content
stringlengths 2
11.3k
| url
stringlengths 26
27
| title
stringlengths 3
125
|
---|---|---|
นักวิจัยชาวออสเตรเลียกำลังพัฒนาผ้าพันแผลที่ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง (Chronic wounds) โดยสีของผ้าพันแผลจะเปลี่ยนตามระดับของบาดแผลใต้ผ้า
หลุยส์ ฟาน เดอ เวิร์ฟ ( Louise van der Werff) นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์กำลังพัฒนาการตรวจวัด และการรักษาแผลเรื้อรัง เช่น แผลเปื่อย (Ulcers) ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
ฟาน เดอ เวิร์ฟ กล่าวว่า "ผู้ป่วยบางคนเป็นแผลมา 6 เดือนแล้ว เพราะว่ามีอาการติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากตรวจพบการติดเชื้อของแผลช้า" การติดเชื้อเป็นสาเหตุให้การรักษาแผลเรื้อรังหายช้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน
ผ้าพันแผลที่เธอประดิษฐ์ขึ้น จะช่วยให้รักษาแผลเรื้อรังได้เร็วขึ้น โดยผ้าพันแผลแบบใหม่ ใช้อนุพันธ์ของคอเลสเตอรอล ซึ่งจะเปลี่ยนสีจากแดง เป็น สีเขียว และ สีน้ำเงินเมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น
เมื่อแผลเริ่มติดเชื้อจะมีความร้อนเพิ่มขึ้นจากระดับปกติ ทำให้ตัวผ้าพันแผลเปลี่ยนสี ซึ่งทำให้แพทย์ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยก็สามารถรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา
ขณะนี้ผ้าพันแผลชนิดนี้อยู่ในช่วงการวิจัย โดยขั้นต่อไปเธอจะทำตัวต้นแบบออกมา
สำหรับข้อมูลเต็มๆ สามารถอ่านได้จากที่มาครับ
ที่มา Discovery news | https://jusci.net/node/1881 | รักษาแผลให้หายเร็วด้วยผ้าพันแผลเปลี่ยนสีได้ |
ชีวิตของคนเรามีขึ้นมีลงเป็นธรรมดา อาจจะทะเลาะกับเพื่อน กับแฟน สูญเสียพ่อแม่ หรือบุคคลอันเป็นที่รัก แต่ส่วนใหญ่แล้ว เราจะผ่านช่วงเวลาอันยุ่งยากเหล่านั้นมาได้กันแทบทุกคน มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังติดอยู่กับเรื่องสะเทือนใจเหล่านี้ และบางคนก็ทำให้เรื่องเหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จากการศึกษาของคุณ Jutta Joormann แห่งมหาวิทยาลัยไมอามี่ ร่วมกับคุณ Sara Levens และคุณ Ian H. Gotlib แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่จะตีพิมพ์ในนิตยสาร Psychological Science ฉบับหน้า พบว่า คนยึดติดกับเรื่องสะเทือนใจจนไม่อาจลืม หรือทิ้งมันไว้ข้างหลังได้ เพียงเพราะว่า พวกเขาไม่สามารถหันเหความสนใจออกไปจากเรื่องสะเทือนใจเหล่านั้นได้
คนที่ไม่สามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์เลวร้ายที่เจอได้ เป็นเพราะว่า พวกเขาหวนรำลึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่อาจหยุดตัวเองได้ ถึงแม้พวกเขาจะรู้ตัวดีว่า การคิดถึงเรื่องนี้ซ้ำ ๆ ไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง และควรจะหยุดคิดได้แล้ว แต่พวกเขากลับทำไม่ได้ คุณ Jutta สงสัยว่าคนกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านความจำระยะสั้น (working memory) ความจำระยะสั้นไม่เพียงช่วยให้เราจำรายการสิ่งของที่ต้องซื้อ หรือใช้ตอนคิดเลขในใจเท่านั้น แต่รวมไปถึงอะไรที่กำลังอยู่ในหัวคุณด้วย คุณ Jutta จึงคิดว่า คนกลุ่มนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนความคิดจากเรื่องเดิมไปสู่เรื่องใหม่
คุณ Jutta และเพื่อนร่วมงานจึงได้รับอาสาสมัครจำนวน 26 คนที่เคยมีเรื่องสะเทือนใจ และอีก 27 คนที่ไม่เคยมีเรื่องสะเทือนใจมาทดสอบสมมุติฐานของเธอ โดยให้อาสาสมัครแต่ละคนนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ที่จะแสดงคำออกมาทีละคำในแต่ละวินาที จำนวน 3 คำ แล้วให้อาสาสมัครจำคำเหล่านี้แล้ว แล้วตอบแบบเรียงจากหลังไปหน้า คนที่ตอบได้เร็วกว่าจะถือว่าเป็นคนที่มีความจำดี
ผลปรากฎว่า คนที่เคยมีเรื่องสะเทือนใจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียงคำ ลำดับของคำที่รับรู้มาจะติดค้างอยู่ในความจำระยะสั้น ส่งผลให้ตอบได้ช้ากว่าคนทั่วไป และยิ่งช้าลงไปอีกถ้าคำเหล่านั้นมีความหมายในแง่ลบ เช่น ความตาย หรือ ความเสียใจ และเธอยังพบว่า คุณเหล่านี้จะชอบคิดมากกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตอีกด้วย
เธอหวังว่าการค้นพบครั้งนี้ของเธอ จะช่วยให้คนที่มีอาการจิตตกเหล่านั้นได้รับคำแนะนำที่จะช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนความคิดไปจากเรื่องร้าย ๆ ที่เคยเจอได้
เวลาทำให้เรื่องเหล่านั้นกลายเป็นอดีตไปแล้ว ตัวเราเองต่างหากที่รู้สึกว่ามันยังคงเป็นปัจจุบันสำหรับเราอยู่
ที่มา: APS | https://jusci.net/node/1882 | เรื่องสะเทือนใจจะติดค้างในความจำระยะสั้น |
เราจะเรียก "ห่านหัวลาย" (Bar-headed goose) ว่าโคตรซุปเปอร์นก ก็คงไม่ผิดนัก ห่านชนิดนี้มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่ในประเทศจีน แต่จะย้ายบ้านไปอยู่อินเดียในช่วงหน้าหนาว ดังนั้นในแต่ละปีมันจะต้องบินไปกลับระหว่างจีน-อินเดียโดยใช้เส้นทางมหาโหด นั่นก็คือ บินข้ามเทือกเขาหิมาลัย
ทีมวิจัยที่นำโดย Lucy Hawkes แห่ง Bangor University ได้ติดเครื่องส่งสัญญาณ GPS ไว้ที่ตัวห่านหัวลาย พวกเขาพบว่าห่านหัวลายไม่เพียงแต่บินข้ามยอดเขาเอเวอเรสต์ซึ่งเป็นยอดที่สูงที่สุดของเทือกเขาหิมาลัยเท่านั้น มันยังบินไต่ระดับจากพื้นขึ้นไปถึงระดับความสูงนั้นต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมงโดยไม่มีการพักอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นสถิติของสัตว์ที่บินไต่ระดับต่อเนื่องได้ยาวนานที่สุด ความเร็วในการบินไต่ระดับของห่านหัวลายอยู่ที่ 0.8-2.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นักวิจัยสังเกตว่าห่านหัวลายมักบินข้ามเทือกเขาในช่วงตอนเช้าของฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงซึ่งอากาศสงบ ไม่มีลมช่วยพยุง ดังนั้นน่าจะเป็นไปได้ว่าห่านหัวลายไม่ได้บินโดยอาศัยการร่อนไปตามลมเหมือนนกที่บินสูงๆ หลายชนิดชอบทำ แต่มันน่าจะใช้วิธีฮึดกระพือปีกให้เร็วและแรงมากกว่า
อากาศที่ความสูงระดับ 8,800 กว่าเมตรเหนือระดับน้ำทะเลนั้นจะเบาบางมาก ขนาดเฮลิคอปเตอร์ยังแทบจะทรงตัวไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสรีรวิทยาของห่านหัวลายคงเป็นตัวช่วยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นขนาดปอดที่ใหญ่โตกว่านกตระกูลเป็ดห่านอื่นๆ เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว และประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อที่เหนือกว่านกอื่นๆ
ที่มา - Planet Earth online
ป.ล. ใน Wikipedia บอกว่ามีคนเคยเห็นห่านหัวลายบินที่ความสูง 10,175 เมตรด้วย ถือว่าเป็นหนึ่งในนกที่บินสูงที่สุดในโลก ส่วนเจ้าของสถิติ "นกที่บินสูงที่สุด" เท่าที่มีหลักฐาน คือ นกแร้ง Rüppell's Vulture ซึ่งเคยหลุดเข้าไปในท่อไอพ่นเครื่องบินที่ความสูง 11,000 เมตรในปี 1975
(อ่าน www.straightdope.com/columns/read/1976/how-high-can-birds-and-bees-fly) | https://jusci.net/node/1883 | ห่านจอมอึดบินข้ามยอดเขาเอเวอเรสต์โดยไม่หยุดพัก |
มนุษย์รู้ว่า สีแดง หมายถึง หยุด อันตราย ร้อน และจากงานวิจัยเรื่องสีในกีฬาโอลิมปิกปี 2004 (ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ) พบว่า สีแดงยังหมายถึง อำนาจ นักกีฬาที่ใส่ชุดสีแดง จะมีโอกาสชนะมากกว่านักกีฬาที่ใส่ชุดสีน้ำเงิน โดยเฉพาะในกีฬาประชิดตัวอย่างชกมวย
คุณ Jerald D. Kralik นักประสาทวิทยาแห่งวิทยาลัย Dartmouth และผู้ช่วย ได้ทดลองผลของสีที่มีต่อลิงวอก (Macaca mulatta) ซึ่งอาศัยอย่างอิสระใน Caya Santiago, Puerto Rico เพื่อพิสูจน์ว่า ผลของสีเกิดขึ้นเฉพาะมนุษย์ เกิดโดยบังเอิญ หรือว่ามีอยู่ในสายวิวัฒนาการอยู่แล้ว
วิธีการคือ ให้นักวิจัย 2 คน ชาย-หญิง เข้าไปในอาณาเขตของลิงวอก หาลิงตัวผู้ที่อยู่แยกออกจากฝูง เมื่อเจอแล้วก็คุกเข่าลง เอาถาดโฟมมาวางไว้ข้างหน้า หยิบชิ้นแอบเปิลออกมาจากกระเป๋าสะพายหลัง ยกขึ้นมาในระดับหน้าอกให้ลิงเห็น แล้วมาวางไว้ในถาด ถอยหลังออกไป 2 ก้าว โดยทั้งคู่จะใส่เสื้อ และหมวกสี แดง เขียว และน้ำเงินในสี่รูปแบบคือ ผู้หญิงกับสีแดง ผู้ชายกับสีเขียว - สลับกัน แล้วก็ สีแดงกับสีน้ำเงิน - สีน้ำเงินกับสีเขียว
ผลที่ได้คือ ลิงจะไม่สนใจเพศของนักวิจัยเลย ชุดสีเขียวกับสีน้ำเงินให้ผลแตกต่างกันน้อยมาก แต่สำหรับสีแดง ลิงจะอยู่ห่างจากมัน และเลือกที่จะหยิบอาหารจากถาดของคนใส่เสื้อสีอื่นแทนทันที
นักวิจัยจึงเชื่อว่า การเกลียดชังสีแดงนั้นถูกฝังอยู่ในสายวิวัฒนาการ ไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญ และมันส่งผลให้มนุษย์รับรู้ว่า สีแดงหมายถึง "ไม่"
การที่มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และยังเป็นสัตว์สังคม สีช่วยให้เรารู้ว่าอาหารชนิดไหนกินได้ ทำให้เรารู้ระดับอารมณ์ของอีกฝ่ายจากสีหน้า และสีมีผลต่อพฤติกรรมของเรามากกว่าที่เราคิดมากนัก
ในขณะที่นักวิจัยกำลังศึกษาถึงผลกระทบของมัน พวกเขาก็เตือนผู้จัดการแข่งขันต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านกีฬา และวิชาการ ให้หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ทำให้การแข่งขันนั้นไม่ยุติธรรม แต่สิ่งที่นักวิจัยกลุ่มนี้ไม่ได้บอกคือ ถ้าอยากจะให้คู่แข่งกลัวคุณ ก็ใส่ชุดสีแดงสดลงสนาม
ที่มา: APS | https://jusci.net/node/1884 | สีส่งผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ |
เคยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เกมที่มีเนื้อหารุนแรงไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เล่น ก็ต้องมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เกมที่มีเนื้อหารุนแรงส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เล่นจริง เป็นของคู่กัน
มีงานวิจัยซึ่งทำโดยรองศาสตราจารย์ Bruce Bartholow แห่งมหาวิทยาลัยมิซซูรี่ เขาใช้อาสาสมัครจำนวน 70 คน ให้แต่ละคนมาสุ่มเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรง และเกมที่ไม่รุนแรง เป็นเวลา 25 นาที หลังจากนั้นก็วัดการตอบสนองของสมองที่มีต่อภาพต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาพธรรมดาทั่วไป เชน จักรยาน ผู้คน และภาพที่มีความรุนแรงอย่าง คนเอาปืนจ่อปากคนอีกคน และให้เลือกระดับเสียงที่จะเปิดให้คนที่แพ้การแข่งขันฟัง เพื่อวัดระดับความก้าวร้าว
นักวิจัยพบว่า อาสาสมัครที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงจะเลือกเสียงที่ดังกว่าคนที่เล่นเกมที่ไม่รุนแรง และถ้าอาสาสมัครไม่เคยเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงด้วยแล้ว สมองของเขาจะตอบสนองต่อภาพที่มีความรุนแรงน้อยลงด้วย (เฉยชาต่อภาพที่มีความรุนแรง) ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งของความก้าวร้าวเช่นกัน แต่สำหรับคนที่เล่นเกมที่มีเนื้อหาความรุนแรงอยู่แล้ว สมองของเขาจะตอบสนองน้อยลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเภทของเกมที่เล่นในระหว่างการวิจัยเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาอาจจะเคยชินกับความรุนแรงอยู่แล้วก็เป็นไปได้
รองศาสตราจารย์ Bruce บอกว่า ต่อไปเขาจะมุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่ว่า สื่อที่มีความรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะเด็กที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งมากกว่าการอยู่กับสื่อประเภทอื่น รวมทั้งการนอน เขาเชื่อว่าเด็กจะคุ้นเคยกับความรุนแรงเหมือนกับที่สมองของพวกเขาคุ้นเคย
สาเหตุอย่างหนึ่งที่เกมที่มีเนื้อหารุนแรงส่งผลต่อมนุษย์มากกว่าสื่อประเภทอื่น เพราะในมุมมองด้านจิตวิทยาแล้ว ผู้เล่นจะได้รับรางวัลตอบแทนความรุนแรงที่ตัวเองก่อขึ้น และอีกอย่าง เกมที่มีเนื้อหารุนแรง มันฮิตเสียด้วย...
ที่มา: Medical Xpress | https://jusci.net/node/1885 | เกมที่มีเนื้อหารุนแรงส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เล่นจริง |
เปลือกแอปเปิลมีสารเคมีตัวหนี่งที่ชื่อว่า ursolic acid ใครที่สนใจฟิตหุ่นอยู่ควรจำชื่อสารตัวนี้ไว้ให้ดี เพราะจากผลการทดลองล่าสุดของทีมนักวิจัยที่นำโดย Christopher Adams แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา พบว่า ursolic acid สามารถช่วยเพิ่มการเจริญของกล้ามเนื้อในหนูทดลองและยังช่วยลดอาการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการถูกกักขังด้วย
เหตุผลที่พวกเขาเลือกศึกษา ursolic acid เป็นเพราะว่างานวิจัยของพวกเขาก่อนหน้านี้ชี้ว่าเซลล์ในจานเพาะเลี้ยงที่ได้รับ ursolic acid มีกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ตรงกันข้ามกับเซลล์กล้ามเนื้อหนูที่เสื่อมสภาพ ดังนั้นพวกเขาจึงอยากลองดูว่า ursolic acid จะให้ผลอะไรบ้างในร่างกายสิ่งมีชีวิต
นักวิจัยสันนิษฐานว่า ursolic acid คงไปกระตุ้นให้ตัวรับฮอร์โมน IGF1 (insulin-like growth factor-1) และ insulin ของเซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายหนู
เป็นที่รู้กันดีว่าฮอร์โมน IGF1 (insulin-like growth factor-1) และ insulin ควบคุมการสร้างกล้ามเนื้อและสมดุลของน้ำตาล ดังนั้นไม่น่าแปลกใจเลยว่า นอกจากหนูจะมีกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นแล้ว ไขมันในร่างกาย, และปริมาณน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดยังลดลงด้วย
ต่อไปถ้ามีโอกาสได้กินแอปเปิลก็ขอให้จำไว้ว่า "ต้องกินทั้งเปลือก" จึงจะเป็นการดีทั้งต่อสุขภาพ แถมยังไม่เปลืองอีกด้วย
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1886 | เปลือกแอปเปิลช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อในหนูทดลอง |
สหภาพเคมีระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry - IUPAC) ประกาศเพิ่มธาตุเข้าในตารางธาตุอีก 2 ตัวคือ ununquadium (114) และ ununhexium (116)
ธาตุสองตัวนี้เป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น (systhesis) เช่นเดียวกับธาตุที่มวลอะตอมสูงๆ ตัวอื่น และมีความพยายามยืนยันจากห้องทดลองต่างๆ ว่าสังเคราะห์ธาตุสองตัวนี้ได้มาหลายปีแล้ว แต่ที่ IUPAC ยอมรับมี 2 กลุ่มคือห้องทดลอง Lawrence Livermore National Laboratory ของสหรัฐ และ Joint Institute for Nuclear Research (JINR) ของรัสเซีย
วิธีการสร้างธาตุ 116 คือ นำคูเรียม (Curiam โปรตอน 96 ตัว) มาผสมกับแคลเซียม (โปรตอน 20 ตัว) ซึ่งธาตุใหม่จะดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะสลายลงมาเป็นธาตุ 114
ส่วนธาตุ 114 มีวิธีสร้างอีกแบบด้วยคือนำแคลเซียมมาผสมกับพลูโตเนียม (ธาตุ 114 ก็มีชีวิตอยู่เป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะสลายเป็นธาตุอื่นเช่นกัน) ธาตุทั้งสองตัวเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีพลังสูง มีมวลหนักที่สุดในตารางธาตุตอนนี้คือ ธาตุ 114 มีมวล 289 และธาตุ 116 มีมวล 292
ตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว ผู้ค้นพบและยืนยันการมีอยู่ของธาตุจะได้สิทธิ์ตั้งชื่อธาตุ ซึ่งธาตุทั้งสองตัวจะเข้ากระบวนการตั้งชื่อต่อไป
ที่มา - Physorg, Engadget | https://jusci.net/node/1887 | ตารางธาตุเพิ่มธาตุอีก 2 ตัว คือหมายเลข 114 และ 116 |
ถ้าเล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงจะเป็นคนที่ก้าวร้าวขึ้น แล้วเล่นเกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายเราจะอารมณ์ดีขึ้นไหม? งานวิจัยนี้ตอบคำถามนี้ได้ครับ
งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยคุณ Brad Bushman และคุณ Jodi Whitaker นักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการติดต่อสื่อสาร ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ โดยใช้อาสาสมัครที่เป็นนักศึกษาจำนวน 150 คนมาร่วมทดลอง โดยให้แต่ละคนเล่นเกมบนเครื่อง Wii เป็นเวลา 20 นาที จากการสุ่มเกม 3 ประเภทคือ เกมที่มีเนื้อหารุนแรงอย่าง Resident Evil 4 เกมกลาง ๆ อย่าง Super Mario Galaxy และเกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอย่าง Endless Ocean (เกมที่ให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นนักดำน้ำที่ท่องไปตามท้องมหาสมุทร มองดูสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล และสมบัติใต้ทะเล ผู้เล่นจะเจอกับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลต่าง ๆ รวมทั้งฉลาม แต่ฉลามเกมนี้ไม่ทำร้ายคนอย่างเกมอื่น ๆ)
หลังจากนั้น อาสาสมัครจะต้องแข่งกดปุ่มกับคู่แข่งอีกคนซึ่งเขาไม่รู้ว่าเป็นใคร (ความจริงแล้วไม่มีคู่แข่งอีกคนอยู่จริง ๆ) ใครที่กดปุ่มได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ ผู้ชนะจะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง ส่วนผู้แพ้จะต้องฟังเสียงดัง ๆ ผ่านทางหูฟัง โดยที่อาสาสมัครจะเป็นคนกำหนดจำนวนเงิน และระดับเสียง พร้อมทั้งระยะเวลาที่ต้องฟังเอง
ผลการทดลองคือ อาสาสมัครที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงจะเลือกระดับเสียง และระยะเวลามากกว่าคนที่เล่นเกมกลาง ๆ และคนที่เล่นเกมกลาง ๆ จะเลือกระดับเสียง และระยะเวลามากกว่าคนที่เล่นเกมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
ในอีกด้าน คนที่เล่นเกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายจะให้เงินแก่คู่แข่งมากกว่าคนที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรง สิ่งนี้บ่งบอกว่า เกมที่มีเนื้อหารุนแรงทำให้ผู้เล่นก้าวร้าวขึ้น และเกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายจะทำให้ผู้เล่นอ่อนโยนมากขึ้น
ในการทดลองครั้งที่สอง นักวิจัยใช้อาสาสมัครอีก 116 คนที่ไม่ได้เข้าร่วมการทดลองในครั้งแรก ทำการทดลองคล้าย ๆ กับครั้งแรกแต่ยากขึ้น และมุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่ว่า เกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายจะช่วยให้คนมีจิตใจอ่อนโยนขึ้นจริง ๆ หรือไม่ โดยที่หลังจากเล่มเกมเป็นเวลา 20 นาทีแล้ว อาสาสมัครจะต้องตอบแบบสอบถามเพื่อวัดระดับอารมณ์ของพวกเขา หลังจากนั้น นักวิจัยจะประกาศว่าการทดลองจบลงแล้ว แต่ขอช่วยให้พวกเขาช่วยเหลาดินสอเพื่อเก็บไว้ในการทดลองครั้งต่อไป โดยจำนวนของดินสอที่ถูกเหลาจะเป็นตัววัดพฤติกรรมของอาสาสมัคร
สาเหตุที่ต้องทดลองเพิ่มเติม เพราะว่า ในครั้งแรก อาสาสมัครใช้เงินของนักวิจัย แต่ครั้งนี้พวกเขาจะต้องเสียเวลาส่วนตัวของพวกเขาในการช่วยนักวิจัย ซึ่งจะได้ผลที่ชัดเจนกว่านั่นเอง
ผลก็คือ อาสาสมัครที่เล่นเกมที่ช่วยผ่อนคลาย จะช่วยเหลาดินสอมากกว่าอาสาสมัครที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรง และผลจากการวัดระดับอารมณ์ คนที่เล่นเกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายจะมีระดับความสุข ความรัก และอารมณ์ด้านบวกมากกว่าคนที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรง ซึ่งคนที่มีอารมณ์ดีมักจะยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าอยู่แล้ว
ถ้าจะคัดค้านว่าตัวเกมเองก็มีผล นักวิจัยเขาให้นักศึกษาอีกกลุ่มให้คะแนนเกมที่ใช้ในงานวิจัย ในด้านความสนุกสนาน น่าเล่นไว้ก่อนแล้ว และเลือกเกมที่สนุกพอ ๆ กัน มาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้
ที่มา: Medical Xpress | https://jusci.net/node/1888 | เกมที่ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้ผู้เล่นอารมณ์ดีขึ้น |
เหตุการณ์โรงงานไฟฟ้าฟุกุชิม่าทำให้ทั่วโลกไม่ว่าจะต่อต้าน, เตรียมการยกเลิก, หรือจะเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานนิวเคลียร์ต้องหันมาตรวจสอบความปลอดภัยกันอย่างหนัก ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมากลุ่มนักวิชาการและอดีตผู้ตรวจสอบความปลอดภัยโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จาก 11 ชาติก็ได้เข้าชื่อกันเสนอไปยัง International Atomic Energy Agency (IAEA) เพื่อให้มีการจัดการทดสอบความปลอดภัย "อย่างหนัก" (stress test) กับโรงงานไฟฟ้าที่ยังทำงานอยู่เพื่อตรวจว่าโรงงานไฟฟ้าเหล่านี้จะสามารถทนทานต่อภัยพิบัติอย่างหนักได้หรือไม่
กลุ่มประเทศในเครือสหภาพยุโรปตอบรับข้อเสนอนี้ในทันทีด้วยการสัญญาว่าจะมีการทดสอบดังที่เสนอมาในเร็วๆ นี้ โดยประเทศที่ยังหนุนหลังพลังงานนิวเคลียร์เช่นฝรั่งเศสก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และยังเรียกร้องให้มีการตรวจสอบระหว่างกัน (peer review) ในหมู่ประเทศผู้ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อยกระดับความปลอดภัย
สำหรับกรณีของโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิม่านั้นทางการญี่ปุ่นก็ออกมาให้สัญญาว่าจะให้ข้อมูลกับประชาคมโลกอย่างโปร่งใส
ที่มา - Bloomberg, The New York Times | https://jusci.net/node/1889 | ยุโรปเตรียมการทดสอบโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างหนัก, เพิ่มระดับความปลอดภัย |
เพื่อความปลอดภัยของโลก สนธิสัญญาห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์นั้นมีการลงนามกันตั้งแต่ปี 1997 ยกเว้นหลายประเทศรวมถึงสหรัฐฯ แต่ไม่ว่าอย่างไรอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งคือเรายังขาดเทคโนโลยีสำหรับตรวจสอบการทดลองระเบิดนิวเคลียร์
อาจจะน่าตกใจว่าการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่เป็นดอกเห็นสูงนับกิโลเมตรจะเอาไปหลบซ่อนได้อย่างไรกัน แต่ในความจริงแล้วการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ยุคใหม่ๆ มักจะทำการทดลองใต้ดินเพื่อป้องกันการแพร่กระจายรังสี และแม้จะตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้แต่ก็ยากที่จะแยกว่าเป็นแผ่นดินไหว, ระเบิดนิวเคลียร์, หรือกระทั่งเป็นการทดลองระเบิดธรรมดาที่ขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งสนธิสัญญาไม่ได้ห้ามไว้แต่อย่างใด
หน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบการทดลองระเบิดนิวเคลียร์นั้นคือ Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization (CTBTO) โดยมีแนวทางที่จะติดเครื่องตรวจสอบแผ่นดินไหวทั่วโลก และติดตั้งสถานีตรวจอนุภาครังสี (radionuclide) เพื่อยืนยันว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ทั่วโลก 80 สถานี แต่อีกแนวทางหนึ่งที่ราคาถูกกว่าและใช้งานได้ทันทีคือการใช้สถานี GPS ในการยืนยัน โดยทีมวิจัยระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ คือนาย Jihye Park ได้เสนอผลการศึกษาข้อมูลจากสถานี GPS ภาคพื้นดิน และพบว่าการทดลองนิวเคลียร์จะทิ้งร่องรอยไว้ในชั้นบรรยากาศในระดับไอโอโนสเฟียร์
การตรวจสอบนี้อาศัยคลื่นช๊อกเวฟที่เป็นลักษณะของระเบิดนิวเคลียร์ คลื่นนี้จะกระแทกออกมาจากจุดระเบิดและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ตรวจสอบได้นี้ ส่งผลไปยังความแรงสัญญาณ GPS ที่สถานีรับได้จนเกิดรูปแบบเฉพาะที่บอกได้ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงในระดับไอโอโนสเฟียร์
การตรวจสอบในรูปแบบนี้ได้เปรียบกว่าการตรวจสอบอนุภาครังสีเพราะการทดลองใหม่ๆ อาจจะอยู่ใต้ดินลึกเกินกว่าอนุภาคจะเล็ดลอดออกมาจนตรวจสอบได้ และการใช้ข้อมูล GPS มาตรวจสอบนั้นก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไม่มากนัก ทำให้เราสามารถใช้การตรวจสอบแบบนี้เพื่อยืนยันร่วมกับการทดสอบอื่นๆ ได้
ที่มา - Ohio University's Research News | https://jusci.net/node/1890 | ตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ด้วย GPS |
มีบางเรื่องที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และน้ำหนักตัว เช่น ผู้สูบบุหรี่มักจะผอมแห้งกว่าคนที่ไม่สูบ หรือ คนที่เลิกบุหรี่มักมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นต้น บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปทานบ้างบาปกรรมบ้าง แต่ความจริงเรื่องนี้มีเบื้องลึกเบื้องหลัง เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยที่นำโดย Marina Picciotto แห่ง Yale University ได้ค้นพบว่านิโคตินมีฤทธิ์ลดความอยากกินอาหารในหนูทดลอง
พวกเขาสังเกตว่า บนเซลล์ประสาทในสมองส่วน hypothalamus มีตัวรับนิโคตินตัวหนึ่งที่ชื่อว่า α3β4 nicotinic receptor ซึ่งเมื่อจับกับนิโคตินแล้วจะกระตุ้นให้เซลล์ประสาท pro-opiomelanocortin (POMC) ทำงาน การทำงานของ POMC มีผลยับยั้งความรู้สึกอยากกิน
เมื่อทดลองเอานิโคตินให้กับหนูทดลองธรรมดาและหนูที่ตัดเอาเซลล์ประสาท POMC ออก ผลปรากฏว่าหนูที่ยังมี POMC จะมีน้ำหนักตัวลดลง ขณะที่น้ำหนักตัวของหนูที่ไม่มี POMC แล้วยังคงเท่าเดิม
นักวิจัยสันนิษฐานว่าเซลล์ POMC ในคนก็คงมีการทำงานอย่างเดียวกัน ดังนั้นคนที่ได้รับนิโคตินจากการสูบบุหรี่จึงไม่ค่อยรู้สึกอยากทานอาหาร น้ำหนักตัวจึงลดลงเป็นธรรมดา แต่พอพยายามจะเลิกบุหรี่ ความรู้สึกอยากกินก็เพิ่มขึ้น
งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นพื้นฐานช่วยหาทางออกให้ผู้ที่อยากเลิกบุหรี่แต่ไม่อยากอ้วนแล้ว ยังอาจมีประโยชน์กับคนที่อยากลดน้ำหนักด้วย แต่อย่างไรก็อย่าเพิ่งหวังให้มากนัก เพราะสมองส่วน hypothalamus ของคนซับซ้อนและควบคุมหลายอย่าง เช่น อารมณ์ การนอน เป็นต้น การทำยาลดน้ำหนักแบบที่ไปควบคุม POMC โดยตรงออกมาวางขายคงเป็นไปได้ยาก
ที่มา - Live Science, Discovery News, Medical Xpress | https://jusci.net/node/1891 | สาเหตุที่การเลิกบุหรี่ทำให้น้ำหนักขึ้น |
ปรกติเอกสารราชการของสหรัฐฯ นั้นแม้จะเป็นความลับแต่เมื่อเวลาผ่านไประดับหนึ่งก็จะมีการยกเลิกระดับความลับของเอกสารแล้วเปิดเผยเอกสารเหล่านั้นออกมา แต่หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Security Agency - NSA) ดูจะต่อต้านกฏหมายนี้อยู่กลายๆ ด้วยการไม่ยอมปล่อยเอกสารจำนวนมากออกมาเพราะเหตุผลความมั่นคง แต่ในปี 2009 โอบามาก็ได้มีคำสั่งให้ปล่อยเอกสารเพื่อแสดงความโปร่งใสของรัฐบาล และผลจากคำสั่งนั้นก็มีผลให้ NSA ต้องเริ่มปล่อยเอกสารที่หมดอายุแล้วออกมาจำนวนมาก
เอกสารที่เก่าที่สุดนั้นเป็นคู่มือการเขียนแบบเข้ารหัสลับที่มีอายุกว่า 200 ปี, ภาพถ่ายสำนักงานการเข้ารหัสของกองทัพบกอายุเกือบ 100 ปี, หรือแผนผังคอมพิวเตอร์ IBM ตั้งแต่ปี 1959
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารชุดแรกที่ออกมาโดย NSA จะตรวจสอบและปล่อยเอกสารออกมาให้ครบถ้วนภายในสองปีข้างหน้าเราคงได้เห็นเอกสารแปลกๆ กันอีกจำนวนมากระหว่างนี้
ที่มา - Wired | https://jusci.net/node/1892 | NSA เปิดเอกสารลับจำนวนมากสู่สาธารณะ เล่มที่เก่าที่สุดอายุกว่า 200 ปี |
\(\begin{align}
\pi
\end{align}
\) (พาย) เป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เราท่องกันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าค่า (ประมาณ) ของมันคือ 22/7 ถ้าใครได้เรียนต่อในสายวิทย์ก็อาจเคยผ่านตาค่าพายที่ละเอียดมากขึ้น อย่าง 3.14159 26535 ...
และเนื่องจากว่าพายเป็นจำนวนอตรรกยะ \(\begin{align}
\pi\in\mathbb{R}\setminus\mathbb{Q}
\end{align}
\) ซึ่งไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม a/b ได้ การหาค่าพายให้แม่นยำได้ซัก 100 ตำแหน่งจึงเป็นเรื่องจำเป็น (และการหาให้ละเอียดกว่านั้นก็ถือเป็นงานอดิเรกของนักคณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ก็ว่าได้)
เรามีเทคนิคมากมายในการหาค่าพาย แต่ก็ดูจะไม่มีวิธีไหนที่ประหลาดไปกว่าการหาค่าพายด้วยการสุ่มแบบ Monte Carlo อีกแล้วครับ
การหาค่าพายด้วยวิธี Monte Carlo นี้เริ่มด้วยแนวคิดง่ายๆ คือการสังเกตความสัมพันธ์ของพื้นที่วงกลมกับสี่เหลี่ยมจตุรัส ดังนี้
\[\begin{align}
\text{Circle Area}&=\pi r^{2}\\
\text{Square Area}&=\left(2 r\right)^{2}\\
\\
4\times\frac{\text{Circle Area}}{\text{Square Area}}&=\pi
\end{align}
\]
แต่เนื่องจากว่า การหาพื้นที่รูปวงกลมด้วยวิธีธรรมดาทั่วไปนั้น ต้องอาศัยค่าพายเข้าช่วยทุกวิธี ตอนนี้แหละที่เราจะใช้วิธีการสุ่มพล๊อตจุดเข้าไปในพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส (เสมือนการระบายสีให้พื้นที่) แล้วดูว่าจุดนั้นอยูในพื้นที่วงกลมด้วยหรือไม่ โดยใช้ขั้นตอนวิธีดังนี้
\(\begin{align}
1:&\mathbf{\text{procedure}}\;\;\text{pi}\left(\text{int}\;\; n\right)\\
&\mathbf{\text{begin}}\\
&\quad\quad\mathbf{\text{var}}\;\; c:=0\\
&\quad\quad\mathbf{\text{for}}\;\; i:=1\;\;\mathbf{\text{upto}}\;\; n\;\;\mathbf{\text{do}}\\
5:&\quad\quad\quad\quad\text{random}\;\; x_{ i}, y_{ i}\in\begin{bmatrix}
-1\text{,}1
\end{bmatrix}\\
&\quad\quad\quad\quad\mathbf{\text{if}}\;\;\sqrt{ x_{ i}^{2}+ y_{ i}^{2}}\leq1\;\;\mathbf{\text{then}}\\
&\quad\quad\quad\quad\quad\quad c\leftarrow c+1\\
&\quad\quad\quad\quad\mathbf{\text{end if}}\\
&\quad\quad\mathbf{\text{end for}}\\
10:&\quad\quad\mathbf{\text{return}}\;\;4\times\frac{ c}{ n}\\
&\mathbf{\text{end}}
\end{align}
\)
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถสุ่มเลขเป็นจำนวนหลายล้านครั้งได้ในไม่กี่อึดใจ และให้ผลลัพท์ค่าพายที่เชื่อถือได้มาประมาณ 2-3 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ พึงระลึกไว้ว่าตัวแปรที่สำคัญคือ
การสุ่มต้องเป็นแบบ uniform distribution ที่ค่าทุกค่ามีโอกาสออกเท่ากัน และไม่มีรูปแบบการออกที่ตายตัว ซึ่งต่างจากการสุ่มแบบ pseudo random ที่มีชุดตัวเลขเตรียมไว้อยู่แล้ว
ความแม่นยำในการวัด (จำนวนเลขทศนิยม) จะเป็นตัวกำหนดความละเอียดของผลลัพท์
เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ค่าพายด้วยวิธีการที่ไม่น่าเชื่อว่าจะให้ค่าพายออกมาได้ อย่างการสุ่มแบบ Monte Carlo แล้วครับ | https://jusci.net/node/1893 | หาค่า Pi ด้วยการสุ่ม |
เมื่อเดือนเมษายน 2011 นักวิทยาศาสตร์ Fermilab ประจำเครื่องตรวจจับอนุภาค CDF ของ Tevatron ได้รายงานว่าพบสัญญาณแปลกๆ ในข้อมูล และก็กลายเป็นข่าวใหญ่โตว่าอาจเป็นร่องรอยของอนุภาคใหม่ หลังจากนั้นยังมีการแถลงข้อมูลเพิ่มเติมอีกในเดือนพฤษภาคม ซึ่งข้อมูลที่เพิ่มได้ยกระดับความเชื่อมั่นในการวิเคราะห์ขึ้นไปถึง 4.1 sigma จากเดิมที่อยู่ระดับตัวเลขสามกว่าๆ (ระดับที่นักฟิสิกส์ถือว่าใช้ได้คือ 5 sigma ขึ้นไป)
ทุกคนต่างมั่นใจว่างานนี้ต้องมีของใหม่เกิดขึ้นแน่ๆ รอแค่การยืนยันจาก DZero หรือ D0 ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับอนุภาคอีกอันของ Tevatron
แต่พอมาถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2011 ทีมประจำ D0 กลับรายงานผลว่า ไม่พบสัญญาณประหลาดที่ว่า ...แบบว่าไม่ไว้หน้าเพื่อนร่วมชะตากรรมกันเลย
ผลของ D0 ทำให้นักฟิสิกส์หลายคนเบรคเอี๊ยดกันหน้าทิ่มหน้าตำ เพราะตลอดกว่าสิบปีที่ผ่านมา ผลการทดลองของ CDF และ D0 เคยขัดแย้งกันแค่สองสามครั้งจากรายงานทั้งหมดกว่า 500 ชิ้น ใครจะไปคาดคิดว่ามันจะไม่ตรงกันอีกในคราวนี้
นักฟิสิกส์บางคนก็ไม่ยอมแพ้ คิดว่าอย่างน้อย D0 น่าจะเจออะไรบ้าง (ผมเดาว่าต้องมีสักคนในพวกนี้ที่แอบเปิดแชมเปญฉลองไปตั้งแต่เมื่อสองเดือนที่แล้วแน่) ทำให้สถานการณ์ตอนนี้อยู่ในภาวะ "รอคอยการยืนยัน" ต่อไป
การยืนยันก็มีอยู่ไม่กี่ทาง หนึ่ง ใส่ข้อมูลเข้าไปเพิ่มแล้วก็วิเคราะห์เพิ่ม สอง เอาผลจาก CDF และ D0 มารวมกัน และสาม รอผล LHC ซึ่งอาจกินเวลานานหน่อยเพราะกว่า CDF และ D0 จะรวบรวมผลได้ขนาดนี้ก็ใช้เวลาหลายปีดีดัก
ที่มา - Nature News, Science News, Popular Science | https://jusci.net/node/1894 | ผลจาก Tevatron ขัดขากันเอง... ทีม DZero ไม่เจออนุภาคใหม่ |
การสร้างแสงเลเซอร์จำเป็นต้องมีของสองสิ่ง อย่างแรก คือ gain medium ที่สามารถขยายกำลังของแสงในช่วงเฉพาะความถี่หนึ่งๆ ได้ และอีกอย่างคือกระจกเงาสองด้านที่ไว้สะท้อนแสงไปมาในช่องว่างระหว่างกระจก โฟตอนของแสงที่สะท้อนไปมาจะกระตุ้นให้โมเลกุลหรืออะตอมใน gain medium ปล่อยโฟตอนที่มีความถี่และเฟสตรงกันออกมาเพิ่มจนแสงมีความเข้มพอ แล้ววิ่งทะลุกระจกออกมาเป็นลำแสงเลเซอร์
นักวิทยาศาสตร์สองคน Malte Gather และ Seok-Hyun Yun แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เกิดแนวคิดอย่างหนึ่งว่า "หากใช้โปรตีนที่เรืองแสงได้เป็น gain medium เราก็น่าจะผลิตเลเซอร์จากเซลล์ได้" และพวกเขาทั้งสองก็พิสูจน์แล้วว่าแนวคิดนี้ทำได้จริง
กุญแจสำคัญอยู่ที่โปรตีนเรืองแสงซึ่งมีชื่อว่า green fluorescent protein (GFP) โปรตีนนี้ค้นพบครั้งแรกในแมงกระพรุน มันจะเรืองแสงสีเขียวออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น และแสงที่ออกมาจาก GFP ตัวหนึ่งก็สามารถไปกระตุ้น GFP ตัวอื่นๆ ต่อไปได้ จัดได้ว่าเป็นคุณสมบัติของ gain medium ตรงตามที่ต้องการเลย
Malte Gather กับ Seok-Hyun Yun จึงทดลองเอาเซลล์ไตมนุษย์ที่ตัดต่อพันธุกรรมให้สามารถสร้าง GFP มาใส่ลงในช่องว่างตรงกลางระหว่างกระจกเงาสองอันที่ห่างกัน 20 ไมโครเมตร จากนั้นก็ยิงแสงสีน้ำเงินเข้าไป ผลปรากฏว่าเกิดมีลำแสงเลเซอร์สีเขียวออกมา แม้ว่าแสงเลเซอร์ที่ได้จะเปล่งออกมาเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่นาโนวินาที และไม่ได้มีความเข้มอะไรมากมาย แต่ก็เข้มข้นพอที่จะตรวจจับได้
ข้อดีอย่างหนึ่งของการทดลองนี้คือเซลล์ที่ใช้ทดลองไม่ได้รับผลกระทบอันตรายจากแสงเลเซอร์ที่เกิดขึ้น มันยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดรอดฝั่งจนจบการทดลอง
แต่อย่างไรก็อย่าเพิ่งหวังว่าจะได้เห็นมนุษย์กลายพันธุ์ออกมาเพ่นพ่านยิงเลเซอร์ถล่มตึกในเร็ววัน อันนั้นยากเกินไป งานวิจัยนี้เป็นแค่พื้นฐานแรกเท่านั้น ตอนนี้ความฝันที่นักวิทยาศาสตร์วาดไว้ ได้แก่ วิธีใหม่ในการใช้แสงเลเซอร์ที่เกิดขึ้นมาวัดค่าคุณสมบัติของเซลล์ หรือ การติดอาวุธเลเซอร์ให้เซลล์ร่างกายไว้ปราบเซลล์วายร้ายอย่างพวกมะเร็งหรือเชื้อโรค เป็นต้น
ที่มา - Nature News, New Scientist, Science Daily, Science News | https://jusci.net/node/1895 | แสงเลเซอร์จากเซลล์มนุษย์ |
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ประกาศให้ทุนบริษัทเพื่อวิจัยพลังงานชีวภาพจำนวน 6 ทุนรวมมูลค่า 36 ล้านดอลลาร์ ได้แก่
บริษัท General Atomics ให้รับทุน 2 ล้านดอลลาร์ในโครงการพัฒนากระบวนการหมักสาหร่ายเพื่อสกัดน้ำมัน
Genomatica ได้รับทุน 5 ล้านดอลลาร์ในโครงการ หมักน้ำตาลเพื่อให้ได้ 1,4-butanediol (BDO) เพื่อให้มีความคุ้มทุนสำหรับการผลิตจำนวนมากยิ่งขึ้น
Michigan Biotechnology Institute ได้รับทุน 4.3 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนากระบวนการก่อนการแปรรูปเพื่อให้สามารถขนส่งเชื้อเพลิงได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
HCL CleanTech, Inc ได้รับทุน 9 ล้านดอลลาร์สำหรับการพัฒนากระบวนการก่อนการแปรรูป และการแปรรูปจากน้ำตาลเป็นเชื้อเพลิง กระบวนการนี้จะสามารถแปลงเศษไม้เหลือใช้เป็นน้ำตาลและสามารถแปลงน้ำตาลมาเป็นเชื้อเพลิงได้ในที่สุด
Texas Engineering Experiment Station ได้รับทุน 2.3 ล้านดอลลาร์ เพื่อแปลงวัตถุดิบจำพวกเซลลูโลสมาเป็นเชื้อเพลิง
Virent ได้รับทุน 13.4 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนากระบวนการรวมในการนำวัตถุดิบเซลลูโลสเช่นฟางและซังข้าวโพดมาแปรรูปให้เป็นน้ำมันเครื่องบิน
ทุน 36 ล้านดอลลาร์นับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจและปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของสหรัฐฯ แต่โครงการแนวทางนี้ก็มีออกมาเรื่อยๆ อย่างน้อยเพื่อแสดงว่าสหรัฐฯนั้นเอาจริงกับพลังงานทดแทนอยู่
บ้านเราอาจจะต้องตั้งคำถามว่าลงทุนกับเทคโนโลยีเหล่านี้ไปแล้วเท่าใหร่กัน
ที่มา - Department of Energy | https://jusci.net/node/1896 | กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ให้ทุน 36 ล้านดอลลาร์กับบริษัทเชื้อเพลิงชีวภาพ |
เท่าที่เจอหลักฐานฟอสซิลในปัจจุบัน ไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุด คือ Anchiornis ซึ่งมีความยาวลำตัวประมาณ 34 เซนติเมตร แต่ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยที่นำโดย Darren Naish แห่ง University of Portsmouth ได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกคอไดโนเสาร์ชิ้นหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ แม้ว่าจะยังไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าของกระดูกคอชิ้นนี้มีขนาดตัวเล็กกว่า Anchiornis เสียอีก
กระดูกคอดังกล่าวมีอายุประมาณ 100-145 ล้านปี เป็นกระดูกของไดโนเสาร์ตัวเต็มวัยพวก maniraptoran ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่มีขนและรูปร่างแบบนก จากการประเมินด้วยแบบจำลองและอัตราความยาวลำคอกับลำตัว นักวิจัยคาดว่าไดโนเสาร์ตัวเจ้าของกระดูกคอจะต้องมีความยาวลำตัวอยู่ในช่วง 33-50 เซนติเมตร
ข้อมูลจากกระดูกคอเพียงชิ้นเดียวคงจะเชื่อถืออะไรไม่ได้มาก คงต้องรอต่อไปว่านักวิทยาศาสตร์จะเจอซากฟอสซิลส่วนอื่นๆ ของไดโนเสาร์ชนิดนี้เพิ่มเติมหรือไม่
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1897 | สถิติไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดอาจได้เจ้าของใหม่ |
ตัวอย่างเหตุการณ์ในคลิปคล้ายๆ กับสังคมเราเลย
แถมด้วยแบบทดสอบคุณเปิดใจแค่ไหน
How Open Minded Are You?
คะแนนผม
You Are 60% Open Minded
You are a very open minded person, but you're also well grounded.
Tolerant and flexible, you appreciate most lifestyles and viewpoints.
But you also know where you stand firm, and you can draw that line.
You're open to considering every possibility - but in the end, you stand true to yourself.
มาแชร์กันคุณเปิดใจแค่ไหน?
‹ เจออัลลิเกเตอร์หายากในถังขยะที่จีน
อยากรู้เรื่อง ไมโทคอนเดรีย ครับ › | https://jusci.net/node/1898 | How Open Minded Are You? |
ปลานกขุนทองพยาบาลลายน้ำเงิน (bluestreak cleaner wrasse, Labroides dimidiatus) มีถิ่นอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในเขตอินโดแปซิฟิก ชื่อ "พยาบาล" นี้ได้มาจากพฤติกรรมการกินอาหารซึ่งมันจะช่วยเก็บกินตัวปรสิตจากปลาตัวอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นลูกค้าคอยรับบริการจากมัน
ปลานกขุนทองพยาบาลจะทำงานเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเขตแดนของตัวเอง สมาชิกของกลุ่มอาจมีจำนวนมากถึง 17 ตัว แต่ทุกตัวจะเป็นตัวเมีย ยกเว้นหัวหน้ากลุ่มที่เป็นตัวผู้เพียงตัวเดียว
ทีมวิจัยที่นำโดย Nichola Raihani แห่ง ZSL Institute of Zoology ในลอนดอน พบว่าบางครั้งปลานกขุนทองจะโกงลูกค้า แอบขโมยกินชั้นเมือกด้วย พอลูกค้ารู้ตัว ก็จะงอนแล้วว่ายหนีไปหรือไม่ก็พุ่งเข้าแก้แค้นปลานกขุนทอง หากเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นและตัวผู้จับได้ว่าตัวเมียตัวไหนทำมันเสียลูกค้า ปลานกขุนทองพยาบาลตัวผู้จะไม่ปรานีว่ายไล่กัดตัวเมียตัวนั้นเป็นการสั่งสอนทันที
นักวิจัยได้ทำการทดลองต่อไปเพื่อดูว่าปลาตัวผู้มีมาตรการในการลงโทษปลาตัวเมียอย่างไร พวกเขาทำ "ลูกค้าปลอม" ขึ้นมาโดยแปะกุ้งกับสะเก็ดผิวปลาเอาไว้บนแผ่นพลาสติกใส กุ้งเป็นอาหารที่ปลานกขุนทองพยาบาลชื่นชอบเพราะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าสะเก็ดผิวปลา ถ้านักวิจัยเห็นว่ากุ้งโดนกินเมื่อไร พวกเขาจะยกลูกค้าปลอมออกจากตู้ปลาทันที แต่ถ้าปลากินแต่สะเก็ด พวกเขาก็จะปล่อยมันไว้อย่างนั้นไปเรื่อยๆ
พวกเขาสังเกตเห็นว่าตัวผู้ลงโทษตัวเมียที่แอบกินกุ้งตามสัดส่วนของระดับโอกาสที่มันเสียไป เช่น หากลูกค้าปลอมที่หายไปมีสะเก็ดผิวปลา 8 แผ่น ตัวผู้จะไล่กัดตัวเมียตัวนั้นมากกว่าตัวเมียที่ทำลูกค้าที่มีสะเก็ดปลา 4 แผ่นหาย
อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ตัวผู้ เอ๊ย ผู้ชายหลายคนก็คงเห็นว่ามันยุติธรรมพอสมควร แต่ความจริงปลาตัวผู้มีเจตนาแอบแฝงอยู่ เพราะระดับความรุนแรงของการลงโทษไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ระดับความผิดเท่านั้น ปลาตัวผู้ยังเลือกลงโทษปลาตัวเมียที่ตัวใหญ่มากกว่าตัวเมียตัวเล็กอีกด้วย
เหตุผลที่ปลาตัวผู้เข้มงวดกับเมียอ้วนมากกว่าเมียตัวอื่นๆ ก็สืบเนื่องมาจากวิถีเพศของมันนั่นเอง ตอนแรกเกิด ปลานกขุนทองพยาบาลทุกตัวจะเป็นตัวเมียหมด แต่พอตัวเต็มวัยมารวมกลุ่มกันปุ๊บ ปลาที่ตัวโตที่สุดจะกลายเพศไปเป็นตัวผู้ทันที ดังนั้นปลาตัวผู้จะต้องคอยสอดส่องไม่ให้ปลาตัวเมียกินอาหารเยอะกว่ามัน ยิ่งปลาตัวเมียตัวโตใกล้เคียงตัวผู้มากเท่าไร ตัวเมียตัวนั้นก็ยิ่งโดนเพ่งเล็งมากขึ้นเท่านั้น
แม้ว่านี่จะเป็นพฤติกรรมธรรมชาติที่ควบคุมให้ปลานกขุนทองพยาบาลสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างราบรื่น แต่ผมเชื่อว่าผู้ชายหลายคนคงแอบสรรเสริญปลาชนิดนี้กันอยู่ในใจ :)
เมื่อปลานกขุนทองผ่องอำไพ ผู้ชายจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน... (อย่าสรรเสริญกันดัง เดี๋ยวจะเป็นอันตรายถึงชีวิต)
ที่มา - New Scientist, Live Science | https://jusci.net/node/1899 | ปลานกขุนทองพยาบาล: ตัวผู้จอมเข้มงวดไล่กัดเมียอ้วนจอมตะกละ |
เป็นที่รู้กันดีว่าโลมาใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ในการค้นหาเส้นทางและเหยื่อ แบบที่เราเรียกกันว่า "Echolocation" แม้นักวิทยาศาสตร์แอบสังเกตเห็นมาเนิ่นนานแล้วว่าโลมามีอวัยวะในการส่งเสียง 2 อัน แต่พวกเขาก็เชื่อว่าโลมาไม่ได้ใช้อวัยวะส่งเสียงสองอันนี้พร้อมกัน มีเพียงอันเดียวเท่านั้นที่ถูกเปิดใช้ในขณะหนึ่งๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ทีมนักวิจัยจาก National Marine Mammal Foundation ของสหรัฐอเมริกา และ Kolmården Wildlife Park ของสวีเดน ได้ทำการทดลองด้วยการติดตั้ง hydrophone (ไมโครโฟนในน้ำ) จำนวน 47 อันรอบสระเลี้ยง ผลพบว่าโลมายิงคลื่นเสียงออกมาสองอันพร้อมกันในการทำ Echolocation ไม่ใช่แค่คลื่นเดียวอย่างที่เคยเชื่อกัน
น่าแปลกเหมือนกันที่ก่อนหน้านี้เป็นเวลากว่า 40-50 ปีไม่เคยมีใครพิสูจน์เรื่องนี้เลย ส่วนหนึ่งคงเป็นความโชคร้ายของวงการเอง เพราะนักชีววิทยาที่สนใจโลมาส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากนัก ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้จะออกแบบสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นเสียงอย่างไรเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน สุดท้ายเลยยอมรับความเชื่อกันต่อๆ มาแบบนั้น ทำให้ต้องรอมาจนถึงปี 2011 กว่าที่นักชีววิทยาจะได้คนที่เชี่ยวชาญอิเล็กทรอนิกส์มาร่วมมือกันพิสูจน์หาความจริง
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าการยิงคลื่นเสียงออกมาพร้อมกันสองอันคงจะช่วยให้การระบุตำแหน่งและทิศทางแม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าโลมายิงคลื่นเสียงสองอันออกมาอย่างไร อาจจะเป็นไปได้ว่ามันใช้อวัยวะส่งเสียงทั้งสองพร้อมกัน หรือไม่ก็มันสร้างคลื่นเสียงทีละอันแล้วอาศัยการสะท้อนในโพรงศีรษะให้คลื่นเสียงทั้งสองพุ่งออกมาในจังหวะเดียวกันพอดี
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/1900 | โลมาใช้ระบบคลื่นโซนาร์คู่ |
ไม่รู้เจ้า Yangtze alligator ตัวนี้มันไปอยู่ในถังขยะได้ไง เค้าสงสัยกันว่ามันหลุดออกมาจากอะควาเรี่ยมที่ไหนสักที่อะครับ
How Open Minded Are You? › | https://jusci.net/node/1901 | เจออัลลิเกเตอร์หายากในถังขยะที่จีน |
สมองจะประมวลข้อมูล และเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่ตลอดเวลา แต่มีการศึกษาชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร Psychological Science พบว่า ถ้าเราดูวัตถุกลุ่มหนึ่งแล้วรับรู้ถึงคุณสมบัติทั่วไปของมัน จะเป็นเรื่องยากที่สมองจะรับรู้ถึงความสัมพันธ์ของวัตถุแต่ละชิ้นไปพร้อม ๆ กันด้วย
แม้จะไม่รู้แต่ชัดว่า การรับรู้ทั้ง 2 ชนิดเกี่ยวข้องกันยังไง แต่มันเป็นเรื่องของสถิติทั้งคู่ ในการรับรู้ถึงสถิติโดยรวม (statistical summary perception) สมองจะคำนวณหาคุณสมบัติทั่วไปของวัตถุตั้งแต่แว็บแรกที่เห็น เช่น ถ้ามองผู้คนที่อยู่ในห้อง จะบอกถึงระดับอารมณ์โดยรวมของคนทั้งห้องได้ หรือเวลามองออกไปนอกหน้าต่างก็จะบอกถึงฤดูได้จากสี และสภาพของใบไม้
การรับรู้อีกชนิดคือ การเรียนรู้ทางสถิติ (statistical learning) สมองจะหารูปแบบ (pattern) ที่เชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าได้ยินคำว่าแท็บเล็ตก็จะนึกถึง iPad หรือถ้าเคยใช้แท็บเล็ตอันอื่นมาก่อนก็จะนึกถึงแท็บเล็ตรุ่นนั้น เป็นต้น
คุณ Nicholas Turk-Browne แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ได้ศึกษาถึงความสัมพํนธ์อันนี้ร่วมกับคุณ Jiaying Zhao, คุณ Nhi Ngo และคุณ Ryan McKendrick พวกเขาแบ่งอาสาสมัครออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วให้ดูภาพที่ประกอบด้วย เส้นที่เอียงในองศาต่าง ๆ ในช่องตารางซึ่งมองไม่เห็น คนละ 2 วินาทีต่อภาพ แล้วให้ตอบคำถาม โดยกลุ่มหนึ่งจะถามถึงคุณสมบัติโดยรวมของภาพว่า โดยรวมแล้วเส้นเอียงไปด้านไหน ซ้ายหรือขวา อีกกลุ่มหนึ่งให้บอกว่า เส้น 2 คู่นี้ มีคู่ไหนที่มีอยู่ในตารางที่เห็นก่อนหน้า และมีอีกกลุ่มที่บอกให้ดูภาพเฉย ๆ
เมื่อจบการทดลองพบว่า คนที่ถูกบอกให้สังเกตการเอียงของเส้น จะไม่รับรู้เลยว่า เส้นแต่ละเส้นเกี่ยวข้องกันอยู่ ส่วนคนที่ถูกบอกให้จับคู่เส้นในตารางก็จะบอกไม่ได้ว่า โดยรวมแล้วเส้นเอียงไปด้านไหนมากกว่า
มันแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่เราค้นหาคุณสมบัติโดยรวมของกลุ่มวัตถุ เราจะไม่สามารถเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุเหล่านั้นได้ และในทางตรงกันข้าม เมื่อเรากำลังค้นหาความสัมพํนธ์ของวัตถุในกลุ่ม เราก็ไม่สามารถเรียนรู้ถึงคุณสมบัติโดยรวมของกลุ่มวัตถุได้
คุณ Nicholas หวังว่าสิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการรับรู้ของสมองมากขึ้น และจะเข้าใจถึงการคิดคำนวณที่เกิดขึ้นในสมองอยู่ตลอดเวลาได้
แล้วคุณล่ะ เรียนรู้คุณสมบัติโดยรวมของกลุ่มวัตถุ หรือ ความสัมพันธ์ของวัตถุ ก่อนกัน?
ที่มา: APS
ภาพจาก 4 ช่องด้านบนจะสร้างจาก คู่ของเส้นที่วางอยู่ในรูปแบบนี้ครับ (นักวิจัยใช้ทั้งแบบสุ่ม และวางเป็นแบบแผน)
ภาพ 2 คู่นี้เป็นส่วนที่ใช้ถามคำถามครับ | https://jusci.net/node/1902 | เมื่อรับรู้ถึงภาพรวม จะมองไม่เห็นความสัมพันธ์ของวัตถุ |
จากการทดลองของกลุ่มวิจัย T2K ได้ใช้เครื่อง Japan Proton Accelerator Research Complex ทดลองการติดตามอนุภาคนิวตริโน หลังจากพบเจอการเปลี่ยน tua nutrino เป็น electron nutrino ในระยะทางสั้นๆ
ซึ่งจริงๆ ในการทดลองก่อนนิวตริโนมีการเปลี่ยน flavour ได้ เราเรียกว่า การกวัดแกว่งของนิวตริโน (neutrino oscillation) แต่แบบนี้เพิ่งเคยพบเป็นครั้งแรก หลังจากทีมวิจัยได้ทำงานมาร่วมกันกว่า 10 ปี
นี่อาจจะอธิบายได้ว่าทำไมจักรวาลนี้ มีสสารมากกว่าปฏิสสาร
*นิวตริโนเป็นอนุภาคมูลฐาน ที่มี flavour อยู่ 3 แบบคือ tua,muon และ electron นิวตริโน
ที่มา:RDMag
*อ่านเพิ่มเติม THPS | https://jusci.net/node/1903 | ข่าวสั้น:นิวตริโนเปลี่ยน flavour |
Continuum และ Shapeways ได้ร่วมมือกันเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ในชื่อ "N-12 bikini" ชุดบิกินีนี้มีความพิเศษอยู่ตรงที่มันพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติกันเลยทีเดียว โดยชื่อ N-12 ก็มาจากคำว่า Nylon 12 ซึ่งเป็นชื่อของเส้นใยไนลอนที่ Shapeways ใช้ในการถักพิมพ์
กระบวนการพิมพ์ N-12 ใช้เทคโนโลยี SLS 3D printing process ของ Shapeways ในการจัดพิมพ์ให้เข้ารูปทรงสัดส่วนตามที่ลูกค้าระบุ เส้นใย Nylon 12 มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากจนทาง Continuum โม้ไว้ว่าแม้จะทอให้มีความหนาเพียง 0.7 มม. ก็ยังสามารถแบกรับน้ำหนักของส่วนที่ต้องทำตามหน้าที่ได้สบาย
ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ Continuum สนนราคาท่อนบนอยู่ที่ 250-300 เหรียญสหรัฐฯ (~ 7,600-9,200 บาท) ส่วนท่อนล่างมีให้เลือกสองแบบราคา 200 เหรียญสหรัฐฯ (~6,100 บาท) กับ 350 เหรียญสหรัฐฯ (~10,700 บาท)
เสียดาย...ผมยังหาโปรโมชันซื้อชุดแถมคนใส่ไม่เจอแฮะ
ที่มา - Innovation News Daily, Continuum
ภาพทั้งสองเอามาจาก Continuum หากใครอยากเห็น นางแบบ เอ๊ย N-12 ชัดๆ ให้ไปดูในเว็บ Continuum เอาเอง | https://jusci.net/node/1904 | บิกินีจากเครื่องพิมพ์สามมิติ |
เมื่อปีที่แล้ว (ค.ศ. 2010) LHC ของ CERN ได้บรรลุเป้าหมายในการเก็บข้อมูลการชนกันของอนุภาคถึงตัวเลข 2 inverse picobarns ผ่านมายังไม่ถึงหนึ่งปีเต็ม เมื่อเวลาประมาณ 10:50 CEST ของวันที่ 17 มิถุนายน 2011 ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ CERN ก็ได้ประกาศว่า LHC สำเร็จเป้าหมาย 1 inverse femtobarn ที่ตั้งไว้สำหรับปี 2011 แล้ว (1 inverse femtobarn = 1,000 inverse picobarns)
หน่วย inverse femtobarn เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงจำนวนครั้งของการชนกันของอนุภาคในเครื่องเร่งซึ่งแปรผันโดยตรงกับความสว่างสะสมของลำอนุภาคที่ใช้ตลอดระยะเวลาทำการ โดยปกติ 1 inverse femtobarn จะเท่ากับการชนกันประมาณ 70 ล้านล้านครั้ง
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/1905 | LHC บรรลุเป้าหมายปี 2011 กับ 1 inverse femtobarn |
แม้ว่า UN จะประกาศให้ปี 2011 นี้เป็น "ปีแห่งป่าสากล" แถมยังตั้งเป้าผลักดันต่อยอดโครงการ REDD (Reducing Emissions from Deforestation and forest Degradation) เต็มที่ เพื่อให้ป่าไม้เป็นตัวช่วยดักจับก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญ (อย่างเช่น คาร์บอนไดออกไซด์) ไม่ให้ลอยขึ้นไปเพิ่มพูนภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ
แต่จากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของ Vivek Arora แห่ง University of Victoria, British Columbia และ Alvaro Montenegro แห่ง St Francis Xavier University ในประเทศแคนาดา ให้ผลออกมาว่า แม้ชาวโลกจะร่วมมือกันเปลี่ยนพื้นที่เกษตรครึ่งหนึ่งในปัจจุบันกลับไปเป็นป่าภายในปี 2060 ป่าที่ปลูกๆ กันสามารถช่วยลดการเพิ่มของอุณหภูมิที่เกิดจากภาวะโลกร้อนในปี 2100 ได้เพียง 0.25 °C เท่านั้น หรือถ้าจะเอาแบบสะใจ เปลี่ยนพื้นที่เกษตรทั้งหมดกลับไปเป็นป่าเลย ก็ยังช่วยได้แค่ 0.45 °C
แบบจำลองอาจจะฟังดูแย่แล้ว สถานการณ์ในความเป็นจริงแย่กว่าเสียอีก เพราะ Vivek Arora ประเมินว่ามีพื้นที่เกษตรอย่างมาก 10-15% เท่านั้นที่จะเปลี่ยนกลับไปเป็นป่าได้
ตัวแปรอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบในแบบจำลอง คือ การสะสมความร้อนของป่า โดยเฉพาะป่าในเขตอบอุ่นซึ่งป่าจะกักเก็บความร้อนไว้มากกว่าบริเวณที่โล่งซึ่งสะท้อนแสงอาทิตย์มากกว่า อากาศรอบๆ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ในกรณีป่าเขตร้อน การระเหยของน้ำจะช่วยตรงนี้ได้เยอะกว่าทำให้อากาศรอบๆ เย็นลง
ที่มา - New Scientist
อธิบายเสริมเล็กน้อย:
ในโปรแกรม REDD ของ UN ประเทศที่เข้าร่วมโปรแกรมจะออกเงินทดแทนให้กับประเทศยากจนที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์เพื่อให้หยุดการตัดไม้ทำลายป่า | https://jusci.net/node/1906 | การปลูกป่าอาจหยุดภาวะโลกร้อนไม่ได้ |
เรื่องสามัญธรรมดาอย่างการไกวเปลกล่อมเด็กหรือการแอบงีบในเปลญวณไม่เคยได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนมาก่อน จนกระทั่งทีมนักวิจัยชาวสวิสที่นำโดย Sophie Schwartz แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ได้นำกลุ่มอาสาสมัครชายล้วน 12 คนมานอนบนเตียงพิเศษเพื่อวัดคลื่นสมองขณะหลับ (เหตุผลที่ใช้ชายล้วน เพราะรอบประจำเดือนของผู้หญิงอาจมีผลกระทบต่อผลการทดลอง)
เตียงพิเศษที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นเตียงที่ถูกแขวนยึดไว้กับเพดาน สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ หรือแกว่งไปมาได้ อาสาสมัครแต่ละคนจะได้นอนบนเตียง 2 รอบ รอบละ 45 นาที คลื่นสมองของอาสาสมัครจะถูกวัดด้วย electroencephalogram (EEG)
ผลปรากฏว่าตอนที่นอนบนเตียงที่แกว่งไปมา อาสาสมัครหลับเร็วกว่า และเข้าสู่ภาวะหลับลึกเร็วกว่า โดยอาสาสมัครจะใช้เวลาในช่วง N1 phase (ภาวะงีบหลับช่วงแรก) ถึง 50% ของการนอนทั้งหมดเมื่อนอนบนเดียงนิ่งๆ แต่พอนอนบนเตียงที่แกว่งไปมา N1 phase กลับกินเวลาเพียง 30%
นอกจากนี้เตียงที่แกว่งไปมายังไปเพิ่มจำนวนของคลื่นสมองเฉพาะที่เรียกว่า "sleep spindles" ซึ่งเป็นการกระตุกเป็นระยะๆ ของคลื่นสมองในช่วง N2 phase (ภาวะหลับที่ลึกกว่า N1) ด้วย ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าจังหวะของการแกว่งเปลคงจะสอดคล้องกับวงจรอะไรสักอย่างของสมองที่ควบคุมการนอน ส่งผลให้การนอนหลับดีขึ้น
งานต่อไปคือการพิสูจน์ว่าการไกวเปลจะช่วยให้คนเรานอนสบายขึ้น และตื่นมาแล้วจะสดชื่นขึ้นหรือเปล่า? ในอนาคตเราอาจจะใช้วิธีง่ายๆ อย่างการไกวเปลเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับก็ได้
ที่มา - Science Daily, The Telegraph, Live Science | https://jusci.net/node/1907 | วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้ว "การไกวเปลช่วยให้หลับเร็วและลึกขึ้น" |
วันนี้ 21 มิถุนายน 2011 นักท่องเที่ยวที่ชายฝั่ง Kapiti ในเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ต่างพากันตื่นเต้นตกใจ เมื่อพวกเขาได้เห็นนกเพนกวินจักรพรรดิ (emperor penguin) ตัวหนึ่งมาเดินเล่นบนชายฝั่งเดียวกัน
นกเพนกวินจักรพรรดิมีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา นับจากปี 1967 ยังไม่เคยมีใครเจอนกเพนกวินจักรพรรดิบนชายฝั่งนิวซีแลนด์เลย นกเพนกวินที่หลงมานี้ถือเป็นตัวแรกในรอบ 44 ปี (รุ่นพี่ตัวที่หลงมาก่อนหน้านั้นโผล่ที่ชายฝั่ง Oreti ในเกาะใต้)
ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่านกเพนกวินตัวนี้ยังเป็นเพนกวินรุ่นเยาว์มีความสูงประมาณ 80 ซม. น่าจะมีอายุประมาณ 10 เดือน นกเพนกวินจักรพรรดิที่โตเต็มที่มีความสูงได้ถึง 122 ซม. และหนัก 34 กิโลกรัม
สันนิษฐานกันว่านกเพนกวินตัวนี้คงว่ายหาอาหารเพลินจนหลงทางและเลี้ยวผิดมาโผล่ที่ชายฝั่งนิวซีแลนด์แบบงงๆ
ที่มา - BBC News, TVNZ
ภาพจาก TVNZ | https://jusci.net/node/1908 | นกเพนกวินจักรพรรดิหลงทาง โผล่ชายฝั่งนิวซีแลนด์ |
รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติรถไฟฟ้าแรงขับเคลื่อนแม่เหล็กหรือ Maglev อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนที่ผ่านมา หลังจากนี้กำหนดการวิ่งเชิงพาณิชย์สายแรกระหว่างโตเกียว-นาโกย่าน่าจะเริ่มได้ในปี 2027 และสายที่สองคือ โตเกียว-โอซาก้าจะเริ่มได้ในปี 2045
ช่วงแรกหลังแผนการได้รับอนุมัติคือการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คาดว่าการก่อสร้างจริงจะเริ่มได้ในปี 2014 อย่างไรก็ดีในตอนนี้บริษัท JR Tokai ก็มีเส้นทางรถไฟทดสอบความยาว 18.4 กิโลเมตรสำหรับทดลองอยู่แล้ว และกำลังขยายเป็น 42.3 กิโลเมตร โดยเส้นทางทดสอบนี้จะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาย โตเกียว-โอซาก้าในที่สุด
Maglev รุ่นที่จะใช้วิ่งในสายนี้จะมีความเร็วสูงสุด 505 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและต้องการรางรถไฟที่เกือบเป็นเส้นตรงทำให้การก่อสร้างต้องขุดอุโมงลอดภูเขาที่ขวางทางคิดเป็นร้อยละ 60 ของเส้นทางทั้งหมดและยังมีอุโมงใต้ดินความยาว 100 กิโลเมตรสำหรับการเข้าเขตตัวเมือง แต่มันจะร่นเวลาการเดินทาง จากโตเกียวไปยังนาโกยาเหลือเพียง 40 นาที และจาก โตเกียวไปยังโอซาก้าเพียง 67 นาทีเท่านั้น
ถ้าเป็นบ้านเราไปเชียงใหม่ก็ภายในชั่วโมงกว่าๆ สบายกว่านั่งเครื่องบินมาก
งบประมาณรวม 9 ล้านล้านเยนงานนี้คงไม่ใช่แค่เมกกะโปรเจค
ที่มา - ENS News Wire | https://jusci.net/node/1909 | ญี่ปุ่นอนุมัติรถไฟ Maglev เดินรถสายแรกปี 2027 |
ความเข้าใจในสมองของเรายังจำกัดอยู่มากแต่ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ก็เข้าใกล้ที่จะเข้าใจสมองไปอีกขั้นเมื่อทีมวิจัยจาก University of Southern California สามารถสาธิตการปิดและเปิดความจำระยะยาวในหนูได้เป็นผลสำเร็จ
นักวิจัยอาศัยหนูที่ถูกฝึกให้เลื่อนคันโยกไปยังด้านที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อฝึกจนความจำส่วนนี้กลายเป็นความจำระยะยาวแล้วก็วางยาเพื่อหยุดการสื่อสารภายในสมองส่วน hippocampus ระหว่าง CA3 และ CA1 หลังจากนั้นพบว่าหนูที่ถูกทดสอบไม่มีความจำที่ถูกฝึกไว้ล่วงหน้าอีกต่อไป
การทดลองยังสามารถกู้คืนความจำระยะยาวของหนูกลับมาด้วยการใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำลองสัญญาณภายในของการสื่อสารระหว่าง CA3 และ CA1 กลับคืนมา พบว่าหนูกลับมาจำสิ่งที่ฝึกไว้ได้อีกครั้ง
งานวิจัยนี้เปิดช่องทางใหม่ที่เราอาจจะกู้คืนความจำในผู้ป่วยที่เสียความจำระยะยาวจากโรคอัลไซเมอร์ หรือความเจ็บป่วยทางสมองอื่นๆ
ที่มา - Gizmag
ปล. อาจจะใช้รักษาอาการนี้ได้ | https://jusci.net/node/1910 | ความจำระยะยาวในสมองอาจจะมีสวิตซ์ปิด-เปิด |
รูปนี้ครับ เอามาจาก Wikipedia: Protoscience
http://i51.tinypic.com/2e4vk3r.png
ผมก็เลยอยากทราบอะครับ ว่าทุกวันนี้มาจาก วิทย์ชนิดไหน
แล้ว ถ้าอนาคตจะมีงานพวก วิทยาศาสตร์แบบนี้รองรับไหมครับ หรือปัจจุบันก็มีอยู่แล้ว
‹ ระบบสุริยะในรูปแบบแผนภาพข้อมูล
เจออัลลิเกเตอร์หายากในถังขยะที่จีน › | https://jusci.net/node/1911 | ผลการวิจัยทุกวันนี้เป็นวิทยาศาสตร์ชนิดใดครับ |
เมื่อประมาณ 20-30 ปีที่แล้ว Robin Baker แห่ง University of Manchester ได้ทำการทดลองที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์อาจมีความสามารถรับรู้ทิศทางของสนามแม่เหล็ก แต่ในชั้นสุดท้าย เขากลับไม่สามารถเสนอคำอธิบายกลไกที่อยู่เบื้องหลังผลการทดลองของเขาได้ แถมนักวิจัยคนอื่นๆ ที่ทำการทดลองซ้ำก็ไม่เจอผลในลักษณะเดียว ดังนั้นเรื่องนี้จึงเลือนหายไปจากความสนใจของวงการวิทยาศาสตร์เป็นเวลานาน
เมื่อเร็วๆ นี้ Steven Reppert, Lauren Foley, และ Robert Gegear แห่ง University of Massachusetts Medical School ได้แสดงให้เห็นว่ายีน "cryptochrome" ของมนุษย์มีความสามารถแฝงในการรับรู้สนามแม่เหล็ก
ถึงตรงนี้คงต้องย้อนความเกี่ยวกับ Cryptochrome กันหน่อย:
Cryptochrome เป็นโปรตีนในกลุ่ม flavoprotein ที่พบได้ในสัตว์หลายชนิดตั้งแต่แมลงจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากมันมีความไวต่อแสง เราจึงพบ cryptochrome ในอวัยวะรับแสง เช่น ดวงตา เป็นต้น และในสัตว์บางชนิดที่มีนิสัยชอบเดินทางไกลๆ เช่น ผีเสื้อ Monarch เป็นต้น cryptochrome ของสัตว์พวกนี้จะสัมผัสรับรู้สนามแม่เหล็กโลกเพื่อใช้เป็นเข็มทิศนำทางได้ด้วย
Steven Reppert คนเดียวกันกับในทีมนักวิจัยนี้เคยพิสูจน์แล้วว่าถ้าเอายีน cryptochrome ของผีเสื้อ Monarch ไปใส่ในแมลงหวี่ Drosophila melanogaster จะทำให้แมลงหวี่สามารถรับรู้สนามแม่เหล็กได้ และต่อมาเขาก็สังเกตเห็นว่ายีน cryptochrome ของมนุษย์ที่มีชื่อว่า hCRY2 มีความคล้ายคลึงกับยีน cryptochrome ที่พบในผีเสื้ออยู่บางประการ (cryptochrome ในมนุษย์มีส่วนช่วยในการควบคุมวัฏจักรประจำวันของร่างกายเรา)
ทีมวิจัยของเขาจึงได้ลองเอายีนของโปรตีน hCRY2 ใส่เข้าไปในแมลงหวี่ D. melanogaster แบบเดียวกับที่เคยทำด้วยยีนของผีเสื้อ แล้วจับแมลงหวี่เข้าท่อรูปตัว 'T' ซึ่งแขนทั้งสองข้างของตัว T มีขดลวดไฟฟ้าสร้างสนามแม่เหล็กที่ปรับระดับได้ตามต้องการ ผลปรากฏว่าแมลงหวี่ที่มียีนโปรตีน hCRY2 สามารถรับรู้และแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อระดับความเข้มสนามแม่เหล็กที่แตกต่างกันได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องปรับให้แสงรอบข้างอยู่ในย่านของแสงสีน้ำเงินเท่านั้น
แม้ว่าการสร้างมนุษย์กลายพันธุ์แบบในหนังจะยังเป็นไปไม่ได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จินตนาการว่าหากมีวิธีที่ทำให้สัญญาณสนามแม่เหล็กจาก cryptochrome ส่งเข้าไปแปลผลในสมองได้ ก็ไม่แน่ว่ามนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ ก็อาจจะได้ "เห็น" สนามแม่เหล็กโลกด้วยดวงตาของเราเอง
ที่มา - New York Times, Medical Xpress, BBC News, Live Science | https://jusci.net/node/1912 | มนุษย์อาจมีความสามารถรับรู้สนามแม่เหล็กแฝงอยู่ในพันธุกรรม |
นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้รวมกลุ่มกันตั้งโครงการ "5000 Insect and Other Arthropod Genome Initiative" หรือย่อๆ ว่า "i5K" โดยมีจุดประสงค์ทำและรวบรวมข้อมูลจีโนมของแมลงและสัตว์ขาปล้อง (arthropods) จำนวน 5,000 สปีชีส์ให้สำเร็จภายใน 5 ปี
โครงการ i5K มีความมุ่งหมายเน้นไปยังกลุ่มแมลงที่มีความสำคัญทางการเกษตร, สุขลักษณะของอาหาร, การแพทย์, เทคโนโลยีพลังงาน, ระบบนิเวศน์ รวมไปถึงแมลงที่ใช้เป็นกรณีศึกษาในทางวิชาการ
(ตรง "เทคโนโลยีพลังงาน" เนี่ย! ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันแมลงอะไรมีความสำคัญในด้านการผลิตพลังงาน?)
ข้อมูลจีโนมที่จัดทำโดย i5K จะเผยแพร่เป็น public domain ให้นักวิจัยทั่วโลกนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ความรู้ทางพันธุกรรมจะช่วยให้เราสามารถต่อกรกับแมลงตัวร้าย หรือ ช่วยอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมหน้า wiki ของ i5K ได้ที่ arthropodgenomes.org/wiki/i5K และหากใครมีชื่อแมลงที่อยากรู้จักอย่างลึกซึ้งอยู่ในใจก็เสนอเข้าไปได้เลยจากลิงค์แบบฟอร์มในหน้า wiki นั่นแหละ (ตอนนี้มีรายชื่อแค่ 120 กว่าสปีชีส์เท่านั้น ยังเหลือชื่อให้ได้เสนออีกเยอะ)
ที่มา - Popular Science, BBC News
เท่าที่ผมเห็น มีแมลงชื่อดังๆหลายตัวอยู่แล้วในรายชื่อ เช่น ตัวเรือด, แมลงสาบอเมริกัน (แมลงสาบตัวสีน้ำตาลแดงๆ ที่ชอบเพ่นพ่านในบ้านเรา), แมลงวันบ้าน, มอดข้าว, มดคันไฟ เป็นต้น ผมแนะนำว่าการเสนอชื่อควรหาข้อมูลเรื่องชื่อวิทยาศาสตร์ก่อนนะครับ เพื่อความสะดวกในการจัดทำข้อมูล ไม่ควรเสนอแต่ชื่อสามัญ (โดยเฉพาะชื่อภาษาไทยไม่ต้องใส่เข้าไปเลยจะดีที่สุด) | https://jusci.net/node/1913 | นักวิทยาศาสตร์เปิดตัวโครงการ i5K ตั้งเป้าทำจีโนมแมลง 5,000 สปีชีส์ใน 5 ปี |
ต้นทุนพลังงานยังคงเป็นต้นทุนก้อนใหญ่ของบริษัทไอทีขนาดยักษ์เช่นกูเกิล การลงทุนในพลังงานเพื่ออนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก และการลงทุนครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดก็ตกอยู่กับบริษัท Alta Wind Energy Center (AWEC)
กูเกิลเคยลงทุนในบริษัทนี้ไปรอบหนึ่งแล้วด้วยมูลค่า 55 ล้านดอลลาร์ในโครงการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 101 เมกกะวัตต์ และรอบนี้เป็นโครงการใหม่ที่มีกำลังผลิต 168 เมกกะวัตต์
โครงการ AWEC มีแผนจะขยายกำลังผลิตไฟฟ้าไปถึง 1,550 เมกกะวัตต์ โดยภายในปลายปีนี้พลังงานรวมน่าจะเกิน 1,000 เมกกะวัตต์
กูเกิลลงทุนด้านพลังงานในปีนี้ไปแล้วกว่า 700 ล้านดอลลาร์ โดยพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับเงินลงทุนมากที่สุด ขณะที่พลังงานลมได้รับเงินลงทุนเป็นอันดับที่สอง โดยในตอนนี้เองศูนย์ข้อมูลของกูเกิลก็ใช้พลังงานลมนับร้อยเมกกะวัตต์อยู่แล้ว
ที่มา - eWeek | https://jusci.net/node/1914 | กูเกิลลงทุนเพิ่ม 102 ล้านดอลลาร์ในบริษัทพลังงานลม |
ผู้ชายบ้านาฬิกาอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สำหรับ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เขาเลือกที่จะลงทุน 42 ล้านดอลลาร์ใน Long Now Foundation เพื่อสร้างนาฬิกาที่สามารถทำงานได้หมื่นปีต่อเนื่อง
Bezos กล่าวถึงนาฬิกาหมื่นปีนี้ว่าในปี "ค.ศ. 4000 คนจะมาดูนาฬิกานี้แล้วถามว่า คนสร้างจะสร้างมันไว้ทำไมกัน?" และเขาคาดหวังว่ามันจะทำให้คนที่มาเห็นนาฬิกานี้ได้คิดถึงอนาคตข้างหน้าและผลของสิ่งที่เราทำไว้ในวันนี้
ผู้ออกแบบนาฬิกานี้คือ Danny Hillis ซึ่งได้เสนอโครงการนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1995 และออกแบบมันมานาน 15 ปี จนกระทั้งสถาบันสมิตโซเนียนได้อนุมัติให้ติดตั้งนาฬิกานี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์ของสถาบันได้หากตัวโครงการสามารถหาทุนมาสร้างนาฬิกาได้สำเร็จ
ตัวนาฬิกามีขนาดใหญ่มากและใช้หินและเฟืองโลหะจำนวนมาก ดูวิดีโอการตัดหินได้ท้ายข่าว
ที่มา - Wired
Robotic Stone Saw testing and simulation from The Long Now Foundation on Vimeo. | https://jusci.net/node/1915 | ผู้ก่อตั้ง Amazon ลงทุนสร้างนาฬิกาที่ทำงานได้ 10,000 ปี |
คุณ Frank Postberg แห่งมหาวิทยาลัย Heidelberg ใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ฝุ่นคอสมิคที่ติดตั้งอยู่บนยานแคสซีนี วิเคราะห์ไอน้ำที่พุ่งออกมาจากพื้นผิวดวงจันทร์เอนเซลาตัสทั้ง 4 จุด ในขณะที่ยานแคสซีนีบินผ่าน และพบว่า ไอน้ำที่พุ่งออกมาทั้ง 4 จุด ส่วนใหญ่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ และยิ่งเข้าใกล้พื้นผิวของดวงจันทร์มากเท่าไหร่ ปริมาณของเกลือที่พบก็มีมากขึ้นตาม
นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า น้ำแข็งที่อยู่รอบ ๆ จุดที่มีไอน้ำพุ่งออกมาจะมีเกลือเป็นส่วนผสมอยู่มากถึง 99% และใต้พื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์นั้นอาจจะมีทะเล (น้ำเค็ม) ขนาดใหญ่ แต่จะเป็นทะเลแห่งใหญ่แห่งเดียว หรือประกอบด้วยทะเลเล็ก ๆ หลายแห่งอันนี้ยังไม่รู้
ยานแคสซีนีได้ค้นพบไอน้ำพุ่งออกมาจากดวงจันทร์ดวงนี้เมื่อปี ค.ศ. 2005 ซึ่งพุ่งออกมาจากบริเวณที่เป็นร่องบนดวงจันทร์ที่เรียกว่า ลายเสือ (tiger stripes) ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า วงแหวน E ของดาวเสาร์มีโซเดียมประกอบอยู่ด้วย จึงคิดว่ามันน่าจะมาจากดวงจันทร์เอนเซลาตัส
สำหรับเรื่องสิ่งมีชีวิต การศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตนอกโลกนั้น อาจจะทำได้ง่ายขึ้นบนดวงจันทร์เอนเซลาตัส เนื่องจากไม่จำเป็นต้องขุดชั้นน้ำแข็งลงไป เพราะไอน้ำพวกนี้มันพุ่งออกมาให้ศึกษาได้ง่าย ๆ อยู่แล้ว แต่เนื่องจากดวงจันทร์ดวงนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก พื้นผิวของมันเลยกลายเป็นน้ำแข็ง ถึงแม้จะมีน้ำ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่แน่นอนเสมอไป
ที่มา: Yahoo! News | https://jusci.net/node/1916 | บนดวงจันทร์เอนเซลาตัสอาจจะมีทะเล |
ดูแล้ว เรามันช่างเล็กกะจิ๊ดริดเสียนี่กะไร
‹ โลกมันกลม
ผลการวิจัยทุกวันนี้เป็นวิทยาศาสตร์ชนิดใดครับ › | https://jusci.net/node/1917 | ระบบสุริยะในรูปแบบแผนภาพข้อมูล |
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เพิ่งจะมีข่าวไปว่าพบ DNA มนุษย์ปนเปื้อนไปทั่วข้อมูลจีโนมของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด พอมาถึงกลางปี นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มก็พบว่าข้อมูลจีโนมมนุษย์ที่ใช้กันอยู่ก็ไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่องเท่าไรนัก
Bill Langdon แห่ง University College London และ Matthew Arno แห่ง Kings College London ได้ค้นพบว่า รหัสพันธุกรรมบนชิป DNA ที่สร้างมาจากจีโนมมนุษย์ มี DNA ของแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ไมโคพลาสมา" (mycoplasma) อยู่
ไมโคพลาสมาขึ้นชื่ออยู่แล้วด้านการเป็นตัวปนเปื้อนในห้องทดลอง แต่การค้นพบ DNA ปนเปื้อนในฐานข้อมูลจีโนมของมนุษย์ได้เปิดตำนานใหม่ของไมโคพลาสมาเลยทีเดียว เพราะเมื่อนักวิจัยทั่วโลกซื้อเอาชิป DNA ที่ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลจีโนมปนเปื้อนมาใช้ ก็จะมีโอกาสตัดต่อเอายีนของไมโคพลาสมาลงไปในเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วย Bill Langdon และ Matthew Arno เรียกการแพร่ยีนลักษณะนี้ว่า "การติดเชื้อเสมือน" (virtual infection) เพราะการแพร่ยีนไม่ได้เกิดจากไมโคพลาสมาโดยตรง แต่เป็นการส่งผ่านลักษณะพันธุกรรมโดยอ้อมผ่านทางแผ่นชิปซิลิกอน (in silico)
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าหากการส่งผ่านยีนลักษณะนี้ยังดำเนินต่อไป การติดเชื้อเสมือนก็อาจนำไปสู่ "วิวัฒนาการเสมือน" (virtual evolution) ขึ้นมาก็ได้ และถ้าวิวัฒนาการเสมือนเกิดขึ้นจริง ผลกระทบจะเป็นอย่างไรก็สุดจะคาดเดา
บทความวิจัยเผยแพร่อยู่ที่ arxiv.org/abs/1106.4192
ที่มา - Technology Review | https://jusci.net/node/1918 | เอาเข้าไป! พบ DNA ไมโคพลาสมาปะปนในข้อมูลจีโนมมนุษย์ |
หลังเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิม่า รัฐบาลทั่วโลกก็มีท่าทีในการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ต่างกันออกไปอย่างมาก ล่าสุดรัฐบาลอังกฤษก็เริ่มแสดงท่าทีว่าจะเดินหน้าโรงงานไฟฟ้าต่อโดยเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการก่อสร้างไว้ 8 จุดทั่วประเทศ
อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่มีแผนการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างหนักในไม่กี่สิบปีข้างหน้า และแผนการใช้ไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นแผนการหนึ่งในนั้น ร่วมกับแผนการพลังงานทางเลือกอื่นๆ
อย่างไรก็ดีประเด็นนี้ทำให้องค์กรต่อต้านโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ออกมาแสดงท่าทีแข็งกร้าวกันมากขึ้น และแม้แต่ในรัฐบาลเองก็มีการแตกคอกันออกมาให้เห็น แต่รัฐบาลก็ยังเชื่อว่าแผนการนี้จะสามารถผ่านสภาได้ไม่มีปัญหา
ความท้าทายอย่างหนึ่งของอังกฤษคือโรงงานไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตถึงหนึ่งในสี่ของประเทศกำลังหมดอายุลงภายในสิบปีข้างหน้า และอังกฤษต้องเตรียมแผนการสร้างแหล่งพลังงานมาชดเชยพลังงานเหล่านี้
ที่มา - BBC | https://jusci.net/node/1919 | อังกฤษเดินหน้าโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป |
หลังจากกูเกิลพยายามผลักดันกฏหมายอนุญาตรถอัตโนมัติไม่นานนัก รัฐเนวาดาก็เป็นรัฐแรกที่ผ่านกฏหมายฉบับนี้ออกมาทำให้รถอัตโนมัติของกูเกิลสามารถวิ่งใช้งานจริงได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
ร่างกฏหมายหมายเลข 511 ถูกเสนอเข้ายังสภารัฐเนวาดาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้รับการโหวตจากวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียง 20 ต่อ 1 ทำให้สามารถประกาศบังคับใช้เข้าเป็นกฏหมาย Chapter 472
ร่างกฏหมายฉบับนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่น่าใจอีกจำนวนมาก เช่น การให้อภิสิทธิ์ที่จอดรถสำหรับรถใช้พลังงานทางเลือกไปจนถึงปี 2018, หรือการกำหนดมาตรฐานรถยนต์พลังงานทางเลือกที่เข้าข่ายได้รับสิทธิพิเศษ
ผู้ใช้รถอัตโนมัติจะต้องทำใบขับขี่พิเศษ และแม้จะประกาศใช้แล้ว แต่มาตราที่อนุญาตให้มีการใช้รถอัตโนมัติบนท้องถนนนั้นจะมีผลบังคับจริงในเดือนมีนาคมปี 2012
ที่มา - Daily Mail | https://jusci.net/node/1920 | รัฐเนวาดาผ่านกฏหมายรถอัตโนมัติแล้ว |
บริษัท UrtheCast จากแคนาดา เตรียมติดตั้งกล้อง 2 ตัวไว้ที่ด้านนอกของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เพื่อ "ถ่ายทอดสด" ภาพของ "โลก" แล้วยิงสัญญาณแบบ HD กลับมาเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
ตัวแทนของ UrtheCast บอกว่าการถ่ายทอดสดนี้จะเหมือน Google Earth ผสม YouTube โดยจะผสมผสานวิดีโอกับแผนที่โลกด้วย ผู้ชมสามารถหยุดวิดีโอ ซูม ย้อนกลับได้ตลอดเวลา
กล้องจะถูกส่งไปติดตั้งที่สถานีอวกาศในปีนี้ ส่วนการถ่ายทอดจะเริ่มต้นปี 2012 ครับ
ที่มา - PopSci | https://jusci.net/node/1921 | เตรียมรับชมถ่ายทอดสด "โลก" จากสถานีอวกาศนานาชาติ เร็วๆ นี้ |
รัฐบาลสหรัฐดันโครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อย่างเต็มที่ โดยประกาศโครงการ National Robotics Initative ซึ่งรัฐบาลสหรัฐจะลงเงินก้อนแรก 70 ล้านดอลลาร์ และภาคีอื่นๆ ทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน จะช่วยลงขันกันเป็นจำนวน 500 ล้านดอลลาร์
โครงการนี้จะนำเทคโนโลยีจากหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น NASA, National Science Foundation และองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้าง "หุ่นยนต์" สำหรับการใช้งานต่างๆ ที่ไม่ใช่การทหาร เช่น หุ่นยนต์ที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ในชีวิตประจำวันทั่วไป
เงิน 70 ล้านดอลลาร์ถือว่าจิ๊บๆ เมื่อเทียบกับงบประมาณทางการทหารของสหรัฐ แต่ถ้ามองในแง่การวิจัยภาคพลเรือน ก็อาจช่วยให้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์หลายๆ อย่างเป็นจริงได้
ในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ โอบามาก็เล่นมุขตลกว่าในฐานะ "จอมทัพ" ของสหรัฐโดยตำแหน่ง เขาคงต้อง "ระวังภัยจากหุ่นยนต์" เสียแล้ว
ที่มา - Geek.com | https://jusci.net/node/1922 | รัฐบาลโอบามาอัดเงิน 70 ล้านดอลลาร์ ร่วมลงขันสนับสนุนการวิจัยเรื่องหุ่นยนต์ในสหรัฐ |
เวลาที่เราเดินผ่านร้านขายขนมอร่อยๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของกินที่มีน้ำตาลและไขมันสูง ไม่ดีต่อสุขภาพ) แล้วเกิดความรู้สึกอยากกินเพื่อตอบสนองอารมณ์ปากนั้น มันเป็นความอยากที่จัดอยู่ในประเภท "visceral factor" ซึ่งเกิดจากภาวะอารมณ์และสัญชาตญาณล้วนๆ ไม่ได้ผ่านการคิดตรึกตรอง
ทีมนักวิจัยที่นำโดย Manoj Thomas แห่ง Cornell University ได้สำรวจความเห็นของผู้คนทั่วไปเกี่ยวกับมุมมองต่ออาหารหลากหลายประเภท แล้วพบว่าอาหารพวกที่ไม่ค่อยส่งผลดีต่อสุขภาพมักเป็นอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์อยากซื้อมากที่สุด และเมื่อทำการวิเคราะห์การจับจ่ายของผู้บริโภค 1,000 คน เป็นเวลา 6 เดือน ผลออกมาว่าผู้บริโภคที่นิยมซื้อของด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตมีแนวโน้มซื้ออาหารประเภทที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากกว่าผู้บริโภคที่ซื้อของด้วยเงินสด
นักวิจัยสันนิษฐานว่า การสูญเสียเงินสดไปต่อหน้าต่อตาคงจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดในใจ และความเจ็บปวดนี้ก็จัดเป็น visceral factor รูปแบบหนึ่งเช่นกัน พอ visceral factors สองอันขัดแย้งกัน มันเลยลดทอนกำลังกันไปเอง ผู้บริโภคจึงมีสติในการพิจารณาประโยชน์และโทษของอาหารที่จะซื้อมากขึ้น ส่วนคนที่รูดปรื๊ดๆ นั้นไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดอะไรมากมาย อยากกินอะไรก็ซื้อหมด พอรู้สึกตัวอีกที ตู้เย็นก็เต็มไปด้วยอาหารขยะแล้ว
ที่มา - Scientific American | https://jusci.net/node/1923 | จ่ายเงินสดช่วยลดการซื้ออาหารขยะ |
หลังจากเกิดวิกฤติการณ์อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น หลายประเทศก็พากันทบทวนนโยบายด้านพลังงานกันถ้วนหน้า รวมถึงฝรั่งเศสซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการใช้พลังงานนิวเคลียร์มากที่สุดในโลกด้วย
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2011 นี้ ประธานาธิบดีนิโคลาส ซาร์โกซี ของประเทศฝรั่งเศส ได้เปิดเผยกับสำนักข่าวว่า "รัฐบาลฝรั่งเศสเตรียมเงินลงทุนพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มอีก 1 พันล้านยูโร" (ประมาณ 44,000 ล้านบาท)
เงินลงทุนของรัฐบาลฝรั่งเศสจะมาในรูปของเงินกู้ "ก้อนโต" เพื่อกระตุ้นให้เกิดโครงการวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย และนำพาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ให้ก้าวเข้าไปสู่ "ยุคที่สี่"
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1924 | ฝรั่งเศสเตรียมลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มอีก 1 พันล้านยูโร |
ห้องปฏิบัติการวิจัย Los Alamos National Laboratory (LANL) หนึ่งในห้องปฏิบัติการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือวิจัย "อาวุธนิวเคลียร์" (Manhattan Project ก็สร้างที่นี่)
Los Alamos มีพนักงานกว่า 12,000 คน มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อดังอย่าง Roadrunner กำลังย่ำแย่เพราะ "ไฟป่า" ที่เกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง
Los Alamos ตั้งอยู่ใกล้เมือง Santa Fe ในรัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งกำลังเผชิญกับไฟป่าครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Las Conchas Fire ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย. ภาวะเสี่ยงอันตรายนี้ทำให้ Los Alamos ต้องปิดตัวลงชั่วคราว ให้พนักงานที่ไม่มีหน้าที่เฝ้าระวังกลับบ้านทั้งหมด ปิดระบบก๊าซธรรมชาติภายในตึก และแน่นอนว่าป้องกันศูนย์ข้อมูล ห้องวิจัยด้านนิวเคลียร์ และห้องเก็บสารกัมมันตรังสีเป็นอย่างดี
ตอนนี้ไฟยังไปไม่ถึง Los Alamos และทางห้องปฏิบัติการก็พร้อมรับมือไฟ (มีเครื่องบินตรวจการของตัวเอง!) แต่ปัญหาที่สำคัญคือ "ควัน" ที่กระทบบุคคลากรที่ยังอยู่ภายในบริเวณ
ที่มา - The Register | https://jusci.net/node/1925 | ห้องวิจัยนิวเคลียร์ Los Alamos ปิดตัวชั่วคราวเนื่องจาก "ไฟป่า" |
กาจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ฉลาดที่สุดในอาณาจักรสัตว์ มันรู้จักการใช้เครื่องมือ, คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า, และคิดแบบเหตุผลระดับง่ายๆ ได้ นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็สนใจทำวิจัยเกี่ยวกับนกชนิดนี้
ทีมนักวิจัยที่นำโดย John Marzluff แห่ง University of Washington สังเกตว่าทุกครั้งที่พวกเขาเข้าไปยุ่งวุ่นวายกับชีวิตกาสักตัว กาตัวนั้นจะส่งเสียงร้องขู่เป็นการส่งสัญญาณให้เพื่อนนกการุมเข้ามาโจมตีผู้บุกรุกด้วยการบินดิ่งลงมาไล่จิก และยิ่งเหตุการณ์แบบนี้ผ่านไปหลายๆ ครั้ง จำนวนนกกาที่เข้ามาโจมตีพวกเขาก็มีแต่จะเยอะขึ้นๆ
พวกเขาสงสัยว่ากาตัวอื่นๆ แยกแยะได้อย่างไรว่าใครคือผู้บุกรุกและต้องเข้าโจมตี ดังนั้นจึงเริ่มต้นทดลองโดยการวางกับดักจับกาในสถานที่ต่างๆ กัน 5 จุดใกล้เมืองซีแอตเติล แล้วพวกเขาก็ใส่หน้ากากไปยืนเสนอหน้าให้กาดู จากนั้นก็ทำเครื่องหมายและปล่อยกาไป พวกเขาทำเช่นนี้กับกาประมาณ 7-15 ตัวในแต่ละจุด
หลังจากทำพิธีฝังแค้นให้กาแล้ว พวกเขาก็เอาหน้ากากเหล่านั้นเก็บไว้ในลิ้นชัก รอจนเวลาผ่านไปหลายปี พวกเขาก็เอาหน้ากากอันเดิมมาใส่เดินไปตามจุดที่เคยทำกับดักอีกครั้ง ผลปรากฏว่ากาในละแวกนั้นพุ่งโจมตีคนที่ใส่หน้ากากในทันทีที่มันเห็น แถมยังส่งเสียงร้องปลุกระดมเรียกเหล่าพี่น้องกามารุมอีก บางครั้ง "ม็อบกา" อาจจะรวมพลกันได้มากถึง 50 ตัว แต่น่าแปลกว่าถ้าให้คนเดียวกันใส่หน้ากากอันอื่นที่กาไม่เคยเห็นมาก่อน พวกมันกลับจำไม่ได้ และไม่กรูเข้ามาไล่จิกแต่อย่างใด
ตอนแรกพวกเขาคิดว่าแกนนำม็อบจะต้องเป็นนกกาตัวที่มีหนื้แค้นกับพวกเขา แต่พอดูให้ละเอียดก็พบว่าม็อบเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีกาคู่กรณีนำมา บางทีกาในม็อบก็ไม่มีตัวไหนเคยมีประสบการณ์ตรงกับพวกเขามาก่อนเลย มีบางตัวเป็นญาติกับกาคู่กรณี แต่บางตัวก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร แถมบางครั้งจุดที่พวกเขาโดนม็อบโจมตีก็ห่างจากจุดที่เคยวางกับดักเป็นไมล์ๆ
นอกจากนี้พวกเขายังทดสอบกับลูกนกกาที่ยังอยู่ในรังด้วย ผลปรากฏว่าลูกนกก็ส่งเสียงร้องขู่คนที่ใส่หน้ากากเจ้าปัญหา แต่ไม่มีปฏิกิริยากับหน้ากากอันอื่นๆ เช่นกัน
เพราะฉะนั้นแล้วผลการทดลองนี้จึงสรุปได้เพียงอย่างเดียวว่า "อีกาจดจำใบหน้าของคนที่ทำมันเจ็บแค้นได้และกระจายความแค้นของมันไปยังหมู่เพื่อนฝูงญาติพี่น้องและลูกหลานด้วย" พวกเขาพบว่ากาสามารถจดจำใบหน้าได้นานถึง 5 ปีเป็นอย่างต่ำ (เวลา 5 ปี คือระยะนานสุดที่พวกเขาทำการทดลองนี้)
รอดู Angry Birds ตัวต่อไปคงต้องมี "ภาคม็อบนก" บ้างอะไรบ้างแล้วแหละ
ที่มา - Live Science, Discovery News | https://jusci.net/node/1926 | แค้นฝังนก... อีกาจอมอาฆาต |
ประมาณช่วงต้นสัปดาห์นี้ มีคนโพสต์คลิปวิดีโอลง Youtube แสดงภาพวัตถุลึกลับบินอยู่เหนือน่านฟ้าในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลายคนก็เชื่อและใส่ไข่เติมแต่งสีไปต่างๆ นานา จนเกิดเป็นข่าวว่อนอินเตอร์เน็ตว่า มี "UFO ยานแม่และยานลูกแอบบินมาโชว์ตัวให้ชาวอังกฤษได้ชม" แต่ผู้เชี่ยวชาญในเว็บ Life's Little Mysteries และ MUFON (องค์กรที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ UFO) มีความเห็นว่าวิดีโอดังกล่าวน่าจะเป็นของปลอม
เหตุผลหลักๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญคิดเช่นนั้น คือ
จุดสว่างๆ รูปวงรีและวงกลมอย่างที่เห็นในวิดีโอเป็นสิ่งที่ตัดต่อใส่เข้าไปในวิดีโอไม่ยาก ซอฟท์แวร์ตัดต่อวิดีโอหลายตัวสามารถทำได้โดยไม่ต้องอาศัยฝีมืออะไรมากมาย มือสมัครเล่นก็ทำได้
พฤติกรรมอันมีพิรุธของคนถ่ายคลิปที่อยู่ๆ ดีก็เดินไปเจอคนมุงอะไรกัน แล้วหันกล้องขึ้นไปเจอวัตถุลึกลับพอดีแบบเป๊ะๆ แล้วก็ยังหันกล้องกลับมาเก็บภาพคนที่กำลังถ่ายรูปอีก ทำราวกับจะยืนยันว่ามีคนเห็นวัตถุนั้นเหมือนกันกับตน ถ้าเป็นคนธรรมดาที่คิดว่าตัวเองกำลังเก็บภาพ UFO อยู่ ก็ไม่ควรที่จะมีอารมณ์หันหน้ากล้องไปทางอื่น น่าจะพยายามเก็บภาพให้ครบถ้วนที่สุดมากกว่า
นอกจากนี้หลายคนยังสงสัยว่าคลิปที่เผยแพร่อาจมีความเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวเรื่อง "Iron Sky" ที่จะออกฉายปีหน้า (ปี 2012) ด้วย เป็นไปได้ว่ามีใครวางแผนเรียกกระแสโปรโมตหนังหรือเปล่า?
ที่มา - Life's Little Mysteries | https://jusci.net/node/1927 | ผู้เชี่ยวชาญไม่เชื่อวิดีโอ "UFO บินเหนือลอนดอน" |
ก่อนหน้านี้ไม่นาน นักคณิตศาสตร์ได้ค้นพบว่า จำนวนครั้งที่ต้องใช้ในการหมุนเพื่อแก้รูบิค 3x3x3 ใดๆ จะมีค่าไม่เกิน 20 ครั้ง ไม่ว่ารูบิคลูกนั้นจะมีสภาพเริ่มต้นอย่างไรก็ตาม (สำหรับรูบิคมาตรฐาน 3x3x3 ที่ประกอบเป็นลูกบาศก์หกหน้า มีรูปแบบสภาพเริ่มต้นที่เป็นไปได้ 48 ล้านล้านล้านรูปแบบ) แต่ทีมวิจัยที่นำโดย Erik Demaine แห่ง MIT ได้คิดค้นสมการที่อธิบายความสัมพันธ์ของจำนวนครั้งมากที่สุดที่ต้องใช้กับขนาดของรูบิคได้ และที่สำคัญไม่ใช่แค่เฉพาะรูบิค 3x3x3 เท่านั้น แต่สมการนี้ใช้ได้กับรูบิค 4x4x4, 5x5x5, 6x6x6 หรือขนาดใดๆ ก็ได้
สมการนั้นคือ
สำหรับรูบิคขนาด n x n x n
จำนวนครั้งมากที่สุดที่ต้องใช้ในการหมุนจะแปรผันตาม n2/log n
นักวิจัยได้ใช้เวลาพิสูจน์ความถูกต้องสมการนี้อยู่เป็นเดือนๆ และพบว่ามันใช้ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่คำนวณได้จากสมการจะมากกว่าค่าจริงของจำนวนครั้งที่ต้องการใช้เล็กน้อยเกือบทุกครั้ง
บทความวิจัยของพวกเขาสามารถดาวน์โหลดได้จาก arxiv.org/abs/1106.5736 และงานวิจัยนี้จะถูกนำเสนอในงาน 19th Annual European Symposium on Algorithms เดือนกันยายน 2011 นี้
ที่มา - New Scientist, PhysOrg, LiveScience | https://jusci.net/node/1928 | นักคณิตศาสตร์ค้นพบสูตรหาจำนวนครั้งที่ต้องการในการหมุนรูบิค |
หากเราเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าเวลาเครื่องบินบินผ่านก้อนเมฆ เราก็จะเห็นว่าก้อนเมฆโดนเจาะเป็นรูหรือเป็นอุโมงค์ยาว นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานแล้วว่าเครื่องบินน่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศบริเวณสนามบินไม่มากก็น้อย
ทีมวิจัยที่นำโดย Andrew Heymsfield แห่ง National Center for Atmospheric Research (NCAR) ได้ศึกษาปริมาณน้ำฝนและหิมะรอบสนามบิน 7 แห่งทั่วโลกตามตำแหน่งละติจูดต่างๆ ผลปรากฏว่าเครื่องบินมีส่วนทำให้รอบๆ สนามบินมีน้ำฝนและหิมะตกเพิ่มขึ้นจริงๆ
จากแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ ทีมนักวิจัยพบว่าเมื่อเครื่องบินบินผ่านก้อนเมฆ ปีกเครื่องบินที่กรีดผ่านจะทำให้อากาศใต้ปีกมีอุณหภูมิลดลง หากเมฆก้อนนั้นมีอุณหภูมิต่ำอยู่แล้ว หยดน้ำที่อยู่ในภาวะเย็นยิ่งยวด (super-cooled) ก็จะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นผลึกน้ำแข็งทันที ผลึกน้ำแข็งเล็กๆ จะทำหน้าที่เป็น "seed" ซึ่งดึงดูดให้หยดน้ำรอบๆ มาเกาะรวมกันมากขึ้น พอรวมกันจนใหญ่ได้ที่ ก็จะตกลงมาเกิดเป็นฝนหรือหิมะ
หลักการเหนี่ยวนำให้เกิดผลึกน้ำแข็งในก้อนเมฆเช่นนี้ก็คือหลักการเดียวกับการทำฝนเทียมแบบ cloud seeding นั่นเอง (ในกรณีฝนเทียมที่ใช้กันทั่วไป จะใช้สารเคมี เช่น ซิลเวอร์ไอโอไดด์ ในการทำให้เกิด seed)
นักวิจัยพบว่าอุณหภูมิขั้นต่ำของก้อนเมฆที่จะมีหยดน้ำในเย็นยิ่งยวดมากพอให้เกิดฝนหรือหิมะจากเครื่องบิน คือ -10 องศาเซลเซียสสำหรับเครื่องบินใบพัด และ -20 องศาเซลเซียสสำหรับเครื่องบินไอพ่น ส่วนอุณหภูมิวิกฤติที่หยดน้ำเย็นยิ่งยวดจะกลายเป็นผลึกน้ำแข็ง คือ -40 องศาเซลเซียส
โดยเฉลี่ย เครื่องบินใบพัดมีโอกาส 6% ในการเหนี่ยวนำให้เกิดฝนหรือหิมะ และเครื่องบินไอพ่นอยู่ที่ 2-3% อย่างไรก็ตาม โอกาสเหล่านี้แปรผันไปตามตำแหน่งละติจูดด้วย ยิ่งละติจูดสูง โอกาสจะยิ่งมากขึ้น เพราะว่ามีก้อนเมฆที่ลอยในระดับต่ำมากกว่า
ที่มา - Live Science, Scientific American | https://jusci.net/node/1929 | เครื่องบินมีส่วนทำฝนเทียมโดยไม่ตั้งใจ |
ไม่แปลกเลยที่คำว่า "อบอุ่น" จะสื่อได้ทั้งความหมายทางกายภาพและทางความรู้สึก เพราะนักวิจัยได้พบความสัมพันธ์ของการอาบน้ำอุ่นกับการคลายความเหงาในจิตใจ
ทีมวิจัยจาก Yale University ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี จำนวน 400 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างบันทึกอารมณ์ก่อนและหลังอาบน้ำ เมื่อเอาผลมาวิเคราะห์ก็พบว่า "ยิ่งคนรู้สึกเหงาเท่าไร ก็จะยิ่งอาบน้ำนานขึ้นและอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น"
นอกจากนี้นักวิจัยยังทำการทดลองแยกอีกสองการทดลอง ในการทดลองหนึ่งนักวิจัยแจกกระเป๋าน้ำร้อนกับน้ำเย็นให้กลุ่มตัวอย่างไปกอด จากนั้นก็ให้ตอบแบบสอบถามว่ารู้สึกเหงามากน้อยเท่าไร ส่วนในอีกการทดลองหนึ่งนักวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างมานั่งรำลึกอดีตช่วงที่ว้าเหว่ที่สุดในชีวิต จากนั้นก็แจกกระเป๋าน้ำร้อนกับน้ำเย็นให้ไปกอดแล้วบันทึกอารมณ์เหงาเหมือนการทดลองแรก
ผลการทดลองสรุปได้ว่า ความอบอุ่นจากกระเป๋าน้ำร้อนช่วยบรรเทาความรู้สึกเหงาในจิตใจได้ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกเหงามากน้อยเท่าใด หากได้กอดกระเป๋าน้ำร้อนอุ่นๆ ความรู้สึกซึมเศร้าเหงาหงอยก็จะบรรเทาลง
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าความอบอุ่นทางร่างกายและความรู้สึกอบอุ่นในใจน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง และเป็นความสัมพันธ์ที่มนุษย์ทุกคนมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่คนที่รู้สึกเหงาจะโหยหาการอาบน้ำอุ่นๆ ให้สบายกายสบายใจ
จำไว้นะครับ นักวิทยาศาสตร์บอกว่า "อยากหายเหงา ก็ให้ลงอ่าง"
ที่มา - Scientific American, The Daily Mail | https://jusci.net/node/1930 | อ่างอุ่นๆ คลายเหงา |
ทีมนักวิจัยแห่ง Gachon University Gil Hospital ในประเทศเกาหลีใต้ ได้ทำการสำรวจขนาดอวัยวะเพศของอาสาสมัครชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 144 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ตัดสินใจจะเข้ารับการผ่าตัดระบบท่อปัสสาวะอยู่แล้ว การวัดขนาดทำขณะที่อาสาสมัครถูกวางยาสลบอยู่ โดยจะวัดความยาวทั้งตอนที่หดๆ เหี่ยวๆ และตอนที่จับยืด (ไม่ใช่ขนาดตอนตั้งชูชันนะครับเพราะอาสาสมัครไม่ได้สติ แต่ว่านักวิจัยรู้อยู่แล้วว่าความยาวที่วัดตอนจับยืดเต็มที่สัมพันธ์กับขนาดตอนตั้งโด่ จึงเอามาใช้แทนกันพอถูไถไปได้)
ผลปรากฏว่า สำหรับผู้ชายที่อายุ 20-40 ปี ขนาดของอวัยวะเพศสัมพันธ์กับอัตราส่วน 2D:4D Ratio (อัตราส่วนของความยาวนิ้วชี้ต่อความยาวของนิ้วนาง) อย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งอัตราส่วนนี้ต่ำ อวัยวะเพศก็จะยิ่งยาว
ความยาวเฉลี่ยของอวัยวะเพศที่วัดได้จากกลุ่มอาสาสมัคร คือ 3.0 นิ้ว (ตอนที่หดๆ เหี่ยวๆ) และ 4.6 นิ้ว (ตอนที่จับยืด)
คนที่ไม่เคยอ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่อง 2D:4D Ratio มาก่อน อาจจะสงสัยว่าความยาวนิ้วชี้กับนิ้วนางไปเกี่ยวกับขนาดอวัยวะตรงอีกจุดได้อย่างไร ผมก็ขอยกคำอธิบายจากข่าวเก่ามาเลยแล้วกัน
นักวิทยาศาสตร์รู้กันอยู่แล้วว่าค่า 2D:4D เกี่ยวข้องกับการได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) ของทารกเพศชายขณะอยู่ในครรภ์ หากในช่วงปลายสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกได้รับเทสโทสเตอโรนสูง กระดูกนิ้วมือจะเจริญเติบโตเร็ว โดยเฉพาะกระดูกนิ้วนางของมือข้างขวา ดังนั้นค่า 2D:4D ก็ใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าตอนที่คนนั้นเป็นทารก เขาได้รับฮอร์โมนเพศชายมากเท่าไร
ดังนั้นผลจากงานวิจัยนี้จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ได้รับตอนอยู่ในครรภ์แน่ๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง... และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ ผมจึงขอรับประกันว่าการพยายามดึงนิ้วนางตัวเองให้ยาวขึ้นไม่ได้ช่วยอะไรแน่นอน
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1931 | ดูช้างให้ดูหาง แต่ดูช้างน้อยให้ดูนิ้ว |
ร่วมกันสร้างสังคมที่ดีกว่า ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ท่านสามารถเข้าใช้งานเว็บโดยสมัครสมาชิก Blognone.com แล้วใช้รหัสผ่านเดียวกันบนเว็บนี้
ใครๆ ก็สามารถร่วมเขียนข่าวกับเราได้ง่ายๆ ล็อกอินแล้วคลิก Create Content เลือก Blog entry เขียนข่าวที่คุณสนใจ ในรูปแบบที่คุณต้องการ และอย่าลืมที่มาของแหล่งข่าว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน หลักการเขียนข่าวเบื้องต้น หรือตัวอย่างจากข่าวเก่าๆ
เมื่อเสร็จแล้ว ข่าวของคุณจะอยู่ใน Upcoming News เมื่อเราตรวจตัวสะกดและความถูกต้องแล้ว ก็จะนำข่าวของคุณขึ้นหน้าแรกทันที
Active forum topics | https://jusci.net/node/1932 | สุนัขสามารถแยกกลิ่นแฝดแท้ได้ |
ตามแผนกำหนดการ กระสวยอวกาศ Atlantis จะต้องถูกปล่อยออกจากฐานยิง ณ Kennedy Space Center ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2011 นี้ เวลาท้องถิ่น 11:26 น. (ประมาณ 22:26 น. ตามเวลาประเทศไทย) แต่ว่าช่วงนี้สภาพอากาศในบริเวณนั้นกลับมีฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ด้านสภาพอากาศของ NASA อาจต้องประกาศเลื่อนกำหนดการปล่อยออกไป
จากการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า พบว่ามีโอกาสถึง 60% ที่จะไม่สามารถนำ Atlantis ขึ้นได้ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม หากต้องมีการเลื่อนจริงๆ NASA ก็คงจะเลื่อนออกไปเพียงวันสองวันเท่านั้น เพราะโอกาสที่จะเจอสภาพอากาศไม่เป็นใจในวันเสาร์และอาทิตย์ลดลงเหลือเพียง 40% และ 30% ตามลำดับ
ภารกิจของกระสวยอวกาศ Atlantis ในครั้งนี้ (ภารกิจเลขที่ STS-135) คือภารกิจสุดท้ายและท้ายสุดของโครงการกระสวยอวกาศของ NASA ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจนี้ ชื่อกระสวยอวกาศของ NASA ก็จะกลายเป็นตำนานไป
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1933 | กำหนดการปล่อยกระสวยอวกาศ Atlantis อาจเลื่อนเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ |
การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) มาใช้ทำงานถ่ายรูปภาพแทนมนุษย์นั้นเริ่มมีกันมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว แต่ว่าทีมนักวิจัยที่นำโดย Raghudeep Gadde นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอินเดียแห่ง International Institute of Information Technology in Hydrabad ได้พัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์ถ่ายรูปขึ้นไปอีกขั้น
หุ่นยนต์ที่ Raghudeep Gadde ใช้ในการวิจัยคือ "NAO" ซึ่งมีกล้องถ่ายรูปติดตั้งอยู่บนหัวอยู่แล้ว พวกเขาได้เขียนโปรแกรมให้ NAO ถ่ายรูปโดยอิงกับหลักการพื้นฐานการถ่ายภาพ 2 ข้อ คือ กฏสามส่วน (the rule of thirds) และอัตราส่วนทองคำ (the golden ratio)
นอกจากนี้พวกเขายังเขียนโปรแกรมในส่วนของการวิเคราะห์คุณภาพของรูปถ่ายเข้าไปด้วยโดยอิงพื้นฐานจากการวิเคราะห์รูปแบบภาพที่ชนะการประกวดตามเว็บไซต์ต่างๆ กว่า 60,000 รูป ทำให้หุ่นยนต์สามารถตรวจสอบได้ว่าภาพที่มันถ่ายมานั้นสวยแล้วหรือยัง ถ้าหากยังไม่สวยพอ หุ่นยนต์ก็จะเปลี่ยนมุมแล้วถ่ายใหม่อีกรอบ จนกว่าจะได้รูปภาพที่มีความสวยงามน่าพอใจ
เทคนิคนี้จะทำให้หุ่นยนต์ช่างถ่ายรูปสามารถถ่ายภาพอะไรก็ได้ให้สวยงามตรงตามหลักการที่ช่างภาพทั่วไปใช้ ต่างจากปัญญาประดิษฐ์แบบเดิมที่วิเคราะห์คุณภาพของรูปได้แต่กรณีภาพถ่ายที่เป็นรูปคน
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1934 | หุ่นยนต์ช่างถ่ายรูปใกล้ความจริงเข้าไปอีกขั้น |
เคยมีงานวิจัยเคยศึกษามาแล้วว่าผู้ชายที่มีใบหน้ากว้างมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโอกาสที่จถูกมองว่าเป็นคนไม่น่าไว้วางใจมากกว่าคนที่มีใบหน้าแคบ ล่าสุดทีมวิจัยที่นำโดย Michael Haselhuhn แห่ง University of Wisconsin-Milwaukee ได้ทำการทดลองพบว่าผู้ชายที่มีใบหน้ากว้างยังมีแนวโน้มที่จะโกงมากกว่าด้วย
ในการทดลองแรก นักวิจัยให้อาสาสมัครที่เป็นนักศึกษา 192 คน (ในจำนวนนี้เป็นผู้ชาย 115 คน) รับบทบาทใดบทบาทหนึ่งระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ผู้ขายถูกนักวิจัยสั่งให้ขายเสียง เอ๊ย ทรัพย์สินสมมติก็ต่อเมื่อแน่ใจว่าทรัพย์สินของตนเองจะไม่ถูกนำเอาไปใช้ในทางการค้า ส่วนผู้ซื้อถูกสั่งว่าต้องเอาของที่ซื้อได้มาขายทำกำไรทันที ผลปรากฏว่า อาสาสมัครที่เป็นผู้ชายและมีความกว้างของใบหน้ามากกว่ามีแนวโน้มโกหกผู้ขายมากกว่าคนที่เป็นผู้ชายใบหน้าแคบถึง 3 เท่า
อีกการทดลอง นักวิจัยให้อาสาสมัคร 103 คน (ในจำนวนนี้เป็นผู้ชาย 50 คน) เล่นทายผลล็อตเตอรี่ โดยแต่ละคนจะมีสิทธิ์ทายได้กี่ครั้งก็ขึ้นกับจำนวนแต้มของลูกเต๋าที่ทอยได้ ผลก็ออกมาว่า ผู้ชายหน้ากว้าง 18.6% โกหกโดยบอกตัวเลขสูงกว่าแต้มที่ตัวเองทอยได้ ในขณะที่มีผู้ชายหน้าแคบเพียง 2% เท่านั้นที่โกง
นอกจากนี้ผลจากการทำแบบทดสอบยังชี้ให้เห็นว่าผู้ชายที่มีใบหน้ากว้างมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าตนเองมีอำนาจมากกว่าผู้ชายหน้าแคบ ซึ่งงานวิจัยก่อนหน้านี้เคยพิสูจน์แล้วว่าคนที่คิดว่าตัวเองมีอำนาจมักจะโกงมากกว่า
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายหน้าเหลี่ยม เอ๊ย หน้ากว้างทุกคนจะต้องขี้โกงไปหมด จำนวนคนที่โกงในแต่ละการทดลองนั้นเป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะหน้ากว้างหรือหน้าแคบก็ซื่อสัตย์กันทั้งนั้น แถมการมีใบหน้ากว้างก็ไม่ได้แย่ไปเสียหมด เพราะยังมีงานวิจัยชิ้นอื่นชี้ให้เห็นว่า CEO ใน Fortune 500 CEOs ที่มีความกว้างของใบหน้ามากกว่า มักจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จทางด้านการเงินมากกว่าด้วย
จุดที่สำคัญอีกอย่างของงานวิจัยนี้ คือ ความกว้างใบหน้าของผู้หญิงไม่สัมพันธ์กับความซื่อสัตย์หรือความขี้โกงแต่อย่างใด
แต่ เอ... จะว่าไปนายกฯ หญิงคนแรกของเราก็ไม่ได้หน้ากว้างเท่าไรนะ
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1935 | ผู้ชายหน้ากว้างมีแนวโน้มขี้โกงมากกว่าผู้ชายหน้าแคบ |
จากข่าวกำหนดการปล่อยกระสวยอวกาศ Atlantis อาจเลื่อนเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ ที่บอกว่าอาจจะเลื่อนการปล่อยกระสวยอวกาศครั้งสุดท้ายของ NASA ออกไป ผลสรุปค่อนข้างแน่นอนแล้วครับว่าไม่เลื่อน
รายงานล่าสุดจาก Launch Less Than One Hour Away; Count Enters Planned Hold แจ้งว่า
The countdown has entered a 45-minute hold at T-9 minutes. There are no technical concerns and at this time weather is "go."
ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก กระสวยอวกาศลำนี้ได้ขึ้นบินแน่นอนครับ ร่วมติดตามชมการปล่อยกระสวยอวกาศครั้ง (น่าจะ) สุดท้ายในประวัติศาสต์ของ NASA ได้ทางการถ่ายทอดสด STS-135: Live Vieo Coverage
ที่มา: Launch Less Than One Hour Away; Count Enters Planned Hold | https://jusci.net/node/1936 | กระสวยอวกาศลำสุดท้ายของ NASA กำลังจะถูกปล่อยแล้ว |
ผมขอแสดงความยินดีกับผู้หญิงที่กำลังมีความรักทุกคน เพราะทีมนักวิจัยที่นำโดย Naomi Eisenberger แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้พบว่าความรักสามารถช่วยยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวด และยังอาจจะช่วยลดความเครียดวิตกกังวลได้ด้วย
การวิจัยนี้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงจำนวน 17 คน แต่ละคนถูกทดสอบโดยการให้ดูรูปคู่รักของตัวเอง, คนแปลกหน้า, หรือวัตถุธรรมดา ระหว่างนั้นกลุ่มตัวอย่างก็จะถูกกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด และให้บอกนักวิจัยว่ารู้สึกเจ็บมากน้อยอยู่ในระดับไหนจาก 20 ระดับ ผลปรากฏว่า เมื่อได้ดูรูปคู่รักของตัวเอง กลุ่มตัวอย่างจะรายงานระดับความเจ็บปวดต่ำกว่า
จากการวิเคราะห์การทำงานของสมองด้วย MRI นักวิจัยพบว่าการได้ดูรูปคนรัก สมองส่วนที่เรียกว่า "ventromedial prefrontal cortex" (VMPFC) จะถูกกระตุ้นขึ้นมา สมองส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ยิ่งกลุ่มตัวอย่างคบหากับคู่รักนานเท่าไรและได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากคู่รักตัวเองมากเท่าไร การกระตุ้นในส่วน VMPFC ก็ยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์พอจะรู้อยู่แล้วว่า VMPFC มีส่วนช่วยในการลดระดับความกลัวและอารมณ์วิตกกังวล ดังนั้นนี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงที่ได้มองรูปคนรักถึงรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าการเห็นรูปคนรักทำให้สมองส่วน dorsal anterior cingulate cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความเครียด ลดระดับการทำงานลงด้วย
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/1937 | ความรักยับยั้งความเจ็บปวด |
ในที่สุด กระสวยอวกาศ Atlantis ก็ถูกยิงขึ้นจากฐานปล่อย ณ Kennedy Space Center แล้วเพื่อปฏิบัติภารกิจ STS-135 ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของโครงการกระสวยอวกาศของ NASA
ชั่วขณะแห่งประวัติศาสตร์ที่เครื่องยนต์เชื้อเพลิงของ Atlantis ถูกจุด คือ เวลา 11:29 น. ตามเวลาท้องถิ่น (หรือ 22:29 น. ตามเวลาประเทศไทย) ช้ากว่าเวลาตามกำหนดการไปเล็กน้อย เนื่องจากติดขัดที่ต้องตรวจสอบแขนท่อเชื้อเพลิงออกซิเจนอีกรอบ
ภารกิจครั้งนี้จะกินเวลา 12 วัน สัมภาระที่ขนขึ้นไปด้วยส่วนใหญ่ก็เป็นอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ นอกนั้นก็เป็นพวกอะไหล่และเสบียงที่จะต้องเอาไปส่งให้กับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
ที่มา - NASA | https://jusci.net/node/1938 | Atlantis ขึ้นบินแล้ว เที่ยวบินสุดท้ายแห่งตำนานกระสวยอวกาศ NASA |
หลังจากกระสวยอวกาศ Atlantis ถูกยิงขึ้นจากฐานปล่อยแล้ว เจ้าหน้าที่บนฝั่งภาคพื้นส่วนใหญ่ก็คงไปฉลองลั้นลากันตามประสา แต่ภารกิจ STS-135 ของลูกเรือ Atlantis เพิ่งจะเริ่มต้น นอกจากงานขนส่งเสบียง, ซ่อมสถานีอวกาศ, ติดตั้งส่วนประกอบเพิ่ม ซึ่งกึ่งๆ จะเป็นงานประจำไปแล้ว (ในรอบนี้ ส่วนที่ขนขึ้นไปติดตั้งเพิ่มคือ Raffaello Multipurpose Logistics Module ของ Italian Space Agency) นักบินอวกาศและเจ้าหน้าที่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ยังมีการทดลองที่ต้องทำดังนี้
(การทดลองด้านล่างนี้ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจาก International Space Station Research Project Office และ Space Biosciences Division ของ Ames)
การทดลองควบคุมหุ่นยนต์ดาวเทียมด้วยโทรศัพท์มือถือ - อันนี้จะเป็นการทดสอบหุ่นยนต์ดาวเทียมที่มีชื่อว่า Synchronized Position Hold, Engage, Reorient, Experimental Satellites (SPHERES) ซึ่งควบคุมจากระยะไกลด้วยโทรศัพท์มือถือ Nexus S ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android (เอ้า! สาวกหุ่นเขียวเฮ ได้ออกอวกาศอีกแล้ว) หน้าที่ของ SPHERES คือการสำรวจ, ถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอในจุดที่มนุษย์ไม่สะดวกเข้าไป
การทดลองการสร้างเนื้อเยื่อปิดแผลในสภาพไร้น้ำหนัก - นักวิทยาศาสตร์อยากรู้ว่าสเต็มเซลล์จะแบ่งตัวให้กำเนิดเซลล์ผิวหนังในสภาพไร้น้ำหนักได้หรือไม่? และเป็นอย่างไร? เซลล์ที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นชุด Cell Culture Module (CCM) ที่พัฒนาโดย Tissue Genesis Inc. หากการทดลองนี้ให้ผลน่าพึงพอใจ ต่อไปเราก็อาจมีเทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับรักษาบาดแผลในอวกาศหรือผู้บาดเจ็บในสถานที่อันตรายบางจุดบนโลกได้
การทดลองยาแก้การสูญเสียกระดูกขณะอาศัยในอวกาศ - ซึ่งในขั้นนี้จะทดลองกับหนูก่อน ในอนาคตมนุษย์ที่ต้องเดินทางหรืออาศัยในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลานาน (หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องจริงๆ ก็ต้องพูดว่า "สภาวะที่มีแรงดึงดูดน้อย") ก็คงจะได้ใช้ การทดลองนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายที่มาก ได้แก่ Ames, BioServe Space Technologies, มหาวิทยาลัยโคโลราโด, และ Amgen Inc.
การทดลอง Micro-2A - ศึกษาการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิด biofilm ในอวกาศ ซึ่งสร้างปัญหาให้กับตัวยานอวกาศและสุขภาพของนักบินอวกาศพอสมควร นักวิทยาศาสตร์กำลังคิดวิธีแก้ปัญหาโดยจ้องหาทางใช้ยาปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
การทดลอง Micro-4 - ศึกษาการเจริญเติบโตและการปรับตัวของเซลล์ยีสต์ในสภาวะไร้น้ำหนัก นักชีววิทยาก็แบบนี้แหละ พอจะศึกษาอะไรที่มันเกี่ยวกับเซลล์ยูคารีโอต (เซลล์ที่มีนิวเคลียส) แต่ว่าคิดอะไรไม่ออก ก็เอายีสต์ไว้ก่อน เพราะเป็นตัวที่ง่ายที่สุดแล้ว
การทดลองสัญญาณทางเคมีของพืชในอวกาศ - นักวิทยาศาสตร์รู้อยู่แล้วว่าพืชสามารถรับรู้แรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนไปได้และจะส่งสัญญาณทางเคมีออกไปยังทุกเซลล์ทั่วลำต้น การทดลองนี้จะส่งภาพการเจริญของพืชแบบวินาทีต่อวินาทีส่งกลับมายังโลก ส่วนต้นพืชทดลองที่โตบนอวกาศจะถูกเก็บมาวิเคราะห์ภายหลังที่ห้องปฏิบัติการบนโลก นี่เป็นการปูทางอนาคตกสิกรรมเพื่อเลี้ยงชีพในการเดินทางข้ามอวกาศของมนุษยชาติ
Ultrasound-2 - อันนี้ไม่เชิงเป็นการทดลองเท่าไร แต่เป็นการอัพเกรดเครื่องอัลตร้าซาวนด์ตัวเก่าที่ใช้มานาน 10 ปีแล้ว เครื่องอัลตร้าซาวนด์ตัวใหม่นี้ก็เหมือนๆ กับเครื่องอัลตร้าซาวนด์ที่ใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป แต่ได้รับการดัดแปลงและทดสอบโดย Ames จุดประสงค์เพื่อติดตามตรวจสอบสุขภาพของนักบินอวกาศนั่นเอง
การทดลอง Forward Osmosis Bag (FOB) - อันนี้เป็นการทดสอบอุปกรณ์ผลิตน้ำดื่มที่ใช้หลักการออสโมซิส (หลักการออสโมซิสคือการแพร่ของโมเลกุลน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน) หากการทดลองนี้ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ อนาคต NASA (ด้วยความร่วมมือกับ Ames) ก็จะติดตั้งถุงออสโมซิสขนาดเล็กไว้ในชุดนักบินอวกาศสำหรับไว้กรองน้ำเสียจากร่างกาย เช่น เหงื่อหรือปัสสาวะ เป็นต้น ให้กลายมาเป็นน้ำดื่มที่ใสสะอาดบริสุทธิ์
ที่มา - PhysOrg
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภารกิจทดสอบที่ลูกเรือ Atlantis ต้องทำ นั่นคือภารกิจ Robotic Refueling Mission ซึ่งเป็นการทดสอบการเติมเชื้อเพลิงให้กับดาวเทียมโดยใช้หุ่นยนต์
ที่มา - The Register | https://jusci.net/node/1939 | การทดลองในภารกิจสุดท้ายของ Atlantis |
เรื่องการใช้ภาษาและคำศัพท์ในข่าวของ Jusci.net โดย terminus
หมายเหตุ: สิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้เป็นการแถลงจากผม (username:terminus) แต่เพียงผู้เดียว ความรับผิดชอบใดๆ เนื่องจากบทความนี้จึงไม่มีส่วนผูกมัดกับเว็บไซต์ Jusci.net และสมาชิกท่านอื่นทั้งสิ้น
...ถึงผู้อ่าน Jusci.net ทุกท่าน
"การใช้ภาษาให้ถูกต้อง" คือสิ่งที่ผมยอมรับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสาร เพราะมีแต่เพียงการใช้ภาษาที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ตรงกันเท่านั้น จึงจะทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเว็บไซต์ Jusci.net ที่นำเสนอข่าวคราวและบทความวิชาการจึงยิ่งต้องระมัดระวังในการใช้ภาษาให้ถูกต้องที่สุด
อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่าการนำเสนอข่าวในทางวิทยาการและเทคโนโลยีนั้นย่อมเลี่ยงการใช้ศัพท์ต่างประเทศไม่ได้ (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) ดังนั้นการอิงกับศัพท์บัญญัติราชบัญฑิตยสถานอย่าง "ตายตัว" จึงส่งผลให้ทั้งผู้เขียนและผู้อ่านมีข้อจำกัดในการสื่อสาร ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของผมตั้งแต่ต้น
ประกอบกับข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ที่ "ราชบัณฑิตยสถาน'บัญญัติศัพท์ใหม่เพิ่ม" และส่วนหนึ่งในนั้นเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี ทำให้ผมได้ทบทวนความคิดและพบข้อเท็จจริงที่ว่า "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานหลายคำเป็นคำที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง" เป็นไปได้ว่าคงจะมีเพียงคนในราชบัณฑิตยสถานไม่กี่คนคิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สาขาอันเกี่ยวเนื่องกับศัพท์นั้นๆ
ดังนั้น ผมจึงขอให้สมาชิกและผู้อ่านข่าวใน Jusci.net ที่เขียนโดยตัวผม (username:terminus) รับทราบไว้ ณ ที่นี้ว่า
ผมจะเขียนข่าวด้วยภาษาและคำศัพท์ที่ผมคิดว่า "ถูกต้อง, เป็นที่ใช้กันแพร่หลาย, และสามารถสื่อสารให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจได้" (ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามที่ปรากฏอยู่ในหลักการเขียนข่าวเบื้องต้นของ Jusci.net) โดยไม่อิงกับศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานอย่างตายตัว คำไหนที่เป็นศัพท์เฉพาะ ผมจะใช้คำทับศัพท์หรือเขียนเป็นภาษาต่างประเทศไปเลย
หากมีท่านใดเห็นว่าการใช้ภาษาหรือคำศัพท์ของผมบกพร่องทางการสื่อสารในข่าวหรือบทความใด ท่านสามารถทักท้วงและเสนอข้อแก้ไขได้ทันทีในช่อง comment ใต้ข่าวเรื่องนั้นๆ แต่ผมจะขอสงวนสิทธิ์ไม่แก้ไขตามคำเสนอนั้นและไม่ตอบความเห็นในกรณีที่ท่านยกศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานขึ้นมาอ้างอิงโดยมิได้มีเหตุผลอื่นมาประกอบ
ทั้งสองข้อนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นหลักที่ผมใช้ในการเขียนข่าวที่นี่อยู่แล้ว หลายคนคงทราบดี ผมเพียงแต่ขอใช้โอกาสนี้ในการประกาศให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่ผมจะได้ไม่ต้องตอบข้อสงสัยลักษณะเดิมๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง
ป.ล. ผมอุตส่าห์รอโอกาสนี้และเรียบเรียงเหตุผลตั้งนาน ดังนั้นหากใครอยากจะเถียงด้วยประเด็นแค่ว่า "ราชบัณฑิตยสถานคือหน่วยงานกลางทางราชการที่เราคนไทยต้องยึดถือ" ก็ขอให้ทำใจไว้ว่าผมอาจจะไม่ว่างมาตอบความเห็นคุณ
ผลการวิจัยทุกวันนี้เป็นวิทยาศาสตร์ชนิดใดครับ › | https://jusci.net/node/1940 | เรื่องการใช้ภาษาและคำศัพท์ในข่าวโดย terminus |
เนื่องในโอกาสที่โครงการกระสวยอวกาศของ NASA ใกล้จะจบสิ้นลงเต็มทีแล้ว เว็บไซต์ Popular Science จึงได้รวบรวมเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาขึ้นมาสำหรับโครงการกระสวยอวกาศและกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่ชาวบ้านตาดำๆ อย่างพวกเราได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ร่วมไปด้วย
สูตรอาหารเสริมสำหรับเด็ก: อาจจะฟังแล้วไม่น่าเชื่อเท่าไรที่เทคโนโลยีอวกาศของ NASA กลายมาเป็นอาหารเด็ก แต่ว่า 95% ของอาหารเสริมสำหรับเด็กที่วางขายในสหรัฐอเมริกาล้วนได้อานิสงส์จากโครงการพัฒนาอาหารสำหรับนักบินอวกาศซึ่งใช้สาหร่ายมาทำหน้าที่สังเคราะห์สารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์
ยางรถสุดถึก: หนึ่งในบริษัทที่ NASA มาขอใช้บริการอยู่เรื่อยๆ คือ "Goodyear" ผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลก ตัวอย่างเช่น ยางแบบ spring-loaded ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ NASA ขอให้ Goodyear ออกแบบสำหรับยานสำรวจบนพื้นผิวดาวเคราะห์ เป็นต้น ส่วนทาง Goodyear เองก็ได้เอาประโยชน์จากความรู้ในเทคโนโลยีวัสดุของ NASA มาใส่ในยางของตัวเองด้วยเช่นกัน
ปั๊มหัวใจเทียมขนาดเล็กพิเศษ: ดร. Michael DeBakey ผู้ล่วงลับ ได้ออกแบบปั๊มสำหรับระบบเชื้อเพลิงในกระสวยอวกาศ ปั๊มแบบพิเศษนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ไร้รอยต่อ ทำให้มันเหมาะสมมากสำหรับนำมาทำเป็นปั๊มหัวใจเทียม โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีขนาดทรวงอกไม่ใหญ่ นับจนถึงวันนี้การออกแบบของ ดร. Michael DeBakey ได้ช่วยชีวิตคนไปแล้วกว่า 200 ชีวิต
อวนจับปลาทูน่า: เพื่อความปลอดภัยในการทำภารกิจในอวกาศ NASA ต้องการตาข่ายนิรภัยที่ช่วยยึดโยงนักบินอวกาศ และงานนี้ก็ตกเป็นของบริษัท West Coast Netting ซึ่งรับหน้าที่หาวัสดุและออกแบบการถักเส้นใย เส้นใยที่ West Coast Netting ประดิษฐ์ขึ้นมามีคุณสมบัติทนน้ำ ทนไฟ ทนรังสีอัลตราไวโอเลต เหนียวทนทานแม้ยืดเป็นเส้นเล็กๆ ต่อมาบริษัทเห็นว่าคุณสมบัติเหล่านี้เหมาะมากสำหรับการทำประมง โดยเฉพาะการจับปลาน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ฯลฯ (เส้นใยนี่จมน้ำได้เร็วกว่าเส้นใยทั่วไปด้วย) เลยทำเป็นอวนออกมาขายในชื่อ "Hyperester net"
อุปกรณ์ตัดโลหะของหน่วยกู้ภัย: ขณะที่กระสวยอวกาศทยานขึ้นสู่วงโคจรนั้น จะต้องมีการปลดท่อนจรวดเชื้อเพลิงที่ใช้หมดแล้วทิ้ง เทคโนโลยีที่ใช้ในการ "ตัด" ส่วนเชื่อมต่อระหว่างกระสวยอวกาศกับจรวดได้ถูกย่อส่วนลงมาไว้ใช้ตัดตัวถังรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อช่วยชีวิตผู้ประสบภัย เครื่องมือตัดพิเศษนี้จะใช้แรงขับเคลื่อนจากการจุดระเบิดภายใน ทำให้หน่วยกู้ภัยไม่ต้องคอยต่อสายไฟฟ้าระโยงระยางให้วุ่นวาย
ซอฟท์แวร์สำหรับปรับภาพวิดีโอให้นิ่ง (Video Stabilization Software): ภาพวิดีโอที่สั่นไหวไปมานั้นนอกจากจะทำให้มึนหัวแล้ว ยังสร้างภาระให้กับเจ้าหน้าที่ของ NASA มาก เพราะพวกเขาจะต้องวิเคราะห์ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ในขณะที่จรวดปล่อยขึ้น แม้ว่าเครื่องยนต์รอบข้างจะสั่นแค่ไหน หรือว่าจุดนั้นจะมืดแค่ไหน วิดีโอที่ออกมาก็จะต้องนิ่งและชัดเจน สิ่งที่มาช่วย NASA ก็คือซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ ผมคงไม่ต้องบอกนะว่าซอฟท์แวร์ปรับภาพวิดีโอให้นิ่งใช้กันแพร่หลายขนาดไหน ขนาด YouTube ยังมีเลย
น้ำมันหล่อลื่นแบบย่อยสลายทางชีวภาพได้: Kennedy Space Center ที่ NASA ใช้ยิงกระสวยอวกาศนั้นอยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนั้นการใช้น้ำมันหล่อลื่นก็ต้องเลือกใช้เฉพาะสารที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทที่รับงาน NASA ในคราวนี้ คือ Sun Coast Chemicals และต่อมาสูตรน้ำมันหล่อลื่นที่กระสวยอวกาศใช้ก็มาโผล่อยู่บนชั้นขายของในชื่อ "X-1R Crawler Track Lube" ซึ่งคนทั่วไปสามารถจับจ่ายเอามาใช้สอยได้
ฉนวนความร้อนสำหรับนักซิ่ง NASCAR: สภาพอากาศบนวงโคจรนั้นเลวร้ายมาก เอาแค่ความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงก็แย่พอแล้ว ดังนั้น NASA จึงต้องการฉนวนความร้อนที่เก็บและกันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนแบบเส้นใยแก้วที่ใช้กันทั่วไป สุดท้ายพระเอกที่เข้ามาช่วย NASA ก็คือ "Aerogel" ซึ่งในปัจจุบันกลายมาเป็นเทคโนโลยีฉนวนความร้อนสำหรับรถแข่ง NASCAR ที่ช่วยไม่ให้คนขับโดนย่างสุกไปซะก่อนจะถึงเส้นชัย
กล้องวิเคราะห์เพลิงไหม้: เนื่องจากขณะยิงจรวดขึ้นจากฐาน จะมีควันไอน้ำเกิดขึ้นบดบังทัศนวิสัยไปจนหมด NASA จึงมีเทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดที่ไว้ใช้ถ่ายภาพวิเคราะห์การจุดระเบิดของเชื้อเพลิง นักดับเพลิงเองก็เจอปัญหาเดียวกับ NASA เช่นกัน ในที่ที่ควันเยอะๆ เช่น ไฟป่า เป็นต้น หากพวกเขาหาฐานไฟไม่เจอ ก็ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเข้าไปดับไฟไหม้เลย ดังนั้นเทคโนโลยีจาก NASA จึงมีประโยชน์ต่องานและชีวิตของพวกเขามาก
การรักษาโรคกระดูกพรุน: ในสภาวะไร้น้ำหนัก ร่างกายจะสูญเสียแคลเซียมไปเรื่อยๆ ทำให้มวลกระดูกในร่างกายลดลง อาการคล้ายกันนี้เกิดขึ้นได้เหมือนกันกับผู้สูงอายุบนพื้นโลก (โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน) เทคโนโลยีของ NASA ช่วยฉุดความเจริญทางการแพทย์เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีการตรวจสอบติดตามมวลกระดูกและวิธีรักษา เช่น การให้นักบินอวกาศออกกำลังกายทุกวัน, การขึ้นไปยืนบนแผ่นจานสั่นเพื่อกระตุ้นการเก็บรักษาแคลเซียม, หรือแม้แต่การทดลองยา (ภารกิจครั้งสุดท้าย Atlantis ก็มีการทดลองยาแก้การสูญเสียกระดูกกับหนูทดลองด้วย)
ที่มา - Popular Science | https://jusci.net/node/1941 | 10 เทคโนโลยีกระสวยอวกาศที่มาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเรา |
จับพลังงานจากคลื่นในอากาศ หมายความว่า ที่อีกด้านของกระดาษคลื่นจะจางลงด้วยใช้มั้ยครับ (ผมไม่รู้ว่าอะไรจะเปลี่ยนบ้าง amplitude, frequency, phase, etc.)
งั้นอีกหน่อยถ้ามีใช้กันทุกที่ อุปกรณ์อย่างโทรทัศน์หนวดกุ้งหรือโทรศัพท์ก็สื่อสารยากขึ้นด้วยสิครับ | https://jusci.net/node/1942 | นักวิจัยสร้างเทคโนโลยีเก็บเกี่ยวพลังงานจาก อากาศ ด้วย กระดาษ |
ผู้ป่วยมะเร็งอายุ 36 ปีได้รับการปลูกถ่ายหลอดลม (windpipe) ใหม่ที่สร้างขึ้นจากสเต็มเซลล์ นับเป็นการปลูกถ่ายอวัยวะที่สร้างขึ้นจากการสังเคราะห์ครั้งแรกของโลก
ท่อลมสังเคราะห์ได้จากการถ่ายภาพสามมิติของท่อลมของคนไข้เองแล้วทำต้นแบบด้วยแก้ว จากนั้นจึงนำแก้วต้นแบบไปแช่ในสารละลายที่ประกอบด้วยสเต็มเซลล์ของคนไข้เอง เนื้อเยื่อจะเกาะตัวตามแก้วต้นแบบในสองวัน จากนั้นจึงสามารถนำท่อลมสังเคราะห์นี้ไปปลูกถ่ายสู่คนไข้
การผ่าตัดครั้งนี้ดำเนินการที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Karolinska ในกรุงสต็อกโฮล์ม และนำทีมผ่าตัดโดยศาสตราจารย์ Paolo Macchiarini จากอิตาลี ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดปลูกถ่ายหลอดลม แต่การผ่าตัดก่อนหน้านี้ทั้งหมดเป็นการปลูกถ่ายจากผู้บริจาค
อวัยวะที่ได้จากการสังเคราะห์มีข้อดีหลายประการ แต่ที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยไม่ต้องรอคิวผู้บริจาคอวัยวะ และอวัยวะที่ได้นั้นเป็นเซลล์ของคนไข้เองทำให้ไม่ต้องกินยากดภูมิเพื่อให้ร่างกายไม่ต่อต้านอวัยวะใหม่
ผู้ป่วยในเคสนี้คือ Andemariam Teklesenbet Beyene ยังคงอ่อนแออยู่หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายมาแล้วหนึ่งเดือน แต่ร่างกายของเขาก็ยังไม่มีการต่อต้านอวัยวะใหม่แต่อย่างใด
ทีมงานระบุว่ามีอวัยวะอื่นๆ อีกจำนวนมากที่สามารถสังเคราะห์อวัยวะได้ในแบบเดียวกันนี้
ที่มา - BBC | https://jusci.net/node/1943 | แพทย์สวีเดนปลูกถ่ายอวัยวะสังเคราะห์สำเร็จ |
ทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่นที่นำโดย Shinichiro Wada แห่ง Tohoku University รู้สึกประหลาดใจมากกับผลการทดลองของพวกเขาที่พบว่าหอยทากสามารถรอดชีวิตได้หลังจากที่โดนนกกินเข้าไปทั้งตัว
หอยทากที่ Shinichiro Wada ใช้ในการทดลอง คือ หอยทากบก Tornatellides boeningi ซึ่งพบได้ทั่วไปบนเกาะ Ogasawara ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว นักวิจัยได้ป้อนหอยทากบกจำนวน 174 ตัวให้แก่นกสองชนิด ได้แก่ นกแว่นตาขาวญี่ปุ่น (Japanese white-eye, Zosterops japonicus) และนกปรอดหูสีน้ำตาล (brown-eared bulbul, Hypsipetes amaurotis)
ปรากฏว่าหอยทาก 14.3% สามารถรอดชีวิตผ่านทางเดินอาหารของนกแว่นตาขาวญี่ปุ่น ในขณะที่มี 16.4% รอดผ่านนกปรอดหูสีน้ำตาล โดยพวกหอยทากที่รอดชีวิตเหล่านี้ก็ถูกขับถ่ายออกมาปนกับอุจจาระของนกที่กินมันเข้าไปนั่นเอง
ที่น่าแปลกที่สุด คือ มีหอยทากตัวหนึ่งไม่เพียงแต่รอดชีวิตแบบไม่มีรอยขีดข่วนใดๆ เท่านั้น มันยังออกลูกหลังจากที่หลุดออกมากับกองอุจจาระนกด้วย (ผมไม่รู้ว่ามันตั้งท้องก่อนโดนกิน หรือ มันผสมพันธุ์กันในท้องนก หรือ มันออกลูกแบบไม่ต้องผสมพันธุ์? บังเอิญว่าผมไม่เชื่ยวชาญเรื่องหอยสักเท่าไร)
นักวิจัยเชื่อว่านกที่เป็นผู้ล่าของหอยทากน่าจะมีส่วนไม่มากก็น้อยในการกระจายตัวของประชากรหอยทากด้วยวิธีพิลึกกึกกือแบบนี้ ซึ่งจะว่าไปก็คล้ายกับการที่นกช่วยกระจายเมล็ดพืชด้วยการขับถ่ายออกมากับอุจจาระ
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1944 | หอยทากสุดเจ๋ง...โดนนกกินแต่รอด |
สมัยก่อนเวลาที่นักวิทยาศาสตร์อยากจะทำการทดลองเกี่ยวกับกระบวนเมตาบอลิซึมของสารพิษในตับของมนุษย์ ก็จะใช้วิธีฉีดเซลล์ตับมนุษย์เข้าไปยังหนูที่มีตับหายไปบางส่วน ทิ้งไว้ให้ผ่านไปเป็นเดือนๆ ตับหนูก็จะซ่อมตัวเองโดยมีเซลล์ตับของมนุษย์ปนเข้าไปด้วย จุดด้อยของเทคนิคนี้ คือ เราควบคุมไม่ได้ว่าจะสัดส่วนของเซลล์ตับมนุษย์ในตับหนูจะมีมากน้อยแค่ไหน ผลการทดลองจึงสรุปไม่ได้ว่าเป็นกระบวนการเมตาบอลิซึมของตับมนุษย์หรือตับหนู
เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยที่นำโดย Sangeeta Bhatia แห่ง Massachusetts Institute of Technology ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ในการปลูกถ่ายตับมนุษย์ลงไปในหนูทดลอง ซึ่งเจ๋งกว่าวิธีเดิมมากมาย
วิธีของ Sangeeta Bhatia เริ่มจากการสร้างตับมนุษย์ขนาดย่อส่วนในห้องปฏิบัติการจากเซลล์ตับมนุษย์ (hepatocytes), เซลล์ fibroblast ของหนู, และเซลล์เยื่อบุชั้นในของตับมนุษย์ (liver endothelial cells) ตับมนุษย์ที่เตรียมได้จากวิธีนี้มีขนาดความยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร นักวิจัยจะเอาตับย่อส่วนปลูกถ่ายลงไปในตัวหนูทดลอง
จากการทดสอบกับสารเคมีหลายชนิด ผลปรากฏว่าตับมนุษย์ย่อส่วนในหนูทดลองมีกระบวนการเมตาบอลิซึมเหมือนกับที่เกิดในตับของมนุษย์จริงๆ และให้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการย่อยสลายสารเคมี (metabloites) ออกมาเหมือนกันด้วย
นอกจากจะได้ผลการทดลองที่เหมือนกับตับมนุษย์แล้ว เทคนิคตับๆ แบบใหม่นี้มีข้อได้เปรียบตรงที่ใช้เวลาในการเตรียมตับเพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้น นั่นก็หมายความว่าต่อไปนักวิทยาศาสตร์ก็จะวิจัยเรื่องตับๆ กันได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น
ที่มา - Nature News | https://jusci.net/node/1945 | หนูตับคน |
อ่านหัวข่าวแล้วอย่าเพิ่งงงนะครับ ที่ว่า 1 ขวบก็คือ 1 ขวบนับตามเวลาของดาวเนปจูน นั่นคือเนปจูนโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 164.79 ปี!
ดาวเนปจูนถูกค้นพบผ่านการคำนวณวงโคจรของดาวยูเรนัส และยืนยันด้วยหลักฐานทางคณิตศาสตร์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 1846 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Urbain Le Verrier
ถ้าเอาวันที่ 23 กันยายน 1846 เป็นวันเกิดของดาวเนปจูน (ต่อชาวโลก) แล้วบวกด้วย 164.79 ปี จะได้ว่าเนปจูนมีอายุ 1 ขวบเมื่อวานนี้ (12 กรกฎาคม 2011) พอดี
เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดให้เนปจูน ก็ขอปิดท้ายด้วยวิดีโอแสดงภาพดาวเนปจูนจากยานอวกาศ Voyager 2 ซึ่งเป็นยานอวกาศลำแรกและลำเดียวที่บุกประชิดตัวดาวเนปจูนเมื่อปี 1989
ที่มา - ReadWriteWeb | https://jusci.net/node/1946 | สุขสันต์วันเกิดดาวเนปจูนครบ 1 ขวบ |
เรามักจะคิดว่าพวกหนุ่มออฟฟิศที่ทำตัวเจ้าชู้ไล่จีบสาวๆ ได้ทุกวี่ทุกวันเป็นบุคคลที่มีความสุขในการทำงาน (อย่างน้อยก็มีความสุขที่ได้มาบริษัท) แต่จากการวิจัยสำรวจโดย Chadi Moussa และ Adrian Banks แห่ง University of Surrey ความจริงกับสิ่งที่เราเข้าใจนั้นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
นักวิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 21-68 ปี จำนวน 201 คน ตอบคำถามเพื่อวัดระดับพฤติกรรมเจ้าชู้ในที่ทำงาน, ความพึงพอใจในการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน, และบุคลิกภาพการทำงาน หลังจากการวิเคราะห์ผลสำรวจเรียบร้อยแล้ว ผลสรุปได้ว่าผู้ชายที่มีพฤติกรรมเจ้าชู้ในที่ทำงานคือกลุ่มที่มีความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ
Chadi Moussa ให้ความเห็นถึงพฤติกรรมเจ้าชู้ในที่ทำงานว่าอาจจะเป็นกิจกรรมที่ผู้ชายทำแก้เครียดหรือแก้เบื่อจากงานประจำวันอันน่าเบื่อหน่าย เพราะอย่างน้อยการหว่านจีบสาวๆ ก็สร้างความสุขให้กับชีวิตได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเจ้าชู้ในที่ทำงานของผู้หญิงไม่แสดงความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ (หรือไม่พอใจ) ในหน้าที่การงานแต่อย่างใด
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/1947 | ผู้ชายลั้นล้าคือพวกที่ไม่มีความสุขในที่ทำงาน |
ทุกวันนี้หลายคนคงจะหันมาอ่านข่าวหรือหนังสือบนสมาร์ทโฟนแทนสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นกระดาษกันมากขึ้น แต่งานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าการอ่านตัวหนังสือบนสมาร์ทโฟนทำให้เราต้องเพ่งตัวหนังสือในระยะที่สั้นกว่าการอ่านหนังสือบนกระดาษ
นักวิจัยได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 คนมาแสดงการอ่านหนังสือและเว็บเพจบนสมาร์ทโฟน นักวิจัยจะวัด "ระยะการทำงาน" (working distance) ซึ่งเป็นระยะทางระหว่างดวงตากับตัวหนังสือที่ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างสะดวกและเป็นธรรมชาติที่สุด
ผลปรากฏว่า ระยะการทำงานของการอ่านข้อความอักษรบนสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 36 ซม. ส่วนระยะการทำงานของการอ่านเว็บเพจบนสมาร์ทโฟนนั้นยิ่งสั้นเข้าไปอีก คืออยู่ที่ 32 ซม. ทั้งสองระยะนี้สั้นกว่าระยะการทำงานของการอ่านหนังสือบนกระดาษปกติ (40 ซม.) อย่างชัดเจน
การที่เราต้องเพ่งอ่านหนังสือในระยะที่สั้นกว่าเดิมส่งผลให้ดวงตาต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะกล้ามเนื้อและประสาทตาต้องปรับระยะโฟกัสและมุมในการมองเห็นให้เข้ากับระยะทางที่เปลี่ยนแปลงไป นี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามึนหัวเวลาอ่านอะไรจากหน้าจอสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานานๆ
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1948 | สมาร์ทโฟนทำให้เราต้องจ้องตัวหนังสือใกล้ขึ้น |
มีความเชื่อดั่งเดิมที่ว่า นิ้วเราจะเหี่ยวเมื่อโดนน้ำเพราะว่ามันดูดน้ำเอาไว้ แต่ Mark Changizi ไม่ได้คิดเช่นนั้น เค้าตั้งสมมุติฐานว่า การที่นิ้วของเราเหี่ยวเมื่อโดนน้ำนั้นมันมีเหตุผลอื่นนอกจากความเชื่อดั่งเดิม
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 30 แล้วว่าถ้าระบบประสาทภายในนิ้วนั้นถูกทำลายอาการนิ้วเหี่ยวนี้จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผิวหนังบริเวณนิ้วถูกควบคุมโดยระบบประสาทที่อยู่บริเวณนิ้ว
จากการค้นพบข้างต้น Changizi จึงเชื่อว่าการที่นิ้วเหี่ยวนั้นมีหน้าที่ของมัน ซึ่งเขาได้ตั้งสมมุติฐานว่าอาการนิ้วเหี่ยวนั้นเป็นการปรับตัวของร่างกายของมนุษย์ ซึ่งอาจจะรวมถึงสัตว์ประเภทลิงอื่นๆ ด้วย การปรับตัวในลักษณะนี้เพื่อให้เราสามารถหยิบจับอะไรได้สะดวกเมื่อมือเปียก สภาพของนิ้วจะเปลี่ยนไปเหมือนกับลายดอกยางของยางรถยนต์ โดยร่องที่เกิดจากอาการนิ้วเหี่ยวนั้นจะช่วยให้น้ำไหลออกจากนิ้วเมื่อเรากดนิ้วไปที่ผิวสัมผัสที่เปียก ซึ่งปรากฎการณ์นี้จะช่วยให้นิ้วสามารถสัมผัสกับพื้นผิวได้มากขึ้น (แทนที่จะสัมผัสผ่านน้ำ) และจะช่วยให้หยิบจับได้ดีขึ้น
ที่มา - Nature News ผ่านทาง Discover Magazine Blog
ขอแปลตามข้อความใน Discover Magazine Blog นะครับ อ่านใน Nature News แล้วยาวมาก หรือท่านใดสนใจงานวิจัยชิ้นนี้สามารถติดตามได้ทางเอกสารอ้างอิง (Reference) ของบทความครับ
ปิดท้ายด้วยรูปจาก Discover Magazine Blog ครับ | https://jusci.net/node/1949 | นิ้วเหี่ยวเมื่อโดนน้ำ..มีเหตุผล |
เพชรที่ต้องใช้ในงานวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีผิวที่เรียบมากในระดับไมโครหรือนาโน การเตรียมเพชรที่เรียบขนาดนี้จะใช้แสงเลเซอร์ยิงเจียระไน แต่ถึงจะใช้แสงเลเซอร์แล้ว บางทีเพชรที่ได้ก็ยังไม่เรียบโดนใจนักวิทยาศาสตร์อยู่ดี
ทีมนักวิจัยที่นำโดย Rich Mildren แห่ง Macquarie University ในออสเตรเลีย ค้นพบโดยบังเอิญว่าแสง UV สามารถทำให้อะตอมคาร์บอนหลุดออกจากเพชรได้อย่างนุ่มนวลและปล่อยเพชรพื้นผิวเรียบๆ ไว้ด้านหลัง
ในทีแรก Rich Mildren ต้องการจะสร้างเครื่องกำเนิดเลเซอร์ที่ปล่อยแสง UV (ultraviolet) ซึ่งถ้าพูดกันในแง่ดี เขาก็ทำได้นั่นแหละ แต่ว่าเครื่องของเขาทำงานได้แค่ 10 นาทีแล้วก็ดับ เมื่อเขาและทีมของเขาตรวจเพชรที่ใช้ในเครื่องกำเนิดเลเซอร์อย่างละเอียด ก็สังเกตพบว่าแสง UV ที่เปล่งออกมา 10 นาทีมีผลทำให้อะตอมคาร์บอนบนเม็ดเพชรหลุดออกไป เกิดเป็นหลุมเล็กๆ บนเพชร
เพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ทีมนักวิจัยจึงเปลี่ยนงานมาวัดอัตราปริมาณอะตอมคาร์บอนที่หลุดออกไปเมื่อเจอแสง UV ที่ความเข้มต่างๆ จนในที่สุดก็สรุปได้ว่าอัตราการหลุดของอะตอมคาร์บอนเพิ่มตามความเข้มของแสง UV เป็นเชิงเส้น
Rich Mildren สันนิษฐานว่าโฟตอนแสง UV น่าจะไปกระตุ้นอะตอมคาร์บอนทำให้พันธะที่เชื่อมระหว่างคาร์บอน-คาร์บอนในเพชรอ่อนลง เปิดโอกาสให้คาร์บอนกับออกซิเจนบนผิวของเพชรทำปฏิกิริยากันเป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) แล้วระเหิดออกไป พวกเขาเรียกกระบวนการนี้ว่า "desorption" ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการเจียระไนโดยแสงเลเซอร์ที่เรียกว่า "ablation" ที่ใช้แสงเลเซอร์เผาคาร์บอนให้เหี้ยนเป็นแถบๆ
กระบวนการ desorption นั้นนุ่มนวลมาก แสง UV ที่ความเข้มระดับหลอดไฟเมอร์คิวรี่ยังต้องใช้เวลาถึง 1,000 ปี จึงจะทำให้มวลเพชรหายไปได้ 1 ไมโครกรัม (0.000001 กรัม) ข้อดีของมันคือนักวิทยาศาสตร์สามารถค่อยๆ เอาอะตอมคาร์บอนออกทีละเล็กละน้อย ทำให้เพชรที่ผ่านกระบวนการ desorption มีพื้นผิวเรียบสุดๆ เหมาะสำหรับเอาไปใช้ในงานวิจัยที่ต้องการความละเอียดสูงๆ เช่น งานด้าน quantum communication เป็นต้น (งานวิจัยด้าน quantum communication จำเป็นต้องควบคุมการสะท้อนของโฟตอนแบบอนุภาคต่ออนุภาค ความขรุขระแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้โฟตอนกระเจิงหนีไปหมดได้)
ที่มา - Nature News | https://jusci.net/node/1950 | แสง UV กัดเพชรได้ |
เพลี้ยหอยปุยฝ้าย (cottony cushion scale insect, Icerya purchasi) เป็นแมลงที่เป็นกะเทย (hermaphrodite) นั่นคือ มีทั้งไข่และสเปิร์มในตัว เพลี้ยที่เป็นตัวผู้หรือตัวเมียแท้ๆ นั้นหายากมาก
ด้วยความสงสัยว่าทำไมเพลี้ยหอยปุยฝ้ายตัวผู้ถึงได้หายไปจากประชากร Laura Ross แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดจึงทำการตรวจวิเคราะห์เนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ของเพลี้ยหอยกะเทย และก็ได้พบว่าแท้จริงแล้วเพลี้ยหอยกะเทยก็คือเพลี้ยหอยตัวเมียที่มีเนื้อเยื่อสร้างสเปิร์มของตัวผู้อาศัยอยู่แบบปรสิต เพลี้ยหอยที่เกิดใหม่ทุกตัว (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวเมียทั้งหมด) จะถูกเนื่อเยื่อปรสิตเข้าไปสิงสู่ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว
เธอเชื่อว่าเนื้อเยื่อสร้างสเปิร์มนี้คงจะเป็นของเพลี้ยตัวผู้ที่วิวัฒนาการมาจนกลายเป็นปรสิตที่แพร่ไปในประชากรเพลี้ยหอยตัวเมียจากแม่สู่ลูก ในตอนต้นของวิวัฒนาการ เพลี้ยหอยตัวเมียก็คงจะเสียประโยชน์ไปบ้าง แต่พอเชื้อปรสิตตัวผู้ระบาดไปทั่วแล้ว แรงผลักดันของวิวัฒนาการก็จะหันไปเข้าข้างเพลี้ยหอยตัวเมียที่มีปรสิตตัวผู้ เพราะการผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่มาจากสายเลือดเดียวกันย่อมจะทำให้ยีนของตัวเองถูกส่งผ่านไปยังรุ่นต่อไปได้มากกว่า (ว่ากันตามเหตุผลทางเทคนิค เนื้อเยื่อตัวผู้ที่อยู่ในเพลี้ยหอยตัวเมียก็คือ "เชื้อพ่อ" ของตัวเมียตัวนั้นๆ นั่นเอง)
ด้วยเหตุผลข้างต้น เพลี้ยหอยปุยฝ้ายจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นกะเทยกันเสียทั้งหมด ตัวผู้แท้และตัวเมียแท้ก็ค่อยๆ หายไปตามแรงผลักดันของวิวัฒนาการ แต่ในนานๆ ครั้ง เราก็จะเห็นว่ามีตัวผู้โผล่ขึ้นมาในประชากรได้เหมือนกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะศึกษาต่อไปว่าตัวผู้เหล่านี้มาจากไหน และส่งผลอย่างไรต่อวิวัฒนาการ
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1951 | เพลี้ยกะเทยมีเชื้อตัวพ่อสิงสู่อยู่ |
ข้อมูลพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ถูกเก็บอยู่ในรูปของรหัสเบส 3 ตัวอักษรบนสาย DNA หรือ RNA ที่เรียกกันว่า "codon" โดยแต่ละ codon ก็จะแทนความหมายถึงกรดอะมิโนตามธรรมชาติทั้ง 20 ตัว ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตก็ถูกบงการโดยโปรตีนที่ถอดรหัสมาจากรหัสเหล่านี้
ในทุกวันนี้ สิ่งที่พันธุวิศวกรรมทำก็เพียงแค่ตัดต่อหรือเพิ่มลดยีนเท่านั้น การแปลรหัสยังคงอยู่บนพื้นฐานตามธรรมชาติ แต่ทีมวิจัยที่นำโดย Farren Isaacs แห่ง Yale University ได้คิดค้นเทคนิคใหม่ในการ "แฮ็ก" รหัสแห่งชีวิตที่เปิดช่องทางให้การแปลรหัสรูปแบบใหม่และอาจจะนำไปสู่การผลิตโปรตีนจากกรดอะมิโนสังเคราะห์ที่ไม่มีอยู่ในธรรมชาติ
กรดอะมิโนหนึ่งตัวอาจแทนได้ด้วยรหัส codon หลายรหัส ซึ่งเราเรียกลักษณะแบบนี้ว่า "codon redundancy" (กรุณาอ่านบทความไขปริศนากำเนิดรหัสแห่งชีวิตเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น) สิ่งที่ทีมของ Farren Isaacs ทำก็คือ การเอารหัสที่แทนความหมายเดียวกันออกไปซักหนึ่งตัว
ฟังแล้วอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ผมยืนยันว่าการเอารหัส codon ตัวหนึ่งออกจากทั้งจีโนมนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย!
ดังนั้นเพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้นหน่อย ทีมของ Farren Isaacs จึงเลือกที่จะเอารหัส TAG ซึ่งเป็น "รหัสหยุด" (stop codon) ออก เพราะรหัสหยุดไม่ได้มีความหมายแทนกรดอะมิโนตัวใด แต่ใช้เป็นสัญญาณให้รู้ว่าการสร้างโปรตีนสิ้นสุดตรงจุดนั้นจุดนี้ รหัสหยุดยังมีอีกสองตัวที่ทำหน้าที่เดียวกัน คือ TAA และ TGA ดังนั้นงานของนักวิจัยก็คือหาทางเอา TAA เข้าไปแทน TAG ให้หมด (ผมไม่แน่ใจว่าทำไมพวกเขาเลือกเอา TAA เข้าแทนนะครับ แต่เดาว่ามันคงสังเคราะห์ง่ายกว่า)
ขั้นตอนแรก พวกเขาใช้กระแสไฟฟ้าเปิดช่องบนเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย E. coli แล้วยัด DNA ที่มีรหัส TAA กับเอนไซม์ของไวรัสเข้าไป เพื่อให้ TAA เข้าแทนที่ TAG หลายจุดพร้อมกัน เทคนิคนี้เรียกว่า multiplex automated genome engineering (MAGE) ซึ่งเพิ่งถูกคิดค้นในปี 2009 นี้เอง
จากนั้นก็นำแบคทีเรียที่รอดชีวิตมาคัดเลือกเอาแต่สายพันธุ์ที่มี TAA เข้าไปแทน TAG อย่างต่ำ 10 จุด (เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ TAA จะเข้าไปแทน TAG ทั้ง 314 จุดบนจีโนมของ E. coli ในคราวเดียว) ทีมของพวกเขาคัดแบคทีเรียในขั้นแรกนี้มาได้ 32 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็มีจุดที่ถูกแทนที่แตกต่างกันไป
ขั้นตอนที่สอง นักวิจัยเอาแบคทีเรียที่เลือกไว้แล้วมาจับคู่ผสมพันธุ์กันในแบบที่เรียกว่า conjugation เพื่อให้แบคทีเรียสองสายพันธุ์แลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างกัน เมื่อปล่อยให้พวกแบคทีเรียผสมกันไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะได้แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ตำแหน่ง TAG เกือบทุกตำแหน่งถูกแทนที่ด้วย TAA เทคนิคใหม่ล่าสุดนี้ Farren Isaacs ตั้งชื่อว่า conjugative assembly genome engineering (CAGE)
เพียงเท่านี้ เราก็จะได้แบคทีเรีย E. coli ที่ไม่มีรหัส TAG บนจีโนม ส่งผลให้หน้าที่ของ TAG บนแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ว่างไปโดยปริยาย ฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมอบหมายงานใหม่ให้กับรหัส TAG ได้ เช่น อาจจะ "แก้โปรแกรม" ของแบคทีเรียให้ TAG มีความหมายแทนกรดอะมิโนสังเคราะห์สักตัว (ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถทำเรื่องดังกล่าวได้แล้ว ทุกวันนี้ก็คือรอหาช่องให้มีรหัสว่างๆ มารับงานไปนี่แหละ)
เทคนิคของทีม Farren Isaacs ใช้เวลาเพียง 5 สัปดาห์ในการทำให้ TAG ตกงาน ซึ่งจะว่าไปก็ต้องนับว่าเร็วกว่าการสร้างจีโนมทั้งอันขึ้นมาใหม่อยู่มาก แถมยังเปลืองเงินน้อยกว่าด้วย
แผนการในอนาคตของ Farren Isaacs คือการปลดตำแหน่งรหัสของกรดอะมิโนอื่นๆ ที่มีรหัสอีกตัว (หรือมากกว่า) ทำหน้าที่แทนกันได้ ตอนนี้เป้าหมายในใจของทีม Farren Isaacs มีรหัสที่สมควรออกมาหางานใหม่ได้แล้วอีกประมาณ 12 รหัส
ที่มา - New Scientist, Ars Technica, Nature News, PhysOrg, MIT News, Popular Science
*หมายเหตุ: หลายคนอาจจะงงว่าทำไมบทความ genetic code ใน Wikipedia ถึงบอกว่า "รหัสหยุด" คือ UAA, UGA, UAG แต่ในข่าวนี้ผมกลับเขียนเป็น TAA, TGA, TAG
เหตุผลคือว่า รหัสที่เห็นใน Wikipedia เป็นลำดับเบสที่อยู่บน tRNA ส่วนรหัสในข่าวนี้เป็นเบสบน DNA และเนื่องจากสาย RNA มีแต่เบส uracil (U) ไม่มีเบส thymine (T) ดังนั้นจะเป็น U หรือ T ก็มีความหมายถึง codon เดียวกัน ต่างแค่ว่าอยู่บน tRNA หรือ DNA | https://jusci.net/node/1952 | นักวิทยาศาสตร์พบวิธีแฮ็กรหัสแห่งชีวิต |
ผมว่าก็มีประเด็นน่าสนใจนะ ลองดูกัน
เชิญทัศนาครับ
เรื่องการใช้ภาษาและคำศัพท์ในข่าวโดย terminus › | https://jusci.net/node/1953 | เก็บมาฝาก : บทวิเคราะห์เรื่องโรงไฟฟ้าจาก นสพ. ข่าวหุ้นครับ |
ตั้กแตนกิ่งไม้ในสกุล Timema หลายชนิดที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ตัวเต็มวัยตัวเมียจะออกลูกเป็นตัวเมียอีกตัวโดยไม่ต้องพึ่งการผสมจากสเปิร์ม ซึ่งในทางเทคนิคก็ไม่ต่างจากการโคลนนิงตัวเองเท่าไรนัก เพราะตัวลูกกับตัวแม่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกันเกือบทุกประการ
ทีมนักวิจัยที่นำโดย ดร. Tanja Schwander แห่ง Simon Fraser University ประเทศแคนาดา อยากรู้ว่าตั้กแตนกิ่งไม้ Timema spp. ที่โคลนนิงตัวเองเหล่านี้มีวิวัฒนาการมานานขนาดไหนแล้ว พวกเธอจึงวิเคราะห์ DNA ย้อนกลับไปยังจุดกำเนิดที่ตั้กแตนกิ่งไม้พวกนี้แยกออกมาเป็นสปีชีส์
ผลปรากฏว่าตั้กแตนกิ่งไม้ Timema 5 สปีชีส์มีวิวัฒนาการแยกตัวเองออกมาเป็นอิสระตั้งแต่เมื่อ 500,000 ปีที่แล้ว และอีก 2 สปีชีส์ คือ Timema tahoe และ Timema genevievae มีวิวัฒนาการย้อนกลับไปถึง 1 ล้านปี (เป็นอย่างต่ำ)
ตั้กแตนกิ่งไม้ Timema spp. เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ขัดกับความเชื่อเดิมๆ ที่คิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจะนำไปสู่ทางตันของวิวัฒนาการ เพราะสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศควรจะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อย (แหงแหละ ก็เล่นโคลนกันมาทั้งดุ้น) พวกมันจึงไม่ควรจะปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ และก็ควรจะสูญพันธุ์ไปซะ
สิ่งเดียวที่น่าจะเป็นข้อได้เปรียบของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ ความสามารถในการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ตั๊กแตนกิ่งไม้ที่โตเต็มที่สามารถออกลูกออกหลานได้เลย ไม่ต้องไปเที่ยวหา/นั่งคอยตัวผู้มาผสมพันธุ์ (ซึ่งในธรรมชาติของตั้กแตนกิ่งไม้สปีชีส์ดังกล่าวก็ไม่มีตัวผู้อยู่แล้ว)
หรือบางทีการที่ตั้กแตนกิ่งไม้โคลนนิงสามารถมีสายวิวัฒนาการเป็นล้านๆ ปีแบบนี้อาจจะมีความลับอะไรอยู่เบื้องหลังอีกก็ได้
ที่มา - BBC News
ภาพจาก BBC | https://jusci.net/node/1954 | ตั้กแตนกิ่งไม้ที่สืบพันธุ์ด้วยการโคลนนิงมาเป็นล้านปี |
แบบนี้ครับ (จากการ์ตูนเรื่อง Air Gear) | https://jusci.net/node/1955 | ความร้อนกว่าครึ่งหนึ่งของโลกมาจากพลังงานนิวเคลียร์ |
ภาพระยะชัดลึกต่ำๆ หรือทุกวันนี้อาจจะเรียกว่า "ชัดตื้น" ไปแล้ว กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ แต่ก่อนหน้านี้การทำภาพหลังละลายได้มากๆ นั้นต้องอาศัยเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างมากๆ แต่สิทธิบัตรใหม่ของซัมซุงกำลังจะทำให้เราได้เห็นภาพจากกล้องคอมแพคธรรมดาๆ แต่ให้ภาพ "หลังละลาย" ได้เท่าที่เราต้องการ
ก่อนหน้านี้จำลองภาพหลังละลายมักอาศัยการกำหนด "วง" ภาพที่จะชัดแล้วรอบๆ วงนั้นจะค่อยๆ เบลอขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแม้จะใช้งานได้ดีระดับหนึ่งแต่ภาพมักดูหลอกเพราะหลายครั้งวัตถุที่อยู่นอกวงนั้นมีระยะเดียวกับวัตถุในวง เช่นเมื่อเราเลือกภาพให้ชัดที่ใบหน้า แต่เสื้อผ้าและลำตัวของตัวแบบก็ควรจะชัดด้วยเหมือนกัน
สิทธิบัตรของซัมซุงเป็นการต่อยอดมาจากกล้องสามมิติ โดยเมื่อกล้องสามมิติสามารถจับระยะของวัตถุทุกชิ้นในภาพได้อยู่แล้ว เมื่อเอาข้อมูลนี้มารวมกับการใส่ฟิลเตอร์เบลอ โดยเพิ่มความเบลอตามระยะทางของภาพที่ต่างไปจากจุดโฟกัส ทีนี้ผู้ใช้ก็สามารถเลือกระดับความ "ละลาย" ได้ตามใจชอบ
อีกปีสองปีภาพจากกล้องคอมแพคราคาไม่กี่พันอาจจะไม่ต่างจากกล้องราคาแพงๆ ถ้าไม่ดูที่ความละเอียดสูงมากๆ
ที่มา - Photography Bay | https://jusci.net/node/1956 | Samsung จดสิทธิบัตรกล้องสองเลนส์สำหรับการทำภาพ "หลังละลาย" |
วันนี้ (20 ก.ค. 2011) เป็นวันครบรอบชาตกาล 189 ปี ของ Gregor Mendel บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ Google เลยจัดทำ Doodle พิเศษให้ครับ เป็นรูปถั่ว
รูปนี้ก็คือลักษณะหนึ่งในเจ็ดอย่างที่ Mendel ใช้ในการพิสูจน์สมมติฐาน ซึ่งก็คือสีของเมล็ดในฝักถั่ว (เหลืองกับเขียว)
ในรูปนี้มีที่ผิดอย่างเห็นได้ชัดคือ ถั่วที่ Mendel ใช้ในการทดลองนั้นมียีนสีเมล็ดสีเหลืองเป็นยีนเด่น (Y) และสีเขียวเป็นยีนด้อย (y) อ้างอิง:http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK22098/ แต่ในรูป Doodle จะเห็นว่าสีเขียวเป็นยีนเด่นไปเสียนี่ (สังเกตจากลูกรุ่น F1 มีสีเขียวหมด และ F2 มีอัตราส่วน สีเขียว 3:1 สีเหลือง)
‹ [ไม่รู้เขียนได้รึเปล่าแต่อยากเขียน] สารคดีคอลัมน์ "จะรู้ไปทำไม"
ทดสอบ EzMath › | https://jusci.net/node/1958 | Google ปลูกถั่ว ครบรอบวันเกิดเมนเดล |
ดวงจันทร์พลูโตดวงแรกที่ถูกค้นพบคือ Charon ในปี 1978 (และเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของพลูโตด้วย) ต่อมาในปี 2005 ก็พบดวงจันทร์อีกสองดวง คือ Nix และ Hydra
ล่าสุดปี 2011 กล้อง Hubble Space Telescope ก็ถ่ายภาพที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นดวงจันทร์ดวงที่สี่ของพลูโต
ดวงจันทร์ที่เพิ่งค้นพบนี้ถูกตั้งชื่อเรียกไปพลางๆ ก่อนว่า "P4" มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 - 34 กิโลเมตร วงโคจรของ P4 อยู่ระหว่างวงโคจรของ Nix และ Hydra
ภาพแรกของ P4 ถูกถ่ายโดยกล้อง Wide Field Camera 3 ของ Hubble เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2011 ที่ผ่านมา ต่อมาก็ได้รับการยืนยันด้วยภาพอีกสองภาพที่ถ่ายในวันที่ 3 และ 18 กรกฎาคม 2011 อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์ของ NASA เชื่อว่า P4 น่าจะถูกถ่ายติดมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว เพียงแต่ว่าภาพในตอนนั้นยังไม่คมชัดมากพอ เป็นเพียงรอยเปื้อนที่ถูกมองข้ามไป
ที่มา - NASA
ภาพจากกล้อง Hubble Space Telescope ของ NASA
ภาพแสดงวงโคจรของดวงจันทร์ของพลูโต ภาพจาก NASA, ESA, and A. Feild (STScI) | https://jusci.net/node/1959 | นักดาราศาสตร์ NASA พบดวงจันทร์ดวงที่สี่ของพลูโต |
เมื่อตอนเช้าตรู่เวลา 5:57 น. ของวันที่ 21 กรกฎาคม 2011 ตามเวลา ณ Kennedy Space Center ในรัฐฟลอริด้า (16.57 น. ตามเวลาประเทศไทย) กระสวยอวกาศ Atlantis ก็ได้ร่อนลงจอดยังพื้นโลกโดยสวัสดิภาพ
ภารกิจ STS-135 ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของทั้งกระสวยอวกาศ Atlantis และของโครงการกระสวยอวกาศ NASA กินเวลาทั้งสิ้น 13 วัน
โครงการกระสวยอวกาศของ NASA เริ่มต้นเมื่อปี 1981 ตลอดระยะเวลา 30 ปีมานี้ NASA ได้ส่งกระสวยอวกาศขึ้นไปรวม 135 ภารกิจ มีนักบินและผู้โดยสารที่เคยขึ้นบินรวม 355 คน
ที่มา - Scientific American
ปิดด้วยบันทึกภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จาก Youtube Channel ของ NASA | https://jusci.net/node/1960 | กระสวยอวกาศ Atlantis กลับถึงพื้นโลก... สิ้นสุดโครงการกระสวยอวกาศของ NASA |
นักวิทยาศาสตร์ของ Fermi National Accelerator Laboratory หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Fermilab ได้รายงานการค้นพบอนุภาค baryon ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า \(\begin{align}
\Xi_{ b}^{0}
\end{align}
\) (อ่านว่า "neutral Xi-sub-b")
baryon คืออนุภาคระดับปรมาณูที่ประกอบด้วย quark สามตัว ซึ่งอันที่เรารู้จักกันดีก็ได้แก่ โปรตอน (ประกอบด้วย up quark 2 ตัว กับ down quark 1 ตัว) และนิวตรอน (down 2 ตัว กับ up 1 ตัว) ส่วน Ξb0 ที่เพิ่งค้นพบนี้ประกอบด้วย strange, up, และ bottom อย่างละตัว ทำให้มันมีมวลประมาณ 6 เท่าของมวลนิวตรอนหรือโปรตอน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์การชนกันของโปรตอนและแอนติโปรตอนเกือบ 500,000 ล้านเหตุการณ์ในเครื่องเร่งอนุภาค Tevatron นักวิทยาศาสตร์ทีม CDF ของ Fermilab พบร่องรอยหลักฐานของการเกิด Ξb0 ถึง 25 อัน! เหตุผลที่ Ξb0 ทิ้งหลักฐานไว้น้อยขนาดนี้ก็เป็นเพราะว่ามันสลายตัวเป็นอนุภาคอื่นในเกือบจะทันทีหลังจากการเกิด
Ξb0 อยู่ในกลุ่ม baryon ที่มี spin J=1/2 และมี bottom quark 1 ตัว อนุภาคเกือบทั้งหมดในกลุ่มนี้ถูกค้นพบโดย Fermilab ได้แก่ Σb- (ปี 2006), Σb+ (ปี 2006), Ξb- (ปี 2007), Ωb- (ปี 2009) เหลือก็แต่ Λb ที่ค้นพบโดย CERN และ Σb0 ที่ยังไม่มีการค้นพบ
แม้ว่าทฤษฎี Standard Model จะทำนายถึงการมีอยู่ของ Ξb0 ไว้ก่อนหน้าการค้นพบนานแล้ว แต่การได้สังเกตอนุภาคตัวเป็นๆ ก็มีผลดีต่อการทำความเข้าใจฟิสิกส์ของอนุภาคและแรงต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้นักฟิสิกส์เอาไปปรับปรุงทฤษฎีต่อไป
นักวิจัย Fermilab ส่งการค้นพบนี้เข้าตีพิมพ์ที่วารสาร Physical Review Letters
ที่มา - PhysOrg, Live Science
ภาพจาก PhysOrg. เครดิตภาพ Fermilab | https://jusci.net/node/1961 | Fermilab ค้นพบญาติอีกตัวของนิวตรอน |
พระจันทร์เต็มดวงถูกผูกเข้ากับความเชื่อของสิ่งอันตรายต่างๆ มากมาย (ที่แพร่หลายสุดก็น่าจะเป็นเรื่องของมนุษย์หมาป่า) และจากการวิจัยล่าสุดในทวีปแอฟริกาได้พิสูจน์แล้วว่าพระจันทร์เต็มดวงคือสัญญาณอันตรายจริงๆ
ไม่ใช่จากมนุษย์หมาป่า แต่เป็นสิงโต!
ทีมวิจัยที่นำโดย Craig Packer แห่ง University of Minnesota ได้เก็บข้อมูลเหตุการณ์ที่สิงโตเข้าทำร้ายมนุษย์ในประเทศแทนซาเนีย และแยกวิเคราะห์ตามช่วงเวลาในแต่ละวัน, เดือน, ปี
ผลปรากฏว่าในจำนวนเหตุการณ์ 474 ครั้ง (เท่าที่ระบุเวลาได้แน่นอน) เวลาที่สิงโตเข้าทำร้ายคนมากที่สุดคือช่วง 18:00 ถึง 21:45 น. และความถี่ของเหตุการณ์ที่เกิดภายใน 10 วันหลังคีนพระจันทร์เต็มดวงก็มากกว่าช่วง 10 ก่อนคืนพระจันทร์เต็มดวงถึง 2-4 เท่า
Craig Packer สันนิษฐานว่าสาเหตุคงมาจากอุปนิสัยการล่าของสิงโตที่มักจะออกหากินในความมืด ในตอนเย็นของวันที่เป็นข้างแรม (วันหลังคืนพระจันทร์เต็มดวง) จะมีช่องว่างระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ตกและพระจันทร์ขึ้น ช่วงเวลาอันมืดมิดนี้เปิดโอกาสให้สิงโตออกมาล่าเก็บคนที่ยังอยู่นอกบ้าน ส่วนในคืนข้างขึ้น ช่องว่างที่ไม่มีพระจันทร์บนฟ้าคือช่วงก่อนรุ่งสางซึ่งยังไม่มีคนออกมาเพ่นพ่านนอกบ้านเยอะนัก นอกจากนี้ในฤดูฝนที่กลางคืนมักมีเมฆครึ้มบดบังแสงจันทร์ อัตราการถูกสิงโตทำร้ายก็พุ่งสูงขึ้นด้วย
บางทีนี่อาจเป็นหลักฐานยืนยันความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อลี้ลับก็ได้ ความฝังใจกลัวในอำนาจของพระจันทร์เต็มดวงอาจเป็นวิวัฒนาการทางพฤติกรรมที่ทำให้มนุษย์หลบเลี่ยงการถูกล่าโดยผู้ล่าตามธรรมชาติตั้งแต่ครั้งที่เผ่าพันธุ์ของเราเริ่มต้นชีวิตในทวีปแอฟริกา
ที่มา - Live Science, Science News | https://jusci.net/node/1962 | พระจันทร์เต็มดวงแล้ว โปรดระวัง...สิงโต |
อยู่ๆก็อยากเขียนขึ้นมาครับ ไม่รู้จะเอาลงบล็อกได้มั้ย เอาลงที่นี่ละกัน
ช่วงนี้อ่านวิกิเล่นๆ แล้วเจอหัวข้อที่ทำให้มีไฟอยากเขียนแปลขึ้นมา เลยเขียนแล้วอยากเอามาลงในเว็บที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
เรื่องก็คือ เรื่องของการกินขี้
มันก็ไม่ใช่เรื่องขี้ๆนะครับ
จริงๆแล้ว สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีการกินขี้มาตลอดด้วยสาเหตุต่างๆกัน ตามปกติก็จะมีการกินขี้ โดยพืช เห็ดรา และแมลงวัน
อันนั้นเป็นเรื่องขี้ๆที่เราคงรู้กันดี
อันที่จริงแล้ว ขี้ มีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหาร ที่เหลือจากการดูดซึมไม่หมดและต้องปล่อยออกมาก่อน โดยเฉพาะขี้ของสัตว์กินพืชส่วนใหญ่ ที่ขนาดว่ามีตั้งสี่กระเพาะ และยังเคี้ยวเอื้อง ก็ยังดูดสารอาหารออกมาไม่หมด
สัตว์ที่สามารถกินขี้ได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน นอกจากแมลงบางประเภทแล้ว ก็มี หมู สุดยอดสิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถกินได้ทุกอย่างที่มีสารอาหาร แม้แต่ขี้ของสัตว์ชนิดอื่นๆก็ยังกินได้อย่างไม่รังเกียจ
หมูในปัจจุบันก็ไม่ได้กินขี้มานานแล้ว แต่ในอดีต ประเทศจีนมีการเลี้ยงหมูไว้ใต้ห้องส้วม ให้มันกินทั้งข้าวและขี้
สัตว์ที่กินขี้เป็นอาหาร ก็ยังมีพวกสัตว์กินพืชขนาดเล็ก เช่น กระต่าย หนู คาปีบาร่า ซึ่งพิเศษขึ้นมาหน่อยนึง คือไม่ได้กินขี้ของสัตว์อื่น แต่กินขี้ของตัวเองเป็นอาหาร
สัตว์จำพวกนี้จะใช้การหมักในลำไส้ของตัวเอง ให้ออกมาเป็นขี้ที่กินได้
คือตอนกินพืชผักเข้าไป ไม่ได้สารอาหาร แต่ก็หมักให้จุลินทรีย์ย่อยสลายให้มีสารอาหาร แล้วพออึออกมา ก็กินเข้าไปอีกรอบนึง เพื่อดูดซึมสารอาหารจริงๆ
ลองจินตนาการว่าสัตว์เหล่านี้มีโรงงานผลิตโยเกิร์ตอัดเม็ดในตัว น่าจะทำให้รู้สึกดีขึ้น?
อย่า! อย่าคิดว่าเรื่องกินขี้นั้นไกลตัว สัตว์ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับเราที่สุด คือกอริลล่าและชิมแปนซี ก็มีการกินขี้ของตัวเองและเพื่อนพ้อง เป็นการเติมวิตามิน เหมือนเวลาเรากินพวกวิตามินอัดเม็ด
สัตว์อีกจำพวก ไม่ได้กินขี้เพื่อเป็นอาหาร แต่เพื่อให้กินอาหารได้
ช้าง แพนด้า โคอาล่า และฮิปโป ตอนเด็กๆ เมื่อเริ่มจะกินอาหารเองได้นอกจากนม แม่ของสัตว์พวกนี้จะต้องป้อนขี้ตัวเองให้กิน เพื่อถ่ายทอดจุลินทรีย์ในลำไส้ไปให้ลูกๆใช้ย่อยอาหาร
จำพวกสุดท้าย
แมว เป็นสัตว์ที่จะกินขี้ เวลาที่กลบไม่ได้ โดยเฉพาะอึของลูกเล็กๆ ที่คลอดไว้ในที่ๆไม่มีอะไรให้มากลบ ก็จะกินเข้าไปเลยเพื่อกำจัดร่องรอย
สุดยอดนักทำความสะอาดจริงๆ
และปิดท้ายดาวเด่นประจำวันนี้ คือ หมา ที่ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ ว่า มันกินขี้ทำไมวะ เพราะมันกินทั้งขี้สัตว์อื่น ทั้งขี้ตัวเอง และมันก็กินบ้างไม่กินบ้าง
บ้างก็ว่า มันกินเพื่อเข้าใจและแกะรอยเหยื่อที่กำลังจะล่า (แล้วมันกินขี้ตัวเองทำไม)
บ้างก็ว่า รสชาติมันเหมือนศพ ทำให้หมา ที่กินซากเน่าได้ มันเข้าใจผิด (สัตว์กินซากชนิดอื่นไม่เป็นกันนะ)
บ้างก็ว่า เวลาที่มันป่วย ท้องไส้ย่อยอาหารไม่ดี มันก็จะกินขี้ตัวเองซ้ำเหมือนที่กระต่ายเป็น (เข้าเค้า)
บ้างก็ว่า มันกินแล้วได้สารอาหาร เหมือนที่หมูกิน (มันก็ไม่ได้กินตลอด และไม่ได้กินทุกตัว)
บ้างก็ว่า มันกินแก้หิวไปงั้นแหละ (อืม...)
และอีกหลายๆสาเหตุที่ไม่รู้อันไหนจริงกันแน่
ในฐานะที่มนุษย์เรา ไม่ได้วิวัฒนาการให้กินขี้ เราจึงรู้สึกว่าขี้นั้นเหม็น สกปรก และมีพิษมากกว่าสารอาหาร
แต่ด้วยความอ่อนแอและมีระบบป้องกันพิษและเชื้อโรคอันแสนจะกากส์ ทำให้ไม่สามารถกินขี้ได้ กลับเอาการไม่มีความสามารถในการกินขี้มาบอกว่าตัวเองสะอาดซะงั้น
อันที่จริงแล้ว มนุษย์เราก็เคยกินขี้มาบ้างด้วยบางเหตุผล เช่นแพทย์ในสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ ก็จะชิมรสชาติของขี้เพื่อวิเคราะห์โรคของคนไข้ รวมไปถึงสัตว์แพทย์ และเกษตรกร ที่จะทำแบบเดียวกันกับปศุสัตว์ของตัวเอง หรือพรานก็จะชิมขี้ของสัตว์ที่เจอเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
ขี้ของสัตว์บางชนิดก็เคยถูกใช้เป็นยาแผนโบราณในบางอารยธรรม หรือในปัจจุบันเราก็มีกาแฟขี้ชะมด ที่กล่าวกันนว่าอร่อยที่สุดในโลก
ทั้งนี้
คอลัมน์นี้ก็ไม่ได้สนับสนุนให้ท่านขวนขวายไปหาขี้มากินแต่อย่างใด ด้วยความกากของร่างกายมนุษย์ อย่าทดลองกินโดยไม่ได้รับคำยืนยันจากแพทย์นะครับ ผมไม่รับผิดชอบให้หรอก
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย Wikipedia และการ์ตูนสัตวแพทย์ Wild Life กับ IWAMAL
‹ เรื่องการใช้ภาษาและคำศัพท์ในข่าวโดย terminus
Google ปลูกถั่ว ครบรอบวันเกิดเมนเดล › | https://jusci.net/node/1963 | [ไม่รู้เขียนได้รึเปล่าแต่อยากเขียน] สารคดีคอลัมน์ "จะรู้ไปทำไม" |
เทคโนโลยีลดความร้ายแรงจากการชนไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เราอาจจะเห็นรถยนต์หลายๆ รุ่นมีเซ็นเซอร์ด้านหน้าเพื่อลดความเร็วได้เองเมื่อตรวจพบวัตถุมาขวางรถ แต่โตโยต้าก็เปิดตัวการพัฒนาขั้นใหม่ที่สามารถ "หักหลบ" ได้เมื่อพบวัตถุมาขวางรถ
เทคโนโลยีนี้ทำให้โตโยต้าเข้าใกล้เทคโนโลยีควบคุมรถอัตโนมัติเข้าไปอีกขั้น แค่คงยอมรับได้ง่ายกว่าระบบควบคุมรถอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่กูเกิลกำลังพัฒนา และปัญหาทางด้านกฏหมายก็น่าจะน้อยกว่าเช่นกัน แต่อย่างนั้นเวลาใช้งานจริงก็คงมีประเด็นทางกฏหมายอีกพอสมควร
นอกจากเทคโนโลยีควบคุมพวงมาลัยแล้ว โตโยต้ายังมีเทคโนโลยีตรวจสอบการทำงานหัวใจของคนขับในกรณีที่คบขับหัวใจวายกลางคันรถจะหยุดเองได้
เป้าหมายสูงสุดของโตโยต้าคือการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการใช้รถให้เหลือศูนย์ แม้จะไม่สามารถวางกรอบเวลาได้ว่าจะทำได้ภายในช่วงเวลาใด
ที่มา - Yahoo! News | https://jusci.net/node/1964 | โตโยต้าโชว์เทคโนโลยีป้องกันการชนแบบใหม่ หักพวงมาลัยเองได้ |
นี่ก็ปลายเดือนกรกฎาคมแล้ว วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี) ก็ใกล้เข้ามาทุกที คนที่ชอบไปเดินงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์เตรียมตัวกันให้พร้อมได้แล้ว
งานที่ใหญ่ที่สุดคงไม่พ้น "มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2554" (National Science and Technology Fair 2011) ซึ่งมีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชน
ภายในงานมีกิจกรรมที่ให้ความรู้พร้อมความสนุกตื่นเต้นมากมาย ผมขอยกตัวอย่างมาจากเอกสารประชาสัมพันธ์สักส่วนหนึ่ง ได้แก่
เรียนรู้ภัยจากภาวะโลกร้อน
การทดลองทางเคมีแสนสนุก
ท่องโลกแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
มหัศจรรย์แห่งน้ำ
การสร้างมูลค่าจากขยะ
เกาะกระแสพลังงานทางเลือก
โลกดิจิตอล
ชมการประกวดแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ของเยาวชน
ค้นหาเส้นทางสู่การเป็นนักวิทย์ฯ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิทยาศาสตร์ตัวจริง
และอีกมากมาย
ผู้สนใจทุกท่านสามารถเข้าร่วม “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติประจำปี 2554” ได้ระหว่างวันที่ 6 – 21 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
(ยกเว้นวันที่ 9 สิงหาคม 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรม ราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน เข้าร่วมได้เฉพาะแขกรับเชิญ) เวลาที่สามารถเข้าชมได้คือ ตั้งแต่ 9:00 ถึง 20:00 น.
ค่าธรรมเนียมร่วมงาน = 0 บาท ฟรีโลดครับพี่น้อง!
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จาก เว็บไซต์หลักของมหกรรมฯ หรือติดต่อ 0-2577-9960 | https://jusci.net/node/1965 | [ประชาสัมพันธ์] งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2554 |
MUSC Open House เป็นงานใหญ่ที่สุดในรอบปีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่คณะวิทยาศาสตร์ฯ จะเปิดบ้านให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมอย่างใกล้ชิด
นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ แบบโหด มันส์ ฮา แล้ว ท่านจะได้เห็นว่า นักวิจัยเอาเงินภาษีไปถลุงเล่นกันอย่างไร นักวิจัยใช้ชีวิตกันอย่างไร เห็นกันชัดๆ แบบว่าสัมผัสประสบการณ์ตรงกันในห้องทดลองเลยทีเดียว (ห้องทดลองบางห้องอาจไม่เปิดนะครับ ส่วนห้องที่เปิดสังเกตไม่ยากเพราะจะมีคนไปเชิญท่านแบบแทบจะอุ้มกันเลย เอาว่ามีเปิดอย่างต่ำเป็น 100 ห้องแน่นอน เดินดูทั้งวันก็ไม่ครบ)
งาน MUSC Open House ครั้งที่ 19 จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554 เวลา 08:30 - 16:30 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2201-5031,32,73
งานนี้ไม่จำกัดอายุ เพศ วุฒิการศึกษาอะไรทั้งนั้น นักเรียน, นักศึกษา, คนทั่วไปผู้สนใจและรักในวิทยาศาสตร์สามารถมาร่วมได้หมด และที่สำคัญ ฟรี อีกแล้วครับท่าน (บางกิจกรรมมีแจกของรางวัลด้วยนะครับ แต่อย่าหวังของให้มาก นี่ไม่ใช่งานวันเด็ก)
สำหรับโรงเรียนที่จะจัดคณะครูอาจารย์-นักเรียนมาเยี่ยมชมงาน สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ Online Registration
รายละเอียดเพิ่มเติม - เว็บคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | https://jusci.net/node/1966 | [ประชาสัมพันธ์] งาน “MUSC Open House” ครั้งที่ 19: เปิดบ้านคณะวิทย์ฯ มหิดล |
จนถึงวันนี้ ชิ้นส่วนสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้โปร่งใส คือแบตเตอรี่ เพราะถ้าเอาแบตเตอรี่ Li-ion หรือ Li polymer แบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มาทำเป็นแผ่นให้บางจนใส มันก็จะไม่สามารถเก็บประจุได้มากพอใช้งาน
ทีมวิจัยที่นำโดย Yi Cui แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงออกแบบโครงสร้างแบตเตอรี่ Li-ion ขึ้นมาใหม่เพื่อให้สร้างแบตเตอรี่โปร่งใสที่ใช้งานได้จริง
เทคนิคที่ Yi Cui คือการทำร่องตามยาวขนาดเล็กบนแผ่นพลาสติกใสที่เอามาทำเป็นแกนแบตเตอรี่ ร่องขนาดนี้มีความกว้างเพียง 35 ไมครอนซึ่งเล็กเกินกว่าที่ตามนุษย์จะมองเห็นได้ (รายละเอียดเล็กที่สุดที่ตาเราแยกแยะออก คือ 50-100 ไมครอน) จากนั้นก็เติม lithium titanate เหลว (ขั้วลบ) และ lithium manganese oxide เหลว (ขั้วบวก) ให้เต็มร่อง กระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านระหว่างร่องขั้วลบและขั้วบวกไหลไปจนถึงแผ่นฟิล์มทองคำซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ตามการคาดการณ์ แบตเตอรี่แบบใหม่นี้สามารถทำให้โปร่งใสได้ถึง 50-80% โดยที่ยังเก็บประจุไฟฟ้าได้ประมาณครึ่งหนึ่งของแบตเตอรี่ก้อนทึบๆ ที่มีขนาดเท่ากัน
ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, หรือแม้แต่ iPad โปร่งแสงออกมาวางขายก็ได้
ที่มา - InnovationNewsDaily, New Scientist | https://jusci.net/node/1967 | แบตเตอรี่โปร่งใส |
สายพันธุ์เดียวเลยเหรอครับ?
แต่ชอบที่ว่าตอนอยู่ในท้องมีหนวดด้วย - -" | https://jusci.net/node/1968 | โลมามีสัมผัสรับรู้สนามไฟฟ้าได้? |
มีคำถามครับ... สิ่งที่ซับซ้อนขนาดนี้ มันมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนด้วยหรอครับ
เหมือนกับถามว่า ลูกอ๊อดกลายเป็นกบตอนไหน | https://jusci.net/node/1969 | ตำแหน่ง "นกตัวแรก" อาจต้องเปลี่ยนมือ? |
ทีมวิจัยที่นำโดย Eiluned Pearce แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้ทำการวัดขนาดกระโหลกศีรษะมนุษย์จากกลุ่มประชากรต่างๆ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของโพรงสมองกับระยะห่างของที่อยู่อาศัยจากเส้นศูนย์สูตร
กระโหลกที่ใช้การวิจัยนี้เป็นของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในดินแดนของอังกฤษ, ออสเตรเลีย, หมู่เกาะคานารี, จีน, ฝรั่งเศส, อินเดีย, เคนยา, ไมโครนีเซีย, สแกนดิเนเวีย, โซมาเลีย, อูกันดา, สหรัฐอเมริกา
ผลปรากฏว่าขนาดสมองของคนที่อาศัยอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรจะมีขนาดใหญ่กว่าคนที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
สมองที่ใหญ่กว่าไม่ได้แปลว่าคนในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาวฉลาดกว่าคนเขตศูนย์สูตรแต่อย่างใด นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันคือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างลดน้อยลง เพราะนอกจากขนาดสมองแล้ว โพรงนัยน์ตาของคนที่อาศัยอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรก็มีขนาดใหญ่กว่าคนในเขตศูนย์สูตรด้วย สมองส่วนที่ควบคุมการมองเห็นจึงต้องใหญ่ขึ้นตาม
ที่มา - Scientific American | https://jusci.net/node/1970 | ยิ่งอยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรมาก สมองยิ่งโต |
อยากเห็นภาพหมาเรื่องแสงจัง? | https://jusci.net/node/1971 | ทีมวิจัยเกาหลีใต้สร้าง "หมาเรืองแสง" สำเร็จแล้ว |
จากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 6 พันล้านคนในปี 1999 เป็น 7 พันล้านภายในสิ้นปี 2011 นี้ และถ้าอัตราการเพิ่มประชากรยังเป็นไปตามแบบจำลองของสหประชาชาติ ประชากรโลกจะพุ่งขึ้นถึง 9.3 พันล้านและ 10.1 พันล้านในปี 2050 และ 2100 ตามลำดับ
ศ. David Bloom แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนบทความชื่อเรื่อง "7 Billion and Counting" ลงในวารสาร Science ได้ระบุว่า 97% ของประชากร 2.3 พันล้านคนที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างปีปัจจุบันถึงปี 2050 จะเป็นเด็กที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา และ 49% ของจำนวนนี้จะเกิดในทวีปแอฟริกา ในขณะที่ประชากรในหมู่ประเทศเจริญแล้วจะคงที่
อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ยังไม่แน่นอนเพราะยังไม่มีใครทราบได้ว่าอนาคตอัตราการเกิดและการตายของประชากรมนุษย์จะเปลี่ยนไปหรือไม่ ดังนั้นหากประมาณการณ์กันเป็นช่วงแล้ว ในปี 2050 ประชากรโลกจะอยู่ที่ประมาณ 8.1-10.6 พันล้าน และในปี 2100 จะอยู่ที่ 6.2-15.8 พันล้าน
ถ้าไม่นับเรื่องปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ก็ต้องนับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่เผ่าพันธุ์ของเราประสบความสำเร็จในการขยายประชากรมากขนาดนี้
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1972 | ประชากรโลกจะแตะ 7 พันล้านสิ้นปีนี้ |
หลังจากสิ้นสุดโครงการกระสวยอวกาศ NASA ก็ต้องหาทางใหม่ในการส่งนักบินอวกาศและข้าวของขึ้นไปสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ซึ่งในระยะสั้น NASA ก็ใช้วิธี "จ้าง" บริษัทเอกชนให้มาช่วยขนของและโครงการแคปซูล Soyuz ของรัสเซียให้มาช่วยขนคน
หนึ่งในบริษัทเอกชนที่ NASA จ้าง คือ SpaceX ของ Elon Musk (ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
เมื่อปลายสัปดาห์นี้ SpaceX ได้ประกาศแล้วว่า ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2011 นี้ บริษัทจะยิงแคปซูลอวกาศ Dragon ขึ้นไปกับจรวด Falcon 9 จากฐานปล่อย ณ แหลม Canaveral รัฐฟลอริด้า โดยภารกิจครั้งนี้จะเป็นการส่งของขึ้นไปให้สถานีอวกาศนานาชาติ ISS ถือว่าเป็นการรวบภารกิจทดสอบครั้งที่สองและสามของโครงการแคปซูลอวกาศของ SpaceX เข้าไว้ด้วยกันรอบเดียวไปเลย (ภารกิจทดสอบครั้งแรกสำเร็จในเดือนธันวาคม ปี 2010)
หากภารกิจนี้สำเร็จด้วยดี SpaceX ก็จะได้ทำสัญญาว่าจ้างเต็มตัวกับ NASA ในการขนของ 12 รอบ รวมมูลค่าสัญญา 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
อีกบริษัทหนึ่งที่ NASA จ้างมาขนของให้ คือ Orbital Sciences Corp. ในรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งมีข่าวว่าจะยิงแคปซูลอวกาศ Cygnus ในปีหน้า (2012)
ส่วนทางออกในระยะยาวนั้น NASA ได้จ้างบริษัทเอกชน (อีกแล้ว) ให้ช่วยพัฒนาวิธีการส่งคนขึ้นไปกับแคปซูลอวกาศ ตอนนี้สัญญาว่าจ้างมีมูลค่า 269 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีบริษัท 4 บริษัทเข้าร่วม ได้แก่ SpaceX, Boeing Co., Sierra Nevada Corp., และ Blue Origin (บริษัทหน้าใหม่ที่ก่อตั้งโดย Jeff Bezos ซีอีโอคนปัจจุบันของ Amazon)
NASA หวังไว้ว่าค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปกับบริษัทเอกชนเหล่านี้จะคุ้มค่ามากกว่าในระยะยาว เพราะราคาที่ Soyuz เรียกมานั้นตก 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อนักบินอวกาศหนึ่งคน ซึ่งเป็นราคาที่ NASA เห็นว่าไม่ได้ต่างจากอัตราค่าใช้จ่ายของโครงการกระสวยอวกาศที่ผ่านมาเลย นอกจากนี้การเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนก้าวเข้ามามีบทบาทในโครงการอวกาศจะเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจท่องเที่ยวอวกาศเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วย
ที่มา - Reuters, Discovery News | https://jusci.net/node/1973 | อนาคตหลังยุคกระสวยอวกาศ: SpaceX จะยิงแคปซูลอวกาศไปส่งของให้ ISS เดือนพฤศจิกายนนี้ |
มันแน่อยู่แล้วครับ ใครหนอคิดได้
การล้างลำใส้ที่ดีที่สุด คือกินผักและผลไม้เยอะๆครับ
วิวัฒนาการของคน มันมีระบบกำจัดของเสียในร่างกายที่ดีโคตรๆอยู่แล้วครับ
ไม่งั้นคนสมัยก่อนคงตายไปกันหมดแล้วล่ะ | https://jusci.net/node/1974 | การล้างลำไส้ไม่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น (อาจกลับแย่ลงด้วย) |
โอวนายแน่มาก ! | https://jusci.net/node/1975 | ชายชาวสวีเดนถูกจับฐานพยายามสร้างเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ในห้องครัว |
เทคโนโลยีการทำวัสดุผ้าคลุมล่องหนหรือที่เรียกว่า "Metamaterials" ได้รับการพัฒนามาตลอดในช่วงนี้ แต่ว่า metamaterials ส่วนใหญ่ก็ทำได้แค่เพียงล่องหนในแสงอินฟราเรด หรืออันที่ใกล้เคียงความจริงขึ้นมาหน่อยก็ล่องหนได้ในช่วงสเปคตรัมของแสงที่มนุษย์มองเห็น (visible light) แต่จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นแสงโพลาไรซ์หรือไม่ก็ต้องส่องมาในมุมเฉพาะเท่านั้น
ทีมวิจัยที่นำโดย Majid Gharghi แห่ง University of California, Berkeley ได้สร้าง metamaterial ด้วยวิธีใหม่ที่สามารถล่องหนวัตถุได้ในทุกช่วงสเปคตรัมของแสงที่มองเห็นได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นแสงโพลาไรซ์
ผ้าคลุมล่องหนของ Majid Gharghi ทำจากแผ่นของซิลิกอนไนไตรด์เคลือบอยู่บนซิลิกอนออกไซด์ บนพื้นผิวจะมีลักษณะเป็นหลุมขนาดเล็กๆ ในระดับนาโนเมตรอยู่มากมาย หลุมเหล่านี้ถูกจัดวางในลักษณะที่จะทำให้แสงที่ตกกระทบหักเหไปจนเสมือนกับว่าแสงวิ่งผ่านไปเฉยๆ โดยไม่กระทบอะไรเลย ทำให้วัตถุอะไรก็ตามที่อยู่ข้างหลังแผ่นซิลิกอนไนไตรด์ "ล่องหน" เพราะไม่มีแสงสะท้อนวิ่งเข้าตาผู้สังเกต
แม้ว่าจะเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในสาขาวัสดุศาสตร์ แต่เราก็ไม่มีทางได้เห็นผ้าคลุมล่องหนนี้ในหนัง Harry Potter ภาคต่อไปแน่ๆ เพราะผ้าคลุมที่ Majid Gharghi สร้างขึ้นมาสามารถบังวัตถุที่มีขนาดเพียง 6,000 x 300 นาโนเมตรเท่านั้น (ประมาณขนาดเม็ดเลือดแดง) ซึ่งกว่าจะได้ขนาดเท่านี้ก็ยากเย็นแล้ว ผ้าคลุมล่องหนที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ เคยสร้างกันมาก็ไม่ได้บังของใหญ่โตกว่านี้สักเท่าไร แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเทคนิคที่ Majid Gharghi ใช้จะสามารถนำไปประยุกต์สร้างผ้าคลุมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ (คงพอบังเม็ดเลือดขาวมั้ง?)
นอกจากนี้ผ้าคลุมของ Majid Gharghi ยังใช้งานได้เพียงสองมิติเท่านั้น หมายความว่าต้องเป็นแสงที่อยู่ในระนาบ จึงจะล่องหน ถ้าดูในแง่นี้ก็ต้องถือว่าผลงานของ Majid Gharghi กลายเป็นการถดถอยเข้าคลอง จากที่คนอื่นทำได้สามมิติแล้ว ของใหม่ดันลดเหลือสองมิติซะได้
ที่มา - Live Science, Science News | https://jusci.net/node/1976 | ผ้าคลุมล่องหนอันแรกที่ครอบคลุมแสงที่มนุษย์มองเห็นได้อย่างแท้จริง |
Space Exploration Technologies หรือ SpaceX เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Elon Musk ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal ได้คุยกับ NASA ถึงอนาคตเรื่องการขนส่งคนขึ้นไปตั้งรกรากบนดาวอังคารในการประชุม NewSpace 2011 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
SpaceX เสนอว่าโครงการแคปซูลอวกาศ Dragon ของตัวเองและจรวด Falcon Heavy สามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมาระหว่างโลก-ดาวอังคารได้ หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ในอนาคตอันใกล้ การเดินทางไปดาวอังคารแต่ละรอบอาจมีค่าใช้จ่ายเพียงระดับร้อยล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น (ตอนนี้ตัวเลขค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับพันๆ ล้านหรือมากกว่า)
แม้จะวาดฝันไว้สวยหรู แต่ในตอนนี้จรวด Falcon Heavy สามารถบรรทุกระวางสิ่งของได้เพียง 12-15 เมตริกตัน ขณะที่การเดินทางไปดาวอังคารเพื่อตั้งรกรากนั้นจำเป็นต้องบรรทุกสิ่งของและเสบียงอย่างต่ำๆ ก็ 50 เมตริกตัน แปลว่า SpaceX เองก็ต้องทำการบ้านอีกเยอะพอสมควร
อย่างไรก็ตาม Elon Musk ผู้ก่อตั้งก็แสดงวิสัยทัศน์ไว้ในงาน American Institute of Aeronautics and Astronautics conference ที่ซานดิเอโกในสัปดาห์นี้ว่า มนุษย์ควรเริ่มพิจารณาถึงการเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนหลายดวงดาว (multi-planet species) ได้แล้ว มิฉะนั้นเราจะต้องรอจุดจบของมนุษยชาติอยู่บนดาวเคราะห์โลกไปอย่างนี้แหละ
"Ultimately, the thing that is super important in the grand scale of history is, are we on a path to becoming a multi-planet species or not? If we're not, that's not a very bright future. We'll just be hanging out on Earth until some eventual calamity claims us."
SpaceX มีแผนร่วมมือกับ NASA ในโครงการ "Red Dragon" เพื่อจุดประสงค์ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปใช้ชีวิต, สร้างฐานปฏิบัติการทดลอง, และค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร โครงการนี้คาดว่าจะเริ่มต้นในปี 2018 และใช้งบเริ่มต้น 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรืองบตลอดโครงการ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
และปลายเดือนพฤศจิกายน 2011 นี้ NASA เองก็มีแผนจะส่งหุ่นสำรวจตัวใหม่ที่ชื่อว่า "Curiosity" ขึ้นไปสู่อวกาศ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด Curiosity ก็จะได้วิ่งเล่นบนดาวอังคารในเดือนสิงหาคม ปี 2012
ใครที่อยากไปสัมผัสชีวิตบนดาวอังคาร ก็เตรียมเก็บเงินรอไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยครับ แค่หลักร้อยล้านเอง T_T
ที่มา - Discovery News, CNET News | https://jusci.net/node/1977 | SpaceX เสนอตัวรับจ้างขนส่งนักบินอวกาศตั้งฐานบนดาวอังคารในราคาถูก |
ทีมวิจัยที่นำโดย Barry Komisaruk แห่ง Rutgers University ได้ทดสอบกับอาสาสมัครหญิงวัย 23-56 ปี จำนวน 11 คน โดยจ้างให้พวกเธอเหล่านั้นมาโดนแตะๆ ที่อวัยวะต่างๆ ได้แก่ คลิตอริส (clitoris), ปากมดลูก (cervix), ช่องคลอด (vagina), และหัวนม (nipple) ในขณะเดียวกันนักวิจัยก็จะทำการวิเคราะห์การทำงานของสมองพวกเธอด้วยเทคนิคที่เรียกว่า functional magnetic resonance imaging (fMRI)
ผลปรากฏว่าการสัมผัสที่บริเวณคลิตอริส, ปากมดลูก, ช่องคลอด กระตุ้นสมองส่วนที่เรียกว่า "medial paracentral lobule" ซึ่งอยู่ตรงร่องตรงกลางระหว่างสมองซีกซ้ายและขวา โดยแต่ละอวัยวะก็กระตุ้นจุดเฉพาะใน medial paracentral lobule แตกต่างกันไป แม้ว่าจะมีการเหลื่อมล้ำกันบ้าง (ดูรูปข้างล่าง)
ส่วนการสัมผัสที่หัวนมนั้น นอกจากจะกระตุ้นสมองทั้งในส่วนที่รับสัมผัสบริเวณช่องอกแล้ว ยังไปจุดประกายสว่างวาบที่สมองส่วน medial paracentral lobule บริเวณเดียวกับส่วนที่ถูกกระตุ้นเมื่อโดนสัมผัสอวัยวะเพศอีกด้วย
Barry Komisaruk ให้ความเห็นกับผลการทดลองของตัวเองว่าอาจมีสาเหตุได้สองทาง คือ ในทางแรก การสัมผัสที่หัวนมกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน Oxytocin ซึ่งมีผลให้มดลูกเกิดการบีบตัว และการบีบตัวของมดลูกนี้เองที่ไปส่งผลให้อวัยวะเพศโดนกระตุ้นไปด้วย
หรืออีกทางหนึ่ง หัวนมอาจมีเส้นประสาทส่งตรงไปยังจุดนั้นที่ medial paracentral lobule เลย เพราะการทดลองก่อนหน้านี้กับผู้ชาย ก็พบว่า medial paracentral lobule ของผู้ชายบางคนถูกกระตุ้นขึ้นมาเมื่อโดนแตะหัวนมเช่นเดียวกัน (ในสมองผู้ชาย medial paracentral lobule ก็รับสัมผัสจากการแตะอวัยวะเพศเหมือนกับผู้หญิง)
การทดลองนี้บอกแค่ว่าการแตะหัวนมกระตุ้นสมองจุดเดียวกับอวัยวะเพศนะครับ ไม่ได้รับประกันว่าการแตะหัวนมกับการแตะอวัยวะเพศจะให้ความรู้สึกเหมือนกันหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องแยกย้ายไปทำการทดลองกันต่อเอาเอง
ที่มาภาพและข่าว - Live Science | https://jusci.net/node/1978 | สัมผัสที่หัวนมกระตุ้นสมองผู้หญิงส่วนเดียวกับการแตะที่อวัยวะเพศ [18+] |
นอกจากเรื่องปัญหากำเนิดดวงจันทร์แล้ว ปริศนาอันดับสองที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยเกี่ยวกับดวงจันทร์ก็คือความแตกต่างระหว่างพื้นผิวทั้งสองด้านของมัน ด้านที่หันเข้าหาโลกมีลักษณะค่อนข้างเรียบ ส่วนด้านที่หันออกจากโลกกลับมีภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสูง เปลือกพื้นผิวดวงจันทร์ (crust) ของด้านที่หันออกจากโลกก็หนากว่ามากด้วย โดยหนากว่าด้านที่หันเข้าหาโลกถึง 50 กิโลเมตร
Erik Asphaug และ Martin Jutzi แห่ง University of California, Santa Cruz เชื่อว่าพวกเขาทั้งสองมีแบบจำลองที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมดวงจันทร์ถึงได้มีรูปร่างแบบนั้น
พวกเขาทั้งสองตั้งสมมติฐานว่าตอนแรกเริ่มที่โลกเริ่มก่อกำเนิด มีอุกกาบาตขนาดประมาณดาวอังคารในปัจจุบันพุ่งเข้าชนโลก สะเก็ดจากการชนกระเด็นออกมาเป็นดาวบริวารโคจรอยู่รอบโลก พวกเขาสังเกตว่าการจำลองในคอมพิวเตอร์หลายครั้งให้ผลลัพธ์จากการชนออกมาเป็นดาวบริวารสองดวง ทั้งสองดวงโคจรรอบโลกอยู่ในวงโคจรเดียวกันด้วยความเร็วเกือบๆ จะเท่ากัน
หนึ่งในดาวบริวารนั้นจะต้องเป็นดวงจันทร์ที่เราเห็นกันในทุกวันนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนอีกดวงก็คือแฝดคนละฝาของดวงจันทร์ที่มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ประมาณสามเท่า และมีมวลน้อยกว่า 30 เท่า ตำแหน่งวงโคจรที่เสถียรสำหรับคู่แฝดดวงจันทร์ คือ โคจรวิ่งตามก้นกัน 60 องศา ส่วนแฝดคนไหนจะวิ่งนำหน้า คนไหนวิ่งตามหลัง อันนี้ไม่มีใครรู้
ในแบบจำลองที่ Erik Asphaug และ Martin Jutzi ทำขึ้นมาเฉพาะ ดาวบริวารของโลกทั้งสองโคจรอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์เป็นระยะเวลาหนึ่ง นานจนพอที่จะทำให้เปลือกพื้นผิวของทั้งสองแข็งตัวเย็นลงพอประมาณ ช่วงเวลาแห่งความสุขต้องจบลงเมื่อแรง tidal force จากแรงโน้มถ่วงของโลกผลักดาวบริวารคู่ให้ห่างออกจากโลกไปเรื่อยๆ พอถึงจุดหนึ่ง แรงโน้มถ่วงจากคนนอกอย่างดวงอาทิตย์ก็เริ่มมีอิทธิพลเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในสูงขึ้นจนคู่แฝดดวงจันทร์ไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของวงโคจรไว้ได้ พี่น้องจึงเซถลาเข้าปะทะกันอย่างจัง
แต่ว่าดาวบริวารทั้งคู่วิ่งไปในทางเดียวกัน การชนกันจึงไม่ได้วินาศสันตะโร ไม่เกิดเป็นหลุมเครเตอร์ ไม่มีการเสียดสีอย่างหนักจนเปลือกพื้นผิวหลอมละลาย จะว่าไปก็เหมือนกับการวิ่งไปแปะกันอย่างช้าๆ มากกว่า ความเร็วในการปะทะคงจะประมาณ 2 กิโลเมตรต่อวินาที กว่าจะชนกันเสร็จก็กินเวลาหลายชั่วโมง แบบจำลองคาดว่าน้องคนเล็กน่าจะเข้ากระแทกตรงด้านที่หันออกจากโลกในปัจจุบัน มวลทั้งหมดจึงกองไปแปะซ้อนทับอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ด้านนั้น
ในขณะเดียวกัน แม็กม่าบางส่วนที่ยังไม่ได้แข็งตัวก็ไหลทะลักมายังอีกด้านของดวงจันทร์พี่ใหญ่ ทำให้พื้นผิวด้านที่ใกล้โลกของดวงจันทร์ในปัจจุบันเต็มไปด้วยแร่ธาตุ potassium (K), rare-earth elements (REE) และ phosphorus (P) หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า "KREEP" ซึ่งแร่พวกนี้เป็นแร่ธาตุที่พบได้มากในแม็กม่านั่นเอง
แม้ว่าแบบจำลองจะฟังแล้วดูสวยงาม อธิบายทุกอย่างได้ครบถ้วน นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ชอบอกชอบใจกับแบบจำลองชิ้นนี้ของ Erik Asphaug และ Martin Jutzi แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังต้องหวังพึ่งหลักฐานสนับสนุนอีกหลายชิ้น หนึ่งในนั้นคือ ภารกิจ GRAIL ของ NASA ซึ่งมีแผนจะวัดสนามโน้มถ่วงของดวงจันทร์อย่างละเอียดและเอาโครงร่างสนามโน้มถ่วงนี้มาวิเคราะห์โครงสร้างภายในของดวงจันทร์ เมื่อวันนั้นมาถึง แบบจำลองนี้อาจจะรอดหรือดับก็ได้
ที่มา - New Scientist, Nature News, PhysOrg | https://jusci.net/node/1979 | กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว โลก (อาจ) เคยมีดวงจันทร์สองดวง |
เริ่มแล้วสินะ | https://jusci.net/node/1980 | เยอรมันเดินหน้าเลิกใช้ไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มการใช้ไฟฟ้าจากเขื่อน |
โบอิ้ง (Boeing) เป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้ามาร่วมโครงการพัฒนาขนส่งนักบินอวกาศกับ NASA โดยแคปซูลอวกาศที่โบอิ้งกำลังเร่งทำอยู่นั้นมีชื่อว่า "CST-100"
ก่อนหน้านี้ยังไม่แน่ชัดว่าโบอิ้งจะใช้จรวดรุ่นไหนพาแคปซูล CST-100 ขึ้นไปยังวงโคจร แต่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมานี้ โบอิ้งได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าแคปซูลอวกาศของบริษัทจะใช้จรวด Atlas V ของ United Launch Alliance (ULA) ในการเป็นยานโดยสารทัวร์อวกาศสาย "โลก-ISS" (ผมคิดว่าคงไม่มีการขายตั๋วยืนนะเพราะระยะทางค่อนข้างไกลทีเดียว)
โบอิ้งยอมรับว่าได้ชายตามองระบบจรวดอื่นอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น จรวด Delta IV ของ United Launch Alliance, จรวด Falcon 9 ของ SpaceX, และจรวด Liberty ที่เสนอโดย ATK และ Astrium ซึ่งตอนนี้ยังเป็นแค่แนวคิดอยู่เลย เป็นต้น แต่สุดท้าย โบอิ้งก็ตัดสินใจเลือก Atlas V เพราะว่าประทับใจในประสิทธิภาพการทำงานที่ผ่านการบินมาแล้วถึง 26 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2002
โบอิ้งคาดการณ์ว่า หาก NASA ไม่มีข้อขัดข้องอะไรเรื่องเงินทุน บริษัทก็จะสามารถปล่อยแคปซูล CST-100 ทดสอบได้ในปี 2015 การทดสอบสองครั้งแรกจะยังไม่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วย และครั้งที่สามจึงจะเป็นการทดสอบโดยสารนักบินอวกาศที่เป็นมนุษย์
United Launch Alliance เป็นบริษัทร่วมทุนของโบอิ้งและ Lockheed Martin (โถ ที่แท้ก็คนกันเอง แล้วจะมาชมกันเองเพื่อ?)
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1981 | อนาคตหลังยุคกระสวยอวกาศ (2): โบอิ้งประกาศเลือกจรวด Atlas V ขนคนให้ NASA |