content
stringlengths
2
11.3k
url
stringlengths
26
27
title
stringlengths
3
125
เมื่อประมาณคริสตทศวรรษที่ 1990 นักชีววิทยาได้ค้นพบแบคทีเรียชนิดใหม่ที่สามารถออกซิไดส์แอมโมเนียให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนได้ภายใต้สภาวะที่ไม่มีอ๊อกซิเจน (anaerobic condition) ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาสตร์ เพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครคิดว่าปฏิกิริยานี้จะเกิดในสิ่งมีชีวิตได้ แต่สำหรับคนธรรมดาฟังดูก็ไม่น่าตื่นเต้นเท่าไร ใช่มั้ยครับ? ถ้าอย่างนั้นผมพูดให้มันตื่นเต้นหน่อยแล้วกัน "รู้มั้ย...มีแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนฉี่ (ในฉี่มีแอมโมเนีย) ให้กลายเป็นไนโตรเจนและเชื้อเพลิงที่ใช้ขับเคลื่อนจรวดได้!!" แบคทีเรียนั้นมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า anammox ตามชื่อปฏิกิริยา anammox (anaerobic ammonium oxidation) ที่เกิดขึ้นในตัวมัน และสารเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการก็คือ ไฮดราซีน (hydrazine) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ NASA ใช้ในการขับเคลื่อนจรวดขึ้นไปบนอวกาศ (อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ anammox ได้จากวิชาการ.คอม) เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัย Mike Jetten แห่ง Radboud University Nijmegen ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รายงานว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการอธิบายกลไกการทำงานของปฏิริยา anammox ในแบคทีเรียได้ และตีพิมพ์ลงเป็นจดหมายในวารสาร Nature เป็นที่น่าเสียดายว่าผลในตอนนี้ยังไม่เพียงพอที่จะเร่งปฏิกิริยาจนสามารถผลิตจรวดพลังงานฉี่ได้ แต่นี่ก็เป็นขั้นเริ่มต้นการพัฒนาพลังงานทางเลือกอีกทาง ปัจจุบัน แบคทีเรีย anammox ก็ถูกใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียหลายแแห่งแล้ว ข้อได้เปรียบสุดยอดก็คือมันสามารถกำจัดแอมโมเนียในน้ำได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยการปั๊มอ๊อกซิเจนเข้าไปตลอดเวลา ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/2082
ฉี่...พลังงานทางเลือก?
ผลการประกาศรางวัลโนเบลรางวัลแรกของปี 2011 ออกมาแล้วครับ สาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ปี 2011 (Physiology or Medicine) นี้มีผู้ได้รับรางวัลร่วมกัน 3 ท่าน คือ Bruce Beutler แห่ง Scripps Research Institute ในรัฐแคลิฟอร์เนีย, Jules Hoffmann แห่ง National Center for Scientific Research ของประเทศฝรั่งเศส, และ Ralph Steinman แห่ง Rockefeller University ในนิวยอร์ค ทั้งสามท่านนี้สร้างผลงานสำคัญด้านการศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยา Bruce Beutler และ Jules Hoffmann คือผู้ที่บุกเบิกค้นคว้ากลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันติดตัว (innate immunity) ส่วน Ralph Steinman คือผู้ที่ศึกษาการทำงานของ dendritic cell ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแบบที่ปรับตัวรับมาภายหลัง (adaptive immunity) ที่มา - Scientific American -----อัพเดตเรื่องราวเพิ่มเติม เงินรางวัล 10 ล้านจะถูกแบ่งครึ่งเป็นสองส่วนครับ ส่วนแรกเป็นของ Bruce Beutler และ Jules Hoffmann และอีกครึ่ง Ralph Steinman รับไปคนเดียวเต็มๆ แต่คนที่โชคร้ายที่สุดในสามคนนี้ คือ Ralph Steinman เพราะเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมานี้เอง ก่อนหน้าที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศผลเพียง 3 วัน ตามกฏแล้ว รางวัลโนเบลจะมอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าคณะกรรมการฯ จะถอนชื่อ Ralph Steinman ออกก็สามารถทำได้ครับ แต่ว่ากรณีนี้คณะกรรมการใจดี ยืนคำตัดสินตามเดิม เนื่องจากถือว่าคณะกรรมการฯ เองก็ไม่ทราบมาก่อนว่า Ralph Steinman เสียชีวิตแล้ว นี่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของรางวัลโนเบลเลย (ก่อนหน้านี้มีแต่การเสียชีวิตในระหว่างวันที่ประกาศผลถึงวันขึ้นรับรางวัล ซึ่งถ้าเป็นกรณีอย่างนั้นก็ยังถือว่ามีสิทธิ์ในรางวัลอยู่) ที่มา - Ars Technica, Telegraph, Nobel Prize Press Release
https://jusci.net/node/2083
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ปี 2011
เรื่องแรกคือเราอัพเดตธีมไม่ให้พังเวลามีคนโพสยาวๆ แล้วครับ ไม่ต้องมาซ่อมทีละโพสอีกต่อไป ถ้าใครเจออีกช่วยแจ้งด้วย เรื่องที่สองคือมีปุ่ม +1 แล้่ว กำลังจะเอาปุ่ม Facebook Share ออกต่อไป ‹ มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคมที่แท้จริง เราสามารถปลูกฝังวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปพร้อมกันได้หรือไม่? ›
https://jusci.net/node/2084
อัพเดตเล็กๆ น้อยๆ ใน ๋Jusci
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2011 มีผู้ได้รับร่วมกัน 3 ท่าน คือ Saul Perlmutter แห่ง Lawrence Berkeley National Lab, Brian Schmidt แห่ง Australian National Lab, และ Adam Reiss แห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins เงินรางวัลครึ่งหนึ่งตกเป็นของ Saul Perlmutter ส่วนอีกครั้งก็จะแบ่งกันระหว่าง Brian Schmidt และ, Adam Reiss งานวิจัยเกี่ยวกับ supernova ประเภท 1a ของทั้งสามท่านนี้ทำให้ supernova ที่อยู่ห่างจากเรามากกว่าเคลื่อนที่เร็วกว่า supernova อันที่อยู่ใกล้กว่า ซึ่งนั่นก็แปลว่าเอกภพกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร่ง ไม่ใช่ค่อยๆ ขยายตัวช้าลงอย่างที่เคยคิดกันก่อนหน้านั้น นี่เองเป็นเหตุผลว่าทำไมนักฟิสิกส์ถึงต้องใส่พลังงานมืดเข้าไปเป็นองค์ประกอบของเอกภพด้วย เพราะถ้าไม่มีพลังงานลึกลับคอยช่วยผลัก แรงโน้มถ่วงก็ควรจะดึงให้เอกภพขยายตัวช้าลงเรื่อยๆ ที่มา - Scientific American, BBC News, New York Times
https://jusci.net/node/2085
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2011
รางวัลโนเบลสาขาเคมีปี 2011 นี้มีผู้ได้รับเพียงคนเดียว คือ Daniel Shechtman แห่ง Israel Institute of Technology ผลงานที่ทำให้ Daniel Shechtman คว้ารางวัลโนเบลคือการค้นพบ "Quasicrystal" ในปี 1984 เมื่อทีมวิจัยของเขาทำให้โลหะหลอมเหลวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ก็พบว่าโครงสร้างระดับอะตอมที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นระเบียบเหมือนผลึก (crystal) แต่ต่างจากผลึกทั่วไปที่โครงสร้างนั้นไม่ปรากฏลักษณะที่ซ้ำต่อกันเป็นคาบๆ เลย และนั่นคือครั้งแรกที่มีรายงานการศึกษา quasicrystal อย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีผู้ได้คนเดียว เงินรางวัล 10 ล้านโครนสวีเดนก็ตกเป็นของ Daniel Shechtman เต็มๆ ที่มา - BBC News และเนื่องในโอกาสนี้ผมก็ขอเพิ่ม Quasicrystal เข้าเป็น tag ใน Jusci เลย คาดว่าต่อไปเราคงได้เห็นข่าวของมันมากขึ้น (แม้ว่าผมจะยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรก็ตาม)
https://jusci.net/node/2086
รางวัลโนเบลสาขาเคมีปี 2011
วันนี้คงไม่มีข่าวไหนใหญ่ไปกว่าการเสียชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ อดีตซีอีโอคนดังของ Apple อีกแล้ว เขาเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 56 ปีจากโรคมะเร็งตับอ่อน (pancreatic cancer) ที่เขาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี สตีฟ จ๊อบส์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนในปี 2004 ในตอนนั้นแพทย์วินิจฉัยว่าเขาเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิด islet cell neuroendocrine tumor ซึ่งหายากมากๆ (คิดเป็นประมาณ 5% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนทั้งหมด) และมีโอกาสหายได้หากได้รับการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งก็กลับมาคุกคามสตีฟ จ็อบส์อีกครั้ง แม้ว่าจะผ่าตัดเนื้องอกออกไปแล้ว ซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าไร เพราะมีโอกาสมากถึง 85% ที่ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนจะกลับมาเป็นอีกหลังการผ่าตัด และส่วนใหญ่จะมีชีวิตได้ไม่เกิน 5 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรก โดยรวม หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนแล้ว ผู้ป่วย 75% จะตายภายในหนึ่งปี และ 94% ตายภายในห้าปี แต่มะเร็งแบบที่สตีฟ จ๊อบส์เป็นนั้นรุนแรงน้อยกว่าพอสมควร มีแค่ 58% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ตายภายใน 5 ปีหลังการวินิจฉัย ทำไมมะเร็งตับอ่อนถึงได้ร้ายแรงนัก? สาเหตุที่ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมีอัตราการตายสูงเหลือเกินนั้นมาจากลักษณะอาการของมันซึ่งมักจะแฝงตัวอยู่เงียบๆ ส่วนใหญ่กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวและมาตรวจ มะเร็งก็ลุกลามจนถึงระยะ metastasis แล้ว (ระยะที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ) มีเพียง 8% เท่านั้นที่โชคดีเจอเนื้องอกก่อนที่มันจะลุกลามเป็นมะเร็ง แม้ว่ามะเร็งตับอ่อนจะเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตชาวอเมริกันมากเป็นอันดับสี่ แต่ว่าการฆ่าของมันเงียบกริบมาก อาการสำคัญที่จะทำให้แพทย์สงสัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อน คือ ดีซ่าน เนื่องจากเนื้อมะเร็งไปกีดขวางท่อน้ำดี (common bile duct) หรือไปกินเนื้อตับ (liver) ทำให้ร่างกายสะสม bilirubin มากจนผิวหนังกลายเป็นสีเหลือง กรณีที่ผมบอกว่าโชคดีเจอก่อนนั้น ส่วนใหญ่ก็คือกรณีที่เนื้องอกของผู้ป่วยเริ่มลุกลามตรงบริเวณส่วนหัวของตับอ่อนซึ่งใกล้ท่อน้ำดี (คิดดูแล้วกันครับ ขนาดว่าอันที่เจอเร็วๆ ก็ยังต้องรอให้ตัวเหลืองทั้งตัวก่อน) อาการอื่นๆ ที่สังเกตเห็นได้ของโรคมะเร็งตับอ่อน ได้แก่ เบื่ออาหาร นำ้หนักลด ปวดบริเวณช่องท้อง อาเจียน บางครั้งอาจพบอาการปวดหลังร่วมด้วยในกรณีที่มะเร็งกินลุกลามไปยังเนื้อเยื่อด้านหลัง นอกจากนั้นการตรวจเนื้องอกในตับอ่อนก็ทำได้ยากอีกด้วย เนื่องจากตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกเข้าไปในช่องท้อง แม้แต่ CT-scan ก็ไม่สามารถใช้ตรวจหาเนื้องอกได้ จำเป็นต้องตัดเอาชิ้นเนื้อมาตรวจ (biopsy) อย่างเดียว วิธีรักษา การรักษามะเร็งตับอ่อนก็สามารถทำได้เหมือนการรักษาโรคมะเร็งอื่นๆ คือ การรักษาด้วยเคมี (chemotherapy) เช่น Gemcitabine, การฉายรังสี, และการให้ยาปฏิชีวนะพวก Tarceva ส่วนการผ่าตัดนั้นเป็นกรณีที่พิเศษจริงๆ มีผู้ป่วยประมาณ 10% เท่านั้นที่แพทย์สามารถให้การผ่าตัดได้ ในการผ่าตัดนั้น แพทย์จะผ่าเอาเนื้องอกรวมทั้งเนื้อเยื่อตับอ่อนออกไปจนเกือบหมด เหลือไว้เพียงประมาณ 5% เท่านั้นเพื่อให้ร่างกายยังสามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีชีิวิตได้โดยไม่ต้องมีตับอ่อนเต็มๆ แต่มะเร็งก็ยังคร่าชีวิตได้ด้วยการลุกลามไปยังตับ และทำให้การทำงานของตับล้มเหลว ส่วนการรักษาทางเคมีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ผลอะไรมากเนื่องจากมะเร็งเติบโตจนเกินเยียวยาแล้ว นอกจากนี้ต่อให้เป็นมะเร็งตับอ่อนแบบที่ผ่าตัดได้ หากมะเร็งลุกลามไปถึงอวัยวะส่วนอื่นแล้วหรือมะเร็งกินเข้าไปถึงเส้นเลือดหลักที่ไปเลี้ยงช่องท้องส่วนบน (superior mesenteric vein and superior mesenteric artery) แพทย์ที่ไหนก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ ขอให้เตรียมกลับไปสั่งเสียคนข้างหลังไว้ได้เลย บางทีเราอาจจะสามารถนับรวมเรื่องที่สตีฟ จ๊อบส์สามารถต่อสู้กับมะเร็งได้ยาวนานถึง 7 ปี ไว้เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์แห่งชีวิตของเขาก็ได้ ที่มา - My Health News Daily, Scientific American หมายเหตุ: ข้อมูลตัวเลขในข่าวนี้เป็นสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ป.ล. Ralph Steinman เจ้าของรางวัลโนเบลร่วมสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ปี 2011 นี้ก็เพิ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนเช่นเดียวกัน
https://jusci.net/node/2087
ข้อมูลเล็กน้อยเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน...มฤตยูที่ฆ่าสตีฟ จ๊อบส์
เพราะความคิดของเขาเข้มข้นเห็นภาพ เขาเลยทำให้เราเข้าถึงความเหมือนจริงอันนั้นได้ - ประมาณบรรยายดีเลิศจนแทบเหมือนเกิดอยู่ตรงหน้า
https://jusci.net/node/2088
รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี 2011
คณะกรรมการรางวัลโนเบลแห่งนอร์เวย์ได้มีมติมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2011 ให้กับนักรณรงค์สิทธิสตรีสามท่าน ได้แก่ Ellen Johnson Sirleaf, Leymah Gbowee และ Tawakkul Karman Ellen Johnson Sirleaf คือประธานาธิบดีหญิงที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของประเทศไลบีเรีย เจ้าของสมญานาม "หญิงเหล็ก" เธอเข้ามามีบทบาททางการเมืองมาเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วและถูกจำคุกหลายครั้งด้วยข้อหาทางการเมืองก่อนจะชนะการเลือกตั้งในปี 2005 กลุ่มผู้สนับสนุนมองว่าเธอคือผู้นำสันติภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ประเทศไลบีเรีย การได้รับรางวัลโนเบลปีนี้น่าจะส่งผลบวกมหาศาลต่อคะแนนนิยมของเธอในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศไลบีเรียที่กำลังจะมีขึ้นสัปดาห์หน้าอย่างแน่นอน Leymah Gbowee เป็นผู้นำกลุ่มสตรีชาวไลบีเรียให้ลุกขึ้นมาต่อต้านสงครามกลางเมืองในสมัยของอดีตประธานาธิบดี Charles Taylor สตรีที่เป็นเหยื่อของสงครามทุกคนสามารถเข้าร่วมรณรงค์กับเธอโดยไม่มีการกีดกันเชื้อชาติและศาสนา เธอยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง "เครีอข่ายสันติภาพและความปลอดภัยของผู้หญิงแห่งทวีปแอฟริกา (Women Peace and Security Network Africa) ด้วย และก็ไม่ต้องแปลกใจที่เธอคือหนึ่งในพันธมิตรคนสำคัญที่ช่วยให้ Ellen Johnson Sirleaf ชนะการเลือกตั้งในปี 2005 Tawakkul Karman คือนักสิทธิสตรีหญิงชาวเยเมนผู้เรียกร้องต่อต้านการปกครองของประธานาธิบดี Ali-Abdullah Saleh การต่อสู้ของเธอทำให้เธอถูกจำคุกหลายต่อหลายครั้ง ถูกประณามจากสื่อ หรือแม้แต่ถูกลอบทำร้าย ปัจจุบันเธอสังกัดอยู่กับพรรคการเมือง Islah ซึ่งมีนโยบายปฏิรูปการเมืองตามหลักของศาสนาอิสลาม เงินรางวัล 10 ล้านโครนสวีเดนจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน รับไปเท่ากันทั้งสามคน ที่มา - NobelPrize.org, BBC News ยุคที่ผู้ชายเป็นฝ่ายผูกขาดอำนาจการปกครองกำลังจะหมดลงแล้วครับ สังเกตกันง่ายๆ เลย ใครแต่งงานแล้วก็ส่องกระจกดูตัวเองซะ "ทุกอย่างเริ่มที่สถาบันครอบครัว"
https://jusci.net/node/2089
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2011... สัญญาณแห่งยุคของความเท่าเทียมทางเพศ?
ร่วมกันสร้างสังคมที่ดีกว่า ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านสามารถเข้าใช้งานเว็บโดยสมัครสมาชิก Blognone.com แล้วใช้รหัสผ่านเดียวกันบนเว็บนี้ ใครๆ ก็สามารถร่วมเขียนข่าวกับเราได้ง่ายๆ ล็อกอินแล้วคลิก Create Content เลือก Blog entry เขียนข่าวที่คุณสนใจ ในรูปแบบที่คุณต้องการ และอย่าลืมที่มาของแหล่งข่าว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน หลักการเขียนข่าวเบื้องต้น หรือตัวอย่างจากข่าวเก่าๆ เมื่อเสร็จแล้ว ข่าวของคุณจะอยู่ใน Upcoming News เมื่อเราตรวจตัวสะกดและความถูกต้องแล้ว ก็จะนำข่าวของคุณขึ้นหน้าแรกทันที Active forum topics
https://jusci.net/node/2090
วิวัฒนาการของการสอน
คำอ้างประเภท "วิทยาศาสตร์ที่ไม่มีศาสนาคือความเสื่อม" ฯลฯ เนี่ย มันมีจุดเริ่มต้นมาจากไหน? ผมสงสัยว่าทำไมผมถึงได้เห็นการให้ความเห็นด้วยวาทกรรมชุดนี้บ่อยมาก โดยเฉพาะใต้ข่าวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีที่สร้างความไม่พอใจ(ให้กับคนบางกลุ่ม) ในมุมมองของผม คำอ้างประเภทนี้ไม่ make sense, ไม่มีหลักฐานรองรับ, ไม่เกี่ยวเนื่องกันเลยแม้แต่นิด แถมผมยังรู้สึกว่ามันขัดกับความเป็นจริงด้วย สำหรับผมแล้ว อาการคลั่งศาสนาที่คล้ายกับพื้นฐานแนวคิดของวาทกรรมนี้ต่างหากที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมตัวจริง ผมนึกไม่ออกเลยว่ามีครั้งไหนบ้างที่นักวิทยาศาสตร์ยกทฤษฎีที่แย้งกันมาทำสงครามสร้างความเดือดร้อน... แต่ผมเชื่อว่าผมยกตัวอย่างสงครามที่อ้างศาสนาเพื่อหลอกคนไปตายได้หลายอันเลยนะ ‹ มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคมที่แท้จริง รวบรวมเว็บข่าววิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ ›
https://jusci.net/node/2091
วิทยาศาสตร์ที่ไม่มีศาสนาคือความเสื่อม?
ร่วมกันสร้างสังคมที่ดีกว่า ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านสามารถเข้าใช้งานเว็บโดยสมัครสมาชิก Blognone.com แล้วใช้รหัสผ่านเดียวกันบนเว็บนี้ ใครๆ ก็สามารถร่วมเขียนข่าวกับเราได้ง่ายๆ ล็อกอินแล้วคลิก Create Content เลือก Blog entry เขียนข่าวที่คุณสนใจ ในรูปแบบที่คุณต้องการ และอย่าลืมที่มาของแหล่งข่าว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน หลักการเขียนข่าวเบื้องต้น หรือตัวอย่างจากข่าวเก่าๆ เมื่อเสร็จแล้ว ข่าวของคุณจะอยู่ใน Upcoming News เมื่อเราตรวจตัวสะกดและความถูกต้องแล้ว ก็จะนำข่าวของคุณขึ้นหน้าแรกทันที Active forum topics
https://jusci.net/node/2092
รวบรวมเว็บข่าววิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ
ผมว่าแค่มนุษย์เหยียบเข้าไปในที่ต่างๆ ก็สั่นคลอนความมั่นคงของสัตว์เจ้าถิ่นแล้วล่ะครับ ไม่ใช่แค่น้ำมันดีเซลหรอก แค่คนทำเสียงดังมันก็ตกใจแล้ว อีกอย่างที่ผมยังสงสัยในความสะอาดของมันอยู่คือ คลื่นวิทยุ, สัญญาณโน่นนี่ กระจายไปทั่วโลกมันไม่มีผลกระทบกับสัตว์บ้างเลยหรอ
https://jusci.net/node/2093
มลภาวะจากน้ำมันดีเซลอาจมีส่วนทำร้ายผึ้งน้อย
กรรม! ลืมเช็คว่า MEconomics ก็ลงข่าวนี้เหมือนกัน ที่จริงรางวัลสามสาขาหลังนี่ผมไม่ได้สนใจหรอก แปลไม่รู้เรื่องด้วย แต่ไหนๆ ก็ลงรางวัลโนเบลแล้วก็เอาให้ครบ เพราะดันไปเขียนคำทำนายของปีนี้ไว้แล้วมันมีทุกสาขา
https://jusci.net/node/2094
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2011
จากข่าวเก่า "รัสเซียเตรียมตั้งสถาบันวิจัยเยติ" ตอนนี้ผมก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสถาบันดังกล่าวได้ถูกก่อตั้งขึ้นหรือยัง แต่ส่วนบริหารท้องถิ่นของเขต Kemerovo ในประเทศรัสเซีย (ที่เดิมกับในข่าวเก่าเลย) ออกมาแถลงข่าววันนี้ว่า ทีมสำรวจได้ค้นพบ "หลักฐานพิสูจน์อันมิอาจแย้งได้" (indisputable proof) ว่าเยติหรือมนุษย์หิมะแห่งไซบีเรียมีจริง! ในคำแถลงข่าวอ้างว่าทีมสำรวจที่ส่วนบริหารท้องถิ่นของเขต Kemerovo จัดตั้งขึ้นมานี้ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำวิจัยเกี่ยวกับเยติจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, และอีกหลายประเทศ หลักฐานการมีอยู่ของเยติที่ค้นพบมีตั้งแต่รอยเท้า, ที่นอน, ร่องรอยเครื่องหมายทำอาณาเขต, ไปจนถึงเส้นขน ซึ่งทั้งหมดนี้เก็บรวบรวมมาจากบริเวณถ้ำ Azasskaya บนเทือกเขา Shoria และจะได้รับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการพิเศษต่อไป ส่วนบริหารท้องถิ่นคาดหวังว่าการค้นพบนี้จะสามารถนำไปสู่การก่อตั้งสถาบันวิจัยเยติในมหาวิทยาลัยท้องถิ่นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ หากเป็นไปได้ก็จะทำวารสารวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเยติเผยแพร่โดยเฉพาะกันไปเลย ...เอ้า เอากันให้สุดๆ ไปเลย ที่มา - AFP via PhysOrg ป.ล. ใครไม่เข้าใจมุข "ในโซเวียตรัสเซีย" สามารถอ่านได้จาก Wikipedia นะครับ หรือเข้าไปลองแจมๆ กับกลุ่ม "ในโซเวียตรัสเซีย" สาขาประเทศไทยก็ได้
https://jusci.net/node/2095
เยติมีจริง!...ในโซเวียตรัสเซีย
จริงดังเข่น ดังเช่นครับ ผมเข้าใจว่ามันเกิดจาก prion มาตลอดเลยนะเนี่ย - -"
https://jusci.net/node/2096
โรคอัลไซเมอร์อาจแพร่ติดต่อกันได้
ไปยิงจรวดน้ำในอวกาศดูดีมั้ยครับ
https://jusci.net/node/2097
Lenovo, YouTube ร่วมมือนาซ่าจัดประกวดการทดลองในอวกาศสำหรับนักเรียนมัธยม
สวัสดีครับ งงมานานแล้ว อยากถามว่าฝนที่ตกลงมา ปริมาณเท่ากับน้ำที่ระเหยขึ้นไปในอากาศหรือไม่ หากไม่นำบริเวณมาเป็นปัจจัยด้วย ขอบคุณครับ ‹ อนาคตถูกำหนดไว้แล้วหรือไม่ เราสามารถปลูกฝังวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปพร้อมกันได้หรือไม่? ›
https://jusci.net/node/2098
[สอบถาม] ฝนที่ตก ปริมาณเท่ากับน้ำที่ระเหย?
ก๊าซเชื้อเพลิงนี่หมายถึงต้วไหนเหรอครับ?
https://jusci.net/node/2099
หินบนดวงจันทร์อุดมไปด้วยแร่ไททาเนียม
ทีมวิจัยที่นำโดย Wendy L. Mao แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ได้สังเคราะห์อัญรูป (allotrope) ตัวใหม่ของคาร์บอนในห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยฟิสิกส์ภูมิศาสตร์คาร์เนกี้ คาร์บอนรูปใหม่นี้เกิดจากการเอา Glassy Carbon ซึ่งเป็นอัญรูปของคาร์บอนอีกตัวที่ค้นพบในคริสตทศวรรษ 1950 เข้าไปอบที่ความดัน 400,000 บรรยากาศ จากการทดสอบเบื้องต้นด้วยการอัดแรงดันเข้าไปทิศทางเดียวพบว่า คาร์บอนตัวใหม่สามารถทนแรงดันได้สูงสุดถึง 1,300,000 บรรยากาศ ส่วนในทิศทางอื่นๆ เท่าที่ทดสอบก็พบว่าทนแรงดันได้เกิน 600,000 บรรยากาศ ความแข็งระดับนี้ไม่เคยพบในอัญรูปอื่นๆ ของคาร์บอนมาก่อนนอกจากเพชร นอกจากนี้ คาร์บอนตัวใหม่ยังมีลักษณะเป็นคาร์บอนอสัญฐาน (amorphous) เนื่องจากอะตอมคาร์บอนไม่ได้เรียงตัวกันเป็นผลึกเหมือนอย่างอะตอมคาร์บอนในเพชร ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าความแข็งแรงทนทานของมันน่าจะเฉลี่ยไปให้ทนแรงดันได้พอๆ กันทุกทิศทุกทาง ต่างจากเพชรที่ทนแรงดันสูงๆ ได้เฉพาะเพียงบางทิศทางขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของผลึก ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/2100
ค้นพบคาร์บอนรูปใหม่ แข็งเท่าๆ กับเพชร
ในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักว่าสิ่งที่พวกเขาเคยคิดกันมานานว่าเป็นแบคทีเรีย แท้จริงแล้วมันคือไวรัสขนาดยักษ์ทีชื่อว่า "Mimivirus" ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าไวรัสทั่วไป 10-20 เท่าและมีปริมาณข้อมูลพันธุกรรมถึง 1 ล้านกว่าคู่เบส แต่วันนี้ตำแหน่งไวรัสที่ใหญ่ที่สุดก็ถึงเวลาเปลี่ยนมือแล้ว เมื่อทีมนักวิจัยที่นำโดย Chantal Abergel และ Jean-Michel Claverie แห่ง Aix-Marseille University ประเทศฝรั่งเศส ได้ค้นพบไวรัสยักษ์ชนิดใหม่ที่ใหญ่กว่า Mimivirus ไวรัสที่เพิ่งค้นพบนี้ได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Megavirus chilensis ตามชื่อแหล่งที่มาของมันคือชายฝั่งมหาสมุทรในประเทศชิลี นักวิจัยสามารถแยก Megavirus ออกมาได้โดยการนำตัวอย่างที่เก็บมาจากทะเลใส่ลงไปในภาชนะเลี้ยงอะมีบา (Acanthamoeba griffini, A. polyphaga, และ A.castellanii) จากนั้นก็รอให้ไวรัสจากทะเลเข้าไปขยายพันธุ์ในเซลล์อะมีบา แล้วค่อยแยกเชื้อไวรัสออกมาทำการศึกษาอีกที ภาพถ่ายจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดง Mimivirus (ข้างบน) และ Megavirus (ข้างล่าง) ส่วนภาพในช่องเล็กแสดงถึงเส้นใยบนผิวนอกของไวรัส เชื่อว่าทำหน้าที่หลอกให้อะมีบาเข้าใจผิดคิดว่าไวรัสเป็นอาหารและงาบเข้าไปในเซลล์ เป็นโชคดีที่ว่าแม้ไวรัสพวกนี้จะมีที่มาจากน้ำทะเล แต่พวกมันก็สามารถเข้าไปขยายพันธุ์ในเซลล์อะมีบาน้ำจืดที่ใช้ในการทดลองได้เป็นอย่างดี นักวิจัยจึงสามารถวิเคราะห์หน้าตาและ DNA ของมันได้ ผลปรากฏว่า Megavirus chilensis มีปริมาณข้อมูลพันธุกรรมถึง 1,259,197 คู่เบส มากกว่าของ Mimivirus อยู่ 6.5% และยังเป็นโชคดีต่อเนื่องอีกชั้นที่ว่าในจำนวนยีนทั้งหมด 1,120 ชุดของ Megavirus มีอยู่ประมาณ 23% ที่แตกต่างจากของ Mimivirus ซึ่งความแตกต่างระดับนี้อยู่ในจุดที่กำลังพอดี ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปสำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบสายวิวัฒนาการของไวรัสทั้งสองชนิด ผลจากการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการของ Megavirus, Mimivirus และไวรัส CroV ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของไวรัสยักษ์ทั้งสอง แสดงให้เห็นว่า Megavirus กับ Mimivirus เคยมีบรรพบุรุษร่วมกัน และตัวบรรพบุรุษจะต้องมีขนาดจีโนมใหญ่กว่าของ Megavirus หรือ Mimivirus เสียอีก ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าไวรัสยักษ์เหล่านี้สูญเสียข้อมูลพันธุกรรมไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางวิวัฒนาการ ซึ่งขัดกับอีกทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อกันว่าไวรัสยักษ์แอบขโมยข้อมูลพันธุกรรมมาจากเซลล์โฮสต์และไวรัสอื่นๆ มาสะสมเป็นของตัวเอง (ศัพท์ทางชีววิทยาเรียกวิธีการได้รับ-ส่งผ่านข้อมูลพันธุกรรมระหว่างกันแบบนี้ว่า "horizontal gene transfer" เนื่องจากไม่ใช่การส่งต่อผ่านกันลงมาตามแนวตั้งจากรุ่นสู่รุ่น) และเมื่อดูจุดเวลาที่ Megavirus แยกตัวออกมาเป็นสายวิวัฒนาการของตัวเอง ก็พบว่า Megavirus เริ่มวิวัฒนาการหลังจากกำเนิดของเซลล์ยูคารีโอตไม่นาน (eukaryotic cell หมายถึงเซลล์สิ่งมีชีวิตที่มีนิวเคลียส) ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าบรรพบุรุษต้นกำเนิดของไวรัสยักษ์อาจเคยเป็นส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมของเซลล์สิ่งมีชีวิตหรืออาจจะเป็นเซลล์เองเลยก็ได้! แต่ก่อนแรกเริ่มเดิมที บรรพบุรุษของไวรัสยักษ์อาจมียีนที่ทำหน้าที่ดำรงชีวิตได้ครบทุกอย่างเหมือนเซลล์อิสระทั่วไป เผอิญว่าเกิดการกลายพันธุ์แล้วยีนที่จำเป็นดันหายไป ไวรัสยักษ์จึงต้องหันเหชีวิตมาเป็นปรสิตสิงร่างเซลล์อื่นๆ (เอ๊ะ คิดดูอีกทีอาจจะเป็นเพราะว่ามันหันเหชีวิตไปเป็นปรสิต ยีนที่ไม่จำเป็นเลยค่อยๆ หดหายไปก็ได้ ...เอาเถอะ สรุปว่ามันมาจากเซลล์แล้วกัน) ข้อสนับสนุนที่สำคัญมากๆ ของทฤษฎี "ไวรัสมาจากเซลล์" คือความจริงที่ว่าพวกไวรัสยักษ์ในปัจจุบันรวมถึง Megavirus ที่เพิ่งค้นพบนี้ด้วย ยังคงเหลือยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถอดรหัสจาก DNA ไปสู่ RNA (trancription) และกระบวนการแปลรหัสจาก RNA ไปเป็นโปรตีน (translation) อยู่บางส่วน ซึ่งทั้งสองกระบวนการนี้คือสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สุดของเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้ นั่นแปลได้ว่าไวรัสยักษ์เหล่านี้อาจสืบเชื้อสายร่วมเป็นญาติห่างๆ (ห่างมากๆ) ของสิ่งมีชีวิตยูคารีโอตทั้งหลายซึ่งแน่นอนว่ารวมมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ด้วย! หรือจะนับว่ามันคือเศษซากของบรรพบุรุษดึกดำบรรพ์ที่ไม่ยอมหายจากโลกไปก็ได้ รายงานการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS doi: 10.1073/pnas.1110889108 (อันนี้เปิดดาวน์โหลดฟรีอีกแล้ว แต่ผมต้องขอแนะนำเหมือนเช่นเคยว่า "ถ้าไม่จำเป็น ก็อย่าดีกว่า") ที่มา - New Scientist, Ars Technica, Nature News Blog, BBC News, GenomeWeb Bonus: เนื่องจากข่าวนี้ แหล่งข่าวภาษาอังกฤษของเราเขียนได้ค่อนข้างสับสนมาก มีไม่ตรงกันหลายจุด ผมขอแถมโบนัสสรุปให้ว่าควรอ่านจากที่ไหนดี อ่านสรุปของผมได้จาก Google+
https://jusci.net/node/2101
ค้นพบไวรัสที่ใหญ่ที่สุดในโลก - ข้อพิสูจน์ว่าไวรัสยักษ์วิวัฒนาการมาจากเซลล์
บริษัททำโฆษณามักอ้างว่าการเอาลิงชิมแปนซีมาเป็นตัวละครในโฆษณาจะทำให้ผู้คนหันมาสนใจอนุรักษ์มากขึ้น แต่งานวิจัยล่าสุดชี้ว่าผลที่เกิดขึ้นจริงนั้นตรงข้ามกับสิ่งที่บริษัทคิดอย่างหน้ามือเป็นหลังมือเลย ทีมวิจัยที่นำโดย Kara K. Schroepfer แห่ง Duke University ได้ให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจำนวน 165 คน ดูวิดีโอสั้นที่ประกอบด้วยโฆษณาสินค้าทั่วไป แต่ว่าแอบแทรกวิดีโอเกี่ยวกับลิงชิมแปนซีเข้าไปด้วย วิดีโอชิมแปนซีที่แทรกเข้าไปมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ วิดีโอที่นักอนุรักษ์รณรงค์ถึงภาวะใกล้สูญพันธุ์ของชิมแปนซี, วิดีโอชีวิตของชิมแปนซีในธรรมชาติ, และวิดีโอโฆษณาที่เอาชิมแปนซีมาแต่งตัวเป็นคนและแสดงตลกๆ (ดูตัวอย่างโฆษณาที่ว่าได้ที่นี่, ที่นี่, ที่นี่) ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้ดูวิดีโอโฆษณาชิมแปนซีตลกๆ มีแนวโน้มบริจาคเงินรางวัลของพวกเขาให้กับองค์กรอนุรักษ์ชิมแปนซีน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้ดูวิดีโอแบบอื่นอีกสองแบบ มิหนำซ้ำ 35% ของคนที่ได้ดูวิดีโอโฆษณาชิมแปนซีตลกๆ ยังคิดว่าการเอาลิงชิมแปนซีมาเป็นสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ เป็นเรื่องสมควร ขณะที่กลุ่มตัวอย่างอีกสองกลุ่มมีเพียง 10% เท่านั้นที่คิดเช่นนี้ นักวิจัยชี้ให้เห็นว่าผลกระทบเช่นนี้เป็นอันตรายต่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ชิมแปนซีอย่างมาก สิ่งที่โฆษณาตลกๆ พวกนี้ทำไม่ได้ช่วยให้คนสงสารชิมแปนซีเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่นิด แถมยังบิดเบือนความเข้าใจที่มีต่อสถานะอนุรักษ์ของลิงชิมแปนซีอีกด้วย นอกจากนี้ ลิงชิมแปนซีก็ไม่สมควรถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ความต้องการเลี้ยงลิงชิมแปนซีไว้ดูเล่นส่งผลร้ายทั้งต่อคนเลี้ยงและตัวชิมแปนซีเอง เพราะไม่ว่าจะอย่างไรลิงชิมแปนซีก็คือสัตว์ป่า มันอาจทำร้ายสิ่งที่มันรู้สึกว่าคุกคามตัวมันได้ทุกเมื่อ และอุปสงค์ในตัวลิงชิมแปนซี (โดยเฉพาะลูกลิง) ก็เป็นตัวหล่อเลี้ยงชั้นดีของธุรกิจลักลอบค้าสัตว์ป่า จำไว้เสมอว่าสัตว์ป่าควรอยู่ในป่า ไม่ใช่ในโฆษณาทีวีหรือในบ้านคน งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS One http://dx.plos.org/10.1371/journal.pone.0026048 (เป็น Open Access สามารถอ่านตัวเต็มได้ฟรีๆ ครับ) ที่มา - PhysOrg, Scientific American
https://jusci.net/node/2102
งานวิจัยชี้ลิงชิมแปนซีไม่ควรอยู่ในโฆษณาทีวี
ทีมวิจัยที่นำโดย Jason Carroll แห่ง Brigham Young University ได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจออนไลน์ที่ให้คู่แต่งงานเข้ามาประเมินสถานะชีวิตคู่ ผลจากการเก็บตัวอย่างถึง 1,734 ชุด พบว่าคู่แต่งงานที่สามีหรือภรรยามีแนวโน้มเป็นวัตถุนิยมมักมีความสุขกับชีวิตคู่น้อยกว่าคู่แต่งงานที่ทั้งสามีและภรรยาไม่ใช่พวกวัตถุนิยม ตัวเลขสถิติของผลที่ได้ คือ 14% เป็นคู่สามีภรรยาที่ไม่ใช่วัตถุนิยมทั้งคู่, 11% มีภรรยาเป็นวัตถุนิยมจัด แต่สามีไม่ใช่, 14% สามีเป็นวัตถุนิยมจัด แต่ภรรยาไม่ใช่, 20% เป็นคู่วัตถุนิยมจัดทั้งสามีภรรยา, และส่วนที่เหลือเป็นพวกกลางๆ ไม่ถึงขนาดวัตถุนิยม แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่สนใจเรื่องเงินทองเลย คู่ที่มีสามีหรือภรรยาเป็นวัตถุนิยมจัดได้คะแนนความสุขและความพึงพอใจน้อยกว่าพวกที่ไม่ใช่วัตถุนิยม 10-15% โดยเฉลี่ย และยังรายงานว่ามีความขัดแย้งในครอบครัวมากกว่าด้วย คู่แต่งงานที่เป็นวัตถุนิยมจัดทั้งคู่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปด้วยกันได้ ผลคะแนนที่ออกมาย่ำแย่กว่าคู่ที่สามีหรือภรรยาคนใดคนหนึ่งเป็นวัตถุนิยมเสียอีก แนวโน้มเช่นนี้พบได้ในทุกฐานะ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ความหลงใหลในทรัพย์สินเงินทองแปรผกผันกับความสุขในครอบครัวเหมือนๆ กันหมด Jason Carroll สันนิษฐานว่าสถานะที่ไม่ค่อยสู้ดีของครอบครัววัตถุนิยมคงมาจากอุปนิสัยการใช้เงินเกินตัวและขาดวินัยทางการเงิน ทำให้เกิดภาระหนี้สิ้นและความเครียดตามมา หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าพวกวัตถุนิยมมักใส่ใจแต่กับเรื่องทรัพย์สินข้าวของเงินทอง จนลืมสนใจความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่มา - Live Science
https://jusci.net/node/2103
ผัวเมียบ้าเงินทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข
สัตว์ส่วนใหญ่จะมีโครโมโซมด้วยกันสองชุด หรือที่เรียกเป็นภาษาชีววิทยาว่า "diploid" เวลาสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โครโมโซมก็จะแบ่งครึ่งเหลือแค่ชุดเดียว (ศัพท์ชีววิทยาเรียกว่า "การแบ่งเซลล์แบบ meiosis") พอไข่กับสเปิร์มผสมกันก็ได้เป็นตัวอ่อนที่มีโครโมโซมสองชุดกลับมาเหมือนเดิม แต่ก็มีสัตว์บางชนิดเหมือนกันที่มีโครโมโซมมากกว่าสองชุด ส่วนใหญ่จะเป็นพวกลูกผสมข้ามสปีชีส์ คราวนี้พวกที่มีจำนวนชุดโครโมโซมเป็นเลขคี่ก็จะเกิดอาการหารสองไม่ลงตัว หากไม่เป็นหมัน ก็ต้องใช้วิธีสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหรือ "โคลนนิ่งตัวเอง" เอาแบบที่เรียกว่า Parthenogenesis (บางทีก็ยังต้องใช้สเปิร์มจากตัวผู้สายพันธุ์อื่นมากระตุ้นการโคลนนิ่งตัวเองแล้วค่อยเขี่ยโครโมโซมของสเปิร์มทิ้งทีหลัง อ่าน Hybridogenesis) แต่แล้วก็ยังมีแต่อีก (ชีววิทยามีข้อยกเว้นกันได้เสมอๆ) คางคกภูเขาบาทูร่า (Bufo baturae) ในทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน เป็นคางคกสปีชีส์ลูกผสม (hybrid species) ที่มีโครโมโซม 3 ชุด (triploid) ชุดละ 11 แท่ง รวมมีโครโมโซม 33 แท่ง พวกมันสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยและก็โคลนนิ่งตัวเองด้วยในเวลาเดียวกัน ทีมวิจัยที่นำโดย Matthias Stöck แห่งมหาวิทยาลัยโลซานน์ สังเกตว่าคางคกบาทูร่าทุกตัวจะมีโครโมโซมอยู่สองชุดที่มียีน NOR+ บนโครโมโซมแท่งที่ 6 และอีกชุดมียีน NOR- จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่าชุดโครโมโซมที่มี NOR- นั้นสืบทอดผ่านกันมาจากแม่สู่ลูกโดยตรง ส่วนอีกสองชุดที่มี NOR+ จะเป็นการผสมระหว่างชุดโครโมโซมที่มาจากไข่และสเปิร๋ม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสเปิร์มของคางคกตัวผู้เกิดจากการขจัดโครโมโซมชุดหนึ่ง (ชุดที่มี NOR-) ทิ้งไปเลยแล้วอีกสองชุดที่เหลือก็แบ่งตัวแบบ meiosis ทำให้สเปิร์มมีแต่โครโมโซมชุดที่มี NOR+ ส่วนตัวเมียจะแบ่งโครโมโซมที่มี NOR+ ลงไปในไข่ใบละ 1 ชุดไว้ผสมกับชุดโครโมโซมของสเปิร์ม และก็โคลนนิ่งชุดโครโมโซมที่มี NOR- อีกชุดใส่ลงไปในไข่แต่ละใบด้วย คางคกบาทูร่า ภาพจาก New Scientist; เครดิต Matthias Stöck นักชีววิทยายังไม่ทราบแน่ชัดว่าเซลล์คางคกแบ่งชุดโครโมโซมสร้างเซลล์สืบพันธุ์พร้อมกับโคลนนิ่งโครโมโซมอีกชุดได้อย่างไร และจะทำอย่างนั้นไปทำไม แต่ก็เชื่อกันว่ามันทำของมันแบบนี้มาเป็นเวลาแสนๆ ปีแล้ว ที่มา - New Scientist งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Proceedings of the Royal Society B doi: 10.1098/rspb.2011.1738
https://jusci.net/node/2104
คางคกที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและโคลนนิ่งตัวเองในเวลาเดียวกัน
ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง "สตาร์วอร์" ก็คงจำตัวละคร โยดา ปรมาจารย์เจไดตัวเขียวๆ ที่มีเอกลักษณ์ในการพูดด้วยการเรียงประโยคแบบ "กรรม-ประธาน-กิริยา" หากคิดว่าการพูดแบบนี้แปลกแล้ว ภาษาต้นกำเนิดของมนุษย์อาจจะเรียงประโยคแปลกพอๆ กัน Merritt Ruhlen และ Murray Gell-Mann แห่ง Santa Fe Institute ได้สร้างแผนภูมิของภาษาทั้งหลายในโลก แล้วค่อยๆ ย้อนรอยดูไล่จากแขนงไปจนถึงแก่นว่าแต่ละภาษาเรียงลำดับคำในประโยคอย่างไร ผลปรากฏว่ากว่าครึ่งของภาษาที่ใช้กันทั่วโลกเรียงลำดับคำในประโยคด้วย "ประธาน-กรรม-กิริยา" แถมภาษาที่เรียงประโยคแบบอื่นๆ ก็ล้วนแตกแขนงมาจากภาษาที่เรียงประโยคแบบ "ประธาน-กรรม-กิริยา" ทั้งสิ้น เช่น ภาษาฝรั่งเศสที่เรียงแบบ "ประธาน-กิริยา-กรรม" ก็มีรากจากภาษาละตินซึ่งเรียง "ประธาน-กรรม-กิริยา" เป็นต้น นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าการเรียงลำดับคำแบบ "ประธาน-กรรม-กิริยา" เป็นสิ่งที่มนุษย์คุ้นเคยตามธรรมชาติ สังเกตได้จากการเรียนรู้ภาษาของเด็ก แต่ก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่าทำไมวิวัฒนาการของภาษาถึงทำให้ภาษาหลายภาษาสลับลำดับของคำในประโยค ในขณะที่อีกหลายๆ ภาษาก็ยังคงรูปแบบประโยคเช่นเดิมไว้ ผม.กับคำถามนี้.ก็งงเหมือนกัน ที่มา - Life's Little Mysteries
https://jusci.net/node/2105
ภาษาของมนุษย์ยุคแรกอาจเรียงประโยคแบบ "ประธาน-กรรม-กิริยา"
เราจะมีขอบเขตอย่างไร ในกระทู้ศาสนา ? เพราะคนวิทย์ก็ไม่รู้ศาสนา และคนศาสนาก็ไม่รู้วิทย์ (บางทีก็ไม่รู้จักศาสนาตัวเองด้วย เพิ่มเข้าไปอีกกระทง) แล้วคนไม่รู้ กับ คนไม่รู้มาเจอกัน มันก็ชุลมุนมาก. เราจะเอากันแค่ไหน ? เอาประโยชน์ เอากันให้ตาย ? ผมชอบนะ มีกระทู้ศาสนา ในบอร์ดวิทย์ แต่ไม่ชอบการโพสต์ ที่ขาดความชำนาญในข้อมูล. ในเมื่อต่างฝ่าย ต่างไม่รู้เรื่องของอีกฝ่าย ก็อย่าเพิ่งคุยกันเลยดีกว่า. ไว้พร้อมจะเปิดใจซึ่งกันและกัน เราค่อยเผย่อปากจุ๊บกันใหม่. มันจะดีกว่าไหม ? รักกันเยอะๆสิ ก่อนจะคุยกัน. ‹ Albert Einstein Quotes อนาคตถูกำหนดไว้แล้วหรือไม่ ›
https://jusci.net/node/2106
เราจะเอาบอร์ดวิทย์ เป็น บอร์ดศาสนาแล้วใช่หรือไม่ ?
"A perfection of means, and confusion of aims, seems to be our main problem." "A question that sometimes drives me hazy: am I or are the others crazy?" "All religions, arts and sciences are branches of the same tree." "An empty stomach is not a good political adviser." - ช่วงน้ำท่วมนี่เห็นภาพชัดเลย "Any intelligent fool can make things bigger and more complex... It takes a touch of genius - and a lot of courage to move in the opposite direction." "Any man who reads too much and uses his own brain too little falls into lazy habits of thinking." "Common sense is the collection of prejudices acquired by age eighteen." "If the facts don't fit the theory, change the facts." "If you can't explain it simply, you don't understand it well enough." "You can never solve a problem on the level on which it was created." "You have to learn the rules of the game. And then you have to play better than anyone else." เว็บนี้ไม่รู้เชื่อถือได้แค่ไหนนะครับ แต่อ่านแล้วก็ดูมีเหตุผลดีนะ ‹ แชร์ของไอเดียดีๆครับ เราจะเอาบอร์ดวิทย์ เป็น บอร์ดศาสนาแล้วใช่หรือไม่ ? ›
https://jusci.net/node/2107
Albert Einstein Quotes
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2011 ที่ผ่านมา นักวิจัยแห่ง Zhejiang University ทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เปิดเผยผลงาน "หุ่นยนต์เล่นปิงปอง" ต่อสื่อมวลชน หุ่นยนต์เล่นปิงปองรุ่นที่นักวิจัยจีนพัฒนานี้มีชื่อว่า "Topio" ผลิตโดย TOSY บริษัทสัญชาติเวียดนาม มีส่วนสูง 1.6 เมตร และหนัก 55 กิโลกรัม นักวิจัยจีนได้พัฒนา Topio เป็นเวลาถึง 4 ปี จนกระทั่งลดความหน่วงในการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวลงมาถึง 50-100 มิลลิวินาที และสามารถกะตำแหน่งของลูกปิงปองได้อย่างแม่นยำ ความผิดพลาดไม่เกิน 2.5 ซม. ในระหว่างการตีโต้ไปมานั้น หุ่นยนต์แต่ละตัวจะได้รับข้อมูลจากกล้องที่จับทิศทางและมุมของลูกปิงปองด้วยความเร็ว 120 ภาพต่อวินาที และเอาข้อมูลนั้นมาคำนวณด้วยระบบประสาทประดิษฐ์ (artificial neural network) ทำให้มันสามารถตีโต้ปิงปองกับมนุษย์หรือกับหุ่นยนต์ด้วยกันเองได้อย่างสบายๆ อย่างไรก็ตาม หากเจอนักกีฬาใช้ลีลาพลิกแพลง ตีลูกตัด ลูกโค้ง หุ่นยนต์ก็คงทำได้แค่ตีลมวืดไปวืดมา ที่มา - Xinhuanet, PhysOrg แม้หุ่นยนต์ตีปิงปองได้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลก แต่ผมก็แนะนำให้ดูคลิปข่าวข้างล่างอยู่ดี (สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของข่าวนี้อาจจะไม่ใช่หุ่นยนต์ก็ได้) ส่วนเรื่องทำไมต้องเปิด Ievan Polkka ตอนมันดีกันนี่...อยู่เหนือความเข้าใจของผมจริงๆ ^.^
https://jusci.net/node/2108
นักวิทยาศาสตร์จีนโชว์หุ่นยนต์เล่นปิงปอง
ภายในปี 2011 นี้ (ความจริงคือในเดิอนตุลาคมนี้ด้วยซ้ำ) ประชากรมนุษย์ก็จะแตะ 7 พันล้านคน และ UN คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2100 ตัวเลขนี้จะพุ่งถึง 1 หมื่นล้าน Edward O. Wilson (เจ้าพ่อแห่งวิชา Sociobiology หรือที่บางคนเรียกว่า "ชารลส์ ดาร์วินคนที่สอง") ประเมินไว้ว่าโลกรองรับมนุษย์ได้เพียง 1 หมื่นล้านคนเท่านั้น และต้องเป็นในกรณีที่ทุกคนยอมเลิกกินเนื้อด้วย หากประเมินกันจริงจัง ก็อาจจะน้อยกว่านี้อีก เพราะนี่คือตัวเลขที่ประเมินจากปัจจัยปริมาณอาหารอย่างเดียว ยังไม่ได้รวมปัจจัยพวกมลภาวะและการรบกวนสมดุลของโลกจากน้ำมือมนุษย์เข้าไปเลย ทีมวิจัยร่วมจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สวีเดน, และเยอรมนีได้รวบรวมข้อมูลประชากรและผลผลิตอาหารของโลก เพื่อที่จะเอามาวิเคราะห์หาวิธีทำการเกษตรแบบที่สามารถเลี้ยงประชากรโลกให้ได้อย่างยั่งยืนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติได้จริงด้วยภายใต้สภาวะสังคมและเศรษฐกิจ สิ่งที่พวกเขาคิดกันหัวแทบแตกสรุปออกมาได้ 5 ข้อ ดังนี้ หยุดการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งอาจทำได้ด้วยการสนับสนุนให้พื้นที่ธรรมชาติเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการจ่ายเงินชดเชยให้กับเจ้าของพื้นที่ (หรือประเทศกำลังพัฒนา) เพิ่มอัตราผลผลิตทางการเกษตร อันนี้ต้องใช้เทคโนโลยีพันธุกรรมเข้ามาช่วยเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช นักวิจัยมองว่าอัตราผลผลิตทางการเกษตรในหลายประเทศยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเยอะหากได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม เทคโนโลยีพันธุกรรมอาจช่วยเพิ่มปริมาณอาหารเลี้ยงประชากรโลกได้ถึง 60% เทียบกับปัจจุบัน กระจายปัจจัยทางการเกษตรให้เหมาะสม นักวิจัยพบว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเป็น "Goldilocks' Problem" นั่นคือน้ำ, ธาตุอาหาร, สารเคมีในบางพื้นที่ก็มีมากจนเกินไป บางที่ก็ขาดแคลน ดังนั้นจะต้องมียุทธวิธีในการจัดสรรปันส่วนปัจจัยเหล่านี้ให้พอดีๆ ทุกพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุด ลดการทำปศุสัตว์และการปลูกพืชพลังงาน เพราะทั้งสองอย่างนี้คือการลดปริมาณผลผลิตที่จะนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ทั้งสิ้น ลดปริมาณการสูญเสียของผลผลิต เช่น การเน่าเสีย ถูกแมลงกิน เป็นต้น ในปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรหนึ่งในสามต้องเสียเปล่าไปด้วยสาเหตุแบบนี้ หากขจัดการสูญเสียผลผลิตได้ จะมีอาหารไว้ป้อนเข้าปากมนุษย์เพิ่มอีก 50% งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก NSERC, NASA, และ NSF บทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature DOI: 10.1038/nature10452 ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/2109
นักวิทยาศาสตร์เสนอแผนการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลก
สืบเนื่องจากกระทู้ http://jusci.net/node/2062 วิ่งไปสู่การเถียง "วิทยาศาสตร์ขัดกับศาสนาหรือไม่" ซึ่งไม่ใช่ประเด็นของคำถามผม ผมจึงขอชี้แจงตรงนี้อีกรอบ กรุณาอ่านให้เข้าใจ ถ้ายังไม่เข้าใจก็อ่านซ้ำ (หมายเหตุ: กระทู้นี้ผมจะใช้คำไทยปน eng บ้าง อ่านเอาใจความ ไม่ต้องจับผิดเรื่องภาษา) คำถามของผมนั้น "เราสามารถปลูกฝังวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปพร้อมกันได้หรือไม่?" ไม่ได้จงใจละเมิดมุมมองและศรัทธาของใครเลย ผมไม่ได้ชี้ในคำถามว่า "วิทยาศาสตร์ขัดกับศาสนา or vice versa" ด้วยซ้ำ อีกนัยหนึ่งผมถามว่า "เราจะพัฒนาให้สังคมหนึ่งๆ เป็นสังคมที่มีศาสนาและวิทยาศาสตร์เป็นมาตรฐานหลักในการรองรับความถูกต้องในสังคมได้หรือไม่" ^ ^ จะเห็นว่าผมไม่ได้ดูหมิ่นศาสดาหรือศาสนาไหนเลยในคำถามนี้ ผมเข้าใจนะว่าคำถามของผมมันสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดมาก ผมถึงได้ย้ำแล้วย้ำอีกทั้งในคำถาม-คำตอบ-ความเห็น การตั้งคำถามของผมอิงมาจากสภาวะที่สังคมไทยกำลังเป็นอยู่ตอนนี้ สถาวะที่พอมีคนออกมาจับโกหกเรื่องตอแหลงมงายอะไรสักอย่าง ทุกคนก็จะบ่น "ก็สังคมไทยไม่เป็นวิทยาศาสตร์" bla...bla...bla บ่นเสร็จก็ดื่มวีต้าแล้วเข้านอน ผมเห็นว่าการบ่นลักษณะนี้มันไม่มีประโยชน์ (ถ้ามี ป่านนี้ไทยคงเป็นมหาอำนาจวิทยาศาสตร์ไปแล้ว เพราะผมเห็นบ่นกันทุกคน) ผมจึงลองมาคิดดูว่าปัญหามันมาจากตรงไหน เรื่องไม่มีใครสนใจ รัฐบาลไม่สนับสนุน ฯลฯ ที่ด่ากราดกันเนี่ย ผมเห็นว่ามันไม่ใช่เหตุในตัวของมันเอง มันเป็นผลมาจากต้นเหตุอีกทีนึง และผมได้ข้อสรุปว่า เราไม่สามารถทำให้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ลงหลักปักฐานในสังคมได้หรอก หากว่าเราไม่สามารถ apply กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ากับทุกๆ เรื่องในสังคมได้อย่างเป็นสากล (universal) <--- สังเกตนะครับ ผมใช้คำว่า "กระบวนการ" ไม่ใช่ "คำอธิบาย" เรื่องในสังคมไทยที่วิทยาศาสตร์ apply ไม่ได้ ส่วนใหญ่ (ถ้าไม่ใช่ทั้งหมด) ก็ได้รับการคุ้มครองจากความศรัทธา(อย่างงมงาย)ของคติทางศาสนา(โดยเฉพาะศาสนาพุทธ)โดยทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น ดังนั้นผมถึงได้ยกคำถามและตอบด้วยตัวเองในกระทู้ #2062 ว่า "ไม่ได้" ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับผม ผมก็อยากรับฟัง แต่ผมขอให้เป็นการโต้แย้งในประเด็นนี้ได้มั้ย? ผมเองก็เบื่อเรื่อง "ศาสนา vs วิทยาศาสตร์" เหมือนหลายๆ คนในที่นี้เช่นกัน ถึงตรงนี้ผมขอแตะเรื่อง "วิทยาศาสตร์เทียม" หน่อยนะ ผมเห็นว่ามันเป็นตัวอย่างที่สนับสนุนข้อสรุปของผมได้นิดนึง ผมขอให้คุณลองคิดตามนะ ถ้าลองตัด "ศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์" ออกให้หมด คุณจะพบว่าวิทยาศาสตร์เทียมทั้งหลายจะมีเปลือกของ "ศรัทธาตามแบบศาสนา" หุ้มอยู่อีกชั้น ส่วนข้างในของมันจะเป็นความกลวงโบ๋หรือมีผลประโยชน์ของใครแอบแฝงอยู่ก็เป็นอีกเรื่อง ผมเห็นว่าที่วิทยาศาสตร์เทียมมันเกิดขึ้นมาได้เรื่อยๆ และยังมีคนเชื่ออยู่ ส่วนหนึ่ง(และอาจเป็นส่วนหลัก)คือมัน exploit ช่องโหว่ของการพยายามเอามาตรฐานทางศาสนาและวิทยาศาสตร์มาปนกัน ผมขอยกตัวอย่าง "Scientology" นะ เค้าเรียกสถาบันของตัวเองว่า "Church of Scientology" สังเกตมั้ยว่าเค้าใช้คำว่า Church ไม่ใช่ School ทั้งที่ตัวของมันเองหยิบยืมศัพท์และ concept ของวิทยาศาสตร์มา abuse <---- อันนี้เป็นแค่ข้อสังเกตนะ ไม่ใช่หลักฐาน ทั้งหมดที่ผมจะบอกก็มีแค่นี้แหละ นึกว่ากระทู้นี้ผมมาตดระบายความอึดอัดก็ได้ เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมาผมรู้สึกแย่จริงๆ ชวนดูหนัง: In Time ›
https://jusci.net/node/2110
ชี้แจงประเด็นกรณีกระทู้ node #2062 (อีกรอบ)
In Time - IMDB นับจากหนังวิทยาศาสตร์จ๋าอย่าง 2001, Logan's Run, Blade Runner หรือหนังแอคชั่นที่อิงกรอบวิทยาศาสตร์อย่าง Star Trek, Source Code ผมก็รู้สึกว่าเรามีหนังวิทยาศาสตร์ให้ดูกันไม่มาก (และไม่บ่อย) เท่าไหร่นัก แว๊บแรกที่ผมเห็น Teaser ของ In Time ผมคิดถึง Logan's Run ขึ้นมาทันที ด้วยพล๊อตเรื่องที่ว่าด้วยอายุของคนที่มีได้เพียง 25 ปี แต่เมื่อดูลึกเข้าไปในรายละเอียดแล้ว เวลาที่เหลือของคนในสมัยนั้น กลับหมายถึงเงินที่คนนั้นๆ เหลืออยู่ และเมื่อเงินทองของเขาหมดลง ชีวิตก็จบสิ้น แน่นอนว่าระบบนี้มันไม่สมบูรณ์ เพราะมันเปิดโอกาสให้คนรวยๆ สามารถมีอายุค้ำฟ้าได้ ส่วนคนจนๆ ตายโดยไร้ความเหลียวแล รอดูกันครับ ปลายเดือนนี้เอง ‹ ชี้แจงประเด็นกรณีกระทู้ node #2062 (อีกรอบ) วิทยาศาสตร์ เป็น ปรัชญา หรือไม่ ? ›
https://jusci.net/node/2111
ชวนดูหนัง: In Time
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า T. rex มีน้ำหนักตัว 4-6 เมตริกตัน แต่จากการวัดอย่างละเอียดครั้งล่าสุดโดยทีมวิจัยที่นำโดย John R. Hutchinson แห่ง Royal Veterinary College ในลอนดอน และ Peter Makovicky แห่งพิพิธภัณฑ์ Field Museum of Natural History ในชิคาโก พบว่า T. rex ตัวเต็มวัยอาจหนักได้ถึง 8 เมตริกตัน Peter Makovicky กล่าวว่าการประมาณน้ำหนักของ T. rex แบบเดิมนั้นใช้วิธีการเทียบเอากับน้ำหนักตัวของสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทีมวิจัยของพวกเขาจึงทำการวัดใหม่อย่างละเอียดโดยใช้เลเซอร์วัดโครงกระดูก จากนั้นก็เอาไปสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ ตัดส่วนที่เป็นช่องว่าง เช่น ปอดและโพรงทางเดินอาหาร ฯลฯ ออกไป ภาพแสดงวิธีการสร้างแบบจำลองหาน้ำหนัก T. rex ภาพจาก Hutchinson et al 2011 ตัวอย่างกระดูกที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ โครงกระดูกของ T. rex ที่มีชื่อว่า "Sue" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว เนื่องจาก Sue มีขนาดใหญ่มากเกินกว่าอุปกรณ์ที่นักวิจัยมี ทีมวิจัยถึงกับต้องขอความช่วยเหลือจากกรมตำรวจชิคาโกและโรงงานฟอร์ดมอเตอร์มาช่วยกันวัดเลย ผลปรากฏว่า Sue ตัวเป็นๆ อาจมีน้ำหนักได้ถึง 8,164 กิโลกรัม! มากกว่าที่เคยเชื่อกันเป็นพันๆ กิโลกรัม นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังใช้เทคนิคอย่างเดียวกันกับโครงกระดูก T. rex ที่มีช่วงวัยต่างๆ กันอีก ก็ปรากฏว่า T. rex เจริญเติบโตมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น 10 หรือ 12 ถึง 17 หรือ 18 ปี ในช่วงนี้น้ำหนักตัวของ T. rex อาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 1,790 กิโลกรัมต่อปี (อันนี้คำนวณจากสมมติฐานที่ว่า T. rex แรกฟักออกจากไข่มีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขีดจำกัดสูงสุดแล้ว หากหนักกว่านี้เปลือกไข่ที่รองรับจะหนาเกินไปจนตัวอ่อนเจาะออกมาไม่ได้) แม้ว่านี่จะเป็นอัตราการเติบโตที่พอๆ กับไดโนเสาร์ที่มีขนาดเดียวกัน แต่นักวิจัยก็คาดว่าน้ำหนักตัวที่มากขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะน้ำหนักร่างกายท่อนบนน่าจะทำให้ T. rex เคลื่อนไหวได้ช้าลง ดังนั้นกล้ามเนื้อขาของ T. rex จะต้องมีกำลังมหาศาลเพื่อที่จะชดเชยแรงเฉื่อยจากน้ำหนักตัว เป็นไปได้ว่ากล้ามเนื้อขาของ T. rex น่าจะเป็นกล้ามเนื้อที่ทรงพลังที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์ยุคเดียวกัน งานวิจัยนี้เผยแพร่ในวารสาร PLoS ONE DOI: 10.1371/journal.pone.0026037 (เป็น Open Access อีกแล้ว เข้าไปอ่านฉบับเต็มๆ ได้ฟรี) ที่มา - Science Daily, Live Science
https://jusci.net/node/2112
T. rex ตัวโตกว่าที่เคยคิด
ทีมนักวิจัยแห่ง Christian Albrechts University of Kiel ในประเทศเยอรมนี ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครชาย 56 คน ในจำนวนนี้มีชายที่เป็นพวกชอบเด็ก 24 คน (13 คนชอบเด็กผู้หญิง, 11 คนชอบเด็กผู้ชาย) และผู้ชายทั่วไป 32 คน (18 คนเป็นรักต่างเพศ, 14 คนเป็นรักร่วมเพศ) กลุ่มตัวอย่างจะได้ดูรูปภาพร่างกาย, ใบหน้า, และอวัยวะเพศของผู้หญิงทั้งที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ นักวิจัยจะใช้เทคนิค fMRI (functional Magnetic Resonance Imagery) ในการตรวจจับการตอบสนองของสมอง ผลปรากฎว่าการตอบสนองของกลุ่มตัวอย่างต่อรูปต่างๆ ก็แปรผันกันไประหว่างกลุ่ม แต่เมื่อได้ดูรูปเด็กผู้หญิง กลุ่มที่ชอบเด็กผู้หญิงมีการตอบสนองจากกลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด นักวิจัยไม่รู้ว่าการตอบสนองที่โดดเด่นของกลุ่มคนที่ชอบเด็กผู้หญิงนั้นเกิดจากการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศหรือความรู้สึกผิดกันแน่ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจจับนี้ก็เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบำบัดผู้ป่วยทางจิตที่ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ที่มา - Medical Xpress หมายเหตุ: ในพาดหัวข่าว ผมใช้คำว่า "โลลิคอน" แต่ความจริงแล้วในข่าวนี้หมายถึง กลุ่มคนที่มีรสนิยมทางเพศต่อเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ หรือที่เรียกกันว่า pedophile เท่านั้น
https://jusci.net/node/2113
อาจใช้คลื่นสมองตรวจจับพวกโลลิคอนได้
หลังจากเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิม่า พวกที่ยังต้องการใช้พลังงานนิวเคลียร์อยู่ก็เริ่มมองหาทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูงขึ้น ทางเลือกหนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากยูเรเนียมมาเป็นธอเรียม (Thorium, สัญลักษณ์ Th) ฝ่ายที่สนับสนุน Thorium ก็ยกข้อดีมาอ้างสารพัด เช่น เมื่อหลอมเป็นเชื้อเพลิงแล้ว Thorium แยกสกัดเอาไปทำอาวุธนิวเคลียร์ได้ยาก เกิดกากนิวเคลียร์ที่มีครึ่งชีวิตยืนยาวปริมาณน้อยกว่าเชื้อเพลิงยูเรเนียม หยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ง่ายกว่า เพราะเมื่อหยุดป้อนพลังงานตั้งต้นเข้าไป ปฏิกิริยาจะหยุดทันที John Durham แห่ง Weinberg Foundation ยกตัวอย่างจีนที่เพิ่งจะประกาศตัวเดินหน้าพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จาก Thorium เมื่อต้นปี 2011 ที่ผ่านมา และ อินเดียที่กำลังพัฒนาอยู่อย่างไม่น้อยหน้าประเทศอื่นๆ Kirk Sorensen วิศวกรของนาซ่าและเจ้าของบริษัท Flibe Energy ชี้ให้เห็นถึงข้อได้เปรียบของระบบเตาปฏิกรณ์แบบ molten-salt reactor (MSR) ที่ใช้ Thorium ว่ามันเสถียร, ทนความร้อนได้มากกว่า, และสามารถทำงานในสภาวะความดันต่ำๆ ได้ เนื่องจากมันใช้เกลือเป็นตัวหล่อเย็น ไม่ใช่น้ำเหมือนเตาปฏิกรณ์ยูเรเนียม ทำให้มันเสี่ยงต่อการระเบิดน้อยกว่า ("เกลือ" ในทางเคมีหมายถึงสารประกอบพันธะไอออนิกที่เกิดจากกระบวนการสะเทินของกรดและเบส ไม่จำเพาะว่าต้องเป็นเกลือแกงรสเค็มๆ ที่เราไว้จิ้มสับปะรด) เตาปฏิกรณ์แบบ MSR นี้เคยวิจัยกันมาตั้งแต่คริสตศตวรรษ 1960 แล้วที่ Oak Ridge National Laboratory จนกระทั่งในปี 1974 ก็ล้มเลิกโครงการไป นอกจากเตาปฏิกรณ์แบบ MSR แล้ว Thorium ก็สามารถนำไปผสมกับยูเรเนียมเพื่อใช้ในเตาปฏิกรณ์ที่ใช้น้ำเป็นตัวหล่อเย็นได้ อย่างเช่นตัวต้นแบบที่บริษัท Lightbridge Corp. ในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาขึ้นมา บริษัทบรรยายสรรพคุณว่าเชื้อเพลิงผสม Thorium และยูเรเนียมมีประสิทธิภาพมากกว่าและลดปัญหาการเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่เห็นด้วยกับคำอวดอ้างทั้งหลายเหล่านี้ก็มีเช่นกัน เช่น Dan Ingersoll แห่ง Oak Ridge National Laboratory Dan Ingersoll แย้งว่ายังไงซะ มันก็ยังมีกากนิวเคลียร์เกิดขึ้นอยู่ดี และร่องรอยกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยาของ Thorium ก็ยังตรวจพบได้ง่ายกว่าด้วย อาจทำให้โรงงานนิวเคลียร์เป็นเป้าหมายการโจมตีของผู้ก่อการร้าย นอกจากนี้ Dan Ingersoll ยังบอกต่อไปอีกว่า การพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่จะมาสร้างเตาปฏิกรณ์ Thorium นั้นยังสิ้นเปลือง ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน กรณีของประเทศอินเดียนั้นต้องทำเพราะความจำเป็นเนื่องจากอินเดียไม่มีแหล่งยูเรเนียมสำรองมากเท่าประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ไม่ว่าเตาปฏิกรณ์ Thorium จะขึ้นมาแทนที่ยูเรเนียมได้หรือไม่ เราก็อาจจะได้สัมผัส Thorium จากสิ่งที่ใกล้ตัวกว่านั้นมาก Charles Stevens แห่ง Laser Power Systems เชื่อว่าการสร้างเครื่องกำเนิดแสงเลเซอร์หรือรถยนต์พลังงานนิวเคลียร์จาก Thorium นั้นเป็นไปได้ แหม ฟังแล้ว ผมก็อยากเห็นโทรศัพท์พลังงานนิวเคลียร์จัง ขี้เกียจมานั่งชาร์จแบตเตอรี่วันต่อวันจริงๆ ที่มา - Discovery News อ้างอิง - Wikipedia
https://jusci.net/node/2114
"Th"... อนาคตพลังงานนิวเคลียร์?
ย้ายไปไว้ Blognone
https://jusci.net/node/2115
ลบครับ
เห็นช่วงนี้ห่วงเรื่องพลังงานกัน ‹ ชวนดูหนัง: In Time Albert Einstein Quotes ›
https://jusci.net/node/2116
แชร์ของไอเดียดีๆครับ
เห็นว่า คุยกันเรื่องศาสนา มากเหลือเกิน -- จริงๆ สำหรับผม ก็ไม่แปลกใจหรอก เพราะ ผมเห็นว่า วิทย์ก็คือ ปรัชญา ที่กลายเป็นศาสนาหนึ่งในโลก. ในฐานะที่ผมมองว่า คนในที่นี้ ไม่น่าจะเห็นว่า วิทย์เป็นศาสนา หรือ ปรัชญา, ซึ่งเมื่อมาเห็นว่ามีคนโพสต์เรื่องศาสนา ซึ่งไม่น่าจะเข้าพวก ก็เลยตั้งกระทู้ค้านไป. แต่สุดท้าย เจ้าของเว็บ ก็ดูเหมือน ไม่ค้านกระทู้ศาสนาแฮะ, ก็เลยตั้งเองเสียเลย. แฮะๆ. โพสตือะไร ก็ยิ้นๆกันไว้นะ ครับ, รักทุกคนเลย. ความเห็นผมนะ ครับ... วิทยาศาสตร์ ก็คือ ปรัชญา ที่ถูกนำมาใช้, ไม่ต่างอะไรกับ เมตตา ที่คนเอามาเจริญ. เพียงแต่วิทยาศาสตร์ เน้นวัตถุ, แต่ศาสนา(พุทธ ศาสนาอื่นผมไม่รู้) เน้นจิตใจ. แต่ทั้งคู่มีผล ไม่ใช่แค่ทฤษฏี. ไว้ทฤษฏีควอนตั้มถูกทฤษฏีอื่นแทนที่เมื่อไหร่ ความเป็นปรัชญา ก็จะปรากฎ. และถ้าเอาทฤษฏีทั้ง 4-5 ยุค ของอะตอมมากางดู จะยิ่งเห็นชัด. ผมพยามเน้นประเด็นนี้หลายรอบ, เพื่อให้ความคิดของผู้อ่าน หลุดกรอบ ที่ว่า วิทย์ไม่ใช่ปรัชญา ไม่ใช่ศาสนา. นั่นเป็นสิ่งที่ควรคิดให้ดี... (คือ เห็นว่า บทวิเคราะห์ หลายๆคนมันทะแม่งๆ, ราวกะว่า วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ศาสนา ไม่ใช่ปรัชญา) ‹ ชวนดูหนัง: In Time แชร์ของไอเดียดีๆครับ ›
https://jusci.net/node/2117
วิทยาศาสตร์ เป็น ปรัชญา หรือไม่ ?
เมื่อก่อนการทำลำดับรหัสจีโนมมนุษย์เป็นเรื่องยากที่ต้องใช้งบวิจัยเป็นร้อยๆ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ตอนนี้บริษัทเอกชนหลายรายก็เริ่มมีบริการนี้ในราคาที่พอรับได้แล้ว มีตั้งแต่หลักหมื่นเหรียญสหรัฐฯ ถึงหลักพันหลักร้อยในช่วงโปรโมชั่น (เท่าที่ทราบ ยังไม่มีบริษัทเหล่านี้ในประเทศไทย) ทีมวิจัยที่นำโดย Emiliano De Cristofaro แห่ง University of California, Irvine ต้องการหาวิธีเอาข้อมูลจีโนมเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการพิสูจน์ตัวบุคคลหรือความเป็นพ่อแม่โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเสี่ยงต่อการเปิดเผยข้อมูลจีโนมของตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงได้พัฒนาวิธีการเข้ารหัสข้อมูลจีโนมแบบ homomorphic encryption ซึ่งข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสจะให้ผลเหมือนกับข้อมูลที่ไม่ได้เข้ารหัสในกรณีที่วิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเพาะเจาะจง แต่ว่าหลังจากการเข้ารหัสแล้วข้อมูลจีโนมของ 1 คนจะมีขนาดประมาณ 3 GB ซึ่งหากเอาข้อมูล 3 GB สองชุดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันแบบบิตต่อบิตก็คงต้องใช้เวลาประมาณ 10 วัน! แม้ว่าเวลา 10 วันจะฟังดูพอรับได้สำหรับหลายคน แต่ทีมวิจัยของ Emiliano De Cristofaro ไม่พอใจแค่นั้น พวกเขาจึงใช้วิธีลัดโดยอาศัยหลักการของเทคนิค RFLP (restriction fragment length polymorphism) มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลจีโนมที่เข้ารหัสไว้ ด้วยเทคนิคนี้ข้อมูลจีโนมจะถูกตัดตรงตำแหน่งรหัสจำเพาะออกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ จากนั้นข้อมูลย่อยๆ แต่ละชิ้นจากจีโนมทั้งสองชุดก็จะถูกนำมาเทียบกัน จากผลการทดสอบกับโทรศัพท์ Nokia N900 พบว่าซอฟท์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนสองคนได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ผลงานนี้จะถูกสาธิตในงาน ACM Conference on Computer and Communications Security ที่จัดขึ้นสัปดาห์นี้ (17-21 ตุลาคม 2011) ณ ชิคาโก สหรัฐอเมริกา งานนี้ผมไม่มั่นใจนะว่ามีการทดสอบบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของค่ายอื่นหรือไม่ แต่เท่าที่เห็นในรายชื่อสปอนเซอร์ของการประชุมรอบนี้ มี Google และ Microsoft อยู่ด้วย (ไม่มี Apple แฮะ...สงสัยไม่ว่าง) ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/2118
ในอนาคต... สมาร์ทโฟนจะบอกได้ว่าใครเป็นลูกใครด้วยข้อมูล DNA
ข่าวล่ามาแรงช่วงนี้ก็หนีไม่พ้นเรื่องของ Neutrino ที่เดินทางเร็วกว่าแสงนะครับ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พยายามหาข้อสรุปที่เป็นไปได้ว่า เกิดจากความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือมากกว่า ซึ่งก็มีลางว่าจะพบแล้ว และที่สำคัญคือค่าคลาดเคลื่อนนี้ยิ่งตอกย้ำความแม่นยำของทฤษฎีสัมพัทธภาพขึ้นไปอีกด้วย ท้าวความว่าผลการทดลองนี้ได้สรุปออกมาจากการยิงอนุภาคจากสวิตเซอร์แลนด์ไปที่อิตาลีแล้ววัดความเร็วได้ผลออกมาว่า ความเร็วของนิวตริโนเร็วกว่าแสง 60 นาโนวินาที แต่ปัญหาที่แท้จริงคือ เราลืมไปว่าโลกหมุนรอบตัวเองครับ นั่นก็เพราะ ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ อนุภาคที่มีความเร็วเท่าแสงจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเร็วต้น ขออธิบายเปรียบเทียบว่า สมมุติว่าเรานั่งรถอยู่ แล้วยิงปืนไปข้างหน้า กระสุนจะเร็วมากขึ้น แต่ถ้าเรายิงไปข้างหลัง กระสุนจะช้าลง เพราะวัตถุที่ความเร็วต่ำกว่าแสง จะได้รับผลกระทบของความเร็วต้น (ตามกฏของนิวตัน) แต่ถ้าเราเปลี่ยนจากการยิงปืน เป็นยิงไฟฉายเลเซอร์ ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ แสงที่ออกจากไฟฉาย มันก็จะมีความเร็วเท่ากันเสมอไม่ว่าจะยิงไปด้านหน้าหรือด้านหลัง ดังนั้นถ้าเราคิดกลับกัน อนุภาคที่ถูกยิงออกไปจากสวิตเซอร์แลนด์ มันก็จะพุ่งไปด้วยความเร็วแสงโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการหมุนของโลก ดังนั้น ในมุมมองของอนุภาคนั้น มันก็เหมือนว่าเครื่องรับที่อิตาลี พุ่งเข้ามารับด้วยความเร็วที่โลกหมุนรอบตัวเอง ซึ่งจากการคำนวนก็ปรากฏชัดว่า ถ้าหากรวมเอาความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกมารวมในสมการ ก็จะต้องหักลบค่าความคลาดเคลื่อนไปประมาณ 60 นาโนวินาทีเช่นกัน สรุปว่า ตำราก็ยังเหมือนเดิม แถมหลักฐานแน่นหนากว่าเดิมด้วย ถ้าสมมุติเราทดลองกลับกัน ก็จะเป็นว่าอนุภาคนิวตริโน ก็จะช้ากว่าแสง 60 นาโนวินาที และคนก็คงไม่แตกตื่นอะไรกัน ป.ล. ความเชื่อของผมว่ามันต้องมีอะไรเร็วกว่าแสง ก็ลมๆแล้งๆต่อไป ที่มา : dvice.com
https://jusci.net/node/2119
โอละพ่อ? Neutrino ไม่ได้เดินทางเร็วกว่าแสง
รถ DMC DeLorean นั้นน่าจะเป็นที่จดจำได้ดีที่สุดจากการที่มันเป็นพาหนะหลักในภาพยนตร์เรื่อง Back to the Future แต่เรื่องจริงของรถรุ่นนี้กลับค่อนข้างน่าเศร้า เพราะมันอยู่ในสายการผลิตเพียงปีเดียวเท่านั้น (1981-1982) และผลิตออกมาประมาณ 9,000 คันเท่านั้น แต่ปีนี้บริษัท DeLorean Motor Company (DMC) ก็ประกาศว่าจะนำ DeLorean กลับมาอีกครั้งในปี 2013 และมันจะเป็นรถไฟฟ้าเต็มระบบ (Electic Vehicle - EV) โดยมีความเร็วสูงสุด 125 ไมล์ต่อชั่วโมง (201 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) กำลังเครื่อง 260 แรงม้า ราคาขาย 90,000 ถึง 100,000 ดอลลาร์ ระหว่างนี้เราก็มีเวลาให้เก็บเงินกันอีกสองปีก่อนที่จะวางจำหน่าย ส่วนถ้าใครอยากเอาไปย้อนเวลาก็อาจจะสบายใจได้แม้รถจะใช้พลังงานไฟฟ้า เพราะมันวิ่งทะลุ 88 ไมล์ต่อชั่วโมงได้สบายๆ รถ DeLorean รุ่นที่ทันสมัยที่สุดนั้นติดตั้งถังปฎิกรณ์ยี่ห้อ Mr. Fusion ไว้ด้วย ดังนั้นแฟนๆ อ่านแล้วก็อย่าลืม "เข้ามาดู" ที่มา - Your Houston News
https://jusci.net/node/2120
Back to the Future กลับมาแล้ว: DeLorean รุ่นไฟฟ้าจะกลับมาทำตลาดปี 2013
ยังจำ blog ที่ว่า นักวิจัยจาก CERN (ทีม OPERA) เจอ neutrinos ที่ลบล้างผลงานของ Einstein ที่ว่าไม่มีสิ่งใดเดินทางได้เร็วกว่าแสง ด้วยการ ยิง neutrinos จากห้องวิจัยในเจนิวา ไปยัง ห้องวิจัยในอิตาลี แล้ว neutrinos สามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสงประมาณ 60ns (ref : http://jusci.net/node/2056) อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยจาก University of Groningen, Netherland นั้นได้อธิบายปรากฎการณ์นี้ว่าเกิดจากความผิดพลาดในการคำนวน พวกเขาได้อธิบายว่า การวัดความเร็วของ neutrinos พวกนั้นใช้ การวัดเวลาที่ออกจากศูนย์วิจัยหนึ่งไปยังศูนย์วิจัยหนึ่ง ผ่าน GPS satellite โดยที่ดาวเทียมเหล่านี้ก็กำลังเคลื่อนที่อยู่เมื่อเทียบกับห้องวิจัย ดังนั้น นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าการเคลื่อนที่ของดาวเทียม ไม่ถูกคิดรวมเข้าไปตอน คำนวนระยะเวลาการเดินทางของ neutrinos เวลาที่ได้เหล่านั้นจึงอาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้ (จากทฤษฎีสัมพันธภาพของ Einstein ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน เวลาบนวัตถุนั้นๆก็จะวิ่งเร็วไม่เท่ากัน) ดังนั้น นักวิจัยกลุ่มนั้นจึงทำการคำนวนเวลาที่อาจจะคลาดเคลื่อนนั้นออกมา ได้ผลว่า น้อยกว่าที่ควรจะเป็นจริงๆประมาณ 64ns ซึ่งใกล้เคียงกับผลวิจัยของ CERN ที่ 60ns มาก การคำนวนทางวิทยาศาสตร์แต่ละอย่างนี่มี factors ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องให้ระวังเยอะมากมายจริงๆนะครับ ลืมไปอย่างนึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงได้เลย (นึกว่าเจออะไรใหม่ๆเข้าให้ซะแล้ว) source - engadget.com
https://jusci.net/node/2121
ผลการวิจัยว่า neutrinos บางตัวเดินทางเร็วกว่าแสง อาจเป็นแค่ความผิดพลาดในการคำนวน
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดย นพ. Henne Holstege แห่ง VU University Medical Center ได้เริ่มโครงการค้นหาความลับทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้หญิงชาวเนเธอร์แลนด์คนหนึ่งมีอายุยืนยาวถึง 115 ปี ผู้หญิงคนนั้นมีชื่อว่า Hendrikje van Andel-Schipper ผู้ซึ่งเคยได้ครองสถิติคนที่อายุยืนที่สุดในโลกด้วยวัย 115 ปีในปี 2004 และเสียชีวิตในปีเดียวกันด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เธอเคยเป็นโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุได้ 100 ปี แต่นอกนั้นผลการตรวจสุขภาพยืนยันว่าเธอมีสุขภาพแข็งแรงดีทั้งทางร่างกายและสุขภาพจิต ขนาดว่าบิดาของ นพ. Henne Holstege ที่เคยตรวจสมองของเธอในปี 2004 ยังประหลาดใจเลยว่าสมองของเธอไม่มีพบร่องรอยของโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมอย่างที่คนวัยชราคนอื่นๆ เป็นกัน นอกจากนี้พี่น้องของเธอก็ล้วนมีอายุเกิน 70 ปีด้วยกันทั้งนั้น แม่ของเธอมีอายุยืนถึง 100 ปี ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อกันว่าพันธุกรรมของ Hendrikje van Andel-Schipper น่าจะมีอะไรซ่อนอยู่ จากผลการวิเคราะห์ชั้นต้น ก็พบว่าจีโนมของ Hendrikje van Andel-Schipper มียีนหายากอยู่หลายตัว แต่ว่า นพ. Henne Holstege ก็ยังไม่กล้ายืนยันว่ายีนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับอายุอันยืนยาวหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะได้ทำการวิเคราะห์จีโนมของคนที่มีอายุยืนอีกหลายๆ คน เพื่อที่ว่าสักวันหนึ่ง เราจะสามารถไขความลับของอายุวัฒนะได้ ไม่แน่ว่าในอนาคต อายุ 100 ปีอาจจะเป็นอายุขัยขั้นต่ำของมนุษย์ ที่มา - Medical Xpress
https://jusci.net/node/2122
นักวิทยาศาสตร์เจาะความลับ DNA ของคนที่อายุยืนที่สุดในโลก
เมื่อปลายปี 2010 เราได้รู้จักกับงู boa constrictors ที่ตัวเมียมีลูกได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวผู้ ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ก็เจองูอีกชนิดแล้วที่ตัวเมียมีลูกได้เอง Warren Booth และ Gordon Schuett แห่ง North Carolina State University at Raleigh พบว่า ในปี 2009 งู copperhead ตัวเมีย (Agkistrodon contortrix) ตัวหนึ่งที่เลี้ยงไว้ในอะควาเรียมให้กำเนิดลูกออกมา 4 ตัว ทั้งที่ๆ ในบันทึกระบุชัดเจนว่ามันไม่เคยเจอกับตัวผู้เลยตั้งแต่เกิด ยกเว้นตัวผู้ของงู corn snake ซึ่งก็ไม่น่าจะผสมข้ามพันธุ์กันได้ และจากการวิเคราะห์ DNA ลูกงูที่เกิดขึ้นสองตัว ก็พบว่าลูกงูรับยีนจากแม่มาเต็มๆ ไม่ปรากฏร่องรอยของยีนจากพ่องูเลย การออกลูกโดยไม่ต้องพึ่งการผสมจากสเปิร์มของตัวผู้ เรียกว่า "Parthenogenesis" มีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดที่ออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ด้วยวิธีนี้ (โดยเฉพาะพวกแมลง) แต่สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังแล้ว ปรากฏการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้มีให้พบเห็นกันบ่อยครั้ง ที่ทราบๆ กันก็มีสัตว์เลื้อยคลานไม่กี่ชนิด ตัวอย่างของ Parthenogenesis ในสัตว์เลื้อยคลานที่รู้จักกันดีที่สุดน่าจะเป็นมังกรโคโมโด นอกจากนี้ ทั้งสองคนยังสนใจงูหางกระดิ่ง eastern diamond-backed rattlesnake (Crotalus adamanteus) ตัวเมียอีกตัว ซึ่งก็ให้กำเนิดลูกถึง 19 ตัวเมื่อปีที่แล้ว ทั้งที่ไม่ได้สัมผัสกับงูตัวผู้เลยเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี แต่กรณีของงูหางกระดิ่ง ผลวิเคราะห์ DNA ระบุได้ว่าลูกงูเกิดจากการผสมพันธุ์ของพ่องูกับแม่งูแน่นอน แถมแม่งูยังได้ผสมพันธุ์กับพ่องูหลายตัวด้วย แม้ว่าผลจะไม่น่าตื่นเต้นเท่ากับงู copperhead ตัวข้างบน แต่นี่ก็ถือได้ว่าเป็นสถิติการเก็บสเปิร์มที่ยาวนานที่สุดของบรรดางูตัวเมียทั้งหลาย ถึงตรงนี้ ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วจะร้องไห้... มีลูกไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...มีลูกได้เอง,,,เพราะผู้ชายอย่างพวกเราจะสูญพันธุ์ตายกันหมด ที่มา - Live Science ป.ล. ใครไม่เข้าใจมุขท้ายข่าว คลิกตรงนี้ครับ
https://jusci.net/node/2123
นักวิทยาศาสตร์พบงูตัวเมียมีลูกได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ (อีกแล้ว)
ข้อถกเถียงที่ว่าการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กเป็นเรื่องดีหรือไม่ แต่เปเปอร์รีวิวงานวิจัยในสายกุมารเวชศาสตร์ก็สร้างข้อสรุปที่บอกได้ง่ายๆ ว่าการดูโทรทัศน์ "ไม่มีผลดี" ต่อพัฒนาการของเด็ก และอาจจะมีผลเสียอีกด้วย คำถามว่าโทรทัศน์สำหรับเด็กนั้นมีข้อดี (หรือข้อเสีย) หรือไม่เป็นคำถามที่แตกเป็นออกเป็นหลายต่อหลายประเด็น ได้แก่ ประเด็นการเรียนรู้ของเด็ก: งานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่าเด็กไม่สามารถเข้าใจภาพในจอโทรทัศน์ได้จนกว่าจะอายุเกิน 2 ขวบ ดังนั้นการเปิดโทรทัศให้เด็กก็จะไม่มีข้อดีในแง่การเรียนรู้ การพักผ่อน: การเปิดโทรทัศน์ให้เด็กอาจจะทำให้เด็กๆ หลับเร็วขึ้น แต่กลับทำให้การหลับไม่ปรกติ อาจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก รายงานฉบับนี้ยังรวมถึงการเปิดโทรทัศน์โดยที่เด็กไม่ได้เป็นผู้ชมโดยตรงก็อาจจะมีผลต่อเนื่องจากเสียงที่ดึงความสนใจของเด็ก รวมถึงพ่อแม่เองที่จะปฏิสัมพันธ์กับเด็กน้อยลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับพัฒนาการทางภาษา ส่วนการใช้เวลากับโทรทัศน์ในเด็กอายุมากกว่านั้นจะส่งผลให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่น้อยลงเพราะใช้เวลาหน้าจอโทรทัศน์ ยังไม่มีรายงานว่าเวลาที่เสียไปนี้คุ้มค่ากับการเรียนรู้จากโทรทัศน์หรือไม่ แต่การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ก็สร้างการเรียนรู้ผ่านการพูดคุยหรือฟังผู้ใหญ่คุยกันได้ รายงานฉบับนี้เจาะจงเฉพาะโทรทัศน์ไม่ว่าจะเปิดรายการช่องต่างๆ หรือเปิดแผ่นดีวีดีเท่านั้น ยังไม่มีรายงานถึงการใช้สื่อที่มีปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้เช่นแท็บเล็ตว่าจะส่งผลอย่างไร ประเทศไทยอาจจะต้องทำงานวิจัยส่วนนี้ในปีหน้า? ที่มา - ArsTechnica
https://jusci.net/node/2124
งานวิจัยยืนยัน โทรทัศน์ไม่เป็นผลดีต่อเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
หลังจากเล่นกับหุ่นยนต์แมลงสาบที่ชื่อว่า DASH (Dynamic Autonomous Sprawled Hexapod) มาเป็นเวลาสองปี ทีมนักวิจัยที่นำโดย Ron Fearing แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เรีย, เบอร์คลีย์ ก็เริ่มเบื่อกับการเดินด๊อกแด๊กๆ ของมัน เลยพยายามหาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้มันดีขึ้น สิ่งที่พวกเขาคิดได้ ก็คือ การใส่ปีกและหางเข้าไปบนตัว DASH และตั้งชื่อหุ่นยนต์ตัวใหม่ของพวกเขาว่า DASH+Wings (เอากันง่ายๆ แบบนี้แหละ) จากการทดสอบ พบว่าการเพิ่มปีกและหางเข้าไปทำให้หุ่นยนต์แมลงสาบสามารถวิ่งได้เร็วและราบเรียบขึ้น หากขยับปีกขึ้นลงไปด้วย ก็จะทำให้วิ่งเร็วขึ้นได้อีก แถมไต่ขึ้นพื้นที่ลาดชันได้สูงกว่าเดิมด้วย เมื่อปล่อย DASH+Wings ตกลงมาจากที่สูง หุ่นยนต์ก็สามารถร่อนเอาเท้าลงแตะพื้นและวิ่งต่อไปได้อย่างงดงาม ในขณะที่หุ่น DASH แบบเดิมที่ไม่มีปีก ตกแป้กลงมาหงายบ้างคว่ำบ้างตามยถากรรม นักวิจัยคิดว่าตัวอย่งของ DASH+Wings น่าจะใช้อธิบายวิวัฒนาการของแมลงมีปีกและนกได้ เป็นไปได้ว่าปีกของแมลงในยุคแรกๆ ช่วยให้แมลงสามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้และทำให้มันควบคุมการลงพื้นได้อย่างสมดุล ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/2125
หุ่นยนต์แมลงสาบได้เพิ่มปีก วิ่งเร็วกว่าเดิม
วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สถาบันวิมุตตยาลัยได้เปิดเผยว่า พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (หรือ ว. วชิรเมธี) ได้รับรางวัล "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2011" จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551 โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินกิจกรรมและบริการสังคมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันมูลนิธิ มสวท.ได้รับการสนับสนุนจากสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ว. วชิรเมธี เคยให้สัมภาษณ์ออกรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งว่าคนเหาะได้ และเทศน์สอนพิธีกรว่าอย่างมงายในวิทยาศาสตร์ (อ้างอิงคลิปนี้นาทีที่ 2:40 เป็นต้นไป) คำพูดดังกล่าวสร้างกระแสถกเถียงอย่างรุนแรงในหมู่คนที่สนใจในวิทยาศาสตร์และหลักคำสอนของศาสนาพุทธ (อ้างอิงจากเว็บ drama-addict.com เนื่องจากกระทู้ต้นเรื่องถูกลบไปแล้ว) ขณะนี้ (เวลา 23.52 น. ของวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554) รายละเอียด เหตุผล และสาขาของรางวัลที่ ว. วชิรเมธีได้รับยังไม่ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการที่หน้าเว็บ มสวท. In Soviet Thailand... มูลนิธิวิทยาศาสตร์ฯ มอบรางวัลให้คนที่บอกว่า "อย่างมงายวิทยาศาสตร์" ที่มา - Facebook ของ ว. วชิรเมธี
https://jusci.net/node/2126
มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมอบรางวัลบุคคลคุณภาพแด่ ว. วชิรเมธี
การฟ้องร้องจากกรีนพีช (เขาไม่ได้ฟ้องโรงงานปล่อยควันหรือเรือล่าปลาฉลามอย่างแค่นั้น) ต่อศาลสหภาพยุโรปว่าสำนักงานสิทธิบัตรต้องไม่อนุญาตให้จดสิทธิบัตรกระบวนการวิจัยสเต็มเซลล์ของมนุษย์ คำพิพากษาระบุว่ากระบวนการที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยหรือการรักษาโรคนั้นสามารถจดสิทธิบัตรได้ ขณะที่กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่สามารถนำมาจดสิทธิบัตรได้ คำพิพากษานี้มีผลให้กระบวนการแยกสเต็มเซลล์ออกจากเอ็มบริโอไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ ขณะที่สเต็มเซลล์มีความเป็นไปได้มากมายที่จะใช้รักษาโรค แต่การวิจัยยังอยู่ในขั้นพื้นฐานที่พัฒนาการยังอยู่ในช่วงการพัฒนากระบวนการเพื่อทำงานกับสเต็มเซลล์ คำพิพากษานี้นับเป็นชัยชนะอย่างเต็มรูปแบบของกลุ่มกรีนพีช ขณะที่นักวิทยาศาสตร์กำลังกังวลว่าคำพิพากษานี้จะทำให้งานวิจัยถูกย้ายฐานออกไปจากยุโรปเพื่อไปทำวิจัยในประเทศที่รองรับการจดสิทธิบัตร ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/2127
ศาลสหภาพยุโรปตัดสินไม่อนุญาตให้จดสิทธิบัตรกระบวนการวิจัยสเต็มเซลล์มนุษย์
ผมไม่เข้าใจว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่เหรอครับ สั่งสอนผู้คนให้ตาดีขึ้น เลิกศรัทธาในศาสนากันเต็มที่ แล้วหันมาปลูกตนโพธ์ต้นไทร ทับลงไปบนต้นไม้เดิมของเขา(เพราะลูกไทรกินได้) เพื่อสร้างยูโทเปียที่ผู้คนต่างชาญฉลาดในวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตย (ในทรรศของคุณ) ผมยิ่งคิดก็ยิ่งสงสัย ว่าอะไรคือแรงบัลดาลใจที่ทำให้คุณลุกขึ้นมาสู้ เพื่อทำในสิ่งที่คุณแกล้งปิดตาไม่รู้ความจริง ไม่ว่าอย่างไร ขอโทษนะครับ คุณไม่ใช่คุณแอนเดอสัน บุตรแห่งพระเจ้า ผมจะเตือนคุณนิดนึงนะครับ ในโลกนี้มีสายลับสมิธอยู่ สมิธคือทุกคน แม้แต่ตัวคุณ คุณพร้อมจะใช้วาทกรรมที่ถูกสร้าง เพื่อโจมตีในสิ่งที่ไม่ใช่คุณ เช่น (ทหารใจมด รบก็แพ้ตลอด ...) ผมคิดว่าคุณคงเข้าใจนะครับว่านี่คือเหตุผลวิบัติ ที่โจมตีคนเห็นต่างจากคุณ สวัสดีครับ คุณ เทอร์มิสมิธ วันนี้ผมว่าง อยากจะแลกเปลี่ยนความเห็นกับคุณ แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับว่าผมจะใช่้เหตุผลวิบัติเต็มที่ เพราะผมจะพยามใช้ให้น้อยที่สุดนั่นเอง Rachanant วิทยาศาสตร์ เป็น ปรัชญา หรือไม่ ? ›
https://jusci.net/node/2128
ถึงคุณ terminus ที่นับถือ
π หรือ Pi คืออัตราส่วนของเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมซึ่งมีค่าประมาณ 3.14159.... ความน่าสนใจของ Pi คือมันเป็นตัวเลขอตรรกยะ นั่นคือมันไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ ตำแหน่งทศนิยมของมันจะวิ่งไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการซ้ำคาบกันเลย พวกคนรักคณิตศาสตร์ซึ่งปกติก็ไม่ค่อยทำอะไรมากนอกจากหายใจทิ้งไปวันๆ จึงชอบแข่งขันกันหาค่า Pi เป็นพิเศษ ก็เพราะว่า....ก็...เพราะไม่มีอะไรให้ทำนั่นแหละ สถิติอันเดิมคำนวณโดย Alexander J. Yee นักศึกษาของ Northwestern University และ Shigeru Kondo ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในเขตนากาโนะ ใช้เวลาคำนวณอยู่ 90 วัน ในวันที่ 2 สิงหาคม ปี 2010 พวกเขาก็ประกาศความสำเร็จที่ทศนิยม 5 ล้านล้านตำแหน่ง ผ่านไปหนึ่งปีกว่า (สถิติเดิมยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการด้วยซ้ำ) หน้าเดิมทั้งสองคนก็ประกาศสถิติใหม่ของค่า Pi อีกแล้ว คราวนี้จัดเต็มไปเลย 10 ล้านล้านตำแหน่ง! เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้คำนวณรอบใหม่นี้ก็เป็นตัวเดิมกับคราวที่แล้ว ซีพียู Intel Xeon X5680 @ 3.33 GHz สองตัว, แรม DDR3 96 GB แต่ว่าเพิ่มฮาร์ดดิสก์ขึ้นมาเพื่อให้เก็บข้อมูลได้เพียงพอ คนประกอบเครื่องคือ Shigeru Kondo ส่วน Alexander J. Yee นั่งอู้ เอ้ย เป็นคนเขียนโปรแกรมคำนวณที่ชื่อว่า "y-cruncher" รันบนระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 R2 Enterprise x64 การคำนวณรอบนี้ใช้เวลาถึง 371 วัน (เริ่มตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2010 จนถึงเสร็จ 16 ตุลาคม 2011) และตรวจสอบอีกเกือบ 5 วัน มีฮาร์ดดิสก์สังเวยชีพไปนับไม่ถ้วน นี่ยังนับว่าโชคดีที่เขตนากาโนะนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อตอนต้นปี ผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลข 10 ล้านล้านตัวใช้พื้นที่เก็บบนฮาร์ดดิสก์ 7.6 TB (หากไม่ได้บีบอัด จะต้องใช้พื้นที่ 16.6 TB) งานนี้ผู้ชายสองคนก็กอดคอภาคภูมิใจกันไป แต่ภรรยาของ Shigeru Kondo ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์อย่างเซ็งๆ ว่า ทั้งหมดนี้เธอได้ประโยชน์แค่เอาห้องคอมพิวเตอร์ร้อนๆ ไว้ใช้ตากผ้า แต่นั่นก็หมายถึงครอบครัว Kondo ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าถึงเดือนละ 30,000 เยน (12,000 บาท) กันเลยทีเดียว ที่มา - CNET, ประกาศของ Alexander J. Yee
https://jusci.net/node/2129
สถิติค่า Pi ใหม่ ละเอียดถึง 10 ล้านล้านตำแหน่งทศนิยม
ทีมวิจัยที่นำโดย Geraint Rees แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้ทำการวัดขนาดส่วนต่างๆ ของสมองกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คนด้วยเทคนิค fMRI (functional Magnetic Resonance Imaging) จากนั้นก็เอามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับจำนวน "เพื่อน" ใน Facebook ของแต่ละคน ผลปรากฏว่าคนที่มีเพื่อนใน Facebook มากจะมีสมองบางส่วนใหญ่กว่าคนที่มีเพื่อนน้อย สมองส่วนที่ใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ superior temporal sulcus และ middle temporal gyrus (ซึ่งทั้งสองส่วนนี้เกี่ยวกับการแปลผลสัญญาณท่าทางเบื้องต้นทางสังคม), entorhinal cortex (ใช้จับคู่ใบหน้ากับชื่อ), amygdala (ควบคุมเกี่ยวกับอารมณ์และการจดจำสีหน้าของแต่ละอารมณ์) ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบด้วยจำนวนเพื่อนในชีวิตจริงแล้ว กลุ่มที่มีเพื่อนในชีวิตจริงเยอะมีเพียง amygdala ที่ใหญ่กว่า (คล้ายกับผลวิจัยในข่าวเก่า) แต่สมองส่วนอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้มีความแตกต่างกันระหว่างของคนทีมีเพื่อนเยอะและคนที่มีเพื่อนน้อย งานวิจัยนี้ไม่ได้บอกว่าการมีเพื่อนใน Facebook เยอะๆ แล้ว สมองจะใหญ่ตาม นักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุและเป็นผลของกันและกัน อาจจะเป็นว่าคนที่มีสมองส่วนเหล่านี้ใหญ่มีแนวโน้มจะหาเพื่อนใน Facebook ได้เก่งก็ได้ หรือแม้แต่อาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องก็ยังได้ นอกจากนี้จำนวน "เพื่อน" ใน Facebook ก็ไม่ได้สื่อถึงประสิทธิภาพของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม บางคนมีเพื่อนในรายชื่อเป็นร้อย แต่อาจแค่กด like หรือพิมพ์คอมเม้นท์โต้ตอบอยู่กับคนไม่ถึงสิบคนก็มี... แต่กด love นี่มีได้แค่คนเดียวนะ (วู้...! มุขน้ำเน่า) ที่มา – Live Science
https://jusci.net/node/2130
คนสมองใหญ่มีเพื่อนใน Facebook มาก
แม้ดาวเทียม GPS นั้นสหรัฐฯ จะให้ใช้งานได้ฟรี แต่ด้วยเหตุผลทางความมั่นคงแล้ว การยอมใช้ GPS ไปเรื่อยๆ โดยระวังว่าวันหนึ่งสหรัฐฯ อาจจะปิดระบบเมื่อใหร่ก็ได้เป็นความเสี่ยงด้านความมั่นคงที่สูงเกินไป ชาติมหาอำนาจอย่างรัสเซียหรือสหภาพยุโรปจึงพยายามสร้างระบบดาวเทียมของตัวเอง และชุดดาวเทียมกาลิเลโอของสหภาพยุโรปก็ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว ดาวเทียมทั้งระบบของกาลิเลโอจะต้องการดาวเทียม 14 ดวงตลอดดโครงการ โดยต้องอาศัยงบประมาณเพิ่มเติมอีก 9.3 พันล้านดอลลาร์ สำหรับขั้นตอนการของบประมาณเพื่อสร้างดาวเทียมที่เหลือนั้นอยู่ระหว่างการขออนุมัติ แต่ภายใต้ภาวะที่สหภาพยุโรปกำลังมีปัญหาทางการเงินอย่างหนักเช่นนี้ มีความเป็นไปได้ที่สหภาพยุโรปจะตัดงบประมาณและปล่อยให้ดาวเทียมสองดวงกลายเป็นเพียงดาวเทียมเสริมของ GPS ที่ไม่สามารถใช้งานโดยตัดขาดระบบจาก GPS ได้ ดาวเทียมอีกชุดหนึ่งที่โด่งดังคือ GLONASS ของรัสเซียที่เริ่มเปิดใช้งานแล้ว โดย iPhone 4S ก็สามารถใช้งาน GLONASS ได้ด้วย ที่มา - BusinessWeek
https://jusci.net/node/2131
ดาวเทียมกาลิเลโอสองดวงแรกขึ้นสู่อวกาศแล้ว
เมื่อเดือนที่แล้ว วันที่ 22 กันยายน 2011 ทีม OPERA (Oscillation Project with Emulsion-Tracking Apparatus) ของ CERN ได้เผยแพร่ผลการค้นพบของตัวเองอย่างไม่เป็นทางการลงใน arXiv.org ก่อนจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกรอบในวันต่อมา จากนั้นข่าวนี้ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โตในวงการวิทยาศาสตร์ บางคนก็วิตกจริตไปใหญ่ กลัวว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลัก (pillar) ของฟิสิกส์ยุคใหม่จะต้องมีอันเป็นไปเสียแล้ว พวกคนที่ดีใจก็แสดงอาการกันออกนอกหน้า จินตนาการเลยเถิดไปจนถึงการสร้างไทม์แมชีนโน่นเลย การค้นพบของ OPERA นั้นสรุปสั้นๆ ได้ว่า พวกเขาได้ยิงลำนิวตริโนจากห้องทดลองของ CERN ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไปยังเครื่องตรวจจับที่ Gran Sasso ในอิตาลี ผลจากการคำนวณปรากฏว่านิวตริโนเดินทางไปถึงก่อนเวลาที่คาดว่าแสงจะต้องใช้เดินทางในสุญญากาศด้วยระยะทางเท่ากันอยู่ประมาณ 60 นาโนวินาที เวลา 60 นาโนวินาทีอาจจะน้อยมากๆ สำหรับคนทั่วไป แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of Special Relativity) ของไอน์สไตน์มีช่องโหว่หรืออาจถึงขั้นถูกล้มล้างไปเลย เพราะตามทฤษฎีแล้วอนุภาคที่มีมวลไม่ควรเคลื่อนที่ได้เร็วเกินหน้าเกินตาความเร็วแสงในสุญญากาศ แม้นิวตริโนจะมีมวลน้อยนิด แต่มันก็มีมวล สัปดาห์แรกแห่งความโกลาหล แน่นอนว่าผลกระเทือนระดับนี้ ต้องเจอแรงต่อต้านมหาศาล แค่ในสัปดาห์แรก ทีม OPERA ก็โดนกระหน่ำจับผิดจากนักฟิสิกส์เกือบทั้งวงการ เริ่มกันตั้งแต่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น ตำแหน่งพิกัดที่ใช้วัดละเอียดพอหรือไม่? คิดชดเชยค่าความเร็วแสงในบรรยากาศหรือยัง? นาฬิกาที่ใช้ตรงหรือเปล่า? เป็นต้น แต่ทีม OPERA ก็มั่นใจว่าตัวเองทำการบ้านมาดี เก็บรายละเอียดยิบย่อยพวกนี้ได้หมด ข้อคัดค้านเหล่านี้เลยหายเข้ากลีบเมฆไป (อ่านข่าวคำวิจารณ์และคำแก้ต่างของ OPERA เรื่องการวัดตำแหน่งจาก New Scientist, เรื่องการคำนวณชดเชยความเร็วแสงจาก Live Science, เรื่องนาฬิกาที่ใช้วัดจาก New Scientist) ถึงกระนั้น คนที่คิดว่าผล OPERA ถูกต้อง (คือเชื่อว่านิวตริโนอาจเดินทางได้เร็วกว่าแสงจริงๆ) ก็พอมีอยู่บ้าง กลุ่มนี้ก็พยายามคิดหาทฤษฎีอลังการมาอธิบายผลของ OPERA กันอุตลุด เช่น นิวตริโนหลุดเข้าไปมิติอื่นแล้วทะลุออกไปโผล่ที่อิตาลีแซงหน้าแสง (อ้างอิง Nature News), หรือ นิวตริโนพลังงานสูงอาจคือ tachyon อนุภาคลึกลับที่นักฟิสิกส์เชื่อกันว่าเดินทางได้เร็วกว่าแสง (อ้างอิง Discovery News) เป็นต้น คำอธิบายเหล่านี้ก็สร้างความตื่นเต้นอยู่พักใหญ่ ก่อนจะหายเงียบไปเหมือนสายลมว่าว สงครามอภิปรายรอบสอง ชุมชนนักฟิสิกส์ต้องใจเต้นตุ้มๆ ต่อมๆ เป็นสัปดาห์กว่าที่คำโต้แย้งผลการวิจัยของ OPERA ที่พอมีน้ำหนักจะเริ่มดาหน้ากันออกมา คนแรกที่เปิดฉากรบในรอบสอง คือ Carlo R. Contaldi แห่ง Imperial College London ซึ่งเขียนอธิบายคำโต้แย้งของตนเองลงใน arXiv.org เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2011 ข้อโต้แย้งของ Carlo Contaldi อ้างอิงจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (Theory of General Relativity) ที่ว่าแรงโน้มถ่วงทำให้กาล-อวกาศบิดเบี้ยว และเนื่องจากเครื่องปล่อยนิวตริโนที่ CERN และเครื่องตรวจรับที่ Gran Sasso อยู่ห่างจากใจกลางโลกไม่เท่ากัน จึงทำให้ได้รับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงไม่เท่ากัน ดังนั้นนาฬิกาทั้งสองจุดก็จะต้องเดินไม่ตรงกันตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป Carlo Contaldi มั่นใจมากว่าหากคำนวณผลของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเข้าไปแล้ว ค่าความเชื่อมั่นของผล OPERA จะต้องลดลงเหลือต่ำกว่า 5 sigma แน่นอน (5 sigma คือระดับความเชื่อมั่นที่นักฟิสิกส์อนุภาคให้การยอมรับว่าเป็นการค้นพบ หากต่ำกว่านี้ก็ต้องไปทำการบ้านมาใหม่ ผลของทีม OPERA มีค่าความเชื่อมั่นที่ 6 sigma) แต่ อนิจจา Carlo Contaldi กลับตกม้าตายง่ายๆ เนื่องจากทีม OPERA ไม่ได้เอานาฬิกาสองเรือนไปตั้งเฉยๆ โดยที่ไม่ทำอะไรเลย ทีม OPERA ได้ทำการเชื่อมสัญญาณนาฬิกาทั้งสองจุดไว้กับนาฬิกาซีเซียมที่อยู่บนดาวเทียม GPS ดังนั้นเวลาที่ OPERA วัดได้จึงไม่คลาดเคลื่อนจากการบิดเบี้ยวของกาล-อวกาศตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ยกนี้ OPERA เลยชนะน็อคไปอย่างสบายๆ (อ่านข่าวเรื่องนี้ได้จาก Life's Little Mysteries และ Nature News) อีกคำโต้แย้งที่ตามมาติดๆ เป็นของ Andrew Cohen และ Sheldon Glashow แห่ง Boston University ที่คิดว่านิวตริโนที่เครื่องจับที่ Gran Sasso วัดได้ไม่น่าจะเป็นนิวตริโนจาก CERN (รายงานฉบับเต็มที่ arXiv.org) Andrew Cohen และ Sheldon Glashow เชื่อว่าอนุภาคอะไรก็ตามที่เดินทางได้เร็วกว่าแสงในตัวกลางหนึ่งๆ จะต้องมีการปลดปล่อยอนุภาคออกมาตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของมัน คล้ายๆ กับ Sonic Boom ของการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือเสียง ปรากฏการณ์แผ่อนุภาคของความเร็วเหนือแสงนี้เรียกว่า "Cerenkov radiation" (ตัวอย่างเช่น ที่เราเห็นน้ำในเตาปฏิกรณ์เรืองแสงสีอมฟ้าๆ ก็เพราะอิเล็กตรอนในบ่อน้ำนั้นวิ่งเร็วกว่าความเร็วที่แสงวิ่งในน้ำและปล่อยโฟตอนหรืออนุภาคของแสงออกมา) จากการคำนวณของทั้งสอง ทำให้คาดได้ว่า หากนิวตริโนของ OPERA เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงจริงๆ ลำนิวตริโนจะต้องเกิด Cerenkov radiotion เป็นคู่ของอิเล็กตรอน-โพสิตรอนออกมาเป็นทาง แต่ผลของ OPERA กลับไม่มีรายงานการเกิดอนุภาคดังกล่าวเลย ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ คำโต้แย้งของ Andrew Cohen และ Sheldon Glashow ได้รับการสนับสนุนจากนักฟิสิกส์อีกหลายคน และผลจากเครื่องตรวจวัดอีกเครื่องใน Gran Sasso ที่ชื่อว่า ICARUS (Imaging Cosmic And Rare Underground Signals) ซึ่งตรวจจับนิวตริโนจาก CERN เหมือนกัน ก็ไม่พบว่ามีนิวตริโนที่เดินทางได้เร็วกว่าแสงเข้ามาชนเลยและก็ไม่มี Cerenkov radiation ด้วย แม้ว่าทีม OPERA จะยังหาหลักฐานมางัดข้อกับสมมติฐานของ Andrew Cohen และ Sheldon Glashow ไม่ได้ แต่ทว่าคำโต้แย้งเรื่อง Cerenkov radiation ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าการทดลองของ OPERA ผิดพลาดตรงไหน หากเปรียบเป็นมวย ยกนี้ก็ต้องถือว่าเสมอกัน (อ่านข่าวเรื่องนี้ได้จาก New Scientist, และ Scientific American) และเร็วๆ นี้ คำโต้แย้งล่าสุดก็กลับหันไปพึ่งไอน์สไตน์อีกรอบ แต่คราวนี้ไม่ใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปมาช่วยกู้ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษแล้ว Ronald A. J. van Elburg แห่ง University of Groningen ใช้ทฤษฎีสัมพัทธพิเศษอันเดียวนี่แหละอธิบายว่า OPERA ผิดพลาดตรงไหน (รายงานฉบับเต็มอยู่ที่ arXiv.org) ข้อผิดพลาดที่ van Elburg ชี้ คือ OPERA ใช้นาฬิกาบนดาวเทียม GPS เป็นตัวจับเวลา และเนื่องจากดาวเทียมเคลื่อนที่สัมพัทธ์กับเครื่องตรวจจับทั้งสองบนผิวโลก ทำให้ หากสังเกตในกรอบอ้างอิงของดาวเทียม ผู้สังเกต(นาฬิกา)บนดาวเทียมจะ "เห็น" ว่านิวตริโนใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าเวลาที่วัดได้ในกรอบอ้างอิงบนผิวโลก ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้สังเกตบนดาวเทียมเห็นระยะทางระหว่างเครื่องตรวจจับทั้งสองบนโลกหดลงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ดังนั้น พอ OPERA เอาเวลาที่สั้นกว่าเวลาจริงนี้มาใช้ในการคำนวณหาความเร็ว จึงได้ค่าความเร็วของนิวตริโนเกินจริง van Elburg คำนวณได้ว่าเวลาที่ OPERA คิดได้น้อยกว่าความจริงไป 64 นาโนวินาที ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่ OPERA อ้างว่านิวตริโนเร็วล้ำหน้าแสงเลย มาถึงตรงนี้ OPERA ก็เริ่มจะเสียงอ่อยแล้ว แต่ก็ยังแก้ต่างข้อโต้แย้งของ van Elburg ว่าดาวเทียม GPS ทุกดวงต้องคิดผลจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษรวมเข้าไปด้วยอยู่แล้ว ดังนั้น OPERA จะเอาค่าเวลาที่อ่านได้มาใช้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร (อ่านข่าวนี้ได้จาก JuSci.net (1), JuSci.net (2) และ Life's Little Mysteries) OPERA เริ่มลังเล ล่าสุด ScienceInsider ก็ได้ข่าววงในมาว่า ตอนนี้ทีม OPERA เริ่มแตกคอกันเองแล้ว ฝ่ายที่ยังมั่นใจในผลของตัวเองอยู่ต้องการที่จะเผยแพร่ผลลงในวารสารวิชาการแบบ peer-reviewed อย่างเป็นทางการให้เร็วที่สุด ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มจะลังเลว่าควรรอไปอีกสักนิดดีหรือไม่ ผลสรุป ณ เวลานี้ ดูเหมือนว่าฝ่ายที่ต้องการให้รอจะชนะ ทีม OPERA จะทำการทดลองใหม่อีกครั้ง แล้วค่อยตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารในเดือนหน้า การทดลองใหม่ที่ทีม OPERA วางแผนไว้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เครื่องยิงนิวตริโน โดยในการทดลองรอบใหม่นี้ ลำนิวตริโนจะถูกยิงออกมาเป็นจังหวะที่แน่นอน คือ เป็นกลุ่มนิวตริโนวิ่งออกมา 1-2 นาโนวินาที คั่นด้วยช่องว่าง 500 นาโนวินาที วิธีนี้จะทำให้ทีม OPERA รู้แน่นอนว่านิวตริโนชุดไหนวิ่งออกมาจาก CERN เมื่อเวลาเท่าไร ซึ่งผลที่ได้น่าจะแม่นยำกว่าแบบเดิมที่ใช้การคำนวณทางสถิติกะเอา การทดลองใหม่นี้จะเริ่มได้เร็วที่สุดสัปดาห์หน้า และจะใช้เวลาเก็บข้อมูล 10 วัน สรุปหนึ่งเดือนแรก ฉะนั้นตอนนี้อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้สำหรับนิวตริโน (และทฤษฎีของไอน์สไตน์) การยืนยันที่แน่ชัดอาจจะไม่ได้มาเร็วๆ นี้อย่างที่คาดหวังกันไว้ตั้งแต่ต้น เพราะ MINOS เองก็ต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 4-5 ปีในการรวบรวมข้อมูล (ถ้าไม่โดนตัดงบไปเสียก่อน), ญี่ปุ่นก็ยังไม่ฟื้นตัวดีนักจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อตอนต้นปี ใครที่พนันหรือคิดจะพนันกับผลของ OPERA ผมขอแนะนำว่าดึงทุนออกไปลงทุนทำอะไรอย่างอื่นดีกว่า คุ้มกว่ากันเยอะ เอ๊ย ผมลืมไป! Jusci ไม่สนับสนุนการพนันอยู่แล้ว...แล้วผมจะมาเตือนทำไมเนี่ย????
https://jusci.net/node/2132
สรุป 1 เดือนหลังปรากฏการณ์ข่าว "นิวตริโนวิ่งเร็วกว่าแสง": สถานการณ์ยังไม่แน่ชัด, OPERA เริ่มลังเล
ข่าวสั้นครับ จากที่ประมาณว่าประชากรโลกจะแตะ 7 พันล้านคนภายในสิ้นปีนี้ เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ประชากรโลกได้ไปถึงจุดนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ คาดกันว่าบ้านเกิดของประชากรคนที่ 7 พันล้านคืออินเดีย งานนี้อาจมีคนชื่อ Sāta Araba ผุดขึ้นมาเต็มไปหมด ที่มา - Slashdot, The Guardian
https://jusci.net/node/2133
ประชากรโลกแตะ 7 พันล้านคนแล้ว
R.I.P. เป็นปีแห่งความสูญเสียจริงๆ คนสำคัญๆ หลายคนเลย ;(
https://jusci.net/node/2134
Herbert A. Hauptman นักคณิตศาสตร์รางวัลโนเบลเสียชีวิตแล้ว
ขอขยายความนิดหนึ่งนะครับ ใน Editorial ได้ให้ความเห็นว่า ข้อดีของการศึกษาครั้งนี้มีสองข้อ คือเป็นการศึกษาจากฐานข้อมูล ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิด "การเลือกเฉพาะคนจะที่ตอบคำถาม" ที่อาจจะไม่ได้ข้อมูลของประชากรทั้งหมด (ในทาง Methodology คือ "Selection Bias") และข้อที่สองคือ เป็นการลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจำไม่ได้จากการตอบ Questionnaire (Retrospective/Recall Bias) ส่วนการถือว่าการลงทะเบียนโทรศัพท์หมายความถึงการใช้โทรศัพท์ก็อาจทำให้เกิดการจัดกลุ่มผิดในผู้ใช้บางคน ก็ตามที่ได้กล่าวในข่าวครับ
https://jusci.net/node/2135
ผลศึกษาข้อมูล 18 ปีจากเดนมาร์ก มือถือไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งสมอง
ทีมวิจัยที่นำโดย David Hemenway แห่ง Harvard School of Public Health ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนจำนวนกว่า 1,800 คน การสำรวจทำโดยการสัมภาษณ์เด็กเกี่ยวกับความถี่ในการดื่มน้ำโซดาหรือน้ำอัดลม และจำนวนเหตุการณ์ที่เด็กแต่ละคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เช่น การครอบครองมีดหรือปืน เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเด็กที่ดื่มน้ำอัดลมเกิน 5 กระป๋องต่อสัปดาห์มีแนวโน้มที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และสูบบุหรี่มากกว่า และเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรงมากกว่าเด็กที่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณน้อย เมื่อตัดปัจจัยเรื่องการดื่มแอลกอฮอลล์ออกไป ข้อมูลก็ยังยืนยันว่าเด็กที่ดื่มน้ำอัดลมมากๆ มีแนวโน้มเข้าไปยุ่งกับเหตุการณ์รุนแรงมากกว่าอยู่ดี แม้ผลการวิจัยนี้จะไม่บ่งชี้ว่าการดื่มน้ำอัดลมสัมพันธ์กับการอดนอนในเด็กวัยรุ่น และงานวิจัยของนักวิจัยชาวนอร์เวย์ในปี 2006 แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ดื่มน้ำอัดลมมากๆ มักจะมีสุขภาพจิตแย่กว่าปกติ นักวิจัยยังไม่กล้าด่วนสรุปว่าน้ำอัดลมเพิ่มความรุนแรงในเด็กวัยรุ่น เพราะอาจเป็นไปได้ว่าเด็กที่นิยมความรุนแรงอยู่แล้วอาจจะดื่มน้ำอัดลมมากกว่าเด็กคนอื่นๆ แต่ก็แอบๆ สันนิษฐานว่าเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับน้ำตาลในน้ำอัดลม เพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าผู้นิยมความรุนแรงบางคนมีความผิดปกติในกระบวนการสันดาปน้ำตาลกลูโคส น้ำอัดลมซึ่งอุดมไปด้วยน้ำตาลอาจจะเข้าไปกระตุ้นอารมณ์ "อยากซ่า" ของใครหลายๆ คนก็ได้ ที่มา - Discovery News
https://jusci.net/node/2136
ความซ่าของวัยรุ่นสัมพันธ์กับการดื่มน้ำอัดลม
ถึงว่าตอนเด็กๆ อาบน้ำอยู่ยุงบินผ่าน ผมเอาขันตัดน้ำ แล้วเอาสายน้ำฟาดใส่ตัวมัน(แรงมาก) กะจะให้มันตก แต่มันกลับบินได้อย่างปกติ ที่แท้ก็แบบนี้นี่เอง
https://jusci.net/node/2137
ยุงบินฝ่าสายฝนได้
อำนาจเงินน้ออ - -a
https://jusci.net/node/2138
แรดชวาสูญพันธุ์จากเวียดนามแล้วหลังตัวสุดท้ายถูกฆ่าเพื่อเอานอ
ชาว JuSci เป็นยังไงกันบ้างครับ อินเทรนด์มีส่วนร่วมในเหตุการณ์น้ำท่วมคราวนี้กันบ้างรึเปล่า อ่ะ เดี๋ยวหาว่าบอร์ดวิทย์ฯ แล้วคุยนอกเรื่อง ขอถามความเห็นหน่อยละกันหรือจะคำนวณก็ได้ Q: น้ำจะหมดเมื่อไหร่? หมายถึงทุกพื้นที่กลับสู่สถานการณ์ปกติ ทุบคันกั้น ยกของกลับลงมาที่เดิมได้ * รายงานสถานการณ์ 26 ต.ค. 1:12 น. : บางกอกใหญ่ จรัญฯ 12 ยังไม่ท่วมครับ ‹ ถึงคุณ terminus ที่นับถือ วิทยาศาสตร์ เป็น ปรัชญา หรือไม่ ? ›
https://jusci.net/node/2139
น้ำท่วมเป็นยังไงบ้าง
O.o โนบิตะ...
https://jusci.net/node/2140
นักวิทยาศาสตร์พบอะมีบายักษ์ใต้ท้องสมุทรลึก 10 กิโลเมตร
แล้วเมื่อไหร่บีเทลจุสจะระเบิดครับ (คงไม่ใช่เร็ว ๆ นี้มั้ง) ก่อนหน้านั้นมี IK Pegasi ดวงนี้จะระเบิดเมื่อไหร่ครับ (อยากเห็นสักครั้งเหมือนกัน)
https://jusci.net/node/2141
นักดาราศาสตร์ไขปริศนาซูเปอร์โนวาเก่าแก่ที่สุดของอารยธรรมมนุษย์
ส่วนใหญ่เรามักจะคิดกันว่าผู้ชายเป็นเพศเดียวที่มีปัญหาถึงจุดสุดยอด (orgasm) เร็วเกินไปในการร่วมเพศ ส่วนผู้หญิงมักจะมีปัญหาไปไม่ถึงฝั่ง (ก็เพราะคนที่ควรจะพาเธอถึงฝั่ง มันดันล่มปากอ่าวหมดแรงไปก่อนหน้าแล้ว) แต่งานวิจัยของ Serafim Carvalho แห่งโรงพยาบาล Magalhães Lemos ในโปรตุเกส กลับพบว่าผู้หญิงจำนวนไม่น้อยก็มีอาการถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปเหมือนกัน Serafim Carvalho ได้สุ่มตัวอย่างส่งแบบสำรวจไปยังผู้หญิงชาวโปรตุเกสอายุระหว่าง 18 ถึง 45 ปี ผลการวิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่าง 510 คน สรุปได้ว่า ผู้หญิง 40% เคยมีประสบการณ์ถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต และ 14% รายงานว่ามีปัญหาถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มี 3.3% รายงานอาการถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปในลักษณะที่เป็นความผิดปกติทางสุขภาพเช่นเดียวกับที่พบในเพศชาย นักวิจัยแสดงความกังวลว่าปัญหาการควบคุมจุดสุดยอดไม่ได้อาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาในชีวิตคู่ได้ ผู้หญิงที่ถึงจุดสุดยอดเร็วเกินไปมักหมดอารมณ์และตัดจบกิจกรรมทางเพศโดยปล่อยทิ้งให้ผู้ชายอารมณ์ค้าง ดังนั้นหากใครคิดว่าตัวเองมีปัญหา (ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย) ก็ไม่ควรอายที่จะไปปรึกษาแพทย์นะครับ เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่มา - Live Science
https://jusci.net/node/2142
[18+] ผู้หญิงก็มีปัญหาล่มปากอ่าวได้เหมือนผู้ชาย
ห้องวิจัย SMU Geothermal Laboratory ได้รับเงินสนับสนุนจากกูเกิลในโครงการพัฒนาแหล่งพลังงานจากความร้อนใต้พิภพไปเมื่อสามปีก่อน มาวันนี้การสำรวจเสร็จสิ้นและแผนที่ภาพความร้อนใต้พิภพก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ แผนที่นี้ทำขึ้นโดยมีมาตรฐานการหาพลังงานคือ แหล่งความร้อนนั้นอยู่อยู่ในช่วง 3 ถึง 6.5 กิโลเมตร เพื่อไม่ยากต่อการขุดเจาะ แต่ในการขุดเจาะลึกไม่เกิน 10 กิโลเมตรก็ยังเป็นไปได้ เมื่อสำรวจแล้วจะตัดพื้นที่ที่เป็นเขตอนุรักษณ์หรือพื้นที่ต้องห้ามที่ไม่สามารถสร้างโรงงานไฟฟ้าได้ออกไป ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าพลังงานจากแหล่งความร้อนใต้พิภพสามารถใช้ผลิตพลังงานรวม 2.98 เทราวัตต์ทั่วสหรัฐฯ มากกว่าพลังงานถ่านหินรวมของสหรัฐฯ ถึงสิบเท่าตัว แผนที่นี้เป็นแผนที่ความร้อนใต้พิภพที่ละเอียดที่สุดเท่าที่เคยทำขึ้น ก่อนหน้านี้แผนที่อาศัยแนวความร้อนเพียง 5 แนวในการวาดแผนที่ ขณะที่แผนที่ใหม่อาศัยข้อมูลอุณภูมิก้นหลุมสำรวจ (Bottom Hole Temperature - BHT) จำนวนถึง 1,455 หลุม การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพนั้นไม่ใช่การเจาะเอาหินเหลวขึ้นมาดึงความร้อนโดยตรงอย่างที่หลายคนอาจจะเข้าใจ เพราะหินเหลวนั้นปรกติจะร้อนเกินกว่าใช้งานได้ แต่จะมีชั้นหินที่ยังคงรูปเป็นหินแต่มีความร้อนสูงพอ และอาศัยการอัดน้ำจากพื้นดินแล้วสูบกลับด้วยระบบท่อหมุนเวียน ทำให้ได้น้ำร้อนแรงดันสูง ซึ่งสามารถนำมาปั่นไฟได้ตลอดเวลา พลังงานรูปแบบนี้มีข้อดีคือมีเสถียรภาพสูงมาก พลังงานไม่ขึ้นกับลมฟ้าอากาศเช่นพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ประเทศที่ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมากๆ คือไอซ์แลนด์โดยใช้ถึง 1 ใน 3 และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยความร้อนจากหินเหลวกันแล้ว ที่มา - Google Green Blog, Google.org
https://jusci.net/node/2143
แผนที่ความร้อนใต้พิภพชี้แสดงแหล่งพลังงานสำหรับสหรัฐฯ ที่ให้พลังงานมากกว่าถ่านหินสิบเท่า
ถ้าคุณเคยมีข้ออ้างเมื่อครั้งเด็กประถม 25 คนเขียนบทความวิชาการลงวารสาร Nature ได้ ว่าพวกมาก วันนี้ฝันร้ายใหม่จะกลับมาหลอกหลอนคุณอีกครั้งเมื่อเด็กประถม 6 สองคนคือ Casey Gittelman และ Eleanor Bishop ได้นำเสนองานวิจัยหัวข้อ "ยาหรือลูกกวาด: เด็กสามารถบอกความแตกต่างได้หรือไม่?" งานวิจัยนี้สำรวจเด็ก 30 คนและครู 30 คน โดยให้ทายว่าขวดใดในตู้เป็นยา และขวดใดเป็นลูกกวาด ผลการสำรวจพบว่า เด็กหนึ่งในสี่ทายผิด และครูหนึ่งในห้าก็ทายผิดเช่นกัน โดย M&M นั้นเป็นลูกกวาดที่มักถูกจำสลับกับยากต่างๆ หลายตัว นอกจากเด็กทั้สองแล้ว งานวิจัยนี้ยังมีผู้ร่วมอีกสองคนคือ Michael Gittelman และ Terri Byczkowski ซึ่งเป็นแพทย์แผนกเด็กจากโรงพยาบาลเด็กในรัฐ Cincinnati เอาล่ะ ได้เวลาเปิด LaTeX แล้วเริ่มเขียน... ที่มา - Scientific American
https://jusci.net/node/2144
อย่าไปยอม! เด็กป. 6 ส่งบทความวิชาการลงงานประชุมวิชาการว่าด้วยกุมารเวชศาสตร์
นักวิจัยสองคน ได้แก่ Justin Ma แห่ง University of California, Berkeley และ Barath Raghavan แห่ง International Computer Science Institute ได้คำนวณปริมาณพลังงานที่อินเตอร์เน็ตทั่วโลกใช้ ผลลัพธ์ออกมาได้ว่า การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นคิดเป็นพลังงานทั้งสิ้น 170 - 307 Gigawatt หรือประมาณ 2% ของพลังงานทั้งหมดที่มนุษยชาติบริโภค (ปัจจุบันเราบริโภคพลังงาน 16 Terawatt) การคำนวณของทั้งสองคนนี้คิดจากยอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ต รวมถึงพลังงานในกระบวนการผลิตและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์สมาร์ทโฟน โมเด็ม/เราเตอร์ เสาส่งสัญญาณ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น Justin Ma และ Barath Raghavan ไม่คิดว่าตัวเลขการใช้พลังงานอินเตอร์เน็ตจะลดลง แม้ว่าอุปกรณ์ต่างๆ จะพากันประหยัดพลังงานมากขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ดี อินเตอร์เน็ตน่าจะเป็นทางเลือกที่เข้ามาทดแทนกิจกรรมบางอย่างที่สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า เช่น การประชุมผ่านวิดีโอลิงค์แทนที่จะต้องเสียทั้งเวลาและน้ำมันไปกับการเดินทาง เป็นต้น ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/2145
อินเตอร์เน็ตทั่วโลกใช้พลังงาน 2% ของพลังงานทั้งหมดที่มนุษย์ใช้
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานมานานแล้วว่าเมื่อเกิดภาวะแห้งแล้งขาดแคลนอาหาร ไดโนเสาร์จะอพยพไปหาแหล่งอาหารใหม่ งานวิจัยฟอสซิลล่าสุดก็ยืนยันความเชื่อนี้ และยังแนะอีกด้วยว่าไดโนเสาร์น่าจะมีการอพยพตามฤดูกาลประจำทุกปี ทีมวิจัยที่นำโดย Henry Fricke แห่ง Colorado College ได้วิเคราะห์ชั้นเคลือบฟัน (enamel) ของ Camarasaurus ซึ่งเป็นซอโรพอดที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือในยุคจูราสสิกตอนปลาย ฟันเหล่านี้มีอายุ 145-160 ล้านปี ขุดค้นพบในที่ราบแอ่งกระทะ Morrison ในรัฐไวโอมิงและยูทาห์ ผลจากการวิเคราะห์ฟัน 32 ซี่ นักวิจัยสังเกตว่าฟันแต่ละซี่มีอัตราส่วนของไอโซโทป Oxygen-18 ต่อ Oxygen-16 ไม่เท่ากัน บางซึ่ก็มีอัตราส่วนไอโซโทปตรงกับชั้นหินโดยรอบ บางซี่ก็มีอัตราส่วน O-18 ต่อ O-16 ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าพื้นที่ราบสูงที่อยู่ถัดไปทางทิศตะวันตกของแอ่ง Morrison มีไอโซโทป O-18 น้อยกว่าพื้นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะ เนื่องจาก O-18 มีน้ำหนักมากกว่า โมเลกุลของน้ำที่มี O-18 เลยตกลงมาเป็นฝนมากกว่าในตอนที่เมฆค่อยๆ ลอยขึ้นตามความลาดเอียงของภูมิประเทศ นักวิจัยจึงสรุปว่า ในเวลาที่ราบแอ่งกระทะเกิดความแห้งแล้ง Camarasaurus จะเดินทางอพยพเป็นระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรไปหาอาหารและแหล่งน้ำกินทางทิศตะวันตก พอความแห้งแล้งผ่านพ้นไป Camarasaurus ก็อพยพกลับบ้าน ฟันที่พบว่ามี O-18 ต่ำกว่าชั้นหินรอบๆ ก็น่าจะเป็นฟันของไดโนเสาร์ตัวที่ตายหลังจากที่กลับมาจากการอพยพไม่นาน เพราะแร่ธาตุในเคลือบฟันไดโนเสาร์จะแปรผันตามอาหารและน้ำที่มันกินเข้าไป นอกจากนี้เมื่อนักวิจัยเจาะดูแต่ละชั้นของเคลือบฟันของ Camarasaurus ตัวหนึ่ง ก็พบว่าชั้นเคลือบฟันที่เก่ากว่ามีไอโซโทป O-18 สูงกว่าชั้นเคลือบฟันที่เพิ่งสร้างใหม่ และเนื่องจากเคลือบฟันของไดโนเสาร์พวกนี้จะเจริญขึ้นมาครอบอันเก่าเรื่อยๆ ในระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ทำให้นักวิจัยสันนิษฐานได้ว่าไดโนเสาร์พวกนี้คงจะอพยพกันเป็นประจำตามฤดูกาลทุกปี นี่เป็นหลักฐานแรกๆ เลยที่สามารถยืนยันได้ว่าไดโนเสาร์มีการอพยพตามฤดูกาล แถมยังเป็นการอพยพตามแนวตะวันออก-ตะวันตกด้วย ไม่ใช่แค่อพยพขึ้นเหนือ-ล่องใต้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าไดโนเสาร์กินพืชอย่าง Camarasaurus คงอพยพพร้อมกันเป็นฝูงใหญ่คล้ายกับฝูง wildebeest มิฉะนั้นมันคงถูกผู้ล่าจับกินเรียงตัวจนหมด อย่างไรก็ตาม Henry Fricke คิดว่าควรจะวิเคราะห์ฟอสซิลฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคเดียวกัน เช่น Allosaurus ด้วยเพื่อความมั่นใจ ที่มา - Nature News, New Scientist
https://jusci.net/node/2147
หลักฐานฟันฟันธง "ไดโนเสาร์อพยพตามฤดูกาล"
ผมว่ามันชัดเจน มากนะครับ พวก หัวขวา ในไทย มักจะเป็นยังไง
https://jusci.net/node/2148
พวกอนุรักษ์นิยมเป็นคนขี้ตกใจ
อีริส (Eris) คือดาวเคราะห์แคระที่ฝากชื่อไว้จากการเป็นผู้ปลดฐานะดาวเคราะห์ออกจากพลูโต และถึงแม้ว่าเราจะรู้ขนาดโดยคร่าวๆ ของมันก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าเรารู้รายละเอียดเกี่ยวกับมันน้อยมาก จากการส่องกล้องดูมันครั้งล่าสุด (ตั้งแต่ปลายปีก่อน) และนำรายละเอียดที่ได้มาศึกษาคำนวณ เราพบข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับมันคือ มันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2326 กิโลเมตร (คลาดเคลื่อน 12 กิโลเมตร) ซึ่งน้อยลงกว่าเดิมที่คาดกันไว้ว่าประมาณ 3000 กิโลเมตร นี่ทำให้ขนาดของมันใกล้เคียงกับพลูโตเป็นอย่างมาก (2306 กิโลเมตร คลาดเคลื่อน 20 กิโลเมตร) จนอาจเรียกได้ว่าเป็นฝาแฝดกัน (ดังเช่นโลก-ดาวศุกร์) ส่วนมวลนั้นอีริสมากกว่าพลูโตประมาณ 27% และด้วยพื้นผิวน้ำแข็งของมันทำให้สะท้อนแสงได้ดีถึง 96% (มากกว่าลานหิมะบนโลกเสียอีก) อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างไม่ต่ำกว่า 5.7 พันล้านกิโลเมตร ก็ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวด้านที่โดนแสงอาทิตย์อยู่ที่ -238 องศาเซลเซียสเลย เทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเหล่านี้คือ นั่งเฉยๆ คำนวณเส้นทางรอให้อีริสโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ซักดวง แล้วส่องกล้องไปดูเงาชัดๆ ของมันก็เท่านั้น เรื่องอย่างนี้พูดง่ายแต่ทำยากครับ เพราะจากการเฝ้าติดตามผ่านหอดูดาวกว่า 26 แห่งทั่วโลก มีเพียง TERAPPIST, Caisey Harlingten และ ASH2 (ทั้งหมดอยู่ในประเทศชิลี) เท่านั้นที่สามารถสังเกตผลเก็บข้อมูลได้ นับว่าเป็นโชคดีอย่างมากที่เราได้ข้อมูลชุดนี้มา ไม่เช่นนั้นแล้วก็ต้องรอปี 2013 เลยทีเดียว กว่าที่อีริสจะผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงอื่นอีกซักครั้ง อยากทำความรู้จักกับอีริสให้มากกว่านี้? หาอ่านงานวิจัยได้ที่นิตยสาร Nature ครับ ที่มา: Science Daily
https://jusci.net/node/2149
ฤาแท้จริงแล้ว อีริสคือแฝดคนละฝาของพลูโต?
อันนี้เป็นเรื่องที่ผมได้ยินมานานแล้วว่า มีสัตว์หลายชนิดที่สามารถมองเห็นเฉดสีที่ สี่ และ ห้า เพราะมี Cone Cell มากกว่า 3 แบบ ซึ่งผมก็คิดว่า แปลว่าสัตว์พวกนี้จะต้องมองเห็นเฉดสีที่ไม่ใช่ทั้งแดง น้ำเงิน เขียว และไม่ใช่สีอนุพันธ์เหลือง ฟ้า คราม ส้ม ม่วง ชมพู ด้วย คือผมลองคิดดูว่า มนุษย์ สามารถรับภาพได้สามเฉดสี แดง น้ำเงิน เขียว แต่ เราก็มีคนที่เกิดมาตาบอดสีบางสี นั่นก็แปลว่า สมองคนเรา สามารถรับภาพได้ 3 เฉดสี แต่คนตาบอดสีแค่ไม่มีเซลล์ที่รับสีบางสีส่งไปหาสมองเท่านั้น ก็เลยทำให้ผมสงสัยว่า ถึงแม้ว่า ลูกตาเราจะมีเซลล์รับแสงอยู่แค่ 3 สี แต่จริงๆแล้ว สมองของเราสามารถที่จะรับคลื่นของสีที่สี่ สีที่ห้า ได้รึเปล่า? อย่างสมมุติว่า ถ้าเราสามารถเชื่อมลูกตาของคนปกติคนนึง ไปติดกับสมองของคนตาบอดสี คนตาบอดสีก็น่าจะเห็นสีที่ตัวเองไม่เคยเห็นได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราลองเอาลูกตาของสัตว์ที่มองเห็นได้ห้าเฉดสี มาเชื่อมเซลล์ประสาทกับสมองเรา สมองของเราก็น่าจะเห็นสีที่ไม่ใช่ทั้งแดง เขียว น้ำเงิน ได้ด้วย ถ้าสมมุติว่าในอนาคตเราสร้างลูกตาเทียมที่มองเห็นสีปกติ และมองเห็น infrared และ ultraviolet แปลงเป็นสัญญาณสีที่สี่และห้าไปถึงสมอง โลกที่เราเห็นจะเป็นยังไง? ‹ นี่ใช่ inverse dejavu ใน Jusci หรือเปล่า? แชร์ของไอเดียดีๆครับ ›
https://jusci.net/node/2150
[ถามนักชึววิทยา] สมองมนุษย์ มีตัวรับเฉดสีที่ห้ารึเปล่าครับ
ไหนๆ วันก่อนก็เสนอข่าวเกี่ยวกับซูเปอร์โนวาไปแล้ว วันนี้ขอขุดข่าวเก่าซักหน่อยมาเล่าด้วยเลยละกันนะครับ ระบบสุริยะของเรามีอายุมาได้ประมาณห้าพันล้านปีแล้ว ซึ่งนับได้ว่าเป็นดาวฤกษ์รุ่นที่สอง นั่นก็เพราะว่าระบบสุริยะเราอุดมไปด้วยธาตุหนัก อย่างเช่นเหล็ก ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากโรงงานผลิตแร่ธาตุในยุคแรกนั่นเอง ด้วยความสามารถในการมองวัตถุที่แทบจะมืดสนิทของหอดูดาว Subaru ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองลึกเข้าไปในอดีตได้ และพวกเค้าพบซูเปอร์โนวาของดาวฤกษ์ยุคแรกที่เก่าแก่กว่าหมื่นล้านปี นี่ทำให้นักดาราศาสตร์มั่นใจว่า ซูเปอร์โนวาเก่าแก่เหล่านี้ คือที่มาของเหล็กในเอกภพของเราทุกวันนี้ครับ ที่มา: ScienceDaily หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมดาวฤกษ์ถึงได้ชื่อว่าโรงงานผลิตแร่ธาตุ? อธิบายง่ายๆ ว่าเมื่อธาตุต่างๆ มาอยู่ใกล้กัน (ธาตุส่วนมากคือ H) จะเกิด 2 สิ่งที่อาจจะดูขัดแย้งกันก็คือ ความร้อน (พยายามหนีห่างออกจากกัน) และแรงดึงดูด (พยายามดึงมวลมาเพิ่ม) ในยกแรกๆ แรงดึงดูดจะชนะและทำให้บริเวณนั้นมี H มากขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อถึงจุดหนึ่ง แรงดึงดูดจะทำการหลอม He ขึ้นมาจาก H (ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน) ดังนี้ \(\begin{align} &\text{}_{1}^{1}\text{H}+\text{}_{1}^{1}\text{H}\rightarrow\text{}_{1}^{2}\text{H}+ e^{+}+ v_{ e}\\ &\text{}_{1}^{2}\text{H}+\text{}_{1}^{1}\text{H}\rightarrow\text{}_{2}^{3}\text{He}+\gamma\\ &\text{}_{2}^{3}\text{He}+\text{}_{2}^{3}\text{He}\rightarrow\text{}_{2}^{4}\text{He}+2\text{}_{1}^{1}\text{H} \end{align} \) เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้น มันจะปล่อยพลังงานออกมา ตอนนี้แหละที่เราเรียกกลุ่มก้อนมวลนี้ได้เต็มปากเต็มคำว่าดาวฤกษ์ ตอนนี้ดาวฤกษ์จะหยุดยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของมัน เพราะพลังงานที่เกิดขึ้นนี้ทำหน้าที่คอยเป่าธาตุต่างๆ ออกไป (และมันสมดุลพอดีกับแรงโน้มถ่วง) แน่นอนว่าไม่มีอะไรอยู่ยงค้ำฟ้า เมื่อถึงตอนที่แกนกลางร้อนๆ ของดาวฤกษ์ใช้ธาตุ H หมด ดาวฤกษ์จะกลับมายุบตัวและมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกครั้ง จนกว่าจะสามารถหลอม He เป็นธาตุที่หนักขึ้นไปได้ และพอ He ที่แกนกลางหมด ก็จะเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้วนไปวนมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง Fe (เหล็ก) นั่นก็เพราะว่าการหลอม Fe ให้เป็นธาตุที่สูงกว่านี้ไม่ได้ปล่อยพลังงานกลับออกมาแล้ว ดังที่จะเห็นได้จากกราฟพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนนี้ คราวนี้ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงอย่างรุนแรง จนแกนกลางหนาแน่นสูงมาก จนถึงขั้นนิวเคลียสอะตอมเล็กๆ ขยับไปไหนไม่ได้เลยทีเดียว ตอนนี้เองที่เกิดการระเบิดรุนแรง ที่เราเรียกกันว่าซูเปอร์โนวาครับ ส่วนแกนกลาง ถ้าไม่เป็นดาวนิวตรอน ก็ยุบหายไปกลายเป็นหลุมดำนั่นเอง นอกจากนี้ ดาวฤกษ์ที่เพิ่งตายก็ไม่ทิ้งลายซะทีเดียว เพราะด้วยความแรงอย่างสุดขีดของซูเปอร์โนวานั้น ทำให้ธาตุที่โดนแรงระเบิดอัดสามารถฟิวชันเป็นธาตุที่หนักยิ่งขึ้นไปได้อีก อย่างเช่น Au (ทองคำ) ที่เราคาดว่ามันอาจตกลงมาบนโลกเมื่อนานมาแล้ว หมายเหตุ ดาวฤกษ์ที่มวลน้อยๆ บางดวงก็หลอมแกนกลางได้ไม่ถึงธาตุ Fe นะครับ หมดแรงกลางทาง ไม่ทันได้ระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาก็กลายเป็นดาวเคระห์ขาวธรรมดาไปซะก่อน
https://jusci.net/node/2151
นักดาราศาสตร์พบซูเปอร์โนวาเก่าแก่หมื่นล้านปี ชี้เป็นแหล่งแร่เหล็กบนโลก
+1 ครับ ;-D
https://jusci.net/node/2152
การคิดถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้ความมุ่งมั่นลดลง แต่ก็นอกลู่นอกทางน้อยลงด้วย
เผอิญว่าสองวันนี้ผมลองไปนั่งขุดอ่านทวีตของ Mr,Joh คนก่อตั้งเว็บนี้ (ความรู้สึกผมเหมือนไปอ่านไดอารี่ประวัติศาสตร์ยังไงไม่รู้ ผมแค่อยากรู้ว่าคนก่อตั้งเคยพูดถึงแนวทางของ Jusci ว่าอย่างไรบ้าง) แล้วไปเจอทวีตเมื่อสามปีที่แล้วอันหนึ่งประหลาดมาก @suppasu 10 Sep 08 via web: ชักงงๆ ว่า jusci เป็นเว็บวิทยาศาสตร์หรือศาสนา http://twitter.com/#!/suppasu/status/915538792 ลองเทียบกับหัวข้อกระทู้ที่เพิ่งมีคนมาตั้ง "เราจะเอาบอร์ดวิทย์ เป็น บอร์ดศาสนาแล้วใช่หรือไม่ ?" http://jusci.net/node/2106 Oh My Buddha! นี่มัน DeJavu ชัดๆ กรณีของเมื่อสามปีที่แล้วคือความเห็นต่อกรณีเรื่องในข่าวนี้ http://jusci.net/node/740 ต้นเรื่องของทวีตนั้นเป็นเรื่องคนที่เอาศาสนาและความเชื่อแปลกๆ ลากเข้ามาในข่าววิทยาศาสตร์ ส่วนกรณีของปี 2011 เป็นการตั้งคำถามต่อกระทู้นี้ http://jusci.net/node/2062 ที่มาก็มาจากมีคนยกเรื่องศาสนากับวิทยาศาสตร์มาพูดเหมือนกัน แต่บริบทนี่ตรงกันข้ามกับกรณีเมื่อสามปีที่แล้วแบบกลับขั้วเลย กลายเป็นว่าคนเขียนข่าวของเว็บ jusci คนหนึ่ง (ผมเอง) เป็นคนเริ่มโยนระเบิดเข้าไปกลางวง และคนที่บ่นกลายเป็นคนที่สนับสนุนศาสนา (น้อยบ้างมากบ้างตามศรัทธา) ผมไม่ได้จะขุดคุ้ยอะไรต่อนะ แค่รู้สึกตะลึง หากใครอยากจะต่อ กรุณาเชิญไปได้ในกระทู้ต้นเรื่องทั้งหลาย ผมจะตามไปตอบเอง กระทู้นี้ไว้แชร์ความตะลึงเฉยๆ ขอฝากอีกเรื่อง: กระทู้ที่ผมพูดว่าจะตั้งปลายปีนี้ก็ขอเลื่อนไปก่อนนะครับ เพราะผมเห็นว่าถ้าตั้งก็จะเข้าใจผิดและโยงกลับไปจุดเดิมอีก ผมไม่ได้โกรธคนที่เถียงกับผมในสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานะและก็ไม่ได้เปลี่ยนความตั้งใจเดิมด้วย (ความไม่พอใจอาจมีบ้างเพราะผมก็คนธรรมดา) ผมอยากขอเวลาหาข้อมูลและให้ความคิดของผมตกผลึกมากกว่านี้ ไม่งั้นมันก็จะเป็นการเสียเวลาและพลังงานไปเปล่าๆ และก็ก่อนจะมีคนมาด่าให้ร้ายผมยังโง้นยังงี้อีก ผมตอบดักคอไว้ก่อนเลยว่าผมยืนยันว่าผมไม่ได้ลักไก่ ผมเขียนกระทู้นั้นไว้แล้วจริงๆ ความยาว 3 หน้ากระดาษ A4 (ผมรู้ว่ารีบออกตัวแบบนี้ก็ต้องโดนหาอีกว่า ร้อนตัว แต่ผมขี้เกียจไปไล่ตอบทีละคน พิมพ์ตรงนี้ทีเดียวน่าจะง่ายกว่า) ‹ ทดสอบ EzMath [ถามนักชึววิทยา] สมองมนุษย์ มีตัวรับเฉดสีที่ห้ารึเปล่าครับ ›
https://jusci.net/node/2153
นี่ใช่ inverse dejavu ใน Jusci หรือเปล่า?
ผมว่าคำอธิบายตกไปอย่างนะครับ คือรูปหลายเหลี่ยม n ด้าน นั่น ต้อง หาร 2 ด้วย คือครึ่งเดียวของจำนวนด้านทั้งหมดน่ะ /me ลองหา 360000 / 2 * (tan 0.001 degree) ถึงจะได้ผลออกมาแม่นในทศนิยม 8 หลัก
https://jusci.net/node/2154
หาค่า Pi ด้วยพื้นที่สามเหลี่ยม
วิธีการใช้คลื่นเสียงในการรักษาอาการต่างๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เช่น การใช้คลื่นเสียงสลายก้อนนิ่ว เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็สังเกตว่าการรักษาด้วยคลื่นเสียงความเข้มข้นต่ำๆ สามารถกระตุ้นให้กระแสเลือดในหลอดเลือดหัวใจไหลเวียนได้ดีขึ้น ดังนั้น Ilan Gruenwald แห่ง Rambam Medical Center ในอิสราเอล ตั้งข้อสงสัยว่าคลื่นเสียงจะสามารถปลุกให้องคชาติของคนที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) กลับมาชูชันได้อีกครั้งหรือไม่ ทีมวิจัยของเขาได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเพศชายอายุเฉลี่ย 61 ปีจำนวน 29 คนซึ่งทั้งหมดล้วนมีปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ (อาจจะมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป) และรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันไม่ได้ผล กลุ่มตัวอย่างต้องถูกยิงคลื่นเสียงที่องคชาติด้วยวิธีที่เรียกว่า "extracorporeal shock wave therapy" ติดต่อกันเป็นจำนวน 12 ครั้งในระยะเวลา 9 สัปดาห์ซึ่งวิธีนี้เป็นการรักษาจากภายนอก กลุ่มตัวอย่างไม่ได้รับความเจ็บปวดแต่อย่างใด หลังจากจบกระบวนการ extracorporeal shock wave therapy กลุ่มตัวอย่างก็รับการรักษาด้วยยาตามปกติ ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างรายงานคะแนนสมรรถภาพทางเพศของตัวเองเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจาก 8.8 ไปเป็น 18-19 (คะแนนนี้วัดจากการทำแบบสอบถาม หากได้ต่ำกว่า 10 จะถือว่ามีปัญหารุนแรง ถ้าเกิน 26 ขึ้นไปถือว่ายังไม่เป็นไร) สำหรับบางคน การเพิ่มขึ้นแค่สิบคะแนนนี้เท่ากับเป็นการยกระดับขึ้นไปหนึ่งเกรดเลย จากเดิมที่ป้อแป้ๆ ได้แค่วนเวียนอยู่รอบนอก ก็พัฒนาขึ้นพอจะยัดเข้าไปในรูที่อยากจะยัดได้ การรักษาอาการองคชาติไม่แข็งตัวด้วยคลื่นเสียงเคยมีงานวิจัยชี้ให้เห็นมาแล้วว่าช่วยผู้ป่วยที่มีอาการเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลางได้ แต่งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่ามันมีผลช่วยผู้ป่วยอาการหนักได้ด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้มีจำนวนไม่เยอะนัก นักวิทยาศาสตร์หลายคนรวมถึงทีมที่ทำวิจัยเองก็ไม่กล้าตัดปัจจัยจาก "placebo effect" ออกไปจากการสรุปผล เชื่อเถอะว่าต่อให้สุดท้ายเป็นแค่ placebo effect ผมก็มั่นใจว่ามีคนยินดียอมโดนหลอกนะ ที่มา - My Health News Daily
https://jusci.net/node/2155
[18+] ยิงคลื่นเสียงปลุกนกเขาให้ขัน
การลักลอบค้านอแรดแบบผิดกฏหมายเป็นปัญหาที่สำคัญของการอนุรักษ์แรดในทวีปแอฟริกา นับแค่สามปีที่ผ่านมา ขบวนการค้านอแรดได้ฆ่าแรดไปแล้วกว่า 800 ตัว เพราะนอแรดเป็นสินค้าหายากที่มีราคาสูงได้ถึงกว่าหนึ่งล้านบาทต่อกิโลกรัมในตลาดมืด กรมสิ่งแวดล้อม (Department of Environmental Affairs) ของประเทศแอฟริกาใต้ เห็นว่าวิธีการอนุรักษ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ได้ผล จึงได้เสนอวิธีการอนุรักษ์แบบใหม่คือเปิดให้การค้านอแรดเป็นสิ่งถูกกฏหมายให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลย โฆษกของกรมสิ่งแวดล้อมอ้างผลการศึกษาว่าการเปิดให้การค้านอแรดเป็นธุรกิจถูกกฏหมายจะส่งผลดีต่อการอนุรักษ์มากกว่า เพราะรัฐบาลจะสามารถควบคุมการล่าแรดเพื่อเอานอได้ หากจำเป็นรัฐบาลก็จะออกใบอนุญาตกำกับควบคุมวัตถุประสงค์การใช้นอแรด เช่น ห้ามเอาไปใช้ทำยา เป็นต้น เป็นการตัดอุปสงค์ไปในตัว แรดดำ (Diceros bicornis) และแรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นสัตว์ควบคุมของ CITES กฏหมายประเทศแอฟริกาปัจจุบันเปิดให้ส่งออกนอแรดได้เฉพาะเพื่อการกีฬาเท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้ทำการล่าแรดเป็นธุรกิจ ทุกวันนี้ นักลักลอบค้าสัตว์จะล่าแรดด้วยการยิงลูกดอกยาสลบ จากนั้นก็เข้าไปเลื่อยเอานอ ปล่อยให้แรดเสียเลือดจนตาย นอแรดส่วนใหญ่จะถูกส่งต่อไปยังประเทศจีนและตะวันออกกลาง (คนจีนเอาไปทำยาจีนแผนโบราณ ส่วนคนอาหรับชอบเอาไปทำเครื่องประดับ) WWF ประจำประเทศแอฟริกาใต้ออกมาคัดค้านข้อเสนอนี้ทันทีโดยการแสดงความไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาลแอฟริกาว่า "ขนาดทวิตเตอร์ตัวเองยังปกป้องไม่ได้ แล้วจะปกป้องแรดทั้งประเทศได้อย่างไร" "ขนาดการค้านอแรดผิดกฏหมาย พวกเรายังปราบปรามไม่ได้ ในสถานการณ์ที่เราไม่รู้อะไรเลยอย่างนี้ มันเสี่ยงเกินไปแม้แต่จะคิดข้อเสนอนี้ขึ้นมาด้วยซ้ำ" WWF เชื่อว่าหากข้อเสนอนี้ผ่านได้เป็นกฏหมาย การอนุรักษ์แรดในแอฟริกาจะถูกลากถอยหลังไปเป็นสิบๆ ปี อาจเลวร้ายจนถึงกับทำให้แรดทั่วแอฟริกาสูญพันธุ์ไปเลยก็ได้ แต่องค์กรสิ่งแวดล้อมอีกฝ่ายอย่าง Campfire Association Zimbabwe กลับสนับสนุนข้อเสนอของรัฐบาลแอฟริกาใต้ พวกเขาเชื่อว่าการเปิดให้การค้านอแรดเป็นสิ่งถูกกฏหมาย จะช่วยให้ชาวบ้านท้องถิ่นสนใจหันมาปกป้องรักษาทรัพยากรสัตว์ป่าจากเงื้อมมือของนายทุน ในอนาคตอาจเป็นไปได้ด้วยว่าจะมีการเพาะพันธุ์แรดเพื่อการค้าโดยเฉพาะ Campfire Association Zimbabwe มีแนวทางสนับสนุนให้ชาวบ้านท้องถิ่นได้ประโยชน์จากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว การออกมายกมือเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้จึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนัก ที่มา - BBC News
https://jusci.net/node/2156
แอฟริกาใต้เสนอให้การค้านอแรดเป็นสิ่งถูกกฏหมายเพื่อช่วยอนุรักษ์แรด
มันจะคุ้มหรือเปล่า หรือว่ามีคนทำไปแล้วก็ไม่รู้นะครับ http://youtu.be/GIfTKBVI6ZQ ‹ สู่การปฏิวัติจีโนมิกส์ ทดสอบ EzMath ›
https://jusci.net/node/2157
เราใช้วิธีนี้ในโรงไฟฟ้าได้ไหมครับ
hagfish เป็นสัตว์ทะเลใน Phylum Chordata (ไฟลัมของสัตว์มีกระดูกสันหลัง) นักชีววิทยารู้จักดีว่า hagfish มีความสามารถเฉพาะตัวหลายอย่าง เช่น การสร้างเมือก หรือการกินอาหารทางผิวหนัง เป็นต้น แต่ก็ยังไม่เคยมีการบันทึกถึงชีวิต hagfish ตามธรรมชาติสักที เนื่องจาก hagfish กินซากสัตว์อยู่ที่ก้นท้องทะเลลึกซึ่งยากแก่การสำรวจติดตาม ทีมนักวิจัยของ Massey University และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ Te Papa ของประเทศนิวซีแลนด์ ได้อุตสาหะเอาเหยื่อไปวางล่อและเอากล้องไปวางแอบถ่ายชีวิตการกินของ hagfish ใต้ท้องทะเลหลายบริเวณ ได้แก่ Kermadec Islands, Three Kings Islands, Great Barrier Island, White Island และ Kaikoura ตั้งแต่ปี 2009 ล่าสุดพวกเขาได้รายงานผลการแอบถ่ายลงในวารสาร SCIENTIC REPORT (DOI:10.1038/srep00131) ซึ่งประกอบด้วยคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นถึงการป้องกันตัวระดับปรมาจารย์ของ hagfish จากวิดีโอจะเห็นว่าปลาผู้ล่าทั้งหลายที่หลงผิดเข้ามากิน hagfish ต่างเจอเมือกมหาศาลยัดเข้าไปเต็มปากจนล่าถอยหนีแทบไม่ทัน แม้แต่นักชีววิทยาที่รู้ดีถึงความสามารถข้อนี้ยังนึกไม่ถึงเลยว่า ขณะป้องกันตัว hagfish จะปล่อยเมือกออกมาจากรูเมือกกว่า 200 รูทั่วร่างของมันได้รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม นอกจากนี้ในวิดีโอยังแสดงให้เห็นอีกว่า hagfish จับปลาตัวเล็กๆ กินเป็นอาหารได้ด้วย ตอนที่ hagfish จับปลาที่เข้าไปแอบในรูใต้พื้นทะเล มันจะเริ่มจากการขดลำตัวยาวๆ ให้เหมือนสปริงเพื่อเพิ่มความเร็วในการฉก จากนั้นก็จะมัดหางตัวเองให้เป็นปมเพื่อให้เกิดแรงยึดดึงเหยื่อเข้าๆ ออกๆ จนเหยื่อตายสนิท ไม่มีใครเคยนึกว่ามาก่อนว่า hagfish ที่ท่าทางเรียบๆ ติ๋มๆ จะแอบร้ายกาจได้ขนาดนี้ หากใครเห็นความสามารถของ hagfish แล้วอยากได้สัตว์โบราณชนิดนี้ไปเลี้ยงในตู้ปลาที่บ้าน ขอให้ลองดูภาพ close-up หน้าตาอันน่ารักของมันก่อนการตัดสินใจ ภาพจาก SCIENTIC REPORT; เครติด Zintzel et al 2011 ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/2158
แอบถ่าย hagfish... โดนงับทีเมือกแตกเต็มปาก
เหนรูรั่วของทฤษฎีหน่อย ก้อพยายามขยายรูนั้นให้ได้ ทำไปครับ เหอๆ
https://jusci.net/node/2159
CERN เตรียมทดสอบการยิงอนุภาคเร็วเหนือแสงอีกครั้ง
เหตุการณ์ในฟุกุชิม่าเปลี่ยนนโยบายนิวเคลียร์ไปทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วยหรือการคัดค้านพลังงานนิวเคลียร์ก็ตามแต่ละชาติก็ออกมาแสดงท่าทีที่ต่างกันไป สำหรับเบลเยียม รัฐบาลก็ออกมาแสดงท่าทีว่าจะลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ลง เบลเยียมแตกต่างจากเยอรมันที่เริ่มกำหนดแผนการลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์อย่างเป็นระบบและกำหนดวันเวลาปิดโรงงานไฟฟ้าแต่ละโรงล่วงหน้าแล้ว แต่สำหรับเบลเยียมนั้นแผนการยังไม่มีกำหนดเวลาชัดเจน โดยรัฐบาลระบุว่าหากหาพลังงานมาทดแทนได้เร็วพอ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สามโรงที่เก่าที่สุดน่าจะปิดตัวลงในปี 2015 พลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในเบลเยียมมีกำลังผลิตถึง 5,860 เมกกะวัตต์ การเปลี่ยนพลังงานทั้งหมดเป็นพลังงานอย่างอื่นคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/2160
เบลเยียมเตรียมปลดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
อุปกรณ์ที่เรียกกันว่า "ไวเบรเตอร์" (vibrator) หรือ "ไข่สั่น" คือของเล่น sex-toy ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้หญิงใช้มันทำกิจกรรมทางเพศ บางคนอาจจะมองว่ามันบัดสีวิตถาร แต่จากการสำรวจล่าสุดในสหรัฐอเมริกา พบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกแย่อะไรกับของเล่นแบบนี้ กลับเห็นดีเห็นงามกับการใช้ไวเบรเตอร์ด้วยซ้ำ การสำรวจนี้เป็นการสำรวจออนไลน์โดยทีมวิจัยของ Debra Herbenick แห่งมหาวิทยาลัยอินเดียนา มีชาวอเมริกันชาย 1,047 คน และหญิง 2,056 คนเข้าร่วมตอบแบบสอบถาม อายุของผู้เข้าร่วมการสำรวจอยู่ระหว่าง 18-60 ปี ส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคน ผิวขาวและมีการศึกษา ผลปรากฏว่า ครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมสำรวจเลือกตอบ "เห็นด้วย" และ "เห็นด้วยที่สุด" กับทุกความเห็นที่สื่อว่าการใช้ไวเบรเตอร์เป็นเรื่องดี เช่น ไวเบรเตอร์ช่วยให้ผู้หญิงมีความสุขมากขึ้น, หรือการใช้ไวเบรเตอร์เป็นเรื่องดีต่อสุขภาพในชีวิตเพศ เป็นต้น มีเพียง 10% กว่าๆ เท่านั้นที่เห็นด้วยกับความเห็นทุกข้อที่เป็นลบต่อการใช้ไวเบรเตอร์ เช่น ผู้หญิงที่ใช้ไวเบรเตอร์มากเกินไปจะเสพย์ติดมัน, หรือ การใช้ไวเบรเตอร์เป็นการดูถูกคู่นอน เป็นต้น ถ้านับเฉพาะความเห็น "การใช้ไวเบรเตอร์เป็นการดูถูกคู่นอนหรือไม่" ผู้หญิงประมาณ 60% และผู้ชายประมาณ 70% บอกว่าไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ผู้หญิงที่ใช้ไวเบรเตอร์ภายในระยะเวลา 30 วันก่อนทำแบบสอบถามยังรายงานอีกว่าตัวเองมีความสุขในการร่วมเพศมากขึ้น ช่องสังวาสหล่อลื่นมากขึ้น และถึงจุดสุดยอดง่ายขึ้น ทีมวิจัยที่นำโดย Vanessa Schick แห่ง Center for Sexual Health Promotion รายงานผลการสำรวจที่คล้ายกัน แต่เป็นการสำรวจเฉพาะกลุ่มหญิงรักหญิงชาวอเมริกันและอังกฤษ พวกเธอพบว่าผู้หญิงที่ใช้ไวเบรเตอร์กับคู่ขาหญิงของตัวเองจะได้รับความสุขมากกว่าตอนที่ใช้ไวเบรเตอร์ช่วยตัวเองคนเดียวหรือตอนที่ไม่ได้ใช้ไวเบรเตอร์ และถ้าหากคู่ขาไม่นิยมใช้ไวเบรเตอร์ในการร่วมเพศ ผู้หญิงที่ใช้ไวเบรเตอร์ช่วยตัวเองเป็นประจำบางคนจะรู้สึกพึงพอใจในการร่วมเพศลดลง งานวิจัยก่อนหน้านี้ก็ระบุว่าผู้หญิง 53% และผู้ชาย 45% ในสหรัฐอเมริกาเคยใช้ไวเบรเตอร์อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต (ผมสงสัยว่าผู้ชายใช้ทำอะไร? กับตัวเอง? หรือกับผู้หญิง?) แถมยังแพทย์และนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่ออีกว่าไวเบรเตอร์สามารถช่วยลดอาการเจ็บช่องคลอดได้ในบางกรณี ในเมื่อมันมีข้อดีมหาศาลอย่างนี้ สงสัยเราต้องช่วยสนับสนุนให้มีการใช้ไวเบรเตอร์กันเยอะๆ ซะแล้ว ที่มา - Live Science
https://jusci.net/node/2161
[18+] ผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบไข่สั่น
จากข่าวเก่า "ชีวิตในมหาวิทยาลัยทำให้คนอ้วนขึ้น" หลายคนคงรู้สึกสงสัยว่ามหาวิทยาลัยสมัยนี้กลายสภาพเป็นคอกหมูไปแล้วหรืออย่างไร ทีมวิจัยที่นำโดย Jay Zagorsky แห่ง Ohio State University และ Patricia Smith แห่ง University of Michigan-Dearborn พบว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่ได้แย่ขนาดนั้น คืออย่างน้อยก็ไม่ได้บัดซบเท่าความเชื่อที่ว่า "พอเข้าปีหนึ่ง น้องใหม่วัยใสจะอ้วนขึ้นสิบโล" ทั้งสองคนได้เอาผลของการสำรวจ National Longitudinal Survey of Youth ในปี 1997 (NLSY97) มาวิเคราะห์ใหม่ ซึ่งการสำรวจ NLSY97 นี้ได้มีการเก็บข้อมูลน้ำหนักและประวัติการศึกษาเด็กวัยรุ่นอายุ 13-17 ปีจำนวนถึง 7,418 คนเอาไว้ แม้ว่าข้อมูลอาจจะเก่าไปบ้าง แต่ก็น่าจะเพียงพอในการพิสูจน์ความเชื่อ "1 ปี 10 กิโล" ข้างต้น ผลปรากฏว่า ในปีแรกของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ผู้หญิงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย ส่วนผู้ชายเพิ่มขึ้น 1.5 กิโลกรัม ตามที่ปรากฏในข้อมูล มีไม่ถึง 10% ที่พอจบปีหนึ่งแล้วน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกิน 7 กิโลกรัม และที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือประมาณ 25% ของนักศึกษาปีหนึ่งมีน้ำหนักตัวลดลง นักวิจัยยังพบอีกว่า เมื่อเทียบกับคนอายุเท่าๆ กัน น้ำหนักตัวของนักศึกษาปีหนึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยเพียงประมาณ 0.2 กิโลกรัมเท่านั้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังสรุปอีกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยไม่ใช่ช่วงเดียวที่เราสะสมความอ้วน เพราะภายใน 4 ปีแรกหลังจากจบการศึกษา น้ำหนักตัวของบัณฑิตใหม่ก็เพิ่มขึ้น 0.7 กิโลกรัมต่อปีโดยเฉลี่ย ดังนั้นแม้แต่คนที่ยังไม่อ้วนตอนเรียนมหาวิทยาลัย หากจบมาแล้วปล่อยตัวปล่อยใจไปกับชีวิตทำงาน ก็มีสิทธิ์เป็นโรคอ้วนได้เหมือนกัน ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/2162
ชีวิตเด็กปีหนึ่งไม่ได้ทำให้คนเป็นโรคอ้วน
โดยปรกติแล้ว เราจะเห็นแขนของกาแล็กซี่ได้อย่างง่ายดาย (เช่นกาแล็กซี่น้ำวน ที่โด่งดัง) แต่นักดาราศาสตร์ไม่เคยพบดาวมีแขนเหมือนเช่นครั้งนี้มาก่อน การค้นพบดาวมีแขนครั้งนี้ได้หอดูดาว Subaru ส่องฟ้าไปถ่ายรูปมาให้ ดาวดวงนั้นมีชื่อว่า SAO 206462 ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาว Lupus และอยู่ห่างจากโลกกว่า 400 ปีแสง ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของจานดิสก์รอบดาว (และแขนของมัน) นั้น ประมาณว่าใหญ่เป็น 2 เท่าของขนาดวงโคจรพลูโตครับ อันที่จริงแล้ว แขนของดาวฤกษ์ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ในโมเดลการก่อตัวของระบบสุริยะนั้นก็ชี้ว่าแขนของดาวฤกษ์สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ตอนที่ดาวฤกษ์มีดิสก์หมุนวนรอบตัวและเริ่มผลิตพลังงานได้เอง ก่อนที่พลังงานจากดาวฤกษ์จะเป่าฝุ่นแก๊สเหล่านั้นออกไปหมด อย่างไรก็ตาม นี่นับเป็นโชคดีของนักดาราศาสตร์มากๆ ที่ได้เห็นหลักฐานการก่อตัวของแขนดาวฤกษ์ และจากภาพจำลองคอมพิวเตอร์ก็บ่งชี้อีกว่า แขนแต่ละข้างเป็นแหล่งกำเนิดดาวเคราะห์ของนั่นเอง แต่เนื่องจากเรายังมีความรู้เกี่ยวกับมันน้อยมาก จึงยังไม่อาจฟันธงลงไปว่าในแขนนั้นมีดาวเคราะห์จริงหรือไม่ ก็คงต้องรอการตรวจสอบ/เก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพิ่มเติมครับ ที่มา: PhysOrg อธิบายกันหน่อย คราวก่อนได้เล่ากิจกรรมที่แกนกลางดาวฤกษ์ไป คราวนี้มาดูภาพรวมมั่งนะครับ ก่อนที่จะกำเนิดเป็นดาวฤกษ์ได้นั้น ก็ต้องมีการรวมตัวกันของเนบิวลา (ฝุ่นผงในอวกาศ) กลุ่มหนึ่ง พฤติกรรมของสสารเหล่านี้คือ เมื่อมันอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นๆ มันจะเริ่มมีการหมุนเพื่อรักษาโมเมนตัมครับ จากกลุ่มก้อนเนบิวลาจึงกลายเป็นจานดิสก์ดังที่เห็น และเมื่อเวลาผ่านไป จานดิสก์ก็จะค่อยๆ หายไปกลายเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ นั่นเอง อ่านคำอธิบายแล้วยังไม่เห็นภาพ อยากเห็นเวอร์ชันสวยขึ้น ติดตามชมได้ที่วิดีโอนี้เลยครับ
https://jusci.net/node/2163
นักดาราศาสตร์พบดาวมีแขน
ปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic railgun) เป็นปืนที่นับว่าเป็นความฝันทางการทหารมานาน ด้วยความที่ตัวปืนไม่ต้องการดินปืนอีกต่อไป แต่อาศัยการขับเคลื่อนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง เร่งให้ลูกปืนพุ่งออกไปด้วยความเร็วสูง โดยตอนนี้ปืนต้นแบบขนาดใหญ่นั้นอยู่ในห้องทดลองของกองทัพเรือสหรัฐฯ และหลังกจากติดตั้งมานานกว่าสี่ปี ตอนนี้ปืนกระบอกล่าสุดก็สามารถยิงได้ 1,000 นัดแล้ว ความท้าทายของปืนรูปแบบนี้คือมันสามารถยิงกระสุนออกไปด้วยความเร็วสูงมากจนเมื่อยิงกระสุนออกไปจะเกิดความร้อนจนกระทั่งหลอมตัวกระบอกปืนเอง การพัฒนาของกองทัพเรือสหรัฐฯ สามารถหาวัสดุที่ทนทานต่อความร้อนได้จนสามารถยิงกระสุนด้วยพลังงานจลถึง 1.5 เมกกะจูลได้เป็นปรกติ ข้อดีของการยิงความเร็วสูงแบบนี้คือพลังงานจลในการยิงเองจะเพิ่มอำนาจการทำลายล้างของกระสุนจนไม่ต้องใช้ดินปืนแต่อย่างใด ความเร็วที่สูงจะทำให้ความเป็นวิถืโค้งของกระสุนน้อยลง สามารถเล็งได้แม่นยำขึ้น กระสุนอาจจะเป็นกระสุนขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาลงทำให้สามารถนำกระสุนไปด้วยครั้งละมากๆ ได้ นอกจากใช้ทำลายล้างแล้ว ความหวังอย่างหนึ่งของปืนรางแบบนี้คือการใช้นำส่งวัสดุขึ้นสู่อวกาศ จากการเร่งความเร็วต้นได้สูงมาก ทำให้นักออกแบบจรวดมีความหวังว่าจะสร้างระบบนำส่งที่มีต้นทุนต่อกิโลกรัมถูกกว่าเดิม ด้วยการใช้ปืนรางนี้ยิงจรวดจากพื้นโลกขึ้นไปด้วยความเร็วสูงจนหลุดพ้นแรงโน้มถ่วงโลกได้ คาดว่าหากใช้งานได้จริง การนำส่งจรวดขึ้นไปยังวงโคจรจะมีต้นทุนถูกลงหลายสิบเท่าตัว ที่มา - Engadget
https://jusci.net/node/2164
กองทัพเรือสหรัฐฯ ยิงปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้าครบ 1000 นัดแล้ว
ผมเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า "จีโนม" "พันธุวิศวกรรม" "GMOs" อะไรกันมาบ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่ตระหนัก คือ ตอนนี้โลกกำลังก้าวเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า การปฏิวัติจีโนมิกส์ แล้ว วันนี้ผมเลยขอแนะนำวิดีโอจาก TEDTalk อันนี้ครับ ผมแปะของ Youtube เพราะตัว embed จากเว็บ TED มันแปะที่นี่ไม่ขึ้น แต่ผมแนะนำให้ดูจากเว็บของ TED ดีกว่า http://www.ted.com/talks/richard_resnick_welcome_to_the_genomic_revolution.html เพราะเราสามารถเปิด subtitle ได้ (ยกเว้นว่าภาษาอังกฤษและความรู้ทาง Genetics คุณแน่นแล้ว อันนี้ก็ดูโดยไม่ต้องมี sub ก็ได้ ผมขอดูแบบมี sub ดีกว่า) ผมขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจเป็นข้อๆ ตามนี้ การทำ genome sequencing จะถูกลงและรวดเร็วขึ้น ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการทำจีโนมคนคนหนึ่งอาจจะอยู่แค่หลักพันบาท (ความจริงเคยมีโปรโมชั่นของบางบริษัทเสนอราคาไว้ที่หลักพันเหรียญสหรัฐฯ มาแล้วเมื่อปีกลาย) คนรุ่นลูกของเราจะต้องอ้าปากค้าง หากเขารู้ว่าครั้งหนึ่งโครงการ Human Genome ใช้เงินลงทุนถึงพันๆล้านเหรืยญสหรัฐฯ ข้อมูลจีโนมจะช่วยให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคมีประสิทธิภาพขึ้น แม้จะยังไม่ถึงระดับ gene therapy แต่ในปัจจุบันข้อมูลจีโนมก็จะทำให้แพทย์รู้ว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติที่ยีนตัวไหน และสามารถหาสาเหตุและการรักษาได้แม่นยำมากขึ้น ข้อมูลจีโนมจะบอกอะไรเกี่ยวกับตัวเราได้มากกว่าเดิม ต่อไปเราอาจต้องแนบข้อมูลจีโนม(บางส่วนหรืออาจจะเข้ารหัสแบบในข่าว node 2118)ไปกับใบสมัครงานหรือใบสมัครรับเลือกตั้งด้วย หากมนุษย์มีชีวิตยืนยาวขึ้นจากจีโนมิกส์ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการดัดแปลงพันธุ์พืชและสัตว์อาหาร ตอนนี้ข้อมูลจีโนมของแต่ละคนยังมีลักษณะที่ "เป็นของใครก็ของมัน" ต่อไปข้อมูลจีโนมของทุกคนบนโลกจะลิงค์กันเป็นเครือข่ายขนาดยักษ์ เหมือนกับยุคหนึ่งที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเข้าเป็นเครือข่าย LAN และอินเตอร์เน็ตในที่สุด เคยมีคนตั้งข้อสังเกตประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ไว้ประมาณนี้นะครับว่า ในยุคโบราณและยุคกลางเป็นยุคของเคมี เคมีเป็นวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นมากที่สุด เพราะมันเปลี่ยนชีวิตของมนุษย์ในขณะนั้นไปอย่างมหาศาล ต่อมาพอในศตวรรษที่ 19 ความสนใจของโลกก็หันไปที่ฟิสิกส์ เพราะมันให้กำเนิดเทคโนโลยีต่างๆ มากมายและมอบพลังในการอธิบายกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล ในศตวรรษหน้า (หรืออาจจะเป็นศตวรรษนี้) ความรู้ทางชีววิทยา(พันธุศาสตร์)จะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนมนุษยชาติ หรือพูดกันง่ายๆ วิทยาศาสตร์กำลังก้าวเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วไปในทุกๆด้าน แม้ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธความจริงข้อนี้ได้ เราใช้วิธีนี้ในโรงไฟฟ้าได้ไหมครับ ›
https://jusci.net/node/2165
สู่การปฏิวัติจีโนมิกส์
ในสภาวะน้ำท่วมคับขัน หากเราต้องเลือกฆ่าลูกหนึ่งคนเพื่อรักษาชีวิตลูกที่เหลือ เราจะทำหรือไม่? ถ้าเป็นคน ผู้เป็นแม่ก็คงต้องมีการลังเล แต่แม่นกแก้ว Eclectus roratus ตัดสินใจเด็ดขาดโดยการฆ่าลูกนกตัวผู้ทิ้งเพื่อให้ลูกนกตัวเมียมีโอกาสรอดเพิ่มขึ้น ทีมวิจัยที่นำโดย Robert Heinsohn แห่ง Australian National University ในกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ได้เฝ้าสังเกตนกแก้ว Eclectus roratus ซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะใกล้เคียง นกแก้วชนิดนี้ชอบทำรังอยู่ตามโพรงไม้ บ่อยครั้งมันก็ไปเลือกทำรังในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม จากการติดตามสังเกตรังนก 42 รังเป็นระยะเวลา 8 ปี นักวิจัยพบว่า เมื่อรังโดนน้ำท่วม บางครั้งแม่นกแก้วจะฆ่าลูกนกตัวผู้ทิ้ง ยิ่งรังไหนมีสภาพแย่มากๆ น้ำท่วมจะมิดอยู่แล้ว โอกาสที่แม่นกจะฆ่าลูกชายตัวเองก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตอนแรก Robert Heinsohn ก็คิดว่าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ควรเป็นไปได้ตามหลักของการคัดเลือกตามธรรมชาติ เพราะการเลือกกำจัดแต่นกตัวผู้จะส่งผลให้มีนกตัวเมียล้นประชากร เกิดภาวะนกตัวผู้ขาดตลาด ตัวเมียต้องมีแก่งแย่งตัวผู้ไปผสมพันธุ์ เป็นการลดความสามารถในการเพิ่มจำนวนของประชากรนกแก้วโดยรวม แต่พอวิเคราะห์ให้ละเอียด เขาพบว่าแม้แต่ในกรณีที่ประชากรมีนกตัวเมียล้นเกินความจำเป็นอยู่แล้ว การฆ่าลูกนกตัวผู้ทิ้งก็ยังส่งผลให้โอกาสในการส่งผ่านยีนของนกตัวแม่สูงกว่าอยู่ดี เพราะลูกนกตัวผู้ฝึกบินได้ช้ากว่าลูกนกตัวเมียถึงหนึ่งสัปดาห์ หากน้ำท่วมสูงขึ้นจนมิดรัง ลูกนกตัวเมียก็จะมีโอกาสรอดมากกว่า แม่นกถึงเลือกเก็บลูกนกตัวเมียไว้ ส่วนลูกตัวผู้ก็ฆ่าทิ้งไปเพื่อลดภาระเลี้ยงดู ถ้ามองดูจากมุมนี้แล้ว ในสภาวะน้ำท่วม แม่นกก็ควรจะรีบฆ่าลูกนกตัวผู้ทิ้งให้เร็วที่สุดด้วยซ้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่รังตั้งอยู่ในจุดที่เสี่ยงสุดๆ หากมัวแต่ลังเลคิดหน้าคิดหลัง แม่นกจะต้องขาดทุนหนักกว่าเดิม สุดท้ายทั้งลูกชายและลูกสาวอาจได้กอดคอกันตายยกรัง ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/2166
น้ำท่วมเครียดจัด แม่นกแก้วฆ่าลูกชายตัวเอง
Loes Segerink นักวิจัยระดับปริญาเอกของมหาวิทยาลัย Twente แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รายงานความสำเร็จในการพัฒนาชิปทดสอบ (lab-on-a-chip) สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอสุจิ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่อนาคต คู่ที่ต้องการมีบุตรสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลอีกต่อไป การวัดคุณภาพอสุจินั้นโดยทั่วไปแล้วทำกันสองอย่างคือ วัดความหนาแน่นของสเปิร์มในน้ำอสุจิ, และการวัดความแข็งแรงของสเปิร์ม การวัดความหนาแน่นของสเปิร์มนั้นอาศัยการวัดความต้านทานของของเหลวที่ใส่ไว้บนตัวชิป เมือหยดอสุจิลงไปจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของความต้านทานในของเหลวนั้น งานวิจัยสามารถนำผลของความเปลี่ยนแปลงนี้มาคำนวณหาค่าความหนาแน่นของอสุจิได้อย่างหยาบๆ เพียงพอต่อการตรวจสอบเบื้องต้น มันยังสามารถหาความหนาแน่นของเซลล์แบบอื่นๆ เช่นเซลล์เม็ดเลือดได้อีกด้วย อย่างที่สองคือการวัดความแข็งแรงของสเปิร์มด้วยการดัดแปลงตัวชิปเล็กน้อย ให้แยกเส้นทางของสเปิร์มที่เคลื่อนไหว (ว่าย) และไม่เคลื่อนไหวออกจากกัน แล้วจึงวัดความหนาแน่นในแต่ละเส้นทางที่แยกกันออกมา การพัฒนาชิปทดสอบเพื่อทดแทนการส่งตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบเป็นงานวิจัยสายการแพทย์ที่ได้รับความสนใจสูงในหลายปีที่ผ่านมาอีกสายหนึ่ง เพราะหากเราสามารถทดสอบสิ่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย, รวดเร็ว, และมีราคาถูก แล้วเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตไปได้อีกมาก ผู้ป่วยเบาหวานอาจจะรายงานระดับน้ำตาลไปยังแพทย์ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลเลยในช่วงเวลาหลายปี คนทั่วไปอาจจะสามารถควบคุมพฤติกรรมการกินได้ง่ายขึ้นจากการรายงานระดับสารต่างๆ ในกระแสเลือด อย่างไรก็ดีกระบวนการทดสอบเหล่านี้ยังต้องรอการพัฒนาไปอีกมากกว่ามันจะได้รับการยอมรับว่ามีความแม่นยำเท่าเทียมกับห้องทดสอบจริงๆ ที่มา - University of Twente
https://jusci.net/node/2167
ไม่ต้องเตะปี๊บ, ชิปรุ่นใหม่สามารถตรวจวัดคุณภาพอสุจิได้เองที่บ้าน
โครงการ Mars-500 เป็นโครงการทดสอบว่าสภาพจิตวิทยาของนักบินอวกาศจะปรับตัวต่อการเดินทางในอวกาศเป็นระยะเวลานานๆ ได้อย่างไร การทดสอบครั้งนี้เป็นการจำลองการเดินทางไปทำภารกิจบนดาวอังคาร เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2010 และจะสิ้นสุดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2011 ที่จะถึงนี้ รวมเวลาทั้งสิ้น 520 วัน นักบินอวกาศชายทั้งหกคนประกอบด้วยแพทย์ชาวรัสเซีย 2 คน ครูฝึกนักบินอวกาศชาวจีน 1 คน วิศวกรชาวรัสเซีย, อิตาลี, และฝรั่งเศสอีกอย่างละคน ทั้งหมดจะต้องอาศัยอยู่ในแคปซูลจำลองที่ศูนย์ฝึกในกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย และดำเนินกิจกรรมตามที่นักบินอวกาศต้องทำขณะเดินทางในอวกาศอย่างเคร่งครัด แม้แต่การสื่อสารก็ยังต้องมีการหน่วงเวลาเช่นเดียวกับสถานการณ์จริง นอกจากนี้วันดีคืนดียังอาจเจอสถานการณ์ฉุกเฉินให้ปวดหัวเล่นอีกด้วย กำหนดการเดินทางกลับถึงโลกของนักบินอวกาศ Mars-500 ตรงกับเวลา 17.00 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2011 ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งช่วงสองสามวันก่อนสิ้นสุดภารกิจนี้ มีการจำลองสภาวะขณะบินแบบควงสว่านกลับพื้นโลกด้วย (ทั้งที่พวกเขาไม่ได้ก้าวเท้าออกนอกบรรยากาศโลกด้วยซ้ำ) แต่นักบินอวกาศจะต้องถูกกักตัวไว้จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2011 ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ออกไปติดต่อกับโลกภายนอก เนื่องจากตอนนี้เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว แพทย์ประจำโครงการกังวลว่านักบินอวกาศที่แยกตัวจากโลกมาเป็นเวลานานอาจจะมีภูมิต้านทานอ่อนต่อเชื้อไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ แพทย์และนักจิตวิทยาประจำโครงการยืนยันว่าสุขภาพจิตของนักบินอวกาศทุกคนอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ดูเหมือนอย่างน้อยตอนนี้เราก็เชื่อได้ในระดับหนึ่งแล้วว่าจิตใจของมนุษย์สามารถทนต่อการเดินทางไปดาวอังคารได้ ที่มา - Discovery News
https://jusci.net/node/2168
นักบินอวกาศโครงการ Mars-500 จะ"กลับถึงโลก"แล้ว
ในบริเวณที่มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณมาก ฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาไหม้จะลอยขึ้นไปสะสมในชั้นบรรยากาศก่อตัวเป็นเมฆสีน้ำตาลที่เรียกว่า atmospheric brown clouds (ABCs) ซึ่งบางครั้งอาจมีความหนาได้เป็นกิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์สังเกตว่าเมฆสีน้ำตาลเหล่านี้บดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องลงไปเบื้องล่าง ส่งผลให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง อาจจะรุนแรงกว้างขวางถึงระดับภูมิภาค (regional scale) ทีเดียว ทีมวิจัยที่นำโดย Amato Evan แห่ง University of Virginia ได้นำเอาข้อมูลสภาพอากาศในเขตทะเลอาหรับจาก Scripps Institution of Oceanography มาวิเคราะห์ พบว่าในระยะ 30 ปีหลังที่ผ่านมานี้ พายุไซโคลนได้ก่อตัวขึ้นในทะเลอาหรับถี่กว่าแต่ก่อนมาก บางจุดที่ไม่เคยปรากฏมีพายุไซโคลนมาก่อน เช่น อ่าวโอมาน ก็โดนพายุไซโคลนเข้าถล่มในปี 2007 และ 2010 พวกเขาจึงได้สร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลของเมฆ ABCs ต่อกระแสลมในมหาสมุทรอินเดีย ผลจากแบบจำลองสรุปได้ว่าเมฆ ABCs ที่ลอยขึ้นไปบังแสงอาทิตย์มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวน้ำตรงตอนเหนือของทะเลอาหรับต่ำลง กระแสลมเฉือนในแนวตั้ง (vertical wind shear) ที่ปกติจะเกิดประจำในช่วงฤดูมรสุม (กรกฎาคม-สิงหาคม) จึงลดน้อยตามไปด้วย การลดลงของกระแสลมเฉือนนี้ก็คือสาเหตุที่ทำให้พายุไซโคลนก่อตัวได้ง่ายขึ้น เพราะกระแสลมเฉือนจะช่วยตัดพลังของพายุก่อนที่มันสะสมพลังจนกลายเป็นไซโคลน งานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหามลภาวะทางอากาศซึ่งส่งผลกระทบได้กว้างขวางและรุนแรงในระดับที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึง วิธีการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าคงจะเป็นการป้องกันไม่ให้ฝุ่นควันลอยขึ้นไปสะสมในบรรยากาศ เช่น การติดเครื่องกรองตรงท่อไอเสียรถยนต์ การหันมาใช้แก๊สธรรมชาติ เป็นต้น ส่วนในระยะยาว เราคงต้องหาทางลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลภาวะ แล้วหันไปหาแหล่งพลังงานอย่างอื่นที่สะอาดกว่าแทน ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/2169
ควันมลพิษทำให้ทะเลอาหรับมีพายุมากขึ้น
เวลามาตรฐานกรีนิช หรือ Greenwich Mean Time (GMT) คือสิ่งที่เรายึดเป็นมาตรฐานในการอ้างอิงเวลากันมานานนับศตวรรษ เหตุผลหลักที่มนุษย์ต้องใช้เวลา ณ จุดใดจุดหนึ่งบนโลกเป็นตัวอ้างอิงก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ใช้การขึ้นลงของดวงอาทิตย์ (หรือพูดอีกทางก็คือการหมุนของโลกนั่นเอง) เป็นตัวกำหนดเวลาในแต่ละวัน ดังนั้นเลยต้องมีข้อตกลงร่วมกันในการบอกเวลา บังเอิญว่าประวัติศาสตร์ดันเลือกให้การเคลื่อนผ่านของดวงอาทิตย์ที่หอสังเกตการณ์ ณ ตำบลกรีนิช สหราชอาณาจักร กลายเป็นข้อตกลงร่วมดังกล่าว แม้จะหมดยุคล่าอาณานิคมไปแล้ว GMT ก็ยังคงเป็นเวลามาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วโลกอยู่ดี ในปี 1884 การประชุม ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ก็ตกลงให้ GMT คือเวลามาตรฐานสากลของโลกอย่างเป็นทางการ พอมาถึงในปี 1972 นักวิทยาศาสตร์เริ่มจะเบื่อของเก่า เลยมาตกลงกันใหม่ให้นาฬิกาปรมาณู (atomic clock) เป็นเครื่องอ้างอิงเวลาแทนการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ และเรียกชื่อมาตรฐานเวลาแบบใหม่ว่า Coordinated Universal Time (UTC) แต่ในทางปฏิบัติตัวเลขบนนาฬิกาของเวลาแบบ UTC ก็ยังคงเป็นเวลาตาม GMT อยู่ดี หากวันไหนเวลาของ UTC คลาดเคลื่อนไปจาก GMT เกิน 1 วินาที (เนื่องจากการขึ้นลงของดวงอาทิตย์แปรผันได้ตลอด) ก็จะมีการเพิ่มหรือลดวินาทีเข้าไปในนาทีสุดท้ายของวัน UTC นั้น เพื่อรักษาช่วงระยะเวลามาตรฐานของเวลา 1 วินาทีให้คงที่และในขณะเดียวกันก็รักษาให้ตัวเลขเวลาบนนาฬิกาสัมพันธ์กับเวลาของการขึ้นลงของดวงอาทิตย์บนโลก เวลา 1 วินาทีที่บวกหรือลบเข้าไปใน UTC เรียกว่า "leap second" การมี UTC เพิ่มขึ้นมาไม่ได้ทำให้ปัญหามาตรฐานของเวลาจบลงอย่างถาวร ในวันพฤหัสบดีกับวันศุกร์นี้ (3-4 พฤศจิกายน 2011) ผู้เชี่ยวชาญกว่า 50 คนก็ได้มาประชุมกันในงานประชุมของ Royal Society ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ด้วยวาระว่าควรรยกเลิกการใช้ GMT เป็นเวลามาตรฐานสากลหรือไม่ เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์อยากเฉดหัว GMT ออกจากการเป็นมาตรฐานเสียเหลือกัน ก็มาจากความคลาดเคลื่อนระหว่างช่วงเวลาของวันตามนาฬิกาปรมาณูและวันตามการขึ้นลงของดวงอาทิตย์นี่แหละ ทำให้จำเป็นต้องคอยมาเล็งปรับ leap second กันอยู่เรื่อยๆ ปัญหาคือช่วงห่างระหว่างการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อยทุกปี หากไม่เปลี่ยนแปลงอะไรๆ ตั้งแต่ตอนนี้ ต่อไปเราก็จะต้องปรับเวลา UTC กันหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ รุ่นเหลนรุ่นโหลนของเราอาจจะต้องปรับกันทีละ leap minute เลย ไม่ใช่แค่ leap second แม้ผู้เชี่ยวชาญบางคนโดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักรจะไม่พอใจกับข้อเสนอนี้ แต่ส่วนใหญ่ก็เก็บอาการกันไว้ระดับหนึ่ง คงจะกลัวข้อครหาเรื่องชาตินิยม ที่น่าแปลกคือประเทศจีนกลับต้องการเห็น GMT คงความเป็นเวลามาตรฐานไว้ตามเดิม เนื่องจากนักดาราศาสตร์จีนส่วนใหญ่นิยมใช้การอ้างอิงเวลากับ GMT ส่วนประเทศที่ฉกฉวยโอกาสนี้อย่างรวดเร็วคือ ฝรั่งเศส ที่อยู่ดีๆ ก็โผล่มาล็อบบี้ให้ที่ประชุมเลือก "Paris Mean Time" เป็นเวลามาตรฐานอย่างหน้าตาเฉย (ซึ่งผมว่าคงไม่มีใครเอาด้วยแน่ เพราะส่วนใหญ่คงเห็นพ้องต้องกันว่าเอา UTC ดีกว่า) สำหรับคนทั่วไปอาจจะคิดว่าเวลาแค่ไม่กี่วินาทีเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วปัญหานี้ใกล้ตัวและสำคัญกว่าที่หลายคนคิด ตัวอย่างเช่น ระบบ GPS ซึ่งต้องมีการปรับเวลาให้ตรงเป๊ะอยู่ตลอดเวลาถึงระดับไมโครวินาทีกันเลยทีเดียว ในกรณีที่เวลามาตรฐานสากลยังเป็น GMT อยู่อย่างเช่นทุกวันนี้ ยิ่งช่วงคลาดเคลื่อนระหว่างเวลาตามนาฬิกาปรมาณู (เวลาแบบ UTC) กับเวลาตามการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ (เวลาแบบ GMT) ขยายห่างมากขึ้นเท่าไร ระบบการปรับเวลาให้ตรงกันของดาวเทียม GPS ก็ยิ่งยุ่งยากมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันเวลา UTC อ้างอิงกับนาฬิกาปรมาณูกว่า 400 เรือนที่ตั้งกระจายอยู่ตามห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าผลการประชุมจะออกมาเช่นไรก็ตาม ในเดือนมกราคม ปี 2012 ก็จะมีการประชุมของ International Telecommunication Union ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อลงคะแนนเสียงว่าระบบโทรคมนาคมจะปลดระวาง GMT และหันมาใช้ UTC เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการหรือไม่ หนังสือพิมพ์ Sunday Times ลงความเห็นอาลัย GMT ล่วงหน้าไว้ก่อนแล้วว่า "GMT ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของอังกฤษในยุควิคตอเรียน คงมีชะตากรรมไม่ต่างจากบทบาทมหาอำนาจของประเทศอังกฤษเท่าไรนัก สุดท้ายก็ต้องจางหายไป" ที่มา - AFP via PhysOrg
https://jusci.net/node/2170
ถึงเวลาเลิกใช้เวลามาตรฐานกรีนิชหรือยัง?
หลังจากค้นพบเป็นเวลาสิบกว่าปี General Assembly ของ the International Union of Pure and Applied Physics (IUPAP) ก็รับรองชื่อของธาตุลำตับที่ 110, 111, และ 112 สักที ในการประชุมครั้งล่าสุด ณ Institute of Physics ในกรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ธาตุที่ 110 หรือที่เคยมีชื่อชั่วคราวว่า Ununnilium (Uun) ได้ชื่อเป็น Darmstadtium สัญลักษณ์ Ds ตามชื่อเมือง Darmstadt ในประเทศเยอรมนีซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับห้องปฏิบัติการของ Gesellschaft für Schwerionenforschung (GSI) ที่ที่มันถูกสังเคราะห์ชึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนปี 1994 ธาตุที่ 111 หรือที่เคยมีชื่อชั่วคราวว่า Unununium (Uuu) ได้ชื่อเป็น Roentgenium สัญลักษณ์ Rg ตามชื่อของ Wilhelm Conrad Roentgen นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบและประดิษฐ์เครื่องฉายรังสีเอ๊กซ์ ธาตุนี้ถูกค้นพบโดยทีม GSI หลังการค้นพบ Darmstadtium เพียงหนึ่งเดือน ธาตุที่ 112 หรือที่เคยมีชื่อชั่วคราวว่า Ununbium (Uub) ได้ชื่อเป็น Copernicium สัญลักษณ์ Cn ตามชื่อของ Nicolaus Copernicus นักดาราศาสตร์ผู้เสนอแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ซึ่งขัดกับความเชื่อของฝ่ายศาสนจักรที่ทรงอิทธิพลอยู่ในขณะนั้น Copernicium ถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1996 โดยนักวิทยาศาสตร์แห่ง GSI ชื่อทั้งสามนี้ถูกนำเสนอเข้าสู่มติของ General Assembly โดย Joint Working Party on the Discovery of Elements ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมระหว่าง IUPAP กับ the International Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC) ที่มา - SPACE.com, Institute of Physics ป.ล. ผมรู้ว่าหลายคนคงสงสัยกับวิธีตั้งชื่อธาตุ ผมก็งุนงงกับระเบียบวิธีของนักเคมีเหมือนกัน เท่าที่ผมจับความได้จากที่มา คือ เริ่มจากให้คนค้นพบไปคิดชื่อมา ชื่อจะค่อยๆ ส่งต่อไปจนถึง Joint Working Party ของ IUPAC กับ IUPAP แล้วก็รอๆๆ ระหว่างรอก็ใช้ชื่อชั่วคราวตามข้อกำหนดของ IUPAC ไปก่อน หลังจากทิ้งระยะสักพองามให้ทุกคนหายตื่นเต้นกับธาตุใหม่แล้ว IUPAP ก็จะเสด็จมาประชุมตัดสินอีกรอบ ลองคิดดูนะ... เมื่อในที่สุด IUPAP ก็เป็นคนชี้ขาดอยู่แล้ว ทำไมไม่ให้ IUPAP หรือ Joint Working Party ตัดสินไปเลยตั้งแต่ทีแรก? ว่างกันมาก?
https://jusci.net/node/2171
ธาตุที่ 110, 111, 112 ได้ชื่ออย่างเป็นทางการแล้ว
โครงการ Mars-500 ที่จำลองสภาพเทียมๆ ของการส่งคนไปดาวอังคาร เพิ่งจะปิดฉากการทดลองรอบล่าสุดที่กินเวลานานถึง 520 วันเมื่อไม่กี่วันมานี้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่หยุดยั้งความสำเร็จ(?)ไว้เพียงแค่นั้น Sergey Krasnov หัวหน้าโครงการจากหน่วยงานอวกาศของรัสเซียได้แถลงต่อหน้าสื่อว่าโครงการ Mars-500 จะยังมีรอบหน้าอีก Sergey Krasnov แง้มๆ ว่า Mars-500 รอบหน้าจะเป็นการทดลองที่มีระยะเวลาสั้นกว่านี้ แต่จะทำกันบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เพื่อให้นักบินอวกาศในโครงการได้สัมผัสกับสภาวะไร้น้ำหนัก (microgravity) และอารมณ์ความรู้สึกที่บีบคั้นอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่าขอยกมือลาออกเมื่อไรก็ได้ (ซึ่งการขาดสองข้อนี้เป็นข้อครหาที่โครงการ Mars-500 เจอคนวิจารณ์มาโดยตลอด) แต่จัดพื้นที่แยกเฉพาะสำหรับโครงการ Mars-500 บนสถานี ISS เป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก ความเป็นไปได้ของแผนโครงการนี้คงต้องรอดูกันอีกสักสองสามปี ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/2172
โครงการ Mars-500 รอบหน้าอาจจัดบนสถานีอวกาศนานาชาติ
Doodle ของ Google ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2011 เปลี่ยนเป็นรูปวาดนักวิทยาศาสตร์หญิงคนหนึ่งในห้องทดลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 144 ปีชาตกาลของ Marie Curie นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกงานทางด้านกัมมันตรังสี ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และได้รับถึงสองครั้งในสองสาขาด้วย (สาขาฟิสิกส์ปี 1903 และ สาขาเคมีปี 1911) ผมนึกไม่ออกจริงๆ นะว่าทุกวันนี้มีนักวิทยาศาสตร์หญิงคนไหนได้รับการยกย่องเทียบเท่า Marie Curie อีก ถึงขนาดว่ามีคนทำหนังชีวประวัติของเธอออกฉาย http://en.wikipedia.org/wiki/Madame_Curie_%28film%29 ไม่ต้องพูดถึงชื่อหน่วยวัดรังสี ชื่อธาตุ และชื่อสถาบันต่างๆ ที่ตั้งตามชื่อเธออีกสารพัด วิทยาศาสตร์ เป็น ปรัชญา หรือไม่ ? ›
https://jusci.net/node/2173
ครบรอบ 144 ปีชาตกาล Marie Curie
โหลดมาศึกษาด่วน
https://jusci.net/node/2174
นักคณิตศาสตร์สร้างแบบจำลองว่านักเลงแก๊งไหนจะตีกันเมื่อไร
พวกนี้ไม่กลัวกันเลยเหรอ ถ้ายิงไปแล้วมีสัตว์ประหลาดจากมิติอื่นโผล่มาจะทำไง ฮ่าๆ
https://jusci.net/node/2175
นักฟิสิกส์ยุโรปจะใช้เลเซอร์เจาะมิติกาล-อวกาศให้เป็นรู
ของเล่นใหม่ ;)
https://jusci.net/node/2176
JuSci บน Google+
สู้ๆ ต่อไป
https://jusci.net/node/2177
รัสเซียส่งยานสำรวจดาวอังคาร
ถ้าจนท.ไม่พูดว่า "เคยติดต่อก็ได้จ้า" หรือ "เรากำลังพัฒนาอาวุธลับล้างโลกอยู่ก็ได้จ้า" ก็จะไม่ยอมหยุดใช่มั้ยเอ็ง ก็ถ้ามันไม่มีจะให้มันมีได้ไงเล่าาาา แล้วถ้ามันมีแต่เค้าไม่อยากบอก เค้าจะบอกทำไมเล่าาาาา
https://jusci.net/node/2178
ทำเนียบขาวยืนยันไม่เคยติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว
นึกถึงมายากลที่เอามือจุ่มน้ำมันเดือดๆ ใช่เทคนิคเดียวกันปะฮะ
https://jusci.net/node/2179
ศักดิ์สิทธิ์มาก! จับปลาแช่ไนโตรเจนเหลว ปลาไม่ตาย
Petdo !!! เป็นเกย์เหรออออออ นั้นมัน Pedro !!
https://jusci.net/node/2180
สวนสัตว์โตรอนโตจะแยกคู่เกย์นกเพนกวินออกจากกัน
คนที่ไปฟาร์มลาบ่อยๆ คงต้องระวัง?
https://jusci.net/node/2181
[18+] คนชอบอึ๊บสัตว์จงระวัง... เสี่ยงเป็นมะเร็งช้างน้อย
คือตอนเคี้ยวจะเหมือนหมากฝรั่งปกติ แต่พอทิ้งไว้นานมาก ๆ แล้วมันจะไม่เหนียวใช่ไหมครับ?
https://jusci.net/node/2182
หมากฝรั่งที่ไม่เหนียว