไม่ทำงานคิดเป็นร้อยละ 96.07 การจัดการปัญหาที่เกิดจากระบบส่วนใหญ่ถูกจัดการโดยเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 31.96 จากผู้ใช้จัดการโดยนักรังสีการแพทย์ร้อยละ 56.96 และจากขั้นตอนการทำงานจัดการโดยนักรังสีการแพทย์ร้อยละ 72.89 การประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการปัญหาในโรงพยาบาลรัฐบาลอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยคะแนน 3.97 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 โรงพยาบาลเอกชนอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยคะแนน 3.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62 การศึกษานี้พบว่าแต่ละโรงพยาบาลมีปัญหาคล้ายกันและนักรังสีการแพทย์เป็นบุคลากรสำคัญในการจัดการปัญหา ข้อมูลจากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนให้กับโรงพยาบาลที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว และควรมีนโนบายให้โรงพยาบาลทำการประเมินความพร้อมต่อการมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางรังสีในโรงพยาบาลทุกแห่ง" }
{ "en": "A Cross–Sectional Descriptive Study aimed to study quality of life and factors related to quality of life in patients with Diabetes Mellitus type 2 (DM) treated in Sop-Prap Hospital, Lampang Province. Data were collected from 300 people with DM, by the accidental sampling method from the list of patients with DM who visited at NCD’s clinic, Sop-Prap Hospital in January, 2017. Data were collected by interview of personal characteristics, demographic factors, social - economic factors, health factors and the quality of life, WHOQOL-BREF-THAI. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square test. The results showed that overall quality of life was at a moderate level, 95.0%. When considering quality of life, all four elements, the physical, psychological, social and environmental aspects was at a moderate level of 93.7%, 97.0%, 89.3% and 95.0%, respectively. The factor associated with quality of life was social and economic factor as family characteristics (p–value <0.05). Therefore, clinical and community services should encourage families to participate in activities that will improve their quality of life.", "th": "การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับการรักษาโรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 300 ราย จากการสุ่มแบบบังเอิญ ตามรายชื่อผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษา ณ คลินิกโรคเรื้อรัง เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม 2560 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสุขภาพ และแบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF-THAI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 95.0 คุณภาพชีวิตรายด้านทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 93.7, 97.0, 89.3 และ 95.0 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ คือลักษณะครอบครัวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้นการจัดบริการในคลินิกและในชุมชน ควรส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป" }
{ "en": "Objectives: To evaluate the incidence of hypothyroidism after hemithyroidectomy and possible risk factors to predict postoperative hypothyroidism. Methods: We performed a prospective study of patients with non - toxic thyroid disease undergoing hemithyroidectomy between May 2015 and June 2018 at the Department of Otorhinolaryngology, Samutsakhon hospital. Only preoperative euthyroid patients were included. The preoperative thyroid antibodies and histopathology of thyroid specimens were collected. The thyroid function test was evaluated at two months and six months after surgery. Results: One hundred and six patients were recruited for the present study, twenty patients (18.9%) developed hypothyroidism (6 patients overt or symptomatic hypothyroidism, 14 patients subclinical hypothyroidism) at two months after surgery and nineteen patients (17.9%) developed hypothyroidism (7 patients overt or symptomatic hypothyroidism, 14 patients subclinical hypothyroidism) at six months after surgery. The mean preoperative thyrotropin level was significantly higher in the hypothyroid group than in the euthyroid group (2.3 ± 1.3 vs 0.7 ± 0.5 micro IU / ml), The preoperative high normal thyroid stimulating hormone (TSH) > 2 micro IU / ml) developed hypothyroidism 89.5% in contrast to only 8.1% of those the preoperative TSH ≤ 2 micro IU / ml (odds ratio 97.1). In anti-thyroid microsomal antibody test, the rate of post - operative hypothyroidism among patients with elevated thyroid antibody had statistically significant difference from those with normal thyroid antibody result (p = 0.03). The preoperative high normal TSH (> 2 micro IU /ml), anti-thyroid microsomal antibody and anti-thyroglobulin antibody positive titer showed 100% positive predictive value and 80.4% negative predictive value. Conclusion: The incidence of hypothyroidism after hemithyroidectomy was 18.9% at two months after surgery and 17.9% at six months after surgery. The preoperative high normal TSH > 2 micro IU /ml, elevated thyroid antibodies indicated thyroiditis were good pre-operative predictive markers. Such high risk patients needed close follow up TSH monitoring before the onset of clinical hypothyroidism.", "th": "วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดต่อมไทรอยด์ทำงานลดต่ำกว่าปกติภายหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ออก 1 ข้าง และปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็นไปได้ที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อหาแนวทางการติดตามผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด วิธีกําร: ศึกษาแบบ prospective study ผู้ป่วยทุกรายที่มาตรวจก้อนต่อมไทรอยด์โต ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก 1 ข้าง ระหว่าง เดือนพฤษภาคม 2558 - เดือนมิถุนายน 2561 ที่แผนก หู คอ จมูก โรงพยาบาลสมุทรสาคร ผู้ป่วยทุกรายได้รับการเจาะเลือดตรวจการทำงานต่อมไทรอยด์ และ thyroid antibodies ก่อนการผ่าตัด เก็บรวบรวมข้อมูลผลตรวจทางพยาธิวิทยา ติดตามอาการและเจาะเลือดตรวจการทำงานต่อมไทรอยด์ในระยะ 2 เดือน และ 6 เดือน หลังการผ่าตัดตามลำดับ ผล: ผู้ป่วย 106 ราย ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก 1 ข้าง และเข้าร่วมการศึกษา ผู้ป่วย 20 ราย (18.9%) ตรวจพบการทำงานต่อมไทรอยด์ต่ำหลังการผ่าตัด 2 เดือน (เป็นต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำชนิด overt 6 ราย และต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำชนิด subclinical 14 ราย), 19 ราย (17.9%) ตรวจพบการทำงานต่อมไทรอยด์ต่ำหลังการผ่าตัด 6 เดือน (เป็นต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำชนิด overt 7 ราย และต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำชนิด subclinical 12 ราย) ค่า thyroid stimulating hormone (TSH) ก่อนการผ่าตัดในกลุ่มต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำหลังการผ่าตัดมีค่าเฉลี่ยที่สูงกว่ากลุ่มต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ (2.3 ± 1.3 vs 0.7 ± 0.5 micro IU / ml) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ผู้ป่วยที่มีค่า TSH ก่อนการผ่าตัดมากกว่า 2 micro IU/ml มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (89.5%) มากกว่ากลุ่มที่มี TSH น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 micro IU /ml (8.1%) ถึง 97.1 เท่า วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ค่า anti - thyroid microsomal antibody (TMA) ก่อนการผ่าตัด ระหว่างกลุ่มต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และกลุ่มไทรอยด์ทำงานปกติ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.03) ผู้ป่วยที่มีค่า TSH ก่อนการผ่าตัดมากกว่า 2 microIU/ml, anti-thyroid microsomal antibody (TMA) และanti - thyroglobulin antibody (TGA) สูงกว่าปกติแสดง 100% positive predictive value และ 80.4% negative predictive value ของภาวะ postoperative hypothyroidism สรุป: อุบัติการณ์การเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก 1 ข้าง เป็น 18.9% ในระยะเวลา 2 เดือนหลังการผ่าตัด และ 17.9% ในระยะเวลา 6 เดือนหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีค่า TSH ก่อนการผ่าตัดมากกว่า 2 micro IU/ml, ค่า thyroid antibodies ที่สูงกว่าปกติ ซึ่งบ่งถึงภาวะไทรอยด์อักเสบเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำหลังการผ่าตัด ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติดังกล่าวต้องติดตามการทำงานต่อมไทรอยด์หลังการผ่าตัดและให้การรักษาที่ถูกต้อง" }
{ "en": "This qualitative research aimed to develop the model of parents of Thai-Muslim children who received service of the Expanded Program on Immunization (EPI) with vaccines in Yala Province. Eighty-five informants were obtained from community alliances, including public health staffs and village health volunteer, community leaders (sub-district headman, village leaders), religious leaders, parents of children aged 0-5 years old and family members who had the decision-making power. The data were gathered using in-depth interview, focus group discussion and non-participant observation. Thematic analysis was employed as data analysis. It was revealed that three main components of this model were explored as follows; 1) Health service system such as giving knowledge about vaccines, providing vaccine service and monitoring. 2) Alliance management system in community empowerment, including giving education about EPI with vaccines, publicizing for enhancing cooperation based on each community context, reflecting the problem and obstacle of receiving service and 3) Standard system in the vaccine production, composting of giving knowledge to stakeholders in community taught by religious leaders, managing in vaccine production to be standard and accepted by community and pushing forward the policy of approved halal vaccine production by provincial Islamic committee and Sheikhul Islam office. As results, we gained the model of Thai-Muslim parents who received service of EPI with vaccine via participation of the community and relevant alliances that supported by a public health organization. These findings could provide as guidance in administrating the EPI with vaccine service which the targets are able to thoroughly access. Also, it should be standard accepted that is in line with Thai-Muslim context and consequently the morbidity rate, mortality rate and the epidemic would be decreased.", "th": "การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ชาวไทยมุสลิมเพื่อรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ในจังหวัดยะลา ผู้ให้ข้อมูลเป็นภาคีเครือข่ายของชุมชน ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุขและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี และสมาชิกในครอบครัว ที่มีอำนาจในการตัดสินใจจำนวน 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มแบบกำหนดประเด็น และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงประเด็น (Thematic Analysis) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ปกครองเด็กฯ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ 1. การให้บริการสาธารณสุข ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน การจัดบริการให้วัคซีนแก่เด็ก และการติดตามผล 2. การสนับสนุนการจัดการภาคีเครือข่ายในการเสริมสร้างพลังอำนาจของประชาชนในชุมชน ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความร่วมมือตามบริบทของชุมชน การสะท้อนปัญหาและอุปสรรคของการรับบริการ 3. การสร้างมาตรฐานในผลิตภัณฑ์วัคซีนเพื่อความมั่นใจประกอบด้วย การให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนโดยผู้นำศาสนา การจัดการมาตรฐานในผลิตภัณฑ์วัคซีนให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน และการผลักดันนโยบายการผลิตวัคซีนที่ผ่านการรับรองฮาลาลโดยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและสำนักงานจุฬารัฐมนตรี ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้รูปแบบของการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีชาวไทยมุสลิมเพื่อรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานองค์กรด้านสาธารณสุขที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการยอมรับที่สอดคล้องกับบริบทของชาวไทยมุสลิม ซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วย ตาย และการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน" }
{ "en": "Background: Motorcycle accidents (MCA) occur very frequently and the numbers are increasing every year. Differentiation between rider and passenger of MCA victims can be important, although this is not possible in many cases which can affect the outcome of the case and the compensation by the insurance company. Knowledge about the comparison of rider and passenger injury characteristics in Thailand is limited. Objective: To compare rider and passenger MCA injury characteristics recorded at Lampang Hospital for admissions and deaths. Method: This retrospective cross-sectional analysis studied 908 MCA victims from January 2016 to December 2017. Data were collected from medical records and autopsies at Lampang Hospital and analyzed, comparing the characteristics of injuries in riders and passengers by multivariate logistic regression and ROC curve analysis. Results: The mean age was 35±19.56 years. Most of the riders were male (70.6%). The mean of The Glasgow Coma Scale in riders was lower (13.68 vs. 14.22, p = 0.023), and the mean of length of stay was longer than in passengers. Characteristics of the injuries in riders were significantly different from those in passengers, including injury to the elbow and forearm, injury to the wrist and hand, open wound of the head, fracture of the skull, facial bones, intracranial injury and any bone fracture. An analysis by multivariate logistic regression and backward elimination found four predictive factors, including male gender (AOR = 2.3, 95% CI 1.7-3.3, P-value < 0.001), elbow and forearm injury (AOR = 1.7, 95% CI 1.1-2.6, P-value=0.018), open wounds of the head(AOR = 1.9, 95%CI 1.2-2.8, P-value = 0.004) and any bone fracture (AOR = 1.6, 95% CI 1.2-2.3, P-value = 0.003). The predictive power to differentiate the rider is 67.03% (ROC area = 0.6703). Conclusion: The results suggest that predictive factors to identify the riders in a MCA could be male gender, elbow and forearm injury, open wound of the head and any bone fracture.", "th": "ภูมิหลัง: การเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์มีสถิติการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี การแยกผู้ขับขี่และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์มีความสำคัญ แม้ในบางกรณีที่ไม่สามารถจะระบุตัวผู้ขับขี่และผู้ซ้อนได้ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินคดีความ และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกัน ประกอบกับยังไม่พบรายงานการศึกษาใดที่เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบลักษณะการบาดเจ็บระหว่างผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์ที่รับนอน และเสียชีวิต วิธีกําร : ศึกษาย้อนหลังแบบภาคตัดขวาง ในผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ จำนวน 908 ราย ระหว่าง เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึง ธันวาคม 2560 ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน และข้อมูลชันสูตรพลิกศพ ของโรงพยาบาลลำปาง นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะการบาดเจ็บระหว่างผู้ขับขี่และผู้ซ้อน ด้วยสถิติ multivariate logistic regression และการวิเคราะห์ด้วย ROC curve ผล: ผู้ประสบอุบัติเหตุ มีอายุเฉลี่ย 35±19.6 ปี โดยผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 70.6) ผู้ขับขี่มี Glasgow Coma Scale ที่ต่ำกว่าผู้ซ้อน (13.68 vs. 14.22, p = 0.023) และมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยนานกว่าผู้ซ้อน ลักษณะการบาดเจ็บที่แตกต่างระหว่างผู้ขับขี่กับผู้ซ้อนอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การบาดเจ็บที่ข้อศอกและแขนท่อนปลาย การบาดเจ็บที่ข้อมือและมือ แผลเปิดที่ศีรษะ กะโหลกศีรษะร้าว กระดูกหน้าหัก การบาดเจ็บรุนแรงในกะโหลกศีรษะ และการมีกระดูกหักอย่างน้อยหนึ่งตำแหน่งในร่างกาย เมื่อวิเคราะห์แบบ multivariate logistic regression และทำ backward elimination แล้ว พบปัจจัยทำนายความเป็นผู้ขับขี่ ได้แก่ เพศชาย (AOR = 2.3, 95% CI 1.7-3.3, P-value < 0.001) บาดเจ็บที่ข้อศอกและแขนท่อนปลาย (AOR = 1.7, 95% CI 1.1-2.6, P-value = 0.018)แผลเปิดที่ศีรษะ (AOR = 1.9, 95% CI 1.2-2.8, P-value = 0.004) และกระดูกหักที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย (AOR = 1.6, 95%CI 1.2-2.3, P-value = 0.003) โดยมีความสามารถในการทำนายตัวผู้ขับขี่ได้ร้อยละ 67.03 (ROC area = 0.6703) สรุป: การศึกษานี้พบปัจจัยทำนายลักษณะผู้ขับขี่ ได้แก่ เพศชาย มีลักษณะการบาดเจ็บที่ข้อศอกและแขนท่อนปลาย แผลเปิดบริเวณศีรษะ และกระดูกหักที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย" }
{ "en": "The number of the elderly continues to rise each year in Thailand, which suggests the elderly need more care. A cross sectional survey was employed to investigate the factors associated with elderly care from caregivers in Chuen Chom district, Mahasarakham province, THAILAND. The interviews were conducted in the form of a questionnaire which was divided into 5 parts with Conbach’s coefficients reliability of 0.73 to 0.80. Data were analysed by descriptive statistics as well as the investigation of factors affecting the care for the elderly from caregivers by inferential statistics. The results indicate that most caregivers were female, daughters of elderly, married, educated to a primary school level, farmers, with an average monthly income of 4,736 baht. The average length of care for the elderly was 19 years and 11.79 hours per day. The carers were overweight with a Body Mass Index (BMI) at the second level (25.00 to 29.99). The elderly while under the care of a caregiver had a median age of 78.35 years. The caregivers had good social and spiritual health comfort, knowledge of care giving, and their attitudes toward care for the elderly and their behaviour were at a moderate level. It was found that the factors relating to behaviour for the care of the elderly were monthly income, the time of caring for the elderly, their blood pressure, their social and spiritual comfort with their health status, and their knowledge and attitudes toward elderly care. These factors had a significant correlation to the caregiver behaviours of p-value 0.042, 0.001, 0.003, 0.001, 0.001, and 0.001 respectively. The results indicated that caregivers of elderly people have a poor health status in many aspects. Therefore, the care provider should be given regular healthcare management including a regular health check-ups. Policy makers and stakeholders should also be encouraging the caregivers to receive more health care support.", "th": "การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในประเทศไทยส่งผลให้ต้องหามาตรการในการดูแลการศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม จากการสัมภาษณ์ประชากร 99 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่แบ่งออกเป็น 5 ส่วน มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.73 – 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุด้วยสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีลักษณะความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุในฐานะบุตร มีสถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,736 บาท มีระยะเวลาการดูแลผู้สูงอายุต่ำกว่า19 ปี โดยใช้เวลาดูแลเฉลี่ย 11.79 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ค่าดัชนีมวลกายอ้วนระดับสอง (25.00 ถึง 29.99) มีผู้สูงอายุภายใต้การดูแลอายุเฉลี่ย 78.35 ปี ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพด้านสังคมและด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับดี โดยมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการดูแลผู้สูงอายุ ความดันโลหิต ภาวะสุขภาพด้านสังคม ด้านจิตวิญญาณ ความรู้ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ (p-value = 0.042, 0.001, 0.003, 0.001, 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่อำเภอชื่นชมจังหวัดมหาสารคาม ทำให้ทราบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ยังไม่เหมาะสม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น" }
{ "en": "This quasi-experimental research was conducted to evaluate and compare the retention of Ultraseal XT Hydro and Embrace sealant on occlusal surfaces of partially erupted permanent molars. 264 teeth of children aged 5-17 years were sealed with two sealants using matched pair design at Pakchongnana hospital. Total samples had stage of partially eruption that showed entire occlusal surface exposed without overlying tissue, but the distal gingival tissue was adjacent to and at the height of distal marginal ridge or tissue operculum extended over distal marginal ridge. The research instrument was record form verified content validity by experts. Data were collected for general data and retention at 6 months between 15 July 2015 and 14 February 2018. The descriptive statistics were frequency and percentage, and inferential statistic was Chi-square. The results were as follows; 77.3% of Ultraseal XT Hydro were completely retained while 73.5% were retained in Embrace group at 6 months. No statistically significant difference was noted between types of sealant and retention. Sealing with hydrophilic sealant may be the better choice when salivary contamination is expected. However further long-term studies are required to investigate this finding and compare with other sealing materials.", "th": "การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการยึดติดของสารผนึกหลุมและร่องฟัน Ultraseal XT Hydro และ Embrace บนด้านบดเคี้ยวของฟันกรามถาวรที่ขึ้นยังไม่สมบูรณ์และเปรียบเทียบผลการยึดติด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ฟันกรามถาวรซี่ที่ 1 และ 2 ที่ขึ้นยังไม่สมบูรณ์ อยู่บนขากรรไกรเดียวกัน โดยที่ระดับของเนื้อเยื่อด้านไกลกลางอยู่ระดับเดียวกับสันริมฟันด้านไกลกลางหรือปกคลุมอยู่บนสันริมฟัน ของเด็กอายุ 5-17 ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลปากช่องนานาโดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 264 ซี่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึก แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปและการยึดติดของสารผนึกหลุมและร่องฟันที่ระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการผนึกหลุมและร่องฟันและตรวจการยึดติดของสารในกลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม 2558-14 กุมภาพันธ์ 2561 วิเคราะห์สถิติด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสถิติอนุมานได้แก่ ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า การยึดติดของสารผนึกหลุมและร่องฟัน Ultraseal XT Hydro และ Embrace แบบคงอยู่สมบูรณ์ที่ระยะเวลา 6 เดือนมีค่าร้อยละ 77.3 และ 73.5 สารทั้ง 2 ชนิดให้ผลการยึดติดไม่แตกต่างกัน การผนึกหลุมและร่องฟันกรามถาวรที่ขึ้นยังไม่สมบูรณ์โดยใช้สารผนึกหลุมและร่องฟันกลุ่มชอบความชื้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีที่ไม่สามารถกันความชื้นได้ดีขณะทำอย่างไรก็ดีควรมีการศึกษาในระยะยาวและเปรียบเทียบกับสารอื่นต่อไป" }
{ "en": "Background: Tobacco use is common problem in Thailand but accessibility rate of tobacco used disorder is low. In Buntharik hospital, only 35, 54 and 23 patients with tobacco used disorder accessed for treatment in 2015-2017, respectively. After receiving treatment, about 25-35% of the patients were successful in smoking cessation. Lack of guideline for health promotion, prevention, treatment and rehabilitation was assumed to cause low service accessibility rate and low rate of smoking cessation after treatment. There were no criteria for consultation and referral patients between hospital units and outside the hospital. The research team developed a clinical guideline for tobacco used disorder and explore the rate of smoking cessation in the study area. Objective: To explore smoking cessation rate of tobacco used disorder in Buntharik hospital and identify factors associating with smoking cessation in patients with tobacco used disorder. Method: This was a cross-sectional descriptive study aimed to compare smoking cessation rate in patients with tobacco used disorder at Buntharik hospital before and after using clinical guideline for tobacco used disorder in Buntharik district, Ubonratchathani province in one month. Two hundred and thirty-eight participants aged 15 years and above were screened by ASSIST-Thai. The diagnosis was done by clinical diagnosis with F17.1-F17.2 by ICD-10 criteria. Results: After using clinical guideline, total number of patients with tobacco used disorder was 238 with male preponderance (97.9%). Average age was 37.4 years (± SD 18.0). 76.9% of those patients were diagnosed with tobacco abuse (F17.1). One hundred and one patients can stop smoking. Smoking cessation rate in patients with tobacco used disorder increased from 28.6% to 42.4%. Factors associated with smoking cessation in patients with tobacco used disorder were 1) occupation (p = 0.02) 2) smoking fewer than 10 cigarettes per day (p <0.01) 3) intention to quit smoking (p <0.01) 4) had close friends who did not smoke (p <0.01) 5) low risk on ASSIST-Thai scores (p <0.01) 6) people who can stop smoking after receiving guideline-based treatment and follow up in 1 month (p <0.01) 7) motivation to quit smoking (p = 0.02) 8) high frequency of thinking about stop smoking (p = 0.01) 9) no smoking craving (p <0.01) and 10) fewer symptoms of smoking cessation (p <0.01). However, inability to stop smoking longer than 1 week were associated with unsuccessful smoking cessation (p = 0.01). Conclusion: Smoking cessation rate in patients with tobacco used disorder in patients at Buntharik hospital was 42.4% after implementing practice guideline. Factors associated with smoking cessation should be reinforced to help people to stop smoking longer than 1 week which will increase chance of smoking cessation.", "th": "ภูมิหลัง: ผู้มีปัญหาการสูบบุหรี่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุณฑริกในปีงบประมาณ 2558-2560 จำนวน 35 54 และ 23 ราย ตามลำดับ หลังเข้ารับบริการมีผู้ที่หยุดบุหรี่ได้ประมาณร้อยละ 25-35 โดยจำนวนของผู้มารับบริการมีค่อนข้างน้อย อัตราการหยุดสูบบุหรี่หลังรับบริการต่ำไม่มีแนวทางการดูแลที่ครอบคลุมทั้งส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู รวมถึงไม่มีแนวทางการส่งต่อผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาลที่ชัดเจน ทางผู้วิจัยจึงร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต จิตเวช และยาเสพติด จัดทำแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ขึ้น และทำการศึกษาอัตราการหยุดบุหรี่ในผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัด อุบลราชธานีขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อหาอัตราการหยุดสูบบุหรี่ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการหยุดสูบบุหรี่ ในผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี วิธีกําร: การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross sectional descriptive study) เพื่อเปรียบเทียบอัตราการหยุดสูบบุหรี่ในระยะเวลา 1 เดือน ของผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนและหลังการใช้แนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ในแผนการจัดบริการสุขภาพอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลบุณฑริก และได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ตามเกณฑ์วินิจฉัย international classification of diseases (ICD-10) ว่าเป็นผู้ที่สูบบุหรี่แบบผิดแผน (tobacco abuse : F17.1) ผู้ที่ติดบุหรี่ (tobacco dependence : F17.2) ที่ได้รับการคัดกรองด้วยแบบคัดกรอง ASSIST-Thai เพื่อใช้คัดกรองปัญหาการสูบบุหรี่ จำนวน 238 คน และยินดีเข้าร่วมวิจัย ผล: หลังการนำแนวทางมาใช้ในผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 238 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 97.9) อายุเฉลี่ย 37.4 ปี (± SD 18.0) ร้อยละ 76.9 เป็นผู้ที่สูบบุหรี่แบบผิดแผน (tobacco abuse : F17.1) ผู้ป่วยที่หยุดบุหรี่ได้มีจำนวน 101 ราย อัตราการหยุดสูบบุหรี่ในผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุณฑริกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.6 เป็นร้อยละ 42.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการหยุดสูบบุหรี่ คือ 1) การมีอาชีพ (p = 0.02) 2) ปริมาณการสูบบุหรี่ไม่เกิน 10 มวนต่อวัน (p < 0.01) 3) ผู้ที่มีความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่ (p < 0.01) 4) การที่เพื่อนหรือคนใกล้ชิดไม่สูบบุหรี่ (p < 0.01) 5) ผู้ที่คะแนน ASSIST-Thai มีระดับความเสี่ยงต่ำ (p < 0.01) 6) ผู้ที่สามารถหยุดสูบบุหรี่หลังได้รับการดูแลตามแนวทางและมาติดตามการรักษาที่ 1 เดือน (p < 0.01) 7) มีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ (p = 0.02) 8) ความถี่ของความคิดที่คิดจะหยุดสูบบุหรี่มาก (p = 0.01) 9) ผู้ที่ไม่มีความอยากบุหรี่ (p < 0.01) และ 10) ผู้ที่ไม่มีอาการจากการหยุดสูบบุหรี่หรือมีอาการจากการหยุดสูบบุหรี่น้อย (p < 0.01) แต่ผู้ที่มีระยะเวลาหยุดสูบบุหรี่ได้นานสุดไม่เกิน 1 สัปดาห์ มีความสัมพันธ์กับการหยุดสูบบุหรี่ไม่สำเร็จ (p = 0.01) สรุป: อัตราการหยุดสูบบุหรี่ในผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุณฑริก เป็นร้อยละ 42.4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มโอกาสในการหยุดสูบบุหรี่ คือ การส่งเสริมช่วยให้ผู้ป่วยมีระยะเวลาหยุดสูบบุหรี่ได้นานเกิน 1 สัปดาห์ขึ้นไป" }
{ "en": "Objective: Radiologic request forms are the essential tools for the communication between clinicians and radiological departments that require the essential data, including the patient’s biodata,clinical information, the requisite investigation and the physician’s information. The aim of this study is to audit the adequacy of completion of CT scan request forms received at the CT unit in the emergency period of Rajavithi hospital. Methods: The retrospectively descriptive study was performed to measure the completeness of the request for CT studies in the emergency period between September 2016 and December 2016. Results: A total of 1000 CT request forms were analysed. These were used in sticker 100% that contained biodata, filled data of name, age, sex 100%. The clinical information, provisional diagnosis and examination part were filled 99.7%, 95.2% and 99.7% respectively. The last menstruation period was filled only 18.86%. The filling rate of referring clinician’s name, consultation in charge and clinician phone’s number were filled 93.7%, 51.3% and 31.4% respectively. Conclusion: The study revealed inadequate filled radiological request form. Further solving of the problem is recommended.>", "th": "วัตถุประสงค์:ใบส่งตรวจทางรังสีวิทยาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการติดต่อระหว่างแพทย์ผู้ดูแลคนไข้กับแผนกรังสีวิทยา ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลของคนไข้ ข้อมูลทางคลินิก ส่วนร่างกายที่ต้องการส่งตรวจ และข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ จึงได้มีการสำรวจความครบถ้วนของข้อมูลในใบส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาฉุกเฉินของโรงพยาบาลราชวิถี วิธีการ : ศึกษาความครบถ้วนของข้อมูลในใบส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เวลาฉุกเฉินย้อนหลัง ตั้งแต่กันยายน 2560 ถึง ธันวาคม 2560 ผล: จากการศึกษาใบส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จำนวน 1,000 ใบ มีการใช้สติกเกอร์บนใบตรวจ ร้อยละ 100 ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ เพศ ทำให้ข้อมูลครบถ้วนร้อยละ 100 มีการให้ข้อมูลทางคลินิกร้อยละ 99.7 การวินิจฉัยโรค ร้อยละ 95.2 บอกส่วนตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 99.7 ข้อมูลเรื่องวันที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพียงร้อยละ 18.86 ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจร้อยละ 93.7 แพทย์ที่ปรึกษาร้อยละ 51.3 เบอร์โทรศัพท์ติดต่อแพทย์ร้อยละ 31.4 สรุป:ใบส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เวลาฉุกเฉินมีการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งต้องการแก้ปัญหาต่อไป เช่น มีการตรวจสอบใบส่งตรวจเป็นระยะ ปรับปรุงหรือสร้างแบบมาตรฐานกรอกใบส่งตรวจผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์" }
{ "en": "Background: Stroke is a major public health problem in hypertensive patients. This research aimed to study the effect of the use of Amlodipine on the occurrence of Stroke in hypertensive patients who were treated at Srithep hospital, Phetchaboon province. Method: This analytic research was case control study in hypertensive patients. The sample consisted of 121 cases of stroke and 484 cases of non-stroke hypertensive patients, that overall of subjects was 605 cases. Data were collected by studying the data from the medical records according to the criteria set during July to December 2018. Data were analyzed using statistics, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Odd ratio (OR), 95%, CI and Multiple binary logistic. Significant level was indicated at 0.05. Results: The results revealed that patients with hypertension, stroke and non-stroke ratio was 1: 4. Comparison general characteristics between 2 groups including gender, age, smoking and alcohol consumption were not difference (p>0.05). Hypertensive drugs Treatment to control blood pressure founded that, the patients were treated with the most of ACE Inhibitor drug, followed by the Dyslipidemic drug and Calcium Channel blocker (Amlodipine), these were 49.6%, 36.4% and 33.7%, respectively. Interestingly, Amlodipine was factors related to stroke outcomes with 81.0% reducing the chance of stroke occur (Adj OR = 0.19, CI = 0.039-0.917, p = 0.039). While, ACE Inhibitor reduces the chance of stroke by 75.6 % (Adj OR = 0.244, CI = 0.066-0. 899, p = 0.034). Moreover, Anticoagulant drugs correlate with the occurrence of prevention of stroke by 100% (Adjusted OR = 0, CI = 0.0001-787.6, p = 0.002). However, Simvastatin was also associated with increasing the likelihood of stroke by 3155.8 time (Adj OR = 0.19, CI = 0.039-0.917, p = 0.039). Conclusion: Blood pressure control drugs in hypertensive patients that associated with reducing the likelihood of stroke outcomes were Amlodipine and ACE Inhibitor. This should therefore be consider to using for control blood pressure and also reducing the chance of stroke outcomes in hypertensive patients.", "th": "ภูมิหลัง: โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ยาแอมโลดิปิน (Amlodipine) ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีเทพจังหวัดเพชรบูรณ์ วิธีกํารศึกษํา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ในรูปแบบ case control study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะหลอดเลือดสมอง 121 ราย และกลุ่มที่ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดสมอง 484 ราย รวมกลุ่มตัวอย่าง 605 ราย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนตามเกณฑ์ที่กำหนด ในเดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Odd ratio (OR), 95% CI และ Multiple binary logistic กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกิดโรคหลอดเลือดสมองและไม่เกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัตรา 1:4 เปรียบเทียบลักษณะทั่วไประหว่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัย เพศ อายุ การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) การรักษาด้วยยาควบคุมความดันโลหิตผู้ป่วยได้รับการใช้ยากลุ่ม ACE Inhibitor มากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่ม Dyslipidemic drug และ กลุ่ม Calcium Channel blocker (Amlodipine) ร้อยละ 49.6, 36.4 และ 33.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองพบว่า การรักษาด้วยยา Amlodipine เป็นปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ในการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 81.0 (Adj OR = 0.19, CI = 0.039-0.917, p= 0.039) ขณะที่ ACE Inhibitor ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 75.6 (Adj OR = 0.244, CI = 0.066-0.899, p= 0.034) นอกจากนี้ Anticoagulant drugs มีความสัมพันธ์กับการเกิดป้องกันการโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 100 % (Adjusted OR = 0, CI = 0.0001-787.6, p = 0.002) อย่างไรก็ตาม Simvastatin เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 3155.8 เท่า (Adj OR = 0.19, CI = 0.039-0.917, p= 0.039) สรุป: การรักษาด้วยยาควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นกลุ่มยาที่สัมพันธ์ กับการลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ Amlodipine และ ACE Inhibitor จึงควรพิจารณานำมาใช้ในการควบคุมความดันโลหิตและลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Background: In the treatment of chronic plantar fasciitis patients with smart focus Extracorporeal Shock Wave Therapy (ESWT), many patients can not tolerate the pain of the shock wave with the energy levels recommended by guideline. Physicians try to reduce the energy level and increase the number of shots for patient co-operation.\nObjective: To determine and compare the effects of smart focus ESWT in treatment of chronic plantar fasciitis, between the recommended guideline energy strategy group and group therapy with reduced energy but increase the number of shots, in different times (morning, while walking, night, when pressed at the painful site) and in the follow up periods (weeks 1, 4, 8, 12).\nMethod: A prospective, single blind randomized controlled trial study. We studied in 2 groups of plantar fasciitis patients. The first group (n=30) was treated with the recommended guideline energy strategy (0.08 mj / mm2 , 1000 shots), and the second group (n=30) was treated with lower energy strategy (0.028 mj / mm2 , 2000 shots).\nResults: Patients in recommended guideline energy strategy group and lower energy strategy group had no difference in pain reduction and able to walk better and continuous in all day long after end of treatment from week 1, 4, 8 and 12.\nConclusion: There were no statistical or clinical differences between the recommended guideline energy strategy and the lower energy strategy smart focus ESWT in treatment of chronic plantar fasciitis in this study", "th": "ภูมิหลัง : ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เรื้อรังด้วยคลื่นกระแทกแบบสมาร์ทโฟกัส ปรากฏว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ไม่สามารถทนต่ออาการเจ็บจากการใช้คลื่นกระแทกด้วยระดับพลังงานตาม แนวทางที่ได้แนะนำไว้ ผู้ศึกษาจึงทำการทดลองปรับลดระดับพลังงานให้ต่ำ ลงมาแต่เพิ่มจำนวนครั้งการยิงให้มากขึ้นแทน เพื่อดูผลต่างของการรักษา\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้คลื่นกระแทก แบบสมาร์ทโฟกัสในการบำบัดโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบเรื้อรัง ในแง่ของ การลดอาการเจ็บ การใช้งานและประกอบกิจกรรม ระหว่างกลุ่มที่บำบัด ด้วยพลังงานตามแนวทางที่แนะนำ และกลุ่มที่บำบัดด้วยพลังงานที่ต่ำกว่า แต่เพิ่มจำนวนครั้งการยิงตามช่วงเวลา (ช่วงเช้าหลังตื่นนอน ขณะเดิน กลางคืน โดยการกดที่จุดเจ็บ) และระยะการติดตามอาการ(สัปดาห์ที่ 1, 4, 8, 12)\nวิธีการ: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม ปกปิดผู้ประเมิน ศึกษาในผู้ป่วย 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มที่ 1 บำบัดด้วยคลื่นกระแทกพลังงานตามแนวทาง แนะนำ (0.08 mj/mm2 จำนวน 1,000 ครั้ง) กลุ่มที่ 2 บำบัดด้วยพลังงาน ที่ต่ำกว่า (0.028 mj/mm2 จำนวน 2,000 ครั้ง)\nผล : ผู้ป่วยทั้งกลุ่มที่บำบัด ด้วยพลังงานตามแนวทางแนะนำ และกลุ่มที่บำบัดด้วยพลังงานที่ต่ำกว่า แต่เพิ่มจำนวนครั้งการยิง มีอาการเจ็บลดลงไม่แตกต่างกัน สามารถใช้งาน และทำกิจกรรมได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกช่วงเวลา หลังการบำบัดสิ้นสุด ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1, 4, 8 และสัปดาห์ที่ 12\nสรุป : ในการศึกษานี้ ไม่พบความ แตกต่างทั้งทางสถิติและทางคลินิก ในการบำบัดผู้ป่วยโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้า อักเสบเรื้อรัง ด้วยการใช้คลื่นกระแทกแบบสมาร์ทโฟกัส ระหว่างระดับค่า พลังงานตามแนวทางแนะนำ กับระดับค่าพลังงานที่ต่ำกว่า แต่เพิ่มจำนวนครั้ง การยิง" }
{ "en": "Background: Many conventional treatments for improving balance such as neurodevelopment treatment (NDT) and sensory stimulation make patients shift their weight to the affected side. Moreover balance training systems such as the high technology would helpe training balance in stroke patients. However, limitation remains due. To eliminate the limitation, we interested in a new tool (Balance Map) that provided training balance improvement, more availability and less cost than high technology. The balance map was designed to provide visual feedback and task - specific training.\nObjective: To compare the outcomes of balance performance between conventional balance training and balance map training in chronic stroke patients\nMethod: Thirty chronic hemiparetic stroke patients were participated in the research, randomized into two groups, the control group (n=15) and experimental group (n=15). The experimental group was treated using Balance Map training in 10 minutes. The control group was treated with conventional balance training in 10 minutes. Both groups participated in a standard rehabilitation program (passive and strengthening exercise, mobility and gait training) for 50 minutes a day, 2-3 day per week for 12 sessions. Data were collected before training, 6 visits and 12 visits after completing the training program using the Functional Reach test (FRT), Balance map score (BMS) and Berg Balance Scale (BBS). The data were analyzed using independent sample T-test and Two-way repeated measure ANOVA.\nResults: The results showed a significant between groups at 6 visits and 12 visits in Berg Balance Scale (BBS) (p < 0.001), Functional Reach test (FRT) at 6 visits and 12 visits (p = 0.041, p < 0.001) and Balance map score (BMS) at 6 visits and 12 visits in anterior direction (p = 0.001, p < 0.001), posterior (p < 0.001, p < 0.001), anterior-effected side (p < 0.001, p < 0.001), and posterior-effected side (p < 0.001, p < 0.001) except in effected side direction showed a significant at 12 visits (p < 0.001)\nConclusions: Visual feedback and specific tasks training was affective on improving balance control in stroke participants with balance impairment. Significant improvements in all participants were observed, indicating that Balance Map training would influence functional balance score, static and dynamic balance in chronic stroke patients.", "th": "ภูมิหลัง : เทคนิคในการฝึกเพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัว ในรูปแบบดั้งเดิมมีหลากหลาย เช่น Neurodevelopment Treatment (NDT) และการกระตุ้นการรับความรู้สึก สามารถทำให้ผู้ป่วยถ่ายน้ำหนัก ไปด้านอ่อนแรงได้ดีขึ้น นอกจากนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ใน การฝึกการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมีข้อจำกัดเรื่องราคาสูง คณะผู้ศึกษาจึงได้คิดประดิษฐ์เครื่อง Balance map เพื่อเป็นอุปกรณ์การฝึกการทรงตวัด้วยวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก โดยใช้ สัญญาณป้อนกลับทางการมองด้วยสายตาที่ใช้หลักการการฝึกที่มีเป้าหมาย เฉพาะเจาะจง (task - specific training) เพื่อนำมาใช้ฝึกการทรงตัว\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกการทรงตัวในท่ายืนโดย วิธีดั้งเดิมและการฝึกโดยเครื่อง Balance map ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจาก โรคหลอดเลือดสมอง\nวิธีการ: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีคุณสมบัติตรง ตามเกณฑ์การคัดเข้าและมีความยินยอมเข้าร่วมศึกษา จำนวน 30 ราย ได้รับ การสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากเพื่อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการฝึก โดยวิธีดั้งเดิม 15 ราย และกลุ่มที่ได้รับการฝึกโดยเครื่อง Balance map 15 ราย และแต่ละกลุ่มจะได้รับการฝึกกายภาพบำบัดร่วมกับการฝึกการทรงตัว 10 นาทีจำนวน 12 ครั้ง โดยจะได้รับการประเมินผลก่อนฝึก หลังฝึกครั้งที่ 6 และ12 โดยใช้ค่าเฉลี่ยของ Functional Reach test (FRT), Balance map score (BMS) และค่าคะแนนของ Berg Balance Scale (BBS) นำ ข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้ Independent sample T-test และ Two-way repeated measure ANOVA\nผล : ผลการศึกษาระหว่างกลุ่ม ที่ได้รับการฝึกโดยเครื่อง Balance map เปรียบเทียบกับกลุ่มการฝึกการ ทรงตัวโดยวิธีดั้งเดิม พบความแตกต่างของคะแนน BBS หลังฝึกครบ 6 ครั้ง และหลังฝึกครบ 12 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่p< 0.001 และp < 0.001 ตามลำดับ ส่วนคะแนน FRT หลังฝึกครบ 6 ครั้ง และหลังฝึกครบ 12 ครั้ง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่p = 0.041 และp < 0.001 ตามลำดับ ค่าความแตกต่างของคะแนนของ Balance map score หลัง ฝึกครบ 6 ครั้ง และหลังฝึกครบ 12 ครั้ง ในทิศทางด้านหน้า p = 0.001 และp < 0.001 ด้านหลัง p < 0.001 และp < 0.001 ด้านอ่อนแรงเฉียง ทางด้านหน้า p < 0.001 และp < 0.001 และด้านอ่อนแรงเฉียงทางด้าน หลัง p < 0.001 และp < 0.001 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้าน อ่อนแรง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.001 หลังฝึก ครบ 12 ครั้งเท่านั้น\nสรุป : การฝึกเครื่อง Balance Map โดยใช้ หลักการ การป้อนกลับทางการมองเห็นด้วยสายตา ร่วมกับหลักการการฝึกที่มี เป้าหมายเฉพาะเจาะจง (task-specific) ช่วยส่งเสริมการทรงตัวท่ายืนทั้งใน ขณะอยู่กับที่และขณะเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง" }
{ "en": "A cross sectional study was carried out to determine the relationship between factors in alcoholic patients ,including number of times a patient visits the dentist in 1 year, duration of alcohol addiction, cognitive impairment (MoCA - T score) and scores on oral health knowledge with dental caries in this group of patients. The participants that received alcoholic treatment in the wards of PMNIDAT, and 330 patients were selected by (Purposive sampling technique). Data were collected between December 1, 2012 and December 31, 2014 by using 1) questionnaire about the factors associated with dental caries in patients with alcohol which its confidence (Validity) = 0.84, 2) an assessment of alcohol patient’s cognitive impairment, (MoCA - T score) and 3) standard oral examination records. Quantitative data were using analyzed percentage, average, and standard deviation. Statistical analysis was done by Chi-square Test (χ2 ).The study found that 94.55% were male and 5.45% were female, average age was 42.19 + 9.41 years, 33.94% were married, 41.52 % were single, 52.72% of patients graduated secondary level. Mean Duration of alcohol addiction was 14.09 + 8.61, years, and mean DMFT (caries index) was 9.75 + 7.44. 63.94 % of the patients got high scores on oral health knowledge and 49.35 % of the patients have cognitive impairment. 60.61% had never been to the dentist and found that relationship between number of times that the patient visit the dentist in 1 year and dental caries, a significant level of 0.001 (χ2 = 0.21), as well as duration of alcohol addiction and cognitive impairment are associated with dental caries, a significant level of 0.05 (χ2 = 0.21, 0.12 and 0.12). Knowledge score on oral health was not associated with dental caries (χ2 = -0.10). The results revealed that alcohol addiction for a long time, resulting in more caries which is associated with impaired cognitive status of alcoholic patients. However, there is no relationship between caries and the knowledge score on oral health of alcohol patients. The alcoholic patients who visit the dentist regularly have less dental caries than the patients who hardly go to the dentist.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในผู้ป่วยเสพติด สุรา ได้แก่ จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยพบทันตแพทย์ต่อปี ระยะเวลาการเสพติด สุรา ความรู้ด้านทันตสุขภาพ และภาวะบกพร่องทางพุทธิปัญญา (MoCA - T score) กับการเกิดโรคฟันผุ ในผู้ป่วยเสพติดสุราที่เข้ารับการบำบัดรักษาใน หอผู้ป่วยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ปีงบประมาณ 2555 - 2556 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเสพติดสุราที่เข้ารับการ บำบัดจำนวนรวม 330 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่ กำหนด เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2555 - 31 ธันวาคม 2557 รวม 2 ปี ด้วยเครื่องมือการวิจัย 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดโรคฟันผุในผู้ป่วยเสพติดสุรา ที่ผู้ศึกษาประยุกต์มาจากเครื่อง มือมาตรฐาน มีค่าความเชื่อมั่น (Validity) = 0.84 2) แบบประเมินความ บกพร่องทางสมอง (MoCA - T score) และ3) แบบบันทึกการตรวจสภาวะ สุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงความสัมพันธ์ ใช้สถิติวิเคราะห์ Chi-square Test (χ2 )ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 94.55 เพศหญิง 5.45 อายุเฉลี่ย 42.19 + 9.41 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 33.94 สถานภาพโสด ร้อยละ 41.52 จบการ ศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 52.72 เสพติดสุรานาน 14.09 + 8.61 ปี มีค่าเฉลี่ย DMFT (ฟันผุ) = 9.75 + 7.44 คะแนนความรู้ด้านทันตสุขภาพ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 63.94 ภาวะบกพร่องทางพุทธิปัญญาคิดเป็น ร้อยละ 49.35 และผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่เคยไปพบทันตแพทย์ มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 60.61 และพบว่าจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ ระยะเวลาการ เสพติดสุรา มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (χ2 = 0.21) และภาวะบกพร่องทางพุทธิปัญญาของผู้ป่วยมีความ สัมพันธ์กับโรคฟันผุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (χ2 = 0.12 และ 0.12 ตามลำดับ) ส่วนความรู้ด้านทันตสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2 = -0.10) จากการศึกษานี้ พบว่า การเสพติด สุราเป็นเวลานำนส่งผลให้เกิดโรคฟันผุมากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับภาวะ บกพร่องทางพุทธิปัญญาของผู้ป่วยด้วย แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ จะเกิดโรคฟันผุน้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยได้ไปพบทันตแพทย์" }
{ "en": "The aim of the present study was to review the efficacy of the RFA and TACE for management of unresectable early and intermediate stages of HCC. During July 2014 to April 2016, there were 144 patients who underwent RFA and TACE at Interventional Unit in Ubonratchathani Cancer Hospital. Thirty-four patients were selected in early and intermediate stage HCC with Child-Pugh A (11 patients in stage 1 of HCC and 23 patients in stage 2 of HCC). CT scan or MRI upper abdomen was used for evaluation residual or recurrent tumor after treatment at 1 month, 3 months and 6 months-follow-up. One year-survival rate was also collected for evaluation the clinical results of treatment. Recurrent tumor in stage 1 and 2 of HCC after treatment (TACE and RFA) at 3 months and 6 months were about 5.88 % and 35.30%, respectively. One year-survival rate was 100% in stage 1 of HCC and 78.26% in stage 2 of HCC. No major complication was seen. RFA and TACE are minimally invasive technique. It is effective and safe for treatment of unresectable early stage HCC with good technical results and clinical results in 1-year follow-up. Long term follow-up (3-5 years) is suggested for evaluation of long term results. RFA or TACE are recommended treatment options by interventional radiologist for treatment of unresectable early and intermediate stage of HCC.", "th": "งานศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งตับ ระยะแรกที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ด้วยวิธี Radiofrequency Ablation (RFA) และTransarterial Chemoembolization (TACE) ในโรงพยาบาลมะเร็ง อุบลราชธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง โดยทบทวนจากทะเบียน ผู้ป่วยมะเร็งตับทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE และRFA ในหน่วย รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 โดยคัดเลือกกลุ่ม ผู้ป่วยระยะแรกที่มีค่าการทำงานของตับดีและChild-Pugh A ซึ่งมีทั้งสิ้น 34 ราย แยกเป็นผู้ป่วยระยะที่หนึ่ง 11 ราย และผู้ป่วยระยะที่สอง 23 ราย มีการประเมินผลการรักษาด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอกซเรย์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลังได้รับการรักษาด้วยวิธี TACE หรือ RFA ที่ 1 เดือน 3 เดือน และ6 เดือน และประเมินอัตรารอด ที่ 1 ปี ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วย TACE หรือ RFA มีการเกิดซ้ำของมะเร็งในตำแหน่ง ใหม่ในตับร้อยละ 5.88 และ35.30 ที่ 3 และ6 เดือนหลังการรักษาใน ผู้ป่วยมะเร็งระยะที่หนึ่งและสอง ตามลำดับ อัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี พบ ร้อยละ 100 และร้อยละ 78.26 ในมะเร็งระยะที่หนึ่งและสอง ตามลำดับ จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรักษามะเร็งตับในระยะแรกด้วยวิธี RFA และTACE ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัด สามารถควบคุมและทำลายก้อนเนื้อ มะเร็งในตับได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อติดตามในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องศึกษาติดตามผู้ป่วยเพื่อประเมินผลการรักษาในระยะยาวต่อไป" }
{ "en": "Minimal erythema dose (MED) for narrow band-ultraviolet B radiation (NB-UVB) varies with race and skin types. In the process of phototherapy, the MED is required for the initial NB-UVB dose. In case of a patient with generalized involvement, the prior MED test cannot be done because there is no normal skin for photo testing, thus, there is a high risk for a patient to develop phototoxic reaction from inappropriate dose of NB-UVB. This study aimed to estimate the MED of skin types III, IV, V in a patient who can not be tested but needed NB-UVB therapy. This was a retrospective study from medical records of Institute of Dermatology. Total 102 patients (50 males and 52 females) with mean age of 38 years were recruited. The study revealed that the average MED of skin type III was 456 mj/cm2 (range 300-500 mj/cm2 ), skin type IV 684 mj/cm2 (range 300-1,100 mj/cm2 ), and skin type V 1,000 mj/cm2 (range 900-1,100 mj/cm2 ). The average MED significantly increased with skin type (p<0.001).", "th": "MED) สำหรับการฉายแสงอัลตราไวโอเลต (NB-UVB) แตกต่างกัน ตามเชื้อชาติ และระดับสีผิว ในกระบวนการรักษาด้วยการฉายแสงจำเป็น ต้องทำการทดสอบ MED ก่อนเริ่มการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายมีรอย โรคทั่วร่างกายไม่สามารถทดสอบหา MED ได้อาจเกิดผลข้างเคียง และส่งผล ต่อประสิทธิภาพในการรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ย MED ในผู้ป่วยไทยที่มีความเข้มสีผิวระดับต่าง ๆ ที่ได้รับการฉายแสง NBUVB จากประวัติการรักษาในเวชระเบียนผู้ป่วยที่สถาบันโรคผิวหนัง จำนวน 102 ราย เป็นเพศชายจำนวน 50 ราย และเพศหญิงจำนวน 52 ราย อายุ เฉลี่ย 38 ปี ผลการศึกษาพบว่าความเข้มของสีผิวระดับ III มีค่าเฉลี่ย MED 456 mj/cm2 (พิสัย 300-500 mj/cm2 ) ความเข้มของสีผิวระดับ IV มีค่า เฉลี่ย MED 684 mj/cm2 ( พิสัย 300-1,100 mj/cm2 ) และความเข้มของ สีผิวระดับ V มีค่าเฉลี่ย MED 1,000 mj/cm2 (พิสัย 900-1,100 mj/cm2 ) จากการศึกษานี้ผู้นิพนธ์พบว่าค่าเฉลี่ย MED เพิ่มตามความเข้มของสีผิว" }
{ "en": "The purposes of this descriptive research were to determine the competencies of orthopaedic nurses in Lerdsin Hospital assessed by the head nurses, one self and colleagues. The competency of orthopaedic nurses classified by age, work experience in orthopaedic nursing and the training course of orthopaedic nursing specialty were compared. The researcher selected the population in this research by purposive sampling technique. The population were nurses working in orthopaedic wards. These included five head nurses assessed nurses in their ward; forty nurses assessed oneself and thirty-five nurses assessed their colleagues. The research instrument was an orthopaedic nurses’ competencies questionnaire. The content validity index of this instrument was 0.92, and the reliability was assessed using Cronbach’s alpha coefficient of 0.98. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and independent t-test. The results of the study revealed as follows: 1) The mean scores of competencies of orthopaedic nurses overall in Lerdsin Hospital assessed by the head nurses, oneself and colleagues were at a high level. 2) There was the significant difference between the mean scores of competencies of orthopaedic nurses classified by age at the 0.05 level. Those with over the age of 40 years had higher mean scores than those with the age of 20-40 years. 3) There was the significant difference between the mean scores of competencies of orthopaedic nurses classified by work experience in orthopaedic nursing at the 0.001 level. Those with more than 10 years experience in orthopaedic nursing had higher mean scores than those with 1-10 years experience. 4) There was the significant difference between the mean scores of competencies of orthopaedic nurses classified by the training course of orthopaedic nursing specialty at the 0.001 level. Those who had been trained had higher mean scores than those who had not", "th": "การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาสมรรถนะของ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสินตามการประเมินของหัวหน้า หอผู้ป่วย ตามการประเมินของตนเอง และตามการประเมินของผู้ร่วมงาน และเปรียบเทียบสมรรถนะของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ จำแนกตามอายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ และการอบรม เฉพาะทางการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ ผู้ศึกษาเลือกประชากรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้แบบเจาะจง ประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ศัลยกรรมกระดูก ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 5 คน ประเมินพยาบาล วิชาชีพในหอผู้ป่วยของตนเอง พยาบาลวิชาชีพจำนวน 40 คน ประเมิน ตนเอง และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 35 คน ประเมินผู้ร่วมงานในหน่วยงาน ของตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามสมรรถนะของ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และมีค่าความ เที่ยงของแบบสอบถาม ที่ทดสอบโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และทดสอบค่าที่ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยสมรรถนะของ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสินโดยรวม ตามการประเมินของ หัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการประเมินตนเอง และตามการประเมินของผู้ร่วมงาน จัดอยู่ในระดับสูง 2) ค่าเฉลี่ยสมรรถนะของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสินจำแนกตามอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ย สมรรถนะสูงกว่าผู้ที่มีอายุ 20-40 ปี 3) ค่าเฉลี่ยสมรรถนะของพยาบาล ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสินจำแนกตามประสบการณ์ การปฏิบัติ งานด้านการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001 โดยพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านการ พยาบาลออร์โธปิดิกส์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะสูงกว่าผู้ที่ มีประสบการณ์ 1-10 ปี 4) ค่าเฉลี่ยสมรรถนะของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสินจำแนกตามการอบรม เฉพาะทางการพยาบาล ออร์โธปิดิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดย พยาบาลวิชาชีพที่เคยได้รับการอบรมเฉพาะทางการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะสูงกว่าผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการอบรม" }
{ "en": "This study was a quasi-experimental research (two groups: pre-test and post-test design) which aimed to investigate the effect of the Nursing Care Program for the Pre-Bronchoscopic patients on their anxiety levels. Data were collected between June and September 2016 at the Bronchoscope Unit at the Central Chest Institute of Thailand (CCIT). Samples were 90 out-patients who had undergone Bronchoscopy. These samples were divided into 2 groups, namely: an Experimental Group who received the CCIT Nursing Care Program and a Control Group who received the CCIT Normal Nursing Care, each group with 45 patients. The out-patients ages ranged from 15 to 59 years old. Research data were obtained through demographic data and Spielberger’s anxiety document (State - Trait Anxiety Inventory Form X-1). Descriptive Statistics, Paired T-test and Independent T-test were performed. The final result was as follows:1) The result of the Pre-test: the Experimental Group and the Control Group had a moderate anxiety level (the Experimental group = 44.84, SD = 9.61 and the Control group = 46.16, SD = 7.71), and this difference was not significant between groups. 2) The result of the Post-test: the Experimental Group had a mild anxiety level, ( = 34.33, SD = 4.50). The Control Group had a moderate anxiety level, ( = 43.64, SD = 7.81). The Experimental Group had an anxiety level significantly lower than the Control Group (p<0.001). The findings indicated that the Nursing Care Program for reducing the anxiety level of the Pre-Bronchoscopic patients clearly helped to decrease the out-patient’s overall anxiety level.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและ หลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยก่อนส่องกล้อง ตรวจหลอดลมต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วย เปรียบเทียบความแตกต่าง ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ระหว่างเดือน มิถุนายนถึงกันยายน 2559 หน่วยงานตรวจพิเศษปอด ห้องส่องกล้องตรวจ หลอดลม สถาบันโรคทรวงอก จำนวน 90 ราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มี นัดส่องกล้องตรวจหลอดลมแบบผู้ป่วยนอก มีอายุระหว่าง 15-59 ปี แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง 45 รายและกลุ่มควบคุม 45 ราย กลุ่มทดลองได้รับการ ดูแลตามโปรแกรม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการ ดูแลผู้ป่วยก่อนส่องกล้องตรวจหลอดลม ประกอบด้วย การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมและสิ่งที่จะต้องพบจริง ร่วมกับการใช้แนวคิดทฤษฎีแบบ องค์รวม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการสร้างเจตคติที่ถูกต้อง กิจกรรมที่ส่งเสริม สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลผู้ป่วยและญาติ กิจกรรมการให้ความรู้ จากสื่อ ได้แก่ บัตรนัด คู่มือวีดิทัศน์ และกิจกรรมโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วย เพื่อให้คำแนะนำและอธิบายทบทวนการปฏิบัติตัวซ้ำ และ2) เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมิน ความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State -Trait Anxiety Inventory From X-1) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Paired t-test และIndependent t-test ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการทดลอง ความวิตกกังวลของทั้งสองกลุ่ม อยู่ในระดับปานกลาง (กลุ่มทดลอง = 44.84, SD = 9.61 กลุ่มควบคุม = 46.16, SD = 7.71) และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 (p < 0.5) หลังการทดลอง พบว่า ความวิตกกังวลของกลุ่ม ทดลองอยู่ในระดับต่ำ ( = 34.33, SD = 4.50) ความวิตกกังวลของกลุ่ม ควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 43.64, SD = 7.81) และความวิตกกังวล ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.001) สรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยก่อนส่องตรวจ หลอดลม ช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจ หลอดลมแบบผู้ป่วยนอกได้" }
{ "en": "This quasi-experimental research was conducted to determine the effectiveness of motivational interviewing (MI) together with cognitive behavioral therapy (CBT) on the adherence behaviors of amphetamine-dependent patients (ADPs). The seventy -two samples were ADPs undergoing rehabilitation at a treatment center in Pathum Thani Province, Thailand. The samples were randomized evenly into experimental and control groups. The latter received only standard care, while the former were given additional MI and eight sessions of CBT. Data were collected before and after the trial, using questionnaires concerning the adherence behaviors of substance abusers. The data were analyzed using t-test, chi-square, and descriptive statistics. The results of the study revealed that after the trial, 94.44 percent of the samples had motivation to practice adherence behaviors. Also, the program was able to improve motivation significantly by changing it from the stage of contemplation to the stage of having motivation (χ2 =21.34, p<.05). In addition, the mean score for adherence behaviors after the trial was significantly higher than that before the trial and that of the control group (p<.05). These findings suggest that MI together with CBT is able to improve the adherence behaviors of amphetamine-dependent patients in their rehabilitation at treatment centers. The effect of the program on the adherence behaviors, however, may be extended in future studies with larger samples", "th": "การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม เสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดูและพฤติกรรมต่อพฤติกรรม ร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเสพติดสารแอมเฟตามน ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพที่เข้ารับการบำบัดรักษาในแผนกผู้ป่วยในของสถาน บำบัดสารเสพติดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี 72 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 36 ราย และกลุ่มควบคุม 36 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการบำบัดตามปกติของสถาน บำบัดสารเสพติด ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ ร่วมกับการบำบัดความคิดูและพฤติกรรมจำนวน 8 กิจกรรม ร่วมกับการบำบัด ตามปกติ วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยแบบประเมินพฤติกรรมร่วมมือ ในการเปลี่ยนแปลงตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที่(t-test) ผล การศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง ร้อยละ 94.44 มีแรง จูงใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยโปรแกรมฯ ช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีการ เปลี่ยนแปลงแรงจูงใจจากระยะลังเล เป็นระยะมีแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (χ2 = 21.34, p<.05) สำหรับพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง ตนเองพบว่า ภายหลังการทดลองพฤติกรรมร่วมมือฯ ของกลุ่มทดลองสูง กว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษานี้สนับสนุนว่าโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัด ความคิดูและพฤติกรรมสามารถเพิ่มพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง ตนเองของผู้ป่วยเสพติดสารแอมเฟตามน และควรขยายผลเพื่อศึกษา เพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ต่อไป" }
{ "en": "As a result of war in 1975, there remain undetonated landmines and explosives in the border regions of Thailand. Many people are now concerned about the quality of life for those living in these areas. This predictive descriptive study aimed to examine influencing factors of quality of life for people living in landmine area in Srakaew province, Thailand. The samples included 300 residents, aged 20 years and older responded to questionnaires. Research instruments included demographic record form, Quality of Life questionnaire: WHOQOL-BREF-THAI, General Health Questionnaire: GHQ, Thai Happiness Indicator: TMHI-15, Social Support Questionnaire, and Primary Health Care Accessibility Questionnaire. Cronbach’s alpha coefficiencys’ reliability were 0.76, 0.91, 0.79, 0.82, and 0.83 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results revealed that quality of life of people living in landmine area was at moderate ( =88.54, SD =8.58). The significant factors which correlated and predicted quality of life including social support (r= 0.077, p< .001) and primary health care accessibility (r=0.102, p< 0.001). The percentage of total variance explained by these factors among people living in landmine area was 32 (R2 = 0.320 p < 0.001). The results demonstrate the crucial role of social support and primary health care accessibility to predict quality of life in people living in landmine area. Related agencies and health care provider should promote social support system, and develop primary health care accessibility in order to promote quality of life among people living in Landmine Area", "th": "จากสงครามตั้งแต่ปี 2518 ทำให้มีทุ่นระเบิดูและสรรพาวุธที่ยัง ไม่ระเบิดหลงเหลือตกค้างในชายแดนตะวันออกของประเทศไทยที่ติดต่อ กับประเทศกัมพูชา คือจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวทุ่นระเบิด จึงเป็นเรื่องที่ประชาคมโลก ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนตามพื้นที่แนวทุ่นระเบิดในจังหวัด สระแก้ว ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนว ทุ่นระเบิด จังหวัดสระแก้ว ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน รวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิต แบบประเมินความสุข แบบสอบถามแหล่ง สนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิ โดยแต่ละ แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.76, 0.91, 0.79, 0.82, 0.83 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ พรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชนตามพื้นที่แนวทุ่นระเบิดอยู่ในระดับกลาง ๆ ( = 88.54, SD = 8.58) ตัวแปรที่ที่มีความสัมพันธ์และร่วมทำนาย คือ การสนับสนุนทางสังคม (r = 0.077, p < 0.001) และการเข้าถึงบริการ ระดับปฐมภูมิ (r = 0.102, p < 0.001) สามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิต ได้ร้อยละ 32 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = 0.320, p < 0.001) ผลการ ศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการสนับสนุนทางสังคมและ การเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิต หน่วยงาน ต่าง ๆ และบุคลากรสาธารณสุขควรส่งเสริมระบบการสนับสนุนทางสังคม และพัฒนาการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนตามพื้นที่แนวทุ่นระเบิดต่อไป " }
{ "en": "Background: Gonococcal infection after neonatal period mainly causes by sexually abused, however non-venereal transmission may rarely occur. Searching for the actual cause of the infection is mandatory. Such process requires coordinative work of multidisciplinary team.\nObjective: To determine signs and symptoms of gonococcal infection in pediatric population. Diagnosis of the causes and provided intervention by multidisciplinary team in these patients were also obtained.\nMethods: A retrospective descriptive study was carried out in pediatric patients who infected with Neisseria gonorrhoeae and attended the out- patient department and emergency room at the Queen Sirikit National Institute of Child Health between 1 January 2005 and 31 December 2014. Data were collected from patient medical records both in- patients and out -patients.\nResult: There were 94 participants identified in this study, which represented an average of 9.4 cases per year. However, only 47 medical records were obtained for data abstraction. The gonococcal infection was the result of definitely sexually abused in 17 percent of the cases (8 from 47 cases), only 1 case was confirmed as an intimate house hold contact. Highly suspected of sexually abused reported in 22 cases (46.8%). Three children in definitely sexually abused group were separated from their families by enforcing the child protection law under the supervision of multidisciplinary teams.\nConclusion: Establishing a guideline for managing children who infected with Neisseria gonorrhoeae is mandatory in order to improve the quality of care and protection for this risk group of patients. ", "th": "ภูมิหลัง : การติดเชื้อหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) ในเด็ก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม มีรายงาน การตรวจพบการติดเชื้อหนองในจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การใช้สิ่งของหรือ ห้องน้ำร่วมกัน ดังนั้น การตรวจประเมินทางร่างกาย ทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งทางจิตสังคม และการประสานงานระหว่างสหวิชาชีพเพื่อสืบค้น สาเหตุของการติดเชื้อการวางแผนการดูแลทางจิตสังคม และให้ความ คุ้มครองเด็ก จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ\nวัตถุประสงค์ : ศึกษาอาการนำอาการ แสดงทางคลินิกของการติดเชื้อหนองในและการประเมินทางจิตสังคมและ การวินิจฉัยสาเหตุการเกิดูและการดูแลทางจิตสังคม และให้การคุ้มครอง เด็ก ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อหนองในของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี\nวิธีการศึกษา : การศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่ตรวจพบผลเพาะเชื้อ เป็นเชื้อหนองใน ที่แผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉิน สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2548 - 31 ธันวาคม 2557 โดยบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกเวชระเบียนผู้ป่วย\nผล : จาก การศึกษาผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อเป็นเชื้อหนองในทั้งหมด 94 ราย อัตราเฉลี่ย 9.4 รายต่อปี และสามารถติดตามเวชระเบียนเพื่อนำมาทบทวนได้จำนวน 47 ราย สาเหตุการติดเชื้อหนองในโดยสหวิชาชีพระบุยืนยันว่าเป็นการ ล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 17 (8 จาก 47 ราย) มีความเสี่ยงสูงแต่ไม่สามารถ ยืนยัน 22 ราย (ร้อยละ 46.8) และรับเชื้อผ่านการใช้สิ่งของร่วมกันจำนวน 1 ราย มีการดำเนินการให้การคุ้มครองทางกฎหมายและแยกเด็กออกจาก ครอบครัว จำนวน 3 ราย\nสรุป : การพัฒนาทีมสหวิชาชีพ และแนวทาง การดูแลผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ ให้เกิดความตระหนักในสังคมถึงอาการและอาการแสดงของเด็กที่มีความ เสี่ยงมีความสำคัญในการให้การดูแลคุ้มครองเด็ก " }
{ "en": "This retrospective study aimed to explore the incidence, characteristics and analysis the cause of peri - anesthetic complication among the patients underwent anesthesia at Chiangmai Neurological Hospital, between October 1st, 2013 and September 30th, 2016. Data were collected froms the Pre-anesthetic record forms, the Anesthetic record forms, and the Post-anesthetic record forms. Descriptive statistics and binary logistic regression were used for data analysis. The results revealed that: 1,399 patients anesthetized, and 280 anesthetic complications (20.01%) were found. The first three most common incidents were 1) severe hypotension in 106 patients (7.58%), 2) severe hypertension in 88 patients (6.29%), and 3) severe arrhythmia in 62 patients (4.43%). Furthermore, the other serious complications were cardiac arrest in 2 patients (0.14%), suspected myocardial infarction/ischemia in 2 patients (0.14%), desaturation in 4 patients (0.28%), esophageal intubation in 3 patients (0.21%). The patient factors related to anesthetic complications were old age (OR 1.37, 95%CI 1.04-1.80), and underlying disease/anesthetic consideration (OR 1.42, 95%CI 1.06-1.90), surgery factor including duration of surgery (OR 1.74, 95%CI 0.96-3.19), and anesthetic factor including balance anesthesia (OR 8.07, 95%CI 2.09-31.25). Thus, quality monitoring system is essential and needed to be established to look after the patients closely. ", "th": "การศึกษาย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ลักษณะ และวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ในระหว่างและหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกของผู้ป่วยที่มารับบริการทาง วิสัญญี โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2559 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนระงับความ รู้สึก แบบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึก และแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วย หลังได้รับการระงับความรู้สึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Binary Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า มีผู้เข้ารับบริการทาง วิสัญญีทั้งหมด 1,399 ราย พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อน 280 ราย (ร้อยละ 20.01) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมาก 3 อันดับแรก คือภาวะความ ดันโลหิตต่ำรุนแรง 106 ราย (ร้อยละ 7.58) รองลงมาคือภาวะความดัน โลหิตสูงรุนแรง 88 ราย (ร้อยละ 6.29) และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติรุนแรง 62 ราย (ร้อยละ 4.43) ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้น้อย แต่มีความ รุนแรง ได้แก่ ภาวะ Cardiac arrest 2 ราย (ร้อยละ 0.14) Suspected MI / Ischemia 2 ราย (ร้อยละ 0.14) Desaturation 4 ราย (ร้อยละ 0.28) Esophageal intubation 3 ราย (ร้อยละ 0.21) โดยสาเหตุของการเกิด ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านผู้ป่วย เช่น ภาวะสูงอายุ (OR 1.37, 95%CI 1.04 - 1.80) และภาวะโรคประจำตัว/ข้อพิจารณาทาง วิสัญญีที่มี (OR 1.42, 95%CI 1.06 - 1.90) ปัจจัยด้านการผ่าตัด คือระยะ เวลาในการผ่าตัด (OR 1.74, 95%CI 0.96 - 3.19) และปัจจัยด้านการให้ยา ระงับความรู้สึก คือการใช้เทคนิค balance anesthesia (OR 8.07, 95%CI 2.09-31.25) ดังนั้นการบริการทางวิสัญญีวิทยา จึงจำเป็นต้องมีการวาง ระบบการเฝ้าระวังที่มีคุณภาพ และให้การดูแลผู้ป่วย่อย่างใกล้ชิด " }
{ "en": "The process for infection control over the contamination from blood saliva and secretion is associated with the expanding in size of impression materials, when the impression materials are immersed in disinfectants. In this research, An experiment using various brands of irreversible hydrocolloid impression materials (alginate) and disinfectants was conducted. The objective is to compare one another regarding the extent of size expansion of alginate impression materials when being immersed in the disinfectants as we labeled them the disinfectants A, B, C and alginate impression materials a, b, c. The experiment started with mixing and hardening the impression materials then marking and measuring the distance between 2 reference points on them before putting them into the disinfectants for the specific period of time. The distance between 2 reference points as such distance reflects the size expansion of the materials were measured. Data were analysed using descriptive statistics. In conclusion, if users comply to the manufacturer's instruction, there's no statistically significant different among brands of alginate impression materials and different types of disinfectants. The disinfectant C with the impression materials b or c contributes to the least in size expansion of impression materials", "th": "การทำความสะอาดแบบพิมพ์ฟัน เพื่อเป็นการควบคุมการติดเชื้อ ที่อยู่ในช่องปากที่ปนเปื้อนมากับเลือด น้ำลาย และสารคัดหลั่งต่าง ๆ พบว่า มีการขยายตัวของวัสดุพิมพ์ปากเมื่อนำมาแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งในงาน ทันตกรรมมีการใช้วัสดุพิมพ์ปากไฮโดรคอลลอยด์ชนิดปฏิกิริยาไม่คืนกลับ (อัลจิเนต) หลายยี่ห้อและน้ำยาฆ่าเชื้อหลายชนิด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการขยายตัวของวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนตยี่ห้อต่าง ๆ 3 ยี่ห้อ ภายหลังการแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดต่าง ๆ 3 ชนิด คือชนิด A ชนิด B และ ชนิด C กับวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนต 3 ยี่ห้อคือยี่ห้อ a ยี่ห้อ b และยี่ห้อ c ทำการผสมวัสดุพิมพ์ปาก เมื่อแข็งตัวแล้ว วัดระยะที่จุดอ้างอิง 2 จุด แล้ว นำไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อตามเวลาที่กำหนด วัดระยะที่จุดอ้างอิงอีกครั้ง หาค่า การขยายตัวของวัสดุพิมพ์ปากหลังจากแช่น้ำยาฆ่าเชื้อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา สรุปผลการศึกษา ถ้าทำตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ไม่ว่าวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนตยี่ห้อใด และน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดใด ก็ไม่ทำให้ แบบพิมพ์ฟันมีการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ C คู่กับวัสดุพิมพ์ปาก b หรือ c เพราะมีการขยายตัวของวัสดุพิมพ์ปาก น้อยที่สุด" }
{ "en": "The purpose of this study was to evaluate the new silicone-based sealer “Gutta flow” with respect to adaptability to the root canal wall. Twenty-eight single rooted premolar teeth were decoronated and instrumented to ISO size 0.06/40. The teeth were randomly divided into 2 groups of 10 teeth each and 4 teeth for control groups. Group I root canals were filled with gutta-percha and AHplus. Group II root canal were filled with gutta-percha and Gutta flow. Group III, gutta-percha were filled without sealer, to use as a positive control group. Group IV, root canals were left unfilled and used as a negative control. All teeth were kept in 100% humidity for 8 hours before being processed to test for leakage by fluid filtration method. Apical leakage was measured from the movement of fluid in the glass capillary. Measurement was done 3 times then the mean of measurements were analysed using t-test. Group I that used gutta-percha and AHplus showed statistically less leakage than group II that used Gutta flow as a root canal sealer (p<.05). Root filling with AHplus in combination with cold lateral condensation technique showed better sealing than Gutta flow after 8 hours. The fluid filtration test used in this study gave quantitative results and allowed nondestructive long-term evaluation of specimens.", "th": "ความสำเร็จส่วนหนึ่งของการอุดคลองรากฟันขึ้นกับคุณสมบัติของ ซีเมนต์สำหรับอุดคลองรากที่สามารถไหลแทรกเพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่าง วัสดุอุดูและคลองรากฟัน เนื่องจากกัตตาโฟลว์เป็นซีเมนต์สำหรับอุดคลอง รากชนิดใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแนบ สนิทบริเวณปลายรากโดยใช้วิธีดูการซึมผ่านของน้ำเพื่อใช้วัดการรั่วซึม บริเวณปลายรากของกัตตาโฟลว์เปรียบเทียบกับเอเอชพลัสภายหลังการ อุด 8 ชั่วโมง โดยกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มใช้ฟันกรามน้อยรากเดียวกลุ่มละ 10 ซี่โดยกลุ่มที่ 1 อุดด้วยกัตตาเปอร์ชาและเอเอชพลัส กลุ่มที่ 2 อุดด้วย กัตตาเปอร์ชาและกัตตาโฟล์ว กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมบวก อุดด้วยกัตตา เปอร์ชาอย่างเดียว 4 ซี่ และกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มควบคุมลบ ไม่ได้ทำการอุด ภายในคลองรากฟัน จำนวน 4 ซี่วัดการรั่วซึม ด้วยวิธีการซึมผ่านของน้ำ เพื่อดูการเคลื่อนที่ของฟองอากาศในหลอดแคบปิลลารี่วัด 3 ครั้งนำมาหา ค่าเฉลี่ยการรั่วซึม พบว่า กลุ่มที่อุดด้วยเอเอชพลัสมีการรั่วซึมน้อยกว่ากลุ่ม กัตตาโฟลว์อย่างมีนัยสำคัญที่ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (t-test) สรุปการ ทดสอบการรั่วซึมของซีเมนต์อุดคลองรากภายหลังการอุด 8 ชั่วโมง พบว่า การใช้กัตตาเปอร์ชาอุดคลองรากร่วมกับซีเมนต์อุดคลองรากชนิด เอเอช พลัสให้ความแนบสนิที่ทดีกว่ากลุ่มที่กัตตาโฟลว์" }
{ "en": "The purpose of this study was to determine the association between the keratinized gingiva width and the health status of the supporting tissue around dental implants. The data of 342 functioning dental implants from 171 non-DM and non-smoking subjects were collected. Clinical parameters were recorded including plaque index, bleeding index, gingival index, probing pocket depth and the width of keratinized gingiva. Results showed the positive correlation between all clinical parameters with the width of keratinized gingiva. When data were dichotomized by the keratinized gingiva width, plaque index score, bleeding index score, gingival index score and probing pocket depth were significantly higher for those implants with a narrow zone (< 2 mm) compared with a wider keratinized gingiva band (> 2 mm.). In conclusion, the inadequate of the keratinized gingiva around dental implants was associated with higher plaque accumulation, bleeding on probing, gingival inflammation and probing pocket depth. ", "th": "วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ความกว้างของเหงือกที่มีเคอราทิน กับสภาวะสุขภาพของเนื้อเยื่อที่รองรับ รากฟันเทียม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของรากฟันเทียมจำนวน 342 ราก จากผู้ป่วยจำนวน 171 ราย ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน และไม่สูบบุหรี่ี่ ตัวแปรทาง คลินิกที่บันทึก ได้แก่ ดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนีการมีเลือดออก ดัชนีสภาพ เหงือก ความลึกร่องปริทันต์ และความกว้างของเหงือกที่มีเคอราทิน ผลการ ศึกษาแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรทางคลินิกกับความกว้างของ เหงือกที่มีเคอราทิน และเมื่อข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยพิจารณา จากความกว้างของเหงือกที่มีเคอราทิน พบว่าค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ ดัชนี การมีเลือดออก ดัชนีสภาพเหงือก และความลึกร่องปริทันต์ มีค่าสูงอย่างมี นัยสำคัญในกลุ่มที่มีความกว้างของเหงือกที่มีเคอราทินน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเหงือกที่มีเคอราทินมากกว่าหรือเท่ากับ 2 มิลลิเมตร โดยสรุป สภาพเหงือกที่มีเคอราทินไม่เพียงพอจะมีความสัมพันธ์กับการสะสม คราบจุลินทรีย์ มีเลือดออก มีเหงือกอักเสบ และมีร่องลึกปริทันต์มากขึ้น" }
{ "en": "Healthcare-associated bloodstream infections (HA-BSIs) related to substantial mortality and morbidity. These infections primarily caused by bacteria and classified as primary or secondary infection when associated with microbiological-confirmed of infection at other body sites. HA-BSIs were also associated with the increasing of multidrug resistant microorganisms (MDROs) which could severely limit treatment options, complicate medical management and prolong hospital stays. To address these issues, an HAI surveillance, including central-line associated bloodstream infection (CLABSI) was proposed to provide the necessary data for HAI prevention and control. This HA-BSI surveillance was intended to be a platform for developing sustainable surveillance for HAIs in the future, including other HAI types. This surveillance was conducted in intensive care units (ICUs), Lerdsin hospital and Central Chest Institute of Thailand, during January - December 2016, using the modified BSI definition adopted from the United States Centers for Disease Control and Prevention’s (US CDC) National Healthcare Safety Network (NHSN). There were in total of 65 episodes met this HA-BSI definition and surveillance protocol. Male and female were 69.2% and 30.8%, respectively. The mean age was 65.5 ± 17.4 years and ages ranged 20 - 91 years. At the end of event timeframe (14 days after date of event), 52.3% died, 41.5% was still in surveillance unit, and 6.2% was transferred to other unit within the hospitals. The BSI was 83.1% and present on admission (POA) was 16.9%. The BSI associated with central-line was 49.2%. When stratified by types of central line, non-tunneled short-term catheter (50.0%) was the most common device, followed by hemodialysis catheter (18.8%), peripherally inserted central catheter (15.6%) and tunneled catheter (6.3%). Insertion sites were jugular (46.9%), subclavian (18.8%), femoral (18.8%), and brachial (6.3%). Laboratory-confirmed BSI identified 96.9% of recognized pathogen. In these total 65 episodes, 71 pathogens were identified. The most frequent pathogens causing HA-BSI were gram-negative bacteria (77.5%) that comprised of Klebsiella pneumoniae (41.8%), Acinetobacter baumannii (16.4%), and Escherichia coli (12.7%) and Gram-positive bacteria caused 19.7% of HA-BSI, mostly were Staphylococcus aureus (64.3%). Multidrug resistant Klebsiella pneumoniae (73.9%), Acinetobacter baumannii (88.9%), Pseudomonas aeruginosa (60.0%) and Escherichia coli (28.6%) were found. The secondary infections localized at other body sites were 50.8%. The total BSI rate was 2.70 per 1,000 patient days, the primary BSI rate was 1.60 per 1,000 patient days and CLABSI rate was 2.4 per 1,000 central line days. Gram-negative bacteria remained predominant among etiologic pathogens causing HA-BSIs", "th": "การติดเชื้อในโรงพยาบาลชนิดการติดเชื้อในกระแสเลือดมีความ สัมพันธ์กับอัตราป่วยและอัตราตายที่เพิ่มขึ้นการติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุ จากเชื้อแบคทีเรียซึ่งจำแนกได้เป็นการติดเชื้อแบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ เมื่อพบการติดเชื้อในร่างกายส่วนอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้น ของเชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนาน ซึ่งเป็นการจำกัดทางเลือกในการรักษาผู้ป่วย เพิ่มความซับซ้อนในการจัดการทางการแพทย์ และเพิ่มระยะเวลานอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเพื่อจัดการปัญหาการติดเชื้อในกระแสเลือดจึงได้ ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดครอบคลุมถึงการติดเชื้อใน กระแสเลือดที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางเพื่อให้ ได้ข้อมูลที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาการเฝ้าระวังการติดเชื้อชนิดอื่น ๆ ที่ยั่งยืนในอนาคตการเฝ้า ระวังนี้ดำเนินการในหออภิบาลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลเลิดสินและสถาบัน โรคทรวงอกระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2559 โดยใชิ้นยามการ เฝ้าระวังที่ปรับจากินยามการติดเชื้อในกระแสเลือดของศูนย์ป้องกันและ ควบคุมโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (US CDC) โดยพิจารณาผลการเพาะ เชื้อจากตัวอย่างเลือดทุกรายที่เข้าได้กับินยามการเฝ้าระวัง และบันทึกลง ในแบบเก็บข้อมูล ผลการเฝ้าระวังพบการติดเชื้อ 65 ครั้งเป็นชายร้อยละ 69.2 หญิงร้อยละ 30.8 อายุเฉลี่ย 65.5 ± 17.4 ปี ช่วงอายุที่พบการติดเชื้อ 20 - 91 ปี ในช่วงเวลาที่เฝ้าระวังแต่ละเหตุการณ์ (14 วัน) ผู้ป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 52.3 ยังคงพักรักษาในหอผู้ป่วยเดิมร้อยละ 41.5 และย้ายไปหอ ผู้ป่วยอื่นร้อยละ 6.2 พบเป็นการติดเชื้อที่เกิดจากการรักษาพยาบาลร้อยละ 83.1 และเป็นการติดเชื้อที่พบในวันที่เข้ารับรักษาแบบผู้ป่วยในร้อยละ 16.9 เป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ ส่วนกลางร้อยละ 49.2 เมื่อจำแนกประเภทของสายสวนหลอดเลือดดำ พบมากที่สุดคือสายสวนชนิด non-tunneled ร้อยละ 50 รองลงมาคือ สายสวนสำหรับฟอกเลือด ร้อยละ 18.8 สายสวนหลอดเลือดดำผ่านทาง หลอดเลือดดำส่วนปลาย ร้อยละ 15.6 และสายสวนชนิด tunneled ร้อยละ 6.3 ตำแหน่งที่พบเป็นหลอดเลือดดำ jugular ร้อยละ 46.9 รองลงมาคือ หลอดเลือดดำ subclavian ร้อยละ 18.8 หลอดเลือดดำ femoral ร้อยละ 18.8 และ หลอดเลือดดำ brachial ร้อยละ 6.3 ผลการเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ พบเป็นเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรค ร้อยละ 96.9 โดยในจำนวนการติดเชื้อ ทั้งหมด 65 ครั้ง จำแนกได้เชื้อจุลชีพ 71 เชื้อเชื้อจุลชีพที่พบเป็นสาเหตุของ การติดเชื้อร้อยละ 77.5 เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ประกอบด้วย Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 41.8 Acinetobacter baumannii ร้อยละ 16.4 และEscherichia coli ร้อยละ 12.7 และเป็นแบคทีเรียแกรมบวกร้อยละ 19.7 ซึ่งพบเป็น Staphylococcus aureus ร้อยละ 64.3 โดยเชื้อจุลชีพที่ จำแนกได้ พบว่า A.baumanniiร้อยละ 88.9, K. pneumoniae ร้อยละ 73.9,P. aeruginosa ร้อยละ 60.0 และE. coli ร้อยละ 28.6 ดื้อต่อยาต้าน จุลชีพการติดเชื้อในกระเเสเลือดที่พบร้อยละ 50.8 เป็นการติดเชื้อแบบ ทุติยภูมิ อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดรวม 2.7 ครั้ง ต่อ 1,000 วันนอน เป็นอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดปฐมภูมิ 1.6 ครั้ง ต่อ 1,000 วันนอน และอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายสวนหลอด เลือดดำส่วนกลาง 2.4 ครั้ง ต่อ 1000 วันใส่สายสวนสวนหลอดเลือดส่วน กลางแบคทีเรียชนิดแกรมลบเป็นเชื้อจุลชีพก่อโรคที่พบมากที่สุด " }
{ "en": "Objective: To compare the outcome of treatment of corneal abrasion after pterygium surgery between pressure patching and bandage contact lens. This was an observational prospective study.\nMethods: The present study was conducted in patients with corneal abrasions after pterygium surgery between November, 2016 and February, 2017, 92 people collected data using the record form. Statistical analysis was performed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Fischer-Exact test and Wilcoxon Rank Sum test.\nResult: 92 patients were investigated, of which 53 were male and 39 were female. Most of the patients were farmers and they were mainly above 60 years old .74 (75.9%) patients have got chronic diseases and most of them were diabetes 39 (39.6%) and hypertension 35 (38.0%). The contact lens bandage and pressure patching were treated with 54 (58.7%) and 38 (41.3%) patients, respectively. For the level of visual acuity of the patients before the treatment, 30 (32.6%) were normal, VA20/20 - 20/50 and 62 (67.4%) were visual impairment, VA 20/70 - 20/200. After pterygium excision, the percentage of epithelial defect area vary from 11% to over 50% of total corneal surface area and no significant difference in the percentage of the area between the patients treated with bandage contact lens and pressure patching (p > 0.05). Bandage contact lens trended to provide quicker recovery than pressure patching. However, all the patients in both treatments were fully recovered within a week.\nConclusion: The treatment of corneal abrasion from pterygium surgery by bandage contact lens trended to provide quicker recovery than pressure patching. However, all the patients in both treatments were fully recovered within a week. Visual improvement after treatment can not be concluded that bandage contact lens is better than pressure patching. ", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาแผลถลอกของ กระจกตาจากการลอกต้อเนื้อ โดยวิธีปิดตาแน่น กับการใส่คอนเเท็กต์เลนส์ รูปแบบการศึกษา : Observational Prospective Study\nวิธีการ: ดำเนิน การศึกษากับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะแผลถลอกของกระจกตา หลังจาก การผ่าตัดต้อเนื้อ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2559 - เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 92คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบบันทึกข้อมูล การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Fischer- Exact test และWilcoxon Rank Sum test โดย ศึกษาขนาดของแผลถลอก เปรียบเทียบระหว่างการรักษาดัวยการปิดตา แน่น และการใส่คอนเเท็กต์เลนส์\nผล : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 92 ราย ได้รับ การรักษาภาวะแผลถลอกของกระจกตาโดยการใส่คอนเเท็กต์เลนส์ ร้อยละ 58.7 และได้รับการรักษาโดยวิธีปิดตาแน่น ร้อยละ 41.3 การเปรียบเทียบ ผลการรักษาเมื่อสิ้นสุดระหว่างวิธีการรักษาในเรื่องขนาดของแผลถลอก ที่ลดลง ระดับการมองเห็น และการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น พบว่า ขนาดของแผลถลอกแตกต่างกันตั้งแต่ ร้อยละ 11 จนถึงมากกว่า 55 % ของพื้นที่กระจกตา ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (p > 0.05) และ การรักษาโดยการใส่คอนเเท็กต์เลนส์ขนาดแผลถลอกลดลงเร็วกว่าการปิดตา แน่น (p < 0.05) แต่อย่างไรก็ตามขนาดของแผลถลอกลดลงจนเป็นปรกติ ภายใน 1 สัปดาห์ ในทั้งสองกลุ่ม ในส่วนของระดับการมองเห็นหลังการ รักษา และคุณภาพการมองเห็นมีความแตกต่างกัน (p < 0.05) โดยพบว่า ระดับการมองเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการรักษาการใส่คอนเเท็กต์เลนส์ มองเห็นอยู่ในระดับปกติ เท่ากับร้อยละ 63.0 ( ก่อนรักษา ร้อยละ 42.6) คุณภาพการมองเห็นดีขึ้น ร้อยละ 72.2 กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการรักษาการ โดยวิธีปิดตาแน่น มองเห็นอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 31.6 ( ก่อนรักษา ร้อยละ 18.4) คุณภาพการมองเห็นดีขึ้น ร้อยละ 47.4 แต่เนื่องจากระดับการมองเห็น ก่อนการรักษา ในทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.015) จึงไม่อาจสรุปได้อย่างชัดเจนว่า คุณภาพการมองเห็นหลังการรักษา โดยการใส่คอนแท็กต์เลนส์ ดีกว่าการปิดตาแน่น\nสรุป : การรักษาแผลถลอก ของกระจกตาจากการลอกต้อเนื้อ โดยการใส่คอนเเท็กต์เลนส์ทำให้ขนาด แผลถลอกของกระจกตาหายเป็นปกติเร็วกว่าการรักษาโดยวิธีปิดตาแน่น แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าคุณภาพการมองเห็นภายหลังการรักษาของการใส่ คอนเเท็กต์เลนส์ดีกว่าการปิดตาแน่น เนื่องจากระดับการมองเห็นก่อนการ รักษาในทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ " }
{ "en": "Background : Alcohol withdrawal delirium is a serious complication in alcohol dependence. It has a high mortality rate with inadequate treatments. Benzodiazepine treatment is a principle treatment for this condition. However, Thailand has two types of treatment which are Fixed-schedule regimen and Symptom-triggered regimen. We conducted the study comparing the effectiveness of treatments.\nObjective : To compare the effectiveness of benzodiazepine treatments between Fixed-schedule regimen and Symptom-triggered regimen for alcohol withdrawal and alcohol withdrawal delirium.\nMethod : This was an observational retrospective study about the treatment of alcohol dependence patients in the Thanyarak Maehongson Hospital from October 2008 to September 2013. These patients were diagnosed alcohol dependence according to DSM-IV.The patients were divided into two groups treated with Fixed-schedule regimen or Symptom-triggered regimen. The results were evaluated by the AWS (Alcohol withdrawal scale) and diagnosed alcohol withdrawal delirium by DSM-IV.\nResults : The 112 patients were diagnosed alcohol dependence these were treated with Fixed-schedule regimen 56 cases (50%) and the Symptom-triggered regimen 56 cases (50%). When comparing outcomes between two groups, no significant difference was found for means AWS scores at 3rd day (3.37 vs 2.73; p = 0.455) , means 7th day (1.05 vs 0.17; p = 0.118) and overall means AWS scores (7.80 vs 6.37; p = 0.171). However, outcomes as alcohol withdrawal delirium, Symptom-triggered regimen can decrease the chance of alcohol withdrawal delirium comparing to Fixed-schedule regimen (12 vs 26; AOR = 0.346, 95% CI = 0.142-0.845; p = 0.02). No significant difference between two groups was observed in other complications (mortality rate, transfering for medical/mental conditions, hypoglycemia, hypokalemia, seizure and falling).\nConclusion : From this inpatient treatment study for alcohol dependence, Symptom-triggered regimen develops less rate of alcohol withdrawal delirium and uses lower dose of benzodiazepine treatments when compared to Fixed-schedule regimen. However there are no difference in complication rates between two groups. ", "th": "ภูมิหลัง : การให้รักษาผู้ป่วยเสพติดสุราแบบผู้ป่วยในมีภาวะ แทรกซ้อนที่สำคัญคืออาการถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal) โดย เฉพาะอย่างยิ่งอาการสับสนเพ้อคลั่ง (Alcohol withdrawal delirium) ซึ่ง มีความอันตรายรุนแรงถึงชีวิต อย่างไรก็ตามการให้การรักษาด้วยยาเบนโซ ได้อะซีปีนเป็นหลักการรักษาที่สำคัญซึ่งช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ โดย รูปแบบการให้ยาที่สำคัญมี 2 รูปแบบ คือการให้ยาแบบคงที่(Fixed-schedule regimen) และการปรับขนาดยาตามระดับความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วย (Symptom-triggered regimen) เพื่อให้เป็นแนวทางในการเลือก วิธีการรักษา ทางผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการ รักษาทั้ง 2 วิธี วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างวิธี Fixed-schedule benzodiazepine regimen และวิธี Symptomtriggered benzodiazepine regimen ในการรักษาภาวะขาดสุราและภาวะ สับสนเพ้อคลั่งจากการขาดสุราในกลุ่มผู้ป่วยเสพติดสุรา\nวิธีการ: การศึกษา ครั้งนี้เป็นแบบย้อนหลังในการรักษาอาการขาดสุราในกลุ่มผู้ป่วยเสพติดสุรา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ถึง กันยายน 2556 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเสพติดสุราตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-IV และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาแบบ Fixed-schedule regimen กับ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี Symptom-triggered regimen โดยประเมิน ผลการรักษาด้วยการประเมินตามแบบ AWS (Alcohol withdrawal scale) และการวินิจฉัย Alcohol withdrawal delirium ตามเกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-IV\nผล : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะเสพติดสุรา 112 ราย ได้รับ การรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย Fixed-schedule regimen จำนวน 56 ราย (ร้อยละ 50) และกลุ่ม Symptom-triggered regimen จำนวน 56 ราย (ร้อยละ 50) เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาพบว่าอาการถอนพิษสุราระหว่างกลุ่ม Fixed-schedule regimen และกลุ่ม Symptom-triggered regimen โดยแบบประเมิน AWS (Alcohol withdrawal scale) ไม่พบ ความแตกต่างของคะแนน AWS ที่ 3 วัน (3.37 กับ 2.73 คะแนน ; p = 0.455) คะแนน AWS ที่ 7 วัน (1.05 กับ 0.17 คะแนน ; p = 0.118) และ ค่าเฉลี่ย AWS คะแนนรวม (7.80 กับ 6.37 คะแนน ; p = 0.171) แต่เมื่อ เปรียบเทียบผู้ป่วยภาวะ Alcohol withdrawal delirium จะพบว่าอัตรา การเกิด Alcohol withdrawal delirium ในกลุ่ม Symptom-triggered regimen จะลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่ม Fixed-schedule regimen (12 กับ 26 ราย ; AOR = 0.346, 95% CI = 0.142-0.845 ; p = 0.02) ส่วนภาวะ แทรกซ้อนระหว่างสองกลุ่มกลับไม่พบความแตกต่างทางสถิติอย่างมี นัยสำคัญระหว่างสองกลุ่มของการให้รักษา ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเสียชีวิต การส่งต่อเพื่อการรักษาโรคทางกาย/จิต ภาวะได้รับยากลุ่มเบนโซได้อะซีปีน เกินขนาด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำภายหลัง จากนอนโรงพยาบาล ภาวะชักเกร็ง และภาวะหกล้ม และเมื่อเปรียบเทียบ ปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาด้วยวิธี Fixed-schedule regimen ใช้ ปริมาณยาในขนาดที่สูงกว่าการรักษาด้วย Symptom-triggered regimen\nสรุป : จากผลการศึกษาพบว่าการให้การรักษาผู้ป่วยเสพติดสุราแบบ ผู้ป่วยในด้วยวิธี Symptom-triggered regimen จะเกิดภาวะ Alcohol withdrawal delirium น้อยกว่า และใช้ปริมาณยาในกลุ่มเบนโซได้อะซีปีน ที่น้อยกว่า กลุ่ม Fixed-schedule regimen โดยไม่พบความแตกต่าง ในด้านของภาวะแทรกซ้อนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ " }
{ "en": "A cross-sectional descriptive study was conducted to assess health status and quality of life in Thai workers who had worked in a selected ASEAN country. Health status was mainly focused on musculoskeletal disorder. Data collection was available from October 2016 to September 2017 in 262 Thai workers who have been working in one country in ASEAN; Malaysia for at least 6 months and underwent health examination under the ASEAN plus Three Health Care Program (ASEAN PLUS), organized by Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Research instruments consisted of three parts; first was demographic data, second was Standardized Nordic Questionnaire (Thai version), and third was the World Health Organization Quality of Life Brief-Thai (WHOQOL-BREF-THAI). Data were analyzed using descriptive and inferential statistics. This study was reviewed and approved by the ethics committee, Rajavithi hospital. The majority was female with mean age of 40.8 ± 11.6 years. The meab\u000e BMI was 24.38 ± 3.95 kg/m2. Most of the participants had educational level less than bachelor (38.4%), worked as occupied housewives, massage, or chef (57.0%), monthly income less than 20,000 baht (49.8%), domiciled in the north of Thailand (31.1%), more than half lived in Malaysia less than 5 years. An average working time was 10.2 ± 1.7 hours daily. Most did not have underlying diseases and medication. Most drank tea or coffee (76.8%), and 69.8% drank tea or coffee daily, mostly non-smoking and non-alcoholic. In the past 12 months. The prevalence of musculoskeletal disorder of wrist and hand was (25.7%), ankle and foot (11.7%), and shoulders (10.5%). For the past 7 days, wrist and hand was (30.6%), ankle and foot (12.1%), and shoulders (9.1%). Factors associated with musculoskeletal disorders were less educational level (p = 0.035), and tea or coffee consumptiob\u000e (p = 0.029). The overall quality of life was at moderate level. The quality of life in physical, psychological and environmental aspects was at a moderate level, but a social relation was at not good level. The finding is used to develop a health care program for workers by focusing on the observation of various health disorders. There should be further study in high risk groups in order to be advised to improve working conditions or adjust the equipment to suit the work. Data integration and collaboration betweeb\u000e the Ministry of Public Health and the Ministry of Labor may continue to work closely together. ", "th": "การศึกษาวิจัยภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) เพื่อประเมินภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในประเทศ แถบอาเซียน ภาวะสุขภาพุ่มุ่งเน้นประเมินความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ กับอาการผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ในแรงงานไทยที่ปฏิบัติ งานในหนึ่งประเทศแถบอาเซียนคือมาเลเซียไม่น้อยกว่า 6 เดือน และ เข้ารับการตรวจสุขภาพภายใต้โครงการดูแลสุขภาพแรงงานไทยในกลุ่ม ประเทศอาเซียน/เอเชีย (ASEAN PLUS) กรมการแพทย์ ในช่วงที่เก็บข้อมูล จำนวน 262 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน คือส่วนที่ 1) ข้อมูลทั่วไปของตัวอย่างเช่น อายุ เพศ รายได้ ลักษณะงาน ประสบการณ์ทำงาน ภูมิลำเนา โรคประจำตัว และพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนที่ 2) การประเมินอาการผิดปกติกลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal disorders) ด้วยแบบสอบถามมาตรฐานชนิดตอบเอง Standardized Nordic Questionnaire (ฉบับภาษาไทย) และส่วนที่ 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ เชิงอนุมาน และการวิจัยนี้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัย โรงพยาบาลราชวิถี ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 40.8 ± 11.6 ปี BMI เฉลี่ย 24.38 ± 3.95kg/m2 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช./ปวส. ร้อยละ 38.4 ประกอบอาชีพแม่บ้าน/นวด/แม่ครัว ร้อยละ 57.0 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 49.8 ภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือร้อยละ 31.1 มากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่มาเลเซียน้อยกว่า 5 ปี ระยะเวลา ทำงานเฉลี่ย 10.2 ± 1.7 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่ใช้ประจำพฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่ชอบดื่มชา/กาแฟ ร้อยละ 76.8 โดยดื่ม ชา/กาแฟทุกวันถึงร้อยละ 69.8 ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ความชุกของอาการผิดปกติของระบบกระดูกและ กล้ามเนื้อที่พบมากที่สุดคือข้อมือ/มือ, ข้อเท้า/เท้า และไหล่ ร้อยละ 25.7, 11.7 และ10.5 ตามลำดับ สำหรับในช่วง 7 วันที่ผ่านมา พบความชุกอาการ ของข้อมือ/มือ, ข้อเท้า/เท้า และไหล่ร้อยละ 30.6, 12.1 และ9.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติกลุ่มอาการทางระบบกระดูกและ กล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (p = 0.035) และการดื่มชาหรือกาแฟ (p = 0.029) คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย, ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ส่วนใหญ่ คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ไม่ดี ผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพให้กับแรงงานในต่างแดน โดยการจัด โปรแกรมการดูแลสุขภาพเน้นการสังเกต่อาการผิดปกติสุขภาพด้านต่าง ๆ และควรมีการศึกษาต่อเนื่องเชิงลึกในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อสามารถ ให้คำแนะนำในการปรับปรุงสภาพการทำงานหรือปรับอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมต่อการทำงาน โดยอาจบูรณาการข้อมูลและทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงานต่อไป" }
{ "en": "Pemphigus vulgaris (PV) is the most common bullous disorder characterized by blisters and erosions on skin and mucous membranes. Secondary infection is the main cause of death among pemphigus patients. The objective of this study was to determine the prevalence and factors associated with bacterial infections among PV inpatients. This retrospective study was conducted among 129 patients who were diagnosed with PV by dermatologists and admitted in the Institute of Dermatology Thailand, from 2011 to 2015. This study was approved by the Ethical committees of Faculty of Public Health, Mahidol University and of the Institute of Dermatology. Data were collected from medical records and analyzed using SPSS. Overall, 86 subjects (31 males and 55 females) with 134 admissions were recruited into the study. The mean (SD) age was 46.8 (15.1) years (ranged 17-84). From culture results, 122 (91.0%) had bacterial infections: 79 of 122 (64.8 %) had infection at admission and 43 (35.2%) acquired nosocomial infection. Multiple logistic regression revealed that antibiotic usage at admission was significantly associated with bacterial infection (adjusted OR 8.45; 95% CI 1.6-43.3, p=0.001) while gender, age, number of admission, DM, pemphigus severity, corticosteroid use and length of stay did not show statistical significance. High prevalence of infection among PV patients in the present study is an urgent condition that needs further actions. Prompt detection of bacterial infection should be established during hospitalization especially among patients who had a history of antibiotic use prior to admission. ", "th": "โรค Pemphigus vulgaris (PV) เป็นภาวะที่พบมากที่สุดในกลุ่ม โรคตุ่มน้ำผู้ป่วยมีลักษณะเฉพาะ คือมีแผลพุพองและมีการทำลายของ ผิวหนังและเยื่อบุ ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเป็นสาเหตุสำคัญของ การเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาความชุก ของการติดเชื้อแบคทีเรียและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อดังกล่าว ในผู้ป่วย PV ที่นอนโรงพยาบาล จำนวน 129 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรค Pemphigus vulgaris (PV) โดยแพทย์ผิวหนัง และเข้ารับการรักษา เป็นประเภทผู้ป่วยใน ที่สถาบันโรคผิวหนัง ประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 ถึงปี พ.ศ. 2558 การศึกษาเป็นการศึกษาย้อนหลังและได้รับการรับรอง จากคณะกรรมการจริยธรรมฯของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดลและของสถาบันโรคผิวหนัง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วยและวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการศึกษามีผู้ป่วย ทั้งหมด 86 ราย เป็น ชาย 31 รายและหญิง 55 ราย เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลจำนวน 134 ครั้ง มีอายุเฉลี่ย (SD) 46.8 (15.1) ปี (ช่วงอายุ 17-84 ปี) ผลการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียมีผู้ป่วยติดเชื้อ 122 ครั้ง (ร้อยละ 91.0%) และพบ ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียขณะแรกรับ 79 ครั้ง (ร้อยละ 64.8%) และติดเชื้อขณะ นอนโรงพยาบาล 43 ครั้ง (ร้อยละ 35.2) การทดสอบ Multiple logistic regression พบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนการนอนโรงพยาบาลและขณะแรกรับ สัมพันธ์กับ การติดเชื้อแบคทีเรีย่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า adjusted OR = 8.45, 95% CI 1.6-43.3, p = 0.001) ในขณะที่เพศ อายุ จำนวนครั้งที่เข้ารับ การรักษา โรคเบาหวาน ระดับความรุนแรงของโรค การใช้ยา corticosteroid ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียจากการพบความชุกของการติดเชื้อแบคทีเรียสูงมากในผู้ป่วย PV ที่นอนโรงพยาบาล นับว่าเป็นภาวะที่เร่งด่วน และควรมีการดำเนินการต่อไป การค้นพบภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียใน โรงพยาบาลของผู้ป่วย PV อย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการใช้ยา ปฏิชีวนะก่อนเข้ารับการรักษาจึงเป็นเรื่องที่ควรกระทำ " }
{ "en": "This research aimed to study post pacemaker implantation in old age patients, to compare results of quality of life (QoL) and six minute walk distance between VVIR with dual chamber pacemaker. A cross-sectional study was carried out in patients aged 70 years old or more implanted at least one year. Medical records, SF-36 questionnaire and its composite score results (physical component scale - PCS, and mental component scale - MCS), six minutes walk test results, and echocardiogram results were together analysed. Of enrolled 95 patients, there were male (31.6%), and female (68.4%) with mean age of 77.1 years, mean left ventricular ejection fraction 0.63, median time of implantation 3 years. Major co-morbid diseases were: hypertension (75.8%), diabetes (18.9%), chronic kidney disease of stage 3 or more (53.5%), paroxysmal AF (25.7%) and persistent AF (12.9%). A number of pacemaker mode VVIR and dual chamber were 52 and 43. Comparing between two pacemaker modes after adjusted factors by age, gender, persistent AF and years after implantation, the results of SF-36 QoL score and six minute walk distance were not statistical difference : PCS 51.7 vs. 57.4 (p-value = 0.87), MCS 54.7 vs. 58.7 (p-value = 0.074), and walk distance 282.8 meters vs.330.5 meters (p-value = 0.16).", "th": "การศึกษานี้ทำเพื่อศึกษาผลหลังการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ในผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตและผลการทดสอบ เดินหกนาทีระหว่างเครื่องชนิดกระตุ้นหัวใจห้องเดียวที่ปรับอัตราการเต้นหัวใจ ได้ตามกิจกรรมกับเครื่องชนิดกระตุ้นหัวใจสองห้องบนล่างต่อเนื่องโดย การศึกษาทำแบบสังเกตการณ์ในลักษณะภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปหลังการใส่เครื่องอย่างน้อยหนึ่งปี ด้วยการใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม SF-36 ฉบับภาษาไทยเพื่อดูคะแนน คุณภาพชีวิต (physical component scale - PCS, and mental component scale - MCS) การทดสอบเดินทางราบหกนาทีและการตรวจการทำงาน หัวใจด้วยภาพเสียงสะท้อนรูปหัวใจ จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา 95 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 31.6 เพศหญิง 68.4 อายุเฉลี่ย 77.1 ปี ค่าเฉลี่ยการบีบตัวของหัวใจ 0.63 ค่ากลางของจำนวนปีที่ผู้ป่วยได้ใส่เครื่องเป็น 3 ปี โรคร่วมที่พบได้แก่ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 75.8 เบาหวานร้อยละ 18.9 ภาวะไตเสื่อมระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 53.7 ภาวะหัวใจเต้นพลิ้วชั่วคราว ร้อยละ 27.7 และภาวะ หัวใจเต้นพลิ้วตลอด ร้อยละ 12.9 จำนวนผู้ป่วยที่ใส่เครื่องชนิดห้องเดียว หมวด VVIR และชนิดสองห้อง (dual chamber) เป็น 52 และ43 ราย เมื่อวิเคราะห์เทียบผลระหว่างหมวด VVIR กับ dual chamber โดยปรับ ตัวแปร อายุ เพศ การมีภาวะหัวใจเต้นพลิ้วชนิดเป็นตลอด และระยะเวลา ที่ได้ใส่เครื่องแล้ว ค่าคะแนนคุณภาพชีวิตและผลระยะการเดินหกนาทีไม่มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าที่ได้และค่านัยสำคัญได้แก่ คะแนน PCS 51.7 เทียบกับ 57.4 (p value = 0.87) คะแนน MCS 54.7 กับ 58.7 (p value = 0.74) และระยะการเดินหกนาทีเป็น 282.8 กับ 330.5 เมตร (p value = 0.16) " }
{ "en": "Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) patients who had acute exacerbations and hospitalizations were frequently found in Lerdsin Hospital. COPD clinic was established with multidisciplinary team care to improve clinical outcomes. This 1- year study aimed to compare exacerbations frequency before and after enrollment to COPD clinic. The COPD patients who attended the clinic between October 2015 and September 2016, and fulfilled the study criteria were included. Total data of 110 COPD patients were recorded in a retrospective cohort study and were analyzed. The average age was 66.78 ± 11.16 years and COPD patients were often found in male. The average body mass index was 21.54 ± 4.61Kg/m2 . Most of the patients were in GOLD stage 2 and ex smokers. After multidisciplinary care was performed, COPD exacerbations frequency (1.18 ± 1.72, 0.39 ± 0.98, p < 0.001), COPD hospitalizations (0.35 ± 0.69, 0.08 ± 0.34, p < 0.001), CAT score (18.65 ± 6.42, 11.24 ± 5.02, p < 0.001) and mMRC score (2.07 ± 1.00, 1.48 ± 1.02, p < 0.001) were significantly decrease. Multidisciplinary care in COPD patients could significantly decrease exacerbations frequency, hospitalizations and dyspnea score. ", "th": "ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการกำเริบเฉียบพลัน และต้องเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลเลิดสินยังพบอยู่บ่อยครั้ง จึงได้มีการจัดตั้งคลินิก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนั้นการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบอัตราการกำเริบของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนและหลังเข้าคลินิกในระยะเวลา 1 ปี เก็บรวบรวม ข้อมูล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 บันทึกจาก เวชระเบียนผู้ป่วยโดยการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั้งหมด 110 ราย อายุเฉลี่ย 66.78 ± 11.16 ปี เพศชายเป็นส่วนใหญ่ ค่าดัชนี มวลกายเฉลี่ย 21.54 ± 4.61 Kg/m2 ส่วนใหญ่มีประวัติเคยสูบบุหรี่ี่และ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะที่ 2 อัตราการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.18 ± 1.72, 0.39 ± 0.98, p < 0.001) อัตราการนอนโรงพยาบาลเพราะโรคกำเริบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.35 ± 0.69, 0.08 ± 0.34, p < 0.001) คะแนน CAT ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (18.65 ± 6.42, 11.24 ± 5.02, p < 0.001) และคะแนน mMRC ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2.07 ± 1.00, 1.48 ± 1.02, p < 0.001) การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้อัตรา โรคปอดอุดกั้นกำเริบเฉียบพลัน การนอนรักษาในโรงพยาบาล และมีอาการ เหนื่อยหอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ " }
{ "en": "Background: Teenage pregnancy has been social and public health problems in Thailand. The number of teenage pregnancy has been increasing in which contrast to those of developed countries. Teenage pregnant has low ability to manage antenatal and child care consequently resulted in poor obstetric outcomes.\nObjectives: To compare maternal outcomes and neonatal outcomes between teenage pregnancy (age 10-19 years) and adult pregnancy (age 20-25 years) delivered at Nangrong Hospital, Buriram Province.\nMethods: A cross-sectional analytic study was conducted at department of Obstetrics and Gynecology, Nangrong Hospital. The study group consisted of all teenage women (10-19 years) who gave birth at Nangrong Hospital between October 1st 2015 and January 31st 2016. The control group consisted of all pregnant women (20-25 years) who gave birth during the same period. Demographic data, obstetric and neonatal complications were collected and compared between two groups.\nResults: The study group consisted of 205 women (accounted for 19.1% of total pregnancy) and the control group consisted of 306 women. The study group had more incomplete antenatal care than control group (22.4% VS 12.7%, p<0.05). The study group had higher preterm delivery rate than those of control group (11.7% VS 5.6%, p<0.05). Obstetric complications as anemia were also found higher in study group compared to control group (34.1% VS 25.5%, p<0.05), and low birth weight (13.2% VS 4.6%, p <0.05). Vaginal delivery was the major route of delivery in study group while rate of cesarean section was higher in control group.\nConclusions: The teenage pregnancy rate at Nangrong Hospital was 19.1%. Obstetric and neonatal complications of teenage pregnancy were anemia, preterm delivery, low birth weight and birth asphyxia ", "th": "ภูมิหลัง : การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาทางสังคม และ ปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งแตกต่าง จากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลง วัยรุ่นส่วนใหญ่ ไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ ขาดการดูแลสุขภาพและทารกในครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์กับการตั้งครรภ์ได้\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการตั้งครรภ์ด้านมารดาและทารกระหว่างสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่น (อายุ 10-19 ปี) กับสตรีตั้งครรภ์ผู้ใหญ่ (อายุ 20-25 ปี) ที่มา คลอดในโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์\nวิธีการ: การศึกษาฉบับนี้เป็น การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง กลุ่มศึกษาประกอบด้วยสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ทุกรายที่มาคลอดในโรงพยาบาลนางรองตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559 กลุ่มเปรียบเทียบประกอบด้วยสตรีตั้งครรภ์ ทุกราย อายุ 20-25 ปี ซึ่งมาคลอดช่วงเวลาเดียวกัน\nผล : การคลอดของสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นจำนวน 205 รายคิดเป็นร้อยละ 19.1 และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 306 ราย กลุ่มศึกษามีการฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งมากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบ (ร้อยละ 22.4 กับ ร้อยละ 12.7, p < 0.05) กลุ่มศึกษามีอัตรา การคลอดก่อนกำหนด ภาวะโลหิตจาง ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 11.7 กับร้อยละ 5.6, p < 0.05 และร้อยละ 34.1 กับร้อยละ 25.5, p < 0.05 และร้อยละ 13.2 กับร้อยละ 4.6, p < 0.05 ตามลำดับ) กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่คลอดเองทางช่องคลอดมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 81กับร้อยละ 69.6, p < 0.05) และมีอัตราการผ่าท้อง ทำคลอดน้อยกว่า (ร้อยละ 16.1 กับร้อยละ 28.8, p < 0.05)\nสรุป : การคลอด ของสตรีตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่โรงพยาบาลนางรอง พบร้อยละ 19.1 สตรีตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นมีการฝากครรภ์น้อยกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุ 20 - 25 ปี ภาวะแทรกซ้อน ทางสูติศาสตร์ที่พบคือภาวะโลหิตจาง การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และภาวะทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด คำสำคัญ : การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์" }
{ "en": "Hypothermia is not only an important factor affecting hemodynamic of post-operative cardiac surgical patients but also a problem that needed proper management to avoid subsequent various complications. The aim of this research was to study and compare the hemodynamic changes when rewarming post-operative cardiac surgical patients by using standard and handmade blankets in accompany with force-air warming device. This was Quasi-experimental study on scheduled sixty adult hypothermia cardiac surgical patients which were convenience sampling to 30 cases in each group in Intensive care unit, Central Chest Institute of Thailand between January and December 2015. Results revealed that, after rewarming patients with standard and handmade blankets, Systolic blood pressure (SBP), Mean arterial blood pressure (MAP), Central venous pressure (CVP), Heart rate (HR) and Saturation of oxygen in peripheral tissues (SpO2 ) from both groups were not statistically significant difference at the 95% confidence level leading to the conclusion that there was no abnormal changing in hemodynamic after rewarming patients by both types of blankets. ", "th": "ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ พลศาสตร์การไหลเวียนเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแล้ว ยังเป็นปัญหาที่ ต้องการการจัดการโดยด่วนเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการตามมา การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพลศาสตร์การ ไหลเวียนเลือดเมื่อให้ความอบอุ่นร่างกายผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ด้วยการใช้ ผ้าห่มมาตรฐานและผ้าห่มประดิษฐ์ร่วมกับเครื่องเป่าลมร้อน การศึกษานี้ เป็นการศึกษากึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่จำนวน 60 ราย ที่มี ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ซึ่งเข้ารับการทำผ่าตัดหัวใจแบบไม่เร่งด่วน ด้วยการ สุ่มแบบสะดวก กลุ่มละ 30 ราย ในไอซียูสถาบันโรคทรวงอกระหว่างเดือน มกราคม ถึง เดือนธันวาคม 2558 ผลการศึกษาพบว่า ค่าความดันโลหิต ซิสโทลิก ค่าความดันโลหิตเฉลี่ยค่าความดันในห้องหัวใจส่วนกลาง อัตรา การเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนที่วัดจากปลายินิ้ว ของ ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มหลังการให้ความอบอุ่นร่างกายด้วยผ้าห่มมาตรฐานและ ผ้าห่มประดิษฐ์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของพลศาสตร์ การไหลเวียนเลือด เมื่อให้ความอบอุ่นร่างกายผู้ป่วยด้วยผ้าห่มทั้งสองแบบ" }
{ "en": "The symptoms and computed tomography (CT) findings of abdominal tuberculosis in 15 patients with the human immunodeficiency virus (HIV) at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute were retrospectively analyzed. Medical records and abdominal CT images from 1 January 2010 to 31 December 2015 of the patients were reviewed. Abdominal pain was the most common symptom (60%). Abdominal CT images showed varying imaging features depending on the involved organs. Solid organs involvement was the mos common feature (86.7%) with hepatomegaly and splenomegaly seen in more than half of the patients. In respect of lymph node involvement, lymphadenopathy was present in 80% of the patients and necrotic lymphadenopathy was present in 83.3% of those patients. Concerning peritoneal involvement, ascites, mesentery, omentum and peritoneal enhancement were described separately. Ascites (mainly with small amounts of ascites and density between 10-20 Hounsfield unit) was present in 46.7% of the patients. The involvement of mesentery was present in 40% of the patients, and the most common pattern of mesenteric changes was nodular. The involvement of omentum was present in 20% of the patients. Smudged pattern and caked pattern were found in approximately the same number. Peritoneal enhancement (all of which was smooth uniform thickening pattern) was present in 13.3% of the patients. Gastrointestinal tract involvement was present in 53.3% of the patients. Circumferential wall thickening was detected with a commonfeature of thickening of the ileocecal valve. However, abdominal CT findings of abdominal tuberculosis are similar to other diseases such as metastasis or lymphoma, so diagnosis should be correlated with clinical information, physical examination and laboratory data. ", "th": "การศึกษานี้ เป็นการศึกษาย้อนหลังเพื่อศึกษาลักษณะอาการและ ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องของผู้ป่วยวัณโรคในช่องท้องที่ติดเชื้อ เอชไอวีในสถาบันบาราศนราดูร เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและภาพเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ช่องท้องตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2558 มีผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคในช่องท้องส่วนใหญ่ร้อยละ 60 มีอาการปวดท้อง ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องพบความผิดปกติได้ หลายลักษณะ ความผิดปกติที่พบมากที่สุดคือความผิดปกติของ Solid organs ซึ่งพบร้อยละ 86.7 โดยส่วนใหญ่พบตับโตและม้ามโต ความผิดปกติ ของต่อมน้ำเหลือง พบต่อมน้ำเหลืองโตร้อยละ 80 และส่วนใหญ่เป็นลักษณะ Necrotic lymph node พบร้อยละ 83.3 ความผิดปกติของเยื่อบุช่องท้อง ได้ศึกษาลักษณะ Ascites Mesentery Omentum และPeritoneum แยกจากกัน Ascites พบร้อยละ 46.7 ซึ่งส่วนใหญ่มี Ascites ปริมาณน้อย และDensity ของ Ascites อยู่ในช่วง 10-20 Hounsfield unit ความผิดปกติ ของ Mesentery พบร้อยละ 40 ส่วนใหญ่เป็นแบบ Nodular ความผิดปกติ ของ Omentum พบร้อยละ 20 โดยพบแบบ Caked จำนวนใกล้เคียงกับ แบบ Smudged ความผิดปกติของ Peritoneum พบ Peritoneal enhancement ร้อยละ 13.3 เป็นแบบ Smooth uniform thickening อย่างเดียว ความผิดปกติ ของระบบทางเดินอาหารพบร้อยละ 53.3 พบผนังลำไส้หนาขึ้นโดยรอบ และ ส่วนใหญ่เกิดบริเวณ Ileocecal valve อย่างไรก็ตามลักษณะภาพเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ของวัณโรคในช่องท้องอาจมีลักษณะคล้ายกับโรคอื่น เช่น มะเร็ง ชนิดแพร่กระจาย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จึงต้องใช้ประวัติ การตรวจร่างกาย และ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบการวินิจฉัย" }
{ "en": "This study aimed to evaluate the level of knowledge and practice behaviors regarding pelvic organ prolapse (POP) and urinary incontinence (UI) among female nurses and practical nurses, and the association between the level of knowledge and their practice behaviors. This was a cross-sectional study conducted in a tertiary health care center. A Prolapse and Incontinence Knowledge Questionnaire was used to evaluate the level of knowledge, while a newly developed, 3-item questionnaire was used to evaluate practice behaviors. Among 3,083 nurses and practical nurses, 1,832 (59.42%) agreed to participate in the study. Among the 1,756 participants who completed the questionnaire, a total of 14.3% of the participants lacked pelvic organ prolapse proficiency whereas 55.2% lacked proficiency in urinary incontinence. Factors associated with knowledge were education level and age (p < 0.05). There was an association between level of knowledge and all 3 items of practice behaviors (p < 0.01). The adjusted odds ratios for the POP and UI scale score of ≥ 50% for three behaviors were 1.42-4.02 (95% CI; 1.03-5.1). In conclusion, the level of prolapse-related knowledge was quite high while incontinence-related knowledge was rather low in nurses and practical nurses. Level of knowledge influences their practice behaviors. Therefore, increasing healthcare provider’s proficiency regarding pelvic organ prolapse and urinary incontinence is needed. ", "th": "การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรม เกี่ยวกับภาวะกระบังลมหย่อนและภาวะปัสสาวะเล็ดราดของพยาบาลและ ผู้ช่วยพยาบาลที่เป็นเพศหญิง รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับของ ความรู้และพฤติกรรมดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางใน โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับ ภาวะกระบังลมหย่อนและภาวะปัสสาวะเล็ดราดเพื่อประเมินระดับของ ความรู้ และได้มีการสร้างแบบสอบถามชุดใหม่ซึ่งมีข้อคำถาม 3 ข้อ เพื่อใช้ ประเมินพฤติกรรมเกี่ยวกับภาวะกระบังลมหย่อนและปัสสาวะเล็ดราด ในจำนวนพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 3,083 คน มี 1,832 คน (ร้อยละ 59.42%) ที่ตอบแบบสอบถามครบสมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 14.3 ของกลุ่มตัวอย่างพร่องความรู้เกี่ยวกับภาวะกระบังลมหย่อน ขณะที่ ร้อยละ 55.2 พร่องความรู้เกี่ยวกับภาวะปัสสาวะเล็ดราด ปัจจัยที่มีผล ต่อความรู้ ได้แก่ ระดับการศึกษาและอายุ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้กับพฤติกรรมที่ั้งสามข้อ (p < 0.01) โดย สรุปแล้ว พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลจะมีระดับความรู้ค่อนข้างสูงเกี่ยวกับ ภาวะกระบังลมหย่อน ขณะที่จะมีระดับความรู้ค่อนข้างต่ำเกี่ยวกับภาวะ ปัสสาวะเล็ดราด โดยที่ระดับความรู้จะมีผลต่อพฤติกรรม ดังนั้นการเพิ่มพูน ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระบังลมหย่อนและภาวะปัสสาวะเล็ดราดให้กับ บุคลากรด้านสุขภาพจึงมีความจำเป็น " }
{ "en": "This field experimental research aimed to study the effectiveness of clear communication technique on disease prevention knowledge and risk behavior of patients at risk to cholangiocarcinoma attending Porncharoen Hospital, Bueng Kan Province. The samples were 60 population at risk to cholangiocarcinoma living in Porncharoen district, selected by multi-stage sampling method. Thirty samples were randomly assigned to each experimental group and control group. The experimental instrument was the clear communication technique. Data collection was performed using questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics using frequency, percentage, mean, standard deviation. The average knowledge and risk behavior were compared before and after the experiment by inferential statistics using Wilcoxon signed rank test, compared between experimental group and control group by inferential statistics using Mann-Whitney U test. The results revealed that the experimental group had non-different averaged score on disease prevention knowledge, and cholangiocarcinoma risk behavior compared with the control group both before and after the experiment. The results elucidated that health education by using clear communication technique had non-different effectiveness compared with original health education. ", "th": "การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในสภาพการณ์จริง เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของเทคนิคการสื่อสารที่ชัดเจนต่อความรู้ในการป้องกันโรค และพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนกลุ่มเสี่ยง ต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพรเจริญ ได้มาจากวิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอนรวมทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และ กลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือเทคนิคการสื่อสารที่ชัดเจน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี ก่อนและหลังการทดลอง ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxon signed rank test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ เฉลี่ยในการป้องกันโรคและพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีไม่แตกต่าง จากกลุ่มควบคุมทั้งก่อนและหลังทดลอง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการให้ ความรู้ด้วยเทคนิคการสื่อสารที่ชัดเจนมีประสิทธิผลไม่แตกต่างจากการให้ ความรู้แบบเดิม " }
{ "en": "Periodontitis is an infection occurring in the toothsupporting tissues. The presence of subgingival plaque represents the principal etiologic factor which involves in the initiation and progression of periodontitis. The scaling and root planing were the treatment for controlling the progression of periodontal diseases. However, this technique needs accessibility to and visibility of the area. In some cases, complete subgingival plaque and calculus removal are hardly achieved and ineffective. The limited factors for scaling and root planing include deep pockets, furcation areas and bioflims in the cementum. In addition, it may not be possible to eradicate bacterial species that can reach epithelial cells and subepithelial connective tissues of the periodontium. In order to kill the remaining bacteria, systemically or locally administration of antimicrobial agent is used as an adjunctive treatment to improve the management of periodontitis. From this review article was found that the local drug delivery system containing an antimicrobial traditional herb, Andrographis paniculata, has been developed as an adjunct to scaling and root planing. The Andrographis paniculata gel (AP gel) has been shown to reduce probing depth and coronal bone fill in the AP gel-treated sites at 3 and 6 months. Moreover, the proportion of the black-pigmented anaerobes was significantly reduced in the AP gel-treated sites. The local application of AP gel as an adjunct to scaling and root planing showed better improvement of clinical parameters. It is indicated the benefit of AP gel as an adjunctive treatment in chronic periodontitis. But AP gel did not sustain in periodontal pocket for a long time. So P. gingivalis could be recolonized in the pocket treated with AP gel 3 months after treatment. Since the AP gel is not widely-known at this moment, therefore, this review article aimed to educate medical professionals about the AP gel. Regarding its therapeutic efficacy, further study of the AP gel required. The users’ instruction provides more detailed information. Allergic reactions were not observed in these clinical trials. The AP gel is applied for external use only. There should be further study in order to compare with the recent foreign product. ", "th": "โรคปริทันต์อักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ปรากฏในเนื้อเยื่อรองรับฟัน การมีคราบแบคทีเรียใต้เหงือกเป็นสาเหตุหลักที่เริ่มต้นทำให้เกิดโรคปริทันต์ อักเสบและการลุกลาม การขูดหินน้ำลาย และเกลารากฟันเป็นการรักษา เพื่อควบคุมการลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ต้องเข้าถึง เพื่อให้เหน็บริเวณที่จะรักษาได้ ในบางรายจึงยากที่จะกำจัดคราบแบคทีเรียและหินน้ำลายใต้เหงือกได้หมด จึงทำให้ไม่มีประสิทธิผล การมีร่องปริทันต์ที่ ลึกง่ามรากฟัน และแผ่นคราบแบคทีเรียในผิวรากฟัน เป็นปัจจัยจำกัดของการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน นอกจากนี้การกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่สามารถ เข้าถึงเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้เนื้อเยื่อบุผิวของอวัยวะปริทันต์อาจเป็นไปไม่ได้ ยาต้านจุลชีพทางระบบและเฉพาะที่จะใช้ร่วมในการรักษา เพื่อที่จะใช้ฆ่าแบคทีเรียที่หลงเหลือเพื่อแก้ไขโรคปริทันต์อักเสบ จากการทบทวนวรรณกรรมนี้พบว่ายาต้านจุลชีพที่ใช้เฉพาะที่ซึ่งประกอบไปด้วยสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้ร่วมกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน เจลฟ้าทะลายโจรสามารถลดร่องลึกปริทันต์ และเกิดการสร้างกระดูกในส่วนบน ที่ระยะเวลา 3 เดือน และ6 เดือน ยิ่งกว่านั้นพบว่า อัตราส่วนของเชื้อแบคทีเรียblack-pigmented anaerobes ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในตำแหน่งที่ใส่เจลฟ้าทะลายโจร การใส่เจลฟ้าทะลายโจรที่ใช้เสริมในการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันแสดงผลทางคลินิกที่ดีขึ้น เป็นการชี้ถึงประโยชน์ ของเจลฟ้าทะลายโจรในการเสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบแบบเรื้อรัง แต่เนื่องจากเจลฟ้าทะลายโจรไม่สามารถอยู่ในร่องลึกปริทันต์ได้เป็นเวลานำน ดังนั้นเชื้อ P.gingivalis จึงก่อตัวขึ้นมาใหม่ในตำแหน่งที่ใส่เจลฟ้าทะลายโจรภายหลังการรักษา 3 เดือน เนื่องจากเจลฟ้าทะลายโจร ยังรู้จักกันไม่กว้างขวาง ในขณะนี้ ดังนั้นทบทวนวรรณกรรมนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเจลฟ้าทะลายโจรกับบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนเรื่องจะนำไปใช้ในการรักษานั้น คงต้องไปศึกษากันต่อไป ดังนั้นในส่วนข้อจำกัดของการใช้ ก็ต้องติดตามในคู่มือวิธีการใช้ แต่จากผลการวิจัยในมนุษย์ ก็ยังไม่พบว่ามีผู้ใดเกิดอาการแพ้ขึ้น เนื่องจากเป็นยาที่ใช้ภายนอกร่างกายเท่านั้น ในอนาคตควรทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน " }
{ "en": "Parkinson’s disease was initiated the functional movement and postural stability problems which affected to activity daily living of patients. Physical therapy was an important role to maintain their functional movement and postural stability. Hydrotherapy has been a part of treatment procedures. By using the aquatic environments as an appropriate situation for patient to move easily among the assisting of buoyancy, patients were trained balance in safe and trust condition and advantaged in removing the patient’s feeling of a fear to falling. This research aimed to evaluate the effectiveness of hydrotherapy in patients with Parkinson’s disease. Thai and English languages randomized controlled trials and quasi-experimental studies related to hydrotherapy treatment for Parkinson’s disease were searched through electronic databases MEDLINE and CENTRAL as well as a hand search of thesis and grey literature. Three reviewers selected studies, assessed critical appraisal and extracted data independently. Unanimous of three reviewers were a final decision. If there was a controversy, three reviewers would do a discussion for agreement. Three trials were selected to a quantitative synthesis. Two of three trails were able to synthesis with meta-analysis method. Result of meta-analysis, hydrotherapy group was greater in Berg balance scale than control group (Mean difference=3.56, [1.30 - 5.81] 95% CI, p = 0.002) without heterogeneity (X2 = 0.31, I2 = 0%, p = 0.58). Results of Quantitative synthesis, hydrotherapy group was better than control group in balance during standing, balance during activities, quality of life and low frequency of falling. There was no significant improve in motor control and balance during getting up and walk. In conclusion, hydrotherapy was better than land-based exercise for improved balance in the patient with Parkinson’s disease. But there was limited studies to review so a randomized controlled trial could be performed to further investigate more evidence in soon. ", "th": "โรคพาร์กินสันเป็นความผิดปกติจากการเสื่อมของระบบประสาท ส่วนกลาง มีอาการอาการกล้ามเนื้อแขนขาเกร็ง การเคลื่อนไหวร่างกาย มีความยากลำบาก และสูญเสียการควบคุมการทรงท่าและการทรงตัวของ ร่างกาย ซึ่งการรักษาด้วยกายภาพบำบัด มีความจำเป็นในการคงสภาพระดับ ความสามารถในการเคลื่อนไหวและการทรงตัว นอกเหนือจากการกายภาพบำบัด แบบดั้งเดิมบนบกแล้ว การให้การรักษาด้วยธาราบำบัดนนั้นบได้ว่าเป็นการ รักษาที่ครอบคลุมทุกปัญหาของผู้ป่วยและให้ผลการรักษาที่ดี การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษาด้วยธาราบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยการทบทวนอย่างเป็นระบบ สืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน MEDLINE และCENTRAL โดยดำเนินการตามกลยุทธ์การสืบค้น นอกจากนี้ยังสืบค้น จากรายงานการวิจัยและ/หรือวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง เอกสารการศึกษา ถูกจำกัดไว้เฉพาะการศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยคัดเลือก การศึกษาวิจัยประเภท randomized controlled trial และquasi randomized controlled trial ที่ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยการรักษาด้วย ธาราบำบัด ผู้ศึกษา 3 ท่าน คัดเลือกเอกสารที่ได้จากการสืบค้น ประเมินความเสี่ยง ของอคติ และแยกข้อมูลอย่างอิสระต่อกัน โดยใช้มติเอกฉันท์ในการประเมิน และคัดเลือกการศึกษา หากมีข้อขัดแย้งกำหนดให้มีพิจารณาร่วมกันเพื่อหา ข้อสรุป ผลการศึกษา พบว่า 3 การศึกษาถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ เชิงพรรณนา และ2 ใน 3 ของการศึกษาถูกนำมาสังเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ อภิมาน โดยผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า ผู้ป่วยพาร์กินสันที่รักษาด้วย ธาราบำบัดมีผลลัพธ์หลักด้านของสมดุลการทรงตัวโดยใช้แบบประเมิน Berg balance scale ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ p < 0.01 โดยค่า mean difference ของคะแนน Berg balance scale เท่ากับ 3.56 และที่ระดับ ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ 1.30 ถึง 5.81 และมีผลการศึกษาที่ สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นเอกพันธ์ของผลการศึกษา (X2 = 0.31, I2 = 0%, p = 0.58) ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า การสั่นไหวขณะยืน ความเสี่ยงต่อการล้มและประวัติการล้ม รวมถึงในด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ป่วย ที่รับการรักษาด้วยธาราบำบัดมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และการทรงตัวขณะลุกเดิน ยังไม่มีความแตกต่างทางสถิติของผลการรักษา ของทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผลการทบทวนอย่างเป็นระบบนี้พบว่า การรักษาด้วย ธาราบำบัดส่งผลดีต่อการทรงตัวและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสัน แต่ เนื่องด้วยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อย และยังไม่มีการศึกษาประเด็นี้นมาก ผู้ศึกษาเห็นควรให้มีการศึกษาในลักษณะของการศึกษาทดลองแบบสุ่มและ มีกลุ่มควบคุมต่อไป เพื่อให้เกิดหลักฐานและองค์ความรู้ที่สามารถนำมาตอบ คำถามงานวิจัยและพิสูจน์สมมุติฐานได้อย่างชัดเจนต่อไป " }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "The purpose of this two group posttest semi-experimental research was to study the effects of behavioral enhancement motivation on disease prevention, disease preventive behavior and blood sugar control. Sampling group used in the experiment consisted of 48 persons and these received the created programs by applying model on the changing pattern in accordance with the Theory of 6-Step Change and 8 Activities. Blood sugar level measurement, motivation and disease preventive behavior were conducted using questionnaires with the test and retest reliability between 0.85-0.89. Controlled group of 24 persons were normally taken care of. Result was analyzed by percentage, mean, standard deviation and repeated measures ANOVA. This research was considered on the aspect of research ethics from the Institutional Review Board, Burapha University. After the experiment and monitoring of the effect, the experiment group had increasing motivation and disease preventive behavior. The experiment group had increasing motivation for disease prevention from the mean of 2.86, 4.16 and 4.58, respectively. Disease preventive behavior increased from the mean of 2.82, 4.08 and 4.60, respectively, and these scores after the experiment and monitoring of the effect significantly it increased from before the experiment (p < .001); increased after the experiment (p < 0.002). In experiment group, the motivation on the disease prevention and disease preventive behavior were significantly increased than those the controlled group (p < 0.001). With regard to sugar level, the experimented group accounted for the average sugar level of 110.04 mg./dl. and decreased to 96.58 and 91.63, these reduced sugar levels were less than before and after the experiment (p < 0.001). Moreover, the sugar level decreased more than the controlled group. The findings showed that the risk group received the program had changed their motivation on the disease prevention and disease preventive behavior, as seen by their decreased blood sugar levels. ", "th": "การศึกษากึ่งทดลองแบบวัดผลหลังทดลอง 2 กลุ่ม (two group posttest design) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนแรงจูงใจในการป้องกันโรค พฤติกรรม ป้องกันและการควบคุมระดับน้ำตาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจำนวน 48 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่สร้างขึ้นโดยประยุกต์แบบจำลอง การเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง 6 ขั้นตอน กิจกรรม 8 ครั้ง วัดระดับน้ำตาล แรงจูงใจและพฤติกรรมป้องกันโรคโดยใช้แบบสอบถาม มีความเที่ยงแบบวัดซ้ำระหว่าง 0.85-0.89 กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 24 คน วิเคราะห์ผลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนแบบวัดซ้ำการศึกษานี้ผ่านการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาพบว่าหลังทดลองและติดตามผล กลุ่มทดลองมีแรงจูงใจและพฤติกรรมการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น โดยมีแรงจูงใจ ในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 2.86, 4.16 และ4.58 ตามลำดับ พฤติกรรมป้องกันโรคเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 2.82, 4.08 และ4.60 ตามลำดับ ซึ่งหลังทดลอง และติดตามผลเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลอง (p < 0.001) ติดตามผลเพิ่มขึ้นจากหลังทดลอง (p < 0.002) รวมทั้งแรงจูงใจในการป้องกันโรค และพฤติกรรมป้องกัน โรคเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p < 0.001) ส่วนระดับน้ำตาล กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลจากเฉลี่ย 110.04 มก./ดล. เหลือ 96.58 และ91.63 ซึ่งลดลงเหลือน้อยกว่าก่อนทดลองและหลังทดลอง (p < 0.001) รวมทั้งระดับน้ำตาลลดลงกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับโปรแกรมมีการปรับเปลี่ยน แรงจูงใจในการป้องกันโรค พฤติกรรมป้องกันโรคเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง " }
{ "en": "A descriptive study was carried out, to identify the prevalence of post-stroke dementia in Northern Thai patients with stroke in acute phase and 6 months later including identify related factors by a battery of tests; MMSE-Thai 2002, Clinical Dementia Rating, Clock Drawing Test, and Hospital Anxiety and Depression Scale-Thai version at government hospitals in the Northern Thailand between 1 October 2010 and 30 September 2012. Two hundred and fifteen stroke patients were included in the study with mean age 62.5 ± 12.3 years. Prevalence of post stroke dementia in acute stroke was 38.9 % and decreased to 31.6% within 6 months after stroke. The study showed that age, sex, depression, left hemispheric lesion and multiple cerebral infarctions were statistically significant factors (p 0.05) associated with post-stroke dementia in acute phase of stroke. Post-stroke dementia was common condition after stroke. Awareness, screening and proper management for post stroke dementia should be considered in clinical practice to improve quality of treatment in patients with stroke. ", "th": "การศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อมหลังการเกิดโรคหลอดเลือด สมองในภาคเหนือครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการติดตามผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภาครัฐ เขตภาคเหนือ ของประเทศไทย ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555 เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสมองเสื่อม โดยใช้แบบคัดกรอง MMSE Thai 2002, Clock-Drawing Test, Clinical Dementia Rating และ Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 215 ราย มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 62.5 ± 12.3 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 54.4 เพศหญิงร้อยละ 45.6 พบว่าผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองมีความชุกของภาวะสมองเสื่อมหลังการเกิดโรคหลอดเลือด สมองเฉียบพลันคิดเป็นร้อยละ 38.9 และความชุกของภาวะสมองเสื่อม ภายใน 6 เดือนหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองคิดเป็นร้อยละ 31.6 โดย พบว่า อายุ เพศ ภาวะซึมเศร้า การเกิดโรคหลอดเลือดในสมองซีกซ้ายและ หลอดเลือดสมองอุดตันแบบ Multiple infarctions เป็นปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน สรุปได้ว่าภาวะสมองเสื่อมหลังการเกิดโรคหลอดเลือด สมองเฉียบพลันเป็นภาวะที่พบได้บ่อย การให้ความตระหนัก คัดกรอง และ ค้นหาสาเหตุเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองเฉียบพลัน " }
{ "en": "Background: Congenital diaphragmatic hernia (CDH) is one of very high risk diseases in pediatric surgery. It has a variable severity of disease and high mortality rate in neonates with presenting symptoms shortly after birth. Although the strategic treatment has been changed to preoperative stabilization and delayed surgery, results of the treatment are not satisfactory.\nObjective : The aim of this study was to analyze the prognostic factors that affect the survival of neonates with CDH at our institute during a 5 year period. Materials and\nMethods: A retrospective study of neonates with CDH, whom were treated at Queen Sirikit National Institute of Child Health from 2010 to 2014, was conducted. Clinical data were collected from medical records and were analyzed to demonstrate the prognostic factors for survival of CDH. A Chi square test was used for statistical analysis and p-value less than 0.05 was considered significant.\nResults: Fifty-one neonates with CDH (30 males and 21 females) were enrolled in the study. Eight patients who developed symptoms of respiratory distress over 6 hours after birth had the survival rate of 100 %, whereas 43 patients who developed symptoms within 6 hours had the survival rate only 48.8% (p < 0.001). Forty-two patients with left diaphragmatic defect had the survival rate higher than 9 patients with the right one (71.4% VS 22.2%; p = 0.04). CHD without congenital heart disease (CHD) had the chance of survival better than those with CDH (88.8% VS 39.3%; p = 0.001). The first examination of blood gas revealed prognostic indicators for survival when the pH was over 7.25 and pCo2 less than 60 mm. Hg (p < 0.001). Patients who had no evidence of persistent pulmonary hypertension of neonate (PPHN) and pneumothorax proned to have the higher survival rates than those with PPHN and pneumothorax.\nConclusion: Postnatal prognostic factors for survival of neonates with CDH in this study were occurrence of respiratory distress later than 6 hours after birth, presence of the left diaphragmatic defect, no evidence of CHD, pH over 7.25 and pCO2 less than 60 mm. Hg at the first examination of blood gas, and no major complication of PPHN and pneumothorax. ", "th": "ความเป็นมา : ไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง โรคหนึ่งทางกุมารศัลยศาสตร์ เป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ในเด็กทารกที่มีอาการอย่างรวดเร็วภายหลังคลอด ถึงแม้ว่านโยบายการรักษา จะถูกเปลี่ยนเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้สรีรวิทยาคงที่แล้ว จึงนำไปผ่าตัด แต่ผลของการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจันก การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงภายหลังเกิดมาที่มีผลต่อ การทำนายการมีชีวิตรอด ในทารกที่เป็นไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด ที่รักษาในสถาบันของเราในช่วงระยะเวลา 5 ปี\nวัตถุและวิธีการ: เป็นการ ศึกษาย้อนหลังในทารกโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิดที่เข้ามารักษา ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง 2557 ข้อมูล ทางคลินิกถูกรวบรวมจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผล การรอดชีวิตของโรคไส้เลื่อนกะบังลมแต่กำเนิด ใช้ Chi-square test ในการ วิเคราะห์หาค่าทางสถิติ และp-value น้อยกว่า 0.05 แปลผลว่ามีนัยสำคัญ ทางสถิติ\nผล : ทารก 51 ราย (เพศชาย 30 ราย หญิง 21 ราย) ถูกนำเข้า มาศึกษาในครั้งนี้ ผู้ป่วย 8 ราย แสดงอาการของโรคภายหลัง 6 ชั่วโมง ที่เกิดมา มีอัตราการมีชีวิตรอดร้อยละ 100 ในขณะที่ผู้ป่วย มีอาการภายใน 6 ชั่วโมง แรก 43 ราย มีอัตราการมีชีวิตรอดเพียงร้อยละ 48.8 (p < 0.001) ผู้ป่วย 42 ราย มีรูโหว่ของกะบังลมด้านซ้าย มีอัตราการมีชีวิตรอดสูงกว่าผู้ป่วย 9 รายที่มี รูโหว่ของกะบังลมด้านขวา (71.4% VS 22.2%; p = 0.04) ผู้ป่วยไส้เลื่อน กะบังลมที่ไม่มีหัวใจพิการแต่กำเนิดมีโอกาสมีชีวิตรอดดีกว่าทารกที่มีความ พิการของหัวใจแต่กำเนิด ( 88.8% VS 39.3% ; p = 0.001) ในการตรวจ blood gas ครั้งแรกพบว่าจะมีตัวชี้วัดในการพยากรณ์โรคที่จะมีชีวิตรอด เมื่อค่า pH สูงกว่า 7.25 และpCO2 ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท (p < 0.001) ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะ การกลับไปมีความดันในปอดสูงของเด็กทารก และไม่มีอาการปอดแตกมีแนวโน้ม ที่มีอัตราการมีชีวิตรอดดีกว่าผู้ป่วยที่มีความดันในปอดสูงและอาการปอดแตก\nสรุป : ปัจจัยหลังคลอดที่พยากรณ์ถึงการมีชีวิตรอดในทารกที่เป็นโรคไส้เลื่อน กะบังลมแต่กำเนิดจากการศึกษาครั้งนี้คืออาการหายใจลำบากเกิดเมื่ออายุ มากกว่า 6 ชั่วโมงหลังเกิดมาการมีรูโหว่ของกะบังลมด้านซ้าย เด็กที่ไม่มีหัวใจ พิการแต่กำเนิด ค่า pH สูงกว่า 7.25 และpCO2 ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ในการตรวจ blood gas ครั้งแรก และทารกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ การกลับไปมีความดันในปอดสูงของเด็กทารกและปอดแตก " }
{ "en": "This research is a descriptive, cross-sectional study to determine health beliefs that affect rabies prevention behavior in epidemic areas. The sample was selected purposively and a number 300 people were recruited. The applied questionnaires of Health Belief affecting preventive behavior including perceived susceptibility and perceived severity were used to collect data. The findings found that 18 persons (6 percent) have been bitten by dogs and 282 persons (94 percent) have never been better. These people have good rabies prevention behavior 14.2 ± 3.04, Their perceived susceptibility (p < 0.01; r = .402) and perceived severity (p < 0.01; r = .158) were significantly ascociated with rabies prevention behavior. The finding health beliefs affect disease prevention behaviors in local outbreaks of rabies. This is a major issue that has caused people in the area to become aware in order to decrease rabies. ", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่งแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive studies) เพื่อศึกษา ความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่มีการระบาด มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อ ด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ของการเกิดโรค และการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค พบว่า ประชาชน ที่เคยถูกสุนัขกัด 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.0 และประชาชนที่ไม่เคยถูกสุนัขกัด 282 คน คิดเป็นร้อยละ 94.0 ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ระดับดี (14.2 ± 3.04 ) ประชาชนมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้า (p < 0.01; r = .402) และการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า (p < 0.01; r = .158) ที่มีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การที่พบความเชื่อด้านสุขภาพส่งผลต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคในพื้นที่การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประเด็น สำคัญที่ส่งผลทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักและสามารถทำให้ โรคพิษสุนัขบ้าลดลง " }
{ "en": "Background: Terminal illness is active, progressive and incurable that interfere daily living. After discharged from hospital, terminal ill patients always suffer from uncontrolled symptoms such as pain which effect on health care utilization and place of death. Palliative home care was launched to solve this problem. To evaluate the efficacy of palliative care service from the hospital to health care service , the contribution of this study was reported.\nObjectives: The aim of the study was to determine the effect of palliative home care in terminal ill patients.\nMethods: A retrospective cohort study was conducted from 399 medical records of decedents who registered in palliative home care service at Phrae hospital from October 2015 to March 2016. Data were analyzed with frequency, mean, standard deviation, independent t test, Chi square, Wilcoxon’s rank test and logistic regression analyses.\nResult: The results showed that 339 patients received palliative care at home. Most of them were elderly with cancer and 315 patients (88.8%) had advanced care planning. The 246 patients (72.6%) suffered with pain and 201 patients (59.3%) were prescribed strong opioids for pain management. When compare patients with strong opioids used at home and the patient with no opioids use, there were more home deaths (157 patients, 79.3% compare to 29 patients, 60.4%), and less hospital days (average 13.37 ± 14.65 days compare to 19.02 ± 18.64 days) in patients receiving strong opioids than those who did not. However, there were no differences of hospital admission and unplanned re-admission in 28 days in both groups. The study also showed palliative patients who receiving strong opioids for pain management at home were likely to die at home (RR = 1.96, 95% CI = 1.18 - 3.25).\nConclusions: Palliative home care in terminal ill patients with effective symptoms management especially adequate pain control resulted in more home death and less hospital days. ", "th": "ภูมิหลัง : การเจ็บป่วยระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มักจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลมักได้รับความทุกข์ ทรมานจากอาการรบกวนที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อาการปวด ซึ่งมีผลต่อ การใช้บริการทางการแพทย์และสถานที่เสียชีวิตของผู้ป่วย เพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว จึงเกิดระบบการดูแลแบบประคับประคองที่ให้การดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปถึงบ้านของผู้ป่วย นำมาสู่การศึกษา ผลของการดูแลดังกล่าวในครั้งนี้\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านจากโรงพยาบาลสู่เครือข่าย บริการวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ทบทวน จากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เสียชีวิตแล้ว ที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลแพร่และได้รับการดูแลแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนมีนาคม 2560 จำนวน 339 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้สถิติ chi square, independent t test, Wilcoxon่ s rank test และlogistic regression\nผล : ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน 339 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เป็นเพศชายและเพศหญิงสัดส่วน ใกล้เคียงกัน ผู้ป่วย 315 ราย (ร้อยละ 88.8) มีการวางแผนดูแลล่วงหน้าผู้ป่วย 246 ราย (ร้อยละ 72.6) มีอาการปวดูและผู้ป่วย 201 ราย (ร้อยละ 59.3) ได้รับการจัดการอาการปวดด้วยยา strong opioids เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วย ที่ได้รับยาบรรเทาปวด strong opioids ที่บ้าน และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ ยาดังกล่าว พบว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการอาการปวดด้วยยา strong opioids ที่บ้านมีอัตราการเสียชีวิตที่บ้านมากกว่า (157 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.3 เปรียบเทียบกับ 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.4 ตามลำดับ) และมีจำนวนวัน นอนโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาบรรเทาปวด strong opioids ที่บ้าน (เฉลี่ย 13.37 ± 14.65 วัน และ19.02 ± 18.64 วัน ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ โดยกลุ่มที่ได้รับยา strong opioids จัดการอาการปวดที่บ้าน มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตที่บ้าน (RR = 1.96, 95% CI = 1.18 - 3.25) แต่อัตรา เข้ารักษาในโรงพยาบาลและกลับมารักษาในโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วันใน โดยไม่ได้ว่างแผนในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน\nสรุป : การดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านที่มีการจัดการรบกวนอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจัดการอาการปวดอย่างเพียงพอมีแนวโน้ม ที่จะลดระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล และเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตที่บ้าน ให้ผู้ป่วยได้ " }
{ "en": "This study was research and development design aimed to improve and study the outcome of the triage system at the emergency department in Sawanpracharak Hospital between September and December 2017. Samples consisted of 1-39 staff including emergency physicians and registered nurses working at ER and 2-group of 196 patients and relatives. (divided into pre and post group attending the study, 98 for each). The research instrument was the outcome recording form, staff’ opinions scale and patients’ opinions scale developed by the researcher based on reviewed literature. Qualitative data were analyzed by content analysis and quantitative data were analyzed using descriptive statistics and the Mann-Whitney U-test. The results were classified into 2 parts; 1. According to HA’ guidance, the following have been done –triage nurses, clinical practice guideline for triage, place for triage, triage’s recording form and procedure to communicate with patients properly. 2. The outcome of using the triage system found that the accuracy of triage system before and after were 87.8% and 94.9% respectively. For the post-group, the average waiting time for triage (X = 0.21, SD = 0.52) lowered than the pre-group (X = 5.56, SD = 6.28), waiting time for physician (X = 24.37, SD = 31.96) lowered than the pre-group (X = 36.20, SD = 33.56), and length of stay in ER (X = 71.07, SD = 33.96) lowered than the pre-group (X = 84.44, SD = 35.80), and these differences were statistically significantly at p", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา เพื่อพัฒนาและศึกษา ผลลัพธ์ของระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์ ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระยะดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน กันยายน 2560 ถึงเดือนธันวาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน จำนวน 39 คน 2) ผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงาน อุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 196 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนการพัฒนาและกลุ่ม หลังการพัฒนากลุ่มละ 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์ของระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน แบบสอบถามีความคิดเห็นของพยาบาลต่อการพัฒนาระบบการคัดแยก ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และแบบสอบถามีความคิดเห็นของผู้มารับบริการ ต่อระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูล เชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแมนวิทนีย์ยูผลการศึกษาแบ่งผลการศึกษา เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ผลการพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ทฤษฎีระบบ และแนวคิดเรื่องกระบวนการดูแลผู้ป่วย ของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล มาพัฒนาระบบการคัดแยกตามองค์ประกอบ ดังนี้ พยาบาล คัดแยก แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการคัดแยก สถานที่ในการคัดแยก การบันทึกข้อมูลการคัดแยก และการสื่อสารกับผู้รับบริการ2) ผลลัพธ์ของ การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยต่อผู้ป่วย พบว่า หลังการพัฒนาความ ถูกต้องของการคัดแยกมากกว่าก่อนการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 94.9, 87.8 ตามลำดับ หลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยระยะเวลารอการคัดแยก (X = 0.21, SD = 0.52) ต่ำกว่าก่อนการพัฒนา (X = 5.56, SD = 6.28), ค่าเฉลี่ยระยะ เวลารอพบแพทย์ (X = 24.37, SD = 31.96) ต่ำกว่าก่อนการพัฒนา (X = 36.20, SD = 33.56), และค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่อยู่ในห้องอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน (X = 71.07, SD = 33.96) ต่ำกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนา (X = 84.44, SD = 35.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น ของเจ้าหน้าที่ต่อการพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน เท่ากับ 31.82 (SD = 2.80) จากคะแนนเต็มเท่ากับ 35 และค่าเฉลี่ยความคิดเห็น ของผู้มารับบริการต่อระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน เท่ากับ 45.09 (SD = 3.69) จากคะแนนเต็มเท่ากับ 50" }
{ "en": "This device was designed. The purpose is to help radiologic technologist to the x-ray patient positioning for the knee and hip. Patients cannot control the knee and hip in the desired position and plane, such as patients who need x-ray knee and hip after surgery or paralysis patients Material: Composed of wood, foot strap, protractor, and a device that fixes the angle to tilt the wood. Method: The device was used to control the position and plane of the patients. Data collection and analysis were performed. Results: after use the device, it is possible to decrease x-ray repeat rate from positioning. Conclusion: And data collection and analysis. As a result after use the device, the rate of repeated x-ray decreases from 24 percent to 8 percent and the risk of radiation exposure reduced. This device also enhances the efficiency of x-ray services as it saves time and resources.", "th": "การออกแบบอุปกรณ์ชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยนักรังสี การแพทย์ ในการจัดทำผู้ป่วยเพื่อเอกซเรย์หัวเข่าและข้อสะโพก ในกลุ่ม ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมเข่าและข้อสะโพกให้อยู่ในตำแหน่งและระนาบ ที่ต้องการได้อาทิ กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเอกซเรย์เข่าและข้อสะโพกภายหลัง การผ่าตัดทันที่กลุ่มผู้ป่วยอัมพาต วัสดุอุปกรณ๎ ประกอบด้วย แผ่นไม้ ขนาดต่าง ๆ สายรัดปลายเท้า ไม้โปรแทรกเตอร์ และอุปกรณ์ที่ช่วยยึดมุมใน การเอียงแผ่นไม้วิธีการ: ผู้ศึกษาได้นำอุปกรณ์นี้มาใช้เพื่อควบคุมตำแหน่ง และระนาบของขาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว และทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ผลทางสถิติ ผล : จากการนำอุปกรณ์ที่คิดค้นมาใช้จริงพบว่าสามารถลดการ เอกซเรย์ซ้ำจากสาเหตุการจัดทำได้ สรุป : จากเดิมมีอัตราการถ่ายเอกซเรย์ ซ้ำร้อยละ 24 ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 8 และยังเป็นการใช้อุปกรณ์ ทดแทนการให้คนช่วยจับ ลดความเสี่ยงที่จะได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการถ่ายภาพเอกซเรย์ เนื่องจากประหยัดเวลาและทรัพยากรที่ใช้อีกด้วย" }
{ "en": "The worldwide incidence of fragility fracture increased including Thailand. The incidence of hip fracture was associated with an increasing in disability, morbidity and mortality particularly within one year after fracture. Awareness and treating the causes of osteoporosis are the important management for reducing the fracture events in the future. ", "th": "ภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในปัจจุบันรวมทั้งในประเทศไทย อุบัติการณ์การเกิดกระดูกสะโพกหักใน ผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะทุพพลภาพ การเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการนอนติดเตียงและอัตราการเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในหนึ่ง ปีแรกหลังการเกิดกระดูกหัก การหาสาเหตุและรักษาปัจจัยเสี่ยงของภาวะ กระดูกพรุนที่สามารถแก้ไขได้เป็นปัจจัยสำคัญในการลดการเกิดโรคกระดูก พรุนและอัตราการเกิดกระดูกหักในอนาคต " }
{ "en": "Background: Only 16 percent of patients in the diabetic clinic of primary and holistic care service, Wiang pa pao hospital were able to control Hemoglobin A1c (HbA1c) level less than 8.0 percent due to decline in self-care behaviors. Educating primary caregivers using diabetes education program combination with regular care may help diabetic patients maintain their self-care behaviors and better blood sugar control. This study aimed to study the effectiveness of primary care giver education program combination with regular care for blood sugar control in type 2 diabetic patients. Method: Community intervention study was conducted in diabetic clinic, Wiang subdistrict of Wiangpapao Chiang Rai province. Sixty patients from 10 villages with 8.0% or more HbA1c level were randomly assigned into 2 groups by area. The experimental group (30 from 4 villages) received the regular care and combination with their primary caregivers received at one time during a day of caregiver education program. The self-record of patient self care behavior was sent back to researcher every 2 month for 3 times. The control group (30 from 6 villages) received regular care in diabetes clinic. Data were analyzed using t-test and multi-level regression in order to compare the difference of HbA1c at 6 month, and fasting blood sugar (FBS) at 4, 2 and 6 months between two groups. Results: The experimental group had a trend of lower FBS than the control group especially in the second month after intervention, but slightly increased in the fourth and sixth months. After adjusted the difference of medication, FBS were decreased 40.1 mg% (p <0.001) and HbA1c were decreased 1.2% (p <0.001) in experimental group compared with control group. Conclusion: The caregiver education program combination with regular care has resulted in lower levels of FBS and HbA1c among diabetic patients. Therefore, this education program should be provided for the primary caregiver of diabetes mellitus patients with poor glycemic control. In addition, because of increasing FBS after the second month, the periodically follow up was suggested. ", "th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ และองค์รวม โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า มีเพียงร้อยละ 16 ที่สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ได้ต่ำกว่าร้อยละ 8.0 เกิดจากพฤติกรรมการ ดูแลตนเองลดลง การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลหลักโดยใช้โปรแกรมการให้ความรู้ ร่วมกับการดูแลตามแนวทางปกติจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถกลับ มาคงพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้ แก่ผู้ดูแลหลักร่วมกับการดูแลตามแนวทางปกติเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Community Intervention ในคลินิกเบาหวาน ตำบลเวียง โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย จำนวน 60 รายจาก 10 หมู่บ้าน ที่มีค่า HbA1c ตั้งแต่ ร้อยละ 8.0 ขึ้นไป สุ่มผู้ป่วยเข้ากลุ่มศึกษาโดยใช้หมู่บ้านเป็นหน่วยในการสุ่ม กลุ่มทดลอง (30รายจาก 4 หมู่บ้าน) ได้รับบริการตามปกติร่วมกับอบรมดูแลหลักตามโปรแกรมให้ความรู้ 1 ครั้ง ใช้เวลา 1 วัน บันทึกและคืน ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยให้ผู้ร่วมศึกษาทุก 2 เดือน จำนวน 3 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุม (30รายจาก 6 หมู่บ้าน) ได้รับบริการในคลินิกเบาหวาน ตามปกติเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระดับค่าเฉลี่ย HbA1c ในเดือนที่ 6 และเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FBS) ในเดือนที่ 2, 4 และ6 ด้วยสถิติ T-test และ Multi-Level Regression สำหรับข้อมูลที่มีการวัดซ้ำในบุคคลคนเดียวกัน ผล : กลุ่มทดลองมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ FBSลดลงมากกว่ากลุ่ม ควบคุม โดยเฉพาะในเดือนที่ 2 หลังการทดลอง แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เล็กน้อยู่ในเดือนที่ 4 และเดือนที่ 6 ซึ่งหลังปรับความแตกต่างของชนิดยาที่ รับประทาน กลุ่มทดลองมีค่า FBSลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม 40.1 mg% (p < 0.001) และค่า HbA1cลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.2% (p < 0.001) สรุป : การให้โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลหลักร่วมกับการดูแลตามแนวทางปกติส่งผลให้ระดับ FBS และHbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานลดลง จึงควรให้โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ แต่เนื่องจากพบว่าค่า FBS มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลัง เดือนที่ 2 จึงแนะนำให้ติดตามผู้ดูแลหลักเป็นระยะเพื่อกระตุ้นและรับทราบ ปัญหาอุปสรรคในการดูแล " }
{ "en": "Background: The aim of this study was to evaluate the diagnosis, prognostic factors and outcomes of treatment of biliary atresiain infancy.\nMethod: Medical records of patients with biliary atresia who were treated between 2005 and 2015 at Queen Sirikit National Institute of Child Health were reviewed.\nResults: One hundred and twenty patients (57 males and 63 females) were treated for biliary atresia (BA) during the study period. Total bilirubin level ranged from 5.46 to 24.71 mg/dl. Ultrasonography was done and obtained positive findings for BA in 112 of 120 patients (93.3%). All of the patients were finally diagnosed by intraoperative cholangiography (IOC). They were categorized into BA type I, II and III in 3 (2.5%), 28 (23.3%) and 69 cases (74.2%), respectively. Twenty-four patients (20%) underwent only IOC and liver biopsy because progressive cirrhosis was obviously seen during the operation. Of the remaining 96 patients, Roux-en-Y hepatic portoenterostomy was performed in 90 cases (93.7%) with all types of BA and hepatic portocholecystostomy was performed in 6 cases (6.3%) with BA type II. Fifty-nine of the 96 patients (61.4%) was noted postoperatively reduced bilirubin level, and 39 cases (40.6%) had complete jaundice disappearance. Twenty six of the 39 cases (66.7%) developed recurrent jaundice after complete jaundice disappearance. The factors significantly influenced jaundice disappearance were age at operation approximately 60 days (RR = 1.154, 95% Cl = 1.084 - 2.113, p = 0.043), and diameter of bile ductules at the porta hepatis over than 50 microns (RR = 1.815, 95% Cl = 1.294 - 2.547, p = 0.001). Recurrent jaundice after complete jaundice disappearance had significant relationship with diameter of bile ductule at the porta hepatis less than 50 microns (RR = 1.650, 95% Cl = 1.294 - 2.547, p = 0.041) and recurrent ascending cholangitis (RR = 1.619, 95% Cl = 1.019 - 17.729, p = 0.041).\nConclusion: Investigation with ultrasonography obtained positive findings for BA about 93.3% in the present study. The jaundice clearance rate was about 40.6% and the jaundice recurrence rate was 66.7%. The prognostic factors of jaundice disappearance were age at operation less than 60 days and diameter of bile ductules at the porta hepatis over than 50 microns. The factors influenced occurring of recurrent jaundice including diameter of bile ductules less than 50 microns and repeated ascending cholangitis. ", "th": "ภูมิหลัง: เพื่อศึกษาแนวทางในการวินิจฉัยโรค ปัจจัยที่มีผลต่อ การรักษา และผลการรักษาในผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีตัน ในสถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี\nวิธีการ: ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กที่มาด้วย อาการตัวเหลืองจากการคั่งของน้ำดีและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคท่อน้ำดี ตัน ที่รักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2558\nผล: ผู้ป่วย 120 ราย (ชาย 57 ราย หญิง 63 ราย) ได้รับการรักษา ด้วยโรคท่อน้ำดีตันในระยะเวลาที่ทำการศึกษา ระดับของน้ำดีรวม (Total Bilirubin) อยู่ระหว่าง 5.46 ถึง 24.71 มิลลิกรัม/เดซิลิตร การตรวจด้วย อัลตราซาวน์ให้ผลบวก ในการวินิจฉัยท่อน้ำดีตัน 112 ใน 120 ราย (ร้อยละ 93.3) ผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย โดยการฉีดสีเข้าไปในทางเดิน ระหว่างผ่าตัด (Intraoperative Cholangiography-IOC) พบว่า เป็น ท่อน้ำดีตันชนิดที่ 1, 2 และ 3 คือ 3 (ร้อยละ 2.5) 28 (ร้อยละ 23.3) และ 69 ราย (ร้อยละ 74.2) ตามลำดับ ผู้ป่วย 24 ราย (ร้อยละ 20) ได้รับการทำ IOC และตัดชิ้นเนื้อของตับเพื่อส่งตรวจเท่านั้น เพราะพบภาวะตับแข็งอย่าง ชัดเจน แล้วในขณะผ่าตัด ผู้ป่วยที่เหลือ 96 ราย ได้รับการผ่าตัดรักษาด้วย Roux-en-Y Hepaticportoenterostomy 90 ราย (ร้อยละ 93.7) ที่มีท่อน้ำดี ตันทุกชนิด และรักษาโดยการผ่าตัด Hepatic Portocholecystostomy จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 6.3%) ที่มีท่อน้ำดีตันชนิดที่ 2 ผู้ป่วย 59 ใน 96 ราย (ร้อยละ 61.4) มีระดับของน้ำดีลดลงภายหลังผ่าตัด และ ในจำนวนนี้มี 39 ราย (ร้อยละ 40.6) หายเหลืองอย่างสิ้นเชิง ผู้ป่วย 26 ใน 39 ราย (ร้อยละ 66.7) กลับมามีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองใหม่ หลังจาก เคยหายเหลืองอย่างสิ้นเชิง ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการหายเหลืองคือ อายุ ที่ทำการผ่าตัดประมาณ 60 วัน (RR = 1.154, 95% Cl = 1.084 - 2.113, p = 0.043) และเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำดีที่ขั้วตับมากกว่า 50 ไมครอน (RR = 1.185, 95%, Cl = 1.294 - 2.547, p = 0.001) ไม่มีความสัมพันธ์ กันทางสถิติระหว่างการหายเหลืองกับชนิดของการผ่าตัด ระยะของการ เกิดพังผืดที่ตับ การเพิ่มขึ้นของท่อน้ำดีฝอย การใช้ยาสเตียรอยด์ และการ อักเสบของทางเดินน้ำดี การเกิดตัวเหลืองซ้ำภายหลังจากหายเหลืองอย่างิ้นเชิง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำดีที่ ขั้วตับ เล็กกว่า 50 ไมครอน (RR = 1.650, 95% Cl = 1.294 - 2.547, p = 0.041) และการเกิดการอักเสบซ้ำของทางเดินน้ำดี (RR = 1.619, 95% Cl = 1.019 - 17.729, p = 0.041)\nสรุป: ในการศึกษาครั้งนี้การตรวจด้วย อัลตราซาวนด์ให้ผลบวกในการวินิจฉัยท่อน้ำดีตันได้ประมาณร้อยละ 93.3 มีอัตราการหายเหลืองอยู่ที่ร้อยละ 40.6 และ อัตราการเกิดตัวเหลืองซ้ำ ร้อยละ 66.7 ปัจจัยที่มีผลต่อการหายเหลือง หลังการผ่าตัดแก้ไข ได้แก่ อายุ ที่ทำการผ่าตัดน้อยกว่า 60 วัน และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำดีที่ขั้ว ตับ มากกว่า 50 ไมครอน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดตัวเหลืองซ้ำ ได้แก่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำดีที่ขั้วตับ เล็กกว่า 50 ไมครอน และ การอักเสบของทางเดินน้ำดีที่เกิดขึ้นซ้ำหลายครั้ง " }
{ "en": "Hearing impairment in children across the world constitutes a particularly serious obstacle to their optimal development and education, including language acquisition. This study aims to determine cost effectiveness of the newborn hearing screening program in neonatal children who are at risk for hearing loss. The economic analysis used a decision tree approach to determine the cost-effectiveness of newborn hearing screening strategies revealed that a one-stage screening test could detect 2,242 hearing loss and two stage were 2,138 and no screening 1,500 cases respectively. The one stage cost was 2,317,544.68 baht, while the cost of two stage screening was 2,245,355.70 baht .The incremental cost per case detected for the one-stage screening vs. two-stage screening protocol is estimated to be 694.12 baht and no screening 3,123.38 baht respectively. Sensitivity analysis of variables for one-stage screening, the baseline prevalence of hearing impairment affected the results.This study found that the one stage screening method had the highest cost and highly effective to determine the high risk population of hearing loss ", "th": "การได้ยินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพูดูและพัฒนาการทาง ภาษา หากเด็กมีปัญหาสูญเสียการได้ยินตั้งแต่เด็กจะทำให้เกิดความพิการ ในด้านการสื่อความหมาย ผู้ศึกษามีความประสงค์ในการศึกษาต้นทุน ประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดที่ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน โดยศึกษาในมุมมองของผู้ให้บริการ สุขภาพ ประชากรที่ศึกษาคือทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสีย การได้ยินที่เข้ามารับบริการที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ขั้นตอน การศึกษาโดยใช้แผนภูมิการตัดสินใจ (Decision tree) และนำข้อมูลค่า ใช้จ่ายมาวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ ในแต่ละโปรแกรมการตรวจการได้ยิน ที่กำหนด ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจการได้ยินใน ทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 10,000 ราย พบว่าการตรวจด้วยวิธี one stage สามารถตรวจคัดกรองและพบว่ามีภาวะสูญเสียการได้ยิน ได้ 2,242 ราย และวิธี two stage สามารถตรวจคัดกรองและพบว่ามีภาวะ สูญเสียการได้ยิน 2,138 ราย และในกรณีที่ไม่ได้คัดกรองการได้ยินจะพบว่า มีภาวะสูญเสียการได้ยิน 1,500 ราย การวิเคราะห์ต้นทุนรวมการคัดกรอง ด้วยวิธี one stage มีจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,317,544.68 บาท ในขณะที่ต้นทุน รวมการคัดกรองด้วยวิธี two stage มีจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,245,355.70 บาท อัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อจำนวนที่คัดกรองโดยเมื่อเปรียบเทียบวิธี one stage กับ two stage คิดเป็นจำนวนเงิน 694.12 บาทต่อการคัดกรอง 1 ราย และอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อจำนวนที่คัดกรองโดยเมื่อเปรียบเทียบ วิธี one stage กับการไม่คัดกรองคิดเป็นจำนวนเงิน 3,123.38 บาทต่อการ คัดกอง 1 ราย การวิเคราะห์ความไวของตัวแปร สำหรับการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธี one stage พบว่าค่าความชุกของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารก แรกเกิดมีผลต่อต้นทุนประสิทธิผลของการคัดกรองด้วยวิธี one stage สรุป การศึกษานี้พบว่า การคัดกรองวิธี one stage ใช้ต้นทุนที่สูง แต่มีประสิทธิผล ที่สูงและคุ้มค่าในการจ่ายเพิ่มเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินใน ทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน " }
{ "en": "Objectives: To determine the incidence, consequences and risk factors of falling in stroke patients after discharge from Prasat Neurological Institute, and to also compare the fear of falling between the fall and non-fall stroke patients. This was a descriptive study and conducted inOutpatient Department of Prasat Neurological Institute. Stroke patients who were discharged from Prasat Neurological Institute between January 1, 2015 to June 30, 2015 were recruited. Methods: Patients’ general clinical information, physical examinations were assessed and collected. The patients were interviewed by questionnaire at 3 months post hospital discharge. Results: The study comprised 173 stroke patients, average age of 61.26 years; 115 males (66.5%), 58 females (33.5%). Of these 173 patients, there were 148 patients (85.5%) with cerebral infarction and 25 patients (14.5%) with intracerebral hemorrhage. Forty-two patients (24.28%) fell in this study. The most consequence injuries from falling were abrasion (38.10%) and contusion (35.71%). The most falls occurred indoors (77.78%), 34.72% of faller fell in the walkway where as 23.61% occurred in the bathroom and 8.33%, occurred beside the bed. The significant risk factors of falling in post stroke patients were muscle weakness and sensory impairment of upper and lower extremities of paretic side and spasticity of paretic leg (p < 0.05). Beside that there was similarity of average score of fear of falling (Thai FES-I) between fall and non-fall stroke patients. Conclusion: Incidence of falling in stroke patients after discharge was 24.28%, and the most place of falling was indoor. Although the majority consequences of falling were not violent but prevention measure is still important and should be incorporated in the pre-discharge program, example: strengthening exercise programs, weight bearing training for reduce spasticity, etc. ", "th": "วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการล้ม ผลที่เกิดขึ้นตามมา จากการล้ม และปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายหลัง จากได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพิจากโรงพยาบาล ตลอดจนเปรียบเทียบ ความกลัวต่อการล้มระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เคยล้มกับไม่ล้มในผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาทีอาคาร ผู้ป่วยนอก สถาบันประสาทวิทยา ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการฟื้นฟูและจำหน่ายจากสถาบันประสาทวิทยา ในช่วงระยะ เวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 - 30 มิถุนายน 2558 วิธีการ: สืบค้นประวัติ ผู้ป่วยที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าและติดตามอาการและสัมภาษณ์โดยใช้ แบบสอบถามเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 3 เดือน ผล : ผู้ป่วยที่ทำการศึกษาทั้งหมด 173 ราย อายุเฉลี่ย 61.26 ปี เพศ ชาย 115 ราย (ร้อยละ 66.5) หญิง 58 ราย (ร้อยละ 33.5) เป็นผู้ป่วยสมอง ขาดเลือด 148 คน (ร้อยละ 85.5) และเลือดออกในสมอง 25 ราย (ร้อยละ 14.5) จากผู้ป่วยประชากรกลุ่มศึกษาทั้งหมดมีคนที่หกล้ม 42 ราย (ร้อยละ 24.28) การได้รับบาดเจ็บจากการล้มที่พบมากที่สุดคือมีแผลถลอก (ร้อยละ 38.10) และฟกช้ำ (ร้อยละ 35.71) สถานที่ที่ล้มบ่อยที่สุดคือในบ้าน (ร้อยละ 77.78) และบริเวณที่ล้มที่พบบ่อยที่สุดคือทางเดินภายในบ้าน ห้องน้ำ และข้างเตียงนอน (ร้อยละ 34.72, 23.61 และ8.33 ตามลำดับ) ปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลต่อการล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติคือการอ่อนแรงของแขน ขา การรับรู้ความรู้สึกบกพร่องของแขน ขา และอาการเกร็ง (spasticity) ของขาด้านอัมพาต (p < 0.05) และพบว่า ผู้ป่วยที่เคยล้มและไม่ล้มมีคะแนนความกลัวต่อการล้มที่ไม่แตกต่างกัน สรุป : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอุบัติการณ์การหกล้มหลังจากจำหน่ายจาก โรงพยาบาล ร้อยละ 24.28 แสดงว่าอุบัติการณ์การหกล้มของผู้ป่วยภายหลังการ จำหน่ายจากโรงพยาบาลได้เพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าผลจากการล้มไม่ทำให้ผู้ป่วย บาดเจ็บมากนัก แต่ควรจะหาแนวทางป้องกันการล้มจากปัจจัยเสี่ยงที่ค้นพบ เช่น การให้โปรแกรมการทำกายภาพบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้าม เนื้ออย่างต่อเนื่องที่บ้าน การฝึกการลงน้ำหนักเพื่อลดอาการเกร็ง เป็นต้น " }
{ "en": "The objectives was to determine quality of life among lung cancer patients, Udon Thani Cancer Hospital. The sample were 102 caregivers. The research instrument was short form questionnaire for quality of Life (WHOQOL-THAI). The data were analyzed using descriptive statistics. The finding revealed that the majority of lung cancer patients was male (67.65%), mean age of 60 years old, farmers (61.76%), education at the primary level (68.63%), and married (77.45%). Most of lung cancer patients had average income 83,873 baht per year. Most of them (35.29%) were 1) HT 2) DM & HT and 3) DM. Most were treated by Chemotherapy (46.08%). Lung cancer-specific symptoms from treatment were 16 symptoms, everyone have 2 or more symptoms. Most of symptoms were 1) Fatigue, 2) Anorexia, and 3) Myalgia/ Arthralgia. The satisfaction of with their health was at moderated level. Quality of life according to the patient’s perceived at high level. The overall quality of life at high level included 4 aspects: 1) health at moderated level, 2) mind at high level, 3) social relationships at moderated level, and 4) environment at high level. ", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งปอด ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งปอด 102 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัย โลกชุดย่อ (WHOQOL-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 67.65) อายุเฉลี่ย 60 ปี อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 61.76) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 68.63) สถานภาพสมรสู่ค (ร้อยละ 77.45) รายได้เฉลี่ย 83,873 บาท ต่อปี มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 35.29) พบมาก 3 อันดับแรก คือ 1) ความ ดันโลหิตสูง 2) เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และ3) เบาหวานและโรคข้อ เข่าเสื่อม รักษาด้วยเคมีบำบัด (ร้อยละ 46.08) อาการไม่พึงประสงค์ภาย หลังการรักษาพบ 16 อาการผู้ป่วยทุกคนมีอาการตั้งแต่ 2 อาการถึง 8 อาการส่วนมาก ได้แก่ (1) ความเมื่อยล้า (2) อาการเบื่ออาหาร และ3) ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ (3) อาการปวดกระดูก/กล้ามเนื้อ ผู้ป่วยมะเร็งปอด พึงพอใจต่อสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตตามการรับรู้ ของผู้ป่วยมะเร็งปอดอยู่ในระดับดี คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี จำแนกเป็นด้าน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพกาย อยู่ในระดับ ปานกลาง 2) คุณภาพด้านจิตใจอยู่ในระดับดี 3) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง และ4) ด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับดี " }
{ "en": "The purpose of this quasi experimental research was to determine the effectiveness of group cognitive behavioral therapy on amphetamine users’ attitude in Thanyarak Meahongson Hospital’s Therapeutic Community. The sample consisted of 20 male amphetamine users who attended Thanyarak Meahongson Hospital’s Therapeutic Community. They were paired into 10 pairs by the same range of amphetamine attitude test. Each member was randomly assigned into experimental and control group, 10 in each group. The experimental group received group cognitive behavioral therapy intervention program developed by the researcher consisting 5 sessions 2 hours each. The control group received regular caring program. The result of this study can be summarized as follows: The amphetamine users who participated group cognitive behavioral therapy had a significant higher (better) level of attitude than the control group (p ≤ .05). They also had a significantly higher level of attitude than before the participation (p ≤ .05). Qualitative analysis showed that the amphetamine users who received group cognitive behavioral therapy had experiences, feelings and thoughts influenced by group counseling process. These outcomes were reflected by living together atmosphere, the relationship between the participants and the researcher and the answer to question after session. In addition, the amphetamine users who joined the group cognitive behavioral therapy also realized that their attitude toward amphetamine was changed to be more negative. ", "th": "การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกลุ่ม การให้การปรึกษาตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ มีต่อทัศนคติต่อยาบ้าของสมาชิกชุมชนบำบัด โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างคือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดยาบ้า ในหอผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาล ธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน (รพ.ธมส.) ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการศึกษา คำนวณ โดยใช้โปรแกรม n4studies ได้ขนาดตัวอย่างสำหรับงานศึกษาจำนวน 20 ราย แล้วทำแบบวัดทัศนคติต่อยาบ้า (Pre-test) จากนั้นนำคะแนนจาก แบบวัดมาเรียงลำดับให้แต่ละคู่มีคะแนนเท่า ๆ กัน จับฉลากโดยคัดเลือก เข้ากลุ่มทดลอง 10 ราย และกลุ่มควบคุม 10 ราย กลุ่มทดลองได้เข้าร่วม กิจกรรมกลุ่มจำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง กลุ่มควบคุม เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนบำบัดตามปกติ ผลการศึกษาพบว่า 1. หลังการ ทดลองสมาชิกชุมชนบำบัด กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตามแนวคิด การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy : CBT) มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติต่อยาบ้าทางลบ (เห็นว่ายาบ้าเป็น สิ่งที่ไม่ดี) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 112.5 ± 8.22 VS 100.9 ± 9.98; p = 0.017) 2. หลังการทดลอง สมาชิกชุมชนบำบัดกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตามแนวคิดการปรับ เปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติทางลบ ต่อยาบ้า (เห็นว่ายาบ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี) มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 95.8 ± 6.88, VS 112.5±8.22; p = 0.005) 3. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แสดงว่า สมาชิกชุมชนบำบัด กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและ พฤติกรรม (CBT) ได้รับประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนแปลงไป ตามกระบวนการของกลุ่ม สะท้อนได้จากบรรยากาศของการอยู่ร่วมกัน ภายในกลุ่ม สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกกับผู้ศึกษา และการตอบข้อคำถาม รายบุคคล นอกจากนี้สมาชิกยังตระหนักได้ว่าตนเองมีทัศนคติต่อยาบ้า เปลี่ยนไปในทางลบมากขึ้น" }
{ "en": "Coagulopathy is a significant factor for uncontrolled hemorrhage and leads to increase mortality rate among traumatic patients. Even though there are many influencing factors of coagulopathy, it is still unclear what are the predictive factors of coagulopathy in traumatic patients with shock. Thus, this study was focused to explore the predictors of coagulopathy in traumatic patients with shock. The retrospective study design and second data analysis from the patient’s health records were employed. A total of 326 eligible traumatic patients who admitted at Suratthani hospital during January 1, 2016 to December 31, 2016 were recruited. The severity of tissue injury (injury severity score), severity of shock (shock index), volume of fluid resuscitation, and duration of access to appropriate health care services were evaluated as a set of predictors of coagulopathy. Data were analysed using univariate and multivariate approaches. Univariate analyses consisted of odds ratio (OR), 95% confidential interval (95%CI), Chi-square, and Fisher exact test, whereas the binary logistic regression analysis for the multivariate analysis. Most of the patients in this study were men 75.5% (n = 246), age between 15 - 82 years, an average age of 34.84 (15.14) years, no comorbidity 95.7% (n = 312). All of the patients had no history of using drugs or coagulopathy medication, and 99.7% of them (n = 325) were referred from a primary healthcare service. Coagulopathy rate was 43.7% (n = 144). In the univariate test, three variables were significantly associated with coagulopathy: 1) severity of tissue injury (OR 2.11; 95%CI1.22 - 3.66, p = 0.007); 2) severity of shock at the first healthcare service (OR 1.77; 95%CI 1.00 - 3.13, p=0.049) and at the emergency department (OR 4.33; 95%CI 2.32 - 8.09, p = 0.000); and 3) volume of fluid resuscitation (OR 3.48; 95%CI1.90 - 6.38, p= 0.000). The multivariate model revealed the final predictive model of three significant variables with an account of 74.2% to predict coagulopathy and 26.2% of variance explained (Cox & Snell R2 = 0.262). ", "th": "ความผิดปกติการแข็งตัวของเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด ภาวะไม่สามารถควบคุมปริมาณการเสียเลือด ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตใน ผู้ป่วยบาดเจ็บ ปัจจัยที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดมีหลายปัจจัย แต่ผล การศึกษาที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนว่าปัจจัยใดมีอำนาจทำนายการเกิด ความผิดปกติการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีภาวะช็อก ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาปัจจัยทำนาย ความผิดปกติการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีภาวะช็อก การศึกษานี้ เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยศึกษาข้อมูลจากบันทึกทางสุขภาพของผู้ป่วย บาดเจ็บที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2559 กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ คัดเข้าจำนวนทั้งสิ้น 326 ราย ปัจจัยทำนายความผิดปกติการแข็งตัวของ เลือดประกอบด้วยระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ (คะแนน ความรุนแรงของการบาดเจ็บ) ระดับความรุนแรงของช็อก (ดัชนีภาวะช็อก) ปริมาณการทดแทนสารน้ำ และระยะเวลาของการเข้าถึงโรงพยาบาลที่มี ความพร้อมในการดูแลผู้บาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์โมเดล ปัจจัยเดี่ยวและโมเดลพหุปัจจัย โดยโมเดลปัจจัยเดี่ยวใช้ odds ratio, 95% confidential interval, chi-square, และ fisher exact test และโมเดล พหุปัจจัยใช้สถิติ binary logistic regression จากการศึกษาพบว่าผู้บาดเจ็บ ที่มีภาวะช็อกเป็นเพศชายร้อยละ 75.5 อายุเฉลี่ย 34.84 ปี ร้อยละ 95.7 ไม่มีโรคประจำตัว ผู้บาดเจ็บทุกรายไม่มีประวัติการใช้ยาหรือสารที่มีผลต่อ การแข็งตัวของเลือด ร้อยละ 99.7 ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างพบความผิดปกติการแข็งตัวของเลือดร้อยละ 43.7 จากการ วิเคราะห์ปัจจัยเดี่ยวที่พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลทำนายความผิดปกติการแข็งตัว ของเลือดมี 3 ตัวแปรได้แก่ ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ (OR 2.11; 95%CI 1.22 - 3.66, p = 0.007) ระดับความรุนแรงของช็อกทั้ง สถานพยาบาลแรก (OR 1.77; 95%CI 1.00 - 3.13, p = 0.049) และห้อง อุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (OR 4.33; 95%CI 2.32 - 8.09, p = 0.000) และปริมาณการทดแทนสารน้ำ (OR 3.48; 95%CI1.90 - 6.38, p = 0.000) โมเดลพหุปัจจัยพบว่ามีอิทธิพลทำนายความผิดปกติการแข็งตัว ของเลือดได้ถูกต้องร้อยละ 74.2 (p = 0.000) และสามารถอธิบายความ แปรปรวนของการเกิดความผิดปกติการแข็งตัวของเลือดได้ร้อยละ 26.2 (Cox & Snell R2 = 0.262) " }
{ "en": "This study aimed to identify the predictive factors for self-care behavior of type 2 diabetic mellitus patients. A total of 124 diabetic patients in Phatthana Nikhom District, Lop Buri Province were recruited into this cross-sectional survey research. Demographic data, perceived health level, social support and self-care behavior of type 2 diabetic mellitus patients were interviewed and recorded. The studied variables were analyzed with computer program using Stepwise Multiple Regression Analysis method. Of all factors, only 4 factors including social support, self-care, perceived severity, and perceived benefits and barriers were considered as significant for self-care behavior (R2 = 60.8, p-value < 0.01). ", "th": "การศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค เบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ แบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ใน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี จำนวน 124 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ สุขภาพ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นำมาวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็น ขั้นตอน พบว่า มี 4 ปัจจัย คือการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของโรค และ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการดูแลตนเอง สามารถทำนายอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 60.8 โดยมีความสำคัญตามลำดับและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 " }
{ "en": "This study aims to assess deferiprone (GPO-L-ONE® ) outcomes in thalassemia children patients who iron overload. A retrospective-descriptive study was conducted in thalassemia children patients at Queen Sirikit National Institute of Child Health, Bangkok, Thailand between 2011 and 2016. The patients with serum ferritin level over 1,000 µg/L received deferiprone (GPO-L-ONE® ) chelation. Serum ferritin levels was measured every six months, and follow up period eighteen to thirty-six months, Laboratories and clinical safety monitoring were performed. Serum ferritin reduction was analyzed with repeated measures ANOVA. There were forty-five thalassemia children patients, most age between 6 - 10 years and followed up to eighteen months. Serum ferritin decreased from 2,362 (1,407) to 1,564 (830) µg/L (p < 0.05). Twenty-eight patients was followed up thirty-six month. The serum ferritin decreased from 2,526 (1,578) to 1,923 (1,059) µg/L (p < 0.05). The most common side effect was arthralgia, increasing appetite and gastrointestinal discomfort. Deferiprone (GPO-L-ONE® ) effected oral iron-chelating agent in thalassemia children patients who iron overload. Safety monitoring is necessary. ", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยา deferiprone (GPO-L-ONE® ) ในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะ ธาตุเหล็กเกิน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลจาก เวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มารับการรักษาที่สถาบันสุขภาพ เด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2559 ที่ได้รับการรักษา ด้วยยาขับเหล็ก deferiprone (GPO-L-ONE® ) และมีระดับ ferritin ในซีรั่มเกิน 1,000 ไมโครกรัม/ลิตร ทำการตรวจวัดระดับ ferritin ในซีรั่ม ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 18 เดือน และ36 เดือน โดยใช้การวิเคราะห์แบบ repeated measurement ANOVA และเฝ้าติดตามความปลอดภัยระหว่าง ใช้ยา ผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่นำมาศึกษาอายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 6 - 10 ปี เมื่อมีการติดตามต่อเนื่อง 18 เดือน ในผู้ป่วย 45 ราย พบว่าระดับ ferritin ในซีรั่ม ลดลงจาก 2,362 (1,407) เหลือ 1,564 (830) ไมโครกรัม/ลิตร และ เมื่อติดตามต่อเนื่อง 36 เดือน ในผู้ป่วย 28 ราย พบว่าระดับ ferritin ในซีรั่ม ลดลงจาก 2,526 (1,578) เหลือ 1,923 (1,059) ไมโครกรัม/ลิตร ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดข้อ ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นและปวดท้อง สรุปได้ว่ายา deferiprone (GPO-L-ONE® ) มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะธาตุเหล็กเกินในผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย อีกทั้งจำเป็นต้องเฝ้าติดตามผลข้างเคียงและความปลอดภัย ในการใช้ยาอย่างใกล้ชิด" }
{ "en": "This qualitative study aims to describe the spiritual perception in males with amphetamine dependence. There were 30 participants who were patients being treated for amphetamine dependence. Data were collected by using 4 focus groups and selected 6 key informants to in-depth interviews. Data were analyzed by content analysis. Three main findings were as follows: 1) the meaning of the spirit: being a will to live, establishing hope and self-confidence, and being awareness 2) the importance of the spirit: want to abstinent drugs, and want to be good guy and change to better life, and 3) Sources of spiritual strengthening: oneself, close person, and the healthcare providers. The findings from this study indicated that healthcare providers should implement strengthening belief in spirit and develop spiritual strengthening practice program for people with amphetamine dependence. The program should provide activities which promote inspiration, hope and self-confidence, and mindfulness in order to prevent repeated amphetamine use. ", "th": "การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้จิตวิญญาณ ของผู้ติดยาบ้าชาย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ติดยาบ้าชายที่เข้ารับการบำบัด จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม 4 กลุ่ม แล้วคัดเลือกผู้ให้ ข้อมูลหลักจำนวน 6 ราย มาทำการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา มีข้อค้นพบจากงานวิจัย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ความ หมายของจิตวิญญาณ ประกอบด้วย เป็นพลังชีวิต เป็นการสร้างความหวัง และความเชื่อมั่นในตนเอง และเป็นความมีสติรู้ตัว 2) ความสำคัญของ จิตวิญญาณ ประกอบด้วย ทำให้อยากหยุดเสพยา ทำให้อยากเป็นคนดี และอยากเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และ 3) แหล่งของความเข้มแข็งทาง จิตวิญญาณ ประกอบด้วย จากตนเอง คนใกล้ชิด และผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ผู้ให้บริการด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญ กับการเสริมสร้างความเชื่อในจิตวิญญาณ และพัฒนาโปรแกรมสร้างความ เข้มแข็งทางจิตวิญญาณสำหรับผู้เสพยาบ้าชาย โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริม แรงบันดาลใจ ความหวังและความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนาความมีสติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการหวนกลับไปใช้ยาบ้าอีก " }
{ "en": "Functional Dyspepsia are not cleary understanding pathophysiology, hence eosinophil and it’s degradation are known accommodated inflammatory response but no known their amount presented in tissue involved in which conditions. Total 47 patients upon Rome III criteria with alarm symptoms according to Thai guidelines (GAT; GastroIntestinal Association Thailand) who underwent gastroenteroscope were recruited and excluded any ulcer, Gastritis were biopsies in Update Sydney System and determined CLO and H&E stain for eosinophil amount in mucosa. Demographic data were collected and analized by Multivariated Gaussian regression method and adjusted variation of age, sex, CBC, peripheral eosinophil count and history of NSAIDs use within 3 months before.The result show corpus eosinophil in H.pylori positive is higher than in groups of H. pylori negative 0.46/ hpf (at 95% CI) with the different between -3.06 to 3.99 /hpf without any significant value (p=0.791), antrum eosinophil in H.pylori positive higher than negative group 0.76/hpf (95% CI) at -3.70 to 5.23 /hpf with no signification (p = 0.731) , by means gastric mucosal eosinophil count are not different in corpus and antrum of Functional Dyspeptic patients whether H.pylori are present or not and eosinophil count and are not more than 25/hpf ", "th": "โรคปวดท้องกระเพาะชนิดไม่มีแผล Non ulcer dyspepsia/ Functional dyspepsia ยังไม่เป็นที่รู้ชัดว่ามีพยาธิกำเนิดใดบ้าง และยัง ต้องแยกโรคทางเดินอาหารอื่นที่มีอาการคล้ายกัน, Eosinophil เป็นเม็ด เลือดขาวสำคัญที่ให้สารตัวกลางต่อการอักเสบ ผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษา ปริมาณของ Eosinophil ในผิวเยื่อบุกระเพาะอาหารส่วน antrum และ corpus เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ตรวจพบและไม่พบ H. pylori เพื่อหา ความสัมพันธ์ของ Eosinophil กับการติดเชื้อดังกล่าว โดยดำเนินการใน รูป Etiologic research แบบ cause to effect เก็บข้อมูลในผู้ป่วยที่มา โรงพยาบาลด้วยกลุ่มอาการปวดท้องตาม Rome III criteria เมื่อมีข้อบ่งชี้ จะได้รับการส่องตรวจกระเพาะอาหาร ไม่พบแผลหรือการอักเสบใด จะตัด ชิ้นเนื้อบริเวณ antrum และcorpus ตาม Updated Sydney่ s system เพื่อตรวจ H.pylori วิธี Rapid urease test และส่งย้อม H&E นับจำนวน Eosinophil ใน mucosa และเก็บข้อมูลพื้นฐานอื่น ผลการศึกษาภายหลัง การใช้ multivariable Gaussian regression และปรับความแตกต่างของ เพศ อายุ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง จำนวนรวมเม็ดเลือดขาว จำนวน เม็ดเลือด Eosinophil ในหลอดเลือดส่วนปลาย และการใช้ NSAIDs แล้ว ปริมาณ Eosinophil บริเวณ antrum กลุ่มที่ตรวจพบ H. pylori มีระดับ eosinophil สูงกว่ากลุ่มที่ตรวจไม่พบ H. pylori อยู่ประมาณ 0.76/hpf แต่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญ (p = 0.731) โดยเชื่อมั่นร้อยละ 95 ว่าความ แตกต่างนี้อยู่ระหว่าง -3.70 ถึง 5.23/hpf และปริมาณ eosinophil บริเวณ corpus ของกลุ่มที่ตรวจพบ H. pylori สูงกว่ากลุ่มที่ไม่พบ H. pylori ประมาณ 0.46/hpf โดยเชื่อมั่นร้อยละ 95 ว่าความแตกต่างนี้อยู่ระหว่าง -3.06 ถึง 3.99/hpf โดยที่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญเช่นกัน (p = 0.791) สรุปได้ว่า ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil ที่ตรวจพบบริเวณเยื่อบุกระเพาะ อาหารส่วน corpus และantrum ไม่แตกต่างกัน และไม่เกี่ยวกับการตรวจพบ H.pylori หรือไม่ โดยรวมมีค่าไม่เกิน 25/hpf" }