content
stringlengths 2
11.3k
| url
stringlengths 26
27
| title
stringlengths 3
125
|
---|---|---|
พาดหัวข่าว "...คอนเสิร์ตบรรเลงเพลงให้ต้นไม้ฟัง" ผมไม่ได้หมายถึงคอนเสิร์ตวันต้นไม้โลกอะไรแบบนั้นนะครับ ผมหมายถึง วงออร์เคสตราบรรเลงเพลงให้ "ต้นไม้" ฟังจริงๆ
คอนเสิร์ตครั้งนี้จัดโดย Royal Philharmonic Orchestra เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ Cadogan Hall ในกรุงลอนดอน นักดนตรีมืออาชีพ 33 คนร่วมกันบรรเลงเพลงคลาสสิกต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อหน้าผู้ชมที่เป็นต้นไม้กว่า 100 ชนิด
ตัวตั้งตัวตีในการริเริ่มคอนเสิร์ตนี้คือเว็บชอปปิ้งออนไลน์ QVC จุดประสงค์เพื่อที่จะทดสอบว่าคลื่นเสียงจากเสียงดนตรีสามารถทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้นจริงหรือไม่
เพลงที่บรรเลงในคอนเสิร์ตทั้งอัลบั้มสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก QVC และต้นไม้ที่เข้าร่วมฟังคอนเสิร์ตก็ถูกนำออกมาขายด้วย
ที่มา PhysOrg (AFP) | https://jusci.net/node/1679 | วงออร์เคสตราจัดคอนเสิร์ตบรรเลงเพลงให้ต้นไม้ฟัง |
รายงานว่าความอ้วนนั้นเกี่ยวเนื่องกับโรคต่างๆ เช่นหลอดเลือดหัวใจ, เบาหวาน, และความดันสูง แต่ล่าสุดรายงานการศึกษาคนที่เป็นโรคอ้วนจำนวน 150 คนพบว่าโรคอ้วนอาจจะเป็นสาเหตุของความจำและระดับความคิดที่ลดลง
การศึกษานี้อาศัยข้อมูลจากผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคอ้วน 150 คนที่กำลังเข้ารับการผ่าตัดลดน้ำหนักเพื่อทำการทดสอบการรับรู้ พบว่าคนกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับล่างของเส้นปรกติ โดยเกือบหนึ่งในสี่อยู่ต่ำกว่าเส้นผิดปรกติไป
ผ่านไปสามเดือน กลุ่มทดสอบจำนวนหนึ่งเข้ารับการผ่าตัดและลดน้ำหนักได้ประมาณ 22 กิโลกรัม เมื่อทดสอบอีกครั้งพบว่าผลการทดสอบดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มที่น้ำหนักลดนี้สามารถทำคะแนนทดสอบได้ระดับเฉลี่ยหรือดีกว่าค่าเฉลี่ยในการทดสอบ ขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดกลับทำคะแนนเฉลี่ยได้แย่กว่าการทดสอบครั้งแรกเสียอีก
ทีมวิจัยศึกษาไปถึงความเกี่ยวเนื่องภายในของผลนี้ พบว่าสารชี้บ่งอาการอักเสบที่ชื่อว่า C-reactive protien - CRP (PDF) นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเนื้อขาว (white matter) โดยในคนเป็นโรคอ้วนและเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นจะมีระดับของ CRP สูงกว่าคนทั่วไป และในคนในมี CRP ในเลือดสูงเหล่านี้จะพบการผิดปรกติของชั้นป้องกันของเนื้อขาวได้บ่อยขึ้น ซึ่งอาจจะแสดงถึงอาการเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไป
ว่าแล้วก็ได้เวลาลด
ที่มา - Science News | https://jusci.net/node/1680 | ความอ้วนเกี่ยวข้องกับความจำและความคิดที่ลดลง |
วันที่เกิดแผ่นดินไหวที่พม่า พอเห็นข่าวแผนดินไหวในทวิตเตอร์ปุ๊บ ช่อง 9 ที่ดูผ่านดาวเทียม C-Band บ้านผมก็ดับไปด้วย (เยี่ยม)
มันเป็นเรื่องของหมากฝรั่ง (ที่จริงรายการนี้จะนำเสนอเรื่องราวออกไปทางด้านลบมากกว่าด้านบวกนะ) รู้ว่า หมากฝรั่งทำมาจาก โพลี่ไวนิล + สารปรุงแต่งอาหาร + น้ำตาล
ในเรื่องว่า โพลี่ไวนิล หรือสารปรุงแต่งอาหารพวกนี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายขนาดไหน ผมไม่ได้สนใจสักเท่าไหร่ แต่ที่สนใจคือ การเคี้ยวหมากฝรั่ง โดยเฉพาะหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของ ไซลิทอล และ/หรือ ซอร์บิทอล นั้นดีต่อสุขภาพช่องปากจริงหรือไม่
พอดูทางทีวีไม่ได้ เลยค้นหาในเน็ตดู เห็นมีคนบอกว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นมีดีคือ
ช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก (ในกรณีเป็นหมากฝรั่งไซลิทอล/ไซบิทอล)
ช่วยให้ฟันแข็งแรงขึ้น (ในกรณีเป็นหมากฝรั่งไซลิทอล/ไซบิทอล)
ช่วยให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
ช่วยลดอาการปวดท้องได้ด้วย
ช่วยให้คนไข้ผ่าตัดลำไส้หายเร็วขึ้น
ช่วยลดการกินจุบกินจิบ (ปากไม่ว่าง?)
ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้เร็วขึ้น (มาติดหมากฝรั่งแทน?)
ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด
ช่วยให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น
ก่อนหน้านี้ผมเคยอ่านการ์ตูนเรื่องการค้นพบหมากฝรั่งว่า
มีฝรั่งเดินทางไปในทวีปหนึ่ง (อเมริกาใต้?) ได้พบกับเด็กชาวพื้นเมืองที่เคี้ยวยางไม้ชนิดหนึ่ง (ยางซิคเคิล?) อยู่ แล้วพอดูดี ๆ เด็ก ๆ มีฟันที่ขาว มีสุขภาพดีทุกคน เลยไปสอบถาม แล้วได้มาเป็นหมากฝรั่งกันในทุกวันนี้
ผมอยากรู้ว่ามันมีข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน หรือแค่เป็นงานวิจัยเพื่อสนุบสนุนบริษัทขายหมากฝรั่งเท่านั้น?
ผมไม่ค่อยชอบเคี้ยวหมากฝรั่งสักเท่าไหร่ เคี้ยวไปนาน ๆ จะรู้สึกขมปาก และต้องหากระดาษหรืออะไรมาห่อหมากฝรั่งก่อนทิ้ง จะให้ทำแบบในรูปนี้ก็ไม่ไหวนะ - -"
‹ ทำไมผู้หญิงถึงชอบผู้ชายหน้าสวย?
100 สปีชี่ส์พลัดถิ่นอันน่าสะพรึงกลัว › | https://jusci.net/node/1681 | เคี้ยวหมากฝรั่งดีจริงหรือ? |
ในโลกนี้มีคนอยู่จำนวนหนึ่งที่เกิดมาพร้อมกับชีวิตที่ไม่ต้องรับรู้ความเจ็บปวดใดๆ เพราะว่าระบบประสาทของพวกเขาบกพร่องจึงทำให้สมองไม่สามารถแปลผลความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดกับร่างกายได้ อาการประหลาดนี้มีชื่อว่า "congenital analgesia"
ทีมวิจัยที่นำโดย Jan Weiss แห่ง University of Saarland ประเทศเยอรมนี ได้ทดสอบความสามารถรับรู้กลิ่นในคนที่เป็น congenital analgesia 3 คน โดยให้พวกเขาดมกลิ่นน้ำส้มสายชู balsamic, ส้ม, มิ้นต์, น้ำหอม, กาแฟ ผลปรากฏว่าคนเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของกลิ่มต่างๆ ได้ เหมือนคนปกติ
นักวิทยาศาสตร์ทราบกันอยู่แล้วว่าเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของคนที่เป็น congenital analgesia ขาด sodium ion channel ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Nav1.7 ช่องนี้ทำหน้าที่ช่วยในการส่งสัญญาณกระแสประสาทข้ามจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง ก่อนหน้านี้ก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนสงสัยอยู่ตะหงิดๆ แล้วว่าคนที่ขาด Nav1.7 น่าจะเสียความสามารถในประสาทสัมผัสสักอย่างสองอย่างเป็นอย่างน้อย ผลการวิจัยของ Jan Weiss ยืนยันได้ชัดเจนว่า Nav1.7 มีผลกับประสาทสัมผัสทางกลิ่นแน่ๆ แม้ว่าคนที่เป็น congenital analgesia จะรายงานว่าไม่รู้สึกเลยว่าตัวเองมีปัญหาก็ตาม
ทีมวิจัยของ Jan Weiss ยังทำการทดลองในหนูที่ดัดแปลงพันธุกรรมให้ขาดยีนที่ใช้สร้าง Nav1.7 ก็ได้ผลการทดลองว่าหนูไม่สามารถรับรู้ถึงกลิ่นต่างๆ ได้เช่นกัน เช่น เมื่อเอากลิ่นอาหารไปล่อ ก็ไม่มีการตอบสนอง, หรือเมื่อเอากลิ่นหมาจิ้งจอกฉีดเข้าไปในกรง ก็ไม่ตกใจ เป็นต้น เมื่อตรวจสอบดูก็พบว่าเซลล์ประสาทรับกลิ่นในจมูกของหนูยังถูกกระตุ้นได้ตามปกติ แต่สัญญาณประสาทเหล่านั้นไม่สามารถส่งผ่านเข้าไปแปลผลยังสมองได้
เป็นที่คาดกันอีกว่าคนที่เป็น congenital analgesia น่าจะมีความผิดปกติในประสาทสัมผัสด้านรสอาหารอีกอย่างด้วย เพราะประสาทรับรู้รสและกลิ่นมีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ยาแก้ปวดหลายชนิดก็มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Nav1.7 เป็นไปได้ว่าคนที่ใช้ยาพวกนี้อาจเจอผลข้างเคียงที่ไปรบกวนการทำงานของประสาทสัมผัสรับรู้กลิ่นด้วย อืม... จะเรียกว่าเป็นผลข้างเคียงดีหรือว่าสรรพคุณเพิ่มเติมดีนะ?
ที่มา - New Scientist, Live Science | https://jusci.net/node/1682 | คนไม่รู้จักเจ็บคือคนไม่รู้จักกลิ่น |
ระยะหลังมานี้ "การฝังเข็ม" (Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับการพูดถึงกันมากขึ้น มีงานวิจัยหลายอันแสดงให้เห็นว่าการฝังเข็มช่วยผู้ป่วยบางโรคได้อย่างมีนัยสำคัญ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Exeter, มหาวิทยาลัย Plymouth ของประเทศอังกฤษ และ สถาบันการแพทย์ตะวันออก (Institute of Oriental Medicine) ของประเทศเกาหลีใต้ ได้ทำการสุ่มตรวจสอบผลงานวิจัยย้อนหลังที่รายงานประสิทธิภาพของการฝังเข็มในการรักษาอาการปวดหลังช่วงล่างเรื้อรัง 266 บทความ จากนั้นก็คัดเลือกเอาเฉพาะอันที่เห็นว่ามีขั้นตอนที่น่าเชื่อถือตามหลักวิทยาศาสตร์ 56 บทความมาวิเคราะห์ผลการทดลอง
ปรากฏว่าการฝังเข็มช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับเฉพาะการรักษาธรรมดา แต่ที่น่าตกใจคือการฝังเข็มแบบที่เรียกว่า "Sham acupuncture" ซึ่งเป็นการฝังเข็มที่ไม่ได้เจาะเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปจริงๆ ก็ให้ผลเทียบเท่ากับการฝังเข็มแบบอื่น ในบางกรณีดีกว่าด้วยซ้ำ
นักวิจัยคิดว่าสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังผลการทดลองน่าจะเป็นเพราะ
ผลของการฝังเข็มเป็น Placebo effect อาการผู้ป่วยดีขึ้นเพราะผลทางจิตวิทยาที่ผู้ป่วยนึกไปเองว่าได้รับการรักษาเพิ่มเติมเป็นพิเศษ งานวิจัยหลายชิ้นก็แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของการฝังเข็มขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและความเอาใจใส่ต่อผู้ป่วยของแพทย์ผู้ทำการรักษาด้วย
หรือ
แพทย์ผู้ทำการรักษาแบบ Sham acupuncture สามารถถ่ายทอดพลังงานเข้าไปกระตุ้น "จุดในร่างกาย" (acupoints) ได้โดยไม่ต้องเจาะเข็มทะลุผิวหนัง
พูดแบบนี้ผมนึกถึงจอมยุทธ์ใช้พลังวัตรจี้สะกัดจุดแบบในหนังจีนกำลังภายในเลยอะครับ -_-' หวังว่าคงไม่ใช่แบบที่ผมคิดนะ
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่าการฝังเข็มก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ความเสี่ยงไม่ได้มาจากเทคนิคการฝังเข็มโดยตรง แต่เกิดจากความชำนาญและความระมัดระวังของแพทย์ที่ทำการรักษา (ผมควรจะเรียก "หมอฝังเข็ม" ว่าอะไรดี? ระหว่าง แพทย์ กับ ซินแส) ความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจได้รับหลังจากการฝังเข็มจัดเป็นกลุ่มๆ ได้เป็น 1) การติดเชื้อพวกแบคทีเรียและไวรัส 2) ความเจ็บปวดจากบาดแผล 3) อื่นๆ มีผู้ป่วยหลายรายที่มีอาการของโรคอื่นแทรกซ้อนเพิ่มเติมเพราะผลจากการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อในปอด
ที่มา - Science Daily, Live Science | https://jusci.net/node/1683 | เข็มจะฝังไม่ฝัง...การฝังเข็มก็ให้ผลเท่ากัน |
ผมคิดว่าคนอ่าน JuSci บางส่วน (และคงไม่ใช่ส่วนน้อยด้วย) ทำงานในแวดวงที่ต้องค้นคว้าวารสารวิชาการอยู่ประจำ ผมเห็น "ชื่อ" วารสารบางอันก็ดูแปลกๆ น่าสนใจดี บางคนอาจจะบอกว่า "don't judge the book by its cover" แต่กระทู้นี้ผมไม่สนแม้กระทั่งปกด้วยซ้ำ ผมจะเรียงอันดับวารสารในดวงใจด้วย "ชื่อ" เพียงอย่างเดียว ไม่สนใจเนื้อหา ไม่สน impact factor เอาเฉพาะอันที่ชื่อโดนใจ
สำหรับผม TOP 5 วารสารที่มีชื่อเจ๋งที่สุด ได้แก่
อันดับ 5 Nature
ชื่อนี้ผมชอบเพราะมันดูเป็นธรรมชาติดี ^^
อันดับ 4 Insectes Sociaux
ผมชอบชื่อนี้เพราะมันเกี่ยวกับแมลงและดูเป็นภาษาฝรั่งเศส (แต่ข้างในเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ) มันดูไฮโซดี แม้ผมจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันอ่านออกเสียงว่าอะไร
อันดับ 3 PAIN
ไม่เคยอ่าน paper มันเลย แต่ชื่อดูดิบดี ชอบ :)
อันดับ 2 Psyche
อันนี้ก็ไม่แน่ใจว่าอ่านว่าอะไร แต่ผมอ่านว่า /ไซ-คี/ ชอบชื่อนี้เพราะอะไรไม่รู้
อันดับ 1 Oikos
อันนี้ก็ไม่แน่ใจเรื่องอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่ผมอ่านว่า /ไอ-คอส/ สงสัยจะชอบเพราะฟังดูแล้วกรีกๆ ละตินๆ เวลาเห็นคำแล้วมันให้ความรู้สึกอบอุ่นผสมแข็งแกร่งยังไงไม่รู้ ความหมายของคำก็ดีด้วย หมายถึง "บ้าน" เป็นรากศัพท์ของคำว่า eco- ใน ecology และ economics
ของผมก็นึกออกได้เท่านี้แหละ มีแต่ของทางชีววิทยา เพราะไม่ค่อยได้อ่านของสาขาอื่น ใครรู้จักวารสารไหนชื่อเจ๋งๆ ช่วยบอกต่อที่ความเห็นด้านล่างด้วยครับ ผมอยากเห็นชื่อแปลกของสาขาอื่นเหมือนกัน แต่ขอเป็นเฉพาะชื่อวารสารวิชาการนะครับ วารสารธรรมดาเค้าต้องตั้งชื่อสะดุดตาไว้ขายตลาด mainstream อยู่แล้ว มันไม่ค่อยตื่นเต้น
‹ พบแร่ชนิดใหม่ในอุกกาบาตอายุสี่หมื่นห้าพันล้านปี
เคี้ยวหมากฝรั่งดีจริงหรือ? › | https://jusci.net/node/1684 | ชื่อวารสารในดวงใจ |
ถ้าอยากได้มุกขำ ๆ ไปใช้ในวัน April Fool แล้วล่ะก็ มีงานวิจัยหนึ่งพบว่า การฝ่าฝืนกฎทั่วไปต่าง ๆ รวมถึงการฝ่าฝืนศีลธรรมจะทำให้คนหัวเราะออกมาได้
การทดลองคือ ให้ผู้ร่วมทดลองอ่านเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์คู่หนึ่ง โดยสถานการณ์แรกจะเป็นเรื่องที่ฝ่าฝืนศีลธรรม เช่น พระชาวยิวสนับสนุนการบริโภคเนื้อหมู ในขณะที่อีกอันไม่มี ผลก็คือ สถานการณ์แรกนั้นมีคนหัวเราะกับมันมากกว่า ในอีกการทดลองที่เชื่อว่า เรื่องการฝ่าฝืนศีลธรรมที่ไม่ร้ายแรงนั้นจะน่าขบขันมากกว่า และผลทดลองก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ
ถ้าผู้คนอยู่ห่างจากการฝ่าฝืนศีลธรรมในทางจิตวิทยามากขึ้น ก็จะขบขันกับเรื่องนั้นมากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้ามันดูเหมือนจริงมากเกินไป มันจะไม่ขำ แต่ถ้าดูไม่น่าเชื่อ มันจะน่าขบขันขึ้น (อย่าไปเล่าเรื่อง "พระชาวยิวสนับสนุนให้บริโภคเนื้อหมู" ให้ชาวยิวฟัง นอกจากมันจะไม่ขำแล้ว คุณอาจต้องทนกินน้ำข้าวต้มไปอีกหลายเดือน)
ดังนั้น ถ้าจะสร้างอารมณ์ขันให้แก่ใคร ก็ใส่เรื่องเกี่ยวกับการฝ่าฝืนศีลธรรมลงไปด้วย แต่อย่าลืมว่าต้องไม่มีอันตรายด้วยนะ
ที่มา: APS | https://jusci.net/node/1685 | อยากให้ตลก เล่าเรื่องเกี่ยวกับการฝ่าฝืนศีลธรรมสิ |
การค้นหาพลังงานทดแทนนั้นแม้จะมีหนทางที่พอเป็นไปได้อยู่หลายทาง แต่อีกทางหนึ่งที่เคยถูกลืมไปนานคือสังเคราะห์แสงเทียม (photosynthesis) ที่อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และน้ำ เพื่อแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน
กระบวนการนี้ทำสำเร็จครั้งแรกเมื่อสิบปีที่แล้ว แต่ต้องใช้โลหะพิเศษที่มีราคาแพงและอายุการใช้งานสั้น แต่ทีมของ Daniel Nocera จาก MIT ก็ได้ปรับปรุงกระบวนการโดยใช้สารตั้งต้นเป็นนิเกิล และโคบอล
ไฮโดนเจนและออกซิเจนที่ได้ สามารถนำไปใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ต่อไป อย่างไรก็ตามเซลล์เชื้อเพลิงเองยังต้องการการปรับปรุงอีกมากกว่าจะนำมาใช้งานจริงขนาดใหญ่ๆ ได้ และระบบสังเคราะห์แสงแบบนี้ก็ยังไม่มีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับเซลล์แสงอาทิตย์แบบเดิมๆ ที่เราใช้กันอยู่ สิ่งที่เราอาจจะได้มากจริงๆ จากระบบนี้คือการเก็บพลังงานในรูปแบบก๊าซ์นั้นน่าจะเก็บได้ง่ายกว่าการกักเก็บในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าอยู่พอสมควร
ที่มา - ACS | https://jusci.net/node/1686 | MIT สร้างใบไม้เทียมสำเร็จ, หรือนี่จะเป็นแหล่งพลังงานใหม่ |
ในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับวิกฤติอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมา นอกจากเรื่องข่าวลือเตาปฏิกรณ์ระเบิดหรือดารา AV คนนั้นคนนี้ตายแล้ว สิ่งหนึ่งที่สร้างความสับสนให้กับผู้ติดตามข่าวก็คือหน่วยต่างๆ เกี่ยวกับการวัดปริมาณกัมมันตรังสี บางหน่วยก็ต่างคนละความหมาย บางอันก็ตัวเดียวกันแต่มีบางประเทศที่คิดว่าตัวเองเป็นเจ้าโลกเลยไม่ยอมใช้หน่วยมาตรฐานแบบประเทศอื่นๆ [RACIST ALERT!!] บางอันยังมีเติมหน้ามิลลิกับไมโครให้งงเพิ่มอีก
หน่วยที่โผล่เข้ามาในข่าวช่วงนี้มีสำคัญๆ อยู่ 6 ตัวด้วยกัน (อันอื่นก็สำคัญเหมือนกัน แต่สำคัญสำหรับพวกนักวิทยาศาสตร์ เราก็ปล่อยเขาไปเถอะนะ) คือ sievert, rem, gray, rad, curie, becquerel ทั้งหมดนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการวัดปริมาณกัมมันตรังสีทั้งนั้น แต่สื่อกันคนละความหมาย คนละการใช้งาน ส่วนจะมีเติมหน้าอะไรบ้างก็ว่ากันไป เป็นเรื่องของการแปลงหน่วยตามปริมาณ เช่น ถ้าเติมหน้าด้วย micro- ก็แปลว่า หนึ่งส่วนล้าน, ถ้า milli- ก็หนึ่งส่วนพัน เป็นต้น (อ่านเรื่องเกี่ยวกับการแปลงค่าด้วยคำนำหน้าหน่วยตามหลัก SI ได้จาก Wikipedia)
เพื่อให้ง่าย ผมขอจัดความหมายของหน่วยพวกนี้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรกเป็นหน่วยวัดปริมาณกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ได้แก่ becquerel และ curie โดยทั้งสองหน่วยนี้แปลงกลับไปกลับมาได้จากสูตร
1 curie = 37,000,000,000 becquerels = 37 Gigabecquerels (GBq)
ในสองอันนี้ หน่วยที่เป็นมาตรฐานหรือหน่วย SI คือ becquerel (Bq) ซึ่งตามคำนิยามหมายถึงจำนวนนิวเคลียสของสารกัมมันตรังสีที่แตกตัวในหนึ่งวินาที (decays per second) เช่น ถ้าสมมติบอกว่า โพแทสเซียม-40 มวล 1 กิโลกรัมมีกัมมันตรังสี 31.825 kilobecquerels ก็แปลว่าในหนึ่งวินาที โพแทสเซียมก้อนนี้มีนิวเคลียสแตกตัว 31,825 นิวเคลียส เป็นต้น ส่วน Curie หรือ Ci เป็นการวัดเทียบกับการแตกตัวของเรเดียม-226 ปริมาณ 1 กรัม
กลุ่มที่สองเป็นหน่วยวัดปริมาณกัมมันตรังสีที่วัตถุดูดซับเข้าไป ได้แก่ gray และ rad
1 gray (Gy) = 100 rad
[ผมว่าหน่วยนี้จำง่ายสุดแล้ว จำว่า 1 เกย์ เท่ากับ 100 ชะนี เอ๊ย แรด...lol... SEXIST ALERT!]
ในสองอันนี้ gray เป็นหน่วย SI คำนิยามของ gray คือปริมาณพลังงานที่วัตถุ 1 กิโลกรัมดูดซับกัมมันตรังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน (ionizing radiation) เข้าไป เช่น ถ้าเราบอกว่าผักเข่งนี้ดูดซับรังสีเข้าไปแล้ว 100 milligray ก็แปลว่า ผัก 1 กิโลกรัมรับกัมมันตรังสีเข้าไปเทียบเท่ากับพลังงาน 0.1 joule
(100 milligray = 0.1 gray)
กลุ่มที่สามเป็นหน่วยวัดปริมาณกัมมันตรังสีที่วัตถุดูดซับเข้าไปเหมือนกับกลุ่มที่สอง แต่จะเน้นเปรียบเทียบกับผลกระทบทางด้านชีววิทยาในสิ่งมีชีวิต หน่วยในกลุ่มนี้ ได้แก่ sievert และ rem (roentgen equivalent in man)
1 sievert = 1,000 millisievert = 100 rem
เวลาจะอ้างอิงถึงผลกระทบที่เกิดกับร่างกายมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ก็จะใช้หน่วย sievert หรือ rem เป็นหลัก (sievert เป็นหน่วย SI ส่วน rem เป็นหน่วยที่ใช้กันแพร่หลายเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา เฮ้ย! ตายแล้ว ผมเผลอบอกชื่อประเทศเจ้าปัญหาไปแล้วใช่ปะ) ดังนั้นหน่วย sievert จึงเป็นหน่วยแรกๆ เลยที่เราได้เห็นในข่าว เนื่องจากสิ่งที่(นักวิทยาศาสตร์และนักข่าวคิดว่า)คนทั่วไปอยากรู้ คือ ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพ ใครจะไปสนว่าธาตุนี้ธาตุนั้นสลายตัวเท่าไร? ปล่อยรังสีชนิดอะไรออกมาบ้าง? ข่าวที่ขายได้มันต้องรายงานว่ามีกัมมันตรังสีเท่าไหนแล้วคนถึงจะตาย พิการ ตกงาน บ้านแตกสาแหรกขาด หรือล้มละลาย (สามอาการหลังไม่เกี่ยวเลย)
ถึงตรงนี้คงจะสงสัยว่า "ทำไมไม่รายงานเป็น gray หรือ rad ให้หมดเลยหละ? จะยุ่งยากบอกเป็น sievert ทำไม" คำตอบมันมีอยู่ว่า รังสีแต่ละชนิดมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตไม่เหมือนกันแม้ว่าจะมีในปริมาณเท่ากันก็ตาม เช่น รังสีแอลฟามีอานุภาพทำลายเซลล์ได้มากกว่ารังสีเอ๊กซ์และรังสีแกมมา เป็นต้น และเนื้อเยื่อแต่ละชนิดก็ได้รับผลกระทบไม่เท่ากันอีก ดังนั้นการจะรายงานเพียงแต่ปริมาณพลังงานที่วัตถุก้อนหนึ่งดูดซับเข้าไปเป็น gray จึงไม่ค่อยชี้ให้เห็นอะไรในทางชีววิทยา จำเป็นต้องเทียบค่าถ่วงน้ำหนักตามผลกระทบให้เป็น sievert หรือ rem ก่อน
โดยคร่าวๆ สำหรับร่างกายมนุษย์แล้ว
ถ้าเป็นการดูดซับรังสีเอ๊กซ์หรือรังสีแกมมา 1 rad = 1 rem = 10 mSv (millisievert)
ถ้าโดนนิวตรอนวิ่งชน 1 rad = 5-20 rem = 50-200 mSv (ขึ้นอยู่กับพลังงาน)
ถ้าเป็นรังสีแกมมา 1 rad = 20 rem = 200 mSv
เพิ่มเติมอีกสักหน่อยเกี่ยวกับเรื่องผลของกัมมันตรังสีต่อสุขภาพ จริงๆ ผลของกัมมันตรังสีต่อสุขภาพระยะยาวยังเป็นที่ถกเถียงกันมากในวงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะกัมมันตรังสีในระดับน้อยๆ แต่ถ้าเป็นระดับที่มากพอให้เห็นผลเฉียบพลัน อันนี้นักวิทยาศาสตร์จะรู้ดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเห็นผลง่าย เช่น ถ้าใครรับเกิน 500 mSV จะมีอาการกัมมันตรังสีเป็นพิษ (radiation poisoning) ทันที, หรืออย่างที่ตอนระเบิดนิวเคลียร์ลงฮิโรชิม่า ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่ได้รับรังสี 4,500 mSv ตายด้วยพิษกัมมันตรังสีเฉียบพลัน เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำได้เกี่ยวกับภัยกัมมันตรังสีระยะยาวจึงเป็นแค่การเตือนว่า "หากได้รับ[เท่านั้นเท่านี้]แล้วอาจจะมีอันตรายถึงขั้นเป็นมะเร็ง(นะจ๊ะ)" อารมณ์ว่าขอปลอดภัยไว้ก่อน ซึ่งต้องนับว่าเป็นเรื่องดีเพราะประชาชนจะได้ระมัดระวังตัว ("ระมัดระวังตัว" กับ "ตื่นตระหนก" ต่างกันนะครับ) นอกจากนี้ระยะเวลาในการรับกัมมันตรังสีก็มีผล โดยทั่วไปคนที่โดนกัมมันตรังสีปริมาณหนึ่งๆ ในเวลาสั้นจะได้รับผลมากกว่าคนที่ได้รับกัมมันตรังสีเท่ากันแต่ค่อยๆ ผ่อนรับเป็นระยะเวลานาน ในบางกรณีผลกระทบอาจต่างกันได้มากถึง 2-10 เท่า
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1687 | อธิบายหน่วยที่เกี่ยวกับการวัดกัมมันตรังสี: gray, sievert, becquerel |
หน้าเว็บรวบรวมสปีชี่ส์พลัดถิ่นที่กำลังทำลายระบบนิเวศน์ครับ(ไม่รวมมนุษย์)
100 of the World's Worst Invasive Alien Species
สปีชี่ส์เหล่านี้กำลังสร้างปัญหากับระบบนิเวศน์(รวมถึงการเกษตร, เศรษฐกิจ ฯลฯ)ที่มันย้ายไป ความรุนแรงอาจจะวัดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นครับ เช่นปลาบางชนิดย้ายไปถึงก็สวาปามปลาท้องถิ่นจนถึงขั้นสูญพันธ์, หอยแมลงภู่ที่มีจำนวนมากจนพอกตัวหนาเป็นชั้นบนพื้นทะเลสาปเกือบทุกตารางนิ้วจนสัตว์น้ำบางชนิดไม่สามารถหาอาหารได้ หรืออย่างเช่นพืชที่ขยายพันธ์ได้อย่างรวดเร็วจนกำจัดให้หมดไปได้อย่างยากลำบาก
ถึงแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่นับฝีมือมนุษย์ด้วยก็ตาม โดยมากแล้วกลับเป็นมนุษย์นี่แหละครับที่เป็นคนอาสาขนพืชและสัตว์เหล่านี้ไปยังภูมิประเทศต่างๆ (อย่างเช่นสมัยชาวยุโรปขนม้าและปศุสัตว์อื่นๆเข้าไปที่ทวีปอเมริกาเหนือแล้วไม่ลืมเอาหนูไปด้วย) แต่ก็มีแบบขึ้นเครื่องไปเองได้เลยอย่างเช่นงูบางชนิดที่แอบขดตัวไปกับช่องเก็บล้อของเครื่องบินโดยไม่ตั้งใจครับ
ไม่แน่ใจว่าอันดับเหล่านี้จะเก่าแล้วหรือยังครับ แต่ถ้าดูจาก list รูปสุดท้ายดูเหมือนจะเป็นหอยทากที่กำลังอาละวาดหนักในสิงคโปร์ขณะนี้ครับ
เพิ่มเติม:
Howstuffworks: How invasive species work,
"Siam weed" in Nigeria
‹ เคี้ยวหมากฝรั่งดีจริงหรือ?
ชื่อวารสารในดวงใจ › | https://jusci.net/node/1688 | 100 สปีชี่ส์พลัดถิ่นอันน่าสะพรึงกลัว |
มอเตอร์โชว์ยังต้องหลีกทางให้ !! เมื่อใครจะเชื่อว่ากล้วยและสัปปะรดจะเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ได้
ผลงานช้ินอร่อยนี้ต้องยกให้นักวิทยาศาสตร์จากบราซิลจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ที่เล็งเห็นว่าไฟเบอร์จากพืชผักผลไม้นี่แหละ สามารถทำให้วัสดุแข็งแรงกว่า เบากว่า และแถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไฟเบอร์ซึ่งได้มาจากกล้วยและสัปปะรดนี้ถูกใช้นำมาใช้แทนชิ้นส่วนพลาสติกในรถยนต์ เช่น ส่วนที่เป็นคอนโซล, กันชน หรือแม้กระทั่งตัวถังด้านข้าง
ไฟเบอร์ที่ว่านี้เรียกแบบเท่ห์ๆ ว่า นาโนเซลลูโลส (nano cellulose) ซึ่งแข็งพอๆ กับเคฟลาที่ใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุน ด้วยคุณสมบัติเบากว่าพลาสติก 30 เปอร์เซนต์ แต่แข็งแรงกว่า 3-4 เท่า จึงช่วยลดน้ำหนักของรถยนต์ได้และผลที่ตามมาคือการประหยัดน้ำมัน
มันจะอร่อย เอ๊ย !! ได้มาตรฐาน มอก. หรือเปล่า ไม่ต้องห่วงเพราะมันได้ผ่านการทดสอบ ว่าสามารถทนความร้อน ก๊าซ น้ำ และ อ๊อกซิเจน ไม่ต้องกลัวว่าจะมีอะไรรั่วซึม เรียกว่าสามารถใช้ทดแทนพลาสติกได้เลยทีเดียว (ที่แน่ๆ ไม่เป็นสนิมแน่ๆ ~ผู้เขียน)
ไหนๆ ก็ไหนๆ ละแม้ขอโม้หน่อยเหอะ ในอนาคตไม่แน่ นาโนเซลลูโลส (nano cellulose) อาจถูกนำมาใช้แทนชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กในรถยนต์ หรือแม้กระทั่งในทางการแพทย์ ก็อาจจะใช้ทำวาล์วหัวใจเทียม หรือข้อต่อเทียมต่างๆ
เห็นอย่างนี้แล้ว ที่แน่ๆ คงไม่เห็นใครเอากล้วยกับสัปปะรดมาเททิ้ง เพื่อประท้วงราคาตกต่ำเป็นแน่ เนอะ
ที่มา - PhysOrg.com | https://jusci.net/node/1689 | รถยนต์รสผลไม้มาแล้วจ้า !! |
Jacob Barnett ผู้ซึ่งถูกวินิจฉัยว่ามีอาการ Asperger's Syndrome กำลังจะเขียนทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ขึ้นมาใหม่ เด็ก 12 ขวบคนนี้มีไอคิวสูงถึง 170 เวลาว่างนอกจากติววิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ให้เพื่อนนักศึกษาแล้ว Jacob Barnett หรือชื่อเล่น Jake ก็จะนั่งคิดค้นแก้ปัญหาทฤษฏีต่างๆ ไปเรื่อย
อาการ Asperger's Syndrome เป็นอาการออทิสติกแบบอ่อนๆ เด็กที่เป็น Asperger จะมีพัฒนาการในทางภาษาใกล้เคียงกับคนปกติและมีความสามารถพิเศษบางอย่างเหนือระดับคนธรรมดาทั่วไป ตามประวัติครอบครัวของ Jacob Barnett ไม่มีใครเคยมีอาการนี้หรือเป็นอัจฉริยะแต่กำเนิดมาก่อนเลย
ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ Jacob Barnett ก็ออกจากโรงเรียนประถมมาเป็นนักศึกษาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยอินเดียนา เขาเรียนรู้พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส ฯลฯ ด้วยตนเองในเวลาเพียง 1 อาทิตย์ สี่ปีผ่านไปหลังจากเรียนฟิสิกส์ชั้นสูงจนทะลุปรุโปร่งแล้ว อาจารย์ของภาควิชาฟิสิกส์จึงเสนอทุนให้เขาเป็นนักวิจัยปริญญาเอก โครงการวิจัยปริญญาเอกของ Jacob Barnett ก็คือการต่อยอดทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ เป้าหมายคือการสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพฉบับใหม่ที่ครอบคลุมอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้มากกว่าของเดิมที่ไอน์สไตน์ทิ้งไว้ให้เป็นมรดก
อย่างไรก็ดี พรสวรค์ของ Jacob Barnett ก็มาพร้อมกับข้อเสียร้ายแรง ผู้ปกครองของ Jacob Barnett เล่าให้ฟังว่า เขามีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ทันทีที่เขาปิดตาลงในตอนกลางคืน ภาพของตัวเลขจะวนเวียนขึ้นในสมองเขาตลอดเวลา ส่งผลให้เขาพักผ่อนได้น้อยมากในแต่ละคืน
ถ้าเป็นคนธรรมดานอนเห็นแต่ตัวเลขคงหมดอาลัยตายอยากในชีวิตไปแล้ว แต่ Jacob Barnett กลับใช้วิกฤติเป็นโอกาส ไหนๆ ก็ไม่ได้นอนอยู่แล้ว เลยเอาเวลาไปใช้คิดค้นทฤษฎีต่างๆ ต่อจากตอนกลางวันแทน ^o^
ที่มา - Daily Mail | https://jusci.net/node/1690 | เด็ก 12 ขวบจะสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพอันใหม่ |
ศาสตราจารย์ Alan Harvey และนักศึกษา Sarah Zukoff แห่ง Georgia Southern University ได้แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ที่น่าอัศจรรย์ของหนอนด้วงเสือ Cicindela dorsalis subsp. media
แรงบันดาลใจของงานวิจัยนี้มาจากการสังเกตหนอนตัวอ่อนของด้วงเสือซึ่งเป็นแมลงที่พบได้ทั่วไปในชายฝั่ง Eastern Beach ของจอร์เจีย เมื่อถูกรบกวน หนอนด้วงจะกระโดดขึ้นแล้วม้วนต้วกลางอากาศเป็นล้อที่พอแตะพื้นก็จะกลิ้งหลุนๆ ไปตามลม
ตอนแรกคนทั่วไปคิดว่าการที่ล้อหนอนด้วงเหล่านี้เคลื่อนที่ได้ด้วยพลังงานลมเป็นเรื่องบังเอิญ แต่งานวิจัยของ Alan Harvey และ Sarah Zukoff แสดงให้เห็นว่าหนอนจงใจเลือกกะเวลากระโดดในพอดีกับกระแสลม เมื่อดูจากภาพวิดีโอข้างล่างจะเห็นว่าจังหวะกระโดดและจังหวะลงแตะพื้น ตัวหนอนม้วนขดเป็นกงล้อสมบูรณ์แบบพอดิบพอดีเหมือนนักยิมนาสติกทีมชาติยังไงยังงั้น นอกจากนี้เมื่อกระแสลมพัดแรงขึ้น ประชากรหนอนก็มีแนวโน้มที่จะหมุนตัวเป็นล้อมากขึ้นด้วย
หนอนของด้วงเสือ Cicindela dorsalis media สามารถกลิ้งตัวเป็นล้อได้ระยะทางสูงสุดถึง 60 เมตร นักวิจัยประมาณความเร็วของล้อหนอนด้วงไว้อยู่ที่ 3 เมตรต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นสถิติความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกสำหรับตัวอ่อนแมลงบนพื้นดิน (โดยทั่วไปๆ ตัวเต็มวัยของด้วงเสือใน family Cicindelidae ก็วิ่งเร็วเหมือนกัน แต่ผมไม่แน่ใจว่าหนอนด้วงเสือชนิดอื่นๆ รวมถึงชนิดในบ้านเรากลิ้งเป็นล้อได้หรือไม่)
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานกันว่าหนอนด้วงเสืออาศัยกลยุทธ์ "ล้อลู่ลม" เป็นท่าไม้ตายในการหนีจากผู้ล่าตัวห้ำและตัวเบียน ดังนั้นการที่มนุษย์เข้าไปสร้างตึกรามบ้านช่องหรือตัดถนนเอารถไปวิ่งขวางทางลม ก็คงจะส่งผลกระทบต่อชีวิตหนอนด้วงไม่มากก็น้อย
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1691 | หนอนด้วงเสือ...ล้อพลังลม |
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2011 กล้องถ่ายรูปของยานสำรวจ MESSENGER (MErcury Surface, Space ENvironment, GEochemistry, and Ranging) ได้ถ่ายรูปพื้นผิวของดาวพุธเป็นครั้งแรกหลังจากที่เข้าสู่วงโคจรของดาวพุธตั้งแต่วันที่ 18 ในเดือนเดียวกัน
ภาพแรกถ่ายเมื่อเวลา 9:20 น. (ตามเวลามาตรฐานกรีนิช) เป็นภาพของหลุมเครเตอร์ Debussy และ Matabei ดูภาพข้างล่าง หลุมใหญ่ๆ ที่มีแฉกสีขาวพุ่งกระจายเกือบครึ่งฉาก คือ Debussy ส่วนหลุมเครเตอร์ Matabei เป็นหลุมขนาดเล็กที่มีแฉกเป็นสีทึบๆ อยู่ทางด้านตะวันตกของ Debussy
ภาพจาก NASA/Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory/Carnegie Institution of Washington
นอกจากภาพนี้แล้ว ในวันเดียวกันนั้น MESSENGER ยังถ่ายรูปส่งมายังโลกอีก 363 รูป ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน MESSENGER จะได้โคจรรอบดาวพุธเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และคาดกันว่าจะสามารถถ่ายรูปได้อีกประมาณ 75,000 รูป สุดท้ายรูปทั้งหมดก็จะถูกเอามารวมกันเพื่อสร้างแผนที่ดาวพุธที่สมบูรณ์
ที่มา - New Scientist, New York Times | https://jusci.net/node/1692 | MESSENGER ส่งภาพถ่ายแรกของพื้นผิวดาวพุธกลับมาแล้ว |
เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2011 ตัวแทนของสหภาพยุโรปได้เข้าร่วมประชุมกัน ณ กรุงบรัสเซลล์ เพื่อหาข้อตกลงเกี่ยวกับการติดฉลากเนื้อสัตว์ที่มาจากสัตว์โคลนนิง (Cloned animals)
ตั้งแต่ก่อนเปิดฉาก ที่ประชุมก็แบ่งแยกกันเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ขั้วแรกคือรัฐสภายุโรป (European Parliament) ซึ่งต้องการจะให้ติดฉลากบนสินค้าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ทำจากสัตว์โคลนนิงรวมถึงสัตว์ที่เป็นลูกหลานของมันด้วย ส่วนอีกขั้วเป็นด้านของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (European Union Council) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิก ด้านนี้เรียกร้องให้บังคับติดฉลากเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสัตว์โคลนนิงเท่านั้น ไม่ต้องรวมไปถึงลูกหลานของมัน
ทีแรก การต่อรองก็ดูเป็นไปด้วยดี เมื่อคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปยอมถอยให้หนึ่งก้าว โดยตกลงว่าจะบังคับให้ติดฉลากเนื้อจากสัตว์โคลนนิงให้หมดภายใน 6 เดือน ส่วนการติดฉลากผลิตภัณฑ์จากลูกหลานของสัตว์โคลนนิงจะทยอยบังคับใช้ไปเรื่อยๆ ให้ครบภายในเวลา 2 ปี
แต่รัฐสภายุโรปไม่พอใจกับข้อเสนอของคณะมนตรีฯ จึงยังยืนตามคำขาดของตัวเองต่อไปที่จะต้องติดฉลากสินค้าทุกอย่างที่มาจากสัตว์โคลนนิงและลูกหลานให้หมดโดยพร้อมเพรียงกันเป็นอย่างน้อย ตัวแทนของรัฐสภายุโรปบ่นกระปอดประแปดว่า "หงุดหงิดมากที่คณะมนตรีฯ ไม่ยอมฟังเสียงสาธารณชนแม้แต่นิด"
ก่อนหน้านี้ในปี 2008 ได้มีการสำรวจประชาชนของประเทศในสหภาพยุโรปจำนวน 25,000 คน 58% เห็นว่าการโคลนนิงสัตว์เพื่ออาหารเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น 83% เห็นด้วยกับการติดฉลากเนื้อสัตว์ที่มาจากสัตว์โคลนนิง และ 63% บอกว่าไม่คิดจะซื้ออาหารที่ทำจากสัตว์โคลนนิง
งานนี้คนที่ควรจะเป็นตัวกลางอย่างคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ก็ไม่สามารถช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ หนำซ้ำรัฐสภายุโรปยังมองด้วยว่าคณะกรรมาธิการยุโรปไม่เป็นกลางจริง มีแอบเข้าข้างคณะมนตรีฯ ในหลายๆ ประเด็น
ตัวแทนของคณะมนตรีฯ ก็ยอมรับว่าเหนื่อยใจกับความรั้นของรัฐสภายุโรปเหมือนกัน เพราะตามรายงานของ European Food Safety Authority (EFSA) ก็สรุปไว้แล้วว่าสัตว์ที่เป็นลูกหลานของสัตว์โคลนนิงไม่ได้มีความแตกต่างจากสัตว์ที่เกิดจากพ่อแม่สัตว์ธรรมดาเลย กระทั่งเนื้อหรือนมจากสัตว์โคลนนิงเองก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากเนื้อนมของสัตว์ที่เกิดจากธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามรัฐสภายุโรปก็แย้งว่าในรายงานเดียวกับที่คณะมนตรีฯ อ้างนั้นได้มีชี้แจงไว้ด้วยว่าการศึกษาถึงผลกระทบของอาหารจากสัตว์โคลนนิงยังมีไม่มากพอ ตัวแทนของรัฐสภายุโรปแขวะว่า เหตุผลลึกๆ ที่คณะมนตรีฯ กับคณะกรรมาธิการฯ ไม่ยอมรับข้อเสนอของรัฐสภายุโรปเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ
สรุปทั้งคืนนั้น ทั้งสองฝ่ายก็เถียงกันไปมา ต่างก็โทษว่าอีกฝ่ายทำเสียเรื่อง ถ้านับกันตั้งแต่ที่ประเด็นนี้ถูกยกขึ้นมาครั้งแรก สหภาพยุโรปได้ถกเถียงเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมายาวนานกว่าสามปีแล้ว ความล้มเหลวครั้งนี้แปลว่ามีโอกาสที่เราจะได้เห็นฉากเดิมๆ อีกครั้งในการประชุมรอบหน้า
ที่มา - Scientific American | https://jusci.net/node/1693 | แค่เรื่องเนื้อสัตว์โคลนนิง...สหภาพยุโรปทะเลาะกันทั้งคืนไม่จบ |
จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เผยว่าผู้หญิง 32.9% เคยมีภาวะไม่สบอารมณ์หลังจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ที่หนักไปกว่านั้น อีกกว่า 10% บอกว่าตนเองประสบภาวะดังกล่าวเป็นประจำหรือเกือบทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย
ภาวะไม่สบอารมณ์หลังมีเพศสัมพันธ์ (postcoital dysphoria) เป็นได้ตั้งแต่ความรู้สึกเหนื่อยเพลีย, หงุดหงิด, วิตกกังวล จนถึงอาการเศร้าสร้อยและเจ็บปวดน้ำตานองหน้า ศาสตราจารย์ Robert Schweitzer ผู้นำทีมวิจัย ยอมรับว่าแม้แต่ตัวเขาก็ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ชี้ให้เห็นเลยว่าภาวะเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยพฤติกรรมอื่นๆ อย่างดีที่สุดก็คือความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับการล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ที่ตอบแบบสอบถามคนหนึ่งบอกเลยว่าขนาดร่วมรักกับคนที่ตัวเองรักใคร่ชอบพอ ก็ยังเกิดภาวะเศร้าสร้อยตามมาอยู่ดี
Robert Schweitzer สันนิษฐานว่าความเครียดทางจิตน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย ส่วนอะไรที่ทำให้ผู้หญิงเกิดความเครียดนั้นยังคงเป็นปริศนาต่อไป
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1694 | ผู้หญิง 1 ใน 3 เคยมีภาวะไม่สบอารมณ์หลังมีเพศสัมพันธ์ [18+] |
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มากๆ เช่นสหรัฐฯ นั้นมีภาระการนำเข้าน้ำมันดิบมากถึงปีละ 1,300 ล้านลิตร แต่แผนการล่าสุดของประธานาธิบดีโอบามานั้นจะลดการนำเข้าลงเรื่อยๆ ไปจนเหลือสองในสามในปี 2025 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า
ในแง่ของการลดโลกร้อนอาจจะไม่ใช่เรื่องน่ายินดีนัก เพราะแผนนี้เป็นการกระจายความเสี่ยงจากน้ำมันไปยังแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่ปล่อยคาร์บอนเช่น ไบโอดีเซลล์, และก๊าซธรรมชาติรวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ดีแผนยังรวมถึงการบังคับใช้รถยนต์ประสิทธิภาพสูง, การสนับสนุนการพัฒนาและวิจัยยานยนตร์แบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น, การสร้างมาตรฐานพลังงานสะอาด, ลดค่าไฟให้กับบ้านที่มีประสิทธิภาพสูง
สุดท้ายคือตัวรัฐบาลกลางเองนั้นจะมีการเปลี่ยนรถไปใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวสำนักงานต่างๆ ที่ขึ้นตรงต่อตัวประธานาธิบดีนั้นจะซื้อรถใหม่เป็นรถที่ใช้พลังงานทางเลือกหรือรถไฮบริดทั้งหมดในปี 2015
บ้านเราอาจจะมีปัญหากลับกันกับสหรัฐฯ เพราะบ้านเรานั้นใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตพลังงานสูงมากจนน่ากังวลต่อความมั่นคงทางพลังงานกันแล้ว
ที่มา - Whitehouse.gov | https://jusci.net/node/1695 | โอบามาประกาศในปี 2025 สหรัฐจะลดการนำเข้าน้ำมันลงหนึ่งในสาม |
เว็บไซต์ Life's Little Mysteries ได้รวบรวมเรื่องราวการโกหกเชิงวิทยาศาสตร์ในวัน April Fools' Day ครั้งใหญ่ที่สุด 5 อันดับ เรื่องราวเหล่านี้บางอันก็เป็นรายการถ่ายทอดทางวิทยุโทรทัศน์ บางอันก็เป็นบทความตีพิมพ์ลงนิตยสารหรือวารสาร ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยว่าแต่ละเรื่องมีคนจำนวนมากหลวมตัวเชื่อเข้าไปจริงๆ แม้ว่าจะฟังดูตลกพิลึกพิลั่นแค่ไหนก็ตาม
ดาวพลูโตลดแรงโน้มถ่วงโลก
ในปีวันที่ 1 เมษายน 1976 นักดาราศาสตร์ชื่อ Patrick Moore ได้ประกาศผ่านทางสถานีวิทยุ BBC Radio 2 ว่าเวลา 9.47 น. ของวันนั้น ดาวพลูโต (ตอนนั้นยังเป็นดาวเคราะห์อยู่), ดาวพฤหัส และโลกจะเรียงตัวกับเป็นเส้นตรงพอดี เขาแนะให้ผู้ฟังลองไปกระโดดในช่วงเวลาดังกล่าว อ้างว่าในขณะวินาทีนั้นแรงโน้มถ่วงของโลกจะน้อยลงชั่วคราว คนที่กระโดดจากพื้นในจังหวะที่พอดีจะสามารถรู้สึกได้ว่าตัวเองลอยสูงกว่าทุกวัน หลังจากออกอากาศไป เวลา 9.48 น. สายโทรศัพท์ของสถานีแทบไหม้ เพราะมีแต่คนโทรเข้ามาบอกเล่าประสบการณ์ "ตัวลอย" กันยกใหญ่
นกเพนกวินบินได้
ในปีวันที่ 1 เมษายน 2008 ดาราชื่อดัง Terry Jones ออกมาทำหน้าที่พิธีกรสารคดีโดยแต่งตัวและทำท่าเลียนแบบ David Attenborough พิธีกรสารคดีชีวิตสัตว์ชื่อดัง ในสารคดี Terry Jone พาไปดูนกเพนกวินบนเกาะแห่งหนึ่งใกล้กับแอนตาร์กติกา เขาบอกว่านกเพนกวินนี้เป็นนกเพนกวินพิเศษเพราะมันทำสิ่งที่เพนกวินอื่นทำไม่ได้ พอสิ้นประโยค นกเพนกวินเหล่านั้นก็กระโดดๆ แล้วโผบินขึ้นไปทั่วท้องฟ้า ดูคลิปได้จาก Youtube
ถ้าผมเดาไม่ผิดส่วนหนึ่งในคลิปนี้ได้กลายไปเป็นโฆษณา Linux ตัวหนึ่ง ด้วย (หรือว่ามันเป็นโฆษณา Linux อยู่ก่อนแล้ว?)
ส่งอีเมล์ด้วยพลังจิต
นิตยสาร Red Herring ฉบับเดือนเมษายน ปี 1999 ได้ลงบทความอันหนึ่งเกี่ยวกับการส่งข้อความอีเมล์ด้วยพลังจิต ตัวบทความอ้างถึงนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่ชื่อว่า Yuri Maldini ได้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเพื่อให้ทหารสหรัฐอเมริกาใช้ติดต่อกันในสงครามอ่าว แน่นอนหลังจากวางแผง จดหมายจากผู้สนใจก็ไหลล้นเข้ามาท่วมกอง บก. ของนิตยสาร Red Herring จนแทบทะลักสำนักพิมพ์ (อันนี้ผมคิดว่าถ้าขุดเอามาใช้ใหม่ก็คงมีคนเชื่อนะ เพราะเดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีใช้คลื่นสมองบังคับอะไรได้ตั้งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ รถเข็น หรือแม้แต่รถยนต์)
ค้นพบซากฟอสซิลมังกร
วัน April Fools' Day ปี 1998 นิตยสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง Nature ก็เอากับเขาด้วยเหมือนกัน ในนิตยสารฉบับออนไลน์วันนั้น มีบทความหนึ่งพูดถึงการค้นพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งชื่อว่า Smaugia volans ซึ่งมีปีกที่น่าจะใช้บินได้ กระดูกช่วงแผงอกถึงลำคอก็มีร่องรอยของการโดนไฟไหม้ เรียกได้ว่าทั้งบินได้และพ่นไฟได้เหมือนอย่างมังกรในตำนานทุกประการ ซากฟอสซิล "มังกร" นี้ค้นพบโดย Randy Sepulchrave แห่ง University of Southern North Dakota
ระดับ Nature เล่นเองต้องไม่ธรรมดาอยู่แล้ว สังเกตชื่อดีๆ นะครับ "Smaug" คือชื่อของมังกรในนิยาย The Hobbit ของ J.R.R. Tolkien ส่วน "Sepulchrave" มาจากนิยาย Titus Groan ของ Mervyn Peake เป็นชื่อของตัวละครที่เชื่อว่าตัวเองเป็นนก เลยขึ้นไปบนหอคอยแล้วกระโดดลงมา เมื่ออยู่กลางอากาศจึงค่อยสำนึกว่าตัวเองบินไม่ได้ และคำใบ้ที่ชัดเจนที่สุด คือ มหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า "University of Southern North Dakota" ไม่มีจริง
อนุภาคลึกลับขนาดเท่าลูกโบว์ลิ่ง
ในเดือนเมษายน ปี 1996 นิตยสาร Discover ได้ลงข่าวว่ามีนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Albert Manque ทำการทดลองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับหลอดสุญญากาศแล้วเกิดระเบิดขึ้น ไม่ว่าจะทำกี่ครั้งๆ ชุดการทดลองก็ระเบิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า Albert Manque จึงเอากล้องวิดีโอมาตั้งแล้วถ่ายเพื่อจะดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น เขาค้นพบว่าหลังจากที่เกิดระเบิด ในชั่วขณะหนึ่งส่วนล้านวินาที มีวัตถุลึกลับขนาดเท่าลูกโบว์ลิ่งโผล่ขึ้นมาแล้วก็หายวับไป เขาตั้งชื่อวัตถุนี้ว่า "bigon" จากนั้นในบทความก็มีทฤษฎีต่างๆ มากมายตามมาเพื่ออธิบายการเกิดอนุภาคเสมือน (virtual particle) โดยอ้างว่าสนามไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ไปทำปฏิกิริยากับสุญญากาศเหนี่ยวนำให้มีอนุภาคเสมือนเกิดขึ้นมา วัตถุ bigon ทั้งก้อนจริงๆ แล้วก็คืออนุภาค 1 อนุภาค! การอธิบายของ Discover สมจริงมากจนกระทั่งผู้อ่าน Discover ไม่เฉลียวใจเลยสักนิดว่าวันวางแผงของนิตยสารฉบับนั้นเป็นวันที่ 1 เมษายน พอดี
(การเกิดอนุภาคเสมือนในสุญญากาศเป็นปรากฏการณ์ทางควอนตัมที่นักฟิสิกส์เชื่อว่ามีจริง อ่านข่าวเก่าประกอบ แต่การเกิดอนุภาคเสมือนขนาดเท่าลูกโบว์ลิ่งนั้นเป็นมุข April Fools' ล้วนๆ)
ที่มา - Life's Little Mysteries via Live Science
ป.ล. 1 เมษาฯ ปีนี้ ผมไม่เล่น April Fools' นะครับ เพราะฉะนั้นวางใจได้ ข่าวที่ผมเขียนวันนี้ไม่มีเรื่องโกหก (ไม่ใช่จริงจังอะไรหรอก ความจริงคือผมยังนึกมุขเจ๋งๆ ไม่ได้ ปีหน้าค่อยว่ากันอีกที) | https://jusci.net/node/1696 | 5 สุดยอดตำนานมุขโกหกแบบวิทย์ๆ ใน April Fools' Day |
มีการทดลองแปลก ๆ อย่างหนึ่งคือ ให้ผู้ร่วมทดลองดื่มน้ำตามแต่ที่เขาต้องการ รอจนถึงเวลาที่คาดว่า พวกเขาเริ่มปวดปัสสาวะ ผู้ทดลองจึงเสนอของรางวัลตอบแทนการร่วมทดลอง โดยแบ่งเป็นของรางวัลเล็กน้อย แต่ได้รับทันที กับของรางวัลชิ้นใหญ่ แต่ต้องเสียเวลารอ
ผลคือ ผู้ที่รู้สึกปวดปัสสาวะมาก ๆ นั้นกลับทนกลั้นปัสสาวะ เพื่อให้ได้รับรางวัลชิ้นใหญ่ที่ต้องเสียเวลารอ แทนที่จะรับของรางวัลชิ้นเล็ก ๆ แล้วรีบเข้าห้องน้ำ
หลายคนอาจจะคิดว่า การความคุมตัวเองในขณะที่กลั้นปัสสาวะนั้นทำได้ยาก แต่นักวิจัยบอกว่า มันคล้ายกับแนวคิด การสูญเสียอัตตา การกลั้นปัสาวะจะเป็นไปตามอัตโนมัติ แต่จิตใต้สำนึกรู้สึกกังวลต่อมัน เมื่อสัญญาณสั่งให้กลั้นปัสสาวะถูกส่งไปที่กระเพาะปัสสาวะอีก แทนที่เราจะกลั้นปัสสาวะเพิ่มขึ้น (มันเต็มที่อยู่แล้วเพิ่มไม่ได้อีก) สัญญาณนี้เลยส่งผลต่อการอดกลั้นต่อความพึงพอใจอย่างอื่นแทน
แต่การกลั้นปัสสาวะมากเกินไป คุณอาจจะมีอาการ Hyponatremia และอาจถึงตายได้
ที่มา: APS
ป.ล. อยากลดความอ้วน แต่อยากกิน? ดื่มน้ำเยอะ ๆ แล้วก็กลั้นปัสสาวะไว้ : D | https://jusci.net/node/1697 | กลั้นปัสสาวะ กลั้นความอยาก |
อาการขาสั่นไม่หยุด (restless leg syndrome) เป็นอาการที่ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกอยากจะขยับส่วนต่างๆ ของร่างกายตลอดเวลาโดยเฉพาะส่วนขา มักจะเป็นมากเมื่อเกิดความเครียด บางทีมีความรู้สึกคัน จั๊กจี้ หรือปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าการเสียสมดุลของปริมาณฮอร์โมน Dopamine ในสมองน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการขาสั่นไม่หยุดไม่มากก็น้อย (Dopamine ยังเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันส์ด้วย) ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยขั้นต้นจึงเป็นการให้ทานยาที่จะไปช่วยเพิ่ม Dopamine ในสมอง
แต่ทีมนักวิจัยบราซิลที่นำโดย Luis Marin แห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ได้รายงานว่ามีผู้ป่วยอาการขาสั่นไม่หยุดคนหนึ่งรายงานว่าการมีเซ็กส์และการช่วยตัวเองรักษาอาการได้ดีกว่าการทานยาเสียอีก
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องอัศจรรย์นี้น่าจะเป็นเพราะการถึงจุดสุดยอด (orgasm) หลังจากการมีเซ็กส์หรือการช่วยตัวเองจะปลดปล่อย dopamine ออกมามากมาย เคยมีการวิจัยด้วยว่าภาพถ่ายการทำงานของสมองขณะหลั่งน้ำอสุจิมีลักษณะคล้ายกับสมองของคนที่ได้รับเฮโรอีน
นอกจากผลดีดังกล่าวแล้ว การหลั่งน้ำอสุจิยังอาจจะมีผลในการช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากและลดอาการแพ้อากาศด้วย แต่ก็มีคนเถียงเหมือนกันว่าการช่วยตัวเองเพื่อลดอาการแพ้อากาศให้ผลไม่แน่นอนและอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1698 | จุดสุดยอดของท่านชายช่วยลดอาการขาสั่นไม่หยุด |
เป็นสองข่าวที่พูดถึงคนละประเทศ แต่มาจากรายงานของ Royal Society ของสหราชอาณาจักรเหมือนกัน ผมเลยขอรวบเป็นข่าวเดียวกันเลย
ในรายงาน Knowledge, Networks and Nations ฉบับนี้เป็นการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลผลงานวิทยาศาสตร์ทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus ที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วารสารวิชาการรายใหญ่อย่าง Elsevier
ข่าวแรกมาจาก New Scientist เน้นไปที่ผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านมาของประเทศในเอเซียตั้งแต่ปี 1996-2008 ในเวลาสิบกว่าปีนี้กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่มีความก้าวหน้าในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการสูงมาก ประเทศที่นำหน้าชาติอื่นในโลกมาเลยก็คือประเทศอิหร่าน ที่มีผลงานวิชาการเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่า! จาก 736 ชิ้นพุ่งไป 13,238 ชิ้น
ที่น่าแปลกใจคือ งานวิจัยร่วมระหว่างประเทศอิหร่านและสหรัฐอเมริกายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย จาก 388 ชิ้นในปี 1996 เป็น 1,831 ชิ้นในปี 2008 แม้ว่าในทางการเมืองประเทศทั้งสองจะฮึ่มๆ ใส่กันอยู่ตลอดเวลาก็ตาม
นอกจากอิหร่านแล้ว ประเทศในตะวันออกกลาง จีน อินเดีย และบราซิลก็มีประสิทธิภาพในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แถมประเทศในเอเซียอีกหลายประเทศ เช่น ตุรกี ตูนิเซีย สิงคโปร์ กาตาร์ ฯลฯ ยังมีแนวโน้มในการเพิ่มงบประมาณด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ข่าวที่สองมาจาก BBC News เน้นถึงประเทศเดียวเลย คือ จีน ในปี 1996 ปีแรกของการสำรวจ ประเทศจีนมีผลงานตีพิมพ์เพียง 25,474 ชิ้น ถ้าเทียบกับตัวเลข 292,513 ชิ้นของสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน ก็ต้องถือว่าน้อยมาก ใครจะไปเชื่อว่าผ่านไปเพียง 12 ปี ในปี 2008 ประเทศจีนปั๊มผลงานออกมาถึง 184,080 ชิ้น กระโดดขึ้นมาเป็นอันดับสอง แซงหน้าสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น อดีตอันดับสองและสามอย่างไม่เห็นฝุ่น
เมื่อลองเอาแนวโน้มนี้มาประมาณค่าเชิงเส้นดู ผลทำนายก็แสดงให้เห็นว่าภายในปี 2013 จีนจะมีผลงานตีพิมพ์วิชาการมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก! ซึ่งกรอบเวลานี้เร็วกว่าค่าประมาณเก่าที่เคยทำนายไว้ถึง 7 ปี
ภาพจาก BBC News
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มนี้ไม่ได้แปลว่าประเทศแนวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เยอรมนี ฯลฯ กำลังเข้ายุคเสื่อมถอยแต่อย่างใด ตรงกันข้ามประเทศเหล่านี้ยังคงมีการเติบโตในจำนวนผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่โตช้ากว่าการพุ่งทะยานของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พอเอามาวางเปรียบเทียบกัน มันเลยดูตกต่ำลงไปเท่านั้นเอง
นอกจากนี้ การเติบโตในแง่จำนวนอย่างเดียวก็ยังไม่สามารถชดเชยเรื่องของคุณภาพงานวิจัยได้ ถ้าดูกันตามจำนวนการอ้างอิง (citation) แล้ว ผลงานที่ตีพิมพ์จากประเทศตะวันตกและประเทศพัฒนาแล้วก็ยังคงได้รับการอ้างอิงโดยเฉลี่ยมากกว่าผลงานจากประเทศจีนอยู่ดี
ดาวน์โหลดเอกสารรายงานฉบับเต็ม (ความยาว 114 หน้า) ได้จาก Royal Society
หรือจะดูเป็นกราฟสวยๆ ก็ได้ที่ http://royalsociety.org/knowledge-networks-nations-graph/
ที่มา - New Scientist, BBC News | https://jusci.net/node/1699 | อิหร่านเติบโตทางด้านผลงานวิทยาศาสตร์สูงสุด, วิทยาศาสตร์จีนจะแซงสหรัฐอเมริกาในปี 2013 |
ฟังแล้วอย่าได้ตกใจว่าค้างคาวอะไรซื้อขายกันแพงขนาดนั้น
อันนี้เปนการวิเคราะห์ตัวเลขของนักชีววิทยาด้านระบบนิเวศน์ในสหรัฐอเมริกาครับ ว่า ค้างคาวกินแมลง น่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถึงสามพันล้านดอลลาร์
อันที่จริงตัวเลขนี้เปนแค่ตัวเลขที่เกิดจากการคำนวนจากงานวิจัยเก่า ที่วิจัยเฉพาะพื้นที่ประมาณหนึ่งหมื่นเอเคอร์ในมลรัฐเท็กซัส ซึ่งได้ผลออกมาว่า ประสิทธิภาพของค้างคาวในการกำจัดศัตรูพืช เทียบเท่าค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืชได้ประมาณ 74 ดอลลาร์ต่อเอเคอร์ หรือรวมได้ 740,000 ดอลลาร์
ซึ่งนักชีววิทยาคนดังกล่าวก็ยอมรับว่า นี่เปนแค่ตัวเลขอย่างหยาบที่คูณหารจำนวนพื้นที่เกษตรกรรมทั่วทั้งสหรัฐเท่านั้น หลายๆพื้นที่ ค้างคาวอาจมีจำนวนมากกว่า หรือน้อยกว่า กินแมลงศัตรูพืชมากกว่า หรือน้อยกว่า ก็ได้
แต่ถึงแม้จะเปนแค่ตัวเลขอย่างหยาบ ก็เปนตัวเลขเฉพาะการกำจัดศัตรูพืชโดยตรง ยังไม่นับรวมปุ๋ยชีวภาพที่ค้างคาวผลิต หรือคุณภาพผลผลิตที่จะลดลงจากการใช้สารเคมี การตัดต่อพันธุกรรม และมูลค่าทางระบบนิเวศน์
ปัญหาสำคัญคือ ในตอนนี้ค้างคาวจำนวนมากสิ้นชีพไปกับกังหันลมและ WhiteNose Syndrome หากปล่อยไว้แบบนี้ ภายในห้าถึงหกปี การเกษตรของสหรัฐอเมริกาอาจถึงคราววิกฤต
อ่านรายละเอียดที่เหลือได้จาก Ars Technica ครับ จะมีการอ้างถึง Paper งานวิจัยอื่นๆ | https://jusci.net/node/1700 | ค้างคาวกินแมลงมีมูลค่าอย่างน้อยสามพันล้านดอลลาร์ |
เยติ (Yeti) เป็นสัตว์ลึกลับที่วงการวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จากคำบอกเล่าของผู้ที่อ้างว่าเคยพบเห็นเยติ มันเป็นสัตว์คล้ายคน เดินสองขา มีขนยาวรุงรัง อาศัยอยู่ในป่าหิมะของไซบีเรีย เพราะฉะนั้นมันจึงมีชื่อเล่นว่า "มนุษย์หิมะ" หรือ "บิ๊กฟุต" (นอกจากใช้เรียกเยติแล้ว บิ๊กฟุตยังเป็นชื่อเล่นของสัตว์ลึกลับคล้ายมนุษย์อีกตัวในทวีปอเมริกาเหนือด้วย)
หลังจากที่ได้มีข่าวพยาน 15 คนยืนยันพร้อมกันว่าได้เห็นเยติใน Kemerovo ประเทศรัสเซีย (พยานคนหนึ่งยืนยันว่าได้ช่วยเยติตัวหนึ่งจากการจมน้ำด้วย) รัฐบาลรัสเซียจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีในการเสนอแผนจัดตั้ง "สถาบันวิจัยเยติ" ให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย
ตามคำสัมภาษณ์ของ Igor Burtsev ผู้อำนวยการ International Center of Hominology ปัจจุบันทั่วประเทศรัสเซีย มีนักวิทยาศาสตร์ประมาณ 30 คนที่ศึกษาเยติอย่างจริงจัง Igor Burtsev มั่นใจว่าทันทีที่สถาบันวิจัยเยติจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ คนเหล่านี้รวมทั้งตัวเขาจะเข้าร่วมด้วยอย่างแน่นอน
นอกจากเป็นจุดสนใจของนักวิทยาศาสตร์รัสเซียแล้ว เยติยังเป็นตัวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่ไซบีเรียได้อีกทางด้วย บางที่ถึงกับมีการจัด "งานวันเยติ" เป็นงานสำคัญประจำปีทีเดียว
ที่มา - Life's Little Mysteries
บ้านเราก็น่าจะเอาบ้างนะ สถาบันวิจัยพระธาตุ พญานาค ผีเปรต ฯลฯ โห! คิดดูแล้ว ของเราเยอะกว่าเห็นๆ | https://jusci.net/node/1701 | รัสเซียเตรียมตั้ง "สถาบันวิจัยเยติ" |
ทีมวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นิวซีแลนด์ที่นำโดย Julien Grangier แห่ง Victoria University of Wellington ได้รายงานพฤติกรรมประหลาดของตัวต่อ Vespula vulgaris ในการแย่งอาหารกับมดท้องถิ่นของนิวซีแลนด์
พวกเขาตั้งสถานีเหยื่อ 48 สถานีโดยใช้ปลากระป๋องเป็นเหยื่อล่อและติดตั้งกล้องไว้ จากการสังเกตนับเป็นเดือนๆ มดกับตัวต่อเข้ากินเหยื่อชิ้นเดียวกันเป็นจำนวนกว่า 1,000 ครั้ง ส่วนใหญ่พวกมันก็ต่างคนต่างกิน มีเพียงประมาณ 1 ใน 4 เท่านั้นที่มีการเผชิญหน้ากันจริงจัง
ส่วนใหญ่ที่เผชิญหน้ากัน ฝ่ายชนะมักจะเป็นมดซึ่งตัวเล็กกว่าตัวต่อถึง 200 เท่า กองทัพมดจะกรูเข้าไปกัดและฉีดกรดใส่ตัวต่อ จนตัวต่อต้องล่าถอยไป แต่ในการเผชิญหน้า 62 ครั้ง ตัวต่อได้แสดงกลศึกลับขั้นสุดยอดที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน
กลศึกที่ว่าของตัวต่อก็คือการใช้กราม (mandibles) ของมันคีบมดขึ้นมาทีละตัว แล้วบินเอามดไปทิ้งข้างนอกกองอาหาร มดที่ตกมาจากอากาศแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็จะงงๆ หาทางเดินไม่ถูกไปสักครู่ใหญ่ๆ (47% ของมดที่ถูกจับโยนทิ้งไม่สามารถหาทางกลับไปที่อาหารได้แม้ว่าระยะทางที่ตัวต่อพาไปทิ้งจะไม่ไกลนักก็ตาม) เปิดช่องให้ตัวต่อเข้าไปกินอาหารได้อย่างเต็มที่
ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานพฤติกรรมของตัวต่อที่ขนมดไปทิ้งมาแล้ว แต่อันนั้นเป็นการป้องกันตัวจากมดที่เข้ามาบุกรัง ต่างจากรายงานล่าสุดอันนี้ที่ชัดเจนว่าเป็นการแก่งแย่งอาหาร เพราะเมื่อนักวิจัยเอาแนวโน้มการขนมดไปทิ้งเทียบกับจำนวนมดมาเทียบดู ก็พบว่ายิ่งมีมดมากขึ้น ตัวต่อยิ่งขนมดไปทิ้งถี่ขึ้นและไกลขึ้น
ตัวต่อ Vespula vulgaris มีชื่อสามัญว่า Yellow jacket wasp เป็นแมลงท้องถิ่นของเขตอบอุ่นในซีกโลกเหนือ แต่ได้กระจายบุกรุกไปยังซีกโลกใต้ด้วย
นักวิทยาศาสตร์ประทับใจกับความสามารถในการปรับตัวทางพฤติกรรมของตัวต่อ Vespula vulgaris มาก กลยุทธ์ "ขนมดไปทิ้ง" ถือว่าเป็นวิธีการที่สุดยอด เพราะในธรรมชาติที่นิวซีแลนด์ ตัวต่อจะเผชิญหน้ากับมดท้องถิ่น Prolasius advenus บ่อยที่สุดในการแย่งน้ำหวาน honeydew จากเพลี้ย มดชนิดนี้เมื่อถูกโจมตี มันจะพ่นกรดเข้าใส่ศัตรู หากตัวต่อกัดมดขาดสองท่อนด้วยกรามของมัน รับรองว่ามันได้อิ่มกรดมดไปอีกนานแน่
แต่ว่าความประทับใจนี้ก็ไม่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์นิวซีแลนด์มองตัวต่อ Vespula vulgaris ดีขึ้นสักเท่าไร ถึงอย่างไรมันก็คือสิ่งมีชีวิตนอกถิ่นบุกรุก (invasive species) ที่ควรได้รับการควบคุมก่อนที่จะแพร่กระจายและสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศท้องถิ่นของนิวซีแลนด์
ที่มา - Live Science | https://jusci.net/node/1702 | ตัวต่ออุ้มมดไปทิ้งแล้วแย่งอาหาร |
มีใครพอบอกผมหน่อยได้ไหมว่าเว็บ foosci.com ขายโดเมนทิ้งไปแล้วหรือปล่าว ผมเข้าไปมันกลายเป็นหน้าโฆษณาอะไรไม่รู้
ครั้งสุดท้ายที่ผมเห็นข่าวใน foosci.com เป็นอัพเดตเมื่อปีที่แล้วมั้ง วันนี้ลองเข้าไปดู ปรากฏว่าหน้าเว็บทั้งหน้าหายไปแล้ว
ผมอยากรู้ความคืบหน้าของ foosci.com ด้วยเหตุผลคือ
jusci กับ foosci มีแนวทางคล้ายกัน ถ้า foosci ล้มจริง ผมอยากรู้ว่าเพราะอะไร เพื่อนผมเคยพูดหยามไว้ว่าเว็บทำนอง jusci และ foosci จะไม่มีวันเกิด(ดัง)ในประเทศไทย แต่มันก็ไม่ให้เหตุผล (ด่าอย่างเดียวไอ้บ้านั่น สันดานจริงๆ)
เพราะความเป็นห่วงเว็บข่าววิทย์ฯ ซึ่งยิ่งมีน้อยๆ อยู่ในประเทศไทย ผมอยากเห็นข่าว foosci และ jusci แข่งกัน จริงๆ ผมมีแผนจะเขียนข่าวอีกแนวที่ foosci ในอนาคตด้วย เจอแบบนี้ผมก็อดสงสัยไม่ได้
ใครทราบเรื่องราวหรือรู้จักคนที่ทราบเรื่องราว กรุณาเล่าต่อให้ผมรับรู้ด้วย ผมจะซาบซึ้งอย่างสูง
‹ ชื่อวารสารในดวงใจ | https://jusci.net/node/1703 | เกิดอะไรขึ้นกับ foosci.com ครับ |
ทีมวิจัยที่นำโดย Ludovico Cademartiri แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รายงานการค้นพบวิธีใหม่ในการดับไฟ...ที่อาจจะฟังดูเหมือนมายากลสักหน่อย นั่นคือ พวกเขาใช้ไฟฟ้าดับไฟ!
การทดลองของพวกเขาเริ่มจากการวางสายไฟฟ้าไว้ตรงฐานของกองไฟเล็กๆ ความยาว 19 นิ้ว จากนั้นก็ผ่านสนามไฟฟ้าเข้าไป 600 วัตต์ ผลที่ได้คือเปลวไฟอันตรธานหายไปเอง
ก่อนหน้านี้เคยมีการทดลองในลักษณะนี้มาแล้ว และพบว่าสนามไฟฟ้ามีผลต่อกองไฟในระดับเล้กน้อย แต่อันนั้นเป็นสนามไฟฟ้าคงที่ ในการทดลองของ Ludovico Cademartiri พวกเขาใช้สนามไฟฟ้าที่สั่นเป็นคาบ (oscillating electric field) ซึ่งเห็นชัดว่ามีผลกระทบต่อกองไฟมากกว่า จนถึงขนาดทำให้ไฟทั้งกองดับได้
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสนามไฟฟ้าเข้าไปทำอะไรกับกองไฟกันแน่ กลไกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้คือ กระแสไฟฟ้าไปรบกวนอนุภาคประจุที่อยู่ในกองไฟในลักษณะที่คล้ายๆ กับว่าเรา "เป่า" กองไฟจากข้างในกองไฟเองเลย เมื่อเปลวไฟถูกเป่ากระจายจนไม่สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงได้ ไฟจึงดับลง
อย่างไรก็ดี การใช้ไฟฟ้าดับไฟคงยังไม่พร้อมจะเอามาใช้แทนน้ำได้ เพราะในตามธรรมชาติ กองเพลิงขนาดใหญ่ๆ มักมีอนุภาคประจุไม่มากพอให้เราใช้กระแสไฟฟ้าเป่าให้ดับได้ ยิ่งในสถานที่เปิดโล่งแจ้ง ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ตอนนี้แนวทางที่น่าจะพอไปประยุกต์ใช้ได้ คือ การดับไฟในสถานที่แคบๆ เช่น ห้องนักบินในเครื่องบิน เป็นต้น
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1704 | ใช้ไฟฟ้าดับไฟ |
จากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ตามด้วยสึนามิ ทำให้จำเป็นต้องปิดระบบไฟฟ้าที่ควบคุมตัวหล่อเย็นของเตาปฎิกรณ์ เป็นผลให้เตาปฏิกรณ์มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่เตาปฏิกรณ์ รายละเอียดสามารถอ่านได้จากข่าวเก่า
ขณะนี้ทางวิศวกรของโรงไฟฟ้าได้พบรอยรั่วที่เตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ประมาณ 8 นิ้ว ซึ่งทำให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีไปสู่น้ำทะเลที่สูบเข้าไปเพื่อใช้หล่อเย็นในอัตรา 7 ตันต่อชั่วโทง ทางวิศวกรของโรงไฟฟ้าพยายามที่จะยับยั้งการรั่วไหลโดยใช้คอนกรีต ขี้เลี่อย หนังสืิอพิมพ์เก่า และสารเคมี แต่ว่าการยับยั้งผิดพลาดเนื่องจากไม่สามารถหารอยรั่วที่ถูกต้องได้ ขณะนี้การค้นหายังดำเนินต่อไป และยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไรในการกำจัดสารกัมมันตภาพรังสี
ที่มา inhabitat | https://jusci.net/node/1705 | พบรอยรั่วของเตาปฎิกรณ์ที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า |
สิ่งหนึ่งที่ทำให้น้ำนมของคนดีกว่าน้ำนมจากวัวนั้น คือ ความสามารถในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในเด็กทารก ส่วนประกอบสำคัญในน้ำนมที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียคือโปรตีนที่เรียกว่า lysozyme ซึ่งน้ำนมคนนั้นมีปริมาณ lysozyme มากกว่าน้ำนมวัวแบบเทียบกันแทบไม่ติด
ทีมนักวิทยาศาสตร์จีนที่นำโดย Bin Yang แห่ง China Agricultural University ได้ทดลองตัดต่อใส่ยีนที่เสริมความสามารถในการสร้าง lysozyme เข้าไปในเอมบริโอวัวนม เมื่อลูกวัวเจริญวัยพอให้รีดนมได้ พวกเขาก็รีดเอาน้ำนมออกมาตรวจวัดปริมาณและคุณภาพของ lysozyme
ผลปรากฏว่าน้ำนมวัวที่ตัดต่อพันธุกรรมนั้นมีปริมาณ lysozyme เทียบเท่ากับน้ำนมคน และ lysozyme ในน้ำนมวัวยังมีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนกับของน้ำนมคนด้วย แต่นอกนั้น ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไขมัน โปรตีน แลคโตส ฯลฯ มีสัดส่วนเท่ากับน้ำนมวัวปกติทุกประการ
ที่มา Live Science
ป.ล. ผมรู้นะว่าต้องมีบางคนคลิกเข้ามาอ่านเพราะหวังจะวางแผนซื้อวัวไปประกอบวิธีการรักษาโรคขาสั่นไม่หยุด ขอโทษที่ทำให้ผิดหวังนะครับ ^.^ | https://jusci.net/node/1706 | นักวิทยาศาสตร์จีนทำนมวัวให้(เกือบ)เหมือนนมคน |
สภาพที่ไม่ดีนักของโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิม่ายังคงสร้างความกังวลต่อไป เมื่อมีการรายงานว่ามีน้ำหล่อเย็นไหลออกจากระบบลงสู่ทะเลโดยตรง แม้ล่าสุดทาง TEPCO จะประกาศว่าสามารถอุดรูรั่วของระบบน้ำหล่อเย็นได้แล้วก็ตาม
ในตอนนี้เจ้าหน้าที่ของ TEPCO ต้องปั๊มน้ำเข้าไปสู่แกนปฎิกรณ์วันละ 200,000 ลิตรเพื่อลดอุณภูมิของแกนปฎิกรณ์ลง ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ต้องพยายามอุดรอยรั่วของระบบน้ำหมุนเวียนโดยไม่สามารถเข้าไปทำงานโดยตรงได้เนื่องจากระดับปนเปื้อนสูงเกินไป
น้ำที่รั่วออกมาจากระบบหล่อเย็นตอนนี้ปนเปื้อนด้วยไอโซโทปของไอโอดีนซึ่งจะสลายตัวไปเองในเวลาไม่กี่เดือน รวมถึงน้ำทะเลที่จะเจือจางออกไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีความเข้มข้นของระดับกัมมันตภาพรังสีในทะเลรอบๆ โรงงานไฟฟ้าฟุกุชิม่าพุ่งสูงไปถึง 7.5 ล้านเท่าตัวจากที่กฏหมายกำหนดไว้แล้ว
จากการปั๊มน้ำเข้าไปหล่อเย็นอย่างต่อเนื่องทำให้เจ้าหน้าที่ของ TEPCO ต้องปล่อยน้ำออกจากถังพักน้ำปนเปื้อนที่มีความปนเปื้อนต่ำลงสู่ทะเลกว่า 10,000 ตัน เพื่อให้น้ำที่มีความปนเปื้อนสูงกว่าได้เข้ามาพักแทน
แม้ความหวังที่จะคืนสภาพของโรงงานฟุกุชิม่า 1 ให้กลับมาใช้งานได้นั้นไม่มีเหลืออีกต่อไป แต่คำถามถึงการจัดการปัญหาและการทำความสะอาดบริเวณรอบๆ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมคืนสภาพได้โดยเร็วนั้นยังคงเป็นปัญหาที่เราต้องติดตามต่อไป
ที่มา - ArsTechnica, LA Times | https://jusci.net/node/1707 | ระบบหมุนเวียนน้ำโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิม่ารั่ว, น้ำปนเปื่อนกัมมันตภาพรังสีไหลลงสู่ทะเล |
Universetoday
Credit: NASA
‹ พบแร่ชนิดใหม่ในอุกกาบาตอายุสี่หมื่นห้าพันล้านปี
100 สปีชี่ส์พลัดถิ่นอันน่าสะพรึงกลัว › | https://jusci.net/node/1708 | พบดาวเคราะห์น้อยมีวงโคจรประหลาดคล้ายเกือกม้า |
แร่ Wassonite - Universetoday
Credit: NASA
‹ ชื่อวารสารในดวงใจ
พบดาวเคราะห์น้อยมีวงโคจรประหลาดคล้ายเกือกม้า › | https://jusci.net/node/1709 | พบแร่ชนิดใหม่ในอุกกาบาตอายุสี่หมื่นห้าพันล้านปี |
จากการเก็บข้อมูลของดาวเทียม Gravity Field and Steady-State Ocean Circulation Explorer (GOCE) ของ European Space Agency กว่าเกือบ 1 หนึ่งปีเต็ม นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าถ้าผิวโลกของเราถูกคลุมด้วยท้องน้ำทั้งหมดและไม่มีกระแสคลื่นในมหาสมุทรเลย โครงสร้าง "geoid" ของโลกจะมีสภาพเป็น "ก้อนมันฝรั่งปุๆ"
geoid คือรูปร่างสมมติของโลกที่เกิดได้จากการคำนวณรูปร่างของพื้นน้ำในกรณีที่ผิวโลกนี้ทั้งใบเป็นมหาสมุทรที่ไม่มีกระแสคลื่นและกระแสลมเลย แรงที่เกี่ยวข้องในการสร้างแบบจำลอง geoid ก็จะเหลือแต่แรงโน้มถ่วงของโลกเพียงอย่างเดียว เหตุผลที่ geoid ของโลกมีสภาพเป็นหัวมันฝรั่งบูดๆ เบี้ยวๆ นั้นเป็นเพราะว่ามวลเปลือกโลกมีการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ บางที่ก็มีมวลมากกว่าที่อื่นๆ แรงโน้มถ่วงก็ออกแรงดึงน้ำมากกว่า
ภาพจาก ESA/HPF/DLR
ถ้าอยากเห็นเป็นภาพสามมิติสวยๆ ก็ไปดูได้จากเว็บ ESA
แผนที่ geoid ของ GOCE ฉบับล่าสุดนี้ถือว่ามีความละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา การมีแผนที่ geoid ละเอียดๆ ในมือจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำในมหาสมุทร, ระดับน้ำทะเล, และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ได้สะดวกมากขึ้น GOCE จะปฏิบัติภารกิจต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเชื้อเพลิงจะหมดลงในปี 2012
เพราะหลังจากปี 2012 โลกก็แตกไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์เลยไม่เห็นเหตุผลในการศึกษาต่อ อะฮิๆ (ประโยคหลังนี้ไร้สาระนะครับ บอกไว้ก่อนเผื่อมีคนอยากจะสับสนอีก)
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1710 | โลกคือมันฝรั่งก้อนยักษ์ |
ส่วนประกอบที่ของขนนก คือ เคราติน ซึ่งเป็นสารโครงสร้างที่ให้ความแข็งแรงอยู่แล้ว ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงพยายามหาทางเอาขนนกมาใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบทำอะไรอื่นๆ นอกจากการเอาไปถมที่หรือโยนทิ้งให้เสียของเปล่าๆ เอาแค่ที่สหรัฐอเมริกาที่เดียว ในแต่ละปีมีขยะที่เป็นกองขนนกมากกว่า 1.3 พันล้านกิโลกรัม (3 พันล้านปอนด์) แล้ว
ความพยายามก่อนหน้านี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร วัสดุที่ได้จากขนนกไม่มีความแข็งแรงมากพอ กันน้ำก็ไม่ได้ แต่ผลงานใหม่ล่าสุดจากทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเนบราสก้า-ลินคอล์น ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สร้างโอกาสให้เอาขนนกไปทำพลาสติกในเชิงพาณิชย์ได้
พลาสติกขนนกนี้ทำจากขนไก่และขนไก่งวงที่ถูกบดจนละเอียด จากนั้นก็เอาไปผ่านกระบวนการ polymerization (กระบวนการที่ทำให้โมเลกุลเดี่ยวๆ มาต่อกันเป็นโครงสร้างโพลีเมอร์สายยาว) พลาสติกที่ได้เป็นพลาสติกประเภทเดียวกับพลาสติกที่ทำจากแป้งและถั่วเหลือง แต่ว่าแข็งแรงกว่าและกันน้ำได้มากกว่า นอกจากนี้มันยังเป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกซึ่งสามารถหลอมแล้วนำไปขึ้นรูปใหม่ได้หลายๆ ครั้งอีกด้วย
พลาสติกขนนกสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เพราะขั้นตอนการผลิตไม่ได้พึ่งปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบ แถมมันยังย่อยสลายทางชีวภาพได้ดีกว่าพลาสติกที่ทำจากปิโตรเลียมทั่วไปอีกด้วย
อ้อ แล้วก็ไม่ต้องกลัวเรื่องไข้หวัดนกนะครับ เพราะในตอนแรก ขนนกทั้งหมดจะต้องผ่านการหลอมที่อุณหภูมิสูงอยู่แล้ว เชื้อโรคอะไรต่อมิอะไรก็ต้องตายเหี้ยนแน่นอน (ห่วงก็แต่ถ้าเกิดพลาสติกขนนกเป็นที่นิยมขึ้นมา เราอาจจะมีนกไม่พอให้ถอนขน)
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1711 | ทำพลาสติกจากขนนก |
จากหลักฐานทางชีววิทยาโมเลกุลและหลักฐานฟอสซิล ทีมนักวิจัยที่นำโดย Kevin Johnson แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ พบว่าเหามีการเกิดสปีชีส์ใหม่อย่างมโหฬาร (radiation) ตั้งแต่เมื่อ 125 ล้านปีที่แล้ว ถึง 100 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ยังคงครองโลกอยู่
เหาเป็นแมลงปรสิตบนร่างกายของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่เหาแต่ละชนิดมักจะดูดเลือดจากสัตว์เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการติดตามวิวัฒนาการของเหาก็ทำให้เรามองเห็นเงารางๆ ของวิวัฒนาการของสัตว์ที่โดนเหาเกาะดูดเลือดด้วย
จากผลการวิจัยนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน่าจะมีวิวัฒนาการเกิดสปีชีส์ใหม่ๆ แบบ radiation ในช่วงเวลาเดียวกันกับเหาที่เป็นปรสิตของพวกมัน ซึ่งหลักฐานนี้แย้งกับความเชื่อเดิมที่คิดว่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพิ่งจะมามีวิวัฒนาการอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ลงเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว
กลายเป็นว่านักวิทยาศาสตร์ต้องหันมาทบทวนทฤษฎีที่ว่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องรอให้ไดโนเสาร์หายไปเสียก่อนจึงจะได้วิวัฒนาการสปีชีส์ใหม่ๆ เข้ามาจับจองที่ว่างในระบบนิเวศ ข้อสันนิษฐานใหม่ที่ตั้งขึ้นมาจากหลักฐานล่าสุดของวิวัฒนาการเหา คือ บางทีอาจเป็นไปได้ว่าข้อได้เปรียบทางสรีรวิทยาของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้สร้างโอกาสให้สัตว์ทั้งสองพวกเริ่มก้าวขึ้นมาเทียบชั้นกับไดโนเสาร์ในแง่ของความหลากหลายตั้งแต่ก่อนที่ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ถึง 35-60 ล้านปีแล้ว ไม่ได้หลบซ่อนงุดๆ อยู่เป็นฝุ่นใต้ตีนภายใต้เงาปกครองของไดโนเสาร์อย่างเดียว
นอกจากนี้อาจจะเป็นไปได้ด้วยว่าไดโนเสาร์เองก็โดนเหาดูดเลือดเช่นกัน ดีไม่ดี ไดโนเสาร์อาจเป็นสัตว์ชนิดแรกบนโลกที่มีเหา แล้วก็ส่งเหาผ่านต่อมาให้นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะก่อนหน้านี้ก็พบหลักฐานฟอสซิลหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นไดโนเสาร์บางชนิดมีขนเหมือนกับขนนก และนกในปัจจุบันก็มีเหาสิงสถิตย์อยู่อย่างกว้างขวางมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเสียอีก
ที่มา - PhysOrg, New Scientist, LiveScience
(ชื่อสามัญไทยของ "เหานก" บางทีจะเรียกเป็น "ไรนก", "ไรไก่" แต่จริงๆ แล้วเป็นแมลงพวกเหาที่อยู่ใน Order Phthiraptera)
(Order Phthiraptera เกิดจากยุบรวม Order Mallophaga (chewing lice) กับ Order Anoplura (sucking lice) เข้ามาไว้ด้วยกัน)
(กี่วงเล็บแล้วเนี่ย? ปวดหัวกับพวกนักชีววิทยาจริงๆ พับผ่า) | https://jusci.net/node/1712 | หลักฐานจากเหาชี้ "นกกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเตรียมครองโลกมาตั้งแต่ก่อนไดโนเสาร์สูญพันธุ์" |
ทีมนักวิทยาศาตร์ที่นำโดย Alfred L. Nuttall แห่ง the Oregon Hearing Research Center ได้แสดงให้เห็นว่าหลังจากที่เสียงผ่านเข้ามาในหูแล้ว การสั่นของเสียงจะยังคงอยู่ในหูชั้นในต่อไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง แม้ว่าแหล่งกำเนิดเสียงจะหยุดส่งเสียงแล้วก็ตาม
พวกเขาทดลองกับหนูตะเภาโดยการวัดการเคลื่อนที่ของเยื่อ basilar membrane และศักย์ไฟฟ้าของ hair cells ซึ่งส่วนทั้งสองนี้อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า cochlea (ท่อรูปก้นหอยในหูชั้นใน) พวกเขาพบว่าการสั่นสะเทือนที่คงค้างอยู่ในหู (after-vibration) นั้นขึ้นอยู่กับความดังและความถี่ของเสียงที่เข้ามาในหูทีแรก แม้แต่หนูที่หูเสื่อมสภาพก็ยังมี after-vibration ที่น่าแปลกคือการสั่นสะเทือนนี้เหมือนกับว่าคงอยู่ได้ด้วยกลไกอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน ไม่ใช่แค่เสียงก้องธรรมดา
นักวิทยาศาสตร์คาดกันว่า after-vibration น่าจะเกี่ยวข้องกับความทรงจำระยะสั้นที่ไว้เปรียบเทียบคลื่นเสียง ส่วนที่ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้นยังต้องศึกษากันต่อไป
ที่มา - Science Daily | https://jusci.net/node/1713 | เข้าหูซ้ายไม่ทะลุหูขวา...เพราะยังต้องอยู่ในหูชั้นในก่อน |
นาซ่าแถลงข่าวการค้นพบร่วมระหว่าง ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และสหรัฐฯ ถึงการสำรวจอุกาบาตจากทวีปแอนตาร์กติกา และอาศัยการตรวจสอบอย่างละเอียดจึงพบแร่ Wassonite นี้ฝังตัวอยู่
แน่ Wassonite ที่พบมีขนาดเพียง 50x450 นาโนเมตร มันประกอบไปด้วยกำมะถันและไททาเนียม โดยตัวแร่พบในอุกาบาต Yamato 691 ล้อมรอบอยู่ในแร่ที่ไม่รู้จักอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ระหว่างตรวจสอบ
อุกาบาต Yamato 691 ถูกขุดพบมาตั้งแต่ปี 1969 แต่เทคโนโลยีในตอนนั้นไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบแร่ที่มีปริมาณน้อยๆ เช่นนี้ได้ โดยอุกาบาตลูกนี้มีจุดกำเนิดอยู่บริเวณระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี โดยมีอายุประมาณ 4.5 พันล้านปี
สมาคมสินแร่นานาชาติ (International Mineralogical Association) รับรอง Wassonite เข้าเป็นแร่ชนิดใหม่ในฐานข้อมูล จากเดิมที่มีกว่า 4500 ชนิด
ทีมงานระบุว่าการพบแร่ใหม่ๆ และได้ศึกษามันจะช่วยให้เราเข้าใจถึงการกำเนิดระบบสุริยะของเราได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา - NASA | https://jusci.net/node/1714 | นาซ่าประกาศพบแร่ใหม่จากอุกาบาต, ให้ชื่อ "Wassonite" |
รีเทรินทูดวงจันทร์ เหอๆ | https://jusci.net/node/1715 | SpaceX พัฒนาจรวดแรงสูง หวังลูกค้าจากกองทัพอากาศ |
Tevatron เป็นเครื่องเร่งอนุภาคของ Fermi National Accelerator Laboratory (หรือชื่อเล่นว่า Fermilab) ตั้งอยู่ที่ Batavia รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มันเคยเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ทรงพลังที่สุดในโลก แม้ว่าตอนนี้ตำแหน่งแชมป์ถูก Large Hadron Collider (LHC) ของ CERN สอยไปเสียแล้ว แต่ด้วยความที่ Tevatron ปฏิบัติการมาตั้งแต่ปี 1983 นักวิทยาศาสตร์ของ Fermilab จึงมีข้อมูลการทดลองเยอะมาก ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบคู่แข่งอื่นๆ การค้นพบ top quark ในปี 1995 ก็มาจากข้อมูลของ Tevatron
นักวิทยาศาสตร์ของ Fermilab ได้นำข้อมูลจากการทดลอง CDF ตั้งแต่ปี 2001-2009 มาวิเคราะห์ พวกเขาพบว่า มีอะไรบางอย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีฟิสิกส์มาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การทดลอง CDF เป็นการทดลองที่เร่งให้ลำโปรตอนและแอนตี้โปรตอนวิ่งมาชนกันที่พลังงาน 1.96 TeV จากนั้นก็คอยดักตรวจจับอนุภาคและกระแสพลังงานที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์รู้ดีอยู่แล้วว่าการชนกันจะทำให้เกิดอนุภาค W boson และ Z boson ขึ้น แต่ว่าอนุภาคทั้งสองจะสลายตัวไปเป็นอนุภาคอื่นๆ และพลังงานก่อนที่จะมาถึงเครื่องตรวจจับ ดังนั้นงานของนักวิทยาศาสตร์ก็คือการมองหาอนุภาคที่เกิดจากการสลายตัวเหล่านั้น เช่น อิเล็กตรอน, มิวออน เป็นต้น แล้วค่อยคำนวณย้อนกลับไปว่าอนุภาคเหล่านี้เกิดจากการชนที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
และ...แต่น แตน แต๊น... ท่านกำลังจะได้เห็นสิ่งเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์แนวหน้าทั่วโลกได้เห็นและกำลังตื่นเต้นอยู่ในขณะนี้ สิ่งนั้นแสดงไว้อยู่ในกราฟด้านล่าง แกนนอนของกราฟคือพลังงานของอนุภาค แกนตั้งคือจำนวนเหตุการณ์ที่ตรวจจับหรือคาดว่าจะตรวจจับเจออนุภาคที่ค่าพลังงานหนึ่งๆ
(โอเค ผมรู้มันไม่น่าตื่นเต้นหรอก ยังไงมันก็เป็นฟิสิกส์ ใครจะไปตื่นเต้น?)
เครดิตภาพ: Fermilab
รูปทางด้านซ้าย คือ กราฟที่มาจากข้อมูลดิบๆ พื้นที่สีแดงคือพลังงานของอนุภาคที่ได้จากการสลายตัวของ W boson สองตัว หรือ W boson กับ Z boson อย่างละตัว, สีเขียวเป็นของ W boson หนึ่งตัว, สีขาว-ชมพูเป็นของ top quarks, สีน้ำเงินเป็นของ Z boson หนึ่งตัว, ส่วนพื้นที่แรเงาสีเทาเป็นค่า QCD backbround
ที่น่าสนใจคือเส้นสีดำๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลอง CDF ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าตรงค่าพลังงาน 120-160 GeV เส้นสีดำมันเคลื่อนที่ออกห่างจากพื้นที่สีเขียวๆ ซึ่งเป็นค่าที่มันควรจะเป็นตามทฤษฎี พอมาดูรูปทางขวาซึ่งเป็นกราฟที่ตัดเอาค่าพลังงานแบ็คกราวนด์ทุกอย่างทิ้งไปแล้วเหลือแต่พลังงานที่เป็นผลลัพธ์ของการสลายตัวของ W boson และ Z boson จะเห็นได้ชัดเจนว่าพลังงานที่เครื่องตรวจจับวัดได้มียอดเขาอยู่ 2 ยอด ยอดแรกอยู่ที่ประมาณ 80GeV ยอดนี้คือพลังงานของอนุภาคที่ได้จากการสลายตัวของ W boson สองตัว หรือ W boson กับ Z boson อย่างละตัว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจอะไร ส่วนอีกยอดหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 144 GeV ซึ่งน่าแปลกมากว่ามันคืออะไร และเกิดจากอะไร เพราะมันคือพลังงานส่วนเกินที่ไม่ควรจะมีอยู่ตรงนั้น (jet excess)
นักฟิสิกส์พยายามหาคำอธิบายถึงยอดประหลาดนี้ สิ่งแรกที่พวกเขานึกได้ คือ ความคลาดเคลื่อนทางสถิติ มันอาจจะเป็นเพียงข้อมูลที่กระโดดออกมาจากค่าปกติของกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ ก็ได้ ถึงแม้ว่าผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติจะระบุว่าโอกาสที่จะเกิดยอดแบบนี้หรือสูงกว่านี้ด้วยความบังเอิญอยู่ที่เพียง 0.00076 ก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่กล้าตัดข้อสรุปเรื่องความบังเอิญทางสถิติทิ้งไป
(อืม... ข่าวนี้มีทั้งสถิติและฟิสิกส์ ดังนั้นหากคุณอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ขอให้ทำใจสบายๆ เข้าไว้ มีคนอีก 99.99% เป็นพวกเดียวกับคุณ รวมผมด้วย)
อีกคำอธิบายหนึ่ง คือ ยอดประหลาดนี้เกิดจากอนุภาคชนิดใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน เป็นไปได้ว่ามันอาจจะเป็น Higgs boson หรือ "อนุภาคพระเจ้า" ที่นักฟิสิกส์เฝ้าตามหามานานแสนนานก็ได้ แต่สำหรับกรณีของ Higgs boson นั้น นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ค่อนข้างมั่นใจว่ายอดประหลาดนี้ไม่ใช่แน่ๆ เพราะถ้ามันเป็น Higgs boson จริง ตามทฤษฎีมาตรฐานในปัจจุบัน จำนวนการเกิดจะต้องน้อยกว่านี้หลายร้อยเท่า
สิ่งที่ตามมาโดยปริยายหากว่ายอดประหลาดนี้เกิดจากอนุภาคชนิดใหม่ คือ ปัญหาทฤษฎีเกี่ยวกับแรงธรรมชาติพื้นฐาน ซึ่งว่ากันว่ามีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท คือ แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม แต่ละแรงก็จะมีอนุภาคที่เป็นตัวแทนของแรงนั้นๆ ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอนุภาคชนิดใหม่ ก็เป็นไปได้ว่าเราจะต้องมาแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องแรงธรรมชาติพื้นฐานกันใหม่ หนักที่สุดอาจถึงขั้นต้องเพิ่มแรงที่ห้าเข้าไปในทฤษฎีก็เป็นได้
Dan Hooper นักฟิสิกส์ของ Fermilab ให้ชื่อสมมติกับอนุภาคใหม่นี้ว่า Z' boson จากการคำนวณมันจะต้องมีมวล 150 GeV ซึ่งหนักกว่า Z boson ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับมัน นอกจากนั้น Z' boson จะต้องมีอันตรกิริยากับ top quarks อย่างรุนแรง แต่ไม่ทำอะไรหรือหลีกเลี่ยงไม่ทำอะไรกับอิเล็กตรอนและมิวออน
สรุปสุดท้าย เป็นอันว่าตอนนี้ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนกล้าฟันธงไปว่ายอดประหลาดนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ทุกคนยังคงเฝ้ารอผลการทดลองที่มากกว่านี้เพื่อการยืนยัน จินตนาการ แนวคิดของตัวเอง อย่างไรก็ดี Tevatron ยังมีอีกการทดลองหนึ่งที่ชื่อว่า DZero หรือ D0 หากผลจากการทดลอง D0 มียอดแบบนี้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีก ก็เป็นไปได้ว่านี่เป็นของจริง ไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ
Tevatron จะหยุดการทำงานเมื่อสิ้นเดือนกันยายน ปี 2011 นี้ด้วยเหตุผลทางด้านงบประมาณ หากข้อมูลจาก Tevatron ยังไม่พอที่จะยืนยันอะไรได้ สุดท้ายเราก็คงต้องหวังพึ่ง LHC พระเอกคนใหม่ของเรา (แต่ถ้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Fermilab เจออนุภาคใหม่ๆ จริง ไม่แน่ว่า Tevatron ก็อาจจะโชคดีได้ต่ออายุการทำงานไปด้วย)
บทความงานวิจัยฉบับเต็มอยู่ที่ http://arxiv.org/abs/1104.0699 (เป็นบทความวิจัยที่มีชื่อผู้แต่งร่วมเยอะที่สุดเท่าผมเคยเห็นมา ชื่อผู้แต่งอย่างเดียวล่อไปสองหน้าเต็มๆ) และบทความวิจัยเรื่องสมมติฐาน Z' boson อยู่ที่ http://arxiv.org/abs/1103.6035
ที่มา - ars technica, US LHC Blog, Science News | https://jusci.net/node/1716 | นักวิทยาศาสตร์ Fermilab สงสัย "Tevatron อาจพบอนุภาคชนิดใหม่" |
เมื่อ Gravity กำลังจะถูกพิสูจน์ว่าจริงๆแล้วมันไม่ใช่ "Fundamental Force" และ นักฟิสิกส์ไม่ต้องพยายามรวม "แรงพื้นฐานทั้งสาม" ที่สามารถเขียนสมการรวมกันได้แล้ว เข้ากับแรงดึงดูดอีกต่อไป
อันที่จริงแล้วการตั้งข้อสงสัยว่า แรงดึงดูดไม่ใช่แรงพื้นฐาน เริ่มมาตั้งแต่ยุคของไอน์สไตน์ ที่อธิบายว่าแรงดึงดูด เกิดจาก "ความโค้งของอวกาศ" ครับ
หลังจากนั้นก็มีงานวิจัยที่สังเกตว่า สมการที่ใช้ในการอธิบายแรงดึงดูด ไม่เหมือนสมการแรงชนิดอื่นๆเลย แต่กลับมีความคล้ายกับสมการที่ใช้อธิบาย Thermodynamic(พลศาสตร์ความร้อน) หรือ Fluid Mechanic(กลศาสตร์ของไหล) มากกว่า
ซึ่งหมายถึง แรงดึงดูด ไม่น่าจะใช่ แรงพื้นฐาน เหมือนกับแรงอื่นๆที่เกิดจากอนุภาค
แต่คือ Entropy : สภาวะที่เกิดจากการกระจายตัวเพื่อสร้างความสมดุลของระบบ เช่น อุณหภูมิสูงจะกระจายออกไปยังจุดที่อุณหภูมิต่ำกว่า
ข้อสรุปของงานวิจัยที่ต่อยอดออกมาอีก โดย Dr.Erik Verlinde (8 ธันวาคม 2009) คือการนำเอาสมการของ Holographic Principle มารวมกับสมการที่ใช้อธิบาย Black Hole Thermodynamics แล้วสามารถถอดสมการแรงดึงดูด ในรูปแบบเดียวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ออกมาได้
Holographic คือทฤษฎีที่อธิบายว่า สมการบางอย่าง คือ Holographic ของข้อมูลในมิติที่สูงกว่าหนึ่งขั้น
เช่น เราสามารถเขียนสมการที่ใช้เฉพาะพื้นผิวของลูกบอล(สองมิติ) มาคำนวนความน่าจะเปนต่างๆ ของแกสที่อัดอยู่ภายใน(สามมิติ)
ซึ่งทฤษฎีนี้ทำให้เกิดวิธีการศึกษาหลุมดำ โดยการตรวจวัดและวิเคราะห์ข้อมูลของหลุมดำจากแถบ Event Horizon เพื่อเขียนสมการที่จะใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆข้างในหลุมดำ ส่วนที่แสงหลุดออกมาไม่ได้
โดย Dr.Verlinde สรุปออกมาว่า มีความเปนไปได้ ที่ สมการของแรงดึงดูดที่เราวัดได้ คือ Holographic ของ Entropy ในมิติที่สูงกว่านั้นหนึ่งขั้น
เหมือนที่ Entropy ของของไหล จะสร้างแรงดันน้ำ/แรงลม
หรือ Entropy ของประจุไฟฟ้า จะสร้างแรงดันไฟฟ้า
สสารที่กระจัดกระจายในอวกาศ ก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ของ "มวล" หรือ "ข้อมูล" (ควาร์ก อนุภาค คลื่น ฯลฯ ตามหลัก Quantum คือ ข้อมูล)
และตามหลัก Entropy ของอวกาศ จะเกิดสมดุลได้ก็ต่อเมื่อสสารทั้งหมดบดตัวรวมกันเปนหนึ่งเดียว
การที่สสาร ทำตามหลัก Entropy คือสิ่งที่สร้างความโค้งของอวกาศ หรือก็คือแรงดึงดูดนั่นเอง
การที่ Fluid Mechanic และ Thermodynamic ทำให้เกิดงาน มีการเรียกว่า Entropic Force และปรากฏการณ์เหล่านี้ถูกเรียกรวมๆกันว่า Emergence phenomena
ซึ่งถ้าทฤษฎีนี้ถูกต้อง มันก็คือการจบยุคของการพยายามรวม Gravity เข้ากับ Fundamental Force ได้โดยสิ้นเชิง
แต่เดี๋ยวก่อน
ล่าสุด Dr.Archil Kobakhidze ได้ประกาศว่า เขาพิสูจน์แล้วว่า ทฤษฎีนี้ก็ยังไม่สามารถอธิบายกลศาสตร์ควอนตัมได้อยู่ดี จึงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทฤษฎีนี้ถูกต้องอย่างแท้จริง
ก็ต้องรอดูกันต่อไป
ที่มา : ArsTechnica
Wikipedia : Entropic Force
Wikipedia : Entropic Gravity
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ทฤษฎีของแรงดึงดูดในปัจจุบัน มีตัวหนึ่งซึ่งเชื่อถือกันกว้างขวาง ว่า มันคือแรงพื้นฐาน เกิดจากอนุภาคที่ชื่อ Graviton ต้องรวมเข้าไปในทฤษฎีแรงพื้นฐานทั้งสี่ได้แน่นอน
ซึ่ง Dr.Archil Kobakhidze ก็คือนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ทำงานอยู่กับทฤษฎีนั้นครับ
แต่ ทฤษฎี Entropic Gravity ก็ไปไกลถึงขั้นที่ว่า บอกว่า ไอ้แรงพื้นฐานทั้งสี่นั้น อธิบายได้ด้วย Entropic Force เหมือนกัน ฉะนั้น ไม่มี Fundamental Force อยู่จริงหรอก!
พวกเราก็นั่งบนภู ดูเสือกัดกันไป
ป.ล.
ขอบ่นหน่อย ข่าวนี้ปวดกระโหลกมากครับ นั่งไล่กวาดข้อมูลอยู่สี่ชั่วโมง ยังไม่รู้เลยว่าเข้าใจถูกจริงๆรึเปล่า โดยเฉพาะ Holographic Principle
เรื่อง Entropy ของสสารก็ยังนึกภาพไม่ค่อยออกเหมือนกัน | https://jusci.net/node/1717 | แรงดึงดูดอาจไม่ใช่แรง? |
นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ได้เริ่มโครงการ Laser Interferometer Space Antenna (LISA) ตั้งแต่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว แต่การถูกตัดงบประมาณปีนี้ ทำให้ NASA ต้องตัดสินใจเลิกลงทุนในโครงการ LISA ต่อ
จุดประสงค์ของ LISA คือการตรวจหาสิ่งที่เรียกว่า "คลื่นแรงโน้มถ่วง" (gravitational waves) ซึ่งเป็นคลื่นที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้ทำนายไว้ตั้งแต่ปี 1916 คลื่นแรงโน้มถ่วง คือ ระลอกคลื่นของความบิดเบี้ยวในห้วงกาล-อวกาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของมวลขนาดยักษ์อย่างรวดเร็ว เช่น ดาวสองดวงชนกัน, ซุปเปอร์โนวา เป็นต้น คล้ายกับเวลาเราโยนหินลงไปในน้ำ ก็จะมีวงคลื่นกระจายไปทั่วบ่อ
ความพยายามค้นหาคลื่นแรงโน้มถ่วงมีมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงหลักฐานว่าคลื่นแรงโน้มถ่วงมีจริงจากการสังเกตระบบพัลซาร์คู่ (binary pulsar) แต่จนถึงป่านนี้ก็ยังไม่มีใครเคยตรวจจับคลื่นแรงโน้มถ่วงตัวเป็นๆ ได้สักที เพราะแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่อ่อนมากๆ ถ้าไม่ใช่เครื่องตรวจจับที่ไวเลิศล้ำ ก็อย่าหวังจะได้เห็นร่องรอยอะไร
โครงการก่อนหน้าในการตรวจจับคลื่นแรงโน้มถ่วง คือ Laser Interferometer Gravitational Observatory (LIGO) ซึ่งโดยหลักการมันก็คือเครื่องตรวจจับการหักเหแสงขนาดยักษ์นั่นเอง ภายในเครื่องมีกระจกเรียงเป็นรูปตัว L สะท้อนแสงเลเซอร์ไปมา หากมีอะไรมากระทบให้ลำแสงเลเซอร์หักเหไปแม้เพียงเล็กน้อย ตัวตรวจจับจะรับค่าและบันทึกสัญญาณเหล่านั้นไว้เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์ดูว่า สิ่งที่มากระทบใช่คลื่นแรงโน้มถ่วงหรือไม่
LISA ก็อาศัยหลักการเดียวกับ LIGO หรือพูดง่ายๆ มันก็คือ "LIGO เวอร์ชันในอวกาศ" นั่นเอง นักวิทยาศาสตร์วางแผนจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสามลำ ให้มันโคจรเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ยานแต่ละลำจะยิงลำแสงเลเซอร์ไปยังตัวตรวจจับที่อยู่บนเพื่อนของมัน ถ้ายานถูกคลื่นแรงโน้มถ่วงสะกิดให้เลื่อนเพี้ยนไปจากวงโคจรเดิมแม้ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณกลับมายังโลกทันที
ข้อได้เปรียบของ LISA คือ มันจะไม่ถูกรบกวนจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แถมยังมีโอกาสถูกคลื่นแรงโน้มถ่วงซัดได้มากกว่า LIGO ด้วย แต่ดูเหมือนว่าข้อได้เปรียบนี้จะไม่เพียงพอสำหรับการดึงงบประมาณอันจำกัดของ NASA มาต่ออายุโครงการ
ปัจจุบัน LIGO ยังคงทำงานอยู่ และนักวิทยาศาสตร์วางแผนจะเพิ่มความไวของตัวตรวจจับให้มากขึ้นไปอีก ส่วนงบประมาณเดิมของ LISA จะถูกโอนไปยังโครงการ James Webb Space Telescope แทน
นอกจาก LISA แล้ว ข่าววงในยังระบุว่าโครงการอื่นๆ อีกหลายตัวก็มีแนวโน้มถูกลดงบหรือยกเลิกด้วย
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1718 | NASA เงินไม่พอ ตัดใจพับโครงการ LISA |
ทีมนักวิจัยที่นำโดย Ryota Kanai แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้ศึกษารูปสแกนสมองของนักการเมืองและนักศึกษาที่มีรสนิยมทางการเมืองแตกต่างกันไปจำนวน 90 คน ผลสรุปออกมาได้ว่าคนที่มีหัวคิดอนุรักษ์นิยมมีโครงสร้างสมองแตกต่างจากฝ่ายเสรีนิยมอย่างที่สามารถสังเกตเห็นได้
พวกเขาพบว่าคนที่มีความคิดอนุรักษ์นิยมมีสมองส่วนของ Amygadala ใหญ่กว่าพวกหัวเสรีนิยม ในขณะเดียวกัน พวกเสรีนิยมจะมีส่วน anterior cingulate ใหญ่กว่า
Amygdala เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของสมอง มีรูปร่างคล้ายเม็ดอัลมอนด์ เชื่อกันว่า Amygdala ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลและอารมณ์ ส่วน anterior cingulate เป็นพื้นที่ในส่วนหน้าของก้อนสมอง ทำหน้าที่เกียวกับความกล้าเผชิญหน้าและการมองชีวิตในแง่ดี
ลักษณะของสมองที่แตกต่างนี้สนับสนุนผลการวิจัยทางจิตวิทยาที่ระบุว่า พวกอนุรักษ์นิยมมักจะรู้สึกถูกคุกคามและวิตกกังวลเวลาเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ขณะที่พวกหัวก้าวหน้าชอบเปิดรับสิ่งใหม่ๆ มากกว่า
ที่มา - The Telegraph | https://jusci.net/node/1719 | รูปร่างสมองบ่งบอกรสนิยมทางการเมือง |
บทความสั้นๆ จาก Life's Little Mysteries นะครับ
เขาบอกว่านกกระจอกเทศไม่ได้เอาหัวมุดดินเวลาตกใจ แบบที่เราชอบเห็นในการ์ตูน
ความจริง เวลาตกใจ นกกระจอกเทศจะวิ่งหนี แต่ถ้ามันวิ่งหนีไปไหนไม่ได้ มันจะก้มหัวลงเรี่ยพื้นแล้วยืนนิ่งๆ สีของหัวมันจะกลืนไปกับพื้นทราย ส่วนลำตัวมันก็คล้ายๆ พุ่มไม้ นักล่าที่เข้าใจผิดก็จะได้มองข้ามมันไป คราวนี้พอคนเห็นนกกระจอกเทศจากที่ไกลๆ ในท่านั้น ก็เลยคิดไปเองว่ามันเอาหัวมุดดิน จริงๆ นกกระจอกเทศไม่ขุดรูด้วยซ้ำ
ที่มา Life's Little Mysteries
‹ [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร?
มึนเกี่ยวกับปีแสงครับ › | https://jusci.net/node/1720 | เข้าใจผิด: นกกระจอกเทศไม่ได้เอาหัวมุดดิน |
นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อกันว่าอคติความลำเอียงต่อสมาชิกต่างกลุ่มเป็นพฤติกรรมที่มีมาจากปัจจัยทางสังคมของมนุษย์ แต่การทดลองเร็วๆ นี้กับลิงรีซัส (rhesus monkeys) ทำให้ความคิดนี้ต้องเปลี่ยนไป มันเป็นไปได้ว่าการเหยียดคนต่างเผ่า, ต่างกลุ่ม, ต่างศาสนา อาจจะถูกฝังไว้อยู่ในวิวัฒนาการตั้งแต่ที่บรรพบุรุษของเรายังเป็นแค่ลิงจ๋อผลัดกันหาเหากินอยู่เลย
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลได้จัดการทดลองอันหนึ่งขึ้นมาที่เกาะร้าง Cayo Santiago เกาะนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเปอร์โตริโก้ บนเกาะมีลิงรีซัสจับจองอาศัยอยู่มากมายจนได้สมญานามว่าเป็น "Monkey Island" ลิงรีซัสเป็นสัตว์สังคม ประชากรลิงบนเกาะจับกลุ่มแยกกันอยู่เป็นกลุ่มย่อยๆ
ตอนแรกนักวิจัยทดลองเอารูปลิงมาตั้งไว้ข้างหน้าให้ลิงรีซัสแต่ละตัวดู ผลปรากฏว่าลิงรีซัสใช้เวลาจ้องรูปลิงต่างฝูงมากกว่ารูปลิงที่อยู่ร่วมฝูงเดียวกัน แม้ว่าลิงในรูปจะเป็นลิงต่างฝูงที่อดีตเคยอยู่ในฝูงเดียวกันก็ตาม ลิงรีซัสก็ยังจ้องรูปนานกว่าอยู่ดี (ลิงรีซัสตัวผู้จะแยกออกจากกลุ่มเมื่อมีอายุได้ระดับหนึ่ง นักวิจัยจึงใช้โอกาสนี้มาเป็นตัวแปรในการทดลองได้) พฤติกรรมนี้สื่อได้ว่าลิงรีซัสมีแนวโน้มระแวดระวังจับตาดูลิงต่างฝูงมากกว่า
เพื่อตัดประเด็นที่ว่า "อาจจะเป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็น ลิงจึงจ้องรูปลิงต่างฝูงนานกว่า" นักวิจัยจึงได้จับลิงรีซัสมาทำการทดลองที่เรียกว่า Implicit Association Test (IAT) ซึ่งเป็นการทดลองทางจิตวิทยาเพื่อดูความอคติที่ซ่อนอยู่ในใจลึกๆ ของคน ในการทดลอง IAT ผู้ทดลองจะได้ดูภาพสิ่งของหรือคนต่างๆ กัน พร้อมกับคำที่มีความหมาย "ดี" หรือ "แย่" หากผู้ทดลองมีอคติชอบสิ่งไหนมากกว่า ก็จะจับคู่สิ่งนั้นกับคำที่มีความหมายดีๆ ได้เร็วกว่า ในทางตรงกันข้าม หากผู้ทดลองเกลียดสิ่งไหน ก็จะใช้เวลาน้อยกว่าในการจับคู่สิ่งนั้นกับคำที่ความหมายแย่ๆ
เนื่องจากลิงไม่รู้ภาษาคน (และคนก็ไม่รู้ภาษาลิง) นักวิจัยจึงต้องปรับการทดลอง IAT เล็กน้อย โดยพวกเขาเอารูปลิงต่างฝูงและลิงร่วมฝูงมาให้ลิงรีซัสแต่ละตัวดู พร้อมกับ "สิ่งดีๆ" เช่น ผลไม้, หรือ "สิ่งแย่ๆ" เช่น แมงมุม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เมื่อรูปลิงต่างฝูงจับคู่มาพร้อมกับสิ่งแย่ๆ ลิงรีซัสจะใช้เวลาจ้องดูรูปน้อยกว่ารูปลิงต่างฝูงที่มาพร้อมกับสิ่งดีๆ ในขณะเดียวกัน หากนักวิจัยเอารูปลิงร่วมฝูงประกบกับสิ่งดีๆ ลิงก็จะใช้เวลาจ้องน้อยกว่าตอนประกบกับรูปแย่ๆ
การทดลองทั้งชุดให้ผลสอดคล้องกันว่า ลิงรีซัสมีความระแวงและอคติในทางลบต่อลิงต่างฝูงมากกว่าลิงในฝูงเดียวกัน พอมันเห็นรูปลิงต่างฝูงมากับสิ่งดีๆ ลิงจึงเกิดอาการสับสนและไม่ไว้ใจ ดังนั้นเลยใช้เวลาจ้องดูนาน แต่พอสลับเป็นสิ่งที่แย่ๆ ลิงจึงใช้เวลานิดเดียวในการจับคู่ (เพราะลิงมองว่ามันแย่เหมือนกันทั้งคู่) ผลที่เกิดขึ้นกับรูปลิงร่วมฝูงก็คงอธิบายได้ด้วยหลักการคล้ายๆ กัน
และเนื่องจากลิงรีซัสเป็นสัตว์ในตระกูลลิงที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่ามนุษย์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่า อคติเหยียดคนต่างเผ่าคงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์หรือลิงในสายโฮมินิน
ถ้าเรื่องของอคติผูกพันอยู่กับวิวัฒนาการของเรามาตั้งแต่เริ่มต้นขนาดนี้ ฉะนั้นความเป็นกลางสัมบูรณ์ก็คงเป็นแค่สิ่งหลอกลวงที่ไม่เคยมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน จริงๆ แล้วเคยมีงานวิจัยว่า "การที่รู้ตัวว่าตนเองมีอคติ" ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะปรับความคิดตัวเองให้ลดความรู้สึกในแง่ลบต่อคนต่างกลุ่มมากกว่า "การที่ไม่ยอมรับความจริงว่าตัวเองมีอคติ" ด้วย
ที่มา Scientific American
หมายเหตุ: ข่าวนี้ผมเขียนเพื่อหวังผลทางการเมือง (จะว่าไป ผมก็เขียนหวังผลเกือบทุกข่าวนั่นแหละ) ผมฝากย่อหน้าสุดท้ายให้คนที่ถูกเรียกว่าเป็น "สลิ่ม" กลับไปลองคิดดูนะครับ (ไม่ต้องถามผมนะครับว่า "สลิ่ม" คือใคร? เป็นอย่างไร?) | https://jusci.net/node/1721 | ลิงรีซัสก็มีสองมาตรฐาน...แบ่งพวกฉัน-พวกเธอ |
ในชีวิตประจำวันเรามีสิ่งต้องต้องตัดสินใจเลือกมากมาย เช่น จะกินอะไร จะซื้อของที่ไหน หรือจะดูหนังเรื่องอะไร ที่ไหน บางคนอาจจะต้องตัดสินใจว่า จะไปดูกับใครอีกต่างหาก แล้วการที่เรามีตัวเลือกเยอะ ๆ แบบนี้ จะส่งผลเสียต่อเราอย่างไรบ้าง?
จากการศึกษาในประเทศสหรัฐพบว่า การมีทางเลือกที่มากเกินไปส่งผลเสียต่อเรา คือ ลดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น และลดการให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณะประโยชน์
ในการทดลองครั้งแรก นักวิจัยบอกให้ผู้ร่วมการทดลองครุ่นคิดถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่ตนมี คนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับนโยบายสนับสนุนความเท่าเทียมในสังคม และสาธารณประโยชน์มากนัก แต่ในอีกกลุ่มที่ไม่ได้บอกให้ทำเช่นนี้ พวกเขากลับให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากกว่า
ในอีกการทดลอง ผู้ที่ครุ่นคิดถึงทางเลือกต่าง ๆ อยู่นั้น จะตำหนิเหยื่อผู้ที่นำเคราะห์ร้ายมาสู่ตนเองมากกว่าอีกกลุ่ม เช่น ไปเดินซอยเปลี่ยว แล้วโดนข่มขืน ก็จะถูกมองว่า "อยากโดน" แม้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้เส้นทางนั้นก็ตาม
เพื่อศึกษาว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมด้วยหรือไม่ นักวิจัยได้ทำการทดลองรูปแบบเดียวกันนี้ในประเทศอินเดีย และพบว่า ความสามารถในการเข้าใจ การยอมรับข้อเสียของแต่ละบุคคล ในนักศึกษาชาวอเมริกันลดลง เมื่อพวกเขากำลังครุ่นคิดถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่มี แต่ในนักศึกษาชาวอินเดียกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ในสหรัฐ ประชาชนใส่ใจ และให้ความสำคัญกับอิสระที่จะเลือก แต่ทางเลือกที่มีมากมายนั้น กลับทำให้ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมทั้งความคิดเพื่อสาธารณประโยชน์ลดลง
แล้วคนไทยล่ะ?
ที่มา: APS | https://jusci.net/node/1722 | มีทางเลือกเยอะก็มีข้อเสีย? |
คุณมีนัดสำคัญมาก แต่ดันตื่นสาย คุณจำเป็นต้องเรียกแท็กซี่ คุณจะเรียกแท็กซี่กลุ่มไหน ระหว่าง แท็กซี่ที่อยู่ใกล้แต่ไม่คุ้นเคย หรือแท็กซี่ที่อยู่ไกลแต่สนิทสนมกับคุณดี?
สำหรับคำถามนี้ การเลือกใช้บริการแท็กซี่ที่อยู่ใกล้ ดูจะสมเหตุสมผลกว่า แต่ความจริงแล้ว คนส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะเรียกหาแท็กซี่ที่เขาคุ้นเคย ถึงแม้จะรู้ดีกว่า มันไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
ในการทดลองเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ นักวิจัยให้ผู้ร่วมทดลองนั่งเล่นเกมที่ชื่อว่า Math Tower ซึ่งเป็นเกมที่ออกแบบมาเพื่อให้ น่าเบื่อ และยาก หลังจากนั้น นักวิจัยจะเสนอให้เลือกเล่นเกมอื่น 2 เกม คือ Puzzle Castle ที่มีโลโก้คล้ายกับเกม Math Tower กับ Word Forest ที่มีโลโก้ต่างออกไป และแบ่งผู้ร่วมทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ถูกบอกว่า จะมีโอกาสได้เงินรางวัล 50 ดอลล่าร์ ถ้าทำแต้มได้ถึงที่กำหนด ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้บอกไว้ และนักวิจัยได้บอกกับทุกคนว่า คุณจะทำแต้มในเกม Puzzle Castle ได้ไม่เยอะนัก
ผลปรากฏว่า กลุ่มที่อยู่ภายใต้แรงกดดัน (กลุ่มที่ถูกบอกว่าจะมีโอกาสได้รางวัล) จะเลือกเล่นเกม Puzzle Castle ที่ผู้ร่วมทดลองคุ้นเคยกับโลโก้มากกว่า ซึ่งทำให้พวกเขาได้คะแนนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
เราจะรู้สึกสุขสบาย เมื่ออยู่กับสิ่งที่เราคุ้นเคย โดยเฉพาะเวลาที่เรากำลังเครียด หรือภายใต้แรงกดดัน แม้ว่ามันจะส่งผลเสียต่อเราในภายหลังก็ตาม ดังนั้น เราควรฝึกให้คิดถึงเป้าหมายหลักเป็นอย่างแรก ไม่ใช่นั้นเราจะตกลงสู่หลุมพรางของความสะดวกสบาย
ที่มา: APS | https://jusci.net/node/1723 | ความคุ้นเคย ทำให้เราทำเรื่องโง่ ๆ |
หนึ่งในทีมที่พัฒนา/วิจัยซอฟท์แวร์ตัวนี้ เป็นเด็กไทยนะครับ ถ้าสนใจอยากสัมภาษณ์ ผมติดต่อให้ได้นะ :) | https://jusci.net/node/1724 | ซอฟต์แวร์ช่วยแยกแยะ "ลาย" ของม้าลายแต่ละตัว |
สวัสดีครับ ต้องขอรบกวนทุกท่านหน่อยครับ
วันนี้อ่านข่าวในเว็บผจก. ว่ามีดาวเคราะห์ระเบิดห่างออกไปจากโลก 3.8 พันล้านปีแสง
ที่งงก็คือมันหมายถึงว่าดาวดวงนี้ระเบิดไปเมื่อ 3.8 พันล้านปีที่แล้วเหรอครับ เพราะ 1 ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางได้ใน 1 ปี
ผมเข้าใจว่าระเบิดห่างออกไปเป็นระยะทาง 3.8 พันล้านปีแสง แต่ไม่คิดว่ามันจะระเบิดเมื่อ 3.8 พันล้านปีที่แล้ว
รบกวนด้วยครับ ผมไม่แม่นวิทยาศาสตร์จริงๆ แต่พยายามทำความเข้าใจอยู่ครับ
ขอบคุณครับ
‹ First Orbit สัมผัสประสบการณ์ที่มนุษย์คนแรกออกสู่อวกาศ | https://jusci.net/node/1725 | มึนเกี่ยวกับปีแสงครับ |
Blognone แสดงสถิติกับเป็นประจำทุกปี ครึ่งปี แล้ว Jusci จะมีบ้างไหมครับ?
คร่าว ๆ ไม่ต้องละเอียดแบบ Blognone ก็ได้ครับ
‹ [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร?
เข้าใจผิด: นกกระจอกเทศไม่ได้เอาหัวมุดดิน › | https://jusci.net/node/1726 | อยากเห็นสถิติของ Jusci บ้าง |
รายงานวิจัยล่าสุดของ ดร. Elissaios Papyrakis แห่ง University of East Anglia และ ดร. Geethanjali Selvaretnam แห่ง University of St Andrews ในสหราชอาณาจักร ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอายุคาดหวัง (life expectancy) ของประชากรและความสนใจในทางศาสนา
จากการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรทั่วโลกที่ได้มาจาก World Value Survey Dataset และ World Bank พวกเขาพบว่าในขณะที่แนวโน้มอายุความคาดหวังของประชากรเพิ่มขึ้นนั้น ความสนใจในกิจกรรมศาสนาและความศรัทธาต่อหลักศาสนากลับลดลง แนวโน้มลักษณะนี้เห็นได้ชัดเจนมากในประเทศพัฒนาแล้วที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า ประชากรโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้รับการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ดีๆ ทำให้มีโอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวเพิ่มมากขึ้น เช่น ในสหราชอาณาจักร มีคนที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปจำนวน 26% เข้าโบสถ์หรือร่วมพิธีกรรมทางศาสนาเป็นประจำ ตัวเลขนี้หดลงเหลือเพียง 11% ในหมู่คนที่อายุ 16-44 ปี เรียกว่าหายไปมากกว่าครึ่งเสียอีก, หรือในสหรัฐอเมริกาตัวเลขของคนรุ่นใหม่ที่เคร่งครัดศาสนาก็ลดลงเช่นกัน
นักวิจัยทั้งสองสันนิษฐานว่าเบื้องหลังของแนวโน้มนี้ส่วนหนึ่งคงจะมาจากแนวทางคำสอนของศาสนาที่มักจะเน้นไปถึงประโยชน์ที่จะได้รับในชีวิตหลังความตายหรือชาติหน้า เช่น การขึ้นสวรรค์ไปอยู่กับพระเจ้า, หรือการลงไปปีนกระทะทองแดงในนรก เป็นต้น เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับอายุคาดหวังที่ยาวนานเลยไม่อยากจะให้ความใส่ใจนัก เพราะคิดว่ายังชีวิตสนุกๆ ให้ได้เริงร่ากับสวรรค์บนดินไปได้อีกนาน ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่มีเวลาบนโลกเหลือน้อยลงก็อยากจะเก็บต้นทุนทางศาสนาไว้ใช้ในชีวิตใหม่ตามความเชื่อ (ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยแสดงให้เห็นด้วยว่าคนที่ใกล้ตายมักจะเชื่อในแนวคิด "Intelligent Design" ซึ่งอธิบายว่าทุกสิ่งในจักรวาลนี้ล้วนถูกกำหนดให้เป็นไปด้วยอำนาจของผู้สร้างอันชาญฉลาด)
อย่างไรก็ตาม ศาสนาในประเทศยากจนที่ประชากรยังมีอายุเฉลี่ยไม่สูงนักยังคงแข็งแกร่งอยู่ สงสัยจะจริงตามคำพูดที่ว่า "ความทุกข์ยากทำให้ศาสนาเบ่งบาน"
ที่มา - Live Science, Science Daily | https://jusci.net/node/1727 | อายุที่ยืนขึ้นทำให้คนรุ่นใหม่สนใจศาสนาน้อยลง |
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ญี่ปุ่นได้ยกระดับผลกระทบของอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาเป็นระดับ 5 และผ่านมาประมาณสามสับดาห์ ล่าสุดในวันที่ 12 เมษายน 2011 NISA (Nuclear and Industrial Safety Agency) ซึ่งเป็นองค์กรด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศเพิ่มระดับขึ้นมาเป็นระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามเกณฑ์มาตรฐาน International Nuclear Event Scale (INES) ของ IAEA แล้ว
ระดับ 7 เป็นระดับความรุนแรงที่เท่ากับอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลในปี 1986 ที่มีการรั่วไหลและส่งกระทบร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างระดับทวีป อย่างไรก็ตาม NISA ยังคงยืนยันว่าปริมาณการรั่วไหลกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาโรงที่ 1 มีเพียงหนึ่งในสิบของที่เชอร์โนบิลเท่านั้น
จากการประเมินล่าสุดขององค์การด้านนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเอง ตัวเลขของปริมาณของสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 และซีเซียม-137 ที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิอยู่ที่ 370,000-630.000 Terabecquerel (ค่าประเมินเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่ละสำนัก)
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของหน่วยวัดกัมมันตภาพรังสีได้จากบทความ อธิบายหน่วยที่เกี่ยวกับการวัดกัมมันตรังสี
ที่มา - NHK World
ขอบคุณ คุณ echo ที่ได้แจ้งข่าวมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย | https://jusci.net/node/1728 | [Breaking News] ญี่ปุ่นยกระดับอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาเป็นระดับ 7 |
จากผลการทดลองของ US National Toxicology Program (NTP) พบว่าสารสกัดจากต้นว่านหางจระเข้นั้น มีผลทำให้เกิดเนื้องอกในลำไส้ในหนูทดลอง
ซึ่งหนูที่ใช้ในการทดลองนั้นมีทั้ง rat และ mouse โดยแบ่งกลุ่มหนูออกเป็น หนูกลุ่มที่กินน้ำที่มีส่วนผสมจากสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ ในปริมาณ 1.5% ของน้ำหนักตัว และกลุ่มที่กินแต่น้ำเปล่า ซึ่งจากการทดลองนานกว่า 2 ปีพบว่า หนู rat ตัวผู้ 74% และตัวเมีย 39% ที่กินน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำว่านหางจระเข้นั้น มีเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ แต่ไม่พบเนื้องอกในหนูกลุ่มที่กินแต่น้ำเปล่า และในหนู mouse ไม่พบเนื้องอกในทั้ง 2 กลุ่ม แต่เพราะแบคทีเรียในลำไส้ของหนู mouse นั้นเป็นชนิดที่แตกต่างออกไป นักวิจัยเลยใช้ผลการทดลองในหนู rat มาเป็นตัวเทียบกับในคน
โดยการทดลองขั้นต่อไปจะเป็นการหาว่าส่วนประกอบตัวไหนในน้ำว่านหางจระเข้ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกในหนูทดลอง และการทดลองนี้ก็มีเป้าหมายที่จะโยงไปหาผลิตภัณท์ที่มีว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบที่มีขายตามท้องตลาด และอ้างว่าเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพจากธรรมชาติ หรืออ้างสรรพคุณเกี่ยวกับการรักษาโรคอย่าง โรคหอบ และเบาหวาน
นักวิจัยยังทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า บางคนนั้นนิยมบริโภคอาหารเสริมจากสมุนไพรเพราะคิดว่ามันมีประโยชน์ ซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีความรู้เกี่ยวกับมันน้อยมาก ว่ามันมีประโยชน์หรือเป็นโทษ และการที่มันมาจากธรรมชาติไม่ได้แปลว่ามันจะปลอดภัย.
ปล. ผมก็ไม่แน่ใจว่า rat กับ mouse ต่างกันยังไง (เข้าใจว่า rat น่าจะประมาณหนูบ้านตามท่อน้ำ แล้ว mouse นี่ออกแนวหนูตัวเล็กๆ ที่เค้านิยมเลี้ยงกัน)
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1729 | น้ำว่านหางจระเข้ทำให้เกิดเนื้องอกในหนูทดลอง |
ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ (Einstein's theory of special relativity) เวลาของวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจะวิ่งช้ากว่าเวลาของวัตถุที่เคลื่อนที่ช้ากว่า (ใช่ครับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษบอกว่า "เวลา" ของแต่ละคนไม่เท่ากัน) ดังนั้นหากคุณนั่งบนยานอวกาศที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าแสงสักรอบหนึ่ง พอคุณกลับมาที่โลกอีกครั้ง เพื่อนร่วมรุ่นคุณก็จะแก่แซงหน้าคุณไปอาจเป็นสิบๆ ปีก็ได้
นักพัฒนาโปรแกรมชาวญี่ปุ่น Mitsuru Kamiyama เลยได้ไอเดียทำโปรแกรมบน iOS ออกมาขายเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ชื่อโปรแกรมนั้นคือ Einstein's Pedometer
หลักการของโปรแกรม Einstein's Pedometer ก็ง่ายๆ คือ จับความเร็วในการเคลื่อนที่ของคุณ (หรือจะให้ถูก "การเคลื่อนที่ของ iPhone/iPad/iPod") ผ่านทาง GPS แล้วไปคำนวณด้วย Lorentz transformation เพื่อดูว่าเวลาของคุณเดินช้าลงกว่าคนที่อยู่นิ่งๆ ไปเท่าไร
จากการทดลองเล่นของ Gizmag พบว่า การเดินเล่นเร็วๆ รอบหนึ่งช่วยให้เวลาของผู้เดินช้าลงไปได้ถึง 0.00021440 นาโนวินาทีเลยทีเดียว! ลองคิดดูสิ ถ้าคุณวิ่ง 24 ชั่วโมงต่อวันสักหมื่นสองหมื่นปีต่อเนื่อง คุณอาจจะแก่ช้าลงไปได้เป็นนาทีๆ เลยนะ O.o
ที่มา - Gizmag | https://jusci.net/node/1730 | อยากรู้ว่าเวลาของคุณเดินช้าลงไปเท่าไรแล้ว... There's an app for that! |
ตั้งแต่ปี 1950 มาแล้ว นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี Enrico Fermi ได้ตั้งคำถามว่า "ถ้ามีสิ่งมีชีวิตอันทรงภูมิปัญญาเกิดขึ้นมากมายในจักรวาล ทำไมมนุษย์โลกอย่างเราถึงไม่ได้รับการติดต่อหรือสังเกตเห็นสัญญาณอะไรจากพวกเขาเลย" คำถามนี้ได้ถูกส่งผ่านมาถึงปัจจุบันในชื่อ Fermi Paradox อันโด่งดัง
นักวิทยาศาสตร์ได้ครุ่นคิดกับ Fermi Paradox มาเป็นเวลานาน คำตอบก็มีมากมายตามแต่จินตนาการของแต่ละคน แต่ Adrian Kent แห่ง Perimeter Institute ประเทศแคนนาดา ได้เสนอคำอธิบาย Fermi Paradox อันใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการโดยทั่วหน้า
Adrian Kent คิดว่า เหตุผลที่ทำให้เราไม่เจอใครอื่นเลยในอวกาศ อาจจะเป็นเพราะว่าสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาเหล่านั้นจงใจปิดบังอำพรางตัวเอง พวกเขาคงไม่ต้องการเปิดเผยตัวต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาจจะมาสร้างอันตรายให้กับเผ่าพันธุ์บนดาวของเขา คล้ายๆ กับแมลงที่อำพรางหลบซ่อนจากผู้ล่า
สมมติฐานข้อนี้ของ Adrian Kent ได้รับคำวิจารณ์มากมาย มีคนสังเกตว่า "ต่อให้ถ้ามันจริงดังว่า อะไรคือผู้ล่าหรือสิ่งที่จะมาทำอันตรายพวกเขา และทำไมเราถึงไม่ได้สังเกตเห็นสัญญาณของผู้ล่าเหล่านั้นบ้าง"
หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าสมมติฐานนี้สอดรับกับคำแนะนำเมื่อปีกลายของท่าน Stephen Hawking แห่งชาวเราที่เสนอให้มนุษย์โลกหลบเลี่ยงมนุษย์ต่างดาวเพราะพวกเขาอาจจะเข้ามารุกรานและแย่งทรัพยากรของชาวโลกไปก็ได้
บทความของ Adrian Kent ใช้ชื่อว่า Too Damned Quiet? และเผยแพร่ใน arXiv.org
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1731 | มนุษย์ต่างดาวอาจจะจงใจหลบซ่อนจากการค้นหาของเรา |
ทีมวิจัยที่นำโดย Jonathan Levav แห่ง Columbia Business School ในนิวยอร์ค ได้วิเคราะห์ข้อมูลบันทึกคดีการตัดสินให้อภัยโทษของศาลจำนวน 1,102 คดีโดยผู้พิพากษา 8 คน ผู้พิพากษาทั้งแปดคนนี้มีประสบการณ์การตัดสินคดีต่างๆ มาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปีซึ่งก็ต้องเรียกได้ว่าประสบการณ์โชกโชนเลยทีเดียว
ผลการวิเคราะห์ที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างน่าตกใจของผลการตัดสินและเวลาที่ศาลพิจารณาคดีนั้นๆ นั่นคือ ในการทำงานของศาลอิสราเอลนั้น ผู้พิพากษาจะมีเวลาทำงานสามช่วงในแต่ละวัน แต่ละช่วงจะถูกคั่นด้วยการพัก ได้แก่ พักทานของว่างรอบเช้า และพักทานอาหารเที่ยง เมื่อนักวิจัยดูเฉพาะคดีที่ตัดสินในช่วงเวลาตอนเช้าเริ่มการทำงานของวัน, เวลาเริ่มทำงานช่วงสายหลังพักทานของว่าง, และเวลาเริ่มทำงานช่วงบ่ายหลังพักเที่ยง นักโทษในคดีเหล่านี้ได้รับอภัยโทษมากถึง 65% โดยเฉลี่ย ตัวเลขนี้ลดลงเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไปจนนักโทษที่ถูกพิจารณาคดีเมื่อจวนจะถึงเวลาช่วงพักหรือก่อนเลิกงานจะถูกตัดสินให้เข้าไปอยู่ในคุกตามเดิมแทบทุกราย โอกาสรอดหล่นลงไปแตะ 0% เสร็จแล้วตัวเลขก็เด้งขึ้นมาอีกครั้งหลังจากพัก วนคาบไปอย่างนี้ทั้งวัน (เวลาพิจารณาและเวลาพักในแต่ละวันถูกบันทึกไว้อยู่แล้วในบันทึกของศาล)
Jonathan Levav ยังตะลึงกับผลที่ออกมา เขาแทบจะไม่ต้องเอาข้อมูลไปทดสอบทางสถิติด้วยซ้ำเพราะตัวเลขมันชี้ชัดมาก แม้ว่าจะเอาตัวแปรอื่นๆ เช่น เพศของนักโทษ, เชื้อชาติของนักโทษ, ความร้ายแรงของคดี, การกระทำผิดก่อนหน้า เป็นต้น มาร่วมพิจารณาด้วย ความสัมพันธ์ของผลการตัดสินคดีและเวลาที่ตัดสินก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมเลย
นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าสาเหตุน่าจะมาจากความหิวหรือความเหนื่อยล้าทางจิตใจของผู้พิพากษา เคยมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าคนที่ต้องตัดสินใจเลือกอะไรมาทั้งวันจนเหนื่อยล้ามักจะหันไปเลือกตัวเลือกที่ง่ายที่สุดในตอนท้ายของวัน ซึ่งในกรณีของผู้พิพากษา ทางเลือกที่ง่ายที่สุดก็คือส่งนักโทษเข้าไปในคุกตามเดิม
Jeffrey Rachlinski แห่ง Cornell University ซึ่งไม่ได้ร่วมอยู่ในงานวิจัยนี้ตั้งข้อสังเกตว่า ผลวิจัยนี้ดูดีเกินไป มันอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้พิพากษาแอบจัดลำดับการพิจารณาคดีไว้แล้ว แต่นักวิจัยไม่รู้
อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครทราบว่าการตัดสินที่ใจดีเกินไปหรือเข้มงวดเกินไปของศาลมีผลกระทบอย่างไรต่อกระบวนการยุติธรรม อย่างไหนกันแน่ถึงจะถูกต้อง เป็นกลาง และเที่ยงธรรม
ที่มา - Discovery News, Nature
ถ้าเป็นศาลไทย คงมีบางคนตั้งข้อสงสัยว่าผู้พิพากษาอาจจะไปรับถุงขนมมากินตอนพักหรือเปล่า? ในขณะที่บางคนก็คงเถียงว่าศาลไทยมีมาตรฐานจะตายไป คงไม่มีปล่อยมั่วซั่วแน่ เพราะมาตรฐานศาลไทยนั้นเที่ยงตรงดุจดั่งเปิดพจนานุกรมอ่านกันเลยทีเดียว | https://jusci.net/node/1732 | ผู้พิพากษาจะใจดีขึ้นหลังจากได้พักทานอาหาร |
ในวาระฉลองครบรอบ 50 ปีของการส่งมนุษย์คนแรก Yuri Gagarin ขึ้นไปท่องอวกาศ The Attic Room จึงสร้างหนังสารคดีโดยจับเอาภาพจำลองสถานการณ์จาก ISS ประกอบเข้ากับเสียงที่บันทึกจริงของ Yuri Gagarin ในวันนั้น
ตัวหนังยาวประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งก็เท่าๆ กับเวลาที่ Yuri Gagarin อยู่ในยานอวกาศที่โคจรรอบโลก
กดเข้าไปดูได้ที่ http://www.youtube.com/firstorbit
‹ เข้าใจผิด: นกกระจอกเทศไม่ได้เอาหัวมุดดิน
มึนเกี่ยวกับปีแสงครับ › | https://jusci.net/node/1733 | First Orbit สัมผัสประสบการณ์ที่มนุษย์คนแรกออกสู่อวกาศ |
ไอบีเอ็มสาธิตทรานซิสเตอร์แบบใหม่ที่สร้างขึ้นจากกราฟีน เพิ่มความถี่สูงสุดที่รองรับไปถึง 155GHz เร็วกว่าทรานซิสเตอร์แบบเดิมๆ ไปถึง 50% โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก DARPA หน่วยงานวิจัยด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาทรานซิสเตอร์ความถี่สูงเพื่อใช้ในงานสัญญาณวิทยุ
อย่างไรก็ตามทรานซิสเตอร์กราฟีนยังไม่เหมาะต่อการใช้งานในคอมพิวเตอร์ดิจิตอล เนื่องจากระดับศักย์ไฟฟ้าในการทำงานยังไม่เหมาะต่อคอมพิวเตอร์ดิจิตอล แต่การใช้งานในวงจรอนาล็อกเพื่อขยายสัญญาณนั้นไม่ใช่เรื่องไกลเกินไปนัก
แชมป์ทรานซิสเตอร์ที่ทำงานได้เร็วที่สุดในโลก เป็นของไอบีเอ็มมาตั้งแต่ปีที่แล้วเมื่อทีมวิจัยของไอบีเอ็มแสดงทรานซิสเตอร์ 100GHz
ที่มา - ComputerWorld | https://jusci.net/node/1734 | IBM สาธิตทรานซิสเตอร์แบบกราฟีนทำงานที่ 155 GHz |
ทีมนักวิจัยจาก Cleveland Clinic ได้สำรวจสุขภาพผมของผู้หญิงชาวแอฟริกัน-อเมริกันจำนวน 326 คน พวกเขาพบว่า 59% ของผู้หญิงเหล่านี้มีอาการผมร่วงตรงกลางศีรษะที่เรียกว่า central centrifugal cicatricial alopecia ลักษณะอาการของผมร่วงชนิดนี้สังเกตได้จากการหลุดร่วงของผมที่เริ่มจากบริเวณกลางกระหม่อม จากนั้นก็ลามไปรอบศีรษะ บริเวณหนังศีรษะที่ผมร่วงไปจะมีร่องรอยของแผลเป็นปรากฏ
เมื่อนักวิจัยเอาปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์ดูความสัมพันธ์ ก็พบว่าผู้หญิงที่มีอาการผมร่วงกลางศีรษะมีสัดส่วนการใช้สารเคมียืดผม, ถักเปีย, ต่อผม, ถักผม, และการใช้หวีร้อนๆ มากกว่าผู้หญิงที่มีสุขภาพผมปกติ เช่น 96% ของผู้หญิงที่มีอาการผมร่วงเคยใช้สารเคมียืดผม ในขณะที่สัดส่วนนี้มีเพียง 91% ของผู้หญิงทั้งหมดในกลุ่มตัวอย่าง, 57% ของผู้หญิงที่มีอาการผมร่วงเคยทำการต่อผมหรือถักเปียหรือถักผม สัดส่วนนี้มีเพียง 47.6% ของผู้หญิงทั้งหมดในกลุ่มตัวอย่าง
นอกจากนี้ผู้หญิงที่ผมร่วงยังมีสัดส่วนของการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วย ผู้หญิงที่ผมร่วงเป็นเบาหวาน 17.6% ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอยู่ที่เพียง 8%
นักวิจัยเชื่อว่า การทำอะไรๆ กับผมที่มีการดึงหนังศีรษะเข้ามาเกี่ยวข้องน่าจะทำให้เซลล์รากผม (hair follicle) เกิดความเสียหาย ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียรุกลามก็จะทำให้ผมร่วงและตกสะเก็ดเป็นรอยแผลเป็น
สิ่งที่นักวิจัยคิดว่าเป็นเรื่องแย่ที่น่ากังวลที่สุด คือ ยิ่งผมร่วงมากเท่าไร ผู้หญิงก็มักจะใช้การถักเปียหรือถักผมปกปิดร่องรอยผมร่วง ซึ่งเป็นการเร่งวัฏจักรให้เซลล์รากผมเสียหายหนักขึ้นและผมร่วงมากขึ้น แถมราคาค่าทำผมก็ไม่ใช่เป็นเงินน้อยๆ ดังนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่จึงมักจะรักษาทรงผมไว้เป็นสัปดาห์ๆ หรือนานกว่านั้นเพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
ที่มา - Live Science
อันนี้ไม่เกี่ยวกับข่าว: ทรงผมผู้หญิงที่ผมชอบ คือ ผู้หญิงผมยาวที่รวบมวยผมไว้ด้านหลัง งงดีมั้ย? สรุปผมชอบผู้หญิงผมยาวหรือผมสั้นยังไม่แน่ใจตัวเองเลย | https://jusci.net/node/1735 | การยืดผม, ต่อผม, ถักเปีย, ถักผมอาจมีส่วนทำให้ผมร่วง |
นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อกันว่าหนอนผีเสื้อกลางคืน burnet moth ที่อาศัยอยู่บนต้น trefoil มีไซยาไนด์เพราะว่ามันเก็บสะสมไซยาไนด์จากใบของต้น trefoil เข้าไว้ในร่างกาย การรับสารพิษจากอาหารเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการป้องกันตัวทีหลังนี้เป็นวิธีที่แมลงและสัตว์หลายชนิดใช้ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ให้เห็นว่าหนอน burnet moth สามารถสร้างไซยาไนด์เองได้ แม้ว่าจะไม่ได้กินใบต้นไม้ที่มีไซยาไนด์เลยก็ตาม
ทีมวิจัยที่นำโดย Niels Bjerg Jensen แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เอาหนอนผีเสื้อกลางคืน burnet moth มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ พวกเขาพบว่าหนอนที่เลี้ยงบนใบไม้ที่ไม่ได้สร้างไซยาไนด์สามารถสร้างสารประกอบไซยาไนด์สองตัว คือ linamarin และ lotaustralin ซึ่งทั้งสองตัวนี้เป็นตัวเดียวกับสารไซยาไนด์ที่ต้น trefoil สร้างเป๊ะๆ
เมื่อตรวจสอบยีนที่หนอนใช้ในการสร้างไซยาไนด์ ก็ยังพบอีกว่ายีนที่เกี่ยวข้องในการสร้างไซยาไนด์ในหนอนมีทั้งสิ้น 3 ชุด เท่ากับจำนวนชุดของยีนที่ต้น trefoil ใช้สร้างไซยาไนด์ โปรตีนที่ได้การแปลรหัสยีนในหนอนและพืชก็มีรูปร่างหน้าตาคล้ายๆ กัน แม้ว่าลำดับเบสและตำแหน่งของยีนจะแตกต่างกันก็ตาม นอกจากนี้สารตั้งตั้นและกระบวนการที่ใช้สร้างไซยาไนด์ก็เหมือนกันทุกประการราวกับถอดแบบออกมาจากพิมพ์เขียวเดียวกัน (สารตั้งต้น คือ กรดอะมิโน valine และ isoleucine)
การที่สิ่งมีชีวิตสองชนิดทีไม่ได้เกี่ยวเนื่องกันทางวิวัฒนาการมีลักษณะทางชีววิทยาคล้ายกัน เราเรียกว่า Convergent evolution ซึ่งเป็นลักษณะทางวิวัฒนาการที่พบตัวอย่างได้ทั่วไป ถึงอย่างไรก็ตาม การที่หนอนและพืชซึ่งอยู่กันคนละ Kingdom ("Kingdom Planta - อาณาจักรพืช" และ "Kingdom Animalia" - อาณาจักสัตว์) วิวัฒนาการจนสร้างสารพิษได้เหมือนกันทั้งสารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ และวิธีการ ต้องนับว่าเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นมาก
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1736 | ต้นไม้สร้างไซยาไนด์ได้ หนอนก็สร้างได้ |
Study suggests precognition may be possible
http://www.physorg.com/news/2010-11-precognition.html
‹ มึนเกี่ยวกับปีแสงครับ
ค้นพบตะปูอายุ 2,000 ปีที่คาดว่าใช้ตรึงพระเยซูกับไม้กางเขน › | https://jusci.net/node/1737 | การศึกษาเผย ญาณหยั่งรู้อาจจะมีอยู่จริง |
กว่าทศวรรษที่นักจิตวิทยาเชื่อว่า การกระทำจะเชื่อมโยงกับอุปนิสัย เช่น ถ้าเห็นใครเสียสละที่นั่งให้คนแก่ เราจะคิดเอาเองว่า เขาเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน ถึงแม้ว่าเหตุผลที่เขาลุกให้นั่งจะเป็นอย่างอื่น เช่น มีเจ้านายนั่งมาด้วย หรือเป็นบรรทัดฐานของสังคมตรงนั้นก็ตาม
ก่อนหน้านี้มีผลการวิจัยที่พบว่า คนอเมริกันมักจะมองว่า คนที่ลุกให้ผู้อื่นนั่งนั้นมีนิสัยดี ส่วนคนเอเชียมักจะพิจารณาถึงปัจจัยทางสังคม นักวิจัยกลุ่มนี้อธิบายว่า ทุกคนล้วนแต่ทึกทักเอาเองว่าคนอื่นมีอุปนิสัยเป็นเช่นไร เพียงแต่คนเอเชียจะมีปัจจัยทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกชั้นหนึ่ง
แต่เรื่องนี้คุณ Shinobu Kitayama และคุณ Jinkyung Na แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบในสิ่งต่างออกไป เมื่อพวกเขาทดลองให้นักศึกษาชาวยุโรป-อเมริกัน และนักศึกษาชาวเอเชีย-อเมริกัน ทำแบบทดสอบที่เป็นการให้จำหน้าบุคคล และพฤติกรรมของบุคคลนั้นไว้ เช่น ดูรูปผู้หญิงที่มีข้อความ "จูเลียตรวจเช็คสัญญาณเตือนไฟไหม้ทุกครั้งก่อนนอน" คุณ Kitayama และคุณ Na พบว่า นักศึกษาชาวยุโรป-อเมริกันได้คิดไปแล้วว่าจูเลียคนนี้มีอุปนิสัยเป็นเช่นไร แต่นักศึกษาชาวเอเชีย-อเมริกันยังไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้
เพื่อให้เห็นผลชัดเจน นักวิจัยได้วัดคลื่นสมองของผู้ร่วมการทดลอง เมื่อนักศึกษาชาวยุโรป-อเมริกันเห็นรูปจูเลีย ตามด้วยข้อความด้านบน และต่อด้วยข้อความที่บอกว่าเธอเป็นคนกล้าหาญ คลื่นสมองของพวกเขาก็กระโดดขึ้นมาภายในเสี้ยววินาที เป็นการแสดงความประหลาดใจกับสิ่งที่รับรู้ แต่คลื่นสมองของนักศึกษาชาวเอเชีย-อเมริกันกลับเป็นปกติดี ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่ได้คิดเลยว่าจูเลียนั้นเป็นคนที่ระมัดระวัง หรือวิตกกังวลเกินเหตุนั่นเอง
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อการเข้าใจผู้อื่นอย่างชัดเจน มันไม่เป็นเรื่องสากลที่ชนชาติไหนก็ทำกันอีกต่อไป
เรามักคิดว่า วัฒนธรรมเป็นเหมือนเปลือก ซึ่งถ้าแกะออกไปเราก็เป็นมนุษย์เหมือนกันหมด แต่ความจริงแล้ววัฒนธรรมกลับฝังรากลึกกว่านั้น ธรรมชาติของเรา จิตใจของเรา อาจจะถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากวัฒนธรรมก็ได้
ที่มา: APS | https://jusci.net/node/1738 | วัฒนธรรมฝังรากลึกกว่าที่คิด |
เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่ต่างจากพวกไวน์หรือวิสกี้ ยิ่งเก็บไว้นาน เบียร์จะยิ่งขมและดื่มไม่อร่อย ดังนั้นเบียร์ที่มีรสชาติดีที่สุดคือเบียร์สดที่เพิ่งออกมาจากถังหมัก ยิ่งสดยิ่งดี
ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่าเบียร์ที่เก็บไว้นาน 6-12 เดือนขึ้นไปจะเริ่มมีรสขมแบบขื่นๆ ขึ้นมา ทีมวิจัยที่นำโดย Thomas Hofmann ได้ตรวจวิเคราะห์สารที่เป็นต้นเหตุของรสขมนี้ พวกเขาพบสารที่คาดว่าน่าจะเป็นตัวการให้เบียร์เกิดรสขม 56 ตัวด้วยกัน เมื่อเอาเบียร์ใหม่และเบียร์เก่ามาเปรียบเทียบกัน ในจำนวนสารทั้งหมด 56 ตัวนี้มีสาร 5 ตัวที่ดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับรสขมแบบขื่นๆ ของเบียร์เก่ามากกว่าตัวอื่นๆ
สารที่ทำให้เกิดรสขมในเบียร์ส่วนใหญ่เป็นสารประเภท prenylated polyketides ซึ่งมาจากต้นฮ๊อพนั่นเอง ต้นฮ็อพเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้เบียร์มีรสชาติและกลิ่นเป็นเบียร์
นักวิจัยหวังว่าหากในอนาคตเรารู้ว่าสารตัวใดทำให้เบียร์เก่ามีรสขมไม่น่าดื่ม เราก็อาจจะหาวิธีมายืดอายุการเก็บรักษาเบียร์ให้มีรสชาติสดใหม่ได้นานขึ้น
ที่มา - PhysOrg
บทความนี้เป็นบทความวิชาการ ทางเราไม่สนับสนุนการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
ป.ล. ต้นฮ็อพเป็นพืชในวงศ์เดียวกับกัญชา (family Cannabaceae) ผมเคยกินต้นฮ็อพบดอัดแท่งที่เขาเตรียมไว้หมักเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง[ข้อมูลปกปิด - เนื่องจากบอกไปผมก็ไม่ได้ค่าโฆษณา] ความขมของมันนี่ผมอธิบายเป็นภาษาคนไม่ถูกเลย เอาเป็นว่า "ขมขื่นตราตรึงลำคอไปทั้งวัน" แล้วกัน ทุกวันนี้ผมยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใส่ฮ็อพลงไปในเบียร์ | https://jusci.net/node/1739 | นักวิทยาศาสตร์มองหาสารที่ทำให้เบียร์เก่ามีรสขม |
คำว่า "โซลาร์เซลล์" กับ "น้ำจืด" อาจฟังแล้วไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันเท่าไร แต่เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ที่ Zurich Research Laboratory ของ IBM คิดขึ้นมา จะช่วยทำให้การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีล่าสุดของ IBM คือ แผงโซลาร์เซลล์ที่เรียกว่า "Ultra-high Concentrated photovoltaic" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อขั้นขึ้นมาจาก Concentrated photovoltaic (CPV) อีกทอดหนึ่ง หลักการคร่าวๆ ก็คือการใช้เลนส์รวมแสงอาทิตย์ให้มีความเข้มมากขึ้น ทำให้แผงโซลาร์เซลล์กินพื้นที่น้อยลง แต่ข้อเสียของ CPV คือ ตัวแผงรับแสงจะร้อนมาก บางทีอาจจะร้อนไปได้ถึง 120 องศาเซลเซียส ยิ่งร้อนมาก การแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าก็ยิ่งน้อยลง
นักวิจัยของ IBM จึงคิดหาวิธีในการระบายความร้อนด้วยการออกแบบแผงให้มีช่องเล็กๆ เดินรอบทั่วแผง เมื่ออยู่ในระหว่างการทำงาน ช่องเหล่านี้จะเป็นทางให้น้ำไหลผ่าน น้ำก็จะช่วยเป็นตัวนำความร้อนออกมาจากแผงโซลาร์เซลล์ ถ้านึกภาพไม่ออก ก็ขอให้นึกถึงหลักการการทำ water-cooling system ที่ขาโอเวอร์คล็อกชอบใช้นั่นแหละ
ก่อนหน้านี้เคยมีคนพยายามออกแบบการระบายความร้อนแผงโซลาร์เซลล์ด้วยน้ำมาแล้ว แต่การออกแบบของ IBM ถือว่าล้ำหน้าและมีประสิทธิภาพสูงกว่ามากมาย เพราะน้ำได้สัมผัสแหล่งความร้อนโดยตรง จากการทดสอบกับแผง Ultra-high Concentrated photovoltaic ขนาด 1 เซนติเมตร อุณหภูมิของแผงวิ่งอยู่ที่ประมาณ 70-90 องศาเซลเซียสเท่านั้น แม้ว่าแสงที่ตกกระทบจะมีความเข้มสูงถึง 5,000 เท่าของแสงอาทิตย์ปกติก็ตาม
น้ำที่ใช้ระบายความร้อนยังสามารถใช้น้ำทะเลได้ด้วย ประโยชน์ของการใช้น้ำทะเลระบายความร้อนอยู่ที่เราสามารถนำน้ำทะเลไปกลั่นทำน้ำจืดต่อได้ ซึ่งน้ำที่ออกมาจากแผงโซลาร์เซลล์จะมีอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว ดังนั้นจึงประหยัดพลังงานในการต้มน้ำให้เดือดตอนแรกไปได้เยอะเลย
ตอนนี้ IBM กำลังร่วมมือกับ Nanotechnology Research Center ของประเทศอียิปต์ในการสร้างตัวต้นแบบขนาด 10 ตารางเมตร หากสำเร็จก็มีแผนจะนำไปใช้ในดินแดนแห้งแล้งที่มีแสงแดดเหลือเฟือ เช่น เขตทะเลทราย เป็นต้น
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1740 | IBM ทำโซลาร์เซลล์แบบใหม่...ช่วยทำน้ำจืดได้ด้วย |
ข่าวนี้ผมขอแปะไว้ในนี้ก่อน ขออ่านให้แน่ใจเดี๋ยวค่อยเขียนลง เพราะรู้สึกว่าจะเป็นข่าวดังมาก
http://news.discovery.com/history/jesus-crucifixion-nails-cross-110413.html
http://www.physorg.com/news/2011-04-year-old-tied-crucifixion.html
อันนี้ Life's Little Mysteries ไปขุดประวัติมาเลยว่าเคยมี "หลักฐาน" พระเยซูอะไรหลุดออกมาสู่สาธารณชนบ้าง
http://www.lifeslittlemysteries.com/jesus-christ-physical-evidence-relics-1573/
ที่สำคัญ "พระเยซูเคยมีตัวตนจริงๆ หรือไม่?"
ผมจำได้ว่าเคยอ่านหนังสือบางเล่มก็มีสมมติฐานว่า พระพุทธเจ้าก็ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงปุคคลาธิษฐานของแนวคิดปัญญาชนอินเดียกลุ่มหนึ่งในยุคนั้นที่ต้องการแย้งกับความเชื่อพราหมณ์ฮินดู
‹ การศึกษาเผย ญาณหยั่งรู้อาจจะมีอยู่จริง
แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net › | https://jusci.net/node/1741 | ค้นพบตะปูอายุ 2,000 ปีที่คาดว่าใช้ตรึงพระเยซูกับไม้กางเขน |
งานสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในที่นี้ ผมหมายถึง นักข่าว หรือ นักเขียน หรือ คอลัมนิสต์ที่เกี่ยวกับการเผยแพร่เรื่องราววิทยาศาสตร์ให้สังคมทั่วไปรับเสพย์ ไม่ว่าจะเป็นในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทีวี วิทยุ เว็บ ฯลฯ
ใน 4 สาขาหลักของวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ สำหรับผม ผมคิดว่ามีสองสาขา คือ
ชีววิทยา ไม่ใช่เพราะผมจบชีววิทยา เลยจะมาอวยตัวเอง แต่ผมคิดว่าชีววิทยามันเป็นวิชาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายสุด นักชีววิทยาเลยน่าจะพูดภาษาวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปรู้เรื่องได้มากที่สุด
ฟิสิกส์ แม้จะเป็นวิชาที่ชื่อฟังยากที่สุด แต่ฟิสิกส์ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องง่ายๆ รอบตัวไปจนถึงระดับจักรวาลในมุมมองที่น่าตื่นเต้น การเล่าข่าวในมุมของนักฟิสิกส์จึงน่าจะดึงดูดผู้ชมได้ดี
ส่วนเคมี ผมว่ามัน "ดิบ" เกินกว่าที่คนทั่วไปอยากจะสนใจ และนักเคมีก็ดูจะไม่ค่อยสนใจผู้คนทั่วไป (แต่นักศึกษาที่จบภาคเคมีหางานง่ายที่สุดนะ อันนี้เป็นคติของคณะวิทย์ในประเทศไทย ทุกมหาวิทยาลัย) และคณิตศาสตร์ ผมว่ามันไม่ได้เป็นภาษามนุษย์แล้ว ถ้าให้นักคณิตศาสตร์เล่าข่าว ผมว่าคนครึ่งหนึ่งฟังไม่รู้เรื่อง (อีกครึ่งหลับ)
อันนี้ผมพูดเล่นๆ ถึง stereotype ของแต่ละสาขานะ ไม่ได้ตั้งใจเสียดสีใครแบบเหมารวม ผมเองก็มีเพื่อนภาคฟิสิกส์และคณิตศาสตร์อยู่หลายคน เคมี ไม่ค่อยมี เพราะอย่างที่บอกไป นักเคมีไม่ค่อยสนใจคนทั่วไป ก็มีบ้าง
‹ แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net
Standing on the shoulders of giants.... › | https://jusci.net/node/1742 | คุณคิดว่านักวิทยาศาสตร์สาขาไหนเหมาะกับงานสื่อสารที่สุด |
เมื่อก่อนผมสงสัยมากเลยว่าตรงสุดขอบของจักรวาลนั้นจะเป็นยังไงกันแน่ จะว่าตันไปเฉย ๆ ก็คงไม่ได้ แต่จะไม่มีที่สิ้นสุดมันก็เป็นไปไม่ได้อีก จนมารู้จักทฤษฎีปฏิสสาร ก็พอจะเข้าใจว่ามันเป็นพื้นที่ที่ไม่มีตัวตนจากทั้งคู่ เพราะยังไม่เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ปฏิสสารสลายไปจนเกิดสสารขึ้นมา แต่มันก็ขัดๆ ความรู้สึกอยู่ดี แล้วถ้าเป็นแบบนั้นแสงจะทะลุขอบของจักรวาลไปได้หรือเปล่าครับ? (สมมติว่าจักรวาลไม่ได้ขยายตัว หรือขยายช้ากว่าความเร็วแสง) หรือสสารถ้าเลยขอบไปจะเป็นยังไง สลายไปเลยหรือเปล่า หรือชนดังตึ้ง แล้วเด้งกลับมา หรือว่าเค้ามีทฤษฎีอะไรกันบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
ป.ล. เพิ่งรู้ตัวว่าใช้คำว่า "หรือ" เปลืองมาก O_o
‹ Standing on the shoulders of giants.... | https://jusci.net/node/1743 | คิดว่าขอบของจักรวาลเป็นอย่างไรกันครับ |
รายงานวิจัยจากทีมของศาสตราจารย์ Abdulmaged M. Traish จากมหาวิทยาลัยบอสตันแสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้ยารักษาผมร่วงในกลุ่ม dustasteride และ finasteride กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
อาการนี้เป็นที่รู้กันมาก่อนหน้านี้เนื่องจากฤทธิ์ยาที่เข้าไปสกัดการทำงานของแอนโดรเจน แต่รายงานใหม่แสดงถึงผลที่ยังคงอยู่แม้หยุดใช้ยาไปแล้ว
ทีมวิจัยอาศัยข้อมูลรายงานเคสที่เกี่ยวข้องกับยาทั้งสองตัวที่รายงานก่อนหน้านี้ พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาจริงมี 8% ที่ระบุว่าตัวเองมีปัญหาในการหลั่งและ 4.2% ระบุว่าความต้องการทางเพศลดลง ขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาปลอมนั้นมี 4% ที่ระบุว่ามีปัญหาในการหลั่งและ 1.8% ระบุว่าตัวเองมีความต้องการทางเพศลดลง
จะเห็นว่าตัวเลขของความเกี่ยวข้องนี้ไม่สูงนัก และข้อมูลยังไม่ใช่ข้อมูลระยะยาว ดังนั้นผลจากตัวยาอาจจะคงอยู่หลังจากหยุดยาไปแล้วสักระยะเท่านั้น
ศาสตราจารย์ Traish ระบุว่าแพทย์ที่จะสั่งยาเหล่านี้ให้คนไข้ควรระบุถึงความเสี่ยงที่อาจจะเป็นไปได้
ที่มา - USA Today | https://jusci.net/node/1744 | ยารักษาผมร่วงมีความเกี่ยวข้องกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ |
ลิ่นทะเล หรือ chitons เป็นสัตว์ใน Phylum Mollusca (พวกหอย, หมึก) ที่อาศัยอยู่ตามก้อนหินหรือพื้นทะเล ร่างกายของลิ่นทะเลปกคลุมด้วยเปลือกหินปูนเรียงกัน 8 แผ่น นักวิทยาศาสตร์ทราบกันมานานแล้วว่าลิ่นทะเลมีอวัยวะรับแสงคล้ายตาอยู่บนร่างกาย แต่ก็ยังไม่มีใครแน่ใจว่าอวัยวะนี้รับภาพได้หรือไม่
Sönke Johnsen และ Daniel Speiser แห่ง Duke University ได้ทดลองจับลิ่นทะเลพันธุ์ West Indian fuzzy (Acanthopleura granulata) มาสังเกตในห้องปฏิบัติการ ตามปกติที่ไม่ถูกรบกวน ลิ่นทะเลจะยกเปลือกเผยอขึ้นให้น้ำไหลผ่านได้เพื่อการหายใจ พวกเขาลองเอาแผ่นวงกลมสีดำขนาดต่างๆ กันตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.35-10 เซนติเมตร และแผ่นสไลด์สีเทา มาวางไว้ 20 เซนติเมตรเหนือลำตัวลิ่นทะเลทีละแผ่น แล้วบันทึกการตอบสนองของลิ่นทะเล
ผลการทดลองพบว่าลิ่นทะเลมีการตอบสนองด้วยการลดเปลือกลงเฉพาะเมื่อมีแผ่นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.0 เซนติเมตรหรือใหญ่กว่าวางอยู่ข้างบน แต่สำหรับแผ่นสไลด์สีเทานั้น ลิ่นทะเลไม่มีการตอบสนองเลยแม้ว่าแผ่นสไลด์จะบังแสงเป็นปริมาณเท่าๆ กันกับแผ่นวงกลมสีดำก็ตาม นอกจากนี้เมื่อทดสอบแยกระหว่างในสภาพใต้น้ำและบนบก ตาของลิ่นทะเลยังมีการปรับโฟกัสเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม (น้ำหรืออากาศ) ด้วย พวกเขาจึงสรุปว่าลิ่นทะเลน่าจะแยกแยะวัตถุด้วยตาได้ ไม่ใช่แค่แยกแยะการเปลี่ยนแปลงความสว่าง-มืดของแสง
ตาของลิ่นทะเลประกอบเลนส์ที่เป็นแร่ aragonite ซึ่งเป็นผลึกแร่หินปูนชนิดหนึ่ง เลนส์นี้จะเรียงกันเป็นร้อยๆ อันบนแผ่นเปลือกคลุมลำตัว (ซึ่งก็สร้างจากแร่ aragonite เหมือนกัน) ข้างใต้เลนส์เป็นเซลล์รับแสง
จากการที่มันตอบสนองเฉพาะแผ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 3.0 เซนติเมตรขึ้นไป ตาของลิ่นทะเลจึงไม่น่าจะคมชัดมากนัก นักวิทยาศาสตร์ประมาณกันว่าตาของลิ่นทะเลแย่กว่าตาของมนุษย์ถึงกว่าพันเท่า
ลิ่นทะเลเป็นสัตว์ที่มาตั้งแต่สมัยโบราณเมื่อ 500 ล้านปีที่แล้ว แต่ฟอสซิลของลิ่นทะเลที่มีตาเพิ่งจะย้อนไปได้แค่ 25 ล้านปีที่แล้วเอง ตาของลิ่นทะเลน่าจะวิวัฒนาการแยกสายขึ้นมาเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตาของหอยทาก แม้โครงสร้างทั่วไปจะคล้ายกันก็ตาม นอกจากนี้ตาของลิ่นทะเลก็ดูเหมือนจะตอบสนองต่อการลดความสว่างของแสงเท่านั้น ขณะที่ตาของพวกหอยทากตอบสนองต่อการความเพิ่มสว่างของแสง
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1745 | ลิ่นทะเลตาหิน |
คนเราชอบคิดว่ามดทุกตัวที่อยู่ในรังเดียวกันก็เหมือนๆ กันหมด แต่งานวิจัยล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่างมดแต่ละตัวในรังไม่ได้เท่ากันเสมอไปทุกตัว
มดเป็นสัตว์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยกลิ่น เปลือกลำตัวของมดจะมีสารที่เป็นกลิ่นเฉพาะของแต่ละตัว เพื่อนมดในรังจะคุยกันด้วยการเอาหนวดไปแตะๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น แหล่งอาหาร ผู้ล่า เป็นต้น ทีมนักวิจัยที่นำโดย Noa Pinter-Wollman แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทดลองกับมด Pogonomyrmex barbatus โดยการถ่ายวิดีโอแล้วเอาไปวิเคราะห์ในคอมพิวเตอร์ว่ามดแต่ละตัวเอาหนวดไปแตะๆ กับมดกี่ตัว เมื่อไร กับตัวไหนบ้าง
ผลการทดลองพบว่า โดยเฉลี่ยในช่วงที่บันทึกวิดีโอไว้มดแต่ละตัวจะเอาหนวดไปแตะตัวของมดตัวอื่นๆ ประมาณ 40 ครั้ง แต่มีมด 10% จากทั้งหมดที่มีการติดต่อกับมดตัวอื่งมากถึง 100 กว่าครั้ง
นักวิจัยเปรียบเทียบว่ามันก็เหมือนสังคมออนไลน์แบบ Facebook นั่นแหละ เพื่อนของเราบางคนก็มีปฏิสัมพันธ์เยอะเหลือเกิน มี "เพื่อน" เป็นพันๆ บางคนก็โพสต์แค่เดือนละครั้ง รับเพื่อนไว้แค่หลักสิบ แถมกว่าครึ่งเป็นพวกแท็กโฆษณา มดที่คุยกับเพื่อนมดมากกว่าตัวอื่นๆ อาจจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งผ่านข้อมูลให้กับมดตัวอื่นๆ ในรัง
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1746 | มดแต่ละตัวคุยกับ "เพื่อน" ไม่เท่ากัน |
ศ. Vyacheslav Dokuchaev ได้เสนอแนวคิดว่า ภายในหลุมดำอาจจะมีวงโคจรที่ "เสถียร" ให้อนุภาคหรือแม้แต่ดาวเคราะห์ทั้งดวงโคจรรอบๆ ใจกลางของหลุมดำได้
ที่ใจกลางของหลุมดำ คือ จุดที่เรียกว่า "singularity" ซึ่งเป็นบริเวณที่กาล-อวกาศบิดเบี้ยวจนสนามโน้มถ่วงมีค่าเป็นอนันต์ ส่วนรอบนอกของหลุมดำจะเป็นบริเวณที่วัตถุทุกชนิดแม้แต่อนุภาคแสงไม่สามารถวิ่งหลบออกไปได้ เรียกว่า "event horizon" เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดภายในขอบเขต event horizon จะไม่สามารถสังเกตได้จากผู้สังเกตที่อยู่ภายนอก (เนื่องจากแสงไม่สามารถหลุดรอดออกมาถึงตาผู้สังเกตได้) ศ. Vyacheslav Dokuchaev นักฟิสิกส์ชาวรัสเซีย ตั้งทฤษฎีว่าอาณาบริเวณระหว่าง event horizon และ singularity อาจจะมีวงโคจรที่ "เสถียร" ให้อนุภาคหรือแม้แต่ดาวเคราะห์ทั้งดวงโคจรรอบๆ ใจกลางของหลุมดำได้ โดยเฉพาะภายในหลุมดำขนาดใหญ่ที่ใจกลางกาแล็กซี่
แต่วงโคจรในทฤษฎีของ ศ. Vyacheslav Dokuchaev ไม่ใช่วงกลมหรือวงรีแบบที่เราคุ้นเคย มันเป็นวงโคจรรูปร่างก้นหอยประหลาดแบบตัวอย่างในภาพข้างล่าง
เส้นสีน้ำเงินรอบนอก คือ วงโคจรตัวอย่างของดาวเคราะห์ตามทฤษฎี, ส่วนเส้นสีรุ้ง คือ วงโคจรตัวอย่างของอนุภาคแสงตามทฤษฎี ภาพจาก Dokuchaev 2011
ศ. Vyacheslav Dokuchaev ยังสันนิษฐานต่อไปอีกว่าถ้าหากมีดาวเคราะห์สักดวงหลงเข้าไปในวงโคจรที่เสถียรพอดี มันก็จะไม่ร่วงหล่นลงไปใน singularity แต่จะโคจรอยู่ภายในหลุมดำนั้นไปเรื่อยๆ หากสภาพการณ์เหมาะสม ดาวเคราะห์ดวงนั้นก็มีโอกาสจะสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาได้ พลังงานแสงก็มาจากอนุภาคแสง (photon) ที่ถูกขังอยู่ในวงโคจรเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในหลุมดำอาจจะเป็นรูปแบบชีวิตที่แตกต่างออกไปจากพวกเราอย่างสุดขั้ว เนื่องจากยังไม่มีใครรู้ว่ากฏทางฟิสิกส์ต่างที่เรามีจะใช้กับสภาพอวกาศภายในหลุมดำได้หรือไม่
บทความตัวเต็มอยู่ที่ arXiv.org
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1747 | นักฟิสิกส์เสนอ "อาจจะมีดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในหลุมดำ" |
จากผลการทดลอง James Levine นักวิจัยจาก Mayo Clinic ใน Rochester, Minnesota บอกว่าการนั่งมากเกินเป็นอันตรายถึงตาย เขาเริ่มการทดลองเพราะ สงสัยว่าทำไมอาหารปริมาณเท่ากันทำให้บางคนอ้วน บางคนไม่อ้วน จึงได้เริ่มทำการทดลองหาสาเหตุมาตั้งแต่ปี 1999 ทำอยู่หลายปีก็ไม่ได้ข้อสรุป จนเมื่อปี 2005 เขาได้เอากางเกงตรวจจับความเคลื่อนไหวมาใช้ จึงสามารถสรุปออกมาได้ว่า คนที่ไม่อ้วนเคลื่อนไหวโดยไม่จงใจมากกว่าคนอ้วน
ในการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะต้องใส่กางเกงพิเศษ ที่สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวและคำนวนพลังงานที่ใช้ ผู้เข้าร่วมการทดลองถูกห้ามไม่ให้ออกกำลังกาย และกินอาหารที่ทางผู้ทดลองจัดให้ เพื่อควบคุมปริมาณพลังงานที่ได้รับ โดยในตอนเริ่มการทดลอง ผู้ทดลองจะหาปริมาณอาหารที่ทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองรักษาน้ำหนักตัวไว้ได้ แล้วหลังจากนั้นจะเพิ่มปริมาณพลังงานเข้าไป 1,000 แคลอรี่ต่อวัน
จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่อ้วนขึ้น เคลื่อนไหวเพียง 1,500 ครั้งต่อวัน และนั่งนานถึง 600 นาที ในขณะที่ชาวไร่ในจาไมกา เคลื่อนไหวถึง 5,000 ครั้งต่อวัน และนั่งเพียงแค่ 300 นาที
Marc Hamilton นักวิจัยอีกคนจาก Pennington Biomedical Research Center ก็มีความเห็นไปทางเดียวกัน โดยบอกว่า การออกกำลังกายไม่ทำให้การนั่งเป็นอันตรายน้อยลง โดยเขาบอกว่าจริงๆ แล้วการนั่งก็ไม่ได้แย่กว่าการอยู่เฉยๆ แบบอื่นๆ เช่น การนอนบนโซฟา แต่เวลาเราไม่เคลื่อนไหวเรามักจะนั่ง เขาบอกว่าเวลานั่งการทำงานของกล้ามเนื้อจะลดลงมาก จนเหมือน"ม้าที่ตายแล้ว" การนั่งทำให้อัตราการเผาผลาญพลังต่ำลงไปอยู่ที่ 1 แคลอรีต่อนาที ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในสามของการเดิน จากผลงานวิจัยล่าสุดของเขาพบว่าการอยู่เฉยๆ 24 ชั่วโมง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของอินซูลินลดลงถึง 40% ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองเพิ่มขึ้น และทำให้มีโอกาสอ้วนมากขึ้น
Alpa Patel นักวิจัยอีกคนจาก American Cancer Society ทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกัน 123,000 คนตั้งแต่ปี 1992 ถึงปี 2006 พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ชายที่นั่งในเวลาว่างนานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าของผู้ชายที่นั่งน้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ถึง 20% และอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงที่นั่งนานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าของผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันถึง 40%
David Dunstan นักวิจัยอีกคนพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างชาวออสเตรเลียจำนวน 9,000 คน เวลาหนึ่งชั่วโมงที่นั่งดูโทรทัศน์นานขึ้นต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตถึง 11% โดยเขาบอกว่าเขาได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ด้วยแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาในการนั่งดูโทรทัศน์และความเสี่ยงในการเสียชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
อ่านข่าวนี้แล้ว ก็ลุกขึ้นเดินไปเดินมากันบ่อยๆ ดีกว่าครับ
ที่มา New York Times | https://jusci.net/node/1748 | การนั่งมากเกินเป็นอันตรายถึงตาย |
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าไดโนเสารส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางวันเท่านั้น ฉากในหนัง Jurassic Park ที่ไดโนเสาร์กินเนื้อออกมาล่าคนตอนกลางคืนถูกมองเป็นแค่เรื่องเหลวไหลจาก Hollywood แต่หลักฐานชิ้นล่าสุดกลับแสดงว่าจินตนาการมายาของ Hollywood ก็มีส่วนถูกเหมือนกัน
Lars Schmitz และ Ryosuke Motani แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เดวิส อาศัยความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกระดูกส่วนเบ้าตากับพฤติกรรมเวลาการออกหาอาหารของสัตว์มาใช้กับไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลานโบราณในยุคเมโสโซอิก ในเบ้าตาของสัตว์เลื้อยคลานจะมีวงกระดูกอยู่ชิ้นหนึ่งเรียกว่า "scleral ring" ซึ่งสัดส่วนขนาดวงของกระดูกนี้จะสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดของรูม่านตา ดังนั้นหากวัดขนาดของ scleral ring แล้วเอามาเทียบกับขนาดของเบ้าตา นักวิทยาศาสตร์ก็พอจะกะประมาณขนาดของรูม่านตาเทียบกับเรตินาได้ สัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืนจะมีรูม่านตาขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถรับแสงได้มาก ในทางตรงกันข้ามสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางวันจะมีรูม่านตาขนาดเล็กเพื่อให้โฟกัสภาพได้คมชัดขึ้น
พวกเขาสองคนได้ทำการเทียบขนาดของ scleral ring และเบ้าตาในสัตว์เลื้อยคลานโบราณและไดโนเสาร์ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 250 ล้านปีที่แล้วถึง 65 ล้านปีที่แล้ว จำนวน 33 ชนิด รวมถึงในสัตว์เลื้อยคลานและนกที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันอีก 164 ชนิด (น่าเสียดายที่ไม่มีรายชื่อของ Tyrannosaurus rex อยู่ในนั้น เพราะพวกเขาไม่สามารถหาฟอสซิลของ T. rex ที่มีกระดูก scleral ring สมบูรณ์ได้)
ผลปรากฏว่าไดโนเสาร์ไมได้มีแต่พวกที่หากินตอนกลางวันอย่างที่เข้าใจกัน สัตว์เลื้อยคลานโบราณและไดโนเสาร์จำนวน 9 จาก 33 ชนิดเป็นพวกหากินตอนกลางคืน และมี 8 ชนิดเป็นพวกหากินเฉพาะตอนกลางวัน นอกนั้นเป็นพวกที่หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ไดโนเสาร์ล่าเนื้อส่วนใหญ่เป็นพวกหากินตอนกลางคืน เช่น Microraptor gui, Megapnosaurus kayentakatae, Velociraptor mongoliensis เป็นต้น พวกเทอโรซอร์ (สัตว์เลื้อยคลานที่มีปีกบินได้) หลายชนิดก็หากินตอนกลางคืน แต่พวกนกโบราณ เช่น Archaeopteryx lithographica และ Confuciusornis sanctus กลับเป็นพวกที่หากินตอนกลางวัน
พวกที่หากินในช่วงย่ำรุ่งและหัวค่ำส่วนใหญ่จะเป็นพวกไดโนเสาร์กินพืชที่มีขนาดใหญ่ เช่น Diplodocus longus และ Protoceratops andrewsi เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่พวกนี้จำเป็นต้องใช้เวลากินมากกว่า 12 ชั่วโมงในแต่ละวัน จึงมีลักษณะตาที่รองรับการออกหากินในทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
การค้นพบหลักฐานว่ามีไดโนเสาร์ในยุคเมโสโซอิกที่ออกหากินตอนกลางคืนอยู่ทำให้นักวิทยาศาสตร์หัวปั่นกันอีกรอบ เนื่องจากทฤษฎีเก่าแก่ที่เชื่อกันมานานบอกไว้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โอกาสวิวัฒนาการขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง เป็นเพราะบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใช้ชีวิตในตอนกลางคืน พวกมันจึงสามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันและการล่าจากไดโนเสาร์ที่ออกหากินในตอนกลางวันได้ ฉะนั้นถ้าไดโนเสาร์มีพวกนักล่าที่ออกหากินตอนกลางคืนจริง ทฤษฎีนี้ก็ต้องได้รับการทบทวนใหม่
ที่มา - New Scientist, Science News, BBC News, PhysOrg, Nature News
หมายเหตุ: หลักฐานชิ้นหนึ่งที่(นักชีววิทยาเชื่อกันว่า)เห็นได้ชัดเจนในการยืนยันว่าบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีแต่พวกหากินกลางคืน คือ การที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวใดบนโลกนี้มี "ขนสีเขียว" ซึ่งเป็นสีของใบไม้ในตอนกลางวันเลย เพราะฉะนั้นพวกมันย่อมไม่สามารถพรางตัวท่ามกลางใบไม้และต้นไม้ในตอนกลางวันได้แน่ๆ | https://jusci.net/node/1749 | หลักฐานใหม่ยืนยัน "ไดโนเสาร์บางตัวออกหากินตอนกลางคืน" |
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Auckland โดย Quentin Atkinson ได้ศึกษารากของภาษาต่างๆ จำนวน 504 ภาษาโดยมุ่งเน้นที่หน่วยเสียง (phoneme) ของภาษาต่างๆ โดยที่ก่อนหน้านี้มีการระบุมาแล้วว่าภาษาที่มีการใช้มากๆ จะมีการออกเสียงที่หลากหลายตามไปด้วย การศึกษาพบว่าภาษาในกลุ่มแอฟริกาใต้มีหน่วยเสียงที่หลากหลายมากที่สุด ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าในอดีตเมื่อ 50,000 ถึง 70,000 ปีก่อนภาษาในแถบนี้เป็นต้นกำเนิดของภาษากว่า 6,000 ภาษาในโลก
งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อถกเถียงมากมายเนื่องจากนักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่าภาษาที่เก่ากว่า 10,000 ปีไม่น่าจะหาต้นกำเนิดได้อีก การสรุปจากข้อมูลภาษาเพียง 504 ภาษาและทำนายประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปหลายหมื่นปีจึงสร้างข้อถกเถียงในวงการไม่น้อย อย่างไรก็ดีงานวิจัยฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science
การศึกษานี้มีความต่างไปจากการศึกษาอื่นๆ ที่ใช้หน่วยเสียงแทนคำหรือไวยกรณ์ ทำให้นักวิจัยจำนวนหนึ่งมองว่าเป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการวิจัยได้ดี
ภาษาบาเบลเป็นภาษาที่มีการระบุในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) ว่าเป็นภาษาที่ครั้งหนึ่งมนุษย์ทั้งโลกเคยใช้ร่วมกันจนกระทั่งพระเจ้าได้สาปเพื่อให้มนุษย์ไม่สามารถร่วมมือกันได้อีกต่อไป
ที่มา - Stuff.co.nz, New Scientist | https://jusci.net/node/1750 | ภาษาบาเบลอาจจะมีอยู่จริง |
ศ. William Lipscomb นักเคมีเจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1976 ได้เสียชีวิตลงแล้วในคืนวันที่ 14 เมษายน 2011 จากอาการปอดบวมและภาวะแทรกซ้อน รวมอายุได้ 91 ปี
ศ. William Lipscomb จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สาขาเคมีจากมหาวิทยาลัยเคนตั๊กกี้ และปริญญาเอกจาก California Institute of Technology ผลงานที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล คือ การศึกษาเกี่ยวกับพันธะเคมีในโบเรน (Borane) ซึ่งนำไปสู่การไขปัญหาทางเคมีหลายอย่าง งานของเขาชิ้นนี้เป็นการสานต่อจากงานของ ศ. Linus Pauling นักเคมีชื่อดังเจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1954 (และ Linus Pauling ก็เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ William Lipscomb ด้วย)
นักวิทยาศาสตร์ที่เคยเป็นลูกศิษย์ของ ศ. William Lipscomb ก็มีได้รับรางวัลโนเบลอยู่หลายคน เช่น Thomas Steitz เจ้าของรางวัลโนเบลร่วมในปี 2009 เป็นต้น
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1751 | William Lipscomb นักเคมีรางวัลโนเบลเสียชีวิตแล้ว |
หลังจากการวิจัยกว่า 4 ปีและงบวิจัยกว่า 55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา Allen Institute for Brain Science ได้เปิดตัวแผนที่สมองมนุษย์อันแรกของโลก โดยใช้ชื่อว่า "Human Brain Atlas"
ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างแผนที่สมองมาจากเทคนิค magnetic resonance imaging (MRI) และ diffusion tensor imaging (ซึ่งอย่างหลังก็คือ MRI ประยุกต์รูปแบบหนึ่ง) นอกจากนี้ Allen Institute for Brain Science ยังตรวจสอบการทำงานของยีนในเซลล์สมองแต่ละส่วนด้วยการศึกษาการทำงานของ RNA ในเนื้อเยื่อสมองทีละชิ้นๆ
ตอนนี้มีเพียงข้อมูลของสมองเพศชาย 2 คนเท่านั้น ข้อมูลจากสมองอื่นๆ รวมถึงสมองเพศหญิงกำลังอยู่ในระหว่างการรวบรวม เหตุผลที่ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากสมองผู้ชายก็เพราะว่าสมองที่ได้รับบริจาคมาและสมบูรณ์พอจะใช้ได้มักมาจากการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุหรือหัวใจวาย ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตทั้งสองพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (ผู้ชายอ่านแล้วควรจะภูมิใจหรือเศร้าใจดีเอ่ย?)
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาไปที่ Human Brain Atlas
ที่นั่นมีซอฟท์แวร์ Brain Explorer 2 ให้ดาวน์โหลดไปนั่งดูสมองเล่นฟรีๆ ด้วย (รองรับ Windows XP ขึ้นไปและ Mac OS X 10.5 ขึ้นไป)
ที่มา - New Scientist | https://jusci.net/node/1752 | แผนที่สมองมนุษย์อันแรกของโลก |
จากข่าวเมื่อประมาณปลายเดือนมกราคมปี 2011 นี้ที่ "นักวิทยาศาสตร์อิตาลีอ้างว่าทำฟิวชันเย็นได้" นักวิทยาศาสตร์หลายคน, สื่อหลายสำนัก, รวมทั้งผมด้วยก็วิพากษ์วิจารณ์อัดเรื่องนี้กันยกใหญ่ เพราะเรื่องฟิวชันเย็นเป็นตราบาปที่ถูกขึ้นบัญชีดำไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณปี 1989 ไม่มีวารสารวิชาการที่ไหนรับตีพิมพ์ แม้แต่สำนักทะเบียนสิทธิบัตรยังไม่กล้าให้จด
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญสองคนจากประเทศสวีเดน คือ Hanno Essen แห่ง Swedish Royal Institute of Technology ผู้เป็นประธาน Swedish Skeptics Society, และ Sven Kullander แห่ง Uppsala University ผู้เป็นประธาน Royal Swedish Academy of Sciences Energy Committee ได้เดินทางเข้าไปชมการสาธิตการทำงานของเตาปฏิกรณ์ฟิวชันเย็น Energy Catalyzer หรือ E-Cat ที่ Andrea Rossi และ Sergio Focardi ได้ประดิษฐ์ขึ้น
ผลที่ออกมาค้านสายตาผู้ชมแบบไม่น่าเชื่อ เมื่อผู้เชี่ยวชาญทั้งสองร่วมกันลงความเห็นว่า "พลังงานที่ออกมาจากกระบวนการมากเกินกว่าจะเกิดจากปฏิกิริยาเคมี ดังนั้นจึงเหลือทางเลือกในคำอธิบายเรื่องนี้มีเพียงอย่างเดียว คือ มันต้องมีปฏิกิริยานิวเคลียร์อะไรสักอย่างที่ให้พลังงานระดับนี้ออกมา" (อ่านรายงานฉบับเต็มได้จาก www.nyteknik.se/incoming/article3144960.ece/BINARY/Download+the+report+by+Kullander+and+Ess)
Any chemical process for producing 25 kWh from any fuel in a 50 cm3 container can be ruled out. The only alternative explanation is that there is some kind of a nuclear process that gives rise to the measured energy production
แต่ทั้งสองท่านก็ยังไม่กล้ายืนยันในรายงานว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ว่าเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่เกิดจากการรวมตัวของอะตอมไฮโดรเจนจริงหรือไม่ เพราะจนป่านนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่า E-Cat ทำงานอย่างไร แม้แต่ Andrea Rossi และ Sergio Focardi ผู้ประดิษฐ์มันขึ้นมาก็ไม่รู้ เรื่องนี้อาจมองได้ว่าเป็นผลมาจากการที่ฟิวชันเย็นเป็นเรื่องต้องห้าม (อย่างไม่เป็นทางการ) ในแวดวงวิทยาศาสตร์มาเนิ่นนาน งานวิจัยมูลฐานที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้านเรื่องนี้จึงแทบไม่มีเลย
พอผลออกมาแบบนี้ปุ๊บ นักฟิสิกส์อื่นๆ ก็เข้ามาร่วมตะลุมบอนทันที
Peter Hagelstein แห่ง MIT แสดงความเห็นว่าตัวเขาเองเชื่อว่า "ฟิวชันเย็นของ Stanley Pons และ Martin Fleishmann เมื่อ 20-30 ปีที่แล้วต้องมีปฏิกิริยาอะไรสักอย่างที่เป็นของใหม่เกิดขึ้น" เนื่องจากมันอธิบายไม่ได้ด้วยทฤษฎีฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเป็นไปได้ เขาก็อยากให้เอา E-Cat มาสาธิตที่ MIT เหมือนกัน
Basically, there's a new physical effect that I think was found in the lab more than 20 years ago by Fleischmann and Pons
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ Kent Hansen แห่ง MIT ก็ลังเลที่จะฟันธงลงไปว่าฟิวชันเย็นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม มันก็มีความเป็นไปได้ที่อะตอมของไฮโดรเจนสองอะตอมจะกระโดดผ่าน Coulomb barrier (ปราการทางแรงไฟฟ้าที่ผลักให้อะตอม 2 อะตอมอยู่ห่างจากกัน) แล้วเข้าไปรวมกันได้ ความเป็นไปได้นี้มีค่าประมาณ 10-40 ซึ่งน้อยมากๆๆๆ แต่ก็ไม่ใช่ศูนย์
Physics admits that there is a very low possibility of two particles at room temperature fusing together. And that's what makes it difficult to say cold fusion can't happen.
ศ. Kent Hansen เปรียบเทียบว่ามันเหมือนกับการปาสุ่มหนังสือพิมพ์ไปที่ประตู มันก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่หนังสือพิมพ์จะลอดผ่านทะลุผ่านช่องว่างระหว่างอะตอมของประตูไปอีกฝั่งหนึ่งได้ เพียงแต่ว่าโอกาสมันน้อยเสียจนให้คุณปาทั้งชาติก็ไม่แน่ว่ามันจะลอดไปสักเล่มหนึ่งได้มั้ย
David Goodstein นักฟิสิกส์แห่ง Caltech ก็ให้ความเห็นไปในทางเดียวกัน เขาเองก็อยากจะเห็นการทดลองพิสูจน์เรื่องฟิวชันเย็นให้มันชัดๆ ไปเลยว่า "มันทำซ้ำได้ตลอดหรือทำซ้ำไม่ได้ตลอดจริงหรือไม่?"
What you need is either total reproducibility or total irreproducibility.
สุดท้ายเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร? ถึงวินาทีนี้ยังมีใครให้คำตอบได้ ถ้าหากโอกาสอำนวย ผมรับปากจะพยายามตามติดเรื่องนี้มารายงานให้ได้รับทราบกัน
(เพราะในข่าวเก่าผมเองก็จัดเข้าไปซะเยอะ เกิดเป็นของจริงขึ้นมา ผมคงต้องขึ้นข่าวขอโทษ แต่ใจผมก็ยังคิดว่ามันไม่น่าจะจริงนะ)
ที่มา - Life's Little Mystery | https://jusci.net/node/1753 | กรณี "ฟิวชันเย็น" ยังไม่จบ...นักวิทยาศาสตร์เริ่มลังเล |
ไม่ทราบว่ามีใครในที่นี้เคยเข้าใช้บริการ Google Scholar บ้างหรือเปล่าครับ ถ้าเคยเข้า สังเกตกันบ้างหรือเปล่าว่าที่ข้างใต้มันมีวลีอยู่อันหนึ่งเขียนไว้ว่า "Stand on the shoulders of giants" ตามรูป (ถ้าเป็นภาษาไทยจะเขียนว่า "ยืนบนไหล่ของยักษ์")
วลีนี้หมายถึง การที่วิทยาการของมนุษย์เจริญก้าวหน้าไปได้ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่ผู้รู้ในอดีตได้สร้างไว้ เหมือนเราเป็นคนแคระที่ยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์ ทำให้เราเห็นได้ไกลกว่ายักษ์ (ที่ดังที่สุดน่าจะมาจากการใช้ของเซอร์ไอแซค นิวตัน แม้ว่าวลีนี้หรือคล้ายกันนี้จะมีมานานแล้ว)
ผมยกวลีนี้ขึ้นมาก็แค่อยากจะบ่นอะไรเล็กน้อย คือ เรื่องมันเกี่ยวกับความคาดหวังที่คนทั่วไปมองว่างานวิจัยต่างๆ "ควรจะ" มีประโยชน์ให้จับต้องได้ทันที
แต่จริงๆ บางครั้งงานวิจัยหลายอย่างมันก็ไม่ได้รับประกันว่าจะให้ผลได้ถึงขั้นไหน บางงานอาจจะเป็นแค่งานพื้นฐานที่ช่วยสร้าง "ฐานไหล่" ของยักษ์ให้มั่นคงขึ้นหรือว่าสูงขึ้นเล็กน้อย
ผมคิดว่า Google เองก็คงจะมองเห็นความสำคัญของวลีนี้ในแง่นี้อยู่บ้างเลยจับเอามาขึ้นในหน้าแรกของ Google Scholar ซะเลย เพราะยังไงมันก็เป็นเว็บที่ไว้ค้นหางานวิจัยวิชาการที่คนทั่วไปไม่ค่อยเข้ามาอยู่แล้ว เหมือนกับว่าถ้าคนทั่วไปหลงเข้ามา แล้วเจอแต่อะไรน่าเบื่อๆ ก็ขอให้เข้าใจว่างานพวกนี้เป็นของคนแคระที่ช่วยเสริมไหล่ยักษ์นะ และในทางเดียวกันก็เตือนนักวิจัยให้เข้าใจถึงบทบาทของตัวเองด้วย
(หรือว่า Google จะหมายถึง Project BackRub (ผมสะกดถูกมั้ย) ซึ่งเป็นพื้นฐานของอัลกอริธึมของ Google Search ดั้งเดิม ซึ่งก็เป็นการยืนอยู่บนวิธีการจัด citation อันนี้ก็เป็นการยืนบนไหล่ของยักษ์)
ผมเองก็เบื่อเหมือนกันเวลาต้องอธิบายงานวิจัยตัวเองให้คนอื่นฟัง ขี้เกียจตอบคำถามประเภท "เอาไปใช้ทำอะไร" "จะมีประโยชน์เหรอ" แต่ถ้าหาคำตอบไม่ได้ก็ไม่ได้ทุนหรือการอนุมัติ
แม้จะเบื่อ แต่ด้วยความจำเป็น ผมก็คิดคำตอบเตรียมไว้อยู่ดี ผมก็พยายามตอบนะ ในมุมมองตัวเอง ผมก็ว่างานผมมีประโยชน์แน่ๆ แหละ แต่ตอบไปทำไมผู้ฟังส่วนใหญ่ทำหน้า "อืม" "อ๋อ เหรอ" ยังไงก็ไม่รู้ มันเสียความมั่นใจพอควรเลย
มีทางไหนมั้ยที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์กับคนทั่วไปเข้าใจตรงกันว่างานวิจัยทำเพื่อหาคำตอบ งานวิจัยบางอย่างก็เพื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล้วนๆ นักวิทยาศาสตร์ก็คาดเดาไม่ได้ว่าความรู้ที่ได้จากงานวิจัยจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรในอนาคต (เพราะผลจะออกมาอย่างไรยังไม่รู้เลย ถ้ารู้คงไม่ต้องทำ)
วันนี้ไม่มีอะไรมากครับ บ่นสั้นๆ แค่นี้พอแล้วกัน
‹ [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร?
เนื่องจากกระทู้ห้องหว้ากอ "การจูบนี่ มันเป็นอัตโนมัติหรือ" › | https://jusci.net/node/1754 | Standing on the shoulders of giants.... |
กลุ่มนักวิจัยจากหลายสถาบันร่วมกันตีพิมพ์ผลการค้นพบฟอสซิลของเซลล์แบบยูคารีโอทแผ่นดินที่มีอายุถึงหนึ่งพันล้านปีในวรสาร Nature การค้นพบครั้งนี้ทำให้เราอาจจะต้องทบทวนความเชื่อเก่าๆ เพราะเดิมทีนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ซึ่งก็คือสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูคารีโอท เริ่มวิวัฒการในทะเล แล้วจึงย้ายขึ้นมาบนแผ่นดิน
นักวิจัยกลุ่มนี้พบฟอสซิลของเซลล์แบบยูคารีโอทในตัวอย่างที่เก็บมาจาก Loch Torridon ในสกอตแลนด์ ฟอสซิลที่เจอนี้มีอายุถึงหนึ่งพันล้านปี เซลล์ที่เจอนี้มีโครงสร้างเฉพาะทางหลายอย่าง เช่น นิวเคลียส ไมโตครอนเดรีย และ คลอโรพลาสท์ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ก็สามารถพบได้ในพืชยุคปัจจุบัน ศ. Martin Brasier หนึ่งในทีมนักวิจัยยังกล่าวอีกด้วยว่า เซลล์เหล่านี้ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ ทำให้มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว
Charles Wellman อีกหนึ่งนักจัยในทีมบอกว่า การค้นพบครั้งนี้ทำให้เชื่อได้ว่าเหตุการณ์ที่สำคัญในวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต อันได้แก่ ต้นกำเนิดของเซลล์แบบโปรคารีโอท เซลล์แบบยูคารีโอท เพศ และ สิ่งมีชีวิตแบบหลายเซลล์ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในทะเล ซึ่งขัดกับความเชื่อเก่าที่ว่าเหตุการณ์ที่สำคัญในวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในทะเลทั้งหมด และสิ่งมีชีวิตแบบยูคารีโอทใช้เวลาประมาณห้าร้อยล้านปีในทะเล ก่อนที่จะเริ่มย้ายขึ้นมาบนแผ่นดิน
ที่มา Futurity
หมายเหตุ
- เซลล์แบบโปรคารีโอท (Prokaryotic cell) คือเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส พบได้ในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น แบคทีเรีย และ อาร์เคีย
- เซลล์แบบยูคารีโอท (Eukaryotic cell) คือเซลล์ที่มีนิวเคลียส เซลล์แบบนี้พบในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงทุกชนิด เช่น มนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา ต้นไม้ ฯลฯ | https://jusci.net/node/1755 | สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจมีวิวัฒนาการบนแผ่นดิน |
ในช่วงเวลาไม่ถึงเจ็ดปีเต็มที่ผ่านมานี้ โลกของเราได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่มีขนาดเกิน 8.6 ตามมาตราริกเตอร์ถึง 3 ครั้ง เริ่มจากที่อินโดนีเซีย (คนไทยคงยังจำสึนามิในปี 2004 ที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี), ชิลี (แผ่นดินไหวขนาด 8.8 ในปี 2010), และครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่น ("Tohoku Earthquake" หรือ "Sendai Earthquake" ขนาด 9.0 ในเดือนมีนาคม 2011) แนวโน้มเช่นนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวมีความเห็นแบ่งกันเป็นสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างก็ระดมพลเข้าถกเถียงกันอย่างเข้มข้นในการประชุมประจำปีของ Seismological Society of America เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2011 ที่ผ่านมา
ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าเมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในระดับอภิมหาแผ่นดินไหว (Megaquake) เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง แผ่นเปลือกโลกโดยรวมจะได้รับผลกระทบทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ตามมาอีกเป็นชุด
Charles Bufe นักวิทยาศาสตร์วัยเกษียณจาก US Geological Survey (USGS) ในเดนเวอร์ ได้รายงานว่า เมื่อเอาข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ที่มีขนาดเกิน 9.0 ในช่วงปี 1952-1964 มาวิเคราะห์จะเห็นว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ เกิดติดกันเป็นช่วงๆ ที่มีความสัมพันธ์กันกับแผ่นดินไหวครั้งก่อนหน้า จากการวิเคราะห์ของเขานั้น แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ Kamchatka ในประเทศรัสเซียเป็นเหตุการณ์อภิมหาแผ่นดินไหวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1900 จากนั้นก็มีเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ตามมาเรื่อยๆ เป็นชุด จนไปจบชุดลงที่เหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ที่อะลาสก้า (อภิมหาแผ่นดินไหวที่อยู่ในช่วงนี้ด้วย คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.5 ที่ถล่มชิลีในปี 1960 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเท่าที่วิทยาศาสตร์มีการบันทึกมา) เขาสรุปไว้ในรายงานว่ามีโอกาสเพียง 4% เท่านั้นที่แนวโน้มนี้จะเกิดขึ้นเพราะ "ความบังเอิญ" หรือพูดอีกทางนั่นคือ เขาแน่ใจ 96% ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ไม่ได้กระจายตัวแบบสุ่ม
นอกจากนั้นเมื่อรวมข้อมูลของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 2004 เข้าไป เขาพบว่าโอกาสที่จะเกิดแบบสุ่มลดลงเหลือเพียง 2% เท่านั้น
David Perkins เพื่อนของ Charles Bufe ที่ USGS ได้ร่วมกันก้บ Charles Bufe ทำแบบจำลองทำนายเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอนาคตอันใกล้ขึ้นมา พวกเขาพบว่า ตามแบบจำลองที่สมมติให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ เกิดแบบกระจุกตัวเป็นชุด มีโอกาส 63% ที่เราจะได้เจอกับแผ่นดินไหวขนาด 9.0 หรือใหญ่กว่า ณ จุดไหนสักแห่งบนโลกนี้ภายใน 6 ปีข้างหน้า ตัวเลขนี้ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับโอกาส 24% ในกรณีที่สมมติให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ กระจายตัวแบบสุ่ม
แต่ในอีกฝ่ายหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการสรุปของ David Perkins และ Charles Bufe
Andrew Michael นักวิจัยจาก USGS ที่ Menlo Park รัฐแคลิฟอร์เนีย รายงานไปอีกทางว่า เมื่อเขาเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยดูตัวแปรอื่นๆ ร่วมด้วยและตั้งค่าขนาดแผ่นดินไหวขั้นต่ำที่จะเอามาทดสอบไว้ที่ระดับต่างๆ กันหลายระดับ ไม่ใช่แค่เอาเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดเกิน 9.0 มาคิด เขากลับไม่เห็นการกระจุกตัวเป็นชุดอย่างที่ David Perkins กับ Charles Bufe บอกเลย
และเมื่อเอาข้อมูลทั้งระยะเวลาที่ทิ้งห่างระหว่างแผ่นดินไหวแต่ละครั้งและกิจกรรมการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกมาสร้างแบบจำลอง Andrew Michael ก็ยืนยันว่าแบบจำลองที่อิงพื้นฐานการกระจายตัวแบบสุ่มอธิบายข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงได้ดีกว่า
Charles Bufe โต้ทันควันว่าวิธีของ Andrew Michael มันไม่เหมาะสม มันควรจะนับเอาเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ แบบที่เขาทำ ถ้าไปนับเอาครั้งเล็กๆ น้อยๆ ด้วย รูปแบบการกระจุกตัวของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ก็จะถูกกลบไปหมด
แต่ Richard Aster แห่ง New Mexico Institute of Mining and Technology ก็ออกมาเข้าข้าง Andrew Michael ว่าวิธีและการสรุปของ Charles Bufe ต่างหากที่ไม่ตรงกับหลักการทางสถิติ นับตั้งแต่ปี 1900 มีแผ่นดินไหวที่ขนาดมากกว่า 7.0 ทั้งสิ้น 1,700 กว่าครั้ง แต่มีเพียงแค่ 70 ครั้งที่มีขนาดเกิน 8.0 และ 5 ครั้งที่มีขนาดเกิน 9.0
Richard Aster ได้ทำการวิเคราะห์ของตัวเองมาเหมือนกัน เขานำข้อมูลของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวแต่ละครั้งมาร่วมคำนวณด้วย ผลที่เขาได้ก็ออกมาในทางเดียวกันกับ Andrew Michael นั่นคือ ไม่พบการกระจุกตัวของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ที่มีนัยสำคัญทางสถิติเลย ถ้าจะมีชุดข้อมูลที่กระจุกตัวกันบ้าง ส่วนใหญ่นั่นก็เกิดจาก aftershock และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ใช่ความสัมพันธ์ในระดับทั้งโลกแบบที่ว่าพอมีอภิมหาแผ่นดินไหวครั้งหนึ่งแล้วต้องมีอภิมหาแผ่นดินไหวในที่อื่นๆ ตามมาอีกเป็นชุด
ทีมวิจัยของ Richard Aster สรุปว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ส่งแรงกระทบกระเทือนไปยังแผ่นเปลือกโลกอื่นได้อย่างมากก็แค่แผ่นที่ห่างออกไปเป็นระยะทางไม่เกิน 2-3 เท่าของรอยแยกนับจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว การที่แผ่นดินไหวในซีกโลกหนึ่งจะส่งแรงกระเทือนเป็นพันๆ กิโลเมตรข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปก่อให้เกิดแผ่นดินไหวในอีกซีกโลกหนึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
เรื่องที่น่าเสียดายที่สุดของการถกเถียงครั้งนี้คือ เราหาใครมาเป็นกรรมการตัดสินผลแพ้-ชนะไม่ได้ Andrew Michael ยอมรับตรงๆ ว่า "ทางเดียวที่จะพิสูจน์เรื่องนี้ได้คือต้องรอไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะมีข้อมูลของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ มากกว่านี้ โชคร้ายที่หนทางนี้มันเป็นเรื่องปกติของ Seismology"
(Seismology คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแผ่นดินไหวและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอันเกิดจากคลื่นแผ่นดินไหว)
The only way out of this will be unfortunately waiting a long time until we see more large earthquakes. That is the problem we face in seismology.
แปลว่าเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอภิมหาแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นติดๆ กันในช่วง 7 ปีนี้เป็นแค่ "เรื่องบังเอิญทางสถิติ" หรือเป็นเพราะ "โลกเรากำลังอยู่ในช่วงที่แผ่นดินไหวชุดใหญ่กำลังเกิดขึ้นอย่างถี่ๆ" กันแน่ จนกว่านักวิทยาศาสตร์พวกนี้จะได้ข้อมูลมาดูเล่นมากพอ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงเวลาอย่างต่ำอีกเป็นร้อยเป็นพันปี (การเก็บข้อมูลแผ่นดินไหวตามหลักการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพิ่งมีมาได้เพียงร้อยปีเศษเท่านั้น)
ผมว่าเมื่อรู้แบบนี้แล้ว หากท่านใดยังเจอฟอร์เวิร์ดเมลหรือข่าวลือในเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า "ธรรมชาติกำลังลงโทษมนุษย์ สร้างแผ่นดินไหวมาถล่มโลกให้แตก" พร้อมกับแนบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาให้ดูน่าเชื่อถือ ก็ขอให้ท่านตอบกลับด้วยข่าวนี้ และบอกคนส่งว่า
"นักวิทยาศาสตร์ตัวจริงมันไม่มีเวลามาทำนายโลกแตกหรอก แค่ที่เถียงๆ กันนี่จะจบก่อนโลกแตกหรือเปล่า ยังไม่รู้เลย"
ที่มา - Science News, Nature News | https://jusci.net/node/1756 | นักวิทยาศาสตร์ถกกันเครียด "โลกกำลังมีอภิมหาแผ่นดินไหวบ่อยขึ้นหรือไม่?" |
สองวันที่แล้ว ผมผ่านไปเห็นกระทู้หนึ่งในห้องหว้ากอ@pantip.com ชื่อ "การจูบนี่ มันเป็นอัตโนมัติหรือ" เผอิญเป็นกระทู้ช่วงสงกรานต์ คนตอบเลยน้อย ตอนนี้กำลังจะตกหน้าแรกไปแล้วด้วย ผมอยากจะตอบ แต่ไม่มีอมยิ้ม และไม่อยากสมัครบัตรผ่านให้ยุ่งยาก เลยขอฝากใครก็ได้ในที่นี้ช่วยเอาคำตอบของผมไปแปะไว้ในกระทู้นั้นที
เจ้าของกระทู้ถามว่า การจูบกันเป็นกลไกธรรมชาติหรือเป็นแค่วัฒนธรรมจากตะวันตก
ผมขอตอบว่า
"นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการจูบ(ปาก)มีกลไกทางชีววิทยาเบื้องหลังอยู่ครับ มีสมมติฐานหลายข้อเหมือนกัน
ริมฝีปากเป็นอวัยวะภายนอกที่มีผิวหนังบางที่สุด (ริมฝีปากเป็นสีแดงเพราะหนังตรงนั้นบางจนเห็นเลือดข้างใต้) การบดขยี้ริมฝีปากกันจึงอาจจะทำให้เหมือนว่าทั้งคู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น [จิตวิทยา]
ปากเป็นเหมือนตัวแทนของอวัยวะเพศหญิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดจะสัมผัสความพร้อมสืบพันธุ์ของตัวเมียด้วยการดมกลิ่นอวัยวะเพศ มนุษย์คงไปเที่ยวดมกลิ่นตรงนั้นของคนอื่นไม่ได้ การจูบปากจึงเป็นทางออก [จิตวิทยา]
มีงานวิจัยที่แนะว่าคนเราตัดสินได้ว่าเพศตรงข้ามมีภูมิคุ้มกันหรือความเข้ากันได้เป็นอย่างไรผ่านทาง"กลิ่น"ของน้ำลาย (เป็นสัญชาตญาณใต้สำนึกครับ เราไม่รู้ตัว) ผมจำไม่ได้ว่าอ่านเรื่องนี้จากไหน ถ้าเจอ จะเอามาแปะอีกที [ชีววิทยา]
ส่วนเรื่องการจูบตรงส่วนอื่นที่ไม่ใช่ปาก ผมขอข้ามไว้ ณ ที่นี้ (แต่สมมติฐานทั่วไปก็คล้ายๆ กันกับการจูบปาก)"
‹ อยากรู้เรื่อง ไมโทคอนเดรีย ครับ
คนทำสารภาพแล้ว "คลิป E.T. ที่พบในรัสเซีย" เป็นของปลอม › | https://jusci.net/node/1757 | เนื่องจากกระทู้ห้องหว้ากอ "การจูบนี่ มันเป็นอัตโนมัติหรือ" |
กราฟีน (Graphene) คือ โครงสร้างคาร์บอนที่เป็นแผ่นความหนาเพียง 1 อะตอม คุณสมบัติที่โดดเด่นของกราฟีนคือความสามารถในการนำไฟฟ้าที่มากกว่าตัวนำอื่นๆ ในอุณหภูมิห้อง และจากการค้นพบเร็วๆ นี้โดยทีมวิจัยที่นำโดย ศ. Michael S. Fuhrer แห่งมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ทำให้เราทราบว่ากราฟีนยังมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กอีกด้วย
ในแผ่นกราฟีนที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนมาเรียงกันต่อเป็นแผงนั้น มักจะมีช่องว่างที่เกิดจากการขาดหายไปของอะตอมคาร์บอนในบางจุด ช่องว่างนี้เรียกว่า "vacancy" ในบางขณะ vacancy จะทำตัวเป็นแม่เหล็กขนาดจิ๋วหรือที่เรียกกันว่าเกิด "magnetic moment" ในสภาวะที่มีอุณหภูมิต่ำๆ สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลทำให้แผ่นกราฟีนทั้งแผงมีความต้านทานไฟฟ้าสูงขึ้นได้
ภาพจำลองโครงสร้างของกราฟีน สังเกตช่องว่างที่เกิดจากการขาดหาดไปของอะตอมคาร์บอนในรูปขยายด้านบน ภาพจาก PhysOrg
นักวิทยาศาสตร์รู้กันมานานแล้วว่า เมื่ออิเล็กตรอนในโลหะถูกรบกวนด้วยสนามแม่เหล็กจากสารปนเปื้อน ตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะจะมีความต้านทานเพิ่มขึ้น พฤติกรรมนี้เรียกว่า "Kondo Effect" ซึ่งสังเกตได้เมื่อลดอุณหภูมิไปเรื่อยๆ แต่การค้นพบพฤติกรรมอย่างเดียวกันนี้ในกราฟีนก็ยังสร้างความประหลาดใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ถึงสองประเด็น
ประเด็นแรก คือ กราฟีนมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนน้อยกว่าโลหะมาก นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่ากราฟีนน่าจะเกิด Kondo Effect ที่อุณหภูมิต่ำสุดๆ ประมาณว่าเกือบแตะศูนย์องศาสัมบูรณ์ (0 K) แต่ Michael S. Fuhrer พบว่า Kondo Effect ของกราฟีนสามารถสังเกตเห็นได้ที่อุณหภูมิ 90 K ซึ่งเกือบจะเท่าๆ กับตัวนำที่เป็นโลหะเลย
ประเด็นที่สอง คือ Kondo Effect ของกราฟีนสามารถปรับได้ว่าจะให้เกิดที่อุณหภูมิเท่าไรเพียงแค่ปรับกระแสไฟฟ้าที่เกตไฟฟ้า (electrical gate) ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เคยพบในโลหะใดมาก่อน
Michael S. Fuhrer สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเพราะอิเล็กตรอนในกราฟีนประพฤติตัวเหมือนกับวัตถุที่ไม่มีมวล ทำให้มันทำอันตรกิริยากับสนามแม่เหล็กจาก vacancy ได้ดีกว่าที่คาด ดังนั้นหากเราหาวิธีปรับให้ vacancies ในกราฟีนให้เรียงตัวไปในทางที่เหมาะเจาะพอดีได้ เราก็อาจจะเปลี่ยนให้กราฟีนทั้งแผงกลายเป็นแม่เหล็กขึ้นมาได้ และแม่เหล็กกราฟีนยังปรับความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กได้ตามต้องการอีกด้วย
ถ้าทำได้จริง แม่เหล็กกราฟีนจะมีประโยชน์อย่างมหาศาลในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดนาโน โดยเฉพาะอุปกรณ์เก็บข้อมูลและหน่วยความจำ
ที่มา - PhysOrg | https://jusci.net/node/1758 | เปลี่ยนกราฟีนเป็นแม่เหล็ก |
วันนี้นึกครึ้มไปลองอ่านเรื่องไมโทคอนเดรียดู ถึงได้รู้ว่าในอดีตมันน่าจะเคยเป็นแบคทีเรียมาก่อน ไปๆมาๆพอมาอยู่ในเซลล์ ก็กลายเป็นว่าติดมากับสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดเลย
คือผมว่ามันน่าสนใจมาก พอดีที่เจอส่วนมากเป็นบทความ ตปท. แล้วศัพท์แปลกๆเยอะมาก (ไม่ค่อยรู้เรื่องชีวะเท่าไหร่) เลยอยากถามว่ามีใครที่พอทราบเรื่องนี้(เรื่องที่มันเข้ามาอยู่ในเซลล์) ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยสิครับ
เนื่องจากกระทู้ห้องหว้ากอ "การจูบนี่ มันเป็นอัตโนมัติหรือ" › | https://jusci.net/node/1759 | อยากรู้เรื่อง ไมโทคอนเดรีย ครับ |
นักชีววิทยาสังเกตเห็นมานานแล้วว่าไข่ของซาลามานเดอร์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอีกหลายชนิดมีเซลล์สาหร่ายที่เป็นชนิดเฉพาะเจริญเติบโตอยู่ด้วยกัน แต่พวกเขากลับต้องรอเกือบศตวรรษถึงจะเพิ่งค้นพบว่าเซลล์สาหร่ายที่พวกเขาเห็นว่าอาศัยอยู่กับไข่ของซาลามานเดอร์ลายจุด (spotted salamander) นั้นแท้จริงแล้วมันอยู่ในเซลล์ของซาลามานเดอร์เลย
การค้นพบนี้รายงานโดยทีมวิจัยที่นำโดย Roger Hangarter แห่ง Indiana University at Bloomington วิธีการที่พวกเขาใช้เป็นเทคนิคแบบใหม่ที่เรียกว่า fluorescence in-situ hybridization ด้วยวิธีนี้พวกเขาจึงสามารถสังเกตเห็นสาหร่ายในเซลล์ของตัวอ่อนซาลามานเดอร์ได้อย่างที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน พวกเขาใช้สีย้อมพิเศษที่จับเฉพาะกับยีนที่สร้าง 18S rRNA ซึ่งเป็นยีนของสาหร่าย สีย้อมนี้จะเรืองแสงใต้กล้องจุลทรรศน์ทำให้นักวิจัยสามารถระบุตำแหน่งของเซลล์สาหร่ายได้
สาหร่ายที่พวกเขาพบในเซลล์ของตัวอ่อนซาลามานเดอร์ลายจุด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oophilia amblystoma นักวิจัยเชื่อกันว่าซาลามานเดอร์กับสาหร่ายมีความสัมพันธ์กันแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน สาหร่ายจะแบ่งอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงให้กับซาลามานเดอร์ ในขณะเดียวกันสาหร่ายก็ได้รับธาตุอาหารและการปกป้องจากเซลล์ซาลามานเดอร์ไปด้วย นี่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบว่ามีสาหร่ายอาศัยเป็น endosymbiont (สิ่งมีชีวิตที่อาศัยแบบพึ่งพาอาศัยอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น) ในเซลล์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ก่อนหน้านี้มีเพียงการพบ endosymbiont ที่เป็นสาหร่ายในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเท่านั้น เช่น ในทากทะเล nudibranchs เป็นต้น
เรื่องน่าแปลกในการค้นพบครั้งนี้คือ ซาลามานเดอร์ลายจุดเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือ นักวิทยาศาสตร์เองก็ใช้ตัวอ่อนซาลามานเดอร์ลายจุดในการศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตกันอย่างกว้างขวางจนทุกคนคิดว่าเรารู้ทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับมันแล้ว การค้นพบสิ่งที่เป็น "ครั้งแรก" จากซาลามานเดอร์ลายจุดใน ค.ศ. 2011 แปลว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้เกี่ยวกับสาหร่ายและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นไปได้ว่ายังอาจมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอีกหลายชนิดที่มีสาหร่ายอยู่ในเซลล์ เพียงแต่รอให้นักวิทยาศาสตร์เข้าไปพบเจอ
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1760 | ซาลามานเดอร์ที่มีสาหร่ายในเซลล์ |
ศ. Paul Selden แห่งมหาวิทยาลัยแคนซัส ได้รายงานการค้นพบซากฟอสซิลของแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบกันมา ซากฟอสซิลนี้ถูกค้นพบในเขตมองโกเลียชั้นใน คาดกันว่ามีอายุประมาณ 165 ล้านปี
แมงมุมตัวนี้มีชื่อว่า Nephila jurassica อยู่ในวงศ์ Nephilidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมงมุม Golden Orb Weavers ในปัจจุบัน มันมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และความยาวขาขณะกางสุดประมาณ 15 เซนติเมตร
แม้ว่านี่จะเป็นฟอสซิลแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบกันมา แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่าแมงมุมขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตในปัจจุบันอยู่ดี แมงมุม Goliath bird-eater (Theraphosa blondi) และแมงมุม giant huntsman (Heteropoda maxima) ครองตำแหน่งเจ้าสถิติร่วมกันด้วยความยาวขาขณะกางสุด 30 เซนติเมตร
เป็นเรื่องน่าแปลกที่เรายังไม่เจอฟอสซิลแมงมุมที่มีขนาดใหญ่กว่าแมงมุมในปัจจุบัน ทั้งที่นักชีววิทยาคาดการณ์ไว้ว่า สมัยนั้นความเข้มข้นของออกซิเจนในบรรยากาศน่าจะสูงกว่าปัจจุบัน สัตว์ที่มีระบบการหายใจที่พึ่งเพียงการแพร่ของก๊าซ เช่น แมลงและแมง ฯลฯ ก็ควรสามารถมีร่างกายขนาดใหญ่โตได้ ต่างจากในยุคปัจจุบันที่ขนาดลำตัวถูกจำกัดด้วยอัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซ เราเคยพบฟอสซิลแมลงปอที่มีความยาวปีกทั้งสองคู่ถึงหนึ่งเมตรและฟอสซิลตะขาบตัวยาว 2.5 เมตร แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าทำไมเราถึงไม่เจอฟอสซิลแมงมุมยักษ์ตัวเท่าคนบ้าง?
ที่มา - New Scientist, The Telegraph
ภาพจาก New Scientist | https://jusci.net/node/1761 | ฟอสซิลแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเจอมา |
ประเทศไทย ทำบ้างหรือยังครับ
ผมเห็นเขาติดแก๊ส ก็โดนจับ เหอ ๆ | https://jusci.net/node/1762 | ฟิลิปปินส์เริ่มโครงการสามล้อไฟฟ้า |
เราคงเคยดูหนังสายลับหรือยอดโจรกันมามาก ที่มีเลเซอร์กวาดไปมาเพื่อป้องกันคนบุกรุก แต่ในความเป็นจริงระบบกันขโมยเช่นนั้นหาซื้อได้ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปมักเป็นระบบตรวจความร้อนหรือการเคลื่อนไหวมากกว่า แต่เว็บ Instructables ก็ได้ลงวิธีการสร้างเครื่องตรวจจับการบุกรุกด้วยเลเซอร์ในราคาถูก
ค่าใช้จ่ายรวมของระบบนี้อยู่เพียงหลักพันเท่านั้น โดยส่วนที่แพงที่สุดกลับเป็นไซเรน ส่วนเลเซอร์นั้นสามารถใช้เลเซอร์ราคาถูกที่ใช้ชี้กระดานได้ทันที
น่าเอามาทำใช้ที่บ้าน ส่วนวิดีโอสาธิตอยู่ท้ายข่าว
ที่มา - Instructables | https://jusci.net/node/1763 | สัญญาณกันขโมยราคาถูกทำได้จริงแล้ว |
แต่เดี๋ยวก่อน ไม่ใช่แบตเตอรี่วันนี้จะทำได้ครับ
ผมหมายถึงแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่กำลังวิจัยกันอยู่ต่างหาก
อันนี้คือสมการเคมีง่ายๆ นั่นคือ Manganese Dioxide กับ Sodium Chloride (เกลือ) ที่ละลายอยู่ในทะเล ซึ่งจะมีสถานะเปนไอออน และมีความเข้มข้นสูง จะสามารถประกอบ Na2Mn5O10 ซึ่งมีพลังงานสูงขึ้นมาได้
ทีมวิจัยจึงได้นำเอา Manganese Dioxide มาทำขั้วไฟฟ้าร่วมกับเงิน (Silver มีปฏิกิริยากับคลอรีน) แล้วนำเอาไปให้น้ำทะเลไหลผ่าน ก็สร้าง Silver Chloride กับ Na2Mn5O10 ขึ้นมาได้
และเมื่อนำน้ำเปล่ามาไหลผ่าน ก็สารประกอบนี้ก็จะย้อนกลับเปนน้ำเกลือ
ปฏิกิริยานี้สามารถทำการทดลองย้อนกลับ โดยไม่เสียประสิทธิภาพได้มากกว่า 100 รอบ และสามารถปลดปล่อยพลังงานได้กว่า 75% ของพลังงานที่สมบูรณ์
จากหลักการนี้ ทีมวิจัยเห็นว่า น่าจะนำไปรวมกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากน้ำทะเลได้ โดยแทนที่จะนำเอาน้ำเปล่าที่ต้มเดือดออกมา ไปเข้าโรงผลิตน้ำจืด(ซึ่งไม่ต้องทำในพื้นที่ๆมีน้ำจืดอยู่แล้ว) หรือปล่อยทิ้งไปเปล่าๆ ก็นำเอาน้ำเปล่าเหล่านั้นมาไหลผ่านขั้วไฟฟ้าตัวนี้ ก็จะได้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นในกระบวนการเดียว
ทางทีมวิจัยยังเชื่อว่าเราอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากกว่านี้ โดยการเปลี่ยนสารที่ใช้ หรือออกแบบรูปร่างให้เหมาะสม ซึ่งอาจจะมีประสิทธิภาพพอที่จะสร้างแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานทั่วไปได้ด้วย
ที่มา : Ars Technica
ป.ล.
ทางทีมวิจัยเรียกอุปกรณ์ที่เขาสร้างขึ้นว่า "mixing entropy battery"
ช่วงนี้ผมเหมือนจะได้เจออะไรเกี่ยวกับ entropy บ่อยจัง | https://jusci.net/node/1764 | แบตหมด? เอาไปแช่น้ำทะเลสิ |
หลังจากน้ำท่วมหนักที่อินโดนีเซียปีที่แล้ว กลุ่มนักภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดรู้ตัวว่าต้องเร่งความพยายามในการเข้าไปช่วยเก็บรักษาภาษา Dusner ซึ่งเป็นภาษาที่ทุกวันนี้มีคนใช้เพียง 3 คน แม้ว่าเจ้าของภาษาทั้งสามจะโชคดีรอดชีวิตจากภัยน้ำท่วมมาได้ก็ตาม
ภาษา Dusner เป็นภาษาท้องถิ่นของหมู่บ้านในป่าลึก ในจังหวัดปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย นักภาษาศาสตร์เพิ่งจะรับรู้ว่ามีภาษานี้อยู่บนโลกเมื่อประมาณปีที่แล้วและพบว่ามันใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที ศ. Mary Dalrymple แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดจึงตั้งโครงการเฉพาะเพื่อที่จะอนุรักษ์ภาษานี้ไว้
ปัจจุบัน คนที่ยังพูดภาษา Dusner ได้มีแค่หญิงอายุ 60 ปี 2 คน และชายวัย 70 กว่าปีอีก 1 คน พวกเขาใช้ภาษา Dusner ในการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญต่างๆ เช่น งานศพ หรือ งานแต่งงาน เป็นต้น ภาษา Dusner ไม่มีภาษาเขียน มีแต่ภาษาพูดเท่านั้น ดังนั้นนักภาษาศาสตร์จะต้องค่อยๆ แกะคำศัพท์และไวยากรณ์จากเจ้าของภาษากันเอาเอง
นักภาษาศาสตร์คาดกันว่าภายใน 50 ปีข้างหน้า ภาษาที่มนุษย์เคยใช้พูดกันกว่า 6,000 ภาษาจะสูญหายไปจากโลกนี้
ที่มา - The Telegraph | https://jusci.net/node/1765 | นักภาษาศาสตร์เร่งช่วยอนุรักษ์ภาษาที่มีคนใช้เพียง 3 คน |
ต่อไปแมวมองไม่ต้องไปเสียเวลาเดินหาเด็กผู้ชายหน้าตาดีๆ แล้ว มองดูแค่ที่มือก็พอจะรู้ได้ว่าผู้ชายคนไหนหน้าตาดี
ทีมวิจัยที่นำโดย Camille Ferdenzi แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ได้ทำการทดลองให้นักศึกษาผู้หญิงกว่า 80 คน มาให้คะแนนรูปใบหน้าของชายจำนวน 49 คน ว่าแต่ละหน้ามีความน่าดึงดูดใจ (attractiveness) อยู่ในระดับไหน
ผลการทดลองปรากฏว่าผู้ชายที่มีค่าอัตราส่วน 2D:4D ต่ำ จะได้รับคะแนนความน่าดึงดูดใจสูง ยิ่งค่า 2D:4D ต่ำเท่าไร ก็ยิ่งดึงดูดใจสาวๆ มากขึ้นเท่านั้น ค่าอัตราส่วน 2D:4D ก็คืออัตราส่วนของความยาวนิ้วชี้ต่อความยาวของนิ้วนางในมือข้างขวานั่นเอง เพราะฉะนั้นผลการทดลองนี้ก็หมายความว่าผู้ชายหล่อๆ มักมีนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มากๆ
ถ้าฟังผิวเผินงานวิจัยนี้อาจจะดูไร้สาระ แต่ความจริงเรื่องนี้มีเบื้องหลังอยู่ นักวิทยาศาสตร์รู้กันอยู่แล้วว่าค่า 2D:4D เกี่ยวข้องกับการได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) ของทารกเพศชายขณะอยู่ในครรภ์ หากในช่วงปลายสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกได้รับเทสโทสเตอโรนสูง กระดูกนิ้วมือจะเจริญเติบโตเร็ว โดยเฉพาะกระดูกนิ้วนางของมือข้างขวา ดังนั้นค่า 2D:4D ก็ใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าตอนที่คนนั้นเป็นทารก เขาได้รับฮอร์โมนเพศชายมากเท่าไร
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีผลต่อการพัฒนาใบหน้าของเด็กทารกเพศชาย การได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากในตอนที่อยู่ในครรภ์จะทำให้หน้าตาของผู้ชายดูดึงดูดใจเพศตรงข้ามมากขึ้น หน้าตาที่นักวิจัยพบว่าดึงดูดใจสาวๆ มากที่สุดมักจะเป็นใบหน้าที่มีความสมมาตรสูงๆ
นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ทดสอบความสัมพันธ์ของคะแนนน่าดึงดูดใจของชายหนุ่มกับลักษณะความเป็นชายอื่นๆ ด้วย เช่น เสียง (ใช้การอัดเสียงแล้วไปเปิดให้ผู้หญิงฟัง), กลิ่นตัว (เอาผ้าที่ซับใต้แขนไปให้ผู้หญิงดม) เป็นต้น พวกเขาพบว่าลักษณะเสียงและกลิ่นตัวที่ผู้หญิงชอบไม่ได้สัมพันธ์กับค่า 2D:4D แต่อย่างใด ทำให้เชื่อได้ว่าลักษณะความเป็นชายเหล่านี้แปรผันตามระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สร้างในวัยเจริญพันธุ์มากกว่าระดับฮอร์โมนตอนที่อยู่ในท้องแม่
ผมเคยอ่านเจอว่ามีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าค่า 2D:4D สัมพันธ์กับความสามารถในทางกีฬาและความต้องการทางเพศของผู้ชายด้วย หรือในข่าวเก่าๆ ก็มีเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมากและความเข้มแข็งอีก...
...อย่างนั้นก็แปลว่า หล่อ...เล่นกีฬาเก่ง...เข้มแข็ง...เซ็กซ์จัด...แต่เสี่ยงมะเร็ง สินะ
ที่มา - Live Science, Discovery News | https://jusci.net/node/1766 | ยิ่งนิ้วนางยาว ยิ่งหล่อ |
นักวิทยาศาสตร์ได้ส่องกล้อง James Clerk Maxwell Telescope ไปที่พลูโต แล้วก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าชั้นบรรยากาศของพลูโตมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยวัดได้ แถมยังเหมือนกับว่ามีหางพุ่งออกไปแบบดาวหางด้วย
Jane Greaves แห่ง University of St Andrews ผู้ค้นพบเรื่องนี้วัดความหนาของชั้นบรรยากาศพลูโตใหม่ได้กว่า 3,000 กิโลเมตร มากกว่าค่าเดิม 100 กิโลเมตรที่มีคนเคยวัดไว้กว่า 30 เท่า ความหนานี้เทียบเท่ากับหนึ่งในสี่ของระยะทางระหว่างพลูโตกับดวงจันทร์ของมันที่ชื่อ ชารอน
ไม่ใช่แค่ความหนาเท่านั้นที่เปลี่ยนไป ส่วนประกอบในบรรยากาศก็เปลี่ยนไปด้วย Jane Greaves พบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ในปริมาณมาก ทั้งที่ในการวัดเมื่อปี 2000 นักวิทยาศาสตร์ไม่ตรวจเจอก๊าซ CO เลย
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะเป็นเพราะขั้วใต้ของพลูโตหันเข้าหาดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรกในรอบ 120 ปี ก๊าซ CO จึงระเหิดออกมามาเกินกว่าปริมาณที่มันควบแน่นกลับลงที่ขั้วเหนือ การเปลี่ยนแปลงคล้ายกันนี้เคยเกิดแล้วในปี 1989 ที่พลูโตโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจนทำให้บริเวณพื้นผิวมีก๊าซมีเธนมากขึ้นอย่างพุ่งพรวด
นอกจากจะหนาขึ้นแล้ว Jane Greaves ยังคิดว่าบรรยากาศ CO ของพลูโตน่าจะมีทิศทางพุ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์คล้ายดาวหางด้วย เพราะเมื่อดูสเปคตรัมของ CO ที่วัดได้ เขาพบว่ามี red shift อยู่นิดหน่อย (red shift ในแถบสเปคตรัมหมายถึงว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ออกจากผู้สังเกต) ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่าก๊าซ CO ในชั้นบรรยากาศอันเบาบางของพลูโตถูกอิทธิพลของลมสุริยะพัดกระหน่ำจนเป็นหางงอกออกมา
โธ่ พลูโตที่น่าสงสาร โดนลดจากดาวเคราะห์มาเป็นดาวเคราะห์แคระรอบหนึ่งแล้ว คราวนี้จะโดนลดชั้นเหลือเป็นแค่ "ดาวหาง" หรือเปล่านะ?
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1767 | บรรยากาศของพลูโตใหญ่ขึ้นและคล้ายดาวหาง |
หลายคนใช้ผัก ใช้ผลไม้ หรือใช้ครีมต่างๆ ก็ไม่เท่าไร .. แต่บางคนใช้ไข่ขาวพอกหน้า .. เลยสงสัยว่า โปรตีนมันสามารถถูกดูดซึมทางผิวหนังเลยเหรอครับ? ประสิทธิภาพของมันมากพอจะให้คนนำไปพอกหน้า? ทั้งที่ มันดูน่าจะไม่ถูกสุขลักษณะเท่าไร หรือผมเข้าใจอะไรผิดไป? ใครพอมีคำตอบบ้างครับ ^^'
‹ แสดงความเห็น+เสนอแนะปรับปรุง Jusci.Net
คนทำสารภาพแล้ว "คลิป E.T. ที่พบในรัสเซีย" เป็นของปลอม › | https://jusci.net/node/1768 | เห็นผู้หญิงพอกหน้าแล้วสงสัย? |
เวลาประมาณเที่ยงคืนเมื่อคืนวานตามเวลาท้องถิ่น (เวลาประเทศไทยน่าจะประมาณตอนเที่ยงวันของวันที่ 22 เมษายน 2011) เครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ของ CERN ได้ทำลายสถิติยิงลำแสงที่มีความเข้มสูงที่สุดด้วยความเข้มขนาด 4.67 × 1032 cm-2s-1 เป็นการโค่นสถิติเดิมที่ Tevatron ของ Fermilab ได้ทำไว้ (4.024 × 1032 cm-2s-1) เมื่อปี 2010
ยิ่งความเข้มของลำแสงในเครื่องเร่งอนุภาคมีมากเท่าไร โอกาสที่อนุภาคจะชนกันก็เกิดขึ้นได้มากตามไปด้วย และยิ่งมีการชนของอนุภาคเยอะๆ นักวิทยาศาสตร์ของ CERN ก็จะมีข้อมูลมากองถมหัวให้ได้เล่นกันมากขึ้น ความเป็นไปได้ที่จะเจออนุภาค Higgs boson ก็สูงขึ้น
ที่มา - CERN Press Release | https://jusci.net/node/1769 | LHC ทำลายสถิติความเข้มลำแสงในเครื่องเร่งอนุภาค |
ทีมนักวิจัยที่นำโดย Ali Reza Ranjbartoreh แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (University of Technology Sydney) รายงานความสำเร็จในการผลิตแผ่นกราฟีนที่มีความหนาเท่ากระดาษจากกราไฟท์ลงในวารสาร Journal of Applied Physics
ขั้นตอนการผลิตทำโดยการนำกราไฟต์มาผ่านกระบวนการทางเคมีและการจัดระเบียบโครงสร้างในระดับนาโน ผลผลิตที่ได้เป็นแผ่นกราฟีนที่ซ้อนทับกันอย่างมีระเบียบ แม้จะมีความหนาเพียงแผ่นกระดาษ แต่มีความสามารถในการนำไฟฟ้าและความร้อนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังแข็งกว่าเหล็กที่มีความหนาเท่ากันถึง 2 เท่า, มีความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงสุด (tensile strength) มากกว่าเหล็กถึง 10 เท่า, ความแข็งแกร่งต่อแรงบิดงอ (bending rigidity) มากกว่าเหล็กถึง 13 เท่า และเบากว่าถึง 6 เท่า
Ali Reza Ranjbartoreh ยังกล่าวอีกด้วยว่าขั้นตอนการผลิดแผ่นกระดาษกราฟีนที่เขาพัฒนาขึ้นมาไม่ได้ยุ่งยากนักและไม่ได้มีต้นทุนสูงเกินกว่าการลงทุน สามารถปรับปรุงต่อยอดไปเป็นการผลิตในระดับโรงงานได้ทันที แผ่นกระดาษกราฟีนก็เป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ....เรียกว่าประเสริฐสุดยอดไร้เทียมทานไปเลย ว่างั้น
ถ้าออกมาสู่ตลาดเชิงพาณิชย์เมื่อไร แผ่นกราฟีนจะปฏิวัติอุตสาหกรรมในหลายวงการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินและยานพาหนะ....
...และอีกวงการที่ผมนึกออก คือ เมื่อรวมกับข่าวที่แล้ว วงการอุตสาหกรรม "แผ่นแม่เหล็กติดตู้เย็น" จะต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปตลอดกาล :D
ที่มา - UTS News Room | https://jusci.net/node/1770 | กระดาษกราฟีนแข็งแกร่งกว่าเหล็ก |
เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมได้ข่าวคนไปเจอศพ E.T. แล้วถ่ายคลิปเอาไว้ หลายคนก็คงได้เห็นใน Youtube แล้ว
วันนี้ผมก็ได้เห็น Ray William Johnson เอามารีวิวใน Equals Three ด้วย และ RWJ ก็บอกแล้วว่าเป็นของปลอม ดังนั้นมันต้องเป็นของปลอมครับ เราเชื่อท่าน RWJ ทุกประการ... จบข่าว
เอ๊ย ไม่ใช่ ที่ผมบอกว่ามันเป็นของปลอมเพราะว่าทั้งสองคนที่ถ่ายคลิปได้รับสารภาพแล้วว่าศพ E.T. ตัวนั้นเป็นหุ่นที่พวกเขาทำขึ้นมาเอง จากขนมปังและเศษเนื้อเศษหนังที่ได้มาจากร้านขายเนื้อ การสารภาพนี้เกิดขึ้นต่อหน้าตำรวจรัสเซีย เมื่อตำรวจเข้าไปค้นที่บ้านของหนึ่งในสองคนนี้ก็ยังพบ E.T. อีกตัวด้วย แน่นอนว่าเป็นของปลอมเหมือนกัน (สงสัยเตรียมไว้ทำอีกคลิป)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Daily Mail และ Discovery News
‹ เห็นผู้หญิงพอกหน้าแล้วสงสัย?
Standing on the shoulders of giants.... › | https://jusci.net/node/1771 | คนทำสารภาพแล้ว "คลิป E.T. ที่พบในรัสเซีย" เป็นของปลอม |
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tohoku ในญี่ปุ่น ได้พัฒนาฉากรับภาพโปรเจคเตอร์ ที่สามารถทำให้มองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนแม้ใช้ในห้องที่มีแสงสว่าง โดยอาศัยหลักการ Diffused Light Control (DLC) ทำให้แสดงที่ปรากฏบนฉากรับภาพมาได้จากทิศทางเดียวเท่านั้น ในขณะที่แสงจากทิศทางอื่นจะถูกดูดซับหรือสะท้อนออกไป
อย่างไรก็ดีฉากรับภาพนี้ยังไม่พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานจริง เพราะยังผลิตออกมาได้เป็นแผ่นขนาดเล็ก ทำให้เกิดเส้นขอบของแต่ละแผ่นเมื่อนำมาต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ และยังมีปัญหากับแสงอาทิตย์ที่เข้ามาโดยตรง แต่นักวิจัยก็มั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวจะสามารถแก้ไขให้หมดไปได้ในอนาคต
ชมวีดีโอสาธิตการใช้งานได้ท้ายข่าว
วีดีโอสาธิตการใช้งาน
แผ่นขวาล่างคือฉากรับภาพธรรมดา เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
ที่มา: Engadget | https://jusci.net/node/1772 | นักวิจัยพัฒนาฉากรับภาพโปรเจคเตอร์ สามารถใช้ในห้องที่สว่างได้ |
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2011 คือวันคล้ายวันเกิดปีที่ 102 ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ Rita Levi-Montalcini เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ในปี 1986 และเธอผู้นี้ยังเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลที่อายุยืนที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย
ศาสตราจารย์ Rita Levi-Montalcini เกิดที่เมืองตูริน ในปี ค.ศ. 1909 เป็นชาวอิตาลีเชื้อสายยิว เธอเคยผ่านยุคเผด็จการฟาสซิสต์ของมุสโสลินีซึ่งเป็นยุคที่ชนชาติยิวถูกกีดกันจากวงการวิชาการในประเทศ ในช่วงสงครามเธอได้ลี้ภัยไปเมืองฟลอเรนซ์ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เธอก็ย้ายต่อไปรับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ Washington University ใน St. Louis สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปี 1977 ศาสตราจารย์ Rita Levi-Montalcini จึงย้ายกลับมาอิตาลีและก่อตั้ง European Brain Research Institute ในปี 2005
งานที่ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบล คือ การค้นพบ nerve growth factor ซึ่งเป็นการเบิกทางไปสู่ความก้าวหน้าด้านการแพทย์มากมาย เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง โรคพาร์กินสันส์ โรคอัลไซเมอร์ นอกจากรางวัลโนเบลแล้ว ศาสตราจารย์ Rita Levi-Montalcin ยังได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณจากสถาบันต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน
ที่มา - Discovery News | https://jusci.net/node/1773 | เจ้าของรางวัลโนเบลผู้มีอายุยืนที่สุดในโลกฉลองวันเกิดปีที่ 102 |
นักวิทยาศาสตร์ได้ลองจินตนาการถึงสภาพของพืชบนดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งเป็นดาวแคระแดง (red dwarf) สิ่งที่เขาคิดได้คือพืชบนดาวดวงนั้นน่าจะมีสีดำ
นักวิทยาศาสตร์คนนั้น คือ Jack O'Malley-James นักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย Andrews University เขาได้สร้างแบบจำลองสภาพดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์สภาพต่างๆ โดยตั้งสมมติฐานว่ากระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานเคมีของพืชต่างดาวน่าจะคล้ายคลึงกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชบนโลกเรา ดังนั้นพืชต่างดาวจะต้องปรับตัวเองให้สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ในระบบที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์สองดวง สมมติว่าให้ดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสว่างพอๆ กับดวงอาทิตย์ของเรา และอีกดวงเป็นดาวแคระแดง (red dwarf) ที่สว่างน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเรามาก พืชบนดาวดวงนั้นคงจะปรับตัวแยกกันเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือพืชที่มีสีสันสดใสคล้ายพืชบนโลกเพื่อรับแสงอาทิตย์จากดวงที่สว่างกว่า ส่วนอีกประเภทคือพืชที่มีรงควัตถุดูดกลืนแสงเกือบทุกช่วงความยาวคลื่นเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ที่สว่างน้อย หากมองด้วยสายตาของเรา พืชประเภทหลังก็จะมีสีทึบๆ ดำๆ เพราะมันดูดแสงไว้ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
นอกจากสีดำแล้ว พืชต่างดาวก็อาจจะมีสีอื่นๆ ได้อีกตามดวงอาทิตย์ที่มันต้องใช้เป็นแหล่งพล้งงาน บนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์แสงจ้าๆ สองดวง พืชบนดาวดวงนั้นก็อาจจะต้องมีกลไกเพื่อป้องกันตัวเองจากรังสีอัลตร้าไวโอเลตอันเข้มข้นด้วย
ที่มา - BBC News | https://jusci.net/node/1774 | พืชต่างดาวอาจมีสีดำ |
เมื่อเร็วๆ นี้ มีนักฟิสิกส์คนหนึ่งได้เสนอทฤษฎีกำเนิดเอกภพอันใหม่ซึ่งบอกว่าเอกภพในตอนแรกเริ่มนั้นเป็นเส้นตรงที่มีแค่มิติเดียวเท่านั้น ทุกอย่างเคลื่อนที่ได้แค่สองทางคือไปข้างหน้าและถอยหลัง ไม่มีการระเบิดตู้มเป็นโกโก้ครั้นช์ แต่เป็นการระเบิดแล้วเกิดเป็นเส้นหมี่แทน
Dejan Stojkovic แห่ง University of Buffalo ตั้งชื่อทฤษฎีของเขาว่า "vanishing dimensions" ตามปากคำของเขาเอง เขาไม่คิดว่าสิ่งที่เขาคิดขึ้นมาเป็นทฤษฎีด้วยซ้ำ เขาถือว่ามันคือกรอบแนวคิด (framework) ที่จะเป็นรากฐานให้นักฟิสิกส์สร้างทฤษฎีต่างๆ มารองรับในระดับรายละเอียดเพิ่มเติมในอนาคต
ทฤษฎี "vanishing dimensions" (หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะเรียกกัน) อธิบายว่าในช่วง 1 ส่วนแสนล้านล้านวินาทีแรกหลังจาก Big Bang เอกภพเริ่มจากสิ่งที่มีโครงสร้างเป็นเส้นตรงหนึ่งมิติ พลังงานและอนุภาคที่เกิดขึ้นก็วิ่งไปวิ่งมาในเส้นตรงนี้ พอเวลาผ่านไปจนเอกภพมีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 100 TeV (TeV หรือ teraelectronvolt เป็นหน่วยของพลังงาน แต่ว่าอุณหภูมิก็คือค่าชี้วัดพลังงาน ดังนั้นในที่นี้เลยใช้แทนกันได้) เส้นตรงหนึ่งมิติก็ขยายขนาดขึ้นและถักทอกันเองเกิดเป็นระนาบสองมิติ จากระนาบสองมิติ เอกภพก็ขยายไปอีกและซ้อนทับเชื่อมกันไปมาจนเกิดเป็นเอกภพสามมิติแบบที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ในเส้นตรงหนึ่งมิติของ Dejan Stojkovic อนุภาคทุกตัวจะมีคุณสมบัติเหมือนกันหมด อนุภาคเริ่มมีคุณสมบัติเฉพาะและแยกออกเป็นชนิดต่างๆ เมื่อเอกภพเพิ่มเป็นสองและสามมิติตามลำดับ ทฤษฎี vanishing dimensions เรียบง่ายอย่างงดงาม ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง ปัญหาเรื่องความไม่ลงตัวของทฤษฎีควอนตัมที่อธิบายได้แต่อนุภาคจิ๋วๆ กับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ใช้ได้แต่กับของใหญ่ๆ ก็จะหมดลงไปทันที
Dejan Stojkovic ได้ร่วมวิจัยกับ Jonas Mureika แห่ง Loyola Marymount University เสนอทางที่จะพิสูจน์ทฤษฎี vanishing dimensions ไว้สองสามทางซึ่งเป็นการทดลองที่ดูแล้วน่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ข้อพิสูจน์แรกต้องพึ่งสิ่งที่เรียกกันว่า "คลื่นแรงโน้มถ่วง" (gravitational waves) ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นจากการที่วัตถุขนาดใหญ่ๆ เคลื่อนที่แล้วทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของกาล-อวกาศ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทำนายการมีอยู่ของคลื่นแรงโน้มถ่วงไว้นานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครค้นพบหลักฐานตัวเป็นๆ สักที (และเป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ NASA ตัดงบสนับสนุน LISA ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเพื่อตามหาคลื่นแรงโน้มถ่วง)
ถ้าเราพบคลื่นแรงโน้มถ่วงเมื่อไร ข้อพิสูจน์ที่จะสนับสนุนทฤษฎี vanishing dimensions ก็คือการขาดหายไปของความถี่บางช่วง เพราะทฤษฎี vanishing dimensions ทำนายไว้ว่าคลื่นแรงโน้มถ่วงเกิดได้ในเอกภพที่เป็นสามมิติเท่านั้น ดังนั้นในช่วงที่เอกภพยังเป็นสองมิติอยู่จะไม่มีคลื่นแรงโน้มถ่วงใดๆ ทั้งสิ้น
Dejan Stojkovic คำนวณว่าเอกภพเปลี่ยนจากสองมิติมาเป็นสามมิติขณะที่มีอุณหภูมิ 1 TeV เพราะฉะนั้นช่วงความถี่ของคลื่นแรงโน้มถ่วงที่หายไปจะต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในอุณหภูมิ 1 TeV นี่แหละ
ข้อพิสูจน์อีกข้ออาจจะเป็นเรื่องที่ดูง่ายกว่าข้อแรกอยู่นิดหน่อย นั่นคือการมองไปที่การชนกันของอนุภาคพลังงานสูง อย่างเช่นการชนอนุภาคด้วยรังสีคอสมิก หรือ การชนกันของอนุภาคใน LHC ถ้าการชนกันมีพลังงานสูงพอ สภาวะของระบบในขณะนั้นจะคล้ายกับสภาวะแรกเริ่มของเอกภพ ถ้าทฤษฎี vanishing dimensions เป็นของจริง ผลที่เกิดจากการชนก็จะต้องออกมาเป็นรูปเส้นหนึ่งมิติหรือระนาบสองมิติ
Dejan Stojkovic อ้างว่าหลักฐานในข้อพิสูจน์อันที่สองนี้มีเค้าลางให้เห็นกันอยู่แล้ว รังสีคอสมิกที่ชนอนุภาคในชั้นบรรยากาศสูงๆ จะก่อให้เกิดลำอนุภาคพุ่งออกเป็นรูปกรวย ถ้าพิจารณาดีๆ ภาคตัดของรูปกรวยก็คือแผ่นระนาบวงกลมสองมิตินั่นเอง เขาทำนายว่าหากพลังงานที่ชนสูงขึ้นเรื่อยๆ รูปกรวยก็จะลดรูปลงเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะกลายเป็นระนาบที่มีเพียงสองมิติ
นักฟิสิกส์อีกหลายคนก็ยังไม่เชื่อในทฤษฎี vanishing dimensions มากนัก
Thomas Sotiriou แห่ง University of Cambridge และ Silke Weinfurtner แห่ง SISSA Institute แย้งว่า "คลื่นแรงโน้มถ่วงมันต้องมีทุกช่วงความถี่แหละ มันก็ไม่เชิงว่าทฤษฎี vanishing dimensions จะไม่จริง แต่คลื่นแรงโน้มถ่วงไม่ควรจะขาดช่วงความถี่ใดความถี่หนึ่งไปแบบชัดเจน"
ทั้งคู่ยังบอกอีกว่า "บทความใน Physical Review Letters ของ Dejan Stojkovic ยังหลวมอยู่มาก แม้จะเสนอถึงการหดหายของมิติในพลังงานสูงๆ และการขาดหายของคลื่นแรงโน้มถ่วง แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้พูดถึงกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านั้นเลย"
"The [Physical Review Letters] Letter by Stojkovic et al. is extremely vague. They refer to vanishing dimensions at high energies and in the context of gravity but they practically say nothing specific about the mechanism via which this would be achieved."
แม้ทฤษฎีนี้จะฟังคล้าย String theory อยู่บ้าง แต่ความเรียบง่ายและความเป็นไปได้ในการทดลองพิสูจน์ของทฤษฎี vanishing dimensions คงทำให้มันดังเปรี้ยงหรือไม่ก็ดับแป้กได้เร็วกว่ามาก
ที่มา - Life's Little Mysteries | https://jusci.net/node/1775 | นักฟิสิกส์เสนอทฤษฎีใหม่ "เอกภพเริ่มแรกมีแค่ 1 มิติ" |
เชื่อว่าหลายๆ ที่มาอ่านบอร์ดนี้คงจะสนใจการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าสนใจเว็บโป๊แน่นอน (แซวเล่นนะครับ แต่ผมทำจิง 55+) คือผมอยากทราบเทคนิคการเรียนรู้ของทุกท่าน เพราะว่าผมเป็นคนนึงที่สนใจเทคนิคการเรียนรู้มากกว่าการเรียนรู้ (อย่างงนะ) คงไม่ต้องบอกนะครับสมัยนี้วิชาความรู้มันมากมายแค่ไหน
ไอ้ผมมันประเภทโลภซะด้วย อยากรู้มันไปซะทุกเรื่อง จนมันสร้างปัญหาให้ผม เนื่องเพราะความมากมายของความรู้ ผมซื้อทั้ง ipad และ kindle เพื่อจะมาอ่านหนังสือ แต่ผมใช้มันแค่ 10% ได้มั้ง ที่เหลือเล่นเกมส์กับอ่านการ์ตูน ผมก็เศร้าซิ ก็เลยคิดหาเทคนิคที่จะเรียนรู้ให้ได้มากๆ และเร็วๆ (ตามประสาคนขี้เกียจ ไม่ได้คิดปรับปรุงนิสัยตัวเองเล้ย = = '' )
ก็อยากมาขอแลกเปลี่ยนกับทุกท่านนะครับว่าท่านเรียนกันอย่างไร ทิ้งไว้เฉพาะคีเวริ์ดหรือจะอธิบายคร่าวๆ ก็ได้ หรือจะอธิบายเทคนิคการเรียนรายวิชาเลยก็ได้ เช่นอย่างคุณ Terminus ถนัดชีวะก็ขอทราบหน่อยครับว่ามีเทคนิคอย่างไร ของผมไม่ได้ถนัดในสาขาใดก็ขอแชร์ในแบบภาพรวมนะครับ เท่าที่เคยฝีกมา มี speed reading, critical reading, photo reading แต่ทั้งหมดนี้ผมยังฝีกแบบงูๆ ปลาๆ อยู่ครับ ถ้าท่านใดมีอะไรเพิ่มเติม รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ที่สละเวลา
‹ Apollo 13 Emergency Return เป็นเรื่องแหกตา?
[บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร? › | https://jusci.net/node/1776 | เรียนรู้กันแบบไหนครับท่าน |
เป็นเวลากว่าสองทศวรรษครึ่งที่นักชีววิทยาคิดกันว่าการคลอดลูกโดยทารกหันหัวไปทางด้านหลังเป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์ ว่ากันว่าการที่ทารกหันหัวไปทางด้านหลังทำให้มนุษย์ตัวแม่รับตัวทารกที่เพิ่งคลอดออกมาได้ลำบาก จึงจำเป็นต้องมีคนมาช่วยทำคลอดเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ทารก ในอีกนัยหนึ่งก็เป็นการเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมมนุษย์
แต่การค้นพบเร็วๆ นี้ ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นที่นำโดย Satoshi Hirata แห่ง Hayashibara Biochemical Laboratories ได้รายงานว่าทารกของลิงชิมแปนซีก็หันเอาหัวไปทางด้านหลังเหมือนกับทารกมนุษย์
ดาวน์โหลดวิดีโอวินาทีคลอดของลิงชิมแปนซีได้ที่ www.nature.com/nature/newsvideo/rsbl005.mov (ภาพไม่น่ากลัวเท่าไรนะครับ ยกเว้นว่าคุณกำลังกินไส้อั่วอยู่ ภาพในคลิปอาจทำให้เกิดอาการหมดอารมณ์กินได้ เราเตือนคุณแล้ว)
ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครเคยสังเกตเลยว่าลิงชิมแปนซีคลอดลูกอย่างไร เนื่องจากเมื่อลิงชิมแปนซีท้องแก่ใกล้คลอด มันจะแยกตัวออกจากฝูงไปคลอดลูกตามลำพัง นักชีววิทยาเลยสันนิษฐานกันเอาเองว่าลูกลิงคงเอาหัวหันมาทางด้านหน้าเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ
เหตุผลที่ทำให้นักวิจัยญี่ปุ่นสามารถเข้าไปสังเกตลิงท้องแก่ขณะคลอดได้ เป็นเพราะว่าพวกเขามีความสนิทใกล้ชิดกับลิงชิมแปนซีมาก แทบจะกินอยู่หลับนอนด้วยกันเลย ตอนแรกพวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าภาพที่พวกเขาเห็นคือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ จนกระทั่งพวกเขาได้พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่นที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการคลอดของมนุษย์ พวกเขาถึงตระหนักว่าเรื่องนี้สำคัญขนาดไหนและลุกขึ้นมาเขียนรายงานตีพิมพ์ในวารสาร Biology Letters
การค้นพบว่าลิงชิมแปนซีคลอดลูกโดยทารกหันหัวไปทางด้านหลังเหมือนมนุษย์ทำให้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียกหาคนช่วยทำคลอดในสังคมมนุษย์ถูกล้มไปโดยปริยาย เพราะลิงชิมแปนซีสามารถคลอดลูกตามลำพังได้โดยไม่ต้องเรียกหาลิงตัวอื่นมาช่วยทำคลอดแต่อย่างใด
Wenda Trevathan แห่ง New Mexico State University หนึ่งในผู้เสนอแนวคิด "เด็กหันหัวไปด้านหลัง-เรียกหมอตำแยมาช่วยดีกว่า" เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ออกมาแสดงความยินดีว่า "ในที่สุดก็มีงานวิจัยในลิงชิมแปนซีออกมาพิสูจน์เรื่องนี้สักที"
(นี่คือธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์ ทุกอย่างจบเมื่อมีหลักฐานชี้ขาด แม้ว่าการค้นพบนี้จะขัดกับสมมติฐานที่เธอเคยเสนอก็ตาม)
So I'm glad that finally we've got some observational data on chimpanzees — it's advancing science.
สิ่งที่ต้องศึกษากันต่อไปนับจากนี้ก็ต้องดูกันว่าการหมุนตัวของเด็กทารกในครรภ์ของลิงชิมแปนซีกับมนุษย์เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลิงชิมแปนซีแยกออกไปคลอดลูกเองลำพัง แต่มนุษย์กลับต้องหาคนมาช่วยทำคลอด ทั้งที่ลูกคนและลูกลิงก็หันหัวไปทางเดียวกัน
ที่มา - Nature News | https://jusci.net/node/1777 | ลูกชิมแปนซีคลอดหันหัวไปข้างหลังเหมือนมนุษย์ |
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวลือประโคมในวงการฟิสิกส์ว่า "LHC เจอหลักฐานที่คาดกันว่าจะเป็น Higgs boson แล้ว" แน่นอนว่าข่าวพาดหัวใหญ่อะไรแบบนี้ลามกันเร็วกว่าข่าวลือ "ดาวเทียมล่ม-เตรียมรัฐประหาร" เสียอีก
ต้นตอของข่าวนี้คือข้อความที่เชื่อกันว่ามาจากบันทึกภายในของนักวิจัย CERN เรื่องของเรื่องเริ่มมาจากมีคนไปโพสต์บันทึกในบล็อก Not Even Wrong ของ Peter Woit นักคณิตศาสตร์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ข้อความในบันทึกนั้นก็มีหน้าตาอย่างที่เห็นด้านล่าง
Internal Note
Report number ATL-COM-PHYS-2011-415
Title Observation of a γγ resonance at a mass in the vicinity of 115 GeV/c2 at ATLAS and its Higgs interpretation
Author(s) Fang, Y (-) ; Flores Castillo, L R (-) ; Wang, H (-) ; Wu, S L (University of Wisconsin-Madison)
Imprint 21 Apr 2011. – mult. p.
Subject category Detectors and Experimental Techniques
Accelerator/Facility, Experiment CERN LHC ; ATLAS
Free keywords Diphoton ; Resonance ; EWEAK ; HIGGS ; SUSY ; EXOTICS ; EGAMMA
Abstract Motivated by the result of the Higgs boson candidates at LEP with a mass of about 115~GeV/c2, the observation given in ATLAS note ATL-COM-PHYS-2010-935 (November 18, 2010) and the publication “Production of isolated Higgs particle at the Large Hadron Collider Physics” (Letters B 683 2010 354-357), we studied the γγ invariant mass distribution over the range of 80 to 150 GeV/c2. With 37.5~pb−1 data from 2010 and 26.0~pb−1 from 2011, we observe a γγ resonance around 115~GeV/c2 with a significance of 4σ. The event rate for this resonance is about thirty times larger than the expectation from Higgs to γγ in the standard model. This channel H→γγ is of great importance because the presence of new heavy particles can enhance strongly both the Higgs production cross section and the decay branching ratio. This large enhancement over the standard model rate implies that the present result is the first definitive observation of physics beyond the standard model. Exciting new physics, including new particles, may be expected to be found in the very near future.
See: http://cdsweb.cern.ch/record/1346326?
โดยสรุป บันทึกฉบับนี้ คือบทคัดย่อซึ่งบอกว่าการทดลอง ATLAS พบอนุภาคอะไรสักอย่างที่มีมวลประมาณ 115 GeV/c2 สัญญาณนี้พบได้อย่างสม่ำเสมอในชุดการทดลอง ค่ามวลในบันทึกก็ตรงกับค่ามวลของ Higgs boson ที่คำนวณได้จาก Standard Model แต่จำนวนการเกิดของอนุภาคตัวนี้เยอะกว่าที่คำนวณไว้สำหรับ Higgs boson ถึง 30 เท่า ดังนั้นมันอาจจะเป็นอนุภาคใหม่ที่ไม่เคยมีใครพบมาก่อนก็ได้
ตอนนี้ยังไม่มีใครทราบว่าบันทึกนี้เป็นของจริงหรือของปลอม แต่นักฟิสิกส์บางคนก็แสดงออกชัดเจนว่าไม่เชื่อว่า LHC จะค้นพบ Higgs boson ตามที่บันทึกนี้อ้าง ต่อให้มันเป็นบันทึกจาก CERN จริงๆ ก็ตาม
Tommaso Dorigo นักฟิสิกส์ของ Fermilab และ CERN ให้ความเห็นว่าการทดลองของ Tevatron ที่มีพลังงานการชนอนุภาคพอๆ กับ ATLAS ในตอนนี้และมีข้อมูลมากกว่าด้วยซ้ำ ยังไม่พบอนุภาคแปลกประหลาดที่มวลดังกล่าวเลย ถ้ามีอนุภาคอะไรสักอย่างเกิดขึ้นตรงนั้น นักวิจัยของ Fermilab ต้องเจอมาก่อนหน้านี้ตั้งนานแล้ว เขามั่นใจมากถึงขนาดท้าพนันเลยว่า "นี่ไม่ใช่การค้นพบอนุภาคใหม่อะไรหรอก"
I bet $1,000 with whomever has a name and a reputation in particle physics (this is a necessary specification, because I need to be sure that the person taking the bet will honor it) that the signal is not due to Higgs boson decays. I am willing to bet that this is NO NEW PARTICLE. Clear enough?
นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนยังระมัดระวังในการให้ความเห็น ส่วนใหญ่จะบอกให้รอการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก CERN ก่อน ไม่ควรจะตื่นตูมและแพร่กระจายข่าวลือนี้อย่างไม่ยั้งคิด Sean Carroll แห่ง Caltech ทวีตปลอบใจ Higgs boson อย่างติดตลกว่า
Don't worry, Higgs boson! I would never spread scurrilous rumors about you. Unlike some people.
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Fermilab ก็ตั้งข้อสงสัยว่า Tevatron อาจพบอนุภาคชนิดใหม่เหมือนกัน และจนถึงวันนี้ก็ยังพิสูจน์กันไม่ได้ว่ามันคืออนุภาคตัวใหม่, อนุภาค Higgs boson, หรือแค่ความบังเอิญทางสถิติ
...ความ Tevatron ยังไม่หาย ความ LHC เข้ามาแทรกอีกแล้ว
ที่มา - Live Science
Update - James Gillies โฆษกของ CERN ได้ออกมายอมรับแล้วว่าบันทึกดังกล่าวเป็นของจริง แต่มันเป็นเพียงรายงานขั้นแรกเท่านั้น ยังต้องผ่านการตรวจทานอีกหลายขั้นตอน ดังนั้นมันก็ยังมีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าการค้นพบของ LHC ครั้งนี้จะยังไม่ใช่ Higgs boson - ที่มา PhysOrg | https://jusci.net/node/1778 | ข่าวลือ "LHC พบอนุภาคพระเจ้าแล้ว!?" |