translation
dict
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Due to an improvement of microvascular techniques in recent years, free flaps are recognized as a gold standard in reconstructive surgery. But there are disadvantages of free flaps surgery such as instruments accessibility, increased operative time and complicated surgical techniques. The objective of this article was to show the advantages of a large cervical defect reconstruction with pectoralis major myocutaneous flap (PMMF) in a challenging clinical case. A 41 years old woman presented with right submandiblar mass. A diagnosis of salivary duct carcinoma (SDC) of right submandibular gland was confirmed by immunohistological technique. En bloc resection of submandibular area left a large triangular cervical defect of 20x15x14 cm. The pectoralis major myocutaneous flap (PMMF) was used as a reconstructive choice to resolve this problem. Post-operative follow up of the flap showed good functional and aesthetic result.", "th": "นับตั้งแต่มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดแบบจุลศัลยกรรมจนเป็นที่แพร่หลายในในปัจจุบัน การผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อแบบ free flaps ซึ่งเป็นการย้ายเนื้อเยื่อจากตำแหน่งเดิมไปปลูกถ่ายในตำแหน่งใหม่โดยใช้เทคนิคทางจุลศัลยกรรม ถือเป็นมาตรฐานใหม่ในการ ทำศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง แต่วิธีผ่าตัดแบบ free flaps ยังมีข้อเสียหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ regional flap แบบดั้งเดิม เช่นการเข้าถึงอุปกรณ์ ระยะเวลาการผ่าตัดที่ยาวนาน และเทคนิคการผ่าตัดที่ยุ่งยากกว่า วัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้ คือ แสดงถึงประโยชน์ของการใช้การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อข้างเคียงชนิด pectoralis major myocutaneous flap ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคการ ผ่าตัดแบบไม่ต้องใช้วิธีทางจุลศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็งของต่อมน้ำลาย submandibular ด้านขวา กรณีศึกษา เป็นผู้ป่วยหญิง อายุ 41 ปี มาโรงพยาบาลก้อนโตช้าที่บริเวณใต้คางขวา ผลการวินิจฉัยด้วยเทคนิคการย้อมพิเศษทางอิมมูโนฮิสโตเคมี พบเป็นมะเร็งของต่อมน้ำลาย ชนิด salivary duct carcinoma ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำลายด้านขวา และทำการผ่าตัด en bloc เนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงทำให้มี แผลเปิดขนาดใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาด 20x15x14 ซม.ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดปิดแผลด้วยการใช้เนื้อเยื่อข้างเคียงชนิด pectoralis major myocutaneous flap การติดตามผลการรักษาพบว่า รูปร่างและการทำงานของเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายเป็นไปด้วยดีหลังการผ่าตัด" }
{ "en": "Endodontic surgery is one of dental procedures for treating persistent apical periodontitis in cases that have not responded to primary endodontic treatment. Post-treatment apical periodontitis may persist due to biological factors or when primary endodontic treatment has been ineffective in eliminating the intraradicular infection. It may not be appropriate to carry non-surgical endodontic retreatment. This case report was the report of 43 year-old woman with symptomatic apical periodontitis of maxillary right central incisor after primary endodontic treatment with post and bridge abutment restoration. Apical endodontic surgery was performed by apicoectomy and retrograde filling with mineral trioxide aggregate (MTA). MTA had been shown in a number of studies to be a potential root end filling material. After three year follow up, clinical examination showed that the teeth was asymptomatic. A periapical radiograph revealed complete healing of periapical tissue, rendering the successful treatment.", "th": "การศัลยกรรมปลายรากฟันเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา การอักเสบของเนื้อเยื่อปริทันต์บริเวณปลายรากฟันในกรณีที่การ รักษาคลองรากฟันครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ การอักเสบของ เนื้อเยื่อปริทันต์บริเวณปลายรากฟันอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทาง ชีวภาพหรือการรักษาคลองรากฟันไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัด เชื้อโรคในคลองรากฟัน ซึ่งบางกรณีการรักษาคลองรากฟันซ้ำแบบ ไม่ศัลยกรรมอาจไม่เหมาะสม รายงานผู้ป่วยฉบับนี้นำเสนอผู้ป่วย หญิงอายุ 43 ปี มีการอักเสบของเนื้อเยื่อปริทันต์บริเวณปลายรากฟัน ตัดบนด้านขวาซี่กลางภายหลังการรักษาคลองรากฟันครั้งแรก บูรณะด้วยเดือยฟันและเป็นฟันหลักของสะพานฟัน ให้การรักษา โดยการตัดปลายรากฟันร่วมกับการอุดย้อนปลายรากฟันด้วยเอ็ม ทีเอ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีการศึกษามากมายที่แสดงให้เห็นว่าเป็นวัสดุอุด ย้อนปลายรากฟันที่มีประสิทธิภาพ หลังติดตามผล 3 ปี ไม่มีอาการ ทางคลินิก จากภาพถ่ายรังสีแสดงให้เห็นว่ามีการหายที่สมบูรณ์ของ เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน" }
{ "en": "Breast conserving surgery and radiotherapy is widely used with early stage breast cancer treatment. Current evidence reveals that it is oncologically safe and low morbidity. Breast defect after primary tumor resection is a point of concern. Most problem-solving techniques are complex and require surgical experience. However, Intramammarian flap reconstruction is new, simplified, and low complication rate technique. A case report 38-year-old Thai woman with medium size, non-ptosis breasts. Presented with two small right breast mass. The pathological results from core needle biopsies were discordant lesions. Then she had an excisional biopsy and it was confirmed as cancer. She decided to undergo wide excision and sentinel lymph node biopsy with subsequent intramammarian flap reconstruction. Histopathology showed a moderately - grade invasive ductal carcinoma without lymph node metastasis. The tumor was free margin. It was negative for human epidermal growth factor receptor 2 (HER2), progesterone receptor (PR), and positive for estrogen receptor (ER), the patient received planned adjuvant treatment included chemotherapy, tamoxifen, and radiation therapy. She remained complication free to date. Intramammarian flap reconstruction is a safe and suitable method for non-ptosis small to medium size breast patients. It is also easily operated with nonexperienced surgeon.", "th": "มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ในปัจจุบันสามารถรักษา ด้วยการผ่าตัดแบบอนุรักษ์เต้านมร่วมกับการฉายแสง ซึ่งเป็น วิธีที่ปลอดภัย และให้ผลการรักษาที่เทียบเคียงได้กับการรักษา โดยการผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า ปัญหาสำคัญของการผ่าตัดแบบ อนุรักษ์เต้านม คือการทำให้เต้านมเสียรูปลักษณ์ หลังการผ่าตัด มี หลากหลายเทคนิคที่มาแก้ไขปัญหานี้ แต่ค่อนข้างซับซ้อนและใช้ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ผ่าตัดเป็นอย่างมาก การผ่าตัดเพื่อปิด ช่องว่างหลังการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกด้วยวิธี intramammarian flap reconstruction เป็นการผ่าตัดแนวใหม่ที่ทำได้ง่าย ปลอดภัย และภาวะแทรกซ้อนต่ำ รายงานผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 38 ปี พบก้อน ขนาดเล็กสองก้อนที่เต้านมข้างขวา เต้านมขนาดปานกลาง และไม่ หย่อนคล้อย ผู้ป่วยได้รับการตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็ม แต่ให้ผลไม่ชัดเจน จึงได้ทำการผ่าตัดก้อนออกมา ผลตรวจเข้าได้กับมะเร็งเต้านมระยะ แรก ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดแบบอนุรักษ์เต้านมและตัดต่อมน้ำเหลือง เซนติเนล และทำการปิดช่องว่างด้วยวิธี intramammarian flap reconstruction ผลพยาธิวิทยาเป็น moderate differentiated invasive ducal carcinoma ผลตรวจตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นบวก ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นลบ และผลตรวจตัวรับ HER2 เป็นลบ ผู้ป่วยได้เข้ารับยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน และการ ฉายแสง ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจนถึงปัจจุบัน การผ่าตัด โดยเทคนิค intramammarian flap reconstruction ปลอดภัย เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดเล็กถึงปานกลาง และไม่หย่อน คล้อย สามารถทำได้โดยศัลยแพทย์ที่ประสบการณ์การผ่าตัดไม่ มากได้" }
{ "en": "Tuberculous lymphadenitis is manifested by enlarged nodes that mostly affect cervical nodes. Differential diagnosis for lymphadenopathy is diverse. Fine needle aspiration biopsy (FNAB) has been accepted as minimal invasive approach. However, the cytology from FNAB cannot give definitive diagnosis of tuberculosis. Culture, the gold standard diagnostic tool, is limited from small tissue sample and time-consuming. The optimum sample handling protocol is lacking. PCR and Acid-fast stain to detect the microorganism can perform with smears on the cytology slides, sound beneficial. The procedures have not been standardized either. Due to a train of diagnosis tests, a person as patient tests coordinator is merited. The authors therefore reported herewith the cases that underwent our protocol of sample handing and having a coordinator to facilitate the tests done and the results ready on time when the patients had a visit schedule with clinicians. Upon cytology suspected tuberculous lymphadenitis, one smeared slide would re-stained according to routine acid- fast stain method. Another smeared slide would be tested with PCR-based for M. tuberculosis complex. The patients were called for re-FNAB and the samples put directly into a media for culture of M. tuberculosis with automation method. On the patients visited to the clinicians, usually within two weeks, all relevant results – cytology, acid fast stain, PCR were available for the clinicians for treatment or further management plan. The results of culture were accomplished in 4 weeks ready for the clinicians to modify the treatment if indicated. Though all the cases in this report had received a good care and recovered from the diseases, not every case had an uneventful course. The individual clinical course of 10 patients would be present in this case series report. Lastly, aspects of diagnostic challenge were listed and discussed.", "th": "ผู้ป่วยวัณโรคต่อมน้ำเหลืองแสดงอาการด้วยต่อมน้ำเหลือง โต พบบ่อยที่บริเวณคอ ซึ่งโรคต่างๆ ที่ต้องวินิจฉัยแยกโรคมีเป็น จำนวนมาก การเจาะดูดด้วยเข็มเล็กเป็นวิธีการที่ง่าย ไม่น่ากลัว แต่การวินิจฉัยวัณโรคโดยลักษณะทางเซลล์วิทยาเพียงอย่างเดียวไม่ เพียงพอ การเพาะเชื้อเป็นวิธีทดสอบมาตรฐานที่จะระบุชนิดจุลชีพ ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อ แต่มีข้อจำกัดเรื่องการเจาะดูดมักได้ ตัวอย่างน้อยและต้องรอเวลานานกว่าจะได้ผล จึงต้องมีการทดสอบ อื่นช่วย ซึ่งเป็นวิธีทดสอบที่สามารถทำต่อโดยใช้ตัวอย่างเซลล์วิทยา ที่อยู่บนสไลด์ อันได้แก่ การตรวจหาเชื้อทนกรดด้วยสีย้อมพิเศษ และการตรวจส่วนของดีเอ็นเอของเชื้อโดยเทคนิคพีซีอาร์ เพื่อให้ ได้ผลทันการพิจารณาการให้ยาของแพทย์ผู้รักษา อย่างไรก็ตาม ยัง ไม่มีคู่มือการปฏิบัติที่แนะนำขั้นตอนในการนำตัวอย่างของการเจาะ ดูดด้วยเข็มเล็กเพื่อการทดสอบต่างๆ เหล่านี้ อีกทั้งต้องดำเนินการ จำนวนสามถึงสี่การทดสอบ และอาจต้องมีการเจาะดูดมากกว่าหนึ่ง ครั้ง การมีผู้ทำหน้าที่ประสานงานให้ผู้ป่วยจึงมีความหมาย ด้วยเหตุ นี้ คณะผู้วิจัยจึงได้นำเสนอเป็นรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการดำเนินการ ตามขั้นตอนการนำตัวอย่างเพื่อทดสอบต่อ ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ร่วม กับการมีผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ให้ได้ผลออกทันการพบแพทย์ของ ผู้ป่วย เมื่อพบว่าเซลล์วิทยาให้ลักษณะสงสัยวัณโรค ผู้ประสานงาน จะนัดผู้ป่วยให้มารับการเจาะดูดเพื่อลงตัวอย่างในหลอดเลี้ยงเชื้อ ที่จะส่งต่อไปเพาะเชื้อและระบุการตรวจพบเชื้อวัณโรคโดยเครื่อง ตรวจอัตโนมัติ ในวันที่แพทย์พบผู้ป่วยซึ่งโดยทั่วไปประมาณสอง สัปดาห์หลังการเจาะดูด แพทย์จะได้เห็นผลทั้งหมด อันได้แก่ ผล อ่านเซลล์วิทยา ผลย้อมสีทนกรดเพื่อหาเชื้อ และผลตรวจสาร พันธุกรรมเพื่อระบุเชื้อวัณโรค ซึ่งทำให้แพทย์สามารถวางแผนการ รักษา หรือการวางแผนการดูแลต่อไปได้ ส่วนการเพาะเชื้อวัณโรค จะได้ผลใน 4 สัปดาห์ ซึ่งจะทันการพบผู้ป่วยครั้งต่อไปอีกหนึ่งเดือน โดยแพทย์เมื่อเห็นผล จะสามารถพิจารณาการปรับเปลี่ยนยาได้ตาม ข้อบ่งชี้ แม้ว่าผู้ป่วยที่รายงานทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างดีและได้ รับการรักษาจนหายจากโรค ผู้ป่วยแต่ละคนมีการดำเนินของโรคที่ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ซึ่งจะแสดงไว้ในรายงานผู้ป่วยแต่ละคน จำนวน 10 ราย ในตอนท้าย ความท้าทายในส่วนของการวินิจฉัยจะ ได้นำเสนอและอภิปราย" }
{ "en": "Tooth eruption is a complex phenomenon influenced by many genetic and environmental factors which act simultaneously to achieve normal eruption. Ectopic eruption refers to abnormal eruptive position of tooth. If left untreated it leads to different unusual outcomes like locked permanent tooth, loss of space and malocclusion. The aim of correction of ectopic erupted tooth is bring it back to the functional position as well as establishment of occlusion. Early detection and corrections result in better outcome situations. There are several corrective methods of ectopic eruption depends on severity of the condition. This case reports demonstrated correction of unilateral ectopic erupted first permanent molar with Halterman appliance with transpalatal arch followed by occlusal establishment and preventive therapy.", "th": "การขึ้นของฟันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน มีปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ ฟันขึ้นผิดที่ (ectopic eruption) หมายถึง เป็นความผิดปกติของการขึ้นของฟันทั้งตำแหน่งและทิศทางของแนวการขึ้นของฟัน ทั้งนี้หากทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษา ตามเวลาที่เหมาะสม จะส่งผลเสียที่ตามมา ได้แก่ การล้มเอียงของฟันแท้ซี่ติดอยู่ใต้ฟันน้ำนมที่อยู่ใกล้เคียง ขนาดความกว้างของขากรรไกร ลดลง และมีความผิดปกติของการสบฟันได้ เป้าหมายการรักษาการขึ้นผิดที่ของฟัน (ectopic eruption) คือ การทำให้ฟันที่ล้มเอียงกลับสู่ ตำแหน่งที่ถูกต้อง และมีการสบฟันที่ปกติ การที่ตรวจพบและได้รับแก้ไขแต่เนิ่นๆ จะส่งผลการรักษามีความสำเร็จมากขึ้น มีการรักษาหลาย แบบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติ การรายงานผู้ป่วยฉบับนี้ เป็นการรายงานการแก้ไขความผิดปกติของทิศทางแนวการขึ้นของ ฟันกรามบนแท้ซี่แรก โดยการใช้เครื่องมือชนิด Halterman appliance with Transpalatal arch ร่วมกับการปรับการสบฟันและการให้ ทันตกรรมป้องกัน" }
{ "en": "Background: Colonoscopy requires anesthesia for patients’ comfort and reduction of abdominal pain.\nObjectives: To compare the efficacy of ketofol versus fenofol in anesthesia for colonoscopy.\nMethods: This study was a randomized, double-blind controlled trial. Sixty-four patients aged 18-85 years who underwent colonoscopy in Ubonratchathani Cancer Hospital were randomly assigned to ketofol and fenofol groups. The thirty-two patients in the ketofol group initially received an intravenous bolus injection of ketamine 0.5 mg/ kg and propofol 1 mg/ kg whereas the thirty-two patients in the fenofol group received an intravenous bolus injection of fentanyl 1 mcg/ kg and propofol 1 mg/ kg. Afterwards, whenever a patient’s Ramsay Sedation Score became less than 5, he or she received another injection of 5 ml of the combination used in his or her group. Blood pressure, heart rate, oxygen saturation, Ramsay Sedation Score, total dose of the drug, duration of the procedure, recovery time, postoperative pain, patients satisfaction, and adverse events were recorded.\nResults: Patients in the ketofol group had significantly higher systolic blood pressure (132±13.48 mmHg), and mean arterial blood pressure (93.03±10.32 mmHg) compared to the systolic blood pressure (124±15.83 mmHg), and mean arterial blood pressure (86.75±11.51 mmHg) of the fenofol group (p=0.025 and p=0.025 respectively). The average Ramsay Sedation Score in the ketofol group was 5.75±0.44, significantly higher than fenofol group, which was 5.38±0.66, (p=0.01). There was a significantly higher number of patients who required airway maneuvers in the fenofol group (10 patients (31.2%)) compared to the ketofol group (3 patients (9.4%)), (p=0.045). Hallucination and nightmares were significantly more common in the ketofol group (4 patients (12.5%)) compared to the fenofol group [None], (p=0.039).\nConclusions: Ketofol and fenofol were both effective options for sedation in colonoscopy. The ketofol group required less airway management, but caused more hallucination and nightmares", "th": "ภูมิหลัง: การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องให้ยาระงับ ความรู้สึก เนื่องจากทำให้ผู้ป่วยสบายและลดอาการอึดอัดแน่นท้อง\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการระงับความรู้สึกในการ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ระหว่าง ketofol และ fenofol\nวิธีการ: เป็นการ ศึกษาแบบ randomized double blind controlled trial ใน ผู้ป่วย จำนวน 64 ราย อายุ 18-85 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 32 ราย คือกลุ่ม ketofol ได้ยา ketamine 0.5 mg/ kg และ propofol 1 mg/ kg กลุ่ม fenofol ได้ยา fentanyl 1 mcg/ kg และ propofol 1 mg/ kg และให้ยาครั้งละ 5 มล. เมื่อผู้ป่วยมี Ramsay Sedation Score น้อยกว่า 5 โดยบันทึกความดันเลือด ชีพจร ความอิ่มตัวของ ออกซิเจน Ramsay Sedation Score ปริมาณยาที่ใช้ ระยะเวลา ที่ส่องกล้อง ระยะเวลาที่ฟื้นจากการระงับความรู้สึก ความปวด หลังส่องกล้อง ความพึงพอใจของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ\nผล: พบว่าความดันเลือดซิสโตลิกและความดันเลือดเฉลี่ยในกลุ่ม ketofol เท่ากับ 132 ± 13.48 มม.ปรอท และ 93.03 ± 10.32 มม.ปรอทตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากลุ่ม fenofol ที่เท่ากับ 124 ± 15.83 มม. ปรอท และ 86.75 ± 11.51 มม. ปรอท ตามลำดับ (p = 0.025 และ p = 0.025 ตามลำดับ) Ramsay Sedation Score ในกลุ่ม ketofol เท่ากับ 5.75 ± 0.44 ซึ่งมากกว่ากลุ่ม fenofol ที่ เท่ากับ 5.38 ± 0.66 อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.01) ส่วนที่ต้องจัดการ ทางเดินหายใจพบในกลุ่ม fenofol จำนวน 10 ราย (ร้อยละ 31.2) มากกว่ากลุ่ม ketofol จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 9.4) อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.045) และพบภาวะหลอนหรือฝันร้าย จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 12.5) ในกลุ่ม ketofol ซึ่งมากกว่ากลุ่ม fenofol ที่ไม่ พบอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.039)\nสรุป: ketofol และ fenofol มี ประสิทธิผลในการระงับความรู้สึกในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้ง สองกลุ่ม โดยกลุ่ม ketofol มีการจัดการทางเดินหายใจน้อยกว่า แต่ทำให้เกิดภาวะหลอนหรือฝันร้ายได้มากกว่า" }
{ "en": "Background: Epilepsy is a common neurological disorder in children. Epilepsy is caused by an abnormal electrical discharge organ, causing convulsions in which the patient is unable to control their body movements.\nObjective: The purpose of this research was to study the effectiveness of applying Swanson’s caring model to medication administration nursing care program for parents of school - age children with epilepsy.\nMethods: The target population was 32 parents of epilepsy children aged between 6-12 years old who admitted at Queen Sirikit National Institute of Child Health. The population was divided into 2 groups: control group (n = 16) and experimental group (n = 16) with matching criteria of education. The control group received the normal nursing care, while the experimental group received drug administration nursing care program with an adaptation of Swanson’s caring model. The program lasted for 3 weeks. The research instruments were the nursing care program based on the concept of Swanson and the questionnaires on drug administration for parents of school-age children with epilepsy. The content validity was .83 and reliability analysis was .86. T-test was used to determine significant difference between the two groups.\nResults: (1) drug administration by parents in the experimental group improved after receiving the nursing care program using Swanson’s caring model (2) drug administration by parents in the experimental group also improved more than the control group.\nConclusion: These findings revealed nursing activities which promoted drug administration by parents of school-age children with epilepsy. The effective nursing care include five components of Swanson’s caring model that lead to individual practice confidence, hope, encouragement and belief in practicing correct drug administration.", "th": "ภูมิหลัง: โรคลมชักเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่พบ บ่อยในเด็ก โรคลมชักนั้นเกิดจากการที่สมองส่งกระแสประสาท ไฟฟ้าที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการชักโดยผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการ เคลื่อนไหวของตนเองได้ ซึ่งการชักส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเด็กและ ครอบครัวหลายประการ\nวัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียน โรคลมชัก\nวิธีการ: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียน โรคลมชักที่ผู้ป่วยเด็กอายุ 6-12 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 32 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 16 ราย กลุ่มทดลอง 16 ราย โดยการจับคู่กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ระยะเวลาใน การศึกษา 3 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการ พยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลของ Swanson และแบบประเมิน พฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก มีค่า ดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 มีค่าความเที่ยงครอนบาคอัลฟ่า เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และการ ทดสอบค่าที (t-test)\n ผล: 1) คะแนนพฤติกรรมการบริหารยาของ ผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม การพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson สูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson 2) คะแนนพฤติกรรมการบริหารยาของเด็กวัยเรียนโรคลมชักใน กลุ่มทดลองหลังจากได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการ ดูแลของ Swanson สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตาม ปกติ\nสรุป: ผลการวิจัยสนับสนุนให้เห็นว่า กิจกรรมการพยาบาล เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียน โรคลมชักจะมีประสิทธิผลเมื่อผู้ปกครองได้รับการดูแลจากพยาบาล ด้วยกระบวนการดูแล 5 องค์ประกอบของ Swanson ซึ่งจะนำไปสู่ การมีความหวัง กำลังใจ ความมั่นใจในการปฏิบัติ และคงความเชื่อ การบริหารยาถูกต้อง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริหารยา ของบุคคลที่ดีขึ้น" }
{ "en": "Background: Cerebral palsy is a common disease in pediatric patients. Most patients have spasticity, which leads to problems with movement, standing, walking, and contracture of tendons and joints. There are several treatment choices such as stretching exercise, orthotic device, oral medication, injections and orthopedic surgery. However, the treatment effect of Botulinum toxin injection depends on many factors, for instance, the patient condition, dosage and injection method.\nObjective: This study aimed to review the effect of Botilinum toxin dosage in children with cerebral dosage palsy with systematic review.\nMethods: Searching through electronic databases. Based on a search strategy from the MEDLINE database through PubMed, educational materials were limited to Englishlanguage studies. Randomized controlled trial study: A randomized controlled trial of botulinum toxin in children with cerebral palsy with systematic review. Data collection and analysis, the risk of bias were assessed by three researchers independently, use unanimous resolution to evaluate and select the study. If there was a conflict, a joint consideration was needed to conclude.\nResults: The total number of studies was 40 studies. The excluded number was 36 studies. These were not related to the effect of the dosage of botulinum toxin and the measurement of non-related cerebral palsy. Remain all the results four included studies. The subjects were patients with cerebral palsy who had treated spasticity in the affected leg with botulinum toxin in different doses. The outcome measurements of the included studies were various. Patients who received higher dose had better improvement. The adverse effects were not significantly different.\nConclusion: This systematic review revealed a small number of studies. To clinically useful, a comparative study should be conducted in the cerebral palsy children with other conditions, or other types of study might be included.", "th": "ภูมิหลัง : โรคสมองพิการเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็กผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเกร็งทำให้เกิดปัญหาขัดขวางการเคลื่อนไหวการยืน เดิน การติดยึดของเอ็นและข้อตามมา ปัจจุบันมีวิธีการรักษาเพื่อลดอาการเกร็ง ได้แก่ การใช้ยากิน การยืดเหยียด การใช้กายอุปกรณ์หรือเฝือกพยุงข้อ การผ่าตัด และการฉีดยาลดเกร็งอย่างไรก็ตาม ผลของการฉีดยาลดเกร็งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย การรักษาด้วยการฉีดยานี้จึงจำเป็นต้องพิจารณาเลือกผู้ป่วย ขนาดยา และวิธีการฉีดที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของขนาดยาฉีด botulinum toxin ในผู้ป่วยเด็กสมองพิการที่มีอาการเกร็งที่ขาด้วยวิธีการทบทวนอย่างเป็นระบบ วิธีการ:โดยสืบค้นผ่านฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามกลยุทธ์การสืบค้นจากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed เอกสารการศึกษาถูกจำกัดไว้เฉพาะการศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษ คัดเลือกการศึกษาวิจัยที่เป็น randomized controlled trial ที่ศึกษาผลของขนาดยาฉีด botulinum toxin ในผู้ป่วยเด็กสมองพิการที่มีอาการเกร็งที่ขาด้วยวิธีการทบทวนอย่างเป็นระบบ การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยผู้วิจัย 3 ท่าน คัดเลือกเอกสารที่ได้จากการสืบค้น ประเมินความเสี่ยงของอคติและแยกข้อมูล อย่างอิสระต่อกัน โดยใช้มติเอกฉันท์ในการประเมินและคัดเลือกการศึกษา หากมีข้อขัดแย้งกำหนดให้มีการพิจารณาร่วมกันเพื่อหาข้อสรุป\nผล : ได้เอกสารรายงานการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 40 การศึกษา ถูกคัดออกจำนวน 36 การศึกษา เนื่องจากไม่ได้ศึกษาผลของขนาดยาฉีด botulinum toxin ไม่ได้ศึกษาในเด็กสมองพิการที่มีอาการเกร็งที่ขา และการศึกษาที่ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เหลือผลลัพธ์ทั้งสั้น 4 การศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กสมองพิการที่มีอาการเกร็งที่ขาที่ได้รับยาฉีด botulinum toxin ในขนาดต่างกัน มีการวัดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันด้วย การศึกษาส่วนใหญ่พบว่า การใช้ยาขนาดสูง ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาขนาดต่ำ โดยมีผลข้างเคียงสูงกว่า แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีการศึกษาที่เป็น randomized controlled trial (RCT) จำนวนน้อย จึงไม่สามารถทำ meta-analysis ได้\nสรุป : ควรทำการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการรักษาโดยการฉีดยาลดเกร็งในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยเด็กสมองพิการที่มีอาการเกร็งซึ่งมีปัจจัยเฉพาะอื่นร่วมด้วย หรือคัดเลือกการศึกษารูปแบบอื่นนอกเหนือจาก RCT เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สามารถเป็นประโยชน์ทางคลินิกเพิ่มขึ้น" }
{ "en": "Background: Topical calcineurin inhibitors are used as the second-line drugs for the treatment of vitiligo. However, no summarization of all effectiveness has been evaluated. Researchers are interested in the subject.\nObjective: This study aimed to review literature systematically on the effectiveness of topical calcineurin inhibitors in vitiligo.\nMethod: A systematic review search of databases that met the inclusion and exclusion criteria. Relevant data were obtained from PubMed. A systematic search of databases resulted in keywords such as topical calcineurin inhibitors and vitiligo. Comparative randomized controlled trials investigating topical calcineurin inhibitors in vitiligo were searched, written in English. Two independent authors evaluated the title, abstract, quality of studies, and extract data.\nResult: A systematic search of databases revealed that 4 articles met the inclusion and exclusion criteria from 33 articles. The result showed that topical calcineurin inhibitors be effective for the treatment of vitiligo.\nConclusion: Topical calcineurin inhibitors can be used as an alternative for the treatment of vitiligo. However, randomized controlled trials are still needed in order to can be synthesized and analyzed for meta-analysis and confirm the effectiveness of topical calcineurin inhibitors.", "th": "ภูมิหลัง: ยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวรินถูกนำมาใช้เป็นยา ลำดับที่สองในการรักษาโรคด่างขาว อย่างไรก็ตามยังไม่มีการสรุป ผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิผลของยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวริน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าว\nวัตถุประสงค์: เพื่อทบทวน อย่างเป็นระบบของประสิทธิผลของยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวริน ในการรักษาโรคด่างขาว\nวิธีการ: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็น ระบบของงานวิจัยโดยสืบค้นบทความจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ PubMed จากคำสำคัญคือยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวรินและโรค ด่างขาว และคัดเลือกเฉพาะการศึกษาที่เป็น randomized controlled trials ที่เกี่ยวกับประสิทธิผลของยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวรินในการ รักษาโรคด่างขาว และมีการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ผู้วิจัย จำนวน 2 คน ประเมินชื่อเรื่อง บทคัดย่อ คุณภาพงานวิจัย และแยก ข้อมูลแบบเป็นอิสระต่อกัน\nผล: จากการสืบค้นมีบทความในเบื้องต้น ทั้งหมดจำนวน 33 บทความ จากนั้นคัดกรองด้วยการอ่านชื่อเรื่อง และบทคัดย่อ เหลือบทความทั้งหมดจำนวน 4 บทความที่เกี่ยวกับ ประสิทธิผลของยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวรินในการรักษาโรคด่างขาว พบว่ายาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวรินมีประสิทธิผลในการรักษาโรค ด่างขาว\nสรุป: ยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวรินสามารถนำไปพิจารณา เป็นทางเลือกในการรักษาโรคด่างขาวได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการ ศึกษาแบบ randomized controlled trials ขนาดใหญ่เพื่อสามารถ นำมาสังเคราะห์วิเคราะห์อภิมานได้ และเพื่อยืนยันประสิทธิผลของ ยาทากลุ่มยับยั้งแคลซินิวริน" }
{ "en": "Background: I-131 is the main radiopharmaceutical for differentiated thyroid carcinoma. However, Tc-99m MIBI is also an alternative agent, which uses to detect recurrence or metastasis in several malignancies, including differentiated thyroid carcinoma.\nObjective: This study aimed to evaluate the capability of Tc-99m MIBI total body scan to detect recurrence and metastasis in patients with differentiated thyroid carcinoma at Lampang Cancer Hospital, compared to the scan with I-131.\n Method: A retrospective study performed in the patients with differentiated thyroid carcinoma status from database post total thyroidectomy from the other hospitals who came for I-131 treatment at Lampang Cancer Hospital from July 1st, 2012 to June 30th, 2019. The patients received the total body scan with I-131 and Tc-99m MIBI to detect recurrence and metastasis. Then, the concordance tested with the Kappa test and identified the scanning method with the receiver operating characteristic (ROC).\nResult: The 395 patients of differentiated thyroid carcinoma received the I-131 and Tc-99m MIBI total body scans to detect recurrence and metastasis. Tc-99m MIBI whole body scan had 77.98% sensitivity, which is higher sensitivity than the I-131 scan, which had 77.52% sensitivity. The sensitivity of the Tc-99m MIBI scan for identification of recurrence, regional node metastasis, and distant metastasis was 63.49%, 79.35%, and 90.48%, respectively. The sensitivity of I-131 scintigraphy for detecting recurrence, regional node metastasis, and distant metastasis was 65.08%, 80.43%, and 85.71%, respectively. Moreover, Tc-99m MIBI total body scan had concordance with the I-131 scan.\nConclusion: Tc-99m MIBI scan can detect recurrence and metastasis higher than the scan with I-131, especially distant metastasis. This modality can be the alternative scintigraphy for follow-up after treatment.", "th": "ภูมิหลัง: ไอโอดีน-131 เป็นสารเภสัชรังสีหลักที่ใช้ในการ ตรวจมะเร็งไทรอยด์ชนิดดิฟเฟอเรนชิเอเตด ทว่า เทคนิเชียม-99 เอ็ม มิบิ เป็นสารทางเลือกที่สามารถใช้ตรวจติดตามในมะเร็ง หลายชนิดรวมทั้งมะเร็งไทรอยด์\nวัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความ สามารถในค้นหาการกลับมาเป็นซ้ำและลุกลามของมะเร็งไทรอยด์ ระหว่างการสแกนด้วยเทคนิเชียม-99เอ็ม มิบิ กับไอโอดีน-131\nวิธีการ: ศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ ชนิดดิฟเฟอเรนชิเอเตดจากฐานข้อมูลที่ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ทั้งหมดมาแล้วจากโรงพยาบาลต้นสังกัด มารักษาต่อด้วยไอโอดีน-131 ณ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2555 ถึง 30 มิถุนายน 2562 ผู้ป่วยจะได้รับการสแกนทั้งร่างกายด้วย ไอโอดีน-131 และเทคนิเชียม-99 เอ็ม มิบิ เพื่อตรวจหาการกลับ เป็นซ้ำและการแพร่กระจาย หลังจากนั้นจะทดสอบความสอดคล้อง ของทั้งสองวิธีด้วยสถิติทดสอบแคปปา (kappa test) และระบุวิธี การสแกนทั้งร่างกายที่เหมาะสมด้วยเส้นโค้ง receiver operating characteristic (ROC)\nผล: การตรวจหาการกลับมาเป็นซ้ำและ ลุกลามในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์จำนวน 395 ราย พบว่าการสแกน ด้วยเทคนิเชียม-99 เอ็ม มิบิ มีความไวร้อยละ 77.98 มากกว่าการ สแกนด้วยไอโอดีน-131ที่มีความไวร้อยละ 77.52 โดยการสแกน ด้วยเทคนิเชียม-99 เอ็ม มิบิ มีความไวในการตรวจพบการกลับ มาเป็นซ้ำได้ร้อยละ 63.49 การลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง ร้อยละ 79.35 และการลุกลามระยะไกลร้อยละ 90.48 ขณะที่ การสแกนด้วยไอโอดีน-131 มีความไวในการตรวจพบการกลับมา เป็นซ้ำได้ร้อยละ 65.08 การลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง ร้อยละ 80.43 และการลุกลามระยะไกลร้อยละ 85.71 ทั้งนี้พบ ว่าการสแกนด้วยเทคนิเชียม-99 เอ็ม มิบิ มีความสอดคล้องกับการ สแกนด้วยไอโอดีน-131\nสรุป: การสแกนด้วยเทคนิเชียม-99 เอ็ม มิบิ มีความไวในการพบการกลับมาเป็นซ้ำและการลุกลามของมะเร็ง ไทรอยด์ชนิดดิฟเฟอเรนชิเอเตดมากกว่าการสแกนด้วยไอโอดีน-131 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจพบการลุกลามระยะไกล จึงสามารถ ใช้เป็นทางเลือกในตรวจการติดตามการรักษาได้" }
{ "en": " Background: The Antibiotic Stewardship Program (ASP) is an important process to reduce rate of drugresistance of pathogens in hospitals. In the past, we used retrospective audit process to monitor antibiotics usage, before providing feedback for specific usage suggestion. We collected broad-spectrum antibiotics usage data through antibiotic request forms and Defined Daily Dose (DDD) records. Recent data from antimicrobial susceptibility pattern report shown that the vancomycin usage significantly increased while the antimicrobial susceptibility pattern of group D enterococci decreased from 100 percent to 96 percent. These undesirable trends could lead to higher rate of drug-resistance of pathogens in our hospital.\nObjective: To study the alternative ASP intervention that can reduce vancomycin usage and improve antimicrobial susceptibility of group D enterococci to the vancomycin.\nMethod: This study was a descriptive observation study. We collected data from 442 admitted patients who filled the request forms to use vancomycin during January 1st, 2014 to December 31st, 2017. The 215 patients who received vancomycin during 2014-2015 were treated under retrospective audit and feedback (previous ASP). The remaining 227 patients who received vancomycin during 2016-2017 were implemented the antibiotics automatic timeout and pre-authorized intervention (new / alternative ASP). With this new ASP, the vancomycin usage will be automatically stopped after 72 hours of initial use and will require pre-authorization from internal medicine staffs to continue the usage afterward. After that, we evaluated impact of this new ASP by comparing changes of the vancomycin usage and the antimicrobial susceptibility pattern of gram-positive resistant bacteria from microbiological laboratories annual reports.\nResult: After implementing the new antibiotics automatic timeout and pre-authorized intervention, the DDD decreases from 32.1 per 1,000 inpatient-day in 2014 and 44.5 per 1,000 inpatient-day in 2015 to 34.4 per 1,000 inpatient-day in 2016 and 39.3 per 1,000 inpatient-day in 2017. Meanwhile, the antimicrobial susceptibility of group D enterococci to vancomycin improves from 96 percent in 2014 and 95 percent in 2015 to 100 percent in both 2016 and 2017.\nConclusion: This new ASP intervention which combines the vancomycin automatic timeout with pre-authorization (after the timeout) is proven to be more effective method to control vancomycin resistant group D enterococci.", "th": "ภูมิหลัง: การควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม (antibiotic stewardship program; ASP) เป็นกระบวน การที่สำคัญอันหนึ่งในการลดอัตราการดื้อยาของเชื้อก่อโรคในโรงพยาบาล ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีการใช้วิธีตรวจสอบการใช้ยาต้าน จุลชีพย้อนหลัง (retrospective audit) และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม (feedback) แต่จากรายงานแบบแผนความไวของเชื้อต่อยา ต้านจุลชีพในเวลาต่อมาพบว่า อัตราการใช้ vancomycin ยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ร่วมกับความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรีย กลุ่ม D enterococci ก็ลดลงจาก 100 เปอร์เซ็นต์เป็น 96 เปอร์เซ็นต์\n วัตถุประสงค์: ศึกษาวิธีการควบคุมยาปฏิชีวนะ (ASP) ที่สามารถ ลดอัตราการใช้ยา vancomycin และช่วยเพิ่มความไวต่อยาต้านจุลชีพ vancomycin ของเชื้อ group D enterococci\nวิธีการ: เป็นการ ศึกษาย้อนหลังโดยการสังเกตเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยจำนวน 442 ราย ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2560 ที่ได้รับ vancomycin injection โดยกลุ่มที่ได้ยาตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 215 ราย จะถูกตรวจสอบ การใช้ยาต้านจุลชีพย้อนหลัง (retrospective audit) และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม (feedback) ส่วนกลุ่มที่ได้รับ ยาตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 227 ราย จะถูกหยุดยาโดย อัตโนมัติภายใน 72 ชั่วโมงหลังเริ่มยา (timeout) หลังจากนั้นหากต้องการใช้ยาต่อ จะต้องขออนุมัติ การใช้ยาจากแพทย์อายุรกรรมก่อน (pre-authorized) แล้วเปรียบเทียบ vancomycin susceptibility ของเชื้อ gr D enterococi และ define daily dose (DDD) ก่อนและหลังการปรับเปลี่ยน\nผล: หลังจากปรับเปลี่ยน วิธี การใช้ยาเป็นแบบ timeout with pre-authorization พบว่าปริมาณการใช้ยา vancomycin ซึ่งวัดเป็น DDD ต่อ 1,000 วันนอน โรงพยาบาล ลดลงจาก 32.1 และ 44.5 ต่อ 1,000 วันนอนโรงพยาบาล ในปี 2557 และ 2558 เป็น 34.4 และ 39.3 ต่อ 1,000 วันนอน โรงพยาบาล ในปี 2559 และ 2560 ในขณะเดียวกัน แบบแผนความไวของเชื้อ gr D enterococci ต่อยาต้านจุลชีพ vancomycin เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 96 และ 95 ตั้งแต่ 2557 และ 2558 เป็นร้อยละ 100 ในปี 2559 และ 2560\nสรุป: วิธีการควบคุมกำกับดูแลการใช้ ยา vancomycin อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีหยุดจ่ายยาอัตโนมัติหลังใช้ 72 ชั่วโมง หลังจากนั้นหากต้องการใช้ยาต่อ จะต้องขออนุมัติก่อน จ่ายยา น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมการดื้อยาของเชื้อ gr D enterococci." }
{ "en": "Background: Cancer is a major public health problem and its incidence is likely to increase. The radiation therapy plays an important and necessary role. But the expenses for purchasing radiators, maintenance and repair are high. There for, the suitable cost of the radiation therapy for cancer patients is important, in particular, Helical Tomotherapy (HT) which is costly and highly specialized. At present there is no any study of its cost.\nObjective: The study aimed to analyze the unit cost and beak-even point of the Helical Tomotherapy service in Lopburi Cancer Hospital. The budget was allocated for fiscal year 2019 in order to plan the service utilization to be appropriate and cost-effective.\nMethod: This study was used the cost center approach to collect cost data and the cost allocation into sub-activities of radiation with proportion of the workload and collect the revenues from all patients.\nResult: The finding show that 184 of research participants (patients/clients) with 4,604 times of radiation per year. The average revenue from service fee was 116,604.27 baht per client or 4,518.69 baht per time, respectively. The unit cost was 154,523.46 baht per case or 6,175.57 baht per time. The beak-even point was equal to 250.59 cases per year or 6,489.38 times per year, respectively. The calculation of all kinds of costing except radiator, the cost per unit was 87,566.94 baht per case or 3,499.63 baht per time and the break-even point of 133.01 cases per year or 3,444.40 times per year, respectively.\nConclusion: Both the cost per unit and break-even of radiation therapy with Helical Tomotherapy (HT) in Lopburi Cancer Hospital were higher than the average revenue from service fee and the number of clients. A review and adjustment of the system to add services to such a highly specific and costly Helical Tomotherapy irradiation that hospital should consider to be able to provide appropriate and cost-effective patient services and to provide an efficient referral system in the health care area although the cost per unit (not include the cost of treatment machine) was lower. In addition, the factors involved depending on the efficiency of the bill for radiation therapy to the various funds. As well as changes the number and type of patient rights and including the appropriateness of the reimbursement from various health purchasers. Finally to provide effective and quality treatment with radiation as well as sustainability.", "th": "ภูมิหลัง: การควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม (antibiotic stewardship program; ASP) เป็นกระบวน การที่สำคัญอันหนึ่งในการลดอัตราการดื้อยาของเชื้อก่อโรคในโรงพยาบาล ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีการใช้วิธีตรวจสอบการใช้ยาต้าน จุลชีพย้อนหลัง (retrospective audit) และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม (feedback) แต่จากรายงานแบบแผนความไวของเชื้อต่อยา ต้านจุลชีพในเวลาต่อมาพบว่า อัตราการใช้ vancomycin ยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ร่วมกับความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรีย กลุ่ม D enterococci ก็ลดลงจาก 100 เปอร์เซ็นต์เป็น 96 เปอร์เซ็นต์\nวัตถุประสงค์: ศึกษาวิธีการควบคุมยาปฏิชีวนะ (ASP) ที่สามารถ ลดอัตราการใช้ยา vancomycin และช่วยเพิ่มความไวต่อยาต้านจุลชีพ vancomycin ของเชื้อ group D enterococci\nวิธีการ: เป็นการ ศึกษาย้อนหลังโดยการสังเกตเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยจำนวน 442 ราย ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2560 ที่ได้รับ vancomycin injection โดยกลุ่มที่ได้ยาตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 215 ราย จะถูกตรวจสอบ การใช้ยาต้านจุลชีพย้อนหลัง (retrospective audit) และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม (feedback) ส่วนกลุ่มที่ได้รับ ยาตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 227 ราย จะถูกหยุดยาโดย อัตโนมัติภายใน 72 ชั่วโมงหลังเริ่มยา (timeout) หลังจากนั้นหากต้องการใช้ยาต่อ จะต้องขออนุมัติ การใช้ยาจากแพทย์อายุรกรรมก่อน (pre-authorized) แล้วเปรียบเทียบ vancomycin susceptibility ของเชื้อ gr D enterococi และ define daily dose (DDD) ก่อนและหลังการปรับเปลี่ยน\nผล: หลังจากปรับเปลี่ยน วิธี การใช้ยาเป็นแบบ timeout with pre-authorization พบว่าปริมาณการใช้ยา vancomycin ซึ่งวัดเป็น DDD ต่อ 1,000 วันนอน โรงพยาบาล ลดลงจาก 32.1 และ 44.5 ต่อ 1,000 วันนอนโรงพยาบาล ในปี 2557 และ 2558 เป็น 34.4 และ 39.3 ต่อ 1,000 วันนอน โรงพยาบาล ในปี 2559 และ 2560 ในขณะเดียวกัน แบบแผนความไวของเชื้อ gr D enterococci ต่อยาต้านจุลชีพ vancomycin เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 96 และ 95 ตั้งแต่ 2557 และ 2558 เป็นร้อยละ 100 ในปี 2559 และ 2560\nสรุป: วิธีการควบคุมกำกับดูแลการใช้ ยา vancomycin อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีหยุดจ่ายยาอัตโนมัติหลังใช้ 72 ชั่วโมง หลังจากนั้นหากต้องการใช้ยาต่อ จะต้องขออนุมัติก่อน จ่ายยา น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมการดื้อยาของเชื้อ gr D enterococci." }
{ "en": "Background: Studies of chronic otitis media (COM) prevalence in Thailand were limited and not updated.\nObjective: To assess trends of COM and its complications during 2014-2018.\nMethods: The data was extracted by ICD-10 coding from the Data Center of the Ministry of Public Health that collected from government hospitals under the Permanent secretary office. The ratio of COM’s complication per hundred COM patients were additionally collected by aggregated data from one medical school and two tertiary hospitals between 1st October 2013 and 30th September 2018 which 1st October 2013 to 30th September 2014 represent the data of 2014 , 1st October 2014 to 30th September 2015 represent the data of 2015, 1st October 2015 to 30th September 2016 represent the data of 2016 , 1st October 2016 to 30th September 2017 represent the data of 2017 and 1st October 2017 to 30th September 2018 represent the data of 2018.\n Results: Prevalence of COM was increasing while cholesteatoma showed no different. Children 0-4 years was the highest affected age group. Prevalence of cholesteatoma was highest among 10-14 years while the trend of prevalence in age 15-29 and 60-69 were increasing with statistically significant. The highest prevalence of cholesteatoma was in the health region 9th. The increasing trend of cholesteatoma found in the health region number 2 ,10, 11 and 12. The ratio of complication per hundred COM cases were not different by year between 2014-2018.\nConclusion: Situation of COM was not improved during 2014-2018. Children under 4 years old was the most affected. The ratio of complication per 100 COM patients was lower than previous reported. The unchange percentages of complication raised questions regarding the health service and measure implemented to control the disease. Physician should be concerned to complete the treatment of acute otitis media. Ministry of public health should implement policy to active search and early treatment to prevent the complication of COM. Accurate prevalence and trend should be studied.", "th": "ภูมิหลัง: การศึกษาความชุกโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังใน ประเทศไทยมีจำกัดและไม่เป็นปัจจุบัน\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ความชุกโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนระหว่างปี พ.ศ. 2557- 2561\nวิธีการ: รวบรวมข้อมูลรหัสโรค ICD 10 จากศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุขซึ่งรับ ข้อมูลจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมด และข้อมูลภาวะแทรกซ้อนรวบรวมเพิ่มเติมจากโรงเรียน แพทย์หนึ่งแห่งและโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556-30 กันยายน พ.ศ. 2561 โดยข้อมูล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 -30 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นตัวแทนข้อมูลปีพ.ศ. 2557, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 -30 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นตัวแทนข้อมูล ปีพ.ศ. 2558, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 -30 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็น ตัวแทนข้อมูลปีพ.ศ. 2559, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 -30 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นตัวแทนข้อมูลปีพ.ศ. 2560 และ1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 -30 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นตัวแทนข้อมูลปีพ.ศ. 2561\nผล: ความชุกของโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังมีการเพิ่มขึ้น ในขณะ ที่ความชุกหูน้ำหนวกร้ายแรงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ความชุกสูงสุดพบในกลุ่มอายุเด็กแรกเกิดจนถึง 4 ปี และ ความชุกของโรคหูน้ำหนวกร้ายแรงสูงที่สุดในช่วงอายุ 10-14 ปี ใน ขณะที่กลุ่มอายุ 15-29 ปี และ 60-69 ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ เขตสุขภาพที่ 9 พบว่ามีการรายงานความชุก หูน้ำหนวกร้ายแรงในโรงพยาบาลต่อปีสูงที่สุด แต่แนวโน้มของโรค มีการเพิ่มขึ้นในเขตสุขภาพที่ 2, 10, 11 และ 12 นอกจากนี้ร้อยละ ภาวะแทรกซ้อนไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง\nสรุป: สถานการณ์โรค หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังยังไม่ปรับปรุงในระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง 2561 ส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ร้อยละภาวะ แทรกซ้อนมีค่าต่ำกว่าที่เคยมีรายงานในประเทศไทย นโยบายในการ ค้นหาผู้ป่วยโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังเพื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่ม แรกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และควรสนับสนุน ให้มีการศึกษาความชุกและแนวโน้มที่แม่นยำ" }
{ "en": "Background: Currently, the trend of amalgam usage is decreasing, due to the development of adhesive systems and toxicity from mercury, and also the development of tooth-colored restorations materials. Glass ionomer cement is one of the ideal tooth-colored restorative material and has fluoride release to prevent dental caries but the disadvantage is the low compressive strength. Therefore, it has been developed by adding zirconia in glass ionomer cement to increase a high compressive strength.\nObjective: The aims of this research were to evaluate and compare the compressive strength of restorative material zirconia reinforced glass ionomer cement: Zirconomer Improved, amalgam: Tytin FC®, and conventional glass ionomer cement: GC Gold Label 9 Extra.\nMethod: The 30 cylindrical specimens were fabricated by 4 mm in diameter and 6 mm in height then grouped into six study groups (n=5): group I (Zirconomer Improved at 1 hour), group II (Zirconomer Improved at 24 hours), group III (Tytin FC® at 1 hour), group IV (Tytin FC® at 24 hours), group V (GC Gold Label 9 Extra at 1 hour), group VI (GC Gold Label 9 Extra at 24 hours) for testing the compressive strength. The specimens were tested in a universal testing machine (Instron 5566) at a crosshead speed of 0.5 mm/min for compressive strength until failure occurred. Data analysis and statistical differences were ascertained using one - way ANOVA with Tukey post-hoc test (p<0.05).\nResult: In 1 hour period, the compressive strength was not different between zirconia reinforced glass ionomer cement and amalgam and was higher than that of conventional glass ionomer cement with statistical significance at the level of 0.05. In the 24 hour period, the compressive strength tests showed a significant difference in 3 groups, the highest compressive strength was exhibited by amalgam followed by zirconia reinforced glass ionomer cement and conventional glass ionomer cement respectively.\nConclusion: The addition of zirconia increases the strength of glass ionomer cement significantly compared to the conventional glass ionomer cement and equivalent to amalgam at 1 hour but weaker than amalgam at 24 hours.", "th": "ภูมิหลัง: ปัจจุบันแนวโน้มการอุดฟันโดยใช้อะมัลกัมลดลง เนื่องจากมีการพัฒนาของระบบสารยึดติด และความเป็นพิษจาก สารปรอท นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัสดุอุดในกลุ่มสีคล้ายฟัน ซึ่ง ในกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์มีคุณสมบัติที่เป็นวัสดุอุดที่ดี คือมีการ ปลดปล่อยฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ แต่มีข้อด้อย คือ ค่าความ ทนแรงอัดต่ำ จึงมีการพัฒนาโดยการเติมสารเซอร์โคเนียเป็นวัสดุ สีคล้ายฟันและมีค่าความทนแรงอัดสูง\nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบ เทียบความทนแรงอัดระหว่างกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่เสริมแรง ด้วยเซอร์โคเนีย อะมัลกัม และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิด ดั้งเดิม\nวิธีการ: ทำชิ้นทดสอบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร หนา 6 มิลลิเมตร ทั้งหมด 30 ชิ้น วัสดุละ 10 ชิ้น แต่ละวัสดุจะมี 2 กลุ่มทดสอบ คือ กลุ่มเวลา 1 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง รวมกลุ่ม ทดสอบทั้งหมด 6 กลุ่ม จากนั้น นำมาวัดความทนแรงอัดด้วยเครื่อง ทดสอบเอนกประสงค์ชนิด Statics (Universal Testing Machine: Static, Instron 5566) โดยใช้ความเร็วหัวทดสอบที่ 0.5 มิลลิเมตร ต่อนาที ทดสอบจนเกิดการแตกหักของวัสดุแล้วบันทึกผล จากนั้น นำข้อมูลมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทนแรงอัดในแต่ละกลุ่มโดย ใช้สถิติ one-way ANOVA\nผล: เมื่อเปรียบเทียบ ค่าความทนแรง อัดเฉลี่ยของอะมัลกัม กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่เสริมแรงด้วย เซอร์โคเนีย และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิม ทั้ง 2 ช่วง เวลา คือ ที่ 1 และ 24 ชั่วโมง โดยที่ 1 ชั่วโมง พบว่า ความทนแรง อัดเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ระหว่าง กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่เสริมแรง ด้วยเซอร์โคเนียกับอะมัลกัม และมีค่ามากกว่ากลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนที่ 24 ชั่วโมง พบว่าค่าความทนแรงอัดเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 3 กลุ่ม โดยที่ อะมัลกัมมีค่ามากที่สุด และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่เสริมแรงด้วยเซอร์โคเนีย กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิมลดลงมาตามลำดับ\nสรุป: การเติมสารเซอร์โคเนีย เพิ่มความแข็งแรงของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบ กับกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิมและแข็งแรงเทียบเท่ากับ อะมัลกัมที่ 1 ชั่วโมง แต่แข็งแรงน้อยกว่าอะมัลกัมที่ 24 ชั่วโมง" }
{ "en": "Background: Zirconomer improved is new glass ionomer cement formulations, reinforced zirconia in glass ionomer cements to increase strength, durability and fluoride releasing. Nano zirconia is higher translucency for a closer match to natural tooth. It may be ideal for permanent posterior restoration in patients who concern aesthetic properties and high caries incidence.\nObjective: To evaluate and compare surface hardness of zirconomer improved with composite resin and giomer.\nMethods: In this study, 45 disc-shaped experimental specimens were made from three different tooth colored restoration. All specimens were loaded on their surfaces at 1 hour, 24 hours and 7 days. The obtained data were analyzed by one-way ANOVA method (p <0.05).\nResult: There was no statistically significant difference of surface hardness between composite resin and giomer over storage time. Surface hardness of zirconomer improved was increased with time and highest 76.82 kg/mm2 at 7 days. There was statistically difference of Vickers hardness of zirconomer improved over storage time. There was statistically difference of significant surface hardness among the materials studied over storage time.\nConclusion: Zirconomer improved showed higher surface hardness than resin composite at 7 days. Zirconomer improved showed lowest surface hardness at 1 h and increased with time.", "th": "ภูมิหลัง: เซอร์โคโนเมอร์ อิมพรูฟ เป็นกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ที่มีการพัฒนาสูตรโดยเสริมแรงด้วยอนุภาคนาโนของ เซอร์โคเนีย ทำให้มีความแข็งแรง คงทน ปลดปล่อยฟลูออไรด์ และมี ความโปร่งแสง ทำให้มีสีคล้ายกับฟันธรรมชาติ อาจจะเป็นทางเลือก หนึ่งในการบูรณะฟันหลังในบริเวณที่ต้องการความสวยงามและช่วย ต้านทานการเกิดฟันผุได้\n วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแข็งผิวระดับ จุลภาควิกเกอร์ของวัสดุเซอร์โคโนเมอร์ อิมพรูฟ เปรียบเทียบกับ ไจโอเมอร์และเรซินคอมโพสิต\nวิธีการ: เตรียมชิ้นทดสอบ 45 ชิ้น จากวัสดุบูรณะ 3 ชนิด วัดความแข็งผิวระดับจุลภาควิกเกอร์ส ที่ ช่วงเวลา 1 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง และ 7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญ (p<0.05)\nผล: เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวัสดุทั้ง 3 ชนิดในแต่ละช่วงเวลามีค่า ความแข็งผิวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ช่วง เวลาที่ต่างกันของเรซิน คอมโพสิตและไจโอเมอร์ มีค่าความแข็งผิว ไม่แตกต่างกัน ส่วนค่าความแข็งผิวของเซอร์โคโนเมอร์ อิมพรูฟ ต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง และที่ 7 วันมีค่าความแข็งผิวสูงสุดอยู่ที่ 76.82 kg/mm2\nสรุป : เซอร์โคโนเมอร์ อิมพรูฟ มีค่าความแข็งผิวสูงกว่าเรซินคอมโพสิต เมื่อวัดที่ระยะเวลา 7 วัน โดยเซอร์โคโนเมอร์ อิมพรูฟที่ 1 ชั่วโมง มี ค่าความแข็งผิวน้อยที่สุดแต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป" }
{ "en": "Background: There are various studies about salivary biomarkers in oral squamous cell carcinoma detection at the present. Many studies support that saliva may be considered as a promising for oral squamous cell carcinoma diagnosis and prognosis tool. Numerous studies also found that salivary protein biomarker yielded high sensitivity and high specificity.\nObjective: The systematic review and meta-analysis was to find out the accuracy of salivary protein biomarker in detection of oral squamous cell carcinoma.\nMethods: The following database were searched from 2000 to July 2020 from PubMed, google scholar and hand search.\nResults: Total of 15 studies which are prospective blinded trial, case-controlled studies, cross-sectional studies were included in this systematic review and meta-analysis. Sensitivity and specificity with 95% confidence interval are generated. The results showed pooled sensitivity of 0.78 (95% CI = 0.74, 0.82) and specificity of 0.71 (95% CI = 0.65, 0.76). ODD-ratio subgroup analysis was also generated in which the result showed that Cytokines salivary protein biomarker had higher ODD-ratio 11.41 (95% CI = 7.92, 16.45) compared to metalloproteinase salivary biomarkers 7.88 (95% CI = 5.72, 10.86) and other proteins salivary protein biomarker 5.55 (95% CI = 5.09, 6.10).\nConclusion: Salivary protein biomarkers might not be sensitive and specific enough to serve as a detection tool of oral squamous cell carcinoma. Protein cytokines markers had high ODD-ratio but with its high wide range of confidence interval and low quality of studies, further studies of salivary protein biomarkers need to be developed.", "th": "ภูมิหลัง: การศึกษาเรื่องตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายใน การตรวจหามะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัสมีการศึกษา กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีผลการศึกษาที่สนับสนุนการตรวจ หาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายว่าน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค หรือการตรวจติดตามการรักษา โรคมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัสได้ และจากหลายการ ศึกษาพบว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีนให้ค่าความไว และค่าความจำเพาะสูง\nวัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมผลการศึกษา เรื่องความแม่นยำของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีน ในการตรวจหารอยโรคมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส เพื่อตอบคำถามว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีนมีความ แม่นยำเพียงไรในการตรวจหามะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์ สความัส\nวิธีการ: มีการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบจาก PubMed, Google Scholar และ handsearch ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึง กรกฎาคม ค.ศ. 2020 เลือกเฉพาะบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย\nผล: บทความที่ได้รับการยอมรับมี 15 บทความ ที่เป็น prospective blinded trial, case controlled studies และ cross-sectional studies ที่อยู่ในรูปแบบการศึกษาที่เป็น diagnostic accuracy studies ทั้ง 15 บทความนี้แบ่งเป็นการ ศึกษาย่อยตามชนิดของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้ 52 ชุดข้อมูลและ ชุดข้อมูลทั้ง 52 ชุดถูกนำมาทำการวิเคราะห์อภิมาน ใช้ค่าความ ไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ที่ช่วงความเชื่อ มั่น 95% พบว่าการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในการตรวจ หามะเร็งช่องปากในภาพรวมหลายกลุ่มมีค่าความไวเท่ากับ 0.78 (95% CI = 0.74, 0.82) และความจำเพาะเท่ากับ 0.71 (95% CI = 0.65, 0.76) เมื่อทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าตัวบ่งชี้ทาง ชีวภาพชนิดโปรตีนในกลุ่ม cytokines ให้ค่า pooled ODD-ratio อยู่ที่ 11.41 (95% CI = 7.92, 16.45) มากกว่าในกลุ่มของโปรตีน เมทริกซ์เมทาโลโปรตีนเนส (metalloproteinase) และกลุ่ม โปรตีนชนิดอื่น (other proteins)\n สรุป: ค่าความไวและค่าความ จำเพาะของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิด โปรตีนยังไม่มากพอที่ จะสามารถเป็นเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยได้ และข้อมูลยังขาด ความเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายชนิดโปรตีน กลุ่ม cytokines มีค่า ODD-ratio ที่สูงแต่ยังมีช่วงความเชื่อมั่นที่ กว้าง และคุณภาพการศึกษายังไม่ดีเพียงพอจึงควรทำการศึกษา เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพชนิดโปรตีน เพื่อพัฒนา เป็นเครื่องมือในการตรวจมะเร็งช่องปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส ต่อไป" }
{ "en": "Background: Cerebellopontine angle tumor (CP angle tumor) is the common skull base tumor and the surgical outcomes are vary between institution. Facial nerve palsy is the most important morbidity with incidence rate of 63-94% which is the condiction of disability. Recently, the new continuous and dynamic stimulation technique is used to identify facial nerve during surgical resection. This study describes the new technique as the continuous dissection technique with the monopolar probe, which is limited documents in literature.\nObjective: To describe the facial nerve outcomes, the degree of resection, workflow, and the safety of the new technique with monopolar probe.\nMethods: A cross-sectional study was conducted between 2017 and 2018. Medical records and the data of twenty-one patients who had the CP angle tumor performing the continuous mapping dissection technique with the monopolar probe was retrospectively collected and analysed. Age, sex, pre and post-operative facial nerve function, pre and post-operative tumor size, and complications were collected. The categorical data and continuous data outcomes between before and after surgery were compared using Fishers’ exact test and Wilcoxon signed rank test. The ethics committee, Rajavithi hospital, reviewed and approved this study.\n Results: The female was predominant, and the mean age was 54.38±12.52 years. The most common tumor was acoustic neuroma (90.5%), and the mean operative time was 4.28±1.69 hrs. The median size of post operative tumor was significantly smaller than that of preoperative tumor (p\nConclusion: The monopolar probe’s continuous dissection technique is a safe technique with good workflow and good outcomes compared with standard procedure.", "th": "ภูมิหลัง: เนื้องอก cerebellopontine Angle เป็นเนื้องอก ที่พบได้บ่อย ซึ่งผลการผ่าตัดมีความแตกต่างในแต่ละสถาบัน และ พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนหน้าเบี้ยว ร้อยละ 63-94 ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดทุกพลภาพ ปัจจุบันมีการนำเทคนิคการผ่าตัด ใหม่ new continuous and dynamic stimulation โดยใช้ monopolar probe มาใช้เพื่อให้ได้ผลการผ่าตัดที่ดีขึ้น แต่ยังมีการ รายงานผลการใช้เทคนิคการผ่าตัดใหม่ดังกล่าวน้อย\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดด้วย เทคนิค continuos dissection technique โดยใช้ monopolar probe โดยพิจารณาจากผลการทำงานของเส้นประสาทคู่ที่ 7 ปริมาณของเนื้องอกที่เอาออก ประสิทธิผลในการผ่าตัดและความ ปลอดภัยในการผ่าตัด\n วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ระหว่างปี 2560-2561 เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน และภาพถ่ายทางรังสีของผู้ป่วยเนื้องอก cerebellopontine angle และผ่าตัด continuos dissectionโดยใช้ monopolar probe ในโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 21 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนบุคคล เพศ อายุ และข้อมูลการรักษาก่อนและหลังการผ่าตัด เปรียบเทียบข้อมูล categorical data ก่อนและหลังการผ่าตัด ด้วย สถิติ Fishers’ exact test และเปรียบเทียบข้อมูล continuous data ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank test การวิจัยนี้ผ่านการรับรอง จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลราชวิถี\nผล: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.4 มีอายุเฉลี่ย 54.38 ± 12.52 ปี ชนิดของเนื้องอก ส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกของ เส้นประสาทคู่ที่ 8 ชนิด acoustic neuroma (ร้อยละ 90.5) โดย มีระยะเวลาการผ่าตัดเฉลี่ย 4.28 ± 1.69 ชั่วโมง ผลการผ่าตัดด้วย เทคนิคของการผ่าตัดเนื้องอก cerebellopontine angle โดยใช้ monopolar probe พบว่า ขนาดของเนื้องอกก่อนและหลังการ ผ่าตัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยพบว่า ขนาดของเนื้องอกก่อนการผ่าตัดมีขนาดเท่ากับ 3.28 (1.20 – 5.20) เซนติเมตร ภายหลังการผ่าตัดมีขนาดเล็กลงเท่ากับ 0.50 (0.0 - 2.5) เซนติเมตร การทำงานของเส้นประสาทคู่ที่ 7 ไม่แตกต่างกันก่อนและ หลังการผ่าตัด และพบภาวะแทรกซ้อนเป็นเลือดออกในสมอง เพียง 1 ราย หลังการผ่าตัด (ร้อยละ 4.8) และการผ่าตัดเนื้องอกสำเร็จ ในผู้ป่วย 7 ราย\nสรุป: ผลลัพธ์การผ่าตัด continuous ได้ทั้งหมด dissection technique ด้วย monopolar probe เป็นวิธีที่ ปลอดภัยร่วมกับทำให้การผ่าตัดไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อยและมี ผลผ่าตัดที่ดีกว่าวิธีมาตรฐาน" }
{ "en": "Background: Sarcopenia is one of the common problems among the elderly.\nObjectives: This study aimed to determine the prevalence of sarcopenia and associated factors with sarcopenia among the elderly.\n Methods: This cross-sectional study was performed in 147 subjects aged 60 years old and over living in Sattahip District, Chonburi Province. All participants were evaluated for sarcopenia based on Asian Working Group of Sarcopenia (AWGS) criteria: body composition by bioimpedance analysis (BIA), handgrip strength by dynamometer and gait speed by walking a 6-m distance. The Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) was used, and 24-hour recalls combined with 2-day food record were applied to assess of energy and protein intake. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square test, and multivariate logistic regression analysis.\nResults: The finding showed that the prevalence of sarcopenia was 48.3%. After multivariate analysis of risk factors associated with sarcopenia were male, age≥70 years, body mass index (BMI)\nConclusion: Almost a half of the rural elderly had a sarcopenia. As the prevalence is high, the screening for sarcopenia should be performed in the community especially older age and under-weight subjects. Increasing of adequate protein intake and muscle-strengthening activities should be promoted.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นปัญหาหนึ่งที่พบ ได้บ่อยในผู้สูงอายุ\nวัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของภาวะมวล กล้ามเนื้อน้อยและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ในผู้สูงอายุ\nวิธีการ: เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในอำเภอสัตหีบ จังหวัด ชลบุรี จำนวน 147 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนได้รับการประเมินภาวะ มวลกล้ามเนื้อน้อยตามเกณฑ์ของ Asian Working Group of Sarcopenia ด้วยการวัดองค์ประกอบร่างกายด้วยวิธีแรงต้านทาน ไฟฟ้า การทดสอบแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องวัดแรงบีบมือ และอัตราเร็วในการเดินระยะ 6 เมตร ตอบแบบสอบถามกิจกรรม ทางกาย และการประเมินพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากอาหาร บริโภคด้วยวิธีการสัมภาษณ์อาหารบริโภคทบทวนความจำย้อน หลัง 24 ชั่วโมงร่วมกับการบันทึกอาหารบริโภคเป็นเวลา 2 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ และ วิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกหลายตัวแปร\nผล: พบความชุกของ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยร้อยละ 48.3 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจากการได้แก่ เพศชายอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป ดัชนีมวลกายในระดับผอม (<18.5 กก./ม.2) และน้ำหนักเกิน (23.0-24.9 กก./ม.2) และการได้รับโปรตีนน้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน และ 40-59.9 กรัมต่อวัน ด้วยค่า adjusted OR 3.750 (95% CI =1.071-5.590), 5.542 (95% CI = 1.073-8.052), 5.790 (95% CI = 1.001-6.161), 1.929 (95% CI = 1.096-5.680), 4.948 (95% CI = 1.238-5.292) และ 1.221 (95% CI = 1.019-4.776)ตามลำดับ\nสรุป: ควรมีการคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยใน ผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากและมีดัชนีมวลกายน้อย กว่าเกณฑ์ รวมทั้งส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนเพียงพอและ กิจกรรมทางกายประเภทเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ" }
{ "en": "Background: The treatment of aggressive periodontitis aims to eliminate dental plaque, following the same methods with treatment of chronic periodontitis. However, aggressive periodontitis does not response as effective as in chronic periodontitis in means of unpredictable outcome along with the ability of periodontal pathogens can penetrated into epithelial cell. Deep periodontal pocket depth and local factors such as furcation area, root concavity made it more difficult to completed eliminate. Adjunctive treatment with systemic antibiotics shows promising outcome. However, there are some limitations. From the disadvantages of conventional treatment and adjunctive treatment with systemic antibiotics, Photodynamic therapy as an adjuvant to scaling and root planing has emerged recently.\nObjective: The objective of this systematic review and meta-analysis was to find out whether does antimicrobial photodynamic therapy have an effectiveness as an adjunctive treatment of aggressive periodontitis.\nMethods: The following database were searched from 2000 to April 2020 from PubMed, The Cochrane Database of Systematic Review (CDSR), google scholar, hand search. Randomized controlled clinical trial studies which comparing adjunctive treatment with photodynamic therapy and conventional treatment which were published in Thai and English only.\nResults: Total of 5 studies were included in this study. Standard mean difference with 95% confidence interval and random effect model was generated. The results showed adjunctive treatment with photodynamic therapy could reduce periodontal pocket (SMD=1.381 (95%CI (-0.032) – 3.095, p=0.114)), while the data had high heterogeneity (I2=96.0%) caused by limited number of studies, no standard protocol in using photodynamic therapy, short term follow up. In future studies, higher quality experimental design might need to be conduct along with clinical and microbiological parameter evaluation. Long-term follow up period was also need to be established.\nConclusion: At present, evidence that support an effectiveness of photodynamic therapy as an adjunctive treatment of aggressive periodontitis is insufficient.", "th": "ภูมิหลัง: การรักษาโรคปริทันต์อักเสบ (ชนิด) ก้าวร้าว มี หลักการรักษาเช่นเดียวกับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ (ชนิด) เรื้อรัง อย่างไรก็ตามพบว่าการตอบสนองภายหลังการรักษาของโรคปริทันต์ อักเสบ (ชนิด) ก้าวร้าว น้อยกว่าโรคปริทันต์อักเสบ (ชนิด) เรื้อรัง ไม่สามารถคาดเดาผลการรักษาได้ จึงมีการนำวิธีการรักษาเสริม (adjunctive therapy) เข้ามาใช้ร่วมด้วย ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะ ทั่วร่าง (systemic antibiotics) และการใช้โฟโตไดนามิคเทอราปี (photodynamic therapy)\nวัตถุประสงค์: การทบทวนวรรณกรรม อย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ตอบคำถามงานวิจัยว่า โฟโตไดนามิคเทอราปีมีประสิทธิผลในการ เสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ (ชนิด) ก้าวร้าว หรือไม่\nวิธีการ: รวบรวมงานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed, Cochrane (The Cochrane Database of Systematic Reviews: CDSR) อย่างเป็น ระบบ สืบค้นจาก Google scholar และ Hand search จากวารสาร อ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่สามารถสืบค้นได้จากสถาบัน ทันตกรรม และการศึกษาที่ได้จากการอ้างอิงของฐานข้อมูลใหม่ ในแหล่งสืบค้นเป้าหมาย เลือกเฉพาะบทความภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทย ที่เป็นงานวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2020\nผล: บทความที่ได้รับการยอมรับมีทั้งหมด 5 บทความ ถูก นำมาวิเคราะห์อภิมาน เพื่อรวบรวมผลลัพธ์การลดลงของร่องลึก ปริทันต์จากกลุ่มศึกษาที่ได้รับโฟโตไดนามิคเทอราปีในการเสริม การรักษาโรคปริทันต์อักเสบ (ชนิด) ก้าวร้าว เปรียบเทียบกับกลุ่ม ควบคุมที่ได้รับการขูดหินน้ำลาย เกลารากฟัน จากนั้นนำมาหา ค่า standard mean difference (SMD) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มศึกษาที่ได้รับการเสริมการรักษาด้วย โฟโตไดนามิคเทอราปี สามารถลดร่องลึกปริทันต์ได้ (SMD = 1.381; 95% CI (-0.032) – 3.095, p=0.114) แต่ข้อมูลมีความต่างแบบ ปรากฎอย่างชัดเจน (I2=96.0%) เนื่องจากยังมีการศึกษาจำนวน น้อย ยังไม่มีโปรโตคอล (protocol) ในการใช้โฟโตไดนามิคเทอราปี ที่เป็นมาตรฐาน มีอคติจากการศึกษา มีการติดตามผลการศึกษา ระยะสั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบการศึกษา ให้มีคุณภาพสูง พิจารณาผลลัพธ์ภายหลังการรักษาทั้งพารามิเตอร์ ทางคลินิก (clinical parameter) พารามิเตอร์ทางจุลชีววิทยา (microbiological parameter) และมีระยะเวลาการติดตามผล เพิ่มขึ้น เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้โฟโตไดนามิคเทอราปี ในการเสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ (ชนิด) ก้าวร้าว ต่อไปใน อนาคต\nสรุป: จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ในปัจจุบันยัง ไม่มีหลักฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะสนับสนุนถึงประสิทธิผลใน การลดร่องลึกปริทันต์จากการใช้โฟโตไดนามิคเทอราปีในการเสริม การรักษาโรคปริทันต์อักเสบ(ชนิด)ก้าวร้าว" }
{ "en": "Background: The accuracy of dental model is important in dentistry. Acquiring data from an intraoral scanner has different context from that of an extraoral scanner. Thus, researchers try to compare the accuracy of using an intraoral scanner with the conventional impression techniques which includes scanning short distance and scanning full arch, or long distance. This method can evaluate the accuracy in many aspects.\nObjective: To quantitatively compare the accuracy of intra oral scanning by the scanner with the accuracy of convention impression techniques as well as to re-evaluate its clinical acceptance value as a guide for all dental clinical works.\nMethods: Related articles were systematically search via PubMed, open Access, Google scholar and manual searches. Articles published in English from 2010 to 2021 were selected. Eighteen articles were then accepted, and their datasets were meta-analyzed by evaluating and comparing the accuracy of using an intraoral scanner with conventional impression technique. Furthermore, subgroup analysis was divided into short distance and long distance, or large object, scanning.\nResult: The accuracy of short distance scanning was better than conventional impression technique, but not statistically significant (SMD = -0.255; 95% CI = -0.553, 0.042; p = 0.093) due to moderate heterogeneity of data (I2 = 56.4%). The accuracy of scanning for long distance, also known as large object, was worse than conventional method with statistical significance (SMD = 1.808; 95% CI = 0.304, 3.311; p = 0.018) and very high heterogeneity of data (I2 = 96.8%).\nConclusion: Intraoral scanners are reliable enough to use in clinical context for short distance scanning. However, the reliability of scanning for long distance or large objects is still at risk of inaccuracy. The reason for heterogeneity remains obscure as the availability of the evidence is limited and further high-quality research is required.", "th": "ภูมิหลัง: ความถูกต้องของการจำลองช่องปากมีความสำคัญ ในงานทันตกรรม การเก็บข้อมูลจากการใช้เครื่องสแกนในช่องปาก แตกต่างกับการสแกนนอกช่องปาก จึงมีความพยายามรวบรวมค่า ความถูกต้องของการใช้เครื่องสแกนในช่องปากเปรียบเทียบกับการ พิมพ์ปากที่เป็นวิธีมาตรฐาน ทั้งการสแกนระยะสั้นและการสแกน อวัยวะในช่องปากที่มีขนาดใหญ่\nวัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมข้อมูล งานวิจัยทางคลินิก ในเรื่องค่าความถูกต้องของการจำลองช่องปาก โดยใช้เครื่องสแกนในช่องปากเปรียบเทียบกับการพิมพ์ปาก และ ประเมินแนวทางตัดสินค่าความถูกต้องที่ยอมรับทางคลินิก (clinical acceptance) ของการใช้เครื่องสแกนในช่องปาก\nวิธีการ: สืบค้น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูล PubMed อย่างเป็นระบบ และ สืบค้นจากฐานข้อมูล open access และ Google scholar ร่วม กับการค้นหาด้วยมือ นำมาเฉพาะบทความภาษาอังกฤษตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2010 ถึง ปี ค.ศ. 2021 บทความที่ได้รับการยอมรับมี 18 บทความ และนำมาทำการวิเคราะห์อภิมานโดยใช้ค่าความถูกต้อง (accuracy) ที่ได้จากการใช้เครื่องสแกนในช่องปากและจากการ พิมพ์ปาก แล้ววิเคราะห์แบ่งกลุ่มย่อย (subgroup analysis) เป็นการสแกนในระยะสั้น และการสแกนในระยะยาวหรือวัตถุที่มี ขนาดใหญ่\nผล: ค่าความถูกต้องของการสแกนระยะสั้นดีกว่าการ พิมพ์ปาก แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (SMD = -0.255; 95% CI = -0.553, 0.042; p = 0.093) ผลของข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกัน ปานกลาง (I2 = 56.4%) ส่วนการสแกนวัตถุขนาดใหญ่ มีค่าความ ถูกต้องด้อยกว่าการพิมพ์ปาก (SMD = 1.808; 95% CI = 0.304, 3.311; p = 0.018) ผลของข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันสูง (I2 = 96.8%)\nสรุป: เครื่องสแกนในช่องปากมีความน่าเชื่อถือในการใช้งาน ทางทันตกรรม โดยเฉพาะในการสแกนระยะสั้น แม้ว่าเครื่องสแกน ในช่องปากส่วนใหญ่มีความถูกต้องพอจะเทียบเคียงการพิมพ์ปาก แต่ยังมีความเสี่ยงต่อความไม่ถูกต้องได้มากกว่าเนื่องจากหลักฐาน ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดและมีจำนวนน้อย จึงมีความจำเป็น ที่ควรมีการวิจัยที่มีคุณภาพสูงต่อไป" }
{ "en": "Background: Loss of tooth is the burden of oral health problem in the elderly and adult that needed for dental substitution treatment for quality of life improvement. Single tooth implant was expected to be increases in tertiary dental treatment demand for Thai population. Estimation activity-based costing of a service will be important information for executive development planning in oral health service system to provide the public with effective access to the service.\nObjective: The research aimed at analyzing costs of single tooth implant using activity-based costing at the Institute of Dentistry in the fiscal year 2020.\nMethod: Estimating the cost per visit of single tooth implant services in official time by activity-based costing in the service provider perspective in fiscal year 2020.\nResult: Cost per visit of single tooth implant service of official time dental clinic in Institute of Dentistry in fiscal year 2020 ,the total direct cost was 8,928,93 baht, with direct labor cost as high as 5,792.10 baht, second only to direct material cost, and direct capital cost as the lowest proportion of baht 688.49, which is 64.87 : 27.42 : 7.71 respectively.\nConclusion: According to the study of the cost of the single tooth implant service of the Institute of Dentistry for fiscal year 2020 found that direct labor cost was the highest proportion, 64.87% second to direct material cost of 27.42%. Recommendation to utilize the results of the study to the agency including cost reduction guidelines. The most likely possibly of reducing labor costs by reducing service activity and time spent on each activity is to maintain standard quality services effectively.", "th": "ภูมิหลัง: การสูญเสียฟันแท้เป็นปัญหาสุขภาพช่องปากซึ่ง มีอุบัติการณ์เริ่มตั้งแต่วัยทำงานจนถึงวัยสูงอายุ ที่มีความจำเป็นต้อง ได้รับการบูรณะด้วยการใส่ฟันเทียมทดแทนเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพ ชีวิต โดยแนวโน้มในปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมรองรับฟันซี่เดี่ยว เป็นการบริการทางทันตกรรมระดับตติยภูมิที่ประชาชนต้องการ รับบริการเป็นจำนวนมากขึ้น การประมาณต้นทุนฐานกิจกรรมของ บริการจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหารในการวางแผนพัฒนา ระบบการให้บริการด้านสุขภาพช่องปาก เพื่อให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ\nวัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ ต้นทุนฐานกิจกรรมการให้บริการรากฟันเทียมรองรับฟันซี่เดี่ยวของ สถาบันทันตกรรม ในปีงบประมาณ 2563\nวิธีการ: การประมาณ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์การให้บริการต่อครั้ง (cost per visit) ของ บริการรากฟันเทียม ชนิดฟันซี่เดี่ยวของคลินิกทันตกรรมในเวลา ราชการ ด้วยวิธีฐานกิจกรรม (activity-based costing) ใน มุมมอง ของผู้ให้บริการ ในปีงบประมาณ 2563\nผล: ต้นทุนการให้บ ริการต่อ ครั้ง (cost per visit) ของบริการรากฟันเทียมชนิดฟันซี่เดี่ยว ของ คลินิกทันตกรรมในเวลาราชการ สถาบันทันตกรรม ปีงบประมาณ 2563 มีต้นทุนทางตรงรวม (Total direct cost) เท่ากับ 8,928.93 บาท โดยมีต้นทุนค่าแรงทางตรง (direct labor cost) เป็นต้นทุนที่ มีสัดส่วนสูงที่สุดเท่ากับ 5,792.10 บาท รองลงมา คือ ต้นทุนค่าวัสดุ ทางตรง (direct material cost) เท่ากับ 2,448.34 บาท และต้นทุน ค่าลงทุนทางตรง (direct capital cost) เป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนต่ำ ที่สุดเท่ากับ 688.49 บาท ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนเท่ากับ 64.87 : 27.42 : 7.71 ตามลำดับ\nสรุป: จากการศึกษาต้นทุนกิจกรรมบริการรากฟัน เทียมรองรับฟันซี่เดี่ยว สถาบันทันตกรรมปีงบประมาณ 2563 พบ ว่าต้นทุนค่าแรงทางตรง เป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงสุด ร้อยละ 64.87 รองลงมาเป็น ต้นทุนค่าวัสดุทางตรงร้อยละ 27.42 ข้อเสนอแนะใน การนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงาน ได้แก่ แนวทางการ ลดต้นทุน กิจกรรมบริการรากฟันเทียมรองรับฟันซี่เดี่ยว ที่น่าจะมี ความเป็นไปได้คือ การลดต้นทุนค่าแรง โดยการลดกิจกรรมการให้ บริการและเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมนั้นยังคงรักษาการบริการที่มี คุณภาพมาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ" }
{ "en": "Background: Dental cone beam computed tomography (dental CBCT) is useful in dental diagnosis and treatment planning. The trend of this service is increasingly being used in various institutional, but it requires human resource and high equipment cost. Therefore the activity-based costing of dental cone beam computed tomography service is important to be used as a reference for the development of oral health services for people to effectively access the service.\nObjective: To analyze the activity base costing of dental CBCT service in Institute of Dentistry.\nMethod: Descriptive research used to assess the activity base cost per unit of economic services in the view of healthcare providers, conduct a total cost study that includes direct and indirect total cost of dental cone beam computed tomography service in Institute of Dentistry. The direct total cost calculates the activity base cost per service unit from the personnel expense accounting system database, materials and medical supplies, product registrations, buildings and hospital information systems. Data collected between October 1, 2019 and September 30, 2020. Statistics used to analyze data, including frequency distribution, data analysis, average and percentage with Excel Microsoft Office365. Indirect costs are estimated at 20 percent of the total direct cost.\nResult: The average total cost of the activity-based costing of dental cone beam computed tomography service in Institute of Dentistry is 2,532.42 baht. The direct cost of labor costs is 52.40 baht, material cost is 75.59 baht, commodity cost is 1,850.75 baht, construction cost is 131.61 baht, total direct cost average is 2,110.35 baht, and average indirect cost is 422.07 baht.\nConclusion: The average price of the required examination of the activity-based costing of dental cone beam computed tomography service in Institute of Dentistry is 3,165.53 baht, which is higher than the current test price (3,000 baht). In order to get a break-even point of service, the service must be increased to 278 times a year or the price of the inspection will have to be increased.", "th": "ภูมิหลัง: การถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมด้วยเครื่อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดลำรังสีรูปกรวย (dental cone beam computed tomography; dental CBCT) มีประโยชน์ในการ วินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาทางทันตกรรม มีแนวโน้มการ นำมาใช้มากขึ้นในระบบให้บริการของสถาบันต่างๆ แต่เป็นการ ถ่ายภาพรังสีที่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและต้นทุนค่าเครื่องมือที่สูง ดังนั้นการวิเคราะห์หาต้นทุนกิจกรรม จึงมีความสำคัญเพื่อนำไป เป็นข้อมูลอ้างอิงในการพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพช่องปาก เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ\nวัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมการให้บริการ ถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด ลำรังสีรูปกรวย ของสถาบันทันตกรรม\nวิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อประเมินต้นทุนฐานกิจกรรมต่อหน่วยบริการเชิงเศรษฐศาสตร์ ในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ ทำการศึกษาต้นทุนรวมซึ่งจะ ประกอบด้วย ต้นทุนรวมทางตรงและทางอ้อมของการบริการถ่ายภาพ รังสีทางทันตกรรมด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดลำรังสี รูปกรวยของสถาบัน ทันตกรรม ใช้รูปแบบการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยต้นทุนรวมทางตรงจะคำนวณต้นทุนฐานกิจกรรมต่อหน่วย บริการจากฐานข้อมูลระบบบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าวัสดุ และเวชภัณฑ์ ทะเบียนครุภัณฑ์-อาคาร-สิ่งก่อสร้าง และระบบ สารสนเทศของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละด้วยโปรแกรมเอ็กเซล ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ365 ส่วนต้นทุนทางอ้อมจะประมาณการ โดยคิดในร้อยละ 20 ของต้นทุนรวมทางตรง\nผล: ต้นทุนรวมเฉลี่ย ของฐานกิจกรรมของการให้บริการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดลำรังสีรูปกรวยของสถาบัน ทันตกรรม มีค่าเท่ากับ 2,532.42 บาท ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุน ทางตรงที่เป็นต้นทุนค่าแรงเฉลี่ย 52.40 บาท ต้นทุนวัสดุ 75.59 บาท ต้นทุนครุภัณฑ์ 1,850.75 บาท ต้นทุนสิ่งก่อสร้าง 131.61 บาท รวมต้นทุนทางตรงเฉลี่ยเท่ากับ 2,110.35 บาท และต้นทุน ทางอ้อมเฉลี่ย เท่ากับ 422.07 บาท จากการวิเคราะห์ต้นทุนพบว่า ราคาเฉลี่ยที่ต้องกำหนด มีค่าเท่ากับ 3,165.53 บาท\nสรุป: ราคา ค่าตรวจเฉลี่ยที่ต้องกำหนดของฐานกิจกรรมของการให้บริการ ถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด ลำรังสีรูปกรวยของสถาบันทันตกรรม มีค่า 3,165.53 บาท ซึ่งมี ค่าสูงกว่าราคาค่าตรวจในปัจจุบัน (3,000 บาท) ดังนั้น หากต้องการ ให้ได้จุดคุ้มทุนของการให้บริการจะต้องเพิ่มงานบริการเป็น 278 ครั้ง ต่อปี หรือจะต้องทำการปรับราคาค่าตรวจเพิ่มขึ้น" }
{ "en": "Sinonasal undifferentiated carcinoma (SNUC) is a rare and highly aggressive cancer of paranasal sinuses (PNS) and superior nasal cavity. Due to the rarity and highly aggressive nature of the tumor, there is a lack of consensus regarding optimal treatment in these patients. This reported a case of a 38-year-old man who presented with difficult breathing. The disease was diagnosed as a locally advanced SNUC involving the ethmoid and maxillary sinuses by tissue diagnosis, confirmed by immunohistochemistry. The staging was B by Kadish system. The multiple modality approach should result in the best possible outcome in this patient. He was treated with endoscopic medial maxillectomy followed by chemoradiation with a course of 70 Gray (Gy) in 35 fractions delivered combination with weekly cisplatin regimen for chemotherapy. Nine months after treatment completion, he developed a metastasis at the thoracic spines, ribs and pubic bone and femur. A five-fraction palliative radiotherapy of 20 Gy was delivered to pelvis and the left femur. He survived 22 months from the initial presentation. This is the first reported case of a SNUC patient at Udon Thani Cancer Hospital. Although the treatment can only be based on reported case series and a small number of retrospective studies, consequently it is crucial to continue to assess different institutions’ methods and results of treatment.", "th": "Sinonasal undifferentiated carcinoma เป็นมะเร็ง ศีรษะลำคอชนิดที่พบบริเวณโพรงไซนัสและโพรงจมูกส่วนบนซึ่ง พบได้ยากมาก สืบเนื่องจากลักษณะการดำเนินโรคที่รุนแรงและ พบผู้ป่วยโรคนี้ได้ยาก จึงไม่มีแนวทางการรักษาที่เป็นเอกฉันท์และ เหมาะสมที่สุดในผู้ป่วยเหล่านี้ รายงานผู้ป่วยรายนี้ อายุ 38 ปี มาพบ แพทย์ด้วยอาการหายใจลำบาก ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็ง SNUC ด้วยผลชิ้นเนื้อและได้รับการยืนยันโดยผลตรวจอิมมูโนฮีสโตเคมี ระยะ การลุกลามเฉพาะที่ตำแหน่งโพรงไซนัสเอทมอยด์และแมกซิลลา ระยะ Kadish B การรักษาแบบผสมผสานเป็นทางเลือกในกรณี ผู้ป่วยรายนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด โดยผู้ป่วยได้รับการ ผ่าตัดผ่านการส่องกล้องที่ตำแหน่งโพรงไซนัสแมกซิลลาตามด้วยการ ฉายรังสีรักษาร่วมเคมีบำบัดปริมาณรังสี 70 เกรย์ และเคมีบำบัด ชนิด cisplatin แบบสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง หลังการรักษาเสร็จสิ้นเก้า เดือน ผู้ป่วยตรวจพบการกระจายของมะเร็งไปที่กระดูกตำแหน่ง กระดูกสันหลังระดับอก กระดูกซี่โครง กระดูกสะโพกและต้นขา ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาโดยรังสีรักษาที่ตำแหน่งสะโพกและ ต้นขาซ้ายด้วยปริมาณ 20 เกรย์ หลังจากนั้นผู้ป่วยรายนี้ได้เสียชีวิต ลง รวมระยะเวลาตั้งแต่วินิจฉัยจนกระทั่งเสียชีวิตรวม 22 เดือน รายงานผู้ป่วยฉบับนี้เป็นผู้ป่วย SNUC รายแรกที่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี อย่างไรก็ตาม การรักษายังคงอ้างอิง ตามกรณีศึกษาที่มีการรายงานและการศึกษาย้อนหลังจำนวนเล็ก น้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องประเมินวิธีการรักษา และผลลัพธ์ที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบันต่อไป" }
{ "en": "A 38-year-old woman was diagnosed with invasive ductal carcinoma in the left breast status, following left modified radical mastectomy and chemotherapy lasting 1 year. She had undergone annual surveillance mammography and ultrasonography. Mammography revealed developed fine pleomorphic calcification within the mass and correlated Color Doppler study demonstrated internal vascularity. Core needle biopsy was done and pathological report of ductal carcinoma in situ with fibroadenoma. Pre-operative MRI was obtained. Finally, pathological diagnosis after right simple mastectomy revealed ductal carcinoma in situ arising in fibroademona, that is rare disease.", "th": "ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 38 ปี ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้านซ้าย รักษาโดยการผ่าตัดและยาเคมีเมื่อ 1 ปีก่อน มาตรวจ แมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมประจำปี พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้อที่เต้านมด้านขวา เห็นเป็นหินปูนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นใน ก้อนและพบว่ามีหลอดเลือดเข้าเลี้ยงในก้อนเนื้อ จึงได้ทำการเจาะตรวจชิ้นเนื้อโดยใช้อัลตร้าซาวด์เป็นตัวนำ (core needle biopsy under ultrasound guidance) ผลการตรวจทางพยาธิของชิ้นเนื้อพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิด ductal carcinoma in situ ร่วมกับก้อนเนื้องอก ในเต้านมชนิดไม่ร้ายแรง (fibroadenoma) จากนั้นผู้ป่วยได้รับการตรวจเอ็ม อาร์ ไอ เพื่อประเมินรายละเอียดของก้อนและรอยโรคที่ น่าสงสัยในตำแหน่งอื่นๆ จากนั้นทำการผ่าตัดเต้านมด้านขวาออก ผลการตรวจทางพยาธิยืนยันเป็น ductal carcinoma in situ arising in fibroadenoma ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยาก" }
{ "en": "Acceptance and commitment therapy (ACT) is a psychotherapy model that emphasize the process of accepting current psychological experiences, and aims to help adolescents understand themselves and adapt to difficult situations and live a pleasant life. This literature review presents an application of ACT in mental health problems that may emerge during adjusting to the outbreak of COVID-19 and the “new normal” life of adolescents based on FACE COVID principles. An applied process of the ACT model consists of six principles; acceptance, defusion, present moment, self-as-context, value, and committed action. Several techniques are used to create mental flexibility, acceptance, and expansion of inner conceptual framework, perspective, and mindfulness of the present moment. Behavior changes according to the core values of living will facilitate through role-playing activities and the usage of words and metaphors to enable adolescents to accept current situations, awareness of their self-worth, and value of them to each other.", "th": "การบำบัดแบบการยอมรับและพันธสัญญา (acceptanceand commitment therapy: ACT) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นกระบวนการทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน เพื่อช่วยให้วัยรุ่นเข้าใจตนเองได้มากขึ้น และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยากและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การทบทวนวรรณกรรมนำเสนอการประยุกต์ใช้แนวทางการบำบัดแบบการยอมรับและพันธสัญญา (acceptance andcommitment therapy; ACT) ในวัยรุ่นมีปัญหาทางสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นในวัยรุ่นต่อการปรับตัวต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 และการปรับตัวต่อการใช้ชีวิตปรกติใหม่ (new normal)ตามหลัก FACE COVID ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถูกนำมาจาก ACT Model ประกอบด้วย 6 หลัก คือ การยอมรับ (acceptance) การแยกแยะความคิด (defusion) การอยู่กับปัจจุบัน (presentmoment) การรับรู้ตัวตนในบริบท (self-as-context) การมีค่านิยม (value) และการปฏิบัติตามความมุ่งมั่น (committed action) ผ่านเทคนิคการสร้างความยืดหยุ่นทางใจเพื่อนำไปสู่การยอมรับข้อจำกัดและขยายกรอบความคิด มุมมอง และการมีสติอยู่กับปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามคุณค่าสำคัญ (value) ของชีวิต โดยผ่านกระบวนการกิจกรรมบทบาทสมมติ การใช้คำและการอุปลักษณ์หรือแบบจำลองเชิงเปรียบเทียบ (metaphors) เพื่อให้วัยรุ่นเกิดการยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น มองเห็นคุณค่าตนเองและความมีคุณค่าต่อกัน" }
{ "en": "Anti-aging medicine is a novel medical discipline that gathers and combines diverse scientific knowledge in order to be able to early detect the disease, including to prevent and to treat various diseases with an objective to return the body’s malfunctions caused by aging to the most optimal outcome. With a focus on holistic health care, anti-aging strategies usually encompass regular exercise, meditation, stress management, hormonal therapy, healthy nutrition and supplements. In this review, we present information on five main drugs and supplements that are scientifically supported to prevent or delay aging, including Metformin, Statin, Coenzyme Q10, Omega-3 fatty acids and Astragalus. We also outline potential mechanisms involved in the response to these drugs and highlight the potential clinical implications associated with their consumption.", "th": "ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีทางการ แพทย์ที่พัฒนามากขึ้นได้ทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาว ความแก่ชราเป็น สิ่งที่ไม่มีใครปรารถนาแต่ก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ มนุษย์เรา จึงมีความพยายามที่จะเอาชนะความชรา รวมทั้งพยายามชะลอการ เกิดโรคต่างๆ ที่มักจะตามมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น จะเห็นได้ว่าใน ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกมีความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นและมี เทรนด์ใหม่ในการดูแลฟื้นฟูสุขภาพ หรือที่รู้จักกันในนาม เวชศาสตร์ ชะลอวัย หรือ Anti-aging medicine ซึ่งเป็นศาสตร์ที่รวบรวม องค์ความรู้ในด้านต่างๆ มาประกอบกันเพื่อที่จะสามารถตรวจพบ โรคในระยะแรกเริ่ม รวมทั้งป้องกัน รักษา และย้อนคืนการทำงาน ที่ผิดปกติของร่างกายอันเกิดจากความชรา โดยได้ให้ความสำคัญกับ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยวิธีต่างๆ บทความนี้ได้รวบรวม เนื้อหาเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่น่าสนใจ 5 ชนิดที่น่าจะสามารถ ช่วยป้องกันหรือชะลอความชราได้โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ รองรับ ได้แก่ เมทฟอร์มิน สตาติน โคเอนไซม์ คิวเท็น กรดไขมัน โอเมก้า-3 และแอสตรากาลัสรวมทั้งอธิบายถึงกลไกที่อาจมีส่วน เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์และการนำมาใช้ในทางคลินิก" }
{ "en": "The irreversible electroporation (IRE) or Nanoknife is a new innovation for tumor resection with a high voltage electric current around the tumor. It is a method that has been developed to reduce the limitations of the others thermal technique such as radiofrequency ablation (RFA) or microwave ablation especially tumors those are adjacent to blood vessels or bile ducts are not exposed to sufficiently high heat, resulting in residual or recurrent tumors. Therefore, this IRE innovation has been developed. The high-voltage current from IRE can increase the risk of cardiac arrhythmia, severe muscle contraction or seizure. It is necessary to perform this procedure under general anesthesia with deep neuromuscular blockade, adequate pain management, controlled hypertension and preparation for cardiac arrhythmia after high-voltage current is released with an ECG-synchronized and defibrillator.Thus understanding the principle of IRE working while discharging electricity that affects other body systems, particularly the cardiovascular system. It will make patients undergoing Surgical Irreversible electroporation of hepatocellular carcinoma safe and efficient.", "th": "Irreversible electroporation (IRE) หรือมีดนาโน (Nanoknife®) เป็นนวัตกรรมใหม่ในการจี้ก้อนเนื้องอกด้วยกระแส ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเข้าไปรอบๆ ก้อนโดยเป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อลดข้อจำกัดในการจี้ก้อนเนื้องอกด้วยความร้อนโดยวิธีอื่นๆ เช่น ความร้อนจากคลื่นวิทยุ (radiofrequency ablation; RFA) หรือ ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟ (microwave ablation) ซึ่งการให้ ความร้อนด้วยวิธีอื่นๆ นั้นมีข้อจำกัด โดยเฉพาะก้อนเนื้องอกที่อยู่ชิด ติดกับหลอดเลือดหรือท่อน้ำดี เนื่องจากความร้อนที่ใช้สามารถทำให้ เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดหรือท่อน้ำดีได้ ทำให้ก้อนเนื้องอก ที่อยู่บริเวณนั้นไม่ได้รับความร้อนที่สูงพอ ส่งผลให้ก้อนเนื้องอกถูก ทำลายไม่หมด (residual tumor) หรือกลับเป็นซ้ำ (recurrent tumor) ได้ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่นี้ขึ้นมา แต่การ ปล่อยกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์สูงนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) กล้ามเนื้อหดตัว อย่างรุนแรง (severe muscle contraction) หรือชัก (seizure)ได้ จึงจำเป็นต้องทำหัตถการนี้ภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้ง ตัวร่วมกับการให้ยาหย่อนกล้าม (deep neuromuscular blockade) ยาระงับปวดที่เพียงพอ (pain management) การควบคุมความดัน เลือด (hypertensive management) และการเตรียมความพร้อม ในกรณีที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังจากปล่อยกระแสไฟฟ้า ด้วยเครื่องมอนิเตอร์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG-synchronized) และ เครื่อง defibrillator ด้วยเหตุนี้การเข้าใจถึงหลักการทำงานของ เครื่อง IRE ในขณะที่ทำการปล่อยกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีผลกระทบต่อ ระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะช่วยให้การ ระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดจี้ก้อนเนื้องอกด้วยกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์สูงมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น" }
{ "en": "Background: Referral system is an organization that transfers patients from the rural hospitals to the higher capability medical centers. According to safety concerns during transportation, several types of monitoring equipment are used and signs of clinical deterioration are observed and treated by health care personnel. However, adverse events affecting clinical worsened still occurred and leads to the death.\nObjective: This study aimed to evaluate the 24-hour (24-hr) death rate after referred, and to compare the characteristic between death and survival patient within 24-hr after refer from rural hospital to Khon Kaen hospital.\nMethod: This was a retrospective cohort study, enrolled ESI level 1 patients transferred from the rural hospitals to Khon Kaen hospital from 1st October 2018 to 30th September 2019. The outcomes were the death rate and characteristics of patients who died within 24-hr after transferred.\nResult: Of the 3,750 critically patients included in this study, the average ± SD age was 61.8±16.6 years; 2,390 (63.7%) were male, 3,333(88.9%) were non-trauma patients, and 3,457(92.2%) were intubated patients. The death rate within 24-hr after transferred patients was 25.3%. Age of 60-79 years, intubated patients, used ventilator, and systolic BP\nConclusion: One-fourth of ESI level 1 patients developed death within 24-hr. The methods to improve equality of inter-hospital transfer and factors affecting the death outcomes should be evaluated.", "th": "ภูมิหลัง: การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลเป็นระบบ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง มีการใช้อุปกรณ์เฝ้า ติดตามและมีการใช้เครื่องมือประเมินอาการผู้ป่วยที่แย่ลงระหว่าง การส่งต่อ และมีการดูแลรักษาจากบุคลากรนำส่ง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ยังมีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทำให้ผู้ป่วยอาการแย่ยังคง เกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้\nวัตถุประสงค์: ศึกษาอัตรา การเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกและเปรียบเทียบคุณลักษณะ ระหว่างผู้ป่วยที่เสียชีวิตและรอดชีวิตที่ 24 ชั่วโมงแรก ในผู้ป่วยวิกฤต ที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนมาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น\nวิธีการ: เป็น retrospective cohort study จากการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ช่วง วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยมีผลลัพธ์ เป็นอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการส่งต่อจาก โรงพยาบาลชุมชน\nผล: จำนวนผู้ป่วยเข้าในงานวิจัยนี้ทั้งหมด 3,750 ราย อายุเฉลี่ย 61.8 ± 16.6 ปี เป็นชาย ร้อยละ 63.7 เป็นผู้ป่วย non-trauma จำนวน 3,333 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.9 และเป็น ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 3,457 ราย ร้อยละ 92.2 เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากส่งต่อ ร้อยละ 25.3 โดยพบว่า ช่วงอายุ 60-79 ปี การใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยหายใจ และความดัน โลหิตซีสโตลิกแรกรับของผู้ป่วยที่เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง มีความ แตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)\nสรุป: การเสียชีวิตของผู้ป่วยวิกฤตภายใน 24 ชั่วโมงแรก คิดเป็นหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อทั้งหมด ควรหาวิธีในการ เพิ่มคุณภาพการดูแลและแก้ไขจุดอ่อนเชิงระบบต่อไป" }
{ "en": "Background: Since 2019, Thailand has legalized medical cannabis use in special access scheme.\nObjective: To study the efficacy and safety of CBD-enriched medical cannabis product (MCP) for pediatric drug resistant epilepsy patients (PDREs) in Thailand.\nMethods: Retrospective descriptive study was conducted at Neurological Institute of Thailand and Queen Sirikit National Institute of Child Health in PDREs treated with CBD enriched MCP, CBD: THC ≥ 20:1.\nResults: Of 14 PDREs, 7 were male. Median age was 9 years (range 3-27). Median seizure frequency was 300 times per month. Median number of concomitant antiepileptic drugs was 4 (range2-6). Median CBD and THC dosage was 5.6 and 0.12 mg/kg/day (mkd). Five patients (35%) withdrew MCP, mostly due to seizure aggravation (28%) during the first 3 months. Median treatment duration of the remaining 9 patients was 18 months. The 50% responder rate in convulsive and total seizures was 50% and 43%. The % median monthly seizure reduction in convulsive and total seizures after 12 month-treatment was 57.5% and 67%. Adverse drug events (ADEs) were found in all patients but in 47% of 138 visits. The most common ADEs were somnolence (64%), seizure aggravation (43%), irritable (42%), and decreased appetite (28%). Serious ADEs were seizure aggravations leading to MCP withdrawal (28%), admissions due to seizure and drowsiness (14%), hepatitis (7%). The higher dose CBD starting group tended to have more seizure aggravation and drop out during titration (p= 0.086) but at 12th month the higher dose group had more seizure reduction rate than lower dose group with statistical significance (p=0.027)\nConclusion: CBD-enriched MCP had potential efficacy and could be continuously used more than 12 months in Thai PDREs. ADEs were very common but mostly tolerated. Low dose initiation, slowly titration and closely monitoring for serious ADEs during the first 3 months are suggested.", "th": "ภูมิหลัง: ประเทศไทยได้มีกฎหมายอนุญาตให้ใช้กัญชา ทางการแพทย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 และสามารถใช้ในรูปแบบ special assess scheme\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความ ปลอดภัยของยาสารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็ก ในประเทศไทย\nวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาในผู้ป่วยโรค ลมชักรักษายากในเด็ก ที่สถาบันประสาทวิทยาและสถาบันสุขภาพ เด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ที่ได้รับยาสารสกัดกัญชา ชนิดซีบีดีสูง (CBD:THC ≥20:1) ตั้งแต่มิถุนายน 2562 ถึงธันวาคม 2563\nผล: ผู้ป่วยโรคลมชักจำนวน 14 ราย ชาย 7ราย ค่ามัธยฐาน อายุที่เข้าร่วมวิจัย 9 ปี (พิสัย 3-27) จำนวนครั้งของอาการชัก 300 ครั้งต่อเดือน ได้รับยากันชักร่วมด้วยจำนวน 4 ชนิด (พิสัย 2-6) ค่ามัธยฐานขนาดสารซีบีดี และสารทีเอชซีทั้งหมด 5.6 และ 0.12 มก/กก/วัน หยุดยาทั้งหมด 5 ราย (ร้อยละ35) ส่วนใหญ่เนื่องจาก ชักมากขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก (ร้อยละ28) ค่ามัธยฐานระยะเวลา ที่ผู้ป่วยที่เหลือ 9รายได้รับยาต่อเนื่องเท่ากับ 18 เดือน อัตราการ ตอบสนองชักชนิดconvulsive และชักทุกชนิดอย่างน้อยร้อยละ 50 เท่ากับร้อยละ50 และ 43 ตามลำดับ ร้อยละความถี่ต่อเดือนของ ชักชนิด convulsive และชักทุกชนิดลดลงหลังการรักษา 12 เดือน เท่ากับร้อยละ57.5 และ 67ตามลำดับ พบผลข้างเคียงในผู้ป่วยทุก รายและร้อยละ 47 ของจำนวนครั้งการติดตามการรักษา ที่พบบ่อย ได้แก่ ง่วงนอน ชักมากขึ้น อารมณ์หงุดหงิดและเบื่ออาหาร ร้อยละ 64, 43, 42 และ 28 ตามลำดับ ผลข้างเคียงรุนแรงได้แก่ อาการ ชักมากขึ้นต้องหยุดยา 4ราย ต้องนอนโรงพยาบาล 2 ราย ภาวะ ตับอักเสบ 1 รายคิดเป็นร้อยละ28,14 และ7 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่ เริ่มยาซีบีดีขนาดสูงมีแนวโน้มชักเพิ่มขึ้นจนต้องหยุดยามากกว่า (p = 0.086) แต่ผู้ป่วยที่ได้ยาต่อเนื่องมีอัตราลดชักที่ 12 เดือน มากกว่ากลุ่มที่เริ่มยาขนาดต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.027)\nสรุป: ยาสารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงมีประสิทธิผลในการรักษาโรค ลมชักรักษายากในเด็กไทย และสามารถให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 12 เดือน พบผลข้างเคียงบ่อยมากส่วนใหญ่ไม่รุนแรง ควรเริ่มยาขนาด ต่ำเพิ่มขนาดยาอย่างช้าๆและเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่รุนแรงในช่วง 3 เดือนแรก" }
{ "en": "Background: Tooth shade selection is one of the critical steps in dental treatment. Smartphone cameras have been used for tooth shade selection, but the reliability and accuracy of these devices are uncertain.\nObjective: To evaluate the reliability and accuracy of smartphone cameras, which included Apple iPhone X and Samsung Galaxy S9 plus for human tooth shade selection.\nMaterials and methods: One of maxillary central incisors in 45 participants was captured with both smartphone cameras and color measured with spectrophotometer by using CIE Lab system. The data of L*, a*, b* was analyzed using one-way ANOVA with Tukey Post Hoc comparisons. In addition, ∆E * Lab value of each smartphone camera was calculated and compared with the reference (3.7). Kappa statistic was analyzed for the repeated image from each smartphone. Pearson correlation of L*, a*, b* and ∆E * Lab were also investigated.\nResults: Photos from both smartphones have high color reliability (Kappa> 0.9). However, the accuracy of the color from smartphone groups have different from spectrophotometer (∆E*Lab>3.7). The brightness of the image (L) significantly affects the accuracy of the color comparison.\nConclusion: Smartphone camera provided high reliability in tooth shade selection but low in accuracy. In clinical setting, shade guide is still recommended to be the reference in the photo for better shade selection and communication with dental laboratory.", "th": "ภูมิหลัง: การเทียบสีฟันเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างชิ้นงานทางทันตกรรมให้มีความเหมือนกับฟันธรรมชาติ โดยกล้องสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้มีการนำมาใช้ในการเทียบสีฟัน แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องของความถูกต้องและแม่นยำจากการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเทียบสีฟัน\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความถูกต้องและความแม่นยำของการเทียบสีฟัน จากภาพถ่ายที่ได้จากสมาร์ทโฟน สองชนิดได้แก่ แอปเปิล ไอโฟน สิบ (Apple iPhone X) และ ซัมซุง กาแล็คซี่ เอสเก้า พลัส (Samsung Galaxy S9 Plus)\nวัสดุและวิธีการ:  ทำการถ่ายภาพฟันหน้าตัดบน (maxillary central incisor) ซี่ใดซี่หนึ่งของอาสาสมัครผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 45 ราย ด้วยกล้องสมาร์ทโฟน 2 ชนิด แล้วนำมาเปรียบเทียบค่าสีในระบบซีไออี แอลเอบี (CIE Lab) กับค่าสีที่วัดโดยสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าสี L*, a*, b* ด้วยสถิติการจำแนกความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และ การจับคู่พหุคูณชนิดทูกี (Tukey Post Hoc comparisons) รวมทั้งเปรียบเทียบค่า ∆E*Lab ที่ระดับ 3.7 นำค่าสีที่ได้จากการถ่ายภาพซ้ำกันในแต่ละผู้เข้าร่วมวิจัยมาวิเคราะห์สถิติคัปปาเพื่อหาความแม่นยำของกล้องสมาร์ทโฟนแต่ละชนิด นอกจากนี้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson) ของค่าสีที่เปลี่ยนแปลงไปของค่า L*, a*, b* ของสมาร์ทโฟนแต่ละชนิด\nผลการศึกษา: ภาพถ่ายที่ได้จากสมาร์ทโฟนทั้งสองรุ่นมีความแม่นยำสูง (Kappa>0.9) ในขณะที่ความถูกต้องของสีพบว่ากลุ่มสมาร์ทโฟนมีความแตกต่างจากสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (∆E*Lab>3.7)  โดยค่าความสว่างของภาพ (L*) มีผลต่อความถูกต้องในการเทียบสีอย่างมีนัยสำคัญ\nบทสรุป: ภาพถ่ายที่ได้จากสมาร์ทโฟนมีความแม่นยำสูง แต่ความถูกต้องของสียังไม่เพียงพอต่อการเทียบสีฟัน  ดังนั้นในทางคลินิกจึงยังคงแนะนำให้ใช้ชุดเทียบสีฟันวางในตำแหน่งข้างเคียงฟันที่ต้องการเทียบสี ขณะที่ถ่ายภาพ เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงในการสื่อสารกับช่างทันตกรรม" }
{ "en": "Enamel hypoplasia is a defect of the teeth in which the enamel is deficient in quantity. The etiology of enamel hypoplasia may be the result of hereditary, systemic, or local factors that disturb during tooth development. The characteristic is seen clinically as tooth discoloration, pits, grooves, localized or generalized lack of surface enamel. Treatment for such defects can differ, depending on the severity of the defects. This case report presents the funtional rehabilitation of the patient diagnosed with enamel hypoplasia in the permanent first molars. The teeth were restored with the ceramic onlays by using monolithic zirconia material. The treatment plan enable the restoration and improvement of function, resulting in patient satisfaction.", "th": "ภาวะเคลือบฟันเจริญพร่องเป็นชื่อเรียกสำหรับอาการ ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับชั้นเคลือบฟันที่เกิดได้ทั้งฟันแท้และฟันน้ำนม สาเหตุของภาวะเคลือบฟันเจริญพร่องอาจเกิดได้จากทั้งสาเหตุทาง พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมซึ่งรบกวนการสร้างฟัน ลักษณะที่พบ คือชั้นเคลือบฟันบางกว่าฟันปกติ อาจมีบางส่วนสึกกร่อนไป ทำให้ ฟันมีสีและรูปร่างผิดไป อาจเป็นมากหรือน้อย พบในฟันบางซี่หรือ ทุกซี่ก็ได้ การบูรณะฟันภาวะเคลือบฟันเจริญพร่องขึ้นกับอาการ และระดับความรุนแรงของการสูญเสียเนื้อฟัน บทความนี้นำเสนอ รายงานผู้ป่วยที่พบลักษณะของภาวะเคลือบฟันเจริญพร่องบริเวณ ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง และได้รับการบูรณะด้วยการทำออนเลย์โดยใช้ วัสดุเซรามิกส์ชนิดเซอร์โคเนีย ซึ่งการบูรณะด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับ ฟันหลังที่มีการสูญเสียเนื้อฟันจำนวนมาก โดยสามารถตกแต่งรูปร่าง ฟันได้อย่างเหมาะสม และคืนความแข็งแรงให้กับตัวฟันเพื่อใช้ในการ บดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ" }
{ "en": "Background: In undergoing One Day Surgery (ODS), patients are required to be provided with anesthesia. Therefore, selection of an appropriate anesthesia practice and surgical procedure are essential.\nObjectives: To develop a care service model and to examine the effects of the developed model.\nMethods: This research and development study was conducted between December 2018 and September 2020. The study was divided into five steps. The first step, was to study and analyze the problems based on the Six Building Blocks, then the model was developed according to system theory in the second step. The third step involved a trial of the developed model and the fourth step was to evaluate and improve the model. Finally, the model was implemented, followed up, and evaluated. The participants consisted of 40 service providers and 284 One Day Surgery (ODS) patients. The instruments used to collect the data were interview, preoperative evaluation form, Intraoperative evaluation form, postoperative evaluation form, follow-up form within 24 hours after discharge and satisfaction survey form. The data were gathered from the interview, brainstorming and focus group. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics and qualitative data were analyzed by using content analysis.\nResults: The developed care service model was a modification of the anesthesia service in which Pre-Anesthesia Care Units (PACU) was established by anesthesiologists and nurse anesthetists as well as One Day Surgery (ODS) ward. Moreover, it was found that the ability to perform One Day Surgery (ODS) increased from 12 to 284 patients with anesthesia complications decreased to 25.70 percent. In addition, patient tracking system within 24 hours after discharge was added and the patients had a very high satisfaction towards the service.\nConclusion: The developed model can be able to control the patients’ condition, reduce complications and also allow the patients to be discharged safely.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการระงับความรู้สึก การคัดเลือกวิธีการทางวิสัญญีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือหัตถการการผ่าตัดจึงมีความสำคัญ\nวัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น\nวิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนกันยายน 2563  ดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้กรอบแนวคิด Six building blocks 2)  ออกแบบพัฒนารูปแบบ โดยใช้ทฤษฎีระบบ 3) นำรูปแบบไปทดลองใช้ 4) ปรับปรุงรูปแบบ  5) นำรูปแบบไปใช้จริง สรุปและติดตามประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการ จำนวน 40 ราย และผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ จำนวน 284 ราย เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกตามระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด หลังผ่าตัด แบบติดตามอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังจำหน่าย และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมองและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา  ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา\nผล: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการจัดบริการแบบ One Stop Service สามารถจัดตั้งคลินิกเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดโดยวิสัญญีแพทย์และพยาบาล และมีหอผู้ป่วยรองรับเฉพาะการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ สามารถผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเพิ่มขึ้นจาก 12 รายเป็น 284 ราย ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีลดลงเหลือร้อยละ 25.70 เพิ่มระบบติดตามผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังจำหน่ายกลับบ้าน และความพึงพอใจในการรับบริการทางวิสัญญี อยู่ในระดับดีมาก\nสรุป: รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สามารถควบคุมสภาวะของผู้ป่วย และลดภาวะแทรกช้อน ผู้ป่วยปลอดภัยกลับบ้านได้ในที่สุด" }
{ "en": "Background: Neurological institute of Thailand has a high frequency of cerebrospinal fluid (CSF flow) quantification through aqueduct of sylvius so we were performed the difference region of interest (ROI) measurement comparable to standard while doesn’t take a long time of post-processing.\nObjective: To evaluate compare the results of each ROI measurement and post-processing time to standard.\nMethod: The retrospective study of the 50 patients with and without suspected Normal Pressure Hydrocephalus (NPH) who had 2D Phase Contrast cine MR Imaging with MRI 3T since 2015-2017 from PACS in Radiology Department. The analysis of CSF flow measurement has different ROI measurement include ROI 1 was performed automatic measurement in a circular ROI, manual measurement for ROI 2 that allows to standard, 50%, 75%, 25% manual measurement of the data for the ROI 3, 4, 5 in order and copy contours for the ROI 6. The ANOVA test was used to compare the values obtained each ROI measurement with the SPSS statistical.\nResults: The values of the ROI 3, 4 and 6 were not statistically significant to the ROI 2 and the ROI 6 was used post-processing time less than other ROI measurement.\nConclusion: The ROI 6 was performed comparable precision to standard and shorter post processing time.", "th": "ภูมิหลัง: สถาบันประสาทวิทยามีการตรวจการวัดค่าปริมาณ การไหลของเหลวในสมอง (cerebrospinal fluid, CSF flow) ตรง ตำแหน่ง aqueduct of sylvius จำนวนมาก เพื่อการทำงานที่ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการออกแบบการวัด region of interest (ROI) เปรียบเทียบกับรูปแบบการวัด ROI ที่เป็นมาตรฐาน\nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการวัดค่า CSF flow ในสมอง ตรง ตำแหน่ง aqueduct of sylvius แต่ละรูปแบบการวัด ROI ว่ามี ความแม่นยำเทียบเคียงกับมาตรฐานและใช้เวลาไม่นาน\nวิธีการ: เป็นงานวิจัยเชิงทดลองข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่สงสัยและไม่ สงสัย normal pressure hydrocephalus (NPH) ที่มาตรวจ MRI 3 Tesla ด้วยเทคนิค 2D phase contrast cine MR imaging จำนวน 50 ราย ตั้งแต่ปี 2558-2560 จากระบบจัดเก็บข้อมูลภาพ ทางรังสี (PACS) ของกลุ่มงานประสาทรังสีวิทยา นำมาวัดค่า CSF flow ในรูปแบบการวัด ROI ที่แตกต่างกัน 6 รูปแบบได้แก่ ROI 1 วัด automatic เป็นรูปแบบ circle ทั้งหมด ROI 2 วัด manual เป็นรูปแบบ circle ทั้งหมด ถือเป็นรูปแบบการวัดที่ถูกต้องและเป็น มาตรฐาน ROI 3 วัด manual 50% ของข้อมูล ROI 4 วัด manual 75% ของข้อมูล ROI 5 วัด manual 25% ของข้อมูลและ ROI 6 วัด ให้มีขนาดและตำแหน่งเท่ากันทั้งหมด แล้วนำค่าต่างๆ ที่ได้จากการ วัดมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS วิเคราะห์สถิติ แบบ ANOVA จากนั้นนำผลการศึกษาเปรียบเทียบกับเวลาในการวัด ROI\nผล: พบว่าค่า CSF flow แต่ละรูปแบบการวัด ROI เปรียบเทียบ กับรูปแบบการวัด ROI 2 ซึ่งเป็นรูปแบบการวัดที่เป็นมาตรฐาน พบ ว่ารูปแบบการวัด ROI 3, 4 และ 6 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นสามารถใช้ได้ทั้ง 3 รูปแบบการวัด ROI และรูปแบบการวัด ROI 6 ใช้เวลาน้อยที่สุดในการ post-processing\nสรุป: รูปแบบ การวัด ROI 6 เป็นรูปแบบการวัด ROI ที่ให้ค่า CSF flow ที่ถูกต้อง แม่นยำ เทียบเคียงกับรูปแบบการวัดมาตรฐานและใช้เวลาไม่นาน" }
{ "en": "Background: Cannabis is classified as a Schedule 5 substance under the Narcotics Act B.E. 2522. Among with various modulatory effects of cannabinoids on body functions, two major cannabinoids are known to be used as medicines. They are a psychoactive delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) and non-psychoactive cannabidiol (CBD). Currently, THC and CBD are advised to be used for treatment of a variety of medical conditions. Such as cell growth inhibition, anti-inflammatory effects and tumor regression. Although, potential benefit can be found in the medical condition above mentioned. The use of cannabis in some disease states such as cancer remain to be clinically evaluated in both efficacy and safety aspects through systematic research before being generalized for routine use.\nObjective: The purpose of this study to investigate the In vitro effects of cannabis extracts on 10 types of human cancer cell line.\nMethods: Two cannabis extracts (high THC level and high CBD level) were kept in sterile bottles, in refrigerator, until further use when it was dissolved in DMSO to give a stock solution, filtered and stored at 4 °C. The small percentage of DMSO present in the wells (maximal 0.1%) was found not to affect the experiment. The anti-proliferative activities of cannabis extract on cancer cell lines was determined by MTT assay.\nResults: To evaluate the anti-proliferative activity of the cannabis extracts on 10 types of cancer cell line (lung cancer, breast cancer, colorectal cancer, gastric cancer, cervical cancer, ovarian cancer, liver cancer, pancreatic cancer, cholangiocarcinoma cancer, lymphoma cancer), the cells were treated with different concentrations of high THC level and high CBD level for 72h and cell viability was determined using MTT assay. The results showed that all of cancer cell lines viability significantly reduced in concentration and time dependent manner following treatment with the extract. The IC50 of the high THC level values ranging from 10.80 ±1.03 to 54.60±1.27 μg/mL, and exhibited very strong activity against RBE with IC50 values of 10.80±1.03 μg/mL. The IC50 of the high CBD level values ranging from 6.00±1.16 to 26.00±1.37 μg/mL, and exhibited very strong activity against NCI-N87 with IC50 values of 6.00±1.16 μg/mL.\nConclusions: The results suggest that high THC level and high CBD level is a potent human cancer cells proliferation. Further investigations are needed to elucidate the mechanism of anticancer actions.", "th": "ภูมิหลัง: กัญชาถูกจัดให้อยู่ในรายการยาเสพติด ประเภท ที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ต่อมามีการ ศึกษาพบว่าสารสำคัญกลุ่มแคนนาบินอยด์มีฤทธิ์ต่อร่างกายหลาย ประการ โดยสารสำคัญที่อยู่ในความสนใจ คือ ทีเอชซี (delta-9- tetrahydrocannabinol; THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท และซีบีดี (cannabidiol; CBD) ที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปัจจุบันมีรายงาน วิจัยว่าสารทั้งสองชนิดสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและอาการ แสดงได้หลายชนิด เช่น ฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์ ฤทธิ์ต้าน การอักเสบ และฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง แม้ว่าข้อมูลนี้ สามารถชี้ศักยภาพของกัญชาที่จะใช้เป็นยา แต่กัญชามีทั้งประโยชน์ และโทษจึงต้องมีการวิจัยเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้มีการใช้รักษาโรคอย่าง ถูกต้องและปลอดภัยโดยเฉพาะโรคมะเร็ง\nวัตถุประสงค์: การศึกษา นี้จึงมุ่งทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดกัญชาที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของ เซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง\nวิธีการ: สารสกัดกัญชาที่ใช้ในการ ทดสอบ ได้แก่ สาร THC และสาร CBD ในปริมาณสูง จะเก็บไว้ ในขวดสีชาที่มีฝาปิดสนิทซึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ก่อนเริ่มการทดสอบให้ นำสารสกัดกัญชามาละลายด้วย dimethyl sulfoxide (DMSO) ให้ได้ความเข้มข้นที่ต้องการ จากนั้นกรองและเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 4 ๐C เพื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งในหลอด ทดลอง โดยทดสอบในเซลล์ไลน์มะเร็งทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก่ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งปากมดลูก เซลล์ มะเร็งรังไข่ เซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็ง ตับอ่อน และเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี โดยการทดสอบการวัดปริมาณ dehydrogenase enzyme ในเซลล์มะเร็งที่มีชีวิตด้วยเทคนิค MTT assay\nผล: จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดกัญชาที่มีสาร THC และ สาร CBD ในปริมาณสูง พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้ทั้ง 10 ชนิด ซึ่งประสิทธิภาพในการ ยับยั้งเซลล์มะเร็งเป็นไปตามระยะเวลาและระดับความเข้มข้นของ สารสกัดที่สูงขึ้น โดยสารสกัดกัญชาที่มีสาร THC ในปริมาณสูง มีค่า IC50 ± SD ตั้งแต่ 10.80 ± 1.03 ถึง 54.60 ± 1.27 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีสายพันธุ์ RBE ดีได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบ ว่าโดยสารสกัดกัญชาที่มีสาร CBD ในปริมาณสูง มีค่า IC50 ± SD ตั้งแต่ 6.00 ± 1.16 ถึง 26.00 ± 1.37 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร สายพันธุ์ NCI-N87 ได้ดีที่สุด\nสรุป: จากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูล เบื้องต้นที่ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของสารสกัดกัญชาที่ใช้ในการทดสอบ มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญที่สามารถป้องกัน รักษา หรือ กำจัดเซลล์มะเร็ง และจากผลการทดลองดังกล่าวยังจำเป็นที่จะต้อง ศึกษากลไกโดยละเอียด และการศึกษาทางคลินิกเพื่อยืนยันต่อไป" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Background: Because of the Royal dental implant was the first Thai dental implant project that was developed and produced by Thai people.\nObjective: This study was to evaluate the survival rate of Thai dental implants (Fun Yim) retained overdenture of the Royal dental implant project in elderly patients which had been installed and restored at Neurological Institute of Thailand since 2009 to 2012 (8-11 years results).\nMethod: The data of 468 functioning dental implants from 234 subjects were collected. Clinical parameters were recorded including, bleeding index, gingival index, probing pocket depth, mobility and bone loss from x-ray flim.\nResult: They showed the median of bleeding index was 0.00 and Interquartile range (IQR) was 0.00-1.00, the median of gingival index was 0.00 and Interquartile range (IQR) was 0.00-1.00, the median of probing pocket depth was1.00 and Interquartile range (IQR) was 1.00-2.00, mobility was 2.8% , no bone loss was 53%, level boneloss ≤ 25% was 36.8%, boneloss 25%-50% was 8.5% and boneloss ≥ 50% was 1.7%. The survival rate of implant was 94.6%.\nConclusion: The survival rate of Thai dental implants (Fun Yim) retained overdenture of the Royal dental implant project in elderly patients at Neurological Institute of Thailand was 94.6%.", "th": "ภูมิหลัง: เนื่องจากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นโครงการ รากฟันเทียมไทยรากแรกที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นมาโดยคนไทย\nวัตถุประสงค์: การศึกษานี้ต้องการประเมินอัตราการอยู่รอดของ รากฟันเทียมไทย (ฟันยิ้ม) ที่รองรับฟันเทียมทั้งปาก ของโครงการ รากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯในผู้ป่วยสูงอายุที่สถาบันประสาท วิทยาที่ฝังและบูรณะตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2555 รวมระยะการฝัง รากฟันเทียม 8-11 ปี\nวิธีการ: เก็บรวบรวมข้อมูลของรากฟันเทียม จำนวน 468 รากจากผู้ป่วยจำนวน 234 ราย ตัวแปรทางคลินิกที่ บันทึกได้แก่ ดัชนีการมีเลือดออก ดัชนีสภาพเหงือก ความลึกร่อง ปริทันต์ การโยกของรากฟันเทียม และการละลายตัวของกระดูก รอบรากฟันเทียมจากภาพถ่ายรังสี\nผล: แสดงค่าดัชนีการมีเลือด ออกเป็นค่ามัธยฐาน 0.00 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.00-1.00 ดัชนี สภาพเหงือกเป็นค่ามัธยฐาน 0.00 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.00- 1.00 ความลึกร่องปริทันต์เป็นค่ามัธยฐาน 1.00 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ 1.00-2.00 รากฟันเทียมโยกพบร้อยละ 2.8 ไม่พบการ ละลายตัวของกระดูกร้อยละ 53 พบการละลายตัวของกระดูก น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 36.8 พบการละลายตัว ของกระดูกร้อยละ 25-50 เป็นร้อยละ 8.5 และพบการละลายตัว ของกระดูกมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 1.7 อัตรา การอยู่รอดของรากฟันเทียมเป็นร้อยละ 94.6\nสรุป: อัตราการอยู่ รอดของรากฟันเทียมไทย (ฟันยิ้ม) ที่รองรับฟันเทียมทั้งปาก ของ โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯในผู้ป่วยสูงอายุที่สถาบัน ประสาทวิทยาเป็นร้อยละ 94.6" }
{ "en": "Background: Management of neonatal patients with inserted central catheters can lead to complications, especially central line associated bloodstream infection (CLABSI).\nObjectives: The purpose of this research was to study outcomes of the CLABSI rate after using the revised guideline for CLABSI prevention and to evaluate the nursing processes along with the revised guideline at Neonatal Surgical Intensive Care Unit (NSICU).\nMethods: The first step was to revise the traditional guideline for prevention of CLABSI. Implementation of the new revised guideline was begun since 1st April 2019 including coaching for the nurses in NSICU and coordination with pediatric surgeons, anesthesiologists and nurses in the operative room. The second step was to collect data from 2 volunteer groups. The first group was neonatal patients, age 1-90 days, who were managed in NSICU with placement of central venous catheter (CVC) line. The patients were divided into 2 subgroups : 50 patients treated during the period of 1st April 2018 to 31st March 2019 and using the traditional guideline (subgroup 1 or control group) and 50 patients treated 1st April 2019 and 31st March 2020 and using the revised guideline (subgroup 2 or experiment group). The second volunteer group was 20 nurses who worked at the NSICU along with the revised guideline requirements for management of 50 neonatal patients.\nResults: Demographic data of the patients in both groups were similar, except gender and birth weight. The ratios of male to female were 23:27 cases in control group and 35:15 cases in the experiment group. The ratios of low birth weight to normal birth weight were 60%: 40% in the control group and 32% : 68% in the experiment group (p = .034) Rate of CLABSI of the control group was higher than this rate of the experiment group with statistical significance (6.81 : 1.69 episodes per 1,000 indwelling CVC days : p=.025) The CLABSI did not occur in all of the patients with placement of the PICC line of both groups. Neonatal patients with intraabdominal operations and placement of central venous catheter tended to develop CLABSI, especially necrotizing enterocolitis and gastrointestinal obstruction. Risk factors for CLABSI included placement of catheter near the central vein, prolonged indwelling catheter days and patients with the problems of gastrointestinal operations. Evaluation of the NSICU nurses revealed the accuracy of all nursing processes along with requirement of the revised guideline for CLABSI prevention over than 90% (range 92% - 100%).\nConclusion: Using the revised guideline for prevention of CLABSI could reduce the CLABSI occurrence approximately 4 folds in comparison with using the traditional guideline. The guideline influenced to increase the accuracy of all nursing processes of the NSICU nursed over than 90% of the guideline requirements.", "th": "ภูมิหลัง: การดูแลรักษาผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ต้องใส่สาย สวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนโดย เฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในกระแสเลือดจากสายสวนหลอดเลือดดำ ส่วนกลาง (central line associated bloodstream infection; CLABSI)\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของอัตราการติดเชื้อใน กระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ภายหลัง การใช้แนวทางปฏิบัติที่ทบทวนปรับปรุงแล้วและประเมินผลการ ปฏิบัติตามแนวทางใหม่ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก ศัลยกรรมทารกแรกเกิด (Neonatal Surgical Intensive Care Unit; NSICU)\nวิธีการ: ขั้นตอนที่หนึ่งคือการปรับปรุงแนวทาง การปฏิบัติการป้องกัน CLABSI เดิม และประกาศใช้งานตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 รวมทั้งมีการให้ความรู้และทบทวนแนวทาง ปฏิบัติแก่พยาบาลวิชาชีพ การประสานขอความร่วมมือกับกุมาร ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด ขั้นตอนที่สอง ของการศึกษาคือการเก็บข้อมูลของอาสาสมัคร 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง คือผู้ป่วยทารกแรกเกิด อายุตั้งแต่ 1-90 วันที่รักษาใน NSICU และ รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ผู้ป่วยได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย : 50 ราย ได้รับการรักษาในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ถึง 31 มีนาคม 2562 และใช้แนวทางการป้องกันเดิม (กลุ่ม ย่อยที่ 1 หรือกลุ่มควบคุม) ผู้ป่วยอีก 50 รายได้รับการรักษาตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563 และใช้แนวทางการป้องกัน ที่ปรับปรุงใหม่ (กลุ่มย่อยที่ 2 หรือกลุ่มทดลอง) อาสาสมัครกลุ่ม ที่ 2 คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน NSICU 20 ราย และ ปฏิบัติงานตามแนวทางการป้องกัน CLABSI ที่ปรับปรุงใหม่ประเมิน การดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิด 50 คน ตามข้อกำหนดของแนวทาง ปฏิบัติใหม่\nผล: ข้อมูลทั่วไปผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่จะคล้ายกัน ยกเว้นเรื่องเพศ และน้ำหนักตัวแรกเกิด อัตราส่วนของเพศชายต่อ เพศหญิงเท่ากับ 23: 27 รายในกลุ่มควบคุมและ 35: 15 รายในกลุ่ม ทดลอง อัตราส่วนของน้ำหนักตัวแรกเกดิ น้อยกว่าปกติตอ่ น้ำหนักตัว แรกเกิดปกติเท่ากับร้อยละ 60 : ร้อยละ 40 ในกลุ่มควบคุม และ ร้อยละ 32 : ร้อยละ 68 ในกลุ่มทดลอง (p = .034) อัตราของการ เกิด CLABSI ในกลุ่มควบคุมสูงกว่าในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (6.81 : 1.69 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่สายสวน; p = .025) กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วน กลางนานกว่ากลุ่มทดลอง (26.42 ± 2.79 vs 23.68 ± 2.79; p = .000) การใส่ PICC line ไม่มีการเกิด CLABSI เหมือนกันทั้งสองกลุ่ม โรคที่มีการเกิด CLABSI มักจะเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดในช่องท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไส้อักเสบรุนแรงจนลำไส้เน่าและกระเพาะ อาหารและลำไส้อุดตัน ปัจจัยเสี่ยงจะทำให้เกิด CLABSI ได้มากคือ การใส่สายสวนโดยตรงตำแหน่งใกล้หลอดเลือดดำส่วนกลาง การใส่ สายสวนคาไว้เป็นเวลานานและโรคของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับการผ่าตัด กระเพาะอาหารและลำไส้ ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาล วิชาชีพตามข้อกำหนดของแนวทางปฏิบัติถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 ในทุกด้าน (พิสัยร้อยละ 92-100)\nสรุป: ผลของการใช้แนวทาง การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวน หลอดเลือดดำส่วนกลางที่ทบทวนและปรับปรุงใหม่ สามารถช่วยลด อัตราการติดเชื้อจากสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางลงได้ประมาณ 4 เท่าเปรียบเทียบกับการใช้แนวทางปฏิบัติเดิม รวมทั้งผลการ ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมทารกแรก เกิดมีความถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 ในทุกกิจกรรมตามข้อกำหนด ของแนวทางปฏิบัติใหม่" }
{ "en": "Background: Tuberculosis (TB) was a global public health emergency and required multiple drugs treatment for many months.\nObjective: The study determined factors associated with extended duration of treatment in new smear positive pulmonary tuberculosis patients.\nMethods: A retrospective cohort study was conducted in Bandung Crown Prince Hospital, Udonthani Province. Medical records of new TB patients with smear positive from 1st October 2016 – 30th September 2019 had been reviewed from the date of diagnosis and during treatment until patients cured or completed. Patient characteristics, co-disease, adherence and adverse drug reactions were analyzed for frequency, percentage, and standard deviation. Chi-square and Binary logistic regression analyzed factors affecting duration of treatment.\nResults: This study included 243 tuberculosis patients. Patients with extended treatment duration were 37.45%, the average duration of treatment was 7.23 ±1.93 months. Individual factors found to have influence duration of treatment were body weight, sputum smear, patient types and adverse drug reaction reports in statistically significant manner (p<0.05). Factors affecting duration of treatment were adverse drug reactions (adjusted OR 2.5, 95% CI = 1.41, 8.65; p-value <0.001).\nConclusion: Adverse drug reaction is significantly associated with the duration of treatment. Healthcare facilities should have close monitoring to reduce the rate of extension of the treatment period.", "th": "ภูมิหลัง: วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาของ ระบบสาธารณสุขไทย และต้องใช้ยาในการรักษาร่วมกันหลายชนิด ระยะเวลาในการรักษายาวนานกว่าโรคติดเชื้ออื่นๆ\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการขยายระยะเวลาการรักษาในผู้ป่วย วัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่\nวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบย้อนหลัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัด อุดรธานี ในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ ขึ้นทะเบียนใน ช่วง 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2562 โดยทบทวนเวชระเบียน ตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย ระหว่างการรักษา จนกระทั่งผู้ป่วยรักษาครบ หรือรักษาหายขาด โดยศึกษาข้อมูลทั่วไป โรคร่วม ความร่วมมือ ในการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายระยะเวลาของการรักษาด้วยสถิติ chi-square และ binary logistic Regression\nผล: จากจำนวน ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนในช่วงที่ศึกษา 243 ราย พบอัตราผู้ป่วยขยายการรักษาร้อยละ 37.45 ระยะเวลา เฉลี่ยในการรักษาของกลุ่มขยายการรักษาคือ 7.23±1.93 เดือน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขยายการรักษาเมื่อแยกวิเคราะห์แต่ละ ปัจจัย คือ น้ำหนักตัวก่อนเริ่มการรักษา ผลเสมหะก่อนเริ่มการรักษา ประเภทของผู้ป่วย และกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขยายระยะเวลาการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค ปอดเมื่อรวมปัจจัย คือ การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adjusted OR 2.5, 95% CI = 1.41, 8.65; p-value <0.001)\nสรุป: การขยาย ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับอาการไม่พึงประสงค์จากจากยา ซึ่งสถาน พยาบาลควรมีการกำกับ ติดตามการอาการไม่พึงประสงค์จากยา อย่างใกล้ชิด เพื่อลดอัตราการขยายระยะเวลาการรักษา" }
{ "en": "Background: There is insufficient evidence for medical cannabis to support appropriate use in health system.\nObjectives: This study evaluated the effects and safety of cannabis sublingual oil THC 1.7% w/v formula in patients with end stage cancers.\nMethod: Retrospective study from medical records of 103 patients who attended medical cannabis clinic and had at least one time of follow up.\nResults: According to 6 times monthly check-ups, the results showed that cannabis sublingual oil THC 1.7% w/v formula could help relieving pain, anorexia, insomnia, and anxiety significantly. Quality of life of these patients tended to increase especially last three months. The median of utility score of the EQ-5D-5L questionnaire before start cannabis sublingual oil THC 1.7% w/v was 0.767 and increased to 0.928 on the sixth month after. The incidence of adverse events was 30.10% which majority of events were manageable. However, only 11 patients had completed the 6-month follow-up, accounting for 77.3% dropout rate.\nConclusions: Cannabis sublingual oil THC 1.7% w/v formula could improve quality of life and be well tolerated in patients with end stage cancers. However, it needs further studies in the large sample.", "th": "ภูมิหลัง: ยากัญชายังมีข้อมูลประสิทธิผลและความปลอดภัย ไม่เพียงพอที่สนับสนุนให้เกิดการใช้อย่างเหมาะสมในระบบสุขภาพ\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลและความปลอดภัยของยาน้ำมันกัญชา หยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย\nวิธีการ: การ ศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ที่มารับบริการ ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมาติดตามผลการรักษาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 103 ราย\nผล: ในการติดตามผู้ป่วย 6 ครั้ง โดยการ ติดตามอาการแต่ละครั้ง ห่างกันประมาณ 1 เดือน ยาน้ำมันกัญชา หยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% สามารถบรรเทาอาการปวด เบื่อ อาหาร นอนไม่หลับ วิตกกังวล ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่การ ติดตามผลครั้งที่ 1 จนถึงการติดตามผลครั้งสุดท้าย และมีแนวโน้ม เพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโดยมีนัยสำคัญในสามเดือนสุดท้าย โดย ค่ามัธยฐานของคะแนนอรรถประโยชน์ของแบบสอบถาม EQ-5D-5L แรกรับเท่ากับ 0.767 เพิ่มเป็น 0.928 ในการติดตามครั้งที่ 6 และ มีอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ร้อยละ 30.10 ซึ่งจัดการได้เป็น ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยเพียง 11 รายที่มาติดตามครบจนถึง ครั้งที่ 6 คิดเป็นอัตราการสูญหายจากการติดตาม (dropout rate) 77.3%\nสรุป: ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% มีผลช่วย ให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและปลอดภัย แต่ ยังจำเป็นต้องศึกษาในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น" }
{ "en": "Background: Breast cancer is currently the most common cancer of woman in worldwide and also in Thailand. In the past, radical axillary surgery had been an integral part of breast cancer treatment to staging and provided locoregional control. During the past decade, surgical paradigm changed from standard axillary lymph node dissection for early breast cancer patients to sentinel lymph node biopsy (SLNB) due to increasing evidence indicated that was safe and acceptably accurate method for determining axillary node staging in early-stage breast cancer patients without clinically axilla lymph node involvement. Sentinel lymph node was identified by lymphatic mapping. There were 3 techniques of lymphatic mapping; blue dye alone, radioisotope alone, or a combination of blue dye and radioisotope. In this study, we used blue dye alone for lymphatic mapping due to simplicity and low cost.\nObjective: The purpose of this study to report an identification rate of sentinel lymph node using isosulfan blue dye alone in breast cancer patients at Lopburi Cancer Hospital and to find out factors that might affect the rate of sentinel lymph node identification.\nMethods: This study was retrospective observational study. Patients were enrolled between 1st August 2017 and 30th April 2020. Eligible criteria included T1 or T2 invasive breast cancer and all T size of ductal carcinoma in situ who underwent mastectomy, with all clinically negative axillary lymph nodes. All patients performed sentinel lymph node biopsy by using 1% isosulfan blue dye alone for lymphatic mapping at Lopburi Cancer Hospital.\nResults: A total of 74 female breast cancer patients representing 75 cases (1 bilateral breast cancer case) underwent SLNB using isosulfan blue dye alone. A sentinel node was identified in 71 of 75 cases (94.67%).\nConclusion: The identification rate of sentinel lymph node biopsy using isosulfan blue dye alone in early breast cancer at Lopburi Cancer Hospital are acceptable and feasible.", "th": "ภูมิหลัง: มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบอันดับ 1 ในสตรีไทย ในอดีตการตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมมาต่อมน้ำเหลือง ที่รักแร้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพยากรณ์โรค การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ในอดีตจำเป็นต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองออกจำนวนมาก ใน ปัจจุบันมะเร็งเต้านมมีวิธีการดูแลรักษาที่ก้าวหน้าและได้รับการศึกษาพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอด การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จึงมีทาง เลือกในการเลือกวิธีการผ่าตัดเพิ่มขึ้น โดยการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล ถือเป็นการผ่าตัดมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยต่อมน้ำเหลือง ที่รักแร้ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกที่ไม่มีลักษณะอาการทางคลินิกที่สงสัยว่ามีการแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ ซึ่งมี วิธีการทำ lymphatic mapping 2 วิธี คือ dye, radioisotope หรือใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ในที่นี้ ผู้วิจัยใช้ dye เป็น lymphatic mapping เทคนิคเดียว เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถจัดหาสารที่ใช้ฉีดได้ ไม่ต้องใช้เครื่องมือตรวจพิเศษและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า\nวัตถุประสงค์: เพื่อประเมิน อัตราความสำเร็จในการตรวจพบต่อมน้ำเหลือง เซนทิเนลของการทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยการใช้สี isosulfan blue dye ในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ อัตราความสำเร็จในการตรวจพบต่อมน้ำเหลือง เซนทิเนล\nวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ ต้น โดยใช้เทคนิคการฉีดสี Isosulfan blue dye ของโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 75 ราย โดยเปรียบข้อมูล 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ตรวจพบต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลและกลุ่มที่ตรวจไม่พบต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล\nผล: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวนทั้งหมด 74 ราย เข้ารับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลทั้งหมด 75 ราย (1รายเป็นมะเร็งเต้านม 2 ข้าง) โดยใช้ Isosulfan blue dye เพียงอย่างเดียวในการทำ lymphatic mapping พบว่าอัตราการตรวจพบต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเป็น ร้อยละ 94.67 (71/75)\nสรุป: การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้น โดยใช้เทคนิคการฉีดสี Isosulfan blue dye เพียงอย่างเดียวในการทำ lymphatic mapping ของโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีพบอัตราความสำเร็จในการตรวจพบต่อมน้ำเหลือง เซนทิเนลที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานสมาคมศัลยแพทย์เต้านมของอเมริกาและสามารถทำได้" }
{ "en": "Background: Diabetes problems continue to rise steadily. It is an important public health problem that needs to be accelerated in order to reduce future incidence of diabetes. Controlling diabetes preventative is best to lifestyle modifications, especially for diabetic risk groups. Prevention is the most important factor supporting the risk group. Therefore, researchers have developed effects of self-efficacy enhancement program to food consumption behavior modification among risk groups of diabetes mellitus.\nObjective: Aimed to study the effects of self-efficacy enhancement program to food consumption behavior modification among risk groups of diabetes mellitus.\nMethod: The 70 samples were divided into 2 groups; an experimental group of 35 samples and a comparison group of 35 samples. The effects were evaluated before and after trial. The experimental group received the program created by applying self-efficacy theory. Data were collected using questionnaires. Statistics used were descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation and inferential statistic as Paired sample t-test and Independent t-test at a statistical significance level of 0.05.\nResult: After trial, the experimental group had a higher average score than before experiment in self-efficacy= 7.14, outcome expectation= 6.66, and food consumption behavior= 5.34, significantly (p<0.001), including blood sugar level decreased 11 mg/dl. (p<0.05).\nConclusion: Effects of self-efficacy enhancement program to food consumption behavior modification among risk groups of diabetes can modify dietary habits and reduces blood sugar levels in diabetes risk groups. The results suggested that the program could be applied to diabetes risk groups in other areas", "th": "ภูมิหลัง: ปัญหาโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไขเพื่อลด อุบัติการณ์โรคเบาหวานที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต การควบคุมป้องกัน โรคเบาหวานที่ดีที่สุด คือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเฉพาะกลุ่ม เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น การให้ความสำคัญในการ ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้วิจัยจึงจัดทำโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองเพื่อ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถ ของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน\nวิธีการ: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คนวัดผลก่อนการทดลอง และ หลังการทดลอง โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมที่สร้างขึ้นโดย ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง เก็บ รวมรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ คะแนนด้วยสถิติ paired sample t-test และ independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05\nผล: ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองดังนี้ การ รับรู้ความสามารถของตนเอง เพิ่มขึ้น 7.14 ความคาดหวังในผลลัพธ์ 6.66 และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 5.34 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p< 0.001) รวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 11 มก./ดล. (p<0.05)\nสรุป: โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองเพื่อ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและช่วยลดระดับ น้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้ โดยมีข้อเสนอแนะให้นำ โปรแกรมไปปรับใช้กับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่อื่น" }
{ "en": "Background: Thai teenagers like to boil kratom leaves as a base for a cocktail pattern including cough syrup, cola and other substance. These kratom decoction can produce addictive effect in addition to kratom leaves and also cause harms from other substances in the decoction.\nObjective: This research aimed to identify the types of drugs or substances found in kratom decoction and kratom dependent patients’ urine.\nMethod: The samples were 69 kratom addicts who met the DSM-IV-TR and they are treated at Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment (PMNIDAT), Thanyarak Songkhla Hospital, and Thanyarak Pattani Hospital. Age of samples were 18 years and older and they had willing to participate in the research. The data were collected by kratom use questionnaire which consisting of demographic data , drug use information and urine test record form. The validity kratom use questionnaire, each item has the Index of Item-Objective Congruence between 0.67-1.00. The data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation.\nResult: Most kratom dependent patients put substances other than kratom leaves in kratom decoction. They mixed cola and cough syrup in kratom decoction. The top 5 substances that found in the kratom dependent patients’ urine were nicotine, mitragynine, caffeine, methamphetamine, and diphenhydramine ranging 86.95, 85.51, 62.32, 56.52 and 42.03 percent respectively.\nConclusion: The substances that found in the urine were either substances that are mixed or use with kratom and contamination from food and other. Some substances may be able to cause more danger to the health of the Kratom addicts", "th": "ภูมิหลัง: วัยรุ่นไทยมีการนำใบกระท่อมมาต้มเพื่อทำเป็น ยาพื้นไว้ผสมยาแก้ไอ โคล่าและสารอื่นๆ ลงไปรวมกันเป็นลักษณะ ของค็อกเทล น้ำต้มกระท่อมสามารถเสพติดได้เช่นเดียวกับการเสพ ใบกระท่อม สารอื่นๆ ที่เติมลงไปยังสามารถทำร้ายสุขภาพได้ด้วย\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาชนิดของยาหรือสารชนิดต่างๆ ที่นำมาผสม ในน้ำต้มกระท่อมและสารที่ตรวจพบในปัสสาวะของผู้ป่วยเสพติด กระท่อม\nวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วย เสพติดกระท่อม จำนวน 69 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ DSMIV- TR ว่าเสพติดกระท่อมและเข้ารับการบำบัดในสถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชนนี โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลาและปัตตานี อายุ 18 ปี ขึ้นไป และยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการเสพกระท่อมประกอบด้วย ข้อมูลประชากรศาสตร์ ข้อมูลการเสพยาเสพติด และแบบบันทึก สารที่ตรวจพบในปัสสาวะ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของ แบบสอบถามการเสพกระท่อม ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของ แต่ละข้ออยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\nผล: ผู้ป่วยเสพติดกระท่อม ส่วนใหญ่จะเสพน้ำต้มกระท่อม ยังมีสารอื่นๆ ผสม ได้แก่ โคล่าและ ยาแก้ไอ สารที่ตรวจพบในปัสสาวะเรียงจากมากไปน้อย 5 ลำดับ แรก ได้แก่ นิโคติน ไมทราไจนีน คาเฟอีน เมทแอมเฟตามีน และ ไดเฟนไฮดรามีน ร้อยละ 86.95, 85.51, 62.32, 56.52, และ 42.03 ตามลำดับ\nสรุป: สารที่พบในปัสสาวะมีทั้งสารที่เกิดจากการผสมใน น้ำต้มกระท่อมหรือการเสพร่วมกับการเสพกระท่อม และสารที่ได้รับ จากการปนเปื้อนในอาหารและอื่นๆ สารอื่นๆ ที่ตรวจพบอาจจะส่ง ผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพมากยิ่งขึ้น" }
{ "en": "Background: The Milan System for Reporting Salivary Gland Cytopathology (MSRSGC) is a reporting system for Fine-needle aspiration cytology (FNAC) to diagnose and manage salivary gland tumors. MSRSGC is a six-tier classification that provides a standardized terminology and ROM for each category, thus avoiding ambiguity in FNAC interpretation.\nObjective: The present study was conducted to evaluate the risk of malignancy by applying the Milan system to diagnose salivary gland lesions in the institute.\nMethod: The study was a retrospective study for risk of malignancy with cytohistological correlation by applying Milan System in the department of pathology at Rajavithi hospital for five years. The salivary gland FNAC cases were reviewed and divided into six categories per the proposed Milan system for reporting salivary gland cytopathology. The cases with available histopathology were further consolidated according to the proposed Milan system, and the risk of malignancy were calculated.\nResults: The number of cases in each category was Non- diagnostic 26.4%, Non-neoplastic 20.6%, AUS 6.5%, Benign neoplasm 34.7%, salivary lesions of uncertain malignant potential (SUMP) 14.1%, Suspicious for malignancy 11.9%, and malignant neoplasm 11.9%. The risk of malignancy for each category was 15.8% (Non- neoplastic), 33.3% (AUS), 12.5% (Benign neoplasm), 53.8% (SUMP), 90.9% (Suspicious for malignancy), and 90.9% (Malignant neoplasm).\nConclusion: MSRSGC is a useful system for risk assessment. It is an effective protocol to differentiate benign from malignant tumors, especially for categories V and VI. Our findings also suggest that in addition to the surgical follow-up, the inclusion of the clinical and radiological follow-up may be a better strategy for the calculation of risk of malignancy, especially for categories IVB (SUMP).", "th": "ภูมิหลัง: ระบบมิลาน (Milan System for Reporting Salivary Gland Cytopathology (MSRSGC)) เป็นการวินิจฉัย ทางเซลล์วิทยาซึ่งเริ่มนำมาปรับใช้ในปี 2018 โดยแบ่งพยาธิสภาพ ในต่อมน้ำลายเป็นทั้งหมด 6 กลุ่ม มีนิยามข้อกำหนดหลักการในการ วินิจฉัยในแต่ละกลุ่ม ระดับความเสี่ยงการเป็นมะเร็งจะเพิ่มขึ้นตาม ลำดับจากกลุ่ม I ถึงกลุ่ม VI อีกทั้งระบบมิลานยังกำหนดแนวทางการ ปฏิบัติลำดับถัดไปในแต่ละกลุ่มของการวินิจฉัย\nวัตถุประสงค์: ศึกษา ผลการอ่านเซลล์วิทยาจากระบบมิลานและความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง แต่ละกลุ่มจากตัวอย่างที่โรงพยาบาลราชวิถี\nวิธีการ: งานวิจัยนี้ได้ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในตัวอย่างที่มีพยาธิสภาพในต่อม น้ำลายที่มีผลการเจาะตรวจส่งทางเซลล์วิทยา (FNA) อ้างอิงตามการ แบ่งหมวดหมู่ตามระบบมิลานร่วมกับการตัดพิสูจน์ชิ้นเนื้อภายใน กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2562\nผล: จากตัวอย่างที่รวบรวมได้ทั้งหมด ที่มีผลวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาร่วมกับผลการตัดวินิจฉัยชิ้นเนื้อจำนวน 125 ราย พบ Non- diagnostic 33 ราย (26.4%) Non- neoplastic 19 ราย (15.2%) AUS 6 ราย (4.8%) Benign neoplasm 32 ราย (25.6%) SUMP 13 ราย (10.4%) Suspicious for malignancy และ Malignancy พบเท่ากันคือ 11 ราย (8.8%) พบการเป็นมะเร็ง Non- diagnostic 33.3% (95%CI=17.2, 49.3) Non- Neoplastic 15.8% , Atypia of undetermined significance (AUS) 33.3%, Benign neoplasm 12.5%, Salivary neoplasm of uncertain malignant potential (SUMP) 53.8% (95%CI=26.7, 80.9) Suspicious for malignancy และ Malignant neoplasm พบเป็น อัตราส่วนที่เท่ากันคือ 90.9% (95%CI=73.9, 100)\nสรุป: MSRSGC เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแยกเนื้องอกที่เป็นมะเร็งออก จากเนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็งโดยเฉพาะ categories V (suspicious for malignancy) และ categories VI (malignant neoplasm) จากข้อมูลของผู้วิจัยที่พบอัตราการเป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็งใน categories IVB (SUMP) ใกล้เคียงกัน จึงแนะนำให้มีการพิจารณา ร่วมกับอาการและภาพถ่ายทางรังสีหรือพิจารณาผ่าตัดเป็นรายๆไป" }
{ "en": "Endotracheal metastasis from hepatocellular carcinoma are very rare. A 49-years-old man was admitted to the hospital with a 1-month history of cough, blood streak sputum and swelling of upper part of body. The patient had no underlying disease. Radiological findings were huge mediastinal lymphadenopathy at lower paratrachea with direct invasion to endotracheal and complete compress superior vena cava (SVC). Bronchoscopic with endotracheal lesion biopsy was done and the tissue pathology positive staining for hepatocyte paraffin 1 (Specific immunohistochemistry for HCC). Final diagnosis was advanced hepatocellular carcinomas with mediastinal lymph node and endotracheal metastasis and SVC obstruction. The patient received immediated radiation for life threatening conditions and sorafenib for specific treatment in advanced stage HCC. He died at 8 months after received sorafenib.", "th": "ผู้ป่วยชายไทยอายุ 49 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญคือไอมีเสมหะปนเลือด หน้าและลำตัวสวนบนบวมมา 1 เดือน แข็งแรงดี ไม่มีประวัติโรคประจำตัวมาก่อนหน้านี้ ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกพบว่ามีต่อมน้ำเหลืองข้างหลอดลมโตและมีการลุกลาม เข้าไปในหลอดลมใหญ่และมีการกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ซุพีเรียเวนาคาวา ผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องหลอดลมพบก้อนในหลอดลมและได้ ทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาและย้อมติดสีที่เฉพาะเจาะจงกับมะเร็งตับ ผู้ป่วยรายนี้จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 (advanced stage HCC) ที่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองมิดิแอสตินัมและหลอดลมใหญ่ ร่วมกับมีอาการแสดงของการกดทับเส้นเลือด ดำใหญ่ซุพีเรียเวนาคาวา (SVCO) ผู้ป่วยได้รับการรักษาฉายแสงเร่งด่วนและได้รับยา sorafenib ที่เป็นการรักษาเฉพาะมะเร็งตับระยะที่ 3 ผู้ป่วยเสียชีวิตหลังจากได้รับการรักษาด้วยยา sorafenib มา 8 เดือน" }
{ "en": " Background: Most of the drug related problems encountered in epilepsy clinics are often medication adherence which may affect seizure control.\nObjective: To study the effect of seizure control and medication adherence after receiving new development of pharmaceutical care for epilepsy patients at Neurological Institute of Thailand\nMethod: Collected data from 120 epilepsy patients who received services at the outpatients department between May 2019 and March 2020, Patients with epilepsy who had seizure frequency greater than or equal to 1 time in the past 1 month, patients who could use various research programs on smart phones and never received pharmaceutical care were selected by simple random sampling and randomly assigned to either the study group (epilepsy patients receiving the new epilepsy pharmaceutical care) or control group, each group comprised 60 patients. Seizure control and medication adherence data were collected by interviews and self-administered forms before and after received new pharmaceutical care.\nResult: After receiving the new epileptic pharmaceutical care, it was found that there was increase in mean scores of medication adherence and statistically significant decrease in seizure frequency (p<0.05). There was a negative correlation between increased medication adherence with reduced seizure frequency.\nConclusion: New epilepsy pharmaceutical care would be helpful in making patients realize the importance of taking medicines. The more medication adherence, as a result epileptic patients can control their seizures better.", "th": "ภูมิหลัง:  ปัญหาจากการใช้ยาที่พบ ในคลินิกลมชักส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา ซึ่งอาจมีผลต่อการควบคุมการชัก\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการควบคุมการชัก และความร่วมมือในการใช้ยาหลังได้รับการบริบาลเภสัชกรรมลมชักรูปแบบใหม่ที่สถาบันประสาทวิทยา\nวิธีการ: เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคลมชัก 120ราย ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 ถึง มีนาคม 2563 คัดเลือกผู้ป่วยลมชักที่มีความถี่การชักมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยที่ใช้โทรศัพท์ smart phone และสามารถใช้โปรแกรมต่างๆ ของการวิจัย และไม่เคยได้ รับการบริบาลเภสัชกรรมก่อนหน้า คัดเลือกผู้ป่วยโดยวิธี simple random sampling และแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง (ผู้ป่วย ลมชักที่ได้รับการบริบาลเภสัชกรรมลมชักรูปแบบใหม่) และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 60 ราย เก็บข้อมูลการควบคุมการชัก และความร่วมมือในการใช้ยาจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ก่อนและหลังให้บริบาลเภสัชกรรมลมชักรูปแบบใหม่\nผล: ผู้ป่วยหลังจากได้รับการบริบาลเภสัชกรรมลมชักรูปแบบใหม่ มีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นและมีความถี่การชักลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05) และมีความสัมพันธ์เชิงลบระหว่าง ความร่วมมือในการใช้ ยาที่เพิ่มขึ้น กับความถี่การชักที่ลดลง\nสรุป: การบริบาลเภสัชกรรมลมชักรูปแบบใหม่ มีประโยชน์ทำให้ผู้ป่วยตระหนักเห็นความสำคัญของการรับประทานยา มีความร่วมมือในการใช้ยามากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยลมชักควบคุมการชักได้ดีขึ้น" }
{ "en": "Background: Low birth weight (LBW) is one of the adverse pregnancy outcomes typically found in Nangrong Hospital.\nObjective: This study aimed to determine the association of maternal periodontal diseases (New classification scheme 2018) and LBW.\nMethods: The postpartum mothers (n=100) were enrolled while admitting in Nangrong Hospital. Half of the mothers who had LBW babies were assigned to a case group, and the others who had normal weight babies were assigned to a control group. The data of the mothers were obtained from medical files, interviewing and periodontal examination carried out up to three days after delivery. Probing depth (PD), bleeding on probing (BOP), clinical attachment level (CAL) and panoramic films were used for the new periodontal classification assessment.\nResults: Mothers’ weight, birth weight, and gestational days were significant differences between case and control groups. There were no significant differences in clinical parameters (PD, CAL, BOP) among these two groups. Gingivitis and periodontitis were mostly found but not associated with LBW.\nConclusion: The results suggested that maternal periodontal diseases were not statistically associated with LBW.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จัดว่าเป็นหนึ่งในภาวะไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาลนางรอง\nวัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดที่ได้มีการแบ่งโรครูปแบบใหม่ ตามปี ค.ศ. 2018และภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ( น้อยกว่า 2,500 กรัม)\nวิธีการ: อาสาสมัครเป็นมารดาที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลนางรองทั้งหมด 100 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมคือมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักตามเกณฑ์ 50 ราย และกลุ่มศึกษาคือมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 50 ราย ทำการซักประวัติและตรวจสุขภาพช่องปากหลังจากคลอดบุตรไม่เกิน 3 วัน โดยทาการตรวจค่าทางคลินิก ได้แก่ ร่องลึกปริทันต์ ค่าดัชนีการเลือดออกของเหงือก ระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ และถ่ายภาพรังสีพาโนรามิค เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคปริทันต์\nผล: พบความแตกต่างของน้ำหนักมารดา น้ำหนักทารก และระยะเวลาในการตั้งครรภ์ แต่ไม่พบความแตกต่างในส่วนของค่าทางคลินิกระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาจากผลการศึกษาพบมารดาที่มีภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มีสภาวะโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบในมารดาหลังคลอดกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์\nสรุป: โรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์" }
{ "en": "Background: Patients with heart failure are at risk of rehospitalization and high mortality. Current heart failure guidelines recommend the evidence-based pharmacological management for heart failure with reduced ejection fraction (HFrEF) to improve clinical outcomes. The challenge is how to construct optimal treatment for better results and minimized adverse events in clinical practice.\nObjective: We aimed to determine the association between patients with HFrEF who were prescribed target or optimal dose of medications and clinical outcomes.\nMethods: This was an analytic study in patients with HFrEF from January 2008 to December 2019. Primary outcome was the composite of cardiovascular death or heart failure hospitalization. The secondary outcome was all-cause death. Univariate and multivariate analysis were used to estimate the independent effects of predictor variables and survival.\nResults: There were 345 patients were enrolled with mean age 58.34 ± 12.97 years. The majority of patients were male, NYHA functional class I-II and non-ischemic cardiomyopathy. Few patients were achieved target dose of ACEI/ARB (16.81%), beta-blockers (47.09%), spironolactone (6.34%) and ARNI (13.95%). At follow up, patients who received < 50% target dose of beta-blockers and ACEI/ARB were associated with more primary outcome (log rank p < 0.01), whereas those who received spironolactone cannot demonstrate the difference in outcome (log rank p = 0.09). In multivariate analysis, NYHA functional class III-IV (p = 0.003) and atrial fibrillation (p = 0.007) were an independent predictor of worse clinical outcomes. While, patients with improve LVEF (p < 0.001) and received ≥ 50% target dose of ACEI/ARB (p = 0.017) were an independent predictor of favorable outcomes.\nConclusion: This study demonstrated significant gaps between clinical practice and guideline-directed medical therapy in current era of HFrEF therapies. Patients who received neurohormonal blockade medications ≥ 50% dosage of target dose were associated with improve LVEF and better outcomes.", "th": "ภูมิหลัง: ปัจจุบันมีการพัฒนามาตรฐานการรักษาด้วยยาในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อให้ผลการรักษาที่ดี แต่ยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำและยังมีอัตราการเสียชีวิตสูง ในทางเวชปฏิบัติยังมีความหลากหลายในการปรับยาในผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้ได้รับการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมให้ผลการรักษาที่ดี และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการรักษาด้วยยาและขนาดยาในเวชปฏิบัติและขนาดยาเป้าหมาย ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจากภาวะการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลงและศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการรักษาผู้ป่วย\nวิธีการ: การศึกษา analytic study ในผู้ป่วยหัวใจ ล้มเหลวจากภาวะการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ผลลัพธ์หลักคือการเสียชีวิตจากภาวะโรคหัวใจหรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว ผลลัพธ์รองคือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลกับผลการรักษาทางคลินิกโดยการวิเคราะห์การถดถอยเอกนามและการวิเคราะห์การถดถอยพหุนาม\nผล: ผู้ป่วยจานวน 345 ราย อายุเฉลี่ย 58.34 ±12.97 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย, NYHA functional class I-II และเป็นผู้ป่วยกลุ่ม non-ischemic cardiomyopathy ผู้ป่วยได้รับ ขนาดยาขนาดสูงสุดที่ผู้ป่วยควรได้รับของยากลุ่ม ACEI/ARB, betablocker, spironolactone และ ARNI ร้อยละ 16.81, 47.09, 6.34 และ 13.95 ตามลำดับ จาก survival analysis พบว่าในผู้ป่วยที่ ได้รับยา beta-blocker และ ACEI/ARB ขนาด < ร้อยละ 50 ของ ขนาดเป้าหมาย เกิดผลลัพธ์หลักมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาขนาด > ร้อยละ 50 (log rank p < 0.01) ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยา spironolactone ไม่มีความแตกต่างกันในการเกิดผลลัพธ์หลัก (log rank p = 0.09) ผลการวิเคราะห์ multivariate analysis พบว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้มีโอกาสเกิดผลลัพธ์หลักมากกว่าได้แก่ ผู้ป่วยที่มีNYHA functional class III-IV (p = 0.003) และโรคหัวใจเต้นระริก (p = 0.007) ปัจจัยที่มีผลให้มีโอกาสเกิดผลลัพธ์หลักน้อยกว่าได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายดีขึ้น (p < 0.001) และ ผู้ป่วยที่ได้รับขนาดยาในกลุ่ม ACEI/ARB > ร้อยละ 50 ของขนาดเป้าหมาย (p = 0.017)\nสรุป: จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันในเวชปฏิบัติยังมีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนน้อยที่ได้รับยาขนาดเป้าหมายตามมาตรฐาน ผู้ป่วยที่ได้รับขนาดยา กลุ่ม neurohormonal blockade > ร้อยละ 50 ของขนาดเป้าหมาย มีการบีบตัวของหัวใจ ห้องล่างซ้ายดีขึ้นรวมทั้งผลลัพธ์การรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาดังกล่าวในขนาด < ร้อยละ 50 ของขนาดเป้าหมาย" }
{ "en": "Background: Tooth Brushing is one of the most effective methods for removing dental plaque. However, tooth brushing has an effect on wear and surface roughness of restorative materials especially at cervical area and root surface which is directly affected area. Surface roughness of restorative material has direct effect on accumulation of bacteria and dental plaque. There is still controversy in comparation between surface roughness resistance of nanofilled and microhybrid composite resin after tooth brushing.\nObjective: Systematically review the literature and meta-analysis on a difference between surface roughness of nanofilled and microhybrid composite resin after toothbrushing.\nMethod: The related studies were searched from electronic database PubMed and Google Scholar from 2000 until 2020. In total, 9 experimental studies met inclusion criteria and were included in meta-analysis. Risk of bias was assessed by ROBINS-I tool. Extraction data which were means and standard deviations of surface roughness before and after brushing.\nResult: Nanofilled composite resin has pooled SMD 3.250 (95% CI=2.234, 4.267; 8 studies, 114 samples, very low-certainty evidence), nanohybrid composite resin has pooled SMD 2.681 (95% CI=1.636, 3.727; 6 studies, 115 samples, very low-certainty evidence) and microhybrid composite resin has pooled SMD 2.951 (95% CI=2.027, 3.876; 9 studies, 119 samples, very low-certainty evidence) while data was high heterogeneity (respectively I2=82.4%, I2=87.4%, I2=78.8%). There was no high risk of bias in all assessment topics.\nConclusion: Surface roughness of composite resins after brushing were increased which nanofilled composite resin was more than nanohybrid and microhybrid composite resin respectively. But because of high heterogeneity of data, few studies and possible risk of bias problems, the further higher quality researches and randomized controlled trials experimental research are still required to answer this question and for selection of restorative material in area which is directly affected by tooth brushing.", "th": "ภูมิหลัง: การแปรงฟันเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ แต่เนื่องจากผลจากการใช้แปรงสีฟันร่วมกับยาสีฟันส่งผลต่อการสึกและความหยาบพื้นผิวของวัสดุบูรณะฟันได้โดยเฉพาะบริเวณคอฟันและรากฟัน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับแรงจากการแปรงฟันโดยตรง และความหยาบของพื้นผิวบูรณะมีผลโดยตรงต่อการเกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์ จากหลักฐานงานวิจัยที่ศึกษามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าผลการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความหยาบพื้นผิวระหว่างวัสดุบูรณะฟันเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลด์ และชนิดไมโครไฮบริด ภายหลังการแปรงฟันยังมีผลการศึกษาที่ยังขัดแย้งกันอยู่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้\nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความหยาบพื้นผิวภายหลังการแปรงฟันของวัสดุบูรณะฟันเรซินคอมโพสิตชนิดนาโนฟิลด์และชนิดไมโครไฮบริด\nวิธีการ: สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาดังกล่าวจากฐานข้อมูล PubMed  และ Google Scholar อย่างเป็นระบบ เลือกเฉพาะบทความภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2563  บทความที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้ามี 9 บทความเป็นการศึกษาในห้องทดลองทั้งหมด โดยประเมินอคติงานวิจัยตามแนวทางของ ROBINS-I และรวบรวมค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าความหยาบพื้นผิวของวัสดุบูรณะเรซินคอมโพสิตชนิดต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังจากถูกแปรง เพื่อนำมาวิเคราะห์อภิมาน\nผล: นาโนฟิลด์ เรซินคอมโพสิตมีค่า pooled SMD เท่ากับ 3.250 (95% CI=2.234, 4.267; 8 studies, 114 samples, very low-certaintyevidence) นาโนไฮบริดเรซินคอม โพสิตมีค่า pooled SMD เท่ากับ 2.681 (95% CI=1.636, 3.727; 6 studies, 115 samples, very low-certainty evidence) และ ไมโครไฮบริดเรซินคอมโพสิตมีค่า pooled SMD เท่ากับ 2.951 (95% CI=2.027, 3.876; 9 studies, 119 samples, very lowcertainty evidence) แต่ข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันในระดับ ระดับสูง (I2=82.4%, I2=87.4%, I2=78.8%) อย่างไรก็ตามไม่พบการศึกษาใดที่ถูกประเมินผลเป็น high risk of bias ของทุกหัวข้อ การประเมิน\nสรุป: วัสดุบูรณะฟันเรซินคอมโพสิตชนิดต่าง ๆ ภายหลังจากถูกแปรงฟันล้วนมีค่าความหยาบพื้นผิวเพิ่มมากขึ้น และจากการทำ subgroup analysis เปรียบเทียบระหว่างวัสดุบูรณะ ฟันเรซินคอมโพสิตชนิดต่าง ๆ โดยแบ่งประเภทตามขนาดของวัสดุอัดแทรก พบว่าภายหลังจากถูกแปรงฟัน วัสดุในกลุ่มนาโนฟิลด์มีความหยาบพื้นผิวที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่ากลุ่มนาโนไฮบริดและกลุ่มไมโครไฮบริดตามลำดับ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันสูง และมีการศึกษาที่ยังไม่มากพออย่างไรก็ตาม เนื่องจากการศึกษามีจำนวนน้อยและยังมีอคติจากการศึกษา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่มากกว่านี้ และเป็นรายงานการวิจัยในห้องทดลองที่มีรูปแบบการวิจัยที่เน้นการทดลองอย่างแท้จริง เพื่อเป็นข้อพิจารณาให้กับทันตแพทย์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้วัสดุบูรณะฟันในบริเวณที่ต้องรับแรงจากการแปรงฟันโดยตรง" }
{ "en": "Background: Although pulmonary aspiration is rare, it is a serious anesthetic complication that can lead to significant morbidity and mortality. One of the important associated factors is the residual gastric content volume. Using the ultrasonography, the equipment generally used in anesthetic practice, to examine the gastric content and volume before anesthesia can help identify the high-risk patients. Therefore, this method can be one modality to prevent pulmonary aspiration and increase patient safety.\nObjective: To study the prevalence of pediatric patients at high risk for pulmonary aspiration assessed by gastric ultrasonography in elective surgical patients receiving standard preoperative fasting.\nMethods: 256 elective surgical pediatric patients, ASA physical status I-II, 1-15 years old were enrolled into this cross-sectional descriptive study. Preoperative gastric ultrasonography was performed in supine and right lateral decubitus position. The gastric content was evaluated and classified into 0-2 qualitative grading scale. The gastric volume per kilogram was also calculated by formula using antral cross-sectional area, the cut-off points for increasing aspiration risk were gastric volume more than 1.25 ml/kg or solid gastric content. The results were immediately reported to attending anesthesiologist before induction. Age, sex, BMI, fasting time, ASA status, grading scale and gastric volume were recorded and analyzed using descriptive statistics.\nResults: The prevalence of high-risk patient was 6.6%. Median fasting time of clear liquid and food or milk were 10 and 10.5 hours respectively. The median gastric volume was 0.7 ml/kg. None of the patients had solid gastric content or developed pulmonary aspiration.\nConclusion: The prevalence of children at high risk for pulmonary aspiration was 6.6% in healthy elective surgical pediatric patients receiving standard preoperative care. The gastric ultrasonography was simple, convenient and feasible in the practice of anesthesia.", "th": "ภูมิหลัง: ในการระงับความรู้สึก ภาวะสำลักอาหารหรือน้ำจากกระเพาะอาหารเข้าปอด (pulmonary aspiration) เป็นภาวะ แทรกซ้อนที่รุนแรง ถึงแม้พบได้น้อยแต่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงแก่ผู้ป่วยได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสำลักมีมากมาย โดยสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญการนำเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทางวิสัญญี มา ตรวจดูสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารก่อนเริ่มระงับความรู้สึก ทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะสำลักอาหารหรือน้ำเข้าปอดอันเนื่องจากมีสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารปริมาณมากได้ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น\nวัตถุประสงค์: เพื่อหาอัตราชุกของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะสำลักอาหารหรือน้ำจากกระเพาะอาหารเข้าปอด ในผู้ป่วยเด็กที่งดน้ำและอาหารตามแนวทางมาตรฐานเพื่อรับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง\nวิธีการ: เป็นการศึกษาโดยการสังเกตเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ในผู้ป่วยเด็กอายุ 1- 15 ปี  ASA physical status I-II จำนวน 256 ราย ทำการตรวจกระเพาะอาหารโดยใช้ เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในท่านอนหงายและนอนตะแคงขวาก่อนเริ่มระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย โดยดูลักษณะสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารและแบ่งระดับสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารเป็น 3 ระดับ (0-2) รวมถึงคำนวณปริมาตรกระเพาะอาหารเทียบกับน้ำหนักตัวจากการวัดพื้นที่หน้าตัด antrum ผู้ป่วยที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อภาวะสำลักคือมีปริมาตรกระเพาะอาหารมากกว่า 1.25 มล.ต่อ กก. หรือมีสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารเป็นของแข็ง ผู้วิจัยแจ้งผลการตรวจทุกรายให้วิสัญญีแพทย์เจ้าของไข้ทราบทันทีก่อนเริ่มระงับความรู้สึก และมีการเก็บข้อมูล เช่น อายุ เพศ BMI ระยะเวลางดน้ำหรืออาหาร ASA status ระดับสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารอย่าง ง่าย ปริมาตรกระเพาะอาหาร นำไปวิเคราะห์ทางสถิติ\nผล: อัตราชุกของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะสำลักอาหารหรือน้ำจากกระเพาะอาหารเข้าปอดคิดเป็นร้อยละ 6.6 ค่ามัธยฐานของระยะเวลางดน้ำเท่ากับ 10 ชั่วโมง และระยะเวลางดอาหารหรือนมเท่ากับ 10.5 ชั่วโมง ค่ามัธยฐานของปริมาตรกระเพาะอาหารเท่ากับ 0.7 มล.ต่อกก. ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารเป็นของแข็ง รวมถึงไม่มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะสำลักอาหารหรือน้ำจากกระเพาะอาหารเข้าปอด\nสรุป: อัตราชุกของผู้ป่วยเด็กสุขภาพดีที่เข้ารับผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วนที่เสี่ยงต่อภาวะสำลักอาหารหรือน้ำจากกระเพาะอาหารเข้าปอดเท่ากับร้อยละ 6.6 การใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อหาปริมาตรกระเพาะอาหารทำได้ง่าย รวดเร็ว และนำมาใช้ได้จริงในทางวิสัญญี" }
{ "en": "Background: Several studies have shown the increase of women infected with syphilis while pregnant, including infants born with complications from mothers infected with syphilis. However a few studies have reported the effects of syphilis infection on pregnancy outcomes in Thailand.\nObjective: To study the prevalence and factors associated with pregnancy outcomes in pregnant women with syphilis.\nMethod: A 3-year retrospective descriptive study (1st October 2018 – 30th September 2020) was conducted at Krathumbaen Hospital, Samut Sakhon, Thailand. Medical records of syphilis infected pregnant women and their infants were reviewed and assessed.\nResults: A total of 84 pregnant women with syphilis were found during the study period and mean maternal age was 22.12 ± 5.53 years. The prevalence of mothers infected with syphilis during pregnancy was 0.78 %. Eight infants were preterm birth and low birth weight (9.5%), 6 (7.1%) were dead fetus in utero, congenital syphilis and neurosyphilis was found to be equal in 4 (4.8%). Most of the 50 infants (59.5%) had no pregnancy complications. Factors associated with pregnancy complications were poor antenatal care (OR 5.64; 95% CI = 1.39, 22.73), 1st test VDRL titer ≥ 1: 8 (OR 2.63; 95% CI = 1.06, 6.49). Protective factors included treatment initiated in the 1st trimester (OR 0.25; 95% CI = 0.06, 0.99) and adequate maternal syphilis treatment (OR 0.16; 95% CI = 0.04, 0.66).\nConclusion: Future efforts including quality antenatal care strategy, pregnant women accessing health care service in 1st trimester, routine screening of all pregnant women for syphilis as early as possible, immediate initiation of treatment if detected, should be done to reduce adverse pregnancy outcomes.", "th": "ภูมิหลัง: ปัญหาสตรีติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งทารกที่คลอดแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนจากมารดาที่ติดเชื้อซิฟิลิสนั้น มีหลายการศึกษารายงานพบแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปีแต่ผลกระทบของการติดเชื้อซิฟิลิสต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในประเทศไทยยังคงมีการศึกษาน้อยมาก\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้งครรภ์ในสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิส\nวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา(retrospective descriptive study) ในสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะ ตั้งครรภ์ ที่มาคลอดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครตั้งแต่  1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์\nผล: พบสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อซิฟิลิสที่มารับการรักษาจำนวน 84 ราย อายุเฉลี่ยของมารดาคือ 22.12 ± 5.53 ปีความชุกของมารดาที่ติดเชื้อซิฟิลิสในขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 0.78ภาวะแทรกซ้อนที่พบคือ การคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย พบเท่ากันที่ 8 คน (ร้อยละ 9.5) ทารกตายในครรภ์ พบ 6 คน(ร้อยละ 7.1) ซิฟิลิสแต่กำเนิดและ ซิฟิลิสระบบประสาท พบเท่ากันคือ 4 คน (ร้อยละ 4.8) ทารกส่วนใหญ่ 50 คน (ร้อยละ 59.5) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ในทารก ได้แก่ การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ (OR 5.64; 95% CI = 1.39, 22.73) VDRL titer ที่ตรวจพบครั้งแรกมากกว่าหรือเท่ากับ 1:8 (OR 2.63 ; 95% CI=1.06, 6.49) ปัจจัยที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การเริ่มรักษาซิฟิลิสตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (OR 0.25; 95% CI=0.06, 0.99) และการได้รักษาซิฟิลิสครบตามแนวทางการรักษา(OR 0.16 ; 95% CI= 0.04, 0.66)\nสรุป : การจัดระบบบริการฝากครรภ์ที่ได้มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงการฝากครรภ์ในไตรมาสแรกได้รับการตรวจคัดกรองซิฟิลิสในระหว่างการตั้งครรภ์ ให้การรักษามารดาทันทีหากตรวจพบ จะช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในสตรีตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนในทารก" }
{ "en": "Background: Falls are the most frequent and serious problems in community-dwelling older people. Therefore, the effective exercise program to improve balance and prevent falls are necessary.\nObjective: To examine the effects of falls prevention exercise program on gait and falls risk in community-dwelling older adults.\nMethod: Sixty community-dwelling older adults were allocated into two groups: (1) Participants underwent the falls prevention exercise program for one hour per session, three times per week for three months (experimental group), and (2) Participants received a fall prevention knowledge brochure (control group). Measurements were administered three times: pre-intervention, post-intervention and 1-month follow-up period. 2 x 3 repeated measures ANOVA or Friedman test and Wilcoxon signed-ranks Test were used to analyze data. Significant level was set at p < 0.05.\nResult: Participants in experimental group performed significantly better in post-intervention and 1-month follow-up period on muscle strength, reaction time, postural sway, PPA score, cadence, gait speed, TUG, anticipatory postural adjustment in first step duration and percent double support time than pre-intervention. Moreover, participants in experimental group performed significantly better on stride length in post-intervention than pre-intervention assessment. Although, this study found better reaction time and PPA score in control group but participants in control group had more fear of falling score in post-intervention than pre-intervention assessment.\nConclusion: This falls prevention exercise program can improve gait and muscle strength especially in long term effect which resulted in decrease in falls risk. Therefore, this exercise program is an effective intervention to prevent falls and be able to reduce risk of falls in elderly", "th": "ภูมิหลัง: การหกล้มเป็นปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน ดังนั้นโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถในการทรงตัวและช่วยป้องกันการหกล้มได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มต่อการเดินและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน\nวิธีการ: ผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน 60 คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) อาสาสมัครที่ได้รับการออกกำลังกายในโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มครั้งละ 1 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน (กลุ่มทดลอง) 2) อาสาสมัครที่ได้รับแผ่นพับความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้ม (กลุ่มควบคุม) วัดผล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล 1 เดือนหลังการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 2 x 3 repeated measures ANOVA หรือ Friedman test และ Wilcoxon signed-ranks test กำหนด ค่านัยสำคัญทางสถิติที่  p < 0.05\nผล: อาสาสมัครในกลุ่มทดลอง มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เวลาในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การแกว่งของจุดรวมมวล คะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้ม อัตราการก้าวขา ความเร็วในการเดิน เวลาในการทดสอบ TUG ระยะเวลาในการปรับการทรงตัวโดยการคาดการณ์ในการก้าวขาครั้งแรกและร้อยละของช่วงเวลาที่เท้าทั้งสองข้างรับน้ำหนักทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือนหลังการทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่าอาสาสมัครในกลุ่มทดลองมีความยาวในการก้าวขาที่เพิ่มขึ้นในระยะหลังการทดลอง ถึงแม้ว่าผลการศึกษาจะพบว่าอาสาสมัครในกลุ่มควบคุมมีเวลาในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นและคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มที่ดีขึ้นแต่พบว่าหลังการทดลองอาสาสมัครในกลุ่มควบคุมมีการกลัวการหกล้มมากขึ้น\nสรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มนี้ทำให้ผู้สูงอายุมีรูปแบบการเดินที่ดีและกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่ดีขึ้นในระยะยาวซึ่งจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการหกล้มที่ลดลง จึงสามารถนำไปใช้เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มและลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป" }
{ "en": "Background: The calculation of bolus insulin injection is essential for controlling the blood glucose level in patients with Type 1 Diabetes Mellitus (T1DM). Many studies showed that small numbers of patients could calculate correctly. Therefore, the use of calculation tools may help provide more accurate results.\nObjective: To develop and evaluate a mobile application for mealtime bolus insulin dosage calculation for T1DM patients.\nMethod: A survey was conducted among the caregivers of T1DM patients to identify the needed interface and functions of the application (app.). Information used in the app was in Thai and was verified by the healthcare expert panel (clinicians, pharmacists, and nutritionists). Twenty participants tested the app. The data on time used in insulin calculation and errors were collected. The participants’ satisfaction was evaluated after seven days of use.\nResults: The developed app. called “CarbInHand”, could calculate the amount of carbohydrate in foods which determine an adequate dosage of bolus insulin. The accuracy between insulin dosage calculation manually vs using the app were 28.5% vs 42%, respectively. The average time used in calculation manually vs using the app. were 0.755 vs 1.075 minutes, respectively. Participants satisfied with the app. in the highest levels of all aspects assessed. The highest scores were in the installation process and the usefulness to T1DM patients and caregivers.\nConclusions: “CarbInHand” is the app. that T1DM patients can use as a tool to assist in the calculation of bolus insulin dosage and carbohydrate counting with high accuracy and satisfaction. The app. contains data on the amount of carbohydrates in 387 food items, reducing the burden of remembering carbohydrates in foods. It can be used offline on iOS and Android operating systems.", "th": "ภูมิหลัง: การคำนวณขนาด bolus insulin สำคัญต่อ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่การศึกษาในอดีตพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ดังนั้นการใช้เครื่องมือช่วยในการคำนวณอาจสนับสนุนให้ได้ผลที่ถูกต้องมากขึ้นได้\nวัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนา และประเมินแอปพลิเคชันคำนวณขนาดอินซูลินก่อนมื้ออาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่1 \nวิธีการ: สำรวจความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อระบุลักษณะ และการทำงานของแอปพลิเคชันที่ต้องการ การประเมินแอปพลิเคชันทำโดยทดสอบการใช้งานในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน เก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้และความคลาดเคลื่อนจากการคำนวณขนาดอินซูลิน จากนั้นประเมินผลความพึงพอใจหลังจากทดลองใช้งานไปแล้ว 7 วัน\nผล: แอปพลิเคชันที่พัฒนามีชื่อว่า “CarbInHand” มีความสามารถในการคำนวณปริมาณ คาร์โบไฮเดรตในอาหาร และขนาดอินซูลินที่ต้องฉีดก่อนรับประทานอาหาร ความถูกต้องของการคำนวณด้วยตนเอง และการใช้แอปพลิเคชัน เท่ากับร้อยละ 28.5 และ 42 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันในระดับมากที่สุดในทุกด้าน โดยมีคะแนนสูงสุดในด้านกระบวนการติดตั้ง และด้านความมีประโยชน์\nสรุป: “CarbInHand” เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 1  และผู้ดูแลสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณขนาดอินซูลินที่ต้องฉีดก่อนรับประทานอาหาร และการนับคาร์บได้อย่างแม่นยำสูง และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจสูง  แอปพลิเคชันช่วยลดภาระในการจดจำปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการไอโอเอส และแอนดรอยด์ และไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเวลาใช้งาน" }
{ "en": "Background: Knee osteoarthritis in elderly can be prevented and slowed down the disease if early screening is provided. Elderly care of knee osteoarthritis by health care workers is not comprehensive. Therefore, the potential development in elderly care with knee osteoarthritis for health volunteers in a community can increase extensive healthcare coverage.\nObjective: This study aimed to compare health volunteers’ knowledge and skills in elderly care with knee osteoarthritis before and after training, and to assess the accuracy of health volunteers’ screening results of knee osteoarthritis and giving healthcare advice for the elderly.\nMethods: The present study was divided into 2 steps: 1) performed a quasi-experimental study with one group pretest-posttest design involving a potential development program for 16 health volunteers and 2) assessed the result of the health volunteer potential development. Each health volunteer screened 20 elderly persons, then returned the screening results to researcher for re-evaluation.\nResults: There was a statistically significant increase of median scores in all aspects of knowledge and skills of health volunteers in potential development after the completing program. The sample group had 84.69 percent accuracy in knee osteoarthritis screening and more than 80 percent accuracy in giving healthcare advice.\nConclusion: The knowledge, skills and competence in elderly care with knee osteoarthritis of health volunteers have improved after participating in the potential development program. This training program should be applied for health volunteers in order to enhance quality of elderly care within a community.", "th": "ภูมิหลัง: โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นโรคที่ป้องกันและชะลอความรุนแรงได้หากมีการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยบุคลากรทางการแพทย์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนช่วยทำให้เกิดความครอบคลุมเพิ่มขึ้น\nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทักษะเรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขก่อนและหลังการอบรม และประเมินผลความถูกต้องในการคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อมและการให้คาแนะนาในการปฏิบัติตัวแก่ผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุข\nวิธีการ: งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การวิจัยแบบกึ่งทดลอง หนึ่งกลุ่มตัวอย่าง เปรียบเทียบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยจัดการอบรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 16 คน 2) การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขหลังจากการอบรม อาสาสมัครสาธารณสุข 1 คน จะทาการคัดกรองผู้สูงอายุจำนวน 20 คน แล้วส่งผลการคัดกรองกลับไปที่ผู้วิจัยเพื่อประเมินซ้ำอีกครั้ง\nผล: คะแนนความรู้และทักษะในทุกหัวข้อของอาสาสมัครสาธารณสุขหลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความถูกต้องในการคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 84.69 ความถูกต้องในการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 80\nสรุป: อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นหลังจากการอบรมพัฒนาศักยภาพ ควรมีโครงการขยายผลการอบรมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อให้เกิดความครอบคลุมในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมากขึ้น" }
{ "en": "Background: The number of the chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients who needed retreatment because of the acute exacerbation in Lamphun Province was increased every year. In 2018, the average rate of the acute exacerbation was 1.46. It was increased for 1.52 times in 2019. The fatality rate was 6.57 percent among the COPD patients who were 60 years or older.\nObjectives: To study the prevalence and the factors affecting the acute exacerbation among the COPD patients in the emergency room.\nMethod: This study was a cross-sectional descriptive study using the AECOPD records. The samples were 60 COPD patients from 1st September 2020 to 30th November 2020. The demographic data, the factors of the health behaviors, the severity of the disease, the family factors and the community factors were recorded.\nResults: The prevalence of AECOPD in the emergency room was 5.33 percent. Most of the patients had the acute exacerbation and the factors according to GOLD criteria (p = 0.000). The patients who were smoking (p = 0.010) and using home oxygen (p = 0.009) had the relationships with the acute exacerbation among the COPD patients. The patients with the severity level at Level D had the chances of having the acute exacerbation requiring the treatment in the emergency room.\nConclusion: The prevalence of AECOPD was 5.33 percent. The severity of the disease was at Level D. There were chances of the acute exacerbation requiring the treatment in the emergency room.", "th": "ภูมิหลัง: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาซ้ำด้วยอาการกำเริบเฉียบพลันในจังหวัดลำพูนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี 2561 มีอัตราเฉลี่ยการกำเริบเฉียบพลันอยู่ที่ 1.46 ครั้ง เพิ่มขึ้นเป็น 1.52 ในปี 2562 และมีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 6.57 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน    \nวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ใช้แบบบันทึก AECOPD กับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในช่วงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 จำนวนทั้งสิ้น 60 ราย โดยบันทึกข้อมูลปัจจัยด้านประชากรปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ความรุนแรงของโรค การรักษา และปัจจัยด้านครอบครัวและชุมชน\nผล: ความชุกของการเกิด AECOPD ที่มาห้องฉุกเฉิน อยู่ที่ร้อยละ 5.33 โดยส่วนใหญ่จะมีอาการกำเริบเฉียบพลัน และปัจจัยด้านระดับความรุนแรงโรคตาม GOLD (p = 0.000) ผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่อยู่ ( p = 0.010) และการใช้ home oxygen (p = 0.009) มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ระดับ D จะมีโอกาสเกิดภาวะกาเริบเฉียบพลันและต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน\nสรุป: ความชุก AECOPD อยู่ที่ร้อยละ 5.33 และระดับความรุนแรงของโรคที่ระดับ D จะมีโอกาสเกิดภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน" }
{ "en": "Background: Some doctors also disagree with the use of cannabis, which directly affects patients’ access to cannabis. This is consistent with the findings of an international survey suggesting that family physicians in the United States Most are skeptical of the health benefits of cannabis and believe that cannabis use carries risks.\nObjective: The objective of this study was to study the attitudes of medical personnel on cannabis use and to study factors related to cannabis use attitudes of medical personnel serving in medical cannabis clinics, Buriram Province.\nMethod: This research was a cross-sectional descriptive study to study the attitudes of medical personnel on cannabis use and to study factors related to cannabis use attitudes of medical personnel serving in medical cannabis clinics, Buriram Province. In this study, 132 respondents were surveyed from 138 personnel (95.65 %). Data were analyzed using descriptive statistics which were frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics using Chi-square test, correlation coefficient Pearson.\nResult: It was found that most of the sample groups were female (66.7 %), aged between 20-30 years (30.3 %), 84.8 % bachelor’s degree, 84.8 % pharmacist position, 28.8 % working experience over 10 years, 47.7 % by level the attitude of the sample at a high level, 80.3 % by personal factors such as gender, age, education level, job position and work experience. There was no correlation with health care workers’ attitudes towards cannabis use and attitudes to cannabis use were positively correlated with factors on the benefits and harms of cannabis statistically significant (p-value < 0.01), with a low correlation (r=0.326) and was positively correlated with anxiety factors statistically significant (p-value < 0.01), with a moderate correlation (r=0.452).\nConclusion: The agency should use the research findings as input to planning events to reflect the attitudes of healthcare professionals serving in medical cannabis clinics correctly and appropriate to the context of their own area.", "th": "ภูมิหลัง: แพทย์บางท่านไม่เห็นด้วยกับการใช้ยากัญชาซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเข้าถึงกัญชาของผู้ป่วย สอดคล้องกับผลการสำรวจในต่างประเทศที่ชี้ให้เห็นว่าแพทย์ประจำครอบครัวในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ ไม่เชื่อมั่นในประโยชน์ด้านสุขภาพของกัญชาและเชื่อว่าการใช้กัญชาจะมีความเสี่ยง\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติการใช้กัญชาของบุคลากรทางการแพทย์ และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับทัศนคติการใช้กัญชาของบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการในคลินิกกัญชาทางการแพทย์จังหวัดบุรีรัมย์\nวิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross - sectional study) ในการศึกษาครั้งนี้ได้แบบ สำรวจตอบกลับ 132 ราย จากบุคลากรทั้งหมด 138 คน (ร้อยละ 95.6) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ chisquare test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน\nผล: ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.7 มีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปีร้อยละ 30.3 ระดับการศึกษาขั้นสูงสุดปริญญาตรีร้อยละ 84.8 ตำแหน่งเภสัชกรร้อยละ 28.8 ประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 47.7 โดยระดับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากร้อยละ 80.3 โดยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ในการทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์ต่อระดับทัศนคติในการใช้กัญชาของบุคลากรทางการแพทย์ และทัศนคติในการใช้กัญชามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านคุณประโยชน์และโทษของกัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (r=0.326) มี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านความวิตกกังวล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปาน กลาง (r=0.452) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านข้อมูล ข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) โดยมีความ สัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (r=0.218)\nสรุป: หน่วยงานควรนาผลการ วิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนงานเพื่อให้สอดคล้องกับทัศนคติในการใช้กัญชาของบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ตนเอง" }
{ "en": "Background: Critical-Care Pain Observation Tool (CPOT) was used for pain assessment in critical ill patients who are unable to communicate but CPOT was not frequently observed in neuro-critical ill patients that express unique behaviors.\nObjective: We aimed to evaluate the feasibility and clinical utility of the use of the critical care pain observation tool (CPOT) among mechanically ventilated neuro-critical ill patients.\nMethod: A descriptive study was conducted in Chiang Mai neurological hospital. Thirty-seven doctors and nurses who worked in ICU-neuro were invited to complete the self-administered questionnaire on the CPOT feasibility and clinical utility. The tool indicators were evaluated separately.\nResult: Twenty-nine of the ICU-neuro staffs completed the questionnaire. Feasibility: Most of the participants agreed that the tool contents were clear, quick to use, simple to understand and easy to complete (54-63%). Clinical utility: The tool was found useful by most staffs, they agreed that the tool was not interfere work and policy, helpful the practice and decision, easy to communicate and beneficial their practice (55-83%), but few of them agreed that the tool indicators could reflect the intensity of pain in all patients (39-46%)\nConclusion: The CPOT was found to be feasible and useful in mechanically ventilated neuro-critical ill patients, but the tool indicators not reflected to the intensity of pain in some patients.", "th": "ภูมิหลัง: แบบประเมินความปวด Critical-Care Pain Observation Tool (CPOT) เป็นเครื่องมือประเมินความปวดที่ใช้ แพร่หลายในผู้ป่วยวิกฤติที่ไม่สามารถสื่อสารความปวดกับเจ้าหน้าที่ได้ แต่ในการนำมาใช้ในผู้ป่วยวิกฤติโรคสมองที่มีพฤติกรรมเฉพาะต่างกับผู้ป่วยวิกฤติโรคอื่น ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ\nวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเป็นไปได้และอรรถประโยชน์ทางคลินิกในการนำแบบประเมิน CPOT มาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤติโรคสมองที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ\nวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่โดยให้แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติโรคสมองจำนวน 37 คน ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้และอรรถประโยชน์ทางคลินิกในการใช้แบบประเมิน CPOT โดยประเมินตัวบ่งชี้แต่ละตัวแยกอิสระต่อกัน\nผล: ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 29 คน ตอบแบบสอบถามดังนี้ ด้านความเป็นไปได้ในการนำมาใช้  ส่วนใหญ่ค่อนข้างเห็นด้วยว่าแบบประเมิน CPOT ชัดเจนใช้ได้เร็ว เข้าใจง่ายและให้คะแนนง่าย (ร้อยละ 54-63) และด้านอรรถประโยชน์ทางคลินิกของแบบประเมิน CPOT ส่วนใหญ่ค่อนข้างเห็นด้วยว่าแบบประเมิน CPOT มีประโยชน์ ไม่เป็นอุปสรรค ไม่ขัดต่อนโยบาย ช่วยในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ สื่อสารได้ง่าย  และส่งผลดีต่อการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 55-83) แต่ส่วนน้อยเห็นด้วยว่าตัวบ่งชี้ทุกตัวสามารถบ่งบอกถึงระดับความปวดในผู้ป่วยทุกโรคได้ (ร้อยละ 39-46)\nสรุป : มีความเป็นไปได้และอรรถประโยชน์ทางคลินิกในการนาแบบประเมินความปวด CPOT มาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤติโรคสมองที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแต่ตัวบ่งชี้หลายตัวไม่สามารถบ่งบอกถึงระดับความปวดในผู้ป่วยบางรายได้" }
{ "en": "Background: The statistics of relapse patients with heroine addition, had been treated, was reported at 91-95 percent. There was a high relapse rate. Therefore, meditation and relapsed preventive skills could be deceased heroin relapse. Objective: To develop mindfulness program for patients with heroine addition. Method: The research and development consisted of 2 phases; (1) to develop a mindfulness program included 1.1) to review literature, 1.2) to draft a mindfulness program,1.3) to test content validity by 5 experts, and (2) to try out the meditation program with 10 patients with heroine addition by purposive sampling and following evaluation of relapsed preventive skills. Data were analysis by Wilcoxon signed-ranks test. Results: the mindfulness program on enhancing relapsed preventive skills for patients with heroine addition was group activity, consisted of 8 activities: 1) greeting 2) awareness of relapse 3) here and now 4) my risk 5) my craving 6) problem solving 7) be aware of emotion, cognition, and behavior and 8) far away from illegal drugs. The group activities included 16 times, each activity 50-95 mins, and twice a week. Content validity of the program was tested, yielding a value of .83. Consideration, the median of the self-efficacy, coping, refusal, and decision-making skills’ score of patients after participated the program had significantly higher score than the patients before participated the program Conclusion: the mindfulness program could increase relapsed preventive skills for patients with heroin. Therefore, the program could be implication on patients with heroin who had been treated in hospitals.", "th": "ภูมิหลัง: สถิติการกลับไปเสพซ้ำของผู้ติดเฮโรอีนที่ผ่าน การบำบัด พบว่าร้อยละ 91 ถึง 95 ซึ่งเป็นอัตราสูงมาก ดังนั้นการ เจริญสติ และทักษะการป้องกันการเสพซ้ำสามารถลดกการกลับไป เสพซ้ำได้ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเจริญสติสำหรับ ผู้ติดเฮโรอีน วิธีการ: งานวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1) พัฒนาโปรแกรมการเจริญสติ ดังนี้ 1 .1) ทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้อง 1.2 ) ร่างโปรแกรมการเจริญสติ 1.3) ตรวจสอบความ ถูกต้องของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 5 คน และ 2) ทดลอง ใช้โปรแกรมการเจริญสติกับผู้ติดเฮโรอีน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง จำนวน 10 คน ใช้แบบประเมินทักษะการป้องกันการ กลับไปเสพซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ W ilcoxon signed -ranks test ผล: โปรแกรมการเจริญสติต่อการเสริมสร้างทักษะการป้องกัน การกลับไปเสพซ้ำ สาหรับผู้ติดเฮโรอีน เป็นกิจกรรมกลุ่ม ประกอบ ด้วย 8 กิจกรรม คือ 1) ยินดีที่ได้รู้จัก 2) รู้เท่าทันการกลับไปเสพซ้า 3) อยู่กับปัจจุบัน 4) ความเสี่ยงของฉัน 5) ความอยากของฉัน 6) จัดการปัญหา 7) รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม 8) เริ่มต้นใหม่ห่างไกลยาเสพติด ดาเนินกิจกรรม 16 ครั้ง ใช้เวลา 50-95 นาที จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 2 วัน มีความเที่ยง เชิงเนื้อหาของ โปรแกรมเจริญสติมีค่าเท่ากับ .83 และค่ามัธยฐานของคะแนนทักษะ การป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ (การรับรู้ตนเอง การเผชิญปัญหา การปฏิเสธ และการตัดสินใจ) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อน เข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: โปรแกรมการเจริญสติสามารถเพิ่มทักษะการป้องกันการกลับไป เสพซ้ำของผู้ติดเฮโรอีน ดังนั้นโปแกรมนี้สามารถนาไปใช้สำหรับ ผู้ติดเฮโรอีนที่เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาล" }
{ "en": "Background: Vendor Managed Inventory (VMI) is one of many methods used in inventory management. Its concept is to allow the vendor be able to access inventory data including product tracking in the customer’s inventory. It also lets the vendor manage customer’s inventory by filling products to customer’s inventory instead of using the usual purchase orders. Its goal is to reduce the potential of product reservation that might exceed the amount that is required. Today is the age of technology. Machine learning is a branch of artificial intelligence that is developed by learning patterns. It makes computer able to self-learn from data samples. It utilizes algorithm that creates model, predicts outcome, and helps decision making. It works out of order sequence unlike ordinary programs do, which is why it is widely used in several fields nowadays. It is a challenge to study and apply VMI system for hospitals. It will let the drug inventory department manage the medicine reservation to improve and optimize the process for the service department, and will make the medicine reservation process more efficient. Objective: To simulate cancer medicine reservation situation by drug inventory department using Vendor Managed Inventory (VMI) via decision trees classification comparing with the real situation in medicine subinventory in order to have enough quantity for services and reduce value of medicine reservation. Method: Since the characteristics of the demand for medicine usage were different, there could not be only one policy for medicine reservation. The study of oncology drug usage in National Cancer Institute has been using machine learning to analyze through decision trees classification, and simulate such situations and had come up with many beneficial results. Result: It reduced the average inventory value by 788,328.53 baht per day, which is 13.25%. It also reduces average days of stock from 18.04 days down to 15.84 days with 99.96% service rate. It even reduced the number of times for medicine reservation 72.73%. Conclusion: Vendor Managed Inventory (VMI) with an appropriate model from medicine demand usage classification using machine learning through information classification of a decision tree could reduce average inventory value, average days of stock, and quantity of medicine reservation by maintaining the same service rate. It had found the medicine reservation shortage 0.04%. The main reason for that was because the major changes in the characteristics of the medicine usage. In case of targeted therapy that its characteristic depended on the individual patient, using rules to classify the demand of medicine by number of patients and rate of medicine usage might not be appropriate. It might even results in medicine reservation inaccuracy from the actual patients.", "th": "ภูมิหลัง: ระบบการเติมสินค้าโดยผู้ขาย Vendor Managed Inventory (VMI) เป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการสินค้าคงคลัง (inventory management) โดยมีหลักการให้ผู้ขาย (vendor) เข้า ถึงข้อมูลยอดคงเหลือ รวมถึงการเคลื่อนไหวของสินค้าในคลังของ ลูกค้า และทำหน้าที่บริหารจัดการเติมสินค้าให้ลูกค้าทดแทนระบบ การรับคำสั่งซื้อแบบเดิม มีเป้าหมายเพื่อลดการสำรองสินค้าที่มาก เกินจำเป็น และในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี การเรียนรู้ของ เครื่อง (machine learning) เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ ที่พัฒนามาจากการศึกษาการรู้จำแบบ ทำให้คอมพิวเตอร์มีความ สามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองจากชุดข้อมูลตัวอย่าง นำอัลกอริทึม มาใช้ในการสร้างตัวแบบการเรียนรู้ทำนายหรือตัดสินใจได้ภายหลัง โดยปราศจากการทำงานตามลาดับคำสั่งโปรแกรม ถูกนำมาใช้ ประโยชน์ในหลากหลายด้าน จึงเป็นสิ่งท้าทายที่จะศึกษาและประยุกต์ การนำระบบ VMI เข้ามาใช้ในโรงพยาบาล ด้วยการสร้างตัวแบบ จากการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และให้คลังยาทำหน้าที่ในการเติมยาให้หน่วยบริการ เป็นการปรับปรุงกระบวนการ ทำงาน พร้อม ทั้งพัฒนาระบบการสารองยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อจำลองสถานการณ์การสำรองยารักษาโรคมะเร็ง โดยคลังยา ด้วยระบบการเติมสินค้าโดยผู้ขาย ผ่านการจำแนกข้อมูล ด้วยต้นไม้ตัดสินใจ เปรียบเทียบกับสถานการณ์จริงในคลังยาย่อย เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อการให้บริการและลดมูลค่าการสำรองยา คงคลังลง วิธีการ: เนื่องด้วยลักษณะความต้องการใช้ของยาแต่ละ รายการมีความแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถใช้นโยบายในการสำรอง ยาเพียงนโยบายเดียวได้ จึงใช้การศึกษาสถานการณ์ข้อมูลการใช้ยา รักษาโรคมะเร็งในสถาบันมะเร็งแห่งชาติย้อนหลัง นำมาวิเคราะห์จัด แบ่งตามลักษณะของความต้องการใช้ยาด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) จำแนกข้อมูลด้วยต้นไม้ตัดสินใจ (decision trees classification) และจำลองสถานการณ์การเติมสินค้าโดย ผู้ขายด้วยตัวแบบที่เหมาะสม ผล: พบว่าสามารถลดมูลค่าการสำรอง ยาคงคลังเฉลี่ย (average Inventory value) ลงได้ 788,328.53 บาท / วัน คิดเป็นร้อยละ 13.28 และลดจำนวนวันสำรองยาคงคลัง เฉลี่ย (average days of stock) จาก 18.04 วัน เป็น 15.84 วัน ด้วย ระดับการบริการ (service rate) ร้อย ละ 99.96 พร้อมทั้งลดจานวน ครั้งในการสำรองยาลงได้ร้อยละ 72.73 สรุป: การเติมสินค้าโดย ผู้ขายด้วยตัวแบบที่เหมาะสมจากการจัดแบ่งตามลักษณะของความ ต้องการใช้ยาด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ผ่านการจำแนกข้อมูลด้วยต้นไม้ตัดสินใจ สามารถลดมูลค่าการ สำรองยาคงคลังเฉลี่ย (average Inventory value), จำนวนวัน สำรองยาคงคลังเฉลี่ย (average days of stock) และจำนวนครั้ง ในการสำรองยาลง โดยยังรักษาระดับการบริการ (service rate) ไว้ ได้ พบการสำรองยาที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการอยู่ร้อยละ 0.04 สาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการใช้ยาที่เพิ่มขึ้น จากเดิมมาก ทั้งนี้กรณียาในกลุ่มยามุ่งเป้า (targeted therapy) ที่มีความต้องการใช้ยาเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละราย การใช้กฎ ในการจำแนกลักษณะความต้องการใช้ยาจากจำนวนผู้ป่วยและ อัตราการใช้ยาย้อนหลังจากงานวิจัยนี้อาจไม่เหมาะสม ก่อให้เกิด ความเสี่ยงในการสำรองยาคลาดเคลื่อนจากจานวนผู้ป่วยที่แท้จริงได้" }
{ "en": "Background: Intussusception is a common cause of bowel obstruction in emergency setting of pediatric age. Prompt diagnosis and treatment are necessary. This condition is treatable by non-operative radiological method. Objective: To compare the results of non-operative treatment between saline hydrostatic reduction under ultrasonographic guidance and pneumatic reduction under fluoroscopic guidance in intussusception patients at Queen Sirikit National Institute of Child Health (QSNICH). Method: A retrospective cohort study to compare the success rate of treatment between saline hydrostatic reduction under ultrasonographic guidance and pneumatic reduction under fluoroscopic guidance in intussusception patients at QSNICH were collected between October 2017 and February 2019. Results: Fifty-three non-operative reduction of intussusception from 49 patients (age ranging from 2 months to 4 years 1 month) were enrolled. Thirteen from nineteen intussusceptions (68.4%) were successfully reduced by saline hydrostatic reduction under ultrasonographic guidance without perforation or recurrence. Thirty from thirty four intussusceptions (88.2%) were successfully reduced by pneumatic reduction under fluoroscopic guidance. Two patients had bowel perforation under the pneumatic reduction (perforation rate 5.9%). Five patients who treated by pneumatic method had the second episode of recurrence after the first intussusception at an interval of 2 days to 4 months (recurrent rate 14.7%). One patient underwent both hydrostatic method and pneumatic method consecutively with a failure from both methods. Conclusions: The success rate of hydrostatic method was not significant statistically difference from pneumatic method (p = 0.077).", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะลำไส้กลืนกันเป็นสาเหตุเกิดลำไส้อุดตัน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก การวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีมีความสำคัญ ในการลดภาวะแทรกซ้อน ภาวะลำไส้กลืนกันสามารถให้การรักษา ด้วยวิธีไม่ผ่าตัดได้ วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วย ลำไส้กลืนกันแบบไม่ผ่าตัด ระหว่างวิธีใช้น้ำเกลือโดยประเมินภาพ ระหว่างการรักษาผ่านเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง และวิธีใช้ลมดัน โดยประเมินภาพระหว่างการรักษาผ่านเครื่องเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วิธีการ: ศึกษาย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วย ภาวะลำไส้กลืนกัน ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีใช้น้ำเกลือดันลำไส้กลืน กันประเมินภาพระหว่างการรักษาผ่านเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง และ วิธีการใช้ลมดันลำไส้กลืนกันประเมินภาพผ่านเครื่องฟลูโอโรสโคปี ที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระหว่าง 1 ตุลาคม 2560 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2562 ผล: ผู้ป่วยลำไส้กลืนกันที่ได้รับการรักษาด้วย วิธีไม่ผ่าตัด 53 ครั้ง จากผู้ป่วย 49 ราย อายุระหว่าง 2 เดือน ถึง 4 ปี 1 เดือน รักษาด้วยวิธีสวนน้ำเกลือเพื่อดันลำไส้กลืนกัน ประเมิน ภาพระหว่าง การรักษาด้วยเครื่องคลื่นเสียง ความถี่สูงจำนวน 19 ครั้ง รักษาสำเร็จจำนวน 13 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 68.4 การรักษา 34 ครั้ง ใช้วิธีสวนลมดันลำไส้กลืนกันประเมินภาพระหว่างการรักษา ด้วยเครื่องฟลูโอโรสโคปี สำเร็จ 30 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 88.2 พบ ลำไส้ทะลุระหว่างรักษาด้วยการใช้ลม 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.9 พบการเป็นซ้ำของลำไส้กลืนกันที่เคยรักษาโดยวิธีใช้ลมที่ 2 วัน ถึง 4 เดือนหลังการรักษาครั้งแรก อัตราการเป็นซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 14.7 ผู้ป่วย 1 ราย รักษาไม่สำเร็จด้วยการรักษาทั้งสองวิธี สรุป: การรักษาด้วยวิธีสวนน้ำเกลือดันลาไส้กลืนกันโดยประเมินภาพด้วย เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง ผลสำเร็จของการรักษาไม่แตกต่างเมื่อ เทียบกับวิธีการสวนลมโดยประเมินภาพระหว่างรักษาด้วยเครื่อง ฟลูโอโรสโคปี มีค่า p = 0.077" }
{ "en": "Background: The high efficiency newborn hearing screening program that decrease the abnormal hearing screening result newborns will reduce the problem of referral system for diagnosis because lack of audiologist in each health region. Objective: To study cost - effectiveness between newborn hearing screening with Automated Auditory Brainstem Response (AABR) when Otoacoustic Emission (OAE) unpass (AABR + OAE when OAE unpass) to reduce refer rate for diagnostic test to OAE alone program. Method: Data from newborn hearing screening in Rajavithi Hospital during Oct 1st 2019 to Sep 30th 2020 were used to assess the cost - effectiveness of AABR when OAE unpass. The data of OAE alone in Rajavithi Hospital was previously reported in 2011. The model based cost-effectiveness analysis were conducted and limited at the time to diagnostic test with horizontal time frame 1 year without reduction rate. All the cost for screening include all societal perspective which were indirect and direct cost whether by hospital and family. The outcome measure of the economic analysis was the cost per case of decrease refer newborn for diagnosis. In order to reflect uncertainty, deterministic and probabilistic sensitivity analyses were performed. Result: The direct cost of AABR + OAE when OAE unpass was 1016.61 Baht and OAE was 188.71 Baht. The result of total cost which included direct and indirect cost in the protocol of AABR + OAE when OAE unpass was 3,186,461.00 Baht compare to OAE protocol which was 3,314,425.61 Baht per 10,000 newborns hearing screening and the number of refer newborn of AABR + OAE when OAE unpass was 12 compare to 54 newborns for conventional protocol by saving for the cost of 3,044.33 Baht. Conclusions: The protocol of AABR + OAE when OAE unpass decrease refer newborn for diagnosis which decrease of total cost of hearing from screening to diagnosis. And in the area that audiologist was not available, this protocol will be benefit in the term of reduction of refer rate and waiting list for diagnosis.", "th": "ภูมิหลัง: โปรแกรมการคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดที่ มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดปัญหาการส่งต่อเด็กที่มีผลการคัดกรอง การได้ยินผิดปกติเพื่อให้การวินิจฉัย จากการที่มีปัญหาความ ขาดแคลนของนักตรวจแก้ไขการได้ยิน ซึ่งส่วนใหญ่มีจำนวนน้อยต่อ เขตสุขภาพ วัตถุประสงค์: ศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรม คัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดโดยการใช้ A utomated Auditory Brainstem Response (AABR) ร่วมกับ Otoacoustic Emission (OAE) ในการลดจำนวนเด็กที่ต้องส่งต่อมาเพื่อรับการวินิจฉัย เปรียบ เทียบกับโปรแกรม OAE อย่างเดียว วิธีการ: ใช้ข้อมูลจากการ คัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลราชวิถีระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 เพื่อประเมินต้นทุนและ ประสิทธิผลของการคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิดด้วย AABR ร่วมกับ OAE เมื่อตรวจไม่ผ่าน และ ข้อมูลจากงานวิจัยการคัด กรองการได้ยินทารกแรกเกิดโรงพยาบาลราชวิถีด้วย OAE อย่าง เดียวในปี พ.ศ. 2554 การประเมินต้นทุนประสิทธิผลใช้แบบ จำลอง กำหนดกรอบระยะเวลาในแบบจำลอง 1 ปี คือตั้งแต่แรก เกิดถึงอายุ 1 ปี โดยใช้มุมมองทางสังคม ความคุ้มค่าวิเคราะห์ จากอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มในการลดจำนวนทารก ที่ตรวจไม่ผ่านและส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์ความ ไม่แน่นอนของผลลัพธ์โดยวิธี one-way sensitivity analysis ผล: พบว่า ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ของวิธี AABR + OAE เมื่อ OAE ไม่ผ่าน มีค่า 1,016.61 บาท และ วิธี OAE ซึ่งมีค่า 188.71 บาท เมื่อคิดค่าใช้จ่ายทั้งต้นทุนทางการแพทย์ และ ต้นทุนทาง อ้อมในแบบจำลอง พบว่า วิธี AABR + OAE เมื่อ OAE ไม่ผ่าน มี ค่า 3,186,461.00 บาท แต่ OAE คิดเป็น 3,314,425.61 บาทต่อ การคัดกรองการได้ยินทารก 10,000 ราย โดยมีทารกที่ต้องส่งต่อไป วินิจฉัย 12 ราย เทียบกับ 54 รายในวิธีเดิม สามารถประหยัดเงินได้ 3,044.33 บาท ต่อการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยหนึ่งราย ความ น่าจะเป็นที่คัดกรองด้วยวิธี OAE ครั้งที่ 2 แล้วผ่าน เป็นตัวแปรที่ มีอิทธิพลที่สุดต่อความไม่แน่นอน สรุป: โปรแกรมการคัดกรองการ ได้ยินทารกแรกเกิดด้วย AABR ร่วมกับ OAE เมื่อ OAE ไม่ผ่าน ช่วย ลดการส่งต่อทารกเพื่อการวินิจฉัยด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง โดยเฉพาะ ในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนนักตรวจแก้ไขการได้ยิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ใน เรื่องของการส่งต่อและระยะเวลารอคอยการวินิจฉัย" }
{ "en": "Background: Marijuana has been known for thousand years. It’s a drug for entertainment. Marijuana would affect mind, body and society. A number of users have psychiatric disorders. Objective: This study was the first to determine the prevalence of psychiatric disorders in cannabis dependents at Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment (PMNIDAT) and determine the relationship between period, times, dosages of marijuana per day, sex, age, occupation and marital status and the prevalence of psychiatric disorders. Method: The study was a retrospective descriptive study. Four hundred and twenty four inpatients medical records of cannabis dependence were collected during 2010 – 2016 (7 fiscal years). Questionnaires collecting demographic data and clinical characteristics developed by the author. Data were analyzed by descriptive statistic, chi-square test and Fisher’s exact test with the significant level at p = 0.05. Results: Overall, The results revealed that 91.5% of cannabis dependents PMNIDAT inpatients had psychiatric disorders, among which were psychotic disorder 83.7%, anxiety disorder 64.9% and mood disorder 56.1%. Time period of using marijuana was significantly related the prevalence of mood disorder. Amount of marijuana used per day and occupation were related to the prevalence of psychotic disorder. Frequency of using marijuana per day was related to the prevalence of psychiatric disorder, psychotic disorder and anxiety disorder. Age is significantly connected to the prevalence of psychiatric disorder, psychotic disorder and moods disorder. Sex and marital status were not significantly related to the prevalence of psychiatric disorders. Conclusion: Cannabis dependence has a greater chance of having psychiatric disorder (s) than a person who does not use marijuana. Factors associated with psychiatric disorder in marijuana dependents were age, occupation, time duration, dosages and frequency of using marijuana per day, Therefore, Implementing cannabis for medical use should be reviewed the pro and corns from all perspectives.", "th": "ภูมิหลัง: กัญชาเป็นสารเสพติดซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานนับพันปี เป็นยาเสพติดที่ถูกใช้เพื่อความบันเทิง แต่ปัจจุบันพบว่า เมื่อบุคคลเสพติดกัญชาจะเกิดผลกระทบต่อทั้งร่างกายจิตใจ และสังคม ผู้เสพติดจำนวนหนึ่งเกิดอาการทางจิตจาก การติดกัญชา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของโรคทางจิตเวชในผู้ป่วยเสพติดกัญชาที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลา จำนวน ขนาดกัญชาที่เสพติด เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส กับความชุกของโรคทางจิตเวช วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ศึกษาแบบย้อนหลัง จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราชชนนี (สบยช.) ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 424 ราย เป็น ผู้ป่วยเสพติดกัญชาทั้งชายและหญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษาใน สบยช. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2560 (7 ปีงบประมาณ) เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะของผู้ป่วย และแบบบันทึกอาการ อาการแสดงของโรคทาง จิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลแสดงผลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ใช้ Chi-square และFisher’s exact test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผล: พบว่า ผู้ป่วยเสพติดกัญชาที่เข้ารับการบำบัดรักษาใน สบยช. มีความชุกของการเกิดโรคทางจิตเวช (psychiatric disorder) ร้อยละ 91.5 ในจำนวนนี้พบเป็น โรคจิต (psychotic disorder) โรควิตกกังวล (anxiety disorder) และโรคทางอารมณ์ (mood disorder) คิดเป็นร้อยละ 83.7, 64.9 และ 56.1 ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น (ระยะเวลา จำนวนขนาดกัญชาที่ใช้ เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส) กับตัวแปรตามคือ ความชุกในการเกิดโรคทางจิตเวช พบว่า ระยะเวลาการใช้กัญชามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางอารมณ์ ปริมาณการใช้กัญชาต่อวัน และอาชีพมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคจิต ความถี่ในการใช้กัญชาต่อวันมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางจิตเวช อาการของโรคจิตและโรควิตกกังวล อายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางจิตเวช โรคจิต และโรคทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ตัวแปรเพศและสถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกในการเกิดโรคทางจิตเวช สรุป: ผู้ที่เสพติดกัญชามีโอกาสเกิดโรคทางจิตเวชได้มากกว่าบุคคลที่ไม่ได้ใช้กัญชา ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางจิตเวชในผู้เสพติดกัญชา ได้แก่ อายุ อาชีพ ระยะเวลาในการใช้กัญชา ปริมาณ และความถี่ในการใช้กัญชาต่อวัน ดังนั้น การจะนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จึงควรมีการทบทวนถึงผลดี – ผลเสียที่จะเกิดจากการใช้กัญชา" }
{ "en": "Background: In totally extraperitoneal laparoscopic inguinal hernia repair (TEP), it is accepted that mesh fixation is necessary to prevent mesh displacement and hernia recurrence. However, fixation by using staples may cause complications, such as pubic injury and nerve entrapment, leading to chronic pain. Objective: To compare the use of staples with that of N-butyl-2-cyanoacrylate glue in mesh fixation of TEP inguinal hernia repair. Method: A randomized controlled trial was conducted during June 2015- 2017. Sixty patients with TEP were allocated into two groups, 30 patients in staple group (Protack) and 30 patients in the glue group (Histoacryl). Data collected included demographic data, operative time, postoperative pain (mumerical rating scale), chronic pain, complications and recurrence. Results: Numerical rating scale (NRS) in the staple group was significantly greater than that of the glue group after 12 hours (1.97±0.85 vs 1.20±1.19, p=0.006) and 48 hours (1.65±0.89 vs 0.93±0.96, p=0.006).The incidence of chronic pain was higher in the staple group at three months (16.7% vs 13.3%, p=0.424) and six months (6.7% vs 3.3%, p=0.353). Demographic data and complications showed no significant difference between the two groups. Hernia recurrence was not found in either group after six months follow-up. Conclusions: N-butyl- 2-cyanoacrylate glue might be an alternative choice of mesh fixation in TEP due to satisfactory outcomes and complications were not different compared to staple fixation.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ laparoscopic totally extraperitoneal repair (TEP) นั้น เป็น ที่ยอมรับว่าจำเป็นต้องยึดตาข่ายสังเคราะห์เพื่อป้องกันการ เคลื่อนหรือพับของตาข่ายสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ เกิดการกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อนขาหนีบ แต่การยึดตาข่าย สังเคราะห์โดยใช้ตัวยึดโลหะ มีโอกาสเกิดปัญหาแทรกซ้อน ได้ โดยเฉพาะการเจ็บปวดเรื้อรังหลังผ่าตัด วัตถุประสงค์:เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาของการยึดตาข่ายสังเคราะห์ โดยใช้ตัวยึดโลหะกับการใช้กาว N-butyl-2-cyanoacrylate ในการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ laparoscopic totally extraperitoneal repair วิธีการ: ทำการศึกษาแบบสุ่ม ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ TEP ทั้งหมด 60 ราย ระหว่างเดือนมิถุนายน 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ยึดตาข่ายสังเคราะห์ ด้วยตัวยึดโลหะ (Protack) จำนวน 30 ราย กับกลุ่มที่ยึด ตาข่ายสังเคราะห์ด้วยกาว N-butyl-2 cyanoacrylate (Histoacryl) จำนวน 30 ราย โดยเก็บข้อมูลอายุ, ดัชนีมวลกาย, ASA class, ชนิดของไส้เลื่อน ระยะเวลา ผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด อาการเจ็บปวดเรื้อรัง ภาวะ แทรกซ้อน และการกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อน ผล: ในกลุ่มที่ ยึดตาข่ายสังเคราะห์ด้วยตัวยึดโลหะ มีคะแนนความเจ็บปวด ที่ 12 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มที่ยึดตาข่าย สังเคราะห์ด้วยกาว N-butyl-2 cyanoacrylate และพบอาการ เจ็บปวดเรื้อรังในกลุ่มที่ยึดตาข่ายสังเคราะห์ด้วยตัวยึดโลหะมี อุบัติการณ์สูงกว่า ส่วนภาวะแทรกซ้อนไม่แตกต่างกันในผู้ป่วย ทั้ง 2 กลุ่ม และไม่พบการกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อนในระหว่าง ติดตามการรักษา สรุป: การใช้กาว N-butyl-2-cyanoacrylate น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เพื่อยึดตาข่ายสังเคราะห์ใน การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ แบบ TEP ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับการ ใช้ตัวยึดโลหะในการยึดตาข่ายสังเคราะห์" }
{ "en": "Background: Nonvalvular atrial fibrillation (NVAF) is the most common causes of atrial fibrillation (AF) in clinical practice. Many studies have demonstrated the oral anticoagulant drugs can reduce the risk of thromboembolism, but until now, there have had no clinical outcome trials including anticoagulant drugs in the patients with AF with nonrheumatic valvular heart disease (NRVHD). Objective: This trial was conducted to determine the clinical outcomes of AF patients with NRVHD compared with NVAF Methods: This study was a retrospective observational study in patients with AF in Central Chest Institute of Thailand between January 2015 to January 2017. Those were divided into AF patients with NRVHD and patients with NVAF. The primary outcome was the ischemic stroke and secondary outcomes were intracranial hemorrahge, the gastrointestinal bleeding (GIB) or all-cause mortality. The primary and secondary outcomes in this study were analyzed with chi-square test. Results: A total of 146 AF patients were recruited. There were 40 AF patients in the NRVHD group and 106 patients in the NVAF group .There was ischemic stroke in 3 patients (7.50%) in the NRVHD group and in 10 patients (9.40%) in the NVAF group (RR 0.79: 95% CI, 0.23 to 2.74; p = 0.71). No patient in the NRVHD group (0%) and 4 patients (3.77%) in the NVAF group had the intracranial hemorrhage (RR, 0; p = 0.21). There was gastrointestinal bleeding GIB in 4 patients (10%) in the NRVHD group and 2 patients (1.89%) in the NVAF group (RR 5.3; 95% CI, 1.00 to 27.81; p = 0.02). Eight patients (20.51%) in the NRVHD group and 4 patients (3.77%) in the NVAF group died (RR 5.43; 95% CI, 1.73 to 17.04; p < 0.01). Conclusions: AF patients with NRVHD had more GIB and death than those with NVAF. The oral anticoagulant drugs were appeared to be the prevention of ischemic stroke in the AF patients with NRVHD comparable to the patients with NVAF. However, the increased risk of GI bleeding and death limited its use in these patients.", "th": "ภูมิหลัง: โรคหัวใจเต้นระริกชนิดที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจเต้นระริกในเวชปฏิบัติ การศึกษา ส่วนใหญ่แสดงว่าการให้ยาละลายลิ่มเลือดช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มี การศึกษาผลทางคลินิกตลอดจนการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่มีโรคลิ้นหัวใจชนิดที่ไม่ได้เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติก และโรคหัวใจเต้นระริก วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทางคลินิกของผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่มีโรคลิ้นหัวใจชนิดที่ไม่เกิดจาก โรคลิ้นหัวใจรูมาติกเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกชนิดที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษา แบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกในสถาบันโรคทรวงอกระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยได้แบ่งผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจชนิดที่ไม่ได้เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติกและผู้ป่วยโรค หัวใจเต้นระริกชนิดที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ ผลลัพธ์หลักคือการเกิดโรคสมองขาดเลือดและผลลัพธ์รองคือ การเกิดเลือดออกใน สมอง การเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ โดยผลลัพธ์หลักและผลลัพธ์รองจะได้รับวิเคราะห์ ด้วย chi-square test ผล: ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริก 146 รายได้เข้าสู่การศึกษา มีผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่มีโรคลิ้นหัวใจ ที่ไม่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติก 40 ราย และผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ 106 ราย พบโรคสมองขาดเลือดใน ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่มีโรคลิ้นหัวใจที่ไม่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติก 3 ราย (7.50%) และในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ 10 ราย (9.40%) [RR 0.79; 95 CI, 0.23 to 2.74; p = 0.71] ไม่พบเลือดออกในสมองในผู้ป่วยโรคหัวใจ เต้นระริกที่มีโรคลิ้นหัวใจที่ไม่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติก (0%) และมีเลือดออกในสมองในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ไม่มี โรคลิ้นหัวใจ 4 ราย (3.77%) [RR 0; p = 0.21] มีเลือดออกในทางเดินอาหาร 4 รายในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่มีโรค ลิ้นหัวใจที่ไม่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติก (10%) และ 2 รายในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ (1.89%) [RR 5.3; 95% CI, 1.00 to 27.81; p = 0.02] มีผู้ป่วยเสียชีวิต 8 รายในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่มีโรคลิ้นหัวใจที่ไม่เกิดจากโรค ลิ้นหัวใจรูมาติก (20%) และ 4 รายในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ (3.77%) [RR 5.43; 95% CI, 1.73 to 17.04; p < 0.01] สรุป: ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่มีโรคลิ้นหัวใจที่ไม่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจรูมาติกมีเลือดออกในทางเดินอาหารและ เสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นระริกที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจ ยาละลายลิ่มเลือดสามารถป้องกันโรคสมองขาดเลือดได้ไม่แตกต่าง กันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดเลือดออกทางเดินอาหารและเสียชีวิตจะจำกัดในการใช้ ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้" }
{ "en": "Background: Patients who were diagnosed with C7-T1 brachial plexus injury lost sensation in the area which was supplied by the sensory branch of the ulnar nerve. Neurotization or nerve transfer of the radial branch of the superficial radial nerve (RSRN) to the sensory branch of the ulnar nerve would provide the protective sensation method in these group of patients. Objectives: To study the feasibility in transferring the RSRN to the sensory branch of the ulnar nerve by studying the relationship between the arm length, nerves and branches of the superficial radial nerve (SBRN), in both male and female. Methods: To study 80 cadaver´s forearms, measuring arm length, the RSRN and the sensory branch of the ulnar nerve. Studying the number of SBRN branches and a suitable surgery procedure of nerve transfer surgery for both male and female by defining a clear reference point. The measurements were measured by the physician with intra-observer reliability test ICC>0.9. Results: The arm length was significantly related to the sensory branch of the ulnar nerve (p = 0.001) but there was no significant change relating to the radial nerve (RSRN) (p = 0.439). The SBRN from both male and female had two branches and were suitable for the surgical procedure. Conclusions: Nerve transfer of the radial branch of the superficial radial nerve (RSRN) to the sensory branch of the ulnar nerve was feasible, with no tension at the suture point. We found every cadaver had two branches of the superficial radial nerve (SBRN), with possible minor donor site deficit because it was compensated by the ulnar branch of the superficial radial nerve and median nerve.", "th": "บทนำ: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บของ แขนงประสาทเบรเคียลระดับคอที่ 7 ถึงระดับอกที่ 1 (C7-T1 brachial plexus injury) จะมีการสูญเสียการรับความรู้สึก เพื่อป้องกันอันตราย (protective sensation) บริเวณมือด้าน ใน โดยเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณนี้คือเส้นประสาทรับความรู้สึกอัลนา (sensory branch of the ulnar nerve) การรักษาโดยการผ่าตัดย้ายเส้นประสาท (neurotization หรือ nerve transfer) โดยใช้เส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้นของ เส้นประสาทเรเดียลไปเส้นประสาทรับความรู้สึกของเส้นประสาท อัลนา จะช่วยให้มีการรับความรู้สึกเพื่อป้องกันอันตรายได้ ถ้าเลือกวิธีผ่าตัดที่เหมาะสม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความ เหมาะสมของการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้น ของเส้นประสาทเรเดียลไปเส้นประสาทรับความรู้สึกของเส้น ประสาทอัลนา ศึกษาความสัมพันธ์ของความยาวแขนกับเส้น ประสาททั้งสอง และจำนวนสาขาของเส้นประสาทรับความ รู้สึกส่วนตื้นของเส้นประสาทเรเดียลทั้งเพศชายและหญิง วิธีการ: ศึกษาแขน 80 ข้างในร่างอาจารย์ใหญ่ วัดความยาว แขน เส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้นของเส้นประสาทเรเดียล และเส้นประสาทรับความรู้สึกของเส้นประสาทอัลนา จำนวน สาขาของเส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้นของเส้นประสาท เรเดียล และความเหมาะสมของการผ่าตัดย้ายเส้นประสาท ทั้งเพศชายและเพศหญิง กำหนดจุดอ้างอิงที่ชัดเจน โดยการ วัดด้วยแพทย์และมีการทดสอบความเที่ยง (intra-observer reliability) ICC>0.9 ผล: ความยาวแขนมีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติกับ เส้นประสาทรับความรู้สึกของเส้นประสาท อัลนา (p = 0.001) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับเส้นประสาท รับความรู้สึกส่วนตื้นของเส้นประสาทเรเดียล (p = 0.439) เส้น ประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้นของเส้นประสาทเรเดียลมี 2 สาขา และมีความเหมาะสมในการผ่าตัดทุกร่างทั้งเพศชายและเพศ หญิง สรุป: การผ่าตัดย้ายเส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้น ของเส้นประสาทเรเดียลไปเส้นประสาทรับความรู้สึกของเส้น ประสาทอัลนาสามารถทำได้ โดยไม่มีความตึงที่จุดเย็บต่อ และ พบว่าทุกแขนของอาจารย์ใหญ่มีสาขาของเส้นประสาทรับความ รู้สึกส่วนตื้นของเส้นประสาทเรเดียลจำนวน 2 สาขา ซึ่งเป็นไป ได้ว่าจะเกิดความสูญเสียการรับความรู้สึก (donor site deficit) น้อยเนื่องจากมีการชดเชย (compensate) จากแขนงด้าน อัลนา (ulnar branch) ของเส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนตื้น ของเส้นประสาทเรเดียล และ เส้นประสาทมีเดียน" }
{ "en": "The objective of this study was to evaluate the recall rate of children with special health care need after dental treatment under general anesthesia over a 24-month period. Retrospective data of patients receiving dental treatment under general anesthesia at the dental department of Queen Sirikit National Institute of Child Health, during January 1, 2014 to December 31, 2016 was collected from the patient’s medical records. The data included general information, oral health information before receiving dental treatment, dental treatment and follow-up information. Data were analyzed using descriptive and Chi square statistics. All 36 patients, with an average age of 5.6 ± 2.3 years, had underlying diseases and/or were patients with special health care needs. 58.6% returned for the one-week postoperative visit. The return rate for the 3, 6, 12 and 24-month followed up appointment were 70.8%, 64.7%, 69.2% and 83.3% respectively. 22.2% of treated patients were regular visiting. Factors that may affect continuity of visiting were medical disease and living location.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการกลับมาติดตามผลภายหลังการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบของผู้ป่วยเด็กพิเศษ ในช่วงระยะเวลา 24 เดือน เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบจากกลุ่มงานทันตกรรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2559 ข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลสุขภาพช่องปากก่อนได้รับการรักษาทางทันตกรรม ข้อมูลการรักษาทางทันตกรรม และข้อมูลการกลับมาติดตามผลการรักษาภายหลังการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square ผู้ป่วย 36 ราย อายุเฉลี่ย 5.6±2.3 ปี มีโรคประจำตัวและ/หรือมีกลุ่มอาการที่ต้องการได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษทุกราย การติดตามผลภายหลังการรักษา 1 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมาตรวจตามนัดร้อยละ 58.6 อัตราการ กลับมาตรวจตามนัดในช่วง 3, 6, 12 และ 24 เดือน คิดเป็น ร้อยละ 70.8, 64.7, 69.2 และ 83.3 ตามลำดับ พบผู้ป่วยเพียงร้อยละ 22.2 ที่มาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการมาตามนัดสม่ำเสมอ ได้แก่โรคประจำตัว และที่อยู่อาศัย" }
{ "en": "Background: The autologous skull flap cranioplasty has the potential strong bony fusion, replaced in the original position achieves the best cosmetic and eliminates the problem of rejection. The optimal timing for cranioplasty has remained controversial. The long waiting time for the cranioplasty affects the recovery of the neuronal function. Method: The retrospective comparative studied in thirty-one patients with traumatic head injury who underwent the subcutaneous autologous preservation and the outcome of the early and late cranioplasty. Results: The early and late cranioplasty were safe, efficient, feasible technique and no differences between the two groups, but the late cranioplasty loss of bone mass and effect to reconstruction result in improper shape and size. Conclusion: Cranioplasty should be early performed when the patient is stable and the early cranioplasty is a suitable technique", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะโดยใช้กะโหลกตัวผู้ป่วยเองมีความแข็งแรงได้รูปทรงสวยงามและลดปัญหา การถูกปฏิเสธเนื้อเยื่อของร่างกาย แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะยังคงเป็นที่ข้อโต้แย้งกันอยู่ ระยะเวลา รอคอยการผ่าตัดปิดกะโหลกที่นานเกินไปมีผลต่อการฟื้นตัวของระบบประสาท วิธีการ: การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบย้อนหลัง ในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ 31 รายที่ได้รับการเก็บรักษากะโหลกใต้ผิวหนังและเปรียบเทียบผลการผ่าตัดปิดกะโหลกทันทีเมื่อพร้อม (early cranioplasty) และ การผ่าตัดแบบรอระยะเวลา (late cranioplasty) ผล: พบว่า การผ่าตัดกะโหลกศีรษะทั้ง 2 วิธี มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมไม่แตกต่างกัน แต่การผ่าตัดแบบรอระยะเวลามีการสูญเสียมวลกระดูกของ กะโหลกศีรษะส่งผลต่อรูปทรงศีรษะเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของกะโหลกศีรษะ สรุป: การผ่าตัดปิดกะโหลก ศีรษะควรทำเร็วที่สุดเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการฟื้นตัวดีแล้ว การผ่าตัดปิดกะโหลกทันทีเมื่อพร้อมเป็นวิธีที่มีความเหมาะสม" }
{ "en": "Neuromyelitis Optica Spectrum Disorder (NMOSD) is a central nervous system inflammatory disorder. One part of pathogenesis of disease is related to abnormal B cells function and cytokine expression especially B cells sub population called memory B cells (CD27 + CD19 +). The objective of this study is to compare the percentage of memory B cells between patients diagnoses with NMOSD and healthy subject control. The secondary objective is to compare percentage of memory B cells between the private laboratory and the laboratory of Institute of Pathology, Department of Medical Services. The blood from ten patients with NMOSD and equal number of healthy subject control were analyzed as percentage of memory B cell (CD27+ CD19+) by using flow cytometry. The percentage of memory cells were compared between patients with NMOSD and healthy subject control. Moreover the result of memory B cell from commercial private laboratory was compared with laboratory form Institute of Pathology, Department of Medical Services. The result shown percentage of memory B cells (CD27+ CD19+) in patients with NMOSD was significance higher than healthy subject control. The percentage difference of memory cell was 2.54% (p=0.028). In patients with recent relapse, the percentage of memory B cells was significance higher than non-relapse groups which 5.71% higher (p=0.003). There was no significance difference percentage of memory cells across private laboratory and laboratory of Institute of pathology, Department of medical service (p=0.064).", "th": "กลุ่มอาการนิวโรไมอิไลติสออปติกา (Neuromyelitis Optica Spectrum Disorder, NMOSD) เป็นความผิดปกติที่เป็นผลจากการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางจัดอยู่ในกลุ่มโรคปลอกประสาทถูกทำลาย มีการศึกษาพบว่ากลไกหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเกิดจากการทำงานผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ (B cells) และมีการออกฤทธิ์ของ cytokine ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ รวมถึงเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ในกลุ่มที่เรียกว่าเมโมรี่บีเซลล์ชนิด CD27+ CD19+ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดขาวชนิดเมโมรี่เซลล์ ระหว่างผู้ป่วยนิวโรไมอิไลติสออปติกากับคนปกติ และมีวัตถุประสงค์รองคือ เปรียบเทียบผลของเมโมรี่เซลล์ระหว่างห้องปฏิบัติการของเอกชนกับห้องปฏิบัติการของสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ โดยนำเลือดที่ได้จากอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยนิวโรไมอิไลติสออปติกา 10 รายและเลือดจากกลุ่มคนปกติที่เป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 10 รายจะถูกนำมาวิเคราะห์โดยเครื่องแยกวิเคราะห์เซลล์ (flow cytometry) เพื่อหาระดับเปอร์เซ็นต์ของเมโมรี่บีเซลล์ชนิด CD27+ CD19+ และข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ระดับเปอร์เซ็นต์ของเมโมรี่ บีเซลล์ชนิด CD27+ CD19+ ที่ตรวจโดยส่งไปยังห้องปฏิบัติการเอกชนจะนำมาเปรียบเทียบกับผลวิเคราะห์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ ผลการศึกษา พบว่าระดับเปอร์เซ็นต์ของเมโมรี่บีเซลล์ชนิด CD27+CD19+ ที่ได้จากอาสาสมัครผู้ป่วยนิวโรไมอิไลติสออปติกา มีระดับเปอร์เซ็นต์ของเมโมรี่เซลล์สูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยพบความต่างระดับเปอร์เซ็นต์ของชนิด CD27+ CD19+ อยู่ที่ร้อยละ 2.54 (p=0.028) และพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการกลับเป็นซ้ำฉับพลัน (recent relapse) มีระดับเปอร์เซ็นต์ของเมโมรี่เซลล์ชนิด CD27+ CD19+ สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีการกลับเป็นซ้ำ โดยพบความต่างระดับที่ร้อยละ 5.71 (p=0.003) ส่วนการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการของเอกชนกับห้องปฏิบัติการสถาบันพยาธิวิทยานั้น ไม่พบความแตกต่างระหว่างห้องปฏิบัติการทั้งสองแห่งในการตรวจหาระดับเปอร์เซ็นต์ของเมโมรี่บีเซลล์ชนิด CD27+ CD19+ อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.064)" }
{ "en": "Background: Chronic kidney disease (CKD) is an emerging non-communicable diseases which poses economic burden to the country. Objective: This study aimed to compare the actual costs of care for patients with pre-dialysis chronic kidney disease at Khlong-Lan hospital. Methods: A retrospective analysis was conducted by using Khlong-Lan hospital information database. All costs of resource utilization of patients who had been diagnosed with stage 3-5 Pre-dialysis CKD from January 1 to December 31, 2016 were collected. These include the followings costs: medicine, cost of hospitalization (if any), blood & blood components, laboratory and pathology investigations, diagnostic radiology and radiotherapy, special diagnostic tests, medical equipment services, procedure and anesthesia services, nursing services, physical therapy services and medical supplies. Costs estimation was done by using 2 different sources (1) unit cost of Khlong-Lan hospital and (2) a standard list of costs for community hospital. Results: Data from 215 patients with stage 3-5 Pre-dialysis CKD were obtained. The costs were adjusted to the 2018 fiscal year costs. The mean total cost (per person per year) estimated with the standard list of cost for community hospital was 25% lower than that estimated with the unit cost of Khlong-Lan hospital (5,611 and 7,478 Thai Baht respectively). Conclusion: The cost of health care for patients with pre-dialysis CKD estimated with the standard list of cost for community hospital yielded lower amount than that based on unit cost of Khlong-Lan hospital.", "th": "ภูมิหลัง: โรคไตเรื้อรังเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายต่อประเทศค่อนข้างสูง วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะก่อนการบำบัดทดแทนไตที่โรงพยาบาลคลองลาน วิธีการ: ทำการศึกษาแบบย้อนหลังใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลคลองลาน ทำการศึกษาเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายของทรัพยากรทั้งหมดที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสามถึงระยะห้า และยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตช่วงเวลาที่ทำการศึกษา คือระหว่าง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ค่าใช้จ่ายที่ถูกนำมาศึกษาคือ ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด ค่าห้องและค่าอาหารผู้ป่วยใน ค่าบริการโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์ และพยาธิวิทยา ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา ค่าตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ ค่าทำหัตถการและวิสัญญี ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าบริการทางกายภาพบำบัดและทางเวชกรรมฟื้นฟูค่าเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา คำนวณค่าใช้จ่ายโดยใช้แหล่งข้อมูลราคา ต้นทุนต่อหน่วยทรัพยากรจาก 2 แหล่ง คือ 1) ราคาต้นทุนต่อหน่วยทรัพยากรของโรงพยาบาลคลองลาน และ 2) รายงาน ต้นทุนมาตรฐานของโรงพยาบาลชุมชน ปรับราคาค่าใช้จ่ายตามดัชนีเงินเฟ้อปี พ.ศ. 2561 ผล: ศึกษาข้อมูลจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่สามถึงระยะที่ห้า จำนวน 215 ราย ที่เข้าตามเกณฑ์การศึกษา เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายตามราคาต้นทุนต่อหน่วยทรัพยากรของรายงานต้นทุนมาตรฐานของโรงพยาบาล ชุมชน พบว่าจะมีมูลค่าต่ำกว่ากรณีที่คำนวณตามราคาต้นทุน ต่อหน่วยทรัพยากรของโรงพยาบาลคลองลาน ประมาณร้อยละ 25 (มูลค่าเท่ากับ 5,611 บาทต่อรายต่อปี และ 7,478 บาท ต่อรายต่อปีตามลำดับ) สรุป: ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต กรณีที่คำนวณตามราคาต้นทุนต่อหน่วยทรัพยากรของรายงานต้นทุนมาตรฐานของโรงพยาบาลชุมชน มีมูลค่าต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่คำนวณตามราคาต้นทุนต่อหน่วยทรัพยากรของโรงพยาบาลคลองลาน" }
{ "en": "This research and development study aimed to develop ABCs nursing practice guideline for acute hemorrhagic stroke patients in the surgical intensive care unit at Chiang Mai Neurological Hospital and to compare patients outcomes of the nursing practice and nurse practitioners’ satisfaction between the new practice and the conventional nursing practice. The sample consisted of 52 participants selected purposively. Participants were divided into 2 groups, with 26 subjects in each group. Data were collected from June to August 2019. The research instruments comprised of a manual evaluation form, a patients’ outcome of nursing practice form, and a satisfaction evaluation form. The validity and reliability of the research instruments were assessed by 3 experts prior to collecting data. The CVI values were 0.98 and 0.93, respectively. The reliability values as measured by Cronbach’s alpha coefficient were 0.96 and 0.83, respectively. Data were analyzed using frequency distribution, mean, percentage, and standard deviation, and compared using the exact probability test and the Mann-Whitney U Test. The study indicated that ABCs nursing practice guidelines for acute hemorrhagic stroke patients, developed by compiling nursing practice from empirical evidence, significantly reduced the duration of treatment in the intensive care unit (p < 0.05). Nurses were satisfied with the content and implementation at a statistically significant level (p < 0.05). The incidences of complications (increased intracranial pressure, cerebral edema, ventilator associated pneumonia, and aspiration) decreased compared to the former guideline from 34.6% to 23.1%. In conclusion, the application of ABCs nursing practice guideline for acute hemorrhagic stroke patients in the surgical intensive care unit can be useful to decrease patients’ length of stay and reduce the occurrence of preventable complications.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลแบบ ABCs ในผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองระยะเฉียบพลันในงานการพยาบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ เปรียบเทียบผลลัพธ์ปฏิบัติการพยาบาลด้านผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติด้านเนื้อหาและการนำไปใช้กับแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะ เจาะจง จำนวน 52 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 26 ราย ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์ปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติ ตรวจสอบดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.98 และ 0.93 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach alpha’s coefficient) เท่ากับ 0.96 และ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ Exact probability test และ Mann-Whitney U Test ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยโรคเลือดออก ในสมองระยะเฉียบพลันแบบ ABCs ที่พัฒนาโดยการรวบรวม ปฏิบัติการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ระยะเวลานอนรักษาในงานการพยาบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และความพึงพอใจการนำไปใช้ มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อัตราการเกิด ภาวะแทรกซ้อน (ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง สมอง บวม ติดเชื้อ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและการสูดสำลัก) ลดลงจากกลุ่มที่ได้รับปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางแบบเดิมจากร้อยละ 34.6 เป็นร้อยละ 23.1 สรุปการ ดูแลผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองระยะเฉียบพลันโดยใช้แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลแบบ ABCs ในงานการพยาบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมมีประสิทธิภาพ ระยะเวลานอนรักษาในงานการพยาบาลผู้ป่วยหนักลดลง และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้" }
{ "en": "Evaluation of bioactive proteins in platelet-rich plasma after preparation, by using commercial centrifuge kits. Peripheral blood samples were drawn from 5 healthy male donors, aged 20-30 and processed with 2 types of commercial centrifugation column kits; a gel separator column kit (Selphyl, Dermalink Thailand) and a non-gel separator column kit (Mesoprase-20, Celtac Thailand). The completed blood count was measured by an automated machine. Additionally, the bioactive proteins were examined with the help of a cytokine chemokine profile and inflammatory marker such as: Platelet-derived growth factor-BB (PDGF-BB), Epidermal growth factor (EGF), Fibroblast growth factor-2 (FGF-2), Hepatocyte Growth factor (HGF) and Interleukin-8 (IL-8). All results were analysed by the Magnetic Bead Immuno Chemiluminescence Assay method by Luminex magpix (Merck, Thailand). The results indicated that white blood cells in Selphyl showed significant differences in comparison to Mesoprase-20 values (mean, 0.05 vs. 0.10, p=0.028)., whereas the values of red blood cells and platelets showed no considerable deviations for both centrifuge kits. The cytokine chemokine profile and inflammatory marker analysis indicated no significant differences, except for EGF and FGF-2. When we compared the levels of EGF and FGF-2 with the ones of the recovered platelets, it became evident that these did not correlate with the concentration of platelets. The platelets count isolated from Sephyl was lower than from Mesoprase-20 (210.6 ± 58.95 vs. 261.8 ± 67.58 respectively, p = 0.140), other than the FGF-2 level that turned out to be higher (137.17±11.77 vs. 127.28±13.89, p = 0.034). When we considered the EGF level, both PRP Kits correlated with platelets count (261.80±126.7 vs. 392.10±158.72, p = 0.040). The experiment showed that Selphyl is more efficient than Mesoprase-20 when isolating PRP with less white blood cells. Regardless, red blood cells, platelets and bioactive proteins showed slightly significant differences as compared to Mesoprase-20. It also became evident that Selphyl was more useful, practical, convenient and completely closed systemic when collecting and isolating PRP from whole blood. However, the variation of bioactive proteins in platelet-rich plasma depended on individual variations as it directly affected the quality of platelet-rich plasma.", "th": "การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ และ เปรียบเทียบปริมาณองค์ประกอบทางชีวภาพหลังการปั่น แยก PRP โดยทำการเจาะเลือดจากกลุ่มอาสาสมัครเพศชาย อายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 5 คน โดยอาสาสมัคร 1 คน จะทำการปั่นแยกส่วนประกอบของ PRP โดยใช้ชุดปั่นแยก 2 ชนิดคือ ชนิดมีเจล Sodium Citrate Gel Separator tube (Selphyl, Dermalink Thailand) และชนิดไม่มีเจล Sodium Citrate column (Mesoprase-20, Celtac Thailand) ทำการ ปั่นแยกแล้วตรวจหาปริมาณองค์ประกอบชีวภาพภายใน PRP ได้แก่ เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว รวม ทั้งปริมาณสารโปรตีนชีวภาพ (Growth factors Profile) ได้แก่ Platelet-derived growth factor-BB (PDGF-BB), Epidermal growth factor (EGF), Fibroblast growth factor-2 (FGF-2), Hepatocyte Growth factor (HGF) และสารบ่งชี้สภาวะการอักเสบ (Inflammatory profile) ได้แก่ Interleukin-8 (IL-8) โดยใช้หลักการ Magnetic Bead Immuno Chemiluminescence Assay ด้วยเครื่อง Luminex magpix (MERCK, Thailand) จากผลการทดลอง พบว่า Selphyl สามารถปั่นแยก PRP แล้วมีจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า Mesoprase-20 (mean, 0.05 vs. 0.10, p=0.028) อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่จำนวนเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดนั้นไม่มีความแตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบปริมาณสารโปรตีนชีวภาพใน PRP ทั้ง 2 ชนิดพบว่าระดับ PDGF-BB, HGF และ IL-8 ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ระดับ EGF และ FGF-2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ และพบว่าระดับ FGF-2 ไม่มีความสอดคล้องกับจำนวนเกล็ดเลือดที่ตรวจนับได้ โดยจำนวนเกล็ดเลือดใน PRP ที่ปั่นแยกได้จาก Selphyl มีค่าน้อยกว่า Mesoprase-20 (210.6 ± 58.95 vs. 261.8 ± 67.58, p = 0.140) ตามลำดับ แต่กลับมี ระดับ FGF-2 ที่สูงกว่า Mesoprase-20 (137.17±11.77 vs. 127.28±13.89, p = 0.034) ตามลำดับ แต่เมื่อพิจารณาระดับ EGF พบว่ามีความสอดคล้องกับจำนวนเกล็ดเลือดที่ตรวจวัดใน PRP ที่ปั่นแยกได้จากชุดปั่นแยกทั้ง 2 ชนิด (261.80±126.7 vs. 392.10±158.72, p = 0.040) ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าชุดปั่นแยก PRP ของ Selphyl นั้นสามารถปั่นแยก PRP แล้วได้องค์ประกอบทางชีวภาพที่สามารถตรวจพบได้ ภายใน PRP โดยมีปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่น้อยกว่าชุดปั่น Mesoprase-20 และมีจำนวนเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดแดง รวมถึงสารโปรตีนชีวภาพ Cytokine, Chemokine Profiles และ Inflammatory maker นั้นมีความแตกต่างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ Mesoprase-20 และยังสามารถทำการเตรียมปั่นแยกสกัด PRP ได้จาก Whole blood โดยไม่ยุ่งยาก สะดวก รวดเร็ว และเป็นระบบปิดอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามองค์ประกอบ ชีวภาพต่าง ๆ ภายใน PRP ที่ได้นั้นมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของแต่ละบุคคลและชนิดของชุดปั่นแยก PRP ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของ PRP ที่ได้" }
{ "en": "Periodontal disease is a highly prevalence oral disease in adult, and may ultimately cause tooth loss. There are many options for periodontal disease treatment, however the complete periodontal tissue regeneration is a goal. Currently, the concept of tissue engineering has been used in the treatment of periodontal disease, and cell-based tissue engineering is identified as a promising way to obtain periodontal regeneration. The objective of this meta-analysis was to quantitatively find out the effect of oral mesenchymal stem cells (MSCs) for periodontal tissue regeneration in human. PubMed database was systematically searched for related articles, together with searching in Google scholar and manual search at the Institute’s library. They were all filtered for articles in English or Thai from 1993 to 2018. Five articles, which are randomized control trials and clinical trials were accepted and extracted for meta-analysis. Data was calculated for standard mean difference (SMD) at 95% CI and random effect model was used. The results showed the decrease of clinical attachment level (SMD = -0.511; 95% CI -0.143 - (-0.879); p = 0.007), and the data was homogeneity (I2 = 0.00%). The probing depth reduction was increase (SMD = 0.390; 95% CI 0.038-0.741; p = 0.030), while data was moderate heterogeneity (I2 = 56.9%). In addition, bone fill was increase (SMD = 0.212; 95% CI -0.225 - 0.649; p = 0.342), and data was high heterogeneity (I2 = 88.1%). Moreover, no significant different in gingival recession (SMD = 0.001; 95% CI -0.360 - 0.362; p = 0.995), and the data was homogeneity (I2 = 0.00%). The result evidences suggest that oral MSCs benefit on periodontal regeneration. However, as less clinical trials and possible the risk of bias problems, the further higher quality researches are still required to prove the effectiveness of oral MSCs transplantation for periodontal tissue regeneration in clinical applications in the future.", "th": "โรคปริทันต์เป็นอีกโรคหนึ่งในช่องปากที่พบได้บ่อย หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่การสูญเสียฟัน ทางเลือกการรักษามีหลายวิธี โดยเป้าหมายสูงสุดของการรักษา คือหวังผลให้เกิดการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์อย่างสมบูรณ์ ในปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับหลักการของวิศวกรรม เนื้อเยื่อได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคปริทันต์มากขึ้น และอีกหนึ่งทางเลือกคือการนำวิศวกรรมเนื้อเยื่อโดยอาศัยเซลล์เป็นหลัก (cellbased tissue engineering) เพื่อหวังผลในการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์ วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้เพื่อตอบคำถามในเชิงปริมาณด้วยการวิจัยอย่างเป็น ระบบ ว่าผลของการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์จากเนื้อเยื่อในช่องปากของผู้ป่วยมีผลให้เกิดการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อปริทันต์อย่างไร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาดังกล่าวสืบค้นมาจากฐานข้อมูล PubMed อย่างเป็นระบบ สืบค้นจาก Google scholar ร่วมกับค้นหาด้วยมือจากในห้องสมุด เลือกเฉพาะบทความภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 ถึงปี ค.ศ. 2018 บทความที่ได้รับการยอมรับมี 5 บทความที่เป็นการทดลองที่มีการควบคุม (randomized control trials) และการศึกษาทางคลินิก (clinical trials) ทั้ง 5 บทความถูกนำมา วิเคราะห์อภิมาน โดยรวบรวมผลลัพธ์ทางคลินิกมีตัวชี้วัดได้แก่ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ (clinical attachment level) ร่องลึกปริทันต์ที่ลดลง (probing depth reduction) การเพิ่มขึ้นของความสูงกระดูก (bone fill) และระดับการร่นของขอบเหงือก (gingival recession) โดยนำข้อมูลมาเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้เซลล์ นำมาหาค่า standard mean difference (SMD) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิเคราะห์ พบว่า การรักษาโรคปริทันต์ที่มีความวิการของกระดูกในกลุ่มที่ ใช้เซลล์มีเซนไคม์จากเนื้อเยื่อในช่องปาก ผลการวิเคราะห์ของ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ลดลง (SMD =-0.511; 95% CI -0.143 – (-0.879); p = 0.007) ข้อมูลมีความเป็นเนื้อ เดียวกัน (I2 = 0.0%) พบร่องลึกปริทันต์ที่ลดลงมากขึ้น (SMD = 0.390; 95% CI 0.038 - 0.741; p = 0.030) ข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันระดับกลาง (I2 = 59.9%) และปริมาณกระดูกเพิ่มขึ้น (SMD = 0.212; 95% CI - 0.225 - 0.649; p = 0.342) ข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันระดับสูง (I2 = 88.1%) และการร่น ของระดับขอบเหงือกไม่แตกต่างกัน (SMD = 0.001; 95% CI -0.360-0.362; p = 0.995) ข้อมูลมีความเป็นเนื้อเดียวกัน (I2 = 0.00%) สรุปการวิเคราะห์นี้สนับสนุนว่าเทคนิควิศวกรรม เนื้อเยื่อโดยอาศัยเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์จากในช่องปาก มีผลให้เกิดการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังมีการศึกษาที่มีจำนวนน้อย จำนวนกลุ่มตัวอย่างมีไม่มากนักและยังมีอคติอยู่บ้าง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาในทางคลินิกที่เป็นการทดลองแบบสุ่มและ มีกลุ่มควบคุมที่มีจำนวนมากขึ้นและมีคุณภาพสูงต่อไปเพื่อประเมินผลของการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์จากในช่องปาก เพื่อหวังผลให้เกิดการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์" }
{ "en": "Objective: To identify the factors related delayed diagnosis of oral cancer in the Era of digital technology 2018. Methods: Related information is collected by interview and statistical analyzed. Results: Out of the 136 patients, 77 were males, 59 females. The median age was 60 years old (ranged 17-86). The average time of diagnosis after patient recognition was more than 5 weeks. 11% of oral cancer patients were diagnosed within 4 weeks. The delayed diagnosis was caused by the patients which were self-observed the symptoms before visiting the hospital (p<0.05; OR 4.7; 95% CI: 1.02-21.9) and those with 60 years of age or older (p<0.05; OR3.4; 95% CI: 1.02-11.31). In addition, delayed factors by physician were first time treatment by medication (p<0.01; OR 7.9; 95% CI: 2.65-23.88) and by observation (p<0.01; OR 6.0; 95% CI: 2.03-17.68). Conclusion: While the data of cancer knowledge can be accessed by many varieties of digital technology and social media, the delayed diagnosis of oral cancer is still the problem of referred patients in Rajavithi Supertertiary Hospital. The delayed factors were self-observation, age, and lack of intervention by physician at early stage. To decrease the delay of diagnosis, early warning sign of oral cancer should be promoted for public awareness, particularly for older persons. Oral self-examination to detect oral cancer should be available to improve the efficiency of self-observation. It is also advisable that medical profession be recognize to early stage oral cancer lesion for early intervention.", "th": "วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการวินิจฉัยมะเร็งช่องปาก เนื่องจากผลการรักษามะเร็งช่องปากระยะเริ่มแรกมีอัตราการรอดชีวิตดีกว่ามะเร็งช่องปากระยะลุกลาม การวินิจฉัยล่าช้าเป็นปัจจัยหนึ่งทีมี่ผลต่อการเกิดลุกลามของโรค การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการวินิจฉัยจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อลดความล่าช้าดังกล่าว วิธีการ: ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่เป็นผู้ป่วยใหม่ที่ห้องตรวจหู คอ จมูก ระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – เมษายน 2561 จำนวน 136 ราย ผู้ป่วยที่ตอบแบบสัมภาษณ์ไม่สมบูรณ์จะถูกคัดออก โดยแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ การศึกษา สถานะ อาชีพ ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเคี้ยวหมาก ส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งช่องปาก ได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนมาพบแพทย์ ตำแหน่ง อาการ ระยะโรค การจัดการอาการเบื้องต้น และส่วนของการตรวจรักษาโดย แพทย์เบื้องต้น ได้แก่ วิธีการให้การตรวจรักษาครั้งแรก ปัจจัยต่างๆได้รับการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ SPSS ปัจจัยต่างๆ ได้รับการ วิเคราะห์โดย univariate analysis และวิเคราะห์โดย binary logistic regression ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ในการวิจัยนี้ค่าสถิติมีนัยสำคัญที่น้อยกว่า 0.05 ผล: ทำการศึกษาในผู้ป่วย 136 ราย เพศชาย 77 ราย และเพศหญิง 59 ราย อายุเฉลี่ย 60 ปี (ช่วงอายุ 17-86 ปี) ระยะเวลาเฉลี่ยในการวินิจฉัยหลังจากเริ่มมีอาการใช้เวลามากกว่า 5 สัปดาห์ มีผู้ป่วยมะเร็ง ช่องปากร้อยละ 11 ได้รับการวินิจฉัยภายใน 4 สัปดาห์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้า ได้แก่ การสังเกตอาการด้วยตัวเองก่อนไปโรง พยาบาล (p<0.05; OR 4.7; 95% CI:1.02-21.9) และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี (p<0.05; OR3.4; 95% CI:1.02-11.31) นอกจาก นี้ยังมีปัจจัยทางด้านแพทย์คือ การรักษาครั้งแรกด้วยยา (p<0.01;OR7.9;95%CI:2.65-23.88) และการสังเกตอาการ (p<0.01; OR 6.0; 95% CI: 2.03-17.68) และจากการวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่าการสังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตัวคนไข้เองเป็นปัจจัยที่ส่ง ผลต่อการวินิจฉัยล่าช้ามากที่สุด (p<0.41; 95% CI:1.07-24.06) สรุป: ในขณะที่การเข้าถึงข้อมูลโรคมะเร็งสามารถทำได้หลายวิธี ด้วยเทคโนโลยีและสื่อสารมวลชน แต่การวินิจฉัยมะเร็งช่องปากล่าช้ายังคงเป็นปัญหาของผ้ปู ่วยที่ได้รับการส่งต่อมาที่ รพ.ราชวิถี ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าได้แก่ การสังเกตอาการของผู้ป่วย อายุ การไม่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อลดความล่าช้า ในการวินิจฉัย จึงต้องมีการให้ความรู้ในเรื่องของอาการเตือนตั้งแต่ระยะเริ่มแรกแก่สาธารณชน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การตรวจ ค้นหามะเร็งช่องปากด้วยตนเองเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสังเกตอาการด้วยตนเอง และแพทย์ผู้ที่มีโอกาสพบผู้ป่วยมะเร็ง ช่องปากตั้งแต่ระยะเริ่มแรกควรมีความรู้และมีการจัดการตั้งแต่ผู้ป่วยมาพบในช่วงต้นได้" }
{ "en": "The assessment of entrance skin air kerma (ESAK) from radiographic examination can be performed either the calculation method recommended by International Atomic Energy Agency report no. 457, or the direct measurement using a dosimeter. The aims of this study were to measure the values of ESAK using NanodotTM dosimeter and compare those with the calculation method and to measure doses for eye lens, thyroid gland and breast received from the examination. The six of most common radiographic examinations were performed using an adult female phantom. The routine exposure parameters used for the hospital were set. The results revealed that the values of ESAK for skull anteroposterior (AP) and lateral cross table, the chest posteroanterior (PA), Aabdomen supine (AP) and upright (AP) and the pelvis AP were 1.51, 1.51, 0.16, 7.69, 1.33 and 8.03 milligray (mGy), respectively. The percentage differences between both methods were within ±16.88% the maximum doses for the eye lens, breast and thyroid gland received from the examinations were 1.52, 1.78 and 0.87 mGy, respectively. The values of ESAK from the measurement using NanodotTM were lower than those from the calculation method. This was because the axis of nanodotsTM was not perpendicular to the x-ray beam. The measured and calculated ESAKs for the skull and chest radiographs obtained in this study were lower than the dose level recommended by the department of medical sciences, Thailand but those for the abdomen and pelvis were higher. The exposure techniques can be further reviewed by the hospital authority in order to reduce doses for patients", "th": "ปริมาณรังสีที่ผิวจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ สามารถ ใช้วิธีการคำนวณตามรายงานที่ 457 ของทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ หรือใช้การวัดรังสีโดยตรงจากเครื่อง มือวัดรังสี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดปริมาณรังสีที่ผิว โดยใช้เครื่องวัดรังสีชนิดนาโนดอทและเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ จากการคำนวณ และวัดปริมาณรังสีกระเจิงที่เลนส์ตา ต่อมไทรอยด์ และเต้านมที่ถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไปที่นิยมกระทำ บ่อย 6 ท่า ในหุ่นจำลองผู้ใหญ่เพศหญิง และใช้ค่าพารามิเตอร์ ตามโปรโตคอลการถ่ายภาพผู้ป่วย ผู้ใหญ่ ขนาดมาตรฐานของโรงพยาบาล และนำไปเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการศึกษาพบว่าปริมาณรังสีที่ผิวที่วัดโดยนาโนดอท จากการเอกซเรย์กะโหลกศีรษะท่าตรงด้านหน้ามาด้านหลังและท่าด้านข้าง ทรวงอกท่าตรงด้านหลัง มาด้านหน้า ช่องท้องท่านอนตรงด้านหน้ามาด้านหลังและท่ายืนตรงด้านหน้ามาด้านหลัง และเชิงกรานท่าตรงด้านหน้ามา ด้านหลัง มีค่าเท่ากับ 1.51, 1.51, 0.16, 7.69, 1.33 และ 8.03 มิลลิเกรย์ตามลำดับ ซึ่งมีค่าแตกต่างจากการคำนวณอยู่ในช่วง ± ร้อยละ 16.88 ค่าปริมาณรังสีกระเจิงสูงสุดที่เลนส์ตา เต้านมและต่อมไทรอยด์ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ เท่ากับ 1.52, 1.78 และ 0.87 มิลลิเกรย์ตามลำดับ ค่าที่ได้จากการวัดปริมาณรังสีด้วยเครื่องวัดรังสีชนิดนาโนดอท มีค่าต่ำกว่าที่ได้จากวิธีการคำนวณ เนื่องมาจากระนาบในการรับรังสีไม่ตั้งฉากกับทิศทางของลำรังสี ค่าปริมาณรังสีที่ผิวได้จากงานศึกษาครั้งนี้ต่ำกว่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประเทศไทย ยกเว้นการถ่ายภาพช่องท้องและเชิงกราน ซึ่งโรงพยาบาลสามารถนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงโปรโตคอลใน การถ่ายภาพเพื่อลดปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วยต่อไป" }
{ "en": "Fracture neck of femur is one of the most common fractures in the elderly. It is known that this type of fracture has severe impact on quality of life and mortality. Currently operative treatment is the best treatment of this fracture. It is advocated that early operative intervention might yield the better outcome. Anyway, surgical intervention is also depended on patients’ condition eventhough some patients were treated with the non-operative treatment. Of interest, small studies reported the mortality of non-operative patients was not much poorer than that of operative patients. Therefore factors that reflect patients’ physiologic condition and relate to mortality may be useful for therapeutic decision and planning are strongly required. We retrospective studied of the medical records of fracture hip patients who were admitted in Lerdsin General Hospital during 1 January 2011 to 31 December 2015. From the first serum sodium within 24 hour of admission. Hyponatremia were defined as the level of serum sodium lower than 135 mmol/L. We recorded the demographic, serum sodium and dead date from medical record of the patient also from the phone called and The National Registration. The patients who were admitted in our hospital with fracture hip are 405 cases. Among them were excluded 49 cases. Therefore 356 cases included in this study, the mean age was 59.5±21.8 years. 52.2% were female and 47.8 % were male. The patients were operated 89% and Frail 57.9%. Of these 55.3% patients were over age 60. The mean of Sodium level at the first visit of the patients were 135.9± 4.2. The normal value is 135-145 mmol/L. The prevalence of Hyponatremia were 30.1% and mean 131.2± 3.8 mmol/L (Sodium Level<135 mmol/L). The mean age of Hyponatremia was 64.2 ± 21.8 years. The death rate was 17.1%. We followed the survival until 1 June 2016. Median of survival, who got operation were 46.2 months. The survival in hyponatremia patients at 48 month were 74% associated with significantly (p=0.001). After we adjusted factors of age, sex, sodium level, cause of fracture and operation we found age was associated with survival rate significant at p=0.002. The hazard ratio of the age over 60 were increased 1.4 of the age less than 60 (95%CI for HR: 0.06, 0.3). Causes of fracture were associated with survival rate statistic significant at p=0.006. We havesufficient evidence for supporting that hyponatremia and survival rate were associated.", "th": "ภาวะกระดูกสะโพกหักพบมากในผู้สูงอายุและเป็นปัญหา ทางสาธารณสุขซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการรอด ชีพของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจะมีภาวะพิการสูงและจะ เสียชีวิตภายใน 6 เดือนร้อยละ 13.5 และจะมีอัตราการเสียชีวิต ภายใน 1 ปีร้อยละ 24 ปัจจุบันการให้การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด ซึ่งให้ผลการรักษาได้ดี ผู้ป่วยกระดูกติดเร็วและสามารถกลับมา ใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามผลการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับ ภาวะของผู้ป่วยก่อนการได้รับการผ่าตัดและอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่ได้รับการผ่าตัดเช่นกัน เป็นที่น่าสนใจว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดไม่ได้มีอัตราการรอดชีพน้อยกว่าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด ดังนั้นการ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีพในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเมื่อแรกรับจึงอาจเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนการรักษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเลิดสินและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ากระดูกสะโพกหัก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ถึง วันที่31 ธันวาคม 2558 และต้องมีผลการเจาะเลือดโซเดียมครั้งแรก (ภายใน 24 ชม.) เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล (first visit afteradmission) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (โซเดียมในเลือดต่ำ กว่า 135 mmol/L) และติดตามการรอดชีวิตของผู้ป่วยจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยและทะเบียนราษฎร์ (เก็บข้อมูล ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2559) บันทึกหน่วยเป็นเดือน โดยใช้สถิติ Kaplan-Meier survival curve และ multivariate Cox-proportional hazard analysis เพื่อวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีภาวะ hyponatremia ผลการศึกษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เข้ารับการรักษาทั้งหมดจำนวน 405 ราย คัดออกจำนวน 49 รายเนื่องจากมีอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 36 ราย ไม่มีผลโซเดียมจำนวน 10 ราย ต่างชาติที่ติดตามการเสียชีวิตไม่ได้จำนวน 3 ราย จึงมีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งสิ้น 356 ราย อายุเฉลี่ย 59.5 ±21.8 เป็นเพศ หญิง ร้อยละ 52.2 เพศชาย ร้อยละ 47.8 มีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา โดยวิธีการผ่าตัด ร้อยละ 89 สาเหตุจากการหกล้ม ร้อยละ 57.9 เป็น ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 55.3 ค่าเฉลี่ยโซเดียมในเลือดแรก รับ 135.9±4.2 mmol/L (ระดับโซเดียมในเลือดปกติ อยู่ระหว่าง 135-145 mmol/L3) ความชุกในผู้ป่วยโซเดียมในเลือดต่ำ ร้อยละ 30.1 ค่าเฉลี่ย 131.2±3.8 mmol/L (ระดับโซเดียม <135 mmol/L)ผู้มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำมีอายุเฉลี่ย 64.2±21.8 ปี เมื่อติดตามการมีชีวิตของผู้ป่วยทั้งหมดถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2559 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนร้อยละ 17.1 ค่ามัธยฐานระยะเวลาการรอดชีพผู้ที่ได้รับการผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะ hyponatremia = 46.2 เดือน เปรียบเทียบระยะการรอดชีพผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดระหว่างผู้ที่มีภาวะ hyponatremia และ normonatremia ผู้ที่มีภาวะHyponatremia ทุกคนที่เวลา 48 เดือนเป็นต้นไป มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2 รายจะมีอัตราการรอดชีพร้อยละ 74 อัตราการรอดชีพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ p=0.001 เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปร อายุ เพศ ภาวะโซเดียมในกระแสเลือดต่ำ สาเหตุการเข้ารับการรักษา และการผ่าตัด พบว่าอายุเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต ระดับนัยสำคัญที่ p=0.002 โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 60ปี มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้มีอายุน้อยกว่า 60 ปี HR 1.4 เท่า (95% CI for HR: 0.06, 0.3) สาเหตุการเข้ารับการรักษา มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต ระดับนัยสำคัญที่ p=0.006 และการศึกษาครั้งนี้ไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอที่จะบอกถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ hyponatremia กับการเสียชีวิต" }
{ "en": "Infections in cancer patients is a leading cause of death in patients. The practices of registered nurses are very important in preventing infections among cancer patients. This study is a part of thesis; descriptive correlational study aimed to examine the knowledge, attitudes, and practices of registered nurses regarding infection prevention in cancer patients, and to study the relationship between knowledge, attitudes, and practices of registered nurses regarding infection prevention in cancer patients. The participants were 60 registered nurses who were working in the inpatient units in Udornthani Cancer Hospital under the Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Data were collected between June and November 2017. Research instrument was a questionnaire consisting of four parts: demographic data, knowledge of preventing infections in cancer patients, attitudes towards preventing infections in cancer patients, and practices of preventing infections in cancer patients. The content validity of the questionnaire was examined by five experts. The content validity index was 1.0. The reliability of the knowledge, attitudes, and practices questionnaire were 0.72, 0.90 and 0.87 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics. The relationship between knowledge, attitudes, and practices of registered nurses regarding preventing infections in cancer patients was analyzed by using the Spearman Correlation Coefficients. The research findings showed that the participants had knowledge of preventing infections in cancer patients at a high level with a median score of 20 out of 25 points. The samples had attitudes and practice regarding preventing infections in cancer patients at a high level and very agree with questions. It was also found that the participants’ knowledge of and attitudes regarding preventing infections in cancer patients did not correlate with a statistical significance of 0.05 (r = 0.355) and the knowledge did not correlate with the participants’ practices of preventing infections in cancer patients (r =0.068).While the attitudes and practices of the participants regarding preventing infections in cancer patients were positively correlated at a low level with a statistical significance of 0.05 (r = 0.390 ).The results of this research can be used as baseline information and guidance on planning to promote knowledge, attitudes, and practices regarding preventing infections in cancer patients among registered nurses in hospitals of cancer under the Department of Medical Services, Ministry of Public Health.", "th": "การติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมะเร็งสังกัด กรมการแพทย์ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับ การป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของพยาบาลวิชาชีพ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 60 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง แบบวัดทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง และแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าเท่ากับ 0.72, 0.90 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง โดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน มีคะแนนทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับสูง คือเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อคำถาม และยังมีการปฏิบัติตาม ทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง นอกจากนี้ยังพบ ความสัมพันธ์ของความรู้กับทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อ ในผู้ป่วยมะเร็งของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับต่ำอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.355) และความรู้ยังไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง (r = 0.068) ส่วนทัศนคติกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.390) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นแนวทางใน การวางแผนเพื่อส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมะเร็ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข" }
{ "en": "This cross sectional research aimed to analyze association between health literacy(HL) and role of village health volunteer(VHVs) in chronic disease prevention and associations between health literacy and role of village health volunteer in chronic disease prevention in Wangchan district, Rayong province. Two hundred and one village health volunteers in Wangchan district, Rayong province were cluster sampled.The data were consequently and analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation, max, min, and Chi square test. The sample group had mean scores was at excellent level in ccognitive health regarding the chronic disease prevention, good level in accessing to health information and health service, media literacy for chronic disease prevention., Decision skills in chronic disease prevention, and Self management for health condition for chronic disease prevention. The results showed VHVs was at fair level in commucation skills to enhance the chronic disease prevention, and VHVs was at good level in role of village health volunteer in chronic disease prevention. And the results show significant associations between health literacy and role of village health volunteer in chronic disease prevention scores (p< 0.05).", "th": "การศึกษาแบบตัดขวาง (cross sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับ บทบาทของ อสม. ในการป้องกันโรคเรื้อรัง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คืออาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ปฏิบัติงานและขึ้น ทะเบียนอสม. ในอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 201 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบกลุ่ม (cluster sampling) เก็บ ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิง พรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงวิเคราะห์ Chi square test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับดีมาก ด้านการเข้าถึงข้อมูล และบริการสุขภาพ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านทักษะการตัดสิน ใจ และด้านการจัดการตนเอง อยู่ในระดับดี และในด้านทักษะ การสื่อสารสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ โดยพบว่ามีระดับบทบาทในการป้องกันโรคเรื้อรังอยู่ในระดับดี เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอสม. ในการ ป้องกันโรคเรื้อรัง พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ กับบทบาทของ อสม. ในการป้องกันโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05)" }
{ "en": "Background: Palatoplasty for cleft palate patients are mostly remain complications. Patients have high risk to be under secondary operations and/or orthodontics treatment. Many researchers try to find for standard surgical techniques or appropriate timing that could have resulted in satisfaction in many aspects among all disciplines involved. Objective: The purpose of this systematic review and meta-analysis was to quantitatively find out whether variety of palatoplasty techniques have effect on the facial growth, development of maxillary arch especially transverse dental arch width. Method: PubMed database was systematically searched for related articles, together with searching in Biomed Central, Open Access, Google scholar and hand search. They were all filtered for articles in English from 1970 until 2019. Seven articles were accepted and 7-8 datasets extracted. Comparison of One-stage and Two-stage palatoplasty by inter canine arch width (IC), inter tuberocity/ molar arch width (IT) were calculated for standard mean difference (SMD) at 95% CI and ramdom effect model were used. Result: The result shows that the IC of two-stage technique is slightly wider than one-stage technique (SMD = 0.050; 95% CI -0.505, 0.604; p = 0.861). The IT of two-stage technique is slightly narrower than one-stage technique (SMD = -0.018; 95% CI -0.540, 0.505; p = 0.987). Both have no statisticaly significant. Due to the hight heterogeneity of data (I2 = 77.7% and 78.7%) and wide range of CI, subgroup analysis were done between the measurement 5 years of ages. The heterogeneity remain high but only the inter canine arch width of <5 years has a decrease value of I2 (I2= 63.6%).Conclusion: One-stage and Two-stage palatoplasty have small diffences, no statistically significance. The results evidence suggests that high inconsistency were noted in both groups. The reason for heterogeneity remains obscure. However, the validity of the evidence is limited and further high-quality trials are needed.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดปิดช่องโหว่ที่เพดานปากทุกเทคนิค มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหลายประการ ซึ่งอาจต้องเสริมด้วยการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันหรือการผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน จึงมีความพยายามที่จะรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์จากการผ่าตัดปิดเพดานโหว่ หาแนวทางเพื่อสร้างมาตรฐานการเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสม เลือกเวลาที่เหมาะและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยให้มากที่สุด วัตถุประสงค์: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้เพื่อรวบรวมข้อมูลงานวิจัยทางคลินิก ตามแนวทางทันตกรรมอิงหลักฐาน (Evidence-based Dentistry) ในความพยายามตอบคำถามว่า เทคนิคการผ่าตัด เพื่อรักษาโรคเพดานโหว่ชนิดใดมีผลข้างเคียงต่อการเจริญของศีรษะและใบหน้า การพัฒนาของกระดูกขากรรไกรโดยเฉพาะ การเจริญในแนวขวางมากหรือน้อยกว่ากัน วิธีการ: งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้รับการสืบค้นจากฐานข้อมูล PubMed อย่างเป็นระบบ มีการสืบค้นจากฐานข้อมูล Biomed Central การสืบค้นจาก Google scholar ร่วมกับการค้นหาด้วยมือจากในห้องสมุด ซึ่งนำมาเฉพาะบทความภาษาอังกฤษตั้งแต่ ปี ค.ศ.1970 จนถึง ปี ค.ศ.2019 บทความที่ได้รับการยอมรับ มี 7 บทความ และชุดข้อมูล 7-8 ชุดถูกสกัดมาทำวิเคราะห์อภิมาน โดยใช้ค่าความกว้างขากรรไกร inter canine arch width และ inter tuberocity/ molar arch width ที่วัดหลังการรักษาด้วยการผ่าตัดปิดเพดานช่องปากเปรียบเทียบระหว่าง one-stage และ two-stage palatoplasty นำมาคำนวณ โดยหาค่า standard mean difference (SMD) ที่ช่วงความ เชื่อมั่น 95% วิเคราะห์ตามรูปแบบ random effect model จากการคำนวณข้อมูลทั้ง 7 ชุด ผล: การวิเคราะห์พบว่า ค่า inter canine arch width ของการผ่าตัดแบบ two-stage มีค่ามากกว่าแบบ one-stage น้อยมากและไม่มีนัยสำคัญ (SMD = 0.050; 95% CI -0.505, 0.604; p = 0.861) ค่า I2 = 77.7% ส่วนค่า inter tuberocity/molar arch width ของการผ่าตัดแบบ two-stage มีค่าน้อยกว่าแบบ one-stage น้อยมากและไม่มีนัยสำคัญ (SMD = -0.018; 95% CI -0.540, 0.505; p = 0.987) ค่า I2 = 78.7% ทั้งสองประเด็นมีผลของข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันสูง และช่วงความเชื่อมั่นกว้าง การแบ่งกลุ่มย่อย (subgroup analysis) เป็นกลุ่มที่วัด ค่า inter canine arch width ในช่วงอายุ" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Background: Laparoscopic cholecystectomy (LC) with retrograde caudal approach may be increase bile duct injury and conversion rate in severe inflammation of gallbladder. Extreme vasculobiliary injuries tend to occur when antegrade cranial approach cholecystectomy is performed in the presence of severe inflammation. Although relatively rare, given the high volume of LC, the societal burden of bile duct injury is significant and the resulting effect on patients’ outcomes, ranging from intraoperative repair, liver transplant or even death. Thus the author adjusted technique called combine retrograde caudal-antegrade cranial approach for decrease bile duct complication and conversion rate.\nObjectives: To compare outcome of laparoscopic cholecystectomy with combined retrograde caudal -antegrade cranial approach with retrograde caudal approach in Samut Prakan Hospital.\nMethods: A retrospective study involved patients with laparoscopic cholecystectomy was conducted between January 2560 and June 2562 in Samut Prakan Hospital. Patients were devided into 2 groups according to retrograde caudal approach, combined retrograde caudal-antegrade cranial approach. All patients’ files were reviewed for baseline characteristics, preoperative and postoperative diagnosis, operative findings’ data, complication of operation. All data were analysis.\nResults: Three hundred and twenty three patients were analyzed. One hundred and seventy one patients underwent surgery with retrograde caudal approach and one hundred and fifty two patients underwent surgery with combined retrograde caudal-antegrade cranial approach. Patients with combined retrograde caudal-antegrade cranial approach had significantly shorter median operative time than those of patients with retrograde caudal approach (43.5 minutes vs 50 minutes, p=0.002). Patients with combined retrograde caudal-antegrade cranial approach had significantly shorter median hospital stay than those of patients with retrograde caudal approach (3 days vs 4 days, p=0.02). Patients with combined retrograde caudal-antegrade cranial approach had significantly less conversion rate than those of patients with retrograde caudal approach (3.9% vs 9.9%, p=0.03). Patients with combined retrograde caudal-antegrade cranial approach had significantly less bile duct injury and bleeding from cystic artery than those of patients with retrograde caudal approach (0.7% vs 6.4%, p=0.006 and 1.97% vs 8.7% p=0.008) respectively.\nConclusions: Laparoscopic cholecystectomy with combined retrograde caudal -antegrade cranial approach may be decrease bile duct complication rate and conversion rate compare with retrograde caudal approach. ", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบกล้องวีดิทัศน์ด้วย เทคนิค retrograde caudal approach อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของท่อน้ำดี และความล้มเหลวการผ่าตัดแบบกล้องวีดิทัศน์ ในรายที่มีการอักเสบของถุงน้ำดี แบบกระจาย ส่วนการผ่าตัดถุงน้ำดี แบบกล้องวีดิทัศน์ด้วยเทคนิค antegrade cranial approach พบว่าทำให้เกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด การบาดเจ็บของท่อน้ำดีเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และอาจทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิต ดังนั้นผู้วิจัยจึงปรับเทคนิคการผ่าตัดถุงน้ำดี แบบกล้องวีดิทัศน์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และความล้มเหลวจากการผ่าตัดโดยเรียกเทคนิคนี้ว่า combine retrograde caudal-antegrade cranial approach\nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการ ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบกล้องวีดิทัศน์ ด้วยเทคนิค combined retrograde caudal -antegrade cranial approach กับ เทคนิค retrograde caudal approach ในโรงพยาบาล สมุทรปราการ\nวิธีการ: การศึกษานี้ เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยการเก็บข้อมูล จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดี แบบกล้องวีดิทัศน์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 30 มิถุนายน 2562 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ผ่าตัดแบบเทคนิค retrograde caudal approach และ กลุ่มที่ผ่าตัดแบบเทคนิค combined retrograde caudal-antegrade cranial approach นำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การวินิจฉัยก่อนและหลังผ่าตัด ข้อมูลการผ่าตัด ข้อมูลภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณทางสถิติ\nผล: จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด จำนวน 323 ราย กลุ่มแรกคือผ่าตัดแบบเทคนิค retrograde caudal approach จำนวน 171 ราย กลุ่มที่สองผ่าตัดแบบ เทคนิค combined retrograde caudal -antegrade cranial approach จำนวน 152 ราย ระยะเวลาผ่าตัดกลุ่มที่สองสั้นกว่ากลุ่มแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (43.5 นาที  และ 50 นาที, p = 0.002) ระยะเวลานอนโรงพยาบาล กลุ่มที่สองสั้นกว่ากลุ่ม แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (3 วัน และ 4 วัน, p value = 0.02) ภาวะล้มเหลวของการผ่าตัดแบบกล้องวีดิทัศน์ ในกลุ่มที่สองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.9% และ 9.9%, p = 0.03) กลุ่มที่สองพบการบาดเจ็บ ของท่อน้ำดีน้อยกว่ากลุ่มแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( 0.7% และ 6.4%, p = 0.006) เลือดออกจากหลอดเลือดของท่อน้ำดี ในกลุ่มที่สองพบน้อยกว่ากลุ่มแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.008)\nสรุป: การผ่าตัดถุงน้าดีแบบกล้องวีดิทัศน์ ด้วย เทคนิค combined retrograde caudal-antegrade cranial approach อาจจะลดภาวะแทรกซ้อนการบาดเจ็บของท่อน้ำดี และการล้มเหลวการผ่าตัดแบบกล้องวีดิทัศน์ได้ เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเทคนิค retrograde caudal approach" }
{ "en": "Background: Tonsillectomy is one of the most common surgeries performed in ear, nose and throat patients. However, all surgeons feel uncomfortable with uvula due to uvula shaded the operation. Injury of uvula will be occurred by suction and electric cautery and it will affect to operation. This research studied and created the uvula protection gauze to hold the uvula during operation.\nObjective: To study efficacy of the use of gauze to hold the uvula during tonsillectomy in reducing injury of the uvula.\nMethod: Non-randomized controlled trial was used in this study during 1st January 2018 and 9th June 2019. There were 2 groups of patients. The first group was the experiment group (E group), all patients used the gauze to protect uvula during tonsillectomy. The second group was the control group (C group) used the conventional method without the use of gauze. The levels of uvula trauma were recorded as level 0 to 3 : 0- no injury; 1- uvula swelling and redness below 1/3 of length of uvula; 2- same as 1 but more than 1/3 of length of uvula; 3- evidences electric cautery. The data such as the number of uvula injury from the suctions and electric cautery including the level of uvula trauma were analyzed by statistic.\nResults: All 117 patients undergoing tonsillectomy were enrolled to the study. The experimental group (E group) was 70 patients, 31 men and 39 women with their ages ranging from 4 to 53 years. The control group (C group) consisted of 42 patients, 27 men and 15 women with their ages ranging from 3 to 38 years. The average times used the gauze to protect uvula were 2.8 minutes. The average operative times in both groups were 21 minutes in E group and 22.7 minutes in C group. The number of patients with uvula injuries from suction and electric cautery was 0 (0%) in E group and 33 (78.57%) in C group. The most frequencies of suction use were 5-6 times in the operation. The number of the uvula injuries from electric cautery was 0 patient (0%) in E group and 5 patients (11.9 %) in C group. The levels of uvula injuries after operation were found as level 0 and 1 (81% and 13%) in E group and level 0,1,2,3 (21.43%, 38.10%, 28.75% and 11.9% respectively) in C group. This study showed that there were statistically significant differences in E group and C group between the number of uvula injuries from the suctions and electric cautery and also the level of uvula trauma that p-values were 0.000, 0.003 and 0.000, respectively.\nConclusion: There were statistically significant differences of the use of gauze to hold the uvula during tonsillectomy in reducing the uvula injury.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นหัตถการที่ทำบ่อยใน ผู้ป่วยหู คอ จมูก แต่ในการผ่าตัดต่อมทอนซิล ลิ้นไก่จะบังตำแหน่งของการผ่าตัด ทำให้ลิ้นไก่เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากถูกหัว suction ดูดหรือถูกจี้เป็นประจำ ส่งผลให้การผ่าตัดทำได้ลำบากขึ้น การศึกษานี้จึงได้ศึกษาและทาผ้าคล้องลิ้นไก่ขึ้นเพื่อลปัญหาดังกล่าว\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าการใช้ผ้าคล้องลิ้นไก่ระหว่างการผ่าตัดต่อมทอนซิล จะสามารถลดการบาดเจ็บของลิ้นไก่จากการถูกหัว suction ดูด หรือ จี้ ได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานที่ไม่ใช้ ผ้าคล้องลิ้นไก่\nวิธีการ: ทำการศึกษาแบบ Prospective nonrandomized controlled trial ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 9 มิถุนายน 2562 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มทดลอง การผ่าตัดต่อมทอนซิลจะใส่ผ้าคล้องลิ้นไก่ทุกราย และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุม ใช้วิธีมาตรฐานไม่ใส่ผ้าคล้องลิ้นไก่ ข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนครั้งของลิ้นไก่ถูกดูด ถูกจี้ และระดับการบาดเจ็บของลิ้นไก่ จะถูกนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ\nผล: ผู้ป่วยทั้งหมด 117 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 70 ราย เพศชาย 31 ราย หญิง 39 ราย อายุ 4-53 ปี ระยะเวลาในการใส่ผ้าคล้องลิ้นไก่เฉลี่ย 2.8 นาที ระยะเวลาในการผ่าตัดนับจากลงมีดเฉลี่ย 21 นาที ไม่พบการดูด หรือ จี้ลิ้นไก่เลย ประเมินระดับการบาดเจ็บของลิ้นไก่หลังผ่าตัด พบว่าร้อยละ 87 อยู่ในระดับ 0 และ ร้อยละ13 อยู่ในระดับ 1 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ผ้าคล้องลิ้นไก่ และกลุ่มควบคุม 42 ราย เพศชาย 27 ราย หญิง 15 ราย อายุ 3-38 ปี ระยะเวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย 22.7 นาที พบผู้ป่วย 9 ราย (ร้อยละ 21.43) ลิ้นไก่ปกติ  และผู้ป่วย 33 ราย (ร้อยละ 78.57) ลิ้นไก่ถูกดูด โดยส่วนใหญ่จะถูกดูดประมาณ 5-6 ครั้งระหว่างผ่าตัด และพบผู้ป่วย 5 ราย (ร้อยละ 11.9) ลิ้นไก่ถูกจี้ และประเมินระดับการบาดเจ็บของลิ้นไก่หลังผ่าตัด พบว่าอยู่ในระดับ 0 เป็นร้อยละ 21.43 อยู่ในระดับ 1 เป็นร้อยละ 38.10 อยู่ในระดับ 2 เป็นร้อยละ28.57 และอยู่ในระดับ 3 เป็นร้อยละ 11.9 จากการศึกษานี้พบว่าการบาดเจ็บของลิ้นไก่จากการผ่าตัดต่อมทอนซิล มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในเรื่องของการที่ลิ้นไก่ถูกดูด ถูกจี้ และระดับการบาดเจ็บของลิ้นไก่ ค่า p-value เทา่กับ 0.000, 0.003 และ 0.000 ตามลำดับ\nสรุป: การใช้ผ้าคล้องลิ้นไก่ระหว่างการทำการผ่าตัดต่อมทอนซิล ช่วยลดการดูดลิ้นไก่ การจี้ลิ้นไก่ และลดระดับการบาดเจ็บ ของลิ้นไก่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ" }
{ "en": "Background: Cardiac surgery is the operation that usually have a risk for post operative bleeding. If the patients do not get proper care may result in increasing morbidity and mortality. Previously the data about post operative bleeding in Central Chest Institute of Thailand was not established. This study may contributed in developing guideline for cardiac surgeons to decrease post operative bleeding.\nObjective: The purpose of this study was to identify mortality, the source of bleeding and outcomes of re-operation for stop bleeding.\nMethod: This study was retrospective observational study of medical records of patients who had re-operation for stop bleeding after heart surgery in Central Chest Institute of Thailand. Between September 2015 to June 2019, 178 patients were included in study.\nResult: The incidence of bleeding was at 5.6%. The most identified source of bleeding were sternum wire 19.5%, vein graft branch 14.5% and internal mammary artery branch 9.5% respectively. The mortality rate of re-operation for stop bleeding was 10.7%. Patients with higher EUROSCORE, in need of urgent or emergency surgery, prolonged time until re-operation were at a higher risk of mortality.\nConclusion: Delayed re-operation for stop bleeding resulted increasing mortality, bleeding statistically. This study showed the rate of mortality might be decreased if re-operation for stop bleeding was done within three hours after the criteria was met.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดหัวใจเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกภายหลังผ่าตัด ซึ่งหากให้การรักษาภาวะเลือดออกภายหลังผ่าตัดอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมและทันท่วงที อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ สถาบันโรคทรวงอก ยังไม่มีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการมีเลือดออกหลังผ่าตัดหัวใจ เพื่อเป็นแนวทางให้ศัลยแพทย์ทรวงอกผู้ผ่าตัดรักษาพัฒนาการผ่าตัดหัวใจเพื่อลดการเกิดเลือดออกหลังผ่าตัดหัวใจ\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราตายหลังผ่าตัดหยุดเลือด ตำแหน่งที่เลือดออก ในการผ่าตัดหัวใจ รวมถึงผลความล่าช้าของการผ่าตัดหยุดเลือดต่อผลลัพธ์การรักษาหลังผ่าตัดหยุดเลือด\nวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบ retrospective observational study โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ผ่าตัดหยุดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจในสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ศึกษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดหยุดเลือดจำนวน 178 ราย\nผล: พบว่า มีอุบัติการณ์การผ่าตัดเพื่อหยุดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจร้อยละ 5.6 และอัตราตายหลังผ่าตัดหยุดเลือดเท่ากับ ร้อยละ 10.7 ตำแหน่งที่พบเลือดออกบ่อยๆ ภายหลังการผ่าตัดหัวใจ 3 อันดับแรกได้แก่ sternal wire hole พบร้อยละ 19.5 vein graft branch พบร้อย ละ 14.5 และ internal mammary artery branch พบร้อยละ 9.5 ตามลำดับ และการศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยกลุ่มเสียชีวิตหลังผ่าตัดหยุดเลือดมีค่า EUROSCORE ก่อนการผ่าตัดหัวใจสูงกว่าค่า EUROSCORE ของกลุ่มรอดชีวิต พบว่ากลุ่มเสียชีวิตเป็นผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดหัวใจแบบเร่งด่วนมากกว่าการผ่าตัดตามตารางนัดหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มรอดชีวิต และที่สำคัญคือความล่าช้าในการผ่าตัดหยุดเลือดทำให้อัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\nสรุป: ความล่าช้าในการผ่าตัดหยุดเลือดส่งผลให้อัตราตายเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณเลือดที่ออกเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษานี้พบว่าหากทาการผ่าตัดหยุดเลือดได้ทันภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากเข้าเกณฑ์ต้องผ่าตัดหยุดเลือดจะสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้" }
{ "en": "Background: Diabetic nephropathy is the major cause of chronic kidney disease in type 2 diabetes patients. Objective: The aims of this study were to determine the prevalence and risk factors of diabetic nephropathy in type 2 diabetes patients at Pangsilathong Hospital. Method: The data of 1,216 type 2 diabetes patients were collected between 1 October 2018 and 30 June 2019. The statistics was used by Univariate logistic regression and Multivariate logistic regression for identifying risk factors of diabetic nephropathy in type 2 diabetes. Result: The finding showed that the prevalence of diabetic nephropathy in type 2 diabetes at Pangsilathong Hospital was 33.8%. After multivariate analysis of risk factors associated with diabetic nephropathy were Serum Creatinine >1.4 mg. /dl., Hemoglobin A1c >7%, Uncontrolled blood pressure (≥140/90 mmHg.), male, Triglyceride >200 mg. /dl. and eGFR Conclusion: Management of NCD clinic should be early detection for diabetic nephropathy and aggressive management of risk factors may be essential in preventing or delaying the progression to chronic kidney disease.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุหลักของภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุก และปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการ: ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับการรักษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยได้รับคัดเลือกเข้ามาในการศึกษา จำนวน 1,216 ราย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์การถดถอย โลจีสติกตัวแปรเดียว และวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกหลายตัวแปร เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน ผล: จากการศึกษาพบความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวานร้อยละ 33.8 และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน ได้แก่ ซีรั่มครีอะตินีนมากกว่า 1.4 มก./ดล. ระดับฮีโมโกลบิน เอ 1 ซี มากกว่าร้อยละ 7 การที่ไม่สามารถควบคุมค่าระดับความดันโลหิตได้ (≥140/90มม.ปรอท) เพศชาย ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด มากกว่า 200 มก./ดล. และอัตราการ กรองของไต น้อยกว่า 60 มล./นาที เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน สรุป: ควรมีการบริหารจัดการคลินิก ในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก โรคเบาหวาน และแก้ไขอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันและชะลอ การดำเนินโรคไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง" }
{ "en": "Background: Aortic valve disease is a common valvular heart disease and its incidence is likely to increase with age. The conventional approach in the treatment of aortic valve disease is aortic valve replacement (AVR) through a full sternotomy. Minimally invasive aortic valve replacement (MIAVR) is defined as an AVR procedure that involves a small chest wall incision. The MIAVR is a safe procedure, less invasive approach, while maintaining the same efficacy and quality of a conventional approach.\nObjectives: The main objectives of this study were clinical outcomes, postoperative complication and functional class are reviewed.\nMethod: A retrospective study of our database identified 23 patients who underwent MIAVR at Central Chest Institute of Thailand from January 2017 to January 2019.\nResults: There were 15 men, with a mean age of 58 years. The patients presented with congestive heart failure (44%) and angina (39%). Most of the patients (69.6%) were in New York Heart Association (NYHA) class III. Left ventricular ejection fraction 62.5%± 9%. Mean cross clamp time was 83.3±13.6 minutes and mean cardiopulmonary bypass (CPB) time was 102.3± 14.8 minutes. There is no in-hospital mortality and neurological complication. One patient underwent reoperation due to aortic paravalvular leakage. The length of stay (LOS) in ICU was 1.2±0.2 days and LOS in hospital was 7 day. All of the patients were New York Heart Association class I after the operation.\nConclusion: Minimally invasive AVR can be performed safely and effectively with very few perioperative complications. The early outcome in these patients are excellent.", "th": "ภูมิหลัง: โรคของลิ้นหัวใจเอออร์ติก (aortic valve disease) เป็นโรคของลิ้นหัวใจที่พบ ได้บ่อย โดยอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุ การผ่าตัดรักษาในโรคนี้คือการเปลี่ยน ลิ้นหัวใจ (aortic valve replacement: AVR) ผ่านแผลผ่าตัดกลางหน้าอก (full sternotomy: FS) ปัจจุบันมีการผ่าตัดแผลเล็ก (minimally invasive aortic valve replacement : MIAVR) ทำให้มีแผลบริเวณกลางหน้าอกเล็กลง ให้ผลการรักษา ดีเทียบเท่ากับวิธีการผ่าตัดแบบแผลปกติ\nวัตถุประสงค์: ศึกษาดูผลการรักษาทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด อาการของผู้ป่วย\nวิธีการ: ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกแบบแผลเล็กตั้งแต่ มกราคม 2560 ถึง มกราคม 2562 โดยมี ผู้ป่วยทั้งหมด 23 รายที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้\nผล: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 58 ปี มีเพศชาย 15 ราย อาการที่พบบ่อย ได้แก่ น้ำท่วมปอด (ร้อยละ 44) และอาการ เจ็บหน้าอก (ร้อยละ 39) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ New York Heart Association (NYHA) III ก่อนผ่าตัด (ร้อยละ 69.6) การทำของหัวใจห้องล่างซ้ายคือ ร้อยละ 62.5 ± 9 ระยะเวลา ในการหยุดหัวใจ (aortic clamp time) เฉลี่ยคือ 83.3 ± 13.6 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยใน การใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมคือ (cardiopulmonary bypass time) คือ 102.3 ± 14.8 นาที ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองหลังการผ่าตัด และมีผู้ป่วย 1 รายต้อง ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจซ้ำ เนื่องจากมีภาวะการรั่วของลิ้นหัวใจเทียม (paravalvular leakage) ระยะเวลาเฉลี่ยในการอยู่หออภิบาลผู้ป่วยหนักคือ 1.2±0.2 วัน และระยะเวลาเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาลคือ 7 วัน โดยผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน คือ มี NYHA class I หลังผ่าตัดทุกราย\nสรุป: การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก แบบแผลเล็ก (MIAVR) เป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย ให้ผลการรักษา ดีเทียบเท่ากับการผ่าตัด แบบแผลปกติ พบภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดน้อย และผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นชัดเจนหลัง การผ่าตัดด้วยวิธีนี้" }
{ "en": "Background:  Several studies reported that seizures possibly contribute to the incident of dental trauma, both teeth and soft tissues. However, at Prasart Neurological Institute, there is no correlation between dental statuses of patients who suffer from Epilepsy and traumatic injuries of teeth and surrounding tissues. On the contrary, according to collected data from the survey established at this hospital, there are certain evidences of cracked as well as fractured teeth which are obviously not related to seizures.\nObjective:  A survey study dental status and oral health of patients with epilepsy in Prasart Neurological Institute\nMethod: This study of dental status in those with epilepsy at Prasart Neurological Institute from September 2017 to February 2019 was gathered by surveying Epilepsy patients 280 persons.\nResult:  Epilepsy patients 280 persons, with females 170 and males 100 (mean age = 39.9) from Outpatient Department. All of patients are categorized into 3 groups (well, moderated controlled and uncontrolled seizures, at 33, 159 and 88 respectively.) In addition, with periodontal status, there are three groups as follow 1. Normal periodontal status (6 persons), 2. Gingivitis (120 persons) 3. Gingivitis and calculus deposited in general (140 persons), and 4. Periodontitis (14 persons).\nConclusion:  from our study, it can be clearly seen that dentists could basically operate on patients with controlled seizures similarly to normal people. Nevertheless, operators should avoid stress stimulating seizures that can occur during the procedures and be careful an aspiration and using dental instruments. This study could demonstrate oral condition in patients suffering from Epilepsy and help dentists have understanding to manage patients in controlled seizures group", "th": "ภูมิหลัง: มีหลายการศึกษาที่พบว่าการชักเป็นอุบัติการณ์ สำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ต่อตัวฟัน แต่ในการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคลมชักในสถาบัน ประสาทวิทยา ไม่พบอุบัติการณ์ของอาการชักที่เกิดอุบัติเหตุต่อตัวฟัน แม้จะพบว่า มีฟันแตกฟันร้าว จากการสอบถามและการตรวจภายในช่องปากไม่สัมพันธ์ กับการเกิดอาการชัก\nวัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย โรคลมชักในสถาบันประสาทวิทยา\nวิธีการ: ตรวจและบันทึกสภาวะสุขภาพ ช่องปากในผู้ป่วยโรคลมชักที่มารับบริการในสถาบันประสาทวิทยา ( กันยายน 2560-กุมภาพันธ์ 2562)\nผล: ผู้ป่วยลมชัก 280 ราย จากแผนกผู้ป่วยนอก อายุเฉลี่ย 39.9 ปี เพศหญิง 174 ราย เพศชาย 106 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ป่วย ที่มีสภาวะลมชักอยู่ในระดับควบคุมได้ สภาวะช่องปากอยู่ใน ระดับดี 33 ราย ระดับปานกลาง 159 ราย ระดับแย่จำนวน 88 ราย สภาวะปริทันต์มีเหงือกปกติ จำนวน 6 ราย เหงือกอักเสบจำนวน 120 ราย เหงือกอักเสบและมีหินปูน จำนวน 140 ราย โรคปริทันต์อักเสบจำนวน 14 ราย\nสรุป: จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่าทันตแพทย์สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมได้อย่างปกติ ในผู้ป่วยโรคลมชักที่สามารถควบคุมอาการชักได้ แต่ทันตแพทย์ควรให้ การรักษาผู้ป่วยด้วยความระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความเครียดซึ่งสามารถ กระตุ้นภาวะอาการชักได้ การศึกษานี้จะช่วยให้ทราบถึงสถาวะสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยโรคลมชักและสามารถรับบริการทางทันตกรรมได้ปกติใน สภาวะที่สามารถควบคุมการชักได้" }
{ "en": "Background: Caring of Autism Spectrum Disorder (ASD) affects caregivers both physically, mentally, and socially. The ASD caregiver’s well-being should be concerned by society. Objective: The purpose of this descriptive correlational research was to examine the relationship between psychological well-being and selected factors among caregivers of ASD in the Eastern Thailand. Method: The samples consisted of 135 caregivers of ASD. The purposive sampling was used to select the samples. The instruments included five questionnaires: 1) the demographic data 2) the psychological well-being questionnaires 3) burden questionnaires 4) the life orientation test and 5) personal resource.The Cronbach’s alpha coefficient of second to fifth questionnaires were 0.89, 0.96, 0.92 and 0.94 respectively. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. Result: The results showed that psychological well-being of caregiver of ASD were in middle range (65.82 ±15.23). Factors related with psychological well-being of caregiver of ASD were perceived burden, optimism, and social support (r = -.59, r = .54 และ r = .53, p < .001 respectively). Perceived burden had negatively related to psychological well-being, while optimism and social support had positively related to psychological well-being. Conclusion: The findings indicated that health care providers should concern about enhancing psychological well-being by strengthening optimism and social support. Burden should be relieved to promote quality of life in caregivers of children with autism.", "th": "ภูมิหลัง: การดูแลเด็กออทิสติก ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การศึกษาถึงความผาสุกทางใจของผู้ดูแลเด็กออทิสติกจึงเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสำคัญ วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงพรรณนารูปแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผาสุกทางใจ และปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความผาสุกทางใจ ของผู้ดูแลเด็กออทิสติกในภาคตะวันออกของประเทศไทย วิธีการ: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 ราย ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็กออทิสติก 2) แบบสอบถามความผาสุกทางใจ 3) แบบวัดการรับรู้ภาระในการดูแล 4) แบบวัดการมองโลกทางบวก และ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมซึ่งแบบวัดหมายเลข 2-5 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.89, 0.96, 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pear’s Correlation Coefficient) ผล: พบว่าผู้ดูแลเด็กออทิสติกมีความผาสุกทางใจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (65.82 ±15.23) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางใจ ของผู้ดูแลเด็กออทิสติกเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ภาระดูแล การมองโลกในแง่ดี และการสนับสนุนทางสังคม (r = -.59, r = .54 และ r = .53, p < .001 ตามลำดับ) โดย การรับรู้ภาระในการดูแล มีความสัมพันธ์ ทางลบ ส่วนการมองโลกทางบวกและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวก สรุป: ข้อเสนอจากผลการศึกษา บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญในการพัฒนา และเสริมสร้างความผาสุกทางใจของผู้ดูแลเด็กออทิสติก โดยการส่งเสริมการมองโลกทางบวกและการ สนับสนุนทางสังคม รวมถึงลดและปรับภาระการดูแล เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติกต่อไป" }
{ "en": "Background: Breast cancer is the most common cancer in women. Modified radical mastectomy (MRM) is standard operation for treatment of breast cancer. Two most early frequent complications from MRM are seroma formation and surgical site infection. Suction drainage was used in nearly all hospital that performed MRM operation, with vary methods for type and duration of drainage removal due to unknown of the best method to prevent seroma formation.\nObjective: To find out the incidence of seroma formation and surgical site infection after MRM in Udon Thani cancer hospital by compared 2 methods.\nMethod: Retrospective review medical records of breast cancer patients who had been operated by modified radical mastectomy in Udon Thani cancer hospital since August 1st, 2014 to October 31st, 2018. All data were collected and statistical analysis was performed to define the difference between 2 drainage methods in term of seroma formation and surgical site infection.\nResults: 303 patients record were reviewed. 150 patients in standard group and 153 patients in study group. Seroma formation of study groups with the incidence of 13.73% less than standard group incidence of 29.33%. Surgical site infection and Seroma with surgical site infection was found only in study group with incidence of 5.23% and 2.61% respectively. But due to the relatively low incidence and both groups have different in preoperative antibiotic and postoperative antibiotic, therefore, it is not possible to conclude that study group has incidence of surgical site infection higher more than standard group.\nConclusion: This study can be applied in the hospital that has problem of overcrowded inpatient and to decrease expenses on breast cancer patients treated with MRM by early discharged often 48-72 hour postoperation with drains in place without effecting the incidence of seroma formation", "th": "ภูมิหลัง: ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของหญิงไทย ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีmodified radical mastectomy (MRM) มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบได้บ่อยคือ ภาวะของเหลวคั่งใต้แผลผ่าตัด (seroma) และภาวะแผลผ่าตัดติดเชื้อ (surgical site infection) การเกิดภาวะแทรกซ้อนจะทำให้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด MRM ในกรณีที่เกิดภาวะของเหลวคั่ง ใต้แผลผ่าตัดคือ การใส่สายระบายหลังผ่าตัดเพื่อระบายของเหลว ที่คั่งค้างบริเวณใต้แผลผ่าตัดและรักแร้ แต่ยังไม่สามารถมีข้อสรุปถึงวิธีการในการใส่สายระบายได้ดีที่สุด \nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดรักษาด้วยวิธี modified radical mastectomy (MRM) ที่ได้รับการใส่สายระบายทั้ง 2 วิธี\nวิธีการ: เป็นการศึกษา แบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการใส่สายระบายหลังผ่าตัดทั้ง 2 วิธีที่ได้รับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธี modified radical mastectomy (MRM) ทุกราย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง 31 ตุลาคม 2560 เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยใช้การพรรณนา อธิบายคุณลักษณะทั่วไป\nผล: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี MRM ทั้งหมดจานวน 303 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ใส่สายระบายด้วยวิธีการมาตรฐาน (standard group) จานวน 150 ราย และกลุ่มที่ใส่สายระบายแล้วให้กลับไปดูแล ต่อที่บ้าน (study group) จำนวน 153 ราย พบว่าอัตราการเกิดภาวะของเหลวคั่งใต้แผลผ่าตัดในกลุ่มที่ใส่สายระบายแล้วกลับไปดูแลสายระบายเองที่บ้าน ร้อยละ 13.73 ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ใส่สายระบายด้วยวิธีการมาตรฐาน ร้อยละ 29.33 สำหรับอัตราการเกิดภาวะแผลผ่าตัดติดเชื้อ และภาวะของเหลวคั่งใต้แผลผ่าตัดร่วมกับแผลผ่าตัดติดเชื้อ พบได้เฉพาะในกลุ่มที่ใส่สายระบายแล้วกลับไปดูแลเองที่บ้าน ร้อยละ 5.23 และ 2.61 ตามลำดับ แต่เนื่องจากอัตราการเกิดที่ค่อนข้างต่ำ และกลุ่มศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันในเรื่องการได้รับยาปฏิชีวนะ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มที่ใส่สายระบายแล้วกลับไปดูแลเองที่บ้านจะเกิดภาวะแผลผ่าตัดติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มที่รับการรักษาในโรงพยาบาล\nสรุป: จากผลการศึกษานี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลที่มีปัญหาเรื่องผู้ป่วยในแออัด และลดค่าใช้จ่ายในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี MRM โดยให้ใส่สายระบาย และสามารถกลับบ้านพร้อมสายระบายได้ภายหลังการผ่าตัด 48-72 ชั่วโมง โดยไม่มีผลต่อการเกิดอัตราการเกิดภาวะของเหลวคั่งใต้แผลผ่าตัดที่สูงขึ้นแต่อย่างใด" }
{ "en": "Background: Tooth supported overdentures have been made for aging patients in the institute of Dentistry continuously due to its major benefits. However, this treatment outcomes have never been systematically evaluated. Studying the treatment outcomes and associating factors can improve treatment efficacy. Objectives: to evaluate the success rate of treatment of Tooth-supported Overdenture Abutment Teeth (TOAT) with coping restoration as well as factors affecting the treatment outcome. Methods: patients who underwent tooth-supported overdenture at the Institute of Dentistry, Department of Medical Services, Ministry of Public Health, Thailand during January 2009 to December 2017 were clinically and radiographically examined. Previous data were reviewed. Results: among 184 patients who underwent tooth-supported overdenture, 105 patients (55 men and 50 women) with the mean age of 70 (47-90) years were recalled to participate in this study. The recall rate was 56.1% with the average recall interval of 4.3 years. The total number of abutment teeth were 230 while 20 abutment were extracted within the first 2 years after treatment. The survival rate of TOAT is 91.3% (210/230). The remaining 210 TOAT with coping were clinically examined and underwent radiographic evaluation. Treatment outcomes of this study were considered in 3 aspects: endodontic aspect (67.4% healed VS 8.2% disease), periodontal aspect (92.4% maintenance VS 7.6% progression) and restorative aspect (82.9% success VS 14.3 %failures). Among several factors analyzed, statistically significant factors associated with treatment outcomes are medical welfare scheme, frequency of patient recall, apical pathology, extension of root canal filling, underlying medical condition, Kennedy classification and gingival inflammation. Conclusions: this study demonstrates that restoring procedures of TOAT in our institute has satisfactory outcomes and high success rate. However, the outcomes are affected by several factors which should be concerned and monitoring for further improvement of the treatment outcomes.", "th": "ภูมิหลัง: สถาบันทันตกรรมได้ทำฟันปลอมเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากให้แก่ผู้ป่วยสูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากฟันปลอมดังกล่าวมีข้อดีหลายประการแต่ยังขาดการประเมินผลการรักษาอย่างเป็นระบบ การศึกษาเกี่ยวกับผลของการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาได้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอัตราความสำเร็จของฟันที่ได้รับการบูรณะเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากและปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาของฟันที่ได้รับการบูรณะเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมราก วิธีการ: ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการบูรณะฟันเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในระหว่างเดือนมกราคม 2552 ถึง ธันวาคม 2560 ผล: ผู้ป่วยที่ได้รับการบูรณะฟันเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากทั้งหมดจำนวน 184 ราย ในจำนวนดังกล่าวมีผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำและเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 105 ราย (เพศชาย 55 ราย เพศหญิง50 ราย) อายุเฉลี่ย 70 ปี ( อายุระหว่าง 47-90 ปี) อัตราผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำคิดเป็นร้อยละ 56.1 และมีระยะเวลาติดตามภายหลังจากการรักษาเป็นเวลาเฉลี่ย 4.3 ปี พบว่ามีฟันหลักยึดที่ได้รับการบูรณะเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากทั้งหมด 230 ซี่ โดยฟัน 20 ซี่ ถูกถอนก่อนเข้าร่วมวิจัย ภายหลังจากบูรณะแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี อัตราการอยู่รอดเท่ากับร้อยละ 91.3 (210/230 ซี่) การศึกษานี้ แบ่งเกณฑ์การประเมินโดยการตรวจสภาวะของฟัน รักษาคลองรากฟันและพยาธิสภาพปลายราก สภาวะปริทันต์ สภาวะฟันและวัสดุบูรณะ จากการตรวจทางคลินิกและภาพถ่ายรังสี ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ อัตราความสำเร็จของการรักษาคลองรากฟัน พบว่าหายจากโรคร้อยละ 67.4 และไม่หายร้อยละ 8.2 อัตราความสำเร็จด้านปริทันต์ พบว่าคงสภาพได้ร้อยละ 92.4 และมีการดำเนินโรคร้อยละ 7.6 อัตราความสำเร็จด้านวัสดุบูรณะ พบว่าวัสดุบูรณะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ร้อยละ 82.9 และไม่สามารถเก็บหรือบูรณะใหม่ได้ร้อยละ 2.9 ร่วมกับพบหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ สิทธิ การรักษา ความถี่ในการกลับมาพบทันตแพทย์ พยาธิสภาพปลายรากฟันหลังบูรณะฟันหลักเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมราก ระยะห่างวัสดุอุดคลองรากกับปลายรากฟัน การมีโรคทางระบบ การจำแนก ช่องว่างใส่ฟันและสภาพเหงือก สรุป: อัตราความสำเร็จของฟัน ที่บูรณะเพื่อรองรับฟันเทียมคร่อมรากในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่ สถาบันทันตกรรมพบว่า ได้ผลสำเร็จในระดับสูงและเป็นที่น่าพอใจ แต่ทั้งนี้ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีและรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยเพื่อ ให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นต่อไป" }
{ "en": "Background: Presently, the Fee Schedule is employed to be an emergency medical expenses reimbursement mechanism. However, there is plenty of rooms for improvement. To be able to most effectively improve the reimbursement and the relevant agencies work budget managing. Therefore, to scrutinize and modulate the fee schedule is necessary. Objective: The object of this study (1) To scrutinize the emergency medical services rates classifying by reimbursement. (2) To explore the service rate lists which are not included in the fee schedule and the reimbursement difficulties. Method: A mixed-methods study. Quantitative methods direct using the emergency medical service reimbursement information under a project of financial recommendation for Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP). The UCEP data which the infirmary providing emergency medical services submit the National Health Security Office the information in the fiscal year 2017 to reimburse. Qualitative methods directly interview physicians and medical staff organizations to explore the service rate lists which are not included in the fee schedule and the reimbursement difficulties. Result: The result showed that the number of emergency medical expenses disbursement, accounting for 23.18% of all at of the total (9,647 items). The most of charges were higher than the fee schedule rate particularly drugs and parenteral nutrition category which was the highest average reached over 714 times. There were considerably different proportions of charges between the reimbursement rate and the fee schedule rate especially drugs and medical supply groups. Glucose (Blood, Urine, and Other) was the highest charged Item, accounting for over 9,900 times. There were 81,493 times without recording disbursement code and no code 13,843 items. However, 7,692 items were the already list of fee schedules. The difficulties such as 1) in the early stages, there was a disagreement from the lists that were not consistent with the private hospital lists using in their regular services. However, they have adjusted and solved those problems latterly. 2) Some drug lists could not be filled with data details for reimbursement. There was not the coverage of some medical supplies used lists in regular services in the fee schedule. Some artificial organs and medical devices could not specify material used types. Outpatient and inpatient hospital services were not available in the fee schedule. Conclusion: If the Fee Schedule is put on the payroll to be an emergency medical expenses reimbursement mechanism continuously, it will need to have a regular unit developing emergency medical services rates. Additionally, Thai Medicines Terminology (TMT) has to be utilized to national drug codes and medical terminology, and also the Logical Observation Identifiers Names and Codes (LOINC) have to be administered to a universal code system for identifying laboratory and clinical observations.", "th": "ภูมิหลัง: กลไกการเบิกจ่ายค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในปัจจุบัน ใช้วิธีการเบิกจ่ายตามอัตราที่กำหนดแยกรายการ หรือ fee schedule หรือ อัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แต่พบช่องว่างสำหรับการพัฒนาอยู่มาก เพื่อให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ครบถ้วนและปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถบริหารงบประมาณได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงต้องศึกษาทบทวนรวมถึงการปรับปรุงอัตราและรายการค่าบริการดังกล่าว วัตถุประสงค์: (1) ทบทวนอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ตามการเบิกจ่ายรายหมวดค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (2) ข้อมูลรายการอัตราค่าบริการที่ไม่มีในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปัญหาในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล วิธีการ: กระบวนการศึกษาแบบผสม (mixed method) เชิงปริมาณ ใช้ข้อมูลการเบิกจ่ายค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ภายใต้ “ โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEPด้านการเงินการคลัง” จากฐานข้อมูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่สถานพยาบาลให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินส่งเบิกจ่ายมายังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ปัญหาในการให้บริการ ข้อมูลรายการที่ไม่มีในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปัญหาในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผล: พบว่า 1. จำนวนรายการเบิกจ่ายค่าบริการการ แพทย์ฉุกเฉิน ที่ถูกเรียกเก็บคิดเป็น ร้อยละ 23.18 ของจำนวนรายการในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งสิ้น 9,647 รายการ2. ราคาการเรียกเก็บส่วนใหญ่จะสูงกว่าราคาอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยหมวดค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือดมีค่าเรียกเก็บสูงสุด สูงถึง 714.29 เท่า ของราคาในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หมวดค่ายา หมวดค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยา มีสัดส่วนอัตราค่าใช้จ่ายเรียกเก็บแตกต่างกันค่อนข้างมากกับราคาอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  3. Glucose (blood, urine, other)  เป็น รายการที่มีการเรียกเก็บสูงสุดกว่า 9,900 ครั้ง 4. ประเด็นการเบิกจ่ายมีรายการแต่ไม่มีการบันทึกรหัสเบิกจ่าย ทั้งสิ้น 81,493 ครั้ง โดยไม่ระบุรหัส 13,843 รายการ แต่รายการดังกล่าวเป็นรายการ ที่มีอยู่ในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่แล้วถึง 7,692 รายการ 5. ปัญหาที่พบ 1) วิธีการเบิกจ่ายค่าบริการ ในระยะแรกมีความยุ่งยากจากรายการไม่สอดคล้องกับรายการค่าบริการที่โรงพยาบาลเอกชนใช้อยู่ในระบบบริการปกติ แต่ภายหลังปัญหาค่อยๆ ลดลงค่อนข้างมากจากการจัดทำรายการให้เกิดความสอดคล้องกัน 2) ความครอบคลุมของรายการ หมวดค่ายา ไม่สามารถกรอกข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายได้ หมวดค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา พบว่า รายการดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมรายการวัสดุการแพทย์ที่มีการใช้งานอยู่จริง หมวดค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ไม่สามารถระบุประเภทของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการ ค่าบริการโรงพยาบาล ผู้ป่วยนอก ค่าบริการโรงพยาบาลผู้ป่วยใน เป็นรายการที่ไม่มีให้เบิกจ่ายในประกาศฯ สรุป: หากการเบิกจ่ายค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินจะดำเนินการตามกลไกการจ่ายตามอัตราที่กำหนด แยกรายรายการต่อไป จำเป็นต้องพัฒนาระบบการเบิกจ่ายนี้ให้ดี ยิ่งขึ้น โดยควรต้องมีหน่วยงานประจำที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาหลักเกณฑ์อัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งการใช้รหัสมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น TMT และ LOINC เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบทั่วประเทศ" }
{ "en": "Background: Low-dose lidocaine mixed with oxymetazoline can reduce pain during rigid nasendoscopy. However, the optimal dose of lidocaine is controversial.\nObjective: This study aimed to investigate the effect of 1% lidocaine mixed with oxymetazoline and 2% lidocaine mixed with oxymetazoline on reducing pain in patients undergoing rigid nasendoscopy.\nMethod: This double-blind randomized controlled trial was conducted on patients undergoing rigid nasendoscopy between June to July 2019 at the Department of Otolaryngology, Burapha University Hospital. Nasal cavities were randomized to receive pledgets soaked with 1% lidocaine mixed with oxymetazoline or 2% lidocaine mixed with oxymetazoline. The visual analogue scale (VAS) was used to evaluate the discomfort caused by medication and nasal pain caused by endoscopy. The data were analyzed using descriptive statistics and Wilcoxon signed-rank test.\nResult: The findings showed that there were 36 patients (27 female, 9 male) with an average age of 43.14 years. The discomfort was not statistically different between the 1% lidocaine group and the 2% lidocaine group (0.92 ± 1.51 and 1.00 ± 1.24 respectively, p = 0.70). The nasal pain was not statistically different between two groups (4.22 ± 2.32 and 3.97 ± 2.06 for the 1% lidocaine group and the 2% lidocaine group respectively, p = 0.31). No adverse drug reaction was identified in the study.\nConclusion: Preparing the patients prior to rigid nasendoscopy with oxymetazoline mixed with either 1% lidocaine or 2% lidocaine could be reasonable.", "th": "ภูมิหลัง: การให้ยาชาลิโดเคนที่มีความเข้มข้นต่ำร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีนสามารถลดความเจ็บปวดระหว่างการส่องกล้องตรวจโพรงจมูกชนิดแข็ง แต่ความเข้มข้นของยาชาลิโดเคนยังไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน\nวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการลดความปวดในการส่องกล้องตรวจโพรงจมูกชนิดแข็งระหว่างยาชาลิโดเคนร้อยละหนึ่งร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีน และยาชาลิโดเคนร้อยละสองร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีน\nวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง ในผู้ป่วยที่มารับการตรวจโดยการส่องกล้องตรวจโพรงจมูกชนิดแข็ง ที่แผนก โสต สอ นาสิก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม พ.ศ.2562 ผู้ป่วยได้รับการสุ่มคัดเลือกอย่างอิสระในการบริหารยาในจมูกทั้งสองข้าง โดยในโพรงจมูกข้างหนึ่งมียาชาลิโดเคนร้อยละหนึ่งร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีน ส่วนอีกข้างหนึ่งมี ยาชาลิโด เคนร้อย ละสองร่วม กับยาออกซี่เมตาโซลีน วัดระดับความ แสบจมูกขณะมีสำลีชุบยาอยู่ภายในและระดับความเจ็บปวดขณะส่องกล้องตรวจโพรงจมูก โดยใช้มาตรวัดระดับความเจ็บปวดด้วยการเปรียบเทียบด้วยสายตา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Wilcoxon signed-rank test\nผล: ผู้ป่วยทั้งหมดในการศึกษานี้ 36 ราย เป็นหญิง 27 ราย ชาย 9 ราย อายุเฉลี่ย 43.14 ปี ระดับความแสบจมูกขณะมีสำลีชุบยาอยู่ภายในของยาชาลิโดเคนร้อยละหนึ่งร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีนเปรียบเทียบกับยาชาลิโดเคนร้อยละสองร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ( 0.92 ± 1.51 คะแนน และ 1.00 ± 1.24 คะแนน, p = 0.70) ระดับความเจ็บปวดขณะส่องกล้องตรวจโพรงจมูกของยาชาลิโดเคนร้อยละหนึ่งร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีนเปรียบเทียบกับยาชาลิโดเคนร้อยละสองร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (4.22 ± 2.32 คะแนน และ 3.97 ± 2.06 คะแนน, p = 0.31) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากยาทั้งสองชนิด\nสรุป: การศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างยาชาลิโดเคนร้อยละหนึ่งร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีนและยาชาลิโดเคนร้อยละสองร่วมกับยาออกซี่เมตาโซลีนในการลดความเจ็บปวดขณะส่องกล้องตรวจโพรงจมูก" }
{ "en": "Background: Education is an effective method to prevent injury in childhood. In Thailand, there are many childhood injury prevention educational activities but only few outcomes on these programs were reported. Objective: To examine the knowledge and attitude of participants in the child Injury prevention program regarding child injury prevention, and compare knowledge and attitude scores before and after the educational program. Method: According to previous data from the preschool children injury prevention education program in Chonburi, the knowledge and attitude scores of the participants were compared between before and after the educational program with the Paired t- test. Content analysis of participants’ opinions was performed. Results: Fifty-one participants consisted of 21 teachers (41.2%), 18 third year medical students (35.3%), 7 nannies (13.7%) and 5 others (9.8%). The program included lectures and practice exercises in 3 learning stations of drowning, traffic and household injuries. Mean pre-test of knowledge score was 57.1%, attitude score was 73.1%. The drowning topic had less pre-test score than the average of all topics. Subjects had statistically significant improvement of post-test scores on knowledge and attitudes in all learning topics. The mean knowledge score improved by 31.2% (p <0.001). The mean attitude score improved by 16.9% (p <0.001). Most participants confirmed that they benefit from the program in terms of knowledge and attitudes for preventing unintentional injuries in preschool children. Conclusions: Participants of childhood Injury prevention program have developed more knowledge and attitudes that are useful for preventing injuries in children, especially in the topic of drowning.", "th": "ภูมิหลัง: การให้ความรู้เรื่องการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในเด็ก เป็นแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กเล็กที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น แต่การศึกษาถึงผลลัพธ์ของกิจกรรม เช่น ความรู้ ทัศนคติ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการป้องกัน อุบัติเหตุในเด็กยังพบน้อย วัตถุประสงค์: ประเมินความรู้และทัศนคติการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การป้องกันอุบัติเหตุ เปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม วิธีการ: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากการจัดกิจกรรมให้ความรู้ป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัยในจังหวัดชลบุรี เปรียบเทียบคะแนนความรู้และทัศนคติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม โดยใช้สถิติ Paired t- test วิเคราะห์เนื้อหาความคิดเห็น ผล: กลุ่มตัวอย่างจานวน 51 คน อาชีพครู  21 คน (ร้อยละ 41.2) นิสิตแพทย์ชั้นปีสาม 18 คน (ร้อยละ 35.3) พี่เลี้ยงเด็ก 7 คน (ร้อยละ13.7) และอื่นๆ 5 คน (ร้อยละ 9.8) ร่วมกิจกรรมการให้ความรู้รายกลุ่ม บรรยายและฝึกปฏิบัติในฐานเรียนรู้ 3 ฐาน คือ อุบัติเหตุจมน้ำ อุบัติเหตุจราจร และอุบัติเหตุภายในบ้าน ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ร้อยละ 57.1 ทัศนคติ ร้อยละ 73.1 หัวข้ออุบัติเหตุจมน้ำมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยรวม หลังร่วมกิจกรรมคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติต่อการป้องกันอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกหัวข้อเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในหมวดความรู้ร้อยละ 31.2 (p<0.001) ทัศนคติร้อยละ 16.9 (p<0.001) ผู้ร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่แสดงความเห็นว่าได้ความรู้ มีทัศนคติที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย สรุป: ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลังผ่านกิจกรรมเรียนรู้การป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัยมีความรู้และทัศนคติที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันอุบัติเหตุมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้ออุบัติเหตุจมน้ำ" }
{ "en": "Background: Sustainable Development Goals (SDGs) is used for the country development framework in the worldwide and for targeting of Thailand to be the one third in health development of Asia, life expectancy at birth (LE) and healthy life expectancy at birth (HALE) not less than 85 and 75 years in 2036 respectively under the TwentyYear National Strategic Plan for Public Health (2017-2036).\nObjective: to study the health-related SDGs and overall health status of Thailand and Asia.\nMethod: This study was cross- sectional descriptive study from secondary data of the health-related SDGs in 43 indicators, 9 goals including 4 life expectancy and health expenditure indicators in 47 countries of Asia in WHO’ world health statistic report 2019 by ranking and rating, clustering, factor and multiple regression analysis.\nResult: 1) Thailand was in top third 16 indicators (42.1%). For Thai’s HALE was 66.8 years in top third higher than average mean of Asia, LE was 75.5 years and current health expenditure per capita was 222 US$ in the middle third, while current health expenditure was 3.7% of GDP in the bottom third. 2) The clustering into 3 groups of 27 indicators, Thailand was in the moderate development level of the health-related SDGs consisted of 21 countries (44.7%). 3) The factor and multiple regression analysis, the results were as follows: the health-related analyzed to be 7 factors. In particular, the obtained factors were accounted for 75.7 percentage of the health-related SDGs which predicted to LE and HALE at 86.8 and 88.1 percentage respectively.\nConclusion: This study could indicate the development status and make use of revising and inspecting, priority setting, prediction and integration with multi-transdisciplinary for the health and national development to meet the targeting efficiently. So, it needs to be developed as the tools of monitoring and evaluation system, and planning specifically and continuously.", "th": "ภูมิหลัง: เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ใช้เป็นกรอบการพัฒนาประเทศระดับโลก และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของเอเชีย และคนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 75 ปี ภายในปี 2579\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานภาพเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพและสุขภาพภาพรวมของประเทศไทยในเอเชีย\nวิธีการ: เป็นงานวิจัย เชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานสถิติสุขภาพขององค์การอนามัยโลกปี 2562 มี SDGs ด้านสุขภาพ 43 ตัวชี้วัด จาก 9 เป้าหมาย รวมทั้งตัวชี้วัดด้านสุขภาพภาพรวมอายุคาดเฉลี่ยและรายจ่ายด้านสุขภาพ 4 ตัวชี้วัดของ 47 ประเทศในเอเชีย โดยจัดอันดับและระดับตัวชี้วัด จัดกลุ่มประเทศวิเคราะห์ปัจจัยและการถดถอยพหุ\nผล: 1) SDGs ด้านสุขภาพประเทศไทยอยู่ในระดับ Top third 16 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 42.1) สุขภาพภาพรวมในปี 2559 คนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีเมื่อแรกเกิด 66.8 ปี อยู่ในระดับ Top Third และสูงกว่าค่ากลางของเอเชีย รองลงมาอยู่ในระดับ Middle Third คือ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 75.5 ปี และรายจ่ายสุขภาพต่อหัวประชากร 222 ดอลล่าสหรัฐ และระดับ Bottom Third คือ รายจ่ายสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพียงร้อยละ 3.7 2) การจัดกลุ่มประเทศในเอเชียจาก 27 ตัวชี้วัด ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนา SDGs ด้านสุขภาพปานกลางใน 21 ประเทศ (ร้อยละ 44.7) 3) การวิเคราะห์ปัจจัยและการถดถอยพหุได้ 7 ปัจจัย มีค่าความแปรปรวนสะสมที่สามารถร่วมกันอธิบาย SDGs ด้านสุขภาพ ได้ร้อยละ 75.7 โดยสามารถพยากรณ์อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีได้ร้อยละ 86.8 และ 88.1 ตามลำดับ\nสรุป: การศึกษานี้สามารถบ่งชี้สถานภาพการพัฒนาและใช้เป็นแนวทางในการทบทวนและตรวจสอบ จัดลำดับความสำคัญคาดการณ์บูรณาการทิศทางการพัฒนาสุขภาพและประเทศที่หลากหลายและข้ามสาขาเสริมหนุนกันให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาใช้เป็นเครื่องมือในระบบติดตามประเมินผลและการวางแผนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง" }
{ "en": "Background: The purpose of this cross – sectional descriptive research.\nObjective: was to study the behavior and the predictive factors in working of Emergency Medical Responder in Chonburi.\nMethod: The participants were 315 emergency medical responder (EMR) to be selected by multi stage sampling method. The questionnaire was designed to collect data including personal factors, health belief factors, social instrumental support factors, and work behavior of volunteer rescuers. Descriptive Statistics were used to analyze data including frequency, percentage, mean, standard deviation, pearson product moment correlation coefficient, and multiple linear regression.\nResult: The results showed work behavior of EMR occurred at high level and factors influencing work behavior of EMR were as follow: social instrumental support, social emotional support, health belief, perceived severity and perceived benefits which these factors could predict safety behavior at 27.7 percent by writing the following equation: Y = 79.430 + 1.099X11 + 0.429X10 + 0.582X8 + 0.389X7X11 = Social instrumental support X10 = Emotional support X8 = Perceived benefits X7 = Perceived severity\nConclusion: Moreover, the results indicated that social instrumental support, encouragement from family and colleagues, promotion of perceived benefits, and perceived severity would increase the work safety of EMR.", "th": "ภูมิหลัง:  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยตัดขวาง\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพจังหวัดชลบุรี\nวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครกู้ชีพในเขตจังหวัดชลบุรีจำนวน 315 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน\nผล: ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพอยู่ในระดับดีและปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมการทำงานของอาสมัคร กู้ชีพได้แก่แรงสนับสนุนทางสังคมด้านวัสดุอุปกรณ์ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ โดยตัวแปรเหล่านี้สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานได้ร้อยละ 27.7 สามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ Y = 79.430 + 1.099X11 + 0.429X10 + 0.582X8 + 0.389X7  X11 = แรงสนับสนุนทางสังคมด้านวัสดุอุปกรณ์ X10 = แรงสนับสนุนด้านอารมณ์  X8 = การรับรู้ประโยชน์  X7 = การรับรู้ความรุนแรง\nสรุป: จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าให้แรงสนับสนุนทาง สังคมด้านวัสดุอุปกรณ์ การได้รับกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน การส่งเสริมรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความรุนแรง จะทำให้อาสาสมัครกู้ชีพมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น" }
{ "en": "Background: Epilepsy is common neurological disorder. Most epileptic patients could have seizure remission if appropriate epilepsy treatments are accessible. However, in Thailand, medical facilities in epilepsy care have not been provided adequately in all over regions. 58% of these patients, especially in rural regions, could not get proper medical care. Therefore, to improve treatment gap problem, basic medical facilities in epilepsy care need to be evaluated.\nObjectives: To survey the medical resources in epilepsy care in secondary hospitals in Thailand.\nMethods: Data were collected from all secondary hospitals (center hospital(A), general hospital(S) in 12 public health service areas by postal questionnaire survey during August 1-November 1,2018\nResults: 36 out of 83 secondary hospital postal questionnaires were sent back (43.37%). This survey revealed epilepsy as nearly one fourth of neurological diseases presenting in both outpatient and inpatient units. 80.6 % of these hospitals had at least one medical personnel who was specialized in epilepsy. Internists are the main key persons taking care of this group of patients. Advanced investigations such as CT, MRI brain and EEG were available 97.2%, 34.3% and 40% respectively. 88.6% of the hospitals had all 4 types of standard oral antiepileptic drugs and all hospitals had at least one type of new antiepileptic drugs. The first and second most ones were lamotrigine and oxcarbazepine. Drug resistant epilepsy was concerned as problematic condition in most physicians (82.4%) but only 54.5% of them had experiences referring patient for epilepsy surgery.\nConclusions: Epilepsy treatment gap has still been important health care problem, especially in difficult to treat epileptic patients commonly seen in secondary hospitals. Further medical care resources in epilepsy need to be ascertained for more accurate information.", "th": "ภูมิหลัง: โรคลมชักเป็นโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่พบบ่อยในทุกกลุ่มอายุ จากการสำรวจของสมาคมโรคลมชัก ปี 2555 พบว่าประเทศไทยมีความชุกของโรคลมชัก 25 ต่อประชากร 1,000 คน อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ สามารถหายขาดจากอาการชักถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง แต่พบว่าร้อยละ58 ของผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทย ไม่สามารถเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะประชากรในส่วนภูมิภาค ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาของผู้ป่วย โรคลมชักให้ครอบคลุมทั่วถึง จำเป็นที่ต้องทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของความสามารถในการให้บริการของสถานพยาบาลระดับต่างๆ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการรักษาโรคลมชักให้เหมาะสมและทั่วถึงต่อไป\nวัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจการให้บริการทางการแพทย์ ในดา้นบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัย ชนิดของยากันชักที่มีใช้ เพื่อให้บริการในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ\nวิธีการ: เป็นการสำรวจข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ไปโรงพยาบาลศูนย์ (A) และโรงพยาบาลทั่วไป (S) ใน 12 เขตบริการสาธารณสุข ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 1 พฤศจิกายน 2561\nผล: แบบสอบถามถูกส่งกลับจากโรงพยาบาล 36 แห่งจากทั้งหมด 83 แห่ง (ร้อยละ 43.37) ผู้ป่วยโรคลมชักเป็นโรคที่พบบ่อยเกือบหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ทั้งคลินิกผู้ป่วยนอกและใน ร้อยละ 80.6 ของโรงพยาบาล มีแพทย์ที่มีความเชี่ยว ชาญด้านโรคลมชัก ได้แก่ ประสาทแพทย์โรคลมชัก กุมารประสาทวิทยา หรือประสาทศัลยแพทย์ อย่างน้อย 1 คน การส่งตรวจเอกซเรย์สมองคอมพิวเตอร์ (CT), เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI) และการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ทำได้ร้อยละ 97.2, 34.3และ 40 ตามลำดับ ด้านการรักษาร้อยละ 88.6 ของโรงพยาบาลมียากลุ่มมาตรฐานที่เป็นรูปแบบรับประทานครบทั้ง 4 ชนิด และทุกโรงพยาบาล มียากลุ่มใหม่อย่างน้อย 1 ชนิด และที่มีใช้มากสุดคือ lamotrigine, oxcarbazepine และ gabapentin ด้านแนวทางการรักษาโรคลมชักร้อยละ 82.4 ของแพทย์เห็นว่าโรคลมชักดื้อยาเป็นปัญหาในการดูแลรักษา แต่มีเพียงร้อยละ 54.5 ของแพทย์ที่เคยส่งต่อผู้ป่วยเพื่อมาประเมินการรักษาโดยการผ่าตัด\nสรุป:  โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิใน ส่วนภูมิภาคยังมีจำนวนแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านโรคลมชัก เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยที่จำเป็น ได้แก่ MRI สมองและ EEG ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคลมชักที่มีความซับซ้อนหรือดื้อยาได้ ดังนั้นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของทรัพยากรในการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลมชักจึงยังมีความจำเป็นเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป" }
{ "en": "Background: Epilepsy is an ambulatory care sensitive condition. The hospitalization for epilepsy may be avoided if the patients receive treatment based on quality health care system in primary level. From 2008 to 2010, Health Insurance System Research Office reported that an epilepsy-related hospitalization was increased. However, there was no research focusing on the epilepsy-related hospitalization rate in Saraburi hospital.\nObjective: The aim of this study was to determine the prevalence and the causes of the seizure-related hospitalization in this hospital.\nMethod: Retrospective chart review was conducted in adult epileptic patients aged 15 years or older, who admitted with some seizures at Saraburi hospital between 1 January and 31 December 2017. There were 402 patients who received outpatient medical treatment in Saraburi hospital at least 2 visits during the study period.\nResult: The seizure-related hospitalization of 67 patients was about 16.7%. Non-adherence was a major cause of the seizure-related hospitalization as 50.8%. An average number of hospitalization was 1.8 times per year (SD, 1.3), and median of length of stay was 2.0 days (IQR, 2.0-3.0). Total direct medical cost was 5,215 Baht per admission (SD, 2,826). Most patients (95.5%) improved and 65.2% of subjects received anti-epileptic drugs similar to that received at the last visit. Although easy epilepsy clinic can improve quality of service delivery in health care system, there is no easy epileptic clinic in Saraburi hospital. This strategy can reduce some problem in special group including epileptic patients. Appropriate preventative and early management in ambulatory care may increase seizure-free rate and decrease hospitalization rate as well as health care utilization.\nConclusion: Prevalence of seizure-related hospitalization in epileptic patient at Saraburi hospital was 16.7% and non-adherence was a major cause of these patients.", "th": "ภูมิหลัง: โรคลมชักเป็นโรคเรื้อรังที่ควรควบคุมได้ด้วยการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก การนอนโรงพยาบาลนี้สามารถป้องกันหรือลดลงได้หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในระดับปฐมภูมิอย่างถูกต้องในระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพดี รายงานของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ปี พ.ศ. 2551-2553 พบว่าโรคลมชักมีอัตราการนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความชุกของการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการชักในโรงพยาบาลสระบุรี\nวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและสาเหตุของการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการชักในโรงพยาบาลสระบุรี\nวิธีการ: เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังของผู้ป่วยลมชักกลุ่มผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่นอนโรงพยาบาลด้วยอาการชักที่โรงพยาบาลสระบุรีในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม 2560 และมีผู้ป่วยจำนวน 402 รายได้รับการรักษาด้วยยากันชักที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสระบุรีอย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงเวลาที่ศึกษา\nผล: ผู้ป่วย 67 ราย (ร้อยละ 16.7) มีการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการชักโดยมีสาเหตุมาจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด (ร้อยละ 50.8) ผู้ป่วยมีการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 1.8 ครั้งต่อปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.3) และค่ามัธยฐานของจำนวนวันนอนเท่ากับ 2.0 วันต่อครั้ง (พิสัยควอไทล์ 2.0-3.0) ทำให้เกิดต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ครั้งละ 5,215 บาท (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2,826) หลังจากมีการนอนโรงพยาบาลแล้วผู้ป่วยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 95.5) มีอาการดีขึ้นสามารถกลับบ้านได้และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.2) ได้รับยากันชักชนิดเดิม อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีคลินิกโรคลมชักในโรงพยาบาลสระบุรี ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาต่างๆ ในผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำเพิ่มเติม นำไปสู่การเพิ่มอัตราการหายชัก ลดการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการชักและลดการใช้ ทรัพยากรทางสุขภาพลงได้\nสรุป: ความชุกของการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการชักที่โรงพยาบาลสระบุรีเท่ากับร้อยละ 16.7 โดยมีสาเหตุมาจากความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด" }
{ "en": "Background: Constrictive pericarditis is a rare and disabling disease. This study was to evaluate our single-center experience with pericardiectomy for chronic constrictive pericarditis.\nObjective: The main objectives of our analysis were long-term survival, clinical outcome, mortality rate and identification of risk factors.\nMethod: A retrospective study of our database identified 45 patients who underwent pericardiectomy at Central Chest Institute of Thailand from January 1999 to January 2019. Demographic data, intraoperative and long term outcomes were analyzed.\nResults: There were 39 men, with a mean age of 42.8 ± 15.1 years. Most presented with shortness of breath (87%), pitting edema (80 %), hepatomegaly (56%) or ascites (53%). Most common etiology of constrictive pericarditis was tuberculosis in 36 (80%) patients. Most of the patients (87%) were in New York Heart Association (NYHA) class II and III. The surgical approach was achieved via a median sternotomy in 43 (95.6%) patients. The hospital mortality was 13% in this study. The high preoperative NYHA and the high dose of inotropic drug in postoperative period were associated with a significantly higher hospital mortality. The survival rates were 90.8%, 76.8% and 63% at 1, 5 and 10 years, respectively.\nConclusion: Pericardiectomy was associated with a high morbidity and mortality rate. Nevertheless, it is able to improve the functional class and has a good long-term survival rate when compare with other studies. Preoperative functional class and high dose inotropic drug use are crucial in predicting the risk of hospital mortality.", "th": "ภูมิหลัง: โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรัง (constrictive pericarditis) เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยแต่มีผลต่อคุณภาพชีวิต การวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงผลการผ่าตัดลอกผนังเยื่อหุ้มหัวใจ(pericardiectomy) ในผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังที่สถาบัน โรคทรวงอก\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตในระยะยาว ภายหลังการผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจ ผลการรักษาทางคลินิก อัตราการเสียชีวิต ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตภายหลังการผ่าตัด\nวิธีการ: ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มหัวใจที่สถาบันโรคทรวงอกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ มกราคม 2542 ถึง มกราคม 2562 โดยมีผู้ป่วยทั้งหมด 45 รายที่ได้รับการผ่าตัด นำข้อมูลของกลุ่มผู้ป่วยทั้งก่อนผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และผลการรักษามาวิเคราะห์\nผล: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 42.8 ± 15.1 ปี โดยพบเพศชายเป็นส่วนใหญ่ ( 39 ราย)  อาการที่พบบ่อย ได้แก่ เหนื่อยง่าย (ร้อยละ 87) ขาบวมกดบุ๋ม(ร้อยละ 80) ตับโต  (ร้อยละ 56) หรือพบน้ำในช่องท้อง (ร้อยละ 53) พบว่าการติดเชื้อวัณโรคที่เยื่อหุ้มหัวใจเป็นสาเหตุหลักถึง ร้อยละ 80 ของโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87) มีอาการ New York Heart Association (NYHA) II และ III ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยจำนวน 43 ราย (ร้อยละ 95.6) ได้รับการทำผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจผ่านแผลกลางหน้าอก โดยพบอัตราการเสีย ชีวิตในโรงพยาบาล ร้อยละ 13  อาการของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด (NYHA) ที่มากและการใช้ยากระตุ้นหัวใจขนาดสูงหลังผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตรา การรอดชีวิตที่ 1 ปี, 5 ปี และ 10 ปี คือ ร้อยละ 90.8, ร้อยละ 76.8 และร้อยละ 63 ตามลำดับ\nสรุป: แม้ว่าการผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มหัวใจจะมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง แต่พบว่าอาการของผู้ป่วยหลังผ่าตัดดีขึ้น และมีอัตราการรอดชีวิตระยะยาวใกล้เคียงกับการศึกษาในต่างประเทศ โดยปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลได้แก่ อาการของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและการใช้ยากระตุ้นหัวใจขนาดสูงหลังการผ่าตัด" }
{ "en": "Background: Tigecycline is a broad spectrum antibiotic with restricted indications in paediatrics patients.Its use in clinical practice is reserved for cases with challenging infections due to multi-drug resistant bacteria. Limited data is available to determine the treatment outcome in neonates.\nObjective: To study the survival rate of antibiotic resistant newborn patients who were treated with tigecycline at Queen Sirikit National Institute of Child Health (QSNICH).\nMethod: A retrospective descriptive study was conducted by extracting data from medical records of patients admitted in neonatal units of QSNICH who were treated with tigecycline between 1st January, 2014 and 30th September, 2018.\nResult: There were 4,362 neonatal admission during this period with 82 patients included in the study. The average gestational age was 30.13 ± 4.42 weeks. Three most common XDR pathogens identified were K. pneumoniae (54%), P. aeruginosa (24.1%) and A. baumannii (19.5%). Tigecycline was used most frequently for the treatment of pneumonia; 34 cases (41.46%) and septicemia 27 cases (32.93%). The survival rate was 86.58%. Comparison of mortality rate between two different doses (2 and 2.4 mg/ kg/ day) showed no statistical significant difference (p=0.44). Three cases of septic shock developed acute kidney injury, before starting tigecycline, died later.\nConclusion: Tigecycline can be used in neonates infected with extensive drug resistance organism. Safety of tigecycline use in neonates should be considered.", "th": "ภูมิหลัง: ยาไทกีซัยคลินเป็นยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์กว้าง แต่ข้อบ่งชี้ยังจากัดเฉพาะผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มทารกแรกเกิดก็เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้ แต่ข้อมูลการใช้ยาไทกีซัยคลีนยังมีจำกัด\nวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อดื้อยาซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาไทกีซัยคลิน ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี\nวิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อน หลังโดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วย ที่ได้รับยาไทกีซัยคลินในหน่วย ทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2561\nผล: ทารกป่วยจำนวน 4,362 ราย เข้าเกณฑ์การศึกษา 82 ราย ค่าเฉลี่ยอายุครรภ์ของทารก 30.13 ± 4.42 สัปดาห์ เชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม ที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ K. pneumoniae (54%), P. aeruginosa (24.1%) และ A. baumannii (19.5%) โรคที่ใช้ยาไทกีซัยคลินมากที่สุด คือ โรคปอดอักเสบ 34 ราย (41.46%) และ การติดเชื้อในกระแส เลือด 27 ราย (32.93%) อัตราการรอดชีวิตโดยรวมเป็น 86.58% การให้ยา 2 ขนาด (2 และ 2.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน) มีอัตราตายไม่แตกต่างกัน (p=0.44) ผู้ป่วย septic shock 3 ราย เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันก่อนได้รับยาไทกีซัยคลินและเสียชีวิตในเวลาต่อมา\nสรุป: ยาไทกีซัยคลินสามารถใช้กับทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มได้ ความปลอดภัยจากการใช้ยาไทกีซัยคลินในทารกแรกเกิดป่วยยังต้องทำการศึกษาต่อไป" }
{ "en": "ในช่วง 4-5 เดือนมานี้เป็นที่ทราบกันดีว่า social distancing, self-isolation, work from home อันเป็นผลพวงมาจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ 2 เทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันถือว่าไม่ใหม่ ไม่เก่าและกำลังถูกหยิบมาพูดถึงมากขึ้นในชั่วโมงนี้...ใช่แล้วครับ! มันคือcloud meeting และ telemedicine โดยส่วนตัวผู้เขียนเองก็รู้จักเทคโนโลยีที่ว่าแบบแค่พอเคยได้ยินพอรู้จักบ้าง... แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษนัก ซึ่งเรื่องที่จะหยิบยกมาคุยในวันนี้เป็น 2 เครื่องมือที่ว่า มาข้างต้น ซึ่งช่วยให้พวกเรา สามารถสื่อสารกันระหว่างทีมแพทย์ด้วยกันเองแบบทันท่วงที (real-time) เช่น การประชุมเชิงวิชาการ การจัด training webminar หรือการจัดการสอน ออนไลน์ ต่างๆ หรือเป็นการสื่อสารกัน ระหว่างแพทย์-ผู้ป่วย เช่น การติดตามผลการรักษา แบบ interactive communication", "th": "ในช่วง 4-5 เดือนมานี้เป็นที่ทราบกันดีว่า social distancing, self-isolation, work from home อันเป็นผลพวงมาจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ 2 เทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันถือว่าไม่ใหม่ ไม่เก่าและกำลังถูกหยิบมาพูดถึงมากขึ้นในชั่วโมงนี้...ใช่แล้วครับ! มันคือcloud meeting และ telemedicine โดยส่วนตัวผู้เขียนเองก็รู้จักเทคโนโลยีที่ว่าแบบแค่พอเคยได้ยินพอรู้จักบ้าง... แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษนัก ซึ่งเรื่องที่จะหยิบยกมาคุยในวันนี้เป็น 2 เครื่องมือที่ว่า มาข้างต้น ซึ่งช่วยให้พวกเรา สามารถสื่อสารกันระหว่างทีมแพทย์ด้วยกันเองแบบทันท่วงที (real-time) เช่น การประชุมเชิงวิชาการ การจัด training webminar หรือการจัดการสอน ออนไลน์ ต่างๆ หรือเป็นการสื่อสารกัน ระหว่างแพทย์-ผู้ป่วย เช่น การติดตามผลการรักษา แบบ interactive communication" }
{ "en": "การระบาดของโรคอุบัติใหม่มีผลกระทบต่อทันตแพทย์และ งานทันตกรรมในหลายแง่มุม ทุกครั้งจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งเป็น หัวใจสำคัญของงานเพื่อนำไปสู่การวางมาตรฐานที่ดีขึ้น แพทย์และ ทันตแพทย์ผ่านประสบการณ์รับมือกับโรคระบาด เช่น ตับอักเสบ จากเชื้อไวรัส, โรคเอดส์, SARs, MERs และไข้หวัดนก มาก่อนที่จะ เกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งแต่ละครั้งที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการ หลายด้าน ทำให้มีมาตรฐานการบริการที่ดีขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะ การควบคุมการติดเชื้อ", "th": "การระบาดของโรคอุบัติใหม่มีผลกระทบต่อทันตแพทย์และ งานทันตกรรมในหลายแง่มุม ทุกครั้งจะมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งเป็น หัวใจสำคัญของงานเพื่อนำไปสู่การวางมาตรฐานที่ดีขึ้น แพทย์และ ทันตแพทย์ผ่านประสบการณ์รับมือกับโรคระบาด เช่น ตับอักเสบ จากเชื้อไวรัส, โรคเอดส์, SARs, MERs และไข้หวัดนก มาก่อนที่จะ เกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งแต่ละครั้งที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการ หลายด้าน ทำให้มีมาตรฐานการบริการที่ดีขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะ การควบคุมการติดเชื้อ" }
{ "en": "Background : Patients with cancer of the hypopharynx were found to have synchronous esophageal cancer about 10 percent during pretreatment evaluation. The former screening tool for esophageal lesion was the rigid endoscopy which was proceeded in the operating room. But nowadays, transnasal esophagoscopy is the latest screening tool for esophageal lesion. This tool is more convenient than former tool because it can be done in the outpatient department.\nObjective : The objective of this study was to assess cost-effectiveness of transnasal esophagosocopy versus rigid esophagoscopy for screening the esophageal cancer in patients with hypopharyngeal cancer.\n Method : The cost-effectiveness analysis was based on decision tree model and determined from the healthcare provider perspective. The choice of screening the esophageal cancer was the rigid endoscopy method which was performed in the operating room or the transnasal esophagoscopy method which was performed at outpatient department.\nResults : Cost per patient of transnasal esophagoscopy was 18,907.20 baht while cost per patient of rigid esophagoscopy was 12,725.81 baht. The main cost of transnasal esophagoscopy was capital cost while the main cost of rigid esophagoscopy was admission cost. In the cost-effectiveness analysis from the model by simulated the data from 1,000 patients, the total cost for substitute the rigid esophagoscopy with transnasal esophagoscopy was 4,839,776.07 baht and add the efficacy of screening in 57 patients. Therefore, to increased success rate of screening by using transnasal esophagoscopy in one patient, the hospital had to expense 84,778.95 baht. In the sensitivity analysis, the efficacy of TNE increased if the total cost of TNE was reduced and/or the complication rate of RE was higher.\nConclusion : Transnasal esophagoscopy has the efficacy and also could be substituted for the former endoscopy in order to screen the esophageal cancer in patients with hypopharyngeal cancer. Nonetheless, the healthcare provider should concern about capital cost and numbers of patients before purchase this equipment.", "th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยโรคมะเร็งคอหอยส่วนล่างมักตรวจพบ โรคมะเร็งหลอดอาหารร่วมด้วยได้ประมาณร้อยละ 10 แนวทาง การตรวจคัดกรองหลอดอาหารแบบเดิมคือ การส่องกล้อง rigid esophagoscopy (RE) ซึ่งต้องทำในห้องผ่าตัด แต่ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองการส่องกล้องด้วยวิธี transnasal esophagoscopy (TNE) แทน ซึ่งทำได้ที่แผนกผู้ป่วยนอก\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลในการคัดกรองหาโรคมะเร็งหลอดอาหารในผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนล่าง ด้วยวิธีการส่องกล้องตรวจหลอดอาหารแบบ transnasal esophagscopy เปรียบเทียบกับการส่องกล้องตรวจ แบบ rigid esophagoscopy\nวิธีการ : ประเมินทางเศรษฐศาสตร์แบบวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล โดยใช้แบบจำลองทางเลือกตัดสินใจ ในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ ซึ่งทางเลือกในการตัดสินใจ คือ การส่องกล้องตรวจหลอดอาหารด้วยวิธี transnasal esophagoscopy ทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเปรียบ เทียบกับการส่องกล้องด้วย rigid esophagoscopy ซึ่งเป็นการ ส่องกล้องแข็งผ่านช่องปากในห้องผ่าตัด และผู้ป่วยต้อง admit เป็น ผู้ป่วยใน\nผล : การส่องกล้องแบบ TNE มีต้นทุนต่อผู้ป่วย 1 รายเป็น จำนวนเงิน 18,907.20 บาท ส่วนต้นทุนของการ ส่องกล้องแบบ RE ต่อผู้ป่วย 1 ราย เป็นจำนวนเงิน 12,725.81 บาท โดยต้นทุนส่วน ใหญ่ของการส่องกล้องแบบ TNE มาจากต้นทุนลงทุน และต้นทุน ส่วนใหญ่ของ RE มาจากต้นทุนค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน การประเมิน ต้นทุนและประสิทธิผลจากแผนภูมิการตัดสินใจโดยจำลองผู้ป่วย จำนวน 1,000 รายพบว่า ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หากเปลี่ยนจาก การส่องกล้องแบบ RE เป็นการส่องกล้องแบบ TNE เป็นจำนวน เงินทั้งสิ้น 4,839,776.07 บาท ประสิทธิผลในการคัดกรองมะเร็ง หลอดอาหารเพิ่มขึ้น 57 ราย ดังนั้นต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในการ เปลี่ยนจากการส่องกล้องด้วยวิธี RE เป็น TNE ต่อการคัดกรอง ผู้ป่วยสำเร็จเพิ่มขึ้น 1 รายเป็นจำนวนเงิน 84,778.95 บาท การ วิเคราะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรพบว่า ความคุ้มค่าจะเกิดมาก ขึ้นหากต้นทุนของการตรวจ TNE ลดลง และ/หรือ การตรวจด้วย วิธี RE มีภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น\nสรุป : การส่องกล้องชนิด TNE เพื่อ ประเมินรอยโรคในหลอดอาหารในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งคอหอยส่วนล่าง มีประสิทธิภาพ และทดแทนการส่องกล้องแบบ RE ได้ อย่างไรก็ตาม ในการจัดหากล้อง TNE โรงพยาบาลควรคำนึงถึงราคาจัดซื้อ และ จำนวนผู้รับบริการเป็นสำคัญ" }