content
stringlengths 2
11.3k
| url
stringlengths 26
27
| title
stringlengths 3
125
|
---|---|---|
เข้าไปอ่านในต้นฉบับเขาบอกชนตอนที่ขับโดยมนุษย์ครับงงเลย | https://jusci.net/node/1982 | รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติคันแรกของกูเกิล ชนซะแล้ว |
ถ้าไม่มีดวงจันทร์เราก็จะไม่มีข้างขึ้นข้างแรมสิเนี่ย | https://jusci.net/node/1983 | วิวัฒนาการของชีวิตบนโลกอาจไม่ต้องการดวงจันทร์ |
ถ้ามันตกมาบนโลกได้ ดาวในระบบสุริยะเองก็คงได้รับกันถ้วนหน้าด้วยล่ะมั้ง | https://jusci.net/node/1984 | นักวิทยาศาสตร์ NASA พบหลักฐานสนับสนุนว่าหน่วยประกอบ DNA มาจากนอกโลก |
Prion เป็นหน่วยโปรตีนที่พับตัวผิดรูปร่างและสามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยตัวเองด้วยการชักนำให้โปรตีนข้างๆ มันผิดรูปผิดร่างไปด้วย Prion เป็นสาเหตุของโรค เช่น mad cow disease (bovine spongiform encephalopathy) ในวัวควาย, scrapie ในแกะ, chronic wasting disease ในกวาง, และ Creutzfeldt-Jakob disease บางกลุ่มอาการในมนุษย์ เป็นต้น
ทีมวิจัยของ Zhijian Chen แห่ง Howard Hughes Medical Institute investigator ณ University of Texas Southwestern ค้นพบว่าในเซลล์มนุษย์ก็มี prion ...หรืออย่างน้อย "โปรตีนที่ขยายพันธุ์ตัวเองแบบ prion"... ที่ทำตัวดีมีประโยชน์อยู่ด้วย
โปรตีนที่ขยายตัวแบบ prion ในงานวิจัยนี้มีชื่อว่า MAVS (Mitochondrial Antiviral Signaling) ซึ่งปกติจะเกาะอยู่ทั่วไปตามเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรีย (โรงงานปั๊มพลังงานของเซลล์) ทีมนักวิจัยของ Zhijian Chen พบว่าเมื่อเซลล์โดนไวรัสบุกรุก MAVS บางตัวจะเริ่มบิดตัวผิดรูปร่างไป และชักนำให้ MAVS ข้างๆ ทยอยผิดรูปผิดร่างไปด้วยซึ่งเป็นวิธีแบบเดียวกับที่ prion ทำเป๊ะๆ ยกเว้นแค่ว่ามันไม่ได้ขยายพันธุ์แบบบ้าคลั่งเหมือน prion ที่ก่อให้เกิดโรค ในที่สุด MAVS ที่ผิดรูปผิดร่างก็จะเกาะรวมกันเป็นก้อนอยู่บนเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย ช่วยป้องกันการบุกโจมตีของไวรัส
เมื่อเอาสกัดส่วนประกอบของเซลล์มาทดสอบในหลอดทดลอง MAVS ก็ยังสามารถที่จะขยายพันธุ์แบบ prion ได้เมื่อพบสัญญาณจาก RNA ของไวรัส (Viral RNA)
นี่เป็นครั้งแรกที่พบว่าในเซลล์มนุษย์มีโปรตีนแบบ prion ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันระดับเซลล์
จะว่าไปงานวิจัยนี้สอนให้เรารู้ว่า "prion ก็เหมือนผู้ชาย แม้เกือบทั้งหมดจะเลว แต่ผู้ชายดีๆ ก็ยังมีอยู่จริง" (อย่างน้อยผมก็คิดว่ามีผมคนนึงแหละ หุๆๆ)
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/1985 | Prion ที่ดียังมีอยู่จริง |
ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาข่าว
เย็นนี้จะกลับไปกินหมึกกล้วย แฟนซื้อมาให้ :P | https://jusci.net/node/1986 | ปลาหมึกตัวเล็กสร้างอสุจิตัวโต |
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคิเมีย - Leukemia) เป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายจำนวนมากทั่วโลกโดยมีอัตราผู้เป็นโรคนี้ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 7.6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน แต่ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียได้เปิดเผยผลการทดลองใหม่ในมนุษย์ที่น่าจะเป็นหนทางใหม่ที่รักษาโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการที่ว่าคือการใช้เชื้อ HIV ที่ถูกดัดแปลงเป็นพิเศษเข้าไปดัดแปลงพันธุกรรมของเม็ดเลือดขาวให้มีจับเซลล์มะเร็งแล้วทำลาย พร้อมๆ กับเพิ่มความสามารถในการแบ่งตัวภายในร่างกายมนุษย์ได้เรื่อยๆ เมื่อได้เม็ดเลือดขาวที่มีคุณสมบัตินี้แล้ว แพทย์จึงฉีดเม็ดเลือดขาวเข้าสู่คนไข้
คนไข้จะเป็นไข้และมีอาการปวดขณะที่เม็ดเลือดขาวที่ถูกดัดแปลงนี้กำลังต่อสู้กับมะเร็ง แต่ผลข้างเคียงอื่นในตอนนี้ยังมีน้อยมาก
ผู้ป่วยที่เข้ารับการทดลองชุดแรกมีเพียง 3 คน แต่สองคนนั้นมะเร็งหายไปทั้งหมดและอีกคนหนึ่งปริมาณมะเร็งลดลงไป 70% น้ำหนักของคนไข้ทั้งสามลดลงจากเซลล์มะเร็งที่หายไปนับกิโลกรัมและไม่เพิ่มขึ้นหลังรับการรักษาไปแล้วหนึ่งปี โดยในตอนนี้การทดลองยังจำกัดอยู่ในมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ chroniclymphocytic leukemia (CLL) ซึ่งพบได้มากที่สุดเท่านั้น
งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ลง The New England Journal of Medicine (1, 2) ใครเรียนด้านอายุรกรรมอยู่อาจจะสนใจอ่านตัวงานวิจัยเพิ่มเติมกัน
ที่มา - MSNBC | https://jusci.net/node/1987 | หนทางใหม่ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว: สร้างเม็ดเลือดขาวพิเศษขึ้นมาสู้กับมะเร็ง |
น่ากลัวจัง อนาคต คนนำไปใช้ผิดๆ | https://jusci.net/node/1988 | ลายสักอิเล็กทรอนิกส์แนบวงจรติดกับผิวหนัง |
สสารมืด (dark matter) คือสสารที่นักฟิสิกส์ทำนายไว้ว่าต้องมีอยู่ แม้ว่าจะยังไม่มีการค้นพบก็ตาม เหตุผลที่นักฟิสิกส์เชื่อเช่นนั้นก็เพราะว่ากาแล็กซี่และกลุ่มของกาแล็กซี่หมุนกันเร็วเกินกว่าที่ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงทำนายไว้จากมวลของสสารที่ตรวจวัดได้ ดังนั้นตามจรรยาบรรณของนักวิทยาศาสตร์ที่ดี เมื่อความจริงไม่ตรงกับทฤษฎีของเราและเราไม่อยากเปลี่ยนทฤษฎี มันก็ต้องมีการดัดแปลงความจริงกันเล็กน้อย เป็นต้นว่าลองเพิ่มมวลของสสารมืดเข้าไปในสมการบ้างอะไรบ้าง (นี่ผมไม่ได้ประชดนักฟิสิกส์เลยนะ แค่พูดถึงการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จริงจริ๊งงง)
นักฟิสิกส์บางคนก็ไม่เชื่อเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น Dragan Slavkov Hajdukovic แห่ง CERN ผู้ซึ่งเสนอแนวคิดใหม่ว่าการอธิบายการหมุนของกาแล็กซี่ไม่จำเป็นต้องพึ่งการมีอยู่ของสสารมืดแม้แต่นิดเดียว
Hajdukovic มองว่าสสารและปฏิสสารมี "ขั้วประจุโน้มถ่วง" ต่างกัน ถ้าสสารเป็นขั้วบวก ปฏิสสารก็ต้องมีขั้วลบ ดังนั้นประจุโน้มถ่วงของสสารกับปฏิสสารจะต้องออกแรงผลักออกจากกันและกัน ไม่ใช่ดึงดูดเข้าหากันเหมือนกับคู่ สสาร-สสาร หรือ ปฏิสสาร-ปฏิสสาร (อันนี้ตรงข้ามกับ "ขั้วไฟฟ้าบวก-ลบ" หรือ "ขั้วแม่เหล็กเหนือ-ใต้")
ในสุญญากาศควอนตัม (Quantum vacuum) ซึ่งมีสสารและปฏิสสารเกิดขึ้นได้เองตลอดเวลา บางขณะ "คู่สสาร-ปฏิสสารเสมือน" (virtual particle-antiparticle pairs) จะทำให้เกิด "gravitational dipoles" ซึ่งมีผลไปเสริมแรงให้กับสนามโน้มถ่วงรอบดวงดาวขนาดใหญ่หรือกาแล็กซี่ สนามโน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้นนี้เองเป็นเหตุผลว่าทำไมกาแล็กซี่ถึงหมุนเร็วเกินกว่าค่าที่คำนวณจากมวลของสสารในกาแล็กซี่ และเป็นตัวหลอกตาราวกับว่ากาแล็กซี่มีมวลของสสารลึกลับอยู่
ในความคิดของ Hajdukovic จักรวาลของเราประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือสสาร (และปฏิสสาร) อย่างที่เรารู้จัก อีกส่วนคือทะเลของขั้วประจุเสมือนทั้งหลายแหล่ที่เกิดในสุญญากาศควอนตัม รวมถึง gravitational dipoles ด้วย
แนวคิดนี้มีพื้นฐานจากสิ่งที่ Luc Blanchet และ Alexandre Le Tiec เสนอไว้เมื่อไม่กี่ปีก่อน แต่ทั้งคู่ไม่ได้อธิบายเชื่อมโยงว่า gravitational dipoles เกิดจากอะไร ขณะที่ Hajdukovic สามารถอธิบายได้และยังเอาไปอธิบายต่อในแง่ของผลกระทบต่อสนามโน้มถ่วงได้ด้วย
แน่นอนครับ ณ ปัจจุบัน แนวคิดนี้ก็ยังมีสภาพเป็นแค่แนวคิด ไม่ต่างจากแนวคิดของสสารมืด นักฟิสิกส์ยังคงต้องการหลักฐานอีกมากเพื่อจะพิสูจน์ว่าท้ายที่สุดแล้ว "สสารมืดมีจริงหรือไม่"
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1989 | สสารมืดอาจเป็นแค่ภาพลวงตาที่ไม่มีอยู่จริง |
ผมขอโทษก่อนเลยนะครับที่ตั้งหัวข้อกระทู้ใส่อารมณ์ไปหน่อย แต่ผมสงสัยและอยากรู้จริงๆ เพราะเห็นข่าวทีวี (ทุกช่องเลยที่ผมได้ดู) ยกย่องความน่าท่องเที่ยวของวังน้ำเขียวด้วยประโยคนี้เหมือนกันหมด
"วังน้ำเขียวถูกจัดให้เป็นแหล่งโอโซนอันดับเจ็ดของโลก"
แหล่งโอโซนอันดับเจ็ด นี่สถาบันไหนจัดอันดับให้เหรอครับ มีที่มาหรือเปล่า ชื่อตำแหน่งเป็นอย่างนี้จริง หรือคนเขียนข่าวเอามาใส่ชื่อให้ใหม่เอง
แต่ถ้าชื่ออันดับเป็นอันนี้จริงๆ ผมมั่นใจว่าไอ้สถาบันนั้นต้องเป็นสิบแปดมงกุฎ หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นสถาบันไร้สาระที่หาความเชื่อถือไม่ได้
จนป่านนี้ยังเข้าใจผิดกันอยู่จริงๆ เหรอว่า "โอโซน = อากาศดี" (ผมสงสัยว่าเฉพาะคนไทยหรือเปล่าที่เข้าใจแบบนี้) โอโซนเป็นก๊าซพิษนะโว้ยครับ มันไว้ฆ่าเชื้อโรค
ผมได้ยินแบบนี้หลายครั้ง คิดว่ามันบ่อยเกินไปแล้วและบอกตรงๆ ว่าอารมณ์เสียพอสมควร
ผมไม่ได้อารมณ์เสียที่นักข่าวไม่รู้เรื่องโอโซนนะ แต่ผมเห็นกระทู้ในพันทิพมีพูดถึงเรื่องนี้ตั้งนานแล้ว แสดงว่าน่าจะมีคนวิจารณ์พอสมควร จึงเข้าใจว่าสื่อทีวี (ผมไม่ได้รับข่าวทางอื่นมาก แต่ก็เข้าใจว่ามีเหมือนกัน) น่าจะมีการแก้ข่าวบ้างหรืออย่างน้อยก็เลิกอ้าง "โอโซนอันดับเจ็ด" สักที (ยกเว้นแต่ว่าเสียงวิจารณ์ไม่เคยไปถึงสื่อไทยเลย ซึ่งถ้าเป็นยังงั้น ก็แสดงถึงความอ่อนด้อยในการแสวงหาความรู้ของบุคลากรในวงการสื่อฯ อยู่ดี)
แต่เชื่อมั้ยวันนี้ผมยังได้ยินคำว่า "โอโซนอันดับเจ็ด" อยู่เลย (รวมตั้งแต่มีข่าววังน้ำเขียวก็ประมาณรอบที่สองร้อยแล้วมั้ง)
เซ็งหวะ
‹ เก็บมาฝาก : บทวิเคราะห์เรื่องโรงไฟฟ้าจาก นสพ. ข่าวหุ้นครับ
ทดสอบ EzMath › | https://jusci.net/node/1990 | "วังน้ำเขียวเป็นแหล่งโอโซน" ใครจัดให้วะครับ |
คนทั่วไปมักมองว่าโรคอ้วน (obesity) เป็นตัวชักนำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย คนที่เป็นโรคอ้วนหลายคนก็เครียดเรื่องสุขภาพและพยายามลดน้ำหนักกันแทบเป็นแทบตาย
แต่งานวิจัยของ Jennifer Kuk แห่ง York University ในโตรอนโต ชี้ให้เห็นว่าคนอ้วนไม่จำเป็นต้องมีสุขภาพแย่เสมอไป คนที่เป็นโรคอ้วนบางคนไม่ต้องวิ่งหาคลีนิคลดน้ำหนักก็สามารถใช้ชีวิตชิลๆ กับสุขภาพที่ดีได้
แทนที่จะจัดกลุ่มคนอ้วนตามวิธีทั่วไป ทีมวิจัยของ Jennifer Kuk กลับใช้วิธีที่เรียกว่า "Edmonton Obesity Staging System" (EOSS) ซึ่งแบ่งผู้ป่วยโรคอ้วนออกเป็นระดับ 0-4 ตามเกณฑ์ระดับของโรคและอาการที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน อาการเครียด ปวดหลัง อาการซึมเศร้า ฯลฯ หากผู้ป่วยไม่มีโรคอะไรพวกนี้เลยก็จัดอยู่ในระดับ 0 หากมีเล็กน้อยก็เป็นระดับ 1 และถ้าหนักขึ้นๆ ก็เป็น 2, 3, 4 ตามลำดับ
ทีมวิจัยใช้ข้อมูลของผู้ป่วยโรคอ้วนชาวอเมริกันวัยกลางคนจำนวน 6,000 คนที่เข้ารับการตรวจสุขภาพที่คลินิคแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี 1987-2001 ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ภายในเวลา 16 ปี ผู้ป่วยที่อยู่ในระดับ 2-3 มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 1.6 เท่า หนึ่งในสาเหตุการตายหลัก คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยระดับ 2-3 ตายด้วยโรคนี้มากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 2 เท่า
ในทางตรงกันข้าม อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยระดับ 0-1 กลับไม่แตกต่างจากคนที่มีน้ำหนักปกติเลย แถมยังมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำกว่าคนทั่วไปที่มีน้ำหนักปกติด้วย!
เป็นไปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคอ้วนระดับ 0-1 มีสุขภาพดีน่าจะมาจากการที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มรับประทานผักผลไม้และออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอมากกว่าผู้ป่วยระดับ 2-3 แม้ว่าผู้ป่วยระดับ 0-1 ส่วนมากจะไม่ค่อยสนใจเข้าร่วมคอร์สลดน้ำหนักอย่างจริงจังเท่าไร กลับเป็นผู้ป่วยระดับ 2-3 เสียอีกที่นิยมเข้าคอร์สลดน้ำหนักมากกว่า
ผลการวิจัยยังชี้อีกด้วยว่าผู้ป่วยโรคอ้วนที่เข้าคอร์สลดน้ำหนักส่วนใหญ่มีนำ้หนักเพิ่มขึ้นกลับคืนในภายหลังมากกว่าที่ลดไปได้ในตอนแรก หรือที่รู้จักกันดีว่า Yo-yo effect
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็เตือนว่าผลวิจัยนี้แค่เน้นให้ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีสุขภาพดีและใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะอยู่แล้วไม่ต้องดิ้นรนกระวนกระวายเข้าคอร์สลดน้ำหนักหรืออดอาหารอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่มีตรงไหนในงานวิจัยนี้บอกให้ผู้ป่วยโรคอ้วนกินได้ไม่จำกัดโดยไม่สนใจสุขภาพตัวเอง
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1991 | คนอ้วนบางคนก็ไม่จำเป็นต้องลดน้ำหนัก |
งานสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, และคณิตศาสตร์ (science, technology, engineering and math) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า "STEM" เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่เห็นได้ชัดเลยว่ามีผู้หญิงเด่นๆ น้อยกว่าผู้ชายมาก แม้ว่าช่วงหลังมากนี้ผู้หญิงจะมีบทบาทมากขึ้น แต่โดยภาพรวม มันก็ยังดูเป็นงานที่มีแต่ผู้ชายสนใจจะทำ
งานวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยที่นำโดย Lora E. Park แห่ง University of Buffalo ได้ชี้ให้เห็นความเกี่ยวเนื่องระหว่างธรรมชาติความต้องการชีวิตโรแมนติกของผู้หญิงกับการไม่สนใจงานสาย STEM
การทดลองของ Lora Park มีด้วยกันสามชุด มีกลุ่มตัวอย่างประมาณ 350 คนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
การทดลองแรก กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะได้ดูรูปที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศโรแมนติก (เช่น โรงแรมหรู, ชายหาด, เทียน) หรือบรรยากาศวิชาการ (เช่น ห้องสมุด, หนังสือ, แว่นตา) จากนั้นก็มาทำแบบทดสอบประเมินความสนใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้งวิชาในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
การทดลองที่ 2a กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะได้ฟังการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวโรแมนติกรักๆ ใคร่ๆ หรือการสนทนาเกี่ยวกับวิชาการ (เช่น การสอบ) ส่วนการที่ทดลอง 2b บทสนทนาเกี่ยวกับวิชาการถูกแทนที่ด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับมิตรภาพเพื่อนฝูง หลังจากฟังจบ กลุ่มตัวอย่างของการทดลองทั้ง 2a และ 2b ก็จะต้องมาทำแบบทดสอบเหมือนกับการทดลองแรก
ผลของการทดลองสองชุดแรกชี้ให้เห็นว่าเมื่อผู้หญิงถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์โรแมนติกไม่ว่าจะเป็นการได้เห็นหรือการฟัง พวกเธอจะมีความสนใจในการเลือกเรียนวิชาในสาขา STEM ลดลง แต่จะหันเหความสนใจไปในวิชาสายศิลป์หรือสายภาษามากขึ้น ในขณะที่ผลดังกล่าวไม่ปรากฏในหมู่ผู้ชาย
การทดลองที่ 3 คราวนี้คัดมาแต่เฉพาะผู้หญิงที่มีความสนใจจะเลือกเรียนวิชาในสาขา STEM โดยให้กลุ่มตัวอย่างบันทึกอารมณ์ต้องการความอยากมีชีวิตโรแมนติกหรืออยากมีชีวิตก้าวหน้าทางวิชาการทุกคืนติดต่อกันเป็นเวลา 21 คืน พร้อมทั้งบันทึกด้วยว่าในแต่ละวันพวกเธอทำกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์มากน้อยเท่าไร
ผลการทดลองสุดท้ายแสดงให้เห็นว่า ในวันที่ผู้หญิงมีความรู้สึกต้องการความรู้สึกแบบโรแมนติก พวกเธอทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มากขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองมีเสน่ห์ ในขณะเดียวกันก็จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์น้อยลง นอกจากนี้หากคืนไหนพวกเธอฝันถึงชีวิตโรแมนติก พวกเธอก็จะลดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ในวันถัดไปด้วย
นักวิจัยเชื่อว่าอารมณ์ความต้องการชีวิตโรแมนติกส่งผลให้ผู้หญิงมีความรู้สึกอยากทำให้ตัวเองดูมีเสน่ห์น่าดึงดูดใจ ดังนั้นพวกเธอจึงเกิดความรู้สึกอยากหลีกเลี่ยงสายอาชีพ STEM ซึ่ง (พวกเธอรู้สึกว่า) สังคมมองว่าเป็นงานถึกๆ ของพวกผู้ชาย ในทางกลับกันมายาคติทางวิชาชีพของสังคมตะวันตกกลับไม่ได้กดดันผู้ชายเท่าใดนัก
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก National Science Foundation ของสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางยกระดับความสนใจของผู้หญิงต่องานด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, และคณิตศาสตร์
แม้ว่างานวิจัยนี้จะทำกันในสภาวะของสังคมแบบวัฒนธรรมตะวันตก แต่ผมคิดว่าสังคมตะวันออกอย่างบ้านเราก็คงให้ผลไม่ต่างกันนัก
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1992 | หนทางชีวิตโรแมนติกกับชีวิตนักวิทยาศาสตร์ของผู้หญิงอาจเดินคนละทาง |
แม้ว่าจะยังไม่เคยมีรายงานเด็กทารกที่ไหนคาบสูตรคูณหรือไม้บรรทัดมาเกิด แต่งานวิจัยที่นำโดย Melissa Libertus แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ได้ชี้ว่าสัญชาตญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเป็นตัวแปรอีกตัวที่กำหนดความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียน
การทดลองของ Melissa Libertus ใช้เด็กอายุ 3-5 ขวบจำนวน 174 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง นักวิจัยวัดระดับของสิ่งที่เรียกว่า Approximate Number System (ANS) ซึ่งเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานในการประเมินจำนวนที่มีอยู่ในมนุษย์และสัตว์อีกหลายชนิด นักวิจัยจะให้เด็กดูภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงรูปจุดสีแดงกับสีน้ำเงินจำนวนต่างกันเพียงแวบเดียว (ไม่ให้เด็กนับทัน) จากนั้นก็ให้เดาว่าจุดสีไหนมีมากกว่า เมื่อวัด ANS เสร็จ เด็กก็จะได้ทำแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นสำหรับเด็ก เช่น แคลคูลัส ตรีโกณมิติ สถิติ ทฤษฎีกราฟ เฮ้ย ไม่ใช่ๆๆๆ
เมื่อเทียบวิเคราะห์โดยตัดปัจจัยของอายุออกไปแล้ว (ANS เพิ่มได้ตามอายุ) เด็กที่มี ANS สูงมีแนวโน้มจะได้คะแนนทดสอบทางคณิตศาสตร์สูงตามไปด้วย ซึ่งแต่ก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นผลมาจากการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นหลัก ผลการทดลองของเด็กก่อนวัยเรียนอันนี้จึงขัดแย้งกับความเชื่อเดิมพอสมควร
นักวิจัยเชื่อว่า ANS น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่นักวิชาการการศึกษาเรียกกันว่า "number sense" ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างเข้ามาประกอบ
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1993 | ความสามารถทางคณิตศาสตร์อาจเป็นพรสวรรค์มาแต่กำเนิด |
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตู้เย็นแพร่หลายมากมาจนปัจจุบันก็คือมันช่วยเก็บรักษาความสดใหม่ของอาหารได้นานกว่าปกติมาก
การเน่าเสียของเนื้อเกิดขึ้นโดยผู้ร้ายอย่างเชื้ออีโคไลและแลคโตบาซิลลัสที่รู้จักกันดี ซึ่งก่อนหน้านี้เราเคยพยายามรักษาเนื้อด้วยสารประกอบต่อต้านแบคทีเรียอย่างไนซิน (nisin) มาแล้ว แต่มันมีผลกับแบคทีเรียชนิดที่ติดสีแกรมบวก (positive-gram) เช่นแลคโตบาซิลลัสเท่านั้น ส่วนชนิดที่ติดสีแกรมลบ (negative-gram) อย่างอีโคไลและอื่น ๆ ก็ยังคงทำให้เนื้อเน่าเสียได้อยู่ดี
Daniel J. O'Sullivan ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมินนิโซตาได้เสนอทางเลือกใหม่โดยใช้ "ไบซิน" (bisin) แทนไนซิน โดยไบซินเป็นสารประกอบที่สกัดได้จาก Bifidobacterium longum ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ธรรมชาติในลำไส้ของมนุษย์เงินเดือนธรรมดา (ไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนก็มีนะอย่าเพิ่งเสียใจ) โดยคุณสมบัติการต่อต้านแบคทีเรียของไบซินนั้นมีผลทั้งกับแบคทีเรียชนิดที่ติดสีแกรมบวกและชนิดที่ติดสีแกรมลบ ทำให้เราสามารถเก็บรักษาเนื้อและอาหารได้นานโดยไม่เน่าเสีย
และดูเหมือนว่าข่าวดีอีกต่อคือการใช้ไบซินได้รับการรับรองความปลอดภัยแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับผู้ผลิตอาหารเพื่อนำออกสู่ตลาดต่อไป
ข่าวนี้ผมไม่มั่นใจอย่างมากเพราะความรู้ด้านนี้น้อยนะครับ เปิดทั้งอาจารย์ Bing อาจารย์ Google และอาจารย์วิกิฯ เต็มไปหมด ตัวเองก็ไม่ได้เรียนชีวฯ มาด้วย ดื้อจะเขียนเพราะอยากจะเขียน XD ถ้าผิดตรงไหนขออภัยไว้ล่วงหน้าเลยครับ
ที่มา: Popsci.com
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากข่าว: การแบ่งรูปแบบของแบคทีเรียมีหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการย้อมติดสีแกรมซึ่งเกิดจากชนิดของผนังเซลล์ของแบคทีเรียนั้น ๆ แบ่งออกได้เป็นชนิดที่ติดสีแกรมบวก, ติดสีแกรมลบ และติดทั้งสองสี
ที่มาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย: Wikipedia | https://jusci.net/node/1994 | เก็บเนื้อสดนานสามปีโดยไม่พึ่งตู้เย็น |
เราคงเคยเห็นเทคนิคการปลูกต้นแบบแบบใหม่ๆ กันมาหลายแบบเช่นการปลูกในน้ำ หรือดินวิทยาศาสตร์ แต่บริษัท Mebiol จากญี่ปุ่นก็ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาแผ่นฟิล์ม Imec สำหรับปลูกต้นไม้
แผ่นฟิล์ม Imec เป็นแผนไฮโดรเมมเบรนที่หนาเพียงสิบไมครอน มันซึมซับเอาน้ำและปุ๋ยไว้ในแผ่นในรูปแบบเดียวกับไฮโดรเจลในผ้าอ้อมและผ้าอนามัย รากผักจะเกาะอยู่กับแผ่นและซึมซับเอาน้ำและสารอาหารไปโดยตรง ทำให้การควบคุมคุณภาพของผักที่ได้นั้นทำได้ง่ายกว่ามาก
ปัจจุบันทาง Mebiol ประสบความสำเร็จในการปลูกมะเขือเทศ, แตงไทย, และแตงกวา ด้วยแผ่นฟิล์ม Imec แล้ว และตอนนี้บริษัทกำลังพัฒนาความแข็งแรงของตัวฟิล์มเพื่อให้รองรับน้ำหนักของต้นไม้ที่ใหญ่กว่านี้
ที่มา - DigInfo.tv | https://jusci.net/node/1995 | แผ่นฟิล์มแบบใหม่ใช้ปลูกต้นไม้ได้ |
นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าดวงจันทร์เกิดจากการที่โลกถูกพุ่งชนด้วยอุกกาบาตขนาดเท่าดาวอังคารตั้งแต่เมื่อตอนต้นของกำเนิดระบบสุริยะ พอทั้งโลกและดวงจันทร์เย็นตัวลง เปลือกโลกและเปลือกดวงจันทร์ที่เคยเป็นหินหลอมเหลวก็ค่อยๆ แข็งตัว ซึ่งสมมติฐานนี้มีหลักฐานยืนยันจากแร่ plagioclase ที่นักบินอวกาศของกระสวยอวกาศอะพอลโลได้เก็บมา แร่ชนิดนี้เป็นแร่น้ำหนักเบาที่จะลอยขึ้นมาสู่ผิวหน้าเมื่อแม็กม่าเหลวเย็นตัวลง การเก็บแร่ plagioclase ได้จากผิวดวงจันทร์ก็แสดงว่าดวงจันทร์ต้องเคยเป็นก้อนหินหลอมเหลวมาก่อน
แต่การระบุอายุของแร่ plagioclase ที่เก็บมาได้นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะว่ามีการปนเปื้อนจากฝุ่นบนโลกโดยเฉพาะฝุ่นไอโซโทปของตะกั่วซึ่งเป็นตัวชี้วัดอายุที่สำคัญ ผลจากการวัดครั้งก่อนๆ ก็ได้ออกมาว่าดวงจันทร์มีอายุเท่าๆ กับโลก
ทีมวิจัยที่นำโดย Lars Borg แห่ง Lawrence Livermore National Laboratory ในแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการวัดอายุของแร่ plagioclase ใหม่ โดยใช้กรดอ่อนๆ ล้างสารปนเปื้อนออกจากพื้นผิวของแร่ก่อน จากนั้นก็วัดอายุจากไอโซโทปของตะกั่วในแร่ (ซึ่งหลังจากล้างตะกั่วบนพื้นผิวออกไปแล้ว ก็พอจะมั่นใจได้ว่าตะกั่วในเนื้อแร่เป็นของที่มาจากดวงจันทร์จริงๆ)
ผลปรากฏว่าแร่ plagioclase ก้อนนั้นมีอายุ 4.36 พันล้านปี หรือน้อยกว่าอายุของระบบสุริยะถึงกว่า 200 ล้านปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยคาดกันว่าดวงจันทร์น่าจะเกิดตามหลังกำเนิดระบบสุริยะมาติดๆ คล้อยกันไม่เกิน 30 ล้านปี
อย่างไรก็ตาม อายุของแร่เพียงก้อนเดียวอาจไม่เพียงพอในการระบุอายุดวงจันทร์ แม็กม่าบางจุดบนดวงจันทร์อาจจะเย็นตัวแล้วหลอมเหลวอีกครั้ง แล้วค่อยมาเย็นตัวอีกรอบก็ได้ (ข่าวเก่า ดวงจันทร์อาจจะเคยถูกชนด้วยดวงจันทร์อีกดวง)
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1996 | ดวงจันทร์อาจอายุน้อยกว่าที่คาด 200 ล้านปี |
ปัญหาที่พบมากสำหรับเด็กที่ชอบเล่นกีฬา คือ การขาดน้ำจากการเสียเหงื่อ ทีมวิจัยที่นำโดย Brian Timmons แห่ง McMaster University ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กอายุ 8-10 ปี ออกกำลังกายในห้องควบคุมอุณหภูมิ จากนั้นก็ให้เด็กดื่มเครื่องดื่มสามอย่าง ได้แก่ น้ำเปล่า นม และเครื่องดื่มเกลือแร่
ผลปรากฏว่าร่างกายของเด็กที่ดื่มนมได้รับน้ำชดเชยมากกว่าเด็กที่ดื่มน้ำเปล่าและเครื่องดื่มเกลือแร่ นอกจากนี้โซเดียมในนมยังช่วยชดเชยการสูญเสียเกลือแร่ที่หายไปกับเหงื่อได้ด้วย
Brian Timmons คิดว่าโปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, และอิเล็กโทรไลต์ที่อยู่ในนมน่าจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายของเด็กรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ได้ดีมากกว่าน้ำเปล่าๆ หรือแม้แต่เครื่องดื่มเกลือแร่ (ซึ่งเอาจริงๆ ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าน้ำ, น้ำตาล, และโซเดียม)
ผมคิดว่า นอกจากเด็กแล้ว นมก็ยังทำให้ผู้ใหญ่หลายคนชุ่มชื่นได้ด้วย เพียงแต่ว่านมนั้นอาจต้องบรรจุอยู่ในแพ็คเกจสวยๆ หน่อย
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/1997 | นมทำให้เด็กชุ่มชื่นมากกว่าน้ำ |
Medicinal Genomics บริษัทหน้าใหม่ที่ทำจีโนมสำหรับพืชที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ได้เผยแพร่จีโนมเต็มๆ ทั้งหมดของกัญชา (Cannabis sativa) แล้ว
ในตอนนี้ข้อมูลที่ Medicinal Genomics เผยแพร่ผ่านทาง Amazon EC2 ยังเป็นข้อมูลที่ "ดิบ" อยู่มากๆ โดยที่ทั้งหมดยังเป็นลำดับเบสสั้นๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 1.31 แสนล้านคู่เบส ซึ่งลำดับเบสสั้นๆ เหล่านี้ยังจะต้องผ่านขั้นตอนการจับมาเรียงต่อกันให้เป็นจีโนมที่สมบูรณ์เรียบร้อยอีกที Kevin McKernan ผู้ก่อตั้ง Medicinal Genomics คาดว่า หลังจากเรียงเสร็จแล้ว จีโนมของกัญชาจะประกอบด้วยเบสประมาณ 400 ล้านคู่เบส
จีโนมของกัญชาเป็นประโยชน์มากในทางการแพทย์ เนื่องจากกัญชามีสารประกอบที่เรียกว่า cannabinoids ที่มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่ามีคุณสมบัติต่อต้านเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ข้อมูลจีโนมของกัญชายังอาจให้ผลพลอยได้ช่วยในการจัดการปัญหาทางกฏหมายเกี่ยวสารเสพติดในกัญชาอีกด้วย
อ้อ อีกเรื่องหนึ่งคือ Medicinal Genomics บอกว่าจะทำ app จีโนมกัญชาออกมาให้ผู้ใช้ iPad ในเร็วๆ นี้ด้วย (ผมคิดว่าบริษัทคงมองว่าบุคลากรทางการวิจัยหลายคนใช้ iPad หนะ คงไม่ใช่มองว่าสาวก Apple ชอบพี้กัญชาหรอก)
ที่มา - Nature News Blog | https://jusci.net/node/1998 | จีโนมกัญชามาแล้ว |
ความจริงที่ว่าเด็กผู้หญิงยุคใหม่ก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (sexual maturity) เร็วขึ้นกว่าในยุคอดีตที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันแพร่หลายในวงกว้างแล้ว เนื่องจากมีงานวิจัยรองรับเพรียบ
แต่งานวิจัยลักษณะเดียวกันในเด็กผู้ชายกลับไม่มีปรากฏเด่นชัด เหตุผลหลักน่าจะมาจากการเจริญวัยของเด็กผู้ชายนั้นเก็บข้อมูลได้ยากกว่าเด็กผู้หญิง การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงสังเกตได้ง่ายจากการมาของประจำเดือน (menstruation) ครั้งแรก ต่างจากของผู้ชายที่นักวิจัยไม่รู้จะไปสังเกตจากตรงไหน
Joshua Goldstein แห่ง Max Planck Institute for Demographic Research (MPIDR) นึกออกว่ายังมีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่สามารถเอามาระบุวัยเจริญพันธุ์ของผู้ชายในแบบอ้อมๆ ได้
ตัวชี้วัดที่ Joshua Goldstein ใช้คือ สิ่งที่เรียกว่า "accident hump" ซึ่งเป็นการกระโดดขึ้นของอัตราการตายเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เหตุผลที่อัตราการตายของหนุ่มวัยแตกพานสูงเด่นกว่าในช่วงวัยอื่นๆ ก็เนื่องมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายที่พุ่งสูงขึ้นออกฤทธิ์เร่งเร้าให้ผู้ชายชอบทำพฤติกรรมเสี่ยงๆ โดยเฉพาะเพื่ออวดเพศตรงข้าม
จากการวิเคราะห์ข้อมูลการตายของประชากรในประเทศยุโรปหลายประเทศ (ได้แก่ สวีเดน, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, อังกฤษ, อิตาลี) Joshua Goldstein พบว่า ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา เด็กผู้ชายก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้นโดยเฉลี่ย 2.5 เดือนในแต่ละทศวรรษ
นักวิจัยเชื่อว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้ผู้ชายเจริญวัยเร็วขึ้นคงไม่ต่างจากผู้หญิงเท่าใดนัก ซึ่งหลักๆ ก็เป็นเรื่องของภาวะโภชนาการและอาหาร
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/1999 | เด็กผู้ชายยุคปัจจุบันเจริญวัยเร็วกว่าอดีต |
Merideth Ferguson แห่ง Baylor University สำรวจพบว่าพฤติกรรมหยาบคายจากที่ทำงานสามารถแพร่ไปยังครอบครัวและชุมชนได้ไม่ต่างอะไรจากการแพร่ของโรคร้าย
ผลจากการสำรวจชี้ให้เห็นว่าการอยู่ในสังคมทำงานที่มีเพื่อนร่วมงานนิสัยกากเกรียนหยาบคายจะทำให้คนเกิดความเครียดส่งผลให้แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมหยาบคายทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน เมื่อกลับบ้านไป พฤติกรรมหยาบคายก็จะแพร่ต่อไปยังคู่สมรสและคนในครอบครัวอีก ยิ่งผสมกับความเครียดในครอบครัวด้วยแล้ว พฤติกรรมหยาบคายก็ยิ่งสมทบทวีหนักขึ้น ต่อไปแต่ละคนในครอบครัวก็จะพาพฤติกรรมหยาบคายไปแพร่ต่อในที่ทำงานของตัวเอง วนเป็นวงจรอุบาทว์อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
Merideth Ferguson แนะนำว่าสำนักงานและบริษัทควรตระหนักถึงปัญหาพฤติกรรมและความเครียดของพนักงาน การเร่งตรวจสอบแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้พฤติกรรมแย่ๆ และความเครียดแพร่กระจายกัดกินสังคม
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/2000 | พฤติกรรมหยาบคายสามารถแพร่ได้เหมือนโรคระบาด |
บริษัทภาพยนตร์ Alcon Entertainment ถึงแม้จะไม่ดังนัก แต่ก็เป็นเจ้าของหนังอย่าง The Blind Side และ The Book of Eli เซ็นสัญญาซื้อสิทธิในการสร้างภาพยนตร์ภาคใหม่ของเรื่อง Blade Runner
Blade Runner เป็นภาพยนตร์ไซไฟคลาสสิคเรื่องหนึ่ง สร้างเมื่อปี 1982 โดยอิงจากนิยายไซไฟเรื่อง Do Androids Dream of Electric Sheep? ของ Philip K. Dick ได้แฮริสัน ฟอร์ดมาเป็นพระเอก และกำกับโดย Ridley Scott ที่โด่งดังมาจาก Alien ภาคแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยกย่องอย่างมากในฐานะไซไฟที่กำหนดธีมเรื่องหุ่นยนต์ในโลกอนาคตที่มืดหม่น
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดใน Blade Runner ภาคใหม่ (ซึ่งยังไม่บอกว่าจะเป็นภาคต่อหรือภาคก่อน) คือ Alcon สามารถนำ Ridley Scott มากำกับได้อีกครั้ง
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องหนังภาพใหม่นี้ แต่น่าจะเริ่มถ่ายทำอย่างเร็วก็ปี 2013 ครับ
ที่มา - Deadline via Slashdot | https://jusci.net/node/2001 | Ridley Scott เซ็นสัญญากำกับภาพยนตร์ Blade Runner ภาคใหม่ |
ทีมนักวิจัยของ Jet Propulsion Lab ของ NASA ร่วมกับมหาวิทยาลัย University of California Irvine ร่วมกันสร้างแผนที่แสดงการไหลของธารน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
แผนที่นี้แสดงการไหลของน้ำแข็งจากในพื้นทวีปออกมายังชายฝั่ง ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาเรื่องระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากภาวะเปลี่ยนแปลงสาพภูมิอากาศทำได้ง่ายขึ้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมหลายดวงเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเมฆบัง นับข้อมูลได้เป็นพันล้านชิ้น ทำให้ได้ข้อมูลขนาด ความเร็ว ทิศทาง ของธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา ซึ่งรวมไปถึงแผ่นน้ำแข็ง East Antarctica ที่ใหญ่ที่สุด (ก่อนแยกตัวเป็นชิ้นย่อย ธารน้ำแข็งแผ่นเดียวคิดเป็น 77% ของพื้นทวีป)
ที่มา - NASA, Huffington Post
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้จาก NASA | https://jusci.net/node/2002 | NASA ทำแผนที่การไหลของธารน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ ฉบับสมบูรณ์ |
สปอยล์ คือ การเอาตอนจบของนิยาย, ภาพยนตร์, เรื่องสั้น ฯลฯ มาเฉลยให้กับคนที่ยังไม่ได้รับชมโดยที่ไม่มีใครร้องขอ (กรุณาอ่านคำจำกัดความได้จากที่นี่) คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าหากโดนสปอยล์แล้ว อรรถรสในการรับชมจะลดลงไปถึง 99 ชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เรื่องนั้นมีตอนจบแบบหักมุมลึกลับพิสดาร พฤติกรรมสปอยล์จึงเป็นที่รังเกียจของสังคม
แต่งานวิจัยของ Jonathan Leavitt และ Nicholas Christenfeld แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-ซานดิเอโก้ กลับพบว่าการโดนสปอยล์ตอนจบก่อนอ่านจะทำให้ผู้อ่านได้รับความสนุกจากนิยายมากขึ้น!
การทดลองของทั้งสองเริ่มจากให้อาสาสมัคร 819 คนสุ่มเข้ามาอ่านเรื่องสั้นประเภทหักมุม, เรื่องสั้นลึกลับ, และเรื่องสั้นวรรณกรรม แต่ละคนจะได้อ่านเรื่องสั้น 3 แบบที่ไม่ซ้ำเรื่องกัน แบบแรกมีสปอยล์ขึ้นหราเป็นย่อหน้าแรกเลย แบบที่สองมีข้อความสปอยล์แอบแทรกเข้าไปเนียนๆ กับเนื้อหาในหน้าแรก และแบบสุดท้ายเป็นแบบธรรมดาดั้งเดิมที่ไม่มีการสปอยล์
หลังจากอ่านจบ อาสาสมัครรายงานว่าการอ่านเรื่องที่มีสปอยล์ชัดๆ ในย่อหน้าแรกให้ความสนุกมากกว่าเรื่องที่ไม่มีสปอยล์ ส่วนการสปอยล์แบบแทรกเข้าไปในเนื้อเรื่องนั้นไม่มีผลต่อความสนุกที่ได้รับ
นักวิจัยสันนิษฐานว่าการได้รับรู้เรื่องราวตอนจบทำให้ผู้อ่านรู้สึกสบายใจ ไม่ต้องกังวลกับการทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง ดังนั้นผู้อ่านจึงมีอารมณ์สุนทรีย์ไปกับความงดงามในแง่อื่นๆ ของนิยายได้มากกว่า นอกจากนี้การอ่านไปเรื่อยๆ แบบไม่รู้ตอนจบ (ไม่โดนสปอยล์) ยังอาจทำให้ผู้อ่านที่เอาใจช่วยตัวละครเกิดความเครียดเกินจำเป็น เช่น กลัวว่าสุดท้ายตัวเอกจะตาย เป็นต้น ส่งผลให้ความสนุกของเนื้อเรื่องถูกบดบังไป
นี่อาจจะเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงสามารถอ่านนิยายหรือดูหนังเรื่องโปรดได้ซ้ำๆ กันหลายรอบโดยที่ความสนุกไม่ลดลงเลย และก็อาจเป็นสาเหตุเบื้องหลังยอดขายหนังสือประเภท "เรื่องย่อละคร" ทั้งหลายในบ้านเราก็ได้ (แต่สำหรับละครทีวีบ้านเรา ผมว่าดูไปสักสองสามตอนก็เดาเนื้อเรื่องได้เกือบทั้งหมดแล้ว ความสนุกที่เหลือก็เสพความหล่อสวยของพระเอกนางเอกเอา)
ที่มา - Medical Xpress, Science News | https://jusci.net/node/2003 | การสปอยล์ทำให้เรื่องสนุกขึ้น |
เมื่อเวลา 17:51:04 GMT ของวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ริกเตอร์ที่ชายฝั่งตะวันออก ของสหรัฐอเมริกา จุดศูนย์กลางอยู่ที่ รัฐเวอร์จิเนีย ห่างจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 135 กม. และห่างจากเมืองริชมอนด์ (เมืองหลวงของรัฐเวอร์จิเนีย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 61 กม. ความรู้สึกไปไกลถึง รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา การไหวครั้งจัดว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะการไหวครั้งล่าสุดต้องย้อนกลับไปในปี 1897 หรือ 114 ปีมาแล้ว
สำนักข่าว Russia Today America
View Larger Map
จุดที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนี้
รายละเอียดของแผ่นดินไหวในครั้งนี้
ที่มา RTAmerica ในเว็บ youtube.com และ usgs.gov (5.8) | https://jusci.net/node/2004 | เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ริกเตอร์ที่ชายฝั่งตะวันออก ของสหรัฐอเมริกา |
หนึ่งในคำถามสุดสามัญของวิชาชีววิทยาคือ "สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีกี่สปีชีส์?" คำตอบก็หลากหลายกันไปตั้งแต่ 3 ล้านถึง 100 ล้าน ขึ้นอยู่กับอารมณ์คนตอบ
Camilo Mora แห่ง University of Hawaii at Manoa และเพื่อนร่วมงานของเขาจาก Dalhousie University ในแคนาดา ได้ใช้วิธีประเมินจำนวนสปีชีส์แบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ร่วมวงการว่าคือวิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้
วิธีประเมินของ Camilo Mora ฟังแล้วดูยุ่งยากพอสมควร อย่าไปสนใจมันเลยแล้วกัน เริ่มจากเอาตัวเลขสมาชิกของลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน (taxa) ทั้งหมดไล่จากชั้นล่างสุด (สปีชีส์) ไปจนถึงชั้นสูงสุด (โดเมน) มาดูว่าแต่ละลำดับชั้นจัดจำแนกเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วมากน้อยขนาดไหน ซึ่งก็แน่นอนว่าชั้นล่างสุดอย่างสปีชีส์เป็นลำดับชั้นที่สมบูรณ์น้อยสุด (เห็นได้จากการเจอสปีชีส์ใหม่อยู่เรื่อยๆ) ชั้นบนๆ ขึ้นไปก็สมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ (ไม่ค่อยมีเจอคลาสใหม่หรือไฟลัมใหม่กันแล้ว)
จุดที่ทำให้ทีมของ Camilo Mora สามารถประเมินตัวเลขสปีชีส์ทั้งหมดออกมาได้ คือ พวกเขาสังเกตเห็นว่าความสมบูรณ์ของลำดับชั้นทางอนุกรมวิธานมีแบบแผนที่แน่นอนในสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม ดังนั้นเราจึงสามารถใช้แบบแผนนี้มาคำนวณสปีชีส์ทั้งหมดได้
ในที่สุดจากการรวบรวมข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่า 2,700 ชีวิตและเวลาอีก 10 ปี ตัวเลขของสปีชีส์ทั้งหมดบนโลกใบนี้ คือ 8.74 ล้านสปีชีส์ ช่วงบวกลบ 1.3 ล้าน
แยกกันตามหมวดหมู่ (โดยประมาณ)
สัตว์: 7.77 ล้าน (จำแนกไปแล้ว 953,434 หรือ ~12%)
พืช: 298,000 (จำแนกไปแล้ว 215,644 หรือ ~70%)
เห็ดรา: 611,000 (จำแนกไปแล้ว 43,271 หรือ ~7%)
โปรโตซัว: 36,400 (จำแนกไปแล้ว 8,118 หรือ ~22%)
สาหร่าย: 27,500 (จำแนกไปแล้ว 13,033 หรือ ~50%)
เป็นสิ่งมีชีวิตบนบก 6.5 ล้าน (จำแนกไปแล้ว 14%) และในทะเล 2.2 ล้าน (จำแนกไปแล้ว 9%)
ถ้าเราถือกันว่าตัวเลขประเมินนี้เป็นจริง นับจากปี 1758 ที่ Carl Linnaeus บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธานสมัยใหม่จัดทำระบบอนุกรมวิธานขึ้นมา เป็นเวลากว่า 250 ปี นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสิ่งมีชีวิตไปแล้วเพียงร้อยละสิบกว่าๆ เท่านั้น (1.2 ล้านสปีชีส์) ดังนั้นหากดูจากอัตราความเร็วในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ กว่าจะจัดจำแนกได้ครบ 8.74 ล้าน ก็ต้องใช้เวลา 480 ปี (ถึงตอนนั้นอาจทำงานกันง่ายขึ้นเพราะคงสูญพันธุ์ไปหลายตัวแล้ว ^.^ )
อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่น่าเสียดายที่วิธีประเมินแบบนี้ใช้กับสิ่งมีชีวิตของ prokaryote (พวกแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ไม่ได้ ดังนั้น Camilo Mora จึงยัดตัวเลขประเมินขั้นต่ำเข้าไป 10,000 สปีชีส์สำหรับ prokaryote แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังถกเถียงกันอยูว่าตัวเลขจริงอาจพุ่งถึง 1,000,000 ก็ได้
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Biology (เป็น Open Access ใครอยากอ่านเต็มๆ เชิญครับ แต่ผมขอเตือนว่า "อย่าอ่าน!" ...เราเตือนคุณแล้ว)
ที่มา - Nature News, Scientific American, BBC News, Discovery News, The Telegraph
เพิ่มเติม: ลำดับชั้นทางอนุกรมวิธานเรียงจากชั้นบนสุดถึงชั้นล่างสุดดังนี้
Domain
Kingdom
Phylum (หรือ Division สำหรับพืช, เห็ดรา, สาหร่าย)
Class
Order
Family
Genus
Species | https://jusci.net/node/2005 | 8.7 ล้านสปีชีส์ เลขนี้ชัวร์สุดแล้ว (ในตอนนี้) |
ความร่วมมือระหว่างห้องวิจัยสี่ห้องวิจัยภายใต้โครงการ Forensic Genomics Consortium Netherlands ได้นำเสนอผลงานเป็นผิวหนังที่กันกระสุนได้
ผิวหนังนี้สร้างขึ้นจากเส้นใยแมงมุมที่ได้มาจากแพะที่ดัดแปลงพันธุกรรมจนนมแพะนั้นสามารถนำมาสกัดเส้นใยแมงมุมออกมาได้จากนั้นจึงนำมารวมกับเซลล์ผิวหนังจนได้เป็นแผนผิวหนังที่สามารถหยุดกระสุน .22 ที่ถูกลดความเร็วกระสุนลงได้
การหยุดกระสุน .22 ได้อาจจะไม่มีประโยชน์นักในการป้องกันการถูกทำร้าย โดยมันต้องการการพัฒนาอีกมากกว่าจะหยุดกระสุนที่วิ่งด้วยความเร็วเต็ม แต่ผลงานวิจัยนี้ก็อาจจะนำไปใช้งานอื่นๆ เช่นการรักษาบาดแผลได้
ไปสักอาจจะห้ามลองของ แต่ผิวหนังเหนียวนี้ต้องทดลองก่อนใช้งานเสมอ
ที่มา - FGCN | https://jusci.net/node/2006 | ฟันแทงไม่เข้าของแท้: นักวิทยาศาสตร์สร้างผิวหนังกันกระสุนได้แล้ว |
เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่นักดาราศาสตร์เฝ้ามองหาดาวแคระที่เรียกว่า "Y dwarf" ซึ่งเป็นคลาสหนึ่งของดาวแคระสีน้ำตาล (brown dwarf)
ดาวแคระสีน้ำตาล คือ วัตถุในอวกาศที่เกือบจะได้เป็นดาวฤกษ์ แต่แพ้คะแนนโหวตสุดสัปดาห์ เอ๊ยไม่ใช่ The Star แต่มีมวลน้อยเกินกว่าจะอัดอะตอมให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นได้ ทำให้มันค่อยๆ เย็นลง สุดท้ายแสงที่ส่องออกมาก็เหลือเพียงแค่แสงในย่านความถี่คลื่นอินฟราเรดเท่านั้น
Y dwarf คือ คลาสที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดในกลุ่มดาวแคระสีน้ำตาล ดังนั้นการจะหามันจึงยากที่สุด เพราะแสงอินฟราเรดที่มันปล่อยออกมานั้นจางมาก ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดที่มีความละเอียดสูงลิบ ซึ่งกล้องตัวนั้นก็คือ Wide-field Infrared Survey Explorer (WISE) ของ NASA นั่นเอง
นักดาราศาสตร์ของ NASA ต้องใช้เวลาเกือบสองปีในการวิเคราะห์ภาพถ่ายท้องฟ้าจาก WISE ที่เก็บภาพตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2010 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 กว่าจะค้นพบดาวแคระสีน้ำตาลใหม่อีกประมาณ 100 ดวง โดยที่หกดวงในจำนวนนั้น คือ Y dwarf ที่ตามหากัน
ทั้งหกดวงนี้มีอุณหภูมิต่ำกว่า 226 องศาเซลเซียส ดวงที่ชื่อว่า WISE 1828+2650 มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียสเท่านั้น และทั้งหกดวงที่ค้นพบก็ล้วนแต่อยู่ในขอบเขต 40 ปีแสงจากดวงอาทิตย์ของเราซึ่งเรียกได้ว่าเป็นระยะทางที่ใกล้กับดวงอาทิตย์พอสมควร ดวงที่ใกล้ที่สุด WISE 1541-2250 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราเพียง 9 ปีแสงเท่านั้น (เป็นดาวที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นอันดับเจ็ด)
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าในอนาคตจะเจอดาวแคระอย่าง Y dwarf เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก
ที่มา - Science Daily, New Scientist | https://jusci.net/node/2007 | นักวิทยาศาสตร์ NASA ค้นพบดวงดาวชนิดที่เย็นที่สุด |
ขณะที่ Aidan Dwyer เดินอยู่ในป่าในช่วงฤดูหนาว เขาเงยหน้ามองดูกิ่งไม้ที่ไร้ใบ และสังเกตเห็นว่ามันไม่ได้แตกออกมามั่ว ๆ แต่แตกวนเป็นเกลียวขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยที่ต้นไม้ทุก ๆ ต้นจะแตกกิ่งในลักษณะนี้ทั้งหมด เขาพยายามทำความเข้าใจกับมัน และพบว่ากิ่งแต่ละกิ่งนั้นเรียงตามลำดับเลขฟีโบนัชชี โดยที่ต้นไม้แต่ละชนิดจะใช้ลำดับฟีโบนัชชีต่างกัน เช่น ต้นโอ๊กจะใช้ 2/5 ต้นอัลมอนด์จะเป็น 5/13
เขาคิดว่ากิ่งในรูปแบบนี้ช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น รับแสงได้นานขึ้น เขาจึงทดลองแนวคิดนี้ด้วยโซล่าเซลล์ เขาสร้างแผงโซล่าเซลล์ขึ้นมา 2 แบบ โดยแบบแรกติดตั้งโซลาเซลล์บนแผงกระดานที่เอียง 45 องศา ส่วนอีกแบบใช้การเลียนแบบต้นไม้ กิ่งทำมุม 137 องศา และใช้ลำดับส่วน 2/5 (ลำดับส่วนของต้นโอ๊ก) โดยใช้โซล่าเซลล์ขนาดเดียวกัน ชนิดเดียวกันทั้งหมด จำนวนเท่ากัน โดยทำการทดลองตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม
เขาพบว่า ในช่วงเดือนตุลาคม ต้นไม้โซล่าเซลล์นั้นสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าแบบธรรมดา 20% และรับแสงได้นานขึ้น 2.5 ชั่วโมง แต่ในเดือนธันวาคม ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ในระดับต่ำนั้น รูปแบบต้นไม้จะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแบบธรรมดาถึง 50% และรับแสงได้นานกว่าถึง 50%
เขายังพบว่า ลำดับฟีโบนัชชีนั้นช่วยให้แสงส่องโดนใบไม้ที่อยู่ด้านในพุ่มไม้อีกด้วย วิธีนี้จึงช่วยให้ต้นไม้อยู่รอดแม้จะอยู่กันอย่างหนาแน่นก็ตาม
อ้อ! ผมลืมบอกไป Aidan Dwyer เขามีอายุ 13 ปีเท่านั้นเอง ส่วนรูปเพิ่มเติม และรายละเอียดดูได้จากที่มาครับ
ที่มา: American Museum of Natural History, Gizmodo | https://jusci.net/node/2008 | เพิ่มประสิทธิภาพของโซล่าเซลล์ด้วยการเลียนแบบต้นไม้ |
ไก่ตัวเมียผสมพันธุ์กับตัวผู้ได้หลายตัว เป็นที่สังเกตกันว่าบางครั้งไก่ตัวเมียจะปล่อยน้ำเชื้อออกจากตัวเองหลังจากที่ผสมพันธุ์เสร็จ
ทีมวิจัยที่นำโดย Rebecca Dean แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ศึกษาพฤติกรรมการปล่อยน้ำเชื้อทิ้งของไก่ตัวเมีย พบว่าไก่ตัวเมียจะเลือกปล่อยน้ำเชื้อจากตัวผู้ที่เป็นลูกกระจ๊อกในฝูง (socially subordinate males) ออกเป็นปริมาณที่มากกว่า
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่าไก่ตัวเมียอาจจะแค่ปล่อยน้ำเชื้อส่วนเกินทิ้งโดยที่ไม่ได้มีอะไรเบื้องหลังมากมาย การค้นพบของ Rebecca Dean ได้เปิดเผยวิธีที่ตัวเมียของไก่ (และนกอีกหลายชนิด) ใช้คัดเลือกให้ไข่ของตัวเองได้รับการผสมจากตัวอสุจิจากตัวผู้ที่เข้มแข็งเท่านั้น
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/2009 | ไก่ตัวเมียรีดน้ำเชื้อตัวผู้กระจอกๆ ออกจากตัว |
ทีมนักกีฏวิทยาที่นำโดย Lynn Kimsey แห่ง University of California, Davis ได้ค้นพบตัวต่อสปีชีส์ใหม่ที่มีเขี้ยว (mandible) โง้งยาวมากกว่าความยาวของขาคู่หน้าของมันเสียอีก
ตัวต่อชนิดนี้ได้รับชื่อเล่นๆ ไปก่อนว่า Dalara garuda (ชื่อนี้ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง) เป็นตัวต่อในวงศ์ Crabronidae โดยที่ชื่อ "GARUDA" นี้ก็คือ "ครุฑ" สิ่งมีชีวิตครึ่งคนครึ่งนกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซียนั่นเอง ตัวผู้มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 2.5 นิ้ว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ตัวต่อชนิดนี้น่าจะเป็นผู้ล่าของแมลงอื่นๆ ที่ตัวเล็กกว่า
Lynn Kimsey เก็บแมลงชุดนี้มาจากทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะเด่นของ D. garuda อยู่ที่เขี้ยวของตัวผู้ที่ยาวมากๆ ขนาดที่ว่าตอนพับเก็บ เขี้ยวจะครอบทั้งหน้ามันได้เลย ทีมนักกีฏวิทยาที่ค้นพบยังสงสัยกันอยู่เลยว่าตอนมันกางเขี้ยว มันจะเดินด้วยท่าทางแบบไหน เพราะเขี้ยวมันยาวเกินขาคู่หน้า
เขี้ยวยาวๆ ของ D. garuda น่าจะมีประโยชน์ในด้านการปกป้องรัง เพราะตัวต่อตัวผู้ในสกุล Dalara หลายชนิดก็มีพฤติกรรมชอบเฝ้าหน้ารัง คอยขับไล่ผู้รุกราน แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องการปกป้องรัง ตัวต่อ D. garuda อาจจะใช้เขี้ยวยาวๆ ในการงับเอวตัวเมีย เพื่อไม่ให้ตัวเมียไปผสมพันธุ์กับตัวผู้ตัวอื่นก็ได้
ภาพถ่ายด้านหน้าของ Dalara garuda ตัวผู้
ตัวผู้ (ซ้าย), ตัวเมีย (ขวา)
ที่มา - Department of Entomology ของ University of California, Davis | https://jusci.net/node/2010 | ต่อครุฑเขี้ยวยาวกว่าขา |
โรคมาลาเรียถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตคนมากที่สุด โดยเฉพาะคนในทวีปแอฟริกา หลายปีมานี้ เรามีมาตรการลดจำนวนประชากรยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะนำโรคมากมาย เช่น การกางมุ้ง หรือการพ่นยาฆ่ายุง เป็นต้น
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไรที่ข้อมูลประชากรยุงโดยรวมของประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น แทนซาเนีย, เอริเทรีย, รวันด้า, เคนยา, แซมเบีย เป็นต้น จะลดลงอย่างมากในช่วงปีหลังๆ
แต่สิ่งที่ทำให้ทีมนักวิจัยร่วมเดนมาร์ค-แทนซาเนียที่นำโดย ศ. Dan Meyrowitsc แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนงุนงงเป็นอย่างมาก คือ การลดลงอย่างฮวบฮาบของประชากรยุงในพื้นที่บางจุดซึ่งไม่ได้มีมาตรการลดประชากรยุงอะไรเลย ตัวอย่างเช่น พื้นที่หนึ่งเคยวางกับดักจับยุงได้ถึง 5,000 ตัวในปี 2004 แต่พอถึงปี 2009 กลับจับยุงได้เพียง 14 ตัวจากจุดเดียวกัน!
นักวิจัยบางคนในทีมคิดว่าสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ยุงจึงไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ เพราะลูกน้ำยุงต้องการแหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัย แต่นักวิจัยอีกส่วนก็ไม่เชื่อตามนั้น มีนักวิจัยอีกหลายคนคิดว่าน่าจะเป็นเพราะเกิดโรคระบาดหรือปัจจัยอื่นในประชากรยุงมากกว่า
อีกประเด็นที่สำคัญมากกว่าสาเหตุ คือ คำถามที่ว่า "ยุงที่หายไปจะกลับมาอีกหรือไม่?" และถ้ามันกลับมา มันจะกลายเป็นยุงที่แข็งแรงกว่าเดิมและแพร่เชื้อมาลาเรียได้เก่งกว่าเดิมหรือเปล่า?
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/2011 | นักวิทยาศาสตร์งง อยู่ดีๆ ยุงในแอฟริกา (บางจุด) หายไป |
วัฏจักร El Niño/La Niña หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า "El Niño Southern Oscillation" (ENSO) เป็นวัฏจักรของสภาพอากาศที่ทำให้หลายพื้นที่แห้งแล้งอย่างหนักหรือน้ำท่วมอย่างหนักสลับกันไป
ทีมวิจัยที่นำโดย Solomon M. Hsiang แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้นำข้อมูลเหตุการณ์ความไม่สงบของหลายประเทศมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูล ENSO ในช่วงปี 1950-2004 (นับแต่เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างต่ำ 25 คนขึ้นไป) พวกเขาพบว่าในปีที่เกิด El Niño นั้น อัตราการปะทุของวิกฤติความขัดแย้งในประเทศเขตร้อนที่ได้รับผลกระทบจาก ENSO เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่มี La Niña (6% สำหรับปีที่มี El Niño และ 3% ในปีที่มี La Niña)
ส่วนประเทศที่อยู่ในเขตที่ไม่โดนผลกระทบของ ENSO มีอัตราการเกิดสงครามกลางเมืองค่อนข้างคงที่ประมาณ 2%
ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature
เหตุผลเบื้องหลังความสัมพันธ์นี้คงเกี่ยวกับความจริงที่ว่าปีที่เกิด El Niño มักจะเกิดความแห้งแล้งเป็นวงกว้าง ประเทศที่มีปัญหาเรื่องช่องว่างการกระจายรายได้อยู่แล้วก็จะยิ่งตกระกำลำบากเข้าไปอีก ประชาชนจึงได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาล นักวิจัยเชื่อว่า El Niño น่าจะมีส่วนร่วมในเหตุการณ์สงครามกลางเมืองถึง 21% ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงที่ทำการศึกษา
อย่างไรก็ตาม อย่าได้ตระหนกตกใจกับ El Niño มากไปนัก ประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนอยู่ดีกินดี เช่น ออสเตรเลีย ก็ไม่ได้เกิดสงครามกลางเมืองเลยในช่วงที่ทำการศึกษา แม้ว่าประเทศตั้งอยู่ในเขตที่รับผลกระทบจาก ENSO จังๆ ก็ตาม
ฉะนั้นแล้วรัฐบาลประชาธิปไตยที่เอาใจใส่ประชาชนจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ต้องกลัว El Niño เลย ส่วนรัฐบาลที่ไม่เคยเห็นหัวประชาชน แล้งก็ช่างมัน น้ำท่วมก็ช่างมัน จงระวังให้ดี ปีที่มี El Niño อาจจะเป็นปีสุดท้ายของทุกสิ่งที่พวกท่านขโมยมาจากประชาชนก็ได้
ที่มา - Discovery News, Scientific American | https://jusci.net/node/2012 | El Niño เพิ่มความเสี่ยงสงครามกลางเมืองในประเทศเขตร้อน |
ข่าวนี้น่าจะโดนใจทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบพลังงานนิวเคลียร์ในคราวเดียว เพราะเป็นเรื่องของความก้าวหน้าทางพลังงานนิวเคลียร์ แต่ว่าไม่กระทบสิ่งแวดล้อมบนโลก
ในระหว่างงานประชุม National Meeting & Exposition of the American Chemical Society (ACS) ครั้งที่ 242 ในวันนี้ James E. Werner หัวหน้าโครงการวิจัยร่วมระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกาและองค์การ NASA ได้เผยเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบใหม่ที่จะใช้ติดตั้งในสถานีบนดวงจันทร์และดาวเคราะห์ เช่น ดาวอังคาร
แม้ว่าจะใช้ชื่อว่าเป็นสถานีไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แต่เตาปฏิกรณ์ไม่ได้เป็นอันโตๆ แบบที่เราคุ้นเคยกัน เพราะขนาดของมัน (1.5 x 2.5 ฟุต) แทบจะไม่ได้โตไปกว่ากระเป๋าเป้ใส่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเลย ในความคิดผมน่าจะเรียกว่าเป็น "แบตเตอรี่นิวเคลียร์" มากกว่า
หลักการทำงานของเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่นี้เหมือนกับเตาปฏิกรณ์เชิงพาณิชย์ในปัจจุบันแทบทุกประการ ส่วนที่แตกต่างออกไปคือ ระบบควบคุม, วัสดุที่ใช้สะท้อนนิวตรอน, และระดับปริมาณพลังงานที่ต่ำกว่า (เตาปฏิกรณ์ขนาดกระเป๋าจะให้ผลิตพลังงานเท่ากับเตาขนาดเท่าตึกก็กระไรอยู่เนอะ)
ตามที่ James E. Werner ประเมินไว้เตาปฏิกรณ์หนึ่งเตาจะสามารถให้พลังงานได้ (อย่างต่ำ) ถึง 40 กิโลวัตต์ ซึ่งมากพอให้บ้านเรือน 8 ครัวเรือนบริโภค แต่ในช่วงต้นของการตั้งรกรากบนต่างดาว พลังงานนี้คงเอาไปใช้ในสถานีอวกาศและการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากกว่า โดยเฉพาะในสถานีที่อยู่ในจุดที่ไม่สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่
James E. Werner คาดว่าจะสามารถผลิตเครื่องต้นแบบได้ในปี 2012
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/2013 | กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ จับมือ NASA ออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บนดวงจันทร์ |
Robotic Hand หรือ Handroid ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นด้วยมอเตอร์จำนวนหลายตัวให้ทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้มีน้ำหนักมาก และมีราคาสูง ในขณะที่ความละเอียดอ่อนในการทำงานนั้นเป็นเรื่องรองลงมา
ITK ประเทศญี่ปุ่นได้ทำการคิดค้นระบบการทำงานใหม่ โดยออกแบบให้มีสายที่เลียนแบบกล้ามเนื้อของสิ่งมีชีวิต โดยมีถุงมือช่วยในการควบคุมการทำงาน ซึ่งทำให้น้ำหนักเบากว่าของเดิมมาก
ITK วางแผนที่จะจะขาย Handroid ภายในปี 2013 ในราคาประมาณ $6500 สำหรับงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอัตรายต่อมนุษย์ และเพื่อให้มีน้ำหนักที่เบาขึ้นเพื่อให้ในทางการแพทย์ได้
ที่มา Engadget | https://jusci.net/node/2014 | Handroid มือเทียมรุ่นใหม่จาก Japan's ITK |
สหรัฐฯ กำลังกลายเป็นผู้ส่งออกเซลล์แสงอาทิตย์รายใหญ่เมื่อตัวเลขการส่งออกเซลล์แสงอาทิตย์กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการทั่วโลก รายงานล่าสุดจากสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ได้แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ กำลังส่งออกสินค้าเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์เป็นมูลค่าถึง 5,630 ล้านดอลลาร์ แม้จะหักลบการนำเข้ามูลค่า 3,750 ล้านดอลลาร์แล้วก็ยังมีมูลค่าส่งออกถึง 1,880 ล้านดอลลาร์
ที่น่าสนใจคือรายงานในปี 2009 นั้นมูลค่าส่งออกรวมสินค้าในหมวดนี้ของสหรัฐฯ ยังอยู่ที่ 723 ล้านดอลลาร์เท่านั้น นับว่าเป็นหมวดสินค้าที่เติบโตสูงมาก
อย่างไรก็ดีตัวโมดูลสำเร็จรูปนั้นสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ด้วยมูลค่าการนำเข้าถึง 2,398 ล้านดอลลาร์ แต่ส่งออกเพียง 1,201 ล้านดอลลาร์ แต่หมวดที่สหรัฐฯ ส่งออกมากคือ Polysilicon ที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของแผงโซลาร์เซลล์ที่มียอดส่งออกถึง 2,550 ล้านดอลลาร์ แต่มียอดนำเข้าเพียง 179 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ภายใต้ภาวะการเป็นประเทศที่ยังไม่สามารถผลิตสินค้าเหล่านี้เองได้ แม้เราจะสามารถหลุดออกจากการพึ่งพิงน้ำมัน แต่อนาคตก็อาจจะกลายเป็นว่าเราต้องนำเข้าซิลิกอนบริสุทธิ์, ไดนาโมประสิทธิภาพสูง ฯลฯ อยู่ดีก็เป็นได้
ที่มา - Grist | https://jusci.net/node/2015 | ตัวเลขส่งออกโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ พุ่งเป็น 5,630 ล้านดอลลาร์ |
นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวาได้ทำการทดลองเทคนิคการทำฝนเทียมแบบใหม่ที่เรียกว่า "laser-assisted water condensation" ซึ่งเป็นการใช้แสงเลเซอร์ยิงไปยังอากาศที่มีความชื้นพอเหมาะ ในทางทฤษฎีแสงเลเซอร์จะทำให้อากาศแตกตัวเกิดเป็นกรดไนตริกที่มีคุณสมบัติดึงโมเลกุลของน้ำให้มารวมตัวกันเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝนได้
แม้ว่าการทดลองของพวกเขา ณ แม่น้ำ Rhône ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะยังไม่สามารถทำให้เกิดฝนขึ้นมาได้ เพราะหยดน้ำที่เกิดขึ้นมีขนาดเพียงไม่กี่ไมครอน ไม่ใหญ่พอที่จะกลั่นตัวลงมาเป็นฝน แต่ก็ได้เป็นการพิสูจน์ว่าเทคนิคนี้ทำให้โมเลกุลน้ำในอากาศมารวมตัวกันได้จริงๆ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหากยิงเลเซอร์เข้าไปยังอากาศที่มีความชื้นสูงมากๆ เช่น กระแสอากาศที่เคลื่อนตัวเข้าหาสันเขา เป็นต้น หยดน้ำที่เกิดขึ้นก็อาจมีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดฝนตกลงมาได้ นอกจากนี้ยังอาจเอาเทคนิคเลเซอร์ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันไม่ไห้ฝนตกในพื้นที่ที่ไม่ต้องการก็ได้
ที่มา - The Telegraph | https://jusci.net/node/2016 | สร้างฝนเทียมด้วยเลเซอร์ |
ก่อนหน้านี้นักฟิสิกส์เคยประเมินกันไว้ว่าการตามหาอนุภาค Higgs boson หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า "อนุภาคพระเจ้า" จะสำเร็จลงได้ภายในปี 2012 แต่ ศ. Guido Tonelli โฆษกของ LHC ได้เผยถึงความเป็นไปได้ว่าการค้นหาอนุภาคพระเจ้าอาจจะจบลงภายในคริสต์มาสปีนี้
เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์ LHC เชื่อมั่นว่าเราจะค้นพบอนุภาค Higgs boson (หรือค้นพบว่าไม่มี Higgs boson มาตั้งแต่แรก) ภายในปีนี้ มีพื้นฐานมาจากการทำงานของเครื่องเร่งอนุภาค LHC ที่ช่วงหลังมานี้ทำงานได้ราบรื่นดีกว่าที่คาดไว้ ถ้าไม่มีอะไรพลาด สิ้นเดือนตุลาคม 2011 นี้ LHC ก็จะเก็บข้อมูลการชนของอนุภาคได้ถึง 5 inverse femtobarns
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลขนาด 5 inverse femtobarns ทำได้อย่างมากก็แค่ชี้ว่ามีหรือไม่มีอนุภาค Higgs เท่านั้น การยืนยันต้องการข้อมูลที่มากกว่านี้เข้าไปอีก
อนุภาค Higgs boson คืออนุภาคที่ทฤษฎี Standard Model (ทฤษฎีการกำเนิดของสรรพสิ่งที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน) ใช้อธิบายถึงการมีหรือไม่มีมวลของอนุภาคทั้งหลาย หาก LHC เจออนุภาค Higgs นักฟิสิกส์ก็จะยังเชื่อในสิ่งที่ตัวเองอยากเชื่อต่อไปได้ แต่ถ้าหากสุดท้ายแล้วไม่มีอนุภาค Higgs นักฟิสิกส์ก็ต้องหาทางอธิบายจักรวาลกันใหม่
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/2017 | "มีหรือไม่มี Higgs boson" อาจรู้กันภายในคริสต์มาสปีนี้ |
นิสัยอย่างหนึ่งที่เราทำกันทุกวันแม้ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ก็คือการเที่ยวจัดสิ่งของว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง นักจิตวิทยาแห่ง Northwestern University สองคน คือ James Wilkie และ Galen Bodenhausen พบว่ามนุษย์มีแนวโน้มจะจับคู่ "เลขคี่-เลขคู่" กับ "เพศชาย-หญิง" ด้วย
การทดลองแรก พวกเขาให้กลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันดูชื่อต่างชาติ (เช่น ชื่อคนรัสเซีย คนอินเดีย) แล้วให้เดาว่าเป็นชื่อของผู้หญิงหรือผู้ชาย ผลปรากฏว่าเมื่อชื่อเหล่านั้นปรากฏขึ้นพร้อมกับเลข 1 กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มเดาว่าชื่อนั้นเป็นชื่อของผู้ชาย แต่ถ้าเป็นเลข 2 กลุ่มตัวอย่างมักจะตอบว่าเป็นชื่อของผู้หญิง
การทดลองที่สอง กลุ่มตัวอย่างได้ดูรูปของเด็กทารกแล้วจะต้องเดาว่าเป็นทารกเพศไหน ผลก็ออกมาทำนองเดียวกัน คือ ถ้ารูปเด็กมาพร้อมกับเลข 1 กลุ่มตัวอย่างจะเลือกตอบว่าเป็นเด็กผู้ชายมากกว่า แต่ถ้าเป็นเลข 2 กลุ่มตัวอย่างก็จะตอบว่าเป็นผู้หญิง โดยที่กลุ่มตัวอย่างไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำว่าตัวเลขมีอิทธิพลในคำตอบของพวกเขา
การทดลองที่สาม เป็นการทดลองที่ตรงไปตรงมาที่สุด คือให้กลุ่มตัวอย่างตอบตามความรู้สึกตัวเองเลยว่าตัวเลขไหนควรเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ผลการทดลองก็ยังยืนยันว่าเลขคี่มักถูกจับคู่กับเพศชาย และเลขคู่จับคู่กับเพศหญิง การทดลองแบบเดียวกันนี้กับกลุ่มตัวอย่างชาวอินเดียก็ให้ผลเช่นเดียวกัน
ในอารยธรรมกรีกและอารยธรรมจีนโบราณก็มีการจัดให้เลขคี่แทนเพศชายและเลขคู่แทนเพศหญิง แสดงว่านิสัยเจ้ากี้เจ้าการจัดเพศให้ตัวเลขเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วโลกมีร่วมกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดลงไปว่าทำไมเราถึงชอบตั้งเพศให้กับตัวเลข
นอกจากตัวเลขแล้ว มนุษย์ยังชอบใส่อัตลักษณ์ทางเพศเข้าไปในวัตถุต่างๆ รอบตัวด้วย บางทีก็เป็นอิทธิพลของภาษาโดยเฉพาะภาษาที่มีการกำหนดเพศของวัตถุ บางทีก็เป็นเรื่องของการใช้วัตถุหรือลักษณะของวัตถุนั้นๆ เช่น วัตถุกลมๆ มักถูกมองเป็นเพศหญิง และของเหลี่ยมๆ มักถูกจัดเป็นเพศชาย เป็นต้น
ที่มา - Scientific American | https://jusci.net/node/2018 | เลขคี่คือผู้ชาย, เลขคู่คือผู้หญิง |
เสือทาสมาเนีย (Tasmanian tiger หรือ Thylacine) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อที่มีกระเป๋าหน้าท้องซึ่งสูญพันธุ์จากโลกนี้ด้วยการล่าของมนุษย์ เสือทาสมาเนียตัวสุดท้ายของโลกตายลงเมื่อปี 1936 ในสวนสัตว์ Hobart ณ เกาะทาสมาเนีย
เหตุผลที่ผู้คนในตอนนั้นนิยมล่าเสือทาสมาเนียเป็นเพราะว่าชาวยุโรปเจ้าของฟาร์มแกะที่ไปตั้งรกรากในออสเตรเลียและเกาะทาสมาเนียเห็นว่าเสือทาสมาเนียจับแกะกิน ทำให้พวกเขาสูญเสียรายได้ รัฐบาลออสเตรเลียถึงกับเคยประกาศให้ผู้ที่ฆ่าเสือทาสมาเนียได้เอาศพมาขึ้นเงินรางวัลจากทางรัฐบาล
แต่การศึกษาของ Marie Attard แห่ง University of New South Wales ที่เพิ่งจะตีพิมพ์ลงวารสาร Journal of Zoology เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2011 พิสูจน์กลับลำว่าเสือทาสมาเนียไม่ใช่ผู้ร้ายฆ่าแกะ
จากการสร้างแบบจำลองรูปแบบการกินอาหารของเสือทาสมาเนียเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อที่มีกระเป๋าหน้าท้องชนิดอื่นๆ เช่น Tasmanian devil และ spotted-tail quoll พบว่ากรามของเสือทาสมาเนียไม่มีกำลังมากพอที่จะฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่อย่างแกะได้ แถมกระโหลกของมันยังเปราะบางเกินกว่าจะทนแรงดิ้นของแกะได้อีกด้วย สัตว์ที่เสือทาสมาเนียสามารถล่าได้ต้องมีขนาดตัวไม่ใหญ่ไปกว่าตัวพอสซั่มหรือวัลลาบีเท่านั้น
พูดง่ายๆ คือ เสือทาสมาเนียถูกปรักปรำแล้วก็โดนฆ่าตัดตอนจนสูญพันธุ์อย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เพียงเพราะมนุษย์ต้องการขอคืนพื้นที่ไว้เลี้ยงแกะแค่นั้นเอง
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/2019 | เสือทาสมาเนียพ้นมลทินหลังโดนตั้งข้อหากินแกะมาเป็นศตวรรษ |
การแข่งขันของประเทศมหาอำนาจนั้นนอกจากการแข่งขันสู่อวกาศแล้วเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการสำรวจพื้นมหาสมุทรซึ่งมีผลทั้งด้านเศรษฐกิจที่จะสามารถสำรวจทรัพยากรมาใช้งานและทางด้านการทหาร ทางการจีนก็เริ่มทุ่มเทกับการสำรวจมหาสมุทรมากขึ้น
ล่าสุดศูนย์วิจัยทางทะเลของจีนได้ส่งเรือดำน้ำ Jiaolong ดำลงสำรวจที่ระดับความลึก 5,057 เมตรเป็นผลสำเร็จ แต่ยังห่างจากสถิติของญี่ปุ่นที่ 6,500 เมตร อย่างไรก็ดีทางศูนย์คาดว่าจะส่งเรือดำน้ำลงไปสำรวจที่ระดับความลึก 7,000 เมตรได้ในปีหน้า
การสำรวจพื้นทะเลแบบมีมนุษย์เดินทางที่ลึกที่สุดนั้นเป็นของสหรัฐฯ ด้วยเรือ Bathyscaphe Trieste ที่ลงไปลึกถึง 10,911 เมตรแต่เรือ Shinkai 6500 และเรือ Jiaolong นั้นเป็นเรือแบบมีเครื่องยนต์สามารถแล่นสำรวจบนพื้นทะเลได้ทำให้ถูกแยกประเภทสถิติออกจากกัน
ที่มา - IEEE Spectrum | https://jusci.net/node/2020 | จีนเตรียมส่งเรือดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมุทรทำลายสถิติญี่ปุ่น |
นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนสูงมาก โดยปัจจุบันใช้อยู่ 79% จากความได้เปรียบที่ประชากรน้อยและมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล และการอนุมัติโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมเพิ่มอีกสองแห่งในรอบล่าสุดก็จะทำให้ตัวเลขพลังงานหมุนเวียนของนิวซีแลนด์สูงขึ้นเข้าใกล้เป้าหมาย 90% ภายในปี 2025
โรงงานไฟฟ้าสองแห่งใหม่ แห่งแรกนั้นอยู่ในเกาะเหนือตามชายฝั่งทะเลที่มีหมู่บ้านเพียงหกหมู่บ้าน ประชากรรวม 500 คนจาก 110 หลังคาเรือน โดยบริษัทผู้ดำเนินการคือ Genesis Energy ได้ทำสัญญากับเจ้าของที่ดิน 27 ผืนเพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าแล้ว มูลค่าโครงการนี้อยู่ที่ 1.43 พันล้านดอลลาร์ ใช้กังหันขนาดความสูงไม่เกิน 155 เมตรจำนวน 286 ต้น และเมื่อดำเนินการจะผลิตไฟฟ้าได้ 860 เมกกะวัตต์
แห่งที่สองอยู่ใกล้เกาะโอกแลนด์ มีกังหันจำนวน 168 ต้นความสูงไม่เกิน 150 เมตร ขนาดใบพัดไม่เกิน 50 เมตร กำลังผลิตไฟฟ้ารวม 540 เมกกะวัตต์
ทางการนิวซีแลนด์มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพลังงานลมเป็น 20% ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มพลังงานหมุนเวียน ตัวเลขเป้าหมายจึงอยุ่ที่ 3,000 เมกกะวัตต์ ทำให้ยังต้องการโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมเพิ่มเติม แต่บางแห่งก็ยังไม่สามารถขออนุญาตได้
พลังงานลมดูจะเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างน่าสนใจมากโดยเฉพาะเมื่อคิดว่ามันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันผลิตพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ทั้งนั้นมันต้องการพื้นที่ที่ลมแรงมากเพื่อจะผลิตไฟฟ้าในปริมาณมากได้ และตัวพลังงานลมเองก็ก่อมลภาวะทางเสียงขึ้นเยอะมาก จนต้องหาพืื้นที่ห่างไกลเป็นหลัก
ที่มา - CleanTechnica | https://jusci.net/node/2021 | นิวซีแลนด์สร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานลมเพิ่มสองแห่ง เตรียมใช้พลังงานจากแหล่งหมุนเวียน 90% |
ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการนอนดึกไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพเลย และงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้โดยทีมของ Yavuz Selvi แห่ง Yuzuncu Yil University ประเทศตุรกี ได้ยืนยันผลเสียของการนอนดึกอีกครั้ง
ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจำนวน 264 คนเกี่ยวกับนิสัยการนอนและความถี่ในการเจอฝันร้าย โดยแบ่งคะแนนในการเจอฝันร้ายออกเป็นระดับ 0-4 ตามเกณฑ์ของ Van Dream Anxiety Scale (เริ่มจากระดับ 0 คือไม่เคยฝันร้ายเลย ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงระดับ 4 คือนอนฝันร้ายทุกคืน)
ผลปรากฏว่าคนที่รายงานว่าตัวเองเป็นพวกชอบใช้ชีวิตหลังอาทิตย์ตกดินได้คะแนนฝันร้าย 2.10 โดยเฉลี่ย ขณะที่พวกที่ใช้ชีวิตตอนกลางวันได้คะแนน 1.23
แม้จะมีงานวิจัยที่ให้ผลทำนองนี้ออกมาหลายครั้งแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสาเหตุเบื้องหลังของเรื่องนี้คืออะไร ทฤษฎีหนึ่งบอกว่าเกิดจากความเครียดสะสมและอารมณ์แปรปรวนของคนที่ชอบนอนดึก (อาจจะนอนไม่หลับเพราะงานหนัก, อกหักรักคุด, พ่อป่วย, บ้านไฟไหม้, เมียมีชู้, คันหู หรืออะไรประมาณนั้น) อีกทฤษฎีก็บอกว่าเกิดจากคนที่นอนดึกมักพักผ่อนไม่พอ เมื่อมีโอกาส จึงนอนหลับยาวลึกเข้าสู่สภาะ REM นานกว่าปกติ ทำให้ฝันมากกว่าคนอื่นทั้งฝันดีและฝันร้าย
นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่แนะว่าการฝันร้ายอาจเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่งออกมามากในช่วงเช้ามืด คนที่นอนดึกตื่นสายจึงมีช่วงเวลาที่ฝันตรงกับช่วงที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากพอดี
เฮ้อ... ข่าวนี้ผมก็เขียนซะดึกเลย แต่ไม่ต้องห่วงว่าผมจะฝันร้ายหรอก ถึงอย่างไรเสียผมก็ไม่มีใครให้ฝันถึงอยู่แล้ว ต่อให้ไม่มีฝันร้าย ก็เป็นเรื่องเศร้าอยู่ดี T_T
ที่มา - Scientific American | https://jusci.net/node/2022 | คนนอนดึกมักฝันร้าย |
ในยุคที่การขนส่งอวกาศ "ภาคเอกชน" เริ่มเฟื่องฟู หนึ่งในรายชื่อบริษัทด้านขนส่งอวกาศที่ดังๆ ก็มักจะมี Blue Origin บริษัทของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon รวมอยู่ด้วย
(บริษัทชื่อดังอื่นๆ ได้แก่ Virgin Galactic ของ Richard Branson, SpaceX ของ Elon Musk หนึ่งในผู้ก่อตั้ง PayPal, Mojave ของ Paul Allen ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ และ Armadillo Aerospace ของ John Carmack แห่ง id Software)
แต่ในการส่งจรวดทดสอบแบบไร้คนขับของ Blue Origin เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา กลับล้มเหลว โดยทีมงานขาดการติดต่อกับจรวดที่ความสูง 45,000 ฟุต และเป็นผลให้จรวดระเบิดที่กลางอากาศ
Jeff Bezos เขียนบันทึกเผยแพร่ในเว็บของบริษัทว่านี่ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้น ยานอวกาศลำนี้เคยบินทดสอบมารอบหนึ่งแล้วเมื่อเดือนมีนาคม และประสบผลสำเร็จด้วยดี
Blue Origin ไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลของบริษัทตัวเองมากนัก นอกจากทำจรวดแล้วยังมีท่าอวกาศยานของตัวเองทีรัฐเท็กซัสด้วย
ที่มา - Wall Street Journal | https://jusci.net/node/2023 | บริษัท Blue Origin (ของ Jeff Bezos แห่ง Amazon) ยิงจรวดล้มเหลว |
ทีมวิจัยที่นำโดย E. Charles Sykes แห่ง Tufts University ได้สร้างมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วยความยาวเพียง 1 นาโนเมตรและมีเพียงหนึ่งโมเลกุลเป็นส่วนประกอบ
มอเตอร์ของ E. Charles Sykes นั้น คือ โมเลกุลของ butyl methyl sulphide ที่วางอยู่บนแผ่นทองแดง ข้างบนสุดเหนือ butyl methyl sulphide มีปลายเข็มขนาดเล็กจิ๋วกดทับอะตอมซัลเฟอร์อยู่ (ใครเรียนเคมีคงพอเดารูปออก แต่ถ้าไม่ได้เรียน ดูจากรูปข้างล่างก็ได้) เมื่อนักวิจัยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่ปลายเข็ม กระแสไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้สายโมเลกุลของ butyl methyl sulphide หมุน
จากการตรวจวัดที่อุณหภูมิ 5 เคลวิน พบว่าโมเลกุล butyl methyl sulphide หมุนไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาด้วยอัตรารอบ 50 รอบต่อวินาทีโดยเฉลี่ย อย่าเข้าใจว่ามันหมุนเรียบลื่นแบบพัดลมนะครับ มันหมุนกระด๊อกกระแด๊กเหมือนเข็มนาฬิกาหักๆ มากกว่า แต่นั่นก็มากพอแล้วที่นักวิทยาศาสตร์จะจัดให้มันเป็น "มอเตอร์ไฟฟ้า" ตามคำจำกัดความ (นั่นคือมันสามารถเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าไปเป็นการหมุนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้)
ความสำเร็จนี้ถือเป็นการทำลายสถิติมอเตอร์ไฟฟ้าที่เล็กที่สุดในโลกซึ่งสถิติเก่าคือ แท่งคาร์บอนนาโนทิวบ์ขนาด 200 นาโนเมตร อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะหาทางวัดการหมุนของมอเตอร์ขนาดจิ๋วเช่นนี้ที่อุณหภูมิห้องได้อย่างไร เพราะในสภาวะที่อุณหภูมิสูงขนาดนั้น โมเลกุลจะสั่นจนไม่สามารถวัดการหมุนได้ ด้วยเหตุนี้เรื่องการประยุกต์ใช้จึงเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลมากๆ
ที่มา - New Scientist, PhysOrg
รูปแผนภาพมอเตอร์ที่เล็กที่สุดในโลก ก้อนกลมสีเหลืองในรูปคืออะตอมของซัลเฟอร์ ด้านขวาของอะตอมซัลเฟอร์คือหมู่ butyl ส่วนด้านซ้ายคือหมู่ methyl
ภาพจาก New Scientist | https://jusci.net/node/2024 | มอเตอร์ที่ประกอบด้วยหนึ่งโมเลกุล |
หินพัมมิซ (pumice) เป็นหินที่เกิดจากลาวาที่พ่นออกมาจากภูเขาไฟแล้วเย็นตัวและลดความดันอย่างรวดเร็ว ลักษณะพิเศษของหินพัมมิซคือมีรูพรุนทำให้มันสามารถลอยน้ำได้
ศ. Martin Brasier แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดและคณะ ได้เขียนบทความลงวารสาร Astrobiology เสนอว่าหินพัมมิซนี่แหละคือบ้านหลังแรกที่ชีวิตได้ก่อกำเนิดขึ้น หรืออย่างน้อยก็เป็นบ้านที่สิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ ใช้เป็นจุดเริ่มของวิวัฒนาการ
ลักษณะของหินพัมมิซที่ทำให้ทีมวิจัยเชื่อเช่นนั้น ได้แก่
มีสัดส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตร (surface-area-to-volume ratio) สูง
ดูดซับสารอินทรีย์, ธาตุโลหะ, หมู่ฟอสเฟต, ตัวเร่งปฏิริยา ฯลฯ ได้ดี สารเหล่านี้ล้วนแต่จำเป็นต่อกระบวนการทางชีวเคมีทั้งสิ้น
วัฎจักรของหินพัมมิซที่ได้เจอกับปรากฏการณ์อันหลากหลายที่จำเป็นต่อการกำเนิดชีวิต เช่น ตั้งแต่เกิดจากภูเขาไฟ มันก็มีโอกาสได้รับพลังงานจากฟ้าผ่า (ซึ่งมักเกิดควบคู่กับการระเบิดของภูเขาไฟ), ตอนลอยอยู่ในทะเลก็มีโอกาสรับแสงแดดและสารไฮโดรคาร์บอนที่พ่นออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟใต้ทะเล, บางทีหินพัมมิซก็มาเกยตื้นที่ชายฝั่งเป็นระยะเวลานาน เปิดโอกาสให้ชีวิตได้ค่อยๆ พัฒนา เป็นต้น
สมมติฐานเหล่านี้ยังเป็นแค่สมมติฐาน นักวิทยาศาสตร์คงต้องหาวิธีตรวจสอบกันต่อไป เช่น หาซากฟอสซิลชีวิตยุคแรกๆ ในหินพัมมิซ หรือ จัดชุดการทดลองพิสูจน์ว่ากระบวนการชีวเคมีที่จำเป็นสามารถเกิดขึ้นได้เองในหินพัมมิซหรือไม่ เป็นต้น
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/2025 | หินลอยน้ำอาจเป็น "บ้านหลังแรก" ของชีวิต |
เมื่อต้นปีมหาวิทยาลัย Stanford ออกมาประกาศความสำเร็จในการสร้างวิทยุแบบสองทางหลายๆ คนก็สงสัยกันว่างานวิจัยที่ค่อนข้างขัดต่อความรู้ด้านการสื่อสารไร้สายเดิมๆ นี้จะทำซ้ำได้หรือไม่ ตอนนี้ก็มีมหาวิทยาลัย Rice ออกมาประกาศแล้วว่าสามารถพัฒนาระบบวิทยุแบบสื่อสารสองทางได้สำเร็จเหมือนกัน
งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Rice แสดงให้เห็นว่าเราสามารถพัฒนาระบบสื่อสารสองทางนี้ลงบนฮาร์ดแวร์แบบ MIMO ได้ ทำให้อุปกรณ์เพื่อผลิตจริงไม่ต้องการพื้นที่มากไปกว่าเดิมนัก
งานนี้แม้มหาวิทยาลัย Rice จะไม่ใช่มหาวิทยาลัยแรกที่สร้างระบบวิทยุนี้ได้สำเร็จ แต่ก็ ข่มเล็กๆ ด้วยการบอกว่างานติพิมพ์ที่แสดงความเป็นไปได้ว่าเราสามารถสร้างระบบวิทยุที่สื่อสารสองทางได้พร้อมกันนั้นมาจากทีมงานนี้เอง
งานตีพิมพ์ทั้งสองฉบับมีให้ดาวน์โหลดฟรี (1, 2) ผมลองพยายามอ่านแล้วพบว่าปล่อยให้เด็กไฟฟ้าอ่านกันเองดีกว่า
ที่มา - Rice University | https://jusci.net/node/2026 | มหาวิทยาลัย Rice สร้างวิทยุแบบสื่อสารสองทางได้สำเร็จ |
ภาพถ่ายชุดใหม่ล่าสุดที่ถ่ายโดย Lunar Reconnaissance Orbiter ของ NASA ได้โชว์รอยเท้าของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดวงจันทร์
รอยที่ว่านั้นไม่ใช่ของมนุษย์ดวงจันทร์หรือหุ่นยนต์ยักษ์แต่อย่างใด มันคือรอยเท้าของนักบินอวกาศและร่องรอยการลงจอดของ Apollo 12, 14 และ 17 นั่นเอง
ภาพจาก BBC News
ภาพอื่นๆ ในชุดนี้ดูได้จากเว็บไซต์โครงการ Lunar Reconnaissance Orbiter ของ NASA
แม้เวลาจะผ่านไปนานนับสิบๆ ปี ร่องรอยพวกนี้ก็ไม่ได้เลือนหายไป เพราะว่าสภาพภูมิอากาศบนดวงจันทร์นั้นราบเรียบกว่าบนโลกมาก ไม่มีทั้งกระแสน้ำและกระแสลมมากัดเซาะ
ที่มา - BBC News, Popular Science | https://jusci.net/node/2027 | NASA เผยภาพรอยเท้าบนดวงจันทร์ |
ทีมนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลล์ได้ทำการตรวจวัดขนาดสมองส่วน Hippocampus ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 75 ถึง 92 ปี ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างที่เคยมีประสบการณ์ทางด้านการจัดการมีขนาด Hippocampus ใหญ่กว่าคนที่ไม่เคยทำงานในด้านนี้ นอกจากนั้นพวกเขายังพบอีกว่า ยิ่งคนนั้นมี (หรือเคยมี) ลูกน้องในความรับผิดชอบมากเท่าไร ปริมาตรของ Hippocampus ก็มากขึ้นตามไปด้วย
รูปแบบความสัมพันธ์ของขนาด Hippocampus และประสบการณ์งานจัดการสามารถพบได้ในกลุ่มตัวอย่างทั้งผู้ชายและผู้หญิง และก็ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะงานสาขาการจัดการโดยตรงเท่านั้น งานในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ทักษะในการจัดการก็ส่งผลต่อขนาด Hippocampus เช่นกัน
Hippocampus เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ เป็นไปได้ว่าการจัดการคนน่าเป็นงานที่กระตุ้นกลไกอะไรสักอย่างให้สมองมีการปรับตัวในเชิงกายภาพ เพราะสภาพงานการจัดการก็เป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถหลายด้าน เช่น การแก้ปัญหา ความจำระยะสั้น ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นต้น
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/2028 | คนระดับผู้จัดการมีสมองใหญ่กว่าคนทั่วไป |
เวลาที่เราต้องการจะเก็บรายละเอียดเหตุการณ์อะไรสักอย่าง เรามักจะเพ่งมองวัตถุองค์ประกอบในฉากรอบตัวด้วยความตั้งใจมากขึ้น แต่ว่างานวิจัยของนักจิตวิทยามหาวิทยาลัย Yale ชี้ให้เห็นว่าการตั้งใจเพ่งมองวัตถุบางชิ้นอาจจะส่งผลให้สมองเราแปลผลเหตุการณ์ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงได้
Brandon Liverence และ Brian Scholl แห่ง มหาวิทยาลัย Yale ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 10 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างดูรูปวงกลมสี่วงที่เคลื่อนที่ไปมาบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนที่วงกลมจะเริ่มเคลื่อนนั้น วงกลมสองวงจะกระพริบๆ เพื่อเรียกความสนใจจากกลุ่มตัวอย่าง และหลังจากที่ปล่อยให้วงกลมวิ่งไปวิ่งมาสักพัก วงกลมทั้งสี่ก็จะหายไป กลุ่มตัวอย่างมีหน้าที่ต้องใช้เมาส์คลิกตำแหน่งสุดท้ายของวงกลมทั้งสี่วงให้ถูกต้อง
ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถจดจำตำแหน่งของวงกลมทั้งสี่ได้เกือบจะแม่นยำถูกต้อง ส่วนใหญ่มักจะคลิกตำแหน่งที่เขยิบเข้าหาศูนย์กลางของจอเล็กน้อยซึ่งความผิดพลาดเช่นนี้เป็นปรากฏการณ์ทั่วไปที่นักจิตวิทยารู้นานแล้ว แต่ความผิดพลาดอีกประการหนึ่งอันเป็นเรื่องแปลกใหม่ (และเป็นประเด็นของข่าวนี้) คือ กลุ่มตัวอย่างมักจะคลิกตำแหน่งวงกลมสองวงที่เคยกระพริบๆ ให้อยู่ใกล้กันมากกว่าความเป็นจริง ส่วนวงกลมอีกสองวงที่ไม่ได้กระพริบเลยตลอดการทดลองมักถูกคลิกในตำแหน่งที่ห่างกันมากกว่าตำแหน่งจริง
นักจิตวิทยาสันนิษฐานว่าเมื่อเราเพ่งให้ความสนใจกับวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่ง สมองเราจะละเลยความสัมพันธ์ของวัตถุชิ้นนั้นกับสภาพรอบข้างไปบางส่วน ทำให้ภาพที่ปรากฏในสมองของเราบิดเบือนไป
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/2029 | การตั้งใจมองมากเกินไปอาจทำให้แปลสภาพความเป็นจริงผิดเพี้ยนได้ |
ไม่ใช่มีแต่ลายนิ้วมือแล้วที่สามารถใช้ดูดวงยืนยันตัวบุคคล ในอนาคตรอยเท้าที่เราทิ้งไว้ตอนย่ำเดินดุ่มๆ ก็อาจสามารถใช้ยืนยันความเป็นตัวเราได้
การแยกแยะบุคคลด้วยรอยเท้าไม่ใช่เรื่องใหม่ ก่อนหน้านี้นักวิจัยก็เคยทดลองแยกแยะตัวบุคคลจากลักษณะของรอยก้าวเท้ามาแล้ว ผลที่ได้ก็น่าพึงพอใจพอสมควรด้วยระดับความแม่นยำถึง 90% แต่ทีมวิจัยที่นำโดย Todd Pataky แห่ง Shinshu University ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาระบบแยกแยะตัวบุคคลด้วยรอยเท้าขึ้นไปอีกขั้น
วิธีการแยกแยะรอยเท้าของ Todd Pataky ใช้การวิเคราะห์ภาพถ่ายสามมิติของรอยเท้า โดยอาศัยความแตกต่างของรอยกดที่เกิดจากการย่ำเท้าในขณะก้าวเดิน เช่น รอยกดตรงส้นเท้าขณะลงพื้น รอยกดที่เกิดจากแรงส่งไปยังเท้าด้านหน้าและหัวแม่เท้า เป็นต้น
ผลจากการทดลองกับอาสาสมัคร 104 คน พบว่าวิธีนี้มีความแม่นยำสูงถึง 99.6%
Todd Pataky แนะว่าการแยกแยะหรือยันตัวบุคคลด้วยรอยเท้านั้นอาจจะไม่มีผลมากนักหากบุคคลนั้นต้องการปิดบังตัวเอง เพราะใครๆ ก็สามารถแกล้งเดินให้ผิดจากธรรมชาติปกติได้ง่ายๆ ดังนั้นการแยกแยะด้วยรอยเท้าน่าจะมีประโยชน์ในการใช้งานที่บุคคลนั้นๆ ต้องการยืนยันความเป็นตัวเองอยู่แล้ว เช่น การเข้าไปกด ATM หรือการเข้าอาคาร เป็นต้น
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/2030 | นักวิทยาศาสตร์ทดลองระบบแยกแยะบุคคลด้วยรอยเท้า แม่นยำ 99.6% |
Source:LiveScience
ผมเจอมาจาก Live Science นะ แต่ข้อมูลเป็นของ CIA-The World Factbook 2009
ที่น่าแปลกใจในความคิดผม คือ
อันดับหนึ่งเป็นของศาสนาคริสต์ ผมเคยคิดว่าอิสลามน่าจะเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดเสียอีก เพราะอนุญาตให้มีเมียได้ 4 คน แถมใครแต่งงานกับมุสลิมก็ต้องเข้าเป็นอิสลาม แค่สองข้อนี้ อิสลามน่าจะแพร่ขยายได้รวดเร็วกว่าศาสนาอื่นแล้ว
ถ้าดูตามอันดับ top 3 สามศาสนาหลักของโลกควรเป็น "คริสต์ อิสลาม และฮินดู" ไม่ใช่แบบที่วิชาสังคมฯ บ้านเราสอน ศาสนาพุทธอยู่แค่อันดับ 4 (หลักสูตรวิชาสังคมฯ บ้านเรานี่อวยศาสนาพุทธแบบไม่อิงข้อมูลตลอดๆ)
ศาสนาพุทธมีคนนับถือน้อยกว่าคนที่ไม่นับศาสนาใดๆ (non-religious)
โรมันคาทอลิกมีคนนับถือมากกว่าโพรเตสแตนท์สองเท่ากว่าๆ ผมไม่นึกว่าตัวเลขจะต่างกันขนาดนี้
เราสามารถปลูกฝังวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปพร้อมกันได้หรือไม่? › | https://jusci.net/node/2031 | [Infographic] สัดส่วนผู้นับถือศาสนาของโลกและสหรัฐอเมริกา |
นักวิทยาศาสตร์รู้อยู่เต็มอกว่าโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ นิกเกิล แพลทตินัม ทังสเตน อิริเดียม เป็นต้น มีแนวโน้มชอบเข้าไปหลอมรวมอยู่กับแร่เหล็กซึ่งหลอมเหลวอยู่ตรงใจกลางโลก ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เราไม่ควรจะพบโลหะพวกนี้บนพื้นผิวโลกเลย หรือถ้าพอจะมี ก็ควรมีอยู่น้อยมากๆ ไม่ใช่มีพอให้ขุดทำเป็นเหมืองกันทั่วโลกแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ดังนั้นจึงมีคนคิดทฤษฎีหนึ่งขึ้นมาโดยอธิบายว่าโลหะที่เราขุดมาซื้อขายกันแทบเป็นแทบตายทุกวันนี้จะต้องตกลงมาจากฟากฟ้าเมื่อ 3.8-4.0 พันล้านปีก่อน แต่อ๊ะ! มันไม่ได้ถูกพระเจ้าหรือเง็กเซียนฮ่องเต้โปรยลงมาหรอกนะ
ทฤษฎีนั้นบอกไว้ว่า ระบบสุริยะในยุคเริ่มต้นได้ถูกฝนอุกกาบาตเข้าระดมชน อุกกาบาตที่อุดมไปด้วยโลหะเหล่านี้นั่นเองที่นำแร่โลหะมีค่าเข้ามาโปรยไว้บนผิวโลก และเมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยที่นำโดย Matthias Willbold แห่ง University of Bristol สหราชอาณาจักร ได้เสนอหลักฐานชิ้นสำคัญที่สนับสนุนทฤษฎี "ทองคำจากอวกาศ"
หลักฐานของ Matthias Willbold ก็คือ ชั้นหินโบราณที่พวกเขาไปขุดมาจากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกรีนแลนด์ซึ่งมีอายุ 4.3 พันล้านปี (ก่อนการระดมชนของฝนอุกกาบาตในทฤษฎี) จากการวิเคราะห์ไอโซโทปของทังสเตน ผลปรากฏว่าชั้นหินของกรีนแลนด์มีสัดส่วนไอโซโทปของทังสเตน-182 ต่อ ทังสเตน-184 ต่ำกว่าชั้นหินสมัยใหม่จากที่อื่นๆ ประมาณ 13 ส่วนในล้าน (parts per million)
นักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าฝนอุกกาบาตที่ระดมเข้าชนระบบสุริยะรวมทั้งโลกเมื่อ 3.8-4.0 พันล้านปีที่แล้วมีไอโซโทปของทังสเตน-182 น้อยกว่าทังสเตน-184 มาก ดังนั้นพวกเขาจึงสรุปทันทีว่าค่าแตกต่างระหว่างสัดส่วนไอโซโทปทังสเตนของหินยุคโบราณและยุคใหม่จะต้องเป็นผลมาจากการพุ่งชนของฝนอุกกาบาตแน่
จากการคำนวณด้วยตัวเลขที่มี ให้ผลออกมาว่า 0.5% ของมวลเปลือกโลก (รวมชั้นแมนเทิล) ในปัจจุบันมาจากมวลที่ฝนอุกกาบาตในครั้งโบราณเอามาเพิ่มให้ (ตัวเลข 0.5% อาจฟังดูไม่มาก แต่จริงๆ แล้วมันเท่ากับ 30 ล้านล้านล้านตัน!)
นอกจากหลักฐานชิ้นนี้แล้วนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าร่องรอยการระดมชนของอุกกาบาตบนดวงจันทร์ก็เป็นหลักฐานอีกชิ้นที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ เพราะร่องรอยเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันพอดี
ดังนั้นก็เป็นไปได้ว่าทองคำที่หลายคนเข้าไปมุงแย่งกันซื้อเพราะราคามันขึ้นเอาๆ แท้จริงแล้วคือสมบัติที่ตกลงมาจากฟากฟ้านั่นเอง ถ้าเกิดมีอุกกาบาตระดมเข้าชนโลกอีกสักรอบ ราคาทองคงลดแน่ๆ ^.^
ที่มา - Live Science, Discovery News, New Scientist | https://jusci.net/node/2032 | ทองบนโลกทุกวันนี้อาจตกลงมาจากฟากฟ้าเมื่อนานมาแล้ว |
Helicobacter pylori ไม่ใช่ชื่อเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ที่กองทัพไทยจะซื้อเอามาร่อนตกเล่นที่ไหนอีก แต่เป็นชื่อของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของมนุษย์ แบคทีเรียตัวนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคกระเพาะและมะเร็งในกระเพาะอาหาร (gastric cancer)
ทีมวิจัยที่นำโดย ศ. Anne Müller และ ศ. Massimo Lopes แห่งมหาวิทยาลัยซูริค ได้ค้นพบว่าวิธีเบื้องหลังที่แบคทีเรีย H. pylori ใช้ชักจูงเซลล์ดีๆ ให้แปรพักตร์กลายเป็นเซลล์มะเร็ง คือ H. pylori สามารถทำลาย DNA ของเซลล์ที่มันเข้าไปสิงอาศัยอยู่ได้
การทดลองครั้งนี้ทำกับเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์ในหลอดทดลอง (in vitro) ความเสียหายของ DNA อาจมากถึงขั้นที่ว่า DNA ทั้งสองสายในเกลียวคู่แตกหักจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทีมวิจัยนี้ได้ข้อสรุปจากผลการทดลองว่าอัตราความถี่และความรุนแรงของความเสียหายขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาของการติดเชื้อแบคทีเรีย
เซลล์ที่ DNA ถูกทำลายอย่างหนักมีชะตาชีวิตให้เลือกไม่กี่ทาง ถ้าไม่ตายหรือก็กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็ง ผลการทดลองนี้ก็สอดคล้องกับผลการวิจัยก่อนหน้าที่ชี้ให้เห็นว่าจีโนมของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารนั้นไม่เสถียร มีอัตรากลายพันธุ์ค่อนข้างสูง
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/2033 | แบคทีเรียในกระเพาะอาหารแอบทำลาย DNA ในเซลล์มนุษย์ |
ใครที่ไม่เชื่อว่าทำดีแล้วจะได้ดี คงต้องหันกลับมาอ่านข่าวนี้แล้วแหละ เมื่อมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนที่มีน้ำใจชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนจะได้รับสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต นั่นคือ อายุที่ยืนยาวขึ้น
ทีมวิจัยที่นำโดย Sara Konrath แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ติดตามข้อมูลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 10,317 คนในรัฐ Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1957 ถึง 2008 กลุ่มตัวอย่างมีทั้งชายและหญิงอย่างละประมาณครึ่งต่อครึ่ง รายละเอียดของข้อมูลที่ติดตาม ได้แก่ ข้อมูลทางด้านสุขภาพ ความถี่ในการอาสาช่วยงานสาธารณะ เหตุผลในการออกช่วยงาน การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ฯลฯ
ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีอายุเฉลี่ย 69 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยอาสาช่วยงานสาธารณะเลยในช่วงเวลา 10 ปีหลังมีอัตราการตาย 4.3% ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ชอบอาสาบำเพ็ญประโยชน์โดยคิดถึงส่วนรวมเป็นสำคัญมีอัตราการตายเพียงแค่ 1.6% และเมื่อตัดปัจจัยด้านสุขภาพอื่นๆ ออกไป อัตราการตายของทั้งสองกลุ่มก็ยังแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ดี
ที่น่าประหลาดใจ คือ กลุ่มตัวอย่างที่ออกไปทำงานอาสาแต่ทำไปด้วยเหตุผลส่วนตัว (เช่น เห็นว่ามันทำให้ตัวเองรู้สึกดี, หรือทำไปเพราะอยากหลีกหนีปัญหาของตัวเอง) มีอัตราการตาย 4% ซึ่งแทบจะไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานอาสาเลย
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับ (ในที่นี้คืออัตราการตายที่ลดลง) จากพฤติกรรมเสียสละ (altruism) น่าจะเป็นสิ่งที่ชดเชยให้กับมนุษย์ที่ชอบช่วยเหลือคนอื่นซึ่งต้องเสียผลประโยชน์ส่วนตัวไปในตอนต้น (ต้นทุนทางด้านเวลาและแรงงาน) หรือพูดในเชิงวิวัฒนาการ ผลประโยชน์นี้ช่วยรักษาสมดุลให้ลักษณะพฤติกรรมเสียสละ (altruism) ยังคงอยู่ในประชากรได้
นอกจากนี้ยังเคยมีงานวิจัยเมื่อปี 2008 แสดงให้เห็นว่า มนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงให้คะแนนพฤติกรรมเสียสละว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกคู่ครอง
สรุป คือ ใครอยากมีอายุยืนๆ มีแฟนเยอะๆ ให้รีบเสียสละออกไปบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมให้มากๆ (เอ๋! แล้วอย่างนี้จะเรียกว่า เห็นแก่ตัว หรือ เสียสละแบบมีจุดประสงค์ ดีหละ?)
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/2034 | คนน้ำใจงามจะมีอายุยืน |
ถ้าคุณอยากรู้ว่าหน้าตาของชาวยุโรปส่วนใหญ่เป็นแบบไหน แล้วไปถามชาวเยอรมัน เขาก็จะบอกว่าชาวยุโรปหน้าตาละม้ายคล้ายไปทางคนเยอรมัน แต่ถ้าไปถามชาวโปรตุเกส เขาก็จะบอกว่าชาวยุโรปนั้นหน้าตาคล้ายคนโปรตุเกสต่างหาก
มีงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า คนเราจะระบุลักษณะทั่วไปของคนในกลุ่มที่ตัวเองอยู่เอนเอียงเข้าหาตัวเอง งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยการใช้ตัวอักษร ทางคุณ Roland Imhoff และคุณ Rainer Banse แห่งมหาวิทยาลัย Bonn คุณ Ron Dotsch และคุณ Daniël H.J. Wigboldus แห่งมหาวิทยาลัย Radboud University Nijmegen และคุณ Mauro Bianchi แห่งมหาวิทยลัย Lisbon ได้ลองวิธีที่ต่างออกไปคือ การใช้รูปภาพ
พวกเขาให้อาสาสมัคร 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งเป็นชาวเยอรมัน และอีกกลุ่มเป็นชาวโปรตุเกส ให้ทั้งคู่ดูภาพจำนวน 770 คู่ ภายในเวลา 20 นาทีบนจอคอมพิวเตอร์ (คู่ละวินาทีครึ่ง) โดยภาพเหล่านั้นจะถูกตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบเช่น เพิ่ม noise แก้ไขสัดส่วนของภาพ รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ ของคนในภาพ โดยในแต่ละครั้งอาสาสมัครต้องเลือกภาพที่ดูคล้ายกับชาวยุโรป หลังจากนั้น นักวิจัยจะนำภาพที่เลือกมาทำภาพเฉลี่ย ซึ่งภาพเฉลี่ยที่ได้ของกลุ่มชาวโปรตุเกสจะมีผิวสีเข้ม และระยะห่างของตาที่กว้างกว่า ในขณะที่ภาพของกลุ่มชาวเยอรมันสีผมจะอ่อนกว่า และดูค่อนไปทางชาวเยอรมัน
เมื่อนักวิจัยลองให้คนอีกกลุ่มชี้ขาดว่า ภาพไหนที่ดูเหมือนชาวยุโรปส่วนใหญ่มากกว่ากัน ชาวเยอรมันก็จะบอกว่า ภาพเฉลี่ยของอาสาสมัครชาวเยอรมัน ดูคล้ายชาวยุโรปส่วนใหญ่มากกว่า แต่ชาวโปรตุเกสกลับเลือกภาพเฉลี่ยของกลุ่มอาสาสมัครชาวโปรตุเกสแทน
ผู้คนมีความคิดในเชิงนามธรรมว่า ชนชาติต่าง ๆ จะมีหน้าตา และอุปนิสัยใจคอเป็นเช่นไร ตามแต่ประสบการณ์ที่ได้รับรู้มา และยังเชื่ออยู่ลึก ๆ ว่า กลุ่มที่ตนอยู่นั้น ดีกว่า เก่งกว่ากลุ่มอื่น ๆ รวมทั้งทึกทักเอาว่ากลุ่มของตนนี่แหละ ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มที่ใหญ่กว่า
ทางคุณ Imhoff อยากจะศึกษาต่อไปอีกว่า เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกชนชั้น สีผิวด้วยหรือไม่ เป็นต้นหว่า ถ้าหากตำรวจผิวขาวชาวอังกฤษเชื่อว่า คนอังกฤษส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว เขาจะระแวงสงสัยคนผิวสีอื่นมากขึ้น และเลือกปฏิบัติด้วยหรือไม่
ที่มา: APS
ป.ล. แม้งานวันนี้จะแสดงให้เห็นว่าคนสวยไม่จำเป็นต้องมีผิวสีขาว แต่คนส่วนใหญ่ก็จะยังเชื่อเช่นนั้น... | https://jusci.net/node/2035 | ผู้คนมักคิดว่าคนส่วนใหญ่คล้ายกับตัวเขาเอง |
ไวรัสคือชิ้นส่วนของ DNA ที่มีเปลือกโปรตีนหุ้ม ไวรัสไม่สามารถขยายพันธุ์โดยตัวของมันเองได้ แต่จะใช้วิธีการแทรกชิ้นส่วน DNA เข้าไปในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ แล้วก็ใช้วัตถุดิบของเซลล์นั้นในการสร้างสำเนาของไวรัสขึ้นมา บางทีไวรัสก็อาจจะแฝง DNA ของตัวเองเข้าไปอยู่ในจีโนมของเซลล์เลย ดังเช่นที่ bracovirus แฝงเข้าไปอยู่ในจีโนมของแมลงจำพวกแตนเบียน
(แตนเบียนได้ประโยชน์จากจีโนมไวรัส เพราะเมื่อแดนวางไข่ในตัวหนอนผีเสื้อที่เป็นเหยื่อ ไวรัสจะเข้าไปในเซลล์ของหนอน รบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของหนอนและทำให้หนอนไม่เข้าดักแด้ ตัวอ่อนแตนเบียนที่ฟักออกจากไข่ก็จะได้กัดกินเนื้อหนอนอย่างสบายใจ)
ทีมวิจัยที่นำโดย Elisabeth Herniou แห่ง University of Tours ประเทศฝรั่งเศส สนใจว่าบรรพบุรุษของ bracovirus เริ่มเข้าไปอยู่ในเซลล์ของแตนเบียนตั้งแต่เมื่อไร ดังนั้นจึงทำการเอาจีโนมของ bracovirus มาเปรียบเทียบกับไวรัสอีกสองชนิด คือ nudivirus และ baculovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่อาศัยอยู่ในเซลล์ของแมลงเหมือนกัน แต่ไม่ได้แฝง DNA ตัวเองเข้าไปในจีโนมของเซลล์แมลง
ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ไวรัสทั้งสามเคยแตกแขนงมาจากบรรพบุรุษร่วม (common ancestor) เมื่อประมาณ 310 ล้านปีที่แล้ว โดย baculovirus แยกออกมาก่อน ส่วน bracovirus กับ nudivirus แยกออกเป็นสองสายเมื่อ 190 ล้านปีที่แล้ว
ดังนั้นนักวิจัยเชื่อว่านี่เป็นหลักฐานของการติดเชื้อไวรัสที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่วงการชีววิทยาเคยเสนอกันมา และถ้าดูกันตามกรอบเวลาของวิวัฒนาการแมลงแล้ว แมลงตัวแรกที่บินได้ก็เริ่มวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 300 ล้านปีที่แล้ว แสดงว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าในยุคนั้นไวรัสก็คงจะกระจายไปทั่วแล้วในแมลงกลุ่มอื่น หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตอื่นด้วย
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/2036 | ไวรัสอาจเข้าไปแฝงอยู่ในแมลงตั้งแต่เมื่อสามร้อยล้านปีที่แล้ว |
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการหัวเราะโดยเฉพาะการฮากลิ้ง ฮาขี้แตกขี้แตน ฯลฯ เป็นพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การหัวเราะยังเป็นพฤติกรรมที่น่าจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมเหนียวแน่นขึ้นด้วย
ทีมนักวิจัยที่นำโดย Robin Dunbar แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้ทำการทดสอบโดยให้กลุ่มตัวอย่างชมรายการทีวีสองประเภท คือ รายการตลกกับรายการที่น่าเบื่อ กลุ่มตัวอย่างจะถูกวัดว่าสามารถทนความเจ็บปวดได้มากเท่าไรทั้งก่อนและหลังการดูรายการทีวี
ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างที่ดูรายการตลกสามารถทนความเจ็บปวดได้มากขึ้น 10% เมื่อเทียบกับก่อนดูรายการทีวี แต่ทั้งนี้มีเฉพาะคนที่หัวเราะแบบฮาก๊ากเท่านั้นที่ทนความเจ็บปวดได้เพิ่มขึ้น พวกที่หัวเราะกิ๊กๆ กั๊กๆ ทนความเจ็บปวดได้ประมาณเท่าเดิม ส่วนพวกที่ดูรายการน่าเบื่อมีความสามารถในการทนความเจ็บปวดลดลงเล็กน้อย
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ผลการทดลองนี้น่าจะเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการหัวเราะทำให้สมองหลั่ง endorphin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีและคลายความเจ็บปวด สมมติฐานนี้ถูกเสนอกันมานานแล้ว แต่หาหลักฐานตรงๆ มาสนับสนุนได้ยากมาก เพราะ endorphin เป็นฮอร์โมนที่ถูกกักอยู่ในสมอง ไม่สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือด จึงไม่สามารถใช้วิธีเจาะเลือดมาวัดแบบปกติได้
สมมติฐาน endorphin นี้ยังช่วยอธิบายเหตุผลที่การหัวเราะแบบฮาก๊ากเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่าง ขณะที่การแอบหัวเราะขำๆ ไม่ช่วยอะไร เหตุผลนั้นคือ endorphin มักจะหลั่งในกิจกรรมที่มีกล้ามเนื้อหลายชุดทำงานพร้อมกัน ตอนเราปลดปล่อยเสียงหัวเราะอย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อหลายชุดก็มีการทำงาน (เช่น กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อใบหน้า ฯลฯ) กิจกรรมอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่ง endorphin ได้แก่ การออกกำลังกาย ความตื่นเต้น การถึงจุดสุดยอดขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
ที่มา - Live Science, BBC News, New York Times | https://jusci.net/node/2037 | การหัวเราะเป็นยาแก้ปวด |
หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปไปแล้วว่าช้างแอฟริกามีสองสปีชีส์ คราวนี้ก็มาถึงทีของสัตว์แอฟริกาอีกตัว คือ จระเข้แม่น้ำไนล์
ทีมวิจัยที่นำโดย Evon Hekkala แห่ง Fordham University ได้วิเคราะห์ลำดับ DNA จากตัวอย่างเนื้อเยื่อของจระเข้แม่น้ำไนล์ ทั้งที่เก็บจากจระเข้ที่ยังมีชีวิต (123 ตัว) และเนื้อเยื่อจากพิพิธภัณฑ์ (57 ชิ้น รวมถึง "มัมมี่จระเข้" อายุกว่าสองพันปี)
ผลจากลำดับ DNA สรุปชัดเจนว่าจระเข้แม่น้ำไนล์มีสองสปีชีส์ โดยจระเข้ตัวใหญ่ที่อยู่ในทางตะวันออกของแอฟริกา คือ Crocodylus niloticus ส่วนตัวที่อยู่ทางภาคตะวันตกซึ่งมีขนาดตัวเล็กกว่าและดุร้ายน้อยกว่า ได้ชื่อใหม่ว่า Crocodylus suchus เป็นการเลื่อนลำดับจากเดิมที่เคยถูกจำแนกไว้อยู่ที่ระดับ subspecies
ชื่อ suchus ได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกในปี 1807 โดย Geoffroy Saint-Hilaire นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับกันในขณะนั้น แม้ว่าในเวลาต่อมาจะมีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างจระเข้แม่น้ำไนล์ทางตะวันออกและตะวันตก เช่น ลักษณะหัวกะโหลก การเรียงตัวของเกล็ด เป็นต้น และแม้แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ดูเหมือนจะสามารถแยกแยะความแตกต่างของจระเข้ทั้งสองสปีชีส์ได้ เพราะ Herodotus นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกไว้ว่าชาวอียิปต์เลือกเอาเฉพาะจระเข้แม่น้ำไนล์ตัวเล็กมาทำมัมมี่
ที่น่าแปลกใจคือ C. niloticus มีความใกล้ชิดทางวิวัฒนาการกับจระเข้ในแคริบเบียนมากกว่ากับ C. suchus เสียอีก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นไปได้ที่บรรพบุรุษของ C. niloticus จะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปแพร่พันธุ์ เนื่องจากจระเข้ C. niloticus สามารถอดอาหารได้นานถึง 10 เดือน และตัวเมียสามารถเก็บพักน้ำเชื้อไว้ในตัวได้เป็นเวลาค่อนข้างนาน
การแยกจระเข้แม่น้ำไนล์ออกเป็นสองสปีชีส์มีผลกระทบต่อนโยบายการอนุรักษ์พันธุ์จระเข้แน่นอน โดยเฉพาะกับ C. suchus ที่ตอนนี้มีประชากรและที่อยู่อาศัยหดน้อยลงไปทุกที
ที่มา - Nature News | https://jusci.net/node/2038 | แท้จริงแล้วจระเข้แม่น้ำไนล์มีสองสปีชีส์ |
ในงาน Science Festival ที่ Bradford, สหราชอาณาจักร ดร. Matt Watson แห่ง University of Bristol ผู้นำโครงการ SPICE (Stratospheric Particle Injection for Climate Engineering) ได้เผยว่าในเดือนหน้าจะมีการทดสอบเบื้องต้นสำหรับวิธีการใหม่ที่จะเอามาใช้แก้ปัญหาโลกร้อนในอนาคต
โครงการจะโยงสายท่อน้ำเข้ากับบอลลูนฮีเลียม แล้วปล่อยให้บอลลูนลอยขึ้นไปสูง 1 กิโลเมตรเหนือสนามบินที่ Sculthorpe ทางตอนเหนือของ Norfolk ซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว จากนั้นก็จะฉีดน้ำเข้าไปในท่อให้ละอองน้ำปกคลุมพื้นที่รอบๆ
จุดประสงค์ของการทดสอบนี้ก็คือ เพื่อดูว่าละอองน้ำที่ฉีดขึ้นไปจะส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนในบริเวณนั้นบ้าง นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ SPICE คาดว่าละอองน้ำจะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ทำให้อุณหภูมิโดยรอบลดลง
ถ้าหากการทดสอบนี้ได้ผลดีและไม่มีผลกระทบข้างเคียงร้ายแรง โครงการ SPICE ก็จะเสนอวิธีนี้ขึ้นเป็นทางแก้ปัญหาโลกร้อนอีกทาง จุดมุ่งหมายสูงสุดของ SPICE คือฉีดละอองอนุภาคสังเคราะห์จำนวน 10 ตันขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศสูง 20 กิโลเมตร ให้ละอองอนุภาคเหล่านี้ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์เพื่อลดอุณหภูมิโลกลง 2 องศาเซลเซียส (แรงบันดาลใจของโครงการมาจากการลดลงของอุณหภูมิโลกระยะสั้นๆ หลังจากที่ภูเขาไฟขนาดยักษ์ระเบิดพ่นเขม่าควันออกมาปกคลุมชั้นบรรยากาศ)
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เองก็วางให้วิธีแบบ SPICE เป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆ เผื่อไว้กรณีที่มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกไม่ได้ผล เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าการฉีดอนุภาคมหาศาลขึ้นไปบรรยากาศจะกระทบสภาพภูมิอากาศโลกอย่างไรบ้าง แถมแต่ละประเทศก็ได้รับอานิสงส์จากวิธีนี้ไม่เท่ากันด้วยเหตุผลที่ไม่มีใครรู้แน่ชัด ประเทศในแถบศูนย์สูตรมีแนวโน้มจะได้รับผลมากหน่อย ขณะที่แถบขั้วโลกจะมีอุณหภูมิลดลงน้อยกว่า
ที่มา - The Telegraph, BBC News | https://jusci.net/node/2039 | นักวิทยาศาตร์อังกฤษจะทดสอบฉีดน้ำขึ้นไปสู่บรรยากาศ |
หลังจาก NASA สิ้นสุดภารกิจกระสวยอวกาศ ต่อมาก็มีข่าว NASA เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีการเดินทางอวกาศ (1, 2, 3) บวกกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐอเมริกาจนโครงการหลายตัวของ NASA ถูกยกเลิก-ตัดงบ หลายคนก็คงวิตกกังวลว่าทิศทางเทคโนโลยีอวกาศของมนุษยชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป? NASA จะยังพัฒนาการเดินทางอวกาศต่อหรือไม่?
แต่เมื่อวานนี้ (14 กันยายน 2011 ตามเวลาสหรัฐอเมริกา) NASA ได้เผยถึงต้นแบบระบบจรวดตัวใหม่ที่จะใช้ขนส่งนักบินอวกาศขึ้นไปในอวกาศ คราวนี้ NASA ดูจะเอาจริงและคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางงบประมาณอยู่มากพอตัว
ระบบจรวดตัวใหม่ของ NASA ได้ชื่อว่า Space Launch System หรือย่อว่า SLS (ถ้าไม่ขี้เกียจจริง ตั้งชื่อแบบนี้ไม่ได้นะเนี่ย --- New York Times แซวว่าชื่อจริงๆ น่าจะเป็น "Senate Launch System" มากกว่า เพราะคนที่ผลักดันโครงการนี้ให้ผ่านอย่างออกนอกหน้าคือสมาชิกวุฒิสภาสองท่าน Kay Bailey Hutchison จากเท็กซัส {ที่ตั้ง NASA Mission Control} และ Bill Nelson จากฟลอริด้า {ที่ตั้งฐานปล่อยจรวดของ NASA}) รูปแบบของ SLS แทบจะเหมือนกับจรวด Saturn V ที่ใช้ขน Apollo ไปดวงจันทร์ ต่างกันแค่ว่า SLS ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับปรุงเสริมต่อได้มากกว่าเพื่อที่จะเอาไปใช้ในภารกิจที่หลากหลายได้ (ประหยัดงบนั่นเอง)
ระบบขับเคลื่อนของ SLS จะใช้ระบบไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลวเป็นหลัก โดยระบบเครื่องยนต์หลักจะเป็นเครื่องยนต์ RS-25D/E ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากโครงการกระสวยอวกาศและโครงการ Constellation (โครงการหลังนี่เพิ่งโดนสั่งยกเลิกไป) และเครื่องยนต์ขับเคลื่อนชั้นบนจะเป็นเครื่องยนต์ J-2X แต่ว่าในช่วงแรกของการทดสอบพัฒนานั้นอาจจะยังมีการใช้จรวดเชื้อเพลิงแข็ง (solid rocket boosters) ร่วมด้วยไปก่อนเพื่อลดงบประมาณและความเสี่ยงในการดำเนินงาน
ในขั้นแรก แรงยกสัมภาระของ SLS จะอยู่ที่ประมาณ 70-100 เมตริกตัน แต่หลังจากพัฒนาไปเรื่อยๆ NASA หวังว่าจะสามารถเพิ่มแรงยกไปได้ถึง 130 เมตริกตัน (เทียบกับ Saturn V มีแรงยก 120 เมตริกตัน) โดย NASA ตั้งเป้าว่าการทดสอบบินโดยไม่มีมนุษย์จะเสร็จสิ้นในปี 2017 ภายใต้งบประมาณ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ผู้เชี่ยวชาญหลายคนไม่ค่อยเชื่อตัวเลขนี้มากนัก เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา NASA เลื่อนเป้าหมายและขอเพิ่มงบตลอด)
หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ภารกิจหลักของ SLS จะเป็นการขนส่งมนุษย์ขึ้นไปกับ Orion Multi-Purpose Crew Vehicle ซึ่งเป็นแคปซูลอวกาศที่โคจรในวงโคจรระดับต่ำ (low Earth orbit) แต่เป้าหมายสูงสุดของ NASA จริงๆ คือการพานักบินอวกาศไปร่อนลงปักธงบนดาวอังคาร (เรื่องปักธงบนดาวอังคารนี้ NASA ไม่ได้กำหนดเป้าหมายตายตัวหรือรับรองอย่างเป็นทางการ)
ใครสนใจเกี่ยวกับ SLS สามารถติดตามข่าวได้จาก http://go.nasa.gov/newlaunchsystem และ http://www.nasa.gov/exploration
ที่มา - ประกาศของ NASA, Science Daily, New York Times, Popular Science
รูปวาดแสดงต้นแบบของ SLS ภาพซ้ายมือคือ SLS ในขั้นแรก และภาพทางขวามือคือ SLS ขั้นสุดยอดหลังจากพัฒนาเสร็จสิ้น
ภาพจากเอกสาร SLS Fun Facts ของ NASA | https://jusci.net/node/2040 | NASA เผยต้นแบบจรวดตัวใหม่... เป้าหมายต่อไปคือดาวอังคาร |
อำพัน (amber) คือยางไม้ที่แข็งตัว มีลักษณะใสๆ หลายคนนิยมเอามาทำเครื่องประดับ แต่นักชีววิทยาไม่ได้มองอำพันเป็นแค่สิ่งสวยงามเท่านั้น คุณค่าของอำพันในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ติดอยู่ในอำพัน
โดยส่วนใหญ่ สิ่งมีชีวิตที่เข้าไปติดอยู่ในอำพันจะเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แมลง ฯลฯ แต่ทีมวิจัยที่นำโดย Ryan McKellar แห่ง University of Alberta ประเทศแคนาดา ได้ค้นพบว่าในอำพันบางก้อนยังมีขนนกติดอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าขนนกในอำพันจะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายๆ ทีมของ Ryan McKellar ต้องค้นอำพันกว่า 4,000 ชิ้น ถึงได้เจออำพันเพียง 11 ชิ้นเท่านั้นที่มีขนนกติดอยู่ข้างใน
อำพันเหล่านี้ได้มาจาก Grass Lake ในทางตะวันตกของประเทศแคนาดาซึ่งเคยเป็นป่าสน ตัวอย่างอำพันที่สำรวจในครั้งนี้เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Royal Tyrrell Museum แต่ละชิ้นมีอายุตั้งแต่ 70-85 ล้านปี
การค้นพบขนนกในอำพันถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในทางชีววิทยา เพราะขนนกในอำพันถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีมากถึงดีที่สุด นักวิทยาศาสตร์สามารถเห็นลักษณะรายละเอียดแบบสามมิติหรือแม้กระทั่งเม็ดสีที่อยู่ในขนนกของจริง ลักษณะเหล่านี้ไม่มีทางศึกษาได้เลยจากตัวอย่างที่พบในซากฟอสซิลหิน
เพื่อศึกษารายละเอียดขนนกในอำพัน นักวิจัยต้องค่อยๆ ฝนอำพันให้บางที่สุดจนอีกแค่ไม่กี่มิลลิเมตรก็ถึงขนนก จากนั้นก็เอาไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ ขนนกที่พบในครั้งนี้มีทั้งขนที่เป็นลักษณะเป็นขนเดี่ยวง่ายๆ แบบที่พบในไดโนเสาร์ที่มีขน (เช่น Sinosauropteryx) จนถึงขนที่มีลักษณะซับซ้อน มีเส้นแขนงใหญ่ (barb) และแขนงย่อย (barbule) มีตะขอเล็กๆ เกี่ยวแขนงขน แบบที่พบในนกปัจจุบัน บางขนยังมีลักษณะที่สามารถอุ้มน้ำได้แบบขนนกเพนกวินอีกด้วย
สีของขนนกที่เห็นใต้กล้องจุลทรรศน์นั้นมีตั้งแต่โปร่งใสไปจนถึงสีน้ำตาลและสีดำ ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าสีขนของนกและไดโนเสาร์ในยุคนั้นคงมีความหลากหลายพอสมควร อาจจะไม่ได้ด้อยไปกว่าสีสันของขนนกในปัจจุบันก็ได้
ส่วนการศึกษาเม็ดสีในขนนกอย่างละเอียดนั้นต้องพึ่งเทคนิคที่พัฒนาโดยทีมวิจัยของ Roy A. Wogelius แห่งมหาวิทยาแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ซึ่งจะใช้รังสีเอ๊กซ์วิเคราะห์ธาตุโลหะที่อยู่ในโมเลกุลของเม็ดสีเพื่อทำนายสีที่น่าจะเป็นไปได้ แต่เทคนิคนี้ยังต้องพัฒนาอีกกันเยอะ
ผลงานของทีม Ryan McKellar ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science (DOI: 10.1126/science.1203344 ) และงานของ Roy A. Wogelius ก็ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science เช่นเดียวกัน (DOI: 10.1126/science.1205748)
ที่มา - Nature News, New York Times, Live Science, PhysOrg, Science News, BBC News
Live Science ได้รวบรวมรูปขนนกในอำพันไว้เป็นอัลบั้มอยู่ที่ www.livescience.com/16067-ancient-feathered-friends-images-feathers-amber.html ข้างล่างนี้คือภาพตัวอย่างของขนนกในอำพัน (เครดิตภาพทั้งหมด: Science/AAAS) | https://jusci.net/node/2041 | นักวิทยาศาสตร์แคนาดาพบขนนกยุคไดโนเสาร์ในอำพัน |
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2011 ในประชุมเพื่อการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2012 วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาได้มีมติผ่านข้อเสนออนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการ James Webb Space Telescope (JWST) ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2018 ตามกระแสเรียกร้องจากนักวิทยาศาสตร์และผู้สนใจทั่วสหรัฐฯ (หรืออาจจะทั่วโลก)
ในข้อเสนอนี้ JWST จะได้รับงบประมาณในปีงบประมาณ 2012 เป็นเงิน 530 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากจำนวนงบทั้งหมด 1.79 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จัดสรรให้กับ NASA (ถ้าข้อเสนอนี้ผ่าน งบของ NASA จะลดลงจากปีงบประมาณที่แล้ว 509 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
James Webb Space Telescope เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ NASA และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกวางตัวไว้ให้เป็นทายาทของ Hubble Space Telescope ซึ่งมีอายุ 20 กว่าปีแล้ว JWST จะรับแสงในย่านความถี่อินฟราเรดเพื่อศึกษากำเนิดของเอกภพ, กาแล็กซี่, ดาวฤกษ์, ดาวเคราะห์ และทุกสิ่งในจักรวาล
อย่างไรก็ดี อย่าเพิ่งกระโดดโลดเต้นดีใจกับ NASA ในตอนนี้ เพราะว่าข้อเสนอนี้จะต้องผ่านการโหวตจากวุฒิสภาอีกรอบ เมื่อผ่านวุฒิสภาแล้วก็ยังต้องไปงัดค้างกับข้อเสนอฉบับของทำเนียบขาวอีก (สภาผู้แทนฯ ของสหรัฐฯ เพิ่งจะมีมติยกเลิก JWST ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2011 เนื่องจากเห็นว่าใช้งบเปลืองและสร้างผลงานล่าช้า) หากในที่สุด JWST ได้งบท่อน้ำเลี้ยงต่อจริงๆ คนที่ได้หน้าที่สุดก็คงไม่พ้น ส.ว. Barbara Mikulski แห่งรัฐแมรี่แลนด์ ที่ผลักดันข้อเสนอนี้สุดตัว
ที่มา - Universe Today, ScienceInsider | https://jusci.net/node/2042 | วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาผ่านข้อเสนอต่อลมหายใจโครงการ James Webb Space Telescope |
ดาวเคราะห์ในระบบดาวคู่ (binary system) เป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าไม่น่าจะพบได้บ่อยนักในเอกภพของเรา แม้ต่อมาจะมีการค้นพบดาวเคราะห์หลายดวงที่ต้องสงสัยว่าจะโคจรรอบดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่ แต่ก็ยังไม่เคยมีการค้นพบหลักฐานชิ้นสำคัญว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นโคจรรอบดาวฤกษ์สองดวงในเวลาเดียวกัน
กระทั่ทีมวิจัยที่นำโดย Josh Carter แห่ง Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics ได้ค้นพบดาวเคราะห์ Kepler-16b ในระบบดาวฤกษ์ Kepler-16B ซึ่งอยู่ห่างจากโลกของเราไป 200 ปีแสง
Kepler-16b ค้นพบครั้งแรกด้วยกล้องโทรทรรศน์บนยานอวกาศ Kepler ของ NASA ขนาดและมวลของมันใกล้เคียงกับดาวเสาร์ มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -73 ถึง -100 องศาเซลเซียส หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มจากกล้องโทรทรรศน์ Tillinghast Reflector Echelle Spectrograph (TRES) ในแอริโซน่า Josh Carter พบว่า Kepler-16b มีวงโคจรวิ่งรอบดาวฤกษ์ทั้งสองดวง โดยใช้เวลา 229 วัน ในการโคจรครบ 1 รอบ
การศึกษาเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลมากๆ มักจะใช้วิธีดูจากแสงของดาวฤกษ์ที่ถูกดาวเคราะห์บังเป็นคาบๆ กรณีของ Kepler-16b ก็ใช้วิธีนี้เช่นเดียวกัน แต่เราก็ต้องชื่นชมความสามารถครั้งนี้ทีมของ Josh Carter เพราะดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่จะมีการเคลื่อนที่มาบังกันเองเป็นระยะด้วย ทำให้การวิเคราะห์เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์ยากขึ้นเป็นทวีคูณ
ที่มา - The Register, PhysOrg
หากใครรู้สึกว่า "ดวงอาทิตย์สองดวง" เป็นเรื่องคุ้นๆ ดูจากวิดีโอข้างล่างอาจจะพอนึกออกก็ได้ | https://jusci.net/node/2043 | Kepler-16b ดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์สองดวง |
สีชมพูถือได้ว่าเป็นสีเฉพาะของผู้หญิงอย่างไม่เป็นทางการ เพราะผู้หญิงทั่วโลกดูจะชื่นชอบสีชมพูเป็นพิเศษ เมื่อต้นปี 2011 ที่ผ่านมา Vanessa LoBue แห่ง Rutgers University และ Judy DeLoache แห่ง University of Virginia เผยงานวิจัยในวารสาร British Journal of Developmental Psychology (DOI: 10.1111/j.2044-835X.2011.02027.x) ว่าเด็กผู้หญิงเริ่มแสดงความชอบสิ่งของสีชมพูตั้งแต่อายุสองขวบ
การทดลองของทั้งสองทำกับเด็กชาย-หญิงอายุตั้งแต่ 7 เดือน ถึง 5 ปี โดยเด็กๆ จะได้เลือกสิ่งของ เช่น กำไลข้อมือ, กรอบรูป, ถ้วย ฯลฯ ของแต่ละอย่างจะมาเป็นคู่ แต่ละคู่จะมีหนึ่งชิ้นที่มีสีชมพู
ผลปรากฏว่าเด็กผู้หญิงเริ่มเลือกสีชมพูถี่กว่าเด็กผู้ชายเมื่ออายุได้สองขวบ และเมื่ออายุได้สองขวบครึ่ง ความแตกต่างก็มีเริ่มมีนัยสำคัญ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ส่วนเด็กผู้ชายก็เริ่มมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการเลือกสิ่งของสีชมพูอย่างมีนัยสำคัญในช่วงอายุสองขวบครึ่งเช่นเดียวกัน
งานวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่สรุปว่าเด็กอายุสองถึงสามปีจะเริ่มให้ความสนใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศและพยายามหาลักษณะที่สื่อถึงสัญลักษณ์ของเพศตนเอง นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ามนุษย์เพศหญิงมีสัญชาตญาณชอบสีที่สดใสอย่างสีชมพูเนื่องจากเป็นสีของผลไม้สุก
ที่มา - The Telegraph | https://jusci.net/node/2044 | เด็กผู้หญิงเริ่มชอบสีชมพูตั้งแต่อายุสองขวบ |
กระบวนการส่งสัญญาณชีวเคมีในเซลล์หรือที่เรียกว่า "cell signaling" เป็นกระบวนการที่สัญญาณจากสิ่งเร้าถูกส่งผ่านสารเคมีในเซลล์ไปเป็นทอดๆ จนกระทั่งถึงส่วนตอบสนองของเซลล์ที่จะทำงานเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ เช่น เปิดการทำงานของยีนเพื่อสร้างโปรตีนออกมา เป็นต้น
Ilya Nemenman แห่ง Emory University กับ Andre Levchenko แห่ง Johns Hopkins University เกิดความสงสัยว่าปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านกระบวนการส่งสัญญาณหนึ่งๆ คิดเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับหน่วยการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล พวกเขาจึงร่วมมือกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์อีกสามคน (Raymond Cheong, Alex Rhee และ Chiaochun Joanne Wang) คิดค้นสูตรที่จะเอามาใช้คำนวณ
ตัวอย่างแรกที่ทีมวิจัยนี้เลือกมาคำนวณ คือ กระบวนการส่งสัญญาณของ nuclear factor kappa B (NF-κB) ซึ่งรับผิดชอบการตอบสนองต่อการรุกรานของเชื้อโรคและเซลล์มะเร็ง, อนุมูลอิสระ, ความเครียด
ลองทายดูกันสิครับว่า NF-κB จะส่งข้อมูลได้เท่าไร? 1 MB? 1 GB? หรือ 1 TB?
ผลปรากฏว่าสัญญาณที่ส่งผ่าน NF-κB คิดเทียบเท่ากับข้อมูลดิจิตอลไม่ถึงหนึ่งบิต (bit)!
ข้อมูลหนึ่งบิตเป็นหน่วยสัญญาณที่เล็กที่สุดที่กำหนดว่าสถานะเป็นอย่างไร นั่นแปลว่าข้อมูลที่ส่งผ่าน NF-κB ไม่เพียงพอที่จะให้เซลล์ตัดสินใจทำอะไรแม้แต่อย่างเดียวเลย!
เมื่อทีมวิจัยลองใช้วิธีคำนวณเดียวกันกับกระบวนการส่งสัญญาณของสารชีวเคมีอีกหลายตัว ก็พบว่าสัญญาณที่ส่งข้อมูลได้ไม่ถึงหนึ่งบิตนี้พบได้ทั่วไปในสารอื่นๆ ด้วย
ถ้ามันเป็นอย่างนี้แล้ว เซลล์ไปดึงเอาข้อมูลที่ไหนมาใช้ในการทำงานตอบสนองโน่นนี่?
คำตอบที่นักวิทยาศาสตร์คิดได้ในตอนนี้ คือ เซลล์ใช้วิธีการประมวลผลร่วมกับเซลล์ข้างเคียงหลายๆ เซลล์ หรือที่เรียกว่า "population coding" ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่เซลล์ประสาทใช้ในการแปลผลสัญญาณคลื่นไฟฟ้า ข้อมูลไม่ถึงบิตของหลายกระบวนการ, ของหลายเซลล์ พอเอามารวมกันก็น่าจะพอให้เซลล์ตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้
สรุปว่าแท้จริงแล้วร่างกายมนุษย์ที่เราคิดว่าดีเลิศแล้วเนี่ยรับ-ส่งข้อมูลได้กากกว่าสัญญาณอินเตอร์เน็ต[เติมชื่อค่ายเอาเอง]เสียอีก
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/2045 | นักวิทยาศาสตร์เทียบปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านสัญญาณชีวเคมีเป็นหน่วยดิจิตอล |
นักวิทยาศาสตร์พบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็ก ๆ จะจำศีลในฤดูหนาว เพื่อที่จะให้มีอายุยืนยาวขึ้น ในการทดลองกับหนูแฮมสเตอร์สายพันธุ์ Djungarian ที่พบได้ทั่วไปในไซบีเรีย พบว่า เมื่อพวกมันลดการเผาผลาญพลังงาน และอุณหภูมิร่างกายลงจนถึงขั้นที่เรียกว่า การจำศีล มันสามารถหยุด และย้อนกลับความเสียหายของโครโมโซมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตได้
คุณ Christopher Turbill แห่งสถาบันเพื่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าในกรุงเวียนนา ได้สร้างสภาพแวดล้อมจำลองสำหรับหนูแฮมสเตอร์สาวบริสุทธิ์จำนวน 25 ตัว โดยมีเวลาช่วงกลางวันเพียง 8 ช.ม. และฤดูหนาวที่ผิดปกติ เพื่อให้หนูจำศีลขึ้นมา โดยครึ่งหนึ่งจะมีฤดูหนาวที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และอีกครึ่งที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส แต่ทั้งหมดจะมีอาหารให้กินอย่างอุดมสมบูรณ์
ในการวัดผล นักวิทยาศาสตร์จะแยกภาวะจำศีลออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับตื้น อุณหภูมิร่างกายจะต่ำกว่า 29 องศาเซลเซียส และระดับลึก อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ใกล้กับ 10 องศาเซลเซียส โดยการสอดแผ่น micro-transponder ไว้ใต้ผิวหนังเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง
คุณ Turbill พบว่าสถานะที่ใกล้โคม่าแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อ telomere ซึ่งเป็นเสมือนฝาครอบปลายโครโมโซม เพื่อป้องกันรหัสดีเอ็นเอเอาไว้ ซึ่ง telomere จะมีเอนไซม์ telomerase เป็นตัวควบคุม และเป็นตัวแทนของการเจริญเติบโต และช่วงชีวิต เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว telomere จะเสียหายไปเล็กน้อย เอนไซม์ก็จะซ่อมแซมมันบางส่วน เมื่อใดก็ตามที่ telomere เสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ เซลล์นั้นก็จะตาย สำหรับหนูแฮมสเตอร์ที่จำศีลทุกวันเป็นเวลาหลายชั่วโมงนั้น ในบางครั้งมันสามารถรักษา หรือคืนสภาพให้กับ telomere ได้ และถ้าหนูแฮมสเตอร์เหล่านี้จำศีลในระดับลึก ผลที่ได้ก็จะเด่นชัดมากขึ้น
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ หนูแฮมสเตอร์ตัวเดียวกันนั้นจะใช้พลังงานมากขึ้นตามปริมาณอาหารที่กินเข้าไป
คุณ Turbill บอกว่า โดยทั่วไป สิ่งนี้น่าจะเกิดกับสัตว์ทุกชนิดที่มีการจำศีล แต่ไม่ใช่กับมนุษย์ เพราะว่า การจำศีลนั้นต่างจากการนอนหลับโดยสิ้นเชิง เวลาหลับมนุษย์ไม่ได้ลดอุณหภูมิร่างกายลง และไม่ได้ลดการเผาผลาญพลังงานลงมากแต่อย่างใด และยังไม่พบวิธีใด ๆ ที่จะทำให้มนุษย์เข้าสู่ภาวะจำศีลได้
ที่มา: AFP ผ่าน Yahoo! News
*การจำศีล มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
จำศีลในช่วงระยะเวลาที่เลวร้าย (torpor) สัตว์ที่เข้าสู่ภาวะจำศีลแบบนี้จะตื่นขึ้นมาเมื่อผ่านช่วงเวลาดังกล่าวไป เช่น หนูแฮมสเตอร์ในการทดลองนี้ ที่จะจำศีลในช่วงเวลากลางคืน
การจำศีลในฤดูหนาว (hibernation) สัตว์จะจำศีลตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน ตลอดช่วงฤดูหนาว อย่างหมีขั้วโลก | https://jusci.net/node/2046 | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ขี้เกียจจะอายุยืน? |
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2011 ที่ประชุมขององค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ CERN (หรือที่รู้จักกันดีในฐานะองค์การที่คุม LHC; หรือที่รู้จักกันดียิ่งขึ้นไปอีกในสมญา "กลุ่มนักฟิสิกส์ที่จะสร้างหลุมดำมาทำลายล้างโลก") ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้มีมติลงนามในข้อตกลงรับอิสราเอลเข้าเป็นสมาชิกในระดับ Associate Membership
การได้เป็น Associate Member หมายความว่าอิสราเอลจะได้โอกาสเป็นเวลา 2 ปีในการแสดงศักยภาพให้เป็นที่ประจักษ์ หลังจากนั้นในปี 2013 สถานะสมาชิกภาพของอิสราเอลก็จะถูกประเมินอีกครั้งว่าผ่านมาตรฐานการเป็นสมาชิกเต็มตัว (Full Membership) หรือไม่ (โอกาสผ่านมีสูงกว่าไม่ผ่านเยอะ)
อิสราเอลเข้าร่วมเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer) ของ CERN มาตั้งแต่ปี 1991 และก็ให้การสนับสนุน CERN เป็นอย่างดีมาโดยตลอด (ทั้งทางด้านการเงินและการวิจัย) จนเมื่อปี 2009 ก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้สังเกตการณ์พิเศษ มีสิทธิ์เข้าร่วมในการประชุมพิเศษๆ โดยเฉพาะวาระที่เกี่ยวกับ LHC (แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน)
ข่าวหลายสำนักรายงานว่าในตอนแรกมีหลายประเทศสมาชิกออกเสียงคัดค้านการรับอิสราเอลเข้าเป็นสมาชิก Associate Member โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรและสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ แต่ตัวแทนของทั้ง CERN และอิสราเอลยืนยันว่านักวิจัยชาวอิสราเอลกับชาวปาเลสไตน์ (และชาวอาหรับอื่นๆ) สามารถทำงานร่วมกันได้ ที่ผ่านมานักวิจัยชาวอิสราเอลที่ CERN ก็ทำงานร่วมกับนักศึกษาปาเลสไตน์อยู่บ่อยครั้ง มันเป็นจุดประสงค์ของ CERN อยู่แล้วที่จะเป็นศูนย์กลางชุมชนนักวิทยาศาสตร์โดยปราศจากประเด็นเรื่องการเมือง
ถ้าหากอิสราเอลได้เป็นสมาชิกเต็มตัวในปี 2013 ก็จะถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 21 และเป็นสมาชิกชาติแรกที่ไม่ใช่ชาติยุโรป (ก่อนหน้านี้ตำแหน่งว่าที่สมาชิกลำดับที่ 21 เป็นของประเทศโรมาเนียซึ่ง CERN รับเข้าเป็น Candidate for Accession มาตั้งแต่ปี 2010 แล้ว แต่ว่าโรมาเนียต้องอยู่ในช่วงดูผลงานเป็นเวลา 5 ปี กว่าจะได้เป็นสมาชิกเต็มตัวก็ต้องรอถึงปี 2015 เป็นอย่างน้อย) รายชื่อของประเทศสมาชิกทั้ง 20 ประเทศในปัจจุบันสามารถดูได้จาก http://international-relations.web.cern.ch/International-Relations/ms/
ค่าธรรมเนียมสมาชิกภาพรายปีของ CERN ตกอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านสวิสฟรังก์ (ประมาณ 3.47 หมื่นล้านบาท) ฉะนั้นในฐานะของ Associate Member อิสราเอลก็ต้องจ่ายเงิน 25% ของจำนวนนี้เข้า CERN ด้วย (รู้สึกว่าการจ่ายค่าธรรมเนียมสมาชิกก็มีผลต่อการประเมินในอีกสองปีข้างหน้าพอสมควร)
ที่มา - CERN Press Release, PhysOrg, ScienceInsider | https://jusci.net/node/2047 | อิสราเอลเตรียมเข้าเป็นสมาชิก CERN เต็มตัว |
ทาง Sangamo BioSciences Inc ได้ทำการทดสอบการบำบัดทางยีนส์เบื้องต้นกับผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 10 คน ซึ่งกำลังได้รับยาต้านไวรัสอยู่ หลังจากได้เริ่มบำบัดทางยีนส์ได้ 4 สัปดาห์ ก็ทดลองให้ผู้ติดเชื้อจำนวน 6 คน หยุดใช้ยาต้านเชื้อเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า ผู้ติดเชื้อ 3 ใน 6 คน มีปริมาณไวรัสลดน้อยลง และหนึ่งในนั้นตรวจไม่พบเชื้อ HIV
ผู้ป่วยคนนี้มียีนส์ CCR5 ข้างหนึ่งที่มีกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์จะมายีนส์อยู่เป็นคู่ ๆ ข้างหนึ่งจะได้จากฝ่ายพ่อ อีกข้างหนึ่งจะได้จากฝ่ายแม่ คู่ของยีนส์เหล่านี้จะเรียกว่า อัลลีล (alleles) เมื่อยีนส์ข้างหนึ่งของเขาได้กลายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ก่อนแล้ว และเกิดการกลายพันธุ์โดยการบำบัดทางยีนส์ในยีนส์อีกข้างหนึ่ง ทำให้ยีนส์ CCR5 ในเซลล์ของผู้ติดเชื้อคนนี้ได้หายไป เซลล์นี้จะไม่เป็นพาหะให้กับไวรัส HIV อีกต่อไป เมื่อเซลล์แบ่งตัวมากขึ้น มากขึ้น ปริมาณไวรัสก็จะลดลงเรื่อย ๆ
ทาง Sangamo เชื่อว่า มีผู้ติดเชื้อ HIV ประมาณ 5 - 10% ที่มียีนส์ที่เกิดการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ การมุ่งรักษาผู้ติดเชื้อที่มีการกลายพันธุ์อยู่ก่อนแล้ว จะทำได้ง่ายขึ้น รวมถึง หากสามารถหาวิธีที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วย SB-728-T ได้มากขึ้น และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ที่กลายพันธุ์เรียบร้อยแล้วได้ และหากเป็นวิธีที่ปลอดภัย การบำบัดทางยีนส์อาจจะใช้แทนการใช้ยาต้านไวรัสได้ในอนาคต
ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อ HIV ประมาณ 33 ล้านคน ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ ประเทศแอฟริกาใต้ มีผู้ติดเชื้อ 5.38 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 10.76% ของจำนวนประชากร (ข้อมูลปี พ.ศ. 2546) ส่วนในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อประมาณ 610,000 คน คิดเป็นประมาณ 0.98% ของจำนวนประชากร (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550)
ที่มา: Reuters ผ่าน Yahoo! News | https://jusci.net/node/2048 | ในเบื้องต้น การใช้ยีนส์บำบัดกับผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผล |
อาการเจ็บแคม หรือ Vulvodynia เป็นอาการเจ็บเรื้อรังที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิง เช่น แคม ปากช่องคลอด เป็นต้น สาเหตุของอาการ Vulvodynia ยังไม่เป็นที่แน่ชัด อาการมีได้ตั้งแต่การคัน ระคายเคือง ไปจนถึงเจ็บแสบ ส่วนใหญ่มักจะเจ็บขณะร่วมเพศ แต่บางคนแค่นั่งเฉยๆ ก็เจ็บได้ (กรุณาอย่าสับสนกับอาการคันหู ^.^)
จากการศึกษาล่าสุดโดย น้องจ๊ะ วงเทอร์โบ ดร. Barbara Reed แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่าผู้หญิงที่มีอาการเจ็บแคมมักไม่สนใจไปหาหมอเพื่อตรวจรักษา
การศึกษานี้ทำโดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง 2,269 คนในดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2008-2009 นักวิจัยใช้วิธีโทรสุ่มไปหากลุ่มตัวอย่างแล้วสอบถามด้วยอาการที่ใช้ในการวินิจฉัย Vulvodynia
ผลปรากฏว่า 8% ของกลุ่มตัวอย่างรายงานอาการที่เชื่อได้ว่าเป็นอาการของ Vulvodynia และ 25% รายงานว่าเคยมีอาการดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต โดยพบอาการในกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่อายุ 18-70 ปี ช่วงอายุเริ่มต้นของการมีอาการเจ็บเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ปี และมีระยะอาการเฉลี่ยประมาณ 12.5 ปี ซึ่งผลนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่ประเมินไว้ว่าผู้หญิง 3-14% มีอาการ Vulvodynia (ผมไม่แน่ใจว่านี่เป็นตัวเลขประเมินเฉพาะในสหรัฐอเมริกาหรือของทั่วโลก?)
ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการนั้น กว่าครึ่งไม่เคยคิดจะไปหาหมอเลย โดยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นอาการปกติของชีวิตลูกผู้หญิง
ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มที่เคยไปปรึกษาแพทย์ บางคนก็ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการเจ็บจากสาเหตุอื่น เช่น ความเครียดขณะมีเซ็กซ์ หรือ การติดเชื้อในช่องคลอด
การรักษา Vulvodynia ในปัจจุบันมีทั้งการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด ดังนั้นหากใครสงสัยว่ามีอาการก็ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้เรื้อรังถึง 12.5 ปีตามค่าเฉลี่ยของการศึกษานี้
ที่มา - MyHealthNewsDaily | https://jusci.net/node/2049 | ผู้หญิงเกือบหนึ่งในสิบมีอาการเจ็บแคม แต่ส่วนใหญ่ไม่ไปหาหมอ |
เราอาจจะเคยอ่านหนังสือกันมาว่าสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลกนั้นเกิดจากดาวตกทำให้เกิดฤดูหนาวอันยาวนานจนไดโนเสาร์ทนไม่ได้ ดาวตกที่ว่างั้นมักเชื่อกันว่าเป็นดาวในกลุ่ม Baptistina ซึ่งเป็นเคยเชื่อกันว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ชนเข้ากับดาวดวงอื่นจนแตกตัวในช่วงเดียวกับไดโนเสาร์บนโลกสูญพันธุ์ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเศษจากการแตกตัวชิ้นหนึ่ง (ซึ่งใหญ่หลายกิโลเมตร) อาจจะตกใส่โลก
แต่โครงการ WISE (Wide-field Infrared Survey Explorer) ของนาซ่าก็ได้สำรวจสะเก็ดดาวเหล่านี้จำนวนนับแสนชิ้น โดยในจำนวนนั้น 1,056 ชิ้นเป็นเศษจากการแตกตัวของ Baptistina เมื่อหาขนาดของแต่ละชิ้น นักวิจัยสามารถประมาณน้ำหนักของแต่ละชิ้น โดยชิ้นส่วนขนาดใหญ่จะใช้เวลากระจายนานกว่าชิ้นเล็กๆ เมื่อนำระยะห่างของแต่ละชิ้นมาดูพิกัดแล้ว นักวิจัยจะสามารถคำนวณย้อนกลับหาช่วงเวลาที่มันเริ่มแตกตัวได้ และเมื่อคำนวณออกมาแล้วพบว่าช่วงเวลาที่มันแตกตัวนั้นเป็นเวลาประมาณ 80 ล้านปีก่อน ก่อนไดโนเสาร์สูญพันธุ์ถึง 15 ล้านปี ขณะที่หากชิ้นส่วนหลุดวงโคจรออกมา มันจะมาถึงโลกในเวลาไม่นานนัก
โครงการ WISE ยังพบสะเก็ดดาวจำนวนหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกับแร่ธาตุที่พบบนผิวโลก หากเราสามารถจัดหมวดหมู่ของสะเก็ดดาวเหล่านี้ได้ และย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาแตกตัวของมันได้ เราก็อาจจะเจอดาวเคราะห์ต้นเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เข้าสักวันหนึ่ง
ที่มา - NASA | https://jusci.net/node/2050 | นาซ่าระบุ "ดาวเคราะห์ Baptistina ไม่ได้ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์" |
นอกจากการคิดว่าคนส่วนใหญ่คล้ายกับตัวเองแล้ว ธรรมชาติของเรายังเชื่ออีกด้วยว่าคนที่มีความเห็นหรือใช้ชีวิตคล้ายกับเราจะต้องเชื่อและมีมุมมองทางการเมืองหรือสังคมเหมือนกับเราด้วย อาการที่เราคิดไปเองว่าคนอื่นเชื่อเหมือนกับเรา เรียกว่า "social projection" และจากการศึกษาล่าสุดโดย Namkje Koudenburg, Tom Postmes และ Ernestine H. Gordijn แห่ง University of Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่ามนุษย์ยังชอบคิดเอาเองอีกว่า "พลังเงียบ" เข้าข้างพรรคการเมืองของตัวเองด้วย
"พลังเงียบ" ในที่นี้หมายถึง กลุ่มคน(ในจินตนาการของกลุ่มตัวอย่าง)ที่ไม่ได้แสดงจุดยืนทางการเมืองและไม่ได้ไปลงเสียงเลือกตั้ง
ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจความเห็นของกลุ่มตัวอย่างชาวเนเธอร์แลนด์ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง โดยคำถามหลักจะเป็นการให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนประเมินว่าพรรคที่ตัวเองชื่นชอบควรจะได้คะแนนเสียงเท่าไรในกรณีที่ 1) พวกพลังเงียบไม่ออกมาเลือกตั้ง และ 2) พวกพลังเงียบออกมาเลือกตั้งครบทุกคน
ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดประเมินตรงกันว่าพรรคที่ตัวเองชื่นชอบจะได้รับคะแนนเสียงเยอะขึ้นหากพวกพลังเงียบออกมาเลือกตั้ง แม้ว่าผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะออกมาว่าพรรคนั้นแพ้หลุดลุ่ยก็ตาม โดยเฉลี่ยเชื่อกันว่าพรรคของตัวเองสมควรจะได้รับคะแนนเพิ่มขึ้น 17% จากพลังเงียบ แต่สำหรับพวกที่คลั่งไคล้พรรคการเมืองนั้นๆ เข้าขั้นระดับแฟนพันธุ์แท้ พวกนี้จะยิ่งประเมินว่าพลังเงียบเข้าข้างพรรคตัวเองสูงเข้าไปอีก
ผมว่าถ้ามีใครสนใจทำงานวิจัยแนวนี้ในประเทศไทยตอนนี้ ตัวเลขคงสูงกว่า 17% เยอะ ยิ่งถ้าเน้นคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกองเชียร์ของพรรคบางพรรค(ที่แพ้เลือกตั้งบ่อยๆ) ตัวเลขอาจทะลุเกิน 100% ก็ได้
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/2051 | "เชื่อสิ...พลังเงียบเห็นด้วยกับเรา" |
หมึก Octopoteuthis deletron ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลลึก การสืบพันธุ์ของ O. deletron ก็เหมือนกับหมึกส่วนใหญ่ นั่นคือตัวผู้จะใช้ระยางค์เส้นเฉพาะหยิบเอาถุงน้ำเชื้อที่เรียกว่า "spermatangia" ไปวางแปะไว้บนตัวเมีย หลังจากนั้นสเปิร์มก็จะหาทางว่ายเข้าไปผสมกับไข่ด้วยตัวเอง
ทีมวิจัยที่นำโดย Hendrik Hoving แห่งสถาบันวิจัย Monterey Bay Aquarium Research Institute ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ต้องการศึกษาชีวิตรักของ O. deletron ในธรรมชาติ พวกเขาจึงติดตั้งกล้องเข้ากับยานควบคุมทางไกล (remotely operated vehicles) แล้วส่งยานไปดำน้ำลึกที่ระดับ 400-800 เมตรในเขต Monterey Submarine Canyon
พวกเขาสามารถจับภาพ O. deletron ได้ถึง 108 ตัว แต่แยกแยะเพศได้เพียงแค่ 39 ตัว ในจำนวนนี้พบว่าหมึก 19 ตัวมี spermatangia ติดอยู่บนตัว (แต่ละตัวมี spermatangia ประมาณ 15-150 ถุง)
ที่น่าประหลาดใจคือ หมึกที่ spermatangia ติดอยู่บนตัว 10 ตัวเป็นหมึกตัวเมีย ทีเหลืออีก 9 ตัวเป็นตัวผู้!
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังพบด้วยว่าซากหมึก O. deletron ตัวผู้บางตัวที่ติดกับอวนประมงก็มี spermatangia เปล่าๆ ติดอยู่บนตัวเหมือนกัน
ดังนั้นทีมวิจัยจึงสรุปได้ทันทีว่า หมึก O. deletron ตัวผู้ผสมพันธุ์โดยไม่สนใจว่าคู่ของมันจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย
หมึก O. deletron ตัวผู้ส่วนใหญ่จะตายหลังจากได้วาง spermatangia แล้ว ดังนั้นการเที่ยวแปะ spermatangia มั่วซั่วแบบนี้จึงถือว่าเป็นการลงทุนที่เสี่ยงมาก (ต่อให้ไม่ตาย การแปะ spermatangia บนตัวผู้ก็เป็นการขาดทุนอยู่ดี) Hendrik Hoving เชื่อว่าเหตุผลที่ O. deletron ยอมเสี่ยงวัดดวงแปะ spermatangia โดยไม่สนเพศนี้เป็นเพราะโอกาสที่หมึกจะได้เจอหมึกตัวอื่นในทะเลลึกนั้นน้อยมาก (หมึก O. deletron บางตัวอาจไม่เคยเจอหมึกตัวอื่นเลยตลอดอายุขัยของมัน) และความมืดในทะเลลึกก็ทำให้การรู้เพศฝ่ายตรงข้ามเป็นเรื่องที่ยาก หมึกตัวผู้ที่ต้องการสืบเผ่าพันธุ์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากแปะไปมั่วๆ เท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางคนก็เชื่อว่าพฤติกรรมการกินกันเอง (cannibalism) น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย หมึกตัวผู้คงจะไม่ยอมเสียเวลามาเพ่งมองว่าหมึกที่ว่ายผ่านมานั้นเป็นตัวเมืยหรือตัวผู้ เพราะถ้าหากเล็งนานเกินไป ตัวมันเองอาจจะถูกจับกินก่อนได้ผสมพันธุ์
ที่มา - Discovery News, PhysOrg, Live Science
ภาพจาก Discovery News | https://jusci.net/node/2052 | รักจัดหมึก...จัดหมดไม่สนตัวผู้ตัวเมีย |
ความขัดแย้งที่ยืนยงที่สุดในประวัติศาสตร์อารยธรรมมนุษย์คงไม่พ้น "ศาสนา VS. วิทยาศาสตร์" หลายคนคงจะนึกว่านักวิทยาศาสตร์มีมุมมองต่อต้านศาสนากันเกือบทุกคน แต่สถิติที่เปิดเผยโดยทีมวิจัยที่นำโดย Elaine Howard Ecklund แห่ง Rice University ชี้ให้เห็นว่าความจริงนั้นเกือบจะตรงกันข้ามเลยทีเดียว
จากการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ทั้งสายวิทยาศาสตร์สังคม (social science) และสายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) จำนวน 275 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 21 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา พบว่ามีนักวิทยาศาสตร์เพียง 15% เท่านั้นที่เห็นศาสนาเป็นคู่ขัดแย้งตลอดกาลของวิทยาศาสตร์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ๋ (70%) เห็นว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์ขัดแย้งกันเพียงในบางกรณีเท่านั้น และนักวิทยาศาสตร์อีก 15% เห็นว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์ไม่ขัดแย้งกันเลย
ที่น่าสังเกตคือนักวิทยาศาสตร์ที่แสดงจุดยืนว่าตัวเองมีความเชื่อทางจิตวิญญาณในรูปแบบใดแบบหนึ่งมีแนวโน้มที่จะมองว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์ไม่ขัดแย้งกัน
นอกจากนี้งานวิจัยยังสรุปวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการจัดการความขัดแย้งศาสนา-วิทยาศาสตร์ไว้ด้วยกัน 3 วิธี คือ
แปลงคำจำกัดความ "ศาสนา" ให้กว้างขึ้น ครอบคลุมถึงจิตวิญญาณแบบที่ไม่ต้องอิงกับความเชื่อของสถาบันทางศาสนาใดๆ
ใช้มุมมองตามแบบที่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของศาสนาและวิทยาศาสตร์
เถียงกันตรงๆ เลย (ผมเดาว่าวิธีสุดท้ายนี้น่าจะนิยมใน 15% ที่ต่อต้านศาสนานั่นแหละ รวมทั้งผมด้วย)
ในงานวิจัยยังยกตัวอย่างสถานการณ์อึดอัดระหว่างนักวิทยาศาสตร์ที่เผชิญกับความขัดแย้งด้วย เช่น นักชีววิทยาที่ไม่เชื่อในพระเจ้าคนหนึ่งต้องสอนนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการ เธอก็เลือกวิธีการสอนที่กระทบศรัทธาทางศาสนาของนักศึกษาให้น้อยที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ขัดกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เธอเชื่อ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะเห็นว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์สามารถอยู่ร่วมกันได้ (อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง) ก็ไม่ได้แปลว่านักวิทยาศาสตร์จะยอมให้ศาสนาเข้ามายุ่มย่ามกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ยังไงก็ได้ นักวิทยาศาสตร์เกือบทั้งหมดส่ายหัวไม่เห็นด้วยกับ Creationism และ Intelligent Design ซึ่งเป็นความพยายามทำมาหากินของฝ่ายศาสนาที่จับเอาความเชื่อสุดโต่งแบบเก่าๆ มาย้อมแมวให้ดูเป็นวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal for the Scientific Study of Religion (DOI: 10.1111/j.1468-5906.2011.01586.x)
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/2053 | นักวิทยาศาสตร์แค่ 15% เชื่อว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปด้วยกันไม่ได้ |
สหพันธ์กาชาดสากล (the International Federation of the Red Cross) ได้เผยตัวเลขสถิติอันน่าเศร้าว่า ประชากรโลกทุกวันนี้มีจำนวนคนที่เป็นโรคอ้วนมากกว่าคนที่ตกอยู่ในภาวะขาดสารอาหารแล้ว
ตัวเลขของคนที่เป็นโรคอ้วน (obesity) ในปัจจุบันอยู่ที่ 1.5 พันล้านคน หรือประมาณ 20% ของประชากรโลก ส่วนคนขาดสารอาหารนั้นอยู่ที่ 925 ล้านคน หรือประมาณ 15% ของประชากรโลก
สถิตินี้ยืนยันข้อเท็จจริงอันโหดร้ายของความไม่เท่าเทียมทางด้านปัจจัยอาหาร ขณะที่คนส่วนหนึ่งบนโลกเป็นทุกข์เพราะภาวะโภชนาการเกิน (หรือมีให้กินมากเกินไป) คนอีกส่วนหนึ่งกลับไม่สามารถหาอาหารมาประทังความหิวได้
สาเหตุของปัญหาไม่ใช่ว่าโลกเราประสบภาวะขาดอาหาร แต่เป็นเพราะปัญหาเรื่องการกระจายทรัพยากร ยิ่งตัวเลขคนอ้วนแซงจำนวนคนขาดสารอาหารก็แปลได้ว่าปัญหายิ่งหนักขึ้นทุกวัน นี่ไม่ต้องพูดถึงราคาของอาหารที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่ากลัวในช่วงปีที่ผ่านมา (จะว่าไปการกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการพุ่งขึ้นของราคาอาหารด้วย)
Bekele Geleta เลขาธิการของสหพันธ์กาชาดฯ ให้ความเห็นว่า "หากแรงของตลาดเสรีให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นโลกที่ประชากรมนุษย์ 15% ต้องอดอยาก ขณะที่คนอีก 20% อ้วนเกินไป แสดงว่ามันต้องมีเรื่องผิดปกติเกิดขึ้นที่ไหนสักที่แล้ว"
"If the free interplay of market forces has produced an outcome where 15 percent of humanity are hungry while 20 percent are overweight, something has gone wrong somewhere."
ที่มา - Medical Xpress
ป.ล. ผมรู้ว่าต้องมีบางคนอยากแสดงความเห็นอะไรสักอย่างแน่ๆ ผมเตือนไว้ก่อนนะว่า "การเหยียดคนรวย เหยียดนักการเมือง เหยียดแบบ prejudice ทุกรูปแบบ มีโทษแบนใน Blognone" ตามลิงค์นี้ เนื่องจาก JuSci เป็นเว็บน้องของ Blognone (น้องชายหรือน้องสาว อันนี้ไม่รู้แฮะ) ผมจึงคิดว่ากฏข้อนี้ย่อมมีผลบังคับใช้ที่นี่ด้วยโดยอัตโนมัติ
ผมเตือนไว้แล้วนะ หน้าที่ผมคือยุให้คนตีกัน แต่คนที่มีสิทธิ์แบนคุณไม่ใช่ผม
ป.ล. ของ ป.ล. : จำไว้ "กฏมีไว้แหก" นะครับ (แหกไม่ได้ ก็ให้อ้อมเอา) ^.^ | https://jusci.net/node/2054 | สหพันธ์กาชาดเผย "จำนวนคนอ้วนบนโลกแซงหน้าคนขาดสารอาหารแล้ว" |
Thailand's Got Talent กำลังจะเปิดซีซั่น 2 แล้ว เอ๊ย รางวัลโนเบลประจำปี 2011 ใกล้จะประกาศผลแล้ว ผู้เชื่ยวชาญจากหลายสำนักก็เริ่มทำนายผลกันอย่างสนุกสนาน
ผมขอรวบรวมคำทำนายจากเว็บเด่นๆ มาไว้ที่นี่ เผื่อใครสนใจจะได้ เตรียมเปิดโต๊ะรับพนัน ไว้อ่านกันเล่นๆ ก่อนที่จะรู้ผลกันในเดือนหน้า
Thomson Reuters
เริ่มจากขาประจำอย่าง David Pendlebury แห่ง Thomson Reuters (บริษัทเจ้าของฐานข้อมูล Web of Knowledge) รายนี้ทายมาทุกปีตั้งแต่ปี 1989 และมีถูกอย่างน้อยหนึ่งรายการเกือบทุกปี สำหรับรางวัลโนเบลปี 2011 นี้ ผลทำนายของ David Pendlebury มีดังนี้ (อันดับเรียงตามอักษรขึ้นต้นของนามสกุล)
สาขาเคมี
Allen J. Bard (พัฒนาเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หรือ scanning electrochemical microscopy)
Jean M. J. Fréchet, Donald A. Tomalia, Fritz Vögtle (พัฒนา dendritic polymer)
Martin Karplus (บุกเบิกงานด้านการจำลองพลวัติของสารชีวโมเลกุล)
Joseph P. Vacanti, Robert S. Langer (งานวิจัยบุกเบิกด้าน tissue engineering and regenerative medicine)
สาขาเศรษฐศาสตร์
Douglas W. Diamond (งานวิเคราะห์ด้าน financial intermediation and monitoring)
Jerry A. Hausman, Halbert L. White, Jr. (ผลงานด้าน econometrics)
Anne O. Krueger, Gordon Tullock (การประยุกต์งานวิจัยด้านพฤติกรรม rent-seeking behavior)
สาขาการแพทย์และสรีรวิทยา
Robert L. Coffman, Timothy R. Mosmann (ค้นพบเม็ดเลือดขาว TH1 และ TH2 lymphocytes)
Brian J. Druker, Nicholas B. Lydon, Charles L. Sawyers (พัฒนายารักษาลิวคีเมีย imatinib และ dasatinib)
Robert S. Langer, Joseph P. Vacanti (งานวิจัยบุกเบิกด้าน tissue engineering and regenerative medicine)
Jacques F. A. P. Miller (ค้นพบหน้าที่ต่อมไทมัสและ T cells กับ B cells ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)
ในสาขานี้ David Pendlebury แอบแนะว่า Brian J. Druker, Nicholas B. Lydon และ Charles L. Sawyers มีโอกาสมากสุด แถมทั้งสามคนนี้ก็ได้รางวัล Lasker มาแล้วซึ่งว่ากันว่าเป็นบันไดขั้นสุดท้ายก่อนขึ้นเวทีที่สต็อกโฮล์ม (จาก ScienceInsider)
สาขาฟิสิกส์
Alain Aspect, John F. Clauser, Anton Zeilinger (การทดสอบ Bell’s inequalities และงานวิจัยด้าน quantum entanglement)
Sajeev John, Eli Yablonovitch (ประดิษฐ์และพัฒนา photonic band gap materials)
Hideo Ohno (งานวิจัยเกี่ยวกับ ferromagnetism ของสารละลายแม่เหล็กกึ่งตัวนำ)
ที่มา - Thomson Reuters
ChemBank
สำนักนี้เน้นทางสาขาเคมีซึ่งเป็นสาขาถนัด รายการคำทำนายของที่นี่จะแปลกกว่าที่อื่น เพราะว่าเรียงกันด้วยชื่อผลงานโดยไม่แยกสาขาและมีการให้แต้มต่อด้วย (ทำยังกะเก็งผลฟุตบอล)
ผมขอคัดรายชื่อผู้ลุ้นรางวัลโนเบลของ ChemBank ปี 2011 มาไว้ที่นี่ 19 อันดับแรก ดังนี้
(ตัวหนาคือผลงาน, ตามด้วยชื่อสกุลของนักวิทยาศาสตร์, เครื่องหมาย + หมายถึงอาจมีคนได้รับรางวัลร่วมด้วยผลงานนี้เพิ่มอีก, เครื่องหมาย - หมายถึงอาจมีคนในรายชื่อนี้บางคนไม่ได้รับร่วม, ตัวเลขปิดท้ายคือแต้มต่อโอกาสที่จะได้โนเบล)
Spectroscopy & Application of Lasers, Zare/Moerner/+, 6-1
Nuclear Hormone Signaling, Chambon/Evans/Jensen, 6-1
Bioinorganic Chemistry, Gray/Lippard/Holm/–, 8-1
The Field (everything not listed), 10-1
Techniques in DNA Synthesis, Caruthers/Hood/+, 10-1
Electrochemistry/Electron Transfer, Bard/Hush/Gray/–, 19-1
Instrumentation/Techniques in Genomics, Venter/+, 19-1
Biological Membrane Vesicles, Rothman/Schekman/+, 19-1
Molecular Studies of Gene Recognition, Ptashne, 19-1
Organic Electronics, Tang/+, 39-1
Polymer Science, Matyjaszewski/Langer/+/– 69-1
Solar Cells, Grätzel/+, 74-1
Mechanistic Enzymology, Walsh/Stubbe/Koshland/+/–, 74-1
Combinatorial Chemistry/DOS, Schreiber/+, 99-1
Pigments of Life, Battersby/+, 99-1
Development of the Birth Control Pill, Djerassi, 99-1
Molecular Modeling and Assorted Applications, Karplus/Houk/Schleyer/Miller/+/–, 99-1
Applications of NMR Spectroscopy, Pines/Roberts/McConnell/+/–, 99-1
Development of Chemical Biology, Schultz/Schreiber/+, 99-1
รายชื่อเต็มๆ อ่านได้จากที่มา
ที่มา - ChemBank
The Curious Wavefunction
อันนี้ก็ลำดับรายการด้วยผลงานเหมือนกัน แต่ว่ามีการแยกเป็นสาขา
สาขาเคมี
Computational chemistry and biochemistry (โอกาสน้อย), Martin Karplus, Norman Allinger, Ken Houk, David Baker
Chemical biology and chemical genetics (โอกาสสูง), W. E. Moerner, M. Orrit, Richard Zare
Electron transfer in biological systems (โอกาสสูง), A. J. Bard, H. B. Grey
สาขาการแพทย์และสรีรวิทยา
Nuclear receptors (โอกาสสูง), Pierre Chambon, Ronald Evans, Elwood Jensen (สามคนนี้ก็ได้รางวัล Lasker มาแล้วเหมือนกัน)
Chaperones (โอกาสสูง), Arthur Horwich, Franz-Ulrich Hartl (สองคนนี้เพิ่งรับ Lasker มาสดๆ ร้อนๆ ปีนี้)
Statins (โอกาสน้อย), Akira Endo
Genomics (โอกาสน้อย), Craig Venter, Marvin Caruthers, Leroy Hood
DNA diagnostics and fingerprinting (โอกาสสูง), Alec Jeffreys, D. Stark, W. Neal Burnette, Edwin Southern
Stem Cells (โอกาสสูง), James Till, Ernest McCulloch (รางวัลนี้อาจจะข้ามไปเพราะ Ernest McCulloch เพิ่งตายเดือนมกราคม ปี 2011 ถ้าให้ James Till คนเดียวอาจดูไม่งาม)
Membrane vesicle trafficking (โอกาสสูง), James Rothman, Randy Schekman (สองคนนี้ก็ได้ Lasker แล้ว)
GPCR structure (โอกาสสูง), Brian Kobilka, Raymond Stevens, Krzysztof Palczewski
สาขาฟิสิกส์
อันนี้ผู้เขียนของ Wavefunction ออกตัวว่าไม่ใช่สาขาถนัด ดังนั้นเลยเดาเอาง่ายๆ ว่ารางวัลปีนี้คงเป็นของ Anton Zeilinger, John Clauser และ Alain Aspect สำหรับผลงานด้าน quantum entanglement
ที่มา - The Curious Wavefunction
Everyday Scientist
ที่นี่เก็งผลได้ง่ายสุดแล้ว เพราะฟันธงชื่อตัวเก็งมาตรงๆ เลย
สาขาฟิสิกส์: Moerner สำหรับ single-molecule spectroscopy
สาขาเคมี: Matyjaszewski สำหรับงานวิจัยการสังเคราะห์โพลีเมอร์
สาขาการแพทย์และสรีรวิทยา: Djerassi สำหรับยาคุมกำเนิด
สาขาสันติภาพ: Twitter สำหรับการเป็นเครื่องมือในการประท้วงของประชาชนชาวอียิปต์
สาขาวรรณกรรม: Twitter สำหรับการทำให้วรรณกรรมสั้นลง
ที่มา - Everyday Scientist | https://jusci.net/node/2055 | คำทำนายผลรางวัลโนเบลปี 2011 |
เท้าความก่อนว่า ในปี 1905 นั้น ไอน์สไตน์ได้เขียนทฤษฎีสัมพัทธภาพอันโด่งดังขึ้นมา โดยใจความหนึ่งของทฤษฎีได้กล่าวไว้ว่า อัตราเร็วของแสงเป็นอัตราเร็วสูงสุด ไม่มีสิ่งใดสามารถเดินทางได้เร็วกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งนี่ถือแนวคิดสำคัญที่ทำให้เกิดการวางรากฐานฟิสิกส์ยุคใหม่ จนเกิดทฤษฎีต่างๆ ออกมามากมายเช่น ทฤษฎีควอนตัม ทฤษฎีสตริง ไปจนถึงทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง
แต่แล้วเมื่อวานนี้ นักวิทยาศาสตร์ของ CERN ที่กรุงเจนีวาก็ได้ออกมาประกาศว่า มีการตรวจพบอนุภาคอะตอมย่อย (subatomic particle: อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวตริโน โบซอน) ที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง โดยสังเกตจากนิวตริโนที่ถูกยิงออกจากเครื่องเร่งอนุภาคใกล้กรุงเจนิวา ได้เดินทางไปถึงห้องทดลองในอิตาลีที่ห่างออกไป 730 กิโลเมตร โดยใช้เวลาที่น้อยกว่าแสงอยู่ 60 นาโนวินาที จากที่แสงควรจะทำได้ในเวลา 2.4 มิลลิวินาที
ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ที่กรุงเจนีวากำลังขอให้มีการทดลองซ้ำจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง ถ้าการทดลองนี้ได้รับการยืนยันจริง งานนี้คงได้เขียนตำราใหม่หมดยกเล่มแน่ๆ
ทีมา - Reuters, The Telegraph, Daily Mail, Universe Today | https://jusci.net/node/2056 | ความเชื่อสั่นคลอน! นักวิทยาศาสตร์พบอนุภาคที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง |
โดยปกติแล้ว เมื่อเชื้อ HIV เข้าไปสู่ร่างกาย เซลล์ภูมิคุ้มกันย่อยที่ชื่อ pDCs (plasmacytoid dendritic cells) ที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกันพื้นฐาน (innate immune system) จะตรวจพบเชื้อ HIV อย่างรวดเร็ว และส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันหลัก (adaptive immune system) ทำงานตามมา
แต่เชื้อ HIV จะทำให้ pDCs ส่งสัญญาณนี้ออกไปเรื่อย ๆ จนระบบภูมิคุ้มกันหลักทำงานหนัก และอ่อนแรงลงไป จนสุดท้ายระบบภูมิคุ้มกันก็ไม่สามารถกำจัดเชื้อ HIV ได้ทันอีกต่อไป
จากการวิจัยของดอกเตอร์ Adriano Boasso จากมหาวิทยาลัย Imerial College London ร่วมกับทีมของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins และมหาวิทยาลัย Milan and Innsbruck พบว่า ถ้านำ คอเลสเตอรอล ออกไปจากเยื่อบุผิวของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส โดยใช้ bCD (beta-cyclodextrin) ที่ได้จากแป้งในการกักคอเลสเตอรอลเอาไว้ จะทำให้เชื้อ HIV ไม่สามารถใช้มันในสร้างปฏิกิริยากับระบบภูมิคุ้มกันพื้นฐานได้อีกต่อไป ทีนี้ระบบภูมิคุ้มกันพื้นฐานจะตรวจไม่เจอเชื้อ HIV แต่ระบบภูมิคุ้มกันหลักที่นำโดยเซลล์ที (T cells) นั้น จะยังตรวจเจอเชื้อ HIV และกำจัดไวรัสทิ้งไปได้อยู่ แถมมันมีประสิทธิภาพดีกว่าตอนที่มี pDCs เป็นตัวส่งสัญญาณให้อีกด้วย
งานนี้ต้องเรียกว่า HIV หลอกภูมิคุ้มกันของเราจนหัวหมุน วิ่งจนเหนื่อย สุดท้ายก็หมดแรงไปเอง...
ที่มา: Medical Xpress
ป.ล. คอเลสเตอรอสที่เยื่อบุผิวไวรัสไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด | https://jusci.net/node/2057 | ถ้าไม่มีคอเลสเตอรอล เชื้อ HIV ก็เป็นง่อย |
NTT Docomo เตรียมการสาธิตโทรศัพท์ต้นแบบที่เพิ่ม การแสดงข้อมูลต่างๆ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้ เซ็นเซอร์เหล่านั้นได้แก่ เซ็นเซอร์แสง UV, ตรวจจับลมหายใจ, รังสีแกมม่า, และระดับไขมัน
ภายในโทรศัพท์มือเซ็นเซอร์ตรวจวัดอะซีโตน ซึ่งสามารถนำไปเทียบค่าหาระดับการเผาผลาญไขมันและระดับความหิวของร่างกายของเราได้ อนาคตก่อนเราจะกินข้าวเราอาจจะหายใจใส่โทรศัพท์เพื่อให้มันให้ความเห็นว่าเราควรกินได้หรือยัง
นอกจากนี้ Docomo ยังเตรียมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ของ Docomo เองเพื่อนำข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมมาแสดงในโทรศัพท์ เซ็นเซอร์เหล่านี้มีมากกว่า 2,500 จุดทั่วประเทศ ถ้าเป็นเมืองไทยเราอาจจะตั้งค่าระดับฝุ่นไว้เพื่อให้โทรศัพท์เตือนไม่ให้เราเข้าพื้นที่ฝุ่นเยอะเกินไป อีกส่วนหนึ่งคือฐานข้อมูลอาหาร เพียงเราถ่ายรูปอาหารแอพพลิเคชั่นจะแสดงคุณค่าทางอาหารและระดับพลังงานของมื้อนั้นๆ ได้ทันที
เรียกว่าจะกิน นอน หรือเดินทางก็ถามโทรศัพท์ทุกอย่างเลยทีนี้
ยังไม่มีขาย แต่บางไอเดียน่าจะเอามาทำแอพพลิเคชั่นแบบเฉพาะได้ในบ้านเรา
ที่มา - Penn Olson | https://jusci.net/node/2058 | NTT Docomo โชว์โทรศัพท์ตรวจวัดสุขภาพ |
เจ้าจระเข้ "Snappy" ของ Tracey Sandstrom (ผู้ก่อตั้ง Roaming Reptiles ประเทศออสเตรเลีย) เปลี่ยนสีกลายเป็นจระเข้สีส้มในชั่วข้ามคืน
Tracey Sandstrom คิดว่าการเปลี่ยนสีของ Snappy น่าจะเป็นผลมาจากการที่มันไปกัดแผ่นกรองน้ำในแท้งค์ของตัวเองเมื่อประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว ตอนแรกเธอก็ไม่ได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง กระทั่งสีส้มของ Snappy สดขึ้นเรื่อยๆ จนสะดุดตา
แม้จะกลายเป็นจระเข้ส้มแจ๊ดไปแล้ว เจ้า Snappy ก็ยังคงมีนิสัยก้าวร้าวหวงอาณาเขตเหมือนเดิม และก็กินเก่งเท่าเดิมด้วย
ภาพจระเข้สีส้ม จาก Herald Sun
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสีส้มบนตัวของ Snappy คงจะเกิดจากปฏิกิริยาออกซิไดส์ของเหล็ก, แทนนิน, หรือสาหร่าย เมื่อพอแห้งก็กลายเป็นคราบสีติดแน่นบนตัวจระเข้ ดังนั้นอีกไม่นาน สีส้มแจ๊ดนี้ก็คงจะจางหายไปเองตามธรรมชาติ
ช่วงนี้ Snappy ก็คงได้เป็นดาราของ Roaming Reptiles ไปพลางๆ ก่อน
ที่มา - Herald Sun via Discovery News | https://jusci.net/node/2059 | จระเข้สีส้ม |
คณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์ อวกาศ และเทคโนโลยี ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านอวกาศมาชี้แจง (hearing) ต่อหน้ากรรมาธิการของสภา ในประเด็นเรื่องแผนการส่งมนุษย์ไปสำรวจอวกาศของรัฐบาลสหรัฐในปัจจุบัน
พูดง่ายๆ ว่าการหั่นงบ NASA ของประธานาธิบดีโอบามา ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายไม่พอใจ จึงใช้ช่องทางผ่านกรรมาธิการของสภาช่วยกดดันนั่นเอง
Ralph Hall ประธานคณะกรรมาธิการชุดนี้บอกว่า หน่วยงานอย่าง NASA ได้งบประมาณน้อยกว่า 0.5% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด และงบประมาณของการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศก็มีเพียง 20% ของงบก้อนนี้ NASA เป็นผู้นำของวงการอวกาศมาตลอด และถ้ารอช้า ทักษะแรงงานต่างๆ จะเริ่มหายไปจากองค์กร
ส่วนบุคคลที่มาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการ มีคนที่น่าสนใจสองคน ซึ่งก็คือมนุษย์คนแรกและคนสุดท้ายที่ไปเหยียบดวงจันทร์
คนแรกชื่อดังอยู่แล้ว นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกในโลกที่ไปฝากรอยเท้าเอาไว้บนดวงจันทร์ (ปัจจุบันอายุ 81 ขวบ) กล่าวว่าอเมริกาไม่สามารถเป็นผู้นำได้ถ้าไม่ส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจอวกาศ เขาบอกว่าสถานภาพของ NASA ในปัจจุบันถูกหลายคนมองว่า "น่าอับอาย" และ "ยอมรับไม่ได้"
คนที่สอง Eugene Cernan มนุษย์อวกาศคนสุดท้ายที่ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ในปี 1972 (ปัจจุบันอายุ 77 ขวบ) บอกว่าปัจจุบันอเมริกาเลิกสนใจเรื่องอวกาศเพราะไม่มีคู่แข่งอย่างโซเวียต และทำให้ความภาคภูมิใจของประเทศเมื่อ 50 ปีที่แล้วหายไป เขาบอกว่า NASA และรัฐบาลโอบามากำลังจะทิ้งโครงการสำรวจอวกาศที่ดำเนินมา 50 ปี นอกจากนี้เขายังโจมตีโครงการจรวดขับเคลื่อนชนิดใหม่ของ NASA ที่จะใช้แทนกระสวยอวกาศว่า "ล้าสมัย"
ที่มา - The Committee on Science, Space, and Technology, The Register | https://jusci.net/node/2060 | นีล อาร์มสตรอง บอกแผนด้านอวกาศของอเมริกาในปัจจุบัน "น่าอับอาย" |
ข่าวนี้ต่อจาก Dead Sea Scroll จะเผยแพร่สู่ชาวโลกด้วยความร่วมมือจากกูเกิล เมื่อปีที่แล้ว วันนี้มันมาแล้วครับ ดูได้ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว
ย้อนความอีกรอบสำหรับคนที่ไม่รู้จัก "Dead Sea Scroll เป็นจารึกโบราณที่ถูกค้นพบในถ้ำริมทะเลสาบ Dead Sea ในอิสราเอล จากรึกเหล่านี้เขียนลงในกระดาษโบราณ นับรวมกันได้ 972 ชิ้น โดยคาดว่าถูกเขียนขึ้นระหว่าง 150 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ. 70" โดยมีข้อความอีกมากในคัมภีร์นี้ที่ยังตีความไม่ได้
โครงการนี้พิพิธภัณฑ์อิสราเอล (The Israel Museum) ร่วมมือกับกูเกิลพัฒนาโครงการ Dead Sea Scrolls Digital Project สแกนชิ้นส่วนต่างๆ ของคัมภีร์ และนำขึ้นมาเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตแล้ว
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูกันได้แล้วที่ The Digital Dead Sea Scrolls ซึ่งคงจะต้องใช้ความรู้ด้านภาษาฮีบรูโบราณอย่างมาก แต่การมีให้ดูบนเน็ตก็เป็นนิมิตหมายที่ดี ของการใช้แนวคิด crowdsourcing แก้ปัญหาขนาดใหญ่ระดับนี้ได้
ที่มา - Bloomberg, Slashgear | https://jusci.net/node/2061 | Dead Sea Scrolls ภาคดิจิทัลเผยแพร่สู่ชาวโลกออนไลน์แล้ว |
สืบเนื่องมาจากข่าวนี้ "นักวิทยาศาสตร์แค่ 15% เชื่อว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปด้วยกันไม่ได้" ผมจึงมีความคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่าจริงๆ แล้ว
"เราสามารถปลูกฝังวิทยาศาสตร์กับศาสนาในสังคมไปพร้อมกันได้หรือไม่?"
คำว่าปลูกฝังพร้อมกัน ไม่ได้หมายถึงการที่เรามีพระ มีนักวิทยาศาสตร์ แล้วก็จบโอเคซิกกาเร็ตนะครับ ผมกำลังพูดถึงแนวคิดหลักของสังคมในภาพรวม ผมหมายถึงสังคมๆ หนึ่ง (สมมติว่าเป็นสังคมไทยก็ได้) จะสามารถเปิดอ้ารับปรัชญาแนวคิดการหาความจริงตามธรรมชาติตามหลักการของวิทยาศาสตร์โดยที่ศรัทธาตามแบบศาสนายังรักษาสภาพความเป็นมาตรฐานหลักอยู่ได้หรือไม่
คำถามนี้ไม่ใช่คำถามว่าเราควรเลือกวิทยาศาสตร์ดีหรือศาสนาดี แต่ถามว่า "ทำได้หรือไม่ที่จะเอาทั้งสองในเวลาเดียว"
ผมตั้งกระทู้นี้เพียงอยากเสนอความเห็นบางอย่างและอยากได้ความเห็นของคนอ่าน Jusci.net ผมไม่ได้หวังให้มีคนมาเห็นด้วยตามสิ่งที่ผมเขียนด้านล่างนี้แต่อย่างใด ดังนั้นผมอาจจะไม่ตอบคอมเม้นต์บางอัน ขอให้เข้าใจด้วยนะครับ
ในฐานะที่ผมชูคำถาม ผมจึงถือว่าเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ต้องตอบเป็นคนแรก
ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ผมมองว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์ต่างเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากอธิบายตัวเองและจักรวาลรอบตัว แต่แนวทางของทั้งสองนั้นแยกกันมาตั้งแต่ระดับฐานราก การสังคมไทยจะรับวิทยาศาสตร์ เราต้องรับทั้งชุดของแนวคิด จะมาเลือกรับเฉพาะผลที่แตกยอดมาจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่ได้
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ในยุคก่อนที่อ้างพระเจ้าในการทำงานทางวิทยาศาสตร์นั้น ผมก็มองว่า "พระเจ้า" ที่นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นยกขึ้นมาเป็นเพียงปุคคลาธิษฐานของความอยากรู้ของตนเอง หาใช่ว่านักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นศรัทธาในศาสนามากกว่าหลักการแห่งเหตุและผลตามแบบวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่จะตรงกันข้ามเลยด้วยซ้ำ
ผมจงใจเลือกใช้คำว่า "ปลูกฝัง" ในที่นี้ เพราะผมมองว่า ศาสนากับวิทยาศาสตร์เหมือนเมล็ดพืชสองเม็ดที่ต้องการทรัพยากรตัวเดียวกันในการเจริญเติบโต การปลูกเมล็ดพืชสองเมล็ดลงในกระถางเดียวกันพร้อมกัน เราคงไม่ได้ต้นไม้่ที่สมบูรณ์จากทั้งสองเมล็ดหรอก แต่จะได้ต้นไม้แคระแกร็นสองต้นทีไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย ไม่มีผล ไม่มีดอก แห้งเน่าอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ
ถ้าใครอยากถามผมว่า "เราจะเลือกปลูกอะไรนั้น?" ผมขอถือวิสาสะตอบให้ตรงนี้เลยแล้วกัน (แม้ไม่มีใครถาม ผมก็จะตอบอยู่ดี)
ในฐานะของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ ยังไงผมก็ต้องเลือกให้วิทยาศาสตร์อยู่แล้ว อันนี้คือตัวเลือกตามสายงาน แต่ต่อให้เลือกด้วยความสมัครใจ ผมก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ผมยังเห็นว่าถึงเราจะรับวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวหลักขับเคลื่อนสังคม ศาสนาก็จะยังมีที่อยู่ของมันในฐานะของทางเลือกให้คนได้เข้าหามันตามความพอใจ เหมือนกับเมื่อวิทยาศาสตร์เป็นต้นไม้ใหญ่มีรากแข็งแรงแล้ว เราก็สามารถแซมต้นไม้อื่นๆ ลงไปได้โดยที่ต้นไม้ใหญ่ไม่ตาย ต้นไม้เล็กๆ ก็ยังอยู่ได้
ป.ล. อันนี้ยังไม่ใช่สิ่งที่ผมเคยสัญญาไว้ว่าจะเป็นกระทู้ปิดท้ายปลายปีนะครับ จะถือว่าอันนี้เป็นออร์เดิร์ฟก็ได้ ผมจะลงกระทู้ปิดท้ายกลางเดือนหน้าครับ รับรองว่าความ "แรง" ก็อยู่ประมาณนี้แหละครับ อย่าหวังให้เป็นกระทู้ขบถพลิกโลกอะไร
(อย่าแปลกใจว่าทำไมผมนับเดือนตุลาคมเป็น "ปลายปี" ผมนับตามปีที่ผมเริ่มเขียนที่นี่แบบจริงจัง ซึ่งครบรอบปีหนึ่งพอดีในเดือนพฤศจิกายน)
มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคมที่แท้จริง › | https://jusci.net/node/2062 | เราสามารถปลูกฝังวิทยาศาสตร์กับศาสนาไปพร้อมกันได้หรือไม่? |
ผลเสียต่อสุขภาพของเครื่องดื่มชูกำลังเป็นเรื่องที่เถียงกันไม่จบสิ้น มีทั้งงานวิจัยที่บอกว่าเครื่องดื่มชูกำลังไม่ดี บางทีก็ดี บางทีก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่ปัญหาที่แน่นอนคือความนิยมในการเอาเครื่องดื่มชูกำลังไปผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ซึ่งสร้างปัญหากับสุขภาพผู้ดื่มแน่นอน (จากแอลกอฮอลล์, จากคาเฟอีน, หรือจากทั้งสองอย่างผสมกัน)
มหาวิทยาลัยนิวแฮมป์ไชร์ในสหรัฐอเมริกาจึงมีแนวคิดที่จะประกาศใช้นโยบายห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลัง เช่น Full Throttle, Red Bull, Moxie Energy, NOS เป็นต้น ภายในเขตมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า โรงอาหาร หรือแม้แต่เครื่องขายอัตโนมัติ
จุดประสงค์ที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการก็เพื่อยกระดับให้มหาวิทยาลัยนิวแฮมป์ไชร์เป็น "มหาวิทยาลัยที่สุขภาพดีที่สุด" ในปี 2020
แน่นอนว่าฝ่ายที่เสียผลประโยชน์เต็มๆ ก็คือ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มเหล่านี้ แถลงการณ์ของ Red Bull ยืนยันว่าเครื่องดื่มของตัวเองมีคาเฟอีนแค่ 80 มิลลิกรัมต่อ 1 กระป๋อง (8.4 ออนซ์) เทียบกันที่หน่วยบริโภคเท่ากัน โค้กมี 35 มิลลิกรัม และกาแฟ 65-120 มิลลิกรัม ซึ่งระดับนี้ถือว่าผ่านข้อกำหนดของกฏหมายอย่างไม่มีปัญหา
ฝ่ายนักศึกษาเองก็แสดงความเห็นกันหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ออกจะไม่พอใจที่ทางมหาวิทยาลัยมาจุ้นจ้านในการเลือกบริโภคของนักศึกษา บางคนเห็นว่านโยบายนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ทุกวันนี้นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ออกไปหาซื้อเครื่องดื่มพวกนี้มาจากร้านค้านอกมหาวิทยาลัยอยู่แล้วเพราะราคาถูกกว่า
ตอนนี้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยยังคงรอดูเสียงตอบรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและพยายามหาทางออกที่ทุกคนยอมรับได้ ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ แต่นโยบายห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลังอย่างเด็ดขาดนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ แม้แต่ Mount St. Mary's College ในลอสแองเจลลิสที่ห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลังในโรงอาหาร ก็ยังคงอนุญาตให้ขายผ่านเครื่องขายอัตโนมัติได้
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/2063 | มหาวิทยาลัยนิวแฮมป์ไชร์จะห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลังในมหาวิทยาลัย |
อะไรกันเนี่ย! รัฐบาลนี้เบิกงบประจำปีมาใช้หมดแล้วเหรอ?? อย่าเข้าใจผิดไป เว็บ JuSci.net ของเราเป็นเว็บข่าววิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เว็บข่าวการเมือง (อย่างน้อยก็ยังไม่ใช่)
"งบ" ของข่าวนี้เป็นการเปรียบเทียบ "งบประมาณทางนิเวศวิทยา" ที่ดาวเคราะห์โลกมีให้กับมนุษย์ ว่ากันในทางนิเวศวิทยาแล้ว มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องการทรัพยากรในการดำรงชีพ และโลกก็มีระบบในการหมุนเวียนพลังงานและทรัพยากรเหมือนๆ กับที่เราหมุนเงินมาใช้ทำโน่นทำนี่ ความสามารถในการหมุนเวียนทรัพยากรของโลกนี่แหละคืองบประมาณของชาวโลกอย่างเราๆ ที่ต้องแบ่งใช้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก
หากเราใช้ทรัพยากรเกินกว่าที่โลกจะหมุนให้ทัน ก็เทียบได้กับมนุษย์เราใช้เงินเกินงบประมาณ เช่น ถ้าเราปล่อย CO2 มากกว่าวัฏจักรคาร์บอนจะหมุนมันทัน ก็เท่ากับเราปล่อย CO2 เกินงบ, หรือถ้าเราตัดไม้เกินกว่าที่ป่าจะโตได้ทัน ก็คือเราตัดไม้เกินงบ
นักวิทยาศาสตร์ของกลุ่ม Global Footprint Network ก็ได้อาศัยแนวคิดอันนี้มาคำนวณว่า สมมติให้โลกมีงบให้เราใช้ปีต่อปี มนุษย์เราใช้งบประมาณนี้เกินดุล ขาดดุล หรือสมดุลอย่างไรบ้าง? และถ้าเราใช้งบกันเกินกว่าที่โลกมีให้ เราใช้งบประจำปีหมดในวันที่เท่าไรของปี ซึ่ง Global Footprint Network เรียกวันที่งบประจำปีหมดลงว่า "Earth Overshoot Day"
สูตรการคำนวณของ Global Footprint Network อ้างอิงมาจากสูตรของ New Economics Foundation ดังนี้
[world biocapacity / world Ecological Footprint ] x 365 = Earth Overshoot Day
(ถ้าใครไม่เข้าใจนิยามของตัวแปรในสูตรข้างบน แสดงว่าคุณไม่ใช่นักชีววิทยา ซึ่งนั่นแปลว่าคุณยังเป็นคนปกติ ผมขอแสดงความยินดีด้วย ผมแปะสูตรไว้เผื่อใครสนใจ แต่ความจริงไม่ต้องไปสนใจมันหรอก)
จากการคำนวณของข้อมูลที่รวบรวมได้ ปรากฏว่าในปีนี้ เราได้ใช้งบหมดลงในวันที่ 27 กันยายน หรือเมื่อวานนี้นั้นเอง!
หากประเทศใดใช้งบประมาณหมด ก็คงจะหันไปกู้จากประเทศอื่น แต่ว่ามนุษย์เราไม่สามารถไปขอกู้จากมนุษย์ต่างดาวที่ไหนได้ ดังนั้นเมื่องบหมด เราก็ดึงทรัพยากรออกมาจากคลังที่โลกสะสมมาตั้งแต่ยุคต้นกำเนิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราประสบทุกวันนี้ เช่น ปัญหาภาวะเรือนกระจก ปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย ฯลฯ ก็ล้วนเป็นผลมาจากการที่มนุษย์บริโภคทรัพยากรเกินกว่าที่วัฏจักรบนโลกจะมาหมุนเวียนมารองรับได้ทันนั่นเอง
Global Footprint Network ประเมินว่าเฉพาะปี 2011 เราใช้งบกันถึง 135% ของงบประจำปีที่โลกเตรียมไว้ให้ ซึ่งตัวเลขนี้ก็ตรงกับการประเมินของ World Wildlife Fund (WWF) ว่าเราต้องมีโลก 1.3 - 1.5 ดวง ถึงจะเพียงพอกับการใช้ทรัพยากรของมนุษยชาติในปัจจุบัน และถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ในปี 2030 เราจะต้องใช้ดาวเคราะห์โลก 2 ดวงเต็มๆ ถึงจะพอ
ตัวเลขพวกนี้ไม่ใช่เป็นค่าตัวเลขที่ตรงเป๊ะๆ (นักชีววิทยาไม่เคยทำอะไรตรงเป๊ะๆ อยู่แล้ว) แต่เป็นตัวเลขที่ทำให้เห็นภาพว่ามนุษย์เบิกใช้ทรัพยากรของโลกมากขนาดไหน และการที่เราใช้ทรัพยากรเกินดุลทุกปีนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มันสร้างหนี้สะสมให้กับโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สักวันหนึ่งเมื่อโลกแบกรับสภาพต่อไปไม่ไหว ก็จะเป็นมนุษย์เองนั่นแหละที่ต้องเผชิญหน้ากับหายนะที่ตามมา
ที่มา - Global Footprint Network, Live Science, Discovery News | https://jusci.net/node/2064 | ไม่ถึง 10 เดือน เราก็ใช้กันเกินงบของทั้งปีแล้ว |
ค่าสถิติแสดงให้เห็นกันอยู่ประจำว่าผู้หญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย ไม่ใช่เฉพาะในมนุษย์เท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมียส่วนใหญ่ก็มีอายุขัยยืนยาวกว่าตัวผู้ ดร. Claude Libert แห่ง Ghent University ในเบลเยียม คิดว่าเหตุผลน่าจะเกี่ยวข้องกับข้อได้เปรียบทางระบบภูมิคุ้มกัน เพราะผู้หญิงมีโครโมโซม X มากกว่าผู้ชาย
โครโมโซม X ตัวนี้ หมายถึงโครโมโซมเพศ ซึ่งของผู้หญิงเป็นโครโมโซม X คู่กันสองตัว ส่วนของผู้ชายเป็นโครโมโซม X คู่กับโครโมโซม Y อย่างละตัว บนโครโมโซม X จะมี microRNA เกาะกระจายอยู่ตามสาย DNA เป็นจำนวนมาก (ประมาณกันว่า microRNA บนโครโมโซม X คิดเป็น 10% ของปริมาณ microRNA ทั้งหมดในนิวเคลียสของเซลล์)
แม้ว่าเราจะยังไม่รู้หน้าที่ของ microRNA บนโครโมโซมทั้งหมด แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า microRNA บนโครโมโซม X เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันและการต่อต้านเซลล์มะเร็ง
ดร. Claude Libert ได้ทำการสร้างแผนที่ยีนบนโครโมโซม X ขึ้นมา แล้วดูว่า microRNA ไปเกาะอยู่ตรงไหนบ้าง ผลออกมาทำให้น่าเชื่อได้ว่า microRNA ทำหน้าที่ร่วมกับโปรตีนบนสายโครโมโซมในการปิดการทำงาน (silencing) ของยีนบางตัวบนโครโมโซม X เนื่องจากผู้หญิงมีโครโมโซม X สองตัว การปิดยีนบางตัวในจังหวะที่ถูกต้องจะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น (สร้างโปรตีนออกมาไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป) ส่วนผู้ชายมีโครโมโซม X แค่ตัวเดียว การปิดยีนสักตัวจะมีผลกระทบต่อปริมาณการสร้างโปรตีนอย่างมาก บ่อยครั้งจะส่งผลให้มีปริมาณโปรตีนน้อยเกินไป (โครโมโซม Y มียีนน้อยมาก เลยสร้างโปรตีนได้น้อย)
ใครอ่านคำอธิบายแล้วงง ผมอยากบอกว่าผมก็งงเหมือนกัน เอาเป็นว่าสรุปง่ายๆ ผู้หญิงอึดกว่าผู้ชาย แล้วกัน
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/2065 | ภูมิคุ้มกันผู้หญิงแข็งแกร่งกว่าผู้ชาย เพราะ X |
ชื่อ Wikileaks นี่คงไม่ต้องอธิบายกันแล้ว (วินาทีนี้ใครยังไม่เคยอ่าน Wikileaks ถือว่าเชยมากๆ) แต่คำว่า "คาร์บอนเครดิต" (Carbon credit) นี่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร
คาร์บอนเครดิต คือ ผลที่เกิดจากแนวคิดของ Kyoto Protocol ที่กำหนดว่าแต่ละประเทศมีสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ CO2 ขึ้นสู่บรรยากาศเท่าไร พวกประเทศกำลังพัฒนาที่ปกติก็ปล่อย CO2 น้อยอยู่แล้วสามารถใช้โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ช่วยลด CO2 มาขายเป็น "คาร์บอนเครดิต" หรือ "สิทธิ์การปล่อย CO2 เพิ่ม" ให้กับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ถ้าโครงการปลูกป่ากับ JuSci (สมมติ) ผ่านประเมินแล้วว่าลดปริมาณ CO2 ที่ขึ้นสู่บรรยากาศได้ 10 ตันต่อปี เราก็สามารถขายสิทธิ์ในการปล่อย CO2 10 ตันนี้ให้กับคนที่อยากซื้อได้ ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งปล่อย CO2 กันมโหฬารบานตะไทนั้นรู้ดีว่าตัวเองไม่มีทางลดระดับการปล่อยให้ถึงข้อกำหนดได้แน่ ก็ต้องซื้อสิทธิ์ในการปล่อย CO2 เพิ่มจากประเทศกำลังพัฒนา
จริงๆ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตนี้เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า Clean Development Mechanism (CDM) และตัวคาร์บอนเครดิตก็มีชื่อจริงๆ ว่า certified emission reductions (CERs) จุดประสงค์ไม่ได้มีไว้ให้ประเทศกำลังพัฒนาขายเอากำไรหรอก แต่เพื่อให้เอาเงินที่ได้จากประเทศพัฒนาแล้วไปทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป แลกกับผลประโยชน์ที่เสียไปจากการหยุดหรือชะลอการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตที่โทรเลข Wikileaks วันที่ 16 ก.ค. 2008 เปิดเผยนั้น คือ ความไม่ได้มาตรฐานของการประเมินโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งหลายในประเทศอินเดีย
โทรเลขนี้ส่งจากสถานกงสุลประจำเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ถึง รมต. ต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปใจความได้ว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงาน CDM ของประเทศอินเดียตระหนักดีว่าโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ผ่านการอนุมัติคาร์บอนเครดิตในอินเดียนั้นส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานของ UN Framework Convention on Climate Change (ในปี 2008 อินเดียมีโครงการที่เข้าร่วม CDM 346 โครงการ คิดเป็นคาร์บอนเครดิตได้ 120 ล้านตัน) โทรเลขถึงกับบรรยายระบบการอนุมติและการลงทะเบียนในอินเดียว่า "เอากันตามใจชอบ (arbitrary)"
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดคาร์บอนเครดิตก็ยกเรื่องนี้ขึ้นมาถกกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่จะชี้ให้เห็นว่านี่แหละคือข้อผิดพลาดประการใหญ่ของ CDM และทำให้แนวคิดเรื่องลดปริมาณ CO2 ใช้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ
แต่ Martin Hession กรรมการของ CDM ในสหราชอาณาจักร ก็ออกมาปกป้องว่า "CDM ในปัจจุบันนั้นมีความโปร่งใสและเข้มงวดกว่าเมื่อสามปีก่อนมาก โครงการหลายตัวของจีนและอินเดียก็โดนปฏิเสธเพราะไม่ได้มาตรฐาน ความจริงตอนนี้มีหลายคนบ่นด้วยว่ามาตรฐานเข้มงวดเกินไป"
นับจากปี 2005 ถึงปัจจุบัน อินเดียสามารถทำคาร์บอนเครดิตออกมาได้แล้ว 750 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน
เราก็คงต้องรอดูต่อไปว่าทิศทางการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกจะเป็นอย่างไรต่อไป Kyoto Protocol เองก็ใกล้หมดวาระเต็มทนแล้ว ตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าการประชุม COP ครั้งที่ 17 ณ เมือง Durban ประเทศแอฟริกาใต้ เดือนพฤศจิกายนปีนี้ จะมีการเสนอวาระของ Kyoto Protocol ขึ้นมาพูดกันหรือไม่?
ที่มา - Nature News
ผมขอพื้นที่ตรงนี้สรุปผลการประชุม COP (Conference of the Parties of the United Nations Framework Convention on Climate Change) หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า "ประชุมโลกร้อน" สองครั้งก่อนหน้าสั้นๆ ให้พิจารณาหน่อยแล้วกัน :
COP 15 ที่เดนมาร์ก เราได้กระดาษเช็ดก้นที่ชื่อ Copenhagen Accord
COP 16 ที่เม็กซิโก ตัวแทนของกลุ่มประเทศผู้นำก็ได้ทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ด้วยการพักร้อนในโรงแรมหรูติดชายหาด
... ไชโย! มนุษยชาติ) | https://jusci.net/node/2066 | Wikileaks เผยอินเดียขายคาร์บอนเครดิตที่ไม่ผ่านมาตรฐาน |
รายงานสำรวจผู้หญิงอายุ 30 ถึง 55 ปีจำนวน 50,000 คนพบความเกี่ยวข้อระหว่างการดื่มกาแฟและการมีอาการเครียด โดยดูจากผู้ที่ต้องทานยาลดความเครียดหรือเข้ารับการรักษาภายใน 10 ปีหลังเริ่มสำรวจ (ตอนเริ่มต้นไม่มีใครมีอาการต้องรักษา) พบว่าผู้หญิงที่ดื่มาแฟเป็นประจำมีแนวโน้มเครียดน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
การศึกษานี้ไม่ได้ระบุวาการกินกาแฟจะช่วยลดความเครียดแต่อย่างใด แต่ยืนยันได้ว่าพฤติกรรมการดื่มกาแฟไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในอาการเครียดแต่อย่างใด
เมื่อเทียบกับผู้ไม่ดื่มกาแฟเลย หญิงที่ดื่มกาแฟวันละสองถึงสามถ้วยจะมีความเสี่ยงในการมีอาการเครียดน้อยกว่า 15% และสำหรับหญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 4 ถ้วยความเสี่ยงจะลดลง 20%
ภายในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีหญิงที่ดื่มกาแฟถึง 82% ทำให้ความเกี่ยวเนื่องนี้่ค่อนข้างชัดเจนในเชิงสถิติ ขณะที่หญิงที่ดื่มชามีเพียง 13% และหญิงที่ดื่มน้ำอัดลมมีเพียง 6%
ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยว่ากาแฟมีความเกี่ยวข้องกับโรค MS รวมถึงมีรายงานแบบเดียวกันว่ากาแฟเกี่ยวกับความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคหอบหืด
ไม่เคยมีรายงานฉบับไหนศึกษาว่าราคากาแฟเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงหรือไม่ ไม่ต้องรีบไปซื้อ Starbuck VIA มาชงที่บ้าน
ที่มา - CNN Edition | https://jusci.net/node/2067 | ผลสำรวจพบหญิงดื่มกาแฟจะเป็นโรคเครียดน้อยกว่าคนทั่วไป |
ทีมวิจัยที่นำโดย Matthew Feinberg แห่ง University of California, Berkeley พบว่าอาการอายขวยเขินเมื่อทำอะไรพลาดในที่สาธารณะนั้นเป็นข้อดีที่ไม่ใช่เรื่องน่าอายเลย
นักวิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจำนวน 60 คน โดยให้นักศึกษาเหล่านี้มานั่งเล่าเหตุการณ์ว่าตัวเองได้มีประสบการณ์น่าอายอะไรบ้าง เช่น ทักคนผิด ทักคนอ้วนว่าท้อง ฯลฯ ขณะเดียวกันนักวิจัยก็จะสังเกตว่านักศึกษาแสดงพฤติกรรมการอายมากน้อยเท่าไร (เช่น เอียงหน้าหนี, เอามือบังหน้า, ยิ้มแหยๆ เป็นต้น) จากนั้นก็ให้นักศึกษามาเล่นเกมทดสอบทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า "Dictator Game" ซึ่งนักศึกษาแต่ละคนจะได้รับตั๋วสลากชิงรางวัล 10 ใบ และพวกเขาสามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งให้เพื่อนและเก็บไว้ให้ตัวเองเท่าไร
ผลปรากฏว่านักศึกษาที่แสดงความเขินอายมากกว่ามีแนวโน้มที่จะแบ่งตั๋วให้คนอื่นมากกว่านักศึกษาที่แสดงอาการอายน้อย
นักวิจัยยังได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครอีก 38 คน ด้วยเกมอย่างเดียวกัน ก็ให้ผลปรากฏว่าคนที่รายงานว่าตนเองรู้สึกอายบ่อยๆ ใจดีแบ่งตั๋วให้คนอื่นมากกว่า
และไม่ใช่ว่าความเขินอายจะแสดงให้เห็นว่าคนคนนั้นเป็นคนใจดีเท่านั้น การทดลองอีกอันที่นักวิจัยให้คนมาแสดงอาการเขินอายให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความน่าไว้วางใจ ผลก็ปรากฏว่าอาการเขินอายยังทำให้ผู้อื่นเห็นว่าคนคนนั้นน่าไว้วางใจด้วย
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นอีกว่าคนขี้อายมักเป็นคนรักเดียวใจเดียวอีกต่างหาก
สรุปใครที่ขี้อายจงภูมิใจในความขี้อายของตัวเองได้แล้ว ณ บัดนี้ คุณเป็นคนดีที่สุดคนหนึ่งเลยแหละ (ผมก็ขี้อายนะ ตอนพิมพ์นี่ ผมอายม้วนตกเก้าอี้ไปตั้งสามรอบแหนะ อ๊าย...อาย...)
อย่างไรก็ตาม ต้องแยกแยะ "ความเขินอาย" ออกจาก "การละอายใจ" ด้วยนะครับ การละอายใจเป็นความรู้สึกผิดเมื่อเราได้ทำอะไรแย่ๆ ลงไป อันนั้นมันไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนดี มันเป็นอาการส่อพิรุธ
ที่มา - Medical Xpress | https://jusci.net/node/2068 | คนขี้อายเป็นคนใจดีและน่าวางใจ |
แม้ว่าจะถูกมองว่าน่ารังเกียจแค่ไหน ความรุนแรงในครอบครัวก็เป็นพฤติกรรมที่พบได้ทั่วไปทุกสังคมทุกชาติทุกศาสนา David Buss และ Joshua Duntley นักชีววิทยาแห่ง Richard Stockton College of New Jersey ในสหรัฐอเมริกา ตั้งสมมติฐานว่าพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในครอบครัวอาจมีกำเนิดจากวิวัฒนาการระบบสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เอง
เขาทั้งสองได้ข้อสรุปจากการค้นคว้างานวิจัยหลายชิ้นว่า ผู้ชายมีแนวโน้มใช้พฤติกรรมความรุนแรงกับภรรยาของตนเมื่อรู้สึกว่าภรรยากำลังจะนอกใจหรือกำลังคิดหย่าร้าง เพื่อรับประกันว่าตัวเองจะได้มีสิทธิ์ในการผลิตลูกต่อไปและมั่นใจได้ว่าลูกที่เกิดขึ้นเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขตนเอง
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่โดนสามีทำร้ายมักตั้งครรภ์ลูกของชายคนอื่นที่ไม่ใช่สามีตัวเอง, และงานวิจัยอีกชิ้นชี้ให้เห็นว่าผู้ชายที่ทำร้ายภรรยาตัวเองมักจะแสดงความหึงหวงภรรยาอย่างรุนแรงและเข้มงวด
David Buss ยังเชื่ออีกว่ายิ่งภรรยามีค่าในสายตาของสามีมากเท่าไร (เช่น สวย รวย เก่ง) สามีก็จะยิ่งหวงและมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรงในการข่มขู่เป็นหลักประกันให้ภรรยาอยู่กับตนเอง ไม่กล้าหนีไปไหน
แต่ Heather Douglas แห่ง University of Queensland ในออสเตรเลีย ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปเช่นนี้ เธอเห็นว่ามันเอนเอียงเกินไปสักหน่อย เช่น เน้นไปในเรื่องผลลัพธ์การมีลูก, เน้นว่าผู้หญิงต้องพึ่งผู้ชายเป็นหลัก, และก็ไม่สามารถอธิบายถึงความรุนแรงในครอบครัวของคนเพศเดียวกันได้
ผมไม่รู้จะสรุปข่าวนี้ยังไงจริงๆ แม้ว่าผมจะเป็น anti-feminism แต่ผมก็ห่างไกลจากการเป็น sexism มาก ข้อสรุปที่ได้ในเชิงวิวัฒนาการมันก็พอฟังขึ้นในแง่ของการสืบพันธุ์ แต่ถ้านับรวมอิทธิพลทางสังคมซึ่งมีผลอย่างมากในวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ ข้อสรุปเหมารวมแบบนี้ก็ออกจะเกินไปหน่อย
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/2069 | ความรุนแรงในครอบครัวอาจเป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติ |
การมอบสิทธิพเศษให้กับผู้ใช้เครือข่ายสังคมเช่นร้านอาหารมอบส่วนลด หรือกระทั่งคอนเสิร์ตที่อาจจะขายบัตรให้กับสมาชิกเว็บแฟนคลับอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ครั้งนี้เป็นนาซ่าก็อาจจะกลายเป็นเรื่องแปลก เมื่อนาซ่าเตรียมที่นั่ง 150 ที่นั่ง
ผู้ได้คัดเลือก 150 คนจะได้เข้าชมศูนย์อวกาศยานเคเนดี, พูดคุยกับนักวิจัยของนาซ่า, และชมการยิงจรวด Atlas V 541 ที่นำส่งยาน Mars Rover (ถ้าจรวดยิงตามกำหนด) ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้
การลงทะเบียนจะเริ่มในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ โดยผู้ลงทะเบียนจะต้องเป็นผู้ใช้ทวิตเตอร์และตาม @NASA และ @NASATweetup ข่าวดีคือนาซ่าไม่จำกัดว่าผู้ลงทะเบียนจะต้องเป็นพลเมืองสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีผู้สมัครจะต้องเดินทางไปรัฐฟลอริดาด้วยตัวเอง และแม้จะได้รับคัดเลือกแล้ว ผู้ที่ไม่ได้เป็นพลเมืองสหรัฐฯ จะต้องทดสอบเพิ่มเติมเพื่อเข้าไปยังส่วนรักษาความปลอดภัยของศูนยเคเนดี
อีกหน่อยรัฐบาลไทยอาจจะมี 50 ที่นั่งสำหรับงานฝึกคอบบร้าโกลบ้างไหม
ที่มา - NASA | https://jusci.net/node/2070 | นาซ่ามอบที่นั่งให้ชาวทวิตเตอร์ 150 ที่ไปดูการยิงจรวดยาน Mars rover |
หลังจากเผยโครงการระบบจรวดอวกาศตัวใหม่ SLS ไปเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อวานนี้ (28 กันยายน 2011 ตามเวลาท้องถิ่น) NASA ก็แสดงความเอาจริงเอาจังต่อทันทีด้วยการทดสอบเครื่องยนต์จรวดที่จะใช้กับ SLS ณ ศูนย์อวกาศ John C. Stennis Space Center ในรัฐมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา
เครื่องยนต์จรวดที่ทดสอบคือ เครื่องยนต์จรวด J-2X ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องยนต์จรวดชั้นบน (upper-stage engine) ของ SLS การทดสอบครั้งนี้เดินเครื่องที่พลังงาน 99% เป็นเวลา 40 วินาที
เครื่องยนต์จรวด J-2X พัฒนาโดย Pratt & Whitney Rocketdyne จุดประสงค์หลักในตอนแรกคือเพื่อเอามาใช้กับการปล่อยจรวดของ NASA ที่ Marshall Space Flight Center ในรัฐอะลาบามา (งงดีมั้ย! ทำไว้ใช้ที่รัฐอะลาบามา ทดสอบที่รัฐมิสซิสซิปปี แล้วจะปล่อยจริงที่รัฐไหนอีก?)
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/2071 | NASA ทดสอบเครื่องยนต์จรวด J-2X |
เมื่อตอนหัวค่ำวันที่ 29 กันยายน 2011 (หรือตอนเช้าของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) ได้มีพิธีมอบรางวัล Ig Nobel ให้กับงานวิจัยประจำปี 2011 ณ Sanders Theater ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รัฐแมสซาชูเซ็ตส์ สหรัฐอเมริกา
รางวัล Ig Nobel เป็นรางวัลอันทรงคุณค่า(?)ที่มอบให้กับงานวิจัยหรือผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นด้วยความน่าขบขัน แต่ซ่อนด้วยเบื้องลึกที่น่าสนใจและกระตุ้นความคิดในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งยวด โดยปกติ Ig Nobel จะมีพิธีมอบรางวัลกันก่อนการประกาศผลรางวัล Nobel ไม่นานนัก คือช่วงประมาณปลายเดือนกันยายนถึงสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม (ผลรางวัล Nobel จะออกประมาณสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่สองเดือนตุลาคม)
ธีมหลักของงานปีนี้เป็นของ "วิชาเคมี" ดังนั้นในงานก็จะมีการแสดงที่เกี่ยวกับเคมี เช่น เพลง "Elements" ที่เอาชื่อธาตุในตารางธาตุมาใส่ทำนอง, การทดลองทางเคมี, มินิโอเปร่าชุด "เคมีในร้านกาแฟ" เป็นต้น แม้แต่รางวัลที่แจกปีนี้ก็ทำเป็นโต๊ะตารางธาตุตัวเล็กๆ ('Periodic Table' Table -- สังเกตการเล่นคำว่า table ที่แปลว่า "โต๊ะ" หรือ "ตาราง") หากใครสนใจอยากชมพิธีมอบรางวัลประจำปี 2011 สามารถเข้าไปชมได้ที่ Youtube
รายชื่อผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2011 มีดังนี้
สาขาสรีรวิทยา
Anna Wilkinson, Natalie Sebanz, Isabella Mandl และ Ludwig Huber สำหรับงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าการหาวไม่ใช่พฤติกรรมที่ติดต่อกันในเต่าขาแดง
REFERENCE: 'No Evidence Of Contagious Yawning in the Red-Footed Tortoise Geochelone carbonaria," Anna Wilkinson, Natalie Sebanz, Isabella Mandl, Ludwig Huber, Current Zoology, vol. 57, no. 4, 2011. pp. 477-84.
สาขาเคมี
Makoto Imai, Naoki Urushihata, Hideki Tanemura, Yukinobu Tajima, Hideaki Goto, Koichiro Mizoguchi และ Junichi Murakami สำหรับการค้นหาความเข้มข้นของไอวาซาบิที่จะปลุกคนนอนหลับให้ตื่นได้เมื่อมีไฟไหม้หรือภาวะฉุกเฉิน และเสนอการนำไปประยุกต์ใช้สร้าง "ระบบเตือนภัยวาซาบิ"
REFERENCE: US patent application 2010/0308995 A1. Filing date: Feb 5, 2009.
สาขาการแพทย์
Mirjam Tuk, Debra Trampe และ Luk Warlop ร่วมด้วย Matthew Lewis, Peter Snyder, Robert Feldman, Robert Pietrzak, David Darby, และ Paul Maruff สำหรับการสาธิตให้เห็นว่าคนเราจะตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ดีขึ้น แต่ก็ตัดสินใจอีกอย่างแย่ลง เมื่อปวดฉี่อย่างสุดๆ
REFERENCE: "Inhibitory spillover: Increased Urination Urgency Facilitates Impulse Control in Unrelated Domains," Mirjam A. Tuk, Debra Trampe and Luk Warlop, Psychological Science, vol. 22, no. 5, May 2011, pp. 627-633.
REFERENCE: "The Effect of Acute Increase in Urge to Void on Cognitive Function in Healthy Adults," Matthew S. Lewis, Peter J. Snyder, Robert H. Pietrzak, David Darby, Robert A. Feldman, Paul T. Maruff, Neurology and Urodynamics, vol. 30, no. 1, January 2011, pp. 183-7.
สาขาจิตวิทยา
Karl Halvor Teigen สำหรับความพยายามในการอธิบายว่าทำไมคนเราถึงถอนหายใจ
REFERENCE: "Is a Sigh 'Just a Sigh'? Sighs as Emotional Signals and Responses to a Difficult Task," Karl Halvor Teigen, Scandinavian Journal of Psychology, vol. 49, no. 1, 2008, pp. 49–57.
สาขาวรรณกรรม
John Perry สำหรับทฤษฎี "การผลัดวันประกันพรุ่งอย่างมีโครงสร้าง" (Theory of Structured Procrastination) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า "หากอยากประสบความสำเร็จขั้นสูง จงมุ่งทำงานอะไรสักอย่างที่สำคัญ เพื่อเราจะได้ใช้สิ่งนั้นในการเลี่ยงไม่ทำสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่า"
REFERENCE: "How to Procrastinate and Still Get Things Done," John Perry, Chronicle of Higher Education, February 23, 1996. ภายหลังเผยแพร่ในที่อื่นภายใต้ชื่อเรื่อง "Structured Procrastination." < http://www-csli.stanford.edu/~jperry>
สาขาชีววิทยา
Darryl Gwynne และ David Rentz สำหรับการค้นพบว่าตัวผู้ของด้วงบางชนิดพยายามผสมพันธุ์กับขวดเบียร์ยี่ห้อหนึ่งของออสเตรเลีย
REFERENCE: "Beetles on the Bottle: Male Buprestids Mistake Stubbies for Females (Coleoptera)," D.T. Gwynne, and D.C.F. Rentz, Journal of the Australian Entomological Society, vol. 22, 1983, pp. 79-80
REFERENCE: "Beetles on the Bottle," D.T. Gwynne and D.C.F. Rentz, Antenna: Proceedings (A) of the Royal Entomological Society London, vol. 8, no. 3, 1984, pp. 116-7.
สาขาฟิสิกส์
Philippe Perrin, Cyril Perrot, Dominique Deviterne, Bruno Ragaru และ Herman Kingma สำหรับการอธิบายว่าทำไมนักกีฬาขว้างจักรถึงมึนหัวหลังจากการขว้าง แต่นักกีฬาขว้างค้อนไม่เป็น
REFERENCE: "Dizziness in Discus Throwers is Related to Motion Sickness Generated While Spinning," Philippe Perrin, Cyril Perrot, Dominique Deviterne, Bruno Ragaru and Herman Kingma, Acta Oto-laryngologica, vol. 120, no. 3, March 2000, pp. 390–5.
สาขาคณิตศาสตร์
Dorothy Martin (ทำนายว่าโลกจะแตกในปี 1954), Pat Robertson (ทำนายว่าโลกจะแตกในปี 1982), Elizabeth Clare Prophet (ทำนายว่าโลกจะแตกในปี 1990), Lee Jang Rim (ทำนายว่าโลกจะแตกในปี 1992), Credonia Mwerinde (ทำนายว่าโลกจะแตกในปี 1999), และ Harold Camping (ทำนายว่าโลกจะแตกในปี 1994 และล่าสุดปี 2011) สำหรับการเป็นตัวอย่างสอนให้โลกรู้ว่าควรระมัดระวังในการใช้คณิตศาสตร์คำนวณและสรุปผลเอาเอง
อันนี้รู้สึกว่าจะไม่มีผู้ได้รับรางวัลคนใดกล้ามาขึ้นเวทีเลย
สาขาสันติภาพ
Arturas Zuokas นายกเทศมนตรีของ Vilnius ประเทศลิธัวเนีย สำหรับการสาธิตวิธีในการแก้ปัญหาพวกที่ชอบเอารถหรูๆ ไปจอดเกะกะผิดกฏหมาย ด้วยการขับรถยานเกราะทับรถพวกนั้นซะเลย
ดูวิดีโอสาธิต www.youtube.com/watch?v=V-fWN0FmcIU
สาขาความปลอดภัยสาธารณะ
John Senders สำหรับการทดลองที่ชี้ให้เห็นว่าการขับรถโดยมีกระบังหมวกสะบัดขึ้นลงตรงหน้าตลอดเวลานั้นทำให้ทัศนวิศัยของผู้ขับถูกบดบัง
REFERENCE: "The Attentional Demand of Automobile Driving," John W. Senders, et al., Highway Research Record, vol. 195, 1967, pp. 15-33. ดูวิดีโอ www.youtube.com/watch?v=kOguslSPpqo
ที่มา - Improbable Research | https://jusci.net/node/2072 | รายชื่อผู้ได้รับรางวัล Ig Nobel ประจำปี 2011 |
เมื่อปีที่แล้วเราได้เห็นข่าวนักฟิสิกส์ตีกันเพราะรางวัลโนเบล มาปีนี้ก็เป็นเรื่องราวของนักเคมีที่มีเรื่องกันเพราะผลประกาศรางวัลบ้าง แม้ว่าจะไม่ใช่รางวัลโนเบลซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุดของนักวิทยาศาสตร์ แต่ชื่อเสียงของรางวัล Lasker ก็ยิ่งใหญ่ระดับโลกเช่นกันโดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุดเริ่มต้นของเรื่องคือ ผลรางวัล Lasker-DeBakey Clinical Medical Research Award ปี 2011 นี้ที่มอบให้กับ Tu Youyou นักพฤกษเคมี (phytochemist) วัย 80 ปีแห่ง Academy of Traditional Chinese Medicine ของสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับการค้นพบ artemisinin ซึ่งเป็นยารักษาโรคมาลาเรียที่มีราคาถูก ช่วยชีวิตคนมากมายโดยเฉพาะผู้ป่วยในประเทศยากจน
เพื่อความเข้าใจว่าทำไมพอ Tu Youyou ได้รางวัลนี้แล้วถึงได้มีปัญหา เราต้องย้อนความไปถึงประวัติของ artemisinin กันสักนิด
ประวัติของมันเริ่มมาจากในคริสตทศวรรษที่ 1960 รัฐบาลเวียดนามเหนือ (ในขณะนั้น) ได้ร้องขอให้รัฐบาลจีนช่วยพัฒนาวิธีรักษาโรคมาลาเรียแบบใหม่ เพราะว่าเชื้อมาลาเรียเริ่มมีอาการดื้อต่อยาที่ใช้กันอยู่ในตอนนั้น หาไม่แล้วทหารเวียดนามเหนือจะต้องตายในป่ากันหมดก่อนที่เห็นชัยชนะแน่ รัฐบาลจีนซึ่งนำโดยเหมาเจ๋อตุงตอบรับทันทีด้วยการตั้งโครงการลับภายใต้รหัส "Project 523" ในปี 1967 รวบรวมนักวิจัยกว่า 500 ชีวิตจากสถาบันวิจัยทั่วประเทศทั้งของกองทัพและพลเรือน
Tu Youyou ซึ่งตอนนั้นประจำอยู่ที่ Institute of Chinese Materia Medica ก็ได้รับมอบหมายงานใน Project 523 ให้รับผิดชอบคุมงานวิจัยในส่วนที่ค้นหาสารเคมีในพืชสมุนไพรเพื่อนำเอามาสกัดทำยา
ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา เนื่องจาก Tu Youyou มีตำแหน่งคุมงานวิจัยในส่วนของสารสกัดจากสมุนไพรทั้งหมด ดังนั้นหากนักวิจัยภายใต้สายบังคับบัญชาเจออะไร ก็ต้องรายงานโดยตรงกับเธอหรือแม้กระทั่งใส่ชื่อเธอลงไปในผลงานด้วย นักวิทยาศาสตร์จีนบางคนจึงทำใจเชื่อไม่ลงว่า Tu Youyou มีส่วนในผลงานมากพอที่จะทำให้เธอสมควรกับการได้รับรางวัล Lasker ไปนอนกอดคนเดียว
Wu Yulin นักเคมีวัยเกษียณแห่ง Academy of Sciences's Institute of Organic Chemistry ผู้ซึ่งมีผลงานช่วยวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของ artemisinin วิจารณ์ว่า "Tu Youyou มีส่วนแค่ในการค้นพบเท่านั้น ส่วนผลงานในด้านอื่นๆ เธอแทบจะไม่ได้มีส่วนร่วมสำคัญเลย" คำวิจารณ์ลักษณะนี้แพร่กระจายทั่วไปในบทวิเคราะห์ข่าวของหนังสือพิมพ์จีนบางฉบับและเว็บจีนอีกหลายเว็บ ส่วนใหญ่เห็นว่า Tu Youyou ไม่สมควรได้รับรางวัลหรืออย่างน้อยก็ไม่ควรได้คนเดียว
แต่ฝ่ายที่เชียร์ Tu Youyou ก็มีเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น Louis Miller และ Xinzhuan Su แห่ง National Institutes of Health (NIH) ในสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์บทความลงในวารสาร Cell ว่า "ผลงานส่วนใหญ่ต้องยกเครดิตให้ Tu Youyou อย่างไม่ต้องสงสัย" แถมทั้งสองคนยังอ้างอีกว่าข้อสรุปนี้สามารถยืนยันได้ด้วยเอกสารลับที่ Tu Youyou เอามาแสดงให้ดูด้วยตัวเอง (อะไรกันเนี่ย!? มีใช้เอกสารลับประกอบกันด้วย ย้ำนะครับว่าเรากำลังพูดถึงนักวิทยาศาสตร์กันอยู่ ไม่ใช่อภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา)
มีฝ่ายค้านกับฝ่ายเชียร์แล้ว ก็จะขาดพวกที่อยู่กลางๆ ไม่ได้ (ไม่งั้นก็ไม่สนุกสิ) แต่ในกรณีนี้ คนที่อยู่กลางๆ ดูจะมีเหตุผลมากที่สุด เพราะเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไปค้นข้อมูลบันทึกย้อนหลังมาอย่างจริงจังและละเอียดละออ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดจนสุดโต่ง
คนกลางๆ ที่เราพูดถึงก็คือ กลุ่มของ Rao Yi นักประสาทวิทยาแห่ง Peking University ในกรุงปักกิ่ง ในรายงานที่พวกเขาเผยแพร่ออนไลน์นั้นสรุปว่า Tu Youyou สมควรได้รับรางวัลแน่นอน (อันนี้ตรงกับกองเชียร์ Tu Youyou) แต่ก็มีคนอื่นที่สมควรได้รับรางวัลร่วมกันด้วย (อันนี้ฝ่ายค้านก็ขานรับ)
ตามรายงานของ Rao Yi ระบุว่า Yu Yagang คือคนที่ค้นคว้าสูตรตำรายาจีนโบราณและพบว่า "ชิงเฮา" (Artemisia annua) เป็นสมุนไพรที่สูตรยาจีนนิยมใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย จากนั้น Yu Yagang ก็ได้ร่วมกับทีมวิจัยจาก Academy of Military Medical Sciences สกัดสารออกฤทธิ์ออกมาจากต้นชิงเฮาและพบว่าสารนั้นสามารถฆ่าเชื้อมาลาเรียได้ถึง 60-80% แต่พอ Tu Youyou ได้รับรายงานผลจาก Yu Yagang และสั่งให้ทีมวิจัยอื่นทำการทดลองซ้ำ ผลกลับออกมาไม่ตรงกับงานของ Yu Yagang
ตรงนี้แหละที่ Tu Youyou ก้าวมามีบทบาทสำคัญในการค้นพบ artemisinin เพราะเธอ (หรืออย่างน้อยทีมวิจัยที่มีชื่อเธอเป็นหัวหน้า) ค้นพบว่าสารออกฤทธิ์ในต้นชิงเฮาถูกทำลายเมื่อสกัดที่อุณหภูมิสูง ดังนั้นเธอจึงได้คิดวิธีสกัดใหม่โดยการใช้ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำในการสกัด ซึ่งก็ได้ผลดีอย่างมาก น่าจะเป็นความสำเร็จในจุดนี้แหละที่คณะกรรมการมอบรางวัล Lasker ให้เธอ (แต่ฝ่ายค้านก็โห่กันใหญ่ หาว่าวิธีการใช้อีเธอร์สกัดสารเป็นกรรมวิธีที่ธรรมดามากๆ ในวงการชีวเคมี)
นอกจากนี้ยังมีงานของนักวิจัยอีกหลายต่อหลายคนที่มีส่วนในการพัฒนายารักษามาลาเรีย artemisinin อันที่เด่นๆ ได้แก่
ทีมวิจัยในเซี่ยงไฮ้ระหว่างปี 1973-1975 พบว่าโครงสร้างทางเคมีของ artemisinin มีองค์ประกอบสำคัญที่เรียกว่า "peroxide bridge" ซึ่งเป็นโครงสร้างที่พบในสารสังเคราะห์เท่านั้น artemisinin คือสารสกัดธรรมชาติชนิดเดียว (เท่าที่ค้นพบ) ที่มีองค์ประกอบนี้ ซึ่ง peroxide bridge เป็นสาเหตุหลักว่าทำไม artemisinin จึงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาควินินและคลอโรควินได้
Wei Zhenxing แห่ง Shandong Institute of Pharmacology และ Luo Zeyuan แห่ง Yunnan Institute of Pharmacology ที่ค้นพบสมุนไพรจีนท้องถิ่นชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดที่มี artemisinin เป็นองค์ประกอบ ทำให้นักวิทยาศาสตร์จีนสามารถสกัด artemisinin มาใช้ทดลองได้ในปริมาณมาก แม้แต่ทีมวิจัยของ Tu Youyou ก็ยังยืมการค้นพบนี้ไปใช้กับงานของตัวเอง งานวิจัยเกี่ยวกับ artemisinin จึงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ทีมวิจัยของ Li Ying นักเคมีวัยเกษียณแห่ง Academy of Sciences Institute of Materia Medica ในเซี่ยงไฮ้ ที่ค้นพบว่าวิธีการสกัดของ Tu Youyou ทำให้เกิดการตกผลึกของ artemisinin ซึ่งมีพิษต่อสัตว์ทดลองและมนุษย์ ทีมวิจัยของ Li Ying ยังได้สังเคราะห์อนุพันธุ์ของ artemisinin ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อมาลาเรียได้ดีกว่าเดิมและนำไปสู่การผลิตยารักษามาลาเรียที่ใช้กันในปัจจุบัน
รางวัล Lasker ถูกมองมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วว่าคือ "การเตรียมรับรางวัลโนเบล" แต่หากเรื่องมันวุ่นวายขนาดนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลโนเบลจะหลีกเลี่ยงการให้รางวัลกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนใน artemisinin ทั้งหมดเลย
ข้อเสนอที่คนกลางอย่าง Rao Yi ส่งผ่านไปถึงคณะกรรมการฯ รางวัลโนเบล คือ ถ้าจะต้องเลือกให้นักวิทยาศาสตร์ด้วยผลงาน artemisinin ก็สมควรให้รางวัลร่วมกันแด่ Yu Yagang, Tu Youyou, และ Zhong Yurong ในฐานะที่ค้นพบ artemisinin หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือให้รางวัลร่วมแด่ Tu Youyou, Luo Zeyuan, และ Li Ying ในฐานะที่บุกเบิกการสังเคราะห์ยารักษามาลาเรียจาก artemisinin (ข้อจำกัดของรางวัลโนเบลคือรางวัลหนึ่งๆ รับร่วมกันได้สูงสุดแค่ 3 คนเท่านั้น)
สุดท้าย Tu Youyou คนที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องและได้รับแรงกดดันมากที่สุด ออกมาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Xinhua ในทำนองที่ต้องการสร้างความสมานฉันท์ว่า "เกียรติยศนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะของเธอคนเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นของนักวิทยาศาสตร์จีนทั้งหมดด้วย" (ตรงนี้นับว่าถูกต้องทีเดียว เพราะว่าเธอคือนักวิทยาศาสตร์จีนคนแรกที่ได้รางวัล Lasker ด้วยผลงานวิจัยที่ทำในประเทศจีน)
ที่มา - ScienceInsider | https://jusci.net/node/2073 | นักวิทยาศาสตร์จีนเขม่นกันเอง ไม่พอใจผลรางวัล Lasker |
ไม่ว่าคุณจะคิดว่าสังคมมนุษย์นั้นซับซ้อนเพียงใด ในทางชีววิทยา เราไม่จัดมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่แท้จริง (eusocial animal)
เหตุผลว่าทำไมหนะหรือ? คำตอบง่ายมากครับ เพราะว่านักชีววิทยาไม่นับไง... (กำปั้นทุบดินดีเนอะ)
นักชีววิทยาจัดความเป็นสัตว์สังคมที่แท้จริง (eusociality) ไว้ว่าต้องมี 4 อย่างดังนี้
ตัวเต็มวัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
มีตัวเต็มวัยบางตัวในกลุ่มเท่านั้นที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ ตัวอื่นๆ จะทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่การสืบพันธุ์ ศัพท์เทคนิคเรียกอะไรแบบนี้ว่า "reproductive division of labor"
มีการซ้อนทับกันของรุ่น (overlap of generations) หมายถึงในกลุ่มจะต้องมีทั้งตัวอ่อน ตัวเต็มวัย มากกว่าหนึ่งรุ่นอยู่ด้วยกัน
ตัวเต็มวัยมีการเลี้ยงดูตัวอ่อนในกลุ่มร่วมกัน (cooperative care of juveniles)
ดังนั้นในสายตาของนักชีววิทยา สัตว์สังคมที่แท้จริงก็มีพวกแมลง เช่น มด, ผึ้ง (บางชนิด), ต่อ (บางชนิด), แตน (บางชนิด), ปลวก เป็นต้น ที่ไม่ใช่แมลงก็มีกุ้ง Synalpheus และสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มเดียวที่เป็น eusocial คือ African mole rat
รายละเอียดอ่านเพิ่มได้จาก http://www.nature.com/scitable/knowledge/library/an-introduction-to-eusociality-15788128
ท่านใดไม่เห็นด้วยกับการจัดแบบนี้ อยากให้นักชีววิทยานับคนเป็นสัตว์สังคมที่แท้จริงให้ได้ ไม่ต้องมาเถียงผมนะครับ เพราะผมไม่ใช่คนจัด เอาเป็นว่ารู้ไว้แค่นักชีววิทยาคิดแบบนี้แล้วกัน
(ผมว่าจริงๆ นักชีววิทยาพยายามจำกัดความ eusociality ให้เข้มงวดขนาดนี้ ก็เพื่อจะกันมนุษย์ออกจากสังคมแบบพวกมดนั่นแหละ ใครจะอยากนับตัวเองรวมกับสังคมที่คนส่วนใหญ่ต้องเป็นหมัน แถมต้องไปเลี้ยงลูกให้คนอื่นอีก)
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม... เก็บไว้ใช้กวนประสาทชาวบ้านเล่นก็ได้ครับ
ตรงนี้ก็แยกแยะให้ออกด้วยนะครับ พฤติกรรมทางสังคม (social behavior) ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการเป็น eusocial นะครับ สัตว์ที่อยู่รวมกันเฉยๆ ก็มี social behavior ได้
‹ อนาคตถูกำหนดไว้แล้วหรือไม่
อัพเดตเล็กๆ น้อยๆ ใน ๋Jusci › | https://jusci.net/node/2074 | มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคมที่แท้จริง |
ได้อ่านกระทู้หว้ากอ เรื่อง multi-universe ที่ timeline แตกออกเป็น tree
หรือถ้าไอดูในควอนตัม จะพบว่าอนภาคมีความสามารถเดินทางได้ในแกนมิติที่ 4
คุณเชื่อหรือไม่ว่า อนาคต ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว เป็นเหมือนสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ ในโลก 3 มิติ
‹ แอพ Jusci ใน Android Market
มนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคมที่แท้จริง › | https://jusci.net/node/2075 | อนาคตถูกำหนดไว้แล้วหรือไม่ |
คำถามที่ชาวสวนในอนาคตอาจจะสงสัย ว่าถ้าต้องออกไปอยู่ในอวกาศ แล้วปลูกผักอะไรจึงจะโตเร็ว?
ที่งาน American Chemical Society เมื่อเดือนสิงหาคมก็มีพูดถึงเรื่องนี้ โดยนักวิทยาศาสตร์เลือกพืชผัก 10 ชนิดที่เหมาะแก่การปลูกในอวกาศมากที่สุด โดยใช้หลักการเลือกว่ามันสามารถดูดซึม CO2 ที่มนุษย์อวกาศหายใจออกมา แล้วเปลี่ยนเป็นออกซิเจนที่ช่วยหายใจ นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์เรื่องดูแลง่าย ใช้ที่ไม่เยอะ
ผัก 10 อย่างนี้ได้แก่
lettuce ผักกาดหอม-ผักสลัด
spinach ผักโขม
carrots แครอท
tomatoes มะเขือเทศ
green onions ต้นหอม
radishes หัวผักกาด
bell peppers พริกหยวก
strawberries สตรอเบอรี่
fresh herbs พวกผักสมุนไพรมีราก เช่น ผักชี
cabbages กะหล่ำปลี
ใครมีโอกาสได้ลองก็ช่วยบอกด้วยนะครับว่าปลูกขึ้นดีหรือไม่
ที่มา - The Register | https://jusci.net/node/2076 | บนอวกาศนี่เค้าต้องปลูกผักอะไรกัน? |
วันที่ 30 กันยายน 2011 เครื่องเร่งอนุภาคอันดับสองของโลก Tevatron ได้ปิดทำการลงแล้วอย่างเป็นทางการ
ตลอดระยะเวลา 28 ปีที่ Tevatron ได้ปฎิบัติงานภายใต้การดูแลของ Fermi National Accelerator Laboratory (หรือที่เรียกกันติดปากว่า Fermilab) วงการฟิสิกส์ได้พบอนุภาคใหม่ๆ มากมาย เช่น tau neutrino, top quark. อนุภาค baryon หลายตัว (ที่เพิ่งเป็นข่าวไปก็คือ neutral Xi-sub-b) เป็นต้น แม้แต่การค้นหาอนุภาคพระเจ้า Higgs boson เราก็ต้องถือว่า Tevatron มีส่วนไม่น้อย ก่อนที่หน้าที่หลักในตอนนี้จะถูกโอนไปเป็นของ Large Hadron Collider (LHC) ของ CERN
คนที่ได้รับเกียรติเป็นผู้กดปุ่มปิดการทำงานของ Tevatron คือ Helen T. Thomas นักฟิสิกส์หญิงผู้ซึ่งร่วมออกแบบและสร้าง Tevatron
เหตุผลที่ Tevatron ต้องปิดตัวลงก็ไม่พ้นเรื่องงบประมาณที่ทุกวันนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาแบ่งมาให้ห้องทดลองต่างๆ อย่างจำกัดจำเขี่ยเหลือเกิน บวกกับความจริงที่ว่าตอนนี้ Tevatron เองก็ล้าสมัยไปแล้วเมื่อเทียบกับน้องใหม่ไฟแรงอย่าง LHC (Tevatron เคยเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ทรงพลังที่สุดในโลก ก่อนจะถูก LHC แย่งตำแหน่งไปในปี 2009)
ที่มา - Popular Science, Discovery News | https://jusci.net/node/2077 | Tevatron ปิดทำการแล้ว |
ตามปกติเวลาที่ร่างกายเราย่อยอาหาร สารพันธุกรรมพวก DNA และ RNA (หรือที่เรียกรวมๆ ว่า "กรดนิวคลีอิก") จะถูกย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนไม่สามารถทำงานได้ก่อนที่ร่างกายจะดูดซึมเอาสารอาหารไปใช้ แต่จากการค้นพบล่าสุดของทีมวิจัยที่นำโดย Chen-Yu Zhang แห่งมหาวิทยาลัยนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีน กลับพบว่า เมื่อเรากินผักเข้าไป จะมีชิ้นส่วนสารพันธุกรรมบางชิ้นหลุดรอดเข้าสู่กระแสเลือดเราได้
ทีมวิจัยทดลองเจาะเลือดจากอาสาสมัครชาวจีนและจากวัว จากนั้นก็เอาตัวอย่างเลือดมาทำปฏิกิริยากับโซเดียมเพอร์ไอโอเดต (sodium periodate) ซึ่งมีคุณสมบัติออกซิไดซ์ microRNA ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะ แต่ไม่ทำอะไรกับ microRNA ของเซลล์พืช
ผลการทดลองพบว่า ในเลือดของทั้งมนุษย์และวัว มี microRNA ของพืชอยู่มากกว่า 30 รูปแบบ แต่ว่ามีอยู่สองแบบที่พบมากที่สุด คือ MIR168a และ MIR156a ซึ่งเป็น microRNA ที่พบมากในข้าวและพืชวงศ์ Brassicaceae (ตระกูลกระหล่ำ เช่น บร็อคโคลี่, กระหล่ำปลี, กระหล่ำดอก เป็นต้น) ทำให้นักวิจัยสันนิษฐานว่า microRNA เหล่านี้จะต้องมาจากข้าวและผักที่ชาวจีนกินเป็นอาหารหลักแน่นอน
microRNA เป็น RNA เส้นสั้นๆ ความยาวประมาณ 19-24 นิวคลีโอไทด์ (นิวคลีโอไทด์เป็นหน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิก) หน้าที่หลักของมันคือจะเลือกจับกับ messenger RNA (mRNA) ที่มีรหัสเฉพาะ ทำให้ mRNA นั้นๆ ไม่สามารถแปลรหัสออกมาเป็นโปรตีนได้
Chen-Yu Zhang สงสัยต่อไปว่า microRNA ที่พบล่องลอยอยู่ในเลือดคนจะยังสามารถทำงานได้หรือไม่ ทีมวิจัยของเขาจึงเริ่มตรวจสอบจีโนมของมนุษย์และของหนูทดลองว่ามียีนใดบ้างที่ถูกปิดได้ด้วย MIR168a และก็พบว่ามีประมาณ 50 ยีนที่มีรหัสตรงตามที่พวกเขาต้องการ รวมถึงยีนที่สร้างโปรตีนในตับตัวหนึ่งชื่อ LDLRAP1 ซึ่งมีหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลประเภท LDL (หรือที่เรียกกันว่า "คอเลสเตอรอลไม่ดี") ออกจากกระแสเลือด
จากนั้น พวกเขาก็ลองใส่ MIR168a ลงไปในจานเลี้ยงเซลล์ตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลปรากฏว่าเซลล์ตับเหล่านั้นผลิต LDLRAP1 ได้น้อยลง และเมื่อพวกเขาลองฉีด MIR168a เข้าไปในหนูทดลอง ก็พบว่าตับของหนูทดลองผลิด LDLRAP1 น้อยลง และ ปริมาณคอเลสเตอรอล LDL ในกระแสเลือดหนูก็เพิ่มสูงขึ้น
Chen-Yu Zhang สันนิษฐานว่า microRNA จากธัญพืชและผักที่เรากินเข้าไปอาจจะมีผลต่อการทำงานของพันธุกรรมมนุษย์มานมนานกาเลแล้ว ดีไม่ดีอาจจะไม่ใช่แค่ข้าวหรือพวกกระหล่ำเท่านั้น แต่เป็นพืชทุกชนิดเลยที่มนุษยชาติเอามากินเป็นอาหาร
ผลการทดลองนี้อาจจะทำให้หลายคนเสียวๆ โดยเฉพาะกรณีของพืชที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมหรือ "พืช GM" ตรงนี้ผมก็คงบอกได้แค่ให้เสียวๆ กันต่อไปเถอะครับ เพราะนักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่แน่ใจนัก เคยมีการทดลองหนึ่งระบุว่าพบยีนที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรมในหมูที่กินข้าวโพด GM แต่พอนักวิจัยอีกกลุ่มทำการตรวจสอบในนมวัวที่เลี้ยงด้วยข้าวโพด GM กลับไม่พบอะไร หรือในกรณีของยีนถั่วเหลือง GM ที่เคยพบในแบคทีเรียในลำไส้มนุษย์ พอนักวิจัยทดลองในห้องทดลองกลับไม่พบว่าแบคทีเรียในลำไส้ของเราดูดซึมยีนจากถั่วเหลือง GM ได้
แต่การค้นพบว่าสารพันธุกรรมจากพืชสามารถทำงานได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีประโยชน์ในเชิงประยุกต์เหมือนกัน วันข้างหน้าเราอาจจะมีข้าวพันธุ์พิเศษที่สามารถเพิ่มหรือลดการทำงานของยีนในร่างกายเราได้ตามใจชอบ ตัวอย่างเช่น อยากหน้าเด้ง-กินข้าวยี่ห้อนี้, อยากผมสวย-กินผักคะน้า GM, อยากรวย-กิน???... จบแค่นี้ดีกว่า ^.^
ที่มา - New Scientist
งานวิจัยของ Chen-Yu Zhang ตีพิมพ์ลงในวารสาร Cell Research (doi:10.1038/cr.2011.158) อันนี้สำนักพิมพ์ Nature Publishing ใจดีให้อ่านตัวเต็มฟรีๆ ด้วย (แต่ผมก็ว่าอย่าไปอ่านดีกว่า ปวดหัวเปล่าๆ) | https://jusci.net/node/2078 | ผักที่เรากินอาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงการทำงานของยีนเรา |
รางวัลโนเบลถือได้ว่าเป็นความฝันอันสูงสุดของนักวิทยาศาสตร์บนพื้นพิภพนี้ทุกคน ตัวรางวัลจริงๆ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าประกาศนียบัตร, เหรียญทอง, และเงิน 10,000,000 โครนสวีเดน (45,000,000 บาท) แต่ผลประโยชน์จากการได้รางวัลโนเบลมีค่ามากกว่าเงินจำนวนนี้มาก
จากการวิจัยของทีมนักเศรษฐศาสตร์แห่ง Georgia State University พบว่าการมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลนั่งอยู่ในบอร์ดบริหารจะช่วยเพิ่มมูลค่าของบริษัทได้ถึง 24 ล้านเหรียญสหรัฐตอนเสนอขายหุ้น IPO (initial public offering)
อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทยาหรือสารเคมีวิทยาศาสตร์เหล่านี้พ้นระยะแรกไปแล้ว นักลงทุนก็จะมองหาปัจจัยอื่นที่แสดงความั่นคงของบริษัทมากขึ้น คุณค่าของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
นอกจากผลประโยชน์ที่เป็นเงินแล้ว งานวิจัยในปี 2008 ยังแสดงให้เห็นด้วยว่านักเคมีและนักฟิสิกส์ที่ได้รับรางวัลโนเบลมีอายุเฉลี่ยยืนกว่านักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้รับรางวัลประมาณ 1-2 ปี (เจ้าของรางวัลโนเบลที่มีอายุยืนสุดในปัจจุบันมีอายุ 102 ปี)
Roger Highfield บรรณาธิการของ New Scientist กล่าวว่า "รางวัลโนเบลคือเกียรติยศสูงสุดของนักวิทยาศาสตร์ หากว่าเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์คงยินดีเอายายตัวเองขึ้นไปขายบน eBay เพื่อแลกกับรางวัลนี้" (พูดแบบนี้ได้ไง... ยายผมตายไปแล้ว อดเลย)
มหาวิทยาลัยเองก็ได้ผลประโยชน์จากรางวัลโนเบลด้วย คิดดูสิว่าการมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลประดับไว้ในมหาวิทยาลัยจะเยี่ยมยอดขนาดไหน เอาว่ามหาวิทยาลัยบ้านเรายังไม่มีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล แค่มีเจ้าของรางวัลโนเบลมาปาฐกถาก็ขึ้นป้ายโฆษณากันยกใหญ่แล้ว
แต่เกียรติยศแห่งรางวัลโนเบลก็อาจมีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน Gary Becker เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1992 บอกว่า "รางวัลโนเบลทำให้นักศึกษาน้อมเคารพเกินกว่าจะกล้าตั้งคำถามกับสิ่งที่เขาบอก" ซึ่งเขาเห็นว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย...
...เพราะไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลก็คือมนุษย์ ย่อมมีผิดพลาดได้เสมอ
ที่มา - AFP via PhysOrg | https://jusci.net/node/2079 | รางวัลโนเบลมีค่าเท่าไรกันแน่? |
เพิ่งเห็นมีแอพ Jusci ใน Android Market ด้วย
https://market.android.com/details?id=us.rtsp.android.jusci
ความจริงผมไม่ค่อยชอบไอคอน Jusci อันปัจจุบันเท่าไรนะ (ชอบอันเดิมที่เป็นสีฟ้าๆ เพราะผมชอบสีฟ้า) แต่พออยู่บนโทรศัพท์ รูปไอคอนอันนี้มันก็ขึ้นดีเหมือนกัน
อนาคตถูกำหนดไว้แล้วหรือไม่ › | https://jusci.net/node/2080 | แอพ Jusci ใน Android Market |
ลองจินตนาการถึงวันหนึ่งที่เผ่าพันธุ์มนุษย์โดยสารยานอวกาศไปตั้งรกรากบนดาวเคราะห์ดวงใหม่ เอาแค่การเดินทางไปยังระบบดาวฤกษ์ที่ใกล้ที่สุดก็ต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีแล้ว นั่นแปลว่าทางเดียวที่เราจะไปสร้างอาณานิคมบนโลกใหม่ก็คือเราต้องสืบพันธุ์ออกลูกออกหลานกันบนยานอวกาศให้ได้
Athena Andreadis นักชีววิทยาแห่ง University of Massachusetts Medical School ให้ความเห็นในงานประชุม 100-Year Starship Symposium เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2011 ว่ากระบวนการสืบพันธุ์ของมนุษย์นั้นวิวัฒนาการมากับสภาพแรงโน้มถ่วงของโลก ในอวกาศที่เป็นสภาพไร้น้ำหนัก เราอาจจะมีปัญหาได้
เริ่มตั้งแต่ขั้นแรกของการสืบพันธุ์เลย แม้แต่กับการมีเซ็กซ์ เราไม่สามารถรับประกันได้ว่ามนุษย์บนยานอวกาศจะสามารถหลั่งน้ำอสุจิให้สเปิร์มว่ายเข้าไปผสมกับไข่ได้ การมีเซ็กซ์ในสภาพไร้น้ำหนักนั้นก็ไม่ต่างการดันกำแพงไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่มีแรงเสียดทานกับพื้นคอยต้าน
ขั้นต่อมาเมื่อตัวอ่อนพัฒนาในครรภ์ เราก็ไม่รู้อีกว่าตัวอ่อนจะเจริญเป็นทารกที่สมบูรณ์ได้หรือไม่ เรารู้แค่ว่าสภาพไร้น้ำหนักทำให้ร่างกายผู้ใหญ่มีความดันโลหิตลดลง, กระดูกสูญเสียแร่ธาตุ, กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ ฯลฯ ผลกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์อาจจะรุนแรงถึงขั้นมีผลต่อระบบประสาทเลยทีเดียว
ขั้นสุดท้ายคือการคลอด ถ้าอยู่บนโลก น้ำหนักตัวของทารกจะช่วยผลักให้ทารกเคลื่อนตัวออกจากช่องคลอดได้ แต่ในสภาพไร้น้ำหนัก เราก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่าจะทำคลอดทารกอย่างไรดี
หนทางออกของปัญหานี้ดูเหมือนจะต้องรอเทคโนโลยีการสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมบนยานอวกาศซึ่งตอนนี้ยังไม่เห็นแม้แต่เงา มีอย่างมากก็แค่ควัน (อย่าว่าแต่ยานอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงเทียมเลย เอาแค่ยานอวกาศที่จะให้มนุษย์อาศัยได้เป็นร้อยๆ ปีก็ยังไม่รู้เลยว่าจะทำกันอย่างไร)
และอันนี้คือแค่ "การเดินทางไป" เท่านั้นนะครับ ยังไม่รับประกันว่าเมื่อไปถึงที่ดาวเคราะห์อีกดวงแล้ว เราจะสามารถตั้งรกรากกันได้สำเร็จ
ถึงอย่างไรก็อย่าเพิ่งหมดหวังในมนุษยชาติแล้วกัน...
ที่มา - SPACE.com | https://jusci.net/node/2081 | [18+] ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่ามนุษย์จะสืบพันธุ์บนอวกาศไม่ได้ |