translation
dict
{ "en": "Background : The ultimate goal of periodontal treatment is the regeneration of damaged periodontal tissue. Currently, cell sheets with “Cell Sheet Engineering Technology” were created for the alternative periodontal tissue regeneration. According to the easy fabrication and manipulation, the use of cell sheet technique offers more interesting in clinical setting.\nObjective : To quantitatively find out the effect of cell sheet technique for periodontal tissue regeneration in human.\nMethods : PubMed database was systematically searched for related articles, together with searching in Google scholar. They were all filtered for articles in English or Thai from 1990 to 2019.\nResults : Four articles, which are randomized control trials, clinical trials, and case series were accepted and extracted for meta-analysis. Data was calculated for weighted mean difference (WMD) at 95% CI and random effect model was used. The results showed that the cell sheet technique approach had positive results on clinical attachment level (WMD = -3.080 (95% CI -4.697 - (-1.464), p=0.000), probing depth (WMD = -4.545 (95% CI -5.621 – (-3.468), p=0.000), and bony defect depth (WMD = -4.020 (95% CI -4.873 – (-3.167), p=0.009). However, the data was high heterogeneity (I2=92.0%, I2=88.0%, and I2=74.0%).\nConclusion : The result evidences suggest that the novel cell sheet technique benefits on periodontal regeneration. However, as less clinical trials and possible the risk of bias problems, the further higher quality researches are still required to prove the effectiveness of cell sheet engineering for periodontal tissue regeneration in clinical applications in the future.", "th": "ภูมิหลัง : เป้าหมายสูงสุดของการรักษาโรคปริทันต์ คือ หวังผลให้เกิดการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์อย่างสมบูรณ์ ในปัจจุบันการใช้เทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์ (cell sheet engineering) มาทำให้เกิดเป็นแผ่นเซลล์ต้นกำเนิดถูกพัฒนาขึ้น มาเพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาโรคปริทันต์ เทคนิคนี้ได้รับความ สนใจ เนื่องจากสามารถผลิตและนำไปใช้งานได้ง่ายกว่าวิธีวิศวกรรม เนื้อเยื่อแบบดั้งเดิม\nวัตถุประสงค์ : เพื่อตอบคำถามในเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยอย่างเป็นระบบว่าผลทางคลินิกของการใช้เซลล์ต้น กำเนิดด้วยเทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์เพื่อให้เกิดการเจริญทดแทน ของอวัยวะปริทันต์ในมนุษย์เป็นอย่างไร\n วิธีการ : สืบค้นงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาดังกล่าวจากฐานข้อมูล PubMed อย่าง เป็นระบบ และสืบค้นจาก Google scholar เลือกเฉพาะบทความ ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ถึงปี ค.ศ. 2019\nผล : บทความที่ได้รับการยอมรับมี 4 บทความที่เป็นการทดลองที่มี การควบคุม (randomized controlled trials) การวิจัยทางคลินิก (clinical trials) และรายงานผู้ป่วย (case series) ทั้ง 4 บทความได้ นำมาวิเคราะห์อภิมาน โดยรวบรวมผลลัพธ์ทางคลินิก มีตัวชี้วัด ได้แก่ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ (clinical attachment level) ร่องลึกปริทันต์ที่ (probing depth) และความลึกของรอยวิการใต้ สันกระดูกเบ้าฟัน (bony defect depth) โดยนำข้อมูลมาเทียบกับ ข้อมูลก่อนเริ่มการรักษา นำมาหาค่า weighted mean difference (WMD) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิเคราะห์พบว่า การรักษา โรคปริทันต์ที่มีความวิการของกระดูกในกลุ่มที่ใช้เทคนิควิศวกรรม แผ่นเซลล์ ผลการวิเคราะห์ของระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ลดลง (WMD = -3.080 (95% CI -4.697 - (-1.464), p=0.000) ร่องลึกปริทันต์ลดลง (WMD = -4.545 (95% CI -5.621 – (-3.468), p=0.000) และปริมาณกระดูกเพิ่มขึ้น (WMD = -4.020 (95% CI -4.873 – (-3.167), p=0.009) แต่ข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกัน ระดับสูง (I2=92.0%, I2=88.0% และ I2 = 74.0%)\nสรุป : การ วิเคราะห์นี้สนับสนุนว่าเทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์มีผลให้เกิดการ เจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังมีการ ศึกษาที่มีจำนวนน้อย จำนวนกลุ่มตัวอย่างมีไม่มากนักและยังมีอคติ อยู่บ้าง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาในทางคลินิกที่ เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีจำนวนมากขึ้นและ มีคุณภาพสูงต่อไป เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้แผ่นเซลล์ ต้นกำเนิดเพื่อการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์" }
{ "en": "Background : Biliary atresia is an idiopathic fibroobliterative disease of extrahepatic biliary tree that presents with biliary obstruction exclusively in the neonatal period. The operation to restore bile flow from the liver to the small intestine is Kasai operation or hepatic portoenterostomy.\nObjective : The aim of this study was to evaluate the clinical outcomes of patients with biliary atresia after Kasai operation in an 8-year period.\nMethods : Medical records of the patients with biliary atresia underwent Kasai operation at Khon Kaen Hospital during January 2010 to December 2017 were reviewed. Demographic data, clinical presentations, investigation, operative procedure and outcomes were analyzed.\nResults : Twenty-six patients (11 males and 15 females) with biliary atresia were treated during the study period. They presented with jaundice and acholic stool with median level of total bilirubin of 9.6 mg/dl. The triangular cord sign was revealed from ultrasonography in 23 of 25 cases (92.0%). DISIDA scan was done in 17 cases and showed no excretion of the radionucleotide in the intestine (100%). All of the 26 cases underwent Kasai operation at the median age of 90.5 days (range 35-171 days). Major postoperative complications were severe pneumonia and septicemia that were the causes of death in 6 cases (23.1%). Median level of total bilirubin was decreased to 6.9 and 5.1 mg/dl after 2-week postoperation and the last follow-up respectively. All of the 20 survivors were doing well with jaundice disappearance in 9 cases (45%).\nConclusion : Kasai operation is the principal procedure for creation of bile flow from the liver to the intestine. Major postoperative complications in this study were severe pneumonia and septicemia, especially occurring in the patients older than 3 months old at operation. Some cases had successful bile drainage until the jaundice was disappearance.", "th": "ภูมิหลัง : โรคท่อน้ำดีตัน เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดการสลายและเกิดเป็นพังผืดของทางเดินน้ำดีภายนอกตับ ซึ่งเกิด การอุดตันของทางเดินน้ำดีในช่วงวัยทารก การผ่าตัดเพื่อแก้ไขให้มีทางเดินของน้ำดีระบายออกจากตับไปสู่ลำไส้เล็กได้ คือวิธีการผ่าตัด ของ Kasai หรือการใช้ลำไส้เล็กส่วนต้นต่อเข้ากับขั้วตับ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีตันภายหลัง ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีของ Kasai ในช่วงเวลา 8 ปี\nวิธีการ : เวชระเบียนของผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีตันที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีของ Kasai ที่ โรงพยาบาลขอนแก่นตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือน ธันวาคม 2561 ถูกนำมาศึกษา ข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางคลินิก การตรวจวินิจฉัย โรค การผ่าตัดและผลของการผ่าตัดถูกนำมาวิเคราะห์\n ผล : ผู้ป่วย 26 ราย (ชาย 11 ราย หญิง 15 ราย) ที่ป่วยเป็นโรคท่อน้ำดีตัน เข้ามา รักษาในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ผู้ป่วยมีอาการดีซ่านและอุจจาระสีซีด พร้อมกับมีค่ามัธยฐานของค่าบิลลิรูบินรวมอยู่ที่ 9.6 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร พบ triangular cord sign จากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ 23 ใน 25 ราย (ร้อยละ 92) ผู้ป่วย 17 รายได้รับการตรวจด้วย DISIDA scan ผลแสดงให้เห็นว่าไม่มีการขับของสารกัมมันตรังสีออกไปในลำไส้เล็กในผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการตรวจ (ร้อยละ 100) ผู้ป่วยทั้ง 26 รายได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีของ Kasai เมื่อค่ามัธยฐานของอายุผู้ป่วย 90.5 วัน (พิสัย 35-171 วัน) ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังผ่าตัด คือปอดบวมที่รุนแรง และการติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต 6 ราย (ร้อยละ 23.1) ค่ามัธยฐานของบิลลิรูบินรวม ลดลงเหลือ 9.6 และ 5.1 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจติดตามผลหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ และการตรวจติดตามผลครั้งสุดท้ายตามลำดับ ผู้ป่วย 20 รายที่มีชีวิตรอดยังเป็นปกติดี พร้อมกับมีผู้ป่วย 9 ราย (ร้อยละ 45) ที่ภาวะดีซ่านหายไปอย่างสิ้นเชิง\nสรุป : การผ่าตัดโดยวิธี ของ Kasai ยังคงเป็นหัตถการสำคัญที่ช่วยสร้างทางเดินน้ำดี เพื่อให้น้ำดีไหลจากตับลงสู่ลำไส้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังการผ่าตัดในการ ศึกษาครั้งนี้คือ ปอดบวมที่รุนแรงและการติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ผ่าตัดเมื่ออายุมากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ผู้ป่วยบางรายประสบผลสำเร็จในการระบายน้ำดีลงไปได้ จนกระทั่งภาวะดีซ่านหายไปอย่างสิ้นเชิง" }
{ "en": "Background : Serum amylase and lipase are frequently checked for evaluating acute pancreatitis in patients who developed abdominal pain after ERCP procedure. In difficult cases of ERCP, double-guidewire technique would be recommended to increase success rate of cannulation but it might affect on rising of serum amylase and lipase levels.\nObjective : This study aims to comparison between double-guidewire technique (DGW) and single-guidewire technique (SGW) to serum amylase and lipase levels at 24 hours after ERCP.\nMethod : The study was observational analytic study in patients who visited at National Cancer Institute and Lopburi Cancer Hospital from February 2019 to February 2020 for ERCP.\nResult : All 78 patients were included, most of indication for ERCP is malignant biliary tract obstruction about 62.8%. Amylase level rising above 3 times of normal limit was statistically significant in DGW group (53.8% and 23.5% respectively, p=0.008) nevertheless no significant difference of the lipase level between the two groups. Regards to multiple logistic regression, DGW group showed correlation to rising amylase level than SGW group but statistically was not significant (OR 2.0, 95% CI = 0.61, 6.52, p = 0.252).\nConclusion : Double-guidewire technique group has many confounding factors that affect amylase level such as first episode of ERCP, cannulation times more than 10 minutes, and sphincterotomy. Therefore, DGW group showed statistically significant rising of amylase level at 24 hours compare to SGW group.", "th": "ภูมิหลัง : อะไมเลสและไลเปสใช้ประเมินภาวะตับอ่อน อักเสบเฉียบพลันในผู้ที่มีอาการปวดท้องภายหลังส่องกล้องทาง เดินน้ำดีและตับอ่อน ซึ่งการส่องกล้องในรายที่มีความยาก ต้อง อาศัย double-guidewire technique ส่งผลต่อระดับอะไมเลส และไลเปสสูงขึ้นได้จากตัวหัตถการเอง\nวัตถุประสงค์ : ศึกษาเปรียบ เทียบระหว่าง double-guidewire technique (DGW) กับ singleguidewire technique (SGW) ต่อระดับอะไมเลสและไลเปสใน 24 ชั่วโมง\n วิธีการ : ศึกษาในผู้ที่มารับการส่องกล้องตรวจทางเดิน น้ำดีและตับอ่อน ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติและโรงพยาบาลมะเร็ง ลพบุรีระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2562 ถึง กุมภาพันธ์ 2563 รวม 78 ราย\nผล : ผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องส่วนใหญ่เป็นมะเร็งทาง เดินน้ำดีและตับอ่อนร้อยละ 62.8 ระดับอะไมเลสสูงเกิน 3 เท่า ใน กลุ่ม DGW มากกว่ากลุ่ม SGW (ร้อยละ 53.8 กับ ร้อยละ 23.5 ตาม ลำดับ p=0.008) แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับไลเปสที่สูงเกิน 3 เท่าในระหว่างสองกลุ่ม เมื่อควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อระดับอะไมเลส พบว่ากลุ่ม DGW มีการเพิ่มของระดับอะไมเลสเป็น 2 เท่าของกลุ่ม SGW แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม (OR 2.0, 95% CI = 0.61, 6.52, p = 0.252)\nสรุป : ในกลุ่ม DGW มีปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อระดับอะไมเลสรวมอยู่ด้วย เช่น ส่องกล้องทางเดินน้ำดีเป็นครั้ง แรก ใช้เวลานานในการผ่านลวดน้ำทางเข้าท่อน้ำดี มีการตัดเปิด หูรูดท่อน้ำดี ส่งผลให้ในกลุ่ม DGW มีระดับอะไมเลสที่ 24 ชั่วโมง สูงกว่ากลุ่ม SGW อย่างมีนัยสำคัญ" }
{ "en": "Background : Prediction of renal function based on ultrasonographic findings could be very useful for evaluation and management of chronic kidney disease (CKD) patients.\nObjective : The purpose of this study was to evaluate the correlation between renal function tests (serum creatinine and estimated glomerular filtration rate [eGFR]) and renal ultrasonographic findings (anterior-posterior diameter [AP], transverse diameter [TD], renal length [RL], parenchymal thickness [PT] and parenchymal echogenicity [PE]) in CKD patients.\nMethod : A retrospective study of the above ultrasonographic parameters and renal function tests in CKD patients with stage 2-5 was analyzed for their correlation using correlation coefficient and multiple linear regression analyses.\nResult : A total of 237 patients (mean age of 70 years) were eligible in this study; 147 of them had CKD associated with hypertension and diabetes mellitus (HTDM) while the remaining cases were associated with hypertension only (HT). Both HT-DM and HT groups had similar levels of serum creatinine (3.02 ± 2.30 vs. 2.85 ± 2.65 /dl) but significantly different eGFR (24.0 ± 11.7 vs. 29.3 ± 14.5 ml/min/1.73 m2, p=0.004). Serum creatinine and eGFR were found to correlate with renal ultrasonographic parameters differentially depending on the CKD causes. For serum creatinine, it showed positive correlations with AP, TD, RL and PT in the HT-DM patients, having Spearman’s correlation coefficients (r) of 0.31, 0.32, 0.22 and 0.30, respectively, while it correlated negatively with AP (r=-0.25) and positively with PE (r=0.51) in the HT patients. For eGFR, it negatively correlated with only PE (r=-0.23) in the HT-DM group but showed significant correlations with AP, TD, PT and PE (r=0.40, 0.35, 0.24 and -0.57) in the HT group. To evaluate the effects of the renal ultrasonographic parameters on eGFR prediction, multiple linear regression analysis was performed. In the HT-DM group, PE was the only significant factor effecting eGFR prediction, whereas AP, RL, PT and PE were the significant factors in the HT group. Moreover, the prediction model of the HT patients showed a higher correlation with actual eGFR compared with that of the HT-DM patients; the coefficients of multiple correlation were 0.727 and 0.388, respectively.\n Conclusion : The renal function tests based on serum creatinine and eGFR showed significant correlations with renal ultrasonographic findings differentially depending on the CKD etiology. The renal parameters of the HT group demonstrated a higher correlation with eGFR, which is widely used for CKD staging, compared with the HT-DM group. Thus, they could potentially be useful for evaluation of the kidney function in addition to the use of eGFR, particularly in the CKD patients with hypertension.", "th": "ภูมิหลัง : การทำนายค่าการทำงานของไตจากผลการตรวจ อัลตราซาวด์ไตอาจมีประโยชน์อย่างมากในการประเมินและดูแล รักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง\nวัตถุประสงค์ : ศึกษาความสัมพันธ์ของ ค่าการทำงานของไตในเลือด ได้แก่ ซีรั่มครีแอตินีนและอัตราการ กรองของไต (eGFR) กับผลการตรวจอัลตราซาวด์ไต ได้แก่ ความ กว้างตามแนวหน้าหลัง (anterior-posterior diameter; AP) ความ กว้างตามแนวขวาง (transverse diameter; TD) ความยาวไต (renal lengt; RL) ความหนาเนื้อไต (parenchymal thickness; PT) และความหนาแน่นอะคูสติกของเนื้อไต (parenchymal echogenicity; PE) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง\n วิธีการ : ศึกษาย้อนหลัง ข้อมูลผลอัลตราซาวด์ไตและค่าการทำงานของไตในเลือดผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังระยะที่ 2-5 เพื่อหาความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ\nผล : จากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้งหมด 237 ราย (อายุเฉลี่ย 70 ปี) พบ ว่า 147 ราย มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน (HT-DM) และ 90 ราย มีสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียว (HT) ทั้ง สองกลุ่ม มีค่า serum creatinine ไม่แตกต่างกัน (3.02 ± 2.30 และ 2.85 ± 2.65 mg/dl) แต่มีค่า eGFR แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (24.0 ± 11.7 และ 29.3 ± 14.5 ml/ min/ 1.73 m2, p = 0.004) ในการศึกษานี้พบว่า creatinine และ eGFR มีความสัมพันธ์กับ พารามิเตอร์ที่ได้จากอัลตราซาวด์ไตแตกต่างกันไปในผู้ป่วยทั้งสอง กลุ่ม โดยในผู้ป่วย HT-DM พบว่า creatinine มีความสัมพันธ์เชิง บวกกับ AP, TD, RL และ PT โดยมี Spearman’s correlation coefficients (r) เท่ากับ 0.31, 0.32, 0.22 และ 0.30 ตามลำดับ ขณะที่ในผู้ป่วย HT มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อ AP (r = -0.25) และ ความสัมพันธ์เชิงบวกต่อ PE (r = 0.51) ส่วนค่า eGFR พบว่า ใน กลุ่มผู้ป่วย HT-DM มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อ PE เท่านั้น (r = -0.23) ขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วย HT มีความสัมพันธ์กับ AP, TD, PT และ PE (r เท่ากับ 0.40, 0.35, 0.24 และ -0.57) เมื่อทำการวิเคราะห์ การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (multiple linear regression analysis) โดยใช้พารามิเตอร์ข้างต้นเพื่อทำนายค่าของ eGFR พบว่า ผู้ป่วย HT-DM มีเพียงค่า PE ที่มีผลต่อ predicted eGFR อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ในผู้ป่วย HT พบว่ามี AP, RL, PT และ PE เป็นปัจจัยสำคัญ และแบบจำลองของการวิเคราะห์นี้สามารถทำนาย eGFR ได้ดีใน กลุ่มผู้ป่วย HT เมื่อเทียบกับกลุ่ม HT-DM โดยมีค่า coefficients of multiple correlation เท่ากับ 0.727 และ 0.388 ตามลำดับ\nสรุป : ค่าการทำงานของไตในเลือดทั้ง creatinine และ eGFR มี ความสัมพันธ์กับพารามิเตอร์ที่ได้จากอัลตราซาวด์ไตแตกต่างกัน ไปขึ้นกับสาเหตุของโรคไตเรื้อรังโดยพบว่า พารามิเตอร์ของไตจาก ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียวมีความ สัมพันธ์กับ eGFR ที่สูงกว่าผู้ป่วยที่มีเบาหวานร่วมด้วย และ พารามิเตอร์เหล่านี้สามารถนำมาใช้ทำนายค่า eGFR ได้ดีในผู้ป่วย ดังกล่าวซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประเมินการทำงานของไตนอก เหนือไป จากการใช้ค่า eGFR" }
{ "en": "Background : AIChest4All is the model development for screening abnormalities in chest radiograph and classification as normal, suspected active TB, suspected lung malignancy, abnormal heart and great vessels, intrathoracic abnormal findings and extrathoracic abnormal findings. The purpose of this artificial intelligence (AI) was to aid radiologists and clinicians, especially in the rural areas.\nObjectives : To analyze the sensitivity and specificity of artificial intelligence for chest radiograph in diagnosis of lung malignancy.\nMethods : The pathological and cytological reports were retrospectively reviewed. 800 patients of malignancy and 716 patients of non malignancy were randomly selected. The chest radiographs in a 3-month period before the procedures were collected. The chest radiographs were reviewed by three radiologists and classified as lung malignancy and non lung malignancy groups. The same radiographs were evaluated by AI and reported as percent of probability. The cut point for detected lung cancer was analyzed. The sensitivity and specificity of lung cancer diagnosis by radiologist and AI were calculated.\nResults : The sensitivity and specificity in diagnosis of lung malignancy by radiologist was 67.5% and 83.1%, respectively. The sensitivity and specificity of AI to detected lung malignancy in chest radiographs was 50.0% and 84.8%, respectively. The cut point of probability percent which presented by AI for appropriated sensitivity and specificity was 52.5.\nConclusions : The sensitivity of AI in diagnosis of lung malignancy from chest radiographs was slightly less than radiologist. The specificity of AI was comparable to the diagnosis by radiologist.", "th": "ภูมิหลัง : AIChest4All คือ ปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อ ช่วยตรวจคัดกรองโรคที่พบจากภาพเอกซเรย์ทรวงอก การรายงาน ผลจะแบ่งเป็นปกติ สงสัยวัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อ สงสัยมะเร็ง ปอด ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ความผิดปกติใน ทรวงอกและความผิดปกตินอกทรวงอก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วย แพทย์หรือรังสีแพทย์ในการวินิจฉัยโรคโดยเฉพาะตามต่างจังหวัด ที่อาจจะมีจำนวนรังสีแพทย์ไม่เพียงพอ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อหาความ ไวและความจำเพาะของปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยมะเร็งปอด\nวิธีการ : ผลพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยาของผู้ป่วยถูกนำมาศึกษา ย้อนหลัง ผลที่เป็นมะเร็งปอดจำนวน 800 ราย และที่ไม่ใช่มะเร็ง ปอดจำนวน 716 ราย ถูกคัดเลือกมาโดยวิธีสุ่มภาพรังสีทรวงอก ของผู้ป่วยในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนจากการทำหัตถการจะ ได้รับการอ่านและแปลผลโดยรังสีแพทย์ 3 ท่านว่าพบมะเร็งปอด หรือไม่ ภาพเอกซเรย์เดียวกันถูกนำมาวิเคราะห์โดยปัญญาประดิษฐ์ และรายงานค่าความสงสัยมะเร็งปอดออกมาในรูปร้อยละ ผลที่ ได้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลชิ้นเนื้อ เพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสม หาความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยมะเร็งปอดของรังสีแพทย์ และปัญญาประดิษฐ์\nผล : ความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัย มะเร็งปอดของรังสีแพทย์คือร้อยละ 67.5 และ ร้อยละ 83.1 ตาม ลำดับ ส่วนปัญญาประดิษฐ์มีความไวและความจำเพาะเท่ากับร้อย ละ 50.0 และร้อยละ 84.8 ตามลำดับ จุดตัดของความน่าจะเป็น ในการวินิจฉัย คือ 52.5\nสรุป : ความจำเพาะในการวินิจฉัยมะเร็ง ปอดของปัญญาประดิษฐ์มีค่าใกล้เคียงกับรังสีแพทย์ ส่วนความไว ของปัญญาประดิษฐ์มีค่าน้อยกว่ารังสีแพทย์เล็กน้อย" }
{ "en": "Background : Methamphetamine users are reported to have high caries rates due to effect of methamphetamine cause dry mouth, reduces salivary buffering capacity and associated with poor oral hygiene behavior. Author investigated the factors related to dental care behaviors among patient taking methamphetamine.\nObjective : To study dental care behavior; the relationship between general information, predisposing, reinforcing, enabling factors and dental care behavior among patient taking methamphetamine.\nMethod : The population was patient taking methamphetamine and admitted in Thanyarak Hospital from September to November 2018, patients randomly selected by simple sampling method and 354 data were collected to interview with the reliability 0.79. This study were analyzed using descriptive statistics, chi-square, odds ratio and Pearson correlation coefficiency.\nResults : Patient taking methamphetamine brushed their teeth twice a day 61.6 percent, did not know if tooth paste they used has fluoride or not 56.2 percent, did not use others dental care product 64.1 percent and did not brush teeth every area: General information factor that related to dental care behavior was education, Matthyom 4 and higher levels had better dental care behavior 2.6 times than lower levels, Oral health care knowledge and knowing risk of oral disease had a positive relationship with dental care behavior, Availability had a positive relationship with dental care behavior but affordability had a negative relationship with dental care behavior. Family support had a positive relationship with dental care behavior.\nConclusion : Factors related to dental care behaviors among patient taking methamphetamine were education, oral health care knowledge and knowing risk of oral disease, availability and family support.", "th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยเสพยากลุ่มเมทแอมเฟตามีนมีปัญหา สุขภาพช่องปากมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากฤทธิ์ของยากลุ่ม เมทแอมเฟตามีนทำให้ผู้เสพมีอาการปากแห้ง ไม่มีน้ำลายเป็นตัวช่วย ลดความเป็นกรดที่บริเวณผิวฟัน ประกอบกับมีรายงานว่าผู้ป่วยเสพยา กลุ่มเมทแอมเฟตามีนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ เหมาะสม ดังนั้นหากทราบว่าปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากจะสามารถช่วยปรับปรุงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้\nวัตถุประสงค์ : การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ ทำเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำปัจจัยเอื้อ และ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเสพยา กลุ่มเมทแอมเฟตามีน\nวิธีการ : ศึกษาในผู้ป่วยเสพยากลุ่ม เมทแอมฟามีนที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล ธัญญารักษ์ระหว่างเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พิจารณาเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 354 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ ไคสแควร์ อัตราส่วนออดและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\nผล : พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเสพยา กลุ่มเมทแอมเฟตามีนร้อยละ 61.6 มีการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ไม่ทราบว่ายาสีฟันที่ใช้มีฟลูออไรด์หรือไม่ ร้อยละ 56.2 ไม่มี การใช้อุปกรณ์ช่วยทำความสะอาด ร้อยละ 64.1 และแปรงฟัน ไม่ครบทุกตำแหน่งร้อยละ 89.3 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล พบ ว่าผู้ที่มีการศึกษาในระดับเท่ากับและสูงกว่ามัธยมศึกษาตอน ปลายมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากดีกว่าผู้ที่มีการ ศึกษาในระดับเท่ากับและต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น 2.6 เท่า (OR 2.63, 95% CI = 1.55, 4.45) ปัจจัยนำได้แก่ ความรู้ด้าน ทันตสุขศึกษาและการรับรู้ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลช่องปาก ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความเพียงพอของบริการที่มีอยู่ มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับพฤติกรรมการดูแลช่องปาก และความสามารถในการจ่ายค่า บริการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการดูแลช่องปาก และ ปัจจัยเสริมได้แก่ แรงสนับสนุนจากคนในครอบครัวมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลช่องปาก\nสรุป : ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเสพยา เมทแอมเฟตามีนได้แก่ การศึกษา ความรู้ด้านทันตสุขศึกษา การ รับรู้ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก ความเพียงพอของบริการ ที่มีอยู่ ความสามารถในการจ่ายค่าบริการ และแรงสนับสนุนจาก คนในครอบครัว" }
{ "en": "Background : There are some approach and treatment guidelines for first seizure generally used in all age groups. The risk of recurrent seizure is proved to be highly significant and reasonable to start antiepileptic medication after the second seizure. However, in elderly patients, the seizure etiology is commonly symptomatic causes therefore the risk of seizure recurrence could be different and possibly higher comparing to other age groups even in first seizure. In order to understand the risk of recurrent seizure in first seizure in the elderly, the specific study in old age patients with first seizure is required.\nObjectives : To determine the risk factors of seizure recurrence in elderly and the treatment response in short (within 2 years) and long term duration (from 3-5 years).\nMethods : Retrospective study of 149 patients who were older than 65 years and diagnosed of first seizure at Prasat Neurological Institute during January 1, 2007- December 31, 2017 was performed. Medical history, blood chemistry, routine electroencephalogram (EEG) and brain imaging (CT or MRI) were reviewed. We evaluated the risk factors of seizure recurrence and treatment response in short and long term duration.\n Results : We identified 149 patients who had first seizure after the age of 65 years. 76 patients (51.0%) of this patients had recurrent seizures. The common etiologies were remote symptomatic (n = 78, 52.3%) and unknown causes (n = 44, 29.5%) respectively. Only clinical semiology of focal with impaired awareness and epileptic discharge abnormality were statistically significant predictors in term of seizure recurrence. Most of patients were treated by monotherapy and seizure could be controlled within 2 years.\n Conclusions : Most of elderly patients with first seizure have evidence of cerebrovascular disease as seizure etiology. Focal with unawareness and epileptic discharge abnormality from EEG are significant predictors of seizure recurrence. Second seizure commonly recurs within 4 months. However, majority of the cases respond well to antiepileptic medication without serious adverse events.", "th": "ภูมิหลัง : โรคลมชักเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย ในทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการชักครั้งแรก มีแนวทางในการ ให้การรักษากล่าวรวมในทุกกลุ่มอายุ คือการเริ่มให้ยากันชักเมื่อ มีอาการชักตั้งแต่ 2 ครั้ง เมื่อไม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่นรอยโรคผิดปกติ ในสมอง ซึ่งมีความแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มักมีสาเหตุ ของอาการชักที่เกิดจากรอยโรคผิดปกติในสมอง โดยเฉพาะหลอด เลือดสมองตีบ ที่บางรายอาจไม่มีอาการแสดง จึงมีความเป็นไปได้ ว่าในกลุ่มผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงของการเกิดอาการชักซ้ำหลังจาก มีอาการชักครั้งแรกสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการชักซ้ำในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มาด้วย อาการชักครั้งแรก และการตอบสนองต่อการรักษาในระยะสั้น และ ระยะยาว\nวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบ retrospective โดยการศึกษา ข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 65 ปี ที่มาตรวจที่คลินิก ผู้ป่วยนอกทางระบบประสาท ที่สถาบันประสาทวิทยา ด้วยอาการชัก ครั้งแรก ในระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และมีการติดตามการรักษา เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 149 ราย โดยศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดชักซ้ำ และการตอบ สนองต่อการรักษาโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือช่วง 2 ปีแรก (short term) และ ตั้งแต่ 3-5 ปี (long term)\nผล : จากการศึกษามีผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 65 ปีที่มีอาการชักครั้งแรกจำนวน 149 ราย 76 ราย (ร้อยละ 51.0) มีอาการชักซ้ำ สาเหตุของอาการชักส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม remote symptomatic (n = 78, 52.3%) และ unknown cause (n = 44, 29.5%) อาการชักรูปแบบ focal with impaired awareness และ การตรวจพบ epileptic discharge abnormality เป็นปัจจัย เสี่ยงที่มีความสำคัญทางสถิติของการเกิดชักซ้ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ รับการรักษาด้วยยากันชักชนิดเดียวและควบคุมชักได้ภายใน 2 ปี\nสรุป : ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการชักครั้งแรก มีสาเหตุของอาการชักที่ สำคัญคือภาวะหลอดเลือดสมองตีบ โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกดิ ชักซ้ำ คือมีอาการชักแบบ focal with unawareness และมี epileptic discharge abnormality จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการชักซ้ำภายใน 4 เดือนหลังอาการชักครั้ง แรก แต่จะสามารถควบคุมอาการชักได้ดี ด้วยยากันชักเพียง 1 ชนิด และไม่พบผลข้างเคียงของยาที่รุนแรง" }
{ "en": "Background : Intensity modulated radiation therapy (IMRT) and volumetric modulated arc therapy (VMAT) are the major roles of treatment for head and neck cancer, which require human resource, cost of tool and maintenances. They also take time for planning, quality assurance and irradiation.\nObjective : This study aimed to access the unit cost and break-even point of irradiation IMRT and VMAT technique for head and neck cancer treatment in provider perspective.\nMethod : The data were collected from head and neck cancer patients receiving IMRT and VMAT techniques between February 1, 2018 and April 30, 2018 in Lopburi Cancer Hospital.\nResult : The results revealed that the average direct cost of IMRT technique for head and neck cancer treatment; the labor cost was 6,850.68 baht, the average capital cost was 30,781.13 baht and the average material cost was 10,308.27 baht. Indirect cost was 9,588.02 baht. Unit cost was 57,528.09 baht/ course and the average break-even point was 47.03 course/ year. VMAT technique for head and neck cancer treatment; the average labor cost was 6,960.45 baht, the average capital cost was 67,465.01 baht and the average material cost was 10,504.97 baht. Indirect cost was 16,986.09 baht. Unit cost was 101,916.52 baht/ course and the average break-even point was 148.17 course/ year.\nConclusions : IMRT technique for head and neck cancer treatment; Unit cost was 57,528.09 baht/course and the average break-even point was 47.03 course/year. VMAT technique for head and neck cancer treatment; Unit cost was 101,916.52 baht/ course and the average break-even point was 148.17 course/year.", "th": "ภูมิหลัง : การใช้รังสีรักษาด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบแปร ความเข้ม (IMRT) และการฉายรังสีแปรความเข้มเชิงปริมาตรแบบ หมุน (VMAT) เป็นการรักษาที่มีบทบาทหลักในการรักษาผู้ป่วย มะเร็งศีรษะและลำคอ แต่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคล ต้นทุนค่าเครื่องมือ และการบำรุงรักษามาก ตลอดจนต้องใช้เวลาในการวางแผนการ รักษา การประกันคุณภาพ และระยะเวลาในการฉายรังสีนาน\n วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของการ รักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอโดยการฉายรังสีเทคนิค IMRT และ VMAT ในมุมมองของผู้ให้บริการ\nวิธีการ : ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่เข้ารับการรักษาด้วย IMRT หรือ VMAT ในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2561\nผล : ผลการศึกษาพบว่า การฉายรังสีด้วยเทคนิค IMRT มีต้นทุนทางตรงโดยเฉลี่ยประกอบ ด้วย ต้นทุนค่าแรง 6,850.68 บาท ค่าลงทุน 30,781.13 บาท ค่า วัสดุ 10,308.27 บาท มีต้นทุนทางอ้อม 9,588.02 บาท มีต้นทุนต่อ หน่วยเท่ากับ 57,528.09 บาทต่อคอร์ส จุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉาย รังสี 47.03 คอร์ส/ ปี และการฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT มีค่าแรง 6,960.45 บาท ค่าลงทุน 67,465.01 บาท ค่าวัสดุ 10,504.97 บาท มีต้นทุนทางอ้อม 16,986.09 บาท ต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 101,916.52 บาท และมีจุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉายรังสี 148.17 คอร์ส/ ปี\nสรุป : การฉายรังสีด้วยเทคนิค IMRT มีต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 57,528.09 บาทต่อคอร์ส จุดคุ้มทุนคือ จำนวนการฉาย รังสี 47.03 คอร์ส/ ปี และการฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT มีต้นทุน ต่อหน่วยเท่ากับ 101,916.52 บาท และมีจุดคุ้มทุนคือ จำนวนการ ฉายรังสี 148.17 คอร์ส/ ปี" }
{ "en": "Background : Relapse after recovery period is still be the problem of methamphetamine abusers. The foster family model is one of the model for relapse prevention among methamphetamine abusers. Methamphetamine abusers will be fostered by volunteer family to be the family members and learn how to live in real community and prepare themselves before rejoining with their own societies without substance use.\nObjectives : 1) developing of rehabilitation system based on the family foster model for relapse prevention among methamphetamine abusers, 2) study different of mean scores of caring skills of foster family and self-care of methamphetamine abusers between before and after implement the rehabilitation system that develop by researcher team 3) study relapse rate of subjects after 1-month and 3-month finishing rehabilitation system and4) study satisfaction of subjects finishing rehabilitation system.\nMethod : This study was a research and development study. There process of system development were 1) systems investigation, 2) systems analysis, 3) system design, 4) systems implementation and 5) systems maintenance and review. Participants consisted of 15 committees of villages, 20 members of foster families, 28 methamphetamine abusers, 10 real family members of methamphetamine abusers and 16 staffs of Thanyarak ChiangMai Hospital. Instruments used in this study were 1) semi-structured questions for group discussion, 2) meeting records and group discussion records, 3) questionnaire for caring methamphetamine abusers by foster families, 4) questionnaire for self-care of methamphetamine abusers, 5) self-care survey by patients and official government aftercare form for methamphetamine use disorder treatment 6) semi-structured interview for satisfaction of foster families who used rehabilitation system for relapse prevention. Data was analyzed by content analysis and Wilcoxon Sign-Rank test.\nResults : The rehabilitation system for relapse prevention among methamphetamine abusers, the family foster model was developed. The new system was structured and role of participants was identified. Mean scores of skills on caring methamphetamine abusers by foster families and mean score of self-care of methamphetamine abusers was significantly different between before and after finishing new system implementation (p<.05). Only 11 form 16 methamphetamine abusers can follow for relapse rate, 7 have no relapse at 1-month follow-up, and 10 have no relapse at 3-month follow-up. System users were satisfied with the new system and reported of helpful, structured and role of participants was identified clearly.\nConclusion :The rehabilitation system for relapse prevention among methamphetamine abusers, the family foster model is helpful and can possibly integrate in the health system as an optional relapse prevention for methamphetamine abusers especially in compulsory treatment for substance abuse system in Thailand.", "th": "ภูมิหลัง : ปัญหาการกลับไปเสพซ้ำหลังจากการเข้ารับการฟื้นฟู สมรรถภาพยังคงเป็นปัญหาสำคัญของผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีน รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีนโดยครอบครัว อุปถัมภ์นั้นเป็นการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำอีกรูปแบบหนึ่ง โดย ผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีนได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวอุปถัมภ์ เพื่อให้ผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีนเกิดการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตใน ชุมชนและได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนกลับเข้าสู่สังคมโดยไม่ ใช้ยาเสพติด\nวัตถุประสงค์ : 1) พัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ ของผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีนโดยครอบครัวอุปถัมภ์ 2) เปรียบ เทียบคะแนนเฉลี่ยการดูแลบุตรบุญธรรมของครอบครัวอุปถัมภ์ และคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองของบุตรบุญธรรม ก่อนและหลัง ดำเนินการตามระบบ 3) ศึกษาการกลับไปเสพซ้ำของบุตรบุญธรรม ในระยะเวลา 1 เดือน และ 3 เดือนหลังดำเนินการตามระบบ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบ ได้แก่ เจ้า หน้าที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ ครอบครัวอุปถัมภ์ และ บุตรบุญธรรม\nวิธีการ : การวิจัยและพัฒนา ใช้กระบวนการพัฒนา ระบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาระบบ 2) การวิเคราะห์ระบบ 3) การออกแบบระบบ 4) การใช้ระบบ และ 5) การดูแลรักษาและการตรวจสอบระบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบ ด้วย ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน ครอบครัวอุปถัมภ์จำนวน 20 คน บุตรบุญธรรมจำนวน 28 คน ครอบครัวจริงของบุตรบุญธรรมจำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการสนทนา กลุ่ม 2) แบบบันทึกการประชุมและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) แบบสอบถามการดูแลบุตรบุญธรรมของครอบครัวอุปถัมภ์ 4) แบบสอบถามการดูแลตนเองของบุตรบุญธรรม 5) แบบ รายงานการติดตามดูแลรักษาต่อเนื่อง (after care) ของระบบ ข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ และ 6) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการใช้ระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติเปรียบเทียบ Wilcoxon Sign-Rank test\n ผล : ได้ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพของ ผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีนโดยครอบครัวอุปถัมภ์ซึ่งการปรับระบบ ใหม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน คะแนน เฉลี่ยการดูแลบุตรบุญธรรมของครอบครัวอุปถัมภ์ และคะแนนเฉลี่ย การดูแลตนเองของบุตรบุญธรรมดีกว่าก่อนดำเนินการตามระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) การติดตามผลพบว่า บุตร บุญธรรมทั้งหมดจำนวน 16 คน ติดตามผลได้ 11 คน การติดตาม ผล 1 เดือนหลังดำเนินการตามระบบพบว่า ไม่เสพซ้ำจำนวน 7 คน และการติดตามผล 3 เดือนหลังดำเนินการตามระบบ พบว่าไม่เสพ ซ้ำจำนวน 10 คน ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบมีความพึงพอใจ ระบบที่ได้ มีประโยชน์ โครงสร้างและบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจน\n สรุป : การปรับระบบใหม่ทำให้เกิดประโยชน์และเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำของผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีนใน ระบบบังคับบำบัดในประเทศไทย" }
{ "en": "Background : Treatment of patients with complex diseases by interventional neuroradiology procedures have taken long time, which causes patients to receive high radiation dose.\nObjective : To compare radiation dose to patients between care dose protocol of the factory and dose reduction protocol of Prasat Neurological Institute in Thailand and also evaluate the quality of vascular images following radiation dose reduction protocol.\n Method : The acquisition care dose protocol of the digital subtraction angiography was reduced from 1.8 μGy/ frame to low dose protocol 1.2 μGy/ frame. A retrospective study of 16 patients with interventional neuroradiology procedures were conducted by selecting patients who were treated with two sessions using care dose and low dose protocols. The image quality assessment from 2 tests in term of clinical diagnosis were performed by 2 radiologists.\nResult : The clinical image quality between care dose and low dose protocols in arterial phase, capillary phase, venous phase and over all image were not statistically significant. While the kerma air product (KAP) dose in the same vascular examination decreased by 26.5% and reference air kerma (Ka, r) decreased by 31.2%. When combining radiation dose in a single procedure, peak skin dose decreased by 31.99%, KAP decreased by 35.3%, reference air kerma decreased by 27.5%.\nConclusion : Low dose protocol can be used both in interventional neuroradiology procedure and cerebral angiography, allow patient to receive minimal radiation, also reduce risk of radiation complication, and still maintain quality of vascular images for diagnostic and serve treatment target.", "th": "ภูมิหลัง : การรักษาผู้ป่วยด้วยหัตถการรังสีร่วมรักษาทางระบบประสาท ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซับซ้อน ใช้เวลาการรักษานาน ทำให้ผู้ป่วยรับปริมาณรังสีสูง\nวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ ระหว่างโปรโตคอลลดปริมาณรังสีจาก โรงงานและโปรโตคอลลดปริมาณรังสีของสถาบันประสาทวิทยา อีกทั้งประเมินคุณภาพของโปรโตคอลลดปริมาณรังสีในการวินิจฉัย ภาพหลอดเลือดสมอง\nวิธีการ : ลดค่าปริมาณรังสีการบันทึกภาพ (acquisition) ของเครื่อง digital subtraction angiography จากโปรโตคอล care dose ของโรงงาน 1.8 μGy/ frame เป็น โปรโตคอลปริมาณรังสีต่ำ (low dose) 1.2 μGy/ frame ศึกษา ย้อนหลังในผู้ป่วยรังสีร่วมรักษาทางระบบประสาทจำนวน 16 ราย ที่รับการรักษาด้วยหัตถการรังสีร่วมรักษา 2 ครั้ง โดยใช้โปรโตคอล care dose และ low dose รังสีแพทย์ 2 คน ประเมินคุณภาพ หลอดเลือดเดียวกันจากการตรวจ 2 ครั้ง\nผล : คุณภาพของภาพ หลอดเลือดจากโปรโตคอล care dose และ low dose ไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดฝอย หลอดเลือดดำ และภาพรวมทั้งหมด ในขณะที่ปริมาณรังสี kerma air product (KAP) ในการตรวจหลอดเลือดเดียวกันลดลงร้อยละ 26.5 และ reference air kerma (Ka,r) ลดลงร้อยละ 31.2 เมื่อ รวมปริมาณรังสีในการตรวจหนึ่งครั้ง ปริมาณรังสี peak skin dose (PSD) ลดลงร้อยละ 31.99 ค่า KAP ลดลงร้อยละ 35.3 ค่า Ka,r ลดลงร้อยละ 27.5\nสรุป : โปรโตคอลปริมาณรังสีต่ำนี้สามารถ นำมาใช้ในหัตถการรังสีร่วมรักษาระบบประสาทและการตรวจ หลอดเลือดสมองเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุด ลดความ เสี่ยงจากผลแทรกซ้อนของรังสีและยังคงรักษาคุณภาพของภาพ หลอดเลือดสำหรับการวินิจฉัย สามารถรักษาโรคได้ตามเป้าหมาย" }
{ "en": "Background : Cerebrovascular accident or stroke is a major leading cause of death and long-term disability worldwide. Upper extremity function impairment after stroke is main problem which effects ability to perform activities of daily life as well as the patient’s quality of life. An appropriate and effective upper extremity rehabilitation program, therefore, is very crucial.\nObjective : The study was designed to determine the effectiveness of mirror therapy (MT) combined with Occupational Therapy (OT) on upper extremity rehabilitation in stroke.\nMethod : Fifty-six post-stroke survivors were assigned to either control group (n=28), or an experimental group (n=28). Twelve intervention sessions were provided for both groups, forty minutes of OT program for control group, and twenty minutes of OT program plus twenty minutes of MT program for experimental group. The recorded measurements consisted of 1) the Fugl Meyer subscores for upper extremity 2) Modified Jebsen Taylor Test of hand function 3) sensation assessment and 4) muscle tone assessment. All participants were assessed before intervention, after the last intervention, 1 and 3 months after last intervention.\nResults : Both groups demonstrated improvement in upper extremity control and unilateral hand skills, the improvement of these abilities over baseline remained stable longer in experimental group. No differences were observed in sensation and muscle tone measurement.\nConclusions : It was concluded that mirror therapy program combined with occupational therapy program (MT+OT) is an effective method for improving upper extremity function in stroke patient.", "th": "ภูมิหลัง : โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และการเกิดความพิการทั่วโลก ความบกพร่องของความสามารถใน รยางค์ส่วนบนเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั้งความสามารถ ในการทำกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง ดังนั้นการฟื้นฟูรยางค์ส่วนบนด้วยวิธีการที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญมาก\nวัตถุประสงค์ : เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการใช้เทคนิคกระจกบำบัดร่วมกับการฝึก กิจกรรมบำบัดต่อการฟื้นฟูรยางค์ส่วนบนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง\nวิธีการ : ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 ราย ทั้งสองกลุ่มได้รับการฟื้นฟูจำนวน 12 ครั้ง ครั้ง ละ 40 นาที โดยกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกกิจกรรมบำบัด 40 นาที กลุ่มทดลองได้รับการฝึกกิจกรรมบำบัด 20 นาทีตามด้วย กระจกบำบัด 20 นาที การวัดผลประกอบด้วย 1) Fugl-Meyer Assessment of Physical Performance (upper extremity motor) 2) Modified Jebsen-Taylor test of hand function 3) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อแขนและมือ และ 4) การรับความรู้สึก บริเวณแขนและมือ โดยทำการประเมินทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ ก่อน เริ่มการฟื้นฟูและหลังสิ้นสุดการฟื้นฟูครั้งสุดท้าย ติดตามผลที่ระยะ เวลา 1 เดือนและ 3 เดือนหลังสิ้นสุดการฟื้นฟู\nผล : การฝึกกิจกรรม บำบัดและการฝึกกระจกบำบัดร่วมกับกิจกรรมบำบัด มีประสิทธิผล ต่อการเพิ่มความสามารถด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วน บน และเพิ่มความสามารถด้านการใช้มือชนิด unilateral hand skills ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการฝึกกระจกบำบัดร่วม กับกิจกรรมบำบัดให้ผลคงอยู่ต่อเนื่องนานกว่าการฝึกกิจกรรม บำบัดเพียงอย่างเดียว ส่วนความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการรับ ความรู้สึกบริเวณแขนและมือไม่มีการเปลี่ยนแปลง\nสรุป : การฝึก กระจกบำบัดร่วมกับกิจกรรมบำบัดเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลใน การฟื้นฟูความสามารถของรยางค์ส่วนบนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง" }
{ "en": "Background : Chronic kidney disease is commonly observed in the rural area of Thailand. A part of patients with end-stage kidney disease declined to received dialysis care despite lack of medical contraindications.\nObjectives : We compared the patients with end-stage renal disease (ESRD) living in the rural communities who decided to decline or accept dialysis upon counseling.\nMethods : We retrospectively interviewed patients with ESRD, or their relatives, at 5 community hospitals in Kamphaeng Phet Province, Thailand during the last 3 years prior to the study. Those who were 18 years or older, had glomerular filtration rate at 10 mL/ min/ 1.73 m2 body surface area or less, had no medical contraindications to dialysis therapy, and had been counseled about dialysis modalities, were enrolled.\nResults : At the time of the survey, 134 cases chose to decline (Group 1) and 61 to receive dialysis (Group 2). The Group 1 cases were 10 years older than Group 2 (p<0.001); had higher proportions of cases with limited mobility (30%), or deceased spouses (38%) than Group 2 (6%, p<0.001; and 11%, p<0.0001; respectively). The number of offspring in Group 1 (3.5 + 2.1) was higher than that Group 2 (2.6 + 1.7, p=0.003). The most reason cited by the Group 1 cases for declining dialysis was “not wanting to be a burden to family members” (90%). Their decision relied mostly on their own and on health personal at sub-district health offices, whereas that in Group 2 relied on spouses or offspring, and on dialysis personnel at the provincial hospital.\nConclusion : The majority of rural Thai patients with ESRD who had no medical contraindications preferred to decline dialysis. Age factor, physical limitation, loss of spouses and concern on a treatment burden to family members were causally associated with their decision.", "th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวนหนึ่งใน ชนบทปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีการล้างไต แม้ไม่มีข้อห้ามทางการ แพทย์\n วัตถุประสงค์ : ต้องการเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ สุดท้ายในชนบท ระหว่างกลุ่มที่ตัดสินใจเลือกปฏิเสธกับกลุ่มที่ ยอมรับการทำการล้างไต\nวิธีการ : ศึกษาที่โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง ของจังหวัดกำแพงเพชร ในช่วง 3 ปีย้อนหลังผู้ป่วยมีอายุ 18 ปีขึ้น ไป มีค่าอัตราโกลเมอรุลาฟิลเตรชั่นเรต (อัตราการกรองพลาสมา ที่ไต) ตั้งแต่ 10 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวร่างกาย 1.73 ตารางเมตร หรือต่ำกว่า และไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์สำหรับการล้างไต\n ผล : มีผู้ป่วย 134 ราย (ร้อยละ 70) ตัดสินใจปฏิเสธการรักษาด้วยการ ล้างไตเมื่อมีข้อบ่งชี้ (กลุ่มที่ 1) และอีก 61 ราย ตัดสินใจจะรับ การรักษาต่อ (กลุ่มที่ 2) ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 มีอายุมากกว่ากลุ่มที่ 2 ประมาณ 10 ปี (p < 0.001) มีสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีข้อจำกัด ทางการเคลื่อนไหว (ร้อยละ 30) หรือมีคู่สมรสที่เสียชีวิตแล้ว (ร้อยละ 38) มากกว่า (6%, p < 0.001 และ 11%, p < 0.0001 ตาม ลำดับ) เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 ตัดสินใจปฏิเสธคือ ไม่ ต้องการเป็นภาระแก่ครอบครัว ผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่ตัดสินใจ ด้วยตนเองและฟังความเห็นของบุคลากรที่โรงพยาบาลชุมชนหรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 มักฟังความ เห็นคู่สมรส บุตรธิดาและบุคลากรด้านโรคไตของโรงพยาบาล จังหวัด\nสรุป : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในชนบทมักตัดสินใจ ปฏิเสธการรักษาด้วยการล้างไตต่อ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการมีอายุ ที่มากกว่า มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวมากกว่า มีคู่สมรสเสีย ชีวิตมากกว่า และไม่ต้องการเป็นภาระต่อครอบครัวด้านการดูแล" }
{ "en": "Background : Patients with acute ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) should properly treat as soon as possible to decrease mortality. In 2017 for non-percutaneous coronary intervention capable hospital, the American Heart Association recommends the first medical contact (FMC) to device time should not exceed 120 minutes to achieve a better survival.\nObjective : To determine the factors associated with delayed first medical contact to device time >120 minutes in STEMI patients at the emergency department, Nopparat Rajathanee Hospital.\nMethods : A cross-sectional study was conducted in patients who were diagnosed with acute STEMI at the emergency department from January 2014 to September 2017. The patients were divided into two groups, first medical contact to device time ≤120 minutes and >120 minutes. The collected data includes age, sex, underlying diseases, presenting symptoms, emergency severity index (ESI), and complications. The factors associated with delay first medical contact to device time were analyzed by univariate and multivariate logistic regression.\nResults : 217 patients were enrolled. Male 173 patients (79.72%), female 44 patients (20.28%). The median time of FMC to device time was 178 minutes. The factors associated with delayed first medical contact to device time were ESI level 3 (OR 95% CI = 24.99 (3.2-202), p-value 0.003), and ESI level 4 (OR 95% CI = 12.29 (1.44-104), p-value 0.021).\nConclusion : A miss evaluation from chief complaint symptom to ESI triage level 3 and 4 associated with delayed first medical contact to device time more than 120 minutes. An effective triage system and the further capable of percutaneous coronary intervention in the Nopparat Rajathanee Hospital will decrease the first medical contact to device time.", "th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) ควรได้ รับการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ในปี พ.ศ. 2560 สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่สามารถทำหัตถการสวนหัวใจได้ สมาคม แพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ป่วยควร ได้รับการสวนหัวใจนับตั้งแต่เข้ารักษาในห้องฉุกเฉิน (First Medical Contact to Device Time; – FMC to device time) ไม่ควรเกิน 120 นาที เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วย\nวัตถุประสงค์ : เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อ FMC to device time ที่ล่าช้ามากกว่า 120 นาที ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี\nวิธีการ : ทำการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2560 แบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มที่ได้รับ FMC to device time ที่ ≤120 นาที และ >120 นาที โดยเก็บข้อมูลปัจจัย ได้แก่ อายุ เพศ โรคประจำตัวร่วม อาการนำ ระดับความรุนแรงของ การคัดกรองแรกรับ ภาวะแทรกซ้อนและศึกษาความสัมพันธ์ของ ปัจจัยด้วย univariate และ multivariate logistic regression\nผล : ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 217 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 173 ราย (79.72%) และหญิง 44 ราย (20.28%) มีค่ามัธยฐานของ FMC to device time ที่ 178 นาที ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมี FMC to device time มากกว่า 120 นาที คือ การประเมินความรุนแรงของการคัดกรอง ผู้ป่วยแรกรับระดับสาม (OR 95% CI = 24.99 (3.2-202), p-value 0.003) และ ความรุนแรงของการคัดกรองผู้ป่วยแรกรับระดับสี่ (OR 95% CI = 12.29 (1.44-104), p-value 0.021)\nสรุป : ความ คลาดเคลื่อนในการประเมินอาการนำของผู้ป่วย ที่ได้รับการประเมิน ระดับความรุนแรงของการคัดกรองผู้ป่วยแรกรับที่น้อย (ESI 3 และ 4) ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้า โดยมีระยะเวลานับตั้งแต่ พบบุคลากรทางการแพทย์จนถึงการทำหัตถการสวนหัวใจ (FMC to device time) ที่มากกว่า 120 นาที ดังนั้นระบบคัดกรอง ผู้ป่วยที่แม่นยำและการเพิ่มศักยภาพของห้องสวนหลอดเลือดหัวใจ ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จะสามารถลดขั้นตอนในการดูแล ผู้ป่วย โดยเฉพาะการบริหารจัดการส่งต่อผู้ป่วยที่จะทำให้ลดระยะ เวลา FMC to device time ได้" }
{ "en": "Background : Central venous catheterization is the most common cause of nosocomial infection and associated with short and long term adverse events especially with neonates who have immature immune. Strict implementation of clinical practice guideline for prevention of central venous catheter-related blood stream infections is the gold standard to prevent CRBSI.\nObjectives : the purposes of this study were to compare nurses’ knowledge and practices before and after implementing the clinical practice guideline for prevention of CRBSI at neonatal surgical unit.\nMethods : Sample was 11 registered nurses of neonatal surgical unit at Queen Sirikit National Institute of Child Health. Instrument used in this study were 1) clinical nursing practice guideline for the prevention of central-line associated blood stream infection 2) knowledge related to prevention of CRBSI questionnaire and 3) observational form. 11 nurses were recruited as experimental group before and after initiating implementation of the clinical practice guideline for prevention of CRBSI. The data were collected by the researcher and were analyzed using Wilcoxon signed-rank test to compare scores on knowledge and practice before and after implementation the guideline for prevention of CRBSI.\nResults : 1) After implementation the guideline, means of knowledge scores were significantly higher than before implementation the guideline 2) After implementation the guideline, practice for prevention of CRBSI were significantly higher than before implementation the guideline.\nConclusion : To initiate the clinical practice guideline for prevention of CRBSI enhances nurses’ knowledge and understanding, then promote standard practices", "th": "ภูมิหลัง : การใส่สายสวนหลอดเลือดดำ เป็นหัตถการที่เป็น สาเหตุของการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อยที่สุด และทำให้ เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยเฉพาะใน ทารกซึ่งภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ การนำเอาแนวทางปฏิบัติในการ ป้องกันการติดเชื้อและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติฯอย่างเคร่งครัด จึงเป็นมาตรฐานสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ\nวัตถุประสงค์ : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง มี วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และการปฏิบัติของ พยาบาลก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวน หลอดเลือดดำส่วนกลาง\nวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้ง นี้ คือ พยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 11 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอด เลือดดำส่วนกลางสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทารกแรกเกิด 2) แบบ ทดสอบความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนหลอด เลือดดำ3) แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันการ ติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดส่วน กลาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กลุ่มทดลอง 11 คน ก่อนและหลัง ใช้แนวทางปฏิบัติโดยผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตและบันทึกในแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test เปรียบ เทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ก่อนและหลัง การใช้แนวทางปฏิบัติ\n ผล : 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกัน การติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือด ดำส่วนกลางสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางหลังการใช้ แนวทางปฏิบัติดีกว่าก่อนใช้ในทุกกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05\n สรุป : การนำแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใส่ สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางมาใช้ช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่พยาบาล" }
{ "en": "Background : Chronic respiratory disease (CRD) has a higher incidence of community-acquired pneumonia (CAP) infected by Streptococcus pneumonia, the major cause of death. A significant reduction of CAP in the elderly has demonstrated after pneumococcal vaccination, especially when combined with influenza virus vaccination (IVV). However, the effectiveness among CRD patients remain unknown.\nObjective : To determine the effectiveness of 13-valent pneumococcal conjugate vaccine (PCV-13) in reduction of CAP among CRD patients.\n Method : A retrospective cohort study was conducted among CRD patients from 1st January 2014 to 31st May 2020 at Priest Hospital, Thailand. Patients were divided into the PCV-13 group and the non-PCV-13 group.\n Results : Total of 191 patients were enrolled in this study. Among these, 97 patients in the PCV-13 group (with IVV 91 patients, without IVV 6 patients), and 94 patients in the non-PCV-13 group (with IVV 55, without IVV 39 patients). Multivariable analysis showed better reduction of CAP in PCV-13 group (IRR 0.119; 95% CI = 0.018, 0.768, p = 0.025), especially when PCV-13 was given concomittantly with IVV (IRR 0.017; 95% CI = 0.001, 0.298, p = 0.005) comparing to non-vaccinated patients. However, patients in PCV-13 group were not shown the reduction rate of bronchitis (IRR 0.902; 95% CI = 0.503, 1.619, p = 0.731) and exacerbation (IRR 1.335; 95% CI = 0.683, 2.611, p = 0.398).\nConclusion : 13-valent pneumococcal conjugate vaccine was demonstrated to reduce the incidence of community-acquired pneumonia in patients with chronic respiratory disease. The optimal result was found when the influenza vaccine was given concomitantly.", "th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังมีโอกาสเกิดภาวะปอดอักเสบ สูงกว่าคนทั่วไป โดยมีเชื้อ Streptococcus pneumoniae เป็น สาเหตุสำคัญและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสใน ผู้สูงอายุสามารถลดการเกิดภาวะปอดอักเสบได้โดยเฉพาะเมื่อฉีด ร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แต่การศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ยังไม่ทราบประโยชน์ที่ชัดเจน\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของวัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต ชนิด 13 สายพันธุ์ (PCV-13) ในการลดอุบัติการณ์ของภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง\nวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลสงฆ์ ระหว่าง 1 มกราคม 2557 ถึง 31 พฤษภาคม 2563\n ผล : ผู้ป่วยทั้งสิ้น 191 ราย ได้รับการฉีดวัคซีน PCV-13 จำนวน 97 ราย (ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วม 91 ราย และไม่ได้รับร่วม 6 ราย) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน PCV-13 จำนวน 94 ราย (ได้รับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ 55 ราย และไม่ได้รับวัคซีนใด ๆ 39 ราย) เมื่อวิเคราะห์ ถดถอยพหุพบว่าการฉีดวัคซีน PCV-13 มีอัตราการเกิดภาวะ ปอดอักเสบน้อยกว่า (IRR 0.119; 95% CI = 0.018, 0.768, p = 0.025) และจะได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อฉีดร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนใด ๆ (IRR 0.017; 95% CI = 0.001, 0.298, p = 0.005) อย่างไรก็ตาม PCV-13 ไม่มีผลในการ ป้องกันภาวะหลอดลมอักเสบ (IRR 0.902; 95% CI = 0.503, 1.619, p = 0.731) และไม่ลดการกำเริบของโรคปอดเรื้อรัง (IRR 1.335; 95% CI = 0.683, 2.611, p = 0.398)\nสรุป : การฉีดวัคซีน นิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต ชนิด 13 สายพันธุ์ สามารถลดอัตราการเกิดภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิผล และจะได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อฉีดร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่" }
{ "en": "Background : Radiation dose obtained from bone scan examination in nuclear medicine is able to know for reducing radiation anxiety.\nObjective : The aim of this study was to measure the radiation exposure from bone scan examinations in different time after injection and distance.\n Method : Twenty-four bone scans at 2-inches under umbilicus were measured at 0.25, 0.5, 1, and 1.5 metres, and also time after immediately injection, 30, 60, 90, 120 and 222 minutes, respectively.\nResults : Radiation exposure significantly reduced when time after injection and distance were increased (p<0.05). In this condition, maximum radiation dose of person who worked outside nuclear medicine was 300 μSv for 180 minutes at a distance of 0.25 metre.\nConclusion : Radiation dose obtained from bone scan examinations decreased when distance and time after injection increased. In case of additional diagnostic tools, one hour after injection was recommended. To ensure radiation safety should spend time less at optimal distance.", "th": "ภูมิหลัง : ค่าปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากผู้มารับบริการตรวจ กระดูกทั่วตัวในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ควรทราบเพื่อ ช่วยลดความวิตกกังวล\nวัตถุประสงค์ : เพื่อวัดปริมาณรังสีที่แผ่ออก จากผู้มารับบริการตรวจกระดูกทั่วตัวในระยะห่างและระยะเวลาที่ แตกต่างกัน\nวิธีการ : ทำการวัดปริมาณรังสีในผู้มารับบริการจำนวน 24 ราย ที่ระดับใต้ต่อสะดือ 2 นิ้ว ในระยะห่าง 0.25, 0.5, 1 และ 1.5 เมตร ตามลำดับ และระยะเวลาทันทีหลังที่ได้รับสารเภสัชรังสี, 30, 60, 90, 120 และ 222 นาที ตามลำดับ\nผล : ค่าปริมาณรังสีที่แผ่ออก จากผู้มารับบริการลดลง เมื่อเพิ่มระยะห่างและระยะเวลาหลังจาก ที่ได้รับสารเภสัชรังสีอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในสภาวะเงื่อนไข ที่กำหนด บุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากหน่วยงาน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่ปฏิบัติงานกับผู้มารับบริการตรวจกระดูก ทั่วตัวหลังได้รับสารเภสัชรังสีทันที ที่ระยะห่าง 0.25 เมตร โดยใช้ ระยะเวลาเท่ากับ 180 นาที จะได้รับปริมาณรังสีมากที่สุดเท่ากับ 300 ไมโครซีเวิร์ต\nสรุป : ปริมาณรังสีที่แผ่ออกจากผู้มารับบริการ ตรวจกระดูกทั่วตัวจะลดลงตามระยะห่างและระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อต้องการได้รับการตรวจวินิจฉัยอื่นเพิ่มเติม ควรรอ ให้ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารเภสัชรังสี ทั้งนี้ การปฏิบัติงานกับผู้มารับบริการตรวจกระดูกทั่วตัวควรใช้ ระยะเวลาที่สั้น ที่มีระยะห่างที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยทางรังสี" }
{ "en": "Background: During 2017 to 2019, angiotensin-II Receptor Blocker- treat patients accounted for 9.5 million baht in each year at this tertiary hospital. Essential drug was most frequently prescribed as health policy directed. Utilization cost of non-essential drug was doubled whereas essential drug usage was approximately fourfold to non-essential drug. Cost-effectiveness analysis will represent which drug is more worthiness to manage drug procurement. Objective: To evaluate the cost- effectiveness of achieving JNC8 with angiotensin-II receptor blockers compare between essential drug and non-essential drug. Method: Cost- effectiveness of azilsartan, candesartan, irbesartan, losartan, olmesartan and valsartan were obtained from medical claims database between January 1, 2017 and December 30, 2019. Patients with a diagnosis of hypertension in the 6- month baseline and ARB–free during baseline were included. The effectiveness was conducted in terms of number of patients who reached JNC8 BP goals within 24 weeks after the first date of ARB claim. The attributable costs were defined as the cost of ARB class and other classes that associated with hypertension treatment i.e. ACE inhibitors, beta-blockers, calcium channel blockers and diuretics. Cost- effectiveness analysis was compared to losartan. SPSS version 25.0 was used in this study. Result: 2198 patients were identified (mean age 57 ± 13 year, 38.0 % male, body mass index 27 ± 5). Comorbidity diseases were mostly for dyslipidemia (E78) 33.94% and diabetes (E119) 9.19%.Based on antihypertensive efficacy versus losartan within 24 weeks, low dose of candesartan and irbesartan reduced SBP significantly (p <.05) while olmesartan and valsartan reduced DBP significantly (p < .001). High dose of azilsartan and olmesartan reduced significant SBP and DBP respectively (p < .05, p < .001).The most benefit was valsartan of low dose and candesartan of high dose. This study was taken from real world data so the difference of heterogeneity such as type and number of co-morbidities diseases might cause of uncertainty and also the number of patients in each drug could not desirable. Conclusion: Overall valsartan was favored of the most cost- effectiveness for low dose and candesartan for high dose compared to losartan as of essential drug comparator.", "th": "ภูมิหลัง : ในระหว่างปี พ.ศ.2560-2562 ค่าใช้จ่ายด้านยา ลดความดันโลหิตสูงกลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอเทนซิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิมีค่าเฉลี่ย 9.5 ล้านบาทต่อปี มูลค่า การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติสูงกว่ายาในบัญชียาหลักแห่ง ชาติถึงสองเท่าในขณะที่ปริมาณการใช้ยาต่ำกว่าสี่เท่าการศึกษา ต้นทุนประสิทธิผลสามารถนำมาใช้บริหารจัดการด้านยาให้เกิด ประสิทธิภาพได้ วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลเปรียบเทียบในกลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอเทนซินระหว่าง ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติและยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ วิธี การ: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูงในเวชระเบียน อิเลคทรอนิกส์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คัดเลือกผู้ป่วยที่มีการใช้ยาครั้งแรกและไม่ เคยใช้ยามาก่อนใน 6 เดือนติดตามระดับความดันโลหิตหลังใช้ยา ในระยะเวลา 24 สัปดาห์ ต้นทุนค่ายารวมถึงยาลดความดันโลหิต สูงกลุ่มอื่นๆ เช่น ACE inhibitors, beta-blockers, calcium channel blockers และยาขับปัสสาวะวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล โดยคำนวณจากอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่มเปรียบ เทียบกับ losartan ผล : ผู้ป่วย 2198 ราย เพศชายร้อยละ 38.0 อายุเฉลี่ย 57± 13 ปี ค่าดรรชนีมวลกายเฉลี่ย 27 ± 5 ภาวะโรค ร่วมพบมาก คือ ไขมันในเลือดสูงร้อยละ 33.94 เบาหวานร้อยละ 9.19 ประสิทธิภาพการลดระดับความดันโลหิตใน 24 สัปดาห์ใน ขนาดยาระดับต่ำ candesartan และ irbesartan ลดระดับความดัน โลหิตช่วงหัวใจบีบตัวอย่างมีนัยสำคัญ (p <.05) olmesartan และ valsartan ลดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัวอย่างมี นัยสำคัญ (p <.001) ในขนาดยาระดับสูง azilsartan และ olmesartan ลดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัวอย่างอย่าง มีนัยสำคัญ (p <.05, p <.001) ผลลัพธ์ต้นทุน-ประสิทธิผล พบว่า valsartan ในขนาดยาระดับต่ำและ candesartan ใน ขนาดยาระดับสูงมีความคุ้มค่ามากที่สุดการศึกษานี้เป็นการศึกษา จากการใช้ยาจริง จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ยาแต่ละชนิด ภาวะและจำนวน โรคร่วมในผู้ป่วยแต่ละรายเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ สรุป : valsartanในขนาดยาระดับต่ำและ candesartan ในขนาดยาระดับ สูงมีผลลัพธ์ต้นทุน-ประสิทธิผลที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด" }
{ "en": "Background : Chemotherapy is one of the treatments for cancer. This method is not only for demolishing but also decreasing cancer cells. Furthermore, it also prevents growth of cancer cell. While the formulations might be innumerable, two of the most common chemotherapy formulations are Adriamycin + Cyclophoshpamide (AC) and 5-Fluorcaride + Adriamycin + Cyclophosphamide (FAC), causing nauseous as a side effect. Generally, oncologists will prescribe chemotherapy drug along with antiemesis drug. Additionally, they will also provide herbs as supplementary drug.\n Objective : To compare chemotherapy-induced nausea and vomiting between patients receiving antiemesis drug and antiemesis drug with ginger in cancer patients receiving Adriamycin + Cyclophosphamide (AC) and 5-Fluorouracil + Adriamycin + Cyclophosphamide (FAC) formulations in Department of Outpatient Chemotherapy, Lopburi Cancer Hospital.\nMethod : Purposive sampling of 60 patients receiving chemotherapy was selected. They were divided to experimental group and control group, 30 cases each. Questionnaire includes general information such as age, education, occupation, cycle of chemotherapy, nausea and vomiting which inspected by expert specialist. Data were collected by questionnaire between 1 January, 2019 and March, 2019. Data were analyzed using descriptive statistics (percent, average, standard deviation) and inferential statistics as Chi-Square test.\nResult : The results found that the control group received antiemesis drug and experimental group received antiemesis drug with ginger chemotherapy-induced nausea and vomiting 60% and 40% that difference was not statistically significant.\nConclusion : The findings showed non conclusion about the use of ginger and proportion of chemotherapy-induced nausea and vomiting of 40% There is still a need to develop guideline or ways to help reduce chemotherapy-induced nausea and vomiting such as the use of other herbs or increase concentration of ginger or increase the number of times ginger drink in cancer patients receiving AC and FAC formulations.", "th": "ภูมิหลัง : เคมีบำบัดเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง เพื่อ ทำลายหรือควบคุมเซลล์มะเร็งให้มีขนาดเล็กลง พร้อมทั้งควบคุม การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่ให้โตขึ้น โดยสูตรของยาเคมีบำบัด มีหลายสูตร และสูตรที่รักษามะเร็งเต้านมที่นำมาใช้ส่วนใหญ่คือ สูตร Adriamycin + Cyclophosphamide (AC) และ 5-Fluorouracil+ Adriamycin + Cyclophosphamide (FAC) แต่มีผลข้างเคียงที่ พบบ่อยคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน โดยทั่วไปแพทย์จะมีให้ยาเคมี บำบัดร่วมกับยาต้านอาการอาเจียน แต่อาจมีการเสริมการป้องกัน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนโดยใช้สมุนไพรร่วมด้วย\nวัตถุประสงค์ : เพื่อ เปรียบเทียบภาวะคลื่นไส้อาเจียนระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการ อาเจียนกับผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการอาเจียนร่วมกับน้ำขิง ในผู้ป่วย ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Adriamycin + Cyclophosphamide (AC) และ 5-Fluorouracil+ Adriamycin + Cyclophosphamide (FAC) ที่มารับบริการแผนกเคมีบำบัด โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี \nวิธีการ : เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยใช้เครื่องมือวิจัย ที่เป็นแบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ จำนวนครั้งของการได้รับยาเคมีบำบัด และการเกิด ภาวะคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจาก ผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามระหว่าง เดือน 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ อนุมาน ได้แก่ Chi-Square Test\n ผล : กลุ่มควบคุมที่ได้รับยาต้าน การอาเจียนและกลุ่มทดลองที่ได้รับยาต้านการอาเจียนร่วมกับ น้ำขิง เกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 60.0 และ 40.0 ตาม ลำดับ โดยการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ\nสรุป : จากการ ค้นพบดังกล่าว ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับการใช้น้ำขิง และ สัดส่วนของการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนยังพบร้อยละ 40 ดังนั้นยัง คงต้องมีการพัฒนาแนวทางหรือวิธีที่จะช่วยลดการเกิดภาวะคลื่นไส้ อาเจียน เช่น อาจจะใช้สมุนไพรชนิดอื่น หรือเพิ่มปริมาณความเข้ม ข้นของน้ำขิง หรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ดื่มน้ำขิง ในผู้ป่วยมะเร็งที่ ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Adriamycin + Cyclophosphamide (AC) และ 5-Fluorouracil+ Adriamycin + Cyclophosphamide (FAC)" }
{ "en": "Background : Recently, Thailand encounter with nursing shortage including Prasat neurological institute. Therefore, study the factors influence registered nurses’ retention is important of the organization for policy recommendation in person retention in the organization which will affects to a quality of service and personnel’s quality of life.\nObjective : This research was to study the factors related to the organization’s retention of registered nurses in Prasat neurological institute under the affiliation of the department of medical services, ministry of public health.\nMethod : The participants were 162 registered nurses with more than one year of experience in clinical services. The research instrument consisted of questionnaires on job satisfaction, organization culture, organizational commitment, and organization’s retention. The research data were analyzed by frequency, percentage, mean value, standard deviation, and the correlation between variables using Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis.\nResult : The results of this research showed that a job satisfaction, organization culture, organizational commitment had a positive correlation with the organization’s retention with statistical significance (r = 637, p <.01; r = .416, p <.01; and r = .730, p <.01, respectively).\nConclusion : From the research results, the Prasat neurological institute must pay attention to job satisfaction, organization culture, and organizational commitment to increase organization’s retention rate of registered nurses, which can resolve the registered nurses’ shortage in the future.", "th": "ภูมิหลัง : ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาการ ขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพรวมทั้งสถาบันประสาทวิทยา ดังนั้นการ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพถือเป็นสิ่ง สำคัญสำหรับองค์กรเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการรักษา บุคลากรด้านการพยาบาลให้คงอยู่ในองค์กรซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการบริการประชาชนและคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากรด้านการ พยาบาล\nวัตถุประสงค์ : ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ใน องค์กรของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข\nวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป จำนวน 162 คน เครื่องมือวิจัยเป็น แบบสอบถาม ประกอบด้วย ความพึงพอใจในงาน วัฒนธรรมองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และการคงอยู่ในองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณหลายขั้นตอน\nผล : ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจในงาน วัฒนธรรมองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการคงอยู่ในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 637, p < .01, r = .416, p < .01, r = .730, p < .01 ตามลำดับ)\nสรุป : จากผล การวิจัย สถาบันประสาทวิทยาควรให้ความสำคัญกับความ พึงพอใจ ในงาน วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กร เพื่อเพิ่มอัตรา การคงอยู่ในองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในอนาคตได้" }
{ "en": "Background : Blood stream infection; BSI is a major burden of health problems that contributed to high mortality. It can be classified into 2 types, community-acquired; CA-BSI and hospital-acquired; HA-BSI. Previous study presented the CA-BSI and HA-BSI definition which the duration time is several of them. CA- BSI was called present on admission; POA which followed US-CDC 2017 definition. POA is the patients who had length of stay less than 2 days. However, these patients may be readmitted, defined as ones who had length of stay more than 2 days of previous admission and discharged within 14 days before the date of event. Interestingly, the infection time frame of POA was not mentioned for HA-BSI.\nObjective : To explore the BSI patients following US-CDC 2017 definition.\nMethod : Medical records of hospitalized patients during January to December 2018 who had at least one of positive blood cultures were review. Data was reviewed by infection control nurse team to identify blood culture results that were met the US-CDC 2017 definition for bloodstream infection.\nResults : A total of 593 patients with at least one positive blood culture results were reviewed, 479 episodes (86.7%) were CA-BSIs, 97 episodes (16.4%) were HA-BSIs and 17 episodes (2.9 %) met POA. Primary BSI of POA was 58.8%, which the median (Q1, Q3) of the admission days before readmission were 7 (5, 16) days. The diagnoses of them from previous admission were urinary tract infections (23.5%) and pneumonia (17.6%) which the most of organisms were Escherichia coli (47.1%). Moreover, 62.5% of them found antimicrobial resistance bacteria.\nConclusions : Our study demonstrated that among patients who had bloodstream infections, 2.9% was POA. Most of these patients were readmitted within infectious diseases from previous admission. Our data may be beneficial for discharge planning for patient-at-risk. POA definition may be considered for these kinds of patients.", "th": "ภูมิหลัง : การติดเชื้อในกระแสเลือด (blood stream infection; BSI) เป็นได้ทั้งการติดเชื้อจากบ้านหรือชุมชน (community-acquired; CA-BSI) หรือการติดเชื้อในโรงพยาบาล (hospital-acquired; HA-BSI) ซึ่งการศึกษาทั้งในต่างประเทศและ ในประเทศไทยในปี ค.ศ. 2004-2010 มีการใช้คำนิยามสำหรับ วินิจฉัยการติดเชื้อทั้ง 2 แบบหลากหลาย โดยแตกต่างกันในช่วงเวลา ของการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือด อีกทั้งมีการปรับคำนิยาม ใหม่ ในปี 2017 โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control and Prevention; US-CDC) ทำให้ มีความชัดเจนในการวินิจฉัยการติดเชื้อทั้ง 2 แบบมากยิ่งขึ้น แต่ ในส่วนของ Present on Admission; POA ซึ่งเป็นการติดเชื้อใน กระแสเลือดที่เกิดขึ้นก่อนรักษาตัวในโรงพยาบาล < 2 วันปฏิทินนั้น และถือว่าเป็น CA-BSI นั้น อาจยังไม่ชัดเจนในประเด็นที่ผู้ป่วยเคย ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อนการรักษาตัวในโรงพยาบาล ครั้งนี้ ซึ่งอาจจะเป็นการติดเชื้อแบบ HA-BSI เพราะยังอยู่ในช่วง ของ Repeat infection Timeframe (RIT) คือช่วงเวลา 14 วัน โดยนับจากวันที่พบการติดเชื้อครั้งแรก ตามนิยามของ US-CDC 2017\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระบาดวิทยาการติดเชื้อในกระแส เลือด ตามคำนิยามของ US-CDC\nวิธีการ : ทบทวนเวชระเบียนย้อน หลังในผู้ป่วยที่ส่งเลือดเพาะเชื้อพบเชื้อจุลชีพ และนอนรักษาตัวใน ช่วงตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2018 โดยจำแนกเพิ่มใน ส่วนของ CA-BSI เป็น POA ซึ่งหมายถึง “ผลเพาะเชื้อในเลือดพบ จุลชีพก่อนรักษาตัวในโรงพยาบาล < 2 วัน แต่เคยรับการรักษาใน โรงพยาบาลภายใน 14 วันก่อนการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้”\nผล : พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2018 มีผู้ป่วยที่รักษา ตัวในโรงพยาบาลทุกหอผู้ป่วย ส่งตัวอย่างเลือดและผลเพาะเชื้อพบ จุลชีพจำนวน 593 ราย โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 80.7 (479/593) เป็น CA-BSI โดยที่ร้อยละ 16.4 (97/593) เป็น HA-BSI และ ร้อยละ 2.9 (17/593) เป็น POA ซึ่งในผู้ป่วย POA นั้นมีค่าเฉลี่ย (วัน) ตั้งแต่ จำหน่ายจากโรงพยาบาลจนถึงวันที่มาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ครั้งนี้ 8 วัน น้อยที่สุด 2 วันและ มากที่สุด 14 วัน และค่าเฉลี่ย (วัน) ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งที่แล้วก่อนมารักษาตัวใน โรงพยาบาลครั้งนี้ 7 วัน น้อยที่สุด 2 วันและ มากที่สุด 162 วัน โดยการวินิจฉัยโรคจากการรักษาตัวครั้งที่แล้ว ร้อยละ 23.5 เป็นการ ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และร้อยละ 17.6 เป็นการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจ ส่วนจุลชีพที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ Escherichia coli ร้อยละ 47.1 (8/17) โดยพบเป็นจุลชีพดื้อยา ร้อยละ 62.5 (5/8)\nสรุป : จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า คำนิยาม POA ตาม US-CDC 2017 นั้น พบผู้ป่วยที่กลับมารักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำ ภายใน 14 วันก่อนการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้ ร้อยละ 2.9 ซึ่งถือเป็นการติดเชื้อแบบ CA-BSI แต่แท้จริงแล้ว น่าจะยังคงเป็น การติดเชื้อแบบ HA-BSI เมื่อวิเคราะห์ดูจากระยะเวลาการกลับ มารักษาซ้ำและการวินิจฉัยโรคที่พบ ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำ ไปใช้ในการปรับปรุงระบบการรักษาและวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการติดเชื้อทั้งระบบทางเดินปัสสาวะและระบบ ทางเดินหายใจ ต่อไป" }
{ "en": "Background : End-Stage Renal Disease is a global health concern as well as Thailand’s public health also increasing cost of service and treatment. From financial analysis of hemodialysis activities is therefore important to manage and improve the financial cost, service and treatment system for new standard in the future.\nObjective : The research aimed at analyzing costs of hemodialysis using activity-based costing approach among end-stage renaldisease patients hospitalized at the Rajavithi Hospital in the fiscal year 2017.\nMethod : Based on provider’s perspective, the proportions of resources are consumed in each recurring activity and investment costs. Medical records were retrieved from hospital database retrospectively during May and December, 2018. We also conducted prospective data collection on standard time of each activity. Research participants were 133 patients at the hemodialysis unit with 713 sessions of hemodialysis. There were 34 operational officers who worked at the hemodialysis unit involved with those participants. The secondary data on costs data (labor, material, and investment costs) and activity log were analyzed for frequency distribution, mean, percentage and standard deviation using calculated function in Microsoft excel version 2010.\nResults : Results revealed that the total costs of hemodialysis in the fiscal year 2017 were 1,547,170.83 baht (mean = 2,169.95 baht). Nevertheless, the hospital could reimburse only 1,109,300 baht in the fiscal year 2017 which equal to 1,555.82 baht per session in average. It was found that the hemodialysis patient care unit incurred the highest portion of the total costs at 367,986.85 baht or 516.11 baht per session, whereas hemodialysis patient coordination unit incurred the lowest portion of the total costs at 89,084.92 baht or 124.94 Baht per session. The material costs were the highest portion at 803,474.83 baht (51.93%) followed by labor cost of 677,929.40 baht (43.81%). Whereas the investment cost were 65,766.59 baht which was lowest portion. The proportion of the material costs to the labor costs to the investment costs were 51.93 to 43.81 to 4.25.\n Conclusions : The results could be used for recommendation to the decision makers in order to allocate the budget for the hemodialysis service. Furthermore, the research findings also could be used as a guideline for the budgeting management in order to reduce neither unnecessary nor inefficient costs.", "th": "ภูมิหลัง : โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นปัญหาความ เจ็บป่วยที่สำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน รวมไปถึงต้นทุนการรักษา นั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การวิเคราะห์หาต้นทุนกิจกรรมจึงมีความ สำคัญ เพื่อนำไปพัฒนาระบบการให้บริการและการรักษาผู้ป่วย ต่อในอนาคต\nวัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ เป็นผู้ป่วยใน หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลราชวิถี ปีงบประมาณ 2560 ภายใต้นโยบายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า\n วิธีการ : ในมุม มองของผู้ให้บริการทางการแพทย์ สัดส่วนการใช้ทรัพยากรในแต่ละ กิจกรรมและต้นทุนต่อหน่วยประกอบด้วย ต้นทุนค่าดำเนินการ และต้นทุนค่าลงทุน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2561 ประกอบด้วยการศึกษาแบบย้อนหลังโดยผู้วิจัยลง พื้นที่เก็บข้อมูลแต่ละหน่วยงาน และการศึกษาแบบไปข้างหน้า ที่มี การสังเกตตรวจสอบเวลาและความถูกต้องของกิจกรรม ประชากร ในการศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยไตเทียม 34 ราย และผู้มา รับบริการ 133 ราย จำนวนการฟอกเลือด 713 ครั้ง เก็บข้อมูลโดย ใช้แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนค่าลงทุน และพจนานุกรมกิจกรรม ได้ทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้าน เนื้อหาของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย อัตราส่วนร้อยละ และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน\nผล : ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนกิจกรรมรวมเท่ากับ 1,547,170.83 บาท เฉลี่ยต่อหน่วย 2,169.95 บาท และค่าใช้จ่าย ที่ได้รับจัดสรรจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่ากับ 1,109,300 บาท เฉลี่ยต่อหน่วย 1,555.82 บาท ส่วนต้นทุนรายกิจกรรมทั้ง 7 กิจกรรมหลัก พบว่า กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยระหว่างฟอกเลือด มี ต้นทุนรวมสูงสุด เท่ากับ 367,986.85 บาท หรือ 516.11 บาทต่อ ครั้ง กิจกรรมที่มีต้นทุนต่ำที่สุด คือ กิจกรรมการติดต่อประสานงาน ผู้ป่วยฟอกเลือด มีต้นทุนรวมเท่ากับ 89,084.92 บาท หรือ 124.94 บาทต่อครั้ง เมื่อจำแนกตามประเภทของต้นทุนพบว่าต้นทุนค่าวัสดุ มีมูลค่าสูงสุด เท่ากับ 803,474.83 บาท รองลงมาคือ ต้นทุนค่าแรง เท่ากับ 677,929.40 บาท ส่วนต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 65,766.59 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนต่ำสุด อัตราส่วนร้อยละของต้นทุนค่าวัสดุ: ต้นทุน ค่าแรง : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 51.93: 43.81: 4.25\nสรุป : ผลการ ศึกษานี้สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการประมาณจัดสรรงบประมาณ ของกิจกรรมการฟอกเลือดและเป็นแนวทางการลดต้นทุนกิจกรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้รับบริการและหน่วยงานอื่นๆของโรงพยาบาลราชวิถีต่อไป" }
{ "en": "Background: There are various studies about salivary biomarkers in oral cancer detection. Breakthrough technologies have lead to an increased discovering salivary biomarkers, which change the conclusion of accuracy in oral cancer detection. Many studies support that saliva biomarkers have a potential of being an essential tools as diagnosis, prognosis and maintenance program for oral cancer. However, sufficient evidence is still lacking. Objective: This meta-analysis has an objective to gather the results about an accuracy of the use of saliva as a detection tool of oral cancer to determine the accuracy and determine which biomarker is the most likely to use in oral cancer detection. Method: The electronic databases were searched on January 2009 to 2019. We searched Pubmed, The Cochrane Database of Systematic Reviews, Google Scholar and manual search. Result: We included 14 articles which considered saliva as a diagnostic accuracy studies are included. Statistical analysis established sensitivity and specificity with 95% confident interval of the accuracy test of the use of saliva as an oral cancer detection tools were included in this meta-analysis. These 14 articles can be divided into 30 studies, which were meta analyzed by using Hierachical model. Meta analyzed data found that the use of saliva as an oral cancer detection tools has sensitivity of 0.72 (95% CI = 0.61, 0.81), specificity of 0.78 (95% CI = 0.61, 0.81), but data is lack of homogeneity and the confident interval is wide. Conclusion: There is no sufficient evidence to support the accuracy of salivary biomarker for the early diagnosis of oral cancer. Subgroup analysis should be tested to summarize the cause of the lack of homogeneity. Overall analysis showed that protein biomarkers have higher sensitivity and specificity compared to other saliva biomarkers group. However, further clinical study with higher amount sample size and lack of bias should be studied to find out the most accurate saliva biomarker group in terms of sensitivity and specificity which can benefit in development of oral cancer detection tool.", "th": "ภูมิหลัง : การศึกษาเรื่องตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในการ ตรวจหามะเร็งช่องปากปัจจุบันมีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย จาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีการค้นพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ ในน้ำลายเพิ่มขึ้น อาจทำให้ข้อสรุปเรื่องความแม่นยำในการตรวจ หารอยโรคมะเร็งช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต มีผล การศึกษาจำนวนมากที่สนับสนุนการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใน น้ำลายว่าน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวินิจฉัยโรค การพยากรณ์ โรค หรือการตรวจติดตามการรักษาโรคมะเร็งช่องปากได้ แต่ยังขาด หลักฐานการรวบรวมผลการศึกษาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ : การ วิเคราะห์อภิมานเพื่อรวบรวมผลการศึกษาเรื่องความแม่นยำของ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในการตรวจหารอยโรคมะเร็งช่องปากเพื่อตอบคำถามว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในปัจจุบันมีความ แม่นยำเพียงไร และตัวบ่งชี้ใดที่มีแนวโน้มที่จะนำไปพัฒนาในการ ตรวจวินิจฉัยมะเร็งช่องปากในอนาคตได้ วิธีการ : สืบค้นข้อมูล อย่างเป็นระบบจาก PubMed, The Cochrane Database of Systematic Reviews, Google Scholar และ handsearch ผล : มีบทความที่ได้รับการยอมรับ 14 บทความในรูปแบบการ ศึกษาที่เป็น diagnostic accuracy studies ทั้ง 14 บทความนี้ แบ่งเป็นการศึกษาย่อยตามชนิดของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้ 30 การศึกษาวิเคราะห์อภิมานโดยใช้ค่าความไว และความจำเพาะที่ช่วง ความเชื่อมั่น 95% พบว่าการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในการ ตรวจหามะเร็งช่องปากในภาพรวมหลายกลุ่มมีค่าความไวเท่ากับ 0.72 (95% CI = 0.61, 0.81) และความจำเพาะเท่ากับ 0.78 (95% CI = 0.73, 0.83) แต่ผลของข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกัน และ มีช่วงความเชื่อมั่นที่ค่อนกว้าง สรุป : ยังไม่สามารถสรุปได้ถึงความ แม่นยำที่แท้จริงของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลายในการตรวจหา รอยโรคมะเร็งช่องปากได้ ควรทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยถึงสาเหตุ ของความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน และจากการวิเคราะห์ภาพรวมดู เหมือนว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพกลุ่มโปรตีนจะให้ค่าความไว และความ จำเพาะสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการ ศึกษาทางคลินิกที่มีการออกแบบให้มีจำนวนตัวอย่างที่มากขึ้นและ ไม่มีอคติ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามได้ว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใน น้ำลายตัวใดมีความแม่นยำเพียงพอและมีแนวโน้มที่จะนำไปพัฒนา ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งช่องปากในอนาคต" }
{ "en": "Background : Acute ankle injuries are common musculoskeletal problem in the general population. Acupuncture is an alternative treatment for acute ankle sprain, and the World Health Organization has recommend edits use for relief of musculoskeletal pain.\nObjective : The objective of this study was to study the effectiveness of acupuncture compared with intramuscular tramadolin treatment of patients with acute ankle injury within 1 week.\nMethods : This was a clinical trial of 72 patients, aged over 14 years, who presented with acute ankle injury or partial tear of tendon without fracture diagnosed by Roentgenogram, who pain score more than 6 were treated by acupuncture or tramadol. Visual analog scale pain score was assessed before and after treatment with acupuncture or tramadol at the time of the first treatment, after 0 minutes, and then after 10, 20, 30 minutes, 1 week and 4 weeks.\nResults : The mean age of the patients was 32.15 ± 12.62 years old, 62.5% were female, 66.70% had ankle sprain grade II, 52.80% had left ankle sprain and 70.8% had a non-road traffic injury. The Body Mass Index was 23.52 ± 5.27 Kg/ m2.The effectiveness of acupuncture and tramadol in patients with acute ankle injury within 1 week were different. More pain reduction was seen in patients using acupuncture than in patients using tramadol after 10 minutes, 20 minutes, 30 minutes and 1week. No difference in pain reduction was seen at 4 week. Moreover, the patients who had pain scores less than 4 in acupuncture group were more than tramadol group significantly at 20minutes, 30 minutes and one week.\nConclusion : Treatment of patients with acute ankle injury with acupuncture can relieve pain more than tramadol within 20 minutes with statistical significantly.", "th": "ภูมิหลัง : การบาดเจ็บข้อเท้าเฉียบพลันเป็นปัญหาและพบได้บ่อยในในการบาดเจ็บกระดูกและกล้ามเนื้อของประชากรทั่วไปการฝัง เข็มเพื่อการรักษา ลดอาการปวดและการอักเสบเป็นทางเลือกหนึ่งตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก\n วัตถุประสงค์ : ศึกษาประสิทธิผล ของการลดปวดด้วยการฝังเข็ม เปรียบเทียบกับการฉีดยาทามาดอลฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บข้อเท้าเฉียบพลันภายใน หนึ่งสัปดาห์\nวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trial) ในการรักษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บข้อเท้าเฉียบพลัน ที่ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีบาดเจ็บของเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อ โดยไม่มีการแตกหักของกระดูก จากการประเมินการบาดเจ็บข้อเท้าตามกฎของ ออสตาวาและเอกซเรย์ข้อเท้ามีค่าคะแนนความเจ็บปวดมากกว่า 6 คะแนน และได้รับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็มหรือฉีดยาทามาดอลเข้า กล้ามเนื้อ ในผู้บาดเจ็บจำนวน 72 ราย อายุ 14 ปีขึ้นไป โดยผู้บาดเจ็บจะได้รับการประเมินอาการปวดตาม Visual Analog Scale (VAS) score ตั้งแต่ก่อนการรักษาและหลังการรักษาที่เวลา 10 นาที 20 นาที 30 นาที 1 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์\nผล : ผู้บาดเจ็บข้อเท้าทั้งหมด ที่มารับการรักษา มีอายุเฉลี่ย 32.15 ± 12.62 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.5 มีการบาดเจ็บข้อเท้าระดับสองร้อยละ 66.70 บาดเจ็บข้อเท้า ข้างซ้ายร้อยละ 52.8 และ สาเหตุการบาดเจ็บไม่ใช่อุบัติเหตุทางจราจรร้อยละ 70.8 มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.52 ± 5.27 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตรประสิทธิผลของการรักษาโดยการฝังเข็มต่างจากการฉีดยาทามาดอลเข้ากล้ามเนี้อพบว่าการฝังเข็มช่วยลดอาการปวดของ ข้อเท้าได้ดีกว่าการฉีดยาทามาดอลในช่วงเวลา 10 นาที 20 นาที 30 นาที และหนึ่งสัปดาห์ แต่ที่เวลาสี่สัปดาห์อาการปวดลดลงไม่ แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่า จำนวนผู้บาดเจ็บที่รักษาด้วยการฝังเข็ม ที่มีคะแนนความเจ็บปวดลดลงตาม VAS score น้อยกว่า 4 มีจำนวน มากกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยทามาดอลที่เวลา 20 นาที 30 นาทีและหนึ่งสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ\nสรุป : การฝังเข็มสามารถลดความเจ็บปวด ที่ข้อเท้าจากการบาดเจ็บข้อเท้าเฉียบพลันได้ดีกว่าการรักษาด้วยการฉีดยาทามาดอล ภายในเวลา 20 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ" }
{ "en": "Background : Delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) derivatives have been used in pain management for palliative cancer care, unfortunately there was only few data in the efficacy of enriched THC cannabis oil (THC 0.5 mg/ drop) for this indication.\nObjective : To determine the outcomes (safety, efficacy, and adverse drug reactions) of the medical grade enriched THC cannabis oil for quality of life (QOL) improvement in advanced stage cancer.\nMethod : The retrospective descriptive study of the advanced stage cancer patients who treated medical grade cannabis oil produced by the Government Pharmaceutical Organization (GPO) under the Special Access Scheme (SAS) during 1st March - 31st July 2020 in Medical Cannabis Clinic, Department of Medical Services (DMS-6) was conducted. All patients have been started with 0.5 mg THC per day sub-lingually and gradually titrated as needed. There were 63 patients who completed follow up for 30 days. The quality of life was evaluated by the Edmonton Symptom Assessment System (ESAS).\nResult : The average age were 60 years and 55.6% female. The most common cancer was colon cancer. The daily used of THC were 0.5 - 5 mg. The severity of symptoms significantly improved in pain, tiredness, nausea, depression, anxiety, lack of appetite and insomnia while drowsiness, wellbeing and shortness of breath were not different. We also found the improvement of sleep (65.1%), pain reduction (50.8%) and appetite gained (42.9%) respectively. There were 19.1% adverse effects, however, most of them were mild symptoms suchas dry mouth or throat (17.5%). Nausea & vomiting (1.6%) and dizziness (1.6%).\nConclusion : Our findings suggested that THC enriched cannabis oil (0.5 mg/ drop) might be safe and potentially enhance the quality of life in advanced stage cancer patients especially the sleep quality, pain relief and appetite stimulation. However, the randomized controlled trial should be further investigated to warrant this hypothesis.", "th": "ภูมิหลัง: ยาสกัดกัญชาชนิดที่มีเดลต้า-9-เตตร้าไฮโดรแคน-นาบินอล (THC) 0.5 มิลลิกรัมต่อหยดเป็นยาสกัดกัญชาที่นำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลประสิทธิผลของการใช้ยาสกัดกัญชาชนิด THC เด่นนี้ยังมีจำนวนไม่มาก\nวัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการใช้ THC เด่นในด้านความปลอดภัย ประสิทธิผล และอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม\nวิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาสกัดกัญชาเกรดทางการแพทย์ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม (GPO) เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามด้วยช่องทางพิเศษในกรณีจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (special access scheme; SAS) ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 31 กรกฎาคม 2563 ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ อาคารกรมการแพทย์ 6 (DMS-6) ยาสกัดกัญชาเป็นชนิด THC ขนาด 0.5 มก.ต่อวัน และปรับเพิ่มขนาดช้าๆ จนได้ขนาดที่เหมาะสม ผู้ป่วยจำนวน 63 ราย ที่ติดตามผลการรักษาครบ 30 วัน และได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตด้วย Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ผล: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.6 มะเร็งที่พบมากที่สุดคือมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปริมาณยาสกัดกัญชา THC ที่ใช้ 0.5 - 5 มิลลิกรัมต่อวัน ระดับความรุนแรงของอาการที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อาการปวด เหนื่อย/ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึมเศร้า วิตกกังวล เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และกลุ่มอาการที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ง่วงซึม/ สะลึมสะลือ สบายดีทั้งกายและใจ และเหนื่อยหอบ นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้น (ร้อยละ 65.1) การลดความเจ็บปวด (ร้อยละ 50.8) และความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 42.9) อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงพบได้ร้อยละ 19.1 ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ปากแห้ง/ คอแห้ง (ร้อยละ 17.5) คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 1.6) และเวียนศีรษะ (ร้อยละ 1.6)\nสรุป: การศึกษานี้พบว่ายาสกัดกัญชาชนิด THC เด่นมีความปลอดภัยเพียงพอในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ทำให้นอนหลับดีขึ้น ลดอาการปวด และเพิ่มความอยากอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรทำการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ต่อไป" }
{ "en": "Background : Intravenous immunoglobulin (IVIG) has been used as an adjuvant treatment in severe, recalcitrant or steroid contraindicated pemphigus patients. Rapidly disease controlled without immunosuppression was a significant advantage different from other treatment modalities.\nObjectives : This study aimed to evaluate the clinical response, and side effects of IVIG treatment in severe, recalcitrant, or steroid contraindicated pemphigus patients.\nMethods : A retrospective review was conducted at the Institute of dermatology over seven years. Pemphigus patients who received at least six cycles of IVIG as adjuvant treatment were recorded demographic data, treatment before IVIG, indication for IVIG, dose, type, and the number of IVIG cycles. Clinical remission was evaluated at one month after the 6th cycle of IVIG. A dose of prednisolone before and after IVIG treatment was recorded. An adverse event was monitored.\nResults : Eleven pemphigus vulgaris patients, three with active extensive involvements, six with treatment recalcitrant and two with side effects or contraindication to systemic steroids and immunosuppressive agents were reviewed. Ten of eleven patients (90.9%) showed a response to six cycles of IVIG, five (45.5%) having complete remission. All five patients remained in remission during the 4-28 months follow up period. Mean prednisolone dose reduction was 57.3% in IVIG response patients. The therapy was well tolerated; however, congestive heart failure occurred in one patient with an underlying left ventricular hypertrophy. One patient developed cutaneous side effect which response to topical steroid. One extensive pemphigus patient did not respond to IVIG and died of sepsis and multi-organ failure.\nConclusions : Adjuvant six cycles of IVIG treatment in severe, recalcitrant, or steroid contraindicated pemphigus patients increased disease control, induced remission, and demonstrated steroid-sparing effect. The results encourage the use of IVIG due to the safety and effectiveness.", "th": "ภูมิหลัง : อิมมูโนโกลบูลินหยดเข้าหลอดเลือดดำ ถูกนำมา ใช้เป็นการรักษาเสริมในผู้ป่วยเพมฟิกัสที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบ สนองต่อการรักษาหรือไม่สามารถให้ยาสเตียรอยด์ได้ การรักษา วิธีนี้มีจุดเด่นที่เหนือกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นคือ สามารถควบคุม โรคได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีผลกดภูมิต้านทาน\nวัตถุประสงค์ : เพื่อ ประเมินการตอบสนองทางคลินิกและผลข้างเคียงจากการรักษา ด้วยอิมมูโนโกลบูลินแบบหยดเข้าหลอดเลือดดำ (IVIG) ในผู้ป่วย เพมฟิกัสที่มีความรุนแรงดื้อต่อการรักษาหรือมีข้อห้ามในการใช้ คอร์ติโคสเตียรอยด์\n วิธีการ : เก็บข้อมูลย้อนหลัง 7 ปี ในผู้ป่วย เพมฟิกัสที่ได้รับการรักษาที่สถาบันโรคผิวหนัง ด้วยยา IVIG อย่าง น้อย 6 ครั้ง ร่วมกับยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิต้านทาน โดยเก็บข้อมูลเชิงประชากรของผู้ป่วย การวินิจฉัย การรักษาที่ผ่าน มา ข้อบ่งชี้ในการรักษา ขนาด ชนิดและจำนวนครั้งของ IVIG ผล การรักษาประเมินจากอัตราการเข้าสู่ระยะโรคสงบและขนาดยา สเตียรอยด์ที่ลดลงหลังรักษา ร่วมกับบันทึกผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น\nผล : ผู้ป่วยเพมฟิกัสวัลการิส 11 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีความรุนแรง 3 ราย ไม่ตอบสนองต่อการรักษา 6 ราย และมีผลข้างเคียงหรือข้อห้ามใน การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ 2 ราย ผู้ป่วย 10 ราย (ร้อยละ 90.9) ตอบสนองต่อการรักษาด้วย IVIG 6 ครั้ง 5 ราย (ร้อยละ 45.5) เข้าสู่ ระยะโรคสงบ มีระยะเวลาโรคสงบ 4-28 เดือน ขนาดยาสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการควบคุมโรคลดลงเฉลี่ย ร้อยละ 57.3 ผู้ป่วยทนต่อการ รักษาได้ดี อย่างไรก็ตาม พบภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีโรค ประจำตัวเป็นกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว 1 ราย และผื่น ผิวหนังอักเสบซึ่งตอบสนองดีต่อยาทาสเตียรอยด์ในผู้ป่วย 1 ราย ผู้ป่วยอาการรุนแรง 1 ราย ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและเสียชีวิต จากการติดเชื้อแทรกซ้อน\nสรุป : การรักษาเสริมด้วย IVIG อย่างน้อย 6 ครั้ง ในผู้ป่วยเพมฟิกัสที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือมีข้อห้ามหรือผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ ช่วยควบคุมอาการ ของโรค เพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะโรคสงบ และช่วยลดขนาดยา สเตียรอยด์ที่ใช้รักษา การศึกษานี้ช่วยยืนยันความปลอดภัยและ ประสิทธิภาพของ IVIG สร้างความเชื่อมั่นในการนำ IVIG มาใช้รักษา ผู้ป่วยเพมฟิกัสให้มากขึ้น" }
{ "en": "Background : Cost of service is important information to know the financial burden of the hospital and to manage health systems efficiency.\nObjective : To study the macro and micro costing of accident and emergency department (A&E) in order to develop standard costing guideline.\n Method : This was a research and development of cost analysis methodology on provider perspective. The standard top-down and micro-costing approaches were drilled down to cost of service item using electronic databases from hospital information technology systems. Eleven hospitals voluntarily participated this R&D (4 regional, 1 general and 6 community hospitals).\nResults : The overall patient service costs of biggest hospitals were 2.2 billion baht with 129 million baht of patient service cost at A&E compared with only 39.9 million baht of direct labor, material and capital costs at A&E, and the rest (89.1 million baht) were the costs of other services to patients treated at A&E. The overall patient service costs of the smallest community hospitals were 61.8 million baht with 12.7 million baht of patient service cost at A&E compared with only 7.4 million baht the direct costs at A&E, and the rest (5.3 million baht) were the costs of other treatments to patients treated at A&E. The detailed allocations of costs to level of billing group (laboratory investigation) down to billing subgroup (clinical chemistry) and service item (dextrostix) were proven plausible with the existing hospital IT systems. The research allowed comparisons of service item costs among different sizes of hospitals.\nConclusion : Attention should be paid on development of detailed costing methodology with hospital information systems particularly the emergency services to synthesize the appropriate payment model for accident and emergency services in Thailand.", "th": "ภูมิหลัง : ต้นทุนบริการเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้ทราบภาระ ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาต้นทุนภาพรวมและรายกิจกรรมบริการ อุบัติเหตุและฉุกเฉินเพื่อพัฒนาแนวทางต้นทุนมาตรฐาน\nวิธีการ : เป็นการวิจัยและพัฒนาวิธีการศึกษาต้นทุนกิจกรรมบริการใน มุมมองของผู้ให้บริการ ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนแบบมาตรฐาน บนลงล่างและการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการย่อยของบริการ อุบัติเหตุและฉุกเฉินด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านบริการและบัญชี รายจ่ายจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ใช้ตัวอย่างโรงพยาบาล ศูนย์ 4 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 6 แห่งที่สมัครเข้าร่วมวิจัยและพัฒนา\n ผล : ต้นทุนภาพรวมทั้งหมดในกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่สุด เป็นต้นทุนการบริการผู้ป่วย 2.2 พันล้านบาท เป็นต้นทุนบริการผู้ป่วยที่แผนกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน 129 ล้านบาท โดยเป็นต้นทุนทางตรง ได้แก่ ค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนของเฉพาะแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินเพียง 39.9 ล้าน บาท ส่วนที่เหลือ (89.1 ล้านบาท) เป็นต้นทุนกิจกรรมบริการของ แผนกอื่นๆ ที่ให้กับผู้ป่วยแผนกอุบัติและฉุกเฉิน ขณะที่ต้นทุนภาพ รวมกลุ่มโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กสุดประมาณ 61.8 ล้านบาท เป็นต้นทุนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 12.7 ล้านบาท และเป็นต้น ทุนทางตรงของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 7.4 ล้านบาทและที่เหลือ (5.3 ล้านบาท) เป็นต้นทุนกิจกรรมบริการของแผนกอื่นๆ ที่ให้กับ ผู้ป่วยแผนกอุบัติและฉุกเฉิน ข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล อาสาสมัครสามารถกระจายต้นทุนให้กับหน่วยต้นทุนตามหมวดค่า รักษา (billing group เช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ) ไปจนถึง หน่วยต้นทุนตามหมวดค่ารักษาย่อย (billing subgroup เช่น เคมี คลินิก) และหน่วยต้นทุนตามกิจกรรมบริการ (service item เช่น ตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว) ทำให้สามารถเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วย ของกิจกรรมบริการระหว่างโรงพยาบาลขนาดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ มากขึ้น\nสรุป : ควรพัฒนาระเบียบวิธีศึกษาต้นทุนกิจกรรมบริการ ที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องด้วย การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของบริการฉุกเฉิน อันจะเป็น ประโยชน์ในการพัฒนาวิธีจ่ายเงินที่เหมาะสมสำหรับบริการอุบัติเหตุ และฉุกเฉินของประเทศไทยต่อไป" }
{ "en": "Background : There are many drugs that used to reduce nasal congestion, both oral and nasal spray. Nasal sprays divided into 2 groups: the beta phenylethylamime derivatives and midazoline derivatives and there are no comparative study of the effectiveness of these two drugs to reduce nasal congestion.\n Objective : to evaluating the efficacy of using intranasal 0.05% oxymetazoline, and intranasal 3% ephedrine to reduce nasal congestion.\n Method : A double-blinded randomized controlled trial was conducted in 84 patients ages ranging from 18 to 60 years with nasal congestion at the Department of Otolaryngology, Burapha University Hospital from January to April 2020. The level of nasal relief was measured by Peak Nasal Inspiratory Flow (PNIF) before and after using the intranasal spray 10 minute,Visual Analogue Scale was measured before and after using the intranasal spray 10, 30 minute. Then descriptive statistics and independent Paired t-Test were applied to analyze the data.\nResults : The 84 patients (49 female, 35 male) with an average age of 39.54 years revealed that the level of PNIF measured before and after spraying 0.05% oxymetazoline and 3% ephedrine were statistically significant difference. (p-value < 0.005, 95% CI = -49.74, -26.45 and p-value < 0.005, 95% CI = -50.72, -31.42, respectively). The visual analog scale recorded before and after spraying 0.05% oxymetazoline and 3% ephedrine also showed a statistically significant difference (p-value < 0.005, 95% CI = 1.523, 2.287 and p-value < 0.005, 95% CI = 2.656, 3.535 respectively). The measuring PNIF at 10 minutes after using the intranasal spray illustrated that both drugs could increase the level of nasal relief. However, a non-significant difference was reported when comparing these two drugs (p-value = 0.847, 95% CI = -19.9, 24.2). \nConclusion : the two drugs cloud reduce the blockage of the nasal passage, physicians may consider using them after deliberating other factors.", "th": "ภูมิหลัง : มียาหลายชนิดที่ใช้ลดอาการคัดจมูกโดยมีทั้ง ชนิดรับประทานและพ่นจมูก ยาแบบพ่นจมูกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม beta phenylethylamime derivatives และ midazoline derivatives และยังไม่มีรายงานเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา สองกลุ่มนี้ในการลดอาการคัดจมูก\nวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบ ยาพ่นจมูกระหว่าง 0.05% ออกซีเมทาโซลีนกับยา 3% อีฟีดรีน ใน การลดอาการคัดจมูก\nวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิด มีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง ในผู้ป่วยจำนวน 84 ราย อายุ ระหว่าง 18-60 ปี ที่มารับการตรวจที่คลินิก หู คอ จมูก โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน 2563 โดย การวัด peak nasal inspiratory flow (PNIF) ก่อนและหลังใช้ยาพ่นจมูก 10 นาที และวัดระดับความรู้สึกโล่งจมูกด้วย visual analogue scale (VAS) ก่อนและหลังใช้ยาพ่นจมูก 10, 30 นาที วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-Test แบบอิสระ\n ผล : ระดับ PNIF ก่อนและหลังพ่นยา ทั้งกลุ่มที่พ่น 0.05% ออกซีเมทาโซลีนและยา 3% อีฟีดรีน มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.005, 95% CI = -49.74, -26.45 และ p-value < 0.005, 95% CI = -50.72, -31.42, ตามลำดับ) เช่น เดียวกับระดับความรู้สึกโล่งจมูก (VAS) ก่อนและหลังพ่นยา ทั้งกลุ่ม ที่พ่น 0.05% ออกซีเมทาโซลีน และยา 3% อีฟีดรีน มีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.005, 95% CI = 1.523, 2.287 และ p-value < 0.005, 95% CI = 2.656, 3.535 ตามลำดับ) ยาทั้ง2 ชนิดสามารถเพิ่มระดับความโล่งของจมูกด้วยการวัดค่า PNIF ที่ 10 นาทีได้แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง ผลการใช้ยาทั้ง 2 ชนิด (p-value = 0.847, 95% CI = -19.9, 24.2)\nสรุป : ยาพ่นจมูกทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิผลในการลดอาการคัดจมูกได้ ไม่แตกต่างกัน แพทย์ผู้รักษาสามารถพิจารณาเลือกยาชนิดใดชนิด หนึ่งได้โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นประกอบ" }
{ "en": "Background : Antimicrobial resistance (AMR) is the leading cause of Healthcare-associated infections (HAIs) throughout the world. The mostly AMR is ESKAPE bacteria. Effects include high mortality and morbidity rates. Effective surveillance & response for AMR might be prevented and responded to HAIs and Outbreaks with AMR.\nObjective : This study was to explore the situation of antimicrobial resistance and ESKAPE bacteria in patients with bloodstream infection.\nMethod : Medical records of hospitalized patients during January 2017 to December 2018 who had at least one of positive blood cultures were reviewed by the infection control nurse team. The surveillance reports of Healthcareassociated blood stream infection (HA-BSI) was matched pair with the results of the positive blood cultures to analyses the situation of them.\n Results : The WHO-NET program could be help with easier and faster data analysis. A total of 1,862 patients with a positive blood cultures were reviewed and found Staphylococcus coagulase negative were the most bacteria during two years. The ESKAPE bacteria met 447 patients (24.0%) which 23.3% (104/447) met multidrug resistance (MDR), 2.8% (17/607) met carbapenem resistance Enterobacteriaceae (CRE) and 3.6% (2/56) met vancomycin resistance Enterococcus (VRE). The proportion of Enterococcus BSI case that was resistance to vancomycin was 1.3% (1/79) which is Central-line associated blood stream infection. The proportion of Klebsiella pneumonia BSI case that was resistant to carbapenem was 7.6% (6/79) which is a Central-line associated blood stream infection were 66.7% (4/6).\nConclusions : Escherichia coli was the most pathogens of HA-BSI (10/79) which 50.0 % (5/10) met antimicrobial resistance. However, 43% (34/79) of HA-BSI is ESKAPE bacteria which 41.2% (14/34) met antimicrobial resistance. Moreover, 64.3% (9/14) of ESKAPE antimicrobial resistance is Central-line associated blood stream infection. These data are the baseline for decrease AMR which response to the policy of the Government. These will be beneficial adapt to multimodal for decreasing the HA-BSI.", "th": "ภูมิหลัง : การดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance; AMR) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัญหาทางการ แพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก การบริหารจัดการเชื้อดื้อยาต้าน จุลชีพที่รวดเร็วทันต่อสถานการณ์น่าจะส่งผลในการลดการเกิดการ ดื้อยาต้านจุลชีพได้\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การดื้อยา ต้านจุลชีพในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อนำข้อมูลมาใช้ ในการวางแผน และบริหารจัดการสำหรับลดการดื้อยาต้านจุลชีพ\nวิธีการ : โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560- ธันวาคม พ.ศ. 2561\nผล : พบว่า ผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อพบจุลชีพ ในกระแสเลือดทั้งหมด 1,862 ราย พบจุลชีพกลุ่ม ESKAPE ร้อยละ 24.0 (447/1,862) โดยในกลุ่มนี้ พบจุลชีพดื้อยาหลายขนาน Multi drug resistance (MDR) ร้อยละ 23.3 (104/447) ซึ่ง 3 ลำดับแรก ได้แก่ Klebsiella pneumoniae, Staphylococcus aureus และ Acinetobacter baumanni ร้อยละ 41.3, 27.9 และ 24.0 ตามลำดับ สำหรับจุลชีพกลุ่ม Klebsiella pneumoniae ดื้อต่อยา carbapenem (CRE) ร้อยละ 2.8 (17/607) และจุลชีพ กลุ่ม Enterococcus ดื้อต่อยา vancomycin (VRE) ร้อยละ 3.6 (2/56)\nสรุป : เมื่อนำผลการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่นอน โรงพยาบาล (HA-BSI) มาวิเคราะห์ พบ HA-BSI 79 ราย จุลชีพ ที่พบมากที่สุด ได้แก่ Escherichia coli ร้อยละ 12.7 รองลงมา ร้อยละ 10.1 ได้แก่ Staphylococcus aureus Staphylococcus, coagulase negative และ Acinetobactor baumanii สำหรับ สัดส่วนการดื้อยาต้านจุลชีพที่พบมากที่สุด ได้แก่ MDR ร้อยละ 13.9 (11/79) รองลงมาได้แก่ CRE ร้อยละ 7.6 (6/79) ข้อมูลเหล่า นี้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินการหามาตรการที่เหมาะสมสำหรับ ลดการติดเชื้อในโรงพยาบาล ลดการดื้อยาต้านจุลชีพ และอาจนำ ไปเป็นข้อมูลเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม ในการตอบ สนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ ในการวางแผนการรักษาและวางแผน จำหน่ายผู้ป่วยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่อไป" }
{ "en": "We report a schizophrenic patient who developed involuntary movement of her mouth and tongue during a dental visit. Tardive dyskinesia was suspected from her antipsychiatric medications, then her psychiatrist was consulted and notified about her concurrent symptoms. The dental management includes tooth extraction, prosthodontic treatment including single maxillary denture and lower partial removable acrylic denture with non anatomical teeth to minimize lateral force and improved stability. Denture adhesive is employed to increase retention of the maxillary denture. The result shows a satisfaction of mastication and recovery of facial esthetic. Both the dentist and patient are very satisfied with the treatment.", "th": "Tardive dyskinesia เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นช้าๆ จาก ยารักษาโรคจิต มีลักษณะอาการเคลื่อนไหวผิดปกติซ้ำๆ โดยไม่ สามารถควบคุมได้ ส่วนใหญ่เริ่มพบการเคลื่อนไหวผิดปกติบริเวณ ใบหน้าและอวัยวะช่องปากก่อน บทความนี้นำเสนอรายงานผู้ป่วย จิตเภทที่เริ่มมีอาการ tardive dyskinesia โดยทันตแพทย์เป็นผู้ พบเห็นอาการขยับปากและลิ้นไปมาโดยไม่สามารถควบคุมได้ และ ได้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข ทันตแพทย์ให้การรักษา ทางทันตกรรมโดยการถอนฟัน ทำฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบน และฟันเทียมบางส่วนฐานอะคริลิกล่าง โดยเลือกฟันชนิดไร้ปุ่มฟัน เพื่อลดแรงกระทำด้านข้างและเพิ่มความเสถียรให้ฟันเทียม ใช้สาร ยึดฟันเทียมช่วยเพิ่มแรงยึดในฟันเทียมทั้งปากบน ผลการรักษาพบ ว่าผู้ป่วยสามารถใช้ฟันเทียมบดเคี้ยวอาหารได้และมีความสวยงาม ของใบหน้าดีขึ้น ทันตแพทย์และผู้ป่วยพึงพอใจต่อการรักษาเป็น อย่างมาก" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "Background: Percutaneous nephrolithotomy is the effective treatment for renal calculi not over than 4 centimeter in size. Objective: This study aimed to evaluate clinical outcomes of Percutaneous Nephrolithotomy. Method: The study was a retrospective descriptive study to evaluated clinical outcomes of Percutaneous Nephrolithotomy in patients with pelvic, calyceal or partial staghorn stones at Yasothorn Hospital in 2012-2013 and Nakhonphanom Hospital in 2017-2019 Result: Percutaneous Nephrolithotomy treatment in 60 patients, 32 patients (53%) were male. Mean age of patients were 45.2 years old (25-60). The location of stones were 50 pelvic stones, 7 calyceal stones and 7 partial staghorn stones. The size of stones were less than 2 centimeters in 12 patients, 2 to 4 centimeters in 41 patients, over 4 centimeters in 7 patients. Range of operative times were from 45 to 110 minutes (mean 81 minutes), range of radiation exposure time were from 60-130 seconds (mean 90 seconds.). Four patients had hemorrhagic problems and need blood transfusions. Range of hospital stayed were from 5 to 10 days (mean 7 days). There had postoperative fever in 5 patients, and one patients had urosepsis, and solved by antibiotic treatments. Outcomes of percutaneous nephrolithotomy were no residual stone 40 patients (67%), had residual stone less than 5 millimeters in diameter 15 patients (25%) and 5 patients (8%) had 5-10 millimeters stones in diameter needed to treated by ureteroscopic lithotripsy or repeat percutaneous nephrolithotomy. Conclusion:Percutaneous nephrolithotomy is the effective treatment for renal calculi and provide safety outcomes. More surgical practice could improve stone free rate and decrease the relevant post-operative complication.", "th": "ภูมิหลัง : การผ่าตัดด้วยวิธี percutaneous nephrolithotomy (PCNL) เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้ได้ผลดีใน การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในไตที่มีขนาดไม่เกิน 4 เซนติเมตร วัตถุประสงค์: บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการรักษานิ่วไตด้วย วิธี percutaneous nephrolithotomy วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณาย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลยโสธร ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556และในโรงพยาบาลนครพนม ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2562 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น pelvic stones, calyceal stones หรือ partial staghorn stones ผล:ผู้ป่วยจำนวน 60 คน เป็นเพศชาย 32 คน เพศหญิง 28 คน อายุตั้งแต่ 25-60 ปี (เฉลี่ย45.2 ปี) โดยเป็น pelvic stones 50 คน, calyceal stones 7 คน, partial staghorn Stones 3 คน จากขนาดนิ่วพบว่า จำนวนคนไข้ที่มีขนาดนิ่วน้อยกว่า 2 เซนติเมตร 12 คน ขนาดนิ่ว 2-4 เซนติเมตร จำนวน 41 คน ขนาดนิ่วมากว่า 4 เซนติเมตร จำนวน 7 คน ระยะเวลาในการผ่าตัด 45-110 นาที (เฉลี่ย 81 นาที) ระยะเวลาที่ได้รับรังสี 60-130 วินาที (เฉลี่ย 90 วินาที) ภาวะแทรกซ้อนมีเลือดออกมากจนต้องให้เลือด 4 คน ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล 5-10 วัน (เฉลี่ย 7 วัน) หลังทำ PCNL มีภาวะไข้ 5 คน, urosepsis 1 คน รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ ผลการทำ PCNL มี 40 ราย ไม่พบนิ่วเหลือค้างหลังการผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 67, มี 15 รายที่พบนิ่วเหลือค้างขนาดน้อยกว่า 5 มม. คิดเป็นร้อยละ 25 และอีก 5 รายที่พบนิ่วเหลือค้างขนาด 5-10 มม. คิดเป็นร้อยละ 8 ซึ่งต้องรักษาต่อด้วยการทำ ureteroscopy and laser stone fragmentation (URSL) หรือ repeat PCNL สรุป: percutaneous nephrolithotomy (PCNL) เป็นวิธีผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไตที่มีประสิทธิผล และปลอดภัย หากศัลยแพทย์มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ก็จะสามารถเพิ่ม stone free rate และลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่อาจจะเกิดขึ้นได้" }
{ "en": "Background: The patients who had lost their natural teeth and have been wearing the full denture for a long time, will have an ill-fitting lower denture. Two implants for retaining a full lower denture can solve the problem. Objective: The project was to examine the implant’s stability, using the resonance frequency analysis (RFA) method. The marginal bone loss was measured from a panoramic radiograph. Method: Thirty patients, age over 60, have been chosen from the implant project celebrating King’s 80th Birthday Anniversary on 5 December 2007. All of them were treated at Institute of Dentistry, Department of Medical Services. The study was followed the implant stability and the marginal bone loss around the implants. Result: The study showed the follow-up 20 ± 8.49 months in average. The implant stability quotient (ISQ) value was 71.24 ± 2.95 and the mean marginal bone loss was 1.52 ± 0.59 millimeters. Conclusion: Khao Aroi implant system had high stability and the level of bone loss meets the standard success criteria.", "th": "ภูมิหลัง: ผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไปนานและใส่ฟันเทียมทั้ง ปากมักประสบปัญหาฟันเทียมหลวมโดยเฉพาะฟันเทียมล่าง การฝังรากฟันเทียม 2 รากในกระดูกขากรรไกรล่างสามารถช่วย ยึดฟันเทียมให้แน่นขึ้น วัตถุประสงค์: ศึกษาความเสถียรของ รากฟันเทียมด้วยวิธีการวัดการสั่นพ้องของคลื่นเสียง (resonance frequency analysis) และวัดค่าการละลายตัวของกระดูกรอบ รากฟันเทียมจากภาพรังสีแพโนรามา (panoramic radiograph) วิธีการ: คัดเลือกผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มารับบริการฝังรากฟัน เทียมระบบข้าวอร่อยในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ จำนวน 30 ราย แล้วติดตามผู้ป่วยเพื่อวัดความเสถียร ของรากฟันเทียมและค่าการละลายตัวของกระดูกรอบรากฟันเทียม ผล: การติดตามภายหลังผู้ป่วยได้รับการฝังรากฟันเทียมเฉลี่ย 20 ± 8.49 เดือน พบว่ารากฟันเทียมมีค่าเฉลี่ย ISQ 71.24 ± 2.95 การละลายตัวของกระดูกรอบรากฟันเทียมมีค่าเฉลี่ย 1.52 ± 0.59 มิลลิเมตร สรุป: รากฟันเทียมระบบข้าวอร่อยที่ช่วยยึดฟันเทียมทั้ง ปากชิ้นล่างถือว่ามีความเสถียรอยู่ในระดับสูง และการละลายตัวของ กระดูกรอบรากฟันเทียมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสำเร็จ" }
{ "en": "Background:Diabetes Mellitus (DM) is associated with periodontal disease but the relationship between diabetes mellitus and dental caries is controversy. The cariogram is the one tool of assessment caries risk. Objective:To investigate caries risk profile of diabetes mellitus patients using cariogram in Sangkha Hospital, Surin Province. Method: Data were collected from September to December 2018. The samples comprised 201 patients. Research team collected whole saliva samples, recorded the buffer capacity and salivary rate using questionnaire and oral examination forms in order to calculate risk according to the cariogram model. Caries-related variables werecollected and inserted into the cariogram software to calculate the actual chance of avoiding caries. Result:The study showed 75.1% of samples was female, 66.2% was age ≤ 60 yrs. 99.5% was type II diabetes mellitus. The duration of DM was more than 5 years 62.2%. Mean decay, missing and filling of permanent teeth (DMFT) was 8.99 teeth per person. Subjects who had FBS ≤ 130 mg/dl and FBS > 130 mg/dl, mean DMFT was 7.33 teeth per person and 9.66 teeth per person respectively. Those whose age < 60 and ≥ 60, mean DMFT was 8.56 teeth per person and 9.82 teeth per person respectively. Cariogram showed 84.58% of sample had high caries risk (chance to avoid new cavities 61 -100). Conclusion: Diabetes mellitus patients using cariogram in Sangkha Hospital, Surin Province had high caries risk.", "th": "ภูมิหลัง:โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคในช่องปาก ทั้งโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ ส่วนการเกิดโรคฟันผุนั้นยังมีข้อโต้แย้ง ทั้งนี้ cariogram เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุได้ วัตถุประสงค์: ศึกษาภาวะการณ์ความเสี่ยงในการเกิดฟันผุในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ cariogram วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 201 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคมปี 2561 โดยข้อมูลที่ได้มาจากการเก็บตัวอย่างน้ำลายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวัดจำนวนเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ความเป็นกรด-ด่างของน้ำลาย อัตราการหลั่งน้ำลาย การตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปริมาณอาหาร ความถี่ในการรับประทานอาหาร การได้รับฟลูออไรด์ ตรวจช่องปากโดยใช้แบบตรวจสภาวะช่องปาก ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนำมาประเมินความเสี่ยงในฟันผุของแต่ละคนในกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมแคริโอแกรม (cariogram) ผล: ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 75.1 อายุน้อยกว่า 60 ปี ร้อยละ 66.2 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 99.5 และเป็นมามากกว่า 5 ปีร้อยละ 62.2 สภาวะช่องปากพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) 8.99 ซี่ต่อคน โดยผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเบาหวานมีค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าหรือเท่ากับ 130 มก/ดล มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 7.73 ซี่ต่อคน ขณะที่ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเบาหวานมีค่าน้ำตาลในเลือดต่ำสูงกว่า 130 มก/ดล มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 9.66 ซี่ต่อคน และผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปีมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 8.56 ซี่ต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 9.82 ซี่ต่อคน และเมื่อทำการประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 170 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.58 มีค่าหลีกเลี่ยงการเกิดฟันผุอยู่ในช่วง 61–100 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงการเกิดฟันผุสูง สรุป: ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเบาหวานในโรงพยาบาลสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง" }
{ "en": "Background: Oral complications related to diabetes include dry mouth, a burning sensation, dysgeusia, and enlargement of the parotid salivary glands; moreover, it is clear that diabetes is associate with periodontal disease. However, the relationship between diabetes and dental caries is still under dispute. Objective: To evaluate the factors that impact the state of the high risk of dental caries in patients with diabetes. Method: Two hundred and one diabetic patients in Sangkha Hospital, Surin Province were interviewed and received an oral examination for collecting the data. Dental caries were assessed by a cariogram. The interview aimed to collect data such as age, sex, level of education, occupation and monthly income. Participants were surveyed on oral health knowledge, attitudes, and behaviors towards oral health. Oral health conditions were mainly evaluate by dental examination, plaque index and periodontal examination, further information included items such as unusual tooth morphology, interproximal restorations, exposed root surfaces, restorations with overhangs or open margins, open contacts, and dental appliances. Diabetic data was retrieved from hospital medical records, including the type of diabetes, duration of diabetes, and fasting blood sugar level (FBS). Results: 170 participants had a high risk of dental caries, whereas 31 patients had a low and moderate risk. Fifty participants were male (24.9%) and 151 participants were female (75.1%). Regarding age, 133 people were under 60 years, and 68 participants were aged 60 years or more. For the levels of education, 170 participants had completed primary school, 20 had finished junior high school, 10 had completed high school and one person had graduated with a master’s degree. The correlation analysis by was analyzed by multivariable logistic regression had found that patients with unusual tooth morphology had high risk of developing caries. Participants with unusual tooth morphology had 2.8 times greater chances to develop dental caries compared to those without unusual tooth morphology (OR 2.8, 95% CI: 1.1, 7.3). Conclusions: Diabetic patients with unusual tooth morphology are associated with a high risk of dental caries.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะแทรกซ้อนในช่องปากของโรคเบาหวาน ได้แก่ ปากแห้ง ปวดแสบปวดร้อนในช่องปาก การรับรสผิดปกติ ต่อมน้ำลายพาโรติดโต และเป็นที่ชัดเจนว่าโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับโรคฟันผุนั้นยังไม่มีความชัดเจนอยู่ วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิธีการ: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 201 ราย จากคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสังขะ จังหวัดสุรินทร์ได้รับการสัมภาษณ์และได้รับการตรวจช่องปาก ประเมินสภาะความเสี่ยงโรคฟันผุด้วยโปรแกรมแคริโอแกรม (cariogram) การสัมภาษณ์จะเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนผู้เข้าร่วมวิจัยทำแบบสอบถามเกี่ยวกับทันตสุขภาพทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทันตสุขภาพ การเก็บข้อมูลด้านสภาวะช่องปากจากการตรวจช่องปากโดยใช้แบบตรวจฟัน แบบตรวจคราบจุลินทรีย์ และแบบตรวจสภาวะปริทันต์ และการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ ความผิดปกติของรูปร่าง ตำแหน่ง การเรียงตัวของฟันที่ยากแก่การทำความสะอาด มีวัสดุบูรณะระหว่างฟัน (interproximal restoration) มีรากฟันเผยผึ่ง มีวัสดุบูรณะฟันที่มีขอบเกิน (overhang margin) หรือขอบเปิด (open margin) การใส่ฟันเทียมถอดได้หรือจัดฟัน และการเก็บข้อมูลด้านโรคเบาหวานโดยใช้แบบเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล ได้แก่ ชนิดของโรคเบาหวาน ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ค่า fasting blood sugar (FBS) ผล: ผู้เข้าร่วมวิจัยมีสภาวะความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุจำนวน 170 ราย มีสภาวะความเสี่ยงต่ำและปานกลางจำนวน 31 ราย ข้อมูลทั่วไปพบว่าเป็นเพศชายจำนวน 50 ราย และเพศหญิงจำนวน 151 ราย มีอายุน้อยกว่า 60 ปี จำนวน 133 ราย มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 68 ราย มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 170 ราย มัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 20 ราย มัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 10 ราย ระดับปริญญาโทจำนวน 1 ราย มีรายได้น้อยกว่าอัตราจ้างขั้นต่ำจำนวน 190 ราย รายได้มากกว่าหรือเท่ากับอัตราจ้างขั้นต่ำ 11 ราย เมื่อพิจารณาถึงสภาวะความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุ โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีฟันรูปร่างผิดปกติยากแก่การทำความสะอาดจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุมากกว่าผู้ที่ไม่มีฟันรูปร่างผิดปกติ 2.8 เท่า (OR 2.8, 95% CI : 1.1, 7.3) สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีฟันที่มีรูปร่างผิดปกติยากแก่การทำความสะอาด มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุ" }
{ "en": "Background: The prevalence of patients with kidney disease who need transplantation or dialysis has increased in Thailand during many years. Continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) is provided to kidney patients for free. However, patients suffer from depression and other symptoms of decreased mental health. Moreover, it becomes a burden to caregivers and mental health among patients’ families. Objective: The purposes of this study are 1) To study the effect of the Line Application Counseling Program on stress and self-potential of CAPD patients’ caregivers. 2) To develop Line Counseling Application Program on Stress and Self-Potential of CAPD patients’ caregivers. 3) To study the effect of the Line Application Counseling Program on Stress and Self-Potential of CAPD patients’ caregivers 3.1) To compare the stress that occurred before and after using the Line Application Counseling Program 3.2) To compare the Self-Potential that occurred before and after using Line Application Counseling Program. Method: The sample group is consisted of 30 caregivers, purposively selected. The research instruments are 1) IOC value of stress questionnaires that is between 0.66-1.00 and reliability value is 0.748. 2) IOC value of Self-Potential questionnaire that is between 0.66-1.00, and reliability is 0.767. And 3) The data of Line Application Counseling Program is analyzed from the mean, standard deviation and Wilcoxon Signed Ranks Test. Result: It is shown that 1) Caregivers can release their stress after using the Line Application Counseling Program with statistical significant at .01. 2) Caregivers can increase their self-potential after using the Line Application Counseling Program. Conclusion: Line Application Counseling Program is useful to CAPD patients’ caregivers to decrease stress and increase their self-potential.", "th": "ภูมิหลัง: โรคไตวายเรื้อรังถือเป็นโรคหนึ่งที่คุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมายาวนาน โรคนี้ไม่มีวิธีในการรักษาให้หายขาดยกเว้นแต่การปลูกถ่ายไตซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก ฉะนั้นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคนี้คือวิธีการบำบัดทดแทนไตซึ่งเป็นการต่อชีวิตให้กับผู้ป่วยและหนึ่งในวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ทางภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายคือการล้างไตทางช่องท้อง แต่ทว่าการล้างไตทางช่องท้องส่งผลต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้ทำการล้างไตซึ่งก็คือผู้ดูแลผู้ป่วยเนื่องจากเป็นวิธีการที่ต้องทำที่บ้านและทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาลักษณะความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 2) พัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่นที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่นที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 3.1) เปรียบเทียบความเครียดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่นของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 3.2) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่น ของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีจำนวน 30 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดความเครียด มีค่า IOC อยู่ระหว่าง .66 – 1.00 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .748 2) แบบวัดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .66 – 1.00 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .767 3) โปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่น สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test เพื่อเปรียบเทียบผลของความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองก่อนและหลังการให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่นของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องผลการวิจัย ผล: 1) ผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่เข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่น มีความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่เข้าร่วมโปรแกรมให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่นมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุป: 1) ผลของความเครียดลดลงหลังจากเข้าโปรแกรมให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่น 2) ผลของความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าโปรแกรมให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่น 3) โปรแกรมให้คำปรึกษาผ่าน ไลน์ แอพพลิเคชั่น สามารถลดความเครียดและเพิ่มความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องได้" }
{ "en": "Background: Sarcopenia is term of low muscle mass and strength which affects fall and bone fracture in elderly people. The purpose of this study was to find the prevalence of sarcopenia in elderly hip fracture with the association of sarcopenia and fracture.Objective: To identified the association of sarcopenia and hip fracture and prevalence in elderly people. Methods: A Cross-sectional analytic study to determine sarcopenia by measure lean tissue index (LTI) by using body composition monitor (BCM) in elderly hip fracture, compare with non-fracture group. Results: Total 98 patients including 48 hip fracture patients (male 25%, female 75%) and 50 non-fracture patients (male 40%, female 60%). Nine patients in fracture group had sarcopenia conversely with no sarcopenia in non-fracture group (p=0.001). The patients with hip fracture had significantly lower muscle mass than non-fracture group (LTI 6.89 Kg/m2 vs 7.43 Kg/m2, p=0.013), particularly in female (female with hip fracture LTI 6.37 Kg/m2 vs female non-fracture 6.81 Kg/m2, p=0.001).Conclusion: Sarcopenia is common in elderly hip fracture especially in female. The prevalence of sarcopenia is 9.18%. Measuring of lean tissue index by using BCM is inexpensive, no radiation expose and easily to use. Underline diagnosis and treatment of sarcopenia can reduce the fall and fracture of elderly people in the future.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย หมายถึง การลดลงของมวลกล้ามเนื้อและกำลังของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจสูงผลต่อการหกล้มและการเกิดกระดูกหักได้ในผู้สูงอายุ เป็นเหตุให้ทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ วัตถุประสงค์: ศึกษาหาความชุกและความสัมพันธ์ของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ วิธีการ: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง ในการประเมินภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยวัดค่ามวลกล้ามเนื้อ (lean tissueindex: LTI) ด้วยการใช้เครื่องวัดองค์ประกอบในร่างกาย (body composition monitor: BCM) ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกสะโพกหัก เปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหากระดูกหัก ผล: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 98 ราย เป็นกลุ่มที่มีกระดูกสะโพกหัก 48 ราย (ชายร้อยละ 25 หญิงร้อยละ 75) และกลุ่มที่ไม่มีกระดูกหัก 50 ราย (ชายร้อยละ 40 หญิงร้อยละ 60) พบผู้ป่วย 9 รายในกลุ่มที่มีกระดูกหัก มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีกระดูกหัก ซึ่งไม่พบผู้ที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (p=0.001) ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกสะโพกหักมีภาวะมวลกล้ามเนื้อเฉลี่ยน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหากระดูกหักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (LTI 6.89 Kg/m2 vs 7.43 Kg/m2 , p=0.013) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิงที่กระดูกหักมีมวลกล้ามเนื้อเฉลี่ยน้อยกว่าหญิงที่ไม่มีปัญหากระดูกหักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (LTI 6.37 Kg/m2 vs 6.81 Kg/m2 , p=0.001) สรุป: ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ที่พบมากในผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการหกล้มและกระดูกสะโพกหัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิง การวัดมวลกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง BCM ซึ่งสามารถใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง สามารถวินิจฉัยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยและอาจใช้ทำนายการหกล้มและการเกิดกระดูกหักของผู้สูงอายุได้ในอนาคต" }
{ "en": "Background: Health checkup is useful for screening risk factors that may cause of diseases in the future. If people know their risks of diseases and can adjust their behavior, the chance of diseases occurrence may be reduced and/ or occur slowly. Civil Servants Medical Benefit Scheme (CSMBS) supports an annual health checkup according to the specified list. Objective: To identify abnormalities in the annual health checkup of 1,987 civil servants. Method: This descriptive study collected data from the annual health checkup of 1,987 civil servants. The detail of checkup list in this study were laboratory blood test, chest radiography and electrocardiogram (EKG). Data were collected from the medical records of the National Cancer Institute and Rajavithi Hospital In 2017. Results: The average age of participants was 53.6 years (min 30 and max 81 years). Most of them were 35-60 years and 87.7% was female. The results showed the low hemoglobin and haematocrit which was 12.2% (95% CI 10.7, 13.6) and 9.4% (95% CI 8.1, 10.7) respectively. Moreover, anemia (haemoglobin", "th": "ภูมิหลัง: การตรวจสุขภาพเป็นการค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคในอนาคต ทำให้ประชาชนทราบความเสี่ยงล่วงหน้าและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดและ/หรือให้มีโอกาสเกิดโรคช้าที่สุด สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการให้ตรวจสุขภาพประจำปีตามรายการกำหนด วัตถุประสงค์: เพื่อทราบความ ผิดปรกติในรายการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้มีสิทธิตามสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีที่มีสิทธิตามสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจำนวน 1,987 คน โดยเลือกรายการตรวจสุขภาพ ได้แก่ การตรวจโลหิตทางห้องปฏิบัติการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการถ่ายภาพรังสีทรวงอก โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของสถาบันมะเร็งแห่งชาติและโรงพยาบาลราชวิถีในปี พ.ศ.2560 ผล: ผู้มาตรวจสุขภาพมีอายุเฉลี่ย 53.6 ปี (อายุต่ำสุด 30 ปีและสูงสุด 81 ปี) ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 35-60 ปีร้อยละ 87.7 เป็นเพศหญิง ผลตรวจทางโลหิตทางห้องปฏิบัติการพบว่าระดับฮีโมโกลบินค่าต่ำกว่าปรกติร้อยละ 12.2 (95% CI 10.7, 13.6) ระดับฮีมาโตคริตต่ำร้อยละ 9.4 (95% CI 8.1, 10.7) หากพิจารณาภาวะโลหิตจาง (ฮีโมโกลบิน < 10 mg/dl) พบร้อยละ 0.9 ระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (FPG) มีค่าสูงร้อยละ 14.2 (95% CI 12.7, 15.7) ระดับโคเลสเตอรอลสูงร้อยละ 62.4 (95% CI 60.3, 64.5) ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงร้อยละ 9.4 (95% CI 8.1, 10.7) ระดับ LDL-cholesterol สูงร้อยละ 38.7 (95% CI 36.6, 40.8) ระดับ HDL-cholesterol ต่ำร้อยละ 1.1 (95% CI 0.6, 1.6) BUN และ creatinine สูงพบไม่เกินร้อยละ 1ค่า AST, ALT, alkaline phosphatase ผิดปรกติไม่เกินร้อยละ 6 ระดับกรดยูริกในเลือดสูงร้อยละ 17.7 (95% CI 16.0, 19.4) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบความผิดปรกติร้อยละ 12.5 (95% CI 11.1, 13.9) ภาพถ่ายทางรังสีทรวงอกผิดปรกติร้อยละ 7.9 (95% CI 6.7, 9.1) ได้แก่ ความผิดปรกติของหัวใจ ปอด ทรวงอก แต่ไม่พบมะเร็งปอดและวัณโรคปอดระยะเริ่มแรก สรุป: รายการตรวจสุขภาพภายใต้สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่พบความผิดปรกติได้สูง ซึ่งเป็นรายการตรวจที่น่าจะได้ประโยชน์ ได้แก่ ระดับ cholesterol และ LDL-cholesterol รองลงมาเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) กรดยูริกในเลือด และการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อคัดกรองภาวะซีด ส่วนรายการตรวจที่คาดว่าได้ประโยชน์น้อยในการตรวจสุขภาพประจำปีในคนปรกติ (พบความผิดปรกติในระดับต่ำ) ได้แก่ ระดับ BUN, creatinine, ALT, APT และ alkaline phosphatase รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเพื่อค้นหามะเร็งปอดและวัณโรคระยะเริ่มแรก ดังนั้น รายการตรวจสุขภาพในคนปรกติควรพิจารณาประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ อายุ เพศ การประกอบอาชีพ ประวัติครอบครัว ความเสี่ยงต่างๆ เป็นต้นเพื่อนำมาใช้ ปรับรายการตรวจสุขภาพให้เป็นไปอย่างเหมาะสมต่อไป" }
{ "en": "Background: Pelvic varus derotation osteotomy and Dega osteotomy are major orthopedic procedures aim to correct hip subluxation in cerebral palsy patients. These procedures can cause severe postoperative pain which is difficult to manage especially in CP patients who have limited communication ability. Objective: This study aimed to compare the effectiveness between intravenous fentanyl infusion and epidural analgesia for postoperative pain control. Methods: A randomized controlled trial was conducted after institutional ethics committee’s approval. 34 patients were enrolled, all received general anesthesia for pelvic varus derotation osteotomy or Dega osteotomy. Then 17 patients were randomized to intravenous fentanyl infusion group (caudal block with intravenous fentanyl infusion) and 17 patients were randomized to epidural analgesia group (epidural block with continuous epidural infusion). The study drugs were continued for 24 hours postoperatively. Postoperative pain were assessed using the Non-communicative Children’s Pain Checklist Postoperative version. Studied outcomes were: incidence of postoperative pain (NCCPC-PV >10), fentanyl rescue dose, postoperative pain score at PACU, 8, 16, 24 hours and peri-anesthetic complications. Data were analyzed using SPSS version 16.0. Statistics used were Mann–Whitney U-test, Pearson Chi-Square, and Fisher’s Exact Test. P < 0.05 was considered significant. Results: Baseline characteristics were similar in both groups. The overall incidence of postoperative pain was 67% and the incidence of pain was not statistically different in each group (70.6 % in group IV fentanyl VS. 64.7 % in group epidural, p = 0.71.) Mean postoperative pain scores were not different except for 24 hours postoperatively (4 in IV fentanyl group VS. 1 in epidural group, p = 0.032). The most common complication is postoperative nausea and vomiting (29.4% in IV fentanyl group VS. 35.3% in epidural group, p = 0.714). There were no serious complications in both groups in this study. Conclusion: Continuous epidural analgesia and intravenous fentanyl infusion for postoperative pain control in children with cerebral palsy undergo major orthopedic surgery resulted in similar pain control in first 24 hours after surgery.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัด pelvic varus derotation osteotomy (PVDO) และ Dega osteotomy เป็นการผ่าตัดใหญ่ทางศัลยกรรมกระดูก มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาภาวะข้อสะโพกเลื่อนหลุดในผู้ป่วยสมองพิการ การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดที่มีความเจ็บปวดมาก ซึ่งยากในการดูแลรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กสมองพิการซึ่งมีข้อจำกัดการสื่อสาร วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการระงับปวด หลังการผ่าตัดระหว่างวิธี epidural analgesia และ intravenous fentanyl infusion วิธีการ: การทดลองแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 34 ราย ทุกรายได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป เพื่อผ่าตัด PVDO และ Dega osteotomy ตามระเบียบวิธีวิจัยเดียวกัน ผู้ป่วย 17 ราย อยู่ในกลุ่ม intravenous fentanyl infusion (caudal block และ intravenous fentanyl infusion) และอีก 17 ราย อยู่ในกลุ่ม epidural analgesia (epidural block และ continuous epidural infusion) เก็บข้อมูลความปวด 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด โดยใช้ Non-communicative Children’s Pain Checklist Postoperative version (NCCPC-PV) ผลลัพธ์ คือ จำนวนผู้ป่วยที่มีความปวด (NCCPC-PV > 10) ที่ post-anesthesia care unit 8, 16, 24 ชั่วโมง การใช้ fentanyl เพื่อลดอาการปวด, pain score, parent pain scale และภาวะแทรกซ้อนใน 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Mann-Whitney U-Test, Pearson Chi-Square และ Fisher’s Exact Test มีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผล:ข้อมูลพื้นฐานไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม พบอุบัติการณ์ความปวดหลังการผ่าตัดร้อยละ 67 และไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม (ร้อยละ 70.6 ในกลุ่ม IV fentanyl และร้อยละ 64.7 ในกลุ่ม epidural, p = 0.71) pain score ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นที่ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด (4 ในกลุ่ม IV fentanyl และ 1 ในกลุ่ม epidural, p = 0.032) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ ภาวะคลื่นไส้/อาเจียนหลังการผ่าตัด (ร้อยละ 29.4 ในกลุ่ม IV fentanyl และร้อยละ 35.3 ในกลุ่ม epidural, p = 0.714) และไม่มีผู้ป่วยรายใดมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง สรุป: การระงับปวดด้วยวิธี epidural analgesia สำหรับผู้ป่วยเด็กสมองพิการที่มารับการผ่าตัดใหญ่ทางศัลยกรรมกระดูก มีจำนวนผู้ป่วยที่มีความปวด ไม่แตกต่างกับวิธี intravenous fentanyl infusionใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด" }
{ "en": "Background: Primary pontine hemorrhage (PPH) is one of the most common sites of spontaneous intracerebral hemorrhage associated with poor controlled hypertension. An unpredictable prognosis is usually presumed in these cases due to its function as a vital neurological center. Objective: To discover the prognostic indicators in PPH patients in the aspect of age, sex, GCS, hematoma volume, and PPH type in Mahasarakham Hospital. Method: The retrospective study of sixty-seven PPH patients during January 2012 to July 2019 had been conducted; the outcome was divided into two groups based on hospital discharge type, improved and not improved (against advice and dead) group. A Chi-square test was used. Result: The indicators which help to predict good outcomes were the good level of consciousness presenting on admission, hematoma volume", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะเลือดออกบริเวณก้านสมองระดับพอนส์มักจะมีผลการรักษาไม่แน่นอนเนื่องจากมีขนาดเล็กและเป็นศูนย์กลางของระบบประสาทการทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยากรณ์โรคจึงมีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์การรักษา ได้แก่ อายุ เพศ ระดับความรู้สึกตัวแรกรับ ปริมาณของก้อนเลือดและชนิดของเลือดออกในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกบริเวณก้านสมองระดับพอนส์ที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม วิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังระหว่างมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผู้ป่วยจำนวน 67 รายแบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่กลุ่มที่กลับบ้านด้วยสถานะดีขึ้นและไม่ดีขึ้น (ไม่สมัครใจรักษาหรือเสียชีวิต) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square ผล: ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์การรักษาได้แก่ระดับความรู้สึกตัวแรกรับ ปริมาณของก้อนเลือดและชนิดของเลือดออกโดยผู้ป่วยที่มีสถานะดีขึ้นได้แก่กลุ่มที่มีระดับความรู้สึกตัวดีตั้งแต่แรกรับ กลุ่มที่ปริมาณของก้อนเลือดน้อยกว่า 10 มิลลิลิตรและกลุ่มที่มีเลือดออกแบบข้างเดียวขนาดเล็ก ส่วนอายุและเพศไม่มีความสัมพันธ์ต่อการพยากรณ์การรักษา ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันแต่เหตุผลในการกลับบ้านแตกต่างกัน โดยพบผู้ป่วยที่ไม่สมัครใจรักษาตั้งแต่สองวันแรกร้อยละ 63.4 ของผู้ป่วยที่มีสถานะไม่ดีขึ้นทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ก่อนเสียชีวิต การติดตามผลการรักษาระยะสามเดือนพบการฟื้นตัวในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเลือดออกแบบข้างเดียวขนาดเล็กดีกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์การรักษาได้แก่ระดับความรู้สึกตัวแรกรับ ปริมาณของก้อนเลือดและชนิดของเลือดที่ออก" }
{ "en": "Background: Dental dam is essential in dentistry; however, the usage is limited due to its high price and the need to import the product from foreign countries. Objectives: This research studied the feasibility of using the rubber examination gloves instead of normal dental dams. The rubber examination gloves were made from natural rubber latex (natural rubber glove) and nitrile rubber latex (nitrile rubber glove) which routinely used in dental department. Physical properties i.e. thickness, tensile strength, elongation at break and tear strength of dental dam are compared to those of rubber examination gloves.Methods:With using the one way ANOVA at p-value < 0.05 for statistical analysis. Results: It was found that the thickness of dental dam, natural rubber glove and nitrile rubber glove were (0.190 ± 0.005) mm, (0.109 ± 0.003) mm and (0.083 ± 0.004) mm, respectively. Tensile strength values were found to be (41.0 ± 1.9) MPa for dental dam, (28.2 ± 1.6) MPa for nitrile rubber glove and (33.6 ± 7.0) MPa for nitrile glove. Elongation at break values were found to be (858 ± 18) % for dental dam, (748 ± 19) % for natural rubber glove and (516 ± 25) % for nitrile rubber glove. Tear strength values were found to be (31.0 ± 4.6) N/mm for dental dam, (45.1 ± 5.8) N/mm for natural rubber glove and (7.7 ± 1.4) N/mm for nitrile rubber glove. It was found that the three sets of each physical property were significantly differences. Considering the properties needed for dental dam application, although the dental dam possessed the highest tensile properties, these properties of natural rubber glove and nitrile rubber glove were considered high enough for use as the dental dam. In addition, the tear strength property of the natural rubber glove was found to be higher than that of dental dam. Conclusions: It can therefore be concluded that the rubber examination gloves, natural rubber glove in particular, can be used instead of the dental dams.", "th": "ภูมิหลัง: การใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นสิ่งจำเป็นในงานทันตกรรม แต่การใช้งานมีข้อจำกัดและเป็นการเพิ่มต้นทุนในการรักษา เนื่องจากแผ่นยางกันน้ำลายที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นวัสดุสิ้นเปลือง มีราคาสูง วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ถุงมือยางสำหรับตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์จากน้ำยางธรรมชาติ (ถุงมือยางลาเท็กซ์) และถุงมือยางสำหรับตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์จากน้ำยางสังเคราะห์ชนิดไนไทรล์ (ถุงมือยางไนไทรล์) ซึ่งมีใช้เป็นประจำในแผนกทันตกรรม มาใช้ทดแทนแผ่นยางกันน้ำลาย โดยทำการเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ คือ ความหนา ความต้านแรงดึง ความยืดเมื่อขาด และความทนทานต่อการฉีกขาด ของแผ่นยางกันน้ำลาย กับถุงมือยางทางการแพทย์ทั้ง 2 ชนิด วิธีการ: วิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี one-way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ p-value < 0.05 ผล: พบว่า ความหนาของแผ่นยางกันน้ำลายมีค่า (0.190 ± 0.005) mm ถุงมือยางลาเท็กซ์ มีค่า (0.109 ± 0.003) mm และถุงมือยางไนไทรล์ มีค่า (0.083 ± 0.004) mm สมบัติความต้านแรงดึงของแผ่นยางกันน้ำลาย มีค่า (41.0 ± 1.9) MPa ถุงมือยางลาเท็กซ์ มีค่า (28.2 ± 1.6) MPa และถุงมือยางไนไทรล์ มีค่า (33.6 ± 7.0) MPa ความยืดเมื่อขาดของแผ่นยางกันน้ำลาย มีค่า (858 ± 18)% ถุงมือยางลาเท็กซ์ มีค่า (748 ± 19)% และถุงมือยางไนไทรล์ มีค่า (516 ± 25)% ความทนทานต่อการฉีกขาดของแผ่นยางกันน้ำลาย มีค่า (31.0 ± 4.6) N/mm ถุงมือยางลาเท็กซ์ มีค่า (45.1 ± 5.8) N/mm และถุงมือยางไนไทรล์ มีค่า (7.7 ± 1.4) N/mm ข้อมูลผลการทดสอบทุกชุดมีการแจกแจงแบบปกติ พบว่า สมบัติด้านความหนา ความต้านแรงดึง ความยืด และความทนทานต่อการฉีกขาด ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบสมบัติด้านการใช้งานของถุงมือยางทั้งสองชนิดกับแผ่นยางกันน้ำลายพบว่าถึงแม้แผ่นกันน้ำลายจะมีสมบัติความต้านแรงดึงและความยืดสูงกว่าถุงมือยางทั้ง 2 ชนิด แต่ค่าความต้านแรงดึงและความยืดของถุงมือก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากสามารถใช้งานในลักษณะแผ่นกันน้ำลายได้ นอกจากนี้ยังพบว่าถุงมือยางลาเท็กซ์มีสมบัติเด่นกว่าแผ่นกันน้ำลายในเรื่องความทนทานต่อการฉีกขาด สรุป: สามารถนำถุงมือยางทางการแพทย์โดยเฉพาะชนิดที่ทำมาจากยางธรรมชาติมาใช้งานเป็นแผ่นยางกันน้ำลายได้" }
{ "en": "Background: Entrance skin dose (ESD) from conventional diagnostic radiographic examination should be measured for radiation protection to the patient. Objective: To evaluate the ESD in term of Entrance Surface Air Kerma (ESAK) of the patients underwent conventional diagnostic radiography examinations at Prasat Neurological Institute to compare with the diagnostic reference levels (DRLs) of the International Atomic Energy Agency (IAEA) and the previous studies. Methods: The ESAK had been calculated using Dose Area Product (DAP) values and Backscatter factor from totally 100 patients of skull, chest, abdomen, lumbar spine and pelvis radiography. Results: The mean and standard deviation of ESAK were 0.91±0.48 mGy for antero-posterior (AP) skull, 0.70±0.42 mGy for lateral (LAT) skull, 0.08±0.01 mGy for postero-anterior (PA) chest, 0.46±0.21 mGy for AP abdomen, 1.67±0.85 mGy for AP lumbar spine, 3.31±0.80 mGy for LAT lumbar spine and 0.62±0.23 mGy for AP pelvis. The mean ESAK of the patients in this study was statistically significant lower than the mean ESAK of IAEA and comparable references ESAK values published in the literature. The 3rd quartiles of this study also lower than the DRLs of IAEA. Conclusion: Patient skin dose derived from conventional diagnostic radiography examination using exposure parameter settings in our institute was lower than the DRLs.", "th": "ภูมิหลัง: ปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยที่ได้รับจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยควรได้รับการวัดค่าเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ผิวของผู้ป่วยที่มารับการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทั่วไปในสถาบันประสาทวิทยาสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีที่ผิวอ้างอิงของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศและงานวิจัยอื่น ๆ วิธีการ: ทำการคำนวณปริมาณรังสีที่ผิวของผู้ป่วยโดยใช้ค่าผลคูณปริมาณรังสีกับพื้นที่และค่าแก้ปริมาณรังสีกระเจิงกลับของการถ่ายภาพรังสีส่วนกะโหลกศีรษะ ทรวงอก ช่องท้อง กระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกเชิงกรานในผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 100 ราย ผล: ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาณรังสีที่ผิวจากการถ่ายภาพรังสีบริเวณกะโหลกศีรษะ ท่า antero-posterior (AP) เท่ากับ 0.91±0.48 มิลลิเกรย์ ท่า lateral (LAT) เท่ากับ 0.70±0.42 มิลลิเกรย์ ทรวงอกท่า postero-anterior (PA) เท่ากับ 0.08±0.01 มิลลิเกรย์ ช่องท้องท่า AP เท่ากับ 0.46±0.21 มิลลิเกรย์ กระดูกสันหลังส่วนเอวท่า AP เท่ากับ 1.67±0.85 มิลลิเกรย์ ท่า LAT เท่ากับ 3.31±0.80มิลลิเกรย์ และกระดูกเชิงกรานท่า AP เท่ากับ 0.62±0.23 มิลลิเกรย์ ซึ่งค่าทั้งหมดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีที่ผิวของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และพบว่าค่าควอไทล์ที่ 3 ของงานวิจัยนี้ต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีที่ผิวอ้างอิงของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ สรุป: ปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทั่วไปโดยใช้เทคนิคการตั้งค่าเอกซ์โพเชอร์ของสถาบันประสาทวิทยามีค่าต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีที่ผิวอ้างอิง" }
{ "en": "Background: Medical treatment for pediatric patients who had epilepsy could be incomplete due to interrupted visits for antiepileptic prescriptions or coverage restrictions by health insurance schemes. Studies on continuity in the use of antiepileptics as measured by medicine possession ratio (MPR) were scarce. Method: This study was a retrospective data analysis aiming for estimating the MPR of antiepileptics across insurance schemes and determining independent factors associated with variation in the MPR. The study patients were children with epilepsy who visited the study hospital and were prescribed with antiepileptics during 1 January 2012 to 31 December 2017. The mean MPR for each insurance scheme were calculated and analyzed factors associated with the MPR, using a linear regression. Results: On average, the MPR of antiepileptics during six years of the study period was 63.3% (SD, 29.9%). Patients covered by ‘Disability Scheme (DS)’ and those in transition from Universal Coverage Scheme (UCS) to DS had a higher MPR than other schemes. Based on linear regression analysis, patients under the DS had 7.0 percentage (%) point higher in MPR than those under the UCS with cross-zone referrals (p<0.05). Patients receiving the antiepileptics for a duration of five years or above had a higher MPR than those with the window periods between the first and the last antiepileptic prescriptions of up to one year by 27.1% points (p<0.05). Patient’s domicile was not statistically associated with the antiepileptic MPR (p=0.766). Conclusions: Pediatric patients with epilepsy varied with respect to MPR, dependent on health insurance schemes and window periods between the earliest and latest prescriptions of the antiepileptic prescriptions.", "th": "ภูมิหลัง: เด็กโรคลมชักมีความจำเป็นต้องใช้ยาต่อเนื่อง แต่พบว่ายังมีเด็กโรคลมชักที่ไม่ได้รับยาต้านชักต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากยาหมดก่อนมาตรวจตามนัด หรือสิทธิทางการรักษาของผู้ป่วยทำให้เกิดข้อจำกัดของการได้รับยา คือ การรับยากันชักในผู้ป่วยสิทธิบัตรทองแต่ละโรงพยาบาลมีข้อจำกัด ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับยาจำนวนจำกัด แต่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องอัตราการครอบครองยา (medicine possession ratio, MPR) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยได้รับยามากน้อยเพียงพอต่อการรักษาหรือไม่ วัตถุประสงค์: เพื่อประมาณการอัตราการครอบครองยาต้านการชักโดยเปรียบเทียบระหว่างสิทธิการรักษาพยาบาล วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนหลัง และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผันแปรของอัตราการครอบครองยา ผู้ป่วยที่ศึกษาคือเด็กโรคลมชักที่มาใช้บริการและได้รับการสั่งใช้ยาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (72 เดือน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ยของอัตราการครอบครองยาสำหรับแต่ละสิทธิการรักษา และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราการครอบครองยาโดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรง (linear regression) ผล: โดยเฉลี่ยอัตราการครอบครองยาสำหรับยาต้านการชักโดยรวมในช่วงเวลา 6 ปีที่ศึกษาคิดเป็นร้อยละ 63.3 (SD,29.9%) เด็กโรคลมชักสิทธิบัตรพิการ และเด็กโรคลมชักที่มีการเปลี่ยนสิทธิจากบัตรทองเป็นบัตรผู้พิการ มีอัตราการครอบครองยาต้านชักโดยเฉลี่ยสูงกว่าสิทธิการรักษาอื่น ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ความเกี่ยวข้องกับอัตราการครอบครองยาต้านชักด้วยสมการถดถอยเชิงเส้น พบว่า เด็กโรคลมชักสิทธิบัตรพิการมีอัตราการครอบครองยาต้านชักมากกว่าเด็กโรคลมชักสิทธิบัตรทองส่งตัวนอกเขตรับยาด้วยตนเองโดยเฉลี่ย 7.0 จุด (%point) (p<0.05) และเด็กโรคลมชักที่มารับยามากกว่า 5 ปี อัตราการครอบครองยาต้านชักมากกว่าเด็กโรคลมชักที่มารับยาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปีโดยเฉลี่ย 27.1 (%point) (p<0.05) ขณะเดียวกันปัจจัยเรื่องภูมิลำเนาไม่มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการครอบครองยาต้านชัก (p=0.766) สรุป: เด็กโรคลมชักแต่ละสิทธิการรักษามีอัตราครอบครองยาต้านชักแตกต่างกัน ขึ้นกับสิทธิการรักษาและระยะเวลาในการใช้ยาเป็นสำคัญ" }
{ "en": "Background: The gingival zenith is an essential clinical parameter to consider during esthetic dental treatment. Objective: To estimate the gingival zenith position (GZP) and gingival zenith level (GZL) of maxillary anterior teeth and premolar in adults with normal gingiva.Methods: Sixty healthy volunteers age range of 18-35 years were enrolled. All participants were taken an impression on the upper arch with alginate and pour with Velmix die stone. Indirect measurements on study casts performed by calibrated digital. The GZP of central incisor, lateral incisor, canine, first and second premolar were measured in a medial-lateral direction from the vertical bisecting midline (VBM). The GZL of the lateral incisor was measured in an apical-coronal direction related to the line joining the tangents of the GZP of the ipsilateral central incisor and canine. While the GZL of first and second premolar were recorded by referencing with the perpendicular line to VBM of the ipsilateral canine. Result:The mean of GZP from 120 teeth per each tooth group in the upper central incisors, lateral incisors, canine, first and second premolars were distally from VBM at 0.41 ± 0.24, 0.22 ± 0.22, 0.13 ± 0.23, 0.18 ± 0.17 and 0.17 ± 0.16 mm, respectively. The mean distance of the GZL for the lateral incisors was 0.60 ± 0.28 mm, in the first premolar and the second premolar were 1.04 ± 0.41 and 1.56 ± 0.59 mm. Conclusion: This study demonstrated that themesio-distal positions of gingival zenith on maxillary anterior and premolar teeth were distal to VBM around 0.2-0.5 mm, except canine, which GZP were approximately at VBM. The GZL of the lateral incisors were coronal about 0.5 mm, and the level of the gingival zenith of premolars was coronal approximately 1-2 mm to the perpendicular line of VBM of adjacent canine.", "th": "ภูมิหลัง: จิงไจวอลซีนิท (gingival zenith) หรือ จุดสูงสุดในแนวโค้งบนขอบเหงือกอิสระ เป็นตัวแปรทางคลินิกที่มีความสำคัญ ด้านความสวยงามกับการรักษาทางทันตกรรม วัตถุประสงค์: เพื่อหาตำแหน่งจิงไจวอลซีนิท (gingival zenith position; GZP) และระดับจิงไจวอลซีนิท (gingival zenith level; GZL) ของฟันหน้าบนและฟันกรามน้อยบน ในผู้ใหญ่ สุขภาพเหงือกปกติ วิธีการ: พิมพ์ปากอาสาสมัครอายุ 18-35 ปี จำนวน 60 ราย เพื่อทำแบบจำลองฟันในขากรรไกรบน วัดค่า GZP และ GZL โดยใช้ดิจิตอลเวอเนียร์-คาลิปเปอร์ ผล: พบค่า GZP จากจำนวนฟันที่ศึกษาชนิดละ 120 ซี่ ในฟันตัดบนซี่กลาง ฟันตัดบนซี่ข้าง ฟันเขี้ยวบน ฟันกรามน้อยบนซี่ที่หนึ่ง และฟันกรามน้อยบนซี่ที่สอง อยู่ค่อนไปทางด้านไกลกลางจาก VBM เท่ากับ 0.41 ± 0.24, 0.22 ± 0.22, 0.13 ± 0.23, 0.18 ± 0.17 และ 0.17 ± 0.16 มิลลิเมตร GZL ในฟันตัดบนซี่ข้าง เท่ากับ 0.60 ± 0.28 มิลลิเมตร ค่อนไปทางด้านตัวฟัน และ GZL ในฟันกรามน้อยบนซี่ที่หนึ่งและฟันกรามน้อยบนซี่ที่สอง เท่ากับ 1.04 ± 0.41 และ 1.56 ± 0.59 มิลลิเมตร ค่อนไปทางด้านตัวฟัน เมื่อเทียบกับเส้นอ้างอิง สรุป: จากการศึกษานี้ พบ GZP ของฟันหน้าบนและฟันกรามน้อยบนอยู่ค่อนไปด้านไกลกลางจาก VBM เป็นระยะ 0.2-0.5 มิลลิเมตร GZP ของฟันเขี้ยวบนอยู่ตรงกันกับ VBM GZL ในฟันตัดบนซี่ข้าง อยู่ค่อนไปทางด้านตัวฟันประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และ GZL ในฟันกรามน้อยบน อยู่ค่อนไปทางด้านตัวฟันประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร" }
{ "en": "Background: Cancer patients often present with chronic pain, loss of appetite and insomnia. As the physiologic and metabolic derangement caused by abnormal metabolites or direct tumor invasion. It can be a challenge to ensure good quality of life at the end of life and a peaceful death. The discovery of endocannabinoids system (ECS) and their physiologic roles in past several decades especially the cancer treatment potential has spotlighted to the public and medical interest. The first legally medical cannabis amnesty bill had been proposed in Thailand and the Government Pharmaceutical Organization (GPO) launched the pharmaceutical grade of medical cannabis. However, there was no evidence of safety and standard effective dose for the cancer patients. Objective: To study the safety and efficacy of the first legalized medical cannabis used in Thailand. Method: The study was an experimental study. Fourteen of stage IV cancer patients were recruited and gradually titrated with balance THC and CBD 1 to 4 mg/day sublingually as in-patient at National Cancer Institute. All patients were followed up for three months. Results: One of fourteen patients (7%) had transient hallucinations on the 3rd day of treatment and symptoms disappeared after discontinuing medical cannabis. Seven of 14 cases (50%) who complained of moderate to severe pain had improved pain score, and four of these cases had no opioids throughout the course. All 12 patients (100%) with insomnia had sleep improvement, and ten of twelve patients (83.33%) had better appetites. Conclusions: Small dose of medical cannabis uses had no serious side effect and trended to benefit palliative care. The larger randomized control trial should be further investigated to elucidate this hypothesis.", "th": "ภูมิหลัง: อาการปวดเรื้อรัง น้ำหนักลด และอาการนอนไม่หลับเป็นอาการที่มักพบในผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากความผิดปกติของสารเมแทบอไลต์และเนื้องอกที่เจริญเติบโตโดยตรงเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียง ก่อให้เกิดผลกระทบทางสรีรวิทยาและระบบการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งการรักษาและดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิตและจากไปอย่างสงบถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง การค้นพบระบบเอนโด-แคนนาบินอยด์ (endocannabinoid system; ECS) ที่เป็นระบบทางสรีรวิทยาที่รักษาความสมดุลและควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นที่สนใจในวงการแพทย์ด้านศักยภาพการรักษาโรคมะเร็ง สำหรับประเทศไทยได้มีการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมกัญชาทางการแพทย์ฉบับแรก และองค์การเภสัชกรรม (GPO) ได้มีการผลิตสารสกัดน้ำมันกัญชามาตรฐานทางการแพทย์ขึ้นมา อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานความปลอดภัยและปริมาณที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ชนิด THC:CBD (1:1) ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายของประเทศไทย วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (experimental study) ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การศึกษาจำนวน 14 ราย ได้รับสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ THC:CBD (1:1) ด้วยการหยดใต้ลิ้นในขนาดเริ่มต้น 1 มิลลิกรัมต่อวัน และปรับเพิ่มขนาดช้าๆ จนได้ขนาดที่เหมาะสม (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อวัน) เก็บข้อมูลผลการรักษาผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยในของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และติดตามผลการรักษาในช่วงเวลา 3 เดือน ผล: ผู้ป่วยร้อยละ 7 มีอาการหูแว่วประสาทหลอนในวันที่ 3 ของการรักษา และอาการข้างเคียงดังกล่าวหายไปเมื่อหยุดใช้สารสกัดกัญชา ผู้ป่วยร้อยละ 50 ที่มีระดับความปวดปานกลางถึงรุนแรงมีอาการปวดลดลง โดยผู้ป่วยจำนวน 4 รายไม่มีการใช้ยาบรรเทาปวดในกลุ่ม opioids ในช่วงที่ศึกษา ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับก่อนการศึกษาร้อยละ 85.71 มีการนอนหลับดีขึ้นทั้งหมด (ร้อยละ 100) และผู้ป่วยร้อยละ 83.33 มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น สรุป: การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ THC:CBD (1:1) ในขนาดที่ต่ำ 1-3 มิลลิกรัมต่อวัน มีความปลอดภัยเพียงพอในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง ทั้งนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิผลของการใช้สารสกัดกัญชาในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและวิจัยแบบ randomized controlled trial (RCT)" }
{ "en": "Generally management of buccal exostosis and torus mandibularis is periodic monitoring. Surgical removal is indicated only when their sizes have negatively impacted periodontium, esthetics, interfered with mastication, speech or prosthesis, induced ulcer and impaired healing. Surgical removal may also be considered in a case where bone graft is required on other sites. 72 year old patient who had recieved a preprosthetic surgical removal of left maxillary buccal exostosis and lower left and right torus mandibularis was reported. Maxillary buccal exostosis was “removed” via wedge-shaped mid alveolar ridge bone removal and compression of cortical plate to achieve desirable alveolar ridge shape. This was done instead of direct torus removal to preserve cortical bone and minimize the risk of further bone resorption. Upper single denture and lower removable partial denture were made after surgery. Patient was comfortably wearing the dentures. One-year follow up showed that there was minimal bone loss, dentures had good retention and functioning well.", "th": "การจัดการปุ่มกระดูกบริเวณด้านในของขากรรไกรล่างและปุ่มกระดูกบริเวณด้านนอกของขากรรไกร โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพียงเฝ้าระวังด้วยการตรวจประจำปี พิจารณารักษาโดยการผ่าตัดเอาออกเมื่อมีขนาดใหญ่จนมีผลต่อสุขภาพอวัยวะปริทันต์ มีปัญหาต่อการกินอาหารการพูด เกิดเป็นแผลง่ายและแผลหายช้า ขัดขวางต่อการใส่ฟันเทียม มีผลต่อความสวยงาม หรือต้องการใช้ปุ่มกระดูกเหล่านี้สำหรับการปลูกกระดูกในตำแหน่งอื่นให้ตนเอง รายงานผู้ป่วยอายุ 72 ปี ได้รับการรักษาผ่าตัดเอาปุ่มกระดูกด้านนอกของขากรรไกรบนด้านซ้ายและปุ่มกระดูกด้านลิ้นในขากรรไกรล่างทั้งสองข้างออกเนื่องจากปุ่มกระดูกขัดขวางต่อการใส่ฟันเทียม การผ่าตัดปุ่มกระดูกบริเวณด้านนอกของขากรรไกรบน เลือกวิธีการกรอตัดกระดูกบริเวณตรงกลางสันเหงือกออกในลักษณะรูปลิ่มแล้วกดกระดูกทึบด้านนอกเข้ามาแทนการกรอที่กระดูกทึบออกโดยตรง เพื่อเก็บรักษาส่วนของกระดูกทึบไว้ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการละลายของกระดูกในภายหลัง ภายหลังการผ่าตัดจึงทำฟันเทียมทั้งปากในฟันบนและฟันเทียมถอดได้โครงโลหะในขากรรไกรล่าง หลังการใส่ฟันเทียมผู้ป่วยสามารถใช้ฟันเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการติดตามผลการรักษา 1 ปี แสดงให้เห็นกระดูกบริเวณที่ผ่าตัดมีการละลายตัวเพียงเล็กน้อย ฟันเทียมยังคงมีการยึดอยู่ที่ดีผู้ป่วยสามารถใช้ฟันเทียมเคี้ยวอาหารได้ดี" }
{ "en": "We reported a case of a 3-month-old baby diagnosed with the constriction ring syndrome at right wrist and both ankles. He was scheduled for a Z-plasty operation at both ankles and a tendo-achilles lengtheningat right leg. General anesthetic with endotracheal tube combined with caudal block was planned. After caudal block, there was an episode of hypotension and ventricular tachycardia. The local anesthetic systemic toxicity was diagnosed. Treatment consisted of intravenous administration of 1.5 ml/kg of 20% lipid emulsion with chest compression according to pediatric advanced life support (PALS) guidelines. Defibrillator was prepared but the cardiac rhythm returned to normal sinus rhythm immediately after the lipid emulsion administration without defibrillation. Then the cardiovascular status was normal. The surgeon proceeded with the planned operation. After the operation, the patient was extubated and observed in intensive care unit for 24 hours. There was no postoperative complication and the patient was discharged from the hospital uneventfully.", "th": "รายงานผู้ป่วยเด็กชายไทย อายุ 3 เดือน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค constriction ring syndrome ที่บริเวณข้อมือขวาและข้อเท้าทั้งสองข้าง เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่ข้อเท้าทั้งสองข้างร่วมกับการผ่าตัดยืดเส้นเอ็นร้อยหวายที่ขาขวา ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปโดยใส่ท่อช่วยหายใจร่วมกับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วยวิธี caudal block หลังจากบริหารยาชาเฉพาะที่พบว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิด ventricular tachycardia ร่วมกับภาวะความดันโลหิตต่ำ จึงให้การวินิจฉัยว่าเกิดภาวะเป็นพิษจากยาชา ผู้ป่วยได้รับรักษาโดยการให้ 20%lipid emulsion ขนาด 1.5 มิลลิตรต่อกิโลกรัมทางหลอดเลือดดำร่วมกับการนวดหัวใจตามแนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก หลังจากนั้นพบว่าระบบหัวใจและหลอดเลือดกลับสู่ภาวะปกติ จึงได้ทำการผ่าตัดต่อจนเสร็จ สามารถถอดท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยตื่นดี หายใจปกติ และได้รับการดูแลหลังระงับความรู้สึกในหอผู้ป่วยวิกฤตเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ไม่พบมีภาวะแทรกซ้อนใดและผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายกลับบ้านในเวลาต่อมา" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "A cost-effectiveness analysis of abnormal uterine bleeding (AUB) treatments in comparison of hysteroscopic diagnosis and resection and dilatation and curettage (D&C) aims to study the clinical results and assessed the cost effectiveness of abnormal uterine bleeding (AUB) treatments in comparison of hysteroscopic diagnosis and resection and dilatation and curettage (D&C) at Rajavithi Hospital. The research was conducted among Rajavithi Hospital’s patients during January 1st, 2016 to December 31st, 2016 using Decision Tree model which based on the societal perspective. The results showed that the effectiveness of treatment when followed up at 24 weeks in the group that received dilatation and curettage with no recurrent bleeding was 88.1% meanwhile another group which underwent hysteroscopic diagnosis and resection was 97.7 % (p-value = 0.11). The average cost of dilatation and curettage was higher than that of the hysteroscopic diagnosis and resection equal 329.83 baht. The incremental cost-effectiveness ratio (ICER) of dilatation and curettage compared to hysteroscopic diagnosis and resection was 3,389.83 baht per no recurrent bleeding. Therefore, the conclusion of the study was that hysteroscopic diagnosis and resection providing effectiveness in the treatment of abnormal uterine bleeding not different from D&C in terms of recurrent bleeding. Compared with D&C, hysteroscopic diagnosis and resection was better in some aspects such as more précised and specific, moreover, lower cost of treatment in societal perspective.", "th": "การศึกษาความคุ้มค่าในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดเปรียบเทียบระหว่างการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อการวินิจฉัยและผ่าตัดแบบไม่ยุ่งยากซับซ้อนกับการขูดมดลูกมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดเปรียบเทียบระหว่างการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อการวินิจฉัยและการผ่าตัดที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนกับการขูดมดลูก และวิเคราะห์ต้นทุน- ประสิทธิผลของการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกและการขูดมดลูกใช้ข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ณ โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประเมินความคุ้มค่าโดยใช้แบบจำลอง Decision tree จากมุมมองทางสังคม ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิผลของการรักษาเมื่อติดตามอาการที่ 24 สัปดาห์ ในกลุ่มที่รับการขูดมดลูก การหาย (ไม่มีเลือดออกหรือกลับเป็นซ้ำ) เท่ากับ ร้อยละ 88.1 ส่วนการหายของกลุ่มที่รับการส่องกล้องตรวจ โพรงมดลูกเท่ากับร้อยละ 97.7 (p-value =0.11) ส่วนต้นทุน การขูดมดลูกมีต้นทุนมุมมองทางสังคมเฉลี่ยสูงกว่าการรักษา โดยการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก อยู่ 329.83 บาท และเมื่อพิจารณาค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มจากการขูดมดลูกเปรียบเทียบกับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก มีค่า 3,389.83 บาทต่อการไม่มีเลือดออกกลับเป็นซ้ำ ดังนั้น สรุปผลการศึกษาพบว่า การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกให้ประสิทธิผลการรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดไม่แตกต่างจากการขูดมดลูกในแง่มีการเลือดออกกลับเป็นซ้ำ เมื่อเทียบกับการขูดมดลูกแล้วพบว่า การรักษาโดยการส่องกล้องดีกว่าในด้านผลการรักษาที่แม่นยำ และตรงสาเหตุมากกว่า รวมทั้งมีต้นทุนการรักษาในมุมมองทางสังคมต่ำกว่า" }
{ "en": "Background: The treatment of intracerebral hemorrhage (ICH) is a medical emergency. Surgery has been found to be an effective form of medical treatment. Appropriate medical treatments including hyperosmolar solutions are essential for satisfactory outcomes. Objective: This systematic review was conducted to review state-of-the-art hyperosmolar solutions for the treatment of brain edema in patients with ICH. Methods: A systematic review was performed in accordance with established standards for systematic reviews following meta-analyses guidelines. Trials were identified by electronic searches using Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE via Pubmed and Science direct. The primary outcomes measured focused on mortality rate, clinical outcomes and quality of life. Secondary outcomes included intracranial pressure (ICP), Glasgow coma scale (GCS), length of stay in an intensive care unit and adverse effects. Results: Five studies comprising 225 patients were included in the review. Hyperosmolar solutions found in the included studies were hypertonic saline and mannitol. Their protocols were various, especially the formulation and dose of the solutions. No statistically significant differences were identified in terms of mortality rate, quality of life, ICP, GCS, length of stay in an intensive care unit or adverse effects between mannitol groups and hypertonic saline solution group. No study reported clinical outcomes. Conclusions: Current evidence indicates that the effects of hyperosmolar solutions including mannitol and hypertonic saline on mortality rate, quality of life, ICP, GCS and length of stay in an intensive care unit remain undefined.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะเลือดออกในสมองถึอเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง และหากร่วมกับการรักษาทางยาที่เหมาะสมย่อมเสริมให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น วัตถุประสงค์: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อ ศึกษาการใช้สารละลาย hyperosmolar ในการรักษาภาวะสมองบวมในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง วิธีการ: ทบทวนวรรณกรรมตาม แนวปฏิบัติมาตรฐาน โดยสืบค้นรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษจากฐานข้อมูล Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE ผ่าน Pubmed และ Science direct เพื่อคัดเลือกรายงานวิจัยที่มีผลลัพธ์หลักคือ อัตราการตาย ผลลัพธ์ทางคลินิก และคุณภาพชีวิต รวมถึงผลลัพท์รองคือ ความดันในกะโหลกศีรษะ Glasgow coma scale (GCS) จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤติ และผลไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยสารน้ำ hyperosmolar ผล: พบว่ามีรายงานวิจัยเข้าเงื่อนไขในการทบทวนวรรณกรรม จำนวน 5 รายงาน จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งหมด 225 ราย โดยสารน้ำ hyperosmolar ที่ใช้รักษาคือ mannitol และ hypertonic saline แต่ เนื่องจากข้อกำหนดในรายงานวิจัยแต่ละรายงานแตกต่างกัน รวมถึงสารน้ำ hyperosmolar ที่ใช้ก็แตกต่างกันด้วย จากการวเิ คราะห์ พบว่าไม่ว่าจะใช้ mannitol หรือ hypertonicsaline ในการรักษาภาวะสมองบวมในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง ผลลัพธ์ด้านอัตราการตาย คุณภาพชีวิต ความดันในกะโหลกศีรษะ Glasgow coma scale (GCS) จำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤติ และผลไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยสารน้ำ hyperosmolar ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผลลัพธ์ทางคลินิก ไม่พบรายงานวิจัยใดรายงานผลในเรื่องนี้ สรุป: จากข้อมูลหลักฐานในปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสารน้ำ hyperosmolar ชนิดใดสามารถลดอัตราการตาย รวมถึงเพิ่มคุณภาพ ชีวิต ลดความดันในกะโหลกศีรษะ GCS และลดจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤติได้ดีที่สุด" }
{ "en": "Background: Necrotizing Enterocolitis (NEC) remains a major cause of neonatal deaths worldwide. The morbidity and medical cost of these patients are still high. Objectives: The purpose of this study is to determine the overall mortality of surgical NEC, prognostic factors affecting mortality and to review the outcome of surgical NEC. Methods: Retrospective descriptive study of patients with the diagnosis of NEC at Queen Sirikit National Institute of Child Health (QSNICH) between 2011 and 2016 was conducted. Only the patients who had undergone surgical interventions (surgical NEC) were included into the study. The patients who received previous surgery from other hospitals were excluded. Data collection including patient demographics, clinical, laboratory and radiographic findings, surgical interventions, operative findings, complicationsand outcome were obtained. Statistical significance for all was defined as p-value less than 0.05. The significant prognostic factors were calculated for risk difference and number needed to harm. Results: Total of 40 newborns with surgicalNEC were enrolled into the study. The mortality rate was 30%. There were 7 prognostic factors which effect mortality, extremely preterm (GA1.5), extremely low birth weight (BW<1,000gm), anemia (Hct<30%), umbilical catheter insertion, and thrombocytopenia (platelet <50,000/mm3), respectively. The factors affecting the mortality rate were extremely preterm (GA", "th": "ภูมิหลัง: โรคลำไส้อักเสบรุนแรง (Necrotizing enterocolitis/NEC) เป็นหนึ่งในโรคที่สำคัญของทารกแรกเกิดเนื่องจากอัตราตายสูง สามารถเกิดภาวะทุพลภาพตามหลังการเกิดโรคได้และยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงอีกด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราตาย ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราตาย ภาวะแทรกซ้อนและผลการรักษาในระยะยาวของโรคลำไส้อักเสบรุนแรงที่ได้รับการผ่าตัดในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วิธีการ: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบรุนแรงและได้รับการผ่าตัดใน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีระหว่าง พ.ศ.2554 ถึง พ.ศ. 2559 ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจากโรงพยาบาลอื่นมาก่อนถูกตัดออก จากการศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยใบรายงานผลทางรังสีวิทยา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ใบรายงานการผ่าตัด ใบรายงานผลพยาธิวิทยา และนำข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางคลินิก ลักษณะของภาพรังสี การผ่าตัด ปัจจัยที่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติจะนำ มาคำนวณต่อเพื่อหาขนาดของความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสถิติ Relative risk และ Number needed to harm ผล: ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ ที่ได้รับการผ่าตัดเข้าร่วมในการศึกษาทั้งหมด 40 ราย มีอัตราเสียชีวิต 30% พบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตมีทั้งหมด 7 ปัจจัย ดังนี้ อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ความดันโลหิตต่ำ ค่าการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (INR>1.5) น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 1,000 กรัม ภาวะซีด (ความเข้มข้นเลือด<30%) การได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสายสะดือ และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (<50,000/mm3) เรียงตามลำดับผลการรักษาในระยะยาวของผู้ป่วยที่รอดชีวิตทั้งหมด 28 ราย มีภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ ภาวะติดเชื้อร้อยละ 53.6 ภาวะแทรกซ้อนทางลำไส้ร้อยละ 50 ภาวะน้ำดีคั่งในตับร้อยละ 28.57 และยังพบภาวะลำไส้อักเสบรุนแรงเกิดซ้ำร้อยละ 21 โดยมีอัตรา ตายร้อยละ 33 ซึ่งใกล้เคียงกับการเกิดโรคครั้งแรก นอกจากนี้ยังพบร้อยละ 7 ของผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีภาวะลำไส้ตีบตันภายหลังการเป็น โรคลำไส้อักเสบรุนแรง โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด สรุป: ผลการรักษาของโรคลำไส้อักเสบรุนแรงในทารกแรกเกิดในปัจจุบันของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมา โดยมีอัตรารอดชีวิตร้อยละ 70 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราตายมากที่สุดคือ อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์และความดันโลหิตต่ำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยก่อน ผ่าตัดแพทย์ผู้รักษาจึงสามารถให้การรักษาอย่างรวดเร็วและครบถ้วนตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยลำไส้อักเสบรุนแรง อาจช่วยลดอัตราตายของ ผู้ป่วยลงได้ในอนาคต" }
{ "en": "Background: Alcohol withdrawal delirium is a serious and fatal condition. Understanding the risk factors for this condition can provide appropriate care and prevention. Objective: To determine the risk factors for alcohol withdrawal delirium in alcohol dependents of Thanyarak Maehongson Hospital. Method: This study is a case-control study. The sample consisted of alcohol dependents treated at Thanyarak Maehongson Hospital between October 2016 and September 2018. One hundred alcohol dependents were simply randomized selected and then simply randomized into two groups, one with alcohol withdrawal delirium and the other one without alcohol withdrawal delirium. Results: The 100 patients diagnosed with alcohol dependences were divided into two groups, 50 patients (50%) without alcohol withdrawal delirium and 50 patients (50%) with alcohol withdrawal delirium. The risk factors for alcohol withdrawal delirium are history of other drugs use (Adjusted odd ratio [AOR] = 2.732, 95% CI = 1.118- 6.667), respiratory rate > 20 times per minute (AOR = 4.319, 95% CI = 1.069-17.458), creatinine levels < 0.67 mg/dL (AOR = 4.151, 95% CI = 1.740-9.899), and the SGOT ≥ 150 UL (AOR = 4.573, 95% CI = 1.780-11.752). Conclusion: From this study, it was found that the risk factors for alcohol withdrawal delirium included history of other drugs use, respiration rate at admission, serum creatinine and SGOT enzyme level.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะ delirium จากการขาดสุรา (alcohol withdrawal delirium) เป็นภาวะที่รุนแรงและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การเข้าใจปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้จะทำให้สามารถให้การดูแลและป้องกันได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ delirium จากการขาดสุราในผู้ป่วยติดสุราของโรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ case – control study ในกลุ่มผู้ป่วยติดสุราที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอนระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือน กันยายน 2561 ในระยะเวลาดังกล่าวผู้วิจัยได้สุ่มเลือกผู้ป่วยติดสุราผู้ป่วยจำนวน 100 ราย จากนั้นได้สุ่มอย่างง่ายจำแนกการเก็บข้อมูลเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่เกิด alcohol withdrawal delirium และกลุ่มที่ไม่เกิด alcohol withdrawal delirium ผล: ผู้ป่วยติดสุราจำนวน 100 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่เกิด alcohol withdrawal delirium จำนวน 50 ราย (ร้อยละ 50) และกลุ่มที่ไม่เกิด alcohol withdrawal delirium จำนวน 50 ราย (ร้อยละ 50) พบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด alcohol withdrawal delirium ดังนี้ ประวัติการใช้สารเสพติดอื่น (Adjusted odd ratio [AOR] = 2.732, 95% CI =1.118-6.667) อัตราการหายใจมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที (AOR = 4.319, 95% CI =1.069-17.458) ระดับครีเอทินีนต่ำกว่า 0.67 mg/dL (AOR = 4.151, 95% CI =1.740-9.899) และมีระดับ SGOT เท่ากับหรือสูงกว่า 150 UL (AOR = 4.573, 95% CI =1.780-11.752) สรุป : จากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิด alcohol withdrawal delirium ได้แก่ ประวัติการใช้สารเสพติดชนิดอื่น อัตราการหายใจแรกรับระดับครีเอทินีน และระดับของ SGOT" }
{ "en": "Background: Congenital Diaphragmatic hernia can be treated by Thoracoscopic repair (TR) or Opened repair (OR). Although there’s unclear which technique has better outcome. Objectives: Our primary objective aims to compare outcome in the recurrent rate and mortality rate of TR and OR. The secondary outcome were arterial oxygen, carbon dioxide & pH and the operative time. Method: A systematic literature search was performed through three databases (MEDLINE, PubMED and CLINICALKEY) for studies published from January 1995 until January 2019. The comparison retrospectively studies between TR versus OR were included. Results: Fifthteen observational studies, comparing TR and OR, met the criteria and showed the higher recurrence after TR (Relative risk 2.43, 95% Confidence Interval 1.12 - 5.31, p-value = 0.03) but subgroup analysis in defect size’s studies (Primary and Patch repair) were not statistical significance (Relative risk 1.32 and 95% Confidence Interval 0.20 - 8.62). The mortality rate was lower for TR (TR – 2.09% and OR 17.05%, Relative risk 0.18, 95% Confidence Interval 0.08-0.37, p-value <0.0001). The secondary outcome in arterial oxygen & carbon dioxide, pH were not different but the operative time for TR was longer than OR (Mean Difference 47.99, 95% CI 4.03-15.03, p < 0.0001) and the operative time had the downward trend. Conclusion: Thoracoscoppic repair was the safe technique, during intra operation and had the good outcome because there was no difference in recurrence, better cosmetic, small incision and rapid recovery.", "th": "ภูมิหลัง : โรคไส้เลื่อนกระบังลม (Congenital Diaphragmatic Hernia) เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ด้วยการ ผ่าตัดส่องกล้อง (Thoracoscopic repair: TR) หรือการผ่าตัดแบบเปิด (Opened repair: OR) ซึ่งยังไม่มีผลการรักษาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนอย่างเป็นระบบในผลการศึกษาหลักในการเกิดเป็นซ้ำ อัตราการรอดชีวิตและผลการศึกษารองระดับของออกซิเจนในเลือด คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ความเป็นกรด-ด่างในเลือด และระยะเวลาการผ่าตัดของการผ่าตัดแบบเปิด เปรียบเทียบกับการผ่าตัดส่องกล้อง วิธีการ : โดยการทบทวนอย่างเป็นระบบ จากการศึกษาจากฐานข้อมูล MEDLINE, PubMED และ CLINICALKEY จาก มกราคม พ.ศ. 2538 - มกราคม พ.ศ. 2562 ผล : การศึกษาแบบย้อนหลังทั้งหมด 15 การศึกษาพบอัตราการเกิดซ้ำ ในการผ่าตัดส่องกล้องที่สูงกว่า ที่ Relative risk 2.43 เท่าและ 95% Confidence Interval 1.12 - 5.31 ที่ p-value = 0.03 แต่เมื่อ สังเคราะห์กลุ่มย่อย (Subgroupanalysis) ที่เปรียบเทียบเฉพาะในการศึกษาถึงขนาดช่องโหว่ในกลุ่มที่สามารถเย็บซ่อมได้ (Primary repair) และใช้วัสดุเทียม (Path repair) กลับไม่แตกต่างกัน (Relative risk 1.32 เท่าและ 95% Confidence Interval 0.20 - 8.62) และอัตราการเสียชีวิต (Mortality rate) ของการผ่าตัดส่องกล้องที่น้อยกว่าที่ Relative risk 0.18 เท่าและ 95% Confidence Interval 0.08-0.37ที่ p-value" }
{ "en": "Background: Hemorrhoidal disease is one of the most common anorectal diseases and surgical hemorrhoidectomy, it remains one of the most common operations in general surgery for patients with internal hemorrhoid grade 3 and 4. Milligan-Morgan and Ferguson described the conventional hemorrhoidectomy since about 70 years ago. In the last decade, many studies show that Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy seems to be very effective treatment and results in better surgical outcomes when compared with the conventional hemorrhoidectomy. Objective: This study aims to compare the outcome of haemorrhoidectomy done by Vessel-Sealing Devices technique with conventional Ferguson technique. Methods: This retrospective study was done at Samut Prakan Hospital over a period from 1 July 2016 to 31 December 2018 on the basis of: It included 90 adult patients with 3rd and 4th degree hemorrhoids divided into 2 groups: Group one (53 patients) underwent Conventional Ferguson hemorrhoidectomy. Group two (37 patients) underwent Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy. The outcomes of two groups were compared using the Chi-square test and Fisher’s exact test. A p-value less than 0.05 was considered statistically significant. Results: The results of the operations by using between Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy and Conventional Ferguson hemorrhoidectomy, there were statistically significant difference in terms of operative time (8.0 ± 5.0 minutes and 20.6 ± 12.5 minutes; p<0.001), intraoperative blood los s(2.7 ± 1.3 milliliters and 11.6 ± 4.0 milliliters; p<0.001) , pain score at post operative 1st day (3.6 ± 1.2 and 6.3 ± 1.3; p<0.001) and 2nd day (2.0 ± 1.1 and 4.1 ± 1.1; p<0.001), length of hospital stay (1.2 ± 0.6 days and 2.3 ± 2.2 days; p = 0.003), dose of NSAIDs used (3.0 ± 0.8 dose and 5.0 ± 2.1 dose; p <0.001), and wound healing time (3.3 ± 0.6 weeks and 5.6 ± 1.0 weeks 0; p<0.001). But post operative complication and hospital cost were not statistically significant different between two groups. Conclusion: Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy is better than Conventional Ferguson hemorrhoidectomy in terms of less operative time, less post-operative pain, less intraoperative blood loss, length of hospital stay, less post-operative analgesics and earlier wound healing.", "th": "ภูมิหลัง: ริดสีดวงทวารพบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่งของโรคบริเวณปากทวาร และการผ่าตัดริดสีดวงทวารก็ทำบ่อยโดยศัลยแพทย์ในริดสีดวงทวารระดับ 3 และ 4 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 70 ปีที่ ผ่านมาใช้การผ่าตัดแบบ Conventional hemorrhoidectomy (Milligan-Morgan หรือ Ferguson) ในศตวรรษที่ผ่านมามีหลายการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงการใช้เครื่องมือผ่าตัดพัฒนามาเป็น Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy ซึ่งให้ผลลัพธ์ดีกว่าในหลายๆ ด้าน วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การผ่าตัดริดสีดวงทวารด้วย Vessel-Sealing Devices กับการผ่าตัด แบบดั้งเดิม (Ferguson) ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ วิธีการ: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นริดสีดวงทวารระดับ 3 และ 4 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2561 โดยจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 90 ราย กลุ่มแรก จำนวน 53 ราย ได้รับการผ่าตัดวิธี Conventional Ferguson hemorrhoidectomy และกลุ่มที่สองจำนวน 37 รายได้รับการ ผ่าตัดวิธี Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy นำมา วิเคราะห์และเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด คะแนนความปวดหลังผ่าตัด ระยะเวลาการนอน โรงพยาบาล ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ที่ได้รับหลังผ่าตัด ระยะเวลาการหายของแผล ค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด โดยผลลัพธ์ที่ได้จากทั้ง 2 กลุ่มจะถูกเปรียบเทียบด้วยสถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test ซึ่งการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ที่ระดับนัยสำคัญทาง สถิติ p-value < 0.05 ผล: พบว่าระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด คะแนนความปวดหลังผ่าตัด ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ที่ได้รับหลัง ผ่าตัด ระยะเวลาการหายของแผลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธี Vessel-SealingDevices hemorrhoidectomy น้อยกว่ากลุ่มที่ ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Conventional Fergusonhemorrhoidectomy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด (8.0 ± 5.0 นาที และ 20.6 ± 12.5 นาที; p<0.001), ปริมาณเลือดออก ขณะผ่าตัด (2.7 ± 1.3 มิลลิลิตร และ 11.6 ± 4.0 มิลลิลิตร; p<0.001), คะแนนความปวดหลังผ่าตัดวันแรก (3.6 ± 1.2 และ 6.3 ± 1.3; p<0.001) และวันที่สอง (2.0 ± 1.1 และ 4.1 ± 1.1; p<0.001), ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล (1.2 ± 0.6 วัน 2.3 ± 2.2 และ; p = 0.003), ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSIADs ที่ได้รับหลัง ผ่าตัด (3.0 ± 0.8 ครั้ง และ 5.0 ± 2.1 ครั้ง; p<0.001), และ อัตราการหายของแผล (3.3 ± 0.6 สัปดาห์และ 5.6 ± 1. สัปดาห์ 0; p<0.001) ดังนั้น การนำเอา Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy มาใช้ผ่าตัดริดสีดวงทวารระดับ 3 และ 4 จึงมีประโยชน์ดังกล่าว และเมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายและภาวะ แทรกซ้อนพบว่าทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ สรุป: ระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด คะแนนความปวดหลังผ่าตัดวันแรกและวันที่สอง ระยะเวลาการ นอนโรงพยาบาล ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ที่ได้รับหลัง ผ่าตัด ระยะเวลาการหายของแผลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยวิธี Vessel-Sealing Devices hemorrhoidectomy น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Conventional Ferguson hemorrhoidectomy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ" }
{ "en": "Nasopharyngeal carcinoma is common cancer in Southeast Asia and Thailand. IMRT (Intensity-modulated radiation therapy) and VMAT (Volumetric modulated arc therapy) are advanced techniques radiotherapy in the treatment of nasopharyngeal carcinoma. This study aimed to evaluate efficacy in the treatment of nasopharyngeal carcinoma with IMRT/VMAT at Ubonratchatani cancer hospital from July 2014 to December 2016. The data were reviewed including demographic data, pathological finding, stage of the tumor, radiation techniques, radiation doses to target volumes, radiation doses to normal organs, responses of treatment, survival rate and toxicities. Thirty-three patients were recruited. The result was found that 81.8% of patients had VMAT treatment and most of the patients use SIB technique 93.9%. After treatment, 69.7% and 30.3% of the patients had a complete and partial response, respectively. Median follow up period was 42 months. The 3-year progression-free survival was 72.7% and 3-year overall survival was 81.8%. Most toxicities were not severe. Acute side effect grade 1 and 2 mucositis were found 36.4% and 63.6% respectively. The common side effect was grade 1 xerostomia (57.6%) and grade 2 xerostomia (24.2%). From this study, we can achieve good results with high survival rate and acceptable toxicities when treating nasopharyngeal carcinoma patients with IMRT/VMAT.", "th": "มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย การฉายรังสีเป็นการรักษาหลักในมะเร็งหลังโพรงจมูก การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT : Intensity modulated radiation therapy) และแบบปรับความ เข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย (VMAT: Volumetric modulated arc therapy) เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่ทันสมัยและมีความแม่นยำสูงในการรักษาโรคมะเร็ง การศึกษานี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกด้วยการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม และแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มารับบริการ ที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 - ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ผลพยาธิวิทยา ระยะของโรค เทคนิคการฉายรังสี ปริมาณรังสีที่ รอยโรคและอวัยวะปกติได้รับผลการตอบสนองหลังการรักษา ระยะเวลาการอยู่รอดรวมถึงผลข้างเคียง มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ จำนวน 33 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วยร้อยละ 81.8 ใช้เทคนิคแบบ SIB(simultaneous integrated boost) ร้อยละ 93.9 ผลการรักษาพบการตอบ สนองแบบ complete response (CR) ร้อยละ 69.7 แบบ partial response (PR) ร้อยละ 30.3 ค่ามัธยฐาน (median) ระยะเวลา ติดตามเท่ากับ 42 เดือน อัตราการรอดชีวิต 3 ปี แบบ progression free survival (PFS) เท่ากับร้อยละ72.7 แบบ overall survival( OS) เท่ากับร้อยละ 81.8 ผลข้างเคียงอยู่ในระดับไม่รุนแรง ผลข้างเคียงระยะสั้นพบภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบระดับ 1 ร้อย ละ 36.4 ระดับ 2 ร้อยละ 63.6 ผลข้างเคียงระยะยาวที่พบบ่อยคือ ภาวะน้ำลายแห้งโดยพบระดับ 1 ร้อยละ 57.6 และระดับ 2 ร้อย ละ 24.2 ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบปรับความเข้มและแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วยสามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โดยมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงและผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่รุนแรง" }
{ "en": "A cross-sectional descriptive study was conducted to assess stress and its related factor in Thai workers who had worked in Malaysia. Data were collected from October 2016 to September 2017 in 275 Thai workers who had worked for at least 6 months and underwent health examination under the ASEAN plus Three Health Care Program (ASEAN PLUS), organized by Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Research instruments consisted of two parts; first was demographic data, second was individual stress assessment modified by Department of Mental Health. Data were analyzed using descriptive and inferential statistics. This study was reviewed and approved by the ethics committee, Rajavithi hospital. The majority was female with mean age of 40.79±11.55 years. The mean BMI was 24.38± 3.95 kg/m2. Most of the participants had educational level less than bachelor (37.9%), worked as occupied housewives, massage, or chef (56.9%), monthly income less than 20,000 baht, domiciled in the north of Thailand (31.1%), more than half lived in Malaysia less than 5 years. Most of workers had 1-2 family members who must be bear the burden of support. An average working time was 10.16±1.67 hours daily. Most did not have underlying diseases and medication. Most drank tea or coffee (77.3%), and 69.8% drank tea or coffee daily, mostly non-smoking and non-alcoholic. The majority of subjects had normal level of stress (88.5%); only 11.5% were slightly higher of stress level. Factor related stress was the number of family members who must bear the burden of support (p=0.010). The finding is useful to monitor the stress for Thai workers. Evidence-based to be used to support a health care program for workers by focusing on the integrated physical and mental health. Further relevance factors should be explored.", "th": "การศึกษาวิจัยภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) เพื่อประเมินระดับความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับ ความเครียดของแรงงานไทยในประเทศแถบอาเซียน ดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559-กันยายน 2560 ในกลุ่มแรงงานไทยที่ปฏิบัติงานในประเทศมาเลเซียไม่น้อยกว่า 6 เดือน และเข้ารับการตรวจสุขภาพภายใต้โครงการดูแลสุขภาพแรงงานไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน/เอเชีย (ASEAN PLUS) กรมการแพทย์ จำนวน 275 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) ข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง เช่น อายุ เพศ รายได้ ลักษณะงาน ประสบการณ์ทำงาน ภูมิลำเนา โรคประจำตัว และพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนที่ 2) การประเมินระดับ ความเครียดด้วยตนเอง 20 ข้อของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน และการวิจัยนี้ผ่านการ พิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลราชวิถี ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 40.79±11.55 ปี BMI เฉลี่ย 24.38±3.95 kg/m2 สถานภาพคู่ร้อยละ 77.5 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปวช. หรือปวส. ร้อยละ 37.9 ประกอบอาชีพแม่บ้าน งานนวดหรือแม่ครัว ร้อยละ 56.9 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 31.3, 24.3 และ 23.6 ตามลำดับ ทำงานที่ต่างประเทศส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับญาติ ร้อยละ 45.1 มากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่มาเลเซีย น้อยกว่า 5 ปี ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 10.16±1.67 ชั่วโมงต่อวันและส่วนใหญ่ต้องรับภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัวจำนวน 2 คน ร้อยละ 74 ซึ่งในอนาคตคิดว่าจะย้ายกลับไทย ร้อยละ 55.9 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 82.4 ไม่มียาที่ใช้ประจำ ความดันโลหิตส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 83.7 ขณะที่เมื่อสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่ชอบดื่ม ชา/กาแฟ ร้อยละ 77.3 โดยดื่มชา/กาแฟทุกวันมากที่สุด ร้อยละ 69.8 ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 89.5 และ 57.8 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการประเมินระดับ ความเครียด จำแนกรายข้อใน 20 ข้อคำถาม พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 88.5 มีความ เครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่เครียดในขณะที่มีเพียงร้อยละ 11.5 มีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ เล็กน้อย โดยไม่มีตัวอย่างที่มีความเครียดสูงกว่าปกติปานกลาง หรือสูงกว่าปกติมากในการศึกษานี้ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเพียงปัจจัย เดียวคือ จำนวนคนในครอบครัวที่ต้องรับภาระเลี้ยงดู โดยค่า p=0.010 ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเฝ้าระวังด้าน ความเครียดของแรงงานไทย และเป็นข้อมูลในการนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพกายและจิตให้กับแรงงานในต่างแดนต่อไปได้ โดยเมื่อมีการออกตรวจสุขภาพแรงงานไทย ในต่างแดน ควรจัดโปรแกรมการประเมินและดูแลสุขภาพทั้งทาง กายและจิตแบบบูรณาการและศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องในงานวิจัยต่อไป" }
{ "en": "This retrospective descriptive study (chart review) aimed to evaluate the clinical performance and quality of care for patients with ST-elevation myocardial infarction (STEMI). This was conducted on patients with STEMI for those who came to the emergency department in the central chest institute of Thailand between 1st October, 2016 and 31st December, 2017 (n=53). The research instrument used was the case record form that was created by the researcher, which comprised the following information: demographic characteristics, illness history, clinical nursing intervention performance, and quality of care for patient with STEMI. Descriptive statistics was used for data analyses. From the study, it was found that the clinical nursing intervention performance was at a good level in four components including advocating of patients’ rights, continuity of care, providing information, and nursing intervention for patients with STEMI. Two-components with the poor level including health promotion and risk prevention for patients with STEMI. Among patients with STEMI had an electrocardiogram (ECG) performed (Door to ECG) within 10 minutes (mean 3.2, SD 1.3) of arrival was 100%. Also, the time from ED arrival to ED discharge (Doorin- door-out time) within 30 minutes (mean 30.7, SD 21.4) was 71.7%. Lastly, the time from ED arrival to reperfusion therapy (Door to balloon time) within 90 minutes (mean 58.5, SD 28.5) was 88.7%.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนาแบบการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานทางคลินิกและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน สถาบันโรคทรวงอก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเวชระเบียนของ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงที่เข้ารับการ รักษาในหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน สถาบันโรคทรวงอก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ได้จากการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 53 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ แบบบันทึกผลการปฏิบัติงานทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกคุณภาพการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ผลการปฏิบัติงานทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับดี 4 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย 2) การดูแล ต่อเนื่อง 3) การให้ข้อมูล และ 4) การตรวจและบำบัดรักษาทางการพยาบาล และอยู่ในระดับไม่ดี 2 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การสร้างเสริมสุขภาพ และ 2) การป้องกันความเสี่ยง ผู้ป่วยกล้ามเนื้อ หัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์หรือพยาบาลภายใน 10 นาที(mean 3.2, SD 1.3) คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ป่วยมาถึงและออกจากหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉินภายใน 30 นาที (mean 30.7, SD 21.4) คิด เป็นร้อยละ 71.7 ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลและได้รับการสวนหัวใจ ภายใน 90 นาที (mean 58.5, SD 28.5) คิดเป็นร้อยละ 88.7" }
{ "en": "This descriptive research aims to study the differences in social support between voluntarily and compulsory rehabilitation systems of drug dependent persons. This sample comprised 181 voluntarily rehabilitation systems of drug dependent persons of the Princess Mother National Institute on Drug Abuse treatment (PMNIDAT), Department of Medical Services, Ministry of Public Health, and 152 compulsory rehabilitation systems of drug dependent persons of the drug dependent persons Rehabilitation Center, Department of Probation, Ministry of Justice. Analysis was done by Chi-Square test and Multiple logistic regression. The results of the study showed that the scores of social support of drug addicts in voluntary rehabilitation system were statistically significantly higher than those compulsory rehabilitation systems (p <0.05). It was found that those who received rehabilitation in voluntary systems had more social support than that compulsory rehabilitation 1.98 times. However, there were not significant difference in social support of age level, gender, marital status, occupation, income, reasons of using drugs, parental material status, and presence of other addict persons in family. The drugs dependent persons in voluntary system have more social support if they intent to quit drug, it is easier. Qualitative research should be conducted to know the details of the problems and the causes that affect social support. We should encourage the family to participate in the treatment of drug dependent persons seriously. The approach may be the knowledge of living together after leaving the treatment facility or helping to solve family problems etc.", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความแตกต่างของแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้เสพติดยาเสพติดระหว่างผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด รวมทั้งศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 181 ราย และผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ระบบบังคับบำบัดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมจำนวน 152 ราย รวม 333 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ Chi-Square และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจมี คะแนนสูงกว่าในระบบบังคับบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p< 0.05 โดยผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจมีแรงสนับสนุนทางสังคมมากกว่าในระบบบังคับบำบัด 1.98 เท่า แต่ อย่างไรก็ตามพบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความแตกต่างกันตามอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพ รายได้ สาเหตุที่ใช้ยาเสพติด สถานภาพสมรสของบิดามารดา และครอบครัวยังมีคนอื่นใช้สารเสพติดหรือไม่ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจหากมีความ ตั้งใจสามารถที่จะเลิกใช้ยาเสพติดได้ง่ายกว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบบังคับบำบัดเนื่องจากมีแรงสนับสนุนทางสังคมมากกว่า และควรทำการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ทราบรายละเอียดของปัญหา สาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อการสนับสนุนทางสังคม ส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วมและสนับสนุนผู้ติดยาเสพติดอย่างจริงจังในการบำบัดรักษา" }
{ "en": "This research aimed to investigate efficiency of guava leaf extract commercial spray on halitosis after garlic ingestion. Sixty subjects (11 male, 49 female, aged 20-37 years) with no systemic diseases, no smoking and alcohol, no removable denture, no fixed orthodontic appliances and no periodontal pocket > 5 mm were selected. The concentration levels of hydrogen sulfide, methyl mercaptan and dimethyl sulfide before garlic ingestion were measured (Tb) by OralChromaTM. After that, the subjects were separated into two groups; one used guava leaf extract spray and the other the NSS spray. Subjects were then given Nam-Neaung and 5g. of chopped garlic wrapped with dough sheet with sauce. Chewing continued for 1 minute followed by drinking water (200ml.). Halitosis self assessment was performed before and after garlic ingestion. Hydrogen sulfide, methyl mercaptan and dimethyl sulfide were measured (T1); subjects were sprayed using either the guava leaf or NSS spray. The levels of the three gases were measured (T2) again. To compare the concentration level of hydrogen sulfide, methyl mercaptan and dimethyl sulfide before-after using the guava leaf extract spray, Wilcoxon Signed Ranks test was analyzed. To compare the concentration levels of hydrogen sulfide, methyl mercaptan and dimethyl sulfide between guava leaf extract spray and NSS spray, Mann-Whitney U test was analyzed at 0.05 significance level. The result show that concentration level of dimethyl sulfide was significantly reduced (p=0.000), but that of hydrogen sulfide were not significantly reduced. In contrast, the level of methyl mercaptan was significantly increased after using guava leaf extract spray (p =0.029). Comparing between using the guava leaf extract spray and NSS spray, there were not significant differences in reducing the concentration level of hydrogen sulfide, methyl mercaptan and dimethyl sulfide (Mann-Whitney U prob = 0.333, 0.780 and 0.690). In conclusion, Guava leaf extract spray efficiently reduced hydrogen sulfide and dimethyl sulfide after garlic ingestion. However without significant difference when compared with the use of the NSS spray.", "th": "งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ผลิตภัณฑ์สเปรย์ดับกลิ่นปากจากสารสกัดใบฝรั่งต่อกลิ่นปากหลังการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของกระเทียม โดยมีผู้เข้าร่วม วิจัยจำนวน 60 คน (เพศชาย 11 คน หญิง 49 คน อายุเฉลี่ย 20-37 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใส่ฟันเทียม ชนิดถอดได้และไม่มีเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น) ได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะปริทันต์ ตรวจวัดปริมาณของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซเมทิลเมอแคปเทน และก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์ด้วยเครื่อง ออรัลโครมา (Oral Chroma® (Tb)) โดยผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มย่อย รับประทานแหนมเนืองที่มีกระเทียมสับ 5 กรัมห่อด้วยแป้งพร้อมน้ำจิ้ม โดยเคี้ยวให้ละเอียดเป็นเวลา 1 นาที ดื่มน้ำสะอาด 200 มิลลิลิตรตาม ประเมินกลิ่นปากของตนเองก่อนและหลังรับ ประทาน วัดปริมาณของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซเมทิลเมอ แคปเทน และก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์ หลังดื่มน้ำทันที (T1) หลังจากนั้น พ่นสเปรย์ดับกลิ่นปากจากสารสกัดใบฝรั่งหรือสเปรย์น้ำเกลือ (กลุ่มควบคุม) ตามที่ได้รับ โดยพ่น 3 ครั้งแล้วกลืนสเปรย์ วัดปริมาณของก๊าซทั้งสามอีกครั้งหนึ่ง (T2) ในการวิเคราะห์ผลการ ศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงข้อมูลพื้นฐาน สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test และ Mann-Whitney U test เปรียบ เทียบค่าเฉลี่ยความเข้มข้นที่เปลี่ยนแปลงไปของไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์ในกลุ่มเดียวกันและระหว่างสองกลุ่มตามลำดับ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าสเปรย์ดับกลิ่นปากจากสารสกัดใบฝรั่งทำให้ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์และไฮโดรเจนซัลไฟด์ลดลง ปริมาณก๊าซเมทิล เมอแคปเทนเพิ่มขึ้น โดยก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์และเมทิลเมอแคปเทน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000, 0.029) แต่การเปลี่ยนแปลงทั้งสามก๊าซ ไม่แตกต่างจากสเปรย์น้ำเกลือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mann-Whitney U prob = 0.333, 0.780 และ 0.690 ตามลำดับ) สรุปได้ว่าสเปรย์ดับกลิ่นปากจาก สารสกัดใบฝรั่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้ามีประสิทธิภาพในการลดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์และก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์หลังจากการรับประทานกระเทียม แต่ไม่แตกต่างจากการ ใช้สเปรย์น้ำเกลือ" }
{ "en": "Background: To determine the effectiveness of dried clove buds mouthing on reduction of transient disturbing odor after garlic ingestion. Methods:Forty four healthy subjects (8 males, 36 females, aged between 18-40 years) were assigned to mouth dried clove buds (0.35 grams) after garlic ingestion. The control group was assigned to ingest garlic only. The concentration of volatile sulfur compounds in oral cavity (hydrogen sulfide, methyl mercaptan, di-methyl sulfide) were recorded by Oral Chroma CHM-2 and recorded feeling oral malodor, before garlic ingestion, at 5 and 15 minutes after garlic ingestion in order to compare the decreased concentration level, concentration level and oral malodor at 15 minutes after garlic ingestion between the experiment and control groups, Independent T-test and Mann-Whitney U test were analysed at significant less than 0.05. Results: At 5 minutes after garlic ingestion, the increased concentration level of methyl mercaptan was highest (2109.86±931.748 ppb; control group and2773.55±1340.811 ppb; experiment group. At 15 minutes after garlic ingestion and the decreased concentration level of methyl mercaptan in oral cavity were significantly (p=0.001 and < 0.001 respectively) but at 15 minutes after garlic ingestion and the decreased concentration level of hydrogen sulfide and dimethyl sulfide were not significant difference in concentration level between experiment and control groups. But at 15 minutes after garlic ingestion, the decreased of oral malodor was significantly between experiment and control groups (p<0.001). Conclusion: Mouthing of dried clove buds has effectiveness on reduction of concentration level of methyl mercaptan, but does not have effectiveness on reduction of concentration level of hydrogen sulfide and dimethyl sulfide. The decreased of oral malodor was according to the decreased concentration level of methyl mercaptan in oral cavity. In conclu-sion, mouthing dried clove buds has effectiveness on reduction concentration level of methyl mercaptan after garlic ingestion.", "th": "ภูมิหลัง : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการอมดอกกานพลูแห้ง ในการลดภาวะกลิ่นปากเหม็นชั่วคราวภายหลังการรับประทานกระเทียม วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี จำนวน 44 คน (ชาย 8 คน หญิง 36 คน อายุระหว่าง 18-40 ปี) ทดลองโดยการอมดอกกานพลูแห้งจำนวน 0.35 กรัม ภายหลังการรับประทานกระเทียมจำนวน 5 กรัม กลุ่มควบคุมรับประทานกระเทียมเพียงอย่างเดียววัดระดับความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบ ซัลเฟอร์ในช่องปาก (ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เมทิลเมอแคปเทน และ ไดเมทิลซัลไฟด์) ด้วยเครื่อง Oral Chroma CHM-2 และสำรวจ ความรู้สึกต่อกลิ่นปากของทั้งสองกลุ่ม โดยวัดก่อนการรับประทานกระเทียม และหลังการรับประทานกระเทียมที่ 5 นาที และ 15 นาที เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นที่ลดลง ระดับความเข้มข้น และความรู้สึกต่อกลิ่นปากที่ 15 นาทีภายหลังการรับประทานกระเทียมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent T-test และ Mann-Whitney U test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผล : จากการศึกษา พบว่าที่ 5 นาทีหลังการรับประทานกระเทียม ระดับความเข้มข้นของไอระเหยของเมทิลเมอแคปเทน เพิ่มขึ้นมากที่สุด (2109.86±931.748 ppb ในกลุ่มควบคุม และ 2773.55±1340.811 ppb ในกลุ่มทดลอง) โดยระดับความเข้มข้นของไอระเหยของเมทิลเมอแคปเทนหลังการรับประทานกระเทียม 15 นาที และระดับความเข้มข้นของไอระเหยของเมทิลเมอแคปเทนที่ลดลงของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มควบคุม (p=0.001 และ < 0.001 ตามลำดับ) แต่ระดับ ความเข้มข้นของไอระเหยของไฮโดรเจนซัลไฟด์และไดเมทิลซัลไฟด์หลังการรับประทานกระเทียม 15 นาที และระดับความเข้มข้น ที่ลดลงของกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มควบคุม ผลสำรวจความรู้สึกต่อกลิ่นปากพบว่า ค่ากลิ่นปากหลังการรับประทานกระเทียม 15 นาที ของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุป : การอมดอกกานพลูแห้งมีประสิทธิผลในการลดลงของความเข้มข้นของไอระเหยของเมทิลเมอแคปเทน แต่ไม่มีผลต่อการลดลงของ ความเข้มข้นของไอระเหยของไฮโดรเจนซัลไฟด์และไดเมทิลซัล ไฟด์ ผลการสำรวจความรู้สึกต่อกลิ่นปากพบว่าลดลง ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของความเข้มข้นของไอระเหยของเมทิลเมอแคปเทน ดังนั้นสรุปได้ว่าการอมดอกกานพลูแห้งมีประสิทธิผลในการลดภาวะกลิ่นปากเหม็นจากก๊าซเมธิลเมอแคปแทนซึ่งเกิดภายหลังการรับประทานกระเทียม" }
{ "en": "The objective of this research is to examine the relationship between Bone Mass Density (BMD) and parameters from Panoramic Radiograph, including Panoramic Mandibular Index (PMI), Mental Index (MI) and Mandibular Cortical index (MCI). The subjects of this research consist of volunteers who participated in the Refracture Prevention Projects of osteoporotic patients with broken hip bones, who underwent surgical treatment and bone mass measurements. The patients were sent to the Dental Department to have Panoramic Radiograph taken, and based on the Radiograph, were measured the parameters PMI, MI, and MCI. The total number of patients in this research is 96, including 25 male and 71 female, aged from 53 to 103 years. The Pearson correlation analyses show that PMI and MI are not correlated with BMD. (p>0.05) The Analysis of Variance (ANOVA) results show that the differences in BMD among patients with different MCI values are statistically significant for the BMD at Total Femur and Spine locations, but not significant for the Total Body BMD. The Chi-square test also confirms the differences of BMD of patients with different MCI values. In conclusion, the results in this paper suggest that the screening of osteoporotic patients can be done with Panoramic Radiograph by using MCI values; however, PMI and MI values cannot be used for this purpose.", "th": "การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพานอรามิกแมนดิบูลาร์อินเด็กซ์ (PMI), ดัชนีเมนตัล (MI) และดัชนีคลิเมตติ (MCI) จากถ่ายภาพรังสี พานอรามากับค่าความหนาแน่นมวลกระดูกในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โดยศึกษาจากอาสาสมัครโครงการการรักษากระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนอย่างบูรณาการเพื่อป้องกัน กระดูกหักซ้ำที่ได้รับการผ่าตัดและตรวจค่าความหนาแน่นมวลกระดูกแล้ว เมื่อส่งตัวมาที่กลุ่มงานทันตกรรมทำการเก็บข้อมูลทั่วไปและถ่ายภาพรังสีพานอรามาทำการวัดดัชนีพานอรามิกแมน ดิบูลาร์อินเด็กซ์, ดัชนีเมนตัลและดัชนีคลิเมตติจากภาพรังสีพานอรามา รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 96 รายอายุ 53-103 ปี แบ่งเป็นเพศชาย 25 ราย และเพศหญิง 71 ราย พบว่าการศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีพานอรามิกแมนดิบูลาร์อินเด็กซ์และดัชนีเมนตัลกับค่าความหนาแน่นมวลกระดูกโดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่าทั้งดัชนีพานอรามิกแมนดิบูลาร์อินเด็กซ์และดัชนีเมนตัลไม่มีความสัมพันธ์กับ ค่าความหนาแน่นมวลกระดูกอย่างมีนัยสำคัญ (p-value>0.05) การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าความหนาแน่นมวลกระดูก จำแนกตามลักษณะดัชนีคลิเมตติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ตำแหน่ง Total femur และตำแหน่ง Spine พบว่าค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นมวลกระดูกมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มดัชนีคลิเมตติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่ตำแหน่ง Total body พบว่าค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นมวลกระดูกที่ตำแหน่ง Total body ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มดัชนีคลิเมตติอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะ ดัชนีคลิเมตติกับภาวะกระดูกพรุนด้วยสถิติไคสแควร์พบว่าภาวะกระดูกพรุนมีความแตกต่างกันในกลุ่มผู้ที่มีลักษณะดัชนีคลิเมตติ แตกต่างกัน โดยสรุป การตรวจคัดกรองผู้ป่วยกระดูกพรุนด้วยการใช้ภาพถ่ายรังสีพานอรามาสามารถใช้ดัชนีคลิเมตติในการตรวจวินิจฉัยคัดกรองเบื้องต้นถึงภาวะกระดูกพรุนได้ ส่วนดัชนีพานอรา มิกแมนดิบูลาร์อินเด็กซ์และดัชนีเมนตัลยังไม่สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยคัดกรองเบื้องต้นถึงภาวะกระดูกพรุนได้" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "This study was a quasi-experimental research. To study the effectiveness of ice-chips in the prevention and alleviationof oral mucositis in cancer patients receiving chemotherapy. Studies in patients diagnosed with colorectal cancer. Outpatient treatment and chemotherapy of 5-Fluorouracil and Leucovarin 5 consecutive days Each set was 28 days apart and included 6 sets. The samples were 100 samples divided into 2 groups. The control group consisted of 50 regular caregivers. And50 experimental groups. The subjects were given ice-chips before chemotherapy for 5 minutes and continued for 30 minutes for 5 consecutive days. Evaluation of oral mucositis before chemotherapy. And oralmucositis after chemotherapy. From the new scoring system of Sonis, the authors of the tool adapted from the WHO index and the National Cancer Institute system for the observation of oral mucositis. Suvarn Charoensrichsawat. Translated and adapted to thai people. The research found that Patients with cancer while receiving chemotherapy. Less than oral mucositis. The control group was significantly (p <0.05) less severe than the control group. Compared to the severity of oral mucositis. Between two groups Found that on 2,3,4. There was no statistically significant difference at the end of the experiment. On day 5, the experimental group had a significantly lower mean score of oral mucositis than that of the control group (p=0.005) It is also found that the method of ice-chips is easy, patients and relatives can follow the easy and continuous. It will be used as a guideline to continue", "th": null }
{ "en": "Background: Triage is one of the most important streaming strategies to manage patient flow in the emergency department. Triage knowledge and skill of practicing staff are crucial to achieve the highest performance and accurate triage. Triage training program may improve the accuracy of emergency patient’s triage. Objective: This study aimed to comparethe accuracy of triage by nurses and emergency medical staff before and after the MOPD ED Triage training program. Methods: Single group interrupted time series study was conducted on nurses and emergency medical staff in emergencydepartment, Maesai district hospital from September to November, 2018. The participants underwent pretest prior to the MOPD ED Triage training, and was followed by the posttest session immediately, at 2 and at 4 weeks after training. Triage accuracy in terms of number of items and trend of triage accuracy overtime was analyzed using multivariable multi-level ordinal logistic regression. Results: Twenty-two emergency medical staff and nurses were included. Prior to the training, the participants correctly identified 312 items (70.9%), compared to 350 items (79.6%) of post-training. The number of undertriage items were significantly reduced after the training (86 (19.6%) vs. 48 (10.9%). The number of overtriage items did not significantly improve despite the training. Pretest and posttest differences were significantly different at p-value < 0.001. The overall triage accuracy of the participants started to fall at 4 weeks after training.Conclusion: MOPD ED Triage training program can effectively improve the triage accuracy of nurses and emergency medical staffs. Therefore, regular triage training program should be included in the emergency department policy.", "th": "ภูมิหลัง: การคัดแยกผู้ป่วยที่มารับบริการห้องฉุกเฉินมีความสำคัญต่อกระบวนการจัดการดูแลผู้ป่วย ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่คัดแยกมีผลต่อความถูกต้องของการคัดแยก การอบรมระบบการคัดแยกผู้ป่วยอาจสามารถเพิ่มความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยได้ และลดการประเมินระดับความเร่งด่วนสูง หรือต่ำเกินกว่าความเป็นจริงได้ วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความถูกต้องของการประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินตามความเร่งด่วนโดยเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินก่อนและหลังการอบรม MOPD ED Triage โดยแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน วิธีการ: การวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบ Single group interrupted time series ศึกษาในเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2561 โดยให้เจ้าหน้าที่ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม รับการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วนตามระบบ MOPD ED Triage ทำแบบทดสอบหลังได้รับการอบรมทันที, ที่ 2 และ 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบจำนวนการประเมินความเร่งด่วนได้ถูกต้องและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความถูกต้องของการคัดแยกในแต่ละครั้งที่ทำการประเมินผลด้วยMultivariable multi-level ordinal logistic regression ผล: ศึกษาในเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 22 คน ก่อนการอบรมเจ้าหน้าที่สามารถประเมินระดับความเร่งด่วนได้ถูกต้องรวม 312 ข้อ (70.9%) หลังการอบรมระบบการคัดแยกผู้ป่วยเจ้าหน้าที่สามารถประเมินได้ถูกต้องมากขึ้นเป็น 350 ข้อ (79.6%) การประเมินระดับความเร่งด่วนต่ำกว่าความเป็นจริงก่อนการอบรม 86 ข้อ (19.6%) หลังการอบรมลดลงเหลือ 48 ข้อ (10.9%) การประเมินสูงกว่าความเป็นจริงคงเดิม 42 ข้อ (9.5%) โดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) และพบว่าการประเมินระดับความเร่งด่วนได้ถูกต้องมีแนวโน้มลดลงที่ 4 สัปดาห์หลังการอบรม สรุป: การอบรมระบบการคัดแยกผู้ป่วยตาม MOPH ED Triage สามารถเพิ่มความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ จึงควรมีนโยบายการจัดอบรมให้ความรู้ระบบการคัดแยกผู้ป่วยให้แก่เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง" }
{ "en": "The purpose of this study was to evaluate the outcomes and influence factors of endodontic treatment at Dental Clinic, Phrom Buri Hospital, Sing Buri Province. The retrospective study recalled 140 treated teeth from 12 months to 84 months. The criteria used for evaluation of the outcomes were clinical and radiographic examination. The results show that 82.86% were successful, 12.86% were uncertain and 4.29% were failure. Three significant factors (p < 0.05) that influenced the outcomes were status of the pulp, preoperative periapical lesion and apical level of root canal filling.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาคลองรากฟันและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาคลองรากฟันในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาคลองรากฟันที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยติดตามผลการรักษาคลองรากฟันจำนวน 140 ซี่ ช่วงเวลาติดตามผลการรักษาตั้งแต่ 12 เดือนถึง 84 เดือน ใช้เกณฑ์ประเมินผลการรักษาจากลักษณะทางคลินิกร่วมกับภาพรังสี ผลการศึกษาพบว่า ผลการรักษาคลองรากฟันสำเร็จร้อยละ 82.86 ผลการรักษาไม่แน่นอนร้อยละ 12.86 และผลการรักษาล้มเหลวร้อยละ 4.29 ปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ สภาวะเนื้อเยื่อใน รอยโรครอบปลายรากฟันก่อนการรักษา และระดับของวัสดุอุดคลองรากฟันจากปลายรากฟัน" }
{ "en": "The objective of this study is to analyze health care expenditure burden of emergency medical services provided at private hospitals under a project of financial recommendation for Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP). Reimbursement data of emergency medical services for fiscal year 2017 from April to December were analysed. The result showed that Universal Coverage for Emergency Patients, known as UCEP programe was extensively covered emergency patients under three major public health insurance schemes and private health insurance scheme including out-of- pocket. There were 209 private hospitals from 364 private hospitals participating this programe. For medical supply lists, there were 429,276 items submiting from hospitals and total expendutre was 338,655,638 THB. Considering in each billing group, a bill of material supplies was the highest while total expenditure of doctor fee was the hightest followed closely by medicine. However, it should be noted that there were limitations of data including accuracy and completeness. An audit process should, therefore, be conducted in order to monitor and audit all services in medical record.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระค่าใช้จ่ายในการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานพยาบาลเอกชนภายใต้ โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลังจากฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลการเบิกจ่ายค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ภายใต้ “โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลัง” จากฐานข้อมูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่เดือนเมษายน – ธันวาคม พ.ศ. 2560 จำนวนข้อมูลผู้ป่วยทั้งสิ้น 5,415 ราย ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมโครงการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP คุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ครอบคลุมทุกสิทธิ การรักษาพยาบาล ทั้งนี้มีโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการอยู่ จำนวน 209 แห่ง จากทั้งหมด 364 แห่ง ส่วนข้อมูลค่าใช้จ่ายเรียกเก็บ มีข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ทำการส่งเบิกทั้งสิ้น 429,276 รายการ คิดเป็นมูลค่าค่าใช้จ่ายเรียกเก็บรวม 338,655,638 บาท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแยกเป็นหมวดรายการเรียกเก็บหมวดเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยามีการเรียกเก็บสูงที่สุด ขณะที่หมวดค่าบริการวิชาชีพหรือค่าบริการทางการแพทย์มีการเรียกเก็บสูงที่สุด รองลงมาเป็นหมวด ค่ายา และสารอาหารทางหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดเรื่องความครบถ้วนและความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลอยู่จำนวนมากจริง ดังนั้นควรเร่งรัดให้เกิดกระบวนการหรือกลไกการตรวจสอบข้อมูลเวชระเบียนเพื่อดูความถูกต้องครอบคลุมของการให้บริการ" }
{ "en": "Autotransplantation is an alternative method to replace a missing tooth. This case report describes the orthodontic treatment of a 26-year old Thai female who had occlusal interference between 26, 36. Autotransplantation of the 18 into the 36 socket was performed. No signs of inflammation, root resorption, ankylosis, or mobility were found. The teeth alignment and occlusion were improved. The patient was satisfied with the treatment outcome and could function normally.", "th": "การปลูกถ่ายฟันให้ตนเองเป็นทางเลือกหนึ่งในการทดแทนฟันที่หายไป รายงานผู้ป่วยฉบับนี้ เป็นกรณีศึกษาการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในหญิงไทย อายุ 26 ปี ที่มีการกีดขวางการสบฟัน ของฟันกรามบนซ้ายซี่ที่หนึ่งและฟันกรามล่างซ้ายซี่ที่หนึ่ง ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายฟันให้ตนเองจากฟันกรามบนขวาซี่ที่สามไปยังฟันกรามล่างซ้ายซี่ที่หนึ่ง ภายหลังการรักษาไม่พบการอักเสบ ไม่มีการละลายตัวของรากฟัน ไม่พบการยึดติดของกระดูกเบ้าฟันและฟัน ไม่พบว่ามีการโยกของฟัน การเรียงตัวของฟันและการสบฟันดีขึ้นภายหลังการรักษา ผู้ป่วยพอใจกับผลการรักษาและสามารถใช้งานได้เป็นปกติ" }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "The student who carries bag beyond the proportion of Standard Body Weight (BW) has been one of the main causes of UpperMusculoskeletal Disorder (UMSDs), possibly affecting deformation of bone or chronic back pain symptom. The objective of this descriptive study is to compare between weight of bag and standard proportion body weight value at 10 and 15% BWand relationship among %BW, bag carrying duration and occurrence of UMSDs. The samples are 145 primary school grade 4-6 students applying statistics of Independent t-test, Chi-square testand Odds ratio.The result showthat body weight of the students averaged was 38.6±10.3 kilogram. They carried average weight of bag for 4.15±1.7 kilogram. The students had pain at both sides of shoulder, upper back and neck for 85.1 62.8 and 59.5%, respectively. Female students and Primary School Grade 4 carried bags with weight beyond standard criteria at 10 % BWat statistical significance (p < 0.05). The finding from the relationship testing indicated that bag carrying duration > 20 minutes exposed to risk of shoulder pain symptom more than the person who carried bag < 10 minutes for 14.5 times (95%CI = 1.77-119.3). Discussion and conclusion;Students carried bags with weight beyond standard and duration had shoulder pain. According to suggestion, the school should provide someeducationlockers. The student should reduce carrying duration of bag such as placement of bag on the floor while standing for waiting or during break hour, the bag should not be carried", "th": "การสะพายกระเป๋าเกินสัดส่วน้ำหนักตัวมาตรฐาน (Bodyweight: BW) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความผิดปกติระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อส่วนบน (Uppermusculoskeletal disorder; UMSDs) อาจส่งผลต่อการผิดรูปของโครงร่างกระดูกหรืออาการปวดหลังเรื้อรังได้ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักกระเป๋ากับค่าน้ำหนักมาตรฐานตามสัดส่วนน้ำหนักตัวร้อยละ 10 และ 15 (% BW) และหาความสัมพันธ์ระหว่าง % BW ระยะเวลาการสะพายกระเป๋ากับ UMSDs กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 145 คน ใช้สถิติ Independent t-test, Chi-square test และ Odds ratio ผลการศึกษานักเรียนมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 38.6±10.3 กิโลกรัม สะพายกระเป๋าน้ำหนักเฉลี่ย 4.1±1.7 กิโลกรัม โดยนักเรียนมีอาการปวดไหล่ทั้งสองข้าง หลังส่วนบน และคอ ร้อยละ 85.1 62.8 และ 59.5 ตามลำดับ นักเรียนเพศหญิง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีการสะพายกระเป๋าน้ำหนักเกินค่า 10 % BW อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ระยะเวลาการสะพายกระเป๋ามากกว่า 20 นาที มีโอกาสเสี่ยงต่ออาการปวดไหล่มากกว่าผู้ที่สะพายกระเป๋าน้อยกว่า 10 นาที เป็น 14.5 เท่า (95% CI = 1.7-119.3) วิจารณ์และสรุปผลการศึกษา นักเรียนสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินค่าน้ำหนักมาตรฐานตามสัดส่วนน้ำหนักตัว ซึ่งระยะเวลาการสะพายมีผลต่ออาการปวดไหล่มากที่สุด ข้อแนะนำโรงเรียนควรจัดสรรตู้เก็บอุปกรณ์การเรียน นักเรียนควรลดระยะเวลาในการสะพายกระเป๋า เช่น ตั้งกระเป๋ากับพื้นขณะยืนรอ หรือระหว่างชั่วโมงพักไม่ควรสะพายกระเป๋าไว้" }
{ "en": "Background: Pediculosis capitis is a common contagious disease in children. Patients have itchy scalps and in turn experience embarrassment. Treatment involves multiple steps and typically takes time. Despite its significance, the data on pediatric patients’ quality of life (QoL) affected by head lice is minimal. Objective: To study QoL among children with head lice and compare the children’s QoL before and after treatment. Method: Grade 1 to grade 9 students at a school in Chonburi have been examined for head lice and treated with 1% permethrin lotion. Fifty children answered the Children’s Dermatology Life Quality Index (CDLQI) questionnaire before and after treatment. The questionnaire consisted of 10 items with a total score of 30. The higher score implicates poorer QoL. CDLQI scores were compared between before and two weeks after treatment. Results: The CDLQI scores of 50 students with head lice range from 0-23. Eight percent of students have extremely large effect on QoL. Average CDLQI score of all head lice students had small impact on QoL. The mean CDLQI score before and after treatment is 5.00 and 3.16. After treatment, the CDLQI score improved by 1.84 points (95% CI: 0.19, 3.49, p =0.029). The “itchy, scratchy, sore or painful” was the item most affected by students with head lice. The QoL items that improved after treatment are “embarrassed or self conscious, upset or sad” and “skin problem affects school work”. Subjects with statistically significant improvement of QoL are the non-active infestation group and the adolescents (12-15 years of age). Conclusions: Head lice slightly worsened the QoL. Lice treatment improves an overall QoL, school work, and diminishes the patient’s embarrassment especially in the non-active infestation group and adolescents (active and non-active infestation group).", "th": "ภูมิหลัง: โรคเหาเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ป่วยจะมีอาการคัน เกา เกิดความรู้สึกอับอาย ต้องเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันการติดต่อสู่ผู้อื่น มีขั้นตอนและระยะเวลารักษายาวนาน ข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคเหามีอยู่น้อย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเด็กที่เป็นโรคเหา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังรับการรักษา วิธีการ: เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีได้รับการตรวจค้นหาเหาและรักษาด้วยยา 1% permethrin lotion เด็กจำนวน 50 คน ตอบแบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิตโรคผิวหนังในเด็กก่อนและหลังรักษา แบบสอบถามประกอบด้วย 10 คำถาม 30 คะแนน คะแนนมากหมายถึงคุณภาพชีวิตไม่ดี ศึกษาและเปรียบเทียบผลคุณภาพชีวิตเด็กที่เป็นโรคเหาก่อนและหลังจากรักษา 2 สัปดาห์ ผล: เด็กที่เป็นเหามีช่วงคะแนนคุณภาพชีวิต 0-23 คะแนน เด็กจำนวนร้อยละ 8 ได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยของเด็กนักเรียนทั้งหมดที่เป็นเหามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับด้อยลงเล็กน้อย คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อนและหลังรักษา คือ 5.00 และ 3.16 คะแนน หลังรักษา มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตดีขึ้น 1.84 คะแนน (95% CI: 0.19, 3.49, p=0.029) คำถามที่มีจำนวนผู้ป่วยได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ เรื่องอาการคันอยากเกา แสบ หรือเจ็บปวดที่ผิวหนัง คำถามที่มีคะแนนคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังรักษาได้แก่ 1) ความรู้สึกอับอายหรือรำคาญ กระวนกระวาย หงุดหงิด เศร้า 2) การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันช่วงไปโรงเรียน ผลกระทบต่อการเรียน โดยกลุ่มนักเรียนที่พบว่ามีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังรักษาเหา คือ กลุ่มที่ตรวจไม่พบตัวเหาหลังรักษา และกลุ่มช่วงอายุวัยรุ่น 12 – 15 ปี สรุป: โรคเหาส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้อยลงเล็กน้อย การรักษาเหาทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยในภาพรวมดีขึ้น ช่วยให้ลดความรู้สึกอับอาย และส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันช่วงไปโรงเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบตัวเหาหลังรักษา และกลุ่มวัยรุ่น" }
{ "en": "Hip fracture is common injury in the elderly. Patients presenting for hip fracture surgery have multiple medical problems and require medical stabilization before surgery. The objectives of this study are to analyze the incidence and risk factors associated with postoperative cardiovascular complications during the surgical admission period. Seven hundred and sixteen patients who had undergone hip surgery from 2015 to 2017 were divided into case group or the control group according to the occurrence of postoperative cardiovascular complications. The incidence of cardiovascular complications was 3.07%.The risk factors of cardiovascular postoperative complications included cardiac arrhythmia (RR = 4.97; CI 95%: 1.43 – 17.28, p = 0.011) ASA class 4 – 5 (RR = 4.67; CI 95%: 1.79-12.20, p = 0.002) and hemoglobin level under 10 g/dl (RR = 3.24; CI 95%: 1.35-7.72, p = 0.008). Inconclusion patients who had history of cardiac arrhythmia, ASA class 4-5 and blood level of hemoglobin under 10 g/dl were significantly increasing risk factors of postoperative cardiovascular complication.", "th": "ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก มักเป็นผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวหลายระบบ และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจหลังผ่าตัดได้ การศึกษานี้เป็นการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2560 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือดหลังการระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดกระดูกสะโพกหักโรงพยาบาลลำพูนโดยทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 716 ราย อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นร้อยละ 3.07 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (RR = 4.97; CI 95%: 1.43 – 17.28, p = 0.011) ASA class 4-5 (RR = 4.67; CI 95%: 1.79-12.20, p = 0.002) และระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตร (RR = 3.24; CI 95%: 1.35-7.72, p = 0.008) สรุปได้ว่าผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจและหลอดเลือดหลังผ่าตัด 4.97 เท่า ASA class 4-5 จะเพิ่มความเสี่ยง 4.67 เท่าและระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตรจะเพิ่มความเสี่ยง 3.24 เท่า" }
{ "en": "A cross-sectional descriptive study aimed to compare balance in 128 exercise elderly among 4 types of exercise including Tai Chi, walking, running and ballroom dancing at Lumphini park; 32 participants in each group. All participants were tested with Single-Leg Stance Timed (SLST) test with eyes open and closed for static balance evaluation and Timed Up and Go Test (TUGT) for dynamic balance evaluation. SLST test with eyes open of both dominant and non dominant legs were significantly difference among each group (p value<0.05). Tai Chi group had the best balance in SLST test with eyes open of dominant leg. Running group had the best balance in SLST test with eyes open of non dominant leg. SLST test with eyes closed of both dominant and non dominant legs were no significantly difference among each group. TUGT was significantly difference among each group (p value<0.05). Running group had the best balance in TUGT.", "th": "การวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบการทรงตัวในผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย 4 ชนิด ได้แก่ ไทชิ เดิน วิ่ง และลีลาศ โดยรวบรวมจากผู้สูงอายุที่มาออกกำลังกายที่สวนลุมพินี กลุ่มละ 32 คน รวม 128 คน ทำการทดสอบความสามารถการทรงตัวขณะอยู่นิ่งตามแบบทดสอบSingle-Leg Stance Timed (SLST) test with eyes open and closed และทดสอบความสามารถการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวตามแบบทดสอบ Timed Up and Go Test (TUGT) ผลการศึกษาพบว่าผลการทดสอบ SLST test with eyes open ของทั้งขาถนัด และขาไม่ถนัดมีความแตกต่างในระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) โดยพบว่า SLST test with eyes open ของขาถนัด กลุ่มไทชิมีผลการทดสอบดีที่สุด ส่วน SLST test with eyes open ของขาไม่ถนัด กลุ่มวิ่งมีผลการทดสอบดีที่สุด ผลการทดสอบ SLST test with eyes closed ของทั้งขาถนัดและขาไม่ถนัดพบว่าไม่มีความแตกต่างในระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการทดสอบ TUGT พบว่ามีความแตกต่างในระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) โดยกลุ่มวิ่งมีผลการทดสอบดีที่สุด" }
{ "en": "Objectives: The purposes of this study were to develop and study the effect of using nursing guideline for prevention and control of Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae (CRE) in pediatric patients care. This research consisted of 2 study cycles: Cycle 1: Development and study the effect of using nursing guideline. Cycle 2: Study the effect of using nursing guidelines after promoting knowledge and supporting according to the PRECEDE - PROCEED model. Methods: This study is an action research. The sample group of professional nurses in CRE Infection Ward at Queen Sirikit National Institute of Child Health was divided into 2 groups, 40 persons in each cycle. The data were analyzed by percentage, mean and standard deviation and test the statistically significant difference of the arithmetic mean to compare the results of cycle 1 and cycle 2 with independent t-test. Results: Nursing guideline for prevention and control of CRE in pediatric patients care includes hand hygiene, contact precautions, educating for personnel patients and relatives, cohorting patients and staff, communication, environmental cleaning, CRE screening and active surveillance testing. Problems and obstacles of the implementation are the lack of knowledge and confidence in practice, complexity of the procedures, inadequate personal protective equipment, insufficient disinfectants, being blamed or punished. After the development of guidelines with the promotion of knowledge and practical support according to the PRECEDE - PROCEED model, the professional nurses were knowledgeable, satisfied, and able to follow the guidelines more accurately, at 0.01 and 0.05 significant level. The incidence of CRE after the development of guidelines with the promotion of knowledge and practice, was lower than in the first cycle, at 0.01 significant level. Conclusion: Strengthening knowledge and supporting compliance with problems and obstacles helping nurses to follow better guidelines", "th": "วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยา Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae (CRE) ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ดำเนินการศึกษาเป็น 2 วงจร โดยวงจรที่ 1 เป็นการพัฒนาและศึกษาผลการทดลองใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยา CRE ในการดูแลผู้ป่วยเด็กและค้นหาปัญหาอุปสรรคที่พบ วงจรที่ 2 พัฒนาการใช้แนวทางปฏิบัติร่วมกับการส่งเสริมการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยา CRE ในการดูแลผู้ป่วยเด็กตามรูปแบบ The PRECEDE – PROCEED Model วิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ CRE ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ทดลองปฏิบัติใน 2 วงจร วงจรละ 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลลัพธ์ วงจรที่ 1 และวงจรที่ 2 ด้วยสถิติ t-test ผล: พบว่า แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา CRE ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ประกอบด้วย 1) การทำความสะอาดมือ 2) การป้องกันการแพร่เชื้อจากการสัมผัส 3) การให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้ป่วยและญาติ 4) การแยกผู้ป่วยและผู้ดูแล 5) การสื่อสาร 6) การทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อม 7) การคัดกรองผู้ป่วย และ 8) การเฝ้าระวังการติดเชื้อ ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติ ประกอบด้วย1) การขาดความรู้ในการปฏิบัติ 2) ความมั่นใจในการปฏิบัติ 3) ขั้นตอน การปฏิบัติที่ยุ่งยากซับซ้อน 4) ความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย 5) ความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ทำลายเชื้อ 6) การถูกตำหนิหรือการถูกลงโทษ หลังการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติ ร่วมกับการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนการใช้แนวทางปฏิบัติ ตามรูปแบบ The PRECEDE – PROCEED Model พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ ความพึงพอใจ และสามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติได้ถูกต้องมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 อุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยา CREในผู้ป่วยเด็ก หลังการพัฒนาการใช้แนวทางปฏิบัติ ร่วมกับการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนการปฏิบัติ พบว่า อัตราการติดเชื้อ CRE ต่ำกว่าในวงจรที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนการปฏิบัติให้สอดคล้องกับปัญหาและอุปสรรค ช่วยให้พยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติได้ดีขึ้น" }
{ "en": "The retrospective study was made in Lerdsin hospital by collecting data of 46 patients who regulary took antiplatelet drugs and came to the dental department for dental osteotomy during 2012 to 2016. The purpose is whether prolonged bleeding would be seen among them. Are there any difference between ages, sex, location of surgical area and dosage of drug? The result showed 2 percent of whole samples revealed prolonged bleeding. No any difference neither variations.", "th": "การศึกษาย้อนหลังนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยของโรงพยาบาลเลิดสินที่กินยาต้านเกล็ดเลือดตามปกติระหว่างมาผ่าตัดกระดูกในช่องปากที่กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลเลิดสินระหว่าง พ.ศ. 2555 ถึง 2559 จำนวน 46 ราย จุดประสงค์เพื่อติดตามว่ามีภาวะเลือดออกมากผิดปกติเกิดขึ้นแตกต่างกันในระหว่าง อายุ เพศ ตำแหน่งผ่าตัด และขนาดของยาหรือไม่ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีเพียงร้อยละ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เกิดภาวะเลือดออกมากผิดปกติ และไม่พบความแตกต่างระหว่างตัวแปรทั้งหมด" }
{ "en": "Custom-made orthodontic miniscrews are clearly different in characteristic components compared with imported commercial miniscrews. Their primary stability have not been well studied. The objective of this study was to compare the primary stability of the custom-made miniscrews with those of the commercial miniscrews. The primary stability was focused on maximum insertion torque and pull-out strength. Two types of miniscrew were used in this study; 20 miniscrews of each. Each miniscrew was inserted perpendicularly into a pig rib embedded in a self-cured acrylic block. Maximum insertion torque was measured using a torque wrench. To measure pull-out strength using a universal testing machine, the pulling force was directed perpendicularly to the bone surface and parallel to the miniscrew axis. The data was statistically compared using univariable linear regression analysis (P<0.05). The results showed that mean maximum insertion torque of the custom-made miniscrews (23.3±4.0 N.cm) was significantly greater than that of the commercial miniscrews (17.4±3.6 N.cm) (P<0.001), while mean pull-out strength of the custom-made miniscrews (277.9±51.2 N) was insignificantly less than that of the commercial miniscrews (284.9±70.3 N). In conclusion, the custom-made miniscrews are superior to the imported commercial miniscrews due to greater primary stability. The custom-made miniscrews are a good and affordable alternative for orthodontic use in Thailand", "th": "หมุดเกลียวขนาดเล็กทางทันตกรรมจัดฟันที่ผลิตขึ้นเองมีลักษณะส่วนประกอบที่แตกต่างไปจากหมุดเกลียวขนาดเล็กทางการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศและยังไม่เคยได้รับการศึกษาถึงเสถียรภาพปฐมภูมิ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเสถียรภาพปฐมภูมิอันประกอบด้วยการวัดแรงบิดสูงสุดขณะปักและแรงดึงออกของหมุดเกลียวขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นเองกับหมุดเกลียวขนาดเล็กทางการค้า โดยนำหมุดเกลียวขนาดเล็กทั้ง 2 ชนิดๆ ละ 20 ตัว ปักเข้าไปในกระดูกซี่โครงหมูให้แนวของการปักตั้งฉากกับพื้นผิวของกระดูก วัดค่าแรงบิดสูงสุดขณะปักด้วยเครื่องวัดแรงบิด และใช้เครื่องทดสอบสากลวัดค่าแรงดึงออกโดยทำการดึงในแนวตั้งฉากกับพื้นผิวของกระดูกและขนานกับหมุดเกลียวขนาดเล็ก หาความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยแรงบิดสูงสุดขณะปักและแรงดึงออกของทั้ง 2 กลุ่มโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตัวแปรเดียว (Univariable linear regression analysis) ผลพบว่าค่าเฉลี่ยแรงบิดสูงสุดขณะปักของหมุดเกลียวขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นเอง (23.3±4.0 นิวตันเซนติเมตร) มีค่ามากกว่าหมุดเกลียวขนาดเล็กทางการค้า (17.4±3.6 นิวตันเซนติเมตร) อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยแรงดึงออกของหมุดเกลียวขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นเอง (277.9±51.2 นิวตัน) ไม่แตกต่างจากหมุดเกลียวขนาดเล็กทางการค้า (284.9±70.3 นิวตัน) (P=0.722) สรุปได้ว่าหมุดเกลียวขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นเองมีคุณสมบัติที่ดี ให้เสถียรภาพปฐมภูมิที่เหนือกว่าหมุดเกลียวขนาดเล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นอีกหนึ่งวัสดุทางเลือกที่มีคุณภาพสูงและราคาย่อมเยาสำหรับใช้งานในทางทันตกรรมจัดฟันในประเทศไทย" }
{ "en": "This Quasi-Experimental research aimed to study the effects of self-efficacy enhancement program on the prevention of falls among elderly. The samples of 57 were divided into 2 groups; an experimental group of 28 samples and a comparison group of 29 samples. The effects were evaluated before and after trial. The experimental group received the program created by applying self-efficacy theory. Activities in the program included lectures, group activities, demonstration, practice, and learning from the models conducted 7 weeks. Data was collected using questionnaires. General data was analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation while Paired Sample t-test and Independent t-test were used for a comparison at a statistical significance level of 0.05. After trial, the experimental group had an average score of self-efficacy, outcome expectation and prevention of fall higher than before trial and the comparison group significantly (p < 0.001).", "th": "การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษา 2 กลุ่ม วัดผลก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจำนวน 57 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 29 คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมที่สร้างขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยาย จัดกิจกรรมกลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติ และการเรียนรู้จากตัวแบบ ดำเนินกิจกรรมระยะเวลา 7 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และการป้องกันการหกล้ม สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)" }
{ "en": "Dementia is important health problem in females in Thailand. This quasi-experimental research study aimed to determine whether exercised model called ‘PREBRA’ can reduce risk factors for dementia among aging females. The researchers created this model integrating the promotion of positive thinking, exposure to pleasant sound, engagement in physical activity and improved personal relationships. Participants in the experiment included 60 aging females aged between 60-69 years who were divided into two groups: first group of 30 were assigned to the experimental group who were exposed to the model and the second group were 30 females a control group. The experimental group participated in these activities 5 days a week for 12 weeks. The results of the study showed that the experimental group had significantly lower systolic blood pressure and decreased triglycerides, depression scores compared to the control group. High-density lipoprotein cholesteroland brain health measured as the ratio between alpha/beta in experimental group were significantly higher than the control group(p < 0.05). The experimental group had assessed their own physical well-being and stated that exercise program improved their fitness levels. Therefore, the PREBRA exercise model has been shown to positively impact on several risk factors for dementia. Relevant government agencies may use these findings to enhance holistic health promotion for the aging population in Thailand.", "th": "ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญสำหรับหญิงสูงอายุ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายพรีบร้า (PREBRA)กับการลดปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหญิง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุหญิง 60-69 ปี กลุ่มทดลอง 30 คน ใช้วิธีจับคู่ได้กลุ่มควบคุม 30 คน ใช้รูปแบบออกกำลังกายพรีบร้าที่นักวิจัยสร้างขึ้นเป็นตัวแบบโดยบูรณาการความคิดบวก เสียงดนตรี เคลื่อนไหว และสร้างความสัมพันธ์ ให้กลุ่มทดลองปฏิบัติสัปดาห์ละ 5 วัน รวม 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าต่างๆ คือ ความดันโลหิตตัวบน ไตรกลีเซอไรด์ คะแนนภาวะซึมเศร้า ลดลงและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนระดับคอเลสเตอรอลดีชนิด HDL สุขภาพสมองคือ อัตราส่วนระหว่างคลื่นไฟฟ้าสมองแอลฟา (Alpha) ต่อเบต้า (Beta) สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มทดลองประเมินตนเองว่าหลังเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายพรีบร้า มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายพรีบร้าสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปส่งเสริมสุขภาพประชากรสูงอายุแบบองค์รวม เพื่อเป็นทางเลือกในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุต่อไป" }
{ "en": "Patients with carpal tunnel syndrome (CTS), often complain of pain and paresthesia of fingers and hands. Some may even progress to arms and shoulders. These symptoms can also be found in patients with myofascial pain syndrome (MPS). This study aims to evaluate the prevalence and correlation of myofascial pain syndrome in patients with possibly carpal tunnel syndrome.A total of 125 hands with suspected CTS were performed electrodiagnosis study on, between February-August 2018. Demographic data, chief complaint, pain score, paresthesia score, and presence of myofascial pain syndrome were collected and recorded, then electrodiagnosis studies were performed on. The studied variables were analyzed with a computer program using Chi-square and spearman’s rank correlation. 112 hands (89.6%) were diagnosed with CTS by electrodiagnosis and 56 hands (44.8%) were diagnosed with myofascial pain syndrome. Symptoms within the median nerve distribution were found in only 43 hands (34.4 %). MPS can be found in the group that symptoms spread beyond median nerve distribution more than the group that symptoms were within the median nerve distribution (p = 0.046). If the chief complain was pain, MPS can be found more than that within the paresthesia group (P < 0.001). We also found correlation between pain score and MPS (r2 = 0.596, p < 0.001). When analyzed with the ROC curve, MPS can be found with 76.7% sensitivity and 72.5% specificity (area .840, p < 0.001) when pain score is 5. We conclude that 44.8% of patients with clinical suspicion of CTS have MPS and clinicians should search for MPS if pain is the prominent symptom; if pain or paresthesia is spread beyond median nerve distribution; and if pain score is ≥ 5.", "th": "ผู้ป่วยโรคอุโมงค์ข้อมือกดทับเส้นประสาทมีเดียน (Carpal tunnel syndrome, CTS) พบอาการของโรคได้ทั้งปวดและชา หลายครั้งแจ้งว่าอาการร้าวไปถึงแขนและไหล่ เมื่อพิจารณาแล้วอาการดังกล่าวอาจเกิดจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome, MPS) ของกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดจากไหล่หรือแขนร้าวไปบริเวณมือได้ วัตถุประสงค์ของงานศึกษานี้เพื่อหาความชุกและความสัมพันธ์ของ MPS บริเวณแขนและไหล่กับผู้ป่วยที่อาการทางคลินิกสงสัย CTS มีผู้เข้าร่วมงานศึกษาทั้งสิ้น 91 ราย จำนวน 125 มือ ที่เข้ารับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยระหว่าง กุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม 2561 สอบถามบันทึกลักษณะผู้ป่วยข้อมูลทั่วไป อาการที่นำมาพบแพทย์ ระดับความชา ระดับความปวด ตรวจร่างกายหา MPS, ตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและบันทึกผล นำข้อมูลตัวแปรมาวิเคราะห์ด้วย Chi-Square และ Spearman’s rank correlation พบผลตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเข้าได้กับ CTS 112 มือ (ร้อยละ 89.6) และพบว่ามี MPS ร่วมด้วย 56 มือ (ร้อยละ 44.8) จากตำแหน่งอาการชาหรือปวดของผู้ป่วยพบเพียง 43 มือ (ร้อยละ 34.4) เท่านั้น ที่เป็นไปตาม median nerve distribution โดยผู้ป่วยที่มีอาการชาหรือปวดนอก median nerve distribution พบว่าจะตรวจเจอ MPS มากกว่ากลุ่มที่อาการอยู่ใน median nerve distribution (p = 0.046) ผู้ป่วยที่มีอาการนำมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดจะตรวจพบ MPS มากกว่ากลุ่มที่มาด้วยอาการชา (p < 0.001) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับอาการปวดและการตรวจพบ MPS ในทิศทางเดียวกัน (r2 = 0.596, p < 0.001) เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วย ROC curve พบว่า ที่ระดับอาการปวด 5 คะแนน มีความไว ร้อยละ 76.7 และความจำเพาะ ร้อยละ 72.5 (area .840, p < 0.001) ในการตรวจพบ MPS สรุปได้ว่าผู้ป่วยที่อาการทางคลินิกสงสัย CTS พบมี MPS ของแขนข้างเดียวกันสูงถึงร้อยละ 44.8 และควรจะค้นหาโรค MPS ร่วมด้วยเมื่อผู้ป่วยมีอาการนำมาพบแพทย์ด้วยอาการปวด อาการชาหรือปวดนั้นออกนอก median nerve distribution และระดับอาการปวดมากกว่า 5 คะแนนขึ้นไป" }
{ "en": "This study aims to compare the clinical outcomes and cost-effectiveness of the laparoscopic cholecystectomy (LC) between a Single Incision Transumbilical Laparoscopic Cholecystectomy (SILC) and Standard 3 - port Laparoscopic Cholecystectomy (SLC). Method: A Randomized Controlled Trial was conducted in gallstone patients treated at Mahasarakham hospital during the August 1, 2018 – May 31, 2019. A total of 62 patients were randomized into 2 groups. A control group treated by SLC technique, an experiment group treated by SILC technique and follow up 2 weeks after treatment. Data were collected using the evaluate clinical outcome and costs in societal view. The Index of Item – Objective Congruence (IOC) was 0.95. The findings in this study revealed the followings: 1) There were no statistically significant difference between SILC and SLC in the aspects of operative time (p=0.149), bleeding (p= 1.00), and post-operative pain (p=.497) But there were significant differences in the cosmetic scale (p < 0.001), length of hospital stay (p < 0.001), and time return to work (p < 0.001) at the 0.05 level of significance. 2) Cost-effectiveness ratio (CER) of SILC has lower than SLC. Conclusion: the SILC has worth more than SLC.", "th": "การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกและวิเคราะห์ต้นทุน - ประสิทธิผลของการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านทางกล้องวีดิทัศน์เปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดแบบแผลเดียวผ่านทางสะดือกับแบบมาตรฐานสามแผล วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี รับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2562 ผู้ป่วยจำนวน 62 ราย ได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมรับการผ่าตัดผ่านทางกล้องวีดิทัศน์แบบมาตรฐานสามแผล กลุ่มทดลองรับการผ่าตัดผ่านทางกล้องวีดิทัศน์แบบแผลเดียวผ่านทางสะดือและนัดติดตามอาการ 2 สัปดาห์หลังรับการรักษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกและแบบรวบรวมต้นทุนในมุมมองทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านทางกล้องวีดิทัศน์แบบแผลเดียวผ่านทางสะดือ และแบบมาตรฐานสามแผล มีผลลัพธ์ทางคลินิกด้านระยะเวลาผ่าตัด (p=0.149), การเสียเลือดจากการผ่าตัด (p= 1.00), และความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด (p=0.497) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความสวยงามของแผลผ่าตัด (p < 0.001) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด (p < 0.001) และระยะเวลาพักก่อนกลับเข้าทำงาน (p < 0.001) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 2) อัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลการผ่าตัดแบบบาดแผลเดียวผ่านทางสะดือต่ำกว่าแบบมาตรฐานสามแผล สรุปได้ว่า การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านทางกล้องวีดิทัศน์แบบบาดแผลเดียวผ่านทางสะดือมีความคุ้มค่ามากกว่าแบบมาตรฐานสามแผล" }
{ "en": "Methadone Maintenance Therapy (MMT) is one of the treatment processes under the concept of harm reduction from drug addiction. It is effective for treatment retention resulting in good outcome, reducing relapse, risk behaviors to themselves as well as others and improving quality of life. This retrospective study was aimed to determine the predicting factors of one year retention in MMT at Princess Mother Institute on Drug Abuse Treatment. Patient data was collected from outpatient medication profiles and the treatment reports of drug addiction using validated case record forms. The result was presented by percentage, mean and standard deviation and analyzed by Chi square test and logistic regression analysis to determine the association and predicting factors of one year retention in MMT. Of 173 patients, most of them were male (96.55%) with the mean age of 35.49 ± 11.39 years. The average methadone dose was 25.62 ± 11.67 mg/day. The predicting factors of one year retention in MMT were having career (OR = 4.29, 95% CI: 1.13-16.37) and earning more than 10,000 baht/month (OR = 3.74, 95% CI: 1.08-12.95). Therefore, the vocation training and employment support could enhance the retention in MMT leading to treatment success.", "th": "การบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว เป็นการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดภายใต้แนวคิดของการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm reduction) การบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวสามารถลดการกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำลดพฤติกรรมความเสี่ยง รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเสพติดสารกลุ่มโอปิออยด์ที่รับการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวในคลินิกเมทาโดนและแบบรายงานการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติด (บสต.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายในการคงอยู่ในระบบการบำบัดระยะเวลา 1 ปี ของผู้บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวในคลินิกเมทาโดน ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี โดยศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเสพติดสารกลุ่มโอปิออยด์ที่รับการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวในคลินิกเมทาโดนและ บสต. ระหว่างปีงบประมาณ 2558 จนถึง 2561 จำนวน 173 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 96.55 มีอายุเฉลี่ย35.49 ± 11.39 ปี ขนาดยาเมทาโดนเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับคือ 25.62 ± 11.67 มิลลิกรัม ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในระบบ 1 ปี คือ การประกอบอาชีพ (OR = 4.29, 95% CI 1.13-16.37) และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท (OR = 3.74, 95% CI 1.08-12.95) ดังนั้นการฝึกอาชีพ การจ้างงานแก่ผู้ที่เข้ารับการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว ช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในระบบการบำบัดและประสบความสำเร็จในการรักษา" }
{ "en": "Depression in adolescence is predominant problem because it affects adolescent themselve, family, and society. This predictive correlational study aimed to determine factors influencing depression among junior high school students. A sample of 200 junior high school students in Trad province was recruited by stratified random sampling technique. Data were obtained during June to July, 2018. Research instruments included 1) demographic questionnaires, 2) authoritative questionnaires, 3) phone addiction questionnaires, 4) internet game addiction questionnaires for children and adolescents, 5) adversity quotient questionnaires, and 6) depression scale questionnaires for children. Data were analyzed using descriptive statistic and stepwise multiple regression analysis.The results found that 30% of sample had depression. The overall mean score of depression was 21.78 (S.D. = 4.46). Factors influencing depression included adversity quotient (β = -0.292, p < 0.001), internet game addiction (β = 0.222, p < 0.05), and authoritative (β = -0.163, p < 0.05), respectively. Total variances explain for depression among high school students was 27% (R2 = 0.271, Adjusted R2 = 0.256, p < 0.001). The results show that adversity quotient, internet game addiction and authoritative parenting style influenced on depression among students in junior high school; therefore, nurses, health care providers, and the people who work with adolescents should use these significant variables to develop program in order to prevent depression among adolescents", "th": "ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญเพราะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่น ครอบครัวและสังคม การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดตราด จำนวน 200 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล3) แบบสอบถามการเสพติดการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 4) แบบวัดการติดเกมอินเทอร์เน็ต ฉบับเด็กและวัยรุ่น 5) แบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และ 6) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 30 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า เท่ากับ X= 21.78 (S.D. = 4.46) และพบว่า ตัวแปรที่มีอำนาจทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค (β = -0.29, p < 0.001) รองลงมาคือ การเสพติดเกมอินเทอร์เน็ต (β = 0.22, p < 0.05) และลำดับที่สามคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล (β = -0.16, p < 0.05) ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 27(R2 = 0.27, Adjusted R2 = 0.256, p < 0.001) ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค การเสพติดเกมอินเทอร์เน็ตและการอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนั้นพยาบาล บุคลากรทางด้านสุขภาพและบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นควรนำตัวแปรดังกล่าวไปใช้ในการสร้างโปรแกรมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น" }
{ "en": "Healthcare-associated bloodstream infections (HA-BSI) related to mortality and morbidity are often caused by bacteria and classified as primary or secondary infections. However, this current definition BSI did not include the report of secondary BSI to the surveillance system. The identification of a new infection was not clear when new organisms were reported. United States Centers for Disease Control and Prevention (US-CDC) assisted Department of Medical Services to develop the definition of BSI used from 2013 to 2017. The new definition clarified the timing of HA-BSIs with simplifying measurements from hourly to calendar day units and included report of the secondary BSI. The BSI in the ICU units was audited by infection control nurses. The researchers used an electronic data collection form for retrospective chart review. Charts were selected based on a hospitalized list of ICU patients with a positive blood culture during January to December 2017. Data were reviewed to determine if the blood cultures met the 2017 BSI definitions. The results of those were compared with the data collected by the current definition. A total of 174 ICU patients with a positive blood cultures were reviewed and 60 episodes (34.4%) met this HA-BSI following the 2017 BSI definitions. BSI was classified as HA-BSI in 95% and present on admission (POA) in 5%. The totalHA-BSI rate was 2.4 per 1,000 patient-days, the primary BSI rate was 1.4 per 1,000 patient- days and CLABSI rate was 2.6 per 1,000 central-line days. The secondary BSI rate was 1.0 per 1,000 patient-days. By current definition, the total BSI rate was 0.8 per 1,000 patient-days and CLABSI rate was 1.2 per 1,000 central-line days. Those results will be analyzed to effective problem solving regarding the cause of HA-BSI infections. The rate of CLABSI identified using the current definition was lower than that using the 2017 CDC definition. This lower rate may be the current definitions are unclear as to the duration time of the new infection.", "th": "การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นงานที่สำคัญของงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ผลจากการเฝ้าระวังการติดเชื้อพบว่าอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือด แม้ว่าจะไม่สูงเท่าอัตราการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจหรือระบบทางเดินปัสสาวะ แต่มีความสัมพันธ์กับอัตราป่วยและอัตราตายสูงกว่า ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบการติดเชื้อทั้งแบบปฐมภูมิ และแบบทุติยภูมิ โดยที่นิยามเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันไม่ได้รายงานการติดเชื้อแบบทุติยภูมิ และมีความไม่ชัดเจนในการระบุการติดเชื้อครั้งใหม่เมื่อพบจุลชีพตัวใหม่ และเนื่องด้วยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control and Prevention: US-CDC) ได้ปรับคำนิยามการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปี 2017 โดยได้เปลี่ยนการนับจำนวนชั่วโมงเป็นจำนวนวันซึ่งมีความชัดเจน อีกทั้งมีการปรับคำนิยามเพื่อลดความคลุมเครือให้มีความชัดเจนสะดวกต่อการเฝ้าระวังยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของคำถามงานวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาคำนิยามที่เปลี่ยนไปและอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างคำนิยามของ US-CDC 2017 กับคำนิยามที่ใช้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร โดยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่ส่งเลือดเพาะเชื้อพบเชื้อจุลชีพ และนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา เลือกเฉพาะผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดของ US-CDC 2017 จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้เปรียบเทียบกับข้อมูลการติดเชื้อที่ได้ดำเนินการเฝ้าระวังอยู่ในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2017 มีผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตที่ส่งตัวอย่างเลือดและผลเพาะเชื้อพบจุลชีพจำนวน 174 ราย มี 60 ราย (ร้อยละ 34.4) ที่ผลเพาะเชื้อเข้าได้กับนิยามการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดของ US-CDC 2017 โดยที่ 95% (57/60) เป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด และอีก 5% เป็นการติดเชื้อโดยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่าเท่ากับ 2 วัน แต่อยู่ในช่วงระยะเวลา 14 วัน ที่เฝ้าระวัง เหตุการณ์ตามคำนิยามของ Present on admission (POA) และเมื่อวิเคราะห์ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งหมดพบอัตราการติดเชื้อ2.4 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน เมื่อจำแนกการติดเชื้อแบบปฐมภูมิ (Primary BSI) พบอัตรา 1.4 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน และแบบทุติยภูมิ (Secondary BSI) 1.0 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน ส่วนการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง พบ 2.6 ครั้ง ต่อ 1,000 วันใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง เมื่อเทียบกับข้อมูลการติดเชื้อที่ได้ดำเนินการเฝ้าระวังอยู่ในปัจจุบันจะไม่มีข้อมูลการติดเชื้อ POA และการติดเชื้อแบบทุติยภูมิ โดยพบว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งหมด มีอัตราการติดเชื้อ 0.8 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน ส่วนการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง พบ 1.2 ครั้งต่อ 1,000 วัน ใส่สายสวนสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อ Primary BSI ระหว่างนิยามการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดของ US-CDC 2017 กับคำนิยามที่ใช้ในปัจจุบัน พบว่านิยามของ US-CDC 2017 มีอัตราการติดเชื้อที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาจเนื่องมาจากมีความชัดเจนในการวินิจฉัยมากกว่า อีกทั้งวันที่พบการติดเชื้อ ช่วงเวลาในการติดเชื้อครั้งใหม่ที่ตำแหน่งเดิมหรือระยะเวลาองค์ประกอบของการติดเชื้อที่ครบถ้วน ดังนั้น การปรับมาใช้คำนิยามของ US-CDC 2017 น่าจะสะท้อนสถานการณ์การติดเชื้อได้แม่นยำกว่า อีกทั้งสามารถนำไปเทียบเคียงโรงพยาบาลอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้" }
{ "en": "This research study aimed to: 1) develop guidelines of quality and safety at Epilepsy Monitoring Unit. 2)evaluate knowledge and the satisfaction in the use of guidelines of quality and safety in Epilepsy Monitoring Unit. Using the framework the model PDCA 4 steps 1) Planning 2) Do 3) Check and 4) Act. Targets: 46 registered nurses who have willing to sample and have experience working with epilepsy patients for more than one year were selected criteria for this study at Prasat Neurological Institute. Methods tools used in this study were 1) a report on the risk / adverse event of quality and safety in Epilepsy Monitoring Unit, 2) interviewing nurses 3) the assessment guidelines of quality and safety in Epilepsy Monitoring Unit and collect data to measure knowledge, evaluation of the practice and questionnaires used to assess satisfaction which were all the tools to examine by content validity index and reliability. Data was analyzed by content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test. The results showed that 1) nurses got post learning score higher than pre learning significant p < 0.05. 2) all most of nurses using practice guidelines quality and safety100% 3) The nurses have satisfaction in guidelines quality and safety model and have willing to take action to overall high level (= 4.48,SD.= 0.59)", "th": "การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาแนวปฏิบัติคุณภาพและความปลอดภัยในหน่วยวินิจฉัยโรคลมชัก2) ประเมินความรู้ ความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติคุณภาพและความปลอดภัยในหน่วยวินิจฉัยโรคลมชัก โดยใช้หลักการบริหารจัดการเชิงคุณภาพตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข (Plan) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do)ขั้นตอนที่ 3 กำหนดมาตรการปรับปรุงแก้ไข (Check) และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Act) กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานกับผู้ป่วยโรคลมชักตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป ปฏิบัติงานหน่วยงานตรวจวินิจฉัยโรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา คัดเลือกโดยวิธีเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดและยินยอมเข้าร่วมวิจัย จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) รายงานวิจัยคุณภาพและความปลอดภัยในหน่วยตรวจวินิจฉัยโรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา 2) แบบสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพ 3) แบบเก็บรวบรวมข้อมูลแนวปฏิบัติคุณภาพและความปลอดภัย ได้แก่ (1) แบบวัดความรู้ (2) แบบนิเทศการใช้แนวปฏิบัติ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่า ความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (paired t-test) ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังอบรมมากกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยาบาลวิชาชีพในหน่วยตรวจวินิจฉัยโรคลมชักส่วนใหญ่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติคุณภาพและความปลอดภัยร้อยละ 100 และมีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติคุณภาพและความปลอดภัยในหน่วยตรวจวินิจฉัยโรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.48, S.D.= 0.59)" }
{ "en": "This study was a retrospective case control design. The aim of this study was to investigate general information and risk factors for episiotomy wound Infection of parturients delivered in Nopparatrajathanee hospital. Data were collected from the medical records of Nopparatrajathanee hospital between October 1, 2014 and September 20, 2017. The subjects were 188 women. They were divided into two groups; 39 in a case group and 149 in a control group. Data were analyzed using Stata statistical software version 14. Descriptive statistics were performed to describe frequency, percentage, mean and standard deviation. Univariable Odds Ratio Regression and Multivariable Odds Ratio Regression reduced model were employed risk factors for episiotomy wound infection. Results showed that 39 (27%) women had episiotomy wound infection and 149 (79.3%) women were without episiotomy wound infection. The majority of participants were teenagers (79.8%; 150/188) and their education levels were primary school or lower (48.4%; 91/188). The majority of women with episiotomy wound infection group (61.5%; 24/39) were foreign nationals (Laos, Cambodia and Myanmar) and most of them (38.5%; 15/39) were Myanmar. The majority of women with normal perineum (66.4%; 99/149) were Thai people. Risk factors for episiotomy wound infection were 16.5 times greater in women with episiotomy (OR = 16.5, 95% CI = 2.2-125.8; p-value <0.001) and 3.4 times greater in foreign women (Laos, Cambodian and Myanmar) (OR = 3.4, 95% CI = 1.58-7.22; p-value = 0.001). In conclusion, episiotomy during vaginal birth and nationalities were risk factors for episiotomy wound infection of the deliveries in Nopparatrajathanee Hospital.", "th": "การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective case-control design โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดแผลฝีเย็บอักเสบในผู้คลอด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองคือกลุ่มที่มีแผลฝีเย็บอักเสบจำนวน 39 คน และกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ไม่มีแผลฝีเย็บอักเสบจำนวน 149 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดแผลฝีเย็บอักเสบโดยใช้สถิติ Univariable Odds Ratio Regression และ Multivariable Odds Ratio Regression แบบ reduced model ด้วยโปรแกรม STATA version 14 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้คลอดแผลฝีเย็บอักเสบมีจำนวน 39 คน (ร้อยละ 20.7) และกลุ่มผู้คลอดแผลฝีเย็บปกติจำนวน 149 คน (ร้อยละ 79.3) กลุ่มผู้คลอดทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นผู้คลอดวัยรุ่น (79.8%; 150/188) และมีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (48.4%; 91/188) ซึ่งในกลุ่มแผลฝีเย็บอักเสบส่วนใหญ่พบเป็นชาวต่างชาติ (ลาว เขมร และพม่า) ร้อยละ 61.5 (24/39) ที่พบมากที่สุดเป็นชาวพม่าร้อยละ 38.5 (15/39) ส่วนกลุ่มผู้คลอดแผลฝีเย็บปกติส่วนใหญ่เป็นชาวไทยร้อยละ 66.4 (99/149) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดแผลฝีเย็บอักเสบในผู้คลอด ได้แก่ การตัดฝีเย็บ มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น 16.5 เท่า (OR = 16.54, 95% CI = 2.2-125.8; p-value < 0.001) และชาวต่างชาติมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น 3.4 เท่า (OR = 3.4; 95% CI = 1.58-7.22; p - value = 0.001) สรุปการตัดฝีเย็บ และเชื้อชาติคือปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดแผลฝีเย็บอักเสบในผู้คลอดโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี" }
{ "en": "Mucormycosis is an invasive fungal infection which arises due to immune compromised state of individuals.1 It is the second most common mucormycosis after aspergillosis caused by actinomucor, rhizopus, rhizomucor, and mucor species. The most important risk factor for mucormycosis development is malignant hematological disorders, bone marrow transplantation and prolonged corticosteroid administration in immunocompromised patient.2 Predisposing factors also includes malnutrition, prematurity, HIV infection and diabetes mellitus.3 The characteristics of mucor species infection is rapid vascular invasion followed by vascular thrombosis and tissue necrosis.4 The patients of leukemia having impaired immunity are more prone for mucormycosis infection.5 Usually, mucormycosis presents as an acute infection and manifests as rhinocerebral, pulmonary, gastrointestinal, cutaneous or disseminated forms.6 Immunosuppressive condition of the body rise the chance of opportunistic fungal infection.3 Uncontrolled invasive fungal infection can cause destruction of surrounding tissues and bone and, can cause exposure to external environment.5 Exposed maxillary bone can occur due to trauma, bacterial infection leading to osteomyelitis, viral infection like herpes zoster, fungal infection such as mucormycosis, and malignancies. Exposed maxillary bone may cause oro-antral communication and fistula which is an unusual communication between the oral cavity and the maxillary sinus. The aim is report a case of exposed maxillary bone due to mucormycosis in a nine year old child of acute lymphoblastic leukemia (ALL) for the dental consideration.", "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": null, "th": null }
{ "en": "At the present time, automatic tube current modulation (ATCM) system for computed tomography (CT) scanner is widely used. Department of radiation diagnostic, Lopburi cancer hospital has been used the ATCM system for a Chest CT examination. The aim of this research was to compare radiation dose and image noise from the use of a fixed tube current time product of 250 mAs and those from using the Toshiba ATCM system with different image noise levels such as high quality (HQ), quality (Q), standard (STD), low dose (LD) and screening (S). The experiment was carried out in a phantom. The tube current times products, volume computed tomography dose index (CTDIvol), dose length product (DLP) obtained from the scans were recorded and the effective dose was calculated. The skin dose was also measured using NanodotTM dosimeters and the image noise was measured using ImageJ. The results reveal that the setting up of image noise levels of HQ, Q, STD, LD and S, when compared to the fixed 250 mAs, resulted in reductions of the average CTDIvol, DLP and E by 14%, 33%, 47%, 80% and 86%, but increases the image noise by 8%, 13%, 22% ,69% and 91% respectively. Although the lowest value of E of 2.7 mSv from the image noise of “S” level was 7 times lower than that obtained from the fixed mAs technique, it was 2 times higher than the value recommended by the national lung screening trial research, U.S. In the future, the use of Iterative reconstruction technique with ATCM system should be studied, in order to reduce the radiation dose while maintaining the image quality. Moreover, the complete quantitative image quality assessment and qualitative assessment by radiologists should be performed to select an appropriate protocol used for a specific lesion detection.", "th": "ในปัจจุบันระบบปรับกระแสหลอดอัตโนมัติ (Automatic tube current modulation: ATCM) สำหรับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ถูกนํามาใช้งานอย่างแพร่หลาย งานรังสีวินิจฉัยของโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีมีการใช้ระบบ ATCM ในการถ่ายภําพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก โดยงํานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมํายเพื่อเปรียบเทียบค่ําปริมําณรังสีและสัญญําณรบกวนของภาพจากการใช้เทคนิคค่ากระแสหลอดและเวลา (mAs) คงที่ ที่ 250 mAs และการใช้ระบบปรับกระแสหลอดอัตโนมัติของเครื่องโตชิบาโดยตั้งค่าสัญญาณรบกวน 5 ระดับ ได้แก่ high quality (HQ), quality (Q), standard (STD), low dose (LD) และ screening (S) ในหุ่นจําลอง โดยบันทึกค่ากระแสหลอดและเวลาที่ใช้ในการสแกนค่าปริมาณรังสี volume computed tomography dose index (CTDIvol), dose length product (DLP) และ คํานวณปริมาณรังสียังผล (Effective: E) วัดปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวโดยใช้อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีชนิด NanodotTM และวัดค่าสัญญาณรบกวนในภาพด้วยโปรแกรม ImageJ ผลการศึกษาพบว่า การตั้งค่าสัญญาณรบกวน ระดับ HQ, Q, STD, LD และ S สามารถลดปริมาณรังสี CTDIvol, DLP และ E เฉลี่ยได้ร้อยละ 14, 33, 47, 80 และ 86 แต่สัญญาณรบกวนในภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 8, 13, 22 ,69 และ 91 ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการตั้งค่ากระแสหลอดและเวลาคงที่ และแม้ว่าค่า E ต่าสุดเท่ากับ 2.7 mSv ที่ได้จากการตั้งค่าระดับสัญญาณรบกวนแบบ Screening นั้นจะต่ากว่าค่าที่ได้จากการตั้งค่ากระแสหลอดคงที่ ถึง 7 เท่า แต่ยังคงสูงกว่าค่าที่แนะนําโดย The national lung screening trial research ของสหรัฐอเมริกา อยู่ 2 เท่า ดังนั้นในอนาคตควรศึกษาถึงการใช้การสร้างภาพแบบอิทเทอเรชั่น ร่วมกับระบบปรับกระแสหลอดอัตโนมัติเพื่อลดระดับปริมาณรังสีโดยยังคงคุณภาพของภาพ และประเมินคุณภาพของภาพเชิงปริมาณในด้านอื่นๆ อย่างครบถ้วน รวมทั้งประเมินเชิงคุณภาพโดยรังสีแพทย์ เพื่อเลือกใช้โปรโตคอลที่เหมาะสมกับการวินิจฉัยรอยโรคชนิดต่างๆ ต่อไป" }
{ "en": "Background: A treatment of pediatric patient with central venous catheterscan lead to complications. The importance of knowledge management program of nurses for practice on pediatric patient with central venous catheters care guidelinesaffects to the safety on patient outcomes. Objectives: The purpose is to study and compare means the effect of knowledge management program of nurses for practice on pediatric patient with central venous catheters care guidelines at pediatric’s surgical ward. Methods: This is a quasi-experimental research. Sample was 11 nurses of pediatric’s surgical ward at Queen Sirikit National Institute of Child Health. Instruments used in this study were 1. Knowledge management program on Dr. Wichan Phanit’s conceptual flamework. 2. Guidelines for the care of patients with central venous catheters 3. Another instrument used to gather data were observational follow-up guidelines for patients with central venous catheters. 11 nurses were recruited as experimental group before and after using the knowledge management program by the researcher and nurses from the Prevention and Control Unit of Queen Sirikit National Institute of Child Health. The tools used to collect data have been tested for reliability Cronbach’s alpha coefficients of 1 were analyzed using Wilcoxon Signed Rank Test comparing scores of practice on pediatric patient with central venous catheters care guidelines before and after giving intervention. Results: 1. Means of practice on pediatric patient with central venous catheters care guidelines after using the knowledge management program was very good level 2. Comparison of practice on pediatric patient with central venous catheters care guidelines after the use of knowledge management program was significantly higher than those in before experiment except for step change intravenous sets and the blood components sets. Conclusion: The knowledge management program helps nurses to follow the guidelines better.", "th": "ภูมิหลัง: การทำหัตถการผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางสามารถนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ความสำคัญของโปรแกรมการจัดการความรู้ของพยาบาลในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง มีผลต่อความปลอดภัยของชีวิตผู้ป่วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางก่อนและหลังใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ของพยาบาล วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) แบบ 1 กลุ่ม วัดก่อน-หลัง (One Group Pre-Post Test Design) กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพประจำการหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็กโต (ส.7บี) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 11 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. โปรแกรมการจัดการความรู้ของพยาบาลเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ตามแนวคิด ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 2. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลำง 3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบบันทึกการสังเกตการรปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใส่สายสวนหลอดเลือดำส่วนกลาง สำหรับพยาบาล การเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มทดลอง 11 คน ก่อนและหลังใช้โปรแกรมการรจัดการความรู้ โดยผู้วิจัย และพยาบาลจากหน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีมาร่วมเป็นผู้สังเกตและลงบันทึกในแบบบันทึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 1. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Wilcoxon Signed Rank Test เปรียบเทียบคะแนน เฉลี่ยของกลุ่มทดลองก่อนและหลัง ผล: 1. คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ก่อนใช้โปรแกรมการจัดการความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังการใช้โปรแกรมการจัดการความรู้อยู่ในระดับดีมาก 2. เปรียบเทียบการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางภายหลังการใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ ดีกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านขั้นตอนการเปลี่ยนชุดให้สารละลาย และส่วนประกอบของเลือด ไม่แตกต่าง สรุป: โปรแกรมการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางดีขึ้น" }
{ "en": "Objective: In this study, we investigated the difference of left ventricle (LV) function from 4D-MSPECT and Myometrix processing softwares of Gated Myocardial Perfusion Single-Photon Emission Computerized Tomography (GSPECT) and Two-Dimensional Transthoracic Echocardiography (Echo). Methods: One hundred and seventy subjects who suspected coronary artery disease (CAD) and were referred to evaluate of myocardial perfusion and LV function by MPS. They were underwent one-day 99mTc-MIBI protocol GSPECT from July 2016 to September 2017. LVEF was calculated by 4D-MSPECT and Myometrix softwares. LVEF was also gathered by Echo studies within 6 months before or after MPS. We compared LVEF calculated with 2 softwares of GSPECT, 4D-MSPECT and Myometrix, retrospectively with the values derived from Echo. Result: There was good correlation of LVEF from Echo with both 4D-MSPECT and Myometrix softwares (r = 0.814 and 0.820 respectively). Nevertheless, LVEF values obtained from both softwares were differed significantly from those obtained by Echo (p < 0.05). However, there was no clinically significant difference (less than 10% difference). Conclusion: In a clinical setting, the LVEF values obtained from MPS using any type of processing softwares can also be used to substitute those to plan, treat and monitor patients with coronary heart disease from Echo due to no clinically significant difference.", "th": "วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่า LVEF ที่ได้จากการตรวจ Echo และการตรวจ MPS โดยใช้โปรแกรมประมวลผลชนิด 4D-MSPECT และ Myometrix วิธีการ: ทําการศึกษาย้อนหลังแบบตัดขวางในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุรแพทย์โรคหัวใจสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและได้รับการตรวจ Echo และ MPS ห่างกันไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่มีอาการทางคลินิกเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญในรพ.ราชวิถี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559 จนถึงเดือนกันยายน 2560 จํานวน 170 ราย โดยทําการบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจ Echo และ MPS โดยใช้โปรแกรมประมวลผลชนิด 4D-MSPECT และ Myometrix ผล: พบความสัมพันธ์กันอย่างดีระหว่างค่า LVEF ที่ได้จากการตรวจ Echo และจากโปรแกรมประมวลผลชนิด 4D-MSPECT และ Myometrix (r = 0.814 และ r = 0.820 ตามลําดับ) แต่ค่า LVEF ที่ได้จากโปรแกรมทั้งสองชนิดมีความแตกต่างจํากที่ได้จากการตรวจ Echo อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีควํามแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางคลินิก สรุป: ในทางคลินิก ค่า LVEF ที่ได้จากการตรวจ MPS โดยใช้โปรแกรมประมวลผลชนิดใดชนิดหนึ่งยังสามารถใช้ทดแทนค่าที่ตรวจได้จาก Echo เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนรักษาและติดตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันอย่างดีและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางคลินิก" }
{ "en": "Background: Leftover medicine is one of the important problems of the Thai health system. It not only affects the health budget of the country but also affects the safety of patients. The main cause of having leftover medicine is patients’ non-adherence, medicine oversupply, and changing treatment plans. In addition, one of the reasons that resulted in the leftover medicine is a hospital without a pharmacy service on leftover medicine. Therefore, the leftover medicine pharmacy service is used to solve the problem. It allows patients to be safe from medicine use and reduce health costs of the country. However, the service may result in increased cost, impact on service and workload of staffs. Method: This study was a cross-sectional descriptive study, to analyze cost, cost-saving and break-even of the pharmacy service on leftover medicines in children with rheumatism, under providers’ perspective. We selected children with rheumatism patients who received services in allergy and rheumatism clinic at Queen Sirikit National Institute of Child Health between April to June 2018. Activity-based costing was used to analyze the cost of the leftover medicine pharmacy service consisting of 7 activities, 1) follow-up appointment, 2) leftover medicine counting and recording, 3) prescription checking, 4) medicine price calculation, 5) medicine preparing, 6) medicine checking, and 7) medicine dispensing. Results: A total of 101 patients with rheumatism were recruited, 74 patients are female (73.27%) with average age of 12.53 ± 3.32 years old. We found that the leftover medicine pharmacy service could save medicine cost up to 827.18 Thai baht (THB)/time. The average cost of the service was 116.06 THB/time divided into labor cost (74.40 THB/time), material cost (30.91 THB/time), and capital cost (10.75 THB/time). The break-even of the service was 711.11 THB/time, while the break-even point of the service was 94 THB/time. Also, we found that the leftover medicine counting and recording activity had the highest cost (26.26 baht/time), while the prescription checking activity had the lowest cost (3.04 THB/time). Labor cost was accounted for 64.11% of the total cost. Ratio of labor cost : material cost : capital cost was 64.11 : 26.63 : 9.26. Conclusions: The leftover medicine pharmacy service could save the cost of medicine and had relatively low cost of service.", "th": "ภูมิหลัง: “ยาเหลือใช้” นับเป็นปัญหาสําคัญอย่างหนึ่งของระบบสุขภาพไทย ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่องบประมาณด้านสุขภาพของประเทศ แต่ยังส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย สาเหตุสําคัญของการมียาเหลือใช้ คือ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยา สั่งจ่ายยามากเกินไป และการปรับเปลี่ยนแผนการรักษา นอกจากนี้สาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดยาเหลือใช้ คือ โรงพยาบาลไม่มีระบบการให้บริการด้านยาเหลือใช้ ดังนั้นการให้บริการจัดการยาเหลือใช้จึงถูกนํามาใช้ในการแก้ไขปัญหําดังกล่าว ซึ่งทําให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยาและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ อย่างไรก็ตามการให้บริการจัดการยาเหลือใช้อาจทําให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อการให้บริการและภาระงานของเจ้าหน้าที่ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน มูลค่ายาที่ประหยัดได้ และความคุ้มทุนของการให้บริการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยเด็กโรครูมาติสซั่มในมุมมองของผู้ให้บริกําร คัดเลือกจากผู้ป่วยเด็กโรครูมาติสซั่มที่มารับบริการในคลินิกโรคภูมิแพ้และข้อที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2561 วิเคราะห์ต้นทุนบริการจัดการยาเหลือใช้ด้วยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) ติดตามผู้ป่วยมาพบแพทย์ 2) นับและบันทึกยาเหลือใช้ 3) ตรวจสอบใบสั่งยา 4) คิดราคายา 5) จัดยา 6) ตรวจสอบยา และ 7) จ่ายยา ผล:ผู้ป่วยเด็กโรครูมาติสซั่ม จํานวน 101 ราย เป็นเพศหญิง 74 ราย (73.27 %) อายุเฉลี่ย 12.53 ± 3.32 ปี พบว่า การให้บริการจัดการยาเหลือใช้สามารถประหยัดค่ายาได้ 827.18 บาท/ครั้ง ต้นทุนการให้บริการรวมเฉลี่ย 116.06 บาท/ครั้ง แบ่งเป็น ต้นทุนค่าแรง (74.40 บาท/ครั้ง) ต้นทุนค่าวัสดุ (30.91 บาท/ครั้ง) ต้นทุนค่าลงทุน (10.75 บาท/ครั้ง) ความคุ้มทุนของการให้บริการ 711.11 บาท/ครั้ง ในขณะที่จุดคุ้มทุนของการให้บริการ คือ 94 บาท/ครั้ง และพบว่า กิจกรรมนับและบันทึกยาเหลือใช้ มีต้นทุนมากที่สุด (26.26 บาท/ครั้ง) ในขณะที่กิจกรรมตรวจสอบใบสั่งยามีต้นทุนน้อยที่สุด (3.04 บาท/ครั้ง) โดยต้นทุนค่าแรงคิดเป็นร้อยละ 64.11 ของต้นทุนรวมทั้งหมด สัดส่วนต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 64.11 : 26.63 : 9.26 สรุป: การให้บริการจัดการยาเหลือใช้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยํา และมีต้นทุนการให้บริการค่อนข้างต่ํา" }
{ "en": null, "th": null }