content
stringlengths
2
11.3k
url
stringlengths
26
27
title
stringlengths
3
125
กราฟีน เซเลบของเหล่าวงการวัสดุศาสตร์ เธอเด่นดังในด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้า เธอนำไฟฟ้าได้ดีเยี่ยมจนใครๆก็พูดถึงแต่เธอ แต่เมื่อสร้างเธอเป็นโครงสร้างในระดับมหภาค เพื่อใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ เธอกลับไม่โด่งดังอย่างที่คิด เพราะเธอจะนำไฟฟ้าได้ไม่ดีเลย แต่มาวันนี้เธอกลับมาทวงชื่อเสียงอีกครั้ง เมื่อ Hui-Ming Cheng และทีมที่ Chinese Academy of Sciences ประสบความสำเร็จในการสร้าง โครงสร้างสามมิติระดับมหภาคของกราฟีนที่นำไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม พวกเขาตั้งชื่อให้ว่า โฟมกราฟีน โฟมกราฟีนนี้เมื่อรวมเข้ากับเมทริคซ์แบบโพลิเมอร์ของซิลิคอน ก็จะได้วัสดุที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าและยืดหยุ่นได้ดี สามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ ที่ต้องการความยืดหยุ่นและผลิตขึ้นมาในปริมาณมาก การสังเคราะห์โฟมกราฟีนก็ง่ายแสนง่าย ด้วยการใส่กราฟีนลงในแม่แบบที่สร้างจากโฟมของนิคเกิลที่เป็นรูพรุน หลังจากเอาแม่แบบนิคเกิลออก ก็ได้เครือข่ายสามมิติที่เกิดขึ้นจากกราฟีนแต่ละชิ้นมาต่อกันดังภาพ ที่มา - Nature โอ้...คุณพระช่วย ต่อไปนี้เราต้องบอกคนขายว่า "ซื้อ Ipad 1 ม้วนครับ"
https://jusci.net/node/1779
โฟมกราฟีน
เรื่องมีอยู่ว่า พ่อผมเห็นเรื่อง Apollo บ่อยๆ แล้วก็เริ่มพูดว่าเป็นเรื่องแหกตา เพราะสมัยนี้เครื่องบินยังตก และชนกันอยู่เลย ทำไมยุคนั้นถึงทำให้ดีดตัวและลงมาถึงโลกตรงพื้นที่น้ำพอดี ในสารคดีพูดว่าใช้คอมพ์ กำหนดพิกัต ซึ่งพ่อผมบอกว่าสมัครนั้นคอมพ์ทำไม่ได้ (ผมเคยอ่าน Wikipedia แล้วเจอ มันมีอุปกรณ์พิเศษกำหนดพิกัต แต่ผมจำลิ้งค์ไม่ได้) พ่อผมก็ไม่เชื่ออีก ผมคิดว่าคนที่อ่านเว็บนี้น่าจะอธิบายได้ดีกว่าผมและให้เหตุผลดีกว่า ‹ เรียนรู้กันแบบไหนครับท่าน อยากรู้เรื่อง ไมโทคอนเดรีย ครับ ›
https://jusci.net/node/1780
Apollo 13 Emergency Return เป็นเรื่องแหกตา?
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติแห่ง Relativistic Heavy Ion Collider (RHIC) และ Brookhaven National Laboratory ได้ค้นพบปฏิสสารตัวใหม่ ปฏิสสารตัวนี้คือ "Antihelium-4" ซึ่งเป็นสถิติปฏิสสารที่หนักที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา การค้นพบนี้เกิดจากการทดลองชนอนุภาคทองคำด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง หลังจากการชนก็มีอนุภาคต่างๆ กระจายออกมา หนึ่งในจำนวนนั้นคือ Helium-4 และปฏิสสารของมัน Antihelium-4 อนุภาคเหล่านี้ตรวจจับได้โดยเครื่องตรวจจับ STAR Antihelium-4 ประกอบด้วย antiproton สองตัวและ antineutron สองตัว บางทีเราจะเรียก Antihelium-4 ว่า "Anti-alpha" ก็ได้ (เพราะรังสีแอลฟาก็คือนิวเคลียสของฮีเลียมนั่นเอง) กว่าจะค้นพบร่องรอยของ Antihelium-4 นักวิทยาศาสตร์ต้องเอาอนุภาคทองคำมาชนกันกว่าหนึ่งพันล้านครั้ง ประมาณกันว่ามีอนุภาคที่เกิดจากการชนทั้งหมดมากกว่าห้าแสนล้านตัว ก่อนหน้านี้ปฏิสสารที่หนักที่สุดของวงการฟิสิกส์ คือ ปฏิอนุภาคที่ประกอบด้วย antiproton, antineutron, anti-Lambda อย่างละตัวซึ่งค้นพบในปี 2010 ทีมที่ค้นพบก็คือทีม STAR แห่ง RHIC นี่แหละ ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1781
"Antihelium-4" ปฏิสสารที่หนักที่สุดตอนนี้
โดยทั่วไป งูตัวเมียส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายๆ ตัวเพื่อเก็บน้ำเชื้อไว้ผสมกับไข่ เพราะฉะนั้นลูกงูในครอกเดียวกันอาจจะมีพ่อต่างกันก็ได้ แต่จากการศึกษาเร็วๆ นี้ เราค้นพบว่างูทะเลในวงศ์ Elapidae (วงศ์เดียวกับงูเห่าและจงอาง) กลับเป็นแม่ที่หาพ่อเพียงตัวเดียวให้ลูกของตน นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียที่ชื่อว่า Vimoksalehi Lukoschek แห่ง James Cook University ได้เก็บตัวอย่างงูทะเลตัวเมียที่ตั้งท้อง 12 ตัวจากแหอวนของเรือประมง จากนั้นก็สกัดเอา DNA จากงูตัวแม่และลูกๆ ในท้องมาตรวจสอบเพื่อดูว่าลูกงูในท้องมีพ่อมาจากที่ไหนบ้าง ผลปรากฏว่าลูกงูในท้องของตัวเมียแต่ละตัวมีพ่อตัวเดียวกัน งูทั้งหมด 12 ตัวจาก 6 สปีชีส์ไม่มีตัวไหนเลยที่มีครอกลูกงูเกิดจากพ่อมากกว่าหนึ่งตัว นักชีววิทยายังคงงงๆ อยู่ว่าหลักฐานนี้จะยืนยันได้หรือไม่ว่างูทะเลเป็นเมียที่รักเดียวใจเดียว ผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่เป็นคู่ครองเพียงตัวเดียว (monandry) และถ้างูทะเลในวงศ์ Elapidae มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์แบบ monandry แล้ว งูอื่นๆ ในสายวิวัฒนาการที่ใกล้เคียงกันจะมีพฤติกรรมแบบเดียวกันหรือเปล่า ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/1782
งูทะเลตัวเมียไม่หลายใจ
บนผิวใบของต้นยาสูบป่า Nicotiana attenuata มีเส้นขนแข็งๆ ที่เรียกว่า "Trichome" ปกคลุมเต็มไปหมด ขนพวกนี้จะช่วยทำหน้าที่เป็นอุปสรรคไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินใบได้ง่ายๆ บางทีก็จะมีการหลั่งน้ำตาลเหนียวๆ ออกมาตามขน trichome ด้วย สัตว์กินใบขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดกระโดด ไรแมงมุม ฯลฯ ที่หลงเข้ามาก็จะติดกับดักเหนียวหนึบนี้ ขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ จนอดอาหารตายในที่สุด แต่หนอนของผีเสื้อกลางคืน Manduca sexta และ Spodoptera spp. อีกสองสปีชีส์ กลับเขมือบกินใบยาสูบอย่างไม่สะทกสะท้าน แถมน้ำตาลและสารอาหารที่อยู่ใน trichome ยังกลายเป็นเมนูโปรดของหนอนไปเสียด้วย ตอนแรกนักวิทยาศาสตร์ก็คิดว่าหนอนพวกนี้เก่งมากที่สยบอาวุธป้องกันตัวของพืชได้อย่างราบคาบ สงครามรู้ผลแพ้-ชนะแล้ว... ...แต่การค้นพบของทีมวิจัยที่นำโดย Ian Baldwin แห่ง Max Planck Institute for Chemical Ecology ใน Jena แสดงให้เห็นว่าสงคราม "หนอน-ต้นยาสูบ" ไม่ได้จบลงง่ายขนาดนั้น ต้นยาสูบป่ายังมีกลศึกเหยียบเมฆอีกชั้นเพื่อจัดการหนอนพวกนี้ ทีมวิจัยได้เอาหนอนที่กินใบยาสูบมาตรวจสอบดูในห้องทดลอง พวกเขาพบว่าหลังจากที่หนอนผีเสื้อกินสารที่ปล่อยออกมาจากขน trichome ของใบยาสูบป่าเข้าไป กลิ่นตัวของหนอนจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ที่ผมบอกว่า "เห็นได้ชัด" ไม่ใช่ "ดมได้ชัด" ก็เพราะนักวิจัยไม่ได้ดมกลิ่นหนอนหรอก แต่พวกเขาจับเอาร่างกายและอุจจาระของหนอนไปตรวจแล้วเห็นว่ามีสารระเหย (volatile compound) ตัวใหม่ปลดปล่อยออกมา สารระเหยมีกลิ่นเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นสารประกอบพวก aliphatic acid ที่มีแขนงย่อย นักวิทยาศาสตร์คาดว่าสาร aliphatic acid ในร่างกายหนอนได้มาจากการย่อยของน้ำตาลชนิดพิเศษพวก acyl-sugars ซึ่งได้มาจากใบยาสูบที่โดนหนอนกินอีกที หนอนที่มีกลิ่นสาร aliphatic acid ติดตัวก็จะมีเสน่ห์เย้ายวนขึ้นทันทีในสายตาผู้ล่าทั้งหลาย เหมือนกับแปะป้ายโฆษณาเชื้อเชิญให้มากินตัวเองยังไงยังงั้น ทีมวิจัยของ Ian Baldwin ยังไม่แน่ใจนักว่าผู้ล่าตัวใดคือตัวหลักนำทัพเข้ามาโจมตีหนอนกลิ่นตัวแรงพวกนี้ อาจจะเป็นมวนนักล่าในสกุล Geocoris หรือมดจอมเขมือบอย่าง Pogonomyrmex rugosus ก็ได้ จากการทดลองพวกเขาพบว่ามดมีแนวโน้มวิ่งเข้าหาอาหารที่มีกลิ่นของสาร aliphatic acid แบบเดียวกันหนอนมากกว่าอาหารที่ไม่มีกลิ่นติด กลศึกส่งสัญญาณเรียกผู้ล่ามารุมโทรมศัตรูของพืชแบบนี้ เป็นหนึ่งในสิ่งที่เราเรียกว่า "indirect defense strategy" หรือ "กลยุทธป้องกันตัวทางอ้อม" ซึ่งพบได้ทั่วไปในสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์ของพืชและแมลง ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/1783
กินน้ำตาลมากทำให้หนอนมีกลิ่น โชคร้ายอาจถูกมดจับกิน
ชุดกล้องโทรทัศน์สัญญาณวิทยุอัลเลน (Allen Telescope Array - ATA) ต้องหยุดทำงานลงเนื่องจากขาดเงินทุนตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา โครงการ ATA ใช้ทุนก้อนแรก 50 ล้านดอลลาร์ในการติดตั้งจาน 42 ชุดเรียกว่า ATA-42 โดยเงินครึ่งหนึ่งมาจาก Paul Allen ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ (ทำให้ได้ชื่อโครงการไป) และมีโครงการจะเพิ่มจานเป็น 98, 206, และ 350 จานตามลำดับ แต่สภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้สนับสนุนโครงการทั้งภาคเอกชนและรัฐต้องถอนตัวออกไป ทางโครงการ SETI กำลังพยายามหาทุนเพิ่มเติมรวมถึงพูดคุยกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการแบ่งช่วงเวลาใช้งานไปทำภารกิจอื่นๆ เช่นการสำรวจขยะอวกาศ ที่มา - Cosmic Diary
https://jusci.net/node/1784
ชุดจานจับสัญญาณ Allen ของโครงการ SETI หยุดทำงานเพราะขาดเงินทุน
เมื่อวานนี้ Wang Wenbao ผู้อำนวยการของสำนักงาน Manned Space Engineering Office ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กองทัพปลดปล่อยประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Liberation Army) ได้แถลงข่าวเปิดเผยแผนการสร้างสถานีอวกาศซึ่งตอนนี้มีชื่อเล่นเรียกกันภายในว่า "Tiangong" (แปลว่า "ตำหนักสวรรค์") สถานีอวกาศของจีนจะมีโครงสร้างเป็นรูปตัว T ประกอบด้วยส่วนแกนกลางยาว 18 เมตรและส่วนของห้องแล็บปฏิบัติการ 14 เมตรมาต่อเป็นแขนตัว T ตรงจุดกึ่งกลางจะเป็นส่วนของ Shenzhou modules ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยของลูกเรือและยานชูชีพ ด้านใต้ตัว T จะเป็นยานเก็บเสบียง เพื่อให้สาธารณชนชาวจีนได้มีส่วนร่วมในความภาคภูมิใจครั้งนี้ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจึงเปิดโอกาสให้คนจีนตั้งชื่อสถานีอวกาศและยานขนส่งแล้วส่งเข้ามาที่ [email protected] หรือที่หน้าเว็บของ Manned Space Engineering Office การส่งชื่อสถานีอวกาศจะหมดเขตในวันที่ 25 กรกฎาคม และประกาศผลการคัดเลือกในปลายเดือนกันยายน ส่วนชื่อยานขนส่งจะปิดรับในวันที่ 20 พฤษภาคม และประกาศผลในปลายเดือนมิถุนายน ศกนี้ คาดกันว่าสถานีอวกาศของจีน (ที่ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการตอนนี้) จะมีน้ำหนัก 60 ตัน ซึ่งน้อยกว่าน้ำหนัก 400 กว่าตันของ ISS และน้ำหนัก 130 ตันของสถานีอวกาศเมียร์อยู่หลายเท่า ภายในปี 2015 จีนคาดว่าจะสามารถบรรลุภารกิจส่งนักบินอวกาศเข้าไปปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศเป็นเวลาต่อเนื่องอย่างต่ำ 20 วัน ที่มา - The Register
https://jusci.net/node/1785
จีนประกาศแผนสร้างสถานีอวกาศของตัวเอง
จีนเปิดตัวโครงการสถานีอวกาศขนาด 3 แคปซูลหนัก 60 ตันของตัวเอง โดยยังไม่มีการตั้งชื่อโครงการแต่เปิดให้ประชาชนร่วมกันส่งชื่อเข้าประกวด สถานีอวกาศนี้จะประกอบเป็นด้วยโมดูลแกนหนึ่งโมดูล, โมดูลสำหรับงานวิจัยสองโมดูล และท่าเทียบยานอวกาศอีกสองจุด เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละโมดูลอยู่ที่ 4.2 เมตรและน้ำหนักของแต่ละโมดูลอยู่ที่ 20-22 ตัน ซึ่งถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับสถานีอวกาศอื่นๆ เช่นสถานีอวกาศนานาชาตินั้นมีน้ำหนักรวมกว่า 400 ตัน แม้แต่สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซียก็มีน้ำหนักกว่า 130 ตัน ระหว่างนี้ทางจีนต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมอีกหลายอย่างเพื่อรองรับการปฎิบัติภารกิจระยะกลาง (ระยะเวลาเกิน 20 วัน) และเทคโนโลยีการนำส่งเสบียงเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในแผน 5 ปีฉบับที่ 12 ช่วงปี 2011-2015 ที่มา - Xinhuanet
https://jusci.net/node/1786
จีนประกาศโครงการสถานีอวกาศของตัวเอง คาดสำเร็จปี 2020
แม้ว่าจะเคยถูก NASA สั่งล้มโครงการในปี 2003 แต่ตอนนี้ Alpha Magnetic Spectrometer (หรือ AMS) พร้อมแล้วที่จะขึ้นไปทำหน้าที่บนอวกาศ Alpha Magnetic Spectrometer คือเครื่องมือในการตรวจหาร่องรอยของปฏิสสารในอวกาศ ว่ากันตามตรงมันก็คือแม่เหล็กขนาดยักษ์ดีๆ นี่เอง สนามแม่เหล็กของเครื่องจะหักเหคลื่นรังสีคอสมิกที่วิ่งไปวิ่งมาในอวกาศให้ผ่านเครื่องตรวจจับเพื่อวัดค่าประจุและความเร็ว ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งกลับมาวิเคราะห์ที่โลก รอให้นักวิทยาศาสตร์ NASA มาสุมหัวนั่งค้นหาร่องรอยหลักฐานของปฏิสสารในอวกาศต่อไป สาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์อยากขนเอาแม่เหล็กยักษ์ขึ้นไปไว้บนอวกาศซะเหลือเกินก็ไม่ใช่เพราะจะผลาญงบเล่นอะไรหรอก แต่เพราะรังสีคอสมิกบนนั้นมีพลังงานมากกว่าเครื่องเร่งอนุภาคบนโลกหลายเท่า ดังนั้นก็มีโอกาสที่นักวิทยาศาสตร์จะเจอร่องรอยของปฏิสสารได้มากกว่า ถ้าโชคดีเราอาจจะเจอปฏิสสารที่ใหญ่กว่า antihelium เสียอีก หรือถ้าโชคดีมากกว่านั้น บางทีสิ่งที่เราเจออาจเป็นปฏิสสารที่มาจาก "ปฏิกาแล็กชี่" ที่มีดาวทั้งดวงเป็นปฏิสสารเลยก็ได้ นอกจากปฏิสสารแล้ว นักฟิสิกส์ยังหวังใจว่า AMS จะเจอของดีอีกอย่างที่พิสูจน์ได้ว่า "สสารมืด" (dark matter) มีจริง สสารมืดคือสสารที่ยังไม่มีใครเคยเห็นหน้าคร่าตาจังๆ สักที แต่นักฟิสิกส์คำนวณไว้ว่ามันต้องมีอยู่มิฉะนั้นกาแล็กซี่จะมีแรงโน้มถ่วงไม่พอให้คงรูปอยู่ได้ นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานไว้ว่ามีสสารมืดตัวหนึ่งที่ชื่อว่า neutralino ซึ่งเมื่อชนกันจะปล่อยโพสิตรอนพลังงานสูงออกมามากมาย ดังนั้นถ้า AMS เจอคลื่นโพสิตรอนแปลกๆ ก็เป็นไปได้ว่าเราเจอสสารมืดแล้ว AMS จะถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ด้วยกระสวยอวกาศ Endeavour ในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2011 นี้ เวลาปล่อยกระสวยอวกาศออกจากแท่นส่งคือ 20:47 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช นักวิทยาศาสตร์ NASA คาดว่ามันจะสามารถปฏิบัติภารกิจไปได้จนถึงปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่สถานีอวกาศนานาชาติปลดประจำการพอดี ที่มา Space.com
https://jusci.net/node/1787
เครื่องตรวจหาปฏิสสาร Alpha Magnetic Spectrometer พร้อมขึ้นสู่อวกาศแล้ว
เว็บไซต์ Youtube ได้เชื้อเชิญให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนเข้ามาฝากคำถามถึงนักบินกระสวยอวกาศ Endeavour ทุกคนสามารถส่งคำถามได้ที่ youtube.com/pbsnewshour หรือจะส่งผ่าน Twitter ด้วย hashtag คำว่า '#utalk2nasa' ก็ได้ คำถามที่ได้รับการความนิยมสูงสุด (คงหมายถึงคำถามที่ได้รับการกด Like มากที่สุด) จะได้รับการตอบจากหัวหน้านักบิน Mark Kelly และนักบินคนอื่นๆ ของ Endeavour เที่ยวล่าสุดนี้ การตอบของนักบินจะถ่ายทอดสดที่ youtube.com/pbsnewshour ในวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2011 เวลา 14:15 น. ตามเวลาท้องถิ่น (หรือประมาณตีหนึ่งสิบห้านาทีตามเวลาประเทศไทย) ตอนนี้เหลือเวลาถามคำถามอีกไม่ถึงสองวันแล้ว รีบๆ กันหน่อยนะครับ ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1788
Youtube เปิดช่องให้ทุกคนถามคำถามถึงนักบินกระสวยอวกาศ Endeavour
ถ้าใครแถวนี้มีเงินเหลือเล่นๆ สัก 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 4,500 ล้านบาท) และยังไม่รู้ว่าวันหยุดพักร้อนอีกสัก 3-5 ปีข้างหน้าจะไปเที่ยวไหนดี ผมมีแผนการท่องเที่ยวระดับอภิมหา VIP มาแนะนำคุณ Space Adventures ได้จัดทัวร์สุดพิเศษสำหรับคนที่อยากสัมผัสดวงจันทร์อย่างใกล้ชิด ลูกทัวร์จะโดยสารไปกับกระสวยอวกาศ Soyuz (ไม่แน่ใจว่าจะมีลูกหาบหรือคณะฉิ่งฉาบติดไปด้วยมั้ย) โปรแกรมทัวร์ก็ไม่มีอะไรมาก บินวนรอบโลกสักรอบก่อนพุ่งไปดวงจันทร์ จากนั้นก็วนรอบดวงจันทร์ช้าๆ สักรอบ แล้วค่อยวกกลับมาโลก (คงไม่มีรายการแวะซื้อของฝากระหว่างทาง) ลูกทัวร์จะได้เห็นดวงจันทร์ในระยะใกล้ชิดสุดๆ ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 100 กิโลเมตร แม้จะไม่มีโอกาสได้ร่อนลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ประสบการณ์พิเศษระดับนี้ก็มีเพียงนักบินของโครงการอะพอลโลเพียง 24 คนเท่านั้นที่เคยได้สัมผัส หากใครอยากไป คงต้องรีบหน่อยแล้ว ตอนนี้เหลือที่นั่งว่างให้จองอีกแค่ 1 ที่นั่ง เพราะว่า Soyuz มีที่พอสำหรับแค่ 3 คน เป็นที่นั่งนักบินไปแล้ว 1 ที่ และมีคนจองไปก่อนแล้ว 1 ที่ (ใคร?) ดังนั้นก็เลยเหลืออีก 1 ที่ แต่ว่าจองครบสองคนแล้วก็ไม่ใช่ว่าไปได้เลยนะครับ ต้องรอจนกว่าทุกอย่างจะพร้อม อย่างเร็วก็ 3 ปี อย่างช้าก็ 5 ปี และลูกทัวร์ไม่มีสิทธิเลือกรูปแบบการทัวร์ด้วย Space Adventures จะเป็นผู้กำหนดเองว่าเป็นการทัวร์ 7 วัน, 8 วัน, หรือ 9 วัน นอกจากนี้ ราคา 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นราคาจองขั้นต้นเท่านั้น ราคาที่ต้องจ่ายจริงอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ Space Adventures จะกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมอีกที ไหนใครบอกว่า "ลูกค้าคือพระเจ้า"?... ไม่ใช่สโลแกนของ Space Adventures แน่ๆ ที่มา - Space.com via Popular Science
https://jusci.net/node/1789
Space Adventures ประกาศรับนักท่องเที่ยวไปทัวร์ดวงจันทร์
กฏหมาย Louisiana Science Education Act (LSEA) ที่ออกในปี 2008 สร้างความไม่พอใจให้กับนักวิทยาศาสตร์และคนที่รักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งแต่วินาทีแรกที่มีการเสนอร่าง แต่ด้วยอิทธิพลขององค์กรขนาดใหญ่ กฏหมายฉบับนี้ก็ได้คลอดออกมา และตอนนี้มันก็มีผลบังคับใช้มาเกือบ 3 ปีแล้ว เนื้อหาของ LSEA 2008 ก็ไม่ได้มีอะไรมาก ประเด็นหลักของมันคือการอนุญาตให้ครูผู้สอนนำสื่อและอุปกรณ์การสอนที่ขัดแย้งกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาใช้สอนร่วมกับเนื้อหาวิชาที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ได้ เช่น เรื่องวิวัฒนาการ การโคลนนิง โลกร้อน เป็นต้น ถ้าดูกันแต่ตามตัวหนังสือ ก็ไม่มีอะไรน่ากลัว จุดมุ่งหมายฟังดูดีซะด้วย แต่เรื่องใดได้ชื่อว่าการเมืองแล้ว มันไม่มีอะไรง่ายตรงไปตรงมาขนาดนั้น ผู้สนับสนุนรายหลักของกฏหมายฉบับนี้ คือ Focus on the Family ซึ่งเป็นองค์กรที่อ้างตัวเองว่ามีพันธกิจในการนำเสนอ "หลักการในพระคัมภีร์ไบเบิล" สู่สังคมระดับครอบครัวผ่านทางการวิจัย การที่ Focus on the Family ผลักดันกฏหมายแนวนี้มีจุดประสงค์ซ่อนเร้นอยู่เพียงอย่างเดียว คือ การหาทางสอดแทรกเอาแนวคิด Creationism (แนวคิดที่เชื่อว่าสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระผู้สร้าง) และ Intelligent design (แนวคิดที่เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเกิดมาด้วยเหตุที่วางไว้แล้วอย่างชาญฉลาด) เข้าไปในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ให้ได้ ทั้งที่แนวคิดทั้งสองนี้ขัดแย้งกับทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural Selection) อย่างที่ไม่มีทางจะอยู่ร่วมกันได้เลย LSEA 2008 สร้างความสับสนให้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในรัฐหลุยส์เซียนาอย่างมากมาย เพราะมันเปิดโอกาสให้ครูบางคนที่ไม่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการ (ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์ปัจจุบันยอมรับ) เอาความเชื่ออื่นๆ เข้ามาสอนนักเรียนได้ แม้ว่าความเชื่อเหล่านั้นจะขัดกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องก็ตาม บางโรงเรียนถึงกับจะเปิดสอนรายวิชา Creationism ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์กันเป็นเรื่องเป็นราวเลย การ "ออกฤทธิ์" ครั้งสำคัญของ LSEA 2008 เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแห่งรัฐหลุยส์เซียนาได้ประชุมกันเพื่อจะซื้อตำราชีววิทยาชุดใหม่ จู่ๆ Focus on the Family ไม่รู้มาจากไหน ออกมาค้านมติที่ประชุมหน้าตาเฉย โดยอ้างว่าตำราใหม่ "โน้มเอียงไปในทางความเชื่อทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติมากเกินไป" แต่โชคยังดีที่สุดท้ายคณะกรรมการฯ ก็ยกคำค้านของ Focus on the Family ทิ้งไป เมื่อเรื่องดำเนินมาจนถึงขีดสุดแล้ว นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล 42 คนจึงเข้ากันร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก "เรียกร้องให้ยกเลิก LSEA 2008" เนื้อหาในจดหมายชัดเจนว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับความพยายามใดที่จะเอาความเชื่อทางศาสนามาย้อมแมวหลอกเด็กๆ วิทยาศาสตร์คือระบบที่สามารถพิสูจน์ได้และแย้งได้ด้วยคำอธิบายทางธรรมชาติที่เป็นเหตุเป็นผล แต่ความเชื่อทางศาสนาปลอมๆ อ้างอิงอยู่กับสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ ดังนั้นมันจึงเป็นแค่ของที่ไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิทยาศาสตร์ Louisiana’s students deserve to be taught proper science rather than religion presented as science. Science offers testable, and therefore falsifiable, explanations for natural phenomena. Because it requires supernatural explanations of natural phenomena, creationism does not meet these standards. จดหมายปิดท้ายด้วยการกระตุ้นให้รัฐหลุยส์เซียนายกเลิกกฏหมายฉบับนี้ เพราะนักเรียนในหลุยส์เซียนาทุกคนสมควรได้รับการศึกษาที่ทำให้พวกเขามีความรู้เท่าเทียมกับนักเรียนอื่นๆ ทั่วโลก We strongly urge that the Louisiana Legislature repeal this misguided law. Louisiana students deserve an education that will allow them to compete with their peers across the country and the globe. ด้านล่างสุดของจดหมายคือรายชื่อของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลทั้ง 42 ชื่อ ประกอบด้วยเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี 17 คน, สาขาฟิสิกส์ 17 คน, และสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์อีก 8 คน (ผมคงไม่สาธยายชื่อของทั้ง 42 ท่านไว้ตรงนี้ แต่คุณสามารถเข้าไปดูรายชื่อได้จากจดหมายฉบับเต็มในที่มาข้างล่างข่าว) เรื่องโดยตรงเกี่ยวกับจดหมายฯ ก็จบลงเท่านี้แหละครับ แต่ผมขอเล่าถึงการรณรงค์ต่อต้าน LSEA 2008 สักเล็กน้อย จดหมายเปิดผนึกของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เป็นการสนับสนุนแนวทางของ SB-70 ซึ่งยื่นโดย ส.ว. รัฐหลุยส์เซียนา Karen Carter Peterson ของพรรคเดโมแครต ซึ่งตัว ส.ว. Karen Carter Peterson ก็ได้รับแรงกระตุ้นมาจากเด็กหนุ่มอายุ 17 ปีอีกทีหนึ่ง เด็กหนุ่มคนนั้นมีชื่อว่า Zack Kopplin นักเรียนจาก Magnet High School ใน Baton Rouge (LA) เขาคือหัวเรี่ยวหัวแรงในการคัดค้าน LSEA 2008 มาตั้งแต่ต้น การที่คณะกรรมการประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแห่งรัฐหลุยส์เซียนายกเลิกคำค้านการซื้อตำราเรียนของ Focus on the Family เมื่อปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งก็มาจากอิทธิพลการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Zack Kopplin นี่แหละ ภายในระยะเวลาเกือบสามปีที่ผ่านมา Zack Kopplin รวบรวมพันธมิตรได้จากหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนนักเรียนนักศึกษา, ภาคธุรกิจ (ที่ไม่อยากถูกมองว่าเป็นพวกต่อต้านวิทยาศาสตร์), และบาทหลวง (ที่ไม่อยากถูกมองว่ามีแนวคิดสุดโต่ง) การได้นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลอีก 42 คนมายืนข้างเดียวกันทำให้ Zack Kopplin พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าสิ่งที่เขาทำมาตลอดนั้นถูกต้องและเป็นไปได้จริง ผมไม่รู้ว่าอนาคต Zack Kopplin จะประสบความสำเร็จขนาดไหน แต่ผมมั่นใจว่าถ้าพรรคไหนมีนโยบายรับเด็กคนนี้มาประจำตำแหน่งบริหารสักตำแหน่งในกระทรวงวิทยาศาสตร์บ้านเรา ผมจะลงคะแนนให้พรรคนั้นอย่างไม่มีเงื่อนไขเลย ที่มาข่าว - New Scientist จดหมายเปิดผนีกเรียกร้องให้ยกเลิก LSEA 2008 - www.repealcreationism.com/397/41-nobel-laureates-send-a-letter-to-the-louisiana-legislature/ เรื่องราวของ Zack Kopplin - จาก The Huffington Post Facebook กลุ่ม "Save Science in Louisiana!" ที่ก่อตั้งโดย Zack Kopplin facebook.com/group.php?gid=153200924708392
https://jusci.net/node/1790
นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล 42 คนเรียกร้องให้ยกเลิกกฏหมายบั่นทอนวิทยาศาสตร์
Honey badger หรือ Ratel เห็นเขาว่าเป็นสัตว์ที่ร้ายกาจมากที่สุดตัวหนึ่ง ฟันแหลมคม เคลื่อนไหวคล่องแคล่วรวดเร็ว ถ้าหิวแล้วจะล่าไม่เลือก ไม่กลัวใครหน้าไหนทั้งนั้น ขนาดงูจงอางยังจับกิน (โดนงูจงอางกัดไปที ยังฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ด้วย) ขนก็แข็ง หนังก็หนา สุนัขยังกัดไม่เข้า อันนี้คลิปที่ Honey badger เผชิญหน้ากับตัวเหี้ย ผมไม่รู้ว่าที่สวนสัตว์บ้านเรามีเจ้าตัวนี้อยู่มั้ย ถ้ามี ก็หวังว่าอย่าปล่อยมันหลุดออกมาเลย Apollo 13 Emergency Return เป็นเรื่องแหกตา? ›
https://jusci.net/node/1791
เหี้ยยังต้องหลบเมื่อเจอตัวนี้
ตอนนี้หน้าจอระบบสัมผัสที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2 ประเภท คือ หน้าจอสัมผัสแบบ resistive และ capacitive แต่นวัตกรรมที่ Jens Christensen แห่ง InputDynamics พัฒนาขึ้นมาอาจทำให้เรามีตัวเลือกมากขึ้น ระบบสัมผัสของ Jens Christensen มีชื่อว่า "TouchDevice" หลักการการทำงานของมัน คือ ระบบจะรับอินพุตข้อมูลตำแหน่งและการวาดนิ้วบนหน้าจอผ่านทางเสียงซึ่งมาจากการสัมผัสหรือเสียดสีระหว่างนิ้วของเรากับหน้าจอ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปแปลผลด้วยซอฟท์แวร์ที่เขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ (Jens Christensen เขียนซอฟท์แวร์ส่วนนี้มาตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์) Jens Christensen อ้างว่าระบบที่เขาพัฒนาขึ้นสามารถใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ทุกประเภท ขอเพียงให้อุปกรณ์นั้นๆ มีไมโครโฟนไว้คอยรับเสียงก็พอ (ซึ่งโทรศัพท์ทุกเครื่องก็ต้องมีไมโครโฟนอยู่แล้ว) ตอนนี้ซอฟท์แวร์ของ TouchDevice ยังไม่สมบูรณ์พอจะให้ผู้ใช้ทั่วไปใช้งานได้ การใช้งานจะต้องมีการฝึกกันก่อนเล็กน้อยเพื่อให้ระบบจับตำแหน่งนิ้วได้อย่างถูกต้อง ที่ยากที่สุดคงเป็นการทำให้ระบบแยกแยะระหว่างการแตะกับการลากนิ้ว Jens Christensen คาดว่าตัวซอฟท์แวร์คงต้องได้รับการปรับปรุงอีกมาก นอกจากนี้อุณหภูมิแวดล้อมก็ยังมีผลต่อการเดินทางของเสียงด้วย หากไม่ปรับแต่งให้ดีพอ ก็อาจจะทำให้ระบบแปลผลผิดพลาดได้ ถ้า TouchDevice สำเร็จสมบูรณ์เมื่อไร เราอาจจะได้เห็นคนจิ้มๆ หน้าจอ Nokia 3310 บนรถไฟฟ้าก็ได้ ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1792
หน้าจอระบบสัมผัสแบบใหม่ที่ใช้ "เสียง"
มุมมองของแต่ละคนที่มีต่อพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาจจะต่างกันไปตามแต่จิตแต่ใจ บางคนก็ไม่เชื่อในพระเจ้า บางคนก็เชื่อว่าพระเจ้าใจดีมีเมตตา บางคนก็เชื่อว่าพระเจ้าคือผู้ลงทัณฑ์ Azim F. Shariff แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน และ Ara Norenzayan แห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ได้ทำการทดลองเพื่อดูว่ามุมมองที่มีต่อพระเจ้ามีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ของเราอย่างไร การทดลองแรก นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วมที่เป็นนักศึกษา 61 คน ทำข้อสอบคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นข้อสอบที่ง่ายๆ แต่ว่าต้องคิดยุ่งยากหลายขั้นตอน นักวิจัยบอกกับผู้เข้าร่วมทดสอบว่าซอฟท์แวร์ข้อสอบมีปัญหาเล็กน้อย หากไม่กด space bar ตรงคีย์บอร์ดหลังจากที่คำถามแต่ละข้อโผล่ขึ้น สักพักคำตอบจะปรากฏขึ้นมาเอง ดังนั้นนักวิจัยจึง "ขอร้อง" ให้ผู้เข้าร่วมกด space bar ด้วย หลังจากที่ทำข้อสอบเสร็จ ผู้เข้าร่วมทุกคนจะต้องแบบสอบถามว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับพระเจ้า การทดลองที่สอง ผู้เข้าร่วมที่เป็นนักศึกษา 39 คนถูกเรียกมาทำแบบทดสอบเกี่ยวกับมุมมองที่เขามีต่อเรื่องต่างๆ ก่อน ผลของแบบทดสอบจะถูกนำมาวิเคราะห์ว่าผู้เข้าร่วมแต่ละคนคิดอย่างไรกับพระเจ้า จากนั้นพวกเขาก็จะต้องทำข้อสอบคณิตศาสตร์แบบเดียวกับการทดลองแรก และพวกเขาก็ถูกขอร้องให้กด space bar เหมือนกัน นักวิจัยทั้งสองคนแอบบันทึกการกด space bar ของผู้เข้าร่วมทดสอบทุกคนเอาไว้โดยที่ผู้เข้าร่วมไม่รู้ตัว จากนั้นก็เอาไปหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งที่กด space bar กับความเชื่อที่แต่ละคนมีต่อพระเจ้า ผลการทดลองทั้งสองอันปรากฏไปในทางเดียวกันว่า กลุ่มนักศึกษาที่ไม่เชื่อในพระเจ้ากับนักศึกษาที่เชื่อในพระเจ้ามีอัตราการโกง (ไม่ยอมกด space bar) พอๆ กัน แต่ในกลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า คนที่เชื่อว่าพระเจ้าใจดีมีเมตตาและชอบใหอภัย เลือกที่จะโกงข้อสอบด้วยการไม่กด space bar มากกว่าคนที่เชื่อว่าพระเจ้าเข้มงวดและชอบลงโทษมนุษย์ แม้ว่าการทดลองนี้จะให้ผลแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด แต่มันก็เป็นเพียงการทดสอบในเรื่องการโกงข้อสอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแถมยังเป็นข้อสอบที่เอื้อให้โกงอีกต่างหาก ไม่ได้รวมถึงการโกงประเภทอื่นๆ ผลการทดลองนี้จึงเป็นเพียงหลักฐานเบื้องต้นที่ทำให้นักจิตวิทยาสามารถเริ่มอธิบายถึงความจำเป็นของการใช้ความเชื่อทางศาสนามาควบคุมศีลธรรมในสังคมมนุษย์ ที่มา - Medical Xpress
https://jusci.net/node/1793
หากเชื่อว่าพระเจ้าใจดี คนจะโกงกันมากขึ้น
การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นยิ่งเล็กเท่าไร ก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยลดขนาดพื้นที่ที่เก็บข้อมูลลง ตอนนี้นักวิจัยแห่ง Max Plank Institute of Quantum Optics กำลังยุ่งกับงานเก็บข้อมูลแบบควอนตัมลงในอะตอมเดี่ยว เทคนิคที่ใช้ก็คือเขียนสถานะควอนตัมบนโฟตอน แล้วยิงเข้าไปที่รูบิเดียมอะตอม จากนั้นทำการอ่านค่าทันที จากหลักการนี้สามารถออกแบบควอนตัมคอมพิวเตอร์และระบบเน็คเวิร์คที่ทรงพลัง พูดสำเนียงนักฟิสิกส์ก็คือการที่โฟตอนเกิดอันตรกิริยากับอะตอม ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันอ่อนมาก ดังนั้นจึงเริ่มต้นที่โฟตอนหลายตัวและอะตอมหลายตัวก่อน แต่ด้วยเทคนิคข้างต้นทำให้นักวิจัยมั่นใจว่าการแลกเปลี่ยนสถานะสามารถเกิดได้ที่อะตอมเดี่ยวๆ ได้ ที่มา: PhysOrg.com
https://jusci.net/node/1794
ข่าวสั้น:เก็บข้อมูลด้วยอะตอมเดี่ยว
ตั้งแต่การค้นพบหัวกระโหลกในปี 1959 นักวิทยาศาสตร์ก็คาดกันว่า Paranthropus boisei กินผลไม้เปลือกแข็งๆ เป็นอาหาร เพราะลักษณะฟันกรามและฟันกรามน้อยของ P. boisei มีเคลือบฟันหนาและแบน กล้ามเนื้อกรามก็ดูใหญ่โตแข็งแรง น่าจะเหมาะกับการใช้ขบ, กัด, บดอาหารที่มีเนื้อแข็งๆ ดังนั้นวงการวิทยาศาสตร์จึงตั้งชื่อเล่นให้มันว่า "Nutcracker Man" ทีมนักวิจัยที่นำโดย Thure Cerling แห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์ ได้ทำการศึกษาฟันของ P. boisei อีกรอบด้วยวิธีที่ไม่มีใครเคยกล้าทำมาก่อน นั่นคือ การเจาะเคลือบฟัน (enamel) มาตรวจวิเคราะห์ไอโซโทปของคาร์บอน วิธีนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาหารที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ กินประกอบด้วยพืช C3 และพืช C4 อยู่ในสัดส่วนเท่าไร เพราะพืช C4 จะมีองค์ประกอบของไอโซโทปคาร์บอน-13 สูงกว่าพืช C3 กว่าจะขอพิพิธภัณฑ์ได้ ก็เล่นเอาเหนื่อยแทบตาย แต่เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว พวกเขาก็เจาะเคลือบฟันจากฟัน 24 ซี่ ซึ่ละ 2 มิลลิกรัม แล้วเอาไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ผลจากการวิเคราะห์พบว่าอาหารของ P. boisei ประกอบด้วยพืช C4 ถึง 77% โดยเฉลี่ย ฟันบางซี่มีร่องรอยของพืช C4 ถึง 91% พืช C3 และ C4 แบ่งตามกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสง พืช C4 ได้แก่ พวกหญ้าเขตร้อนบางชนิด นอกนั้นพืชส่วนใหญ่บนโลกก็เป็นพืช C3 ดังนั้นผลการทดลองของทีมวิจัยนี้จึงเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า P. boisei ไม่ได้ขบถั่วหรือเม็ดแตงโมเป็นอาหารหลักแน่ และเป็นไปได้ว่าพวกมันกินหญ้าและกกเป็นอาหาร P. boisei เป็นญาติใกล้ๆ กับ Australopithecus ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นหนึ่งในสายบรรพบุรุษของมนุษย์สกุล Homo อย่างเราๆ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า P. boisei น่าจะกินถั่ว เอ๊ย เคี้ยวหญ้าอยู่ในที่ราบของแอฟริกาเมื่อประมาณ 2.3 ล้านปีที่แล้ว ถึง 1.2 ล้านปีที่แล้ว เมื่อค้นพบว่าทฤษฎีที่เชื่อกันมากว่า 50 ปีผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริง นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มจะสงสัยกันเองแล้วว่าความเชื่อปัจจุบันเกี่ยวกับอาหารของบรรพบุรุษมนุษย์มีความน่าเชื่อถือขนาดไหน? ที่มา - Science Daily, Science News, Live Science
https://jusci.net/node/1795
ญาติห่างๆ ของมนุษย์ที่กินหญ้าเป็นอาหาร
ที่งาน Wired Business Conference บิลล์ เกตต์ขึ้นเวทีให้สัมภาษณ์ต่อประเด็นปัญหาพลังงานของโลกในทุกวันนี้ เขากล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาพลังงานว่าทิศทางการแก้ไขต้องไม่จำกัดอยู่เพียงประเทศร่ำรวยที่สามารถจ่ายค่าพลังงานเพิ่มเติมได้ โดยเราไม่อาจจะไปพึ่งพิงกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์เล็กๆ น้อยๆ ตามบ้าน แต่ต้องเป็นแผนการขนาดใหญ่มากที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมถูกพอที่ประเทศที่ยากจนจะให้ความสนใจ ประเด็นที่อ่อนไหวที่สุดของการสัมภาษณ์คือประเด็นนิวเคลียร์ที่รู้กันว่าบิลล์ เกตต์เองก็ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้วยคือ TerraPower เขาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า นิวเคลียร์นั้นทำให้คนตายน้อยกว่าพลังงานถ่านหินเสียอีก เมื่อเทียบกับปริมาณพลังงานที่มันผลิตออกมาได้ แม้พลังงานถ่านหินจะฆ่าคนทีละน้อยๆ ในระยะยาวซึ่งนักการเมืองจะชอบมากกว่า TerraPower มีการออกแบบเตาปฎิกรณ์แบบใหม่คือ Traveling Wave Reactor (TWR) ที่อ้างว่าสามารถใช้ยูเรเนียมเสื่อมสภาพที่เป็นของเหลือจากการเสริมประสิทธิภาพยูเรเนียมขนาด 8 ตัน จะให้พลังงานได้ 25 เมกกะวัตต์xชั่วโมง โดยที่ตอนนี้เฉพาะในสหรัฐฯ ก็มียูเรเนียมแบบนี้เหลือเก็บอยู่ถึง 700,000 ตัน ในแง่ของนโยบายรัฐฯ เกตต์ยังติงการทำงานของรัฐบาลว่าลงทุนกับการนำเทคโนโลยีมาใช้กว่า 90% ทำให้เหลือเงินวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่มากนัก และต้องมีการลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มากขึ้นกว่านี้ แม้เราจะคาดเดาจริงๆ ไม่ได้ว่าการลงทุนจะให้ผลที่พาเราข้ามยุคไปได้จริงๆ หรือไม่ ที่มา - Wired, TechCrunch
https://jusci.net/node/1796
บิลล์ เกตต์แสดงความเห็นต่อทิศทางพลังงาน "ถ่านหินฆ่าคนต่อพลังงานมากกว่านิวเคลียร์"
ปัญหาความไม่สะอาดของคีย์บอร์ดเป็นปัญหาเรื้อรังของคอมพิวเตอร์ทั่วโลก แนวคิดการแก้ปัญหามีตั้งแต่ง่ายๆ เช่นบ้านเราที่เอาแผ่นยางไปหุ้มเพื่อให้ทำความสะอาดง่ายๆ แต่บริษัท Germ Genie มีอีกวิธีที่ดูจะซับซ้อนกว่าคือการตรวจสอบการพิมพ์แล้วยิงแสง UV เข้าไปที่ปุ่มที่เพิ่งถูกใช้งานเพื่อฆ่าเชื้อ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Hertfordshire ได้รับมอบเครื่องฆ่าเชื้อนี้จากบริษัท เพื่อทดสอบเชื้อ E.Coli, Staphylococcus Aureus, และ Bacillus Subtillis พบว่าเครื่อง Germ Genie สามารถฆ่าเชื้อบนพื้นที่ 90% ของคีย์บอร์ดได้ภายในเวลา 2 นาทีและฆ่าได้ทั้งหมดภายในเวลา 10 นาที ข้อดีสำคัญของเครื่อง Germ Genie คือมันทำงานด้วยตัวเองโดยไม่ต้องการดูแลจากพนักงานหรือผู้ใช้ และยังทำความสะอาดได้ตลอดเวลา ทำให้มันอาจจะเหมาะกับเครื่องส่วนกลางเช่นเครื่องค้นหาข้อมูลตามงานนิทรรศการต่างๆ ว่างๆ ล้างคีย์บอร์ดกันบ้างนะครับ.. ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1797
เครื่องฆ่าเชื้อโรคสำหรับคีย์บอร์ดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำงานได้จริง
เมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว นักพฤษศาสตร์ชื่อดังชื่อว่า Riedel ได้เก็บตัวอย่างพืชดอกหายากของบราซิลไว้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ Lychnophora humillima แต่ก็ไม่เคยมีใครพบเจอดอกไม้สปีชีส์นี้อีกเลย เนื่องจาก Riedel ไม่ได้บันทึกข้อมูลรายละเอียดของพื้นที่ที่เขาเก็บตัวอย่างไว้ ในบันทึกให้เพียงขอบเขตพื้นที่กว้างๆ ทางภาคตะวันออกของประเทศบราซิลซึ่งกินอาณาเขตถึงกว่าร้อยกิโลเมตร กระทั่งเร็วๆ นี้ นักพฤกษศาสตร์จาก Kew Garden ได้เข้าทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้งภายใต้ชื่อโครงการ "Toucan Cipó Project" จนสามารถระบุตำแหน่งจากบันทึกของ Riedel ได้ว่าอยู่ที่ Serra da Lapa และนำไปสู่การค้นพบ L. humillima ในที่สุด อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับผลการสำรวจได้จาก www.kew.org/science/tropamerica/cipo.htm ที่มา - PhysOrg ภาพจาก PhysOrg
https://jusci.net/node/1798
ค้นพบดอกไม้หายากในรอบหนึ่งร้อยห้าสิบปี
ทีมนักวิจัยร่วมของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาค้นพบซากฟอสซิลของมดยักษ์ที่มีความยาวลำตัวถึง 5 เซนติเมตรในรัฐไวโอมิง ประเทศสหรัฐอเมริกา มดยักษ์ตัวเท่านกฮัมมิงเบิร์ดนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Titanomyrma lubei ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ก็เคยพบปีกของมดขนาดยักษ์ในทวีปอเมริกาเหนือมาแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการพบซากฟอสซิลสมบูรณ์ทั้งตัวในสหรัฐอเมริกา สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยคือ ในทวีปยุโรปก็เคยมีการรายงานค้นพบมดยักษ์ที่มีรูปร่างๆ คล้าย Titanomyrma lubei เหมือนกัน แถมซากฟอสซิลก็มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกันด้วย (ประมาณ 56 ล้านปีที่แล้ว ถึง 34 ล้านปีที่แล้ว อยู่ในช่วงยุค Eocene) แม้ว่าในยุคนั้นแผ่นดินของทั้งสองทวีปจะพอมีทางเดินเชื่อมกันบ้าง แต่มดขนาดยักษ์จำเป็นจะต้องอาศัยอยู่ในภูมิอากาศที่อบอุ่นจนถึงร้อน นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าโลกในยุคนั้นจะต้องมีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะให้มดอพยพข้ามเขตอาร์คติกได้ การค้นพบซากฟอสซิลพืชที่อยู่ได้เฉพาะในอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไปในบริเวณใกล้เคียงกับซากฟอสซิลมดเป็นหลักฐานยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ เป็นไปได้ว่าในช่วงนั้นทวีปอาร์คติกอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 8 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นอุณหภูมิเกือบจะต่ำสุดที่มดเขตร้อนยังมีชีวิตอยู่ได้ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าบรรพบุรุษมด Titanomyrma lubei อพยพจากอเมริกาไปยุโรป หรือ จากยุโรปไปอเมริกา ปัจจุบันมดที่ยังมีชีวิตอยู่และมีขนาดใหญ่พอๆ กับ Titanomyrma lubei คือ ราชินีของมด Dorylus wilverthi ในทวีปแอฟริกา แต่ Dorylus wilverthi มีความยาวถึงเกือบ 5 เซนติเมตรได้เพราะว่าส่วนท้องของมันขยายใหญ่โตมาก ขณะที่หัวและอกมีขนาดเท่าๆ กับมดทั่วไป ส่วน Titanomyrma lubei มีขนาดใหญ่ทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะที่ส่วนท้องเพียงอย่างเดียว ที่มา - BBC News, LiveScience ภาพจาก BBC News
https://jusci.net/node/1799
มดยักษ์ตัวเท่านกฮัมมิงเบิร์ด
การเพิ่มชั้นของกราฟีนเข้าไปบนแผ่นทองฟิล์มในไบโอเซ็นเซอร์ (biosensor) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการตรวจจับชีวโมเลกุลได้อย่างมหัศจรรย์ โดยหลักการคร่าวของไบไอเซ็นเซอร์แบบ surface plasmon resonance (SPR) คือเซนเซอร์แสงที่ใช้ การคลื่นผิวของพลาสมอนตรวจจับอันตรกิริยาระหว่างชีวโมเลกุลกับผิวเซ็นเซอร์ พูดง่ายๆก็คือ ถ้ามีชีวโมเลกุลมาจับกับผิวเซ็นเซอร์จะทำให้สมบัติทางแสงของผิวเปลี่ยนไป ซึ่งสมบัติในที่นี้ก็คือ การสะท้อนกลับหมด (total reflection) ซึ่งมุมที่เกิดการสะท้อนกลับหมดจะบ่งบอกถึงชีวโมเลกุลที่มาเกาะนั่นเอง ตามการทดลองนี้ใช้ชีวโมเลกุลเป็นดีเอ็นเอ ประสิทธิภาพที่ได้นั้นอยู่ที่จำนวนชั้นของกราฟีน โดย 10 ชั้นของกราฟีน ให้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น 25% ว่าแต่มี เซ็นเซอร์ (censor) เรยา ไหมนิ 55 คลิกดูส่วนประกอบ ที่มา - RdMag
https://jusci.net/node/1800
กราฟีนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพไบโอเซ็นเซอร์
ประเด็นเรื่อง "การครอบครองอาวุธปืน" เป็นประเด็นขัดแย้งอมตะอีกประเด็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) โดยฝ่ายที่สนับสนุนให้ประชาชนครอบครองปืนได้ตามกฎหมาย จะอ้างเหตุผลด้านการป้องกันตัว ส่วนฝ่ายที่คัดค้านก็มองว่าจะสร้างอาชญากรรมต่างหาก ประเด็นว่าแนวทางไหนดีกว่ากันก็คงไม่มีทางจบง่ายๆ เพราะเป็นประเด็นทางการเมืองที่ละเอียดอ่อนด้วย ล่าสุดมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ใน American Journal of Lifestyle Medicine เขียนโดยฝ่ายต่อต้านการครอบครองอาวุธปืน ได้ใช้กรอบของ "สาธารณสุข" ในการมองปัญหาเรื่องการครอบครองปืน ได้ผลออกมาว่าการทะเลาะวิวาทในบริเวณที่มีอัตราการครอบครองปืนสูง มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย รายละเอียดของงานวิจัยนี้ค่อนข้างยาว อ่านกันต่อในที่มาครับ ที่มา - Ars Technica
https://jusci.net/node/1801
งานวิจัยชี้ มีปืนไว้ที่บ้าน สร้างอันตรายมากกว่าป้องกันตัว
เมื่อปลายเดือนเมษายน มีข่าวลือออกมาว่า LHC พบอนุภาค Higgs boson หรืออนุภาคพระเจ้าแล้ว เนื่องจากมีคนไปเจอบันทึกภายในที่ระบุว่าเครื่องตรวจจับอนุภาค ATLAS เจอสัญญาณของอนุภาคแปลกๆ ตรงตำแหน่งที่เข้าข่ายมวลของ Higgs boson พอดี หลังจากนั้นคนของ CERN ก็ออกมายอมรับว่าบันทึกที่เป็นต้นเหตุข่าวลือเป็นของจริง แต่ยังเป็นแค่การรายงานขั้นต้นที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จากทีมอื่นๆ วันนี้ New Scientist ลงข่าวว่าได้รับเอกสารอีกชิ้นจาก CERN รายงานว่า CMS ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับอนุภาคอีกตัวของ LHC ไม่เจอสัญญาณตรงค่ามวลดังกล่าว ทำให้เป็นไปได้สูงว่าสิ่งที่ ATLAS เจอเป็นแค่ความบังเอิญทางสถิติหรือความผิดพลาดจากการวิเคราะห์เท่านั้น อย่างไรก็ดีรายงานของ CMS ฉบับนั้นก็ยังเป็นแค่รายงานขั้นต้น คงต้องรออีกสักพัก หากมีอะไรน่าสนใจจริง CERN คงแถลงข่าวเรื่องนี้สู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/1802
ข่าวลือจบ... LHC ยังไม่เจอ Higgs boson?
สวัสดีครับ วันนี้ผมคิดว่า ผมจะเริ่มทำอะไรบางอย่างที่คิดว่าจะทำมานานแล้วซักที นั่นคือ การเผยแพร่ Infographic ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ในเว็บนี้ ก็จะพยายามอัพเดทให้สม่ำเสมอนะครับ ก็ เกริ่นพอละ ขอเปิดประเดิมด้วยของเก่าหน่อย แต่ผมคิดว่ามันคือ Infographic ที่สวยที่สุด และเจ๋งที่สุด "Nature by Numbers"
https://jusci.net/node/1803
Science Infographic
Gravity Probe B คือโครงการของ NASA ที่ได้รับการเสนอในปี 1959 และ 1960 George โดยนักฟิสิกส์ George Pugh และ Leonard Schiff เพื่อที่จะทดสอบข้อสันนิษฐานสองข้อที่ได้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ วันนี้โครงการ Gravity Probe B ได้ให้คำตอบแล้ว ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป สนามแรงโน้มถ่วงของวัตถุขนาดใหญ่จะบิดกาล-อวกาศให้โค้งงอบุ๋มลงไปแบบเดียวกับลูกโบว์ลิ่งที่วางบนผ้าปูที่นอนที่ขึงไว้ตึงๆ สิ่งนี้เรียกว่า "Geodetic precession" และถ้าหากวัตถุนั้นหมุนรอบตัวเอง กาล-อวกาศรอบๆ ก็จะถูกลากวนเป็นเกลียวตามไปด้วย (ลองจินตนาการถึงลูกแก้วที่หมุนอยู่บนผิวหน้าของน้ำผึ้งข้นๆ) ปรากฎการณ์นี้คือ "Frame dragging effect" การทดลองที่นักวิทยาศาสตร์เสนอให้ NASA ทำเพื่อพิสูจน์ปรากฏการณ์ทั้งสองนั้นฟังแล้วง่ายมาก นั่นคือ การเอา gyroscope ไปวางไว้ในที่ที่จะไม่ถูกแรงอื่นๆ จากภายนอกรบกวนเลย ถ้า gyroscope หมุนอยู่อย่างเดิมทั้งปีทั้งชาติ ก็แปลว่าไอน์สไตน์มั่ว แต่ถ้า gyroscope เปลี่ยนแกนหมุนไปตรงกับที่คำนวณจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ก็แปลว่าไอน์ไตน์รอดตัวไป แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่ตอนนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้ความฝันนี้เป็นจริง นับตั้งแต่เริ่มโครงการ นักวิทยาศาสตร์ต้องค่อยๆ พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ประมาณกันว่ามีเทคโนโลยีใหม่อย่างต่ำ 13 ชิ้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโครงการ Gravity Probe B โดยเฉพาะ รวมทั้งสิ้นใช้งบประมาณไปมากกว่า 750 ล้านเหรียญฯ NASA เริ่มให้ทุนโครงการในปี 1963 ต่อมางบหมด นักวิทยาศาสตร์ในโครงการเลยต้องหันไปหาเงินอุดหนุนจากนายทุนรายใหญ่ Richard Fairbank และในที่สุดก็ได้งบก้อนสุดท้ายจาก King Abdulaziz City for Science and Technology ของซาอุดิอาระเบีย จนกระทั่งในเดือนเมษายนปี 2004 การเตรียมการทุกอย่างจึงสำเร็จ gyroscope ของ Gravity Probe B ได้ส่งขึ้นไปสู่อวกาศ เก็บข้อมูลอยู่นานถึงกว่า 17 เดือน gyroscope ของ Gravity Probe B ประกอบด้วยลูกแก้วควอร์ตซ์ทรงกลม 4 ลูกขนาดประมาณลูกปิงปองเคลือบด้วยสารตัวนำยิ่งยวด niobium ลอยอยู่ในสุญญากาศที่อุณหภูมิเกือบศูนย์องศาสัมบูรณ์ และรอบๆ ลูกแก้วแต่ละลูกมีกล้องจุลทรรศน์ขนาดจิ๋วคอยวัดอยู่ว่าแกนหมุนเคลื่อนจากจุดอ้างอิงไปเท่าไร จุดอ้างอิงที่ใช้ในการทดลองนี้คือดาว IM Pegasi (HR 8703) ซึ่งอยู่ไกลพอจะใช้เป็นจุดอ้างอิงที่คงที่ได้ นักฟิสิกส์ของ NASA ให้การรับรองว่าลูกแก้วใน gyroscope ของ Gravity Probe B คือ "ทรงกลมที่กลมที่สุดเท่าที่มนุษยชาติเคยสร้าง" ส่วนที่ยื่นเลยออกมาหนาสุดมีความหนาไม่เกิน 40 อะตอม เพราะความคลาดเคลื่อนจากทรงกลมแม้เพียงนิดเดียวก็อาจมีผลต่อการวัดการเคลื่อนที่ของแกนหมุนได้ ถึงจะละเอียดรอบคอบขนาดนั้นแล้วก็ตาม เคราะห์ร้ายก็ไม่สิ้นสุด นักฟิสิกส์พบว่าแกนหมุนของ gyroscope บิดเบี้ยวไปเพราะประจุไฟฟ้าที่สะสมบนผิวลูกแก้ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บมาเกือบจะใช้ไม่ได้ไปทั้งหมด แต่ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น นักฟิสิกส์ผู้ยังไม่ยอมแพ้ ค่อยๆ แกะดูว่าแรงจากประจุไฟฟ้าส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของ gyroscope อย่างไร จากนั้นจึงนำไปหักล้างเพื่อสกัดเอาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของแกนหมุนที่เกิดจาก Geodetic precession และ Frame dragging effect เท่านั้น ผลปรากฏออกมาว่าค่าการเปลี่ยนแปลงแกนหมุนจาก Geodetic precession อยู่ที่ 6.600 +- 0.017 ฟิลิปดา ส่วน frame dragging effect อยู่ที่ 0.039 +- 0.007 ฟิลิปดา ซึ่งตรงกับที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้ทำนายไว้ (ก่อนหน้านี้ในปี 2007 นักฟิสิกส์ได้รายงานผลของ Geodetic precession มาแล้ว แต่ความแม่นยำของข้อมูลน้อยกว่าผลในครั้งนี้) ผลการทดลองนี้จะตีพิมพ์ลงในวารสาร Physical Review Letters ฉบับที่กำลังจะออกเร็วๆ นี้ ความสำเร็จในครั้งนี้ยิ่งใหญ่มากสำหรับวงการฟิสิกส์ Clifford Will แห่ง Washington University กล่าวว่า "สักวันหนึ่งนี่จะต้องปรากฏในตำราเรียนในฐานะของการทดลองฟิสิกส์ชิ้นประวัติศาสตร์" One day this will be written up in textbooks as one of the classic experiments in the history of physics. นอกจากการพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพแล้ว Gravity Probe B ซึ่งเป็นหนึ่งโครงการที่กินเวลายาวนานที่สุดของ NASA และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังสร้างคุณประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อ Gravity Probe B ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการอื่นและอีกหลายวงการ รวมไปถึงทรัพยากรบุคคลทางวิทยาศาสตร์อีกมากมายที่ได้จากโครงการนี้ ตลอดเวลาห้าสิบกว่าปี Gravity Probe B เป็นที่ทดลองและที่ฝึกงานของนักศึกษาปริญญาเอก 100 คน ปริญญาโท 15 คน ปริญญาตรี 350 กว่าคน และนักเรียนไฮสคูลอีก 55 คน หลายคนในจำนวนนี้มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา เช่น Sally Ride นักบินอวกาศหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์, Eric Cornell เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2001 เป็นต้น บางคนก็ทุ่มทั้งชีวิตตั้งแต่หนุ่มยันเกษียณให้กับ Gravity Probe B เช่น ดร. Francis Everitt หัวหน้าทีมนักวิจัย ที่มา - Popular Science, NASA Science News, PhysOrg, BBC News, Science Daily, New York Times, Science News
https://jusci.net/node/1804
สันนิษฐานอีกข้อของไอน์สไตน์ได้รับการพิสูจน์แล้ว...ด้วยงบ 750 ล้านเหรียญฯ และเวลา 52 ปี
ข่าวเก่าไปสองวัน แต่ไม่ใช่ว่าปัญหาโลกแตกข้อนี้ได้รับการแก้แล้ว แต่เมือวันที่ 4 พฤษภาคม 1971 นักคณิตศาสตร์สามคนคือ Shaker Heights, Ohio, และ Steve Cook ได้ตีพิมพ์บทพิสูจน์ว่าปัญหา Satisfiability นั้นเป็น NP-complete และปัญหา Tautology นั้นเป็น NP-hard และพูดถึงปัญหา Tautology ไว้เป็น conjecture ว่ามันไม่น่าจะเป็นปัญหา P conjecture ในบทพิสูจน์นี้ได้รับการพัฒนามาเป็นปัญหาปัญหา P และ NP ในทุกวันนี้ที่ยังไม่มีใครหาคำตอบได้ เนื่องจากใกล้เปิดเทอม ถ้าใครเปิดเทอมระดับปริญญาโทในสายวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็ #maythe4thbewithyou ครับ ที่มา - Slashdot
https://jusci.net/node/1805
ครบรอบ 30 ปี P=NP
ใช้เวลาตามประเทศไทย (UTC+7) นะครับ ในวันที่ 9 พ.ย. 2554 นี้จะมีดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด โดยมีระยะห่างเพียง 325,000 ก.ม. หรือประมาณ 0.85 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ขณะช่วงเวลานั้นมันจะเป็นวัตถุที่มีความสว่างเป็นอันดับที่ 11 บนท้องฟ้า ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ทั้งซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ ช่วงเวลาที่เข้าใกล้โลกมากที่สุด ห่างจากโลก 0.00217 AU ในวันที่ 9 พ.ย. 2554 เวลา 06:28 น. ช่วงเวลาที่เข้าใกล้ดวงจันทร์มากที่สุด ห่างจากดวงจันทร์ 0.00160 AU ในวันที่ 9 พ.ค. 2554 เวลา 14:13 น. ในช่วงเวลาที่มันโคจรเข้าใกล้โลก เราสามารถดูได้ด้วยตาเปล่า หรือผ่านกล้องโทรทรรค์ทั่วไป แต่อาจจะยากสักหน่อยตรงที่มันเคลื่อนที่ผ่านท้องฟ้าเร็วมาก เวลาที่เหมาะสมในการดูประมาณ 04:00 น. เป็นต้นไป ดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2548 โดยคุณ Robert McMillan รูปร่างเป็นทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400 ม. หมดรอบตัวเองใช้เวลา 20 ช.ม. โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 14 ปี เป็นดาวเคราะห์น้อยชนิด C (มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก) ซึ่งเชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นในช่วงกำเนิดระบบสุริยะ มันจึงเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่เราอาจจะได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดสิ่งมีชีวิต หรือการกำเนิดระบบสุริยะมากขึ้น 2005 YU55 อยู่ในรายชื่อดาวเคราะห์น้อยที่อาจจะเป็นอันตรายต่อโลก ด้วยขนาดของมันหากชนโลก จะเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ 65,000 ลูก สร้างหลุมอุกกาบาตกว้าง 9.66 ก.ม. ลึก 610 ม. แต่การเข้าใกล้โลกครั้งนี้ของมัน ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อโลกสักนิด และมันจะไม่เข้าใกล้โลกอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 100 ปี ดังนั้นอย่ากังวลเกินไปนัก ในปีพ.ศ. 2571 หรืออีก 17 ปีข้างหน้า จะมีดาวเคราะห์น้อย 2001 WN5 (153814) เข้าใกล้โลกอีกครั้ง และมันจะใกล้กว่า 2005 YU55 ด้วย ดาวเคราะห์น้อย 2001 WH5 จะห่างจากโลกเพียง 0.6 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์เท่านั้น ภาพการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อย รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับการค้นพบ และติดตามดาวเคราะห์ดวงนี้อ่านได้จากที่มาครับ ที่มา: Nasa.gov, Dailymail, Space.com ป.ล. ถึงตอนนั้น ใครที่ถ่ายภาพ หรือบันทึกวิดีโอไว้ได้อย่าลืมเอามาอวดกันบ้างนะ ผมจะรอดู
https://jusci.net/node/1806
ดาวเคราะห์น้อยที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด
มีคนกล่าวไว้ว่า "หนังสือคือเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์" เรารู้สึกผูกพันกับมัน แม้ว่าจะไม่ใช่ความสัมพันธ์จริง ๆ ก็ตาม แต่หนังสือไม่เพียงเป็นแค่เพื่อน มันยังเป็นมากกว่านั้น มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Pyschological Science งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยคุณ Gabriel และเพื่อนร่วมงานคุณ Ariana Young ได้แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่เราอ่านหนังสือ เราจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนั้นด้วย ในการทดลอง ได้แบ่งนักศึกษาจำนวน 140 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้อ่านหนังสือทไวไลท์ ส่วนอีกกลุ่มให้อ่านหนังสือแฮรี่พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ เป็นเวลา 30 นาที โดยที่นักวิจัยบอกให้ผู้ร่วมทดลองอ่านมันเล่น ๆ เพลิน ๆ หลังจากนั้นให้ผู้ร่วมทดลองมาจัด "คำ" ที่บ่งบอกถึงตัวเอง ซึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วพบว่า กลุ่มที่อ่านทไวไลท์ จะจัดคำที่อธิยายถึงตัวเอง (ฉัน, ของฉัน) รวมกับคำที่อธิยายถึงแวมไพร์ (เลือด, เขี้ยว, กัด, อมตะ) เป็นสิ่งที่หมายถึงตัวเอง และจัดคำที่บ่งบอกว่าไม่ใช่ตัวเอง (พวกเขา, ของพวกเขา) ไปรวมกับคำที่อธิบายถึงพ่อมดแม่มด (ไม้กวาด, เวทย์มนต์, ไม้เท้า) ส่วนกลุ่มที่อ่านแฮรี่พอตเตอร์จะทำกลับกัน หลังจากนั้น ให้ผู้ร่วมทดลองต้องตอบแบบสอบถามที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่พวกเขาอ่าน เช่น คุณคิดว่าคุณสามารถหายตัวแล้วไปโผล่อีกที่นึงได้ไหม? หรือ เขี้ยวของคุณแหลมคมแค่ไหน? คำถามสั้น ๆ พวกนี้ จะใช้วัดความพึงพอใจ และทัศนคติของผู้ร่วมทดลอง จากผลการทดลองทั้งสอง ทำให้รู้ว่า คนที่อ่านแฮรี่พอตเตอร์จะรู้สึกว่าตัวเองเป็น พ่อมด แม่มด ในขณะที่คนที่อ่านทไวไลท์จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นแวมไพร์ และยังพบว่าผู้ร่วมทดลองที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มมาก จะให้ผลที่มากขึ้นไปด้วย และถ้าเราเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ชื่นชอบนิยายแนวเดียวกันแล้ว มันจะส่งผลต่อความพึงพอใจ และทัศนคติในชีวิตจริงอีกด้วย จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การอ่าน นอกจากจะทำเพื่อพักผ่อน หรือศึกษาหาความรู้แล้ว ยังช่วยเติมเต็มความต้องการด้านจิตวิทยาลึก ๆ ของเราด้วย เราไม่จำเป็นต้องฆ่าบอกการ์ทเพื่อจะเป็นพ่อมดแม่มด หรือถูกกัดก่อนที่จะเป็นแวมไพร์ (และมันง่ายกว่ากันเยอะ) ที่มา: APS
https://jusci.net/node/1807
อ่านอะไร ก็เป็นแบบนั้น
เตรียมลบความเชื่อเดิมๆ ที่คิดว่า "ผู้ชายคิดถึงเรื่องเซ็กส์ทุก 7 วินาที" ไปได้เลย เพราะผลการวิจัยพิสูจน์แล้วว่าเรื่องนี้ไม่จริง ทีมนักวิจัยที่นำโดย Terri Fisher แห่ง Ohio State University ได้ทดลองเพื่อวิเคราะห์ว่าผู้หญิงกับผู้ชายคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางร่างกาย 3 อย่างมากน้อยเท่าใดในหนึ่งวัน ได้แก่ เรื่องทางเพศ, การนอน, และการกินอาหาร อาสาสมัครประกอบด้วยนักศึกษาหญิง 163 คนและชาย 120 คน ทุกคนได้รับแจกเครื่องนับ (tally counter - เครื่องนับแบบที่กดทีหนึ่งแล้วตัวเลขก็จะวิ่งไปหนึ่งหน่วย) นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกให้กดเครื่องนับเมื่อคิดถึงเรื่องทางเพศ กลุ่มที่สองให้กดเมื่อคิดถึงการนอน ส่วนกลุ่มที่สามกดเมื่อคิดถึงอาหาร ผลการทดลองปรากฏว่าผู้ชายคิดถึงเรื่องทางเพศโดยเฉลี่ย 18 ครั้งต่อวัน ผู้หญิง 10 ครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตามข้อมูลมีความแปรผันมาก ผู้ชายบางคนคิดถึงเรื่องนี้แค่ 1 ครั้งต่อวันเท่านั้น ในขณะคนที่คิดบ่อยสุดอาจจะมากได้ถึง 388 ครั้ง (แต่นี่ก็ชัดเจนว่าน้อยกว่า "ทุก 7 วินาที" เพราะถ้านับเฉพาะช่วงเวลาที่ตื่น ตัวเลข 388 ครั้งต่อวัน ก็ตกเพียง "ทุกๆ 158 วินาที" เท่านั้น) เป็นที่น่าแปลกว่า ความถี่ในการคิดถึงเรื่องอาหารและการนอนของผู้ชายเท่าๆ กับเรื่องเซ็กส์ ส่วนผู้หญิงกลับแตกต่างออกไป พวกเธอคิดถึงเรื่องนอนบ่อยพอๆ กับผู้ชาย แต่กลับคิดถึงเรื่องการกินอาหารน้อยกว่า ตรงจุดนี้นักวิจัยไม่แน่ใจว่ามันคือแนวโน้มจริงๆ หรือเป็นเพราะอิทธิพลของสังคมที่มองว่าผู้หญิงไม่ควรคิดเรื่องเซ็กส์และการกินบ่อยเกินไปกันแน่ อาสาสมัครผู้หญิงเลยไม่ค่อยอยากกดเครื่องนับ แม้ว่าการทดลองนี้จะใช้วิธีการที่แม่นยำกว่าการทดลองในอดีตซึ่งต้องค่อยๆ ถามกลุ่มตัวอย่างทีละคนให้นึกย้อนหลังแล้วรายงานออกมา แต่ก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่มันไม่สามารถแยกแยะได้ว่า "ครั้ง" ที่อาสาสมัครกดไปเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบแค่แวบเดียวหรือเป็นอาการนั่งหื่นตลอดชัวโมง แถมกลุ่มตัวอย่างก็ยังมีแค่ช่วงวัยนักศึกษาเท่านั้น ที่มา - Live Science
https://jusci.net/node/1808
ผู้ชายไม่ได้คิดแต่เรื่องเซ็กส์อย่างเดียว... ยังมีเรื่องนอนและอาหารด้วย
สวัสดีครับ ครั้งที่สองวันนี้ ขอถล่มบล็อกซักทีดีกว่า ด้วย Infographic "Tallest Mountain to Deepest Ocean" ที่มา : OurAmazingPlanet
https://jusci.net/node/1809
Infographic : SkyHigh to DeepSea
คำว่า "จิตวิญญาณ" (spirituality) อาจฟังดูเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาและพระเป็นเจ้า แต่สำหรับบางคนโดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ เรื่องของจิตวิญญาณกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระเจ้าและศาสนาเลย จากการศึกษาของ Howard Ecklund แห่ง Rice University ที่ได้สัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคมจากมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งจำนวน 275 คน ได้ผลออกมาว่าประมาณ 20% ของนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า (atheist) ยืดอกยอมรับว่าตัวเองศรัทธาในจิตวิญญาณ (spirituality) จิตวิญญาณที่นักวิทยาศาสตร์พวกนี้บูชาไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาเลย แต่เป็นความศรัทธาในรูปแบบของการ "ค้นหาความหมาย" (quests for meaning) ซึ่งพวกเขาเห็นว่าเป็นแนวคิดเดียวกับปรัชญาวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้พวกเขายังเห็นว่า "ศรัทธาในจิตวิญญาณ" กับ "ศาสนา" มีความแตกต่างกันด้วย ขณะที่ศาสนาเป็นกิจกรรมที่มีการจัดตั้ง, เป็นชุมชน, รวมเป็นหนึ่ง, และรวบรวมสะสม (organized, communal, unified and collective) แต่เรื่องของจิตวิญญาณเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล, เป็นเรื่องส่วนตัว, และก่อสร้างขึ้นในจิตใจของแต่ละคนเอง (individual, personal and personally constructed) ไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เอาพระเจ้าเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อพระเจ้าอีกหลายคนก็ยอมรับว่าตัวเองเชื่อในจิตวิญญาณตามแนวทางเดียวกันนี้เหมือนกัน ที่มา - Live Science, PhysOrg
https://jusci.net/node/1810
หนึ่งในห้าของนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เชื่อในพระเจ้าศรัทธาในจิตวิญญาณ
พฤติกรรมการเสียสละ (Altruism) เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสัตว์สังคม สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งจะยอมเสียผลประโยชน์หรือแม้แต่เสียชีวิตเพื่อดำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของพวกพ้องในกลุ่ม ในปี 1964 นักชีววิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า W. D. Hamilton ได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่ออธิบายเหตุผลเบื้องหลังของพฤติกรรมการเสียสละตามหลักการของการคัดเลือกตามธรรมชาติ ต่อมาทฤษฎีนั้นกลายเป็นกฏที่ชื่อว่า "Hamilton's rule of kin selection" โดยคร่าวๆ "Hamilton's rule of kin selection" มีพื้นฐานว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะเลือกเส้นทางการกระทำที่ส่งผลให้ยีนของมันส่งผ่านต่อไปยังรุ่นต่อไปได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น มดงานเลือกที่จะไม่มีลูกของตัวเอง เพราะว่ามดงานแต่ละตัวมียีนตรงกับมดงานตัวอื่นๆ ในรังถึง 75% ในขณะที่ถ้ามันมีลูกเอง มันกับลูกจะมียีนร่วมกันเพียง 50% เท่านั้น วิวัฒนาการจึงเลือกที่จะให้มดงานร่วมกันทำงานให้กับรัง ให้ราชินีออกลูกสร้างพี่น้องของมันออกมาเยอะๆ ดีกว่า (หมายเหตุ: กรณีในตัวอย่างเป็นแค่กรณีสมมติง่ายๆ ว่ามีมดแค่ 1 รังและราชินีเพียง 1 ตัวที่ผสมพันธุ์กับตัวผู้เพียง 1 ตัว รังมดของจริงซับซ้อนกว่านี้เยอะ) Hamilton's rule of kin selection ถูกใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด แต่ก็ยังไม่เคยมีใครสามารถทดสอบได้ว่า Hamilton's rule ใช้ได้จริงกับทุกระบบหรือไม่ จนกระทั่งทีมนักวิจัยสวิตเซอร์แลนด์ได้ความคิดที่จะทดสอบ Hamilton's rule กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ของพวกเขามีชื่อว่า "Alice" เป็นหุ่นยนต์ตัวเล็กๆ ขนาดประมาณ 1 นิ้ว มีล้อสองอันข้างตัวทำให้เดินหน้า ถอยหลัง และหมุนตัวไปมาได้ ในการทดลองพวกเขาจับ Alice 8 ตัวเข้าไปอยู่ในกล่องที่มี "อาหาร" อยู่ หุ่นยนต์มีอิสระในการเลือกว่าจะเอาอาหารไปขึ้นรางวัลด้วยตัวเอง (ผลักเอาอาหารไปชิดด้านข้างของกล่อง) หรือจะแบ่งกับเพื่อนๆ หุ่นยนต์แต่ละตัวมี "ระบบประสาท" ของตัวเองตัวละ 33 วงจร ไม่มีหุ่นยนต์ตัวไหนมีระบบประสาทเหมือนกันเลย ระบบประสาทของหุ่นยนต์จึงทำหน้าที่เป็นหน่วยพันธุกรรมหรือยีนด้วย นักวิจัยปล่อยให้หุ่นยนต์แก่งแย่ง-แบ่งปันอาหารกันเองผ่านไปหลายๆ รอบ หรือจะเรียกว่าเป็น "รุ่น" (generation) ก็ได้ หุ่นยนต์ที่ไม่ได้อาหารตกถึงท้องเลยจะถูกกำจัดออกไปจากระบบ เมื่อนักวิจัยสังเกตพฤติกรรมของหุ่นยนต์แล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้ไปเข้าแบบจำลองที่อิงพื้นฐานจาก Hamilton's rule หลังจากจำลองในคอมพิวเตอร์ว่าผ่านไป 500 รุ่น พวกเขาก็ได้ลักษณะของหุ่นยนต์ที่เหลือรอดว่ามียีนแบบไหน จากนั้นพวกเขาก็เอาลักษณะพันธุกรรมที่ได้จากแบบจำลองป้อนกลับเข้าไปยังหุ่นยนต์ Alice ในกล่อง แล้วสังเกตพฤติกรรมต่อ ผลปรากฏว่าหุ่นยนต์มีพฤติกรรมตรงตามที่แบบจำลองทำนายไว้เป๊ะๆ นั่นคือ หุ่นยนต์ที่มียีนใกล้เคียงกันจะเสียสละซึ่งกันและกัน ยิ่งมียีนตรงกันมาก ก็จะยิ่งเสียสละให้กันมากขึ้น ผลการทดลองนี้เป็นการพิสูจน์ว่า Hamilton's rule ใช้ได้จริงๆ แม้กับระบบประติษฐ์ที่ไม่ซับซ้อน ทางการสวิตเซอร์แลนด์ได้ขอร้องให้นักวิจัยลองสร้างหุ่นยนต์บินได้ที่ปฏิบัติงานเป็นกลุ่มแบบนี้ตาม Hamilton's rule ขึ้นมาสักชุดเพื่อจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ในด้านการช่วยเหลือและกู้ภัย ซึ่งนักวิจัยก็ยินดีและกำลังศึกษาเพื่อสร้างมันขึ้นมาอยู่ ผมนึกถึงว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นกองทัพหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบในหนังวิทยาศาสตร์ก็ได้ ที่มา - Discovery News, Scientific American
https://jusci.net/node/1811
วิวัฒนาการของหุ่นยนต์ช่วยไขปริศนาพฤติกรรมการเสียสละ
สมองส่วน orbito-frontal cortex มีความเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท dopamine และเป็นส่วนที่ถูกกระตุ้นเวลาเรามีความสุข ความรักใคร่ปราถนา การตกหลุมรัก ทีมนักวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Semir Zeki แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้ตรวจวิเคราะห์สมองของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 28 คนในขณะที่กลุ่มตัวอย่างกำลังมองรูปภาพงานศิลปะชั้นยอด รูปภาพเหล่านั้น ได้แก่ "The Birth of Venus" ของ Sandro Botticelli, "Bathing at La Grenouillere" ของ Claude Monet, "Constable's Salisbury Cathedral" เป็นต้น ผลปรากฏว่าสมองส่วน orbito-frontal cortex มีกระแสเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้นในทันทีที่ได้มองรูปภาพ ก่อนหน้านี้ก็เคยมีงานวิจัยที่ชี้ว่างานศิลปะช่วยลดความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยหายเจ็บไข้ได้ดีขึ้น งานวิจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคุณค่าของงานศิลปะอาจจะลึกซึ้งมากกว่าแค่เรื่องของความสวยงามก็ได้ ที่มา - The Telegraph
https://jusci.net/node/1812
ภาพศิลปะกระตุ้นสมองที่เดียวกับการตกหลุมรัก
ทุกๆ ปี University of Maryland และ Veterans Administration Maryland Health Care System จะจัดงานประชุม Historical Clinicopathological Conference โดยมีจุดประสงค์เพื่อสืบสวนหาโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้มีชื่อเสียงในอดีตด้วยหลักฐานและบันทึกเท่าที่หามาได้ ในการประชุมปีนี้ซึ่งผ่านพ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หัวข้อหลักของการประชุมอยู่ที่ "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" นักธรรมชาติวิทยาผู้วางรากฐานให้กับทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ ตามบันทึกที่มี หลังจากที่ ชาร์ลส์ ดาร์วิน กลับมาจากการท่องโลกไปกับเรือหลวง HMS Beagle เขาก็มีอาการป่วยมาโดยตลอด ได้แก่ ปวดเจ็บที่ท้อง อาเจียนรุนแรง และผิวหนังแตก นักวิทยาศาสตร์ในงานประชุมสรุปข้อสันนิษฐานว่า ชาร์ลส์ ดาร์วินน่าจะป่วยด้วยโรคอย่างต่ำ 3 อย่าง คือ Chagas disease เขาน่าจะติดเชื้อมาในตอนที่โดนแมลงกัดในอาร์เจนติน่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของพาหะสำคัญแหล่งหนึ่ง โรคกระเพาะอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อ Helicobacter pylori นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเขาน่าจะได้รับเชื้อในระหว่างการเดินทางเช่นกัน อาการอาเจียนน่าจะเป็น Cyclic vomiting syndrome ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจนักว่าสาเหตุของอาการเกิดจากอะไร แต่สันนิษฐานกันว่ามาจากความเครียดเป็นสำคัญ ความเครียดประการหนักที่สุดของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ก็คงเป็นเรื่องของโรคที่เขาเป็นอยู่นั่นแหละ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่แม้ ชาร์ลส์ ดาร์วิน จะเกิดในตระกูลแพทย์ แต่กลับไม่มีแพทย์คนไหนวินิจฉัยโรคและรักษาเขาให้หายขาดได้เลย อย่างดีก็เพียงแต่ให้ยาบรรเทาอาการ สุดท้าย ชาร์ลส์ ดาร์วิน ก็จากโลกนี้ไปด้วยวัย 73 ปี สิ่งที่คร่าชีวิตเขาน่าจะเป็นโรคหัวใจซึ่งก็คือผลข้างเคียงของการป่วยเรื้อรังนั่นเอง ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/1813
ชาร์ลส์ ดาร์วิน ตายเพราะอะไร?
ในสัปดาห์นี้มีการประชุมประจำปี IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA) ณ เซี่ยงไฮ้ ซึ่งในงานเปิดโอกาสให้ Ziyuan Ouyang หัวหน้านักวิทยาศาสตร์โครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีนขึ้นมานำเสนอแผนการสำรวจดวงจันทร์ ตามที่ Ziyuan Ouyang เสนอ แผนการของจีนในระยะใกล้นี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก 2007-2009 จีนได้ส่งดาวเทียมสำรวจ Chang'e-1 ขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ ถ่ายรูปทำแผนที่สามมิติ ข่าวล่าสุดของ Chang'e-1 คือมันได้ถูกสั่งให้พุ่งโหม่งดวงจันทร์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2009 ช่วงที่สอง 2010-ปัจจุบัน จีนได้ส่งดาวเทียมสำรวจ Chang'e-2 ซึ่งว่ากันตามตรงก็คือ Chang'e-1 ที่ได้รับการปรับปรุงระบบการสื่อสาร จุดมุ่งหมายของ Chang'e-2 คือหาเป้าหมายในการร่อนลงของยานสำรวจ ตอนนี้ Chang'e-2 ยังคงทำภารกิจของมันอยู่ ผมยังไม่แน่ใจว่าหลังจากเสร็จงานแล้ว จีนจะสั่งให้มันพุ่งโหม่งดวงจันทร์ตามรุ่นพี่หรือไม่ จีนหวังว่าภายในปี 2013 จีนจะส่งยานสำรวจ Chang'e-3 ไปลงจอดบนดวงจันทร์ให้ได้ จุดที่คาดว่าจะเป็นที่ร่อนลงจอด คือ Sinus Iridium ช่วงที่สาม 2015-2017 ขั้นนี้จะเป็นการเก็บตัวอย่างส่งกลับมายังโลก หลังจากที่ยาน Chang'e-3 ลงจอดได้สำเร็จ หุ่นยนต์สำรวจอัตโนมัติจะถูกปล่อยออกมาจากยาน หุ่นยนต์สำรวจของจีนมีระบบค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ กล้องถ่ายรูป เครื่องวัดแถบสเปกตรัม เรดาร์ ฯลฯ แหล่งพลังงานจะใช้โซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้พลูโตเนียม-238 เป็นเชื้อเพลิง ภาพจำลองหุ่นสำรวจดวงจันทร์ของจีน ที่มา IEEE Spectrum คาดว่าไม่เกินปี 2017 หุ่นยนต์สำรวจจะสามารถเจาะหรือเก็บตัวอย่างชั้นผิวของดวงจันทร์กลับมายังโลกได้ ตามแผนจีนจะให้หุ่นยนต์เอาตัวอย่างส่งกลับมาทางจรวดลำเล็กๆ ส่วนแผนการหลังจากปี 2017 นั้นยังไม่ได้รับการเปิดเผยรายละเอียดมากนัก แต่ก่อนหน้านี้จีนก็เคยออกมาบอกว่าแล้วจะส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายในปี 2025 และหลังจากนั้นก็จะสร้างฐานสถานีอวกาศบนดวงจันทร์ต่อไป ฉะนั้นในตอนนี้ก็ต้องลุ้นกันแล้วว่าประเทศใดจะสร้างฐานสถานีอวกาศบนดวงจันทร์ได้ก่อน ญี่ปุ่นวางแผนจะสร้างให้เสร็จภายในปี 2020 ส่วนสหรัฐอเมริกาก็มีคนเสนอในสภาคองเกรสให้สร้างฐานบนดวงจันทร์ภายในปี 2022 สำหรับประเทศไทย รอบอลไทยไปบอลโลกก่อนแล้วกัน ที่มา - IEEE Spectrum, Popular Science
https://jusci.net/node/1814
จีนวางแผนส่งหุ่นยนต์ไปเก็บตัวอย่างบนดวงจันทร์ภายในปี 2013
ช่างภาพท้องฟ้าชื่อว่า Nick Risinger ออกเดินทางรอบโลกถึงสองรอบครึ่ง เพื่อเก็บภาพท้องฟ้าในมุมต่างๆ ทั่วโลก ได้ภาพจำนวน 37,440 ภาพ นำมาต่อเข้าด้วยกันเป็นภาพรอบตัวของท้องฟ้าในแบบที่เราไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าเห็นได้ โครงการ SkySurvey.org ของ Risinger นำภาพทั้งหมดมาต่อกันได้ภาพขนาด 5 พันล้านพิกเซล แล้วเปิดแสดงแบบเดียวกับ Google Earth หรือโครงการที่เหมือนกันของกูเกิลคือ Google Sky ปัญหาใหญ่ในการถ่ายภาพแบบนี้คือมลภาวะทางแสงที่ Risinger ระบุว่าหาจุดมืดๆ ถ่ายภาพได้ยาก และยังมีเรื่องของสัญญาณรบกวน (noise) ในภาพ ที่ทำให้ทุกภาพต้องถ่ายซ้ำ 12 ครั้ง แบ่งออกเป็นการถ่ายนาน, ปานกลาง, และสั้น โครงการนี้ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยเปิดรับบริจาคเพื่อค่าใช้จ่ายในการถ่ายภาพเพิ่มเติมและการจัดแสดงภาพ มุกจีบสาวแบบนับดาวคงใช้กับภาพแบบนี้ไม่ได้.. ที่มา - SkySurvey
https://jusci.net/node/1815
ภาพท้องฟ้าขนาด 5 พันล้านพิกเซลเปิดให้เข้าชมได้ฟรีแล้ว
นาย Yves Rossy ถูกขนานนามว่า เจ็ทแมน ( jetman) ( ออกเสียงให้ชัดๆ !) ได้กลายเป็นมนุษย์คนแรกที่เหาะด้วยปีกเครื่องยนต์เจ็ท เหนือทัศนียภาพของแกรนด์แคนยอน 200 ฟุตเหนือพื้นดิน เริ่มต้นจากการดิ่งพสุธาจากเฮลิคอปเตอร์ 8,000 ฟุตเหนือพื้นดิน ก่อนทะยานด้วยแรงขับของปีกเครื่องยนต์เจ็ท ซึ่งติดอยู่กับตัว และด้วยขนาดเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 4 ตัว ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาด้วยตัวเอง เพียงพอที่จะทำให้เขาบินด้วยความเร็ว 190 ไมล์ต่อชั่วโมง ภายในระยะเวลา 8 นาที ก่อนจะกางร่มชูชีพร่อนลงสู่พื้นดินอย่างปลอดภัย เมื่อพร้อมแล้วก็บินไปด้วยกันที่ ที่มา - PopSci official website : Jetman.com
https://jusci.net/node/1816
บินไปกับ 'jetman'
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าการมีลูกแฝดเป็นอุบัติเหตุในการตั้งครรภ์ ธรรมชาติปกติของมนุษย์คือการมีลูกหนึ่งคนต่อครั้ง การต้องดูแลลูกอ่อนมากกว่า 1 คนพร้อมกันในเวลาเดียวจะทำให้สุขภาพและชีวิตของผู้เป็นแม่แย่ลง แต่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ได้ดึงเอาข้อมูลจาก Utah Population Database มาวิเคราะห์ พวกเขาคัดเอาแต่ข้อมูลของผู้หญิงที่เกิดในระหว่างปี 1807-1899 และมีอายุขัยเกิน 50 ปีขึ้นไป เพราะในช่วงนั้นเทคโนโลยีการผสมเทียมและการคุมกำเนิดยังไม่ก้าวหน้านัก จึงรับประกันได้ว่าข้อมูลที่ได้เป็นการคลอดลูกแฝดตามธรรมชาติจริงๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้หญิงที่มีลูกแฝด 4,603 คน และผู้หญิงที่ไม่มีลูกแฝด 54,183 คน พวกเขาพบว่าผู้หญิงที่มีลูกแฝดมีสุขภาพดีกว่าผู้หญิงที่ไม่มีลูกแฝดในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอายุขัยที่ยืนยาวกว่า, ระยะเวลาที่สืบพันธุ์ได้นานกว่า, ใช้เวลาพักฟื้นหลังคลอดน้อยกว่า, จำนวนลูกที่ผลิตได้ตลอดชีวิตมากกว่า ในยุคก่อนปี 1870 แม่ที่มีลูกแฝดแต่ละคนผลิตลูกรวมทั้งหมดได้มากกว่าแม่ที่ไม่มีลูกแฝดถึง 1.9 เท่า ในยุคหลังปี 1870 ตัวเลขนี้พุ่งขึ้นไปอีกอยู่ที่ 2.3 เท่า ซึ่งน่าจะเป็นเพราะการแพทย์ที่เจริญขึ้นและเข้าถึงได้มากขึ้น เมื่อผลออกมาลักษณะนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงสงสัยว่าการมีลูกแฝดคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญไปเสียทีเดียว การมีลูกแฝดคงจะเป็นหนทางช่วยให้ผู้หญิงที่มีสุขภาพร่างกายดีกว่าคนทั่วไปส่งผ่านยีนของตัวเองไปยังรุ่นต่อไปได้มากกว่าเดิมในคราวเดียว ก่อนหน้านี้ในปี 2001 ก็มีงานวิจัยในประเทศแกมเบียชี้ว่าผู้หญิงที่มีลูกแฝดมีสุขภาพในทางเจริญพันธุ์ดีกว่าคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าสมมติฐาน "แม่แข็งแรงออกลูกแฝด" จะใช้ได้กับกรณีแฝดสาม แฝดสี่... ได้ด้วยหรือไม่ ที่มา - Discovery News, Live Science
https://jusci.net/node/1817
มีลูกแฝดแปลว่าแม่แข็งแรง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายยิวที่อพยพลี้ภัยออกจากประเทศเยอรมนีในช่วงที่นาซีเรืองอำนาจ และสหราชอาณาจักรก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้การคุ้มครองไอน์สไตน์เป็นอย่างดี ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2011 นี้ พิพิธภัณฑ์ Merseyside Maritime ในลิเวอร์พูล ได้จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งเป็นการชั่วคราว สิ่งนั้นคือ "บัตรผ่านเข้าเมือง" (immigration card) ของไอน์สไตน์ในวันที่เขามาถึงท่าเรือโดเวอร์ สาเหตุที่พิพิธภัณฑ์เพิ่งจะเอาออกมาแสดง ไม่ใช่เพราะกั๊กอะไรหรอก แต่เป็นเพราะทางพิพิธภัณฑ์เองก็เพิ่งจะเจอบัตรผ่านนี้โดยบังเอิญที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินฮีธโทรว์เมื่อไม่นานมานี้ ในบัตรผ่านเข้าเมืองดังกล่าวระบุว่าเมืองที่ไอน์สไตน์จากมาคือเมือง Ostende ของประเทศเบลเยียม และจุดมุ่งหมายที่จะไปคือออกซ์ฟอร์ด เขากรอกในช่องอาชีพว่าเป็น "ศาสตราจารย์" และสัญชาติ "สวิส" (ไอน์สไตน์เกิดที่เยอรมนีและมีเชื้อชาติยิว แสดงว่าเขาทิ้งสัญชาติเยอรมันก่อนที่นาซีจะไล่ล่าเขาเสียอีก) ด้านท้ายมีลายเซ็นของไอน์สไตน์กำกับ ตราประทับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 1933 ไอน์สไตน์อาศัยพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักรระยะหนึ่ง ก็ย้ายต่อไปยังสหรัฐอเมริกาและลงหลักปักฐานอยู่ที่นั่นจนสิ้นอายุขัย ที่มา - BBC News ภาพจาก LiverpoolMuseums.org.uk
https://jusci.net/node/1818
พิพิธภัณฑ์อังกฤษแสดงบัตรผ่านเข้าเมืองของไอน์สไตน์สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก
มีทฤษฎีกันมานานแล้วว่าไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งเป็นโรงงานหลักในการผลิตพลังงานให้เซลล์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการแก่ หนึ่งในทฤษฎีที่พบบ่อยๆ คือ กิจกรรมบางอย่างในไมโทคอนเดรียให้อนุมูลอิสระออกมาเป็นผลพลอยได้ อนุมูลอิสระพวกนี้ทำปฏิกิริยาได้รวดเร็ว ทำลายส่วนประกอบของเซลล์จนเซลล์ซ่อมแซมไม่ทัน มีหลักฐานหลายชิ้นสนับสนุนว่าความผิดปกติที่ส่งผลให้ไมโทคอนเดรียทำงานไม่ได้ช่วยชะลอกระบวนการแก่ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทีมวิจัยจาก University of Gothenburg ได้ก้าวเข้าไปใกล้อีกหนึ่งขั้นในการอธิบายกลไกของไมโทคอนเดรียที่มีผลต่อการแก่ พวกเขาพบว่าเมื่อไมโทคอนเดรียขาดโปรตีนบางตัว พันธุกรรมของเซลล์จะมีเสถียรภาพมากกว่าเดิมและเซลล์สามารถขจัดโปรตีนเสียๆ ที่เป็นอันตรายออกนอกเซลล์ได้มากขึ้น ส่งผลให้เซลล์ที่เพาะไว้ "แก่ช้า" และมีอายุยืนขึ้นกว่าปกติ โปรตีนที่พวกเขาทดสอบอยู่ในกลุ่มที่เรียกรวมว่า "MTC proteins" (Mitochondrial Translation Control proteins) ซึ่งมีความจำเป็นในการควบคุมการแปลรหัสสร้างโปรตีนในไมโทคอนเดรีย เซลล์ที่พวกเขาใช้ทดลองเป็นเซลล์ยีสต์, หนู, และไพรเมต นักวิทยาศาสตร์คิดว่ากลไกนี้น่าจะเหมือนกันในเซลล์มนุษย์ด้วย หากเราหาต้นตอของปัญหาเจอ เราก็อาจมีวิธีใหม่ๆ ในการชะลอโรคที่เกี่ยวข้องกับความชราทั้งหลาย เช่น มะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสันส์ เป็นต้น ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/1819
โปรตีนในไมโทคอนเดรียเกี่ยวข้องกับการแก่
นักวิทยาศาสตร์สองคน คือ Alan Coley แห่ง Dalhousie University และ Bernard Carr แห่ง Queen Mary University ได้ร่วมกันเสนอทฤษฎีใหม่ว่าหลุมดำบางอันอาจมีมาของมันอยู่แล้วก่อนการเกิดระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang สมมติฐานของพวกเขามาจากข้อสังเกตที่ว่ามักจะมีคลื่นรังสีแกมมาที่ไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน วิ่งกวาดไปทั่วเอกภพเป็นระยะๆ ในทฤษฎีของพวกเขาต้นตอของรังสีแกมมาประหลาดนี้คือหลุมดำขนาดยักษ์ที่กำลังจะตายลงและแยกตัวเองออกเป็นเสี่ยงๆ หลุมดำพวกนี้เรียกว่า "primordial black hole" นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าหลุมดำ primordial black hole ควรจะมีอยู่จริง หลายคนเชื่อว่ามันคือหลุมดำขนาดใหญ่ที่เกิดจากพลังงานของ Big Bang เองเลย แต่ Alan Coley และ Bernard Carr ถอยหลังไปไกลกว่านั้นมาก พวกเขาเชื่อว่าหลุมดำพวกนี้มีอายุมากกว่าเอกภพที่พวกเรารู้จัก และหาก primordial black hole มีอายุมากกว่า Big Bang ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นจุดกำเนิดของเวลาและเอกภพของเรา ก็แสดงว่ามันก็ต้องเกิดจาก Big Crunch ("การหดตัวครั้งใหญ่" -- อีกหนึ่ง...เอ่อ...จินตนาการของนักวิทยาศาสตร์) ที่เกิดก่อนหน้า Big Bang พวกเขาคิดว่าพลังงานของ Big Crunch น่าจะทำให้กาล-อวกาศในบางจุดบิดเบี้ยวจนเกิดเป็นหลุมดำขึ้น หลุมดำบางอันคงดื้อแตกแถวไม่ยอมเข้ามารวม ณ "Singularity" เหมือนกับมวลและพลังงานอื่นๆ แต่ครั้นพอเกิดการระเบิด Big Bang แล้วเอกภพใหม่ถือกำเนิดขึ้นมา หลุมดำนอกคอกที่ไม่ยอมมารวมตั้งแต่แรกก็กลับเข้ามาร่วมอยู่ในเอกภพใหม่อย่างหน้าตาเฉย ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นว่า ถ้าสักวันหนึ่งเราพบหลุมดำ primordial black hole ที่มีอายุมากกว่า Big Bang เข้าจริงๆ มันจะเป็นพยานปากเอกที่ยืนยันว่าเอกภพของเราเคยผ่าน Big Crunch สลับกับ Big Bang มาแล้ว ปัญหาของทฤษฎีนี้มีอยู่แค่ว่ายังไม่มีใครเคยเห็นสิ่งที่เรียกว่า primordial black hole สักคน อย่าว่าแต่เห็นเลย แค่วิธีจะพิสูจน์ว่าหลุมดำดังกล่าวมีอยู่จริง ก็ยังไม่มีใครคิดออก หรือต่อให้มีคนโชคดีเจอหลุมดำ primordial black hole เข้า เราก็ยังไม่รู้ว่าจะแยกแยะหลุมดำ primordial black hole กับหลุมดำธรรมดาที่เกิดจากการ "ตาย" ของดาวยักษ์ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นคนธรรมดาอ่านเรื่องนี้แล้ว ก็ขอให้ลืมๆ มันไปเถอะนะ ปล่อยนักวิทยาศาสตร์...เอ่อ...จินตนาการต่อไปกันเอง บทความของพวกเขาทั้งสองเผยแพร่อยู่ใน arXiv.org ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1820
นักวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีใหม่ "หลุมดำบางอันอาจมีอายุมากกว่า Big Bang"
หนึ่งในพลังงานทางเลือกที่ได้รับความสนใจกันคือเซลล์เชื้อเพลิงที่ต้องการไฮโดรเจนและออกซิเจนโดยมีของเสียเป็นน้ำเท่านั้น ล่าสุดสถานีเติมไฮโดรเจนสถานีแรกก็เปิดบริการในลอส แองเจลลิสแล้ว ข้อดีของเซลล์เชื้อเพลิง นอกจากจะไม่ปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายแล้ว ระยะทางที่วิ่งได้ของรถใช้เซลล์เชื้อเพลิงยังสูงกว่ารถไฟฟ้าถึงเท่าตัว และยังมีความเป็นไปได้ที่จะผลิตเครื่องไฮโดรเจนในบ้านไว้สำหรับการใช้งานระยะใกล้ๆ ประจำวันได้ แม้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงจะไม่ปล่อยคาร์บอน แต่พลังงานที่ใช้ในการผลิตไฮโดรเจนก็ยังต้องหาหนทางที่จะสร้างแหล่งพลังงานสะอาดกันต่อไป เพราะเซลล์เชื้อเพลิงนั้นจะช่วยแก้ปัญหาได้ก็เป็นปัญหามลพิษในเขตเมืองเท่านั้น ที่มา - TechCrunch
https://jusci.net/node/1821
สถานีไฮโดรเจนสำหรับรถเปิดให้บริการที่แรกในสหรัฐฯ แล้ว
โลกของเราคือดาวเคราะห์ที่อยู่ในจุดที่สมดุลพอดี ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์จนหนาวเกินไป และไม่ใกล้จนร้อนสุก แถมเรายังมีก๊าซเรือนกระจก (อย่างพวกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ) กักเก็บความอบอุ่นไว้ให้อีก อาณาเขตที่มีอุณหภูมิพอเหมาะพอเจาะแบบนี้เรียกว่า "habitable zone" นักวิทยาศาสตร์ใช้แนวคิดเรื่อง habitable zone ขีดเส้นในการค้นหาดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตมานานแล้ว แต่ Raymond Pierrehumbert แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก และ Eric Gaidos แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย คิดว่า habitable zone ของบางระบบสุริยะจักรวาลอาจจะขยายอาณาเขตไปได้ไกลกว่าที่เคยคิดมาก หากมีตัวละครหนึ่งเข้ามาอยู่ในฉากด้วย พระเอกตัวนั้น คือ "ก๊าซไฮโดรเจน" นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคิดว่าก๊าซไฮโดรเจนที่มีความหนามากพอจะทำให้หน้าที่เป็นก๊าซเรือนกระจกได้ ในดาวเคราะห์ที่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ของมันมาก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ไอน้ำ, และมีเธนจะแข็งตัวหมด เหลือแต่เพียงไฮโดรเจนที่ยังคงสถานะก๊าซอยู่ จากแบบจำลองที่พวกเขาทำขึ้น หากโลกมีก๊าซไฮโดรเจนคลุมหนากว่าชั้นบรรยากาศที่เรามีสัก 20-30 เท่า แม้จะเอาโลกไปวางไปห่างจากดวงอาทิตย์ในจุดที่ห่างกว่าที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้ถึง 15 เท่า โลกก็จะยังรักษาความอบอุ่นไว้ได้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีแสงอาทิตย์ส่องทะลุไปถึงผิวโลกมากพอที่จะให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้ด้วย นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ยังคงสงสัยอยู่ว่าความคิดนี้จะเป็นประโยชน์ได้มากขนาดไหน ดาวเคราะห์ที่มีขนาดพอๆ กับโลกไม่น่าจะมีแรงดึงดูดกักก๊าซไฮโดรเจนได้มากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศหนาขนาดนั้น ในตอนที่โลกกำเนิดใหม่ๆ ก๊าซไฮโดรเจนได้วิ่งหนีออกไปจนเกือบหมด เพราะว่าก๊าซไฮโดรเจนมันเบามาก ยิ่งไปกว่านั้น การจะหาดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ที่เป็นดวงอาทิตย์ของมันมากๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่ที่นักดาราศาสตร์รู้ว่ามีดาวเคราะห์ขนาดเท่านั้นเท่านี้อยู่ตรงนั้นตรงโน้น ก็ใช้วิธีการสังเกตว่าแสงของดาวฤกษ์ถูกอะไรเคลื่อนผ่านมาบังเป็นรอบๆ หรือไม่ ยิ่งดาวเคราะห์โคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์มาก โอกาสที่มันจะเคลื่อนผ่านหน้ามาบังแสงดาวฤกษ์ก็ยิ่งน้อยลง นี่ยังไม่นับความยุ่งยากในการวิเคราะห์องค์ประกอบของดาวเคราะห์นั้นๆ เลยนะ Raymond Pierrehumbert และ Eric Gaidos คิดว่ามีดาวเคราะห์อย่างน้อยอยู่ดวงหนึ่งที่เข้าเค้า ดาวเคราะห์ดวงนั้นมีชื่อว่า OGLE-05-390Lb โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของมันเป็นระยะทาง 2.6 เท่าของระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ดาวเคราะห์ OGLE-05-390Lb มีมวลมากกว่าโลกประมาณ 6 เท่าซึ่งใหญ่พอที่จะกักก๊าซไฮโดรเจนไว้ได้ ในจุดที่มันอยู่นั้น หากมีบรรยากาศไฮโดรเจนหนาพอ มันก็น่าจะอุ่นขนาดที่จะให้น้ำคงอยู่ในสถานะของเหลวได้ (อย่างที่รู้กันดีว่า น้ำในสถานะของเหลวคือความหวังแรกในการพบสิ่งมีชีวิต) ที่มา - New Scientist
https://jusci.net/node/1822
ไฮโดรเจนอาจทำให้ดาวเคราะห์อุ่นพอที่จะมีสิ่งมีชีวิตได้
รถที่วิ่งได้ด้วยตัวเองนั้นเป็นโครงการที่กูเกิลเปิดเผยมาหลายเดือนแล้วว่ากำลังทำวิจัยอยู่ภายใน แต่ The New York Times ก็เปิดเผยว่ามีกฏหมายสองฉบับที่ได้รับการเสนอเข้าไปยังเมืองเนวาดาเมื่อปีที่แล้วเพื่อให้รถที่ขับเคลื่อนตัวเองเป็นสิ่งถูกกฏหมาย กูเกิลจ้างนักล็อบบี้ชื่อว่า David Goldwater เพื่อผลักดันกฏหมายนี้โดยคาดว่ากฏหมายจะได้รับการโหวตในสภาในเดือนหน้า กฏหมายสองฉบับมีเนื้อหาอนุญาตรถอัตโนมัติหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งเปิดข้อยกเว้นให้การส่งข้อความระหว่างการขับรถ ยังมีประเด็นอีกมากที่ถูกพูดถึงในการอนุญาตรถอัตโนมัติเข้าสู่ท้องถนน โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยและการรับผิดชอบ เช่นหากรถอัตโนมัติเหล่านี้สร้างความเสียหาย โดยเฉพาะหากมีคนบาดเจ็บหรือตาย ผู้ขับขี่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตาม ความหวังสำคัญของรถอัตโนมัตินอกจากความสะดวกของผู้โดยสารแล้ว ยังเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาจราจร, และการประหยัดน้ำมัน เพราะคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณค่าต่างๆ ในการขับขี่ได้อย่างละเอียดกว่ามนุษย์ สามารถจอดรถชิดกัน, ออกตัวได้พร้อมกัน, และขับประชิดได้มากกว่า ที่มา - The New York Times
https://jusci.net/node/1823
กูเกิลกำลังผลักดันกฏหมายอนุญาตให้รถอัตโนมัติวิ่งบนถนน
เห็ดรา (Fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แม้เราจะรู้จักราเพียงประมาณ 10% ของราทั้งหมดบนโลก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่ามันครอบคลุมกลุ่มใหญ่หลักๆ ทั้งหมดของอาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi) แล้ว ใครจะไปรู้ว่าทีมวิจัยที่นำโดย Thomas Richards แห่ง University of Exeter จะค้นพบรากลุ่มใหม่ที่อาจจะประกอบขึ้นเป็นไฟลัมหลักอีกไฟลัมของอาณาจักรเห็ดรา (ไฟลัม, Phylum คือกลุ่มทางอนุกรมวิธานที่ถัดลงมาจากระดับอาณาจักร สำหรับเห็ดราบางทีเราจะเห็นนักวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า ดิวิชั่น, Division แทนไฟลัมเหมือนอย่างในอาณาจักรพืช แม้ว่าปัจจุบันเราจะรู้กันดีแล้วว่ารามีวิวัฒนาการใกล้เคียงสัตว์มากกว่า) พวกเขาได้เก็บตัวอย่างจากแหล่งน้ำจืดต่างๆ รวมถึงบ่อน้ำในมหาวิทยาลัยของพวกเขาเอง จากนั้นก็เอามาสกัดและตรวจสอบลำดับ DNA เทียบกับฐานข้อมูล GenBank พวกเขาเองก็ไม่คาดว่าจะเจอลำดับ DNA สิ่งมีชีวิตแปลกๆ ที่คล้ายกับรา แต่กลับไม่เข้าพวกกับราชนิดใดๆ ที่มนุษย์รู้จักเลย พวกเขาจึงตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตเจ้าของ DNA นี้ว่า "Cryptomycota" ซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า "ราเร้นลับ" นอกจากนี้พวกเขาได้เอาลำดับ DNA แปลกๆ นี้ไปเทียบกับข้อมูลลำดับ DNA ของตัวอย่างที่พบในแหล่งน้ำจืด, แหล่งน้ำเค็ม, และดินจากที่ต่างๆ ทั่วโลก ผลปรากฏว่ามีลำดับ DNA ของ Cryptomycota กระจายอยู่ทั่วแหล่งธรรมชาติต่างๆ เต็มไปหมด ยกเว้นเพียงแต่แหล่งน้ำเค็ม ต่อมา พวกเขาเอาน้ำจากบ่อน้ำในมหาวิทยาลัยมาส่องใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อที่จะดูหน้าตาของราเร้นลับที่ว่า (พวกเขาใช้สีย้อมเรืองแสงที่ติดเฉพาะกับลำดับ DNA ของ cryptomycota ซึ่งพวกเขารู้อยู่แล้ว) พวกเขาก็ต้องแปลกใจหนักเข้าไปอีกเมื่อพบว่าราพวก Cryptomycota ที่พวกเขาเก็บมาไม่มีผนังเซลล์ (cell wall) เลย แถมบางตัวยังมีหางยาวๆ (flagellum) ว่ายน้ำได้อีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ทำให้ราเป็นรา ก็คือ ผนังเซลล์ที่ประกอบด้วยไคติน (chitin) เนื่องจากรากินอาหารโดยการปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารภายนอกแล้วดูดอาหารที่ย่อยแล้วกลับเข้าตัวด้วยการออสโมซิส ผนังเซลล์จะทำหน้าที่ทำให้ราคงรูปอยู่ได้ ไม่เซลล์แตกตายไประหว่างกินอาหาร ราที่ไม่มีผนังเซลล์แต่กำเนิด เช่น Rozella spp. ก็ยังดูดเอาผนังเซลล์ของโฮสต์มาเป็นของมันเอง การพบราที่ไม่มีผนังเซลล์ก็เหมือนการพบมนุษย์ที่ไม่มีกระดูกนั่นแหละ Cryptomycota เป็นราเซลล์เดียว รูปทรงรีๆ มีขนาดประมาณ 3-5 ไมโครเมตร นักวิทยาศาสตร์ยังสงสัยว่าทำไมมันถึงไม่มีผนังเซลล์? อาจเป็นเพราะตัวอย่างที่เก็บมาเป็นเพียง zoospore ก็ได้ (เดาเอาจากที่บางตัวมีหางว่ายน้ำ) โตขึ้นมันอาจจะมีผนังเซลล์ขึ้นภายหลัง แต่ถ้า Cryptomycota ไม่มีผนังเซลล์จริงๆ ก็แสดงว่ามันอาจจะสืบเชื้อสายมาจากราโบราณที่ยังไม่ได้วิวัฒนาการผนังเซลล์ขึ้นมา ราที่ไม่มีผนังเซลล์อาจจะกินอาหารโดยการเอาเยื่อหุ้มเซลล์ไปล้อมรอบก้อนอาหารแล้วย่อยอาหารภายในเซลล์ (Phagocytosis) เพราะหากกินโดยวิธีแบบราทั่วไป ความดันออสโมซิสจะทำให้เซลล์บวมเป่งจนระเบิดได้ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าจะเอา Cryptomycota ไปไว้ตรงไหนดีในอาณาจักรเห็ดรา เนื่องจากการจัดกลุ่มไฟลัมของราจำเป็นจะต้องรู้วงจรการสืบพันธุ์ของมันเสียก่อน เรารู้แค่ว่ามันเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ บางทีอาจจะมากเท่ากับราทั้งหมดที่เราเคยรู้จักก่อนหน้านี้ มากพอที่จะตั้งเป็นไฟลัมใหม่หรืออะไรที่ใหญ่กว่านั้นก็ได้ ซึ่งนั่นก็แปลว่าตลอดเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมานี้ เรารู้ความจริงเกี่ยวกับเห็ดราแค่เพียงครึ่งเดียวหรือซีกเดียวเท่านั้น ที่มา - Nature News, Ars Technica, NPR, Live Science, PhysOrg, Popular Science
https://jusci.net/node/1824
Cryptomycota ไฟลัมใหม่อาจปรากฏขึ้นในอาณาจักรเห็ดรา
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Vanderbilt ได้ค้นพบสารใหม่ที่จะพลิกโฉมหน้าวงการอุตสาหกรรมยาไล่แมลงในอนาคต การค้นพบนี้อาศัยพื้นฐานจากความรู้ใหม่เกี่ยวกับการดมกลิ่นของแมลง เดิมทีนักวิทยาศาสตร์คิดกันเอาเองว่ากลไกการดมกลิ่นของแมลงไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากนัก เมื่อมีสารมากระตุ้นตัวรับกลิ่น (odorant receptors, OR) ที่อยู่บนหนวดของแมลง เซลล์ประสาทก็จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปแปลผลที่สมอง แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าตัวรับกลิ่นของแมลงไม่ได้ทำงานเดี่ยวๆ มันจะจับกับสารอีกกลุ่มที่เรียกว่า Orco (olfactory receptor coreceptor) ทีมนักวิจัยมองว่า Orco ทำหน้าที่คล้ายกับตัวปรับให้ OR รับสัญญาณกลิ่นที่เฉพาะ เมื่อคู่ประกอบ OR-Orco หนึ่งทำงาน คู่อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันก็จะปิดลง ทำให้แมลงรับสัญญาณได้เจาะจงและละเอียดอ่อน พวกเขาคิดว่าหากเราปรับให้คู่ประกอบ OR-Orco ทั้งหมดเปิดทำงานในคราวเดียว สมองแมลงก็จะมึนตึ้บกับสัญญาณที่ส่งมาจนแมลงหาทิศหาทางไปต่อไม่ถูก หลังจากการทดลองกับโมเลกุลตัวยากว่า 118,000 ชนิด พวกเขาพบว่ามีสารเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่กระตุ้นคู่ประกอบ OR-Orco ได้ สารนั้นมีชื่อว่า VUAA1 จากการทดลองขั้นต้นกับยุง VUAA1 มีประสิทธิภาพดีกว่า DEET (สารออกฤทธิ์หลักของยาไล่แมลงส่วนใหญ่ในปัจจุบัน) ถึง 1,000 เท่า เป็นไปได้ว่าในอนาคต เราจะพบสารที่ออกฤทธิ์เหมือนกับ VUAA1 อีก หากทำสำเร็จในเชิงพาณิชย์ เราก็จะมีอาวุธใหม่ในการต่อสู้กับกองทัพแมลงอันร้ายกาจโดยเฉพาะพวกที่เป็นพาหะนำโรคทั้งหลาย ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1825
ยาไล่แมลงในอนาคตอาจดีกว่าเดิม 1,000 เท่า
ลายนิ้วมือมักเป็นส่วนหนึ่งของหนังอาชญากรรมสืบสวนสอบสวน อยู่เสมอ ๆ (แต่ในเรื่องโคนันกลับไม่ค่อยพูดถึงแฮะ) ในหนังเราจะเห็นเขาใช้คอมพิวเตอร์เปรียบเทียบ แล้วก็ โป๊ะเชะ-จับกุมคนร้าย-ปิดคดี แต่ความจริงมันไม่เป็นเช่นนั้น งานเปรียบเทียบลายนิ้วมือนั้นใช้คน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เราเรียนรู้จากผลวิจัยด้านจิตวิทยาหลาย ๆ ชิ้นว่า ทุกคนเป็นปุถุชนเหมือนกันหมด สามารถที่จะไขว้เขว ตัดสินอะไรเร็วเกินไป มีอคติได้กันทั้งนั้น ดังนั้นความผิดพลาดจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เกิดขึ้นได้ แล้วกับนักพิสูจน์ลายนิ้วมือล่ะ พวกเขาทำผิดพลาดบ่อยแค่ไหนกัน คุณ Jason Tangen และเพื่อน ๆ แห่งมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ได้ทดสอบระดับความผิดพลาดของมนุษย์ เกี่ยวกับเรื่องการพิสูจน์ลายนิ้วมือขึ้น โดยหาอาสาสมัครที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มา 37 คน และคนที่ไม่เคยทำงานด้านนี้มาอีก 37 คน แล้วให้มาจับคู่ลายนิ้วมือที่เป็นของอาชญากร และที่คล้าย ๆ กัน แต่เป็นของผู้บริสิทธิ์ ผลปรากฎว่า ผู้เชี่ยวชาญสามารถจับคู่ลายนิ้วมือของอาชญกรได้ถูกต้องถึง 92% แต่ความผิดพลาดที่ไปจับคู่ลายนิ้วมืออาชญากรกับผู้บริสุทธิ์นั้น มีเพียง 0.68% เท่านั้น สาเหตุที่เปอร์เซนต์ความผิดพลาดเป็นเช่นนี้ เพราะการปล่อยคนกระทำผิดหลุดรอดไปบ้าง จะรู้สึกผิดน้อยกว่าการจับกุมผู้บริสุทธิ์นั่นเอง (ถึงจะรอดตัวจากงานนี้ไป แต่ถ้ามีหลักฐานอื่นมัดตัว ก็ยังต้องถูกจับ ต้องรับโทษอยู่ดีนั่นแหละ) งานวิจัยชั้นนี้จะถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Psychological Science ฉบับหน้าครับ ที่มา: APS
https://jusci.net/node/1826
นักพิสูจน์ลายนิ้วมือเลือกที่จะปล่อยคนร้ายแทนที่จะจับผู้กุมบริสุทธิ์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแท็กซัส, นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Brookhaven และ QuantaChrome Instruments ได้ค้นพบการเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถของตัวเก็บประจุยิ่งยวด (supercapacitors) ด้วยบนพื้นฐานของกราฟีน (activated graphene)* อย่างไรก็ตาม ตัวเก็บประจุยิ่งยวด จริงๆ แล้ว ได้ใช้แพร่หลายมาช่วงนึงแล้วในจำพวกแบตเตอรี่ในมือถือ แต่มันยังมีข้อจำกัดในการให้พลังงานที่ระดับที่ต่ำอยู่ ในการวิจัยนี้ค้นพบว่า วัสดุที่เต็มไปด้วยรูพุนเล็กๆ ระดับนาโนเมตร ซึ่งคดโค้งงอไปมาทักถอเป็นโครงข่ายสามมิติที่มีผนังคั่นด้วยอะตอมเดียว (single-atom-thick walls) สามารถเพิ่มความจุประจุและการเก็บพลังงานที่ดีขึ้นโดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 4 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเก็บประจุยิ่งยวดแบบเดิม ความสามารถเพิ่มเติม คือ ชาร์ตเร็วขึ้น, ให้พลังงานได้เร็วขึ้น, อายุการใช้งานนานขึ้น อีกหน่อยโน้ตบุ๊คเครื่องนึงคงนั่งร้านกาแฟได้เป็นวันๆ โดยไม่ต้องพึ่งปลั๊กไฟ ! ที่มา - nanotechweb.org, azonano.com, sciencedaily.com *activated graphene คือ กราฟีนที่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี
https://jusci.net/node/1827
แบตอึดขึ้นด้วยกราฟีน
เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม งานประกวด Intel International Science and Engineering Fair ประจำปี 2011 ได้ประกาศผลรางวัลสำหรับโครงงานวิทยาศาสตร์เรียบร้อยแล้ว (เข้าใจเลือกวันด้วยนะ "ศุกร์ 13" พอดี) รางวัลสูงสุด "Gordon E. Moore Award" มูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐฯ ตกเป็นของ Matthew Feddersen อายุ 17 ปี และ Blake Marggraff อายุ 18 ปี สองนักเรียนไฮสคูลจากแคลิฟอร์เนีย ผู้ซึ่งคิดค้นวิธีใหม่ในการฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยรังสีเอ๊กซ์ โดยการฉีดอนุภาคดีบุกเข้าไปในเซลล์ซึ่งดีบุกจะช่วยเปล่งรังสีออกมาฆ่าเซลล์ได้มากขึ้น รางวัล Intel’s Young Scientist Award มูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ มีสองรางวัล อันแรกเป็นของสามนักเรียนไทย ได้แก่ นายพรวสุ พงศ์ธีระวรรณ อายุ 16 ปี, นางสาวธัญพิชชา พงศ์ชัยไพบูลย์ อายุ 17 ปี, และนางสาวอารดา สังขนิตย์ อายุ 17 ปี จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี ที่ร่วมกันคิดค้นหาวิธีทำพลาสติกจากเกล็ดปลา พลาสติกชีวภาพที่ได้สามารถย่อยสลายได้ในเวลาเพียง 21 วัน ไม่สร้างผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม แม้ว่าตอนนี้กล่องพลาสติกของน้องๆ จะยังไม่พร้อมเอาเข้าเตาไมโครเวฟ แต่ต่อไปก็ไม่แน่ (โครงงานนี้ยังไปเก็บ 1 เหรียญทองและรางวัลพิเศษ NAC Environmental-Friendly Technology Award จากงาน The 4th International Sustainable World (Energy, Engineering, and Environment) Project Olympiad (I-SWEEEP) 2011 มาด้วย) อันที่สองเป็นของ Taylor Wilson อายุ 17 ปีจากรัฐเนวาดา ที่ประดิษฐ์เครื่องตรวจจับสารกัมมันตภาพรังสีโดยอาศัยหลักการยิงนิวตรอนที่ได้จากดิวทีเรียมเข้าไปยังวัตถุต้องสงสัยแล้วตรวจสอบรังสีที่แผ่ออกมา โครงงานนี้ได้รับงบสนับสนุนจาก U.S. Department of Homeland Security รางวัล Dudley R. Herschbach SIYSS Award ผู้ชนะจะได้เดินทางไปที่กรุงสต็อคโฮล์มเพื่อร่วมงาน Stockholm International Youth Science Seminar และพิธีมอบรางวัลโนเบล ค่าใช้จ่ายทุกอย่าง Intel ออกให้หมด รางวัลนี้มีสองรางวัลเช่นกัน โครงงานดักจับหยดน้ำในอากาศด้วยใยแมงมุมเทียม เป็นผลงานของนักเรียนชาวเกาหลีใต้ Jinyoung Seo อายุ 18 ปี, และ Dongju Shin อายุ 18 ปี โครงงานศึกษาพฤติกรรมความก้าวร้าวในแมลงวันผลไม้เพศผู้ ของ Andrew Kim อายุ 18 ปี จากรัฐจอร์เจีย รางวัล European Union Contest for Young Scientists ผู้ชนะจะได้ไปเข้าร่วมงานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของสหภาพยุโรป ซึ่งครั้งที่จะถึงนี้จัดที่กรุงเฮลซิงกิ รางวัลนี้มีผู้ชนะสามคน ได้แก่ Lai Xue อายุ 18 ปีจากประเทศจีน สำหรับโครงงานพัฒนาระบบ augmented reality Erica Portnoy อายุ 17 ปีจากรัฐนิวยอร์ก สำหรับโครงงานศึกษาการติดเชื้อแบคทีเรียในเซลล์มนุษย์ Jane Cox อายุ 16 ปีจากรัฐยูทาห์ สำหรับโครงงานการแยกแยะหินอุกกาบาตจากหินทั่วไป รางวัล Best of Category มอบให้โครงงานที่กรรมการลงความเห็นว่ายอดเยี่ยมที่สุดในแต่ละสาขา รวมทั้งสิ้น 17 สาขา นักเรียนผู้ชนะในแต่ละสาขาจะได้เงินรางวัล 5,000 เหรียญสหรัฐฯ โรงเรียนได้ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ และงานประกวดที่ส่งโครงงานผ่านคัดเลือกเข้ามาจะได้รับ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ รางวัล Grand Award แจกให้สำหรับโครงงานของแต่ละสาขาทั้ง 17 สาขาเช่นกัน รางวัลที่หนึ่ง, สอง, สาม, และสี่ก็จะได้รับเงินรางวัลลดหลั่นกันลงไปตั้งแต่ 3,000 จนถึง 500 เหรียญสหรัฐฯ ชื่อของนักเรียนที่ได้รางวัลที่หนึ่งและสองของแต่ละสาขาจะได้รับเกียรติตั้งเป็นชื่อของดาวเคราะห์น้อยอีกด้วย (ในหมวดรางวัล Grand Award นี้ยังมีผลงานของเด็กไทยอีกหนึ่งชิ้น คือ รางวัลที่ 4 สาขาวัสดุศาสตร์ - โครงงานศึกษา "ผลของฟิล์มมิวซิเลจจากเมล็ดแมงลักต่ออการยืดอายุการเก็บรักษาชมพู่หลังการเก็บเกี่ยว" โดย นายธนทรัพย์ ก้อนมณี, นางสาววรดา จันทร์มุข, และ นายศาสตรา พรหมอารักษ์ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เพชรบุรี) ที่มา - Science News, ไทยรัฐ
https://jusci.net/node/1828
Intel ISEF 2011 ประกาศผลรางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์
เวลาที่ฟังนักการเมืองให้สัมภาษณ์หรือตอบคำถามในสภาฯ คุณเคยรู้สึกสับสนบ้างหรือไม่ว่า "เอ๊ะ! ท่าน ส.ส. ตอบไม่ตรงคำถามหรือคนถามถามไม่ตรงคำตอบท่านกันแน่" งานวิจัยล่าสุดได้เผยวิธีการเลี่ยงตอบคำถามที่นักการเมืองนิยมใช้ ซึ่งง่ายๆ เลยก็คือการตอบคำถามด้วยคำตอบที่ดูเหมือนจะใกล้เคียงกับเรื่องนั้น ทีมนักวิจัยแห่ง Analyst Institute ได้ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครมานั่งฟังคลิปโต้วาทีของนักการเมือง โดยนักวิจัยบอกกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกว่านี่คือนักการเมืองที่กำลังตอบคำถามเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพ และบอกกับกลุ่มที่สองว่าคำถามเป็นเรื่องสงครามยาเสพย์ติด นักการเมืองในคลิปตอบคำถามด้วยคำตอบบทเดียวกันคือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องระบบประกันสุขภาพ ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างรู้สึกพอใจกับคำตอบที่ได้รับ โดยไม่เกี่ยวว่าคำตอบของนักการเมืองจะตรงกับคำถามหรือไม่ แถมกลุ่มตัวอย่างที่ได้ยินคำถามเกี่ยวกับสงครามยาเสพย์ติดในตอนแรกส่วนใหญ่ยังจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่านักการเมืองคนนี้กำลังตอบคำถามเรื่องอะไรอยู่ มีเพียง 39% เท่านั้นที่จำได้ นักวิจัยจึงลองเปลี่ยนคำถามดู โดยหลอกให้กลุ่มตัวอย่างคิดว่านักการเมืองกำลังโต้กันเรื่องสงครามกับผู้ก่อการร้าย และเอาคลิปอันเดิมที่นักการเมืองเจื้อยแจ้วเรื่องระบบประกันสุขภาพให้ฟัง ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จับได้ว่านักการเมืองกำลังเลี่ยงคำถาม และรู้สึกเหม็นขี้หน้านักการเมืองคนนั้นขึ้นมาทันทีทันควัน การทดลองอีกอัน นักวิจัยใช้คำถามและคำตอบชุดเดิมกับการทดลองแรก คือ คำถามเรื่องเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพหรือสงครามยาเสพย์ติด, และคำตอบเรื่องระบบประกันสุขภาพ แต่คราวนี้ข้างใต้จอภาพมีข้อความระบุถึงคำถามในตอนแรกไว้ด้วย ผลกลับกลายเป็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้สึกถึงการเลี่ยงคำถามของนักการเมืองได้แทบจะในทันที หากคำตอบที่ได้รับไม่ตรงกับคำถาม นักวิจัยคิดว่าผลลักษณะนี้คงเป็นธรรมชาติของการแปลผลของสมองมนุษย์ ในขณะที่เราฟังนักการเมืองตอบคำถาม เราจะแบ่งความคิดส่วนหนึ่งไปประเมินว่านักการเมืองคนนี้มีท่าทางน่าเชื่อถือหรือไม่ หากนักการเมืองเลี่ยงคำถามโดยการยกประเด็นที่ใกล้เคียงกันขึ้นมาตอบ สมองเราก็จะตามไม่ทัน ยิ่งถ้าเป็นนักการเมืองที่มากประสบการณ์ในเรื่องนี้ด้วยแล้ว การพูดที่ไหลลื่นและท่าทางที่น่าเลื่อมใสก็ยิ่งทำให้เราเคลิ้มหนักขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม อาสาสมัคร 333 คนที่เข้าร่วมในการทดลองนี้เป็นผู้หญิงถึงกว่า 70% ดังนั้นมันก็ยังไม่แน่ว่าเพศและวุฒิภาวะของผู้ฟังมีผลในเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ที่มา - Live Science, Discovery News
https://jusci.net/node/1829
งานวิจัยเผยวิธีการตอบคำถามแบบนักการเมือง
วันที่ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 8:56 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเวลาประเทศไทยประมาณสองทุ่ม) กระสวยอวกาศ Endeavour ได้ทะยานออกจากฐานปล่อย 39A ของ Kennedy Space Center ใน Cape Canaveral รัฐฟลอริดา เรียบร้อยแล้ว Endeavour เป็นกระสวยอวกาศที่มีอายุน้อยสุดของ NASA ภารกิจครั้งนี้ (STS-134) คือการนำ Alpha Magnetic Spectrometer-2 ขึ้นไปติดตั้ง, ขนส่งอุปกรณ์อะไหล่, และเอาแขนหุ่นยนต์ไปติดตั้งที่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS ตอนแรกภารกิจนี้ถูกกำหนดไว้ให้เริ่มเดินทางวันที่ 29 เมษายน 2011 แต่ด้วยปัญหาเทคนิคบางประการทำให้ต้องเลื่อนมา ซึ่งการเลื่อนของ Endeavour ก็ส่งผลให้ภารกิจของ Atlantis ต้องเลื่อนออกจากเดิม 28 มิถุนายน 2011 ไปเป็นเดือนกรกฎาคมด้วย (วันที่ยังไม่ได้กำหนด) จากการคาดการณ์ของสื่อมวลชน คนที่มามุงดูการปล่อยกระสวยอวกาศ Endeavour มีมากกว่าตอน Discovery เสียอีก ประเมินกันว่าอย่างต่ำ 50,000 คน ภารกิจนี้เป็นภารกิจสุดท้ายของ Endeavour และเป็นภารกิจรองสุดท้ายของโครงการกระสวยอวกาศของ NASA ซึ่งดำเนินมายาวนานถึง 30 ปี หลังจากนี้ไปก็คงต้องคอยดูว่าบริษัทเอกชนจะนำความเฟื่องฟูมาสู่ยุคแห่งการเดินทางอวกาศเชิงพาณิชย์ได้เมื่อไร ที่มา - Scientific American, Discovery News, The Register, Live Science, PhysOrg
https://jusci.net/node/1830
กระสวยอวกาศ Endeavour ขึ้นบินรอบสุดท้าย
ทีมวิจัยที่นำโดย Ken Smith แห่ง Monterey Bay Aquarium Research Institute ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยใน Deep Sea Research Part II ว่าน้ำทะเลรอบๆ ก้อนน้ำแข็ง (iceberg) ที่ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นแหล่งอาหารชั้นดีสำหรับแพลงก์ตอนพืชในบริเวณนั้น เหตุผลที่ทำให้แพลงก์ตอนพืชในทะเลชอบน้ำที่ละลายจากก้อนน้ำแข็งก็เป็นเพราะว่าก้อนน้ำแข็งพวกนี้มีกำเนิดมาจากธารน้ำแข็งบนแผ่นดินทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อก้อนน้ำแข็งหลุดออกมาจากธารน้ำแข็ง มันก็พาเอาแร่ธาตุต่างๆ ติดตัวมาด้วย หนึ่งในแร่ธาตุสำคัญ คือ ธาตุเหล็ก ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชในทะเล การที่แพลงก์ตอนพืชเจริญเติบโตได้ดีทำให้อัตราการดักจับคาร์บอนมากขึ้นด้วย นักวิจัยพบว่าในบริเวณรอบก้อนน้ำแข็งมีการดักจับคาร์บอนเยอะว่าบริเวณใกล้เคียงถึง 2 เท่า ยิ่งอุณหภูมิโลกสูงขึ้น แร่ธาตุก็ละลายลงทะเลมากขึ้น ในขณะเดียวกันแพลงก์ตอนพืชก็ช่วยตรึงคาร์บอน ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะขึ้นไปก่อภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ หากจะมองว่านี่คือระบบรักษาสมดุลอีกอย่างของโลกก็ได้ แต่เป็นระบบที่เปราะบางและเสี่ยงเหลือเกิน ทุกหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรของน้ำแข็งที่ละลายหมายถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลกและการลดลงของพื้นผิวน้ำแข็งที่ช่วยสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกไป ที่มา - Science News
https://jusci.net/node/1831
การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกช่วยเพิ่มปุ๋ยลงทะเล
โครงการ Solar Impulse เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทำภารกิจบินรอบโลกโดยไม่ใช้พลังงานอื่นนอกจากพลังงานแสงอาทิตย์ แม้ภารกิจสูงสุดจะยังห่างไกล แต่ภารกิจระยะใกล้คือการบินข้ามประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไปยังเบลเยียมก็สำเร็จไปแล้วด้วยระยะทาง 630 กิโลเมตร และระยะเวลาบิน 13 ชั่วโมง เครื่องบินที่ใช้บินในภารกิจนี้คือเครื่อง HB-SIA ที่มีความสามารถในการบินต่อเนืองได้ 26 ชั่วโมงโดยมีผู้โดยสารไปด้วยหนึ่งคน โดยปัจจุบันเครื่อง HB-SIA ยังทำความเร็วไม่ได้มากนักเพียง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่เป้าหมายหลักในการออกแบบคือให้เครื่องสามารถบินได้เกิน 24 ชั่วโมงเพื่อจะสามารถรอรับแสงแดดในวันใหม่เพื่อชาร์จพลังงานได้ ทีมงาน Solar Impulse วางแผนบินข้ามประเทศอีกครั้งปลายปีนี้ โดยระหว่างนี้กำลังสร้างเครื่อง HB-SIB กันอยู่โดยมีความสามารถเพิ่มขึ้นคือห้องโดยสารปรับความดันและเพดานบินที่สูงขึ้นให้เหมาะกับการบินข้ามมหาสมุทร โครงการ Solar Impulse เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์ ได้เงินสนับสนุนหลักจาก Deutsche Bank, Schnidler, Omega SA and Solvay และเงินบริจาคตลอดจนการสนับสนุนจากบริษัทอื่นๆ อีกจำนวนมาก วิดีโอการลงจอดที่เบลเยียมอยู่ท้ายข่าว ที่มา - Solar Impulse
https://jusci.net/node/1832
โครงการ Solar Impulse ส่งเครื่องบินข้ามประเทศได้สำเร็จ
นักวิทยาศาสตร์สงสัยกันมานานนมแล้วว่าทำไมแมงมุมทารันทูลาถึงเดินไต่พื้นผิวในแนวตั้งได้โดยไม่ตกลงมาง่ายๆ ทั้งที่รูปร่างและน้ำหนักของมันก็ไม่อำนวยนัก ในปี 2006 เคยมีคนเสนอว่าแมงมุมทารันทูลาปล่อยใยออกมาจากเท้าเพื่อยึดกับผนัง แต่ทฤษฎีนั้นก็ถูกตีตกไปเพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน ทีมวิจัยที่นำโดย Claire Rind แห่งมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้ขุดเรื่องนี้ขึ้นมาศึกษาอีกครั้ง พวกเขาได้นำแมงมุมทารันทูลามาเกาะไว้บนแผ่นกระจกเรียบ จากนั้นก็เขย่าแผ่นกระจกเล็กน้อยพอเป็นพิธีให้แมงมุมตกใจ พวกเขาสังเกตเห็นว่าแมงมุมทารันทูลาทำท่าเหมือนจะร่วงตกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แต่สักแปบก็เอาขายึดกระจกเอาไว้ได้อย่างมั่นคง พอพวกเขาเอาแผ่นกระจกมาส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์ จึงได้เห็นว่าตรงตำแหน่งที่แมงมุมทารันทูลาเคยอยู่นั้นมีรอยใยแมงมุมขนาดเล็กติดอยู่ เมื่อเอาตำแหน่งนี้ไปเทียบกับภาพในวิดีโอที่อัดไว้ก็พบว่าเป็นตำแหน่งของขาแมงมุมแน่นอน ไม่ใช่ใยที่มาจากอวัยวะชักใย (spinneret) ที่อยู่ตรงปลายท้อง และแมงมุมทารันทูลาก็สร้างใยออกมาจากขาเฉพาะเมื่อมันกำลังจะตกเท่านั้นด้วย จากการตรวจสอบคราบของแมงมุมทารันทูลา นักวิจัยพบว่าปล้องฝ่าเท้า (tarsi) ของแมงมุมทารันทูลามีท่อปล่อยใย (spigot) อยู่ ไม่ใช่แต่ในสปีชีส์ที่พวกเขาทดลองเท่านั้น ท่อปล่อยใยตรงเท้านี้ยังปรากฏอยู่ในแมงมุมทารันทูลาอีกหลายชนิดที่ไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกัน ทำให้พวกเขาเชื่อว่าแมงมุมทารันทูลาส่วนใหญ่หรือไม่ก็ทั้งหมดสามารถปล่อยใยจากขาได้ การเรียงตัวของ spigot บนฝ่าเท้าของแมงมุมทารันทูลาคล้ายกับที่ปล้องท้องของ Attercopus ซึ่งเป็นแมงมุมโบราณตัวแรกที่ปล่อยใยได้ แต่ลักษณะรูปร่าง spigot ของแมงมุมทารันทูลากลับคล้ายขนรับสัมผัสที่มีอยู่ทั่วตัวมากกว่า ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า spigot ที่ขาคือร่องรอยของวิวัฒนาการที่หลงเหลือจากบรรพบุรุษในอดีตนั่นเอง ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/1833
แมงมุมทารันทูลาปล่อยใยออกจากเท้าได้
ไม่ว่าใครก็อยากจะมีความสุขในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น แต่กลับมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในนิตยสาร Perspectives on Psychological Science บอกว่า ความสุขก็มีข้อเสียเหมือนกัน จากงานวิจัยของคุณ June Gruber แห่งมหาวิทยาลัยเยล คุณ Iris Mauss แห่งมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ และคุณ Maya Tamir แห่งมหาวิทยาลัยฮิบริวเมืองเยรูซาเลม บอกว่า คนที่ได้อ่านบทความยกย่องสรรเสริญความสุขตามหนังสือพิมพ์ แล้วไปดูหนังสนุก ๆ กลับมาจะไม่มีความสุขเท่ากับคนที่ไม่ได้อ่านบทความนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนกลุ่มแรกหวังว่า หนังจะทำให้ความสุขของเขาเพิ่มขึ้น แต่พอไม่เพิ่มขึ้นมากเท่ากับที่ตัวเองคิดไว้ในตอนแรก ก็รู้สึกผิดหวัง คนที่อ่านหนังสือที่บอกวิธีเพิ่มความสุขก็เช่นเดียวกัน เมื่อไหร่ที่เขาตั้งเป้าหมาย หรือพยายามให้เกิดความสุข มันจะทำให้ไม่มีความสุขเท่าที่คิด นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในช่วงปี ค.ศ. 1920 นักวิจัยพบว่า คนที่เสียชีวิตในช่วงวัยรุ่น มักจะเป็นคนที่ครูอาจารย์ชื่นชม และสนับสนุนเป็นอย่างดี คนเหล่านี้จะกล้าเสี่ยงมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะคนที่มีอาการอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)* ในช่วงมาเนียจะทำให้เป็นคนที่ชอบทำอะไรเสี่ยง ๆ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่คิดหน้าคิดหลังมากขึ้นไปอีก ในบางช่วงเวลา การรู้สึกมีความสุขจะถูกมองว่าไม่รู้จักกาละเทศะได้ เช่น เพื่อนกำลังร้องไห้เสียใจที่โดนแฟนทิ้ง หรือเพื่อนประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น ในอีกด้านหนึ่ง ความรู้สึกด้านลบก็ไม่ได้แย่เสมอไป เป็นต้นว่า ความกลัว ทำให้เราไม่ต้องเสี่ยงกับอะไรที่ไม่จำเป็น หรือ ความรู้สึกผิด ทำให้เราพยายามที่จะทำดีกับคนรอบข้างอยู่เสมอ ๆ ตามจริงแล้ว นักจิตวิทยารู้ว่าอะไรที่ทำให้คนเรามีความสุข สิ่งนั้นไม่ใช่ชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง แต่เป็นความรู้สึกมีความหมายต่อคนในสังคม ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วยต่างหาก ดังนั้น ถ้าอยากจะมีความสุขในชีวิตก็ให้เลิกคิดว่าจะทำยังไงถึงจะมีความสุข แล้วหันมาใส่ใจกับความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง ใจจดจ่อกับสิ่งที่กำลังสนใจ แล้วปล่อยให้สิ่งที่เหลือเข้ามาในชีวิตเอง แล้วคุณจะมีความสุข แต่อย่าลืมว่า "อย่าตั้งความหวัง" ที่มา: APS *อาการของโรคอารมณ์สองขั้ว คือ ณ ช่วงหนึ่งจะมีอาการซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย ชีวิตสิ้นหวัง ห่อเหี่ยว แต่ในอีกช่วงเวลาหนึ่งกลับคึกคัก มีความสุข มองโลกในแง่ดี อยากทำโน่นทำนี่ และมองว่าจะประสบความสำเร็จไปเสียหมด
https://jusci.net/node/1834
ความสุขก็มีข้อเสีย
สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ชื่อดังแห่งยุค ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Guardian เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2011 ที่ผ่านมา คำตอบของเขาโดยเฉพาะมุมมองเกี่ยวกับความเชื่อศาสนาและความตายดูเหมือนจะจุดชนวนสงครามแห่งศรัทธากันอีกครั้ง ในบทสัมภาษณ์ เขายังคงเน้นย้ำถึงแนวคิดเดิมที่เขาได้เขียนลงในหนังสือ "Grand Design" ว่าจักรวาลกำเนิดขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพระเจ้ามาสร้างให้ และเมื่อถูกถามถึงเกี่ยวกับเรื่องความตาย (ในปี 2009 สตีเฟน ฮอว์คิง ล้มป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล) เขาก็ตอบว่า "ผมไม่กลัวความตาย แต่ก็ไม่รีบร้อนที่จะตาย" I'm not afraid of death, but I'm in no hurry to die. สตีเฟน ฮอว์คิง เปรียบว่าสมองมนุษย์เหมือนคอมพิวเตอร์ เมื่อองค์ประกอบล้มเหลวลง สมองก็หยุดทำงาน ในเมื่อไม่มีสวรรค์หรือชีวิตหลังความตายสำหรับคอมพิวเตอร์เสียๆ ดังนั้นเรื่องพวกนั้นมันก็แค่นิทานเพ้อฝันของคนที่กลัวความมืด I regard the brain as a computer which will stop working when its components fail. There is no heaven or afterlife for broken down computers; that is a fairy story for people afraid of the dark. ในปี 2010 ที่เขาและ Leonard Mlodinow แห่ง Caltech ตีพิมพ์หนังสือ Grand Design นั้น ผู้ที่ศรัทธาในศาสนาหลายคนก็ดิ้นเร่าๆ ออกมาโจมตีสตีเฟน ฮอว์คิง ขนานใหญ่ไปรอบหนึ่งแล้ว บทสัมภาษณ์รอบนี้แสดงให้เห็นว่าเขาไม่เข็ดและก็ไม่กลัวด้วย ที่มา - The Guardian
https://jusci.net/node/1835
สตีเฟน ฮอว์คิง บอก "สวรรค์ไม่มีจริง, เป็นแค่นิทานเพ้อฝัน"
ผมเดาว่าหลายคนคงได้ยินข่าวแว่วๆ เกี่ยวกับวาระสุดท้ายของมวลมนุษยชาติที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 21 พฤษภาคม 2011 มาบ้างแล้ว แต่คงยังไม่ทราบว่าต้นตอของคำทำนายมาจากที่ไหน คำทำนายนี้เป็นของ Harold Camping พิธีกรรายการวิทยุ Family Radio ใน Oakland เขาอ้างว่า เมื่อพระเยซูถูกตรึงบนกางเขนในวันที่ 1 เมษายน คศ. 33 นั้น (วันตรึงกางเขนนี้ Harold Camping ก็คิดขึ้นเอาเอง) พระคัมภีร์ไบเบิลได้ระบุไว้ว่าพระบุตรจะกลับมายังโลกอีกครั้งเพื่อพิพากษามวลมนุษย์เป็นครั้งสุดท้าย ตามการคำนวณแบบ Harold Camping วันแห่งการพิพากษา (Judgment Day) ก็คือ วันที่ 21 พฤษภาคม 2011 เขายังบอกต่อไปอีกว่าการพิพากษาจะดำเนินต่อเนื่องไปยาวนานกว่า 6 เดือน คริสตชนผู้ยึดมั่นในศรัทธาจะได้ขึ้นสวรรค์ไปอยู่กับพระเจ้า ส่วนพวกคนบาปนอกรีตก็จะโดนกำจัดเหี้ยน สูตรการคำนวณของ Harold Camping มีว่า "เลข 5 หมายถึงการไถ่โทษ, เลข 10 หมายถึงความครบถ้วน, และเลข 17 หมายถึงสวรรค์" เมื่อเอาเลขทั้งสามมาคูณกันและยกกำลังสองจะได้ 722,500 ดังนั้นเมื่อนับจากวันที่ 1 เมษายน คศ. 33 ไปอีก 722,500 วัน ก็จะตกวันที่ 21 พฤษภาคม คศ. 2011 พอดี ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ข่าวนี้คงมาถึงเมืองไทยผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหลาย เพราะ Harold Camping ลงทุนเผยแพร่คำทำนายนี้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ, ป้ายบิลบอร์ด, อินเตอร์เน็ต ฯลฯ แล้วก็ดันมีคนบ้าจี้พอที่จะเชื่อและกระจายข่าวต่อด้วย ก่อนหน้านี้ Harold Camping เคยทำนายไว้ว่าวันพิากษาคือวันที่ 6 กันยายน คศ. 1994 ซึ่งการที่ผมยังมาเขียนข่าวให้คุณอ่านในวันนี้ได้ก็พิสูจน์แล้วว่ามันมั่ว ถ้ายังจำกันได้เราเคยมีข่าวถึงวิทยาศาสตร์ขยะมาแล้วรอบหนึ่ง ดังนั้นคราวนี้ผมคิดว่าเราก็ควรเรียกการคำนวณของ Harold Camping ว่า "คณิตศาสตร์ขยะ" ถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่มา - Live Science, Life's Little Mysteries
https://jusci.net/node/1836
เบื้องหลังคำทำนาย "21 พฤษภาคม 2011 วันสิ้นโลก"
ภารกิจเที่ยวสุดท้ายของกระสวยอวกาศ Endeavour นั้นไม่ได้มีแต่เพียงนักบินที่เป็นมนุษย์โดยสารไปเท่านั้น ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่นักวิทยาศาสตร์จับยัดใส่ขึ้นไปเพื่อทำการทดลองบนอวกาศด้วย โครงการ BIOKIS ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Italian Space Agency (Agenzia Spaziale Italiana) วางแผนที่จะทำการศึกษาผลกระทบของการเดินทางในอวกาศต่อสิ่งมีชีวิต 7+1 ชนิด ได้แก่ tardigrade หรือที่เรียกกันว่า "water bear" เรารู้กันอยู่แล้วว่า tardigrade สามารถมีชีวิตรอดได้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 100 องศาเซลเซียส, เกือบศูนย์องศาสัมบูรณ์, หรือแม้แต่ในที่ที่ไม่มีน้ำเลย นักวิทยาศาสตร์อยากรู้ว่าสัตว์ที่ทรหดอดทนอย่าง tardigrade จะใช้ชีวิตในอวกาศได้หรือไม่ และถ้ามันเจริญเติบโตในอวกาศได้ มันทำได้อย่างไร Deinococcus radiodurans แบคทีเรียที่ทนกัมมันตรังสีได้ถึง 15,000 Gray (อ่าน อธิบายหน่วยที่เกี่ยวกับการวัดกัมมันตรังสี) หากใครที่ไม่รู้ว่ารังสี 15,000 Gray มากแค่ไหน ขอเปรียบเทียบว่ารังสีขนาด 10 Gray ฆ่ามนุษย์ได้สบายๆ Haloarcula marismortui แบคทีเรียที่ทนความเค็มระดับที่แทบไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เทียบได้ Pyrococcus furiosus แบคทีเรียทนร้อนที่เจริญเติบโตในอุณหภูมิที่สูงกว่า 100 องศาเซลเซียสขึ้นไป Cupriavidus metallidurans แบคทีเรียที่กินคลอไรด์ของทองคำซึ่งเป็นสารพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลก Bacillus subtilis แบคทีเรียมาตรฐานระดับรากหญ้า พบได้ทั่วไป มีจุดเด่นอยู่ที่ถูกใช้เป็นตัวศึกษาในการทดลองทางชีววิทยาบ่อยๆ หมึกกล้วยบ๊อบเทล (bobtail squid) Euprymna scolopes ที่จะถูกส่งขึ้นไปพร้อมกับแบคทีเรียคู่หู Vibrio fischeri ที่ทำให้ตัวหมึกเรืองแสง หมึกกล้วยที่ขึ้นไปพร้อมกับ Endeavour ถือว่าเป็นหมึกตัวแรกที่ได้เดินทางขึ้นไปในอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาว่า หาก Vibrio fischeri อยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักและที่ที่มีรังสีสาดส่องรุนแรงอย่างข้างบนนั่น มันจะทำอะไรกับหมึกบ้าง ในช่วงต้นของการเดินทาง หมึกกล้วยจะถูกเลี้ยงแยกจาก Vibrio fischeri เมื่ออยู่ในอวกาศแล้ว Vibrio fischeri จะมีโอกาสได้เข้าไปเติบโตในร่างกายหมึกเป็นเวลา 28 ชั่วโมง จากนั้นหมึกจะถูกฆ่าเพื่อรักษาสภาพตัวอย่างไว้มาวิเคราะห์บนโลก ก่อนหน้านี้ในปี 2006 นักวิทยาศาสตร์เคยทดลองแล้วว่าเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ในหนูทดลองมีพิษร้ายแรงขึ้นสามเท่าเมื่อถูกส่งขึ้นไปกับกระสวยอวกาศ ต่อมาก็พบอีกว่าสภาพในอวกาศส่งผลให้แบคทีเรีย E. coli มีการกลายพันธุ์และเปลี่ยนพฤติกรรม หากการทดลองของ BIOKIS พิสูจน์ได้ว่าสภาพในอวกาศทำให้แบคทีเรียคู่หูของหมึกกลายเป็นเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์ก็คงต้องใส่ใจกับจุลชีพในร่างกายของนักบินมากยิ่งขึ้น ที่มา - Wired, BBC News, New Scientist
https://jusci.net/node/1837
สิ่งมีชีวิตที่ขึ้นไปกับกระสวยอวกาศ Endeavour เที่ยวสุดท้าย
Philips เปิดตัวหลอดไฟ EnudraLED A21 หลอดไฟ LED ที่ออกแบบมาให้ใช้งานแทนหลอดไส้ขนาด 75 วัตต์ แต่ตัวมันเองกลับกินพลังงานเพียง 17 วัตต์ หรือ 1 ใน 5 เท่านั้น ข่าวร้ายคือมันมีราคาแพงมาก คือ 45 ดอลลาร์ หรือกว่า 1,300 บาทต่อหลอด อย่างไรก็ตาม Philips ยังเชื่อว่าจะขายหลอดไฟรุ่นนี้ได้ถึงปีละ 90 ล้านหลอดในสหรัฐฯ ซึ่งจะประหยัดไฟไปได้ 5,220 เมกกะวัตต์หากทุกหลอดถูกนำไปเปลี่ยนแทนหลอดไส้ ผมเองเคยคิดจะใช้หลอด LED ทั้งบ้าน พอไปสำรวจราคาแล้วก็คิดว่าคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะพร้อม ที่มา - Engadget
https://jusci.net/node/1838
Philips เปิดตัวหลอดไฟ LED ประหยัดไฟกว่าหลอดไส้ 80%
สารคดีทาง BBC ประเทศอังกฤษ "Secrets of the Superbrands" ได้เผยผลการทดลองโดยนำผู้ชื่นชอบในสินค้าของ Apple มาทำการศึกษาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองทำการสแกน MRI พบว่าสมองส่วนที่ทำให้ผู้ชื่นชอบสินค้า Apple นั้นเป็นส่วนของสมองส่วนเดียวกันกับที่มนุษย์ใช้ในการเลื่อมใส ศรัทธาในศาสนา การศึกษาทดลองดังกล่าวให้ข้อสรุปว่าเบื้องหลังความสำเร็จของ Apple ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ตัวแบรนด์สินค้ามีศักยภาพสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนมีความอยากได้หรือยกย่องในระดับสูงกว่าปกตินั่นเอง เนื้อหาในรายการดังกล่าวยังพูดถึงเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ที่เข้าถึงจิตใจคนอย่าง Facebook หรือ Nokia อีกด้วย ที่มา: PC Magazine
https://jusci.net/node/1839
การทดลองพบว่าผู้นิยม Apple ใช้สมองส่วนที่ชื่นชอบส่วนเดียวกับการศรัทธาในศาสนา
เมื่อสมัยเราเด็กอาจจะได้เรียนมาว่าชา-กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง แต่รายการการติดตามผลกลุ่มตัวอย่างชายผู้ดื่มกาแฟเป็นประจำ 47,911 คนแสดงให้เห็นว่ากาแฟมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างชัดเจน ในชาย 47,911 คนนั้นมีผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งสิ้น 5,035 คน โดย 642 คนในนั้นเป็นมะเร็งที่ต่อมลูกหมากที่ทำให้ถึงแก่ความตาย โดยทั้งหมดมีปริมาณการดื่มกาแฟเฉลี่ยวันละ 1.9 แก้ว แต่เมื่อแบ่งตามปริมาณการดื่มกาแฟแล้วพบว่า กลุ่มผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้วหรือมากกว่าจะมีสัดส่วนความเสี่ยง (Risk ratio - RR) อยู่ที่ 0.82 ความมั่นใจที่ 95% (นั่นคือความเสี่ยงจะต่ำกว่ากลุ่มทั่วไป 18%) เทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ดื่มกาแฟเลย และเมื่อเทียบเฉพาะกลุ่มที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตพบว่ากลุ่มดื่มกาแฟมากนี้มีสัดส่วนความเสี่ยงเพียง 0.40 ที่ความมั่นใจ 95% แต่สำหรับมะเร็งที่ความรุนแรงต่ำ (low-grade cancer) นั้นความเกี่ยวเนื่องนี้จะต่ำลง ทีมวิจัยพบว่าความเกี่ยวข้องนี้ยังคงเป็นจริงแม้ผู้ดื่มกาแฟจะดื่มกาแฟแบบไม่มีคาเฟอีน ดังนั้นสารที่ช่วยลดความเสี่ยงน่าจะอยู่ในส่วนประกอบอื่นๆ อีกสัก 20 ปี อาจจะมีรายงานว่าโปรแกรมเมอร์เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากกันน้อย ที่มา - Oxford Journal
https://jusci.net/node/1840
งานวิจัยชี้ว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำ
นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นแล้วในช่วงหลายปีหลังมานี้ปริมาณสาร CFC ซึ่งเป็นตัวการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศได้ลดลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่เคยมีใครหาหลักฐานมายืนยันได้ว่ารูโหว่โอโซนมีขนาดเล็กลง เนื่องจากปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์เหนือทวีปแอนตาร์กติกามีการขึ้นๆ ลงๆ ตลอดขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพอากาศในแต่ละปี จนกระทั่งทีมวิจัยที่นำโดย Murry Salby แห่ง Macquarie University ได้ศึกษาสาเหตุที่ทำให้ปริมาณโอโซนแปรเปลี่ยนตลอดปี นักวิจัยพบว่าในช่วงหน้าหนาว อากาศเย็นจัดจะถูกจับอยู่บนชั้นสตราโตสเฟียร์ ทำให้มีผลึกน้ำแข็งเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ผลึกน้ำแข็งนี่เองที่ทำหน้าที่เป็นฐานให้คลอรีนจาก CFC เข้าทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซน และก็อย่างที่รู้กันว่าสภาพอากาศในทุกวันนี้มันแปรปรวนขนาดไหน ดังนั้นปริมาณโอโซนที่สังเกตได้จึงดูสับสน ไม่เห็นแนวโน้มใดๆ Murry Salby จึงทำการวิเคราะห์ว่าสภาพอากาศในแต่ละปีสัมพันธ์กับปริมาณโอโซนอย่างไร จากนั้นจึงนำเอารูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้คำนวณย้อนกลับไปในข้อมูลเพื่อหักล้างผลของสภาพอากาศ ผลที่ได้สรุปว่าขนาดของรูโหว่โอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกามีขนาดเล็กลงจริงๆ จากค่าที่วัดได้ล่าสุด มันหดเล็กลงถึง 15% เมื่อเทียบกับขนาดตอนที่มันใหญ่ที่สุด ชั้นโอโซน คือ ส่วนของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ที่มีโอโซนหนาแน่น ชั้นโอโซนช่วยเป็นเกราะปกป้องสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกจากรังสีอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะรังสีอัลตราไวโอเลต หลายสิบปีก่อนหน้านี้ ชั้นโอโซนได้เบาบางลงเนื่องจากมนุษย์ได้ปล่อยสารที่ทำลายโอโซนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ สารตัวสำคัญก็คือ Chlorofluorocarbon (CFC) ชั้นบรรยากาศเหนือขั้วโลกเป็นที่ที่เราเห็นผลกระทบได้ชัดเจนที่สุด บริเวณที่โอโซนมีปริมาณเบาบางมากๆ เรียกว่า รูโหว่โอโซน (Ozone hole) ตั้งแต่ในปี 1989 หลายประเทศได้ลงนามร่วมกันใน Montreal Protocol เพื่อยกเลิกและสั่งห้ามการใช้ CFC ผลลัพธ์อันน่าดีใจนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าหากมนุษย์ทุกคนร่วมมือกันทันเวลา แม้ปัญหาจะหนักแค่ไหน ก็ยังมีความหวังเสมอ ที่มา - Live Science
https://jusci.net/node/1841
ข่าวดียืนยันแล้ว... รูโหว่โอโซนที่ขั้วโลกหดเล็กลง
นักอ่านนิยายวิทยาศาสตร์คงคุ้นกับชื่อ William Gibson นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกัน ผู้คิดคำว่า "ไซเบอร์สเปซ" และเจ้าของผลงานชื่อดัง Neuromancer ในปี 1984 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ "อารยธรรมไซเบอร์พังค์" (ไซบอร์กและแฮ็กเกอร์ ตัวอย่างภาพยนตร์แนวนี้ได้แก่ Blade Runner และ The Matrix) Neuromancer เป็นนิยายที่เกี่ยวข้องกับไซบอร์กและแฮ็กเกอร์ที่ถูกฝังบางส่วนของคอมพิวเตอร์ลงไป และอาศัยอยู่ในโลกอนาคตที่ไฮเทคแต่เสื่อมโทรม ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลสูงสุดของนิยายวิทยาศาสตร์ 3 รางวัลในปีเดียวกันคือ Hugo/Nebula/Philip K. Dick นิยายดังขนาดนี้ก็มีความพยายามจะแปลงเป็นหนังหลายรอบแต่ไม่สำเร็จเสียที แต่ในรอบล่าสุดก็มีข่าวยืนยันแล้วว่า ผู้กำกับ Vincenzo Natali (เจ้าของผลงาน Cube และ Splice) จะมากำกับ Neuromancer ฉบับภาพยนตร์ โดยจะเริ่มถ่ายทำในไตรมาสแรกของปี 2012 และยังไม่ระบุวันฉายครับ ที่มา - /Film
https://jusci.net/node/1842
ภาพยนตร์ Neuromancer เดินหน้า เริ่มถ่ายทำต้นปี 2012
ตามคำจำกัดความทั่วไป ดาวเคราะห์จะต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ที่เป็นดวงอาทิตย์ของมัน แต่ล่าสุดนักดาราศาสตร์ค้นพบว่าดาวเคราะห์อาจจะลอยล่องโคจรไปในกาแล็กซี่อย่างอิสระโดยไม่มีดาวฤกษ์คุมก็ได้ การค้นพบนี้เป็นผลงานของทีมวิจัยที่นำโดย Takahiro Sumi แห่งมหาวิทยาลัยโอซากา พวกเขาได้ส่องกล้องโทรทรรศน์ไปยังบริเวณรอบใจกลางกาแล็กซี่ทางช้างเผือกเพื่อมองหาสิ่งที่เรียกว่า "gravitational microlensing" gravitational microlensing คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีวัตถุขนาดใหญ่พอเคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงดาว สนามแรงโน้มถ่วงจะบิดกาล-อวกาศให้เบี้ยวจนเกิดสภาพเป็นเลนส์รวมแสง ทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นแสงดวงดาวที่ถูกเคลื่อนที่ผ่านตัดหน้าสว่างขึ้นมาเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ความยาวของระยะเวลาการเกิด microlensing ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่าน ผลปรากฏว่าพวกเขาเจอดาวเคราะห์ที่มีขนาดประมาณดาวพฤหัสจำนวน 10 ดวงซึ่งไม่มีดาวฤกษ์อยู่ใกล้ๆ เลยภายในรัศมี 10 หน่วยดาราศาสตร์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์หรือ Astronomical Unit เท่ากับระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์) ทำให้พวกเขาเชื่อว่าพวกมันไม่น่าจะโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงใดๆ ว่าไปแล้ว การมีอยู่ของดาวเคราะห์ไร้สังกัดเป็นสิ่งที่พอจะอธิบายได้ด้วยทฤษฎีกำเนิดดาวเคราะห์ที่มีอยู่ ดาวเคราะห์ไร้สังกัดพวกนี้อาจจะเร่ร่อนตั้งแต่เกิดหรือถูกพรากจากดาวฤกษ์ของมันก็ได้ แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ เมื่อพวกเขาประมาณการณ์จากพื้นที่ที่สำรวจ, ความถี่ในการเกิด microlensing ของดาวเคราะห์ ก็พบว่ากาแล็กซี่ของเราอาจมีดาวเคราะห์ที่ไม่ได้โคจรรอบดาวฤกษ์อยู่ถึง 400,000 ล้านดวง ตัวเลขนี้มากกว่าจำนวนดาวเคราะห์ที่มีสังกัดอยู่ใต้ดาวฤกษ์เสียอีกและมากกว่าจำนวนดาวฤกษ์ประเภท main-sequence star (ตัวอย่างดวงอาทิตย์ของเรา) ถึงสองเท่า ที่มา - Nature New, BBC News, New Scientist
https://jusci.net/node/1844
กาแล็กซี่ทางช้างเผือกอาจเต็มไปด้วยดาวเคราะห์เร่ร่อน
ทีมวิจัยที่นำโดย Giandomenico Iannetti แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัคร 8 คน โดยการยิงแสงเลเซอร์ที่มีขนาดเล็กเท่าเข็มไปยังที่มือของอาสาสมัคร แสงเลเซอร์จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดซึ่งนักวิจัยจะบันทึกระดับความเจ็บปวดที่อาสาสมัครรายงานและค่าคลื่นที่อ่านได้จาก electroencephalography (EEG) วิธีนี้ไม่ต้องมีการสัมผัสร่างกายอาสาสมัครเลย อาสาสมัครจึงไม่มีทางรู้ว่ามือไหนโดนจิ้มก่อนจะรู้สึกเจ็บ ผลปรากฏว่าหากอาสาสมัครเอาแขนทั้งสองข้างไขว้กันไว้ ความรู้สึกเจ็บที่เกิดขึ้นจะน้อยลง กระแสประสาทที่กระตุ้นความเจ็บปวดที่อ่านได้จาก EEG ก็อ่อนลงด้วย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันเป็นผลจากการที่ร่างกายคนเราเคยชินกับ "แผนที่ร่างกาย" ประมาณว่า มือซ้ายก็รับตัวกระตุ้นภายนอกจากด้านซ้าย มือขวาก็รับด้านขวา พอเอาแขนไขว้กัน ก็จะกลายเป็นว่าความเจ็บปวดในมือซ้ายวิ่งมาทางด้านขวาและของมือขวาวิ่งมาทางด้านซ้าย สมองเลยสับสนอยู่ระดับหนึ่ง การตอบสนองเป็นความรู้สึกเจ็บปวดจึงเบาบางลง ที่มา - Medical Xpress
https://jusci.net/node/1845
เอาแขนไขว้กันช่วยทำให้เจ็บน้อยลง
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งจะตีพิมพ์ในนิตสาร Psychological Science ซึ่งทำโดยคุณ Laura E.R. Blackie นักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย Essex และอาจารย์ที่ปรึกษา อ. Philip J. Cozzolino เกี่ยวกับเรื่องมุมมองต่อความตาย และผลของมันต่อการใช้ชีวิต คุณ Laura ได้รับสมัครอาสาสมัครจำนวน 90 คนใน British town center เพื่อทำงานวิจัยชิ้นนี้ เธอแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ตอบคำถามทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับความตาย เป็นต้นว่า มีความคิด ความรู้สึกยังไงเกี่ยวกับความตาย และจะเกิดอะไรขึ้นหากต้องตายไป ส่วนอีกกลุ่มให้จินตนาการว่า ตัวเองกำลังจะตายจากเหตุการณ์ไฟไหม้ในอพาร์ทเม้นท์ ให้คิดถึงว่าครอบครัวของพวกเขาจะทำยังไงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้คิดถึงอาการปวดฟัน* ต่อมาอาสาสมัครจะได้รับบทความที่อ้างว่ามาจาก BBC เกี่ยวกับการบริจาคเลือด อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งได้รับบทความที่บอกว่า "ตอนนี้มีเลือดอยู่เป็นปริมาณมาก แต่มีความต้องการเลือดเพียงน้อยนิด" ส่วนอีกกลุ่มได้รับบทความที่บอกว่า "ตอนนี้มีเลือดอยู่ปริมาณน้อย แต่มีความต้องการเลือดเป็นปริมาณมาก" หลังจากนั้น นักวิจัยเสนอให้แผ่นพับสำหรับใช้ในการลงทะเบียนอย่างรวดเร็ว กับศูนย์บริจาคเลือดในวันนั้น แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไปบริจาคจริงถึงจะเอาแผ่นพับไปได้ ผลที่ได้คือ คนที่คิดถึงความตายในเชิงนามธรรมนั้น จะเลือกหยิบแผ่นพับก็ต่อเมื่อได้อ่านบทความที่บอกว่า "เลือดมีปริมาณน้อย" แต่คนที่คิดถึงความตายของตัวเองนั้น จะเลือกหยิบแผ่นพับ โดยไม่สนใจว่าจะได้อ่านบทความชิ้นไหน ความตายมีพลังอำนาจมาก มันเป็นของขวัญอันมีค่าชิ้นหนึ่งของชีวิต มันทำให้เราตระหนักว่า ชีวิตมีจำกัด ทำให้เรารักชีวิต และพยายามที่จะไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งเอาไว้ สำหรับคนมองความตายในเชิงนามธรรมจะรู้สึกเกรงกลัวความตาย ในขณะที่คนที่คิดถึงความตายของตัวเอง การตายที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ จะเปิดโอกาสให้แนวคิดเกี่ยวกับความตายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และรู้สึกถึงคุณค่าของการมีชีวิตมากขึ้น ที่มา: APS *ผมไม่รู้ว่า การปวดฟัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไง แต่คิดว่า มันเป็นอาการเจ็บปวดทรมานที่หนียังไงก็ไม่พ้น รู้สึกทุกลมหายใจเข้าออก และต้องเจอกันทุกคน เลยเอามาเปรียบเทียบง่ายครับ
https://jusci.net/node/1846
มองความตายต่างกัน ก็ใช้ชีวิตต่างกัน
ในความคิดของคนทั่วไป เวลาพูดถึงหลุมดำ เรามักจะนึกถึงหลุมดำที่เกิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ แต่นักฟิสิกส์บางคนเชื่อว่าในขณะ Big Bang มีหลุมดำขนาดเล็กเกิดขึ้นตั้งแต่มวลระดับ Planck mass ไปจนถึงมวลระดับล้านล้านกิโลกรัม (เลข 'ล้านล้าน' อาจจะฟังเยอะ อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้เทียบไม่ได้เลยกับหลุมดำที่เกิดจากดาวฤกษ์ซึ่งมีขนาดขั้นต่ำ 1030 กิโลกรัมขึ้นไป) นักฟิสิกส์เรียกหลุมดำที่เกิดพร้อม(หรืออาจจะก่อน)เอกภพนี้ว่า "Primordial black hole" และบางคนยังคิดว่าหลุมดำที่มีมวลน้อยกว่า 1012 กิโลกรัมจะประพฤติตัวแตกต่างจากหลุมดำขนาดใหญ่ แทนที่จะดูดกลืนวัตถุรอบข้าง หลุมดำขนาดเล็กจะดึงให้วัตถุต่างๆ มาโคจรรอบตัวเอง เหมือนกับอิเล็กตรอนในอะตอมที่ถูกนิวเคลียสดึงดูดเอาไว้ นักฟิสิกส์เรียกสิ่งลึกลับในจินตนาการนี้ว่า "Gravitational Equivalent of an Atom" (GEA) Aaron P. VanDevender แห่ง Halcyon Molecular และ J. Pace VanDevender แห่ง Sandia National Laboratories ได้เสนอทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับ GEA และเหตุผลที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครเจอมันสักที พวกเขาสองคนคิดว่าบางทีหลุมดำที่เป็นนิวเคลียสของ GEA อาจจะเคลื่อนที่ผ่านโลกของเราทุกๆ วันโดยที่เราไม่รู้ตัวกันเลยก็ได้ การที่หลุมดำจะดูดวัตถุอะไรสักอย่างได้นั้น วัตถุนั้นจะต้องอยู่ภายในรัศมีที่เรียกว่า Schwarzschild radius มิฉะนั้นแล้วอย่างมากก็แค่ดึงให้วัตถุมาโคจรรอบๆ หลุมดำ จากการคำนวณของ Aaron P. VanDevender และ J. Pace VanDevender พบว่า หลุมดำที่มีขนาด 1012 กิโลกรัมมี Schwarzschild radius ไม่ได้กว้างเกินไปกว่ารัศมีของอนุภาคที่ยึดกันด้วยแรงโน้มถ่วง ดังนั้นพูดง่ายๆ ก็คือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่อนุภาคใดๆ จะไปโผล่อยู่ในรัศมี Schwarzschild radius ของหลุมดำขนาด 1012 กิโลกรัมหรือเล็กกว่านั้น ด้วยเหตุนี้แม้จะมีหลุมดำขนาดเล็กที่ว่าวิ่งผ่านหน้าเครื่องตรวจจับที่ดีที่สุดในโลกตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ก็จะไม่สามารถสังเกตมันได้ เพราะนอกจากมันไม่มีการดูดกลืนมวลแล้วปล่อยรังสีเอ๊กซ์ออกมาในแบบที่เรียกว่า Quantum evaporation แล้ว มันยังเล็กเกินกว่าที่กล้องจุลทรรศน์ใดๆ จะส่องเจอได้อีก ดังนั้นสำหรับ Aaron P. VanDevender และ J. Pace VanDevender วิธีที่จะพิสูจน์ว่า 'GEA มีจริงหรือไม่' ก็ต้องหาร่องรอยอีกอย่างหนึ่งของมัน พวกเขาคิดว่า GEA กับสสารมืด (dark matter) จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน เป็นไปได้ว่า GEA ก็คือสสารมืดหรืออย่างน้อยก็เป็นสสารมืดประเภทหนึ่ง จากการประเมิน ถ้าสสารมืดคือ GEA และกระจายตัวอย่างเท่าเทียมกันทั้งเอกภพ โลกของเราจะมี GEA วิ่งผ่านโลกประมาณ 400 อันทุกปี เฉลี่ยก็วันละ 1 อันกว่าๆ สำหรับวิธีหานั้น พวกเขาได้เสนอว่า ในขณะ GEA เคลื่อนผ่าน อนุภาคจะถูกดูดเข้าไปหรือไม่ก็ถูกดีดกระเด้งออกมาด้วยพลังงานของอนุภาคที่โคจรรอบหลุมดำใจกลาง GEA ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็จะมีการแผ่รังสีขึ้น รังสีนี้อาจจะเล็กน้อยมากจนแทบตรวจวัดไม่ได้ เพราะหาก GEA เคลื่อนที่เร็วมาก อนุภาครอบๆ อาจไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามนี่เป็นร่องรอยเดียวที่จะพิสูจน์ได้ว่า GEA มีจริงหรือไม่ พวกเขาทั้งสองหวังว่าสักวันเราคงจะเจอร่องรอยอันนี้ นอกจากนี้ทฤษฎีของทั้งสองยังบอกไว้อีกว่า ยิ่งหลุมดำมีขนาดเล็ก การดูดก็ยิ่งช้า เช่น หลุมดำขนาด 1 กิโลกรัมจะดูดโลกทั้งใบได้ต้องใช้เวลา 1033 ปี ซึ่งยาวนานกว่าอายุของเอกภพซะอีก (หลุมดำของ LHC จะเล็กกว่านี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นไม่มีอะไรต้องกังวลเลย) บทความวิจัยของ A. P. VanDevender และ J. Pace VanDevender สามารถดาวน์โหลดได้จาก arxiv.org/abs/1105.0265 ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1847
อาจมีหลุมดำวิ่งผ่านโลกทุกวัน
เกาะกระแส "นิวเคลียร์ vs ไม่เอานิวเคลียร์" กันหน่อยนะครับ Doris Leuthard รมว. กระทรวงพลังงานของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กำลังจะเสนอให้สวิสฯ หยุดใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเร็วๆ นี้ ตามข่าวบอกว่านโยบายนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองหลายพรรคของประเทศ รวมถึง รมว. ด้านเศรษฐกิจด้วย นโยบายด้านพลังงานของสวิสฯ ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่น โดยในเดือนมีนาคม (ซึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น) สวิสฯ ได้สั่งหยุดโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 โรงเพื่อตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยใหม่หมด ปัจจุบันสวิสฯ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง ผลิตพลังงาน 40% ของประเทศ ตามข้อเสนอของ รมว. พลังงานจะให้ใช้งานโรงไฟฟ้าเหล่านี้จนสิ้นอายุขัย แต่ไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และหันไปใช้พลังงานอื่นๆ เช่น พลังน้ำ แทน ที่มา - Reuters
https://jusci.net/node/1848
สวิตเซอร์แลนด์อาจจะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์
อยากรู้ว่า คนไทยรู้ว่าโลกมันกลมตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ? แล้วความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย (หรือในแถบนี้) เชื่อว่า โลกแบนเหมือนกับชาวตะวันตกหรือเปล่าครับ อีกอย่างสมมุติว่า เรายืนอยู่กลางโลกได้ เราจะลอยอยู่ หรือว่าจะอยู่ติดกับขอบด้านใดด้านหนึ่งของใจกลางโลกกันแน่ครับ? [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร? ›
https://jusci.net/node/1849
โลกมันกลม
ในปัจจุบันเรามีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ทำงานปั่นไฟฟ้าอยู่ประมาณ 400 กว่าเตากระจายอยู่ตามโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลก คิดเป็นปริมาณไฟฟ้า 375 gigawatts (GW) ในขณะที่ปริมาณการบริโภคไฟฟ้าของทั้งโลกในปัจจุบันอยู่ที่ 15 terawatts (TW) Derek Abbott แห่ง University of Adelaide มีความเห็นว่าถ้าระดับปริมาณบริโภคและประสิทธิภาพของเตาปฏิกรณ์ยังคงอยู่เป็นเช่นนี้ โลกอนาคตที่ไฟฟ้าทุกวัตต์มาจากพลังงานนิวเคลียร์และมีให้ใช้ไปตลอดกาลไม่มีทางเป็นไปได้จริงแน่ เหตุผลของเขามีดังนี้ พื้นที่ในการตั้งโรงไฟฟ้า - โดยเฉลี่ยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หนึ่งโรงต้องการใช้พื้นที่บนโลก 20.5 ตารางกิโลเมตร อันนี้นับรวมหมดเลยตั้งแต่พื้นที่ของตัวโรงไฟฟ้า, พื้นที่อพยพ, เหมืองแร่นิวเคลียร์, การวางระบบสาธารณูปโภค ถ้าดูเอาจากปริมาณการบริโภคไฟฟ้า 15 terawatts เราต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 15,000 โรงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งการที่จะจับยัดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนนี้ลงไปในผังเมืองทั่วโลกคงจะสร้างสีสันให้ม็อบได้อีกหลายม็อบเลยแหละ อายุของโรงไฟฟ้า - โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วไปมีอายุขัยอยู่เพียง 40-60 ปีเท่านั้น ถ้าเรานับต่อเนื่องจากข้อ 1 โลกที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 15,000 โรงจะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันใหม่เกือบทุกวัน นี่ถ้านับระยะเวลาการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละโรงที่กินเวลา 6-12 ปีเข้าไปด้วย ก็แปลว่าต้องสร้างกันเป็นวันละร้อยๆ โรงเลยทีเดียว กากนิวเคลียร์ - การกำจัดกากนิวเคลียร์ที่เป็นของเหลือของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้ไม่ได้แล้วนั้นยุ่งยากพอๆ กับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาใหม่เลย ดีไม่ดีจะยากกว่าด้วยซ้ำไป อุบัติเหตุ - แม้อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นเรื่องที่เกิดได้น้อยมาก แต่กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 15,000 โรงที่ต้องทุบทิ้งๆ สร้างใหม่ๆ ทุกวัน อัตราเพียงน้อยนิดก็อาจจะหมายถึงการมีเรื่องตื่นเต้นให้ลุ้นกันทุกเดือนก็ได้ การดูแล - ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดูแลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พร้อมกัน 15,000 โรงเป็นเรื่องที่เราหาไม่ได้ในตอนนี้และก็เป็นไปได้ว่าในอนาคตก็จะยังคงหาไม่ได้ โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ ปริมาณแร่ยูเรเนียมบนโลก - โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 15,000 โรงจะต้องใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงอย่างมหาศาล ถ้าเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยังคงมีประสิทธิภาพเท่าปัจจุบัน ภายใน 5 ปีแร่ยูเรเนียมในเปลือกโลกจะหายากเกินกว่าที่จะคุ้มทุนในทำเหมือง แม้จะสกัดแร่ยูเรเนียมจากมหาสมุทรได้ ภายใน 30 ปี แร่ยูเรเนียมในน้ำทะเลก็จะเจือจางเกินกว่าจะมีประโยชน์อะไร ปริมาณแร่โลหะหายาก - การสร้างเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไม่ใช่แค่เอายูเรเนียมมาปั้นเป็นก้อนๆ แล้วห่อใบตองจัดวางไว้ในตะกร้า แต่การหลอมแท่งเชื้อเพลิงขึ้นมาสักอันต้องใช้โลหะหายากอีกหลายชนิด เช่น hafnium ที่ทำหน้าที่ดูดซับนิวตรอน, beryllium ที่ทำหน้าที่สะท้อนนิวตรอน, zirconium ทำแท่งหุ้ม, niobium ที่ไว้ผสมให้แท่งหุ้มทนทานยิ่งขึ้น เป็นต้น ในเมื่อชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "หายาก" ดังนั้นเรื่องที่จะมีโลหะพวกนี้พอสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พร้อมกัน 15,000 โรงจึงเป็นการฝันเฟื่องที่ไร้เหตุผลสิ้นดี Derek Abbott ยังบอกอีกว่าแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืนนัก ปัญหาทั่วไปอย่างเช่นเรื่องพื้นที่หรือการดูแลก็ไม่ได้ต่างจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ทางเลือกที่ดูแล้วดีที่สุดสำหรับมนุษย์คงเลี่ยงไม่พ้นการเก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบันทางเลือกนี้คงต้องรอกันอีกนาน แต่อย่างว่าแหละ พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เราทนใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็สร้างมลภาวะเสียเหลือเกิน ไม่ลดก็ไม่ได้ หรือครั้นจะให้กลับเข้าไปอยู่ถ้ำมืดๆ ก็คงไม่มีใครยอม สุดท้ายเราก็คงต้องพึ่งพระรองอย่างพลังงานนิวเคลียร์ไปก่อนจนกว่าจะมีนารีขี่ม้าขาวมาช่วยสินะ ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1850
เหตุผลที่พลังงานนิวเคลียร์ไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืน
ถ้าใครคิดว่าแมลงจะยอมเป็นเบี้ยล่างให้กบกดขี่จับกินอยู่เพียงฝ่ายเดียว ก็ขอให้เปลี่ยนความคิดได้แล้ว เพราะว่าด้วงดินในสกุล Epomis สามารถจับกบและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันหลายเท่ากินได้สบายๆ Gil Wizen และ Avital Gasith แห่ง Tel Aviv University ได้ทำการสำรวจที่ราบภาคกลางของประเทศอิสราเอล พวกเขาพบว่าด้วงดิน Epomis dejeani และ Epomis circumscriptus มีนิสัยชอบอาศัยอยู่ในโพรงของกบและอึ่งอ่าง แถมยังดูเหมือนว่าด้วงทั้งสองจะจับกบเจ้าของโพรงกินเป็นอาหารด้วย เพื่อทดสอบให้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย พวกเขาได้จับเอาสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายชนิดมา เช่น กบ อึ่งอ่าง นิวต์ ซาลามานเดอร์ เป็นต้น ใส่ไว้ในกล่องเดียวกับด้วงดิน แล้วคอยสังเกตการณ์ ผลปรากฏว่า เมื่อสบโอกาสเหมาะๆ ด้วงดิน Epomis จะพุ่งเข้าโจมตีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำโดยการกัดทำลายไขสันหลัง ผ่านไปสักพักสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก็จะเป็นอัมพาต แล้วด้วงก็จะค่อยๆ เขมือบเหยื่อของมันอย่างสบายอารมณ์ จากสถิติของสังเวียนนี้ นอกจากตัวนิวต์ Triturus vittatus แล้ว ทั้งกบ (Hyla savignyi และ Rana bedriagae), อึ่งอ่าง (Bufo viridis), และซาลามานเดอร์ (Salamandra salamandra infraimmaculata) ก็เสร็จด้วงดินหมด โดนจับกินเหี้ยนทุกรอบ ที่มา - Discovery News
https://jusci.net/node/1851
ด้วงกินกบ
แบคทีเรีย Helicobacter pylori นั้นเคยคาดกันว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งในช่องท้องมาก่อนและรายงานล่าสุดก็ระบุว่ามันอาจจะเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสันอีกโรคหนึ่ง โดยก่อนหน้านี้ได้มีรายงานว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมักมีอาการแผลพุพองที่ติดเชื้อ H. pylori แต่เมื่อนักวิจัยได้สังเกตหนูที่คิดเชื้อตัวนี้ก็พบว่าหนูวัยกลางที่ติดเชื้อจะมีอาการควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ ขณะที่หนูอายุน้อยจะไม่มีปัญหาอะไร โดยในหนูที่มีอาการควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้จะมีโดพามีนต่ำเช่นเดียวกับมนุษย์ที่เป็นผู้ป่วยพาร์กินสัน เรื่องที่น่าสนใจคือเมื่อจับหนูที่เคยติดเชื้อนี้มาฆ่าเชื้อ พบว่าความผิดปรกติยังคงอยู่ทำให้คาดได้ว่าแบคทีเรียนี้อาจจะทิ้งงสารอะไรไว้ในร่างกายของเรา โดยคาดว่าจะเป็นคลอเรสเตอรอลที่แบคทีเรียดูดซึมเข้าไปแล้วเพิ่มโมเลกุลน้ำตาลเข้าไปในคลอเรสเตอรอลทำให้ได้สารมีพิษ อย่างไรก็ดี H. pylori มีคุณต่อร่างกายมากมายเช่นการป้องกันอาการแพ้, หอบหืด, และมะเร็งหลอดอาหาร ที่มา - ScienceNews
https://jusci.net/node/1852
โรคพาร์กินสันอาจจะเกิดจากแบคทีเรีย
เจ้าของหลายเจ้าเหมียวอาจคิดว่าแมวน่ารัก ดูซิมันค่อยๆ ใช้ลิ้นกระตวัดน้ำเข้าปากอย่างผู้ดี ขณะที่เจ้าตูบสูบดื่มน้ำโดยใช้ห่อลิ้นคล้ายสกูปตักไอศครีมดูมูมมามสิ้นดี เชอะ!! แล้วมันจริงตามที่เจ้าของเจ้าเหมียวพูดไว้ดังข้างต้นรึป่าว? ด้วยความหมั่นไส้ เอ๊ย! สงสัยของศาสตรจารย์ Alfred Crompton จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในการดื่มน้ำของสุนัข เขาพร้อมด้วย Catherine Musinsky เพื่อนร่วมทีมจึงตัดสินใจทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่าการศึกษาด้วยคลิปจากยูทูปอาจไม่ดีพอ แต่ด้วยกล้องวิดีโอความเร็วสูง และแบเรียมที่ผสมในนมที่ให้สุนัขดื่ม จะช่วยเผยภาพที่ชัดเจนมากขึ้น "นั่นอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก อันที่จริงแล้วระบบกลไกการดื่มน้ำของแมวก็เหมือนกันกับของสุนัข นั่นคือมันจะใช้ปลายลิ้นตะหวัดน้ำเข้าสู่ปาก" นี่คือข้อสรุปจากการศึกษาและจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของแมวและสุนัข อาจนำไปสู่การดื่มน้ำของสัตว์อื่นๆ ต่อไปก็เป็นได้ แล้ววันนี้ คุณดื่มน้ำแล้วรึยัง โฮ่งๆ ที่มา - ABC Science
https://jusci.net/node/1853
สุนัขดื่มน้ำเหมือนแมว
หวังว่าคงไม่ใช่รู้แต่แรกแล้วเพิ่งยอมบอกนะครับ - -" ขอให้ไม่ร้ายแรงไปมากกว่านี้ด้วยเถอะ
https://jusci.net/node/1854
TEPCO ยืนยันแท่งเชื้อเพลิงในโรงงานที่ 2 และ 3 ของฟุกุชิมาหลอมละลายแล้ว แต่อุณภูมิยังควบคุมได้
Alex Kossett และ Nikolaos Papanikolopoulos แห่ง Center for Distributed Robotics ของ University of Minnesota ได้ออกแบบหุ่นยนต์ชนิดใหม่ที่สามารถเคลื่อนที่กลิ้งไปกลิ้งมาได้และยังบินได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์ด้วย ทั้งสองเรียกระบบการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า "Land/Air Hybrid" การทำงานของหุ่นยนต์ตัวต้นแบบ (prototype) แสดงไว้ในคลิปวิดีโอข้างล่าง ภายในตัวหุ่นยนต์มีมอเตอร์สองชุดที่ทำงานเป็นอิสระต่อกัน เมื่อเปลี่ยนไปเป็นระบบเคลื่อนที่ทางอากาศ ปีกและหางที่พับอยู่จะกางออกมา ตัวต้นแบบนี้ยังเปราะบางอยู่มาก แถมวิธีการสร้างก็ยุ่งยากและแพงมากด้วย แค่ระบบพับปีกพับหางก็ต้องลงทุนเกือบ 20,000 เหรียญสหรัฐฯ แล้ว คงต้องให้เวลาอีกสักหน่อยกว่าเราจะได้เห็นหุ่นยนต์ Land/Air Hybrid ออกมาปฏิบัติการในภาระกิจประจำวัน ที่มา - IEEE Spectrum
https://jusci.net/node/1855
หุ่นยนต์กลิ้งๆ บินๆ
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2011 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันเกิดของ Carolus Linnaeus บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธานสมัยใหม่ เหล่านักชีววิทยาแห่ง International Institute for Species Exploration ณ มหาวิทยาลัยอริโซนาได้ร่วมกันประกาศชื่อ 10 อันดับสปีชีส์ที่ค้นพบประจำปี 2010 รายชื่อของ 10 สปีชีส์ใหม่ประจำปี 2010 ได้แก่ 1) Darwin's Bark Spider (Caerostris darwini) เจ้าของใยแมงมุมที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก ถ้าเทียบที่ความหนาเท่ากันแล้วใยของแมงมุมแห่งมาดากัสการ์ชนิดนี้จะแข็งแรงกว่าเส้นใย Kevlar ที่นิยมเอามาใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุนถึง 10 เท่า ใยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกินพื้นที่ได้ถึง 2.8 ตารางเมตร 2) เห็ดเรืองแสง (Mycena luxaeterna) แม้จะไม่ใช่เห็ดเรืองแสงชนิดแรกที่ถูกค้นพบ แต่เห็ดชนิดนี้ก็ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงวิวัฒนาการการเรืองแสงของเห็ดรามากยิ่งขึ้น ชื่อ "luxaeterna" หมายถึงแสงเรืองรองตลอดกาล อันมาจากลักษณะที่มันเปล่งแสงตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันเราพบเห็ดราเรืองแสง 71 สปีชีส์จากราทั้งหมด 1.5 ล้านสปีชีส์ 3) แบคทีเรียไททานิค (Halomonas titanicae) แบคทีเรียที่กินสนิมเป็นอาหาร จุดเด่นอีกอย่างคือมันถูกค้นพบครั้งแรกที่ซากเรือไททานิคอันโด่งดังนั่นเอง 4) ตะกวดลายทอง (Varanus bitatawa) การค้นพบตะกวดสปีชีส์ใหม่ที่มีความยาวสูงสุดถึง 2 เมตรในฟิลิปปินส์สร้างความประหลาดใจแก่นักชีววิทยาพอสมควร คาดกันว่าอุปนิสัยที่ชอบหลบซ่อนอยู่ในโพรงต้นไม้ตลอดวันคงเป็นสาเหตุที่ทำให้มันรอดพ้นสายตาของนักชีววิทยามาได้นานขนาดนี้ 5) จิ้งหรีด Glomeremus orchidophilus ซึ่งเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่รับหน้าที่ผสมเกสรให้กับกล้วยไม้หายาก Angraecum cadetii (เป็นตัวที่หน้าตาน่ารักที่สุดใน 10 อันดับตามความคิดของผม) 6) กวาง duiker (Philantomba walteri) นักชีววิทยาเคยเข้าใจว่ารู้จัก duiker ทุกชนิดในแอฟริกาอย่างถ่องแท้แล้ว การค้นพบ duiker สปีชีส์ใหม่แถมยังเป็นสปีชีส์ที่ขายกันทั่วไปในตลาดค้าเนื้อสัตว์ด้วยแล้ว ก็เล่นเอาอายม้วนต้วนกันไปทั้งวงการ 7) ราชาปลิงทรราชย์ (Tyrannobdella rex) ชื่อนี้ไม่ได้มาจากขนาดลำตัวเพียง 5 ซม. ของมัน แต่มาจากกรามที่มีอยู่เพียงอันเดียวตรงกลางปากและรายล้อมไปด้วยฟันขนาดใหญ่ ค้นพบครั้งแรกในเยื่อเมือกโพรงจมูกของเด็กหญิงชาวเปรู 8) ดอกเห็ดใต้น้ำ (Psathyrella aquatica) เห็ดประหลาดในรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ถือเป็นเห็ดชนิดแรกที่มีรายงานว่าสามารถออกดอกเห็ดในน้ำได้ 9) แมลงสาบกระโดด (Saltoblattella montistabularis) นักชีววิทยาเคยเชื่อกันว่าขาหลังแบบกระโดดในหมู่มวลแมลงสาบเป็นลักษณะที่หายไปตั้งแต่ยุคจูราสสิคแล้ว การค้นพบแมลงสาบในประเทศแอฟริกาใต้ที่มีขากระโดดเหมือนตั๊กแตนทำให้นักกีฏวิทยาต้องแก้ตำราใหม่กันอีกรอบ 10) ปลาแพนเค้กหนาม (Halieutichthys intermedius) ปลาประหลาดที่มีรูปร่างแบนๆ เหมือนแพนเค้ก (ผมไม่ได้พูดถึงนักแสดงที่มีชื่อตรงกันนะ) มีหนามทั่วตัว และมีครีบที่ดูเหมือนจะใช้ "กระโดด" ไปมาใต้พื้นทะเล การค้นพบมันในอ่าวเม็กซิโก รัฐหลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนหน้าที่จะเกิดอุบัติเหตุท่อน้ำมันรั่วไม่นานทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เอาเป็นว่ามันดังพอจะได้ขึ้นหน้าแรกของเว็บ CNN แล้วกัน ที่มา - International Institute for Species Exploration, PhysOrg, New Scientist, Live Science
https://jusci.net/node/1856
10 อันดับสปีชีส์ที่ค้นพบในปี 2010
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่า "Flight Artists" แห่ง Wageningen University ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ใช้กล้องถ่ายวิดีโอความเร็วสูงบันทึกภาพขณะบินของแมลงตัวต่อเบียน Trichogamma sp. ตัวต่อ Trichogamma มีขนาดตัวรวมปีกเพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์รู้อยู่แล้วว่าแมลงที่ตัวเล็กขนาดนี้จะต้องกระพือปีกด้วยความเร็วสูงมากหากต้องการจะบินไปในอากาศ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีคนสามารถบันทึกภาพขณะบินของมันให้เห็นกันที่อัตรา 22,000 เฟรมต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราที่ "พอจะ" ให้เราเห็นได้ว่าปีกของมันขยับอย่างไร ตัวต่อ Trichogamma กระพือปีกได้เร็วมาก ความเร็วเฉลี่ยที่วัดได้คือ 350 ครั้งต่อวินาที แม้จะกระพือปีกได้เร็วขนาดนี้ มันก็ยังบินได้ไม่คล่องนัก จากวิดีโอจะเห็นว่าตัวต่อของเราเอาหัวทิ่มพื้นขณะร่อนลงอยู่บ่อยๆ ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/1857
คลิปตัวต่อจิ๋วขณะบิน
หลังจากวิกฤตินิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเริ่มอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างควบคุมได้ แม้รายงานจะออกมาว่าสภาพตอนนี้ไม่ดีนัก แต่ก็ได้เวลามาคิดกันว่าหลังจากนี้จะทำอย่างไรกันต่อไปในระยะยาว โดยพื้นที่รอบฟุกุชิมาในรัศมี 20 กิโลเมตรนั้นไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป และประชาชนกว่า 50,000 ครัวเรือนก็อพยพกันออกไปหมดแล้ว ข้อเสนอหนึ่งที่มีเข้าไปยังสมาคมพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นก็คือให้ใช้พื้นที่โรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมาในการเก็บกากนิวเคลียร์ในระยะกลาง ข้อเสนอนี้ยังเพิ่งได้รับการเสนอเข้าไปยังสมาคม โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นยังไม่ได้รับรู้ข้อเสนอนี้ แต่ข้อเสนอนี้มีจุดดีที่ญี่ปุ่นต้องการที่เก็บกากนิวเคลียร์ในระยะกลางและระยะยาวอยู่แล้ว โดยระหว่างที่ยังไม่สามารถหาสถานที่เก็บได้ กากนิวเคลียร์ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในตัวโรงงานไฟฟ้าเอง และทางรัฐบาลเองก็มีความพยายามจะหาสถานที่เก็บกากนิวเคลียร์นี้เรื่อยมาโดยใช้งบประมาณที่สูงมาก เช่นในปี 2007 เคยมีการเสนอเงินให้กับหมู่บ้านในเกาะชิโกกุถึงห้าแสนล้านบาทเพื่อชดเชยกับการใช้บริเวณหมู่บ้านทำสถานที่เก็บกากนิวเคลียร์ หลังการเก็บกากในระยะกลางแล้ว จะต้องมีการสร้างสถานที่เก็บสุดท้ายต่อไป โดยจะเป็นอุโมงใต้ดินที่ลึกหลายร้อยเมตรจนถึงหลักกิโลเมตรเพื่อเก็บกากเหล่านี้เป็นเวลานับหมื่นปีจนกว่าการสลายตัวจะอยู่ในระดับปลอดภัย ที่มา - Bloomberg
https://jusci.net/node/1858
ข้อเสนอใหม่ให้ปรับพื้นที่ฟุกุชิมาเป็นพื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ระยะกลาง
Peter Thiel หนึ่งในผู้ก่อตั้ง PayPal ได้บริจาคเงินผ่านมูลนิธิของเขาที่ชื่อว่า Thiel Foundation โดยมอบทุนให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำจำนวน 24 คนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีให้หยุดการเรียนไว้ก่อนแล้วออกมาสร้างบริษัทเทคโนโลยี โดยให้ทุนคนละ 100,000 ดอลลาร์ ผู้รับทุนส่วนมากมีอายุ 19 ปีและศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำเช่น Yale, Havard หรือ MIT โดยมีสาขาวิชาตั้งแต่เทคโนโลยีชีวภาพ, การพัฒนาตนเอง, เศรษฐศาสตร์, การศึกษา, พลังงาน, เทคโนโลยีข้อมูล, การเคลื่อนไหวของร่างกาย, หุ่นยนต์, และอวกาศ ตัวโครงการมีระยะเวลาสองปี เมื่อคิดว่านักศึกษาเหล่านี้ต้องกู้เงินเรียนด้วยตัวเองแล้วการออกมาคว้าโอกาสแบบนี้ก็เป็นเรื่องน่าสนใจไม่ใช่น้อย ที่มา - The Thiel Foundation
https://jusci.net/node/1859
ผู้ก่อตั้ง PayPal แจกทุน "เพื่อทิ้งการศึกษา"
เมื่อสองปีที่แล้ว โครงการ LCROSS ของ NASA ได้ยืนยันว่าภายใต้พื้นผิวหลุมเครเตอร์บนดวงจันทร์มีน้ำอยู่จริง แค่นั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ตื่นเต้นตกใจกันมากพอแล้ว ผ่านมาสองปีนักศึกษาปริญญาตรีคนหนึ่งได้เจอหลักฐานบางอย่างที่น่าตกใจกว่านั้นอีก Thomas Weinreich นักศึกษาปริญญาตรีปีหนึ่งของ Brown University ได้รับมอบหมายจาก รศ. Alberto Saal ให้ศึกษาเศษหินจากดวงจันทร์ที่นักบินอวกาศ Harrison Schmitt ของโครงการ Apollo นำกลับมาในปี 1972 ไปพลางๆ ก่อนจะเริ่มงานวิจัยจริงจัง ผลปรากฏว่าเขาได้เจอหลักฐานที่ระบุว่าน้ำในดวงจันทร์มีมากพอๆ กับน้ำที่อยู่ในชั้นแมนเทิลของโลก ผลนี้แม้แต่ รศ. Alberto Saal คนสั่งงานก็ยังไม่ได้คาดคิดมาก่อน สิ่งที่ Thomas Weinreich เจอ คือ ผลึกของแร่ที่ถูกกักอยู่ในหินภูเขาไฟซึ่งเรียกว่า "melt inclusions" ภ่ายในผลึกที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไปกว่าเส้นผมนี้มีแร่ olivine อยู่ คุณสมบัติของแร่นี้คือมันกักเก็บน้ำไว้ได้แม้ว่าน้ำในส่วนอื่นจะระเหยไปหมดแล้ว จากการวิเคราะห์แร่ olivine ทีมนักวิจัยของ Brown University จึงกล้าสรุปว่าชั้นแมนเทิลใต้พื้นผิวของดวงจันทร์จะต้องมีน้ำอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,200 ppm (parts per million) ซึ่งมากกว่าที่ทีมวิจัยของ รศ. Alberto Saal คนเดียวกันเคยเสนอไว้ในปี 2008 ถึงเกือบสองเท่า ข้อมูลนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องกลับไปทบทวนเกี่ยวกับทฤษฎีเกี่ยวกับการกำเนิดดวงจันทร์อีกรอบ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าดวงจันทร์เกิดมาจากการที่โลกในยุคเริ่มแรกถูกชนด้วยดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์ เศษธุลีที่หลุดออกไปก็ไปรวมตัวกันเป็นดวงจันทร์อยู่ข้างๆ โลก ถ้าเหตุการณ์เป็นไปตามนี้จริง โมเลกุลของน้ำที่ดวงจันทร์ก็ควรจะระเหยไปหมด หากแม้ว่าจะเจอน้ำบ้าง ก็ยังพอถูไถไปได้ว่ามาจากดาวหางในภายหลัง แต่นี่ดวงจันทร์กลับมีน้ำพอๆ กับโลก นักวิทยาศาสตร์จึงไม่เข้าใจว่าดวงจันทร์เก็บน้ำไว้ตั้งแต่ตอนไหนและอย่างไร NASA เคยบอกไว้แล้วว่าดวงจันทร์มีน้ำเพียงพอสำหรับการตั้งฐาน ดังนั้นข่าวนี้จึงเป็นข่าวดีที่ทับข่าวดีเข้าไปอีก ปัญหาก็มีอยู่แค่ว่าเราจะมีวิธีนำน้ำเหล่านี้ออกมาใช้ประโยชน์หรือไม่ ที่มา - Discovery News, Science Daily, New York Times, BBC News
https://jusci.net/node/1860
ภายใต้เปลือกดวงจันทร์อาจมีน้ำพอๆ กับที่โลก
ดูเดะ ขนาดโดนดูดเข้าหลุมดำพร้อม nuke ทั้งลูก ยังไม่เป็นไรเลย เมพมั้ยหละ? ‹ โลกมันกลม [บ่นกันหน่อย] จบวิทยาศาสตร์แล้วทำงานอะไร? ›
https://jusci.net/node/1861
ผลจากการจำลองในคอมพิวเตอร์พิสูจน์ "แมลงรอดตายจากระเบิดนิวเคลียร์ได้"
ปัจจุบันนักฟิสิกส์ถือว่าอิเล็กตรอนเป็นเหมือนกับจุดในทางเรขาคณิตที่ไม่มีขนาด ไม่มีความกว้างความยาวความสูง รูปร่างของอิเล็กตรอนจะสังเกตได้จากกลุ่มหมอกของอนุภาคเสมือน (virtual particle) ที่อยู่ดีๆ ก็ผลุบๆ หายๆ ออกมาจากความว่างเปล่า ทำให้นักฟิสิกส์คาดว่ารูปร่างของอิเล็กตรอนจะต้องเบี้ยวหน่อยๆ ตามประจุและการหมุนของอิเล็กตรอนที่ลากกลุ่มหมอกของอนุภาคเสมือนให้คลาดเคลื่อนไปจากรูปทรงกลม ทีมวิจัยของ Imperial College London ที่นำโดย Jony Hudson ได้ศึกษารูปร่างของอิเล็กตรอนโดยการวิเคราะห์จากการเคลื่อนที่ของโมเลกุล ytterbium monofluoride ในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก วิธีนี้เคยมีคนทำมาแล้วก่อนหน้านี้ แต่ว่าที่ผ่านมานักวิจัยคนอื่นใช้อะตอมซึ่งให้ผลที่ละเอียดสู้การใช้โมเลกุลไม่ได้ จากการวัดล่าสุดพบว่าอิเล็กตรอนนั้นกลมดิ๊กอย่างมากถึงมากที่สุด หากจะมีความคลาดเคลื่อนจากทรงกลมอยู่บ้าง ก็ต้องมีค่าเพียงไม่เกิน 0.000000000000000000000000001 ซม. ถ้าเปรียบว่าอิเล็กตรอนมีขนาดเท่ากับระบบสุริยะ ความคลาดเคลื่อนขนาดนี้มีความกว้างมากสุดก็แค่เส้นผมมนุษย์เท่านั้น! อิเล็กตรอนที่เป็นทรงกลมสร้างปัญหาให้กับทฤษฎี Supersymmetry ซึ่งชี้แนะไว้ว่าอิเล็กตรอนควรมีรูปร่างเบี้ยวๆ เพื่อที่ว่ามันจะได้แตกต่างจากโพสิตรอน (ปฏิสสารของอิเล็กตรอน) ความแตกต่างนี้ก็จะส่งผลอะไรสักอย่างที่ทำให้เอกภพของเรามีแต่สสารเป็นส่วนประกอบ การที่ Supersymmetry เจอกับปัญหาก้อนใหญ่จุกคอหอยอย่างนี้ทำให้นักฟิสิกส์ยังคงต้องติดแหง็กอยู่กับ Standard Model ซึ่งก็ยังมีจุดอ่อนอีกหลายประการ อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์หลายคนก็ไม่ยอมทิ้งความหวังกับ Supersymmetry พวกเขาคิดว่าบางทีความคลาดเคลื่อนของทรงกลมของอิเล็กตรอนอาจจะมีอยู่เล็กน้อยจนตรวจไม่พอก็ได้ หรือไม่ก็ ทฤษฎี Supersymmetry ยังมีอะไรซ่อนอยู่ที่จะงัดเอามาอธิบายทรงกลมของอิเล็กตรอนได้ ที่มา - Science Daily, BBC News, Scientific American, Live Science
https://jusci.net/node/1862
อิเล็กตรอนกลมๆ
สมาชิกแมลงดาใน Family Belostomatidae ถือเป็นมวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดามวนทั้งหลายใต้หล้า แมลงดาบางตัวในสกุล Lethocerus อาจมีความยาวลำตัวได้ถึง 15 ซม. และสามารถล่าปลาเล็กปลาน้อยกินเป็นอาหารได้ง่ายๆ แต่ภาพแมลงดาจับเหยื่อที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานไม่ใช่สิ่งที่หาดูได้ง่ายนัก ดร. Shin-ya Ohba ผู้ซึ่งศึกษาสำรวจแมลงในทุ่งนาได้พบกับภาพแมลงดานา Kirkaldyia deyrolli ขนาดลำตัว 5.8 ซม. กำลังกินลูกเต่า Reeve's pond turtle พอดี และได้ถ่ายรูปเอาไว้ ภาพจาก BBC News; เครดิต Shin-ya Ohba ก่อนหน้านี้ Shin-ya Ohba ก็เคยจับภาพแมลงดากินงูมาได้แล้ว ภาพจาก BBC News; เครดิต Shin-ya Ohba นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาหารหลักของ Kirkaldyia deyrolli น่าจะเป็นกบและปลาตัวเล็กๆ ปัจจุบัน Japanese Environment Agency ประกาศให้แมลงดาชนิดนี้อยู่ในภาวะ "ตกอยู่ในอันตราย" (endangered) เนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัยของมันถูกรบกวนจากมลภาวะและตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาประชากรของแมลงดาลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ที่มา BBC News
https://jusci.net/node/1863
แมลงดากินเต่า
กาแล็กซี่รูปวงรี (elliptical galaxies) เป็นกาแล็กซี่ที่มีอายุเก่าแก่ ส่วนมากมันเกินระดับพันล้านปีขึ้นไป นักดาราศาสตร์เชื่อกันว่ากาแล็กซี่ที่อายุมากขนาดนั้นไม่น่าจะมีกลุ่มก๊าซเหลือหนาแน่นมากพอที่จะรวมตัวกันเกิดเป็นดาวฤกษ์ใหม่ขึ้นมาได้ ต่างจากกาแล็กซี่ก้นหอย (spiral galaxies) ซึ่งมีอายุน้อยกว่ามากนัก ดังนั้นกาแล็กซี่เหล่านี้จึงได้ชื่อว่าเป็น "กาแล็กซี่ที่ตายแล้ว" แต่ว่า Alyson Ford และ Joel Bregman แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ศึกษารูปถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลของกาแล็กซี่รูปวงรี Messier 105 ในหมู่ดาว Leo ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 34 ล้านปีแสง แม้ว่าเขาทั้งสองจะไม่เห็นการเกิดของดาวฤกษ์คาหนังคาเขา แต่พวกเขาก็พบว่ามีจุดหนึ่งที่ส่องแสงสว่างสีฟ้าเจิดจรัส เมื่อวิเคราะห์ดู ก็พบว่าแท้จริงแล้วมันคือกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่กันเป็นกระจุก (star cluster) เหมือนกับดวงดาวที่เพิ่งถือกำเนิดยังไงยังงั้น จากการประเมินความหนาแน่นของดาว เขาทั้งสองคาดว่าอัตราการเกิดดวงดาวใหม่ทั้งกาแล็กซี Messier 105 คงอยู่ที่ประมาณ 1 ดวงในระยะเวลา 10,000 - 100,000 ปีโดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตรา 1 ดวงต่อ 1 ปีของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราที่เป็นกาแล็กซี่ก้นหอย นักดาราศาสตร์ยังคงไม่เข้าใจว่าก๊าซที่เป็นต้นกำเนิดของดาวในกาแล็กซี่วงรีมาจากไหนกันแน่ ถึงได้มีเพียงพอจะสร้างดาวใหม่ขึ้นมา? หรือแม้แต่คำถามพื้นฐาน "วัฏจักรชีวิตที่แท้จริงของกาแล็กซี่เป็นอย่างไร?" นักดาราศาสตร์ก็เริ่มจะไม่มั่นใจในคำตอบเดิมที่มีแล้ว ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1864
แม้จะตายแล้ว กาแล็กซี่ก็ยังไม่สิ้นใจ
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการบำเพ็ญทางศาสนาทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น แต่ว่าไม่ค่อยจะมีใครศึกษาถึงผลกระทบของศาสนาต่อสมองในระยะยาวมากนัก ทีมวิจัยที่นำโดย Amy Owen แห่ง Duke University ได้ใช้เครื่องสแกน MRI ตรวจวัดปริมาตรของสมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปโปเตมัส "ฮิปโปแคมปัส" (hippocampus) ของกลุ่มตัวอย่างชายหญิงที่มีอายุมากกว่า 58 ปีขึ้นไปจำนวน 268 คน ผลปรากฏว่าคนที่รายงานว่าเคยได้รับประสบการณ์ทางศาสนาในระดับเปลี่ยนชีวิตมีปริมาตรของฮิปโปแคมปัสเล็กกว่าคนอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนคนที่นับถือนิกายโปรแตสแตนท์แต่ไม่ได้มีประสบการณ์จริงจังทางศาสนากลับมีการหดตัวของฮิปโปแคมปัสน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทั้งกลุ่มคนที่มีเคยประสบการณ์และคนที่ไม่สนใจศาสนา ฮิปโปแคมปัสมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความจำ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าความเครียดในชีวิตน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ฮิปโปแคมปัสหดตัวเล็กลง แต่ก็ยังไม่มีใครกล้าสรุปแบบฟันธงว่าผลการทดลองนี้มีสาเหตุมาจาก "ความเครียดในการบูชาศาสนาอย่างจริงจัง" หรือ "เป็นเพราะคนที่มีความเครียดในชีวิตมักจะหันเหชีวิตเข้าสู่เส้นทางศาสนา" กันแน่ พึงสังเกตว่าคนที่ไม่สนใจศาสนาเลยบางคนก็มีการหดตัวของฮิปโปแคมปัสในระดับที่มากกว่าคนอื่นๆ เหมือนกัน ที่มา - Scientific American
https://jusci.net/node/1865
คนที่เคยได้รับประสบการณ์ฝังจิตทางศาสนามีสมองฮิปโปแคมปัสหดลงในบั้นปลาย
ผู้อ่านหลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้ Google Trends หรือ Google Insights for Search ซึ่งใช้ดู "แนวโน้ม" ของคีย์เวิร์ดแบบต่างๆ ที่เราต้องการได้ เหมาะอย่างยิ่งแก่นักการตลาดที่ต้องการดูข้อมูลย้อนหลัง และจับแพทเทิร์นของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา แต่ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ใช้เฉพาะด้านการตลาดเท่านั้น มันสามารถนำมาใช้กับงานวิจัยแบบอื่นได้ด้วย เช่นกรณีของไข้หวัด 2009 ที่ระบาดเมื่อสองสามปีก่อน ก็สามารถ "พยากรณ์" ได้ล่วงหน้าเล็กน้อยจากสถิติของคำค้นที่เกี่ยวข้องกับอาการหวัด (เป็นสัญญาณว่าคนกำลังเป็นหวัดกันเยอะขึ้น และโรคหวัดเริ่มแสดงอาการ) ซึ่งกูเกิลได้สร้างเครื่องมือชื่อ Google Flu Trends มาให้นักสาธารณสุขได้ใช้กัน ล่าสุดกูเกิลพัฒนาไปอีกขั้น โดยขยาย Google Flu Trends ให้ครอบคลุมข้อมูลชนิดอื่นๆ ด้วย (หรือถ้ามีข้อมูลอยู่แล้ว ก็สามารถอัพโหลดไปให้อัลกอริทึมของกูเกิลช่วยพิจารณาได้ด้วย) เครื่องมือชิ้นนี้มีชื่อว่า Google Correlate (หน้าที่ของมันก็ตามชื่อนะ ตรงไปตรงมา) ใครที่ยังนึกภาพไม่ออกก็ควรกดเข้าไปเล่น Google Correlate ดู หรือจะดูภาพตัวอย่างก็ได้ตามลิงก์ (กูเกิลเทียบคำค้นของหวัดกับสถิติของหวัดที่หน่วยงานรัฐเก็บมา) ที่มา - Google Blog
https://jusci.net/node/1866
Google Correlate - อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยคีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นในกูเกิล
ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable products) กำลังได้รับความนิยมในฐานะทางเลือกสำหรับผู้ที่รักและห่วงใยปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ Morton Barlaz และ James Levis แห่ง North Carolina State University ได้ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์พวกนี้ก็ไม่ได้ดีเลิศอย่างที่คาดคิดกัน ปัญหาของผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คือ เมื่อมันผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน ก๊าซมีเธน (methane) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวร้ายแรงจะถูกปลดปล่อยออกมา แม้ว่าเราจะสามารถกักเก็บก๊าซมีเธนไว้ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้ แต่มีแหล่งที่ทิ้งขยะอีกมากมายที่ไม่มีการติดตั้งระบบกักเก็บก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ เช่น อย่างในสหรัฐอเมริกามีแหล่งที่ทิ้งขยะถึง 31% ที่ปล่อยก๊าซมีเธนสู่บรรยากาศโดยที่ไม่มีอะไรป้องกันเลย เป็นต้น สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้แย่เข้าไปใหญ่ คือ ความสามารถในการย่อยสลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นจุดขายหลักของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยิ่งย่อยสลายได้เร็ว อัตราของการปลดปล่อยก๊าซมีเธนออกมาก็ยิ่งมาก กว่าที่จะติดตั้งระบบกักเก็บก๊าซเสร็จ ก๊าซมีเธนก็วิ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศไปไม่รู้เท่าไรแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้คงเป็นการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพแบบที่ย่อยสลายช้าๆ หน่อย แล้วเร่งรัดให้แหล่งทิ้งขยะทุกที่รีบติดตั้งระบบกักเก็บก๊าซให้เรียบร้อย ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1867
ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
ข่าวนี้ไม่มีเนื้อหาสาระทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องราวของจิตสำนึกอันกระตุ้นอารมณ์ล้วนๆ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นประสบวิกฤติอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งร้ายแรง ผู้สูงวัยที่ใช้ชีวิตในช่วงเกษียณกว่า 200 คน ได้รวมกลุ่มกันประกาศขันอาสาเข้าไปร่วมช่วยแก้ภัยพิบัติที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิม่า ต้นคิดของกลุ่มนี้ คือ Yasuteru Yamada อดีตวิศวกรวัย 72 ปี เขาบอกว่าหลังจากที่ได้รับชมข่าวรายงานสภาพการณ์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมาทุกวัน เขาก็เกิดความตั้งใจที่จะทำอะไรสักอย่างที่ไม้ใกล้ฝั่งอย่างเขาสามารถพอช่วยได้ ดังนั้นเขาจึงส่งข้อความทางอีเมล์และ Twitter เพื่อรวบรวมเพื่อนร่วมรุ่นวัยเกษียณให้มาจัดตั้งกลุ่มอาสาร่วมกัน ผู้เฒ่าไฟแรงเหล่านี้มีความเห็นตรงกันว่า คนหนุ่มสาวไม่ควรจะต้องมาแบกรับความเสี่ยงจากกัมมันตภาพรังสี เรื่องนี้ควรปล่อยเป็นหน้าที่ของคนวัยเกษียณ เพราะผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอีกแล้วสำหรับคนแก่ที่มีอายุเหลือไม่มาก กลุ่มอาสาสมัครวัยเกษียณนี้ส่วนใหญ่เป็นอดีตวิศวกรและพนักงานโรงไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบผังโรงงาน ที่น่าสนใจคือมีนักร้อง 1 คน และกุ๊กอีก 2 คนเข้าร่วมด้วย ซึ่งน่าจะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เฒ่ากลุ่มนี้จะได้มีกิจกรรมสนุกๆ และมื้ออาหารอร่อยๆ ไปตลอดงานแน่ ตอนนี้ข้อเสนอของทางกลุ่มยังอยู่ในระหว่างรอการตัดสินใจจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่รัฐบาลจะเปิดไฟเขียวอนุญาตให้อาสาสมัครวัยเกษียณลงพื้นที่ แม้ว่าชาวญี่ปุ่นและทุกคนในรัฐบาลจะมีความซาบซึ้งในน้ำใจของอาสาสมัครกลุ่มนี้ก็ตาม ที่มา - BBC News
https://jusci.net/node/1868
กลุ่มอาสาสมัครวัยเกษียณขออาสาเข้าไปช่วยวิกฤติโรงไฟฟ้าฟุกุชิม่า
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2011 ที่ผ่านมา คณะกรรมการของ International Agency for Research on Cancer (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานใต้สังกัดของ World Health Organization (WHO) ได้ลงมติจัดให้คลื่นโทรศัพท์มือถืออยู่ในกลุ่ม "มีความเป็นไปได้ในการก่อมะเร็งในมนุษย์" (possibly carcinogenic to humans) นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 31 คนจาก 14 ประเทศในคณะกรรมการ IARC ตัดสินใจจากพื้นฐานของงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถือและมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งประเภท glioma และ acoustic neuroma ในสมองมนุษย์ แม้ว่าข้อมูลจากงานวิจัยจะไม่เพียงพอที่จะสรุปให้ชัดเจนก็ตามที และเป็นที่น่าสังเกตว่างานวิจัยที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของคลื่นโทรศัพท์มือถือและมะเร็ง มักเป็นการศึกษาเทียบในกลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์ในระดับที่ "หนักมากถึงมากที่สุด" นอกจากนี้ก็ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการใช้งานโทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้จำนวนผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้น งานวิจัยบางชิ้นยังให้ผลว่าคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือในอัตราปกติเป็นมะเร็งสมองน้อยกว่าคนที่ใช้โทรศัพท์มีสายตามบ้านด้วยซ้ำ ผู้เชี่ยวชาญทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและชีวเคมีหลายคนก็ยืนยันว่าคลื่นที่โทรศัพท์มือถือแผ่ออกมาอ่อนเกินกว่าจะแยกสลายพันธะเคมีของสารพันธุกรรมในเซลล์มนุษย์ได้ ที่น่าเป็นห่วงมีเพียงคลื่นความร้อนจากการใช้งานต่อเนื่องเท่านั้น ด้วยความที่ไม่ลงตัวของผลวิจัยและหลักฐานที่ไม่เพียงพอ คลื่นจากโทรศัพท์มือถือจึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 2B ตามมาตรฐานของ IARC คำนิยามของกลุ่ม 2B กว้างมาก เรียกได้ว่าหากมีอะไรต้องสงสัยแม้หลักฐานจะเล็กน้อยแค่ไหน ก็ยัดลงกลุ่มนี้ได้เลย คำนิยามอย่างเป็นทางการของกลุ่ม 2B เป็นไปดังข้างล่างนี้ This category is used for agents for which there is limited evidence of carcinogenicity in humans and less than sufficient evidence of carcinogenicity in experimental animals. It may also be used when there is inadequate evidence of carcinogenicity in humans but there is sufficient evidence of carcinogenicity in experimental animals. In some instances, an agent for which there is inadequate evidence of carcinogenicity in humans and less than sufficient evidence of carcinogenicity in experimental animals together with supporting evidence from mechanistic and other relevant data may be placed in this group. An agent may be classified in this category solely on the basis of strong evidence from mechanistic and other relevant data. รายชื่อเพื่อนร่วมกลุ่ม 2B ของคลื่นโทรศัพท์มือถือ ก็มีตั้งแต่อันที่ฟังน่ากลัวๆ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์, คลอโรฟอร์ม, ตะกั่ว, ไวรัส HPV บางชนิด, คลื่นแม่เหล็กความถี่ต่ำๆ เป็นต้น ไล่ไปจนถึงอันที่ฟังแล้วดูไม่ค่อยน่าเชื่อ อย่างเช่น ผักดองและกาแฟ เป็นต้น หลายฝ่ายมองว่าความเคลื่อนไหวแนวนี้ของ IARC เป็นเพียงแค่การเลือกเล่นในข้างที่ปลอดภัย และมุ่งกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความกระตือรือร้นเพื่อที่นักวิจัยและนายทุนจะได้มีแรงจูงใจสร้างผลงานวิจัยในเรื่องนี้ออกมาเยอะๆ ดังนั้นในตอนนี้ก็สรุปได้ว่า คลื่นโทรศัพท์มือถือมีความเป็นไปได้ในการก่อมะเร็ง ขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่มันจะไม่ได้ก่อมะเร็งด้วย ผู้ใช้อย่างเราๆ ควรติดตามความคืบหน้าต่อไปอย่างใกล้ชิด ไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก แต่ถ้าใครอยากจะตกใจหรือว่าตกใจไปแล้ว คิดโยน iPhone หรือ BB ทิ้ง ก็สามารถติดต่อผมได้นะครับ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่ยึดมั่นอุดมการณ์สุดๆ ผมพร้อมเสียสละตนเองด้วยความเต็มใจ ที่มา - The Register, Ars Technica, Scientific American
https://jusci.net/node/1869
WHO ประกาศให้คลื่นโทรศัพท์มือถือ "มีความเป็นไปได้ในการก่อมะเร็ง"
NHK Science & Technology Research Laboratories ได้สาธิตทีวีต้นแบบในงาน Open House 2011 ระหว่างวันที่ 26-29 พฤษภาคม 2011 ทีวีตัวนี้มีความสามารถพิเศษในการสังเกตอากัปกิริยาของผู้ชมและรายงานผลนั้นออกมาได้ ตรงหน้าจอของทีวีจะมีกล้องติดอยู่ เพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงใบหน้าของผู้ชม ซอฟท์แวร์จะแปลผลจากอากัปกิริยาเหล่านี้ว่าผู้ชมสนใจรายการที่กำลังฉายอยู่มากน้อยเพียงใด เช่น หากผู้ชมนั่งดูจอตาแป๋ว ไม่หันไปหันมา ซอฟท์แวร์ก็จะมองว่าผู้ชมกำลังตั้งอกตั้งใจรับชมรายการอย่างยิ่ง เป็นต้น หากมีผู้ชมนั่งอยู่หน้าจอหลายคนพร้อมกัน ซอฟท์แวร์ก็จะรายงานผลวิเคราะห์ข้อมูลใบหน้าของแต่ละคน ในตัวอย่างสาธิต ข้อมูลและผลการวิเคราะห์จะถูกส่งไปยังแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้อง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ตัวซอฟท์แวร์ยังแยกแยะความแตกต่างของอารมณ์ไม่ได้ ดังนั้นหากผู้ใช้ยิ้มออกมาหรือแยกเขี้ยวใส่หน้าจอ ซอฟท์แวร์ก็ประมวลผลได้แค่ว่าผู้ชมกำลังมีปฏิกิริยาบางอย่างกับเนื้อหาในรายการเท่านั้น ที่มา - Tech-On!
https://jusci.net/node/1870
NHK โชว์ต้นแบบทีวีที่ "ดูผู้ชม" ได้
แผ่นดินไหวที่ L'Aquilla ประเทศอิตาลี ในวันที่ 6 เมษายน 2009 คร่าชีวิตคนไปกว่า 300 ชีวิต ตั้งแต่นั้นมานักวิทยาศาสตร์ที่มีตำแหน่งในหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องแผ่นดินไหวของอิตาลีโดนตั้งคณะกรรมการสอบกันถ้วนหน้า และเรื่องก็พัฒนามาจนถึงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2011 ผู้พิพากษาได้เรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก (seismologist) 6 คน และเจ้าหน้าที่รัฐ 1 คนขึ้นศาลในข้อหาฆาตกรรมสังหารหมู่ เนื่องจากพวกเขาไม่ได้เตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าอย่างเหมาะสม รายชื่อจำเลยในคดีนี้ ได้แก่ Enzo Boschi, ประธานของ National Institute of Geophysics and Volcanology Franco Barberi, รองประธาน National Institute of Geophysics and Volcanology Bernardo De Bernardinis, อดีตรองประธาน Civil Protection Department ปัจจุบันเป็นประธานของ Institute for Environmental Protection and Research Giulio Selvaggi, ผู้อำนวยการ National Earthquake Centre Gian Michele Calvi, ผู้อำนวยการ European Centre for Training and Research in Earthquake Engineering Claudio Eva, นักวิทยาศาสตร์แห่ง University of Genoa Mauro Dolce, ผู้อำนวยการสำนักงานความเสี่ยงแผ่นดินไหวของ Civil Protection Department ในสำนวนคดีระบุไว้ว่าจำเลยทั้งเจ็ดได้เข้าร่วมในงานแถลงข่าวงานหนึ่งก่อนหน้าการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 6 วัน และพวกเขาได้ให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าไม่จำเป็นต้องเตรียมอพยพจากเคหะสถาน ศาลอ้างว่าข้อมูลที่พวกเขาเผยแพร่ในงานนั้นขาดความแม่นยำ ขาดความสมบูรณ์ และย้อนแย้งกับสภาพการณ์จริง ส่งผลให้เป็นการขัดขวางการทำงานของภาครัฐเพื่อปกป้องชีวิตประชาชน ฝ่ายจำเลยก็อ้างว่าพวกเขาไม่เคยให้คำมั่นกับประชาชนเลยว่าจะไม่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น พวกเขาแค่ทำหน้าที่พูดจากข้อมูลที่มีอยู่ด้วยความสัตย์จริง มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายแผ่นดินไหวล่วงหน้า ต่อให้ก่อนหน้าจะเกิดโศกนาฏกรรมในวันที่ 6 เมษายน 2009 มีแผ่นดินไหวเล้กๆ นำมาก่อนหลายครั้งก็ตาม นอกจากนี้แผ่นเปลือกโลกในจุดนั้นก็มีความซับซ้อนมาก ค่าที่อ่านได้จากเครื่องตรวจวัดแทบจะเชื่อถืออะไรไม่ได้เลย การพิจารณาคดีจะเริ่มขึ้นในวันที่ 20 กันยายน 2011 ยังไม่มีใครทราบว่าผลสรุปจะจบลงอย่างไร แต่ผมคิดว่าพรุ่งนี้ผมจะไปยื่นใบลาออกจากคณะวิทยาศาสตร์แล้วหละ สงสัยนักวิทยาศาสตร์จะเป็นอาชีพเดียวในโลกแล้วมั้งที่บอกอะไรผิดก็โดนด่า ไม่พูดอะไรก็โดนฟ้อง ทายถูกแค่เสมอตัว เฮ้อ...เป็นหมอดูดีกว่า ที่มา - AAAS Science, Live Science
https://jusci.net/node/1871
นักวิทยาศาสตร์อิตาลีถูกพิจารณาคดีฆาตกรรมหมู่เพราะไม่ทำนายแผ่นดินไหวล่วงหน้า
EzMath เป็นโครงการที่พัฒนาโดยคุณ neizod ภายใต้โครงการฝึกงานกับ Blognone จะเปิดทดสอบให้ใช้ครั้งแรกใน JuSci ครับ \(\begin{align} a+ b= c^{2} \end{align} \) \(\begin{align} c^{2}, a_{ n}^{ i}, e^{\pi i} \end{align} \) \(\begin{align} \lim\limits_{ x\rightarrow0} x^{ x} \end{align} \) \[\begin{align} &\mathbf{\text{procedure}}\;\;\text{factorial}\left(\text{int}\;\; n\right)\\ &\mathbf{\text{begin}}\\ &\quad\quad\mathbf{\text{var}}\;\;\text{int}\;\; r=1\\ &\quad\quad\mathbf{\text{for}}\;\; i:= n\;\;\mathbf{\text{downto}}\;\;2\;\;\mathbf{\text{step}}\;\;1\;\;\mathbf{\text{do}}\\ 5:&\quad\quad\quad\quad r\leftarrow r\times i\;\;\mathbf{\text{od}}\\ &\quad\quad\mathbf{\text{return}}\;\; r\\ &\mathbf{\text{end}} \end{align} \] โลกมันกลม ›
https://jusci.net/node/1873
ทดสอบ EzMath
แนวคิดการเอา DNA มาทำคอมพิวเตอร์นั้นถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปี 1994 โดย Leonard Adelman เพื่อแก้ปัญหา "travelling salesman problem" (หาเส้นทางที่สั้นที่สุดในการลากเชื่อมจุด) และในปี 2006 ทีมวิจัยที่นำโดย Erik Winfree แห่ง Caltech ก็ได้เคยสร้างวงจรคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วย DNA ถึง 12 สายมาแล้ว แต่ว่าวงจรนั้นช้าเกินกว่าจะคำนวณอะไรได้จริงจัง กลับมาคราวนี้ Erik Winfree ได้จับมือกับ Lulu Qian แห่ง Caltech เหมือนกัน สร้างวงจรคอมพิวเตอร์ DNA อีกครั้งซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างต่ำ 5 เท่า ตัววงจรประกอบด้วยสาย DNA สั้นๆ ถึง 74 สาย เมื่อรวม input และ output ในแต่ละรอบการคำนวณ จะมีสาย DNA เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งกระบวนการกว่า 130 สาย หลักการที่พวกเขาใช้ไม่ได้ต่างจากวงจรคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่เลย แค่แทนที่ logic gate ที่เป็นทรานซิสเตอร์ซิลิคอนด้วยสาย DNA, และแทนที่สัญญาณ input/output ด้วยสาย DNA เช่นเดียวกัน พวกเขาสร้าง DNA สายเดี่ยวและสายคู่ที่มีลำดับเบสตามที่ได้โปรแกรมเอาไว้ จากนั้นก็ใส่มันเข้าไปในหลอดทดลอง ช่วงสาย DNA ที่มีคู่เบสเข้าคู่กัน (เช่น A กับ T, และ C กับ G) ก็จะจับกันโดยธรรมชาติ ปฏิกิริยาการจับกันและแยกคู่กันของสาย DNA ก็จะเหมือนกับการประมวลผลสัญญาณไฟฟ้าของ logic gate ที่เป็นซิลิกอน เมื่อปล่อยให้ปฏิกิริยาดำเนินไปจนจบ ผลลัพธ์ก็จะอ่านได้จากสีเรืองแสงที่พวกเขาได้ติดไว้กับสาย DNA ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ DNA รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ต้องถือว่าใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ซิลิกอนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา มันสามารถคำนวณรากที่สองของเลขฐานสองได้สูงสุดถึง 4 หลัก (เท่ากับ 15 ในเลขฐานสิบ) ค่าผลลัพธ์ที่ได้ละเอียดสูงสุดถึงทศนิยม 0 ตำแหน่ง (อ่านไม่ผิดครับ ศูนย์ตำแหน่ง) ใช้เวลาในการคำนวณแต่ละครั้ง 6-10 ชั่วโมง! แน่นอนด้วยประสิทธิภาพขนาดนี้ คงไม่มีใครอยากซื้อคอมพิวเตอร์ DNA มาเก็บให้รกบ้าน และจุดมุ่งหมายของนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่การสร้าง dnaPAD หรือ iDNA ขายแข่งกับใครที่ไหน พวกเขาฝันว่าสักวันหนึ่งจะสามารถสร้างวงจรที่ซับซ้อนพอควบคุมกระบวนการชีวเคมีในเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างหาก ที่มา - Ars Technica, Nature News, Discovery News, BBC News, PhysOrg
https://jusci.net/node/1874
คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอคำนวณรากที่สองได้
ตามทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม สุญญากาศที่เราเห็นว่าว่างเปล่าไม่ได้ "ว่างเปล่า" จริง แต่จะมี "อนุภาคเสมือน" (virtual particles) ผลุบๆ โผล่ๆ อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นตัวเป็นๆ ของอนุภาคเสมือนเหล่านี้ได้ แต่นักฟิสิกส์พิสูจน์การมีอยู่ของมันได้โดยทางอ้อม เช่น เมื่อเอากระจกเงาสองบานมาตั้งไว้ชิดกันมากๆ โฟตอน (อนุภาคของแสง) ที่เป็นอนุภาคเสมือนตรงช่องว่างระหว่างกระจกจะเกิดขึ้นน้อยกว่าภายนอกรอบกระจก ความแตกต่างของความหนาแน่นจะก่อให้เกิดแรงบีบกระจกทั้งสองเข้าหากัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Casimir effect Carsimir effect เกิดจากกระจกเงาสองบาน โฟตอนเสมือนจึงสะท้อนไปๆ มาๆ อยู่ระหว่างกระจก นักฟิสิกส์ทำนายไว้ว่าหากใช้กระจกเงาแค่บานเดียวที่เคลื่อนที่เร็วมากๆ โฟตอนเสมือนก็จะกลายเป็น "โฟตอนจริงๆ" เด้งหลุดออกมาจากความว่างเปล่าได้ แต่ก็ยังไม่เคยมีใครหมุนกระจกให้เร็วขนาดนั้นได้ จนกระทั่งทีมนักวิจัยของ Chalmers University of Technology ในประเทศสวีเดน คิดหาวิธีในการสร้างกระจกดังว่าขึ้นมา พวกเขาใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า superconducting quantum interference device (SQUID) แทนกระจกในทฤษฎี พวกเขาสร้างวงจร SQUID ให้มีคุณสมบัติในการสะท้อนโฟตอนเหมือนกระจก และเมื่อผ่านสนามแม่เหล็กเข้าไป SQUID ซึ่งไวต่อสนามแม่เหล็กอยู่แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้กระจกเสมือนเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย หากเร่งความถี่ของสนามแม่เหล็กให้ถึงระดับพันล้านเฮิรตซ์ กระจกก็จะขยับระรี้ระริกด้วยความเร็วสูงถึง 5% ของความเร็วแสง ความเร็วระดับนี้มากพอตามทฤษฎี และผลที่ได้ก็ตรงตามที่ทฤษฎีทำนายไว้จริงๆ ซะด้วย พวกเขาสังเกตเห็นโฟตอนของรังสีไมโครเวฟหลุดออกมาจากสุญญากาศ แถมความถี่ของโฟตอนที่หลุดออกมาก็ตรงตามที่คำนวณ คือมีค่าประมาณครึ่งหนึ่งของความถี่ที่กระจกขยับตัวพอดี บทความวิจัยนี้กำลังอยู่ในระหว่างรอตีพิมพ์ในวารสาร (คาดว่าลง Nature) หากใครอยากอ่านก็สามารถดาวน์โหลดได้จาก arxiv.org/abs/1105.4714 อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์หลายคนยังคงไม่แน่ใจกับผลการทดลองนี้นัก ดังนั้นทางวารสาร Nature จึงขอร้องให้นักวิจัยอย่าเพิ่งรีบแถลงผลการทดลองต่อสื่อ (แต่ผมเจอข่าวนี้จากเว็บข่าวของ Nature เอง ...เอ๊ะยังไง?) ที่มา - Nature News
https://jusci.net/node/1875
แสงจากความว่างเปล่า
คนที่มีอาการออทิสติกมักจะมีปัญหาในการเข้าสังคม ในขณะเดียวกันก็ได้ความสามารถพิเศษในด้านอื่นๆ มาทดแทน ซึ่ง Jared Reser แห่ง University of Southern California คิดว่าลักษณะออทิสติกน่าจะมีข้อได้เปรียบอะไรบางอย่างที่ทำให้พันธุกรรมของมันยังคงอยู่ในประชากรมนุษย์ได้ Jared Reser จินตนาการย้อนไปถึงยุคโบราณที่มนุษย์ยังคงดำรงชีพด้วยการล่าและเก็บของป่า (Hunting-gathering) ซึ่งการอยู่รวมกลุ่มกันเป็นสังคมไม่จำเป็นเท่าทุกวันนี้ ความบกพร่องในทักษะทางสังคมก็คงไม่ใช่ปัญหาอะไรใหญ่โต และมนุษย์ที่อยู่เดี่ยวๆ ก็น่าจะได้ประโยชน์จากอาการออทิสติก เช่น ความฉลาดเฉพาะด้าน, การจดจำสถานที่, การทำอะไรซ้ำๆ อย่างจดจ่อ เป็นต้น ความสามารถพิเศษที่ติดตัวนี้ส่งผลเพิ่มพูนทักษะการหาอาหารและการเอาชีวิตรอดได้เป็นอย่างดี เหนือกว่าคนปกติทั่วไป ปัจจุบันเด็กที่เป็นออทิสติกไม่ได้จำเป็นต้องพึ่งทักษะพวกนี้แล้ว เนื่องจากส่วนใหญ่จะได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษ ไม่จำเป็นต้องออกล่าหาอาหารเอง ดังนั้นความสามารถพิเศษของพวกเขาจึงแสดงออกในรูปแบบอื่น เช่น การเปิดปิดสวิตช์ไฟ, การเรียงตัวต่อ, การเก็บสะสมของเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น ที่มา - Science Daily
https://jusci.net/node/1876
มนุษย์โบราณที่เป็นออทิสติกอาจมีชีวิตที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น
ดวงจันทร์ของโลกมีลักษณะที่พิเศษมากๆ อยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือมันมีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลก เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ยาวถึง 1 ใน 4 ของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อกันว่านี่คือเอกลักษณ์หนึ่งในล้านอันหาได้ยากยิ่งในจักรวาล แต่ว่าทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซูริคและมหาวิทยาลัยโคโลราโด ได้สร้างแบบจำลองหาความเป็นไปได้จากทฤษฎีการกำเนิดดาวเคราะห์และดวงจันทร์ ผลออกมาปรากฏว่าโอกาสที่ดาวเคราะห์แบบโลกของเราจะมีดวงจันทร์ขนาดพอๆ กับดวงจันทร์ของเรา มีค่าอยู่ประมาณ 1 ใน 12 โดยเฉลี่ย (ค่าต่ำสุดคือ 1 ใน 45 และค่าสูงสุดคือ 1 ใน 4) เราเชื่อกันว่าดวงจันทร์เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่โลกยังเป็นแค่ฝุ่นและกลุ่มแก๊สที่หมุนวน โลกเริ่มแรกถูกอุกกาบาตขนาดเท่าดาวอังคารพุ่งชน ฝุ่นบางก้อนจึงหลุดออกไปอยู่ข้างโลกและเกิดเป็นดวงจันทร์ขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์คิดว่าดวงจันทร์ขนาดใหญ่มีส่วนช่วยให้แกนหมุนของโลกนิ่งและเสถียร ภูมิอากาศของโลกจึงนิ่งมากพอให้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ที่มา - BBC News
https://jusci.net/node/1877
ดวงจันทร์โตๆ แบบดวงจันทร์ของโลกอาจมีมากกว่าที่คิด
ในทุกวันนี้ ยาคุมกำเนิดของผู้ชายส่วนใหญ่เป็นสารจำพวกสเตอรอยด์ ซึ่งมีผลข้างเคียงมากมาย เช่น เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อมลูกหมากโต ลดความต้องการทางเพศ เป็นต้น แถมยังให้ผลที่ไม่แน่นอนอีกต่างหาก ทีมนักวิจัยที่นำโดย Sanny S. W. Chung และ Debra J. Wolgemuth แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ค้นพบสารตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของ retinoic acid receptors (RARs) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างอสุจิ (spermatogenesis) สารที่มีชื่อรหัสว่า "BMS 189453" นี้ถูกวิจัยมาก่อนแล้วโดยบริษัท Bristol-Myers Squibb ในฐานะของยาแก้ผิวหนังอักเสบ แต่บริษัทเห็นว่ายาตัวนี้มีผลข้างเคียงต่อกระบวนการในอัณฑะ งานวิจัยเลยถูกดองไว้และก็ไม่มีใครสนใจอีกเลย ด้วยความสนใจในการทำงานของยีนที่สร้าง RAR ในระบบสืบพันธุ์ ทีมวิจัยของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียจึงเอายาตัวนี้มาทดสอบกับหนูทดลอง ผลปรากฏว่าเมื่อได้รับสารติดต่อกัน 4 สัปดาห์ หนูทดลองเป็นหมันเหมือนกับหนูที่ถูกตัดต่อยีนไม่ให้สร้าง RAR แต่การเป็นหมันของหนูที่ได้รับยาสามารถย้อนกลับมาสืบพันธุ์ได้เมื่อหยุดให้ยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในการศึกษาชั้นต้น นักวิจัยยังไม่เห็นผลข้างเคียงใดๆ กับหนูทดลอง อย่างไรก็ตามยาตัวนี้ต้องผ่านการตรวจสอบอีกหลายชั้น เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยจากผลข้างเคียงในระยะยาวและสามารถใช้กับมนุษย์ได้ ที่มา - Sceince Daily, Discovery News ป.ล. สาเหตุที่นักวิจัยสนใจ RAR ตั้งแต่ทีแรกนั้นเป็นเพราะว่า RAR เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของวิตามิน A (Retinol) และก็เป็นที่รู้กันดีว่าวิตามิน A จำเป็นต่อระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ สัตว์ทดลองตัวผู้ที่ขาดวิตามิน A จะเป็นหมัน
https://jusci.net/node/1878
ยาคุมกำเนิดตัวใหม่ของผู้ชายกำลังจะมา
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "ปฏิสสาร" (antimatter) ดังนั้นมันก็คือคู่แฝดคนละฝาของสสาร (matter) เมื่อสสารและปฏิสสารเจอกัน มันจะจับคู่กันสลายตัวเป็นพลังงานทันที (mutual annihilation) การกักเก็บปฏิสสารให้นานพอจะศึกษาคุณสมบัติของมันจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยุ่งยากอย่างยิ่ง ปลายปีที่แล้ว ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2010 ทีม ALPHA ของ CERN ได้ประกาศความสำเร็จจับ antihydrogen ได้นาน 172 มิลลิวินาที พอมาถึงปี 2011 ทีม ALPHA แชมป์เก่าก็ทุบสถิติตัวเองซะแหลกกระจุยทั้งในทางปริมาณและคุณภาพ พวกเขาสามารถดักเก็บ antihydrogen จำนวน 309 ตัว (ของปีที่แล้วได้ 38 ตัว) ได้นานถึง 0.2 - 1,000 วินาที (สำหรับคนที่อยากรู้หน่วยเป็นนาที ผมกดเครื่องคิดเลขให้แล้ว 1000 วินาที = 16 นาที 40 วินาที ซึ่งตามมุมมองของนักฟิสิกส์ มันเท่ากับ "ชั่วนิรันดร์") วิธีการทดลองของทีม ALPHA ยังคงไม่ต่างจากการทดลองในปีที่แล้ว นั่นคือใช้สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก "ดัน" กลุ่มเมฆ positron และ antiproton มาผสมกัน แล้วดักเก็บ antihydrogen ที่ได้ด้วยสนามแม่เหล็กที่มีขั้วแม่เหล็กล้อมรอบ 8 ทิศทาง พอเดินเครื่องเป็นสักระยะหนึ่ง ก็ปิดสนามแม่เหล็ก ปล่อยให้ antihydrogen ชนกับผนังซึ่งเป็นสสาร เครื่องตรวจจับจะตรวจจับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสลายตัวเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ว่ามี antihydrogen เกิดขึ้นตรงไหนและเป็นจำนวนเท่าไรต่อไป ทีม ALPHA โม้ว่า หลังจากที่ประกาศความสำเร็จไปตั้งแต่คราวที่แล้ว โอกาสสำเร็จในการดักเก็บ antihydrogen ก็เพิ่มขึ้นตลอด จากเดิมที่ทำการทดลอง 10 ครั้ง สำเร็จ 1 ครั้ง ตอนนี้แทบจะดัก antihydrogen ได้ทุกครั้งเลย และตัวเลขจะไม่หยุดแค่ 1,000 วินาทีแน่นอน นักฟิสิกส์เชื่อว่า antihydrogen ที่มีอายุนานเกินหลักวินาทีขึ้นไปน่าจะมีพลังงานลดลงจนมาอยู่ในระดับ ground state ได้ การมีปฏิสสารใน ground state ไว้ในมือเป็นการเบิกทางให้กับงานทดลองใหม่ๆ มากมาย เช่น การศึกษาอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงต่อปฏิสสาร เป็นต้น เพียงแต่ตอนนี้เครื่องไม้เครื่องมือของทีม ALPHA ยังไม่เพียงพอ ต้องรอให้การติดตั้งอุปกรณ์เลเซอร์เสร็จสิ้นเสียก่อน (คาดว่าไม่เกินปี 2012) แสงเลเซอร์จะช่วยให้นักวิจัยตรวจวัดสเปกตรัมของปฏิสสารและช่วยฉุดให้ปฏิสสารมีพลังงานลดลงได้ จนป่านนี้ ทีม ATRAP คู่แข่งของ ALPHA ที่หมายมั่นจะเอาชนะสถิติอันเก่าของ ALPHA มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ยังไม่มีการรายงานผลอะไรที่น่าตื่นเต้นออกมา ที่มา - Scientific American, PhysOrg, Science Daily (1, 2, 3), The Register, Live Science
https://jusci.net/node/1879
CERN ทำสถิติจับปฏิสสารได้นาน 1,000 วินาที
สิทธิบัตรการควบคุมแผงสะท้อนแสงด้วยการใช้กล้องคงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้ามันไม่ได้มาจากกูเกิลที่เป็นบริษัทผู้ใช้พลังงานที่กำลังผันตัวมาลงทุนเทคโนโลยีผลิตพลังงานอย่างหนัก ก่อนหน้านี้กูเกิลเองอาศัยการลงทุนในบริษัทพลังงานอื่นๆ แต่ในช่วงหลังบริษัทเริ่มจ้างทีมวิจัยเข้าเป็นพนักงานกูเกิลเองเพื่อวิจัยเทคโนโลยีเหล่านี้ด้วยตัวเอง ตำแหน่งงานในตอนนี้มีถึง 5 ตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายหนึ่งคนและผู้จักการอีกสองคน เราคงได้เห็นกูเกิลเริ่มกวาดคนในสายเทคโนโลยีพลังงานจากบริษัทต่างๆ อีกระลอกใหญ่เร็วๆ นี้ ที่น่าสนใจคือกูเกิลเลือกลงทุนกับเทคโนโลยีจานรวมแสงสะท้อน (heliostat) แทนที่จะเป็นเทคโนโลยีแบบอื่น อาจจะเป็นไปได้ว่ากูเกิลได้สำรวจมาแล้วว่าเทคโนโลยีนี้มีต้นทุนและความเป็นไปได้ที่จะผลิตจำนวนมากจนมีราคาต่อวัตต์ถูกกว่าถ่านหินมากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มา - BNet
https://jusci.net/node/1880
กูเกิลจดสิทธิบัตรเซลล์แสงอาทิตย์ใบแรก, เริ่มตั้งทีมวิจัยอย่างเป็นทางการ