content
stringlengths 2
11.3k
| url
stringlengths 26
27
| title
stringlengths 3
125
|
---|---|---|
สำนักโพล VsTIOM ของประเทศรัสเซีย รายงานผลการสำรวจจากการสุ่มตัวอย่างประชากรทั่วประเทศรัสเซียจำนวน 1,600 คน พบว่า 32% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมดเชื่อว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบโลก!
ถ้าตัวเลขนี้ยังน่าตกใจไม่พอ ก็มีคำตอบสุดเหลือเชื่ออีก เช่น
29% ตอบอย่างมั่นใจว่ามนุษย์กับไดโนเสาร์เคยอาศัยอยู่บนโลกพร้อมกัน (ในความเป็นจริง ไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปหมดแล้วเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน ขณะที่มนุษย์คนแรกกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 200,000 ปีที่ผ่านมานี้เอง หรือถ้าจะนับไปถึงบรรพบุรุษในสกุล Australopithecus ก็ยังเพิ่งจะ 4 ล้านปีที่ผ่านมา)
55% เชื่อว่ากัมมันตรังสีทั้งหมดเกิดจากน้ำมือมนุษย์ (ซึ่งความจริงก็ไม่ถูกต้องอีกนั่นแหละ กัมมันตรังสีที่พบบนโลกมีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ, มาจากอวกาศ, และมนุษย์สร้างขึ้น)
โฆษกของสำนักโพลบอกว่า "ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าระดับการศึกษาในประเทศนี้ตกต่ำเพียงใด"
ที่มา - The Register
นี่ขนาดรัสเซียเป็นประเทศมหาอำนาจนะ แล้วผลของประเทศที่คนส่วนใหญ่ยังซาบซึ้งกับเทวดาอยู่จะขนาดไหน? | https://jusci.net/node/1579 | ชาวรัสเซียหนึ่งในสามเชื่อว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบโลก |
พวกอัจฉริยะมียีนฉลาดมากกว่าคนปกติหรือไม่ เราไม่รูั แต่ที่แน่ๆ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้วว่ายีนที่ทำให้เราโง่มีจริง และเมื่อทดลองเอายีนโง่ออกก็ทำให้หนูทดลองฉลาดขึ้นด้วย
ทีมวิจัยที่นำโดย John Hepler แห่ง Emory University สังเกตว่าเซลล์ประสาทในส่วน CA2 ของสมองส่วน hippocampus มีพฤติกรรมประหลาดๆ คือ มันไม่ยอมเกิดปรากฏการณ์ long-term potentiation แบบที่พบเซลล์ประสาทในส่วน CA1 ที่อยู่ใกล้ๆ กัน ซึ่ง long-term potentiation เป็นปรากฏการณ์ที่ช่วยให้เซลล์ประสาทไวต่อสัญญาณ synaptic signal (การส่งสัญญาณจากปลายเซลล์ประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลล์ประสาทหนึ่ง) มากขึ้น และก่อนหน้านี้มีการทดลองยืนยันว่า long-term potentiation เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้
พวกเขายังสังเกตต่อไปอีกว่าเซลล์ประสาทใน CA2 มีโปรตีนที่ชื่อว่า RGS14 สะสมอยู่เป็นปริมาณมาก เมื่อพวกเขาผสมพันธุ์หนูโดยตัดเอายีนที่สร้างโปรตีน RGS14 ออก ก็พบว่ามี long-term potentiation เกิดขึ้นใน CA2
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจับหนูที่ไม่มียีน RGS14 กับหนูปกติมาแข่งกัน ก็พบว่าหนูที่ไม่มียีน RGS14 จำวัตถุได้ดีกว่า, หาทางรอดจากเขาวงกตได้เร็วกว่า แถมดูเหมือนว่าการเอายีน RGS14 ออกจะไม่ส่งผลเสียอะไรกับสุขภาพของหนูด้วย
ยีน RGS14 พบในมนุษย์ด้วยเช่นกัน นักวิทยาศาสตร์ยังงงๆ อยู่ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์ฉลาดๆ แบบเราจะเก็บยีนที่ทำให้เราโง่เอาไว้ทำไม? บางทีมันอาจจะมีประโยชน์อะไรบางอย่างอยู่ก็ได้เพียงแต่เรายังไม่สังเกตเห็น หนูที่ไม่มียีน RGS14 ฉลาดกว่าหนูปกติโดยไม่มีผลข้างเคียงอะไรจริงหรือ? ขนาด CPU จากโรงงานยังก็ต้องกั๊กความเร็วเพื่อไม่ให้ร้อนจัดเลย...
เอ๊ะ หรือว่าพระเจ้าวางแผนจะขาย unlock card?
ที่มา - Scientific American | https://jusci.net/node/1580 | ตัด "ยีนโง่" ออกเพื่อเพิ่มความฉลาด |
ทีมนักวิจัยที่นำโดย ศ. Lígia Salgueiro และ ศ. Eugénia Pinto แห่ง University of Coimbra ในประเทศโปรตุเกส ค้นพบว่าน้ำมันที่สกัดจากลาเวนเดอร์ (Lavandula viridis) มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด
จากการทดลอง พบว่าเชื้อราที่ถูกทำลายได้ด้วยน้ำมันลาเวนเดอร์ได้แก่ เชื้อราตามผิวหนังที่เกิดการติดเชื้อในหนังศีรษะและเล็บ เชื้อราที่ทำให้เกิดกลาก และเชื้อราในสกุล Candida อีกหลายชนิด โดยน้ำมันลาเวนเดอร์จะเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อรา ทำให้เชื้อราตายในที่สุด
ขั้นต่อไปก็คือการทดลองใช้ในทางคลินิก ถ้าใช้ได้ผลดี เราก็จะได้ไม่ต้องพึ่งยาฆ่าเชื้อราที่มีราคาแพงและมักจะมีผลข้างเคียงอีกต่อไป
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1581 | น้ำมันลาเวนเดอร์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา |
ของเราก็เอาจริงซะทีเถอะครับ ปั่นจักรยานเจอพวกควันพวยพุ่งทีไรถอยห่างไม่ทันสักที ทำได้แค่ชะลอให้มันไปไกลๆ | https://jusci.net/node/1582 | สหภาพยุโรปออกกฏลดคาร์บอนจากรถตู้ลง 14% ในปี 2017 |
เครื่องดื่ม "โค้ก" เป็นสินค้าอมตะนิรันดร์กาลของบริษัทโคคา-โคลา สูตรของน้ำอัดลมสีดำนี้ถือเป็นความลับสูงสุดของบริษัท อย่างที่เป็นข่าวในปี 2006 แค่มีการสงสัยว่าอดีตพนักงานแอบเอาสูตรไปขายให้กับ PepsiCo (บริษัทที่ทำ "เป๊บซี่") โคคา-โคลายังไล่ฟ้องแทบจะให้ตายกันไปข้าง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีข่าวลืออีกว่าสูตรโค้กตัวจริงเก็บอยู่ในห้องนิรภัยลึกลับ ภายนอกมีหน่วยรักษาความปลอดภัยยืนคุมเข้มตลอดเวลา มีพนักงานโคคา-โคลาเพียงสองคนเท่านั้นที่มีกุญแจไขเข้าไปได้
แต่วันนี้กลับมีรายการวิทยุ This American Life ในชิคาโก ตาดีไปเจอสูตรโค้กในหนังสือพิมพ์ Atlanta Journal-Constitution ฉบับปี 1979 หรือเมื่อ 32 ปีที่แล้ว
คอลัมน์นั้นเขียนโดย Charles Salter ซึ่งตอนนี้เกษียณไปแล้ว Charles Salter เล่าว่าเพื่อนของเขาชื่อ Everett Beal (ตอนนี้ตายไปแล้ว) มาพบเขาแล้วก็โชว์สูตรเครื่องดื่มอย่างหนึ่งให้ดูและบอกว่ามันคือสูตรของโค้กซึ่งอ้างว่าเอามาจาก John Pemberton (ผู้ก่อตั้งบริษัทโคคา-โคลา และผู้คิดค้นสูตรโค้ก) เองเลยทีเดียว
ด้วยสัญชาติญาณนักข่าว Charles Salter เลยขอถ่ายรูปสูตรจากสมุดบันทึกนั้นไว้และเอาไปลงหนังสือพิมพ์ จากนั้นข่าวก็เงียบไป
ผ่านมา 32 ปี Ira Glass นักข่าวของ This American Life ไปขุดเจอหนังสือพิมพ์ที่ว่าจากไหนไม่รู้ แต่ก็อุตส่าห์แกะสูตรจากภาพถ่ายของ Charles Salter มาได้ดังนี้
Fluid extract of Coca (3 drams USP)
Citric acid (3 ounces)
Caffeine (1 ounce)
Sugar (30 pounds)
Water (2.5 gallons)
Lime juice 2 pints (1 quart)
Vanilla (1 ounce)
Caramel (1.5 ounces or more to color)
7X flavor (Use 2 ounces flavor to 5 gallons of syrup)
Alcohol (8 ounces)
Orange oil (20 drops)
Lemon oil (30 drops)
Nutmeg oil (10 drops)
Coriander oil (5 drops)
Neroli oil (10 drops)
Cinnamon oil (10 drops)
เมื่อเอาสูตรนี้ไปเปรียบเทียบกับอีกสูตรที่เชื่อกันว่าเป็นของ John Pemberton เหมือนกัน ก็พบว่าทั้งสองสูตรตรงกันเกือบทุกประการ (สูตรอีกอันได้รับการตีพิมพ์ในปี 1992 ในหนังสือ "For God, Country and Coca-Cola" ของ Mark Pendergrast) ถ้าใครอยากรู้ว่ามันเหมือนกันขนาดไหนก็ไปดูให้เห็นกับตาได้จากเว็บ This American Life ได้เลย
พอข่าวนี้แพร่ไปทั่วอินเตอร์เน็ต Kerry Tressler โฆษกของโคคา-โคลา ก็รีบออกมาแก้ลำปฏิเสธทันที ทำนองว่าสูตรที่ This American Life แกะมาได้นี้ไม่ใช่ของจริง
‘This American Life,' along with many other third parties, have tried over time to crack our secret formula. At the end of the day, there is only one ‘real thing.'
แต่ This American Life ก็ไม่สนใจ แถมยังประกาศด้วยว่าจะเผย "วิธีทำ" ต่อในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
ข้างล่างคือรูปถ่ายจากหนังสือพิมพ์ Atlanta Journal-Constitution ปี 1979
ที่มา - Atlanta Journal-Constitution, Discovery News | https://jusci.net/node/1583 | สูตรโค้กหลุดว่อนทั่วอินเตอร์เน็ต |
ข้อมูลจีโนมที่อยู่ในฐานข้อมูลเป็นเสมือนแหล่งอ้างอิงที่ให้นักวิจัยทั่วโลกใช้ แต่ว่านักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งกลับพบโดยบังเอิญว่าฐานข้อมูลจีโนมที่เราเคยคิดว่าถูกต้องสมบูรณ์นั้น แท้จริงมี DNA ของมนุษย์ปนเปื้อนอยู่ถึง 1 ใน 5
Mark S. Longo, Michael O’Neill และ Rachel O’Neill แห่งมหาวิทยาลัยคอนเน็คติคัต เริ่มต้นด้วยการค้นหาข้อมูลจีโนมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ (เขาไม่ได้บอกว่าเป็นไวรัสอะไร แต่ช่างมัน ไม่เกี่ยวอยู่แล้ว) ค้นไปค้นมา พวกเขาชักเอะใจว่าทำไมถึงได้เจอส่วนที่เหมือนกับ DNA ของมนุษย์ในจีโนมของสิ่งมีชีิวิตชนิดอื่นๆ เยอะเหลือเกิน พวกเขาจึงเปลี่ยนแผนหันมาดูเฉพาะส่วน DNA ที่เรียกว่า AluY ซึ่งเป็นชิ้นส่วน DNA สั้นๆ ที่พบได้ทั่วไปในจีโนมมนุษย์
จากการค้นฐานข้อมูลหลักๆ 2 ที่ คือ National Center for Biotechnology Information ของสหรัฐอเมริกา และ Ensembl ของยุโรป พวกเขาพบชิ้นส่วนของ AluY กระจายเต็มไปทั่วจีโนมของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในปริมาณที่เรียกได้ว่าไม่น่าเชื่อ
ในฐานข้อมูลของ National Center for Biotechnology Information มี DNA มนุษย์ปนเปื้อนอยู่ถึง 11% ของจีโนมทีเรียบเรียงแล้ว และ 22% ของข้อมูลดิบ ส่วน Ensembl ก็ไม่ได้ดีกว่ากันมากนัก 29% ของข้อมูลจีโนมทั้งหมดมีการปนเปื้อนเช่นกัน
ตัวอย่างจีโนมสิ่งมีชีวิตที่ตรวจพบการปนเปื้อน ได้แก่ หนอนตัวกลม C. elegans, กบ Xenopus เป็นต้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ล้วนเป็นลูกรักของนักชีววิทยาทั้งนั้น ใช้เป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยแทบจะทุกสาขา
งานนี้นักชีววิทยาโดยเฉพาะสายที่ทำเกี่ยวกับพันธุศาสตร์กุมขมับกันเป็นแถบ ต้นเหตุของปัญหาก็คงมาจากขั้นตอนการปฏิบัติงานในห้องทดลองที่ไม่เข้มงวดเพียงพอ ตอนทำอาจจะกด BB เพลิน เลยมีเศษผมเศษผิวหนังตกลงไปบ้างอะไรบ้าง คนเอาเข้าฐานข้อมูลก็ไม่ได้ตรวจสอบดีพอ
เท่าที่รู้ ขณะนี้ที่โล่งใจได้ก็มีแต่จีโนมของพวกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีพบการปนเปื้อนเลย ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเวลาจะทำอะไรกับพวกไวรัส นักวิจัยต้องจัดเต็มกันตลอด ชุดป้องกันต้องครบ ห้องต้องพร้อม คนนอกไม่มีสิทธิ์เข้าไปเลย (ต่อให้เข้าได้ ใครจะอยากเข้าไป)
ที่มา - New York Times, New Scientist | https://jusci.net/node/1584 | ชะอุ๊ย! พบ DNA มนุษย์ปนเปื้อนไปทั่วข้อมูลจีโนม |
สาหร่ายข้าวเหนียว หรือ bladderwort (Utricularia) เป็นพืชที่ต้องพึ่งการจับสัตว์กินเพื่อให้ได้ธาตุอาหารเพียงพอ สาหร่ายข้าวเหนียวเป็นพืชน้ำจืดที่พบในแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก แต่ไม่เคยมีใครรู้เลยว่ามันเป็นพืชจับสัตว์ที่มีกับดักที่เร็วที่สุดในโลก
จนกระทั่งทีมวิจัยที่นำโดย Philippe Marmottant แห่ง Universite Grenoble ของประเทศฝรั่งเศส ได้จับเอาสาหร่ายข้าวเหนียวมาถ่ายวิดีโอด้วยกล้องความเร็วสูง (10,000 เฟรมต่อวินาที)
กับดักของสาหร่ายข้าวเหนียวคือใบที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นกระเปาะ ตรงปากกระเปาะมีกลไกปิดเปิดที่ถูกกระตุ้นไ้ด้ด้วยการสัมผัสที่ขนรอบ การเตรียมกับดักเริ่มแรก ผนังกระเปาะทั้งสองด้านจะเคลื่อนที่เข้าหากัน น้ำในกระเปาะก็จะไหลออกไปทำให้ความดันในกระเปาะต่ำกว่าน้ำที่อยู่รอบๆ แผ่นที่ปิดปากกระเปาะก็จะโค้งล็อคเก็บพลังงานศักย์เอาไว้ ต่อมาเมื่อมีอะไรมากระทบที่ขนซึ่งไวต่อความรู้สึก แผ่นปิดก็จะโค้งกลับเข้าข้างใน จนในที่สุดก็ "วุ้บ" น้ำภายนอกก็จะถูกดูดเข้ากระเปาะในชั่วพริบตา ลากเอาตัวอะไรต่อมิอะไรที่อยู่ใกล้ๆ เข้าไปด้วย
จากการกรอดูภาพให้ช้าสุดๆ นักวิจัยจับเวลาในการ "วุ้บ" ของสาหร่ายข้าวเหนียวได้ประมาณ 0.5 มิลลิวินาที นับเป็นกับดักพืชที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา กับดักของต้นกาบหอยแครง (Venus flytrap) ยังต้องใช้เวลาถึง 100 มิลลิวินาที (สาหร่ายข้าวเหนียวยังเป็นพืชกินสัตว์ที่มีขนาดเล็กที่สุดด้วย)
ความเร่งที่เกิดขึ้นจากการดูดน้ำของกับดักสาหร่ายข้าวเหนียวสูงถึง 600 g! ก็ไม่มากเท่าไร นักบินอวกาศตอนขึ้นจากพื้นโลกยังเจอความเร่งแค่ 3.5 g เพราะฉะนั้น 600 g นี่ไม่มากเลยยยย
ถ้าไม่มีอะไรมากระทบ กับดักนี้ก็จะเปิดเองภายในเวลาทุกๆ ไม่กี่ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ปิดเข้าไปใหม่ (สงสัยมันจะอึดอัดเนอะ เก็บไว้ตั้ง 600 g)
กระเปาะแต่ละอันสามารถเปิดแล้วปิดๆ แบบนี้ได้เป็นร้อยเป็นพันครั้งโดยไม่มีการเสียหาย นับว่าธรรมชาติออกแบบวัสดุมาได้เหลือเชื่อจริงๆ บางทีมนุษย์อย่างเราอาจจะใช้สาหร่ายข้าวเหนียวเป็นแรงบันดาลใจให้กับนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ได้
ที่มา - Live Science, Science News | https://jusci.net/node/1585 | สาหร่ายข้าวเหนียว: กับดักมีชีวิตที่เร็วที่สุดในโลก |
แม้สนธิสัญญาห้ามล่าวาฬจะมีการลงนามไปตั้งแต่ปี 1986 แต่ญี่ปุ่นก็อาศัยช่องว่างของข้อตกลงที่ระบุให้มีการล่าเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนสามารถขายเนื้อที่เป็นผลจากการล่านั้นได้ เป็นช่องทางในการล่าวาฬทุกช่วงฤดูหนาวตลอดมา แต่เมื่อวันที่ 10 ที่ผ่านมา ทางการญี่ปุ่นก็ได้ประกาศหยุดการล่าวาฬลงแล้ว และเรือล่าวาฬของญี่ปุ่นก็เริ่มเปลี่ยนทิศทางการเดินเรือโดยคาดว่าจะกลับท่าเรือ
ไม่มีความชัดเจนว่าการหยุดล่านี้เป็นการหยุดแบบถาวรหรือเป็นเพียงการหยุดในปีนี้เท่านั้น
ความต้องการเนื้อวาฬของตลาดโลกกำลังตกต่ำลงเรื่อยๆ โดยสต๊อกของญี่ปุ่นเองก็มีเนื้อวาฬอยู่ถึง 5,093 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,453 ตันในปี 1999
การอนุรักษ์วาฬโดยอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศทั่วโลกได้ผลค่อนข้างชัดเจน โดยจำนวนวาฬหลายสายพันธุ์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การที่ญี่ปุ่นอาศัยข้ออ้างการล่าเพื่อการวิจัยเป็นช่องโหว่ที่ญี่ปุ่นถูกโจมตีในแง่ภาพลักษณ์มาโดยตลอด
ปัจจุบันวาฬบางสายพันธุ์เช่น วาฬสีน้ำเงินถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์สงวนระดับอันตราย (Endangered) ระดับเดียวกับเสือ และเสือดาวหิมะ (Snow Leopard)
ที่มา - Ecocentric Blog | https://jusci.net/node/1586 | ญี่ปุ่นหยุดล่าวาฬในปีนี้ก่อนหมดฤดูกาล |
เครื่อง anti-laser ที่ถูกสร้างขึ้นนี้สามารถดูดซับลำแสงเลเซอร์ที่ตกกระทบได้ถึง 99.4 เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้อุปกรณ์ที่รวมลำแสงเลเซอร์สองสายที่มีความถี่จำเพาะเจาะจงไปในช่องทางเดินของแสงที่ทำจากซิลิกอน ซึ่งจะทำให้แสงที่เข้ามาถูกบังคับให้สะท้อนอยู่ภายในจนพลังงานลดลง
พลังงานของแสงที่ค่อยๆ ลดลงจะถูกเปลี่ยนไปในอยู่รูปของความร้อนทำให้มันไม่สามารถใช้เป็นสิ่งป้องกันเลเซอร์พลังงานสูงที่ใช้เป็นอาวุธได้ แต่จากการที่ anti-laser จะดูดซับแสงที่ความยาวคลื่นค่าหนึ่งๆ เท่านั้น ทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์นี้ไปเป็นสวิตช์แสง (optical switch) เนื่องจากเราสามารถเปิด-ปิดตัว anti-laser ได้โดยเพียงแค่เปลี่ยนแปลงความยาวคลื่นของแสงที่เข้ามา ซึ่งการประยุกต์ใช้ในแนวทางนี้อาจหมายถึงอนาคตของคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ซึ่งใช้แสงในการส่งข้อมูลแทนอิเล็กตรอนก็เป็นได้
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1587 | นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยลสามารถสร้าง anti-laser เครื่องแรกได้สำเร็จ |
นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ ถึง ช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2011 (ตามเวลามาตรฐานกรีนิช) จะมีลมสุริยะสามลูกพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
ลมสุริยะเกิดขึ้นจากการที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยอนุภาคและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงจำนวนมากออกมาสู่อวกาศ (coronal mass ejection) การเกิดลมสุริยะมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการปะทุบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ (solar flare)
ลมสุริยะสามลูกที่พุ่งเข้าชนโลกวันนี้เป็นผลมาจากการปะทุในวันที่ 13, 14 และ15 กุมภาพันธ์ (ตามเวลามาตรฐานกรีนิช) ตามลำดับ โดยเฉพาะลูกสุดท้ายนั้นมีพลังงานและความเร็วสูงมากจนไล่สองลูกแรกมาทันชนโลกได้พร้อมกัน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าพลังงานของลมสุริยะครั้งนี้น่าจะมากพอจนทำให้คนที่อยู่ในเกาะอังกฤษเห็นแสงเหนือ (Aurora Borealis) ได้เลย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากลมสุริยะยังส่งผลต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและสัญญาณสื่อสารของเราด้วย เคยมีตัวอย่างในอดีตมาแล้วว่าลมสุริยะที่แรงมากๆ สามารถทำลายโรงไฟฟ้าหรือแม้กระทั่งดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรได้ แม้นักวิทยาศาสตร์จะค่อนข้างมั่นใจว่าลมสุริยะคราวนี้จะไม่รุนแรงขนาดนั้น แต่ที่ประเทศจีนมีรายงานแล้วว่าคลื่นวิทยุความถี่สั้นถูกรบกวนในบางพื้นที่ของประเทศ (ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับลมสุริยะหรือไม่)
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1588 | [Breaking News] ลมสุริยะสามลูกพุ่งเข้าชนบรรยากาศโลกวันนี้ |
ไฟลัม (phylum) เป็นหมวดหมู่ทางอนุกรมวิธาน (taxon) ที่ใหญ่รองลงมาจากอาณาจักร (kingdom) นักชีววิทยาอาจจะพบสปีชีส์ใหม่ได้ทุกวัน แต่การนับขึ้นต้นใหม่เป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่กว่าขึ้นไป (ตั้งแต่ระดับสกุล) เป็นเหตุการณ์ที่นานๆ ทีจะมีให้ได้เห็น ยิ่งเป็นระดับไฟลัมแล้ว มันเปรียบได้กับประกาศตั้งประเทศใหม่เลยทีเดียว
สัตว์ที่ได้รับการประกาศให้นับเป็นไฟลัมใหม่นี้ไม่ใช่สัตว์ที่เพิ่งค้นพบแต่อย่างใด มันคือ หนอนทะเลพวก Xenoturbellida และ Acoelomorpha ที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักกันมานานแล้ว พวกมันเป็นหนอนตัวเล็กๆ ขนาดไม่กี่มิลลิเมตร อาศัยอยู่ตามพื้นมหาสมุทร
เดิมนักวิทยาศาสตร์จัดให้พวกมันอยู่ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกับพวกหนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes) เนื่องจากพวกมันไม่มีช่องว่างในลำตัว* (coelom) แต่เมื่อทีมวิจัยที่นำโดย Albert Poustka แห่ง Planck Institute for Molecular Genetics เอา microRNA และกรดอะมิโนจากไมโตคอนเดรีย พร้อมทั้งยีนของหนอนทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบ พวกเขากลับพบว่าพวกมันน่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกันและมีความใกล้เคียงกับพวก deuterostome มากกว่า
deuterostome (คำนี้แปลตามตัวว่า "ปากเกิดที่สอง") เป็นกลุ่มของสัตว์ที่ช่องเปิดแรกของตัวอ่อนจะพัฒนาไปเป็นรูทวารหนัก ต่างจากพวก protostome ซึ่งปากเกิดก่อน ไฟลัมที่จัดอยู่ในกลุ่ม deuterostome ได้แก่ Phylum Echinodermata (พวกดาวทะเล ทากทะเล อีแปะทะเล ฯลฯ), Phylum Hemichordata, และ Phylum Chordata (สัตว์มีกระดูกสันหลัง)
นักวิจัยเห็นว่า Xenoturbellida และ Acoelomorpha คงไม่ใช่พวก protostome อย่างที่เคยคิดกันแล้ว เลยจัดไฟลัมขึ้นมาใหม่ให้ชื่อว่า Phylum Xenacoelomorpha ถือว่าเป็นไฟลัมใหม่แห่งอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) new release ต้อนรับปี 2011
_____________Chordata
__|
| _____Echinodermata
|_______|
| |_____Hemichordata
|
|________Xenacoelomorpha
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าการที่หนอนทั้งสองไม่มีช่องว่างในลำตัวนั้นน่าจะเป็นเพราะช่องว่างได้หายไปในเส้นทางวิวัฒนาการ การมีรูปร่างที่ซับซ้อนน้อยกว่าอาจจะมีประโยชน์อะไรสักอย่างก็ได้
ที่มา - PhysOrg
*ช่องว่างในลำตัว (coelom) หมายถึง ช่องว่างที่อยู่ในส่วนของเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) ถ้ามีช่องว่างแต่ไม่ได้อยู่ในเนื้อเยื่อชั้นกลาง (เช่น ช่องว่างที่อยู่ระหว่างเนื้อเยี่อชั้นในและเนื้อเยื่อชั้นกลาง) จะเรียกว่าช่องว่างเทียม (pseudocoelom) เราสามารถเรียงลำดับวิวัฒนาการของสัตว์จากต่ำไปหาสูงได้ดังนี้
ไม่มีช่องว่าง (acoelomate) - มีช่องว่างเทียม (pseudocoelomate) - มีช่องว่าง (coelomate)
ป.ล. coelom อ่านว่า /ซี-โลม/ | https://jusci.net/node/1589 | Xenacoelomorpha ไฟลัมใหม่จุติแล้ว |
แม้ทุกวันนี้เราจะสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุแบบสองทางเสมอๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีที่ผ่านมาของคลื่นวิทยุนั้นไม่สามารถส่งข้อมูลสองทางในเวลาเดียวกันได้ ยกเว้นว่าจะใช้ช่องสัญญาณแยกจากกัน ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าไม่มีเทคโนโลยีใดสามารถทำให้การส่งข้อมูลสองทางพร้อมๆ กันเป็นไปได้จริง แต่ล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford ก็สามารถสาธิตการส่งข้อมูลแบบสองทางได้สำเร็จแล้ว
การส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุในทุกวันนี้อาศัยการสลับกันส่งข้อมูลทีละคนโดยมีกระบวนการจัดการการส่งทีละคนต่างๆ กันไป เช่นในวิทยุสมัครเล่นที่เราต้องพูดคำว่า "เปลี่ยน" หลังจากส่งข้อมูลเสร็จ เพื่อบอกให้คนอื่นๆ ที่ต้องการเข้าใช้ช่องสัญญาณสามารถเข้ามาใช้งานได้ หรือการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CA
สิ่งที่จำกัดการส่งสัญญาณทำให้ต้องส่งทีละคนคือขณะที่เราส่งสัญญาณออกไป สัญญาณที่เรากำลังส่งนั้นมักอยู่ใกล้กับตัวรับมาก โดยอาจจะเป็นเสาเดียวกัน หรือเสาที่ห่างกันเพียงไม่กี่เซนติเมตรทำให้สัญญาณที่เราเองกำลังส่งมีความแรงกว่าสัญญาณที่ได้รับจากคนอื่นๆ นับล้านเท่าจนกลบสัญญาณของคนอื่นๆ ไปหมด
ทีมวิจัยคือผู้ช่วยศาสตราจารย์ Philip A. Levis และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสามคนได้แก่ Jung Il Choi, Mayank Jain, และ Kannan Srinivasan ได้เสนอความคิดขึ้นมาว่า ขณะที่เรากำลังส่งสัญญาณนั้น เราสามารถรู้ได้แน่นอนว่าเรากำลังส่งอะไรออกไป หากเรานำสัญญาณที่เรากำลังส่งออกไป มาหักล้างกับสัญญาณที่เราได้รับกลับมา ก็น่าจะคืนรูปสัญญาณที่เราได้นับจากภายนอกได้จริงๆ เมื่อมีอุปกรณ์แบบเดียวกันทั้งสองฝั่งก็จะสามารถสื่อสารพร้อมกันสองข้างได้โดยไม่ต้องรอกัน
ทีมวิจัยได้นำเสนองานนี้ในงาน Mobicom 2010 เมื่อปีที่แล้ว
งานวิจัยนี้จะนำไปสู่การใช้งานรูปแบบใหม่ๆ อีกมากมาย เช่นวิทยุสื่อสารจะสามารถสื่อสารได้พร้อมกันสองทางเหมือนการคุยโทรศัพท์ ระบบแลนไร้สายจะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากการใช้ช่องสัญญาณได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา - Stanford | https://jusci.net/node/1590 | Stanford พัฒนาระบบวิทยุแบบสองทางพร้อมกันบนช่องสัญญาณเดียวกันได้สำเร็จ |
ปรกติรถหรูหรามักจะขึ้นชื่อว่าสิ้นเปลืองพลังงาน แต่กระแสรถไฟฟ้าก็ทำให้ค่ายรถหรูหราเริ่มต้องหันมาจับตลาดรถไฟฟ้ากันบ้างแล้ว โดย Rolls-Royce Phantom 102EX จะเป็นรุ่นแรกของโรลส์-รอยซ์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าเต็มระบบ ข่าวร้ายคือมันผลิตขึ้นมาเพื่อโชว์เท่านั้น ไม่มีวางขายแต่อย่างใด
รถคันนี้ถูกผลิตมาเพื่อทดสอบเสียงตอบรับจากลูกค้าของโรลรอย ตลอดจนสื่อมวลชนทั้งหลายว่าจะมีเสียงตอบรับต่อการที่แบรนด์หรูหราอย่างโรลส์-รอยซ์จะหันมาทำรถไฟฟ้าอย่างไรบ้าง
ตัวรถจะแสดงตัวจริงพร้อมสเปคทั้งหมดในงานมอเตอร์โชว์ที่เจนีวาเดือนหน้า
ที่มา - AFP | https://jusci.net/node/1591 | โรลส์-รอยซ์โชว์รถไฟฟ้า |
ทฤษฎีเกี่ยวกับกลไกการรับสัญญาณกลิ่นของสัตว์ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่มาก อันที่เก่าแก่ที่สุดเสนอว่ารูปร่างของโมเลกุลของสารแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะ เซลล์รับกลิ่นแต่ละประเภทก็จะมีส่วนไว้จับกับรูปร่างเฉพาะนั้นๆ ที่พอดีกันเหมือนกับลูกกุญแจกับแม่กุญแจ แต่คำอธิบายจากทฤษฎีนี้ก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมสารที่มีรูปร่างโมเลกุลต่างกันบางตัวถึงได้มีกลิ่นคล้ายกัน
ในปี 1996 นักชีวฟิสิกส์ Luca Turin ได้เสนอทฤษฎีแหวกแนวขึ้นมาว่าสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นประสาทรับกลิ่นไม่ใช่รูปร่างโมเลกุลหรอก แต่เป็น "การสั่นของโมเลกุล" แต่ละชนิดต่างหาก เขาอธิบายว่าอะตอมที่มาจับเรียงกันเป็นโมเลกุลและพันธะที่อะตอมเหล่านั้นสร้างขึ้นจะเป็นตัวกำหนดว่าโมเลกุลแต่ละโมเลกุลจะสั่นด้วยความถี่เท่าไร เมื่อโมเลกุลที่มีความถี่ที่เหมาะสมเข้าจับกับช่องรับบนเซลลรับกลิ่น อิเล็กตรอนในช่องรับจะวิ่งข้ามจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งด้วยปรากฏการณ์ Quantum tunneling ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ข้ามบ่อศักย์ที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานจลน์ของตัวเองได้ ดูภาพประกอบจาก New Scientist
การวิ่งข้ามไปของอิเล็กตรอนจะทำให้วงจรทำงาน ส่งสัญญาณประสาทเข้าสู่สมอง แล้วสมองก็จะแปลผลออกมาเป็นกลิ่นที่รู้สึกได้ในที่สุด
เพื่อพิสูจน์ Luca Turin จึงจับมือกับทีมวิจัยของ Efthimios Skoulakis แห่ง Alexander Fleming Biomedical Sciences Research Center ในประเทศกรีซ พวกเขาตั้งสมมติฐานว่าถ้าทฤษฎีการสั่นของโมเลกุลถูกต้อง แมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) ควรจะแยกความแตกต่างระหว่างสารที่มีไฮโดรเจนและดิวทีเรียม (ไอโซโทปของไฮโดรเจน) ได้
พวกเขาจึงเอาแมลงหวี่มาใส่ในท่อรูปตัว T แขนข้างหนึ่งของตัว T ใส่ acetophenone ปกติลงไป อีกข้างใส่ acetophenone ที่มีดิวทีเรียมแทนที่ไฮโดรเจน แล้วปล่อยแมลงหวี่เข้าไปทางท่อตรงกลาง
ผลปรากฏว่าแมลงหวี่วิ่งเข้าหา acetophenone ปกติแทบทุกรอบ แสดงว่ามันน่าจะแยกแยะความแตกต่างระหว่างสารทั้งสองได้ แม้ว่าสารทั้งสองจะมีรูปร่างโมเลกุลเหมือนกันเป๊ะ ต่างกันแค่ความถี่ในการสั่น
เพื่อยืนยันให้ชัดว่าแมลงหวี่แยกแยะ acetophenone สองแบบออกจากกันได้จริงๆ พวกเขาเลยลองแกล้งปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าไปยังแมลงหวี่เวลาที่มันบินไปเลือก acetophenone ปกติ ผ่านไปสักพักแมลงหวี่ก็จำได้แล้วหันไปเลือก acetophenone ที่มีดิวทีเรียมแทน เมื่อทำย้อนกลับกันแกล้งปล่อยกระแสไฟฟ้าทาง acetophenone ที่มีดิวทีเรียม แมลงหวี่ก็หันกลับไปเลือก acetophenone ปกติมากขึ้น นอกจากนี้พวกเขายังทดลองกับสารมีกลิ่นอื่นๆ เช่น octanol และ benzaldehyde ผลการทดลองก็ยืนยันอีกว่าแมลงหวี่สามารถแยกแยะได้ว่าสารข้างไหนมีไฮโดรเจนปกติและสารข้างไหนมีดิวทีเรียม
และเมื่อพวกเขาทดสอบฝึกแมลงหวี่ให้หลบสารประกอบที่มีดิวทีเรียม จากนั้นก็เอาสารประกอบ nitriles ไปล่อ ก็พบว่าแมลงหวี่หลบสารประกอบ nitriles ด้วย ผลอันนี้ก็ตรงกับที่พวกเขาทำนายไว้อีก เนื่องจากหมู่ nitriles มีความถี่ในการสั่นเหมือนพันธะของดิวทีเรียมกับคาร์บอน
Luca Turin พอใจกับผลการทดลองครั้งนี้มาก คงสะใจเหมือนได้พิสูจน์ตัวเอง เพราะตอนแรกที่เขาเสนอทฤษฎีขึ้นมา แทบไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดเชื่อเลย ขนาด Efthimios Skoulakis ที่ร่วมงานวิจัยครั้งนี้ยังยอมรับว่าเริ่มแรกเขาก็ไม่อยากจะเชื่อ Luca Turin เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางท่านก็ยังค้านกับข้อสรุปของ Luca Turin อยู่ดี เพราะแค่การที่แมลงหวี่แยกแยะไอโซโทปได้มันยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าสิ่งที่อยู่ในทฤษฎีถูกต้องทั้งหมด
คำถามต่อจากนี้คือประสาทรับกลิ่นของสัตว์อื่นๆ ใช้เทคนิคนี้ให้การรับสัมผัสเหมือนกับแมลงหวี่หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่าสุนัขตัวหนึ่งสามารถดมกลิ่นรู้ว่าอันไหนเป็น acetophenone ปกติหรืออันไหนเป็น acetophenone ที่มีดิวทีเรียม ในขณะเดียวกันก็มีการทดลองอีกชุดแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถแยกกลิ่นของ acetophenone สองแบบออกจากกันได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอย่าลืมว่าประสาทสัมผัสของมนุษย์ไม่ได้ไวอะไรมากเมื่อเทียบกันสัตว์อย่างสุนัขหรือแมลงหวี่ ถ้าจะพิสูจน์กับมนุษย์อาจต้องใช้อะไรที่แตกต่างกันชัดเจนกว่านั้น
ที่มา New Scientist, Nature News | https://jusci.net/node/1592 | แมลงหวี่แยกกลิ่นดิวทีเรียมได้ |
นักวิทยาศาสตร์ไอซ์แลนด์กำลังสำรวจความเป็นไปได้ที่จะใช้พลังงานจากบ่อหินเหลวหรือแมกมาที่อยู่ใต้พื้นโลก โดยมีความหวังว่าบ่อแมกมาบ่อเดียวอาจจะผลิตพลังงานได้ถึง 25 เมกกะวัตต์ หรือพอสำหรับบ้าน 25,000 ถึง 30,000 หลัง
ภูมิศาสตร์ของไอซ์แลนด์ที่มีบ่อน้ำร้อนอยู่ทั่วไปทำให้ประเทศนี้พึ่งพิงพลังงานความร้อนใต้พื้นดินอยู่ถึงหนึ่งในสาม โดยบ่อน้ำร้อนปรกติสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 5 ถึง 8 เมกกะวัตต์
บ่อแมกมานี้อยู่ใต้พื้นโลกลงไปประมาณสองกิโลเมตร การค้นพบนั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญเมื่อโครงการเจาะหลุมเพื่อใช้ความร้อนใต้พื้นโลกของไอซ์แลนด์ที่ชื่อว่า Iceland Deep Drilling Project นั้นมีโครงการจะเจาะพื้นโลกลงไปประมาณ 5 กิโลเมตรเพื่อทดสอบพลังงานของน้ำในภาวะเหนือวิกฤติ (supercritical water) ที่เกิดจากน้ำที่ร้อนมากๆ ในภาวะความดันที่สูงมาก แต่โครงการก็ต้องถูกยกเลิกไปเมื่อการเจาะพบกับบ่อแมกมาเสียก่อน
พลังงงานจากความร้อนใต้พื้นโลกมีความได้เปรียบกว่าพลังงานแบบอื่นๆ หลายประการ เช่นมันสามารถให้พลังงานได้ทั้งวันทั้งคืน และผลสุดท้ายของการผลิตนั้นมีเพียงไอน้ำจำนวนมาก
ว่าแต่เจาะๆ ไปนี่อีกหน่อยมันจะมีข่าวแมกมารั่วจากบ่อออกมาไหม?
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1593 | แมกมาอาจเป็นแหล่งพลังงานใหม่ได้ไอซ์แลนด์ |
จากการศึกษาสถิติผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1974 ถึง 2007 พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 225% กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดคือคนผิวขาวเพศชาย
ทีมวิจัยที่นำโดย Maura Gillison แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ศึกษาถึงสาเหตุของแนวโน้มนี้ พบว่ามะเร็งในช่องปากที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหูด (human papillomavirus, HPV) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา จนตอนนี้แซงหน้าสาเหตุอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ ฯลฯ ไปแล้ว
และเมื่อนักวิจัยทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการสำเร็จความใคร่ทางปากกับมะเร็ง พวกเขาพบว่าคนที่เคยมีประสบการณ์สำเร็จความใครโดยใช้ปากมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งในบริเวณตั้งแต่ศีรษะจนถึงลำคอเพิ่มขึ้น ยิ่งมีคู่ขามากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยง เช่น คนที่เคยสำเร็จความใครให้กับคู่ขามากกว่า 6 คนขึ้นไป มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนอื่นๆ ถึง 8 เท่า
ไวรัสหูดที่ติดมนุษย์ได้มีประมาณ 150 สายพันธุ์ พบได้ทั่วร่างกายทั้งปาก ผิวหนัง และอวัยวะเพศ ในจำนวนนี้มีประมาณ 40 สายพันธุ์ที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ วงการวิทยาศาสตร์รู้กันเป็นอย่างดีแล้วว่าไวรัสหูดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) แต่งานวิจัยเกี่ยวกับไวรัสหูด, การสำเร็จความใคร่ทางปาก, และมะเร็งในช่องปาก ยังมีการศึกษาไม่มากเท่าไร
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1594 | การสำเร็จความใคร่ทางปากเพิ่มอัตราเสี่ยงมะเร็ง |
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เราใช้กันอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกวันนี้เสื่อมเร็วแค่ไหน ทุกคนคงรู้กันดี ระหว่างรอเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเซลล์เชื้อเพลิง เบต้าเซลล์ ฯลฯ นักวิจัยก็พยายามคิดหาวิธีต่างๆ มาเพิ่มอายุขัยของแบตเตอรี่ให้อยู่ได้นานที่สุด
ในการประชุมของ American Association for the Advancement of Science (AAAS) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ผ่านมา (แปลกจัง...คิดยังไงประชุมกันวันอาทิตย์) Scott White แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้รายงานเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างแบตเตอรี่ที่ "ซ่อมตัวเองได้"
จะอธิบายว่าแบตเตอรี่ซ่อมตัวเองได้อย่างไร ต้องทราบกันก่อนว่าความเสื่อมที่ทำให้แบตเตอรี่ของเราหมดอายุอยู่ที่ตรงส่วนไหนบ้าง จุดหลักๆ เลยก็ได้แก่
ขั้วแอโนด (anode) หรือขั้วลบของแบตเตอรี่ ในแต่ละรอบของการชาร์จและใช้งาน ขั้วแอโนดของแบตเตอรี่จะมีการบวมและหดๆ วนไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เกิดรอยแตกบนขั้วแบตเตอรี่ เมื่อรอยแตกร้าวรานเกินกว่าที่กระแสไฟฟ้าจะปรองดองก้าวข้ามความแตกแยกไปได้ วงจรก็จะขาดในที่สุด
การลัดวงจร การเสื่อมที่ทำให้เกิดการลัดวงจรไม่ใช่เรื่องที่พบได้ทั่วไปเหมือนการเสื่อมสภาพของขั้วแอโนด แต่ถ้ามันเกิดขึ้นมาก็อาจจะเป็นอันตรายจนถึงขั้นระเบิดได้ (เหมือนกับ "กรณีเรียกแบตเตอรี่คืนทั่วโลก" ที่เป็นข่าวใหญ่โตเมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว อ่านความยิ่งใหญ่ของมหากาพย์เรื่องนี้ได้จากข่าวที่ Blognone)
วิธีที่ Scott White รายงาน คือ การใส่เม็ดพลาสติกขนาดเล็ก (microsphere) ที่ทำมาเป็นพิเศษเข้าไปในขั้นตอนการผลิต เม็ดพลาสติกแบบแรกจะฝังอยู่ในชั้นแกรไฟต์ของขั้วแอโนด เมื่อเกิดรอยแยกขึ้น ชั้นเคลือบพลาสติกจะแตกออก โลหะอัลลอยเหลว indium gallium arsenide ก็จะไหลออกมาเติมเต็มช่องว่างให้ปิดสนิทเหมือนเดิม นี่คือการบรรเทาปัญหาการเสื่อมสภาพของขั้วแอโนด
ส่วนทางปัญหาเรื่องการลัดวงจร ก็ใช้วิธีคล้ายๆ กันกับแบบแรก แต่ว่าใช้เม็ดพลาสติกที่ทำจากโพลีเอธีลีน (polyethylene) ฝังไว้ในขั้วและวงจรภายในตัวแบตเตอรี่ เมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่า 105 องศาเซลเซียส โพลีเอธีลีนจะละลายเคลือบวงจรเอาไว้ ไม่ให้กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านได้อีกเพื่อป้องกันไม่ได้เกิดความร้อนสะสมจนระเบิด เปรียบได้เหมือนเซฟทีคัทตัดไฟขณะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในบ้านนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ขอเน้นตรงนี้ว่าเทคโนโลยีพวกนี้เป็นเพียงของแก้ขัดให้เราใช้ไปอีกสักสิบกว่าปีข้างหน้าเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมหยุดอยู่แค่ตรงนี้แน่ๆ สักวันหนึ่งเราจะต้องมีเทคโนโลยีแหล่งกักเก็บพลังงานแบบใหม่ที่เก็บพลังงานได้มากกว่า คงทนกว่า สะดวกกว่ามาแทนที่... ไม่ช้าก็เร็ว
ที่มา - Science News | https://jusci.net/node/1595 | แบตเตอรี่ซ่อมตัวเองได้ |
ดร. Joel Friedman นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาลัยการแพทย์ Albert Einstein แห่งมหาวิทยาลัย Yeshiva ประสบความสำเร็จในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากการเสียเลือด ทีมได้ใช้อนุภาคนาโน (nanoparticles)ซึ่งที่บรรจุก๊าซไนตริคอ๊อกไซด์ (NO) ที่จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของกระแสเลือดและป้องกันอวัยวะสำคัญ
การแพทย์แผนนาโน (nanomedicine) นี้จะช่วยยับยั้งภาวะการช๊อคเนื่องจากการเสียเลือดมาก ด้วยการเพิ่มระดับก๊าซ NO ซึ่งทำให้หลอดเลือดเกิดการผ่อนคลายและรักษาระดับความดันโลหิต ก๊าซไนตริคอ๊อกไซด์ (NO) นี้เองจะถูกห่อหุ้มด้วยอนุภาคระดับไมโครซึ่งถูกออกแบบมาเป็นพิเศษทำให้สามารถยิงตรงไปยังจุดที่ยังต้องการได้โดยไม่เสื่อมสลายไปเสียก่อน
ในการทดลองกับแฮมเตอร์พบว่า nanomedicine ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการเสียเลือดได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับอนุภาคนาโนนี้
หวังว่าจะสามารถใช้ในมนุษย์ได้ในเร็ววันนะครับ
ที่มา -PhysOrg.com | https://jusci.net/node/1596 | อนุภาคนาโนเพิ่มอัตราการรอดชีวิต |
จากข่าวที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์สรุปกันไปว่า T. rex หรือ Tyrannosaurus rex คือราชานักล่า เจ้าป่าแห่งยุคครีเตเซียส หลายคนรวมทั้งผมด้วยก็คิดว่ามันน่าจะจบเรื่องกันไปได้แล้ว แต่ผมพลาดซะแล้วแหละ เพราะพวกที่อยากล้มทรราชย์ขยันเสียเหลือเกิน อุตส่าห์ไปหาหลักฐานมาเพิ่มจนได้
คราวที่แล้วพวกฝ่ายเชียร์ทรราชย์ใช้หลักฐานทางนิเวศวิทยา เพื่อให้สมน้ำสมเนื้อกัน ฝ่ายตรงข้ามก็ใช้หลักฐานในลักษณะเดียวกันบ้าง โดย John Horner จาก Museum of the Rockies และ Mark B. Goodwin แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์คเล่ย์ ใช้วิธีนับจำนวนซากฟอสซิลของโครงกระดูกในชั้นหินแต่ละชั้นใน Hell Creek Formation ซึ่งมีความลึกประมาณ 100 เมตรและกินอาณาบริเวณกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร การนับในครั้งนี้ไม่รวมกระดูกฟัน เนื่องจากนักวิจัยต้องการรู้อายุและจำนวนที่แน่นอนของไดโนเสาร์
จำนวนไดโนเสาร์ที่พบในหินชั้นล่างมี Triceratops 23 ตัว, T. rex 5 ตัว, และ Edmontosaurus 5 ตัว ส่วนในชั้นบนประกอบด้วย Triceratops 11 ตัว, T. rex 11 ตัว, Edmontosaurus 6 ตัว และไดโนเสาร์อื่นๆ เช่น Thescelosaurus, Ornithomimus, Ankylosaurus เป็นจำนวนประปราย
โดยไดโนเสาร์ที่พบส่วนมากจะเป็นไดโนเสาร์วัยเด็กโตหรือวัยรุ่น ลูกไดโนเสาร์ตัวเล็กและตัวเต็มวัยอายุมากๆ นั้นพบน้อยมาก
เมื่อดูเฉพาะจำนวนของ T. rex และ Edmontosaurus ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าเป็นอาหารหลักของ T. rex จะพบว่าจำนวนประชากรของไดโนเสาร์ทั้งสองใกล้เคียงกัน ตรงนี้นี่เองที่ John Horner และ Mark B. Goodwin ใช้อ้างว่า "ถ้า T. rex เป็นนักล่าที่อยู่บนยอดพีรามิดของห่วงโซ่อาหาร มันจะมีจำนวนเท่าๆ กับเหยื่อของมันได้อย่างไร" พวกเขาประเมินว่าถ้า T. rex เป็นราชาที่อยู่บนยอดของห่วงโซ่อาหาร ประชากรของมันควรจะน้อยกว่าประชากรเหยื่อประมาณ 3-4 เท่า
พวกเขาเลยสรุปว่า T. rex คงจะไม่ได้เป็นสุดยอดนักล่าเหมือนกับสิงโตหรือชีต้าหรอก แต่มันน่าจะเป็นพวกนักล่าฉวยโอกาสเหมือนกับฝูงไฮยีนามากกว่า แบบว่าเจอซากก็กิน เจอเหยื่อหลงทางหรือสัตว์อ่อนแอก็ล่า ทั้งนี้ T. rex ตัวเล็กๆ ที่ฟันยังไม่แข็งแรงก็คงจะเก็บกินเฉพาะส่วนเนื้อของซากสัตว์หรือสัตว์ที่จับได้ ส่วนตัวแก่หน่อยที่ฟันแข็งแรงเต็มที่ก็คงจะขบกระดูกเป็นของว่างด้วย
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1597 | ยังไม่จบง่ายๆ... หลักฐานใหม่ T. rex เป็นแค่ไฮยีนา ไม่ใช่เจ้าป่า |
สัตว์ขาปล้อง (Arthropods) เป็นกลุ่มที่ครองสัดส่วนในอาณาจักรสัตว์มากที่สุด เกินกว่า 3 ใน 4 ของสัตว์ในโลกนี้เป็นสัตว์ขาปล้อง เช่น แมลง แมงมุม กุ้ง ปู เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์ประเมินกันมาตั้งนานแล้วว่า "กระดูกภายนอกลำตัว" (exoskeleton) ของสัตว์ขาปล้องน่าจะกำเนิดขึ้นมาในช่วง Cambrian Explosion เมื่อประมาณ 540 ล้านปีที่แล้ว (Cambrian Explosion เป็นช่วงที่สิ่งมีชีวิตแตกแขนงวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วราวกับดอกไม้ไฟระเบิด ไฟลัมส่วนใหญ่ในอาณาจักรสัตว์เกิดขึ้นในช่วงนี้) โดยวิวัฒนาการมาจาก Lobopodia แต่ก็ยังไม่เคยมีใครสามารถหาหลักฐานสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่มี exoskeleton มายืนยันได้
จนกระทั่งการค้นพบซากฟอสซิลของสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายต้นแคกตัสในปี 2006 ในบริเวณ Jianshan มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ทีมนักวิจัยที่นำโดย Jianni Liu ผู้ซึ่งมีตำแหน่งควบสองมหาวิทยาลัยคือ Northwest University ของจีนและ Freie University ในเยอรมนี ได้วิเคราะห์ซากฟอสซิลสัตว์ประหลาดนี้จำนวน 33 ชิ้น (มีสมบูรณ์ 3 ชิ้น และซากที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก 30 ชิ้น) พบว่า เจ้า "ต้นแคกตัสเดินได้" หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Diania cactiformis ตัวนี้แหละคือชิ้นส่วนที่ขาดหายไปของวิวัฒนาการสัตว์ขาปล้อง
Diania cactiformis (คำว่า "Dian" มาจากชื่อมณฑลยูนนาน ส่วน "cactiformis" แปลว่ามีรูปร่างเหมือนต้นแคกตัส) มีความยาวลำตัว 6 ซม. ร่างกายเป็นปล้องนุ่มๆ ยาวต่อกัน 9 ปล้อง มีรยางค์ขา 10 คู่ ขาแต่ละข้างปกคลุมด้วยแผ่นแข็งเป็นข้อๆ และมีหนามเรียงตลอดความยาว Diania cactiformis น่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 520 ล้านปีที่แล้ว
ภาพจาก Live Science; เครดิตภาพ Jianni Liu
ภาพจาก Nature; เครดิตภาพ Mingguang Chi
นักวิทยาศาสตร์จัดให้ Diania cactiformis อยู่ในกลุ่ม Lobopodia ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว (ญาติใกล้เคียงของ Lobopodia ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันคือ velvet worm หรือ Phylum Onychophora) เป็นที่เชื่อกันว่า Diania cactiformis น่าจะเป็น Lobopodia ตัวแรกๆ ที่พัฒนา exoskeleton ขึ้นมา พูดง่ายๆ มันคือตัวเชื่อมต่อในสายวิวัฒนาการ (missing link) ของ Lobopodia และ Arthropoda (สัตว์ขาปล้อง) นั่นเอง
ด้วยลักษณะของ Diania cactiformis ที่มีแผ่นแข็งเฉพาะส่วนขา นักวิทยาศาสตร์เลยสรุปว่ามันคือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า exoskeleton วิวัฒนาการจากส่วนขาขึ้นมาก่อนแล้วค่อยเอามาใส่ไว้ที่ลำตัว
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนก็ยังไม่อยากจะเชื่อว่าสัตว์ขาปล้องจะเริ่มมี "ปล้อง" จากขาขึ้นก่อนลำตัว เพราะหลักฐานทางพันธุศาสตร์และการเจริญเติบโตชี้ให้เห็นว่า exoskeleton เริ่มขึ้นจากลำตัว นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นไปได้อีกว่า exoskeleton มีกำเนิดหลายครั้งในวิวัฒนาการ บางตัวอาจเริ่มจากขา บางตัวอาจเริ่มจากลำตัว หรือบรรพบุรุษของ Diania cactiformis อาจจะเสีย exoskeleton บนลำตัวไป ณ จุดใดจุดหนึ่งในวิวัฒนาการก็ได้
ที่มา - Live Science, PhysOrg, Nature News, New Scientist | https://jusci.net/node/1598 | ฟอสซิลสัตว์ขาปล้องที่เก่าแก่ที่สุดในโลก |
เพชรเป็นอัญมณีหายาก ยิ่งก้อนที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 100 กะรัต ยิ่งหายาก และถ้าเป็นเพชรมีสีที่ใหญ่ 110 กะรัตก็ต้องเรียกว่าโคตรหายากสุดๆ
ดังนั้นการเปิดตัว "The Sun Drop" เพชรสีเหลืองขนาด 110 กะรัต (ชื่อไทยควรแปลว่าอะไรดี? ผมให้ชื่อว่า "หยาดตะวัน" แล้วกัน) ที่ Natural History Museum ในกรุงลอนดอน จึงเป็นข่าวที่ใหญ่โตพอสมควร
เพชรเกิดจากผลึกคาร์บอน ตามปกติเพชรจะไม่มีสี แต่บางครั้งเราก็อาจพบเพชรที่มีสีได้ แม้ว่าจะไม่บ่อยนัก สีในผลึกเพชรเกิดจากสารปนเปื้อนหรือไม่ก็ความผิดปกติในผลึก เช่น เพชรสีน้ำเงินเกิดจากโบรอน สีแกมเขียวเกิดจากกัมมันตรังสี สีชมพูเกิดจากการเรียงตัวผิดปกติในผลึก และเพชรสีเหลืองอย่าง The Sun Drop เกิดจากการปนเปื้อนของไนโตรเจน
ภาพจาก BBC News
การเจียระไนยังมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดระดับสีให้เพชรด้วย เช่น ถ้าเจียเป็นรูปสี่เหลี่ยมก็จะทำให้สีดูเข้มขึ้น เป็นต้น The Sun Drop ใช้เวลาในการเจียระไนถึง 6 เดือน เนื่องจากสารปนเปื้อนและความผิดปกติมีผลทำให้โครงสร้างผลึกเพชรแตกง่ายกว่าปกติ ช่างเจียระไนจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1599 | พิพิธภัณฑ์อังกฤษเปิดตัวเพชรสีเหลือง 110 กะรัต |
ในที่สุด นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบความลับที่คาใจอยู่นาน เกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นเป็นระยะทางพันๆ ไมล์ของเจ้าเต่่าทะเลในทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลอันเวิ้งว้าง
ก่อนหน้านั้นเป็นที่รู้กันว่า เต่าทะเลอาศัยการนำทางโดยอาศัยความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกในการระบุทิศเหนือ-ใต้ แล้วทิศตะวันออก-ตกละ มันรู้ได้ยังไง ?
คุณ Nathan Putnam นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย North Carolina ได้ศึกษาเต่าทะเลหัวฆ้อน (Loggerhead sea turtle) พบว่า มันใ่ช้ GPS เอ๊ย ! ไม่ใช่ ที่จริงแล้วนอกจากความเข้มของสนามแม่เหล็กแล้วมันยังใช้องศาการเอียงของสนามแม่เหล็กโลกอีกด้วย
นั่นช่วยในการอธิบายการอพยพของเหล่าเต่าทะเล (ส่วนใหญ่เป็นตัวเมีย) เพื่อกลับมาวางไข่ในสถานที่ที่มันเกิดได้เป็นอย่างดี แต่การจดจำสถานที่ที่มันเกิดยังคงเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจกันต่อไป
ก็คงต้องฝากเรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลในบ้านเราด้วยนะครับ จะได้มีไว้ให้โมโมทาไร่ขี่ เอ๊ย!! เพื่อระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ในท้องทะเลนะครับ
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1600 | ไขความลับการนำทางของเต่าทะเล |
ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย ดร. Andrew Truscott จากมหาวิทยาลัย Australian National ได้พัฒนา่เลเซอร์ที่มาจากอะตอม ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาภาพของโฮโลแกรมก็เป็นได้
เป็นครั้งแรกที่ทีมนักวิจัยจากแดนจิงโจ้ แสดงให้เห็นว่าลำของอะตอมฮีเลียมมีคุณสมบัติที่คล้ายกับลำแสงเลเซอร์ แต่ต้องวงเล็บไว้ว่าภายใต้อุณหภูมิหนึ่่งในล้านเหนือองศาสมบูรณ์ (0.000001 เคลวิน) การทดลองนี้ยังยืนยันและสอดคล้องกับทฤษฏีเมื่อ 50 ปีก่อน ซึ่งทฤษฏีนี้ให้คุณปู่ Roy Glauber ได้รับรางวัลโนเบลปี 2005 (คุณปู่คนนี้ก็ได้รับรางวัลอิกโนเบลในปีเดียวกัน)
การที่อะตอมสามารถแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ได้ อธิบายได้โดยการ coherence ของอะตอม พูดภาษาชาวบ้านก็คือ อะตอมเดินสวนสนามโดยพร้อมเพรียงกัน (all march in step) เช่นเดียวกับลำเลเซอร์ แต่ต่างกันที่เป็นโฟตอน
สตาร์วอร์คงไม่นานเกินรอใช่ไหม โอบีวัน
ที่มา - PhysOrg.com | https://jusci.net/node/1601 | เมื่ออะตอมประพฤติตัวคล้ายเลเซอร์ |
เมื่อตอนเย็นของวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2011 (ตามเวลาในสหรัฐฯ ถ้าเวลาบ้านเราก็น่าจะเป็นช่วงเช้าของวันที่ 25) ที่ผ่านมาถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์หน้าสำคัญอีกครั้งของ NASA และวงการอวกาศของโลก ทุกคนต่างเฝ้าจับตาไปที่ฐานส่ง Pad 39A ณ Kennedy Space Center ในแหลม Canaveral รัฐฟลอริด้า ที่ซึ่งกระสวยอวกาศ Discovery ได้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้ามุ่งหน้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ที่สำคัญการเดินทางครั้งนี้คือภารกิจครั้งสุดท้ายของ Discovery
Discovery เป็นกระสวยอากาศที่ได้ออกปฏิบัติภารกิจมากที่สุดในโลก ครั้งนี้ถือเป็นภารกิจครั้งที่ 39 นับจากปี 1984 (รวมแล้ว NASA ส่งกระสวยอวกาศออกไปทั้งหมด 133 ครั้ง)
กระสวยอวกาศจะถึง ISS ในวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ ของที่นำไปส่งได้แก่ พวกเสบียง ข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์การทดลอง เป็นต้น นอกจากลูกเรีอ 6 คนแล้ว Discovery ยังพาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ Robonaut 2 หรือ R2 ขึ้นไปด้วย ถือเป็นการทดลองช่วงแรกของการใช้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ในสถานีอวกาศ
ภารกิจครั้งนี้จะกินเวลาทั้งหมด 11 วัน ก่อนที่ Discovery จะร่อนกลับมายังบนพื้นโลก และถูกส่งต่อเข้าสู่พิพิธภัณฑ์ของ Smithsonian Institution เพื่อเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเที่ยวชม
ก่อนจะถึงวันนี้ ถ้าผมจำไม่ผิด Discovery เจอโรคเลื่อนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง เนื่องจากพบรอยรั่วในถังเชื้อเพลิง เสียเวลาปะไปประมาณ 4 เดือน แม้แต่ในวันส่งตัว ระบบคอมพิวเตอร์ของสถานีส่งยังเกิดอาการรวนไปตั้งเกือบสามนาที เล่นเอาใจหายวาบกันหมดกว่าจะส่ง Discovery ขึ้นไปได้
งานเลี้ยงอำลาครั้งนี้มีคนเข้าร่วมเป็นสักขีพยานกว่า 40,000 คน ไม่นับคนที่เฝ้าชมอยู่ที่บ้านอีกนับล้าน บรรดาร้านอาหาร ที่จอดรถ และร้านขายของที่ระลึกรอบๆ Kennedy Space Center ต้องเรียกได้ว่าแทบทะลัก ของขายดีเป็นเทน้ำเทท่า โดยเฉพาะเค้กอำลารูปกระสวยอวกาศและถ่านกล้องถ่ายรูป
หลังจากนี้ NASA ก็จะค่อยๆ ทยอยปลดประจำการกระสวยอวกาศไปทีละลำ ในปี 2011 นี้ NASA ยังเหลือภารกิจส่งกระสวยอวกาศอีกสองครั้ง คือ Atlantis และ Endeavour ตามลำดับ (แต่ผมเดาว่าเดี๋ยวต้องมีเลื่อนอีกแน่นอน)
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1602 | เที่ยวบินสุดท้ายของกระสวยอวกาศ Discovery |
ที่งาน ISSCC 2011 ปีนี้นอกจากบริษัทซีพียูจะมาแสดงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ๆ กันแล้ว บริษัทสัญชาติเบลเยียมอย่าง IMEC ก็มาสาธิตการใช้สารอินทรีย์ (organic) มาสร้างซีพียู 8 บิตขนาด 4000 ทรานซิสเตอร์
ข้อดีของการใช้สารอินทรีย์สร้างวงจรเหล่านี้แทนการใช้สารกึ่งตัวนำคือ สารอินทรีย์เหล่านี้ไม่อยู่ในสภาวะผลึกทำให้เราสามารถบิดงอวงจรเหล่านี้ได้
การสร้างทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นพื้นฐานของซีพียูนั้นสามารถสร้างด้วยสารอินทรีย์มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่การบิดงอซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญก็ทำให้วงจรไม่เสถียรไปบางในบางครั้ง ทำให้วงจรจากสารอินทรีย์ถูกจำกัดการใช้งานอยู่ที่จอแสดงผลเท่านั้น เพราะเมื่อบิดงอแล้วมีการทำงานผิดพลาด ความผิดพลาดก็เป็นเพียงการแสดงผลที่เพี๊ยนไปในส่วนที่ถูกบิด แต่สำหรับวงจรที่ยอมรับความผิดพลาดไม่ได้อย่างซีพียูนั้น การผิดแม้แต่บิตเดียวก็พอที่จะทำให้การทำงานยอมรับไม่ได้ทั้งหมด
ทีมวิจัยของ Imec เสริมเกตพิเศษเข้าไปด้านหลังทรานซิสเตอร์ทุกตัวทำให้วงจรมีเสถียรภาพพอที่จะทำงานได้อย่างถูกต้องแม้วงจรจะถูกบิดงอไป
ตัวแผ่นพลาสติกที่ใช้รองวงจรทำจาก Polyethylene Naphthalate ตัววงจรเชื่อมกันด้วยเส้นทองคำ ตัวซีพียูสาธิตสามารถประมวลคำสั่งได้วินาทีละ 6 คำสั่ง
ค่าใช้จ่ายในการผลิตของวงจรอินทรีย์เช่นนี้ยังแพงอยู่มาก และยังไม่สามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ เราอาจจะต้องรอเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จะมาช่วยเสริมกันเช่นเทคโนโลยีการพิมพ์วงจร
ที่มา - IEEE Spectrum | https://jusci.net/node/1603 | บริษัทจากเบลเยียมสร้างซีพียูอินทรีย์ |
งานวิจัยเกี่ยวกับกราฟีนในช่วงหลังๆ นี้มีจำนวนเยอะมากเนื่องจากข้อจำกัดหลักของมันคือการผลิตให้ได้ปริมาณมาก โดยกระบวนการผลิตหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากคือ CVD (Chemical Vapor Deposition)
กระบวนการ CVD อาศัยการพ่นมีเทนลงไปบนแผ่นโลหะเพื่อให้คาร์บอนจากมีเทนลงไปเกาะบนผิวหน้าโลหะทีละอะตอม โดยมีข้อจำกัดคือต้องใช้แผ่นโลหะที่มีความเรียบดีมากๆ และความดันขณะที่พ่นมีเทนลงไปต้องใกล้สูญญากาศ ไม่เช่นนั้นอะตอมจะจับตัวหนาเกินหนึ่งอะตอมทำให้คุณสมบัติผิดไป
ทีมงานจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเสนอกระบวนการที่คล้ายกัน แต่อาศัยแผ่นฟอยล์ทองแดงที่ใช้กันเป็นปรกติในอุตสาหกรรม แล้วขัดเงาด้วยไฟฟ้า (Electropolishing) จากนั้นจึงพ่นมีเทนลงไป กระบวนการเช่นนี้ทำให้ได้กราฟีนถึง 95% ของพื้นที่ผิว โดยที่กระบวนการนั้นง่ายกว่าและสามารถดำเนินไปภายใต้ความดันปรกติได้
ก่อนหน้านี้เนคเทคเคยประกาศว่าสามารถผลิตกราฟีนด้วยการพิมพ์อิงค์เจ็ตได้นั้นก็มีปัญหาแบบเดียวกันคือไม่สามารถผลิตกราฟีนแบบอะตอมชั้นเดียวได้ โดยกระบวนการของเนคเทคนั้นสามารถผลิตได้ที่ 2-10 ชั้น
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1604 | มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเสนอกระบวนการผลิตกราฟีนด้วยวัสถุดิบราคาถูกและความดันปรกติ |
หลังจากการปรับปรุงไปครั้งใหญ่ ฟอรั่มของ Jusci ก็หายไปนะครับ วันนี้ก็เปิดให้ใช้งานกันอีกครั้งแล้ว เผื่อสมาชิกจะมีเรื่องอื่นๆ หรือแลกเปลี่ยนประเด็นที่ไม่ได้เป็นข่าวกัน
‹ มือใหม่ถามที่นี่ (FAQ)
แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net › | https://jusci.net/node/1605 | เปิดฟอรั่มอีกครั้ง |
ภัยพิบัติในบ้านเราปีที่แล้วเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ที่น่าสนใจคือเราต้องขน "น้ำดื่ม" ไปไกลนับร้อยกิโลเมตรเพื่อนำไปส่งพื้นที่ประสบภัยเสมอๆ ปัญหาเช่นนี้เป็นปัญหาที่พบกันทั่วโลก ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย McGill จึงได้พัฒนาเครื่องกรองน้ำรูปแบบใหม่ที่น้ำหนักเบา พกพาง่ายพอที่จะขนเข้าไปยังพื้นที่ประสบภัยได้ง่าย
ทีมวิจัยคือศาสตราจารย์ Derek Gray และนักศึกษา Theresa Dankovich ได้ออกแบบเครื่องกรองน้ำที่อาศัยเพียงแผ่นกรองรุพรุนกับอนุภาคเงินนาโน โดยใช้เงินเพียง 5.9 มิลลิกรัมต่อกระดาษหนึ่งกรัม กระดาษกรองนี้สามารถฆ่าแบคทีเรียได้มากพอที่จะทำให้น้ำผ่านมาตรฐานน้ำดื่มของ EPA (Environmental Protection Agency)
การทดสอบยังคงเป้นการทดสอบในห้องแลป โดยทีมงานเตรียมจะทดสอบในพื้นที่จริงในอนาคต อย่างไรก็ตามตัวกรองนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยมันออกแบบเพื่อการติดตั้งที่รวดเร็วในกรณีฉุกเฉินมากกว่า
แต่ถ้าราคาถูกอย่างนี้ก็อาจจะใช้ในประเทศโลกที่สามอย่างเราๆ ก็น่าจะใช้งานได้
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1606 | สร้างเครื่องกรองน้ำอย่างง่ายด้วยเงิน |
จริงๆ ข่าวนี้ก็ค่อนข้างนานแล้วนะคะ มีข่าวออกมาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ มีบางเวบไซต์ในไทย เอาข่าวมาลงบ้างแล้ว แต่ผู้แปล อยากให้ชาว JuSci.net ได้ทราบข่าวดีๆ แบบนี้กันค่ะ
นักวิจัยไทย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) กำลังพัฒนาวัคซีนต้นแบบป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งได้ผ่านการทดสอบในหนูและลิงแล้ว และจะทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตวัคซีนที่สามารถนำมาใช้ในเชิงพานิชย์กับเด็กได้จริงภายใน 10 ปี
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าไข้เลือดออกนั้น ยังไม่มีวิธีรักษา และทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่รุนแรงกว่า เชื้อไวรัสเด็งกี่นั้นมี 4 สายพันธุ์ และนักวิจัยไทยได้สร้างเชื้อไวรัสลูกผสม ที่มียีนของทั้ง 4 ชนิด
นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยของประเทศฝรั่งเศสที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนไข้เลือดออกอีกเช่นกัน รายละเอียด อ่านได้จากที่มาของข่าวค่ะ
ที่มา : PhysOrg
และขอทิ้งท้ายด้วย ข่าวเดียวกันนี้บน BIOTEC | https://jusci.net/node/1607 | นักวิจัยไทย กำลังพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก |
หนึ่งในปัญหาหลักของเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบัน คือ เราหาพื้นที่เอาแผงรับแสงอาทิตย์หรือ Solar cell ไปวางไม่ได้ ยิ่งสมัยนี้ที่ดินมีราคาแพง ใครจะอยากเสียที่ดินแปลงใหญ่ๆ ไปกับสิ่งที่ได้รับผลตอบแทนไม่ค่อยคุ้มค่าแบบนี้ (ยอมจ่ายค่าไฟฟ้าแล้วเอาที่ดินไปใช้งานยังได้กำไรมากกว่า)
ทีมวิจัยร่วมของฝรั่งเศสและอิสราเอลได้หาทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวโดยจัดการคิดค้นโซลาร์เซลล์แบบใหม่ที่สามารถนำไปวางรับแสงบนผิวน้ำได้ โครงการนี้ใช้ชื่อว่า AQUASUN ได้รับการสนับสนุนจาก EDF Group ของฝรั่งเศส, EUREKA (องค์กรระหว่างรัฐบาลของประเทศในทวีปยุโรปที่ให้สนับสนุนด้านการวิจัย), Solaris Synergy ประเทศอิสราเอล, และกระทรวงอุตสาหกรรม การค้าและพลังงานของรัฐบาลอิสราเอล (Ministry of Industry, Trade and Labor)
นอกจากจะประหยัดพื้นที่แล้ว การวางแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนพื้นน้ำยังช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนอีกด้วย ส่งผลให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลลง แผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำนี้ไม่จำเป็นต้องไปวางเกะกะในทะเลหรือชายหาดสวยๆ ให้เป็นที่รำคาญสายตา เราสามารถติดตั้งมันบนแหล่งน้ำใดๆ ภายในพื้นที่โรงงานที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าก็ได้ ตัววัสดุที่ใช้ทำแผงโซลาร์เซลล์มีคุณสมบัติยอมให้ก๊าซออกซิเจนผ่านได้ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำมากนัก
โครงการ AQUASUN ตอนนี้กำลังดำเนินมาถึงช่วงของการทดลองใช้งานจริงแล้ว หลังจากที่สิ้นสุดขั้นตอนการออกแบบไปเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2010 การทดลองใช้งานจริงจะเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ปี 2011 นี้ ที่ Cadarache ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส แผนการทดลองจะกินเวลาประมาณ 9 เดือน ดังนั้นภายในครึ่งปีแรกของปี 2012 ทีมวิจัยก็คงได้ข้อมูลมากพอมาประเมินทั้งในด้านของประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/1608 | โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ |
ในบรรดาเผ่าพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้วกลิ่นตัวของมนุษย์ถือว่าเป็นของแรงที่สุดและมีเอกลักษณ์เฉพาะ นักวิทยาศาสตร์พบว่ายุงอย่างน้อย 2 ชนิดสามารถหาตัวเราเจอได้ด้วยกลิ่นเหงื่อของเราดุจดังทหารไทยใช้ GT200 หาระเบิดหรือเด็ก PMC ปิดตาหาแม่ ...ว่าไปนั่นกันเลยทีเดียว... ต่อให้เอาคนไปยืนกลางคอกวัวคอกหมู ยุงก็จะหาเหยื่อมนุษย์ของมันเจอแบบสบายๆ
ทีมวิจัยของ Renate Smallegange, Niels Verhulst และ Willem Takken แห่ง Wageningen University ได้วิเคราะห์กลิ่นเหงื่อที่มนุษย์ปล่อยออกมา พบว่าหลักๆ แล้วกลิ่นเหงื่อของเราเกิดจากสารเคมีในเหงื่อ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย กรดแลกติก และพวกกรดคาร์บอกซิลิค โดยเฉพาะกรดคาร์บอกซิลิคนี่ตัวดีเลย กลิ่นสาบเหงื่อฉุนๆ เหม็นเปรี้ยวๆ
เหงื่อของเรามีที่มาจากต่อมเหงื่อ (eccrine glands) กับต่อมน้ำมัน (sebaceous glands) ที่มีอยู่ทั่วร่างกาย และต่อม apocrine ซึ่งมีเฉพาะในบางจุดซ่อนเร้น ตรงนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์มาก ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของเราอย่างชิมแปนซีและกอริลล่ามีสัดส่วนของต่อม eccrine และต่อม apocrine อยู่ประมาณ 60:40 หรือสัตว์พวกลิงอื่นๆ จะมีสัดส่วนของต่อมทั้งสองประมาณ 50:50 แต่มนุษย์กลับมีแต่ต่อมเหงื่อ eccrine และต่อมน้ำมันทั้งตัว ส่วนต่อม apocrine พบได้เพียงแค่ที่กกหู คิ้ว ใต้รักแร้และบริเวณขาหนีบเท่านั้น
นอกจากกลิ่นจากสารเคมีแล้ว พวกแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังหรือที่บางทีก็เข้าไปสร้างบ้านในต่อมเหงื่อของเรา ก็มีส่วนช่วยเพิ่มกลิ่นตัวให้เราด้่วย แบคทีเรียพวกนี้จะย่อยสลายสารเคมีซึ่งไม่มีกลิ่นให้กลายเป็นสารเคมีที่ระเหยได้ง่าย (volatile compounds) กลิ่นที่เกิดจากการย่อยสลายของแบคทีเรียนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคนขึ้นอยู่กับชนิดและประชากรแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนร่างกายของคนคนนั้น
จากการทดลอง พบว่ามียุงอย่างต่ำสองชนิด คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles gambiae) และยุงลาย (Aedes aegypti) ที่ชอบกลิ่นตัวเราเสียมากๆ โดยเฉพาะกลิ่นตัวของผู้ใหญ่ ยุงจะชอบมากเป็นพิเศษ ส่วนกลิ่นตัวเด็กสงสัยจะยังไม่แรงเท่า ยุงเลยหาไม่ค่อยเจอสักเท่าไร
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าสารเคมีตัวไหนกันแน่ที่เป็นตัวส่งสัญญาณล่อยุงให้มากัดเรา อย่างที่บอกไป กลิ่นตัวแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยุงเองก็ดูเหมือนจะชอบกลิ่นตัวของบางคนมากกว่าของคนอื่นๆ ซะด้วย
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องดีอย่างหนึ่งเกี่ยวกับกลิ่นตัว คือ แม้ว่าผู้ชายจะเหงื่อออกมากว่าผู้หญิง แต่ความเข้มข้นของสารมีกลิ่นเท่ากันทั้งเพศหญิงและเพศชาย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะชายหรือหญิง จะจนจะรวย เรามีสิทธิเสรีภาพที่จะตัวเหม็นอย่างเท่าเที่ยม ไม่ต้องเสียเวลาไปประท้วงให้เหนื่อย
ปิดท้ายข่าวด้วยภาพ Infographic ประกอบเนื้อหาสวยๆ จาก Live Science
Source:LiveScience
ที่มา - Discovery News, Live Science | https://jusci.net/node/1609 | มนุษย์ตัวเหม็น |
ปัญหา "โลกร้อน" อาจแก้ได้ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่จุดระเบิดนิวเคลียร์ขนาดพอสมควร เพียงแต่อาจจะได้ปัญหาอื่นมาแทน
นักวิจัยของ NASA ได้สร้างแบบจำลองทดสอบดูว่าถ้าโลกเกิดสงครามนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (เล็กในที่นี้คือ 100 เท่าของระเบิดที่ฮิโรชิมานะครับ) จะเกิดผลกระทบอะไรต่อสภาพภูมิอากาศโลกบ้าง
ผลที่ได้ก็น่าสนใจมาก เพราะเถ้าเขม่าควันกว่า 5 ล้านตันจะลอยสูงขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นโทรโปสเฟียร์ และช่วยให้อุณหภูมิของโลกลดลง 1.25 องศาเซลเซียส ถือเป็นการ "ย้อนกระบวนการ" ของภาวะโลกร้อนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้โลกจะเย็นขึ้นแต่ปัญหาอื่นๆ จะตามมาเพียบ เกษตรกรรมแทบจะพังทลาย อาหารขาดแคลน และสภาวะนี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายปี
ที่มา - Gizmodo | https://jusci.net/node/1610 | ภาวะโลกร้อนแก้ไม่ยาก แค่ 'ก่อสงครามนิวเคลียร์' |
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2011 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ประจำกล้องโทรทรรศน์ Pan-STARRS PS1 ในฮาวายทำสถิติใหม่ค้นพบดาวเคราะห์น้อย 19 ดวง ซึ่งในจำนวนนี้มี 2 ดวงที่มีโอกาสจะพุ่งเฉียดโลกภายใน 100 ปีข้างหน้า
Pan-STARRS (ย่อมาจาก Panoramic Survey Telescope and Rapid Response System) เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก NASA และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เพื่อไว้คอยตรวจหาดาวเคราะห์น้อยหรือก้อนอุกกาบาตที่มีวงโคจรใกล้โลกและมีโอกาสพุ่งเข้าชนโลก กล้องโทรทรรศน์ Pan-STARRS PS1 ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ Haleakala ของเกาะ Maui กระจกรับแสงของกล้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร และกล้องดิจิตอลที่ติดอยู่สามารถถ่ายภาพได้ความละเอียดสูงสุดถึง 1,400 ล้านพิกเซล
นับจากเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2010 เป็นต้นมา ในทุกๆ วัน กล้อง Pan-STARRS PS1 จะถ่ายรูปท้องฟ้าไว้ถึงคืนละ 500 กว่ารูป จริงๆ แล้วในคืนวันที่ 19 มกราคม 2011 นักดาราศาสตร์ระบุตำแหน่งวัตถุต้องสงสัยได้ถึง 30 อัน แต่หลังจากการตรวจสอบมีเพียง 19 อันเท่านั้นที่ยืนยันได้ว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยอย่างที่ได้กล่าวไป
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1611 | สถิติใหม่! เจอดาวเคราะห์น้อย 19 ดวงในคืนเดียว |
ขอเปิดประเด็น Forum ด้วยคำถามก็แล้วกันครับ
ในฐานะที่ที่นี่คือเว็บด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปนเรื่องที่เกี่ยวพันกับ อนาคต อย่างมาก
คนที่อยู่ที่นี่คงจะได้รู้ได้เห็น ทั้งนิยายวิทยาศาสตร์ ทฤษฎี การคาดการณ์ มานักต่อนัก
อยากถามอย่างจริงจังว่า จากข้อมูลทั้งหมดที่มีความเปนไปได้
คุณอยากให้โลกในอนาคต มีอะไร หน้าตาแบบไหน หรือเชื่อว่าจะเปนอย่างไร
ขอซัก 100 - 200 ปีข้างหน้านะครับ
อยากแลกเปลี่ยนเรื่องนี้ดู
‹ แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net | https://jusci.net/node/1612 | อยากให้โลกในอนาคตมีอะไร หรือเปนอย่างไร? |
นักอนุรักษ์สัตว์ป่าดีใจมากๆ เมื่อได้เห็นภาพถ่ายคู่ของแรดชวา (Rhinoceros sondaicus) เพศเมียกับลูกชายของมันในป่าของประเทศอินโดนีเซีย ถ้าเทียบกับบรรดาแรดอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่บนโลกนี้ สถานภาพของแรดชวานี่แหละน่าเป็นห่วงที่สุด ในทศวรรษที่ผ่านมานี้มีรายงานการพบเห็นลูกแรดชวาเพียง 12 ครั้งเท่านั้น รูปคู่แรดแม่ลูกที่ถ่ายได้ในครั้งนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในภาพประจำทศวรรษแห่งการอนุรักษ์แรดชวาได้เลย
ภาพถ่ายนี้เป็นภาพจาก camera trap ("กับดักกล้อง" ที่นักอนุรักษ์ติดตั้งไว้จุดที่คาดว่าเป็นทางผ่านของสัตว์ เมื่อสัตว์เดินผ่านหน้ากล้อง กล้องจะถ่ายรูปเอาไว้) ของกลุ่มนักอนุรักษ์ WWF ซึ่งติดตั้งในอุทยานแห่งชาติ Ujung Kulon ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย การถ่ายติดภาพคู่แม่ลูกนี้ทำให้นักอนุรักษ์ปรับตัวเลขประเมินประชากรแรดชวาใน Ujung Kulon เพิ่มเป็น 50 ตัว จากเดิม 40 ตัว
แรดชวาถูกล่าจนเกือบใกล้สูญพันธุ์ เพราะความเชื่อที่ว่านอของมันสามารถนำมาบดทำยาจีนบำรุงร่างกายและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ ซึ่งความเชื่อนี้ไม่เคยได้รับการรับรองทางการวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เน้นอีกที ไม่เคย และ ไม่มีทางจริง
ประชากรแรดชวาใน Ujung Kulon ถือเป็นความหวังแห่งสุดท้ายในการอนุรักษ์แรดชวา แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเคยมีรายงานว่ายังมีแรดชวาหลงเหลืออยู่ในประเทศเวียดนาม แต่นักอนุรักษ์เชื่อกันว่าประชากรในเวียดนามมีขนาดเล็กเกินกว่าจะขยายพันธุ์ในธรรมชาติได้ ดีไม่ดี ป่านนี้คงจะตายกันไปหมดแล้วด้วย
ดูคลิปแอบถ่ายแม่แรดลูกแรดได้หลังเบรค
ที่มา PhysOrg, WWF | https://jusci.net/node/1613 | แม่ก็แรด ลูกก็แรด หายากมาก |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ Christian de Duve หนึ่งในสามผู้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี 1974 ได้เขียนหนังสือเล่มล่าสุดชื่อ "Genetics of Original Sin" เนื้อหาในหนังสือยกประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งว่า "กระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection) ของวิวัฒนาการมนุษย์จะนำพามนุษยชาติไปสู่การสูญพันธุ์ในที่สุด"
ทางเว็บไซต์ New Scientist จึงไปสัมภาษณ์ Christian de Duve ให้ช่วยอธิบายหน่อยว่าทำไมเขาถึงได้มีแนวคิดที่น่าตะลึงเช่นนี้ และวิวัฒนาการของเราเองจะทำให้เราสูญพันธุ์ได้อย่างไร
Christian de Duve บอกว่า การคัดเลือกตามธรรมชาติได้ใส่ลักษณะต่างๆ ไว้ในยีนของเรา ตัวอย่างเช่น ความเห็นแก่ตัวรวมหมู่ (Group selfishness) เป็นต้น ในช่วงแรกที่มนุษย์ยังมีจำนวนประชากรกระจ้อยร่อย ลักษณะเหล่านี้มีข้อดีเพราะมันทำให้บรรพบุรุษของเราขยายเผ่าพันธุ์จนมนุษย์ได้ครองโลกอย่างเช่นทุกวันนี้ แต่ลักษณะเดียวกันนี้กลับเป็นสิ่งที่ทำร้ายมนุษยชาติในระยะยาว เมื่อมนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนเกินการควบคุม การขยายตัวอย่างบ้าคลั่งของประชากรมนุษย์ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดถูกเผาผลาญไปอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อทรัพยากรธรรมชาติขาดแคลนหรือหมดไป เผ่าพันธุ์มนุษย์บนโลกก็ต้องสูญพันธุ์ในที่สุด
ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติตัดสินเอาจากสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สิ่งที่อยู่ในพันธุกรรมของเราบอกให้เราตักตวงผลประโยชน์เฉพาะหน้าให้ได้มากที่สุดตลอดเวลา มันไม่ได้วางแผนสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ได้สร้างให้เราคิดถึงปัญหาที่ลูกหลานของเราจะต้องประสบพบเจอ
Christian de Duve เชื่อว่ากระบวนการทำลายตัวเองที่ฝังอยู่ในวิวัฒนาการของเรานี้คือสิ่งที่ Book of Genesis ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เรียกว่า "บาปตั้งต้นของมนุษย์" (Original sin) อย่างไรก็ตามเขาให้ความหวังว่า มนุษยชาติจะสามารถหาทางออกจากบาปนี้และเลี่ยงการสูญสิ้นของมนุษยชาติได้ เพียงแต่ว่าพวกเราจะต้องเริ่มตระหนักถึงบาปติดตัวของเราอย่างจริงจัง (นี่เป็นเหตุผลที่เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา) เขาเห็นว่าทางที่ดูแล้วมีจริยธรรมที่สุดคงจะเป็นการควบคุมการเกิดของประชากร (Birth control)
นอกจากนี้ Christian de Duve ยังสนับสนุนให้ผู้หญิงก้าวขึ้นมามีบทบาทปกป้องมนุษยชาติมากขึ้นด้วย เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่ก้าวร้าวน้อยกว่าผู้ชาย และธรรมชาติสร้างให้ผู้หญิงมีสัญชาติญาณห่วงลูกหลานมากกว่า (เนื่องจากมนุษย์เพศเมียต้องลงทุนกับตัวอ่อนมากกว่ามนุษย์เพศผู้) ผู้หญิงจะมีส่วนสำคัญในการสร้างทัศนคติดีๆ ให้กับเยาวชนรุ่นถัดไปให้ก้าวข้ามความเห็นแก่ตัวต่อผลประโยชน์เฉพาะหน้า และคิดถึงวันข้างหน้ามากขึ้น
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1614 | นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลบอก "มนุษย์มีบาปติดตัวตั้งแต่เกิด" |
Vladimir Romanov นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียที่เพิ่งจะตีพิมพ์ข้อพิสูจน์ว่าปัญหา 3-SAT สามารถแก้ได้ในเวลา polynomial ได้ออกมายอมรับเมื่อวานนี้ (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2011) ว่างานของเขายังมีข้อผิดพลาด ดังนั้นการอนุมานว่า P == NP จึงยังทำไม่ได้
ข้อผิดพลาดนี้ค้นพบเมื่อมีนักคณิตศาสตร์และโปรแกรมเมอร์หลายท่าน (รวมถึง Vladimir Romanov ด้วย) ได้ลองนำเอาอัลกอริธึมที่ตีพิมพ์ไปปรับใช้งาน (implement) ดูแล้วเจอปัญหาบางประการ ซึ่งก็ยังไม่มีใครแน่ใจว่าเป็นปัญหาจากส่วนไหน ดัว Vladimir Romanov คิดว่าปัญหาน่าจะอยู่ที่ filtration procedure และเขาให้สัญญาว่าจะหาทางแก้ให้จงได้
Thank you for your attention to my work. You’d better suspend your investigations.
A shortcoming possibly exists in the filtration procedure which requires an amendment.
Best regards,
V. R.
เพราะฉะนั้นเราก็คงต้องรอลุ้นเป็นกำลังใจให้นักคณิตศาสตร์กันต่อไป
(ข้อความข้างบนคือการปิดท้ายข่าวแบบสร้างภาพ ซึนเดเระสุดๆ
ความในใจผมจริงๆ กำลังคิดว่า "ทำไมมันไม่ตีกันนะ พวกนักคณิตศาสตร์นี่ไม่ไหวเลยจริงๆ... เซ็งงง")
ที่มา - Cartesian Product via Slashdot
ป.ล. สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าปัญหา "P = NP หรือ P != NP" คืออะไรและสำคัญอย่างไร คุณ lew ได้ให้คำอธิบายง่ายๆ เอาไว้แล้วในความเห็นของข่าวเก่า จงเข้าไปอ่านกันเสียดีๆ | https://jusci.net/node/1615 | มีพลาด! ข้อพิสูจน์ P == NP ยังใช้ไม่ได้ |
แม้โลกเราจะมีเทคโนโลยีส่งมนุษย์ขึ้นไปทำการทดลองต่างๆ บนอวกาศมาได้นานแล้ว แต่ที่ผ่านมาเทคโนโลยีแทบทั้งหมดอยู่ในมือของภาครัฐ แต่เอกชนหลายบริษัทก็เริ่มพัฒนาเครืองบินที่ออกไปสู่เพดานบินที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าจะทำการทำลองหลายๆ อย่างได้
ล่าสุดสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ในรัฐโคโลราโด (Southwest Research Institute - SwRI) ได้เซ็นสัญญาร่วมมือกับบริษัท Virgin Galactic เพื่อ "จอง" ที่นั่งบนยาน SpaceShipTwo จำนวน 8 ที่นั่งมูลค่า 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ในงานวิจัย
ภายใต้ข้อตกลงนี้ทาง SwRI จะซื้อตั๋วสำหรับสองที่นั่งล่วงหน้าทันทีพร้อมกับสิทธิ์จองอีกหกที่นั่ง เนื่องจากตอนนี้ยาน SpaceShipTwo ยังไม่เปิดให้บริการ โดยยังอยู่ในช่วงการทดสอบการร่อนลม (glide test) ส่วนเครื่องรุ่นที่บินได้จริงนั้นคาดว่าจะให้บริการในปี 2012
นอกจากที่นั่งบนเครื่องของบริษัท Virgin Galactic แล้ว SwRI ยังซื้อที่นั่งจาก XCOR Aerospace อีกหกเที่ยวบินด้วย
การทดลองที่ SwRI ทดสอบนั้นมีหลากหลายตั้งแต่การตรวจวัดทางการแพทย์, การถ่ายภาพชั้นบรรยากาศ, และการทดสอบภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ
ที่มา - Space.com | https://jusci.net/node/1616 | หน่วยงานวิจัยเตรียมใช้ยานอวกาศเอกชนเพื่อการวิจัย |
ความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้เกษตรกรต้องถือความเสี่ยงอยู่มากจนอาจจะหมดตัวได้หากเจอสภาวะแปรปรวนหนักๆ เช่นพายุ แต่บริษัทอย่าง WeatherBill ให้ทางเลือกกับเกษตรกรเพื่อลดความเสี่ยงลงได้ ที่สำคัญบริษัทนี้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างน่าสนใจจนได้รับเงินลงทุนจากกูเกิล 42 ล้านดอลลาร์ รวมเงินลงทุนทั้งหมด 60 ล้านดอลลาร์
แม้จะเป็นบริษัทประกันภัยแต่ WeatherBill ก็ลงทุนกับระบบพยากรณ์อากาศขนาดใหญ่ จากนั้นจึงคำนวณความเป็นไปได้ของสภาพอากาศในปีข้างหน้า เมื่อเกษตรกรซื้อกรรมธรรม์ จะสามารถปรับค่าสภาพอากาศที่คาดหวังและความแปรปรวนที่ยอมรับได้ ซอฟต์แวร์จะคำนวณความเสี่ยงและคิดเป็นเบื้ยประกันอัตโนมัติ
ยิ่งระบบแม่น WeatherBill ก็จะยิ่งทำกำไรได้มาก เพราะไม่ต้องจ่ายสินไหมหรือไม่ก็คิดเบี้ยประกันไว้คุ้มค่า ขณะที่เกษตรกรก็จะรู้ความเสี่ยงของตัวเองก่อนเริ่มเพาะปลูก
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1617 | กูเกิลลงทุนบริษัทประกันภัยสภาพอากาศ |
เช่นเดียวกับทุกวงการ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็มีมุมมืดเหมือนกัน การทดลอง 7 อันข้างล่างนี้มาจากบทความ "7 Absolutely Evil Medical Experiments" ของเว็บ Live Science ทั้งหมดเป็นการทดลองที่กระทำต่อมนุษย์ซึ่งถ้าตัดสินในมุมมองของจริยธรรมการทดลองในปัจจุบันก็ต้องเรียกว่า "ไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด" บางอันอาจจะมีข้อความเนื้อหาที่ไม่เหมาะกับเยาวชน ขอให้ผู้ปกครองให้คำแนะนำด้วย
การทดลองที่ค่ายกักกัน Auschwitz ของนาซีเยอรมัน - คงไม่ต้องพูดถึงสำหรับการทดลองของนักวิทยาศาสตร์นาซีที่ทำต่อนักโทษ วัตถุประสงค์การทดลองส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อพิสูจน์ความเหนือกว่าของชนชาติอารยันและทดสอบประสิทธิภาพของอาวุธเคมี/ชีวภาพ ผู้ร่วมรับการทดลอง(แบบไม่เต็มใจ)ต้องถูกทรมานสารพัดแบบ ตั้งแต่การรมก๊าซพิษ แช่แข็ง ขังในห้องความดันต่ำ ฯลฯ ผู้หญิงบางคนถูกรัดเต้านมด้วยเชือกเพื่อทดลองว่าทารกจะอดนมได้นานขนาดไหน จนแม่บางคนตัดใจฆ่าลูกตัวเองให้พ้นทรมานด้วยการฉีดมอร์ฟีนเข้าเส้นเลือดเด็ก หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลง นักวิทยาศาสตร์นาซีถูกจับตัวขึ้นศาลอาชญากรสงครามเกือบทุกคน บางคนก็หลบรอดไปได้ เช่น Josef Mengele แพทย์หน่วย SS หัวโจกของโครงการทดลองหลบหนีไปอเมริกาใต้และตายที่บราซิลในปี 1979
หน่วย 731 กองทัพญี่ปุ่น - ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้จับเชลยชาวจีนมาร่วมการทดลองสารพัด เช่น การบังคับให้เดินทางไกลลุยหิมะด้วยเท้าเปล่าเพื่อจะดูว่าวิธีไหนรักษาอาการหิมะกัดได้ดีที่สุด การเข้าห้องรมก๊าซพิษ หรือโยนเข้าไปในห้องความดันจนลูกตาทะลักออกมา ไม่มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากการทดลองเท่าไร แต่ประเมินกันว่าไม่น่าต่ำกว่า 200,000 คน ในปี 1995 หนังสือพิมพ์ TImes เปิดเผยว่าทางการสหรัฐฯ ช่วยปกปิดการทดลองเหล่านี้ไว้เป็นความลับจากชาวโลก เนื่องจากต้องการเก็บไว้แบล็คเมล์ให้ญี่ปุ่นยอมเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในสงครามเย็น
Monster study - ชื่ออาจจะน่ากลัว แต่จริงๆ เป็นการทดลองเกี่ยวกับอาการติดอ่างของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไอโอวาในปี 1939 จุดประสงค์การทดลองคือต้องการดูว่าความเครียดมีผลต่อการติดอ่างในเด็กหรือไม่ นักวิจัยได้ไปบอกกับเด็กกำพร้าในสถานเลี้ยงเด็กว่าพวกเขาจะมีอาการติดอ่างในอนาคตเพื่อให้เด็กเกิดความเครียด ผลการทดลองคือเด็กไม่พัฒนาอาการติดอ่างขึ้นมา แต่กลับส่งผลให้เด็กเกิดความกังวล แยกตัวจากสังคม เป็นโรคซึมเศร้า สุดท้ายในปี 2007 ทางมหาวิทยาลัยต้องยอมจ่ายค่าชดเชยรวม $925,000 หลังจากถูกฟ้องจากผู้เสียหาย ชื่อ "Monster study" เป็นฉายาที่นักศึกษารุ่นหลังตั้งให้เพื่อเป็นการระลึกถึงตราบาปของมหาวิทยาลัย
การฆาตกรรมของ Burke & Hare - เนื่องจากในทศวรรษ 1830 รัฐบาลอังกฤษออกกฏหมายให้การผ่าตัดเพื่อศึกษากายวิภาคทำได้เฉพาะกับศพของนักโทษประหารเท่านั้น ทำให้แพทย์ทางด้านนี้หาตัวอย่างมาศึกษากันยากขึ้น ตลาดมืดของการขายศพจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว สองสหายเจ้าของบ้านเช่าในเอดินเบอร์ก William Hare และ William Burke เลยผุดไอเดียทำเงิน ลักลอบฆ่าผู้เช่าให้ห้องเช่าตัวเอง แล้วเอาศพไปขายให้กับ Robert Knox แพทย์นักกายวิภาค สุดท้ายทั้งสองคนก็โดนจับได้ Burke ถูกแขวนคอ ส่วน Hare บ้างก็ว่าถูกปล่อย บ้างก็ว่าถูกฆ่า คดีนี้ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษยอมผ่อนปรนข้อกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษากายวิภาคให้เข้มงวดน้อยลง
การทดลองสูตินารีเวชกับทาส - บิดาแห่งวิชาสูตินารีเวชสมัยใหม่ J. Marion Sims ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเกี่ยวกับจริยธรรมการทดลอง การทดลองส่วนใหญ่ของเขาจะทำกับทาสผู้หญิง เกือบทุกครั้งเขาไม่เคยวางยาสลบเลย เนื่องจากเขาให้เหตุผลว่าการผ่าตัดไม่น่าจะเจ็บมากอะไรมาก จึงไม่สมควรสิ้นเปลืองกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
การทดลองซิฟิลิสในกัวเตมาลา - ในปี 1946-1948 รัฐบาลของสหรัฐอเมริกากับกัวเตมาลาจับมือกันทำการทดลองลับๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ร่วมการทดลองประกอบด้วยนักโทษและผู้ป่วยทางจิตชาวกัวเตมาลา นักวิจัยทำการทดลองถ่ายเชื้อซิฟิลิสเข้าผู้ร่วมการทดลองโดยการจ่ายเงินให้ไปนอนกับโสเภณีที่ติดเชื้อ หรือไม่ก็กรีดหนังองคชาติแล้วเทเชื้อในจานเพาะลงบนแผล หลังจากที่เรื่องนี้แดงขึ้น เดือนตุลาคม 2010 ที่ผ่านมา Hilary Clinton และ Kathleen Sebelius ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษกับสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำลงไป
การทดลองที่ Tuskegee - การทดลองนี้เหมือนเป็นมุมกลับของการทดลองในกัวเตมาลาข้อข้างบน ในปี 1932 นักวิจัยของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำการติดตามอาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส 399 คนใน Tuskegee รัฐอะลาบามา ผู้ป่วยซึ่งเป็นคนผิวดำและไร้การศึกษาได้รับคำแนะนำแบบหลอกๆ จากนักวิจัยว่า "เขาป่วยเป็นโรคเลือดเสีย (Bad Blood)" จากนั้นนักวิจัยก็แกล้งทำเป็นรักษาไปเรื่อยๆ มีทดลองกับยาปลอมบ้างยาตัวใหม่บ้าง แต่ตลอดทั้งการวิจัยไม่มีผู้ป่วยคนใดได้รับการรักษาแบบจริงจังเลย การทดลองนี้กินเวลายาวนานถึง 40 ปี จนกระทั่งสาธารณชนรับรู้ความจริง รัฐบาลจึงต้องล้มเลิกโครงการในที่สุด
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1618 | 7 การทดลองที่โหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ [น. 13] |
ไมค์ ไทสัน อดีตแชมเปี้ยนมวยเฮฟวี่เวท กำลังจะได้รับบทบาทใหม่เป็นพิธีกรในสารคดีเรียลิตี้โชว์ชุดใหม่ของ Animal Planet ซึ่งเขานำพาผู้ชมไปดูชีวิตของสัตว์ชนิดหนึ่ง
...และสัตว์ชนิดนั้นคือ นกพิราบ!!!
คุณอ่านไม่ผิด ผมพิมพ์ไม่ผิด ไม่ใช่เสือ สิงโต หมีกริซลี่ ฯลฯ ในสารคดีซีรีส์ "Taking on Tyson" ไมค์ ไทสัน จะพาทุกคนไปชมชีวิตของนกพิราบใจกลางกรุงนิวยอร์ก
ไม่น่าเชื่อว่าอีกด้านหนึ่งของชีวิตของไทสันจะผูกพันกับนกพิราบอย่างลึกซึ้ง ไทสันเล่าว่าตอนเด็ก เขาเป็นเด็กอ้วนอ่อนแอที่โดนเด็กคนอื่นแกล้งอยู่ตลอด เขาตกหลุมรักนกพิราบครั้งแรกเมื่อถูกเด็กที่โตกว่าใช้ให้ไปหากล่องมาทำกรงนกพิราบ จากนั้นมาเขาเก็บเงินเพื่อซื้อนกพิราบเป็นของตัวเอง (เงินเก็บของเขามาจากการขโมย - ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่าเขาพูดจริงหรือพูดเล่น แต่ดูท่าทีแล้ว ผมคิดว่าจริง)
และก็เป็นเพราะนกพิราบนี่แหละที่ทำให้เขาเริ่มต่อสู้ครั้งแรก หลังจากที่เด็กอันธพาลปล้นนกของเขาไปและฆ่ามันทิ้งต่อหน้าต่อตา ด้วยความโกรธสุดขีด เขาจึงหน้ามืดเข้าไปชกกับเด็กนั่น และดันชนะซะด้วย นับแต่นั้นมา จากเด็กไม่สู้คนก็กลายเป็นอันธพาลคุมถิ่น, ถูกส่งเข้าสถานพินิจฯ และขึ้นสู่สังเวียนกำปั้นในที่สุด
แม้ว่าชีวิตไทสันจะผ่านจุดรุ่งเรืองและตกต่ำสุดขีดขนาดไหนก็ตาม ความรักที่เขามีต่อนกพิราบไม่ได้ลดน้อยลงเลย เขาบอกว่าถ้าหากชาตินี้ได้แก่ตาย ก็จะขอมีนกไว้เป็นเพื่อนตลอดไป
"Pigeons are a part of my life. It's a constant with my sanity in a weird way; this is just what I do. If I'm lucky enough to die an old man, I'm going to have birds."
ดูวิดีโอสัมภาษณ์ ไมค์ ไทสัน เกี่ยวกับเบื้องหลังการตัดสินใจรับบทบาทใหม่ครั้งนี้ได้หลังเบรค
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1619 | "Taking on Tyson" ซีรีส์ใหม่ของ ไมค์ ไทสัน ใน Animal Planet |
hagfish เป็นปลาปากกลมชนิดหนึ่งที่พบได้ในทะเลลึก รูปร่างของมันคล้ายปลาไหลที่ไม่มีตา หากินตามซากสัตว์ใต้ทะเล
ทีมวิจัยที่นำโดย Chris M. Wood แห่ง McMaster University ประเทศแคนาดา ได้ทำการทดลองตัดเนื้อเยื่อส่วนผิวหนังและเหงือกของ hagfish มาแช่ในสารละลาย พวกเขาพบว่าผิวหนังและเหงือกของ hagfish สามารถดูดซึมกรดอะมิโนได้ เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของกรดอะมิโนในสารละลาย ความเข้มข้นของกรดอะมิโนในเนื้อเยื่อก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยถึงจุดจุดหนึ่งแล้วจึงคงที่ นี่เป็นสัญญาณให้เห็นว่า hagfish ใช้ผิวหนังและเหงืิอกในการ "กิน" อาหารได้ด้วย นอกจากกรดอะมิโนแล้ว ผิวหนังของ hagfish ยังสามารถดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น โซเดียม เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์คาดว่าแร่ธาตุเหล่านี้น่าจะจำเป็นต่อการปรับสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย
แม้หลักฐานจะไม่ค่อยแน่นหนานัก นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยไปในทำนองเดียวกัน เนื่องจากพฤติกรรมการหากินของมันที่พอเวลาเจอซากสัตว์ มันก็จะมุดเอาทั้งตัวไปแช่ในกองซากนั้นเลย ความสามารถดูดซึมอาหารทางผิวหนังน่าจะช่วยให้มันเก็บเกี่ยวสารอาหารจากซากสัตว์ได้มากพอก่อนที่จะโดนนักกินซากอื่นๆ แย่งไปเสียหมด นอกจากนี้การดูดซึมอาหารผ่านทางผิวหนังก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับอาณาจักรสัตว์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดก็สามารถทำได้ (โดยเฉพาะพวกพยาธินี่ตัวดีเลย) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถ (หรือจะพูดให้ถูก "มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถ") ทำอะไรแบบนี้ได้ด้วย
ที่มา - Science News, Live Science
ป.ล. ความจริง hagfish ไม่ใช่ปลา จะเรียกว่ามันเป็น "สัตว์มีกระดูกสันหลัง" ก็ไม่ค่อยถูกนักเพราะมันไม่มีกระดูกสันหลังด้วยซ้ำ
ถึงกระนั้น นักชีววิทยาก็เรียก hagfish ว่าเป็น "สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ" อยู่ดี เนื่องจากลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักชีววิทยาจัดสัตว์เข้ามาใน Phylum Chordata (ไฟลัมของสัตว์มีกระดูกสันหลัง) คือ การมี notochord ซึ่งเป็นแท่งกลมๆ ทอดยาวไปตามความยาวลำตัว สัตว์ใน Phylum Chordata ต้องมี notochord อย่างน้อยสักช่วงหนึ่งในชีวิต แล้วเผอิญ hagfish ก็ดันมีแกนลำตัวเป็น notochord ซะด้วย (notochord ของสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่จะลดรูปลงไปเมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัย และมีกระดูกสันหลัง vertebra มาทำหน้าที่เป็นแกนลำตัวแทน)
นอกจากนี้ hagfish ยังมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ ความสามารถในการสร้างเมือกรอบลำตัว hagfish 1 ตัวสามารถทำให้น้ำทะเลหนึ่งถังกลายเป็นเมือกได้สบายๆ ไม่เชื่อก็ลองดูตัวอย่างการทดลองนี้ได้ | https://jusci.net/node/1620 | ปลาปากกลมกินอาหารทางผิวหนังได้ |
ตามทฤษฎีที่นักเรียนวิทยาศาสตร์เรียนกันมากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical microspcope) จะไม่มีทางสามารถเห็นรายละเอียดเกินกว่าค่า diffraction limit ของแสงได้ ซึ่งสำหรับแสงในช่วงที่ตามองเห็น (visble light) จะมีค่าอยู่ประมาณ 200-700 นาโนเมตร (ในทางปฏิบัติ กำลังขยายสูงสุดของกล้องจุลทรรศน์จะเห็นความละเอียดต่ำกว่านี้อีก เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของเลนส์) และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องมีกล้องจุลทรรศน์แบบอื่นๆ เช่น scanning tunneling microscope (STM), scanning electron microscope (SEM), transmission electron microscope (TEM) และ atomic force microscope (AFM)
Zengbo Wang, Wei Guo และ Lin Li แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ใช้เพียงเม็ดแก้วใสเม็ดเล็กๆ (glass microsphere) เท่านั้นในการที่จะทำให้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงมีกำลังขยายมากขึ้น ด้วยวิธีใหม่นี้ กล้องจุลทรรศน์แบบเดิมจะสามารถเห็นรายละเอียดได้ถึง 50 นาโนเมตร เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเลย
วิธีโกงเล็กๆ น้อยๆ นี้อาศัยหลักการที่ว่าพื้นผิวของวัตถุจะมีการเปล่งแสงที่เรียกว่า "evanescent waves" ออกมา แสงนี้เป็นแสงจางๆ ที่จะเลือนหายไปในระยะไม่กี่นาโนเมตร เม็ดแก้วที่นักวิจัยวางลงไปบนพื้นผิววัตถุจะทำหน้าที่เป็นเลนส์ที่หักเหแสงเหล่านี้และทำให้เกิดภาพขยายตกลงบนระนาบที่ต่ำกว่าระนาบวัตถุลงไปนิดหน่อย ภาพที่เกิดขึ้นนี้จะถูกขยายต่ออีกทีด้วยเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์
ภาพจาก Popular Science; เครดิตภาพ Li and Wang, University of Manchester
ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เริ่มคิดกันใหญ่แล้วว่าจะทำอะไรได้กับความสามารถใหม่นี้ ตัวอย่างหัวข้อที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาการทำงานของไวรัสตัวเป็นๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่มีทางที่จะเตรียมสไลด์สำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนกับเซลล์สดๆ แต่กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงทำได้แน่นอน
ที่มา - Popular Science, BBC News | https://jusci.net/node/1621 | กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา |
ในช่วง 540 ล้านปีที่ผ่านมา โลกได้เผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (Mass Extinction) 5 ครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีที่ผ่านมาและส่งเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ที่เคยครองโลกทั้งหมดไปสู่สุคติพร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมาย (สายเลือดโดยตรงของไดโนเสาร์ที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ นก) ในช่วงเวลาแห่งการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่แต่ละครั้ง 75% ของสปีชีส์ทั้งหมดบนโลกจะหายไปในเวลาสั้นๆ
ปัญหามันอยู่ตรงที่คำว่า "เวลาสั้นๆ" นี่แหละ ความสั้นยาวของเวลาในที่นี้เทียบกับเวลาทางธรณีวิทยา ดังนั้นจะเป็น 1 วัน, 1 ปี, 1 พันปี, หรือ 1 ล้านปี นักวิทยาศาสตร์ก็ยังเรียกว่าเป็น "เวลาสั้นๆ" ได้ (มีการศึกษาเร็วๆ นี้บอกว่าไดโนเสาร์บางชนิดอาจใช้เวลาถึง 700,000 ปีกว่าจะสูญพันธุ์)
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ย้อนกลับมาดูที่ขณะปัจจุบันซึ่งกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของสัตว์ทั่วโลก และใน "เวลาที่ค่อนข้างสั้น" ของประวัติศาสตร์มนุษย์สมัยใหม่ มันก็ดูเหมือนกับว่ามีสัตว์หลายชนิดต้องสูญพันธุ์ไปตลอดชั่วอารยธรรมแห่งมนุษยชาติ แต่ใครหละจะกล้าพอฟันธงว่าโลกอยู่ในช่วงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้งหรือไม่ (ถ้าบอกว่าใช่ ก็โดนฝ่ายทุนเล่น ถ้าบอกว่าไม่ใช่ ก็โดนพวกนักอนุรักษ์ฯ ด่า ชีวิตนักวิทยาศาสตร์มันก็กดดันเหมือนกันนะ)
วิธีพิสูจน์ก็ไม่ใช่ว่าง่าย เพราะจะต้องเอาอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งโลกตลอดช่วง 540 ล้านปีมาเทียบกับอัตราในปัจจุบัน เอาแค่นับดูว่าสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมีเท่าไร นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้จำนวนเลย จนถึงกับมีคำพูดที่ว่า "สิ่งมีชีวิตบางชนิดสูญพันธุ์ไปก่อนที่เราจะรูัจักมัน (อย่างเป็นทางการ) เสียอีก" นอกจากนี้หลักฐานฟอสซิลก็ไม่สามารถบ่งชี้ช่วงเวลาได้แบบเป๊ะๆ ดังนั้นการจะหาอัตราการสูญพันธุ์ที่แน่นอนในแต่ละจุดของช่วงเวลานับร้อยๆ ล้านปีแล้วเอามาเทียบกันจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้
ทีมวิจัยที่นำโดย Anthony D. Barnosky แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คเลย์ เลยหาทางที่ง่ายกว่านั้นในการพิสูจน์ พวกเขาพลิกแพลงหลักการนิดหน่อยโดยคำนวณหาอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ซึ่งเรามีบันทึกที่ค่อนข้างจะแน่นอนอยู่แล้ว จากนั้นเอาไปเทียบกับอัตราการสูญพันธุ์เฉลี่ยในช่วงของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทั้งห้าครั้งที่ผ่านมา
ผลที่ได้เป็นไปตามที่หลายคนคาด แต่ก็น่าตกใจอยู่ดี นั่นคือ อัตราการสูญพันธุ์ในทุกวันนี้ใกล้เคียงกับอัตราการสูญพันธุ์ในช่วงที่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในอดีตเลย แม้ว่านี่จะเป็นการคำนวณจากข้อมูลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงบางส่วน แต่มันก็แสดงให้เห็นว่า "วินาทีที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ โลกกำลังไถลลงสู่หายนะครั้งที่หกเข้าไปทุกทีๆ"
จากการประมาณการณ์ นักวิจัยพบว่า ถ้าเรายังเอ้อระเหยปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จัดอยู่ในกลุ่มถูกคุกคามและเป็นอันตราย (นับรวมหมดเลยทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ critically endangered, endangered, และ vulnerable) ทั้งหมดจะสูญพันธุ์ในอีก 300-2,200 ปีข้างหน้า เมื่อถึงจุดนั้นเมื่อไร ก็เป็นสัญญาณว่าทุกอย่างสายเกินแก้แล้ว
ทั้งหมดนี้หมายความว่าเรามีเวลาอีกเพียง 300-2,200 ปีเท่านั้นในการแก้ปัญหาที่มนุษย์ช่วยกันสร้างทับถมเอาไว้ไม่รู้กี่รุ่นต่อกี่รุ่น ไม่ใช่แค่ปัญหาสภาพภูมิอากาศ (โลกร้อน) อย่างที่หลายคนเห็นในทีวี แต่ยังมีปัญหามลพิษ ปัญหาการทำลายป่า ปัญหาประชากร ฯลฯ
ผมไม่อยากจะมองโลกในแง่ร้ายนะ นักวิทยาศาสตร์(เกือบ)ทุกคนก็เชื่อว่าเราจะแก้ไขปัญหาได้ทัน เพราะเรื่องมันติดอยู่ที่การเมืองนิดเดียวเอง
...นิดเดียวจริงๆ และภาคการเมืองของเราก็ก้าวหน้าไปเยอะมากๆ ดูสิ ปี 2009 เราได้กระดาษเช็ดก้นที่ชื่อว่า Copenhagen Accord พอมาปี 2010 เราก็ได้อะไรไม่รู้จากการประชุมที่ Cancun (จนป่านนี้ผมยังไม่รู้เลยว่าพวกนั้นประชุมอะไรกัน ทุกอย่างจบลงด้วยความงงๆ งวยๆ)
คิดแล้วปวดตับ T_T
แต่ยังไงก็ขอให้ทุกท่านมองโลกในแง่ดีไว้ เรายังเหลืออีกตั้ง 300 กว่าปี (โชคดีก็อาจถึง 2,200 ปี!) ไว้สักอีก 299 ปีค่อยคิดแก้ก็ได้เนอะ?
ที่มา - The Telegraph, Science Daily, Live Science | https://jusci.net/node/1622 | ฤๅหายนะครั้งที่หกได้เริ่มขึ้นแล้ว? |
ด้วยความที่ผมเป็นคนที่เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์มา และเป็นสายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) อีกต่างหาก ผมจึงคิดว่าตัวเองก็น่าจะเป็นหนึ่งในคนที่เจอกับกระแสที่สังคมไทยมีต่อ "วิชาวิทยาศาสตร์" โดยตรง มีหลายเรื่องที่ผมประทับใจ หลายเรื่องไม่พอใจ หลายเรื่องก็อึดอัด ดังนั้นผมก็อยากระบายแบ่งปันประสบการณ์กับชุมชน JuSci แล้วกัน ไหนๆ ก็ admin ก็เปิดฟอรัมใหม่แล้วด้วย ผมก็ขอใช้ให้คุ้ม (ค่าเช่าเซิรฟเวอร์ก็ไม่คิดจะช่วยจ่าย ยังจะเอาคุ้มอีก :P)
ต่อไปนี้เข้าเรื่องเครียดแล้วนะครับ เข้าโหมดจริงจัง
เรื่องแรกที่ผมอยากจะบ่นเป็นเรื่องที่ผมเจอบ่อยที่สุด อึดอัดที่สุด นับตั้งแต่วันที่ผมตัดสินใจเรียนต่อคณะวิทยฯ (ประมาณ ม. 2) นั่นคือ คำถามแบบว่า
"เรียนคณะวิทยาศาสตร์แล้วจบมาทำอะไร?"
ผมเชื่อว่าคนที่ไม่ได้โดนคำถามนี้กับตัวไม่รู้หรอกว่ามันอึดอัดขนาดไหน ขนาดตอนที่ผมยังเป็นเด็ก ผมยังรู้เลยว่าน้ำเสียงที่แฝงมากับคำถามนี้มันเป็นความหวังดีที่ปนสมเพชต่อการตัดสินใจเรียนต่อที่ดูแล้วโคตรจะไม่มีอนาคต(ในสังคมไทยปัจจุบัน) ประมาณว่า "จบวิทยฯ มาแล้วจะทำอะไรได้ เอ็งเปลี่ยนเหอะหวะ"
ต่อให้สมมติว่าผมไม่คิดอะไรมากกับน้ำเสียงที่แฝงมา (ซึ่งจริงๆ ผมคิด และคิดมาตลอด) คำตอบของผมก็วนเวียนอยู่แค่ "นักวิทยาศาสตร์-อาจารย์-นักวิจัย" ซึ่งว่ากันตามตรงก็ไม่มีอะไรผิดปกติหนิ ถ้านับเฉพาะที่ตรงกับสาขาที่เรียน คนจบแพทยศาสตร์ก็มีตัวเลือกแค่เป็นหมอหรืออาจารย์หมอ จบวิศวะฯ ก็ต้องเป็นวิศวะฯ คณะอื่นๆ อะไรก็ว่ากันไป
แต่ทำไมผมไม่เคยเห็นใครไปถามเด็กที่เลือกเรียนคณะดังๆเหล่านี้เลยว่า "เรียนคณะ XXX แล้วจบมาทำอะไร?" ทีกับเด็กที่อยากเรียนวิทยฯ หละถามจัง แล้วพอตอบว่า "นักวิทยาศาสตร์" แต่ละคนก็ทำท่าเหมือน "กูสิ้นหวังกับมึงแล้ว" มีน้อยมากที่ผมเจอว่าคนถามจะพอใจและให้เกียรติกับคำตอบและการตัดสินใจของเด็กที่เลือกเรียนคณะวิทยฯ
ผมคิดว่าคำถามประเภทนี้มีส่วนตอกย้ำให้เด็กที่เลือกเรียนคณะวิทยฯ เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง การที่เด็ก ม. ปลายจะเลือกเรียนคณะที่ไม่ใช่คณะยอดนิยมก็นับว่าขวางกระแสพอแล้ว เจอกับสิ่งบั่นทอนกำลังใจแบบนี้บ่อยๆ หลายคนก็มีสิทธิ์เปลี่ยนใจนะครับ ความหวังดีเสือกๆ แบบนี้คงมีส่วนไม่มากก็น้อยที่ผลักให้คณะวิทยฯ ก็กลายเป็นคณะที่ไม่มีเด็กอยากเลือกเรียน พอไม่มีคนกล้าเลือกเรียน คณะวิทยฯ ก็กลายเป็นสุสานเด็กสายวิทย์ที่สอบคณะอื่นไม่ติด ยิ่งทำให้ภาพพจน์ของคณะวิทยฯ และนักศึกษาวิทยฯ ดูงอกง่อยเข้าไปใหญ่ มันเหมือนวงจรที่วนทับกันไปเรื่อยๆ
ไม่ใช่แค่คณะวิทยฯ หรอก คณะที่ไม่ดังอื่นๆ ก็คงเจอปัญหาคล้ายกัน ผมก็ไม่รู้ด้วยว่าจะแก้ยังไง เพราะรากของคำถามนี้มันมาจากความจริงที่อาชีพนักวิทยาศาสตร์ในประเทศนี้ไม่ได้รับความนิยม มันไม่ใช่อาชีพที่มีภาพพจน์ของความมั่นคง รายได้เป็นกอบเป็นกำ เอ่อ "เรื่องภาพพจน์อาชีพนักวิทยาศาสตร์" ผมเก็บไว้บ่นวันหลังดีกว่า (ถ้าไม่โดนเตะออกจากที่นี่ไปก่อน ข้อหาบ่นมาก)
คราวนี้ผมก็อยากเห็นมุมมองของชุมชน JuSci ว่ามีใครคิดตรงกับผมบ้าง? หรือมีใครอยากจะ บ่น เสนอเพิ่มอะไรเพิ่มบ้าง? อ้อ และที่สำคัญ ทุกท่านอยากให้ผมมาบ่นแบบนี้อีกหรือไม่? หรือว่าไม่ต้อง "เอ็งเขียนข่าวกวนประสาทอย่างเดียวต่อไปดีแล้ว"
ด้วยความปราถนาดี จาก
Akedemo
ป.ล. เนื่องจากเว็บนี้ยังไม่มีดราม่าเหมือนกับเว็บอื่นๆ แม้ว่าผมจะพยายามแอบปลุกปั่นหลายครั้งแล้ว (ภูมิคุ้มกันดราม่าที่นี่สูงมาก) เพราะฉะนั้นกระทู้นี้ขอให้ทุกคนลดการใช้เหตุผล หันมาใช้อารมณ์ทะเลาะกันดีกว่า ดราม่าวันละนิด จิตแจ่มใส่ :P ใช่ปะๆ
‹ อยากให้โลกในอนาคตมีอะไร หรือเปนอย่างไร?
แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net › | https://jusci.net/node/1623 | [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร? |
ในวันที่ 18-19 มีนาคม พ.ศ. 2554 นี้ หากใครว่างๆ และสนใจอยากชมโครงงานของนักเรียน/นักศึกษาวิทยาศาสตร์ แต่ไม่รู้จะไปหาดูได้ที่ไหน ผมขอแนะนำงาน "การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6" (วทท. เพื่อเยาวชน) ซึ่งจัดโดยสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ อีกคับคั่ง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) งานนี้จะจัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา (ใครรู้ตัวย่อศูนย์ฯ ไบเทคมั่ง จะได้ใส่ให้ครบเลย ไม่รู้จะย่ออะไรกันนักกันหนา)
ภายในงาน ท่านจะได้ชมผลงานวิจัยของนักเรียน/นักศึกษาวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ หรือถ้าหากท่านมีความมั่นใจอยากจะเสนองานวิจัยของท่านเอง ก็สามารถลงทะเบียนเพื่อนำเสนอผลงานได้โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บุคคลทั่วไปผลงานละ 1,000 บาท นักศึกษา 900 บาท (แต่สำหรับคนทั่วไป ผมแนะนำให้ไปดูอย่างเดียวก็พอ ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย เพราะงานนี้นักเรียน/นักศึกษาที่ได้รับทุนของ สสวท. ทุกคนถูกบังคับให้พร้อมที่จะนำเสนอผลงานของพวกเขาอยู่แล้ว ผมรับประกันว่ามีคนต้องส่งผลงานวิจัยนำเสนอในงานเพียบ ไปแล้วไม่ต้องกลัวว่างานจะกร่อย)
ใครสนใจอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมให้ไปที่เว็บไซต์ http://www3.ipst.ac.th/stt4youth/ ที่นั่นมีเอกสารรายละเอียดการประชุมและแบบฟอร์มลงทะเบียนไว้ให้ดาวน์โหลดพร้อม | https://jusci.net/node/1624 | [ประชาสัมพันธ์] ขอเชิญร่วมงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๖ |
ในตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เจอสารเคมีที่ช่วยเพิ่มหรือลดความจำหลายต่อหลายตัว แต่ไม่มีตัวไหนเหมือนเอนไซม์ที่เรากำลังจะพูดถึง เพราะว่าสารพวกนั้นจะมีผลก็ต่อเมื่อสมองกำลังบันทึกความจำขณะกำลังเกิดเหตุการณ์ (เร่งความจำระยะสั้น) แต่เอนไซม์ตัวนี้สามารถเร่งให้หนูทดลองจำเหตุการณ์ที่เกิดผ่านมาแล้วได้ แม้ว่าจะเคยลืมเลือนไป หรือพูดอีกทาง คือ มันช่วยเร่งความจำในอดีตให้แจ่มชัดขึ้น (เร่งความจำระยะยาว)
ทีมนักวิจัยร่วมของสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลที่นำโดย Yadin Dudai แห่ง Weizmann Institute of Science ได้ทดสอบผลของเอนไซม์ที่มีชื่อว่า protein kinase Mζ หรือเรียกย่อๆ ว่า PKM-zeta ต่อความจำของหนูทดลอง
เริ่มแรกพวกเขาให้หนูทดลองกินน้ำที่มีรสหวาน ในน้ำหวานนี้พวกเขาแอบใส่ลิเธียมลงไปด้วย ทำให้หนูปวดท้องชั่วคราวอยู่สักพักใหญ่ๆ จากนั้นหนูก็จะไม่ได้เจอกับน้ำอะไรที่มีรสหวานอีกเลยตลอด 1 เดือนเต็ม
พอผ่านไป 1 เดือน พวกเขาก็จะฉีดไวรัสที่เตรียมไว้เป็นพิเศษเข้าไปในส่วน neocortex ของสมองหนู ไวรัสนี้มียีนที่จะไปเพิ่มหรือลดการสร้าง PKM-zeta อยู่ พอแน่ใจว่าไวรัสส่งยีนเข้าไปทำงานในสมองหนูเรียบร้อย พวกเขาก็จะเอาน้ำหวานให้หนูกินอีกครั้ง
ผลปรากฏว่าหนูกลุ่มที่ได้ยีนเพิ่ม PKM-zeta แทบจะไม่มีตัวไหนยอมแตะน้ำเลย หนูในกลุ่มควบคุมยังพอมีบ้าง ส่วนหนูที่ได้รับยีนลด PKM-zeta วิ่งถลาเข้าไปกินน้ำอย่างสบายใจ อารมณ์แบบลืมไปเลยว่าเดือนที่แล้วเพิ่งจะเจออะไรมา
นอกจากนี้เมื่อพวกเขาจับเอาหนูที่ได้ลืมประสบการณ์ท้องเสียกับน้ำหวานไปแล้วมาฉีดไวรัสเพิ่ม PKM-zeta หนูเหล่านั้นก็สามารถคืนความจำกลับมาได้ดังเดิม หรือแม้แต่การทดลองกับน้ำรสอื่นๆ เช่น รสเค็ม ก็ให้ผลในรูปแบบเดียวกัน
ก่อนหน้านี้ในปี 2007 ก็เคยมีผลการศึกษาว่า PKM-zeta ช่วยเพิ่มความจำในหนูทดลอง แต่นี่เป็นงานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า PKM-zeta มีผลต่อความจำระยะยาว และก็ยังเป็นงานแรกที่แสดงให้เห็นอย่างประจักษ์ชัดว่าความจำระยะยาวสามารถถูกเร่งหรือลดประสิทธิภาพได้ด้วยสารเคมี ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่ากระบวนการเปลี่ยนข้อมูลจากความจำระยะสั้นไปเป็นความจำระยะยาวไม่สามารถเร่งหรือลดได้ตามชอบใจ
สำหรับสิ่งที่ต้องศึกษาต่อไปก็คือกลไกการทำงานของ PKM-zeta ว่ามันทำงานอย่างไรกันแน่? Yadin Dudai เชื่อว่ามันน่าจะไปกระตุ้นอะไรสักอย่างที่ทำให้ synapse (ช่องว่างระหว่างปลายเซลล์ประสาทสองอัน) ของสมองส่วนที่เก็บความจำระยะยาวมีความไวต่อสารสื่อประสาท (neurotransmitter) มากขึ้น แต่ว่ามันทำได้อย่างไรและทำอะไรตรงไหนบ้าง อันนี้ยังไม่มีใครรู้
ต่อไปละคร-หนังไทยที่ชอบใช้มุขความจำเสื่อม (โดยเฉพาะซิตคอมที่เล่นมานานจนไม่รู้จะไปต่อทางไหน เลยจัดให้พระเอกความจำเสื่อมแล้วย้อนทุกอย่างกลับไปใหม่ อุ๊บ! ผมไม่ได้พูดนะว่าเรื่องไหน) คงมีจืดกันบ้างแหละ คราวนี้ใครความจำเสื่อมก็เอา PKM-zeta กรอกปากเข้าไปเลย จบ! :P
ที่มา Live Science, Nature News, Science News | https://jusci.net/node/1625 | เอนไซม์คืนความจำ |
วินาทีที่ Mohammed Bouazizi พ่อค้าผลไม้จุดไฟเผาตัวตายเพื่อประท้วงรัฐบาลตูนิเซีย ใครจะไปคาดคิดได้ว่าประกายไฟปฏิวัติจะลามไปทั่วแอฟริกาและตะวันออกกลาง เผลอๆ อาจจะลามไปทั้งโลกเลยก็ได้ ตอนนี้ผู้นำเผด็จการทั่วทุกมุมโลกต่างผวาพลังประชาชนจนแทบจะนอนไม่หลับกันแล้ว
อย่าคิดว่านักวิทยาศาสตร์จะนิ่งนอนใจกับปรากฏการณ์ลักษณะนี้ จริงๆ กองทัพสหรัฐอเมริกาก็มีความพยายามที่จะหาหนทางมาทำนายสภาวะการเมืองอยู่นานแล้ว แต่แบบจำลองต่างๆ ล้วนล้มเหลวทั้งสิ้น ไม่มีอันไหนที่ใช้การได้สมบูรณ์หรือใกล้เคียงเลย
แต่ในความล้มเหลว นักคณิตศาสตร์ก็ยังมีเค้าลางอะไรบางอย่างให้จับยึดได้ พวกเขาเห็นว่าก่อนจะเกิดปฏิวัติหรือภาวะยุ่งยากทางการเมือง สังคมนั้นจะต้องมีความเครียดสะสมมากพอ เหมือนกับป่าที่สะสมใบไม้แห้งไว้เรื่อยๆ รอแค่มีประกายไฟเล็กๆ พระเพลิงก็จะลุกไหม้เผาทั้งป่าให้วอดวาย
Yaneer Bar-Yam แห่ง New England Complex Systems Institute ในแมสซาชูเซตส์ เริ่มพอจะทำนายได้บ้างแล้วว่าความเครียดสะสมในระดับไหนที่มากพอจะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองปะทุขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ตัวอย่างเช่นในประเทศอินเดีย เคนยา และ ยูโกสลาเวีย (ในอดีต) แต่ว่าเรื่องจะให้ทำนายว่าประกายไฟปฏิวัติจะเกิดขึ้นเมื่อไร? ที่ไหน? นั้น นักคณิตศาสตร์คว้าน้ำเหลวตลอด
อย่างไรก็ตาม ความหวังก็ไม่ได้ริบหรี่ไปซะทีเดียว Marten Scheffer แห่ง University of Wageningen ในเนเธอร์แลนด์ เห็นว่าสังคมก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติมีรูปแบบอาการบางอย่างที่คล้ายกันอย่างเป็นสากลอยู่ มันคล้ายๆ กับรูปแบบของระบบที่เปลี่ยนจากสมดุลหนึ่งไปสู่อีกสมดุลหนึ่ง
และก็เนื่องจากมันเป็นการเปลี่ยนของสมดุล Marten Scheffer จึงเชื่อว่าการกดหัวไม่ให้ประชาชนลุกขึ้นมาเรียกร้องนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ช่วยอะไรเลย เหมือนกับการไล่ดับกองไฟเล็กๆ กลายเป็นว่าใบไม้ที่ควรจะหายไปในกองไฟเล็กๆ ก็สุมทับจนกลายเป็นเชื้อไฟขนาดมโหฬาร สุดท้ายการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี ยิ่งมีเชื้อไฟมาก ไฟก็ยิ่งควบคุมยาก ลุกลามกลายเป็นการปฏิวัติ (revolution) แทนที่จะเป็นการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงอย่างการปฏิรูป (reform) ซึ่งเสียเลือดเนื้อกันน้อยกว่า
อ่านข่าวนี้แล้ว ลองย้อนกลับมาดูทีี่ประเทศไทย ใครจะมาพนันกับผมหน่อยมั้ยว่า "กองใบไม้แดงที่ยังคุกรุ่นอยู่ตอนนี้จะเป็นเชื้อเพลิงของไฟปฏิวัติหรือกองไฟปฏิรูป?"
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1626 | นักคณิตศาสตร์พยายามหาทางทำนาย "การปฏิวัติครั้งต่อไป" |
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการมากๆ ในการศึกษาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (หรือที่สื่อชอบเรียกว่า "ภาวะโลกร้อน") คือข้อมูลความเข้มข้นของ CO2 ในบรรยากาศ ถ้าคนที่ได้ดูหนังเรื่อง An Inconvenient Truth มา คงพอทราบว่าเมื่อเรื่องนี้เริ่มเป็นกระแสเมื่อสัก 20-30 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ได้เริ่มเก็บข้อมูลมานับแต่นั้น เพราะฉะนั้นเราจึงมีข้อมูลในช่วงนี้อย่างละเอียดมากๆ
หรือว่าจะเป็นข้อมูลย้อนกลับไปนับแสนๆ ปี เราก็พอหาได้จากการขุดชั้นน้ำแข็งที่ขั้วโลกแล้วเอาฟองอากาศที่ถูกกักอยู่ในน้ำแข็งมาตรวจสอบ พร้อมกับประเมินอายุของชั้นน้ำแข็งนั้นๆ ทำให้เราเห็นข้อมูลบรรยากาศโลกในภาพกว้าง
แต่ปัญหาอยู่ที่ข้อมูลในช่วง "เริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรม" โดยเฉพาะในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17-19 เราแทบจะหาไม่ได้เลย ทั้งที่มันเป็นข้อมูลส่วนที่น่าจะเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดด้วยซ้ำ เพราะมันคือจุดเริ่มต้นที่เทคโนโลยีของมนุษย์พัฒนาจนถึงขั้นปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากขึ้นสู่บรรยากาศของโลกได้ ครั้นจะให้นักวิทยาศาสตร์ไปค้นข้อมูลบันทึก ก็ไม่รู้จะให้ไปหาจากไหน หรือจะให้ไปเจาะเอาข้อมูลจากน้ำแข็งทั่วโลก แกนเวลาของข้อมูลมันก็กว้างเกินกว่าจะระบุได้ว่าเป็นของปีไหนๆ อย่าว่าแต่ระดับปีเลย ระดับทศวรรษยังแทบเป็นไปไม่ได้
มีอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจในทางทฤษฎี นั่นคือการดูจากวงปีของต้นไม้ แต่จุดอ่อนของวิธีนี้ก็คือเราไม่มีต้นไม้อายุเป็นร้อยๆ ปีมากพอจะให้นักวิทยาศาสตร์เก็บข้อมูลทางสถิติได้ ต่อให้หาเจอ ใครจะกล้าไปตัดดูวงปี ไม่แน่ก่อนจะได้ตัด คงเจอพวกนักอนุรักษ์ธรรมชาติกระทืบเป็นปุ๋ยต้นไม้ไปแล้ว
อย่างไรก็ดี เกิดเป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องดิ้นได้ทุกทาง Dan Yakir แห่ง Weizmann Institute ในอิสราเอล ได้คิดวิธีเจ๋งๆ อย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งก็ตามหัวเรื่องของข่าวนี้เลย คือ เขาหาข้อมูลเอาจากหนังสือพิมพ์นั้นเอง
เขาไม่ได้ไปนั่งค้นหาคอลัมน์ "CO2 วันนี้" ในหนังสือพิมพ์หรอกครับ สิ่งที่เขาต้องการคือข้อมูลที่อยู่ในเนื้อกระดาษที่ใช้ทำหนังสือพิมพ์ต่างหาก อย่าลืมว่ากระดาษทำมาจากต้นไม้ แถมไม่ไช่ต้นไม้ต้นเดียว ยังเป็นต้นไม้หลายๆ ต้นมาบดรวมกันซะอีก ไม่ต้องไปเดินหาต้นไม้หลายๆ ต้นให้เมื่อย แล้วการระบุเวลาจากกระดาษหนังสือพิมพ์มันจะไปยากอะไร ทุกหัวกระดาษของทุกหน้าก็มีวันที่โชว์หราซะขนาดนั้น
หลังจากที่ Dan Yakir ส่งคำขอไปยังสำนักหนังสือพิมพ์ 10 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา มีเพียง Boston Globe แห่งเดียวเท่านั้นที่ตอบรับ เมื่อได้ชิ้นส่วนกระดาษหนังสือพิมพ์มาแล้ว Dan Yakir ก็เอาชิ้นส่วนกระดาษเหล่านั้นเข้าเตาเผาที่ 2,000-2,200 องศาฟาเรนไฮต์ จากนั้นก็เก็บ CO2 ที่ได้จากการเผาไหม้มาวิเคราะห์อัตราส่วนของไอโซโทปคาร์บอน-13 ต่อ คาร์บอน-12 แล้วคำนวณหาความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศออกมา
เพียงเท่านี้ ข้อมูล CO2 ในช่วงเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 1872) แบบละเอียดยิบก็อยู่ตรงหน้า Dan Yakir เรียบร้อย
เหลือเชื่อมั้ยหละ! Steven Leavitt แห่งมหาวิทยาลัยอริโซนายังชมวิธีของ Dan Yakir เลยว่าเป็น "การอ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด" (Reading between the lines) ขนานแท้ สุดยอดจริงๆ ผมให้คะแนนความสร้างสรรค์การทดลองเต็มสิบไปเลย
ที่มา - Popular Science | https://jusci.net/node/1627 | นักวิทยาศาสตร์หาข้อมูลโลกร้อนจากหนังสือพิมพ์ร้อยปี |
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวว่า Betelgeuse จะระเบิดเร็วๆ นี้ กลายเป็นซุปเปอร์โนวาเปล่งแสงสว่างมหาศาลจนกระทั่งมนุษย์บนโลกจะเห็นว่ามีดวงอาทิตย์ส่องสว่างอยู่บนฟ้าถึงสองดวง แม้ข่าวนี้จะถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนักดาราศาสตร์ในเวลาต่อมา (อ่าน หมายเหตุท้ายข่าว) แต่เรื่องดวงอาทิตย์สองดวงก็ยังคงเป็นที่สนใจของสำนักข่าวทั่วโลกอยู่ดี
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา รายการข่าวโทรทัศน์ในประเทศจีนรายงานว่ามีผู้พบเห็นดวงอาทิตย์สองดวงปรากฏขึ้นที่เส้นขอบฟ้าและได้ถ่ายวิดีโอเอาไว้ ลองดูภาพข่าวได้จากคลิปข้างล่าง
จากภาพข้างบนจะเห็นได้ว่า ในวิดีโอมีภาพดวงอาทิตย์สองดวงอยู่ข้างๆ กัน ดวงหนึ่งอยู่เหนือกว่าอีกดวงเล็กน้อย และดวงที่อยู่ต่ำกว่าดูเหมือนจะคมชัดกว่า
นักวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมั่นใจว่า "ดวงอาทิตย์สองดวง" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงแน่ๆ เหมือนอย่างที่เกิดกับการเห็นภาพลวงตา (mirage) ในทะเลทราย แต่ว่าลักษณะการเรียงตัวของภาพลวงตาในแนวนอนอย่างที่ปรากฏในข่าวนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในแนวตั้งมากกว่า นักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่แน่ใจนักว่าทำไมภาพลวงตาแบบนี้จึงปรากฏในแนวนอนได้ อาจจะเป็นเพราะอากาศตรงนั้นหนาแน่นกว่าที่อื่นหรือเปล่า? หรือ ถ้าอธิบายแบบไทยๆ ก็อาจเป็นเพราะปาฏิหาริย์ "พระอรหันต์" ที่เพิ่งตายไปก็ได้? (หันซ้ายหันขวาก็ไม่รู้ ^.^)
นอกจากนี้การสะท้อนของเลนส์ก็มีสิทธิ์ทำให้เกิดภาพดวงอาทิตย์สองดวงได้ แต่ในกรณีนี้ดูจะเป็นไปได้ยากเนื่องจากภาพดวงอาทิตย์ทั้งสองดวงปรากฏอยู่คงที่ แม้ว่ากล้องจะเลื่อนไปเลื่อนมาก็ตาม
ที่มา - Life's Little Mysteries
หมายเหตุ:
เกี่ยวกับ "ข่าว Betelgeuse จะระเบิด" ผมเข้าใจว่าข่าวนี้ได้รับความสนใจจากสื่อใหญ่ๆ บ้านเราพอสมควรด้วย มีอยู่ 2-3 สำนักเล่นข่าวนี้ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีฉบับไหนเลยลงรายละเอียดต่อไปว่า เรื่องนี้แม้ไม่ถึงกับหลอกลวง แต่ก็ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากดาว Betelgeuse ยังไงก็ต้องระเบิดอยู่แล้ว แต่คำว่า "เร็วๆ นี้" ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ มันอาจจะหมายถึงพรุ่งนี้หรืออีกสิบล้านปีข้างหน้าก็ได้ (บางครั้ง timescale ของนักวิทยาศาสตร์ก็เปรียบเทียบกับอายุของเอกภพหรือของโลกซึ่งหมายถึงเวลาระดับเป็นล้านปีหรือพันล้านปี คนทั่วไปที่ไม่คุ้นมักจะเข้าใจผิดได้เสมอๆ) อีกทั้งแสงจากการระเบิดของ Betelgeuse ที่ส่องมาถึงโลกก็น่าจะเห็นได้สว่างประมาณพระจันทร์ข้างขึ้นเท่านั้น อ่านเพิ่มเติมได้จาก Life's Little Mysteries | https://jusci.net/node/1628 | ปาฏิหาริย์? พระอาทิตย์สองดวงปรากฏที่จีน |
Tetrahymena thermophila เป็นโปรโตซัวเซลล์เดียวอาศัยอยู่ในน้ำจืด พบได้ทั่วโลก รอบเซลล์มี cilia (ขนเส้นเล็กๆ) ไว้ใช้ในการเคลื่อนที่ (นึกถึงใบพายของเรือหางยาว) เช่นเดียวกับโปรโตซัวอีกหลายชนิด Tetrahymena thermophila เพิ่มจำนวนด้วยการแบ่งตัว (binary fission) ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ
แม้ว่าการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของมันจะฟังดูธรรมดาๆ แต่สำหรับการผสมพันธุ์แบบอาศัยเพศที่เรียกเฉพาะว่า "Conjugation" นั้นคนละเรื่องกันเลย Tetrahymena thermophila 1 ตัวมีเพศให้เลือกเป็นได้ทั้งหมด 7 เพศ! และเพื่อไม่ให้สับสน นักวิทยาศาสตร์เลยเรียกชื่อแต่ละเพศของ Tetrahymena thermophila เป็นตัวเลขโรมันแทน เรียงจาก 1-7 ก็จะได้เป็น I, II, III, IV, V, VI และ VII เพศหนึ่งๆ จะต้องผสมพันธุ์กับเพศอื่นที่ไม่ตรงกันเท่านั้น จะมาแอบจุ๊กจิ๊กตอดหลังไม้ป่าเดียวกันไม่ได้ เช่น เพศ I ก็ต้องจับคู่กับเพศ II-VII
From: Wikipedia; Credit: Robinson (2006)
ความวุ่นวายยังไม่จบแค่นี้ เพศของ Tetrahymena thermophila ไม่ได้ถูกกำหนดเหมือนอย่างที่เรามีโครโมโซมเพศจะเป็น XX, XY, ZW, XO อะไรก็ว่ากันไป (อ่านเพิ่มเติ่มได้จาก Wikipedia) แต่เพศของ Tetrahymena thermophila ถูกกำหนดด้วยยีนตัวหนึ่งที่ชื่อว่า mat ยีนนี้มี 14 alleles เป็นอย่างน้อย (allele คือ รูปแบบของยีนที่เป็นไปได้สำหรับยีนหนึ่งๆ)
แล้วก็อย่าเพิ่งคิดว่า allele ตัวหนึ่งจะกำหนดเป๊ะๆ ลงไปเลยว่าเป็นเพศนั้นเพศนี้...มันยังไม่ง่ายขนาดนั้น... แต่ละ allele จะกำหนด "ความน่าจะเป็น" ของโอกาสที่จะเป็นเพศใดเพศหนึ่ง เช่น ถ้ามี mat2 ก็จะมีโอกาสเป็นเพศ II 0.15, เพศ III 0.09, แต่ไม่มีโอกาสเป็นเพศ I เลย เป็นต้น ส่วนผลสุดท้ายจะออกมาว่าเป็นเพศไหนนั้นต้องไปลุ้นกันเอาเองอีกที
จากแบบจำลองที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น การที่ยีนหนึ่งกำหนดได้หลายเพศนี้มีผลดีต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมประชากร เพราะจะได้ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเจอคู่ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรมกันได้ อย่างไรก็ตาม ในประชากรที่มีขนาดเล็กๆ (น้อยกว่า 1,000 ตัว) เรามักจะพบ Tetrahymena thermophila ในแต่ละเพศไม่เท่ากัน ต้องมีเพศบางเพศมากกว่าเพศที่เหลือเสมอ
นอกจาก Tetrahymena thermophila แล้ว ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่มีเพศมากกว่า 2 เพศ โลกนี้อาจจะมีตัวบ้าอะไรสักตัวที่มีเยอะกว่า 7 เพศด้วยก็ได้ ใครจะไปรู้
ที่มา - New Scientist
ป.ล. การผสมพันธุ์แบบ Conjugation ไม่ใช่แบบที่เรา..เอ่อ..ศึกษาจากอินเตอร์เน็ตกันแทบทุกคืน Tetrahymena thermophila (และโปรโตซัวอีกหลายชนิด) จะมีนิวเคลืยส 2 อัน อันหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เรียกว่า macronucleus ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ในเซลล์เหมือนนิวเคลียสทั่วไป อีกอันจะมีขนาดเล็กกว่า เรียกว่า micronucleus รับผิดชอบในกระบวนการ Conjugation
ในขั้นตอนของการ Conjugation เซลล์ทั้งสองจะสลาย macronucleus (พหูพจน์เรียกว่า macronuclei) ของตัวเองและแลกเปลี่ยน micronucleus (พหูพจน์เรียกว่า micronuclei) ซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็แยกย้ายไปสร้าง macronucleus ขึ้นมาใหม่และแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนกันเองต่อไป พูดกันตามตรง กระบวนการ Conjugation ไม่ใช่การขยายพันธุ์ด้วยซ้ำ เพราะไม่มีการเพิ่มจำนวน มีแต่การแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมกันเท่านั้น | https://jusci.net/node/1629 | สิ่งมีชีวิตที่มี 7 เพศ |
กระสวยอวกาศ Discovery หรือยาน OV-103 เป็นกระสวยอวกาศที่เก่าที่สุดที่ยังคงประจำการอยู่ของนาซ่า โดยมันประจำการมาตั้งแต่ปี 1984 ด้วยภารกิจแรกคือการนำส่งดาวเทียม Hubble ได้ออกจากสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว โดยหลังจากมันลงจอด ทีมงานของนาซ่าจะรื้อถอนและส่งโครงไปยังสถาบันสมิทโซเนียนเพื่อแสดงเป็นนิทรรศการต่อไป
Discovery มีภารกิจทั้งหมด 39 ภารกิจ, นำส่งดาวเทียมไปแล้ว 31 ดวง, เดินทางมาทั้งหมดกว่า 230 ล้านกิโลเมตร, โคจรรอบโลกมาแล้วกว่า 5,000 รอบ รวมระยะเวลาที่อยู่นอกโลกกว่า 350 วัน
นาซ่ายังเหลือภารกิจสำหรับกระสวยอวกาศอีกสองภารกิจ คือ ภารกิจทดลองทางฟิสิกส์ของยาน Endeavour (STS-134) และ ภารกิจนำส่งสิ่งของสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติของยาน Atlantis (STS-135) ทำให้ภารกิจของกระสวยอวกาศจะหมดลงทั้งหมดภายในกลางปีนี้ และต้องรอกระสวยอวกาศรุ่นต่อไปมาประจำการแทน
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1630 | กระสวยอวกาศ Discovery ออกจากสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว เตรียมปลดประจำการ |
ในภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Up ของค่าย Pixar ฉากหนึ่งที่เป็นที่จดจำคือการเอาลูกโป่งจำนวนมหาศาลไปผูกติดกับหลังคาบ้านจนมันบินลอยฟ้าสำเร็จ มาวันนี้เรื่องแบบนี้ไม่ใช่แค่ในภาพยนตร์แล้ว แต่เกิดขึ้นจริง
ช่องสารคดี National Geographic ได้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ใหม่ชื่อว่า How Hard Can it Be? โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งเป็นการทดลองทำบ้านลอยฟ้าด้วยลูกโป่งแบบในภาพยนตร์ โดยความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และผู้เชี่ยวชาญการควบคุมบอลลูน ทำให้บ้านขนาดพื้นที่ 16x16 ตารางฟุต และสูง 18 ฟุตสามารถลอยขึ้นฟ้าได้สำเร็จด้วยลูกโป่ง 300 ใบ
ภาพอื่นๆที่ทาง National Geographic Channel เผยแพร่ออกมาสามารถดูได้ที่ลิ้งก์นี้ครับ
รายการ How Hard Can it Be? มีกำหนดออกอากาศปลายปีนี้ในอเมริกา | https://jusci.net/node/1631 | บ้านติดลูกโป่งลอยฟ้าแบบใน Up เป็นจริงแล้ว |
เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา สวนสัตว์ Ankara ในตุรกีแถลงข่าวยอมรับว่า เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2010 เสือเบงกอลได้ลอดรั้วเข้าไปฆ่าสิงโตที่อยู่ในกรงข้างๆ กัน
การแถลงข่าวครั้งนี้เป็นการปฏิเสธข่าวลือที่ว่าเสือได้พังรั้วเข้าไปฆ่าสิงโต ตามคำบอกกล่าวอย่างเป็นทางการของสวนสัตว์ เสือไม่ได้พังรั้วเข้าไปเอง แต่แอบเอาขาหน้าลอดผ่านช่องว่างตรงประตูกรงที่แง้มอยู่ แล้วก็ตะปบเข้าตรงเส้นเลือดที่ลำคอของสิงโตอย่างแรงจนทำให้สิงโตตายจมกองเลือดในคราวเดียว
การฆาตกรรมในครั้งนี้ทำให้สวนสัตว์ Ankara เหลือสิงโตอยู่เพียง 2 ตัวและเสืออีก 6 ตัว อย่างไรก็ตาม ทางสวนสัตว์ยืนยันว่าทั้งกรงเสือและสิงโตแข็งแรงปลอดภัย ฉะนั้นนักท่องเที่ยวโปรดสบายใจได้
ที่มา - BBC News, Yahoo! News (AP) | https://jusci.net/node/1632 | เสือโหดตบสิงโตตายคากรง |
ขณะที่โครงการกระสวยอวกาศกำลังจะหมดอายุขัยในปีนี้ แต่สหรัฐฯ ยังมีรายการดาวเทียมต้องนำส่งและซ่อมบำรุงอีกมาก คำถามคือจะใช้อะไรในภารกิจเหล่านั้น และคำตอบคือโครงการ X-37 ที่เป็นยานไร้มนุษย์สำหรับการซ่อมบำรุงที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้แบบเดียวกับกระสวยอวกาศ
เจ้า X-37B ลำแรกนั้นบินขึ้นสู่อวกาศไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเกิดอุบัติเหตุยางแตกสร้างความเสียหายเล็กน้อยระหว่างการลงจอด แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างก็มีการสร้างยานลำใหม่ขึ้นทดแทนในชื่อ X-37B และมีการเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมาก็มีการยิง X-37B ลำที่สอง (ชื่อ OTV-2) ขึ้นไปสู่วงโคจรระดับต่ำเพื่อทดสอบการโคจรรอบโลก และทดสอบเทคโนโลยีของทางกองทัพสหรัฐฯ ที่ไม่เปิดเผย
ที่ได้ชื่อว่า X-37B นั้นเพราะมีการปรับปรุงสเปคเชื้อเพลิงมาแล้วหนึ่งครั้ง ทำให้รุ่นที่ประจำการอยู่เป็นรุ่น B
ที่น่าสนใจคือ X-37B นั้นใช้จรวด Atlas V ในการนำส่งขึ้นไปยังอวกาศเพื่อลดต้นทุน และตัวโครงการนั้นถูกถ่ายมือจากนาซ่าไปยังกองทัพสหรัฐฯ โดยไม่เหตุผลไม่ชัดเจนทำให้ทางการจีนค่อนข้างระแวงว่า X-37B จะถูกใช้เพื่อการสอดแนม, หรือติดตั้งอุปกรณ์ทางการทหาร มากกว่าภารกิจวิจัยตามปรกติ (China Daily)
ภาพดูได้ท้ายข่าว
ที่มา - Boeing | https://jusci.net/node/1633 | X-37B ขึ้นโคจรรอบโลกรอบที่สองแล้ว |
นอกจากมนุษย์ด้วยกันเองแล้ว สัตว์ที่เรายกย่องว่ามีความฉลาดที่พอจะเรียนรู้และเข้าใจเหตุผลได้มีอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น สุนัข โลมา กา ชิมแปนซี โบโนโบ เป็นต้น และจากงานวิจัยชิ้นล่าสุด "ช้างเอเซีย" (Elephas maximus) ก็ขึ้นมาติดอันดับสัตว์ที่ฉลาดที่สุดในโลกด้วยอีกตัว
ทีมวิจัยที่ประกอบด้วย Joshua Plotnik, Richard Lair, วิโรจน์ ศุภโชคสหกุล, และ Frans de Waal ได้ออกแบบการทดลองโดยเลียนแบบการทดลองอันหนึ่งที่ใช้เพื่อพิสูจน์ความฉลาดของชิมแปนซีในทศวรรษ 1930
ในการเตรียมการทดลองที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ. ลำปาง นักวิจัยเอาชามใส่ข้าวโพดไปวางไว้ข้างหน้าแผ่นกระดานขนาดใหญ่ แผ่นกระดานมีเชือกโยงรอบ ปลายเชือกทั้งสองด้านจะถูกลากเอามาวางไว้ข้างหน้าตาข่ายวอลเล่ย์บอลที่วางกั้นไว้เพื่อไม่ให้ช้างเอื้อมงวงไปถึงชามข้าวโพดโดยตรง ดังนั้นทางเดียวที่ช้างจะได้กินข้าวโพดก็คือ ต้องให้ช้างสองตัวดึงปลายเชือกทั้งสองด้านพร้อมกัน หากดึงแค่ข้างใดข้างหนึ่ง เชือกจะหลุด (ดูรูปได้จาก Live Science)
ช้าง 12 เชือกจากศูนย์ฯ ถูกพามาเข้าร่วมการทดลองในครั้งนี้ ในตอนแรกพวกมันแต่ละตัวจะได้โอกาสทดลองลากเชือกด้วยตัวเองตัวเดียวก่อน ช้างส่วนใหญ่เรียนรู้แทบจะในทันทีเลยว่างานนี้ทำตัวเดียวไม่สำเร็จ จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ปล่อยช้างเข้าไปเป็นคู่ ช้างเกือบทุกคู่ก็ร่วมงานกันได้เป็นอย่างดี ขนาดว่านักวิทยาศาสตร์ลองแกล้งปล่อยช้างเชือกหนึ่งเข้าไปช้ากว่าช้างอีกเชือก 45 วินาที ช้างที่เข้าไปก่อนก็หยุดรอนิ่งๆ ที่หน้าตาข่ายจนกว่าคู่ของมันจะเดินมาถึงเชือก
หรือเมื่อนักวิจัยขดเชือกข้างหนึ่งให้สั้นลงจนช้างเอื้อมงวงไปไม่ถึง ช้างอีกเชือกในคู่นั้นก็จะเลิกความพยายามไปเลย ไม่สนใจดึงเชือกต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น ช้างบางตัวยังพัฒนาการแก้ปัญหาขึ้นไปอีกขั้น ช้างพัง "เนื้ออุ่น" อายุ 5 ปี (อายุน้อยสุดในการทดลองนี้) ค้นพบวิธีโกงโดยการเอาเท้าเหยียบเชิอกไว้ ปล่อยให้คู่ของมันออกแรงลากไปตัวเดียว หรือ ช้างพลาย "โจโจ้" อายุ 18 ปี ที่ไม่แสดงท่าทีสนใจจะเดินไปที่ตาข่ายเลยจนกว่านักวิจัยจะปล่อยคู่ของมันออกมา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ชี้ชัดว่าช้างเข้าใจเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการแก้ปัญหานี้อย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องฟลุค ไม่ใช่บังเอิญ ว่ากันตามจริง นักวิจัยยังนึกไม่ถึงด้วยซ้ำว่าช้างจะทำได้ถึงขั้นนี้
นอกจากลิงชิมแปนซีและโบโนโบแล้ว สัตว์อีกชนิดที่ผ่านการทดลองนี้ คือ กา แต่ว่าในกรณีของกานั้น มันไม่ยอมรอคู่ของมัน ถ้าปล่อยมาตัวเดียว มันก็จะพยายามของมันไปตัวเดียวแม้สุดท้ายจะไม่สำเร็จก็ตาม (นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าบางทีอาจจะไม่ใช่เพราะกาไม่เข้าใจการทดลอง แต่เป็นเพราะชีวิตของกาสั้นกว่า สัญชาตญาณของการอดทนรอเลยสั้นตามไปด้วย)
ก่อนหน้านี้ ทีมวิจัยของ Joshua Plotnik ก็เคยแสดงหลักฐานให้เห็นแล้วว่าช้างรู้จักภาพตัวเองในกระจกซึ่งเป็นลักษณะทางสติปัญญาระดับสูงที่พบได้ในสัตว์ไม่กี่ชนิด และพฤติกรรมการร่วมมือของโขลงช้างในป่าก็เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดกันมานานแล้วว่ามาจากความฉลาดในการเรียนรู้ ไม่ใช่พฤติกรรมสังคมแบบที่พบในแมลงหรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มาจากสัญชาตญาณที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจกับการทดลองนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทดสอบความฉลาดกับสัตว์ที่ตัวใหญ่อย่างช้างทำได้ยากและเสี่ยงอันตราย งานวิจัยในด้านนี้จึงแทบจะไม่มีเลย ยิ่งการทดลองนี้เป็นการยืนยันว่าระดับความฉลาดของช้างนั้นสูสีกับระดับของลิงชิมแปนซีและโบโนโบ ยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มสงสัยแล้วว่าความฉลาดระดับของไพรเมต (primates) จะยังมีในสิ่งมีชีวิตกลุ่มไหนได้อีกบ้าง
ที่มา - Live Science, BBC News, New Scientist, Discovery News
ป.ล. หากผมสะกดชื่อ คุณ "วิโรจน์ ศุภโชคสหกุล" ผิดไป ผมขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หากใครรู้การสะกดที่ถูกต้อง กรุณาฝากได้ที่ความเห็นด้านล่าง | https://jusci.net/node/1634 | ช้างไทยฉลาดไม่แพ้ชาติใดในโลก |
ตามธรรมชาติ โฟตอนจะมีโมเมนตัมซึ่งสามารถส่งผ่านไปยังวัตถุที่มันพุ่งชนได้ ทำให้วัตถุถูก "ผลัก" ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามทิศทางของลำแสง หลักการนี้เริ่มมีการทดลองเพื่อการประยุกต์ใช้ในอนาคตแล้ว เช่น Solar sail เป็นต้น แต่นอกจากการใช้แสงผลักแล้ว นักฟิสิกส์ยังคิดว่าเราสามารถใช้แสง "ดึง" วัตถุได้ด้วย เหมือนอย่างที่ในนิยาย sci-fi เรียกว่า "tractor beam"
ทีมวิจัยที่นำโดย Jun Chen แห่ง Fudan University ประเทศจีน เสนอว่าในกรณีที่จำเพาะมากๆ ลำแสงที่ตกกระทบวัตถุจะทำให้เกิดโมเมนตัมเป็นค่าลบ "โมเมนตัมเป็นลบ" แปลเป็นภาษาคนได้ว่าวัตถุจะเคลื่อนที่ในทิศทางที่ตรงข้ามกับทิศทางของลำแสงเลเซอร์ที่ยิงออกไปนั่นเอง
กรณีจำเพาะที่ว่านั้นต้องการข้อแม้สำคัญ 2 ข้อ คือ
ลำแสงที่ตกกระทบบนวัตถุต้องมีโมเมนตัมที่พุ่งไปข้างหน้า (โมเมนตัมที่เป็นบวก) น้อยมากๆ
โฟตอนจะต้องกระตุ้นขั้ว multipole หลายๆ อันอยู่ในสภาวะ excited พร้อมกัน เพื่อให้ขั้ว multipole บนวัตถุทำหน้าที่กระเจิงลำแสงเลเซอร์ที่ตกกระทบ
เมื่อข้อแม้ทั้งสองครบถ้วนและฉายแสงเล็งมุมตกกระทบได้พอเหมาะพอเจาะ โมเมนตัมที่กระเจิงไปทั่วบนวัตถุจะมากกว่ากับโมเมนตัมที่ตกกระทบทำให้ผลรวมออกมาเป็นลบ วัตถุก็จะถูก "ลาก" เข้าสู่แหล่งกำเนิดแสง
หลักการนี้แตกต่างจาก "optical tweezer" ซึ่งจะกักวัตถุไว้ในลำแสง แล้วก็อาศัยให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตาม gradient ในลำแสงเอง Optical tweezer จะลากวัตถุได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อวัตถุอยู่ในจุดสมดุล แรงลากที่กระทำต่อวัตถุก็จะหมดไป แต่วิธีของ Jun Chen สามารถลากวัตถุไปได้เรื่อยๆ จนถึงแหล่งกำเนิดแสงเลย
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยคำนวณว่าวิธีนี้สามารถลากวัตถุที่มีขนาดระดับนาโนเท่านั้น แถมตอนนี้มันยังเป็นแค่ทฤษฎีอยู่ (ซึ่งดีกว่าจินตนาการหน่อยนึง) ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติยังอีกห่างไกล
ที่มา - Technology Review | https://jusci.net/node/1635 | แสงเลเซอร์ลากของ? |
อย่าเพิ่งแปลกใจไป หากเปลือกกล้วยที่บางครั้งเราใช้ขัดรองเท้า จะช่วยกรองน้ำได้มันมาจริงๆ เรื่องนี้ต้องขอบคุณ Gustavo Castro และผองเพื่อนร่วมงาน
ปัญหาการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ รวมไปถึงการทำปศุสัตว์ ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเป็นพิษ เพราะอุดม(+ เจือปน)ไปด้วยโลหะหนักต่างๆ
ทีมนักวิจัยศึกษาเปลือกกล้วย พบว่ามันสามารถช่วยลดระดับการปนเปื้อนของตะกั่วและทองแดงได้อย่างเป็นอย่างดี แถมยังมีประสิทธิภาพดีกว่าวัสดุอื่นอีก และที่สำคัญที่คือ หาง่ายและประหยัดเงิน ในการบำบัดน้ำไปได้มากเลยทีเดียว
เรื่อง "กล้วยๆ " แต่ไม่กล้วยจริงๆ เมืองไทยสนใจไหมละ?
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1636 | เปลือกกล้วยช่วยกรองน้ำ |
จากข่าวเก่า กระสวยอวกาศ Discovery ขึ้นบินเที่ยวสุดท้าย ตามมาด้วย กระสวยอวกาศ Discovery ออกจากสถานีอวกาศ ในที่สุด ข่าวสุดท้ายของ Discovery ในฐานะกระสวยอวกาศก็มาถึง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา Discovery ร่อนกลับลงมายังพื้นโลกแล้ว
ภารกิจของ Discovery ครั้งนี้กินเวลา 13 วันมากกว่าที่วางแผนไว้ไปถึง 2 วัน เนื่องจากมีงานซ่อมและงานติดตั้งติดพัน
หลังจากหมดภารกิจนี้แล้ว Discovery ก็เตรียมย้ายบ้านถาวรไปสู่พิพิธภัณฑ์ของ Smithsonian Institution ต่อไป
ภารกิจส่งกระสวยอวกาศอีกสองลำที่เหลือ คือ Endeavour (ภารกิจเลขที่ STS-134) ในวันที่ 19 เมษายน (19 เม.ย. อันนี้คือแผนล่าสุดที่เพิ่งจะประกาศเลื่อนเมื่อวาน พอ Discovery แตะพื้นปุ๊บ ก็เลื่อน Endeavour ปั๊บ) และ Atlantis (ภารกิจเลขที่ STS-135) ในวันที่ 28 มิถุนายน 2011 ตามลำดับ ถือเป็นการจบยุคกระสวยอวกาศของ NASA
ต่อไปหน้าที่ของการส่งคนส่งของขึ้นไปยังสถานีิอวกาศนานาชาติ (ISS) จะถูกส่งผ่านไปเป็นของ Soyuz space capsule ของรัสเซีย ซึ่งขนคนขึ้นไปได้ทีละ 3 คน
ที่มา - Discovery News
ป.ล. มีเกร็ดสาระเล็กน้อยที่น่าจะเข้ากับบรรยากาศวันสตรีสากล (8 มีนาคม) ที่เพิ่งผ่านมา
กระสวยอวกาศ Discovery ถือเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่มีผู้บังคับเป็นผู้หญิง คือ Eileen Marie Collins และภารกิจในครั้งนั้นเมื่อปี 1995 ยังถือเป็นครั้งแรกด้วยที่กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกาเข้าเทียบสถานีอวกาศเมียร์ (Space Station Mir) ของรัสเซียซึ่งปลดประจำการไปแล้วตั้งแต่ปี 2001 | https://jusci.net/node/1637 | Discovery กลับถึงพื้นโลกแล้ว เตรียมเข้าพิพิธภัณฑ์ |
ยุคนี้เราจะสังเกตได้ว่า สาวๆมักจะชอบหนุ่มหน้าสวยมากขึ้นเรื่อยๆ (จริงๆอาจไม่ได้เริ่มตอนยุคนี้แต่เผอิญผมไม่มีหลักฐานประกอบ)
ถ้าคิดตามหลักชีววิทยาก็น่าแปลก โดยเฉพาะในสัตว์ ที่สัตว์หลายประเภท ตัวเมียมักจะหาตัวผู้ที่ดูสวยงาม มากกว่าตัวผู้ที่แข็งแรง
จริงๆผมเองก็มีคำตอบในใจอยู่แล้ว แต่อยากลองฟังคำวิเคราะห์จากทุกท่านดู
คิดว่าเพราะอะไร เราลองมาวิเคราะห์กันตามหลักวิทยาศาสตร์กัน นะครับ
‹ UFO โขมยน้ำจืด | https://jusci.net/node/1638 | ทำไมผู้หญิงถึงชอบผู้ชายหน้าสวย? |
คืนวันที่ 19 มีนาคม 2011 นี้ ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับโลกมากที่สุดในวงโคจร คือห่างจากโลกเพียง 356,577 กิโลเมตร (น้อยกว่าระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงจันทร์ถึง 8%) ด้วยเหตุนี้ทุกคนบนโลกจะได้เห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 19 ปี นับจากปี 1992 เป็นต้นมา
เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เป็นวงรี ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์จึงขึ้นๆ ลงๆ ตลอดขึ้นอยู่กับว่าดวงจันทร์โคจรมาถึงจุดไหน จุดในวงโคจรที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเรียกว่า lunar perigee ส่วนจุดที่อยู่ไกลสุดเรียกว่า lunar apogee และเดือนเพ็ญในคืนวันที่ 19 นี้เราจะเห็นดวงจันทร์โตกว่าปกติถึง 14% และสว่างมากกว่าด้วย
ที่น่าตื่นเต้นคือในทางโหราศาสตร์มีความเชื่อว่า ดวงจันทร์ขนาดใหญ่มักมาพร้อมกับภัยพิบัติ เหตุการณ์ดังๆ ในอดีตที่มาพร้อมกับ lunar perigee เช่น แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียในปี 2005, น้ำท่วมที่ออสเตรเลียในปี 1954 เป็นต้น และ lunar perigee ที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางเดือนนี้ยังเป็น perigee ที่ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้โลกมากกว่าค่าเฉลี่ยของ perigee ทั่วไปถึง 2% ทำให้ตอนนี้มีข่าวลือมากมายว่อนไปทั่วอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ก็เรื่องเดิมๆ เช่น "โลกแตก", "ธรรมชาติลงโทษ", "วันสิ้นมนุษยชาติ" ฯลฯ...ว่ากันไป
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เห็นความสัมพันธ์ทางสถิติของ lunar perigee กับภัยพิบัติที่เคยเกิดมาในอดีต ยิ่งกรณีของแผ่นดินไหว ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดคิดว่ามันจะเกี่ยวข้องกันมากนัก ดวงจันทร์ที่ใกล้โลกกว่าปกติอย่างมากก็น่าจะทำให้น้ำขึ้นน้ำลงมากกว่าวันอื่นๆ เท่านั้น
ดังนั้นกรุณาอย่าโยง lunar perigee กับแผ่นดินไหว 8.9 ริคเตอร์ที่ญี่ปุ่นวันนี้ ซึนามิก็ไม่เกี่ยว ฤกษ์ปฏิวัติรัฐประหารอะไรก็ไม่เกี่ยวทั้งนั้น เข้าใจ?
ที่มา - Popular Science | https://jusci.net/node/1639 | เดือนเพ็ญที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 19 ปี |
Lenfest Center for Sustainable Energy แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ออกแบบ "ต้นไม้ปลอม" ที่จะมาทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นก๊าซออกซิเจน เหมือนกับที่ต้นไม้จริงๆ ทำได้ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง
ต้นไม้ปลอมนี้มีชื่อว่า "Boston Treepod" โครงร่างต้นแบบออกแบบโดย Klaus Lackner แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ร่วมกับ Mario Caceres และ Christian Canonico แห่ง Influx_Studio รูปร่างของลำต้นเลียนแบบมาจากต้นเลือดมังกร (dragon blood tree) เนื่องจากมีการแตกแขนงและแผ่กระจายให้ร่มเงาได้ดี เหมาะแก่การเพิ่มพื้นที่ในการดูดจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนก๊าซจะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงสุริยะที่ติดตั้งไว้บนเรือนยอด และ พลังงานจากการเคลื่อนไหวของมนุษย์โดยโคนต้นจะมีเปลญวณกับกระดานไม้หกให้คนมาแกว่งเล่นได้ (เหมาะกับการตั้งไว้ในสวนสาธารณะใจกลางเมืองที่มีคนพลุกพล่าน)
การออกแบบนี้เป็นผลงานหนึ่งที่ส่งเข้าประกวดในงานของ SHIFTboston มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมและสนับสนุนผลงานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้คนเมือง
ที่มา - PhysOrg
From SHIFTboston
From SHIFTboston | https://jusci.net/node/1640 | ต้นไม้ปลอมเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน |
ตั้งแต่คราวสึนามิซัดประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2004 (พ.ศ. 2547) จนถึงสินามิครั้งล่าสุดที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวาน มีเรื่องหนึ่งที่สื่อมวลชนชอบเอามาเล่นใส่สีตีไข่ซะเหลือเกิน นั่นคือ ญาณพิเศษของสัตว์ตัวนั้นตัวนี้ทำนายล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดสึนามิ มีการร้องเตือน กระวนกระวาย หนีตายขึ้นที่สูง ฯลฯ
ผมเห็นว่าสื่อและนักวิชาการตัวดีหลายคนใช้คำเกินไปหน่อย สัตว์ต่างๆ ไม่ได้มีสิ่งที่เรียกว่า "ญาณพิเศษ" อะไรนั่นเลย มันไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสึนามิหรือไม่
คำถามท่านผู้ชม: "อ้าว แล้วที่ภาพหมูหมากาไก่ส่งเสียงร้องกระวนกระวายหละ ถ้ามันไม่รู้ล่วงหน้าแล้วมันร้องทำไม?"
จริงๆ คือ สัตว์บางชนิดมีประสาทสัมผัสที่ไวกว่ามนุษย์ และบางชนิดก็มีประสาทสัมผัสบางอย่างที่มนุษย์ไม่มี เช่น สัมผัสรับกระแสไฟฟ้า สัมผัสกระแสแม่เหล็ก สัมผัสแสงอินฟราเรด, อัลตร้าไวโอเลต, หรือแม้แต่ polarization ของแสง
ดังนั้นการที่มันจะสามารถ "สัมผัส" ถึงสัญญาณบางอย่างที่แผ่นดินไหวหรือคลื่นสึนามิส่งออกมา แม้ว่าจากจุดที่อาจจะห่างไกลมากๆ ไม่ได้หมายความว่า มันทำนายล่วงหน้าได้ มีหลายคนพยายามตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิืทยาของหนูทดลองก่อนหน้าปรากฏการณ์ภัยพิบัติ แต่ผลก็ออกมาขัดแย้งกันเองหรือไม่เจอความสัมพันธ์อะไรเลย
ประเด็นที่ผมอยากให้ตั้งสติ คือ ถ้าสัมผัสของสัตว์รับรู้ได้จริง ในทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกัน มันก็สามารถทำได้แค่รับรู้ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เช่น อาจจะเป็นคลื่นความสั่นสะเทือน หรือ คลื่นความกดอากาศจากแรงผลักของคลื่น เป็นต้น สัญชาตญาณจะเตือนให้มันหนีไปในทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่น่ากลัวผิดปกติ (สังเกต: ผมใช้คำว่า "สิ่งผิดปกติ" นะครับ ไม่ได้ใช้คำว่า "สิ่งอันตราย") และถ้าเป็นสัตว์ที่อยู่กันเป็นฝูง มันก็จะร้องเตือนเพื่อนในฝูงด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่ได้แปลว่ามันมีญาณพิเศษทำนายอนาคตได้ อย่างที่ชอบตีความกัน
การที่สัตว์เหล่านี้ตอบสนองเร็วกว่ามนุษย์ มันหมายถึงมนุษย์อย่างเราๆ มีความรู้สึกช้าเอง อย่าไปโบ้ยให้เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ
อือ... แต่ถ้าคุณจะนับประสาทสัมผัสธรรมดาที่สัตว์มี (แต่คนไม่มี) ว่าเป็น "ญาณพิเศษ" อันนั้นก็ไม่ว่ากัน พวกเจ้าพ่อเจ้าแม่ร่างทรงจะได้มีตัวเลือกสำหรับไว้เป็นองค์ประทับร่างเพิ่ม
ที่มา (ไม่รวมคำประชดสื่อมวลชนไทย) - Discovery News, Scientific American | https://jusci.net/node/1641 | สัตว์มีญาณพิเศษล่วงรู้ภัยสึนามิ? เหรอ? |
จากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวาน (วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2011) ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับผลกระทบจนเกิดการไหลรั่วของกัมมันตรังสี ตั้งแต่หัวค่ำของเมื่อวาน (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) ทางการญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างน้อย 4 แห่งที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวต้องปิดทำการชั่วคราว
สาเหตุของการประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากตรวจพบว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงที่ 1 ของ Tokyo Electric Power ในฟุกุชิมา (Fukushima) ห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 260 กม. มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีมากกว่าระดับปกติถึง 1,000 เท่า ผู้ดูแลคาดว่าเกิดจากการที่ระบบหล่อเย็นหยุดทำงาน ตอนนี้ช่างเทคนิคกำลังวางแผนจะฉีดไอน้ำเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ที่เกิดปัญหา (แหล่งข่าวคาดว่าเป็นเตาที่ 1, 2 และ 3) เพื่อลดความดันรอบแท่งปฏิกรณ์และป้องกันไม่ให้แท่งปฏิกรณ์หลอมละลาย สำนักข่าวของญี่ปุ่นรายงานว่ามีการอพยพผู้คนออกจากรัศมี 3 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย และมีคำสั่งให้ผู้ที่อาศัยภายในรัศมี 10 กิโลเมตรอยู่ภายในที่พักอาศัย
อย่างไรก็ตาม ทางการญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ว่า "ทุกอย่างยังอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ ระบบหล่อเย็นจะกลับมาทำงานได้ในไม่ช้า" แต่ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสำนักยังกังวลอยู่เนื่องจากตอนนี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดเหตุยังต้องพึ่งพาระบบหล่อเย็นสำรองที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ซึ่งน่าจะซื้อเวลาพอให้แก้ไขระบบหลักได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมงเท่านั้น (ถ้านับรวมเวลาที่ผมนอนหลับไปก่อนจะลุกมาเขียนข่าวก็น่าจะหมด 4 ชั่วโมงไปแล้ว)
ที่มา - The Register, Live Science
Update 2011-03-12 16:34 ระเบิดแล้ว?
ข่าวจาก VoiceTV รายงานว่ามีเสียงระเบิดและควันพวยพุ่งออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมา รายละเอียดอ่านได้จาก http://news.voicetv.co.th/global/5909.html และ http://www3.nhk.or.jp/daily/english/12_50.html
Update 2011-03-12 16:57 อาจจะมีการรั่วไหลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และสารกัมมันตรังสี
ข่าวจาก CNN รายงานว่าหลังจากการระเบิด (ยังไม่แน่ใจว่าเกิดการระเบิดตรงส่วนไหน) มีการตรวจพบธาตุกัมมันตรังสี Cesium ในบริเวณโดยรอบเตาปฎิกรณ์ ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดครั้งนี้ มีผู้บาดเจ็บจากการระเบิด 4 คน อ่านรายละเอียดข่าวการระเบิดได้จากข่าว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด!?!? | https://jusci.net/node/1642 | [Breaking News] ญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ |
เสียใจด้วยครับ คำตอบคือ "ไม่" แม้ว่าคุณจะเป็นนักโต้คลื่นมืออาชีพก็ตาม
เหตุผลที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถใช้กระดานโต้คลื่นแล่นไปบนคลื่นสึนามิได้เนื่องจาก
คลื่นสึนามิเคลื่อนที่เร็วเกินไป คลื่นสึนามิไม่ใช่คลื่นธรรมดา ความเร็วของคลื่นอาจจะสูงได้ถึง 500 ไมล์ต่อชั่วโมง ( 805 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และเมื่อคลื่นเข้าใกล้ชายฝั่ง คลื่นส่วนหน้าจะชะลอความเร็วลง ทำให้คลื่นที่ตามมาข้างหลังวิ่งตามทัน เกิดเป็นกำแพงคลื่นที่ "หนาและหนัก" จนกระดานโต้คลื่นไม่สามารถแล่นบนผิวหน้าคลื่นได้
หน้าคลื่นสึนามิมีแต่กระแสฟองน้ำขาวๆ (whitewater) ซึ่งมีลักษณะคล้ายโฟมล้างหน้าหรือวิปครีมนุ่มๆ ดังนั้นนักโต้คลื่นบนสึนามิก็จะมีสภาพเหมือนเศษขยะที่ถูกเหวี่ยงไปมาบนหน้าคลื่น เพราะไม่มีผิวคลื่นเรียบๆ ให้แล่นผ่านนั่นเอง
มวลน้ำทะเลในคลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่พร้อมกันไปทั้งก้อนตั้งแต่พื้นน้ำจนถึงผิวน้ำ ดังนั้นการหลบลงใต้คลื่นเพื่อให้คลื่นวิ่งผ่านตัวไปจึงเป็นไปไม่ได้ นักโต้คลื่นที่คิดจะทำแบบนั้นเหมือนกับที่ทำกับคลื่นธรรมดาก็จะลงเอยด้วยการถูกน้ำพัดไปกับเศษขยะเหมือนข้อ 2
แต่บ้านเรา กีฬาโต้คลื่นไม่ได้รับความนิยมเท่าไร ผมคิดว่าคงไม่น่ากังวลมั้ง
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1643 | เราจะเล่นโต้คลื่นบนสึนามิได้หรือไม่? |
หลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ Tokyo Electric Power Company (TEPCO) สองแห่ง คือ Fukushima Daiichi (โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1) และ Fukushima Daini (โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 2) ต้องปิดการทำงานและทำให้บางเตาปฏิกรณ์เกิดปัญหากับระบบหล่อเย็นตามมา
ในรายงานข่าวทีแรกมีเพียง 4 เตาปฏิกรณ์เท่านั้นที่มีปัญหา คือ เตาที่ 1, 2, 3 ที่โรงที่ 1 และอีกเตาที่โรงที่ 2 ต่อมาไม่นานก็มีการประกาศเพิ่มว่าพบปัญหาหล่อเย็นที่เตาปฏิกรณ์อีกอัน (คาดว่าเป็นเตาของโรงที่ 2)
และหลังจากเหตุระเบิดบริเวณเตาที่ 1 ที่โรงที่ 1 ไปเมื่อวาน TEPCO ก็ประกาศเพิ่มว่าตอนนี้มีเตาปฏิกรณ์ที่มีปัญหาเพิ่มอีก (ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นของโรงไหน แต่ก็คาดว่าเป็นของโรงที่ 2 อีกเช่นกัน) รวมแล้วในตอนนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาทั้งสองแห่งมีปัญหาหล่อเย็นกับเตาปฏิกรณ์ถึง 6 เตา จากทั้งหมด 10 เตา (โรงที่ 1 มี 6 เตา โรงที่ 2 มี 4 เตา)
นอกจากนี้ยังมีสรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับยอดผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตที่โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งด้วย ที่โรงไฟฟ้าโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant) มีพนักงาน 2 คนบาดเจ็บจากแผ่นดินไหว 1 คนได้รับกัมมันตรังสี และการระเบิดเมื่อวานทำให้พนักงานบาดเจ็บ 4 คนซึ่งตอนนี้ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลหมดแล้ว ส่วนที่โรงไฟฟ้าโรงที่ 2 (Fukushima Daini Plant) มีพนักงาน 1 คนได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการปฏิบัติหน้าที่ ตอนนี้อยู่ในระหว่างการเข้าช่วยเหลือ
ที่มา - The Register | https://jusci.net/node/1644 | [Breaking News] ระบบหล่อเย็นที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิม่าใช้การไม่ได้เพิ่มอีกอัน |
หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวขนาด 8.9-9.0 ตามมาตราริกเตอร์ (Sendai Earthquake) ตามด้วยคลื่นสึนามิซัดเข้าชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 11 มีนาคม 2011 หลายฝ่ายต่างพุ่งความตระหนกไปที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายโรงที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว
จนเมื่อเวลาประมาณ 15:36 น. ของวันที่ 12 มีนาคม 2011 ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น มีรายงานว่าเกิดเสียงระเบิดที่บริเวณเตาปฏิกรณ์ที่ 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant) ตามมาด้วยภาพฝุ่นควันพวยพุ่งและกำแพงที่ถล่มลงมาทั้งด้าน ประกอบกับข่าวรายงานการตรวจพบกัมมันตรังสีและสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลทำให้ทั่วโลกวิตกกังวลว่าฟุกุชิมาจะเป็น Chernobyl รอบสองหรือไม่
เรื่องนี้มีหลายประเด็นที่ต้องพูดกัน
อย่างแรก คือ เรื่องการระเบิดที่เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม
แทบจะในทันทีที่เกิดแผ่นดินไหว Tokyo Electric Power Company (TEPCO) ได้สั่งหยุดเครื่องเตาปฏิกรณ์ของทั้งสองโรงไฟฟ้าในฟุกุชิมาทุกเตา ซึ่งเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเป็นจุดที่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมากเกินกว่าจะเสี่ยงเดินเครื่องต่อไปได้ (เรื่องการสั่งหยุดเครื่องอย่างไรนี่ ผมยังไม่แน่ใจนัก อาจจะเป็นมนุษย์ควบคุมหรือเป็นระบบอัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติภัยก็ได้)
การหยุดเครื่องเตาปฏิกรณ์ที่เป็นแบบ boiling water reactor (BWR) นั้นทำได้โดยการจุ่มแท่งควบคุม (control rod) ลงไปในเตาปฏิกรณ์ แท่งควบคุมนี้จะทำหน้าที่กันไม่ให้นิวตรอนจากแท่งเชื้อเพลิงแท่งหนึ่งวิ่งไปชนแท่งเชื้อเพลิงอีกแท่ง เป็นการลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ เมื่อดันแท่งควบคุมลงไปเต็มที่ นิวตรอนที่วิ่งไปวิ่งมาระหว่างแท่งเชื้อเพลิงก็จะถูกดูดซับไว้แทบทั้งหมด
ปัญหาที่ตามมาจากการหยุดเครื่องเตาปฏิกรณ์ คือ ความร้อนที่สะสมในเตาปฏิกรณ์ เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในแท่งเชื้อเพลิงยังไม่หยุดสนิทเสียทีเดียว เพราะในแต่ละแท่งยังมีนิวตรอนพอที่จะทำให้นิวเคลียสของยูเรเนียมหรือธาตุเชื้อเพลิงอื่นๆ สลายตัวไปได้อีกระยะ (เมื่อสับสวิตช์หยุดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ แท่งเชื้อเพลิงจะยังผลิตความร้อนออกมาประมาณ 6% ของความร้อนที่ผลิตได้ขณะเดินเครื่องเต็มที่) ในขณะทำงาน เตาปฏิกรณ์ระบบ BWR จะมีปั๊มน้ำดึงน้ำเย็นเข้ามาหล่อเลี้ยงแท่งเชื้อเพลิงตลอดเวลา (ไอน้ำที่เกิดจากการระเหยของน้ำหล่อเย็นในเตาปฏิกรณ์ก็จะถูกส่งผ่านท่อมาใช้ปั่นกังหันเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้านั้นเอง -- ดูภาพประกอบได้จาก Infographic ของ Live Science ท้ายข่าว) ดังนั้นเมื่อสั่งเครื่องหยุดทำงานในสถานการณ์ธรรมดา เครื่องปั๊มน้ำก็จะยังต้องปั๊มน้ำเย็นเข้ามาระบายความร้อนอย่างต่อเนื่องจนกว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันจะหยุดและแกนแท่งเชื้อเพลิงจะเย็นลง
แต่ในกรณีที่ฟุกุชิมานั้น มันคือสิ่งที่เรียกว่า "Station Blackout" จัดเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่น่ากลัวที่สุดเท่าที่จะเกิดขึ้นได้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พอเครื่องปั่นไฟฟ้าหลักของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หยุดทำงาน แทนที่ระบบปั๊มน้ำพลังงานสำรองจะใช้งานได้ตามปกติ Aftershocks จากแผ่นดินไหวและสึนามิดันไปสร้างความเสียหายแก่ระบบไฟฟ้าสำรองและระบบควบคุมปั๊มน้ำ เตาปฏิกรณ์จึงขาดน้ำเย็นเข้าไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดความร้อนสะสมเกินระดับที่กำหนด ความร้อนสะสมนี้ทำให้น้ำที่อยู่ในเตาปฏิกรณ์ระเหยเป็นไอ ซึ่งถ้าหากปล่อยไปเรื่อยๆ ไอน้ำกับความร้อนจะทำให้แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย หรือไม่ก็อีกกรณี ความดันภายในจะพุ่งสูงจนอัดให้เตาปฏิกรณ์ระเบิด "ตู้มมมมมมม!" (ความเป็นไปได้ในกรณีหลังน้อยกว่ากรณีแรกมาก เพราะมาตรการรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นมีเกณฑ์อยู่ในระดับชั้นนำของโลก ประกอบกับการออกแบบโครงสร้างซึ่งใส่ใจเรื่องความปลอดภัยมาแล้วตั้งแต่ต้น)
TEPCO แก้ปัญหานี้โดยเอาเครื่องปั๊มดีเซลมาปั๊มน้ำเข้าไปแทนชั่วคราวจนกว่าปฏิกิริยาทั้งหมดจะดับลง แต่ด้วยไม่รู้สาเหตุอะไร เครื่องปั๊มดีเซลทำงานได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น เลยต้องพึ่งพลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ซึ่งก็ซื้อเวลาได้อีกเพียงไม่กี่ชั่วโมง
แต่ว่าเครื่องปั๊มน้ำไม่สามารถแก้ปัญหาความดันที่เกิดจากไอน้ำในเตาปฏิกรณ์ได้ เมื่อหมดปัญญากับการพึ่งเครื่องปั๊มน้ำอย่างเดียวแล้ว TEPCO จึงดึงแผนสำรองที่สองออกมาใช้ นั่นคือการเปิดวาล์วปล่อยไอน้ำบางส่วนออกมาจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อลดความดันในเตา ไอน้ำเหล่านี้มีการปนเปื้อนกัมมันตรังสีอยู่เล็กน้อย ส่วนใหญ่เกิดจากไอโซโทปของไนโตรเจน-16 ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุว่าทำไมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ก่อนการระเบิด จึงมีรายงานข่าวว่าพบปริมาณกัมมันตรังสีรอบๆ เตาปฏิกรณ์สูงกว่าระดับปกติถึง 1,000 เท่า นักวิทยาศาสตร์และทาง TEPCO ยืนยันว่าไอโซโทปเหล่านี้มีอายุสั้น ดังนั้นมันจะไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
Update 14-03-2011 15:53
ที่ต้องใช้เครื่องปั๊มน้ำกันยุ่งยากขนาดนี้ เพราะห้องควบคุมสวิตช์ปั๊มน้ำของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาอยู่ชั้นใต้ดิน พอสึนามิซัดเข้ามา ห้องควบคุมสวิตช์เลยโดนน้ำท่วมใช้การไม่ได้ แถมยังหน้าปัดวัดระดับน้ำในเตาปฏิกรณ์ยังดูเหมือนจะรายงานค่าระดับน้ำผิดพลาดด้วย (สาเหตุยังอยู่ในระหว่างการสืบสวน) ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องค่อยๆ เปิดวาล์วระบายความดันพร้อมกับปั๊มน้ำเย็นเข้าไปเพิ่มเป็นระยะๆ - ที่มา New York Times
ทุกอย่างดูดี แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะสิ่งที่ออกมาพร้อมๆ กับไอน้ำ คือ ตัวการของการระเบิดที่เป่าหลังคาอาคารเตาปฏิกรณ์ซะจนกระจุย
ไฮโดรเจน นั่นเอง
ไฮโดรเจนมาจากไหน? และเกี่ยวอะไรด้วย?
โดยคร่าวๆ แท่งเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบ BWR คือ ยูเรเนียมหุ้มด้วยโลหะ zirconium หลอมเป็นแท่งทรงกระบอก ซึ่งถ้าจุ่มอยู่ในน้ำเหลวๆ ตามปกติอย่างที่มันควรเป็นก็จะไม่มีปัญหาอย่างใด แต่ในกรณีของเมื่อวานนั้น คาดการณ์กันว่าน้ำในเตาปฏิกรณ์คงระเหยไปเป็นไอมากจนทำให้แท่งเชื้อเพลิงบางส่วนโผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ ประกอบกับอุณหภูมิที่สูงมากเกิน 1,500 องศาเซลเซียส ทำให้ zirconium ที่หุ้มแท่งเชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับไอน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดเป็น zirconium oxide (จะเรียกว่าเป็นสนิมของ zirconium ก็ได้) และไฮโดรเจน
ไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่ติดไฟในอากาศที่มีออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ตอนที่มันยังอยู่ในเตาปฏิกรณ์ มันก็ไม่มีปัญหาอะไรมากหรอก เพราะในเตาปฏิกรณ์ไม่มีออกซิเจนมากพอจะทำให้เกิดการติดไฟได้ แต่เมื่อ TEPCO เปิดวาล์วปล่อยไอน้ำออกมาเท่านั้นแหละ ไฮโดรเจนซึ่งเป็นก๊าซที่เบากว่าไอน้ำก็ออกมาด้วย (จริงๆ ต้องพูดว่ามันวิ่งนำหน้าออกมาด้วยซ้ำ)
พนักงานในโรงไฟฟ้าก็คงคาดไม่ถึงด้วยว่าจะมีไฮโดรเจนออกมามากขนาดจนจุดระเบิดได้ จึงไม่ได้เตรียมการป้องกัน เมื่อไฮโดรเจนที่สะสมจนพอเหมาะเจอกับออกซิเจนในอากาศและประกายไฟอีกเล็กน้อย เราก็ได้ภาพอย่างที่เห็นกัน "ระเบิดขนาดย่อมๆ" นั่นเอง
From BBC News
จากการรายงานของ TEPCO และทางการญี่ปุ่น การระเบิดที่เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนกระทบเพียงโครงสร้างอาคารและกำแพงที่เป็นปูนซีเมนต์เท่านั้น ส่วนโลหะที่ครอบเตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด แม้ภาพที่ออกมาจะดูรุนแรงไปสักหน่อยก็ตาม (แค่กำแพงหายไปหนึ่งแถบเอง) แท่งเชื้อเพลิงยังคงสบายดีอยู่ในเตาปฏิกรณ์ ไม่มีหลุดออกมาวิ่งเล่นข้างนอก
อย่างที่สอง คือ ความกังวลเกี่ยวกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ยังร้อนจัดอยู่ในเตาปฏิกรณ์
นอกจากในช่วงเวลาก่อนและหลังระเบิดจะมีการตรวจพบกัมมันตรังสีรั่วออกมาแล้ว ยังมีของแถมอีกอย่าง นั่นคือ ไอโซโทปกัมมันตรังสีของ cesium ซึ่งตัวนี้แหละที่สร้างความตระหนกตกใจให้กับนักวิทยาศาสตร์พอสมควร
กรณีของ cesium นี้มีนัยยะอันตรายกว่าการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจนด้วยซ้ำ เนื่องจากมันเป็นสัญญาณว่ามีอะไรผิดปกติกับแท่งเชื้อเพลิงแล้ว cesium และไอโซโทปธาตุกัมมันตรังสีอื่นๆ เช่น ไอโอดีน คือสิ่งที่เรียกว่า fission fragment ซึ่งได้จากการสลายตัวของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ตามปกติมันควรจะถูกกักอยู่ในแท่งเชื้อเพลิง การที่พบ cesium หลุดออกมาอยู่ข้างนอกเตาปฏิกรณ์จึงสามารถแปลผลได้ว่าครอบแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์เกิดการรั่วแล้ว นักวิทยาศาสตร์คาดกันว่าน่าจะเป็นเพราะแท่งเชื้อเพลิงโผล่พ้นน้ำนานเกินไป จนทำให้ zirconium ที่หุ้มแท่งอยู่ทำปฏิกิริยากับไอน้ำแล้วหลุดลอกออกไปบางส่วน ตอนนี้ทาง TEPCO ยังไม่เผยรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
แม้ TEPCO จะไม่บอกอะไรมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญก็คาดกันว่าแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 หลอมละลายไปแล้วบางส่วนเป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะในช่วงที่ระบบเครื่องปั๊มน้ำใช้การไม่ได้ไปพักใหญ่ๆ เป็นไปได้ว่าส่วนบนของแท่งเชื้อเพลิงอาจจะพ้นน้ำนานเป็นเวลาระดับชั่วโมงๆ
แม้ว่า "การหลอมละลายบางส่วน" (partial melting) จะเป็นเหตุการณ์ที่มีระดับความรุนแรงต่ำกว่าการที่แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลายเต็มที่ (full meltdown) แบบเทียบกันแทบไม่ได้ก็ตาม แต่มันก็ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในระดับที่ตรวจจับได้ ซึ่งสร้างความตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง อย่างที่ปรากฏในวันต่อมาก็มีรายงานการตรวจพบสารกัมมันตรังสีในจุดที่ห่างจากโรงไฟฟ้าถึงกว่า 60 ไมล์ สารกัมมันตรังสีที่ตรวจเจอน่าจะเป็น cesium-137, iodine-121 และไอโซโทปอื่นๆ ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันซึ่งน่าจะหลุดออกมาพร้อมกับการปล่อยไอน้ำเพื่อลดความดันในเตาปฏิกรณ์
แผนรับมือขั้นสุดท้ายที่ TEPCO กำลังงัดออกมาใช้ คือ การปั๊มน้ำทะเลผสม boric acid เข้าไปให้ท่วมภายในเตาปฏิกรณ์ที่ 1 ตามทฤษฎีแล้ว boron ใน boric acid จะเข้าไปจับนิวตรอนเพื่อหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของนิวเคลียร์ฟิชชันในแท่งเชื้อเพลิง น้ำทะเลจะเข้าไปทำให้แกนแท่งเย็นลงและกัดกร่อนจนแท่งเชื้อเพลิงใช้งานไม่ได้อีกต่อไป พูดกันง่ายๆ คือ ปิดกิจการเตาที่ 1 ถาวรไปเลย
Update 14-03-2011 15:53
ตอนนี้ TEPCO กำลังปั๊มน้ำทะเลเข้าเตาปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 แล้ว (มีการระเบิดที่เตาที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ หนึ่งวันหลังจากการะเบิดที่เตาที่ 1) ยังไม่มีใครทราบได้ว่าปฏิบัติการจะกินเวลานานเท่าไร และจะมีสารกัมมันตรังสีรั่วออกมามากเท่าไร (ทางเลือกนี้ถือว่าเป็น ทางเลือกสุดท้าย จริงๆ เพราะมีความเสี่ยงที่จะพลาดทำสารกัมมันตรังสีรั่วไหลเข้าสู่สิ่งแวดล้อมมากกว่าทางอื่นๆ) - ที่มา New York Times
เป็นไปได้ว่า TEPCO อาจจะตัดสินใจปิดเตาปฏิกรณ์อันอื่นในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 ทิ้งไปพร้อมกันทั้งโรงด้วย เนื่องจากโรงไฟฟ้านี้ก็เปิดทำการมาตั้งแต่ปี 1971 และก็ใกล้จะเข้าสู่วาระเกษียณเต็มทีอยู่แล้ว
อย่างที่สาม คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมามีโอกาสดำเนินรอยตามรุ่นพี่อย่างที่ Chernobyl และ Three Mile Island หรือไม่
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าความกังวลที่ฟุกุชิมาตอนนี้ในแบบที่เลวร้ายสุดๆ (Worst case scenario) คือ "การหลอมละลาย" (Meltdown) ของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นภาวะที่แตกต่างจากสาเหตุการระเบิดที่ Chernobyl ปี 1986 (อันนั้นเกิดจากความดันไอน้ำสะสมจนแท่งกราไฟต์ในเตาปฏิกรณ์ระเบิด ส่งธาตุกัมมันตรังสีข้างในพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโดยรอบมากมาย -- ซึ่งฟุกุชิมาไม่ได้ใช้แท่งกราไฟต์แบบที่ว่า) และโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาก็ได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงกว่าที่ Chernobyl อยู่มากโข
การหลอมละลาย (Meltdown) ของแท่งเชื้อเพลิงเกิดจากการที่แท่งเชื้อเพลิงมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนเกินขีดจำกัด โลหะที่ครอบแท่งเชื้อเพลิงอยู่จะระเบิดแตกออกไป สารกัมมันตรังสีที่เป็น fission fragments ทั้งหลายก็จะหลุดลอยออกสู่อากาศ ส่วนเชื้อเพลิงข้างในจะค่อยๆ หลอมเหลวและไหลหลุดออกมาจากแท่ง เชื้อเพลิงหลอมเหลวพวกนี้บางส่วนจะติดไฟ บางส่วนจะไหลลงก้นถังเตาปฎิกรณ์และหลอมจนตัวถังทะลุ และถ้าเชื้อเพลิงเหล่านี้ยังไม่หมดความบ้าพลังซึ่งอาจจะร้อนได้ถึงหลักพันองศาเซลเซียส มันก็จะหลอมโลหะที่ครอบเตาด้วย ทำให้เกิดการรั่วไหลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไปสู่สิ่งแวดล้อม คล้ายๆ กับที่เกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Three Mile Island ปี 1979
ปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นจัดให้เหตุการณ์ในฟุกุชิมาอยู่ในระดับ 4 หรือระดับ "อุบัติเหตุที่กระทบพื้นที่ระดับท้องถิ่น" ตามเกณฑ์ระดับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ของ International Nuclear and Radiological Event Scale ซึ่งมีระดับตั้งแต่ 1-7 นับจากต่ำสุดไปสูงสุด เหตุการณ์ที่ Three Mile Island อยู่ในระดับ 5 ส่วน Chernobyl ครองแชมป์หายนะตลอดกาลด้วยระดับสูงสุด 7
หลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนรอบรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งไปแล้วประมาณ 200,000 คน บางส่วนในนี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับกัมมันตรังสีด้วย ซึ่งทางศูนย์อพยพก็ได้มีการสแกนตรวจสอบและแจกจ่าย จักษุธาตุ เอ๊ย ไอโอดีนให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงทุกคน เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ระบบอวัยวะภายใน (อ่านความเห็นจากคุณ pawinpawin และ kittipat ได้จากความเห็นด้านล่าง)
ตอนนี้ทุกอย่างยังอยู่ในสภาวะที่ต้องเฝ้าระวังสูงสุด แม้ว่าอุบัติเหตุในระดับ Chernobyl นั้นจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ (ความเป็นไปได้ที่มากกว่าคือเหตุการณ์อย่าง Three Mile Island ซึ่งก็ยังมีโอกาสน้อยอยู่ดี เพราะแผนการรับมือของ TEPCO เรียกได้ว่า "อยู่ในขั้นที่ดีมากๆ") อย่าลืมว่าตอนนี้ TEPCO และรัฐบาลญี่ปุ่นมีเตาปฏิกรณ์ให้จัดการพร้อมกันถึง 6 เตา ความผิดพลาดแม้เพียงนิดเดียวอาจนำไปสู่หายนะได้ทุกวินาที
ที่มา - New Scientist, BBC News, Live Science, Scientific American, New York Times, The Register
ขอปิดด้วย infographic สวยๆ จาก Live Science อีกครั้ง
Source:LiveScience
ป.ล. ข่าวนี้ยังไม่สมบูรณ์ อาจจะมีการเพิ่มเติมรายละเอียดได้ทุกเมื่อหากมีข้อมูลเปิดเผยออกมามากขึ้น จุดที่น่าสงสัยบางอย่างอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือปีๆ ในการหาคำอธิบาย | https://jusci.net/node/1645 | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด!?!? ฟุกุชิมาจะเป็น Chernobyl รอบสองหรือไม่? |
คนที่ติดตามข่าวช่วงเมื่อหัวค่ำคงทราบแล้วว่าตอนนี้ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเพิ่มกับเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 แล้ว (Fukushima Daiichi Plant)
Yukio Edano หัวหน้ากองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น (Chief Cabinet Secretary) แถลงว่า เนื่องจากความร้อนที่สะสมภายในเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต แม้ว่าก่อนหน้านี้จะได้มีการเปิดวาล์วเพื่อปล่อยไอน้ำบางส่วนออกมาและปั๊มน้ำเย็นเข้าไปแทนที่ แต่ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคบางประการ ดูเหมือนน้ำทะเลจะปนเข้าไปด้วยทำให้กระแสน้ำไหลเข้าไม่คงที่ การแก้ไขจึงกินเวลานานกว่าที่ควรจะเป็น ช่างเทคนิคของ TEPCO คาดว่าตอนนี้ในเตาปฏิกรณ์ที่ 3 น่าจะมีปริมาณของก๊าซไฮโดรเจนสะสมในปริมาณมาก หากปล่อยให้เจอกับก๊าซออกซิเจนและประกายไฟก็มีโอกาสที่จะระเบิดตูมตามกันอีกรอบได้ (เมื่อวานระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ที่ 1 ก็มีสาเหตุมาจากไฮโดรเจนที่สะสมนี่แหละ)
เหตุการณ์ของเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ในตอนนี้จึงอยู่ในภาวะตึงเครียดอย่างที่สุด หากเปิดระบายก๊าซไม่ถูกวิธี ก็จะเกิดระเบิด หากไม่เปิดเลย ก็มีความเสี่ยงที่ความดันและอุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์สูงจนแท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย
Update 14-03-2011 11:30
มีการระเบิดเกิดขึ้นที่เตาปฏิกรณ์ที่ 3 แล้วเมื่อเวลา 11:01 น. วันที่ 14 มีนาคม (ตามเวลาในญี่ปุ่น) เป็นการระเบิดจากไฮโดรเจนตามที่ได้คาดการณ์ไว้ รายงานมีผู้บาดเจ็บ 6 ราย TEPCO ปรับตัวเลขผู้บาดเจ็บจากการระเบิดที่เตาที่ 3 ขึ้นเป็น 11 คนแล้วครับ ในจำนวนนี้มีพนักงานของโรงไฟฟ้า 4 คนและเจ้าหน้ากองกำลังปกป้องประเทศ 4 คน ส่วนหลังคาที่เป็นปูนระเบิด แต่ส่วนครอบโลหะและตัวเตาปฏิกรณ์ไม่ได้รับความเสียหาย อ่านรายละเอียดที่ http://www3.nhk.or.jp/daily/english/14_26.html
ถ้านั่นยังฟังแล้วน่ากลัวไม่พอ เตาปฏิกรณ์ที่ 3 ยังมีความพิเศษอีกอย่าง นั่นคือเชื้อเพลิงในเตาที่ 3 มีส่วนผสมของพลูโตเนียมกับยูเรเนียม ไม่ใช่แค่ยูเรเนียมอย่างเดียวเหมือนอย่างในเตาที่ 1
ข้อดีของการผสมพลูโตเนียมลงไปในแท่งเชื้อเพลิง คือ มันให้พลังงานความร้อนได้เร็วกว่าและมากกว่ายูเรเนียมอย่างเดียว (นี่เป็นสาเหตุที่พลูโตเนียมเป็นที่นิยมใช้ในหัวรบนิวเคลียร์ด้วย) ด้วยข้อดีนี้เองทำให้ในวินาทีนี้มันอันตรายยิ่งกว่า เพราะเกิดความร้อนสะสมมากกว่า นอกจากนี้พลูโตเนียมออกไซด์ยังติดไฟได้ด้วย
(ตามธรรมชาติของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน แม้ว่าในขั้นตอนการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจะใส่แค่ยูเรเนียมลงไปอย่างเดียว พอเวลาผ่านไปก็จะมีพลูโตเนียมเกิดขึ้นด้วย แต่การใส่พลูโตเนียมลงไปในขั้นตอนการผลิตเลยนั้นจะส่งผลให้เชื้อเพลิงมีความเข้มข้นของพลูโตเนียมสูงกว่านั้นมาก)
ตอนนี้ TEPCO กำลังปั๊มน้ำทะเลผสม boric acid เข้าไปเพื่อหยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ (ตามทฤษฏี ธาตุ Boron ใน boric acid จะจับกับนิวตรอนยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันไม่สามารถเกิดต่อไปได้)
ท่านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาโอโตะ คัง ได้ประกาศเตือนว่าจะมีการงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเวียนสลับกันไปทั้งประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศยังคงมีพลังงานสำรองเพียงพอ (พลังงานไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นมีสัดส่วนจากพลังงานนิวเคลียร์ถึงหนึ่งในสาม)
ที่มา - NHK World, New Scientist
ป.ล. แม้ว่าจะเกิดการระเบิดจริง ก็คาดกันว่าส่วนโลหะของอาคารและเตาปฏิกรณ์จะไม่ได้รับความเสียหายนะครับ ปัญหาเกี่ยวกับการระเบิดจึงอยู่ที่ความปลอดภัยของพนักงานและความสะดวกในการเข้าแก้ไขมากกว่า อันตรายที่น่ากังวลกว่า คือ การหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิง เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้ | https://jusci.net/node/1646 | [Breaking News] โรงไฟฟ้าฟุกุชิมามีระเบิดอีกครั้งที่เตาที่ 3 |
คิดยังไงกับข่าวเรื่อง น้ำในทะเลสาปทั้งหมดหายไปในชั่วข้ามคืนบ้างครับ
มีบางที่บอกว่าชาวบ้านละแวกใกล้ๆได้ยินเสียงดังคล้ายๆโซนิคบูมกลางดึกก่อนที่จะพบว่าน้ำในทะเลสาปหายไปหมดตอนเช้า หรือว่าที่จริงเป็นเพราะผลกระทบจากแผ่นดินไหวล้วนๆมากกว่า
‹ [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร? | https://jusci.net/node/1647 | UFO โขมยน้ำจืด |
ข่าวการระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมาอาจจะกลบข่าวภาวะฉุกเฉินที่โรงไฟฟ้าโรงอื่นไปเกือบหมด (ก็พี่แกเล่นระเบิดสองวันติดเลยหนิ) ความจริงตั้งแต่เมื่อวาน ทางการญี่ปุ่นก็ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอนากาวา (Onagawa) เหมือนกัน หลังจากมีการตรวจพบการแผ่รังสีเกินกำหนดของ International Atomic Energy Agency (IAEA) ในบริเวณโรงไฟฟ้า - ที่มา FoxNews
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทางการญี่ปุ่นก็ได้ออกมายืนยันว่า รังสีที่ตรวจพบน่าจะมาจากโรงงานไฟฟ้าในฟุกุชิมามากกว่า เพราะไม่พบการรั่วไหลจากเตาปฏิกรณ์ทั้งสามของโรงไฟฟ้าโอนากาวา (เตาปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้าโอนากาวามีความทันสมัยมากกว่าที่ฟุกุชิมาพอสมควร) และตอนนี้ปริมาณกัมมันตรังสีที่โอนากาวาก็เข้าสู่ระดับปกติแล้ว - ที่มา Scientific American (Reuters)
ถ้าดูจากแผนที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอนากาวาเหมือนว่าจะอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในวันที่ 11 มีนาคม 2011 มากที่สุด แต่ผมยังไม่เห็นข่าวความเสียหายของโรงไฟฟ้าโอนากาวาแพร่ออกมามากนัก (คิดในแง่ดี อาจจะไม่เสียหายหนักเท่าที่ฟุกุชิมา) | https://jusci.net/node/1648 | [Breaking News] ภาวะกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอนากาวากลับสู่ระดับปกติแล้ว |
ณ นาทีที่ผมเขียนข่าวอยู่นี้ สถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาหลังแผ่นดินไหวและสึนามิยังไม่สงบ เจ้าหน้าที่ยังคงต้องปล่อยไอน้ำส่วนเกินออกจากเตาปฏิกรณ์และเติมน้ำเย็นเข้าไปเพิ่มอยู่เป็นระยะๆ การเปิดวาล์วปล่อยไอน้ำออกมาทำให้สารกัมมันตรังสีข้างในหลุดตามออกมาด้วย
เฉพาะตัวไอน้ำเองก็มีกัมมันตรังสีปนอยู่แล้ว แต่เป็นกัมมันตรังสีที่มีอายุสั้นและรังสีแกมมาเสียส่วนใหญ่ สิ่งที่น่ากังวลที่ออกมาพร้อมกับไอน้ำด้วย คือ สารกัมมันตรังสีที่มาจากการหลอมละลายของแกนแท่งเชื้อเพลิง (ตอนนี้คาดกันว่าแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 หลอมละลายไปแล้วบางส่วนเป็นอย่างน้อย) ได้แก่ cesium-137, iodine-121 และไอโซโทปอื่นๆ ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน
ล่าสุดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่าเฮลิคอปเตอร์ที่บินสังเกตการณ์อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้า 60 ไมล์ ตรวจพบสารกัมมันตรังสีที่มากกว่าระดับเกณฑ์ความปลอดภัยถึง 2 เท่า ตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิสูจน์ว่าเป็นไอโซโทปของธาตุอะไร
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เห็นว่าแนวโน้มลักษณะนี้น่าจะต่อเนื่องไปอีกเป็นสัปดาห์ (หมายถึงการต้องปล่อยไอน้ำและเติมน้ำเข้าไปในเตาปฏิกรณ์เรื่อยๆ) จนกว่าปฏิิกิริยานิวเคลียร์จะหยุดสนิทและแท่งเชื้อเพลิงจะเย็นลงจนอยู่ในระดับปลอดภัย (เมื่อสับสวิตช์หยุดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ แท่งเชื้อเพลิงจะยังผลิตความร้อนออกมาประมาณ 6% ของความร้อนที่ผลิตได้ขณะเดินเครื่องเต็มที่) ระหว่างนี้ก็จะมีกัมมันตรังสีและสารกัมมันตรังสีหลุดออกมาจากเตาปฏิกรณ์เรื่อยๆ สารกัมมันตรังสีเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ได้นานถึงสัปดาห์หรือเดือน
ที่มา - New York Times | https://jusci.net/node/1649 | ผู้เชี่ยวชาญบอก "กัมมันตรังสีในญี่ปุ่นอาจตกค้างเป็นเดือนๆ" |
หลังจากการระเบิดที่เตาที่ 1 และ 3 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียน์ฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant) ตอนนี้เตาปฏิกรณ์ที่ 2 ก็ดูเหมือนจะสูญเสียการควบคุมความร้อนของแท่งเชื้อเพลิงไปแล้วด้วย
ตั้งแต่วิกฤติหลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม TEPCO ก็ได้ใช้เครื่องปั๊มน้ำหล่อน้ำเย็นเข้าไปเลี้ยงแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์ตลอดเวลา แต่ดูเหมือนว่าการระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาจะทำให้ระบบการควบคุมความร้อนที่เตาที่ 2 เสียหายไปด้วย
ความร้อนในเตาที่ 2 อาจจะเร่งให้โลหะ zirconium ที่เคลือบแท่งเชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับน้ำมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของก๊าซไฮโดรเจนในเตาปฏิกรณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระเบิดในสองวันที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุการระเบิดได้จาก http://jusci.net/node/1645)
ที่มา - NHK World, CNN | https://jusci.net/node/1650 | [Breaking News] โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาสูญเสียระบบควบคุมความร้อนในเตาปฏิกรณ์ที่ 2 |
New Zealand Skeptics องค์กรที่คอยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับทฤษฎีไม่น่าเชื่อ ประกาศว่า วันที่ 20 มีนาคม 2011 สุดสัปดาห์นี้จะนัดประชุมนักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, และผู้สนใจให้มารับประทานอาหารเที่ยงกันที่อนุสรณ์สถานบนยอดเขาในเมือง Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์
การนัดกินข้าวเที่ยงครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงการต่อต้านทฤษฎีของนาย Ken Ring นักคณิตศาสตร์ที่สื่อมวลชนขนานนามว่า "Moonman" ซึ่งก่อนหน้านี้เขาอ้างว่าสามารถทำนายการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ที่ถล่มนิวซีแลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ที่ผ่านมาได้ และ Ken Ring ยังทำนายอีกด้วยว่าในวันที่ 20 มีนาคม 2011 จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ถล่มประเทศนิวซีแลนด์อีกครั้ง สาเหตุเนื่องจากคืนวันที่ 19 ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดและแรงดึงดูดจากดวงจันทร์จะทำให้เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลง
Vicki Hyde โฆษกของ New Zealand Skeptics เรียก Ken Ring อย่างดูถูกว่าเป็น "พวกฉวยโอกาสหาชื่อเสียง" และพวกเขาจะไม่ยอมทิ้งความรับผิดชอบ ปล่อยให้คนแบบนี้เอาชื่อวิทยาศาสตร์มาอ้างหาชื่อเสียงลาภยศบนความวิตกกังวลของประชาชนเด็ดขาด
At times like these, we think it's irresponsible to allow anyone to exploit the understandable anxieties of Christchurch residents.
แม้แต่ Nick Smith รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของนิวซีแลนด์ดีกรีปริญญาเอกวิศวกรรมภูมิศาสตร์ ก็พูดในทำนองเดียวกัน และเรียกคำทำนายที่สร้างความตื่นตระหนกแก่สาธารณชนว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" (Junk Science)
The last thing needed by thousands of traumatised people in Canterbury, including elderly and children, is junk science and made-up predictions of future major quakes.
ถ้าวันที่ 20 มีนาคมนี้ ไม่มีแผ่นดินไหวจริง ผมขอเสนอให้อีตา Ken Ring จัดตั้ง "สมาคมนอสตราดามุสภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก" ร่วมกับนอสตราดามุสเมืองไทยที่ทำนายว่าจะมีสึนามิถล่มประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมนี้ได้เลย (อ่าน ประณาม เอ๊ย ประกาศสรุปความแม่นยำของ นายโสรัจจะ นวลอยู่ นอสตราดามุสเมืองไทยได้จาก http://thaienews.blogspot.com/2011/03/5_14.html) จะนัดไปกินข้าวกันที่ไหนก็ตามสบาย
ถ้าจริง ผมจะขึ้นข่าวขอโทษพร้อมเขียนรีวิวทฤษฎีของ Ken Ring อย่างละเอียดลงเว็บ Jusci
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1651 | นักวิทยาศาสตร์นิวซีแลนด์ท้าลองทฤษฎี Moonman ถ่มถุยแค่ "วิทยาศาสตร์ขยะ" |
โครงการกระสวยอวกาศเข้าสู่ช่วงท้ายเต็มที (เหลืออีกเพียงสองเที่ยวบิน) แต่ก็เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเตรียมกระสวยอวกาศอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่ของ United Space Alliance ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาของ NASA อีกต่อหนึ่งได้พลัดตกจากแท่นยิง และหน่วยแพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้
ภารกิจ STS-134 เป็นภารกิจของกระสวยอวกาศ Endeavour ที่จะขึ้นไปติดตั้งเครื่อง Alpha Magnetic Spectrometer และ ExPRESS Logistics Carrier-3 สำหรับการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลการทดลองเข้าออกสถานีอวกาศนานาชาติ
ไม่แน่ชัดว่า STS-134 จะเป็นภารกิจสุดท้ายของโครงการกระสวยอวกาศหรือไม่ หลังสภาคองเกรสไม่ผ่านงบประมาณสำหรับ STS-135 ของยาน Atlantis แต่ทางนาซ่ายังยืนยันจะดำเนินโครงการต่อไป
การดำเนินงานในวันนี้ของโครงการ STS-134 ได้หยุดลงทั้งหมด และสาเหตุของอุบัติเหตุจะมีการสอบสวนต่อไป
ที่มา - NASA | https://jusci.net/node/1652 | เกิดอุบัติเหตุที่แท่นยิงยาน Endeavour, พนักงานบริษัทรับเหมาตกจากแท่นเสียชีวิต |
เมื่อเวลา 6:10 น. ของวันที่ 15 มีนาคม 2011 ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น มีเสียงระเบิดดังขึ้นที่บริเวณเตาปฏิกรณ์ที่ 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant)
การระเบิดในครั้งนี้คาดกันว่าน่าจะสร้างความเสียหายให้กับส่วนที่เรียกว่า suppression pool ในอาคารเตาปฏิกรณ์
suppression pool เป็นส่วนที่ต่อกับเตาปฏิกรณ์โดยตรง เพื่อกักเก็บป้องกันไม่ให้กัมมันตภาพรังสีที่อยู่ข้างในเตารั่วไหลออกสู่ภายนอก จากการวัดอัตราการแผ่รังสีบริเวณรอบเตาปฏิกรณ์เมื่อเวลา 8:31 น. (เวลาประเทศญี่ปุ่น) พบว่ามีค่าสูงถึง 8,217 microsieverts ต่อชั่วโมง กระโดดจากตัวเลข 1,941 ซึ่งวัดเพียง 40 นาทีก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ ตัวเลขของการแผ่รังสีก่อนหน้าจะระเบิดไม่นานนัก คือ 882 microsieverts ต่อชั่วโมง (ตัวเลขนี้ปรับลดแล้ว ตอนแรกรายงานอยู่ที่ 965.5 microsieverts ต่อชั่วโมง) แสดงให้เห็นว่า suppression pool คงเสียหายเล็กน้อยอยู่แล้วก่อนจะมีการระเบิดเสียอีก
การแผ่รังสีระดับนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์แล้ว (หมายถึงคนที่อยู่รอบๆ เตาปฏิกรณ์ ปริมาณรังสีบริเวณนอกโรงไฟฟ้าคงจะต่ำกว่านี้เยอะ) ตามมาตรฐานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อนุญาตให้มีการแผ่รังสีได้ไม่เกิน 10,000 microsieverts ต่อปี (อ้างอิง) และเจ้าหน้าที่ของ TEPCO บอกว่าหากตัวเลขพุ่งขึ้นถึง 1,000,000 microsieverts เมื่อไร การแผ่รังสีจะกระทบต่อสุขภาพประชาชนรอบโรงไฟฟ้าเป็นวงกว้าง
ตอนนี้สภาพของเตาปฏิกรณ์ที่ 2 น่ากังวลที่สุด เตาที่ 1 และ 3 ซึ่งมีเหตุการณ์ระเบิดไปก่อนหน้านี้เริ่มอยู่ในภาวะเสถียรแล้ว
ที่มา - NHK World, Fox News, BBC News
UPDATE 15-03-2011 23:30
มีรายงานมาว่าอัตราการแผ่รังสีได้ลดลงแล้ว จากการวัดเมื่อเวลาประมาณบ่ายสามโมงตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น เหลือเพียง 600 microsieverts ต่อชั่วโมง เท่านั้น - ที่มา The Register
ถ้าไม่รู้ว่า suppression pool มันอยู่ตรงไหน Infographic จาก Live Science อาจช่วยเราได้อีกครั้ง suppression pool มีอีกชื่อว่า Torus ก็คือ ท่อรูปโดนัทตรงข้างล่างเตานั่นเอง
Source:LiveScience | https://jusci.net/node/1653 | [Breaking News] เกิดระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ที่ 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา |
นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นออกประกาศเดือนให้ประชาชนที่อยู่ในระยะ 30 กิโลเมตรจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาให้อยู่ภายในอาคารเท่านั้น เป็นการเพิ่มระยะความปลอดภัยครั้งที่สาม (เพิ่มจาก 10 ไป 20 และมา 30 กิโลเมตรในวันนี้) โดยระบุว่าเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงงานไฟฟ้าเกิดไฟไหม้ขึ้น และอาจจะทำให้ระดับรังสีรั่วไหลออกมานอกโรงงานเพิ่มขึ้นได้ ล่าสุดทางการญี่ปุ่นประกาศว่าเหตุไฟไหม้ที่เตาหมายเลข 4 นี้สามารถดับลงได้แล้ว
ทางการฝรั่งเศสออกมาเตือนว่าเมฆที่ปนเปื้อนรังสีในระดับต่ำกำลังเคลื่อนตัวลงสู่โตเกียว และน่าจะไปถึงในเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางลมไปทางตะวันตกมากขึ้นในช่วงหลัง ที่เมืองคานากาว่านั้นเริ่มสามารถตรวจจับรังสีปนเปื้อนได้เก้าเท่าตัวของระดับปรกติแล้ว
ที่มา - Reuters | https://jusci.net/node/1654 | [UPDATE] เมฆปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับต่ำมุ่งหน้าสู่โตเกียวในสิบชั่วโมง |
การทดลองซิฟิลิสในกัวเตมาลาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี 1946-1948 ถือเป็นการทดลองที่ละเมิดจริยธรรมทางการแพทย์และการทดลองอย่างรุนแรง (ติด 1 ใน 7 อันดับของข่าวที่แล้วด้วย)
ข้างล่างนี้คือข้อความอธิบายการทดลองในกัวเตมาลาอย่างสั้นๆ (ผมคัดมาจากข่าวเก่าเลย ขี้เกียจพิมพ์ใหม่ -_-')
นักวิจัยทำการทดลองถ่ายเชื้อซิฟิลิสเข้าผู้ร่วมการทดลองโดยการจ่ายเงินให้ไปนอนกับโสเภณีที่ติดเชื้อ หรือไม่ก็กรีดหนังองคชาติแล้วเทเชื้อในจานเพาะลงบนแผล หลังจากที่เรื่องนี้แดงขึ้น เดือนตุลาคม 2010 ที่ผ่านมา Hilary Clinton และ Kathleen Sebelius ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษกับสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำลงไป
แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะพยายามปกปิดเรื่องนี้สักเพียงไร ก็ไม่พ้นสายตาประชาชนอยู่ดี ผู้ที่ไปขุดค้นเรื่องนี้มาเปิดเผยต่อสาธารณชนในปี 2010 ที่เพิ่งจะผ่านมาหยกๆ คือ ศาสตราจารย์ Susan Reverby แห่ง Wellesley College ในสหรัฐฯ
หลังจากการแฉ ก็ตามมาด้วยคำขอโทษจากรัฐบาล และต่อเนื่องมาจนถึงการยื่นฟ้อง โดยผู้ที่ยื่นฟ้องก็คือทนายของเหยื่อชาวกัวเตมาลาหรือบรรดาญาติของเหยื่อที่เสียชีวิตจากการทดลองในครั้งนั้นนั่นเอง
หวังว่าคดีนี้จะจบลงด้วยความเป็นธรรม ผู้กระทำผิดถูกลงโทษ ผู้เสียหายได้รับการชดเชย
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1655 | ผู้เสียหายจากการทดลองในกัวเตมาลายื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯ |
แม้ว่าแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ตามมาตราริกเตอร์จะสร้างวิกฤติหนักหนาในกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาในญี่ปุ่น (และวินาทีที่ผมเขียนอยู่นี้ วิกฤติก็ยังดำเนินอยู่อย่างตึงเครียด) แต่โครงการพลังงานนิวเคลียร์ก็ยังมีแนวโน้มอนาคตที่สดใสในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเซีย
เอาเฉพาะตัวเลขก่อน จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังสร้างอยู่ทั่วโลกตอนนี้ 40 จาก 62 โรงอยู่ในทวีปเอเซีย!
ของใหญ่สุดคงไม่มีใครเกินหน้า ประเทศจีน ซึ่งมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังสร้างอยู่ถึง 27 โรง และมีแผนว่าจะสร้างเพิ่มอีก 50 โรงในอนาคต ทางกระทรวงป้องกันคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของจีน (ministry of environmental protection) ได้ออกมายืนยันแล้วว่าแผนดังกล่าวยังคงเดินหน้าต่อไป ไม่มีอันไหนเปลี่ยนแปลง ชะลอ หรือยกเลิก
รองลงมาก็เป็น เกาหลีใต้ และ อินเดีย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังมีโรงไฟฟ้าสร้างอยู่ประเทศละ 5 โรง และมีแนวโน้มว่าจะมีตามมาอีก 25 โรง เกาหลีใต้แสดงท่าทีชัดเจนว่าลุยต่อแน่ ประธานาธิบดี ลี มุง บัก เชื่อว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเกาหลีใต้จะก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าทั้งทางด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ส่วนอินเดียแม้ไม่ออกมาแสดงอาการมั่นใจเท่า แต่ก็มีการสั่งตรวจเข้มระบบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าที่กำลังจะสร้างเพิ่มทุกโรง
หันมาดูประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง เวียดนาม ซึ่งมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 8 แห่งภายใน 20 ปีข้างหน้า Vuong Huu Tan ประธานสถาบันพลังงานนิวเคลียร์ของเวียดนาม ให้สัมภาษณ์อย่างมั่นใจว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นไม่น่ากระทบแผนพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
บังคลาเทศ ก็ไม่น้อยหน้าโดยให้ความเชื่อมั่นกับสื่อว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สองโรงที่จะสร้างในประเทศนั้นเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นที่สาม ทันสมัย ปลอดภัย ไม่หวั่นแม้วันมามาก เอ๊ย แม้จะโดนแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่าที่ญี่ปุ่นเจอ (โครงการพลังงานนิวเคลียร์ในบังคลาเทศได้การสนับสนุนช่วยเหลือจากรัสเซีย)
อย่างไรก็ตาม ก็มีอยู่อีกหลายประเทศเหมือนกันที่แสดงความกังวลต่อโครงการพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ เช่น มาเลเซีย ซึ่งมีแผนสร้าง 2 โรง ก็แบ่งรับแบ่งสู้ อ้อมแอ้มไปว่ายังเหลือเวลาอีกเป็นสิบๆ ปีกว่าจะสร้างเสร็จ คงมีเวลาศึกษากันอีกเยอะ
ออสเตรเลีย ก็แสดงแนวโน้มที่ไม่ค่อยดีต่อโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตแล้ว นายกรัฐมนตรี จูเลีย กิลลาร์ด ประกาศโต้งว่าพรรคแรงงานของตนจะไม่ขอบรรจุการสนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์ไว้ในนโยบาย
ที่มา PhysOrg
นอกจากนี้ เยอรมนี ก็ได้สั่งการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นเก่าที่เดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1980 จำนวน 7 โรง และประกาศว่าจะนำประเด็นความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าสู่การประชุมสุดยอดผู้นำ EU ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2011 นี้ด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน เพิ่งจะอนุมัติให้เดินเครื่องต่อไปได้อีก 12 ปี (แต่หลายฝ่ายลงความเห็นว่านี่เป็นเรื่องการเมือง เพราะนายกฯ Angela Merkel กำลังอยู่ในช่วงขาลง แถมยังต้องเจอกับการเลือกตั้งลงคะแนนเสียงท้องถิ่นเร็วๆ นี้)
ที่มา CNET News
UPDATE: เวเนซุเอลา ก็ประกาศยับยั้งโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศตัวเองแล้วด้วย เมื่อปีที่แล้วเวเนซุเอลาก็เพิ่งจะเริ่มวางแผนการศึกษาขั้นต้นเพื่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เหมือนกัน
ที่มา Fox News
UPDATE: ล่าสุด จีน ก็กลับลำชะลอแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แล้ว
จริงๆ ผมอยากปิดข่าวนี้ด้วย ความคืบหน้าใน ประเทศไทย นะ แต่ช่างเหอะ ทุกท่านคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าอนาคตมันเลือนรางขนาดไหน (ต่อให้ไม่มีเหตุที่ญี่ปุ่นก็เถอะ) ผมไม่อยากตอกย้ำ +_+ | https://jusci.net/node/1656 | อุบัติเหตุที่ญี่ปุ่นหยุดกระแสพลังงานนิวเคลียร์ในเอเซียไม่ได้, เยอรมนีสั่งหยุดโรงไฟฟ้า |
หลังจากเมื่อเช้าเกิดไฟไหม้ขึ้นในบริเวณเตาปฎิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาก่อให้เกิดคำถามว่าเกิดอะไรกันขึ้น โดยตอนนี้ยังไม่มีทางรู้ที่แน่ชัด แต่เจ้าหน้าที่ของโรงงานไฟฟ้าระบุว่าปัญหาอาจจะเกิดจากบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วนั้นเดือดขึ้นมา
แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว (spent nuclear fuel) เป็นแท่งสารกัมมันตภาพรังสีที่มีระดับกัมมันตภาพรังสีในระดับต่ำจนไม่อาจจะก่อปฎิกิริยาลูกโซ่ได้อีกต่อไป จึงต้องถอดจากเตาปฎิกรณ์แล้วไปเก็บรักษาไว้ในบ่อน้ำ เพื่อลดความร้อนที่เกิดจากการสลายตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยปรกติแล้วแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วเหล่านี้ก่อความร้อนไม่มากนัก โดยหลังการปิดเตาปฏิกรณ์ความร้อนจะอยู่ที่ 1.5% เมื่อผ่านไปหนึ่งวันจะอยู่ที่ 0.4% และผ่านไปหนึ่งสัปดาห์จะอยู่ที่ 0.2% ความร้อนระดับนี้ไม่ต้องการการหล่อเย็นอย่างหนักเหมือนตัวเตาปฎิกรณ์ แต่ก็ยังต้องการการหมุนเวียนของน้ำเพื่อระบายความร้อนอย่างต่อเนื่อง
ทาง TEPCO ผู้ดำเนินงานของโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมาระบุว่าตอนนี้ยังไม่สามารถยืนยันระดับน้ำของบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วเหล่านี้ได้ โดยระดับน้ำอาจจะลดต่ำลงจนทำให้ตัวแท่งเชื้อเพลิงโผล่พ้นระดับน้ำขึ้นมาแล้ว (ซึ่งจะทำให้มีการแผ่ความร้อนไปทั่ว)
TEPCO ยังยืนยันไม่ได้ว่าการระเบิดบริเวณเตาปฎิกรณ์หมายเลข 4 นั้นเกิดจากแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วเหล่านี้โผล่พ้นระดับน้ำ และไอน้ำในห้องเก็บแท่งเชื้อเพลิงหรือไม่
อุณภูมิของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ววัดเมื่วันจันทร์ที่ผ่านมาพบว่าน้ำมีอุณภูมิ 84 องศาเซลเซียส เหนือกว่าอุณภูมิปรกติที่จะอยู่ในระดับ 40-50 องศา ส่วนอุณภูมิของบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฎิกรณ์หมายเลข 5 และ 6 นั้นก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกเช่นกัน โดยเตาปฎิกรณ์หมายเลขสี่นั้นเก็บแท่งเชื้อเพลิงทั้งหมดเอาไว้ในบ่อเนืองจากการหยุดการทำงานเพื่อเปลี่ยนตัวถังเตาปฎิกรณ์ ขณะที่เตาปฎิกรณ์หมายเลข 5 และ 6 นั้นเก็บแท่งเชื้อเพลิงไว้ในบ่ออยู่หนึ่งในสามของแท่งเชื้อเพลิงทั้งหมด
หลังจากการปั๊มน้ำทะเลเข้าไปยังเตาปฎิกรณ์หมายเลข 1, 2, และ 3 แล้วก็ยังพบว่าแท่งเชื้อเพลิงในบ่อเก็บยังคงโผล่พ้นน้ำ
ที่มา - Kyodo News
ภาพตัวอย่างบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วจากโรงงานไฟฟ้า PG&E's Diablo Canyon | https://jusci.net/node/1657 | ปัญหาใหม่ของโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมา: ระดับน้ำหล่อเย็นแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว |
หลังจากเกิดวิกฤติที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญก็ดาหน้าออกมาขุดคุ้ยพูดถึงจุดอ่อนของเตาปฏิกรณ์ Mark 1 ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant) มากขึ้นเรื่อยๆ
เตาปฏิกรณ์ Mark 1 ออกแบบโดย General Electric ในทศวรรษ 1960 ในตอนนั้นบริษัทโฆษณาผลงานการออกแบบของตัวเองว่าเป็นเตาปฏิกรณ์แบบ boiling-water reactor (BWR) ซึ่งราคาถูกและสร้างได้ง่ายกว่าเตาปฏิกรณ์แบบ pressurized water reactor (PWR)
ไม่กี่ปีหลังจากนั้น ตั้งแต่ 1972 เป็นต้นมา ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เช่น Stephen H. Hanauer เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของ Atomic Energy Commission เป็นต้น ทยอยออกมาค้านโดยให้เหตุผลหลักๆ ว่า ครอบบรรจุเตาปฏิกรณ์ (containment vessel) และระบบควบคุมความดัน (pressure suppression system) ของ Mark 1 มีความคงทนน้อยกว่าแบบของ PWR เนื่องจากวัสดุที่ใช้บางกว่าเมื่อเทียบกัน ครอบเตาและระบบระบายความดันไอน้ำก็เล็กกว่า ดังนั้นหากมีเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉิน โอกาสของการสะสมของก๊าซไฮโดรเจนและเกิดการระเบิดก็มากกว่า ซึ่งส่งผลให้โอกาสที่กัมมันตรังสีจะรั่วไหลมากตามไปด้วย
Harold Denton เจ้าหน้าที่ของ Nuclear Regulatory Commission ก็เคยประเมินไว้ว่าหากเกิดปัญหาการระบายความร้อนที่แท่งเชื้อเพลิง Mark 1 มีโอกาสที่จะระเบิดมากถึง 90% และสุดท้ายจะนำไปสู่การหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิง (Meltdown)
แต่คำค้านเหล่านี้ก็ตกไป เพียงเพราะเหตุผลง่ายๆ ว่าภาคอุตสาหกรรมชอบ Mark 1 มาก (คงไม่ต้องบอกนะครับว่าเหตุผลของภาคอุตสาหกรรมคืออะไร) ขนาดว่า Joseph Hendrie กรรมการของ Nuclear Regulatory Commission ซึ่งก็เคยแสดงท่าทีอยากสั่งแบน Mark 1 ยังต้องยอมรับเลยว่า "การถอนคำสั่ง[อนุมัติสร้าง Mark 1]อาจจะทำให้ยุคของพลังงานนิวเคลียร์ต้องจบลง"
นอกจากในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาของประเทศญี่ปุ่นที่กำลังมีปัญหาตอนนี้ ปัจจุบันมีเตาปฏิกรณ์แบบ Mark 1 ที่ยังทำงานอยู่ 32 เตาทั่วโลก เฉพาะที่สหรัฐอเมริกาที่เดียวก็มีถึง 23 เตากระจายอยู่ในโรงไฟฟ้า 16 โรงแล้ว
เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมา David Lochbaum แห่ง Nuclear Safety Program แสดงความเห็นอย่างติดตลก(ร้าย)ว่า "การไม่ยอมแบน [Mark 1] ตั้งแต่ทีแรกต่างหากที่อาจจะทำให้ยุคของพลังงานนิวเคลียร์ต้องจบลง"
ที่มา - New York Times
ผมว่าความเห็นของ David Lochbaum แรงเกินไปนิด ออกจะค้านๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับข่าว "อุบัติเหตุที่ญี่ปุ่นหยุดกระแสพลังงานนิวเคลียร์ในเอเซียไม่ได้" (เออ.. ถ้าพูดถึงยุคพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยก็ว่าไปอย่าง เอ๊ะ เดี๋ยวก่อน! มันยังไม่ได้เริ่มเลยหนิ จะจบได้ไง?) | https://jusci.net/node/1658 | ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเผย "เราเคยค้านการสร้างเตาปฏิกรณ์ Mark 1 มาตั้งแต่ต้น" |
จากข่าวที่แล้ว "อุบัติเหตุที่ญี่ปุ่นหยุดกระแสพลังงานนิวเคลียร์ในเอเซียไม่ได้" จีนเพิ่งจะประกาศอยู่หยกๆ เองว่าไม่ยั่นวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น (เหตุการณ์หลังจาก Sendai Earthquake ขนาด 9.0 และสึนามิในวันที่ 11 มีนาคม 2011) แต่หลังจากข่าวและความวิตกกังวลของประชาชนหนักขึ้นเรื่อยๆ สภาแห่งรัฐ (State Council) ของจีนก็เข้าเกียร์ถอยหลังล้อฟรี ออกคำสั่งชะลอการอนุมัติแผนสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว
ในแถลงการณ์ยืนยันว่าแผนโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในประเทศจีนจะถูกยับยั้งไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว แม้แต่อันที่ได้มีการทำแผนศึกษาล่วงหน้าไปแล้วก็ตาม จนกว่ามาตรการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์จะผ่านความเห็นชอบ
ผมไม่แน่ใจว่าคำสั่งชะลอนี้มีผลกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังสร้างอยู่ทั้ง 27 โรงด้วยหรือไม่ หรือนับเฉพาะแค่ 50 โครงการที่ยังเป็นแผนตั้งไข่อยู่
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้จีนมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังทำงานอยู่แล้ว 13 โรง จ่ายพลังงานไฟฟ้าคิดเป็น 2% ของที่ใช้กันทั้งประเทศ และตามเป้าหมายที่เคยประกาศออกมาก่อนหน้า จีนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีครบ 110 โรงภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหิน ซึ่งจีนโดนประณามในเรื่องนี้มาตลอดด้วยข้อหา "ตัวการโลกร้อน"
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1659 | จีนสั่งชะลอแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ |
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิขนาดยักษ์ถล่มชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น (Sendai Earthquake) ในวันที่ 11 มีนาคม 2011 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมาก็อยู่ในสภาพวิกฤติตึงเครียดมาตลอด แต่เมื่อตอนเช้าของวันที่ 17 มีนาคมผ่านพ้นไปด้วยดี สถานการณ์ต่างๆ ก็ดูเหมือนกำลังจะคลี่คลาย
วิกฤติเริ่มต้นจากการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจนที่เตาปฏิกรณ์ที่ 1 ของโรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi ในวันที่ 12 มีนาคม ตามด้วยการระเบิดอย่างเดียวกันที่เตาที่ 3 และ 2 ตามลำดับในวันต่อๆ มา และสถานการณ์ก็ย่ำแย่อย่างหนักหลังจากการเกิดเพลิงไหม้และระเบิดที่อาคารเตาที่ 4 ในวันที่ 15 ด้วยสาเหตุจากความร้อนสะสมที่แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว (ปํญหานี้ต่อมาก็เกิดกับเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ด้วย) หลังจากนั้นข่าวเหตุการณ์ก็ดูเหมือนอลเวงไปหมด เดี๋ยวมีรายงานเตานั้นระเบิด เดี๋ยวเตานี้ไฟไหม้ (ผมขอโทษด้วยที่ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์แน่ชัดได้ แต่ผ่านไปสักพักคงมีข่าวสรุปออกมาให้อ่านกันจนเบื่อเลยแหละ) แต่หนักสุดๆ ก็คงเป็นเตาที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งมีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีในระดับที่เป็นอันตราย (ค่าที่วัดได้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2011 เฉลี่ยอยู่ประมาณ 3-4 millisieverts ต่อชั่วโมง)
เมื่อตอนเช้า 9:48 น. ของวันที่ 17 มีนาคม (ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น) เฮลิคอปเตอร์ CH-47 Chinook ของกองกำลังปกป้องประเทศได้เข้าไปโปรยน้ำทะเลเป็นตันๆ ลงมาหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ที่ 3 และ 4 หลังจากที่เมื่อวานต้องยกเลิกภารกิจเนื่องจากมีการแผ่รังสีสูงเกินไป
แม้ว่าผู้ที่เข้าไปสังเกตการณ์จะเชื่อว่าน้ำจากเฮลิคอปเตอร์ไม่ช่วยอะไรมากนัก เพราะน้ำไปตกนอกเป้าเสียเกือบหมด แต่ก็เป็นนิมิตหมายอันดี ต่อมาเจ้าหน้าที่ TEPCO, ตำรวจ, และทหารก็สามารถลำเลียงรถดับเพลิงเอาปืนฉีดน้ำเข้ามารดน้ำหล่อเลี้ยงเตาปฏิกรณ์ที่มีปัญหาทั้งหมดได้ แม้ในตอนแรกจะยุ่งยากไปสักหน่อย เพราะติดอุปสรรคดินโคลนและสิ่งกีดขวางที่คลื่นสึนามิซัดเข้ามาทิ้งไว้ (รถดับเพลิงนี้ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องออกมาจากตัวถังรถ)
TEPCO รายงานสถานการณ์ในตอนนี้ว่าเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปกู้ระบบควบคุมไฟฟ้าและระบบหล่อเย็นหลักในสถานีได้แล้ว หวังว่าอีกไม่นานระบบต่างๆ ก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติ
เท่าที่ทราบล่าสุด แท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 ถูกน้ำทะเลฉีดเข้าท่วมหมดและเริ่มเย็นลงแล้ว ไม่น่าจะเกิดระเบิดขึ้นมาได้อีก เพราะฉะนั้นตอนนี้ความกังวลก็เหลือเพียงแค่ว่า suppression pool หรือ torus ในเตาที่ 2 และ 3 มีการรั่วมากน้อยแค่ไหน?
ศาสตราจารย์ Barry Brook แห่ง University of Adelaide ให้ความเห็นว่า "จุดเลวร้ายสุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว"
To be honest, and I don't want to sound too optimistic, but I think the worst is probably over.
แน่นอน คนที่ควรจะได้รับคำชมเชยมากที่สุดในวิกฤติครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปควบคุมสถานการณ์ทุกท่าน เพราะครั้งนี้ถือเป็นงานที่เสี่ยงพอๆ กับการเดินเข้าสมรภูมิเลยทีเดียว กัมมันตภาพรังสีที่พวกเขาได้รับอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว เช่น เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง เป็นต้น
จบงานนี้ ทางการญี่ปุ่นสมควรสร้างอนุสาวรีย์อย่างน้อยสักอันแล้วแหละ
ที่มา - BBC News, The Register
Update 18/03/2011 16:34
วันที่สองของการขนรถเข้าไปฉีดน้ำก็สำเร็จลงไปด้วยดี สรุปวันที่สองนี้ มีน้ำจากท่อดับเพลิงในโรงงานรวมกับน้ำที่กองกำลังปกป้องประเทศฉีดเข้าไปร่วมกันระดมรดเตาปฏิกรณ์ที่ 3 และ 4 มากถึง 50 ตัน และ TEPCO คาดการณ์ว่าภายในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม ระบบควบคุมไฟฟ้าจะกลับคืนมาใช้งานได้ตามปกติ
แต่สถานการณ์ของการแผ่กัมมันตรังสียังคงแย่อยู่ บางจุดในโรงไฟฟ้ามีค่าวัดได้สูงถึง 20 mSV (millisievert)
อย่างไรก็ดี ตอนบ่ายของวันที่ 18 มีนาคม หลังจากภารกิจระดมฉีดน้ำประจำวันเสร็จสิ้น อัตราการแผ่รังสีที่เตาปฏิกรณ์ที่ 3 ก็ลดลงบ้างเล็กน้อย
Update 19/03/2011 23:34
ประมาณช่วงบ่ายของวันที่ 19 มีนาคม เจ้าหน้าที่ของ TEPCO ได้เดินสายไฟจากภายนอกเข้าไปยังระบบควบคุมไฟฟ้าของเตาปฏิกรณ์ที่ 1 และ 2 เสร็จแล้ว เหลือแค่รอตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ก่อนสับสวิตช์ปล่อยกระแสไฟฟ้า - ที่มา NHK World | https://jusci.net/node/1660 | สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาดีขึ้นแล้ว? |
โครงการ Intel Science Talent Search (Intel STS) เป็นโครงการสนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมปลายเข้าแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างเวทีระดับประเทศให้วัยรุ่นเหล่านี้ และปีนี้ทางโครงการก็ได้ประกาศรางวัลออกมาโดยมีโครงการที่น่าสนใจหลายโครงการ
รางวัลที่ 1 100,000 ดอลลาร์ : เปรียบเทียบความเร็วในการหารากที่สองของเลขจำนวนเต็ม โดย Evan O’Dorney โดย Evan ให้สร้างวิธีการที่จะบอกได้ว่าควรเลือกใช้วิธีการใดเพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุด
รางวัลที่ 2 75,000 ดอลลาร์ : การศึกษาผลกระทบของการห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในวัยรุ่น โดย Michelle Hackman
รางวัลที่ 3 50,000 ดอลลาร์: การทดลองเพิ่มรอยบุ๋มบนผิวของกังหันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดย Matthew Miller ตัว Matthew เองเป็นประฐานของ National Honor Society และได้ไปงานวิทยาศาสตร์ของทำเนียบขาวในปีที่แล้วอีกด้วย
โครงการ Intel STS นี้อยู่ภายใต้หน่วยงาน Society for Science and the Public (SSP) โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1942 และได้รับการสนับสนุนจากอินเทลตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา
บ้านเราจริงๆ ก็มีโครงการดีๆ ในการแข่งขันอยู่ไม่น้อย ไว้จะพยายามหามาทำข่าวกันครับ
ที่มา - SSP (PDF) | https://jusci.net/node/1661 | Intel Science Talent Search ประกาศผู้ชนะ: รางวัลที่ 1 จากการเปรียบเทียบวิธีการหารากที่สองของจำนวนเต็ม |
วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ของญี่ปุ่นในตอนนี้อาจจะทำให้หลายคนสงสัยว่าแล้วทำไมญี่ปุ่นจึงเอาโรงงานไฟฟ้าไปวางไว้ใกล้จุดกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดนั้น คำตอบในวันนี้คือ นักวิทยาศาสตร์คาดไม่ถึงว่าบริเวณนั้นจะมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่วางตรงจุดบรรจบระหว่างแผ่นดินสี่แผ่นพอดี ได้แก่แผ่น Pacific (PA), Okhotsk (OK), Amur (AM), และ Philipine Sea (PS) อย่างไรก็ตามส่วนที่บรรจบระหว่างสี่แผ่นนั้นอยู่ค่อนไปทางใต้ของประเทศ และเกิดแผ่นดินไหวบ่อยจนนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 8 ริกเตอร์ทุกๆ 150 ปีอยู่แล้ว ขณะที่เมืองเซนไดนั้นมีประวัติแผ่นดินไหวมากกว่า 7 ริกเตอร์บ้าง แต่ไม่เคยมีครั้งที่มากกว่า 8 ริกเตอร์เลยในหลายร้อยปีที่ผ่านมา
โดยปรกติแล้วแผ่นเปลือกโลกที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดคือแผ่นฟิลิปปินส์ (PA) ที่ยังอายุน้อยและเคลื่อนตัวบ่อย ขณะที่แผ่นแปซิฟิกนั้นค่อนข้างนิ่ง โดยมันเคลื่อนตัว 8 เซนติเมตรต่อปี ความเครียดที่เกิดขึ้นอาจจะสะสมมาเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตามความวางใจนี้อาจจะเกิดจากการที่นักวิทยาศาสตร์มองย้อนกลับไปไม่นานพอ โดยในปี 2007 เคยมีรายงานการศึกษาถึงบันทึกและหลักฐานแผ่นดินไหวในบริเวณเดียวกันตั้งแต่ปี 869 และประเมินไว้ว่าจะมีแผ่นดินไหวระดับ 8.1 ถึง 8.3 ริกเตอร์ภายใน 30 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามมันเป็นการคาดการณ์จากบันทึกและหลักฐานแวดล้อมที่ย้อนกลับไปนานถึงกว่า 1,100 ปี (รายงานฉบับนี้ระบุว่าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นี้น่าจะเกิดขึ้นทุกๆ 1,000 ปีในบริเวณเดียวกัน)
แต่ไม่ว่าอย่างไรคงไม่มีประโยชน์ที่เราจะโทษว่าการคาดการณ์ที่ผ่านมาดีพอหรือไม่ แต่มันบอกเราว่าเรายังเข้าในสภาพภายในโลกของเราเองน้อยเพียงใด นักวิทยาศาสตร์ยังคงหวังว่าข้อมูลจากเซ็นเซอร์ของญี่ปุ่นจะทำให้เราเข้าใจแผ่นดินไหวในบริเวณนี้ได้ดียิ่งขึ้น และเราน่าจะพยากรณ์แผ่นดินไหวได้ดีขึ้นในอนาคตต่อไป
ที่มา - Science News
แผนที่แผ่นดินสี่แผ่นของญี่ปุ่น ทางใต้คือแผ่นฟิลิปินส์ที่มักเคลื่อนตัวบ่อย (ภาพโดย Eric Gaba)
แผนที่แผ่นดินไหวบริเวณเมืองเซนไดปี 2011 และ aftershock ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น | https://jusci.net/node/1662 | จุดกำเนิดของแผ่นดินไหวที่เซนไดอยู่เหนือความคาดหมายของนักวิทยาศาสตร์ |
นักฟิสิกส์สองคน คือ Tom Weiler และ Chui Man Ho แห่ง Vanderbilt University เสนอว่าปรากฏการณ์เดินทางข้ามเวลาอาจจะเกิดขึ้นใน LHC ได้
ถ้าคุณยังไม่รู้จัก (ซึ่งผมคิดว่าไม่ควรจะมีใครไม่รู้จักแล้ว) LHC หรือชื่อเต็ม Large Hadron Collider คือ เครื่องเร่งอนุภาคที่มีกำลังมากที่สุดของโลกในตอนนี้ จุดประสงค์หลักๆ ที่นักฟิสิกส์สร้างมันขึ้นมาก็เพื่อจะหาอนุภาคลึกลับที่เรียกกันว่า Higgs boson (ซึ่งปัจจุบันก็ยังหาไม่พบ) แต่สำหรับข่าวนี้ Higgs boson ไม่ใช่พระเอก เพราะตอนนี้นักฟิสิกส์จองบทพระเอกแห่งเวลาตัวจริงไว้ให้กับเพื่อนของมันที่ชื่อว่า "Higgs singlet" ต่างหาก
นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่าในเวลาเดียวกับที่ Higgs boson อุบัติขึ้นมาจากการชนกันของโปรตอนนั้น จะมีอนุภาคอีกตัวที่ชื่อว่า Higgs singlet เกิดขึ้นมาด้วย อนุภาคประหลาดนี้มีความสามารถพิเศษที่จะกระโดดเข้าไปในมิติที่ 5 ได้
หา! มิติที่ 5 มาจากไหนอีกหละเนี่ย?
คำทำนายเรื่อง Higg singlet กระโดดเข้ามิติที่ 5 นี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎี "M-theory" ซึ่งทฤษฎีนี้ก็มีพื้นฐานมาจาก String theory อีกที
M-theory อธิบายว่าแท้จริงแล้วมีมิติอยู่ทั้งหมด 10 หรือ 11 มิติ เอกภพของเราซึ่งมี 4 มิติ (สามมิติของ space บวกกับอีกหนึ่งมิติของเวลา) ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ เอกภพที่ซ้อนกันอยู่เหมือนกลีบหัวหอม แต่ละชั้นของหัวหอมซึ่งแทนเอกภพแต่ละอันรวมทั้งเอกภพของเราด้วยเรียกว่า "brane" ส่วนหัวหอมทั้งลูกเรียกว่า "bulk"
อนุภาคและแรงธรรมดาที่อยู่ในเอกภพของเราไม่สามารถวิ่งข้ามระหว่าง brane ได้ (ยกเว้นแรงโน้มถ่วง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าสาเหตุที่แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่อ่อนในเอกภพของเราเป็นเพราะแรงโน้มถ่วงแพร่กระจายหลุดไปในเอกภพอื่นด้วย) แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Higgs singlet ทำได้ ทันทีที่มันเกิด Higgs singlet บางตัวจะวิ่งเข้าสู่มิติที่ 5 ซึ่งในมิตินั้นอนุภาคสามารถเคลื่อนที่ไปตามแกนมิติของเวลาได้ พอวิ่งเล่นในมิติที่ 5 จนเบื่อ Higgs singlet ก็จะกลับมาโผล่ในเอกภพ 4 มิติของเรา เพียงแต่มันจะโผล่ตรง "เวลา" ไหนนั้นก็อีกเรื่อง อาจจะโผล่ในเวลาอดีตหรืออนาคตจากจุดเวลาที่มันเกิดก็ได้
Tom Weiler บอกว่าวิธีพิสูจน์ทฤษฎีนี้ง่ายมาก ขอเพียงแค่เครื่องตรวจจับของ LHC ตรวจจับอนุภาคที่เกิดจากสลายตัว (decay particle) ของ Higgs singlet ในเวลาก่อนหรือเวลาเดียวกับที่โปรตอนชนกันได้ ก็จะสรุปได้ทันทีเลยว่า Higgs singlet เคลื่อนที่ผ่านมิติเวลาได้จริง
แรงบันดาลใจสำหรับทฤษฎีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการสังเกตพฤติกรรมของอนุภาคนิวตริโนซึ่งสามารถเคลื่อนที่ผ่านวัตถุส่วนใหญได้เฉยๆ เหมือนกับ "ผี" นักฟิสิกส์คิดว่าอาจจะมีนิวตริโนชนิดหนึ่งเรียกว่า "sterile neutrino" ซึ่งเหมือนผีมากกว่านิวตริโนธรรมดาเสียอีก ในบางโอกาส sterile neutrino ในจินตนาการของนักฟิสิกส์จะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงโดยการวิ่งผ่านทางลัดในอีกมิติ ซึ่งก็เหมือนๆ กับการโดดไปวิ่งเล่นของ Higgs singlet อย่างที่อธิบายไป (ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งจินตนาการของนักฟิสิกส์อยู่ดี) ถ้าอิงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ การเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงนี้ในบางกรณีก็อาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ไทม์แมชชีนได้ นับแต่นั้น Tom Weiler รวมถึงนักฟิสิกส์อีกหลายคนก็เชื่อกันว่าการเดินทางข้ามเวลาน่าจะเกิดได้จริง
และถ้า Higgs singlet เคลื่อนที่ผ่านเวลาได้จริง คำตอบของ "Grandfather paradox" ก็อาจจะถูกแก้ตกลงไปได้ด้วย สถานการณ์หนึ่งใน Grandfather paradox ก็คือ ถ้าหากมีคนหนึ่งย้อนเวลากลับไปฆ่าตัดตอนโคตรเหง้าของตัวเอง เขาก็ไม่ควรจะมีตัวตนอยู่ และในเมื่อเขาทำให้ตัวเองไม่มีตัวตนอยู่ แล้วใครจะย้อนเวลากลับไปฆ่าบรรพบุรุษของเขาตั้งแต่เริ่มต้นในทีแรก ตกลงเขาควรจะมีตัวตนดี หรือ ไม่มีดี? มีหรือไม่มี?
การข้ามเวลาของ Higgs singlet จะเป็นข้อพิสูจน์ให้พออธิบายเลี่ยง Grandfather paradox ไปได้ว่ามีแต่อนุภาคพิเศษที่มีความสามารถพิเศษเท่านั้นจึงจะเดินทางในแกนมิติเวลาได้ ร่างกายของมนุษย์ซึ่งสร้างจากอนุภาคที่ถูกจำกัดให้อยู่แต่ในเอกภพ 4 มิติจึงไม่สามารถเดินทางข้ามเวลาได้ แม้ว่าลูกหลานอกตัญญูคนนั้นจะวางแผนล้ำเลิศปานใด แผนฆาตกรรมปู่ตัวเองก็จะไม่มีวันสำเร็จอยู่ดี
อย่างไรก็ดี นักฟิสิกส์ก็ยังสงสัยว่าหากในอนาคต เราคิดวิธีส่งข้อมูลผ่าน Higgs singlet แล้วส่งย้อนกลับไปในอดีตได้ สมมติเกิดมีคนบ้าจี้ ส่งข้อความไปจ้างฆาตกรฆ่าปู่ตัวเองหละ Grandfather paradox ก็ยังคงความสับสนไว้ต่อไปได้สินะ
ที่มา - Live Science, Science Daily, Discovery News
สามย่อหน้าสุดท้ายของข่าวสอนให้รู้ว่าอย่ามีหลานเป็นนักฟิสิกส์ เพราะมันจะจ้องหาทางฆ่าตัดตอนคุณตลอดเวลา | https://jusci.net/node/1663 | ฤๅ LHC จะเป็นไทม์แมชชีนได้? |
การอธิบายปัญหาวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาให้เด็กเล็กๆ หรือคนที่ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องลำบากมาก แต่คนญี่ปุ่นมีทางแก้ปัญหาแบบนี้ได้เสมอ ศิลปินชาวญี่ปุ่น ชื่อ Kazuhiko Hachiya หาทางออกด้วยการใช้สื่อที่เด็กจะรับได้ง่ายที่สุด ซึ่งไม่พ้น "การตูนอะนิเมชัน" หรือ "Anime" นั่นเอง
เนื้อหาของอะนิเมะ กล่าวถึง ปัญหาปวดท้องของ "เตาปฏิกรณ์คุง" ที่ไม่กล้าอึ เลยได้แต่ตดออกมา ตดของเตาปฏิกรณ์คุงอาจจะมีความเหม็น (อันตราย) อยู่บ้าง แต่ก็ไม่อันตรายเท่ากับอึ และคุณหมอหลายๆ คนก็กำลังช่วยให้ยากับเตาปฏิกรณ์คุงอยู่ อีกไม่นานเตาปฏิกรณ์คุงก็จะหายปวดท้องโดยไม่ต้องอึเรี่ยราด
สำหรับคลิปข้างล่างนี้เป็นฉบับที่มีคำบรรยายไทย โดย คุณ "สาคุรัมโบ"
สมกับเป็นชาวญี่ปุ่นจริงๆ แก้ปัญหาทุกอย่างได้ด้วยความจริงจังและความน่ารักที่ผสมกันอย่างลงตัว
ที่มา - Youtube ของ คุณ fuyunokisetsu ผ่าน ประชาไท | https://jusci.net/node/1664 | อะนิเมะอธิบายปัญหา "เตาปฏิกรณ์คุงปวดท้อง" |
วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมาหลังจาก Sendai Eartquake ได้ยกระดับขึ้นมาอยู่ในระดับ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน International Nuclear Event Scale (INES) ของ IAEA
ระดับ 5 นี้เป็นระดับของ "อุบัติเหตุที่มีผลกระทบในวงกว้าง" (an accident with wider consequences) ถ้าเทียบกับเหตุการณ์ในอดีต ระดับ 5 นี้ก็เทียบเท่ากับเหตุการณ์ที่ Three Mile Island ในปี 1979
อ่านแล้วอย่าเพิ่งตกใจนะครับว่า ทำไมข่าวเมื่อวานยังบอกสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาดีขึ้นแล้วอยู่เลย ดีขึ้นภาษาอะไรถึงได้ยกระดับ? คือคำว่า "ดีขึ้นแล้ว" หมายถึงตัวสถานการณ์ในโรงไฟฟ้าซึ่งเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมได้มากขึ้นตามลำดับ แต่ระดับของ INES เป็นการนิยามระดับความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริหารระดับนโยบาย สื่อสารมวลชน คนทั่วไป ฯลฯ การยกระดับครั้งนี้จะทำให้ประเทศญี่ปุ่นและ IAEA กำหนดแผนจัดการกับวิกฤติการณ์การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีได้เข้มงวดมากขึ้น
อีกอย่างที่ผมอยากให้ใช้สติ คือ ก่อนหน้านี้มีข่าวลือกันทาง social network ว่า "เหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi รุนแรงอยู่ในระดับ 6 (หรือแม้แต่ 7) แล้ว" นั้นไม่เป็นความจริง ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาทั้งสองโรงขัดข้อง ทางการญี่ปุ่นประกาศให้เหตุการณ์อยู่ในระดับ 4 (an accident with local consequences) มาโดยตลอด การประกาศยกระดับขึ้นเป็นระดับ 5 เพิ่งจะมีในวันที่ 18 มีนาคม 2011 นี้เอง ส่วนข่าวลือเรื่องการยกระดับแบบเว่อร์ๆ ผมคิดว่ามาจากการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความเห็นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทิศทางการวิเคราะห์ของแต่ละคน แล้วนักข่าวหรือผู้คนทั่วไปก็แตกตื่นกันไปเอง
แก้ไขเพิ่มเติม : ในวันที่ 16 มีนาคม Nuclear Safety Authority ของฝรั่งเศสประกาศยกระดับเหตุการณ์ที่ฟุกุชิมาเป็นระดับ 6 อย่างไรก็ดีตัวเลขอย่างเป็นทางการที่ IAEA ยอมรับตรงกับการประเมินของ NISA ของญี่ปุ่น (ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณ tuinui98)
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1665 | ญี่ปุ่นประกาศยกระดับอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ |
นักดาราศาสตร์เชื่อกันมานานแล้วว่าคู่ดาวฤกษ์สองดวงที่อยู่ใกล้กันมากๆ จนสัมผัสแนบเนืื้อกันนั้นจะรวมร่างกลายเป็นดาวดวงเดียวได้ แต่ก็ไม่เคยมีใครหาหลักฐานคาหนังคาเขาตอนดาวสองดาวรวมร่างกันมาแสดงได้สักที
จนกระทั่งทีมที่นำโดย Romuald Tylenda แห่ง Nicolaus Copernicus Astronomical Center ในโปแลนด์ นึกถึงดาวดวงหนึ่งที่ชื่อ V1309 Scorpii ขึ้นมาได้
V1309 Scorpii ถูกค้นพบในปี 2008 ซึ่งเป็นเหตุมาจากที่อยู่ดีๆ มันก็สว่างวาบขึ้นมาเอง ในตอนนั้นนักดาราศาสตร์ก็งงๆ ว่ามันมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครสังเกตเห็นดาวในจุดนั้นมาก่อน
Romuald Tylenda เลยมีสมมติฐานในใจว่า V1309 Scorpii น่าจะเกิดจากการรวมร่างของดาวฤกษ์ ฉะนั้นวันที่มันถูกค้นพบก็ต้องเป็นวันที่ดาวสองดวงนั้นรวมร่างกันพอดี
และก็เป็นโชคดีที่ Romuald Tylenda เผอิญนึกขึ้นได้ว่าโครงการ Optical Gravitational Lensing Experiment ของมหาวิทยาลัยวอร์ซอว์ได้เคยถ่ายภาพท้องฟ้าในบริเวณนั้นไว้เป็นเวลานานกว่าสิบๆ ปี ทีมวิจัยของเขาจึงไปขอรูปถ่ายย้อนหลังตั้งแต่ปี 2002 ถึง 2010 มาตรวจสอบดู
จากการไล่ดูรูปถ่ายกว่า 2,000 รูป Romuald Tylenda สรุปได้ว่า V1309 Scorpii เกิดจากการรวมร่างของดาวฤกษ์สองดวงแน่ๆ ก่อนหน้าที่มันจะรวมกันนั้น มันโคจรใกล้กันมากจนพื้นผิวชั้นนอกเข้าชิดสัมผัสกันทุกๆ ประมาณ 1.4 วัน ผ่านไปเรื่อยๆ คาบของการสัมผัสกันก็ยิ่งสั้นลงๆ ในที่สุดพื้นผิวชั้นนอกของดาวทั้งสองก็ปั่นรวมกันเป็นเปลือกชิ้นเดียวครอบแกนกลางของดาวทั้งสองดวงเอาไว้ ในช่วงนี้ความสว่างของมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปลายเดือนสิงหาคม 2008 แกนกลางของดาวทั้งสองก็รวมกันเป็นหนึ่ง เปล่งแสงเจิดจรัสไปทั่วท้องฟ้า ความสว่างสูงสุดในขณะรวมตัวของ V1309 Scorpii คิดเป็น 10,000 เท่าของความสว่างปกติของดาวทั้งสอง หรือคิดเป็น 30,000 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์ ภายในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากนั้นมันก็ค่อยๆ จางแสงลงจนเหลือความสว่างเท่าที่เห็นในปัจจุบัน
A MATCH MADE IN THE HEAVENS from Science News on Vimeo.
ที่มา - Science News | https://jusci.net/node/1666 | สองดาวรวมร่าง |
ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาตนั้น เซลล์สมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อจะทรุดโทรมลงไป สารเคมีในสมองที่ชื่อ GABA จะลดลงอย่างมาก ทาง Dr. Micheal Kaplitt ศัลยแพทย์ด้านระบบประสาท ของโรงพยาบาล New York-Presbyterian และศูนย์การแพทย์ Weill Cornell รวมทั้งเพื่อนร่วมงานจึงได้หาวิธีที่จะเพิ่มสารเคมีตัวนี้เขาไปในสมอง
วิธีการนั้นก็คือใช้ไวรัสที่ถูกดัดแปลง พวกเขาจะเจาะกะโหลกศีรษะผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในขณะที่ยังรู้สึกตัว แล้วใส่ไวรัสที่มียีนส์ GAD (glutamic acid decarboxylase) นับล้าน ๆ เข้าไปในสมอง เพื่อกระตุ้นให้สมองผลิตสาร GABA เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเปรียบเทียบผล พวกเขายังได้ทำการผ่าตัดหลอก ๆ กับผู้ป่วยจำนวนหนึ่งด้วย
หลังจากผ่านไป 6 เดือน ผู้ป่วยจะถูกทดสอบเรื่องความสามารถในการเคลื่อนไหวพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยีนส์บำบัดนั้นทำคะแนนได้ดีขึ้น 23.1% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับจะดีขึ้นเพียง 12.7% เท่านั้น
ทางด้าน Dr. Michael S. Okun ผู้อำนวยการของ National Parkinson Foundation ยอมรับวิธีการนี้ และยกย่องว่า "มันเป็นความหวังใหม่ในการบำบัดอาการของผู้ป่วยพาร์กินสัน"
แต่ Dr. William Weiner ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา แห่งมหาวิทยาลัย Maryland Medical Center กลับไม่คิดเช่นนั้น เขาบอกว่า "แม้ว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลชัดเจนก็จริง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นน้อยมาก การใส่ยีนส์เพิ่มเข้าไปแค่ตัวเดียว แล้วรักษาโรคทางระบบประสาทได้นั้น น่าเป็นไปได้ แต่ยีนส์บำบัดน่าจะเป็นการลดอาการมากกว่าที่จะรักษาโรคให้หายขาด"
อีกคนที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเชื่อคือ คุณ Michelle Gardner หัวหน้าทีมวิจัย และพัฒนาแห่ง Parkinson's U.K บอกว่า "มันเป็นงานวิจัยที่มีความหวัง แต่เราต้องรู้ก่อนว่าผลของมันจะยาวนานแค่ไหน"
ไม่ว่าใครจะคิดยังไง พวกเขาก็มีแผนที่ที่จะทำศัลยกรรมกระตุ้นสมองส่วนลึก ด้วยการฝังอุปกรณ์ควบคุมเส้นประสาทไว้ในสมอง เพื่อช่วยควบคุมอาการพาร์กินสัน และยังบอกอีกว่าวิธีการนี้จะให้ผลดีกว่าการใช้ยีนส์บำบัดถึง 2 เท่า
ที่มา: LiveScience, Yahoo News | https://jusci.net/node/1667 | ยีนส์บำบัดลดอาการพาร์กินสัน |
นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากคนวัยทำงาน ในประเทศออสเตรเลียกว่า 7,000 คนแล้วพบว่า
คนที่ตกงานมีสุขภาพจิตแย่กว่าคนที่ทำงานโดยรวม
คนที่ได้งานแย่ ๆ จะมีสุขภาพจิตแย่กว่าคนที่ตกงาน
คนที่มีประสบการณ์ในการทำงานแย่ ๆ จะมีผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว
ระดับสุขภาพจิตจะแปรผันตรงกับความพึงพอใจต่องานนั้น ยิ่งงานนั้นไม่น่าพึงพอใจเท่าไหร่ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเท่านั้น
สำหรับคนตกงาน การได้งานที่ดีจะเพิ่มคะแนนสุขภาพจิต 3 แต้ม แต่การได้งานแย่ ๆ กลับลดคะแนนสุขภาพจิตลง 5.6 แต้ม
งานที่เราต้องการมาก ๆ นั้นจะทำให้เราควบคุมงานนั้นได้น้อย รวมทั้งการสนับสนุน และด้านการเงินจะน้อยตาม นั่นไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่
สรุปได้ว่า การที่ต้องทนทำงานแย่ ๆ งานระยะสั้น หรืองานที่มีรายได้น้อยนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตมากกว่าการไม่มีงานเสียอีก
ส่วนคำกล่าวที่ว่า "ทำงานอะไรก็ได้ไปก่อน ดีกว่าตกงาน" นั้นเป็นการส่งเสริมด้านเศรษฐศาสตร์ และความเป็นอยู่ที่ดี ส่วนงานที่มีคุณภาพด้านจิตวิทยาสังคม มีปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาในด้านนโยบาย การจัดการ และสวัสดิการที่ดี
ที่มา: HealthDay ผ่าน Yahoo! News | https://jusci.net/node/1668 | เดินเตะฝุ่นยังดีกว่าทนอยู่กับงานแย่ ๆ |
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนนำโดย Josep Quintana แห่ง Institut Català de Paleontologia รายงานการเจอซากฟอสซิลของกระต่ายยักษ์ที่ตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลกใบนี้
ชื่อของกระต่ายยักษ์ตัวนี้ คือ Nuralagus rex แปลตามตัวได้ว่า "ราชากระต่ายแห่งเกาะ Minorca" ตามสถานที่ค้นพบ นั่นคือ เกาะ Minorca ของสเปน ประมาณกันว่า Nuralagus rex น่าจะมีชีวิตอยู่บนโลกระหว่าง 5 ล้านปีถึง 3 ล้านปีที่แล้ว ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักตัว 12 กิโลกรัม ซึ่งหนักกว่ากระต่ายทั่วไปในปัจจุบันประมาณ 6 เท่า
ภาพของ N. rex (ตัวขวาใน foreground) เทียบกับกระต่ายยุโรป (ตัวซ้าย) ภาพจาก Discovery News; เครดิตภาพ Josep Quintana
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของ Nuralagus rex น่าจะมาถึงเกาะ Minorca เมื่อประมาณ 5.3 ล้านปีที่แล้ว ในตอนนั้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแห้งเหือดจนเกิดเป็นทางเดินเชื่อมให้สัตว์บกเดินข้ามจากแผ่นดินใหญ่ไปสู่เกาะต่างๆ ได้ เมื่อมาถึงเกาะซึ่งมีแต่ค้างคาว หนูยักษ์ เต่ายักษ์ นอกนั้นก็ไม่มีผู้ล่าอะไรอยู่เลย กระต่ายที่ตอนแรกก็ตัวไม่ได้ใหญ่โตอะไรนัก เลยกลายเป็นกระต่ายยักษ์ขึ้นมา
การที่สัตว์บนเกาะมีขนาดร่างกายใหญ่โตขึ้น ขณะที่สัตว์บนแผ่นดินใหญ่ตัวหดเล็กลง เรียกว่า "Island Rule" ซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น อาหารบนเกาะมีคุณค่าทางอาหารน้อย (เลยต้องมีกระเพาะใหญ่ๆ ไว้กินเยอะๆ), ไม่มีผู้ล่า เป็นต้น
นอกจากจะตัวใหญ่ขึ้นแล้ว Nuralagus rex ยังมีขนาดหูและตาเล็กกว่าที่กระต่ายทั่วไปควรจะมีเมื่อเทียบกับขนาดลำตัวด้วย สาเหตุก็อันเดิม พอไม่มีผู้ล่าจะเอาหูเอาตาโตๆ ไว้ฟังไว้มองอะไร เกะกะตอนขุดหัวกับรากพืชกินเสียเปล่าๆ ชีวิตนี้ขอกินกับนอนพอแล้ว
แค่นั้นยังไม่จบ Nuralagus rex ยังเสียความเป็นกระต่ายยิ่งไปกว่านั้นอีก คือ แทนที่มันจะมีกระดูกสันหลังเหมือนของกระต่ายทั่วไปที่ยืดหยุ่นได้คล้ายสปริง กระดูกสันหลังของ Nuralagus rex กลับมีลักษณะสั้นๆ แข็งๆ ไม่ยืดหยุ่น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่ามันน่าจะกระโดดไม่ได้ด้วย เวลาเคลื่อนที่ไปไหนมาไหน Nuralagus rex คงจะค่อยๆ เดินต้วมเตี้ยมๆ เอา
ผมยังจินตนาการไม่ออกเลยว่าตัวอะไรที่ขนปุยๆ หนัก 12 กิโลกรัม ตาตี่ หูสั้น กระโดดไม่ได้ มันจะเหมือนกระต่ายตรงไหน!? ดังนั้นมันไม่น่าแปลกใจนักหรอกที่ Josep Quintana คิดว่ามันเป็นชิ้นส่วนของเต่ายักษ์หลังจากเห็นซากฟอสซิลขาของ Nuralagus rex ครั้งแรกตอนอายุ 19 ปี
ที่มา - Live Science, Discovery News, PhysOrg | https://jusci.net/node/1669 | ราชันย์พันธุ์กระต่าย |
ในที่ประชุมของ American Physical Society ในดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลการสำรวจจำนวนประชากรผู้ที่ "ไม่ฝักใฝ่ในศาสนา" ในหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา สาธารณรัฐเชค ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ พอมีข้อมูลมากพอ นักวิทยาศาตร์ก็เริ่มนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา เพื่ออธิบายแนวโน้มอนาคตของความศรัทธาต่อศาสนาในหมู่ประชากร
ไม่น่าเชื่อ! ผลจากแบบจำลองทำนายว่าในที่สุดแล้ว ศาสนาในประเทศเหล่านี้จะสูญพันธุ์ สาเหตุมาจากจำนวนของผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ศาสนาและไม่นับถือศาสนากำลังเพิ่มขึ้นในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear) สุดท้ายแล้วคนที่นับถือศาสนาจะเหลือเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่คอยเวลาให้ถูกกลืนหายไป คล้ายกับกรณีของภาษาเล็กๆ ที่ไม่มีใครใช้ วันหนึ่งก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา
ปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนกำลังจะเป็นแนวโน้มของประเทศประชาธิปไตยสมัยใหม่ทั่วโลก เช่น ในเนเธอร์แลนด์ มีคนประกาศตัวว่าไม่ฝักใฝ่ศาสนาใดๆ ถึง 40%, ในสาธารณรัฐเชค ตัวเลขนี้พุ่งไปถึง 60% เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคงจะมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวแปรในแบบจำลองนี้ ยังไม่มีใครมั่นใจว่าศาสนาจะหายไปเมื่อไร อย่างไร เพราะตัวแบบจำลองเองก็ยังไม่สมบูรณ์ แต่ผลเบื้องต้นที่ออกมานี้ก็ชี้ให้เห็นอะไรได้หลายอย่างทีเดียว
ที่มา - BBC News
ผมคิดว่าประเทศไทยคงไม่ต้องกลัวเรื่องศาสนาสูญพันธุ์เท่าไรมั้ง เราเป็นประเทศที่เจริญทางด้านจิตใจอยู่แล้วหนิ | https://jusci.net/node/1670 | ศาสนาจะสูญพันธุ์? |
นักวิจัยสองคน คือ Lutz Bornmann แห่ง Max Planck Society และ Loet Leydesdorff แห่ง Amsterdam School of Communications Research ได้คิดวิธีใช้ Google Maps ประเมินและแสดงความสามารถของเมืองต่างๆ ทั่วโลกในการผลิตผลงานด้านวิทยาศาสตร์ หลักการประเมินก็ไม่ซับซ้อนมาก คือ ดูจากปริมาณของผลงานในระดับ "สุดยอด" ("excellent paper") เทียบกับผลงานทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในแต่ละปีว่าสูงกว่าหรือน้อยกว่าค่าที่คาดการณ์เอาไว้แค่ไหน เช่น ถ้าคาดการณ์ไว้ว่าผลงานระดับสุดยอดมีประมาณ 10% ของผลงานที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในแต่ละปี หากเมืองนั้นผลิตได้สูงกว่า ก็แสดงว่าเมืองนั้นมีความสามารถในการผลิตงานวิทยาศาสตร์สูง แต่หากเมืองนั้นทำได้น้อยกว่า ผลก็กลับกัน
การจะวัดว่างานไหน "สุดยอด" หรืองานไหน "ไม่สุดยอด" ก็ดูเอาจากจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงในผลงานอื่นๆ คิดกันง่ายๆ งานที่อยู่ในระดับสุดยอดเลิศล้ำไตรภพจบหล้าก็ควรจะได้รับการอ้างอิงเยอะๆ งานไหนอ่านแล้วดูไม่เข้าท่าก็ไม่ควรจะมีคนสนใจ
ทั้งสองคนเผยแพร่วิธีและผลการทดลองใน arXiv.org พร้อมกับส่วนภาคผนวกที่เว็บ http://www.leydesdorff.net/topcity/ ผลการทดลองมีแค่ใน 3 สาขาวิชาเท่านั้น คือ ฟิสิกส์ เคมี และจิตวิทยา ตัวอย่างภาพข้างล่างเป็นของสาขาเคมี วงกลมสีเขียวคือเมืองที่มีผลงานระดับสุดยอดสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ (ยิ่งเขียวเข้ม ยิ่งดี) ส่วนวงกลมสีแดงคือเมืองที่ทำผลงานระดับสุดยอดได้ไม่ถึงเป้า (ยิ่งแดงมาก ยิ่งแย่) พวกกึ่งๆ กลางๆ ลูกผีลูกคนก็เป็นสีส้มๆ เหลืองๆ ไป และขนาดของวงกลมแสดงถึงจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์ในแต่ละปี วงใหญ่แสดงว่าผลิตงานออกมาเยอะ วงเล็กแสดงว่างานน้อย (ที่ไม่มีวงเลย ผมสงสัยว่าน่าจะหมายถึงไม่มีข้อมูล)
รูปนี้แสดงเฉพาะผลงานในสาขาเคมี
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1671 | แผนที่โลกเมืองวิทยาศาสตร์ดีเด่น |
ระยะเวลาของการชาร์จแบตเตอรี่เป็นปัจจัยสำคัญต่ออุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าในช่วงหลังๆ เช่นรถยนต์ที่ต้องการการชาร์จทั้งคืนต่อการใช้หนึ่งครั้ง แม้ปัญหาส่วนหนึ่งจะอยู่ที่เราต้องหาแหล่งพลังงานที่สามารถจ่ายไฟได้สูงๆ ปัญหาอีกส่วนหนึ่งคือความเร็วที่จะชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้นั้นจำกัดด้วยสเปคของแบตเตอรี่เอง ล่าสุดนักวิจัยก็หาหนทางใหม่ในการสร้างขั้วไฟฟ้าที่เหมาะต่อการชาร์จเร็วได้สำเร็จ
ชั้วไฟฟ้าใหม่นี้อาศัยการสร้างโครงโลหะจากการวางเม็ดโฟมทรงกลมขนาดเล็กๆ ลงในแบบ แล้วเติมโลหะเข้าไปในช่องว่าง จากนั้นจึงสลายโฟมออกด้วยกระบวนการ electropolishing ทำให้ได้โครงพรุนของโลหะ เมื่อนำโครงนี้ไปเคลือบ active material สำหรับทำแบตเตอรี่ ก็จะทำให้การเดินทางขออิเล็กตรอนเข้าและออก active material ทำได้ง่ายมาก เพราะเดินทางออกมาเพียงนิดเดียวก็ถึงขั้วโลหะ
การเดินทางที่สั้นมากนี้ทำให้แบตเตอรี่จากกระบวนการนี้ใช้เวลาชาร์จสามารถทำได้ในเวลาไม่กี่วินาที แทบจะเท่ากับตัวเก็บประจุซึ่งเก็บพลังงานได้น้อย และยังรองรับวัสดุแบตเตอรี่ทุกแบบที่เกาะกับโลหะได้ โดยทีมงานได้ทดสอบกับ Li-On และ NiMH แล้ว
งานวิจัยทำโดย Paul Braun ศาสตราจารย์วัสดุศาสตร์ ร่วมกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา Xindi Yu และนักเรียนระดับ postdoctoral นาย Huigang Zhang ได้รับทุนจากกระทรวงพลังงาน และกองทัพบกสหรัฐฯ
ที่มา - Illinois University | https://jusci.net/node/1672 | ขั้วไฟฟ้าแบบใหม่ช่วยชาร์จแบตเตอรี่ได้เต็มภายในสองนาที |
JAXA หน่วยงานด้านอวกาศยานของญี่ปุ่นเตรียมพัฒนาจรวดรุ่นต่อไปที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้เองผ่านทางระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยคาดว่าจะติดตั้งได้ครั้งแรกในจรวด Epsilon ที่จะเริ่มประจำการในปี 2013
แม้จรวดทุกวันนี้จะมีระบบอัตโนมัติอยู่บ้าง แต่มันไม่สามารถ "คิด" หรือ "ตัดสินใจ" ต่อเหตุการณ์ที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ ทำให้สภาพไม่ต่างไปจากไฟเตือนสถานะหน้ารถและกล่อง ECU ในรถที่อาจจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่อย่างมาก แต่ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง
จรวด Epsilon เป็นจรวดขนาดเล็กที่ใช้ส่งดาวเทียมขนาด 500 กิโลกรัมขึ้นสู่วงจรค้างฟ้า
ประเด็นการลดค่าใช้จ่ายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานี้ โดยการตัดสินใจระหว่างการยิงทุกวันนี้ต้องอาศัยคนหลายสิบคนในห้องควบคุมการยิง เมื่อระบบปัญญาประดิษฐ์ได้รับการติดตั้ง และจรวดสามารถตรวจสอบ, แจ้งเตือน, รวมถึงแก้ปัญหาได้เองในบางส่วนแล้ว ผู้ควบคุมการยิงอาจจะเหลือเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
อย่างนี้จะมีสหภาพวิศวกรควบคุมจรวดออกมาประท้วงไหม?
ที่มา - Space.com | https://jusci.net/node/1673 | ญี่ปุ่นเตรียมใส่ปัญญาประดิษฐ์ให้จรวดรุ่นต่อไปเพื่อลดค่าใช้จ่าย |
"เงยหน้ามองดาวยามราตรี แล้วเขียนสิ่งที่คุณเห็น หรืออะไรที่คุณไม่เห็น" นี่คือสโลแกนของ
โครงการ Globe at Night ซึ่งก้าวสู่ปีที่ 6 ภายใต้ความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนทั่วโลกร่วมกันสังเกตความสว่างของกลุ่มดาว โดยเราจะต้องระบุพิกัดบนพื้นโลกและสิ่งที่เราสังเกตได้ แล้วกรอกข้อมูลเข้าไปฐานข้อมูล ยิ่งข้อมูลที่รวบรวมมากเท่าไร เราก็จะได้แผนที่โลกในยามค่ำคืนแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น
เหตุเพราะว่า ทุกวันนี้ผลจากการที่เราเปิดหลอดไฟสว่างไสวแบบไม่บันยะบันยังทั่วทั้งเมืองทั่วโลก นั่นทำให้สองในสามของโลก ไม่สามารถมองเห็นท้องฟ้ายามราตรีที่สว่างสดใส (virgin night sky) ได้อีก ไม่เพียงแต่มนุษย์ที่ได้รับผลมลภาวะทางแสงไฟเท่านั้น สัตว์อีกจำนวนมาก เช่น นก ค้างคาว รวมถึงเต่าทะเล ก็สับสนจากแสงไฟเสมือนเหล่านี้เช่่นกัน
เมื่อพร้อมแล้ว ก็เริ่มเงยหน้านับดาวกันได้เลย !!
ที่มา - Wired.com | https://jusci.net/node/1674 | ร่วมด้วยช่วยกันสร้างแผนที่มลภาวะจากแสงไฟ |
หลังจากแผ่นดินไหว Sendai Earthquake และสึนามิเข้าถล่มชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi plant) ก็เจอวิกฤติซ้ำซ้อนอย่างหนัก เริ่มจากระเบิดจากก๊าซไฮโดรเจนที่สะสมในเตาปฏิกรณ์, ความร้อนสะสมในบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว, ท่อกักความดันรั่ว หลายคนอาจจะคิดว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของ General Elecrtric บริษัทที่สร้างและออกแบบเตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาออกมาให้ความเห็นเองว่า โชคร้ายของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมาอาจจะยังไม่จบแค่นี้
Richard T. Lahey Jr. หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านความปลอดภัยของเตาปฏิกรณ์แบบ boiling-water reactor ของ General Electric แสดงความกังวลว่าการเอาน้ำทะเลเข้าไปหล่อเย็นนั้นอาจจะทำให้เกิดการสะสมของชั้นเกลือในเตาปฏิกรณ์
เมื่อน้ำทะเลดูดความร้อนจากแท่งเชื้อเพลิงแล้วระเหยเป็นไอน้ำ เกลือในน้ำทะเลที่ไม่ได้ระเหยออกไปด้วยก็จะนอนเล่นต่ออยู่ในเตาปฏิกรณ์ พอขนน้ำทะเลรอบใหม่เข้ามา เกลือตัวเก่าที่นอนเล่นอยู่ก่อนแล้วก็จะได้เพื่อนนอนเล่นเพิ่มขึ้นอีก จนเมื่อความเข้มข้นของเกลือถึงจุดอิ่มตัว ผองเพื่อนเกลือก็จะจับกันตกผลึกเกิดเป็นชั้นเกลือขึ้นมา ชั้นเกลือนี้มีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อน ดังนั้นหากมันไปจับกับเป็นชั้นหนารอบแท่งเชื้อเพลิง น้ำที่ฉีดเข้าไปหล่อเย็นกันแทบเป็นแทบตายก็จะไร้ค่าไปเลย แท่งเชื้อเพลิงจะสะสมความร้อนขึ้นมาอีกรอบและนำไปสู่การหลอมละลายของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบเต็มที่ (Full Meltdown) ซึ่งเป็นวิกฤติขั้นร้ายแรงที่สุด (พวกข่าวร้ายๆ ที่ทำเอาคนตระหนกตกตื่นกันทุกวันนี้มาจากแค่การหลอมละลายบางส่วนเท่านั้น คงไม่ต้องบอกนะครับว่าถ้าเกิด Full Meltdown สถานการณ์จะเป็นอย่างไร)
จากการประเมินล่าสุด ตอนนี้เตาปฏิกรณ์ที่ 1 น่าจะมีเกลือสะสมถึงกว่า 57,000 ปอนด์ (ประมาณ 26,000 กก.) แล้ว และเตาที่ 2 กับ 3 ก็น่าจะมีเยอะกว่านี้อีก
อย่างไรก็ตาม เตาปฏิกรณ์คุงก็อาจจะยังโชคดีอยู่บ้าง เพราะ TEPCO อ้างว่ามีการปล่อยน้ำทะเลบางส่วนลงกลับทะเล เกลือบางส่วนจึงอาจจะถูกชะออกจากท้องเตาปฏิกรณ์คุงไปด้วย นอกจากนี้หากโรงไฟฟ้าซ่อมระบบหล่อเย็นหลักเสร็จสมบูรณ์ได้ทันท่วงที น้ำบริสุทธิ์ก็จะมาทำหน้าที่หล่อเย็นได้ตามปกติ ปัญหาเรื่องชั้นเกลือก็จะตกไป
ที่มา - New York Times | https://jusci.net/node/1675 | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาอาจโดนกระหน่ำด้วยปัญหาใหม่: เกลือสะสมในเตาปฏิกรณ์ |
กระทาชายชาวอเมริกานามว่า Ben Krasnow ใช้เวลาว่างสุดสัปดาห์ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2011 ที่ผ่านมาทำโครงการ DIY (Do-It-Yourself) สร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM) จากชิ้นส่วนอุปกรณ์ดาดๆ ที่หาได้ทั่วไป เช่น ออสซิลโลสโคปเก่าๆ, ปืนยิงอิเล็กตรอนจากทีวีรุ่นโบราณ, ท่อทองแดง เป็นต้น และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม เขาก็สามารถสร้างภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์นี้ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เขาจึงป่าวประกาศไว้ในบล็อกของตัวเอง ให้คนอื่นๆ ได้เข้ามาร่วมชื่นชมยินดี
ภาพที่ออกมายังดูมัวๆ ไม่มีความคมชัดนัก Ben Krasnow ยอมรับว่ายังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอีกเยอะ แต่นี่ก็ถือเป็นหลักชัยขั้นแรกที่พิสูจน์ได้ว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่เขาสร้างขึ้นมาเองกับมือสามารถใช้งานได้จริง
ที่มา Ben Krasnow | https://jusci.net/node/1676 | กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน DIY |
คนเรามีความเชื่อหลาย ๆ อย่างเดียวกับการเรียนรู้ เป็นต้นว่า ถ้าเราเรียนมากขึ้น เราก็จะรู้มากขึ้น แล้วมักจะประเมินความสามารถในการเรียนรู้ของตัวเองอยู่เสมอ ๆ เช่นว่า ถ้าดูแล้ววิชา หรืองานนี้มันง่าย ก็เชื่อมันในตัวเองว่า ของแค่นี้ ไม่เรียน หรือเรียนแค่นิดเดียวก็ทำได้แล้ว
แต่มันเป็นจริงแค่ไหนกันแน่?
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย/ลอส เองเจอริส และมหาวิทยาลัยเคนท์ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ความจำหลังจากเรียนรู้ และความสามารถในการเรียนรู้ โดยดูเรื่อง ความง่ายของการประมวลข้อมูล กับโอกาสในการรู้เพิ่มเติม
การทดลองที่ว่าคือ ผู้วิจัยทำแสดง คำ ที่ใช้ขนาดตัวอักษรต่างกันให้ผู้ร่วมวิจัยดู แล้วถามเขาว่า จำมันได้ดีแค่ไหน ในรอบต่อมา ก็บอกแก่ผู้ร่วมวิจัยว่า เขาจะมีโอกาสได้ดูคำ ๆ นี้อีกครั้ง อีกสามครั้ง หรือไม่มีโอกาสอีกแล้ว หลังจากนั้น ผู้ร่วมวิจัยจะถูกทดสอบความจำ
ผลออกมาว่า การใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ จะทำให้สมองประมวลคำนั้นได้รวดเร็ว ผู้ร่วมวิจัยจึงคิดว่า จะจำได้ง่าย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ สิ่งที่ช่วยให้เราจำได้คือ จำนวนรอบของการศึกษา ต่างหาก ดังนั้น การทำซ้ำบ่อย ๆ จึงจะให้เราจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีกว่า
ในรอบที่สาม ผู้ร่วมวิจัยจะถูกถามว่าตัวอักษรขนาดนี้จะต้องดูกี่รอบถึงจะจำได้ ซึ่งผลก็ออกมาเหมือนเดิม พวกเขายังเข้าใจผิด แต่ครั้งนี้ การตัดสินใจนั้นอ้างอิงจากความเชื่อมากกว่าการทดลองครั้งก่อนมาก แทนที่จะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา
แล้วอะไรที่หลอกเรา?
อย่างแรก การประมวลข้อมูลของสมอง ถ้าอันไหนประมวลผลได้ง่าย เราก็มักจะเชื่อว่า มันจะจำได้ง่ายตามไปด้วย อย่างที่สองคือ อคติ เรามักคิดว่า สิ่งที่เขาจำได้ตอนนี้ ในอนาคตเขาก็จะยังจำมันได้ ซึ่งมันไม่จริงเลย
ความจริงแล้ว ความพยายามที่จะเข้าใจข้อมูล จะทำให้เราเรียนรู้จดจำได้ดีขึ้น และหนทางที่สมองจดจำข้อมูลต่าง ๆ นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยากง่าย แต่ขึ้นอยู่กับความหมายของข้อมูลที่มีต่อเรา (สิ่งไหนมีความหมายต่อเรามาก มันก็ยากที่จะลืม)
แม้มันไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เรามักจะประเมินค่าก่อนที่จะลงมือทำ นั่นทำให้เราเรียนรู้ช้าเกินไป เราควรลงมือทำแทนที่คิดว่าจะทำ แล้วเราจะฉลาดพอที่จะรักษาความทรงจำไว้ได้
ที่มา: APS
ป.ล. เขียนข่าวนี้เพื่อเตือนใจตัวเอง ; ) | https://jusci.net/node/1677 | ถ้าคิดว่าวิชานี้ง่าย สอบผ่านแน่, คิดใหม่ แล้วก็ตั้งใจเรียนซะ |
ประมาณสองทศวรรษที่แล้ว นักชีววิทยาได้ค้นพบโครงสร้างคล้ายสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ใน Apex Chert ก้อนหินที่ชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย ตั้งแต่นั้นมารูปโครงสร้างที่ว่าก็กลายเป็นรูปภาพที่อยู่ในตำราชีววิทยาเกือบทุกเล่มและสารคดีต่างๆ มากมายในฐานะของ "ฟอสซิลสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก" คาดกันว่ามันมีอายุประมาณ 3.5 พันล้านปี สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในนั้นจะต้องเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกๆ ที่สังเคราะห์ด้วยแสงและทำให้อากาศของโลกเต็มไปด้วยก๊าซออกซิเจนอย่างในทุกวันนี้
หมายเหตุ: สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไม่ใช่สาหร่าย แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีมาตั้งแต่ยุคต้นๆ ของวิวัฒนาการบนโลกนี้ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นพวก Prokaryote เหมือนกับแบคทีเรีย
ข้างล่างคือรูปในตำนานที่นักชีววิทยาและนักศึกษาชีววิทยาทุกคนในโลกต้องเคยเห็น (โดยเฉพาะรูป A อันซ้ายบนสุด)
ภาพจาก Live Science; เครดิตภาพ UCLA
แต่จากการค้นพบล่าสุดของทีมวิจัยที่นำโดย Craig Marshall แห่งมหาวิทยาลัยแคนซัส เรื่องกลับกลายเป็นว่าร่องรอยโครงสร้างที่เห็นในชั้นหินนั้น จริงๆ แล้วเป็นแค่ร่องรอยของแร่ธาตุธรรมดาที่พบได้ทั่วไป หาใช่ฟอสซิลสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินไม่
พวกเขาเก็บตัวอย่างหินโดยสกัดจาก Apex Chert แล้วจัดการเฉือนมันเป็นแผ่นความหนาต่างๆ กัน เมื่อเอาแผ่นที่หนาหน่อยไปส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์ สิ่งที่เห็นก็คือรูปร่างโครงสร้างที่คล้ายๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินหลายๆ เซลล์มาเชื่อมต่อกันเป็นแท่ง แต่พอดูแผ่นที่บางๆ โครงสร้างเหล่านี้กลับดูไม่เหมือนเซลล์สิ่งมีชีวิตสักนิด ออกไปในแนวคล้ายรอยแยกในก้อนแร่มากกว่า
เมื่อเอาไปวิเคราะห์เพิ่ม พวกเขาก็พบว่ารอยแยกพวกนี้ประกอบตัวแร่หลักๆ 2 ตัว อันที่สีจางๆ หน่อย คือ แร่ควอร์ตซ์ ส่วนอันที่สีเข้มกว่า คือ แร่เฮมาไทต์ (hematite, แร่ชนิดหนึ่งของธาตุเหล็ก)
ก่อนหน้านี้เคยมีคนเอาหินที่สกัดจาก Apex Chert ไปวิเคราะห์เหมือนกัน แล้วพบว่ามันประกอบด้วยสารประกอยคาร์บอนซึ่งเป็นธาตุที่พบในสิ่งมีชีวิต Craig Marshall คิดว่าคาร์บอนที่นักวิทยาศาสตร์ในคราวนั้นเจอน่าจะมาจากแร่หรือสารประกอบที่เกาะอยู่บนพื้นผิวของหินมากกว่า นอกจากนี้ ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีการแปลผลผิด เนื่องจากเทคนิกวิธีที่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนั้นใช้ไม่สามารถบ่งบอกความแตกต่างของคาร์บอนกับเฮมาไทต์ได้ชัดเจน
อย่างไรก็ดี ความเป็นไปได้ที่ทีมของ Craig Marshall จะสรุปผิดก็ยังมีอยู่ พวกเขาอาจจะแค่โชคร้ายหยิบไปโดนเฉพาะชิ้นตัวอย่างที่ไม่มี "ฟอสซิล" มาก็ได้ แม้ว่าความเป็นไปได้นี้จะน้อยมากก็ตาม เพราะพวกเขาเก็บตัวอย่างหินมาถึงกว่า 60 กิโลกรัม
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เคยเสนอว่าโครงสร้างนี้เป็นของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน กำลังเตรียมการหาข้อมูลมาคัดง้างข้อสรุปของ Craig Marshall อยู่ เป็นไปได้ว่าเราอาจจะต้องรออีกสักหน่อยกว่าจะเห็นข้อมูลดังกล่าว แต่ถ้าหามาได้ ผมรับรองว่ามีสนุกแน่
(เชื่อมั้ย? ผมเคยต้องท่องรูปนี้ไว้ตอบข้อสอบด้วย ตอนนี้ผมยังช็อคกับข่าวนี้อยู่เลย "แว้ก! ที่-ูท่องมามันของเก๊เหรอเนี่ย?!")
หากงานวิจัยนี้เป็นของจริง ไม่ใช่แค่ตำราชีววิทยาทุกเล่มจะต้องเปลี่ยนรูปใหม่ (บางเล่มอาจต้องเปลี่ยนทั้งบท) พวกโครงการหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวก็ต้องหันมาทบทวนวิธีกันใหม่ด้วย
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1678 | เหวอ! ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดในโลกกลายเป็นแค่ก้อนหินธรรมดา |